Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore สิ่งที่เรียกว่ากิเลส

สิ่งที่เรียกว่ากิเลส

Description: สิ่งที่เรียกว่ากิเลส

Search

Read the Text Version

ธรรมะเลมนอ ย เปนหนังสือธรรมะขนาดพกพา รายเดือน ๑๒ เลม ๑๒ เดอื น เพอ่ื เจรญิ สติ และแสวงหา ปญญาเบื้องตนสำหรับคนไมมีเวลาศึกษา เนือ้ หาโดยละเอยี ด สามารถมีสว นรว มไดโดย... ๑. ผูทอ่ี านแลว คิดวาดีมปี ระโยชน โปรดสงมอบ ใหแกผอู ื่นตอ เปรียบด่ังใหทาน. ๒. สนบั สนนุ การจดั พมิ พห นงั สอื ธรรมะเลม นอ ย ตามกำลงั . ๓. เลือกจัดพิมพหนังสือธรรมะเลมนอย เพื่อ เผยแผในวาระตางๆ เชน งานวันขึ้นปใหม งานวันเกิด งานสมรส งานเฉลิมฉลอง งาน บุญ งานศพ ฯลฯ โดยสามารถเลือกเอา เฉพาะสว นทีเ่ ปนธรรมบรรยายและพิมพบ าง สว นเพิ่มเตมิ ได ธรรมะดๆี มตี ิดตัวไว เพ่ือเจริญสติและปญญา

ร่วมเป็นเจ้าภาพ พมิ พ์ธรรมะเล่มนอ้ ยได้ท่ี หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปญั โญ โทร. ๐ ๒๙๓๖ ๒๘๐๐

รายชื่อหนังสอื ธรรมะเลม่ นอ้ ย ๑๒ เลม่ สำ� หรบั ปี ๒๕๕๕ ประกอบด้วย ๑. การมีอายุครบรอบปี...เป็นเช่นน้ันเอง ๒. สิ่งท่ีเป็นคู่ชีวิต ๓. มาฆบูชา วันน้ีเป็นการกระท�ำเพ่ือบูชาพระอรหันต์ ๔. ความถกู ต้องของการศึกษา ๕. ความหมายและคุณค่าของ ค�ำว่า “ล้ออายุ” ๖. การท�ำงานน้ันคือการปฏิบัติธรรม ๗. เศรษฐศาสตร์ของชาวพุทธ ๘. พระธรรมในทุกแง่ทุกมุม ๙. มอื ขวาทำ� บญุ อยา่ ใหม้ อื ซา้ ยรู้ ๑๐. ปวารณา คอื เครอ่ื งหมาย แหง่ คนดี ๑๑. ประโยชนข์ องความกตญั ญู ๑๒. ภมู ติ า่ งๆ และ แนวครองชวี ิต ๑๒ เล่ม ส�ำหรับปี ๒๕๕๖ ประกอบดว้ ย ๑. ธรรมะเผดจ็ การ ๒. ความเป็นไปของจิต ๓. ความเขา้ ใจถกู เก่ียวกับศาสนา ๔. พุทธบริษัทไม่ต้องใช้ยาระงับประสาท ๕. ธรรมท่ีลูกของพระพุทธเจ้าควรปฏิบัติ ๖. การบวช คือการบังคับตัวเอง ๗. โทษท่ีเกิดเพราะไม่มีวินัย ๘. อย่าง นั้นเอง ๙. มะพร้าวนาฬิเกร์ ๑๐. ชีวิตโวหาร ๑๑. สติ ๑๒. สันทิฏฐโิ ก ๑๒ เลม่ สำ� หรบั ปี ๒๕๕๗ ประกอบด้วย ๑. ธรรมะทำ� ไมกนั ๒. แผน่ ดนิ รองรบั รา่ งกาย ธรรมะรองรบั จติ ใจ ๓. สง่ิ ทเี่ รยี กวา่ กเิ ลส ๔. ธรรมคอื สง่ิ จำ� เปน็ แกม่ นษุ ยส์ ำ� หรบั ปอ้ งกนั และแกไ้ ข ๕. สงิ่ ซง่ึ เปน็ อปุ กรณแ์ กก่ ารเลกิ อายุ ๖. ทกุ สง่ิ อยเู่ หนอื ปญั หา ๗. รจู้ กั ธรรมะใหถ้ งึ ทส่ี ดุ ๘. เขา้ ใจพทุ ธศาสนาใหถ้ กู ตอ้ ง ๙. หลักธรรมท่ีทุกคนควรทราบ ๑๐. ธรรมที่เป็นเคร่ืองมือ การเดินทาง ๑๑. ผลพลอยได้ที่เน่ืองถึงกันและกันในโลก ๑๒. ธรรมะคือหน้าท่ี

สง่ิ ทเ่ี รยี กวา่ กเิ ลส โดย พุทธทาสภกิ ขุ ล�ำดับท่ี ๓ ประจำ� ปี ๒๕๕๗ www.bia.or.th

อบรมพระนวกะ วดั ชลประทานรงั สฤษฎ์ ครัง้ ที่ ๒ ปพี .ศ. ๒๕๓๓ ลานหินโค้ง สวนโมกขพลาราม วนั ท่ี ๘ ตลุ าคม ๒๕๓๓ ผ้ถู อดคำ� บรรยาย คณุ สริ ภพ พุทไธสง ผตู้ รวจทาน คุณสรุ มณ พงศ์พฤกษ์

สง่ิ ทเ่ี รยี กวา่ กเิ ลส วันน้ีเราจะพูดกันถึงเร่ือง ส่ิงท่ีเรียกสั้นๆ วา่ กเิ ลส กิเลส ดังนั้นขอใหฟ้ ังให้ดี ต้งั ใจฟงั ให้ เข้าใจ รู้จักสิ่งที่เรียกว่ากิเลส กิเลสน้ีโดยทั่วถึง เพราะเร่ืองธรรมะท้ังหมดในพระพุทธศาสนานี้ มันไม่มีเร่ืองอ่ืน มันมีแต่เร่ืองเดียวคือเรื่องละ กิเลส และความสิ้นแห่งกิเลสนั่นคือจุดหมาย ปลายทาง ทเี่ รยี กวา่ นพิ พาน นพิ พาน –ความสนิ้ ไปแห่งกเิ ลส โดยบาลวี ่า ราคกฺขโย โทสกฺขโย โมหกฺขโย นพิ พฺ าน –ความส้นิ ไปแหง่ ราคะ สน้ิ ๑

ไปแห่งโทสะ สิ้นไปแหง่ โมหะ คอื นพิ พาน โดย พระบาลนี ม้ี นั ยอ่ มแสดงอยแู่ ลว้ วา่ กเิ ลสมี ๓ ชอื่ คือ ราคะ โทสะ โมหะ กิเลสก็เหมือนกับสิ่งอื่นๆ แหละ คือเป็น ของธรรมชาติ ตามธรรมชาติ มอี ยตู่ ามธรรมชาติ เป็นไปตามกฎธรรมชาติ พร้อมที่จะเกดิ ขึ้น เมอ่ื ส่ิงต่างๆ มันเป็นไปในลักษณะท่ีจะให้กิเลสเกิด ขึ้น กิเลสก็เป็นอนัตตาเหมือนกัน เป็นไปตาม เหตุตามปัจจัย ไม่ใช่วิเศษวิโสอะไร แต่ว่าไอ้ อนัตตา อนตั ตานีเ้ อง มันทนไมไ่ หว เมอื่ มีกเิ ลส เกิดข้นึ แล้ว มนั กท็ นไมไ่ หว ตัวกิเลส ค�ำน้ีมันแปลว่าเศร้าหมองหรือ สกปรก พูดกันง่ายๆ เป็นค�ำที่ยืมไปจากภาษา ชาวบา้ น ทช่ี าวบา้ นเขาใช้กนั อยเู่ ปน็ ประจ�ำ เอา ไปใช้เป็นภาษาพูดในทางธรรมะในทางศาสนา ๒

ข้อนี้บางคนก็ยังไม่ทราบนะ ขอให้ทราบเสีย เด๋ียวนี้เลย ช่ือธรรมะๆ ในทางธรรมน่ะ แต่ละ ค�ำหรือส่วนใหญ่มันยืมไปจากภาษาชาวบ้านที่ พดู กนั อยใู่ นบา้ น แตไ่ ปใหค้ วามหมายใหมใ่ นทาง จติ ทางใจ ภาษาชาวบา้ นเขาพดู กนั อยแู่ ตใ่ นทาง เร่อื งวัตถุ ยืมไปใช้แลว้ กใ็ ห้ความหมายเป็นเรื่อง ทางจิตใจ ส�ำหรับกิเลสน่ีไปพูดอยู่ที่บ้านก็คือของ สกปรก แต่พอไปใช้ทางธรรมะนนู้ มนั หมายถึง สกปรกทางจติ ใจ สกปรกแกจ่ ติ ใจ หรอื ถา้ จะยมื ไปใช้ในความหมายอ่ืนๆ ท่ีมันเน่ืองกัน เช่นว่า กิเลสเป็นไฟ ความหมายของไฟธรรมดานี้ เอา ไปใช้ในความหมายของไฟคือกิเลส ก็เป็นของ รอ้ น ราคะเป็นไฟ โทสะเป็นไฟ โมหะเปน็ ไฟ ใน ๓

เมอื่ มันแสดงอาการทร่ี อ้ น บางทีก็แสดงอาการ ไปในทางผูกพัน ผูกมัดผกู พัน ก็เรียกเป็นเครื่อง ผูกพัน บางทีก็แสดงอาการเป็นไปในทางท่วม ทับ ท่วมทับ บีบคนั้ หรอื ท่วมทบั มีหลายอย่าง หลายอาการที่เป็นอาการของสิ่งที่เรียกว่ากิเลส ท่ีท�ำอันตรายจิตใจ เมอ่ื สง่ิ แวดลอ้ ม ชวี ติ มนั แวดลอ้ มไปในทาง ที่จะให้เกดิ กเิ ลส กเิ ลสมนั กเ็ กดิ ขึ้นมาเยอะแยะ เลย ปรากฏออกมา ปรากฏออกมา ปรากฏทาง จติ ใจ แลว้ กอ็ อกมาทางวาจาทางกายตอ่ ไป สว่ น นกี้ ม็ กั จะเรยี กกนั วา่ กรรม คอื มนั เปน็ การกระทำ� ออกมาอีกช้ันหน่ึงทางกายทางวาจา แต่ท่ีไม่ เรียกว่ากรรมก็ได้ คือเรียกว่ากิเลส ที่เรียกว่า กิเลส กิเลสของกรรม กเิ ลสของการกระท�ำ ๔

ถา้ วา่ ไมม่ กี เิ ลส ไมม่ ปี ญั หาอะไร ไมต่ อ้ งการ ธรรมะ ไมต่ อ้ งการอะไรอีกเลย ไม่ต้องมาศึกษา ไม่เกิดระบบการศึกษา ศีล สมาธิ ปัญญาก็ไม่ ตอ้ งเกดิ กไ็ ด้ ถา้ มนั ไมม่ ีกิเลสนี่ คิดดใู ห้ดี ถา้ ส่งิ ท่ี เรียกว่ากิเลสไม่ได้เกิดขน้ึ ท�ำร้ายมนุษย์ มันกไ็ ม่ ตอ้ งเกดิ ศาสนา และโดยเฉพาะพุทธศาสนา แต่ นกี้ เิ ลสมนั เกดิ ขนึ้ แลว้ กม็ นั ทำ� รา้ ยอยา่ งรา้ ยแรง เมอื่ มนษุ ยท์ นไมไ่ ด้ กต็ อ้ งหาทางหาวธิ อี ะไรตา่ งๆ ระงบั กเิ ลสทเ่ี กดิ ขน้ึ หรอื ทดี่ กี วา่ นนั้ กค็ อื ปอ้ งกันๆ ไม่ให้กิเลสเกิดขึ้น ท่ีจริงป้องกันไม่ให้กิเลสเกิด ขน้ึ น่ันแหละดี ดีกวา่ หรอื ดที ี่สุด เพราะถา้ กิเลส เกิดข้ึนแล้วมันเป็นทุกข์ มันจะดับกันโกลาหล แมจ้ ะดบั ไดก้ โ็ กลาหล เดอื ดรอ้ นวนุ่ วาย ปอ้ งกนั ไมใ่ หเ้ กิดน่ีดีท่สี ุด ๕

ที่ควรจะทราบคือมันเป็นของธรรมดาๆ ธรรมดาทส่ี ดุ คอื จติ ทไ่ี ดร้ บั สงิ่ แวดลอ้ มอยา่ งนน้ั แล้ว แล้วจิตน้ันไม่มีปัญญา ไม่มีความรู้ ไม่มี ปัญญา มนั ก็ตอ้ งเกดิ มนั กต็ ้องเกิดกิเลส ถ้าจิต ได้รับการฝึกฝนดี มันก็ไม่เกิด มันก็คุ้มครอง ป้องกันไวไ้ ด้ เร่ืองมันก็มาก เร่อื งมนั กม็ าก ทนี เ้ี รามาพดู กนั ถงึ เรอ่ื งกเิ ลสเกดิ ขนึ้ อยา่ งไร เรื่องท่ีจะต้องรู้เป็นพื้นฐานก็คือเร่ืองอายตนะ อายตนะนีแ้ ปลว่า ส่งิ ท่อี าจจะรู้จกั ได้ ที่เรารู้จกั ได้ ติดต่อได้ รู้จักได้ ที่มีอยู่ฝ่ายข้างในเรียกว่า อายตนะภายใน ได้แก่ ตา หู จมกู ลิ้น กาย ใจ พร้อมทั้งระบบประสาท ต้องอย่าลืมว่าตา หู จมูก ล้ิน กาย ใจ มันไม่ได้มีเฉยๆ มันมีระบบ ประสาทประจ�ำ ประจ�ำ ส�ำหรับท�ำความรู้สึก อยทู่ ง้ั ๖ อยา่ ง ประสาทตา ประสาทหู จมกู ลนิ้ ๖

กาย นชี่ ดั เจน แตส่ ่วนใจนไ้ี ม่นิยมเรียกว่าระบบ ประสาท แต่มันท�ำหน้าท่ีเหมือนกับระบบ ประสาทคอื รูส้ กึ ได้ แตเ่ ขาไมเ่ รยี กกนั หรือเรยี ก กันเพียง ๕ อย่าง ก็ส่งผลไปท่ีจิตใจอีกทีหน่ึง จิตใจกร็ ู้สึกเหมอื นกบั ท่วี ่าไอ้ ๕ อย่างนี้มนั รู้สกึ ก็สง่ ไปให้ รู้จักอายตนะภายใน ๖ อยา่ งไว้เป็น เรอ่ื งแรก เรอ่ื งทส่ี อง อายตนะภายนอก ทม่ี นั คกู่ นั กบั อายตนะภายใน คอื รปู เสยี ง กลน่ิ รส โผฏฐพั พะ ธรรมารมณ์ สำ� หรบั ตารสู้ กึ เรยี กวา่ รปู สำ� หรบั หู รู้สึกเรียกว่าเสียง ส�ำหรับจมูกรู้สึกเรียกว่ากลิ่น สำ� หรบั ลนิ้ จะรสู้ กึ เรยี กวา่ รส สำ� หรบั กายผวิ กาย ทว่ั ไปจะรสู้ กึ กเ็ รยี กวา่ โผฏฐพั พะ ทใ่ี จ ใจจะรสู้ กึ กเ็ รยี กวา่ ธรรมารมณ์ เพราะมนั เปน็ อารมณท์ จ่ี ะ เกดิ ขนึ้ ขา้ งนอก หรอื วา่ คลา้ ยกบั ขา้ งนอกเขา้ ไป ๗

กระทบขา้ งใน นสี่ องชดุ เทา่ นน้ั แหละ อายตนะ ภายในและอายตนะภายนอก ทนี ชี้ ดุ ทส่ี าม กค็ อื วญิ ญาณ วญิ ญาณกม็ ี ๖ อีกนั่นแหละ วิญญาณทางตา วิญญาณทางหู วญิ ญาณทางจมกู ตามหลกั พระบาลกี ว็ า่ เมอื่ รปู กระทบตา เม่ือมีรูปมากระทบตา ก็เกิดจักษุ วญิ ญาณหรอื วญิ ญาณทางตา รแู้ จง้ ทางตา เสยี ง มากระทบหูเกิดโสตวิญญาณ –วิญญาณทางหู กล่ินมากระทบจมูกก็เรียกว่าวิญญาณทางจมูก –ฆานวญิ ญาณ มากระทบทางลนิ้ ก็คอื วิญญาณ ทางลิ้น เรียกวา่ ชวิ หาวญิ ญาณ กระทบทางกาย กเ็ รยี กวา่ โผฏฐพั พะ เรยี กความรสู้ กึ เกดิ ขน้ึ เรยี ก ว่ากายวิญญาณ กระทบจิตเกิดข้ึน รู้สึกก็เรียก ว่ามโนวิญญาณ ดังน้ันวิญญาณก็หกอีกเหมือน กัน ๘

อาศยั การกระทบของอายตนะภายในและ ภายนอก สิง่ ทีเ่ รยี กวา่ วิญญาณก็เกดิ ข้ึน คือมนั ไมไ่ ดเ้ กดิ อยกู่ อ่ น คำ� นภี้ าษาบาลเี ขาใชค้ ำ� วา่ เกดิ ขึ้น อุปฺปชชฺ ติ –เกดิ ขนึ้ อาศัยตาด้วย อาศยั รปู ด้วย ถึงกนั อยู่ –อปุ ปฺ ชฺชติ จกฺขวุ ิฺ าณ น่ีบาลี วา่ อยา่ งนี้ อาศยั อายตนะขา้ งในกบั อายตนะขา้ ง นอกถงึ กันเข้า ก็เกิดส่งิ ทเี่ รียกวา่ วิญญาณ กน็ บั ได้เป็น ๖ ท�ำอายตนะภายใน ภายนอก จึงมี วิญญาณ ๖ เมอ่ื มวี ญิ ญาณอยา่ งนแ้ี ลว้ มนั รสู้ กึ อยอู่ ยา่ ง น้ีแล้ว ก็จะมีส่ิงท่ีเรียกว่าผัสสะ คืออายตนะ ภายใน อายตนะภายนอก กบั วญิ ญาณ มันรสู้ ึก กันอยู่ สามอย่างนี้ท�ำงานร่วมกันอยู่ ก็ หมายความว่าอายตนะภายในรู้สึกต่ออายตนะ ภายนอกโดยวิญญาณท่ีเกิดขึ้น ติณฺณ ธมฺมาน ๙

สงฺคติ ผสฺโส –ความถึงกันอยู่แห่งสิ่งทั้งสามน้ี เรยี กวา่ ผสั สะ มนั กม็ ี ๖ อกี นน่ั แหละ ทางตา ทาง หู ทางจมกู ทางลนิ้ ทางกาย ทางใจ โดยจักข-ุ สมั ผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผสั ชวิ หาสัมผัส กาย- สมั ผสั มโนสมั ผสั ขอใหส้ งั เกตดใู หด้ วี า่ สง่ิ ทเี่ รยี กวา่ สมั ผสั นน้ั มันสัมผัสของ ๓ อย่าง เด๋ียวจะเข้าใจเอาเอง ง่ายๆ พูดกันลวกๆ กันว่า ตาถึงกับรูปเรียกว่า จักขุสัมผัสน้ีไม่ถูกต้อง สัมผัสก็ต้อง ๓ อย่าง อายตนะภายใน อายตนะภายนอก และวญิ ญาณ สามอยา่ งถงึ กนั อยู่ หมายความวา่ ทำ� งานรว่ มกนั อยู่ อยา่ พูดเอางา่ ยๆ ว่า ตาเหน็ รปู เรียกว่าจักขุ- สัมผัส ต้องเกิดวิญญาณก่อน แล้ววิญญาณ ทำ� งานอยทู่ นี่ นั่ ดว้ ย อาศัยตารู้แจง้ รูป จงึ มสี ิ่งท่ี เรียกวา่ ผสั สะ ผัสสะมนั กม็ ี ๖ อีกแหละ เพราะ ๑๐

ว่าที่ใหเ้ กดิ ผัสสะมนั มี ๖ ตา หู จมูก ลิน้ กาย ใจ ทีน้ีก็มีผลสะท้อนออกมาเป็นสิ่งท่ีห้า คือ เวทนา เวทนา ผสสฺ ปจจฺ ยา เวทนา –เมอื่ มผี สั สะ เป็นปัจจัยเวทนาก็เกิดขึ้น เมื่อมีผัสสะทางไหน เวทนาก็เกิดทางน้ัน เวทนาก็มี ๖ ตามจ�ำนวน ของอายตนะ ของผสั สะ มันจงึ ๖ กันทงั้ ๕ ชุด ชุดละ ๖ ห้าชุดก็เป็น ๓๐ แจกเรียงตัวได้เป็น ๓๐ จัดเปน็ หมวดๆ มีเพยี ง ๕ หมวด ๕ x ๖ = ๓๐ ร้จู ักไว้ให้ดี ไอน้ น่ั แหละพ้นื ฐานหรอื วา่ ท่ีตัง้ หรือว่าแล้วแต่จะเรียกที่มันจะเกิดส่ิงท่ีเรียกว่า กเิ ลส รู้จักให้ดีเหมือนกับว่าเรารู้จักไอ้ส่ิงของ เหล่าน้ี อายตนะภายในคืออะไร อายตนะ ภายนอกคืออะไร วิญญาณคืออะไร ผัสสะคือ อะไร เวทนาคืออะไรน่ี ท้ังหมดน้ีเรียกรวมว่า ๑๑

อายตนิกธรรม คือสิ่งที่เน่ืองกันอยู่กับ อายตนะ เรื่องนีจ้ ะใชก้ ับเรอื่ งส�ำคัญๆ ทกุ เรื่อง ที่เกี่ยวกับทางจิตใจ เพราะว่ามันเป็นเร่ือง สำ� หรบั จติ ใจทจี่ ะเกดิ ทจ่ี ะดบั ทจ่ี ะตงั้ ทจี่ ะอะไร ก็ตาม ถ้าเรารจู้ กั อายตนิกธรรม ๕ หมวด ๓๐ อยา่ งน้ีแลว้ กจ็ ะเรยี กวา่ รู้จกั ตัวชวี ิต รู้จกั ตัวชวี ิต เพียงพอทีเดียว อย่างเพียงพอทีเดียว ตัวชีวิต คอื อายตนิกธรรม ๕ หมวด จงรู้จักเหมือนกับรู้จักสิ่งของเหล่านี้แหละ อย่าเพียงแต่จ�ำได้แล้วไม่รู้อะไรอยู่ท่ีไหน เรียน ในโรงเรียนมันจะท่องชื่อจ�ำได้แล้วไม่รู้อะไรอยู่ ทไี่ หน ขอใหร้ ู้เหมือนกับเรารจู้ ักทุกๆ ส่งิ ท่ีมีอยู่ รอบตัวเรา หมวดที่ ๑ คืออายตนะภายในเป็น อย่างไร รู้จักมันให้ดีๆ หมวดท่ี ๒ อายตนะ ภายนอก รู้ให้ดีรู้ให้ชัด แล้วก็หมวดวิญญาณ ๑๒

แลว้ ก็หมวดผสั สะ แล้วก็หมวดเวทนา ท�ำความ คุ้นเคยกับมันแล้วเข้าใจจะดีที่สุด น่ันแหละจะ เปน็ เหตุให้รธู้ รรมะตอ่ ไปได้ดี เพราะมันร้จู ักพ้นื ฐานทด่ี ี ท่ตี ัง้ ท่ีดี ทเ่ี กิดที่ดี อะไรทด่ี ี เกิดเวทนาแล้วเข้าใจนะ เข้าใจแล้วนะว่า เกิดเวทนาอย่างไร อายตนะภายใน อายตนะ ภายนอก วิญญาณ ผัสสะ เวทนา พอมเี วทนาน่ี เอาแล้วนี่ ตั้งตน้ ของปัญหาอยูท่ น่ี ี่ เรยี กว่าไอต้ วั โลกมันเข้ามาหาเราแล้ว ไอ้โลกเข้ามาทาง อายตนะ เป็นเวทนาเกิดขน้ึ โลกมาสมั ผสั เรา เวทนาน่ีก็มีเป็น ๓ ชนิด เวทนาเป็นสุข เวทนาเป็นทกุ ข์ เวทนาเป็นอทุกขมสุข พูดเป็น วทิ ยาศาสตรห์ นอ่ ยกว็ า่ เวทนาทเี่ ปน็ บวก เวทนา ทเ่ี ป็นลบ และเวทนาท่ีไมแ่ นว่ า่ จะเปน็ บวกหรอื เป็นลบ คอื เขา้ ใจไมไ่ ด้ ร้จู กั เวทนาทัง้ สามเสยี ให้ ๑๓

ดี ในฐานะทมี่ ันสัมผสั แล้วเกดิ เวทนา เกดิ อยกู่ บั เราตลอดเวลา ส่วนมากมันกเ็ ฉย มนั ไมร่ ้ไู ม่ชี้กัน เสยี แตถ่ า้ ไอส้ ว่ นทมี่ นั สำ� คญั ไมร่ ไู้ มช่ ไี้ มไ่ ดห้ รอก มันจะมเี ร่อื งที่รุนแรง เด๋ยี วก่อน ตรงนี้พดู ใหเ้ ข้าใจหน่อย เชน่ วา่ ตาเห็นรปู นี้ เพยี งแตเ่ หน็ เฉยๆ มันเปน็ อทกุ ขม- สขุ เวทนา ยงั ไมถ่ งึ กบั วา่ เปน็ สขุ หรอื ชอบใจ เปน็ ทุกข์ไม่ชอบใจ ส่วนในกรณีท่ีเป็นอทุกขมสุข เวทนา มันคล้ายๆ กับไม่มเี รอื่ ง แตม่ ันมเี รอ่ื งนะ มเี ร่ืองอยลู่ ึก คอื โง่ไมร่ ้นู นั่ แหละ –โมหะ ถ้ามันเป็นสุขเวทนาในฐานะท่ีเรียกว่าเป็น บวก กเ็ กดิ ตณั หา เวทนาใหเ้ กดิ ตณั หา ถา้ เวทนา เป็นบวกคือสุข มันก็เกิดตัณหา อยากจะเอา อยากจะเอา อยากจะมี อยากจะยดึ ครอง อยาก จะสะสม อยากจะเก็บไว้ให้มาก นี่ถ้าไอ้เวทนา ๑๔

นน้ั มนั เปน็ ทกุ ข์ คอื เปน็ ลบ มนั กเ็ กดิ ตณั หาทต่ี รง กนั ข้าม คือตณั หาทจ่ี ะไม่เอา ทจี่ ะไมเ่ อา ทีจ่ ะ ผลกั ออกไป ทจ่ี ะฆา่ เสยี ทำ� ลายเสยี มนั กเ็ ปน็ อกี พวกหนึ่ง ถ้ามนั ไมป่ รากฏเปน็ สุขหรอื ทกุ ข์ แต่ มันกอ็ ดสงสยั ไม่ไดม้ ันจะต้องมีอะไร มนั กส็ นใจ อยู่ด้วยเหมือนกัน แม้วา่ จะไม่สนใจแล้ว มนั ก็โง่ เท่าเดิม เรยี กวา่ โงเ่ ท่าเดิม หรือเพม่ิ ความโงโ่ ดย ไมร่ ู้สึกตัว เอ้า นกี่ ิเลสแหละ ฟังให้ดสี ิ พอตณั หามนั อยากจะเอา ตัณหาชนิดมันอยากจะเอา นี่ หมายความว่ามันโงม่ าตลอดสาย มนั ไม่มคี วาม รธู้ รรมะนะ มนั … ตณั หามนั จงึ เกดิ ถา้ มนั มคี วาม รู้ทางธรรมะแล้ว ผัสสะมันไม่ให้เกิด เวทนาโง่ ตณั หาโง่ ไมเ่ กดิ เดย๋ี วน้ีมนั โงม่ าตัง้ แตอ่ ายตนะ กระทบกนั มีวิญญาณ มผี สั สะ มเี วทนาโง่ มาถึง ๑๕

นี่ก็เป็นความอยากท่ีโง่ ความอยากที่โง่ นี้ ประเภทท่ี ๑ ก็อยากเอา ดงึ เขา้ มาหาตัว เปน็ กิเลสประเภทดึงเข้ามาหาตัว ก็คือกิเลส ประเภทที่ ๑ ราคะกเ็ รยี ก โลภะกเ็ รียก บทท่ี ๑ น่ีดึงเขา้ มาหาตวั โลภะกจ็ ะเอาเขา้ มาหาตัว ใน ความหมายเดียวกันกบั ราคะ แต่ราคะน้ไี ว้ใช้ใน กรณที ม่ี นั รนุ แรงมาก รนุ แรงมาก โดยเฉพาะเปน็ ไปในทางกาม ไอ้โลภะมันกว้างๆ ท่ัวไป แต่ก็ เหมือนกันแหละ เป็นพวกโลภะด้วยกันแหละ ราคะกเ็ ปน็ พวกโลภะ ถา้ จดั เอาแตแ่ มบ่ ทของมนั ก็คือหมวดโลภะ นี่กิเลสประเภทเอา ประเภท ดึงเขา้ มาเกิด เรียกวา่ ราคะบ้าง โลภะบ้าง ถา้ หากวา่ เวทนาไมถ่ กู ใจ คอื เปน็ เวทนาลบ เวทนาทกุ ข์ กเ็ กิดตณั หาชนดิ ทจี่ ะผลกั ออก คือ จะทำ� ลาย จะทำ� ลายเสยี หรอื ผลกั ออก ผลกั ออก ๑๖

ไมอ่ ยากจะมาเผชญิ หนา้ นเี่ ปน็ เวทนาฝา่ ยลบ ก็ เกิดตัณหาฝา่ ยลบ กเ็ กดิ กเิ ลสประเภทท่ี ๒ คือ โทสะ แตบ่ างทกี เ็ รยี กวา่ โกธะกม็ ี โทสะหรอื โกธะ กิเลสประเภทลบนี้ผลักออกหรือท�ำลาย กิเลส ประเภทหมวดท่ี ๒ คอื โทสะหรือโกธะ ท�ำลาย ทนี ท้ี ่ี ๓ ถ้ามันไม่ชดั ว่าสุขหรอื ทกุ ข์ ไม่ชัด วา่ บวกหรอื ลบ แตม่ นั กม็ ที ตี่ งั้ แหง่ ความสงสยั ไอ้ ความสงสัยน้ันแหละท�ำให้ผูกพัน เข้าไปผูกพัน รับเอามาเปน็ สงิ่ ที่ผกู พัน โดยหวงั อยวู่ า่ มันจะมี อะไรท่ีจะดีหรือจะมีประโยชน์ ดังน้ันก็เกิด อาการหมนุ เรียกวา่ หมุนอยรู่ อบๆ ดกี วา่ คือไม่ ดึงเข้ามาหรือไม่ผลักออกไป แต่มันหมุนอยู่ รอบๆ วิง่ ตามอยรู่ อบๆ คุณจำ� ไว้ ๓ คำ� กเิ ลสประเภทท่ี ๑ ดงึ เข้า มา ดงึ เขา้ มากม็ นั เป็นบวก นีม่ นั ชอบก็ตอ้ งการ ๑๗

กเิ ลสประเภทท่ี ๒ ผลกั ออกไป กม็ ันไม่ต้องการ เป็นกิเลสประเภทดันออก ประเภทท่ี ๓ ไม่รู้ อะไรกันแนก่ ว็ ิง่ ตาม คอื พวั พนั ยดึ ม่ันเหมอื นกนั เรยี กวา่ ยึดมั่นด้วยกนั ทงั้ ๓ ชนดิ แต่มันยึดมั่น คนละแบบ ราคะ หมวดที่ ๑ มอี าการจบั เอา ยดึ เอา ฉวยเอา หมวดที่ ๒ โทสะ จะท�ำลายอยู่นั่น แหละ หมวดท่ี ๓ ก็มวั เมา สมมตใิ หเ้ ปน็ ภาษา รูปธรรมก็ว่า อันหนึ่งดูดเข้ามาหาตัว อันหน่ึง ผลักออกไป อนั หนึง่ ไม่รู้จะท�ำอยา่ งไร ก็วิง่ ตาม อย่รู อบๆ นคี่ อื กเิ ลส มาจากเวทนา เวทนา เกดิ ตณั หา ตณั หาแปลวา่ ความอยาก ดงั นนั้ ขอใหร้ วู้ า่ คำ� วา่ อยากๆ ในที่น้ีมันอยากด้วยความโง่ ความ ต้องการด้วยความโง่ จึงจะเรียกว่าตัณหาหรือ โลภะ แตถ่ า้ มคี วามประสงคห์ รอื ตอ้ งการดว้ ยสติ ๑๘

ปญั ญาที่จะท�ำส่งิ ทีด่ ี ที่เปน็ ความถูกต้อง ท่เี ปน็ ความรอดออกไปได้ล่ะก็ ความอยากชนิดนี้ไม่ เรียกว่าตัณหา เรียกอย่างอ่ืน เรียกว่าสังกัปปะ สงั กปั ปะ มคี วามประสงคท์ จี่ ะทำ� ให้ดำ� เนินไป จนถึงผลทดี่ ี ผลทด่ี ี แตไ่ ดย้ นิ วา่ ทสี่ อนกนั ตามโรงธรรมศาลาวดั น่ี มันพูดเสียว่า ถ้าความอยากแล้วเป็นโลภะ เปน็ ราคะหมด เปน็ ตณั หาหมด ถา้ มคี วามอยาก เป็นโลภะหมด แล้วเทีย่ วสอนกนั เสยี อยา่ งนี้ ไม่ แยกว่าอยากด้วยอะไร ผมบอกให้รู้นะว่า ผม ก�ำลังบอกให้รู้ว่าแยกกัน ถ้าว่ามันอยากหรือ ตัณหาน่ะ มันอยากด้วยความโง่มาแต่ต้นโน้น แล้ว มันโง่นี่ ความอยากน้ันเรียกว่าตัณหาก็ได้ เรยี กวา่ โลภะก็ได้ แต่ถ้ามันอยากด้วยสติปญั ญา เหน็ วา่ เปน็ สิง่ ที่ตอ้ งท�ำ ควรทำ� ทำ� ใหม้ ี เชน่ ว่า ๑๙

อยากจะดบั ทกุ ขอ์ ยา่ งน้ี ความอยากอยา่ งนไ้ี มใ่ ช่ ตัณหา ถ้าจะยืมไปใช้ ก็เรียกว่ายืมไปใช้เป็น โวหารเล่นๆ เรียกว่าสังกัปปะ อยากในทาง ท่ีจะทำ� ใหม้ ันดขี ้นึ ภาษาอังกฤษเขากร็ จู้ กั แยก เขาแปลกนั ถูก ต้อง ท่ีคนมันแปลถูกต้อง ถ้าเป็นตัณหาอยาก ด้วยความโง่น้ี มนั ก็เรยี กวา่ craving บา้ ง เรียก วา่ desirer บ้าง อยากด้วยความโง่ แต่ถ้าความ อยากหรอื ความประสงคด์ ว้ ยสตปิ ญั ญาจะทำ� ให้ เกิดประโยชน์ขึ้นมา มันก็เรียก aspiration aspirate aspiration มนั อยากหรอื ต้องการท่ี จะท�ำให้เกิดข้ึนมา ให้เป็นไปจนถึงที่สุดแห่ง ความปรารถนา ด้วยความที่ควรจะต้องการ อย่างน้ีเรียกในภาษาบาลีหรือภาษาไทยเราก็ได้ วา่ สังกปั ปะ สพเฺ พ ปูเรนฺตุ สงกฺ ปปฺ า คณุ ว่าอยู่ ๒๐

ทุกวัน วา่ ยถา อนุโมทนาทาน –สพฺเพ ปูเรนฺตุ สงกฺ ปปฺ า จนโฺ ท ปณณฺ รโส ยถา มณิ โชตริ โส ยถา ไอ้สังกัปปา สังกัปปาตัวนั้น คือความอยากที่ อยากประสงค์ด้วยปญั ญา ไมเ่ รยี กวา่ ตณั หา ไม่ เรียกว่าโลภะ เป็นสิ่งที่ควรมี เอามาเป็นองค์ มรรคที่ ๒ สมั มาสงั กปั ปะ ความอยากหรอื ความ ประสงคท์ ี่ถูกตอ้ ง ท่ีถูกทีค่ วร เอาออกไป ไม่ใช่ กิเลส น้ีมันก็เหลือแต่โลภะกับราคะน่ีเป็นกิเลส ได้ ๓ ชนิด หมวดโลภะ ดูดเข้ามา หมวดโทสะ ผลักออกไป อาการธรรมชาติเหมือนท่ีเรียก push–pull pull ดงึ เขา้ มา push ดงึ ออกไป ถ้า โงเ่ ป็นโมหะ ว่งิ อยรู่ อบๆ นี่พดู อย่างนี้เพื่อจะจ�ำ ไดง้ า่ ยๆ จำ� กนั ไดง้ า่ ยๆ มนั ตอ้ งมาจากอวชิ ชาคอื โง่ทั้ง ๓ พวก ถ้ามันไม่มาจากอวิชชา มาจาก ๒๑

ปัญญาไม่เรียกว่ากิเลส ไม่เรียกว่าตัณหา เป็น ความประสงคท์ ค่ี วรจะมี ควรจะท�ำ พูดให้จ�ำง่ายอย่างหน่ึงก็เปรียบเหมือนไฟ –ราคะ ราคะเปรยี บเสมอื นไฟทเี่ ปยี ก ไฟทเี่ ปยี ก ถ้าพูดอย่างภาษาธรรมะ ภาษาจิต ภาษา วิญญาณ ก็พูดได้ ไฟท่ีเปียก โทสะนี่ไฟท่ีแห้ง โมหะนีเ้ ปน็ ไฟที่มดื ไฟทม่ี ืด สงั เกตดู มันตา่ งกนั อย่างไร ไฟเปียกมันจะเกิดผลอย่างไร ไฟแห้ง เกิดผลอย่างไร ไฟมืดจะให้เกิดผลอย่างไร แต่ แล้วก็เปน็ ไฟ คือทำ� ความทกุ ขด์ ้วยกนั ท้ังนน้ั ดงั นนั้ กเ็ รยี กมารวมกนั เสยี วา่ กเิ ลส ทง้ั ราคะ โทสะ โมหะ ไฟเปยี ก หรือไฟแห้ง หรอื ไฟมดื กเ็ ปน็ ไฟ ทัง้ นน้ั แหละ เป็นปัญหาคอื ให้เกดิ ความทกุ ข์ นีค่ ือตวั กเิ ลส ตวั กิเลส คือตณั หาทีแ่ จกไป ตามอาการ ๓ อยา่ งนัน้ จะอธบิ ายให้เข้ารูปกว็ ่า ๒๒

กามตณั หา ภวตณั หา วภิ วตณั หากไ็ ดเ้ หมอื นกนั แต่กอ็ ย่าอธบิ ายเอง คงจะไมถ่ กู เดยี๋ วนบ้ี อกให้ รวู้ า่ ไอต้ ณั หามนั แยกไปไดอ้ ยา่ งนี้ ตณั หาจะเอา ตัณหาจะท�ำลาย ตัณหาจะมัวเมาวนเวียนอยู่ ราคะ โทสะ โมหะ สามค�ำจ�ำให้มั่น นี่เรียกว่า กิเลส เป็นของธรรมดาท่ีสุดใช่ไหม พอเร่ืองมัน เกิดข้ึนในลักษณะท่ีจะให้โง่แล้วอยากจะเอา กเิ ลสประเภทที่ ๑ พออยากจะทำ� ลายกป็ ระเภท ท่ี ๒ ไมร่ จู้ ะทำ� อยา่ งไรดกี เ็ ปน็ ประเภทท่ี ๓ เรยี ก วา่ กเิ ลสๆ เสมอกนั นเ้ี ปน็ กเิ ลสประเภทสมบรู ณ์ สมบูรณข์ องกิเลส และในลกั ษณะชนั้ ตน้ หรือ ธรรมดาๆ รู้จกั ใหด้ ี ร้จู ักใหเ้ หมือนรู้จักวตั ถุ ทีน้ีเมื่อเกิดกิเลสแล้ว เม่ือเกิดกิเลสแล้ว หรือว่าแม้เรื่องที่ผ่านไปแล้วก็ตาม มันท้ิงไอ้ส่ิง ๒๓

หนง่ึ เหลอื ไว้ เรยี กว่าความเคยชนิ แหง่ กเิ ลส คือ ความเคยชินที่จะเกิดกิเลสอีก คือน่ีท่ีจริงเป็น ความเคยชินที่จะเกิดกิเลสอีก แต่บางพวกเขา เรยี กมนั วา่ กเิ ลสอกี เหมอื นกนั เรยี กวา่ กเิ ลสนอน ในสนั ดาน ทจ่ี รงิ มนั เปน็ เพยี งความเคยชนิ ทเี่ กบ็ ไวใ้ นขอบวงของจติ ในสนั ดาน เพอื่ จะเกดิ อยา่ ง นนั้ อกี นีก่ ็เรยี กวา่ อนุสยั อนสุ ัย เกดิ กเิ ลสทุกที จะสร้างอนสุ ัยไวห้ นว่ ยหนงึ่ ทกุ ที เกิดกิเลสทุกที หรือทุกหน่วยก็ตาม มันจะสร้างความเคยชินที่ จะเกิดกิเลส ไอ้หน่วยหน่ึงนี้เรียกว่าอนุสัย ประเภทความเคยชนิ แหง่ กิเลส เกบ็ ไว้ๆ ถา้ เราเกดิ กเิ ลสมากหลายหน อนสุ ยั นกี้ ม็ าก มาก มาก เก็บไวใ้ นสนั ดานมาก กิเลสประเภท อนสุ ยั ยอมใหเ้ รยี กชอ่ื วา่ กเิ ลสประเภทอนสุ ยั คอื ความเคยชนิ แหง่ กเิ ลส ถา้ เรยี กใหถ้ กู ตามเหตผุ ล ๒๔

หรือทางวิทยาศาตร์สักหน่อย ก็เรียกว่าความ เคยชินแห่งกเิ ลส แตถ่ า้ เรียกอยา่ งทีพ่ ูดกนั ชนิ ไว้ ตามศาลาวัดท่ีเรียกว่า อนุสัยน้ีเรียกว่ากิเลส ทนี่ อนเนอื่ งอยูใ่ นสนั ดาน ก็จดั มนั เปน็ กเิ ลสเตม็ ความหมาย แตผ่ มอยากจะเสนอแนะวา่ มนั เปน็ เพียงความเคยชินแห่งกิเลส คือพร้อมที่จะเกิด ข้นึ มาโดยงา่ ย พรอ้ มท่ีจะเกิดข้ึนมาโดยง่าย ดัง น้ันใครเคยเกิดกิเลสมาก เคยเกิดกิเลสมาก ก็ เก็บอนุสยั ไวม้ าก ในสนั ดานเต็มไปดว้ ยอนุสยั แลว้ อนสุ ยั นนั้ แหละ มนั พรอ้ มทจี่ ะดนั กลบั ออกมา ถ้าได้โอกาส ถ้าได้อารมณ์ น่ีไปท่ีไหน เกดิ โอกาสเกดิ อารมณท์ ม่ี ายว่ั อนสุ ยั มนั กไ็ ฟ ขวั้ บวกขว้ั ลบทม่ี นั จะกระโดดออกมาหาไออ้ ารมณ์ คอื เกดิ กเิ ลสใหมอ่ กี นกี้ เิ ลสทไ่ี หลออก ไหลกลบั ออก กเิ ลสอยา่ งนเ้ี ราเรียกชอื่ ว่าอาสวะ อาสวะ ๒๕

–กิเลสไหลออก ท่ี ๑ กเิ ลสเฉยๆ เกดิ ขน้ึ แลว้ ที่ ๒ กเิ ลสท่ี เก็บไว้เป็นความเคยชิน เก็บไว้ในสันดาน แล้ว กิเลสท่ี ๓ ท่ีมันมาก อนุสัยมากเข้าๆ มันเป็น กิเลสที่จะไหลกลับออกมา เม่ือมีโอกาส เมื่อมี อารมณ์ พอมโี อกาส พอมอี ารมณ์ เรากเ็ กดิ กเิ ลส ง่าย รักง่าย โกรธง่าย เร็วจนบังคับกันไม่ หวาดไหว ความเคยชินทจี่ ะราคะ ความเคยชิน ทจี่ ะโทสะ ความเคยชินทจ่ี ะโมหะ มนั มากและ เกดิ ได้เร็วมาก มันกเ็ กิด ถ้าเก็บอนุสยั ไวม้ าก ก็ เกิดง่ายเกิดเร็ว ก็มีปัญหาสิ ยงุ่ ยากล�ำบาก ทีนี้มันมีทางท่ีจะดับอนุสัย กิเลสท่ีเคยชิน ทเ่ี กบ็ ไว้นะ่ มันมที างทีจ่ ะดบั โดย ๒ วิธีอย่างนี้ สองวธิ ดี กี วา่ วธิ ที ่ี ๑ กเ็ รยี กวธิ บี งั คบั บงั คบั ดว้ ย อ�ำนาจของสมาธิอะไรก็ตามว่า ไม่ให้มันเกิด ๒๖

กิเลสอีก คอยบังคับไว้ได้ไม่ให้มันเกิดกิเลสอีก กิเลสมันควรจะเกิด ก็บังคับไว้ได้ไม่ให้มันเกิด กิเลสอีก มันก็ลด ลดอนุสัยลงทุกทีเหมือนกัน ถ้าเราบังคับไม่ให้เกิดกิเลสได้อีกต่อไปและ บอ่ ยๆ บอ่ ยๆ เข้า อนุสัยมันกล็ ด ลดลงๆๆ จน กระทั่งหมดก็ได้ น่ีทางหน่ึงนะ แปลว่าอย่าให้ เกิดกิเลส คือไม่เพิ่มความเคยชินนั้นน่ะ ความ เคยชินมันก็ลด ทีน้ีอีกวิธีหนึ่งก็คือวิปัสสนา- ญาณ วปิ ัสสนาญาณทแี่ ท้จริง ทถ่ี ูกตอ้ ง สร้าง ขึน้ มา มนั ก็ละลายอนุสยั ท�ำลายอนุสัยให้หมด ไปไดเ้ หมอื นกัน บรรลมุ รรคผลได้ นีอ่ นุสยั ไมม่ ี แล้ว กไ็ มม่ ีอาสวะแลว้ มันไม่มีอะไรจะไหลออก มา ดังนั้นพยายามบังคับอย่าให้กิเลสเกิดเถิด อนุสัยที่สะสมไว้มันก็ลดเหมือนกัน บังคับให้ได้ ๒๗

ครั้งหน่ึงก็อนุสัยลดไปหน่วยหน่ึงแหละ เก็บไว้ หลายสิบหน่วยหลายร้อยหน่วย ลดมันด้วยว่า พอกเิ ลสมันควรจะเกิด มนั ควรจะเกิด บังคับไว้ ได้ไม่ให้เกิด ลดอนุสัยหน่วยหนึ่ง อนุสัยก็ลดๆ ลดลง ท่ีเก่งกว่านั้น ก็ท�ำวิปัสสนาเห็นแจ่มแจ้ง ทำ� ลายอนสุ ยั ลดลงๆ จนหมด นก้ี ส็ นิ้ อาสวะ เมอ่ื สิ้นความเคยชินของกิเลสท่ีเก็บไว้ แล้วมันก็สิ้น อาสวะทจ่ี ะไหลกลับออกมา เข้าใจกันง่ายๆ ประเภทกเิ ลสเกดิ ตามปกติ แลว้ ประเภทความเคยชนิ ทเ่ี กบ็ ไว้ แลว้ กท็ ม่ี นั จะ ไหลออกมา คำ� แรกเรียกว่ากิเลส คำ� ทสี่ องเรียก วา่ อนสุ ยั คำ� ที่สามเรียกว่าอาสวะ คณุ รจู้ ักกิเลส ท้งั ๓ ประเภท จัดการให้มนั ถูกเร่ือง อยา่ หลับ หหู ลบั ตาเหมาๆ พดู ๆ ไมร่ วู้ า่ อะไรเปน็ อะไร รจู้ กั กิเลส ช้ันแรกเกิดเป็นกิเลส ชั้นท่ีสองเก็บไว้ ๒๘

เป็นความเคยชนิ เรียกวา่ อนุสัย ช้ันสามมันจะ ไหลกลบั ออกมาเรียกวา่ อาสวะ ถา้ วา่ เกบ็ อนสุ ัยไวม้ าก ไว้มาก ไวม้ าก มัน ก…็ ความทจี่ ะดนั กลับออกมามันก็มาก เหมอื น กับเราเอาน�้ำใส่ตุ่ม ตุ่มนั้นมีรูรั่วนิดหน่ึง ถ้าใส่ น้อยมันก็ดันออกน้อย แต่ถ้าเราใส่มากเต็มอัด กันมันก็พุ่งแรง มันปรี่ออกมาเลยเต็มที่ นี่ก็มัน อยู่ท่ีว่า อนุสัยมันมากหรืออนุสัยมันน้อย ถ้า อนสุ ยั มนั มากกเ็ หมอื นกบั อดั ฉดี เปน็ อยอู่ ยา่ ให้ เกิดกิเลสเพิ่มเติม อนุสัยจะลด การประพฤติ พรหมจรรยเ์ พอ่ื ไมใ่ หก้ เิ ลสเกดิ ขนึ้ มาอกี อนสุ ยั มนั จะลด แตท่ จ่ี ะลดกนั อยา่ งจรงิ จงั อยา่ งนา่ บชู า ก็คอื วิปัสสนาทถ่ี กู ตอ้ ง ลดอนสุ ยั ตัดอนุสยั ลด ลงๆ จนหมด หมดอนุสัยก็หมดกิเลส หมดกเิ ลส แลว้ เป็นพระอริยเจ้า ๒๙

ดงั นนั้ เราประพฤตใิ หเ้ ปน็ ปกติ อดกลน้ั หรอื บงั คบั ไมใ่ หม้ นั เกดิ กเิ ลส ในทม่ี นั ควรจะเกดิ เรอื่ ง มันพร้อมแล้วท่ีควรจะเกิด แต่เราบังคับไว้ได้ ทกุ ทไี ป นว้ี เิ ศษเหมอื นกนั เปน็ อบุ ายลดนสิ ยั ลด นิสยั ลดนสิ ยั ขา้ งใน ลดอนสุ ัย ไม่ใช่ ค�ำน้อี นุสัย จะเรียกว่านิสัยก็พอใช้ได้เหมือนกัน แต่ท่ีถูก เรียกว่าอนุสัย ค�ำนี้แปลว่าตามนอน นอนตาม หรือตามนอน ตดิ ตามทไ่ี ปนอนอยดู่ ว้ ย น่เี รอ่ื งของกเิ ลสเปน็ ๓ ชน้ั อยูอ่ ย่างน้ี รู้จัก กเิ ลสใหถ้ งึ ทส่ี ดุ ของมนั กอ็ ยา่ งน้ี คณุ ทบทวนใหม่ สิ อายตนะภายใน ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อายตนะภายนอก รูป เสียง กลน่ิ รส โผฏฐัพพะ มาถึงกนั เข้ากเ็ กดิ วิญญาณ ท้ังสามอยา่ งนีถ้ งึ กนั อยู่เรียกว่าผัสสะ พอมีผัสสะแล้วไม่ต้องสงสัย เลยวา่ มเี วทนา น้ีเวทนานี้เปน็ สขุ บา้ ง เป็นทกุ ข์ ๓๐

บา้ ง เปน็ อทกุ ขมสขุ บา้ งนนั่ แหละ มนั จงึ เกดิ เปน็ กิเลส ๓ ประเภทข้ึนมา เวทนาบวก น่ารักน่า พอใจ เกดิ กเิ ลสประเภทบวก เวทนาไม่นา่ รักไม่ นา่ พอใจ เปน็ ทกุ ข์ กเ็ กดิ กเิ ลสประเภทลบ ถา้ มนั ไมแ่ น่วา่ บวกหรอื ลบ กเ็ กดิ กิเลสโง่ โมหะ ศกึ ษาไวใ้ หด้ ี จะไดก้ ำ� หนดใหด้ วี า่ กเิ ลสไหน กำ� ลังเกดิ ในความรู้สึก เพราะมนั เกดิ เมื่อไรกไ็ ด้ เดินไปตรงนี้มีเกิดก็ได้ สะดุดข้ึนมาแล้วมันก็ไม่ ชอบใจ กเ็ กิดกิเลสประเภทลบ ไปพบของน่ารัก น่าพอใจ มันก็เกิดกิเลสประเภทบวก ถ้าไมร่ ูว้ า่ อะไร มันก็อยู่ในความจ�ำในความสงสัย เพราะ วา่ ตวั ตนมนั ยงั อยู่ ความรสู้ กึ วา่ ตวั ตนมนั ยงั มอี ยู่ มนั ยงั สงสยั ยงั พยายามทจ่ี ะทำ� ใหเ้ ปน็ ประโยชน์ ถ้าส้นิ กเิ ลสโดยส้นิ เชงิ คอื วา่ ไมอ่ าจจะเกิด ไดอ้ กี ตอ่ ไป กเ็ ปน็ พระอรหนั ต์ ความสน้ิ กเิ ลสนน้ั ๓๑

เรียกว่านิพพาน ถา้ มันสน้ิ ชั่วคราว ส้ินช่วั คราว มันก็ยังเกิดใหม่ มันเกิดใหม่ ยังเกิดอีก ฝึกสติ เท่านน้ั ท่จี ะชว่ ยได้ ฝกึ สติ ฝกึ อานาปานสติ ให้ เกดิ สตมิ ากพอ จะเปน็ สตเิ ปน็ สมั ปชญั ญะ ไมเ่ ปดิ โอกาสให้มันเกิดกิเลส ถ้ามีสติพอไม่เกิดกิเลส หรอื พอสกั วา่ เปน็ ผสั สะ ผสั สะแลว้ กร็ ตู้ วั ไดท้ นั ที ว่า เอ้าผัสสะนี่ จะโงก่ บั มันไมไ่ ด้ มันต้องศึกษา ใหร้ เู้ รอ่ื งของกเิ ลส ไมห่ ลงใหโ้ งใ่ นเรอ่ื งผสั สะ อยา่ ใหเ้ ปน็ ผสั สะโง่ แลว้ กไ็ มเ่ ปน็ เวทนาโง่ คอื ไมเ่ ปน็ เวทนาท่ีหลอกลวง มันก็ไม่เกิดตัณหา ไม่เกิด ตัณหาคอื ไม่เกิดกเิ ลส ในกรณอี ยา่ งนเ้ี ราเรยี กวา่ กเิ ลส แตใ่ นภาษา ปฏิจจสมุปบาทเรียกว่าตัณหา ตัณหากับกิเลส น้ันมันแทนกันได้อย่างน้ี นี่ระบบท้ังหมดของ กิเลสมีอยู่อย่างน้ี มาตามล�ำดับของอายตนิก- ๓๒

ธรรม พอมาถึงขั้นท่ีมีตัณหา ก็แยกออกเป็น กเิ ลสประเภทบวก ประเภทลบ ประเภทไม่บวก ไม่ลบ ไม่อาจจะร้วู า่ บวกหรือลบ ความอยากท่ีจะท�ำบุญ อยากจะท�ำกุศล อยากจะฆ่ากิเลส น้ันไม่เรียกว่าตัณหา มีได้คือ ปญั ญา มสี ตปิ ญั ญา มนั กต็ อ้ งไปหาเครอ่ื งมอื ถา้ จะฆา่ กิเลส หาเครือ่ งมือกค็ ือนี้ สติ ไปฝกึ อานา- ปานสติไว้ให้เพียงพอ มันจะได้ธรรมะหลาย อย่างหลายประการ แต่ท่ีเราจะเอามาใช้กัน จรงิ ๆ เปน็ คูห่ ูคู่มือกนั น่ี ๔ อยา่ งน่สี �ำคัญมาก ๔ อย่าง สติ ปัญญา แล้วก็สัมปชัญญะ แล้วก็ สมาธิ พอกิเลสจะเกิดทางตา สมมติว่าทางตา พร้อมท่ีจะเกิดทางตา สติระลึกได้ ระลึกได้ทัน ควนั แบบสายฟา้ แลบ สตริ ะลกึ ได้ โอน้ มี่ นั จะเกดิ ๓๓

กิเลส มันก็ระลกึ ถงึ ปญั ญา เคล็ดวชิ าหรอื ความ รวู้ ่าข้อไหนทจี่ ะทำ� ลายไอ้กิเลสท่จี ะเกิดน้ี กเ็ อา ปัญญาข้อน้ันแหละ มาเผชิญหน้ากับอารมณ์ที่ จะท�ำให้เกดิ กิเลส เอาปญั ญามาเพ่อื เผชญิ หน้า กบั อารมณท์ จ่ี ะเกดิ กเิ ลส ทนี ปี้ ญั ญานน้ั มนั มมี ากอยา่ ง เอามาเฉพาะ อยา่ งเฉพาะทม่ี นั จะเลน่ งานกเิ ลสตวั นี้ ทำ� ใหเ้ ขม้ ข้นในการที่จะแจ่มแจ้งที่จะรู้จักนี่ ก็เปล่ียนชื่อ หน่อย ปัญญานี้เปลี่ยนช่ือหน่อยเรียกว่า สมั ปชัญญะ คือสตกิ ไ็ ด้ หรือปัญญากไ็ ด้ แลว้ แต่ จะเรียก ทพี่ รอ้ ม ที่เหมาะ ท่ีเฉพาะ ที่จะจัดการ กับกิเลสตัวน้ี เปรียบเหมือนกับว่าเรามีอาวุธ เยอะแยะเกบ็ ไว้ ทจ่ี ะใชอ้ าวธุ แตพ่ อถงึ เรอ่ื งทจ่ี ะ ใช้ เวลาจะใชจ้ รงิ ๆ มนั ใชอ้ ยา่ งเดยี วเทา่ นน้ั แหละ มันไม่ได้ใช้ทุกอย่าง ปัญญานี้ศึกษาไว้มาก ๓๔

หลายๆ อย่างหลายๆ เรอ่ื ง แต่พอจะมาเลน่ งาน กิเลส ก็เอามาเฉพาะอันท่ีมันเหมาะกับกิเลสนี้ กเิ ลสคราวนี้ กเิ ลสอยา่ งน้ี ปญั ญามาเปลีย่ นรูป เฉพาะ เป็นเฉพาะหน้าที่อย่างนี้ก็เรียกว่า สัมปชัญญะ รู้สึกตัวท่ัวพร้อมอยู่ เผชิญกับ อารมณ์ทจ่ี ะให้เกดิ กเิ ลส ทีน้มี นั กม็ ีปัญหาว่าก�ำลังมนั ออ่ น ก�ำลงั จติ มนั ออ่ น กำ� ลงั ปญั ญามนั กอ็ อ่ น กำ� ลงั สมั ปชญั ญะ มันก็อ่อน ท�ำให้ก�ำลังมันเข้มแข็ง เข้มแข็งหนัก ข้ึนมา สมาธิ ฝึกสมาธิ ก�ำลังสมาธเิ พ่มิ เขา้ ไป ก็ มกี ำ� ลงั กำ� ลงั มากพอ ถา้ ปญั ญามนั ไมม่ กี ำ� ลงั ของ สมาธิแล้ว มันไม่อาจจะท�ำหน้าท่ี ดังน้ันสมาธิ กับปัญญากเ็ ปน็ คู่หูคู่เกลอกนั ท�ำงานร่วมกัน ปญั ญาเปรยี บเหมอื นกบั ความคม ความคม ไอค้ มกรบิ คมอะไรคมนนั่ แหละ แตถ่ า้ มนั ไมม่ นี ำ้� ๓๕

หนกั ทจ่ี ะกดความคมลงไปมนั กไ็ มต่ ดั มนั กไ็ มต่ ดั มนั ก็คมเฉยๆ คมไม่ตดั ตอ้ งมนี �้ำหนกั ใหม้ ันกด ความคมลงไป ทเี่ ปน็ นำ�้ หนกั กดความคมลงไปน่ี เราเรียกว่าสมาธิ สมาธิต้องมีพอ จะมีน้�ำหนัก มากพอที่ปัญญามันจะตัดลงไป ปัญญาที่เป็น สมั ปชญั ญะทเี่ ลอื กเอามาเฉพาะดแี ลว้ นน่ั แหละ มันต้องเลือกเอามาให้ถูกกับเร่ืองด้วย จะเอา ปญั ญาขอ้ ไหนปญั ญาชนดิ ไหน ถา้ เราไดศ้ กึ ษาไว้ ทวั่ ถงึ ไวด้ แี ลว้ มปี ญั ญาอยใู่ นสตอ็ กทเ่ี กบ็ มากทกุ อย่างหรอื รอบรู้ หรือจะเปรียบอีกอย่างหนึ่ง ก็เปรียบ เหมือนกับหยูกยารักษาโรค เราเอามาไว้เป็นตู้ เลย ในตู้นั้นมียาทุกอย่าง แต่พอถึงคราวจะใช้ ใช้อย่างเดียวเท่านัน้ แหละ ใครกินยาหมดตบู้ า้ ง มันบ้า มันกินเฉพาะไอ้ยาที่มันจะแก้โรคที่มัน ๓๖

เกิดขึ้นเฉพาะน่ี มันจะกินเฉพาะยานั้นเท่าน้ัน แหละ นี่ก็เหมือนกันแหละ อาวุธก็เลือกมาใช้ เฉพาะอยา่ ง ยาก็เลือกมาใช้เฉพาะอย่าง พอมา เฉพาะอย่าง ออกมาจากหมู่ นี้ก็เรียกว่า สัมปชญั ญะ ก็คอื ปัญญานั่นเอง ปญั ญาทง้ั หมด กับอันปัญญาเฉพาะหนา้ ที่ เฉพาะหนา้ ที่ เรียก ว่าสัมปชัญญะ สมั แปลวา่ พร้อม ปะ แปลวา่ ท่ัว สมั ปชญั ญะ แปลว่า รู้ทัว่ พร้อม คอื เหมาะ สมทีจ่ ะท�ำหน้าทเี่ ฉพาะหน้าที่อันน้ี ส่ีเกลอจ�ำไว้ แล้วก็มี พยายามมีเกลอ ๔ เกลอน้ี จะรอดที่จะเผชิญกิเลส มเี กลอ ๔ เกลอ สติ ปญั ญา สมั ปชญั ญะ สมาธิ ถา้ มสี เ่ี กลอนแ้ี ลว้ ก็สามารถเผชิญกิเลส ทบทวนอีกที พออารมณ์ รา้ ยมนั เกิดข้ึนมากระทบ จะเกิดกเิ ลส สตริ ะลึก ไดท้ นั ทวี า่ อะไรๆๆๆ หรอื วา่ จะหยดุ ไวก้ อ่ น แลว้ ๓๗

ก็เอาปัญญามารู้ว่า มันเป็นเรื่องอะไร แล้วเอา ปัญญาที่จะแก้ไข ก็เอาข้อน้ันมาเป็นยาเฉพาะ เฉพาะกิจเฉพาะเร่ือง เรยี กวา่ สมั ปชญั ญะ แล้ว ก็เพิ่มก�ำลังจิตที่เข้มแข็งๆ เข้มแข็ง ลงไปใน สมั ปชญั ญะ มนั กจ็ ดั การอารมณแ์ ลว้ เงยี บไป ไม่ เกดิ กิเลส ไมเ่ กดิ กิเลส น่คี ู่ปรับของกเิ ลสมนั เป็น อย่างน้ี จะต้องรู้ไว้ด้วยในฐานะที่จะเล่นงานกับ กเิ ลส จะตอ่ สกู้ บั กิเลส จะปอ้ งกนั กิเลส หรอื จะ ทำ� ลายกเิ ลสกต็ าม มี ๔ เกลอนี้ก็พอ ก็เรยี กว่า รอดตัวแล้ว ดังนั้นการท่ีจะฝึกอานาปานสติให้ ได้เต็มท่ีไว้ มันดีมากอย่างนี้ มีประโยชน์มาก อย่างน้ี แต่ดูไม่ค่อยจะสนใจกันนัก ไม่ค่อยจะ สนใจกนั นกั เรากพ็ ยายามจะใหฝ้ รง่ั ทเ่ี ซน็ เตอรน์ นู่ ๑ ๑ ธรรมาศรมนานาชาติ ๓๘

เขาส�ำเร็จในการฝึกอานาปานสติ อย่าง เดียว แตม่ ันก็ยาก มันไมใ่ ช่ของทำ� ไดง้ ่ายๆ แต่ ถา้ ว่ามคี วามตงั้ ใจจริงพยายามจริง มนั กไ็ ด้ มนั ฝึกได้ จะมใี ช้ มีใช้ในการปอ้ งกนั และระงับกเิ ลส ถ้าเด๋ียวน้ีไม่ได้ ก็ฝึกต่อไป แม้จะสึกลา สกิ ขาออกไปแลว้ กฝ็ ึกตอ่ ไปเถิด ให้มี ๔ เกลอ น้มี ากข้ึน เขม้ แขง็ ขน้ึ เพยี งพอขึน้ แลว้ มันจะแก้ ปัญหาสารพัดอย่างน่ันแหละ ไม่ใช่แต่เฉพาะ กเิ ลสโดยตรงอยา่ งเดียว ปัญหาอ่ืนๆ ก็มาแกไ้ ข ได้ แต่ปัญหาแท้จริง ปัญหาไอ้ตัวร้ายกาจคือ กิเลส คอื กเิ ลส ปญั หาอืน่ ๆ ออกไปจากกิเลสท้ัง นน้ั ตวั กิเลสเป็นตน้ ตอแห่งปญั หา มนั ทำ� ความ เลวความร้ายได้ทุกอย่าง ก็คือกิเลส กิเลส ประเภทบวก กิเลสประเภทลบ กิเลสประเภท ไมร่ ู้วา่ บวกหรอื ลบ ๓๙

ท่แี ล้วมาแตห่ ลัง เราไมเ่ คย ไม่เคยรู้จัก ไม่ เคยสนใจ ไมเ่ คยจดั ระเบียบใหม้ ัน ดังนั้นศกึ ษา เสยี ให้รใู้ นเวลาที่บวชนี่ แลว้ ต่อไปกจ็ ะสามารถ พร้อมท่ีจะเผชิญกิเลส ก�ำจัดกิเลส รุกไล่กิเลส อย่าให้เข้ามาเก่ียวข้อง น่ีผมเรียกว่าเรื่องของ กเิ ลส ทกุ เรอื่ งทเี่ กย่ี วกบั กเิ ลส คอื อายตนกิ ธรรม ๕ หมวด ๓๐ อยา่ ง รไู้ วน้ น่ั แหละ มนั จะเกดิ กเิ ลส หรอื มันจะดบั กเิ ลส มนั ก็ตอ้ งจัดการให้ถูกทีนะ เราฝกึ เหมอื นกบั เขาฝกึ ๆ กฬี าฝกึ อะไรกต็ าม ให้ มนั เปน็ การท�ำได้ง่าย ท�ำไดถ้ ูกตอ้ ง ท�ำได้สำ� เรจ็ ตอ้ งฝกึ อยเู่ สมอ ตอ้ งฝกึ อยเู่ สมอ เมอ่ื ฝกึ อยเู่ สมอ สติ สติน้กี ไ็ วๆ ทนั เวลาทนั เหตุการณ์ สตินต้ี อ้ ง ไวทนั เวลา ถา้ สายเสยี แลว้ กเิ ลสครอบงำ� แลว้ จงึ รสู้ กึ อยา่ งนกี้ แ็ ย่ แตม่ นั กย็ งั ตอ้ งใชส้ ติ เพราะแม้ กเิ ลสมันครอบง�ำเสียแลว้ ก็ต้องมสี ตริ ะลกึ ไดว้ า่ ๔๐

กเิ ลสมันขคี่ อกูแลว้ มันกต็ ้องต่อส้กู ันไป ก็ยังใช้ สติ ใช้สัมปชัญญะ ใช้ปัญญา ไอ้ ๔ เกลอน้ัน แหละ แต่ว่าใช้อีกรูปแบบหน่ึง ทีนี้ใช้ท�ำลาย กิเลสที่ขึ้นมาข่ีคอก็แล้ว จะป้องกันกิเลสไม่ให้ เกดิ มนั ก็ใช้อกี วธิ หี น่งึ กิเลสมาขี่คออยู่แล้ว ก็ใช้ วิธีหนงึ่ เอากเิ ลสลง น่ีวันนี้เราไม่ได้พูดเร่ืองอ่ืน พูดเรื่องกิเลส หมดเวลาแล้วชั่วโมงหนึ่ง วันน้ีพูดเร่ืองกิเลส กิเลส แล้วก็ความเคยชินแห่งกิเลสคืออนุสัย และความทกี่ เิ ลสมนั พรอ้ มทจี่ ะไหลกลบั ออกมา น่ีเรียกว่าอาสวะ ใครเก็บอนุสัยอย่างไรไว้มาก คนนน้ั จะมกี เิ ลสชนดิ นนั้ ไวม้ าก ถา้ มนั เกบ็ อนสุ ยั ประเภทราคะไว้มาก ไอ้คนน้ันมันจะก�ำหนัด ราคะทางกามเร็วมากเหลือเกิน เร็วเหลือ ประมาณ ถ้าคนไหนมันเกบ็ กิเลสประเภทโทสะ ๔๑

หรอื ความโกรธไวม้ าก ไอค้ นนน้ั มนั กจ็ ะโกรธเรว็ เหลือประมาณอีกเหมือนกันแหละ นี่เร่ืองของ กิเลส วันนั้นเขามาเดือดร้อนมาหารือ ผมมันมี แตป่ ัญหาเรือ่ งโกรธเร็ว โกรธเร็ว มนั เก็บอนสุ ยั โกรธไว้มาก ตามธรรมดาคนก็มีอนุสัยประเภทกาม มี กิเลสประเภทกามราคะอะไรเกิดขึ้น มันก็เก็บ กิเลสที่ชื่อว่าราคานุสัย ราคะอนุสัย –ความ เคยชินประเภทราคะ ถ้าว่าเก็บกิเลสประเภท โทสะไวม้ าก เรยี กว่าปฏฆิ านุสัย ไอ้ราคะนีเ้ รียก ตามตัวตามเดิมว่าราคานุสัย แต่พอโทสะนี้ไป เรียกว่า ปฏิฆะ ปฏิฆานุสัย เรียกว่าเกิดกิเลส ประเภทโมหะเกบ็ ไวม้ าก เกบ็ อนสุ ยั โมหะไวม้ าก ก็เรียกว่าอวิชชานุสัย ราคานุสัย –เคยชินที่จะ เกิดราคะ ปฏิฆานุสัย –เคยชินท่ีจะเกิดโทสะ ๔๒

อวิชชานสุ ัย –มนั เคยชินทีจ่ ะเกิดโมหะ นเ่ี พราะ อนสุ ัยนีเ้ กบ็ ไวม้ าก เคยชินหรือรวดเรว็ ที่จะเกิด ราคะ เกิดโทสะ เกิดโมหะ เร่ืองของกิเลสเป็น อย่างน้ี คุณอย่าลืม อย่าทิ้งไว้ท่ีน่ี เอาไปคิดไป ใคร่ครวญ ทำ� ความเขา้ ใจใหด้ ี แลว้ ปรับปรงุ กบั ปัญหาของเราท่ีมีอยู่จริง เรามีปัญหาอย่างไร อะไรเป็นเจ้าเรือน ราคะเจา้ เรือน หรอื โทสะเจ้า เรอื น หรอื โมหะเจา้ เรอื น ไปปรบั ปรงุ กนั เสยี ใหม่ ใหม้ นั ถกู กบั เรอ่ื ง แลว้ พยายามลดอนสุ ยั ดว้ ยการ บังคับไม่ให้เกิดกิเลสอีก หรือถ้าดีกว่าน้ันก็ท�ำ วปิ สั สนาใหแ้ จม่ แจง้ มนั ลดดว้ ยวปิ สั สนา ลดดว้ ย การเหน็ อนจิ จงั ทกุ ขงั อนตั ตา อยา่ งแทจ้ รงิ มนั ทำ� ลายอนสุ ยั ลดลงไป มนั กเ็ ปน็ ช้ันดีเลศิ แตแ่ ม้ อย่างน้อยก็บังคับไว้ได้ ไม่ให้มันเกิด พอบังคับ ๔๓

ได้มันก็ไปลดอนุสัยหน่วยหนึ่งแหละ ราคะก็ดี โทสะกด็ ี โมหะก็ดี เอาละเป็นอันว่าวันน้ีรู้จักกิเลส เราพูดกัน เรอื่ งกเิ ลส รจู้ กั กเิ ลส รจู้ กั วธิ ที จ่ี ะปอ้ งกนั กเิ ลสไม่ ให้มันเกิดขึ้น รู้จักที่จะละกิเลสเมื่อมันเกิดข้ึน แล้ว การป้องกันไม่ให้เกิดกิเลสน้ันดีท่ีสุด การ ละกเิ ลสทเี่ กดิ ขน้ึ แลว้ นมี้ อมแมม และเราหวงั วา่ ทกุ ๆ รปู ทุกๆ องคน์ ้จี ะร้จู ักกเิ ลสดขี ้ึน ร้จู ักตวั จรงิ ของมันมากขึน้ และจะปอ้ งกันไดด้ ีข้นึ และ จะละได้ดขี ้ึน สำ� เร็จประโยชนส์ ูงสดุ วิเศษทีส่ ดุ ในการท่ีมีธรรมะ มีมรดกท่ีได้รับทอดจาก พระพทุ ธเจา้ คือการละกิเลส การละกเิ ลสทง้ั ๓ ประเภท ๔๔


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook