บทท่ี 2 เปน็ อยู่ : ทำ�ความรูจ้ ักกบั ความอสิ ระ (ว่าด้วยเรื่องสน้ั อยา่ งครา่ วๆ) เรอื่ งสัน้ คืออะไร เรือ่ งสั้นคอื เร่ืองท่ไี มย่ าว นคี่ อื ความหมายแทจ้ รงิ ไมไ่ ดต้ อบกวนตนี ใหห้ มน่ั ไส้ ความอิสระในการสร้างสรรค์งานเริ่มจากจุดน้ี จุดที่เปิด ความหมายของสิ่งท่ีจะทำ�ให้ได้กว้างที่สุดเท่าที่สมอง ของเราจะอ�ำ นวย ความยาวเทา่ ใดจงึ จะเรยี กวา่ ไมย่ าว ประเดน็ นท้ี �ำ ให้ ซับซ้อนขึ้นอีกนิด สำ�หรับผม ความยาวท่ียังเรียกว่าสั้นได้ ก็คืองานที่สามารถเสพโดยไม่ต้องหยุดพัก ไม่ต้องมีการ ตั้งสติใหม่หรือเตรียมตัวมากนัก ถ้าเป็นเร่ืองส้ัน ก็ควรจะ อ่านได้อย่างล่ืนไหลในหน่ึงน่ังหรือหนึ่งนอนหรือหนึ่งยืน ไม่ถึงกับทำ�ให้อวัยวะส่วนไหนปวดเม่ือยเคล็ดขัดยอกจน เกินไป แต่น่ันก็เป็นความรู้สึกส่วนตัว คนแต่ละคนย่อม ปราบดา หยุน่ 51
มีความอดทนในการเสพศิลปะหรืองานเขียนไม่เท่ากัน แม้แต่ตัวผู้เขียนเอง บางคนก็นิยมเขียนเร่ืองสั้นสั้นๆ บ้าง ก็ชอบเขียนเร่ืองสั้นยาวๆ บางทีต้ังใจจะเขียนเร่ืองส้ันๆ สมองกลับสว่างเห็นทางไกลกว่าที่คิด ก็เถลไถลยาวไป จนกลายเป็นนวนิยาย บางคนเริ่มด้วยโครงเร่ืองสำ�หรับ หนังสือหนาห้าร้อยหน้า พอเขียนไปเขียนมา เกิดตีบตัน จำ�ต้องเปล่ียนแผน หักเล้ียวจบเร่ืองตรงหน้าท่ีหกที่เจ็ด กลายเป็นเรอ่ื งสน้ั ทันที เคยอ่านนิยายแล้วมีความรู้สึกว่าที่จริงมีเนื้ออยู่ นิดเดียว เล่าสองสามหน้าก็จบบ้างไหมครับ น่ันแปลว่า โดยธรรมชาติของเรื่องนั้นควรจะเป็นเรื่องสั้นมากกว่า ในขณะท่ีเรื่องส้ันบางเร่ืองก็มีรายละเอียดย่อยยิบเสียจน น่าเสียดายท่ีต้องจบลงภายในไม่กี่หน้า กรณีหลังน้ีเกิดขึ้น กับนักเขียนชื่อดังหลายคน นิยายหลายเล่มจึงมีต้นตอ มาจากเร่ืองส้ันที่ควรจะยาวได้จากความเข้มข้นของชีวิต ตัวละครที่ไม่ยอมพบจดุ จบกะทนั หันเกินไป ผมคิดว่าเร่ืองสั้นมีคุณสมบัติพิเศษที่คล้ายกับการ ดูภาพเขียนหน่ึงภาพบนผนังหนึ่งผนัง นิยายก็เหมือนการ ดภู าพเขยี นขนาดใหญแ่ ละยาว ทรี่ ายลอ้ มรอบวดั หรอื โบสถ์ ต้องใช้เวลาเดินวนเป็นวัน หรือมากกว่านั้น เพื่อจะได้เห็น ครบถ้วน เรื่องสั้นเป็นศิลปะที่เก่ียวข้องกับเวลาปัจจุบัน 52 เปน็ : เรียงความวา่ ด้วยลมหายใจในตวั หนังสอื
กลา่ วคอื ผอู้ า่ นสามารถซมึ ซบั มนั เขา้ ไปไดโ้ ดยไมต่ อ้ งสานตอ่ ในอนาคต เหมอื นภาพเขยี นขนาดพอดี ทส่ี ามารถชนื่ ชมได้ ในการยนื ดคู รง้ั เดยี ว หากใครตดิ ใจจนอยากจะกลบั มาดใู หมอ่ กี อยากจะกลบั ไปอา่ นใหมอ่ กี นนั่ ถอื เปน็ คณุ สมบตั พิ เิ ศษของ งานแต่ละช้นิ ที่มีแรงดงึ ดดู ไมเ่ ทา่ กนั โดยสว่ นตวั ผมอา่ นเรอ่ื งสน้ั เปน็ ยาดว่ น ดว้ ยหวงั วา่ หากไดอ้ า่ นเรอ่ื งทดี่ ี กจ็ ะไดแ้ รงบนั ดาลใจอยา่ งฉบั พลนั และ มกั ไมห่ วนกลบั ไปอา่ นซ้ำ�อกี เวน้ แตบ่ างเรอ่ื งทอี่ า่ นครงั้ เดยี ว ไม่เข้าใจ หรือเร่ืองท่ียังมีสมาธิให้ไม่พอ ก็จำ�ต้องย้อนไป เรม่ิ ต้นใหม่บ้าง การเขียนเร่ืองส้ันก็เช่นกัน ผมมักเขียนเพื่อ ปลดปลอ่ ยแนวคดิ หรอื อารมณท์ ตี่ อ้ งการสอื่ สารอยา่ งรวดเรว็ และพยายามหลีกเล่ียงที่จะจมปลักอยู่กับเร่ืองหนึ่งเร่ือง เนิ่นนานเกินเหตุ เพราะผมรู้สึกว่าธรรมชาติของเร่ืองสั้น ขัดต่อการถูกหมักดองด้วยเวลา เมื่อหลายวันผ่านไป ความสดก็จะค่อยๆเสื่อมลง ค่อยๆเหี่ยวเฉาจนอาจจะเน่า ไดใ้ นทส่ี ดุ ผมจงึ คดิ วา่ เรอ่ื งสนั้ หนงึ่ เรอื่ งไมค่ วรใชเ้ วลาเขยี น นานกว่าหน่ึงสปั ดาห์ นหี่ มายถงึ เขยี นอย่างตดิ ต่อกัน ไมใ่ ช่ เขยี นทงิ้ ไวแ้ ลว้ มาเขยี นตอ่ ซง่ึ ในกรณหี ลงั นี้ ไมม่ ใี ครคาดเดา ไดว้ า่ เมอื่ ไรจะกลบั ไปสานต่อความคดิ ท่คี ง่ั ค้างได้อกี ปราบดา หยุ่น 53
เรื่องสั้น นอกจากจะคือเรื่องที่ไม่ยาว และใช้เวลา เขียนไม่นานนักแล้ว ในเร่ืองเน้ือหาและโครงสร้างไม่มี กฎเกณฑ์ตายตัวใดๆทั้งส้ิน น่ีคือความอิสระด่านแรก ทีผ่ เู้ ขียนต้องรจู้ ักใชใ้ ห้เปน็ ประโยชน์สูงสุด ผมเป็นคนหน่ึงที่มีความผูกพันชนิดเลยเถิดกับ ร้านหนังสือ คือต้องเข้าไปเหยียบอย่างน้อยวันละหน่ึงครั้ง หนงึ่ รา้ น เพราะผมตดิ หนงั สอื เหมอื นคนตดิ ยา วนั ไหนไมไ่ ด้ เข้าอาณาเขตแห่งหนังสือ วันน้ันจะรู้สึกเหมือนขาดบางส่ิง บางอย่างไป และเมื่ออยู่ในร้าน ผมเดินลุยดูหนังสือทุกชั้น ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นนิยาย สารคดี ศาสนา ปรัชญา ศิลปะ ท่องเที่ยว วรรณกรรมเยาวชน หนังสือการ์ตูน นิตยสาร ทุกชนดิ จริงๆ แตเ่ ชอ่ื ไหมวา่ ผมไมเ่ คยสนใจจะดสู ว่ นทขี่ ายหนงั สอื ว่าด้วย ‘วิธี’ เขียนหนังสือเลย ทั้งๆที่นั่นน่าจะเรียกร้อง ความสนใจของคนท่ีทำ�งานกับตัวหนังสืออย่างผมได้ ไม่น้อย ที่ผ่านมา ผมเคยอ่านหนังสือประเภท ‘ทฤษฎี’ แนะน�ำ และแนะแนวทางการเขยี นหนงั สอื ที่ ‘ด’ี และ ‘ประสบ ความส�ำ เรจ็ ’ มาบา้ ง แตเ่ จอเพยี งไมก่ เี่ ลม่ เทา่ นนั้ ทผ่ี มรสู้ กึ วา่ มปี ระโยชนอ์ ยา่ งแทจ้ รงิ เลม่ หนงึ่ ชอื่ The Elements of Style โดย วิลเลียม สตรัง จูเนียร์ (William Strunk Jr.) และ อี. บี. ไว้ท์ (E.B. White) เป็นคลาสสิกเล่มบางๆ (ไม่ถึง 54 เปน็ : เรียงความว่าด้วยลมหายใจในตวั หนงั สอื
ร้อยหนา้ ) ซ่ึงผมแนะนำ�เป็นอยา่ งยิ่งส�ำ หรบั คนท่อี า่ นภาษา อังกฤษได้ ถึงแม้ว่าจะเป็นหนังสือที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับ การใช้ภาษาอังกฤษให้สละสลวย แต่คำ�แนะนำ�หลายอย่าง ก็มีความเป็นสากลสูง ไม่ว่านักเขียนภาษาใด ก็น่าจะ ได้ประโยชน์หรือข้อคิดจากคัมภีร์เล็กๆเล่มนี้ ผู้เขียน ระมัดระวังท่ีจะ ‘สอน’ หรือแนะน�ำ เพียงวิธีขัดเกลาสำ�นวน การเรียงร้อยถ้อยคำ� และการใช้ไวยากรณ์อย่างเหมาะสม เทา่ น้ัน มิได้พยายามยัดเยียด วิธคี ิด วิธีสร้างสรรค์ผลงาน หรอื ประเด็นของงานทค่ี วรเขยี นใสส่ มองผูอ้ า่ นแต่อย่างใด หนังสือเก่ียวกับการเขียนหนังสือมีอีกมากมาย หลายเลม่ ทง้ั โดยอาจารย์นกั วชิ าการนกั ทฤษฎีนกั ปรชั ญาและ นักเขียนทม่ี ชี อ่ื เสยี ง ลา่ สดุ สตเี ฟน่ คงิ ราชานยิ ายระทกึ ขวญั ของอเมรกิ ากเ็ พง่ิ ตพี มิ พห์ นงั สอื ชอื่ On Writing: a Memoir of the Craft ออกมาสู่สายตาสาธารณชน ปรากฏว่าเป็นงานที่ นา่ สนใจทเี ดยี ว อาจจะไมอ่ มตะเทา่ The Elements of Style (ซ่ึงคิงยกให้เป็นหนังสือในดวงใจเหมือนกัน) แต่ผมว่า ก็จัดอยู่ในกลุ่มเชื่อถือได้ และเป็นประโยชน์กว่าหนังสือ โดยนักวิชาการหรือนักทฤษฎีหลายคนท่ีมุ่งแต่จะจำ�กัด จนิ ตนาการ จ�ำ แนกประเภทวรรณกรรมและชขี้ าดความดชี ว่ั ของงานสร้างสรรค์ โดยมีพื้นฐานรองรับชัดๆเพียงรสนิยม กบั ทัศนคติส่วนตัวเท่าน้นั ปราบดา หยนุ่ 55
เรอื่ งสน้ั ทเ่ี รารจู้ กั กนั ในปจั จบุ นั วา่ กนั วา่ เปน็ อทิ ธพิ ล จากตะวนั ตก ใครจะเปน็ ผูค้ น้ คิดหรือเขยี นข้ึนเปน็ คนแรกๆ ปลอ่ ยใหเ้ ป็นหน้าท่ีของนกั วชิ าการเขาถกเถียงกนั ดีกว่า รู้เพียงแต่ว่าหากขยายคำ�จำ�กัดความของเร่ืองสั้น ให้เหลือแค่ ‘เรื่องที่ไม่ยาว’ แล้ว ประวัติศาสตร์ของเรื่อง ทีไ่ ม่ยาว ย่อมมมี าเนิ่นนาน แมแ้ ต่ในเมอื งไทยเองก็อาจจะ นบั นิทานพ้นื บา้ นเปน็ เรื่องสน้ั ได้ ก่อนจะมีการเขียนหนังสือเป็นจริงเป็นจัง ก่อนจะ มีคนประกอบอาชีพเป็นนักเขียน เกือบทุกอารยธรรมก็มี นกั เลา่ เรื่องมากอ่ น มีนักเลา่ นทิ านมากอ่ น นทิ านสั้นๆก็คือ เร่อื งส้ันนน่ั เอง ปัจจุบันมีการแบ่งประเภทงานเขียนกันมาก จนผม คดิ วา่ เสน้ แบง่ แตล่ ะเสน้ ดชู ดั เจนเกนิ ไป เหมอื นถา้ จะเขยี นรปู ลงบนผ้าใบ ก็มีการกำ�หนดไว้แล้วว่า ผ้าใบส่ีเหลี่ยมต้อง วาดรปู แบบนผ้ี า้ ใบกลมตอ้ งวาดรปู แบบนน้ั ผา้ ใบสามเหลยี่ ม ตอ้ งวาดแบบโน้น ในการสร้างสรรค์งานศิลปะ ลักษณะใดก็ตาม เมอ่ื ผสู้ รา้ งรจู้ กั กบั ตวั เองแลว้ ขน้ั ตอ่ ไปคอื ตอ้ งผลกั หนา้ ตา่ ง ในสมองของตนออกใหก้ วา้ งทสี่ ดุ แลว้ คอ่ ยๆเรยี นรสู้ ง่ิ ทเ่ี หน็ เบ้ืองนอก ส่ิงท่ีเกิดข้ึนบ่อยครั้งกับหลายคน คือแทนที่จะ เปิดหน้าต่างทั้งบาน กลับเลือกเจาะรแู อบดแู ทน เลอื กทจี่ ะ 56 เป็น: เรยี งความว่าดว้ ยลมหายใจในตวั หนงั สอื
มองเฉพาะจุดท่ีตัวเองคิดว่าน่ามอง พฤติกรรมเช่นน้ีทำ�ให้ เกิดการแบ่งแยกพรรคพวก แบ่งแยกมุมมอง โดยละเลย ท่ีจะเข้าใจภาพใหญ่ๆท้ังหมด เป็นความประพฤติท่ีกีดก้ัน ศักยภาพของศลิ ปะเสยี แตเ่ นน่ิ ๆอย่างน่าสลด จรงิ อยู่การเปดิ หนา้ ตา่ งกวา้ งๆออกตงั้ แตแ่ รกอาจจะ ไม่ง่าย ในจะมีกระแสลมขู่กรรโชก ไหนจะมีละอองฝุ่น ไหลล้นเข้ามา ไหนจะต้องเจอกับแสงสว่างจ้าจนแสบตา การเปิดสมองอาจจะทำ�ให้เกิดความรู้สึกท่วมท้นจนเกินไป เลือกเฟ้นไม่ถูกว่าอะไรคืออะไร แต่ถ้าอดทนเข้าไว้ และ เชื่อมั่นว่างานเขียนหนังสือคือส่ิงท่ีเรารักจะทำ�อย่างแท้จริง สายตาก็จะค่อยๆปรับให้เข้ากับภาพทั้งหมดได้เอง จน ในที่สุดก็จะพบว่าวัตถุดิบจากภาพขนาดมโหฬารน้ัน ไม่มีวนั ใช้ได้จบสิ้น แรงบันดาลใจก็เช่นกัน มันล่องลอยอยู่ท่ัวไปอย่าง ไม่หวงตวั เคยได้ยินคนบน่ ทำ�นองวา่ ไม่มีอารมณ์จะทำ�งาน หรือไม่มีแรงบันดาลใจอะไรเลยไหมครับ นั่นเป็นเพราะว่า พวกเขามองโลกผ่านรูเล็กๆ ท่ีสักพักก็จะไม่มีอะไรให้ดู ระยะแรกๆการมองผา่ นรมู นั อาจจะนา่ ตน่ื เตน้ เพราะเหน็ ภาพ ชัดเจน เหมือนคนมีอุดมคติ มีอุดมการณ์แจ่มแจ้ง เห็น อะไรก็เช่ือ แต่ไม่เข้าใจว่ายังมีภาพท่ีใหญ่กว่าอยู่เบ้ืองหลัง ความคมชัดน้นั ดูไปนานๆกไ็ มไ่ ด้อะไรใสส่ มองมากข้ึน ปราบดา หย่นุ 57
ความเช่ืออาจจะเป็นสิ่งสำ�คัญในงานเขียนหนังสือ เม่ือทำ�ความรู้จักกับตัวเองแล้ว ก็ย่อมต้องเข้าใจใน ความเช่ือของตัวเอง แต่ในขณะเดียวกัน ผมว่าอิสระ ทางความคิดเป็นเรื่องสำ�คัญกว่า และหากเรารู้จักตัวเอง จริงๆก็จะรู้ว่าความเชื่อส่วนใหญ่ของเรามาจากความเชื่อ ของคนอื่นท้ังสิน้ ความเช่อื ของคนอ่นื ก็คือสิ่งท่ปี ระกอบข้นึ เป็นภาพใหญ่นอกหน้าต่างนั่น ดังน้ันความเชื่อของเรา กส็ อดคลอ้ งกันอยูก่ บั ความเช่อื อืน่ ๆทัง้ หมด อาจจะฟงั ดแู ปลกหากผมจะบอกวา่ ทจ่ี รงิ ประชาธปิ ไตย กับคอมมิวนิสต์ก็เป็นสองความเช่ือบนภาพเดียวกัน แต่ ในโลกท่ีดำ�เนินไปตามกฎของสองข้ัวหรือถ้าให้ใช้ศัพท์เต๋า ก็คือ กฎ ‘หยิน-หยาง’ ทุกส่ิงแม้จะดูต่างกัน แท้ท่ีจริงก็ เกาะเกีย่ วกันอยเู่ สมอ กลางคืนคอ่ ยๆสว่างขึ้นเปน็ กลางวัน กลางวันค่อยๆมืดลงเป็นกลางคืน ไม่มีอะไรเปล่ียนไป อยา่ งฉบั พลนั ความเชอ่ื ในการท�ำ งานของเรากเ็ ปน็ อยา่ งนนั้ นักเขยี น ‘เพอื่ ชวี ติ ’ อาจจะคิดว่าปรัชญของเขาอยคู่ นละฝัง่ กับนักเขียนนิยายประโลมโลกที่เป็นทาสโครงสร้าง สังคมทุนนิยม ซึ่งก็อาจจะอยู่คนละฝ่ังจริง แต่ฝั่งก็ย่อม เช่ือมด้วยน้ำ�หรืออะไรสักอย่างเสมอ และยังต้องอาศัยการ เช่ือมโยงน้ันเพ่ือความอยู่รอด การแบ่งพรรคแบ่งพวก จงึ เปน็ กจิ กรรมลวงตา 58 เป็น: เรียงความว่าดว้ ยลมหายใจในตัวหนงั สอื
การทำ�งานศิลปะใดก็ตาม ผมคิดว่าควรจะมี ความเขา้ ใจในภาพใหญน่ ี้ เขา้ ใจวา่ ทกุ ชน้ิ สว่ นประกอบกนั ขน้ึ เป็นหนึ่ง เพราะผู้ผลิตงานสร้างสรรค์จะทำ�ตัวเป็นกระจก สะท้อนสังคมและโลกได้ไม่คมชัดเลย หากเลือกท่ีจะ สะท้อนภาพจากรเู ลก็ ๆเท่านน้ั ก่อนที่จะเลือกเฟ้นตำ�แหน่งจ้องให้เหมาะสม กบั ตวั เอง จ�ำ เปน็ อยา่ งยง่ิ ทตี่ อ้ งรวู้ า่ มอี ะไรใหจ้ อ้ งไดบ้ า้ ง นคี่ อื ช่วงแห่งอสิ ระทีค่ วรตักตวงใหไ้ ดม้ ากท่ีสุด การเปดิ หนา้ ตา่ ง ใหก้ วา้ งทว่ี า่ น้ี ผมไมไ่ ดห้ มายความวา่ ผสู้ นใจตอ้ งไปควานหา หนังสือทุกประเภทมาอ่าน หรือต้องทำ�ความเข้าใจกับ แนวทางและประวัติศาสตร์วรรณกรรมจนลึกซ้ึง ในทาง ตรงกันข้าม อิสระเร่ิมจากการไม่รู้อะไรเลย ไม่เข้าใจอะไร และไม่โน้มน้าวไปทางไหนเป็นพิเศษทั้งส้ิน เปิดหน้าต่าง แล้วต้องรู้สึก “โอ้โฮ อะไรกันนี่ มันกว้างขวางไปหมด น่าดไู ปหมด” จนไม่รจู้ ะทำ�อะไรดี ผมเคยคุยกับนักเขียนบางท่านท่ีเห็นว่างาน วรรณกรรมทด่ี คี วรสรา้ งสะเทอื นใจ กระเทอื นอารมณผ์ อู้ า่ น ผมไมเ่ ถยี ง เพราะตวั เองกเ็ คยอา่ นงานดๆี หลายเลม่ หลาย เร่ืองท่ีทำ�ให้น้ำ�หูเล็ดน้ำ�ตาไหล ทำ�ให้เป็นเดือดเป็นร้อน ไปกับตัวละคร หรือทำ�ให้ฮึกเหิมอยากช่วยเหลือทุกคน ในโลกที่ประสบโชคชะตาเศร้าโศกเช่นในเรื่อง แต่ผม ปราบดา หยนุ่ 59
ไม่คิดว่านั่นคือลักษณะงานอย่างเดียวท่ีเรียกว่า ‘ดี’ ได้ งานอกี ประเภททม่ี อี ทิ ธพิ ลกบั ชวี ติ ผมมาก คอื งานทอ่ี า่ นแลว้ ทำ�ให้ผมมีมุมมองเพิ่มขึ้น ทำ�ให้ผมรู้สึกเหมือนคนโง่ท่ี เพ่ิงคิดอะไรบางอย่างออก ทำ�ให้วิถีชีวิตของผมเปล่ียนไป ทำ�ให้ผมได้ใช้สมองมากขึ้น งานแบบน้ี หลายครั้งก็ไม่ได้ สร้างความสะเทือนใจกับผู้อ่าน ไม่มีใครตาย ไม่มีใครต้อง เผชญิ กบั ความไมเ่ ปน็ ธรรมในสงั คม ไมม่ ใี ครถกู ใสร่ า้ ยปา้ ยสี บางครงั้ เพยี งความสะเทอื นใจกไ็ มไ่ ดท้ �ำ ใหม้ นษุ ยเ์ รยี นรอู้ ะไร มากขน้ึ ไมไ่ ดท้ �ำ ใหต้ วั เองมองเหน็ รายละเอยี ดใหมๆ่ แปลกๆ ของชวี ติ เคยมใี ครคนหนงึ่ บอกวา่ ส�ำ หรบั เขา งานศลิ ปะทดี่ ี คอื งานทส่ี ามารถ ‘เปลยี่ น’ เขาได้ หลงั เสพแลว้ ตอ้ งเกดิ ความ เปล่ียนแปลงในตัวบางอย่าง ผมพอจะเข้าใจความรู้สึกน้ัน เพราะเคยประสบกบั ตวั เองมาแลว้ จากการอา่ นหนงั สอื และ ไมไ่ ดเ้ กดิ ขนึ้ จากความสะเทอื นใจ การที่วรรณกรรม ‘ต้อง’ อย่างน้ันอย่างน้ี คือการ จำ�กัดอิสระอีกเช่นกัน ผมคิดว่างานเขียนต้องทำ�อะไร กข็ น้ึ อยกู่ บั ผเู้ ขยี น ไมใ่ ชห่ นา้ ทขี่ องคนอนื่ มาสงั่ บงั คบั ผมเชอ่ื วา่ ทกุ คนทอี่ ตุ สา่ หเ์ ขยี นหนงั สอื ออกมายอ่ มมคี วามประสงค์ ให้ตัวหนังสือ ‘ต้อง’ ทำ�อะไรสักอย่างเป็นแน่ ไม่ว่าจะเป็น ทางตรงหรอื ทางออ้ ม ไมม่ ใี ครหรอกทจี่ ะเขยี นหนงั สอื เพราะ ละเมอ ไมร่ เู้ นอื้ รตู้ วั วา่ ท�ำ อะไรลงไป เพยี งแตว่ า่ ‘ตอ้ ง’ อะไรนนั้ 60 เปน็ : เรียงความว่าดว้ ยลมหายใจในตัวหนงั สอื
สำ�หรับแตล่ ะคนกม็ ีอิสระทจี่ ะไม่เหมือนกัน บางคนกห็ วงั วา่ ตวั หนงั สอื ตอ้ งสนกุ บา้ งกว็ า่ ตอ้ งสะทอ้ นสงั คม บา้ งกว็ า่ ตอ้ ง ขายดี บ้างก็วา่ ตอ้ งปฏวิ ัตวิ งการวรรณกรรมไมใ่ หเ้ หลือซาก กว็ ่ากนั ไป แต่อยา่ ‘หา้ ม’ ความ ‘ตอ้ ง’ ของใครเป็นอันขาด ความเช่ือของผมอีกอย่างคือความเท่าเทียมกัน (ไมใ่ ช่เทยี มเท่าๆกัน!) ของศลิ ปะ ความเทา่ เทียมกนั ในที่นี้ คือความเท่าเทียมในหน้าที่และความสำ�คัญ ผมคิดว่า หนังสือท่ีทำ�ให้คนหัวเราะได้ กับหนังสือท่ีทำ�ให้ประชาชน ลุกฮือขึ้นล้มล้างความชั่วร้ายของสังคม มีค่าทัดเทียมกัน มันอาจจะดูแตกต่างอย่างมหาศาลจากภายนอก แต่ผม ไมแ่ บง่ แยก ผมคดิ วา่ ทกุ อยา่ งมหี นา้ ทขี่ องมนั และทกุ หนา้ ท่ี มีความสำ�คัญพอๆกัน การทำ�ให้จิตใจของมนุษย์ดีข้ึน ร่าเริงขึ้น มีความสุขขึ้น ไม่ว่าเป็นจิตใจมนุษย์คนเดียว หรอื ลา้ นคน ผมกเ็ หน็ วา่ งานชน้ิ นน้ั มคี วามส�ำ คญั ในตวั มนั เอง การตัดสินใจจากผลลัพธ์ภายนอกเป็นอันตราย อกี ชนดิ หนึ่งสำ�หรับงานศลิ ปะ บางทีคนดีก็ใสเ่ สื้อผา้ ไมส่ วย บางทีคนดีก็ปะปนอยู่ในหมู่โจร เฉกเช่นคนเลวบางคนก็ อาศัยอยใู่ นวดั ในวา บางคนกเ็ ดนิ เลน่ ทา่ มกลางสวนดอกไม้ ประดับด้วยผีเสื้อปีกสวย บางคนก็มีตำ�แหน่งอยู่ในรัฐบาล เปน็ อยา่ งนีเ้ สมอ ปราบดา หยุน่ 61
โดยปกติแล้วผมไม่ค่อยคบหานักธุรกิจ เพราะ พูดจากันคนละภาษา และมกั มอี คติไว้กอ่ นว่านักธรุ กิจต้อง เหน็ แกเ่ งนิ มากกวา่ สง่ิ อน่ื แตจ่ ากประสบการณพ์ บวา่ บางครง้ั ศลิ ปนิ กห็ นา้ เงนิ กวา่ นกั ธรุ กจิ บางครงั้ นกั อนรุ กั ษท์ ด่ี เู หมอื น จะอยู่ฝ่ายธรรมะ ก็เป็นนักข่มขืนเด็ก เป็นนักตบตีลูกเมีย ความดีช่ัวจึงตัดสินที่หน้าท่ีการงานซ่ึงเป็นเปลือกนอก ไมไ่ ด้จรงิ ๆ ในงานเขียนหนังสือ เปลือกภายนอกก็มีเพียง ใหค้ นสว่ นมากแยกแยะไดง้ า่ ยเทา่ นนั้ ในเนอื้ หาทแ่ี ทจ้ รงิ แลว้ อาจจะไมเ่ หมอื นเปลอื กเลยกไ็ ด้ นกั เขยี นนยิ ายวทิ ยาศาสตร์ อย่าง เอช. จี. เวลล์ส์ ถึงแม้จะเขียนหนังสือที่มีเนื้อหา เตม็ ไปดว้ ยแฟนตาซี เตม็ ไปดว้ ยความ ‘ไม่จรงิ ’ แต่เขาแฝง ปรัชญาหลากหลายไว้ในทุกช้ินงาน นิยายเกี่ยวกับโลก อนาคต โลกดึกดำ�บรรพ์ โลกดาวอังคาร โลกต่างๆนานา ที่เหมือนจะห่างไกลจากโลกมนุษย์เหลือเกิน ล้วนเป็น จินตนาการท่ีสะท้อนถึงโลกจริงในยุคสมัยของเขาทั้งส้ิน เวลล์ส์เข้าใจว่าเนื้อหาในการเขียนหนังสืออยู่ตรงไหน เขา จงึ สามารถระบายสีบนเปลือกให้หวอื หวาอย่างไรกไ็ ด้ บางคนเคยพดู ถงึ งานเขยี นเรอื่ งสนั้ ของผมวา่ ‘ไมม่ ี เร่ือง’ หรือ ‘แหกขนบการเขียนเร่ืองสั้น’ ผมถือว่าทั้งสอง ความเห็นนนั้ เปน็ คำ�ชม แตก่ ต็ อ้ งบอกว่าไมถ่ ูกต้องนกั ผม 62 เปน็ : เรียงความวา่ ด้วยลมหายใจในตวั หนงั สอื
ไม่ได้เขียนด้วยจุดประสงค์ท่ีจะแหกกฎหรือขนบใดๆเลย เพียงแต่ว่า ผมเร่ิมเขียนโดยไม่รู้ขนบ จึงไม่สนใจในขนบ และตอ้ งสารภาพวา่ มคี วามตง้ั ใจทจ่ี ะมองขา้ มขนบไปเสยี กอ่ น จงึ คอ่ ยลงมือเขียน ใช้วธิ คี ดิ แบบแรกเรมิ่ นั่นคือ ไม่เคยอา่ น เรอื่ งสนั้ มากอ่ น ไมเ่ คยเขยี นเรอื่ งสน้ั มากอ่ น ถา่ ยทอดออกมา เหมือนเพิง่ เขยี นหนังสอื เปน็ คร้ังแรก แนน่ อนว่าความหนา ของสิ่งปกคลุมในสมองผมมีมากเกินจะปัดเป่าออกไปหมด ยากที่จะเปิดสมองให้ว่างเหมือนเด็กท่ีเพ่ิงจับดินสอจ่อลง บนแผน่ กระดาษเปน็ คร้ังแรก แตอ่ ย่างไรเสยี ผมกพ็ ยายาม ท�ำ งานดว้ ยวธิ นี มี้ าตลอด เพอื่ ความสนกุ เพอ่ื ความรสู้ กึ ‘สด’ และเพอ่ื คน้ หาความเปน็ ไปไดใ้ หมๆ่ เพอ่ื เปดิ หนา้ ตา่ งออกไป กวา้ งๆกอ่ น แลว้ ค่อยหาจุดมองท่ีนา่ สนใจในเวลาน้ัน ส่วนความ ‘ไม่มีเร่ือง’ ผมเถียงมาตลอด มันฟังดู เก๋ไก๋เอาการที่ผมจะสามารถเขียนเรื่องไม่เป็นเรื่อง ใหเ้ ปน็ เรอ่ื งได้ แตน่ น่ั กเ็ ปน็ ภาพลวงตาอกี เชน่ กนั เพราะผม เชอ่ื ว่าในโลกน้ี ไมม่ ีอะไรที่ ‘ไมม่ เี รอ่ื ง’ แม้แตก่ ารเคลอ่ื นไหว ของฝนุ่ กม็ ี‘เรอ่ื ง’แลว้ แมแ้ ตก่ ารหนั หวั ไปมองของใครคนหนงึ่ ก็มีเร่ืองแล้ว ความเข้าใจใน ‘เร่ืองราว’ ของคนอ่านมักถูก ตีกรอบไวอ้ ีกเช่นกนั อิสระถูกกักขังเหมอื นเดิม การมีเรื่อง จงึ จ�ำ เปน็ ตอ้ งหมายถงึ ความซบั ซอ้ น มขี นั้ ตอน มกี ารด�ำ เนนิ ทเี่ ขม้ ขน้ คนยกแกว้ น้ำ�ขน้ึ ดม่ื จงึ ไมใ่ ชเ่ รอ่ื ง เปน็ แคก่ ารกระท�ำ ปราบดา หยนุ่ 63
สน้ั ๆ เร่อื งมันตอ้ งมีอะไรบางอย่าง ‘เกิด’ ขึ้น ยกตวั อยา่ งเชน่ เรอ่ื งสน้ั ความนา่ จะเปน็ ของผมเอง เร่ืองน้ีมีอยู่เพียงว่า ชายคนหน่ึงทำ�กระดาษแผ่นหน่ึงตก ลงบนพื้น เขาจึงก้มลงไปเก็บ–จบแล้ว เหตุการณ์มีเท่านี้ แต่ในขณะท่ีก้มลงไปเก็บ เขานึกย้อนหลังไปถึงที่มาของ กระดาษ ถึงชีวิตเมื่อครั้งท่ีเขาเขียนข้อความบนกระดาษ แผน่ นน้ั และคดิ ถงึ ชวี ติ ในอดตี ทอี่ ยกู่ บั ตายาย ผมเขยี นเรอ่ื งน้ี ด้วยพ้ืนฐานการสังเกตที่ว่า คนเราพกความหลังและ ความทรงจำ�ติดตัวอยู่ตลอดเวลา ทุกอย่างที่เกิดขึ้นใน ปจั จบุ นั ลว้ นมอี ดตี เกยี่ วโยงอยทู่ ง้ั สน้ิ ไมว่ า่ จะแคท่ �ำ ของตก หรือหกล้มข้างถนน แม้เหมือนจะ ‘ไม่มีอะไร’ เลย ท่ีจริง มรี ายละเอยี ดมากมายแอบแฝงอยเู่ งยี บๆและมผี ลกระทบกระทง่ั ความคิดและอารมณ์ความรู้สึกของเราได้เสมอ ดังนั้น ในความไม่มีอะไรก็มีอะไรอยู่ เพียงแต่เราไม่ให้เวลาสังเกต หรอื ศกึ ษามนั นานพอ ชีวติ เรารบี รอ้ นทจ่ี ะ ‘หาเรอื่ ง’ จนลืม ‘เหน็ เรอ่ื ง’ ทม่ี อี ยู่ลน้ หลามรอบตัว งานลกั ษณะน้ีไมไ่ ด้แปลกประหลาดอะไร นักเขยี น กลุ่มโมเดิร์นอย่าง เวอร์จิเนีย วูล์ฟ ก็เคยเขียนเร่ืองสั้น ชื่อ The Mark on the Wall หรอื รอยบนผนัง ซ่ึงเกี่ยวกบั จุดเล็กๆจุดหน่ึงบนผนังท่ีผู้บรรยายในเรื่องไม่รู้ว่าคืออะไร ไมม่ อี ะไรเขม้ ขน้ มากไปกวา่ นนั้ แตก่ เ็ ปน็ เรอ่ื งสนั้ ทน่ี า่ ตดิ ตาม 64 เปน็ : เรียงความว่าด้วยลมหายใจในตัวหนังสอื
ทสี่ ุดของเธอเรื่องหน่งึ มีคนพูดว่า ส่ิงสำ�คัญไม่ได้อยู่ท่ี ‘อะไรเกิดขึ้น’ แต่อยู่ท่ีมัน ‘เกิดข้ึนอย่างไร’ มากกว่า และผมก็เห็นด้วย โดยเฉพาะในการสร้างงานศิลปะ ในการเขียนหนังสือ คนแต่ละคนย่อมมองจุดบนผนังแตกต่างกันไป หรือมี ความทรงจ�ำ เกยี่ วกบั เศษกระดาษไมเ่ หมอื นกนั สง่ิ ส�ำ คญั จงึ ไมไ่ ดอ้ ยทู่ จ่ี ดุ หรอื เศษกระดาษ แตอ่ ยทู่ ตี่ วั ผมู้ องผเู้ หน็ วา่ จะ ถา่ ยทอดประสบการณอ์ อกมาอย่างไร ไมม่ ีใครบังคบั เมอ่ื เปดิ หนา้ ตา่ งออกไปกวา้ งๆได้ ยอ่ มไมต่ อ้ งกงั วล วา่ ‘ไม่รู้จะเขียนอะไร’ เมอ่ื ใดทมี่ คี นมาบอกผมวา่ อยากเขยี นหนงั สอื อยาก เปน็ นกั เขียน แต่ไมร่ จู้ ะเขยี นอะไร ทำ�ยงั ไงดี ผมต้องนึกขำ� ในใจเสมอ ผมพอจะเข้าใจว่าอาการไมร่ ู้จะเขียนอะไรนัน้ คือ อะไร มันคอื อาการ ‘ไมร่ ู้จะเขยี นอะไรทีด่ หี รือมคี ุณค่าพอจะ เขยี นออกมา’ หรอื เคยมคี นทไ่ี มใ่ ชน่ กั เขยี นอาชพี แตบ่ งั เอญิ มีเหตุให้ต้องเขียน เขาก็เขียนไปบ่นไปด้วยความกังวลว่า สงิ่ ท่เี ขาเขียนอยูจ่ ะมคี นสนใจอา่ นหรอื ท�ำ ไมคนอ่นื จงึ จะมา สนใจว่าเราคิดอะไร หรอื อยากสอ่ื สารอะไรในตวั หนังสอื กอ่ นอนื่ ถา้ เขยี นหนงั สอื ดว้ ยความรสู้ กึ วา่ สงิ่ ทเ่ี ขยี น อยนู่ น้ั ไรส้ าระสนิ้ ดี กค็ วรจะเลกิ เขยี นเสยี เพราะผเู้ ขยี นเปน็ ปราบดา หยนุ่ 65
คนอา่ นงานตวั เองเป็นคนแรก หากตวั เองยังไม่ชอบ ก็อย่า ดนั ทรุ งั ใหค้ นอนื่ อา่ นดกี วา่ แตถ่ า้ ตวั เองรสู้ กึ สนกุ สนานไปกบั การถา่ ยทอดลมหายใจใสห่ นา้ กระดาษ กไ็ มม่ คี วามจ�ำ เปน็ ใด ทจี่ ะตอ้ งกงั วลวา่ คนอน่ื จะสนกุ ดว้ ยหรอื ไม่ เพราะความสนกุ ของผู้เขียนก็เปรียบเสมือนการรับประกันข้ันต้นแล้วว่า อยา่ งไรกต็ อ้ งมคี นเหน็ สนกุ ไปดว้ ยแนน่ อน จะมากหรอื นอ้ ย นัน่ อกี เรือ่ ง เม่ือรู้จักอิสระในการเขียน ก็จะทำ�ให้ความไม่รู้ จะเขียนอะไรหมดไป หรือลดน้อยลงไปด้วย และอาจจะ กลายเปน็ วา่ ไมร่ จู้ ะเขยี นอะไร เพราะมใี หเ้ ขยี นเยอะไปหมด จนเลอื กไม่ไหว! ผมอยากรสู้ กึ อยา่ งนน้ั เหมอื นกนั แตย่ งั เปดิ หนา้ ตา่ ง ไม่กว้างพอ นักเขียนท่ีสามารถเขียนได้ทุกวันทุกเวลา ไม่มีเหน็ดเหนื่อยหรือขัดสนวัตถุดิบ คงจะเป็นนักเขียนท่ี มีความสุขมาก หรืออย่างน้อยก็ไม่ต้องกังวลเลยว่าชีวิตนี้ จะท�ำ อะไร เขามอี สิ ระพอทจ่ี ะเขยี นหนงั สอื ไปจนตายไดแ้ ลว้ ดบั เบล้ิ ย.ู ซมั เมอรเ์ ซท มอหม์ พดู อยา่ งตดิ ตลกไวว้ า่ การเขียนหนังสือมีกฎหลักๆอยู่สามข้อ แต่โชคร้ายตรงท่ี ไมม่ ีใครรู้วา่ สามข้อน้ันคืออะไร นีค่ อื ความกวนทเ่ี ตม็ ไปด้วยความจริง เมือ่ ไม่มใี ครรกู้ ฎ ก็ไม่มอี ะไรให้แหก 66 เปน็ : เรยี งความว่าด้วยลมหายใจในตัวหนังสือ
เคยไดย้ นิ ประโยคนี้ไหมครบั : “ถา้ คุณรักใครสกั คน จงให้อิสระแกเ่ ขา” ถ้ารักการเขียน จงปล่อยตัวหนังสือเป็นอิสระ ตลอดเวลา! กิจกรรม เขยี นเรอ่ื งส้ันขนาด 1-3 หน้ากระดาษ เกี่ยวกับจุดบนผนัง ท่บี า้ น จะเปน็ จดุ ไหนบนผนงั ก็ได้ ปราบดา หยุ่น 67
บทท่ี 3 เป็นรา่ ง : ท�ำ ความรู้จักกับตัวหนงั สอื โลกบนหน้ากระดาษท่ีประกอบข้ึนด้วยตัวหนังสือแม้จะ เป็นโลกสะท้อน หรือโลกที่เก่ียวโยงกับโลกมนุษย์และ ความเป็นไปในธรรมชาติของความเป็นมนุษย์โดยตรง อยา่ งหลกี เลยี่ งไมไ่ ด้ (เวน้ แตว่ า่ ผเู้ ขยี นจะมาจากดาวดวงอน่ื ) แต่ภาษาท่ีเรียงร้อยออกมาเป็นเรื่องราวส่ือสารเป็นหนังสือ สักเลม่ กเ็ ปน็ อีกโลกทีม่ กี ารดำ�เนนิ ไปของมนั เองเช่นกัน ผมไม่อาจทราบได้ว่าเหตุใดโลกแห่งภาษา จงึ ซบั ซอ้ นและลกึ ซง้ึ บางครงั้ ถงึ กบั ลกึ ลบั จนยากจะหยงั่ ถงึ พอๆกับท่ีผมไม่อาจทราบเช่นกันว่าคนเราเกิดมาเพื่ออะไร ผมเพียงสันนิษฐานวา่ ส่งิ ใดก็ตาม เมอื่ มี ‘ร่าง’ เปน็ รปู ธรรม ขนึ้ บนโลกนี้ ยอ่ มมี ‘ชวี ติ ’ และชะตากรรมของมนั เอง ตา่ งกนั ก็แต่ความหวือหวา ความเข้มข้น บางส่ิงก็มีชีวิตเรียบง่าย จนเหมอื นไมไ่ ดก้ ระดกิ ตวั ไปไหนตลอดรอ้ ยลา้ นปี ในขณะที่ ปราบดา หยุ่น 69
บางสิ่งกระตือรือร้นท่ีจะเปล่ียนแปลงตลอดเวลา โลกแห่ง ภาษาเป็นหนึ่งในโลกที่เร่าร้อน เคลื่อนที่รวดเร็วว่องไว ไม่ยอมให้ใครกักขัง ซึ่งก็คงสะท้อนธรรมชาติของความ เป็นมนุษย์ ที่มีองค์ประกอบสำ�คัญในการดำ�รงชีวิตเป็น ความเปลยี่ นแปลง ความไมอ่ ยนู่ งิ่ ความซบั ซอ้ นทางอารมณ์ และความคิด ดังน้ัน โลกของภาษาก็สามารถมีคุณสมบัติ ทกุ อยา่ งละมา้ ยคลา้ ยโลกมนษุ ย์ หน�ำ ซ้ำ� บางครง้ั ยงั อาจแลดู ซบั ซอ้ นกวา่ เพราะความทเ่ี ราไมไ่ ดค้ ลกุ คลกี บั มนั ตลอดเวลา ความผกู พนั กบั การอา่ นและงานเขยี นยอ่ มหมายถงึ ความสมั พนั ธก์ บั โลกแหง่ ภาษาทม่ี ากกวา่ ปกติ คนทไ่ี มช่ อบ อ่านหนังสือก็จะหยุดอ่านจริงๆจังๆหลังศึกษาเล่าเรียนจบ แล้ว ซ่ึงหมายความว่าชีวิตจะเริ่มตีห่างจากโลกแห่งภาษา หรือโลกแห่งตัวหนังสือไปจนไม่คุ้นกันอีก ส่วนคนท่ียัง อ่านอยู่แต่ไม่ชอบเขียน ก็เปรียบเสมือนคนที่มีแผนที่เมือง อยู่ในมือ รู้หมดว่าเส้นทางไหนมุ่งไปไหน ถนนสายใด ตดั กบั สายใด ทวา่ ไมเ่ คยลงไปเหยยี บย่ำ� ไมส่ ามารถคาดเดา ไดว้ ่าบนถนนเสน้ ต่างๆเหลา่ นัน้ แท้จริงเป็นอยา่ งไร บางคน กพ็ อใจทจ่ี ะรบั รเู้ ทา่ นนั้ เพราะไมต่ อ้ งการออกแรง แตบ่ างคน กอ็ ยากท้ิงแผนที่ แลว้ พยายามคล�ำ หาทางเอาเอง เมื่อจะเขียนหนังสือ ผู้เขียนต้องทำ�ความรู้จักกับ โลกของตัวหนังสือให้ช่ำ�ชอง นี่มิได้แปลว่านักเขียนทุกคน 70 เป็น: เรียงความว่าดว้ ยลมหายใจในตวั หนังสอื
ขวนขวายเท่ากัน คนท่ีไม่ได้สนใจจะรู้จักที่ทางในโลก ซับซ้อนนั้นเลย ก็มักจะหลงทางอยู่เสมอ มักจะเดินไป เจอทางตัน มักจะตกหลุมตกบ่อ มักเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า เพราะหาที่พักไม่พบ ผมจึงเช่ือว่าความเข้าใจในโลก แห่งตัวหนังสือและโลกแห่งภาษา มีความสำ�คัญสำ�หรับ คนเขียนหนังสือพอๆกับความอิสระทางความคิดและ จินตนาการ ถูกต้อง–คุณจะเขียนอะไรก็ได้ เหมือนกับที่ คุณจะเดินออกจากบ้านไปไหนก็ได้ แต่การรู้จักกับ สภาพแวดล้อมเป็นอย่างดี ก็จะทำ�ให้การเดินทางราบร่ืน และมีความสุขข้ึน นักเขียนผู้รู้จักการใช้ภาษาที่เหมาะสม สละสลวย ก็ยอ่ มทำ�ใหก้ ารทำ�งานราบรืน่ และมีความสุขขึ้น เช่นกัน ผมมิอาจสำ�คัญตัวว่าเป็นคนเข้าใจโลกแห่งภาษา อย่างถี่ถ้วน เพราะแม้ในปัจจุบันก็ยังบกพร่องตกหล่น บ่อยคร้ัง แต่เม่ือใดที่มีคนถามว่าทำ�ไมจึงใช้ภาษาไทยได้ดี ท้ังๆท่ีขาดช่วงไปนานร่วมสิบปี สมัยเป็นนักเรียนอยู่ ต่างประเทศ เหตุผลเดียวท่ีผมพอจะคิดออกคือ ผมอาจจะ ถูกปลูกฝังด้านภาษามาอย่างเหมาะสมต้ังแต่เม่ือครั้งยังอยู่ เมืองไทยและได้อ่านหนังสือภาษาไทยเยอะๆ ผมคงโชคดี ทหี่ นงั สอื แตล่ ะเลม่ ทอ่ี า่ นในยคุ นน้ั ประพนั ธข์ นึ้ โดยนกั เขยี น ผู้มีความเข้าใจในโลกแห่งภาษาค่อนข้างสูง โดยเฉพาะ ปราบดา หยุน่ 71
อยา่ งยงิ่ ผมเปน็ แฟนหนงั สอื ของครอู บไชยวสุหรอื ฮวิ เมอรสิ ต์ ซ่ึงเป็นนักเขียนที่ให้ความสำ�คัญกับความสละสลวยและ ความถูกต้องของการใช้ภาษามากกว่าใครๆ หรืองานของ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธ์ิ ปราโมช ก็จัดว่าอยู่ในกลุ่มงาน วรรณกรรมของนักเขียนที่ใช้ภาษาได้ดีเป็นพิเศษ หนังสือ แต่ละเล่ม งานแต่ละชิ้นของนักเขียนเหล่านั้นคงเป็นครู ทางการใชภ้ าษาท่ีส�ำ คัญของผมโดยไมไ่ ดต้ ้ังใจ นักเขียนร่วมสมัยหลายคนอาจจะละเลยเรื่อง การทำ�ความรู้จักกับโลกของภาษาไปมาก บ้างเพราะคิด วา่ เชยและไมส่ ลกั สำ�คญั เทา่ การวางโครงเรื่อง บา้ งกเ็ พราะ ไม่รู้จะเอาบรรทัดฐานใดเป็นตัววัด แต่ในทัศนคติส่วนตัว ผมวางการใช้ภาษาเป็นอันดับหน่ึง ด้วยความรู้สึกท่ีว่า ส�ำ หรบั ผชู้ �ำ นาญในการใชภ้ าษา แมไ้ มร่ จู้ ะเขยี นเรอื่ งเกย่ี วกบั อะไร ก็ยังสามารถเขียนตัวหนังสือให้สนุกและมีสาระได้ ในตัวมันเอง เหมอื นจติ รกรที่ชำ�นาญการใช้สีใชเ้ ส้น ถึงแม้ จะวาดไม่เป็นรูป ก็สามารถส่ือสารด้วยการใช้เฉพาะสีและ เสน้ ได้เปน็ ผลลพั ธน์ า่ ท่ึงพอกนั หลายคนทอ่ี ยากเปน็ นกั เขยี น แตส่ ะกดค�ำ ผดิ เกลอื่ น กลาด สับสนระหว่าง ‘ค่ะ’ กบั ‘คะ’ (ค่ะ–น่เี ปน็ ความสบั สน ทผี่ มพบบอ่ ยท่ีสุดในปจั จบุ ันจรงิ ๆนะคะ) หรอื ‘จะ้ ’ กบั ‘จะ๊ ’ ความผดิ เพยี งเลก็ นอ้ ยเทา่ นี้ ถอื เปน็ เรอ่ื งใหญม่ ากส�ำ หรบั ผม 72 เป็น: เรียงความวา่ ดว้ ยลมหายใจในตัวหนังสือ
เพราะมนั แสดงใหเ้ หน็ วา่ ผทู้ �ำ ผดิ ยงั มไิ ดม้ คี วามละเอยี ดออ่ น กับภาษาเพียงพอท่ีจะอยากเป็นนักเขียนด้วยซ้ำ � เหมอื นนักรอ้ งทรี่ อ้ งเพลงโดยไม่ออกเสยี งควบกล้ำ� ‘ร’ กับ ‘ล’ ไดย้ ินทีไรกร็ ำ�คาญหูรำ�คาญใจทกุ ที ทั้งๆท่นี ้ำ�เสยี งของ ผ้รู อ้ งอาจไพเราะเพราะพริ้งมาก ในการเขยี นหนงั สอื ความบกพรอ่ งทางการใชภ้ าษา กเ็ ปน็ ความนา่ ร�ำ คาญทที่ �ำ ใหค้ ณุ ภาพของเนอ้ื งานดอ้ ยลงไป ถนดั ทง้ั ๆทคี่ วามตงั้ ใจหรอื โครงสรา้ งของเรอื่ งทเ่ี ขยี นอาจจะ ยอดเย่ียมล้ำ�ลึก ค�ำ ซ้ำ�กเ็ ปน็ อกี ปญั หาหนงึ่ ทค่ี นมกั มองขา้ ม มนั ไมใ่ ช่ ความผิดใหญ่โต แต่ก็สร้างความรุงรัง และบ่ันทอนความ งดงามลงไดฮ้ วบฮาบ ในภาษาพูดของมนุษย์ เราใช้คำ�ที่ไร้ความหมาย มากมาย แค่พูดว่า “อะไรกันหรือจ๊ะ” ก็มีคำ�เกินจำ�เป็น ตง้ั สามคำ�แล้ว เพราะที่จรงิ ถามวา่ “อะไร” ก็ตรงจุดประสงค์ ที่สุด ส่วน “กันหรือจ๊ะ” ที่พ่วงมาด้วยนั้นเป็นเพียง ขนบธรรมเนียมการสนทนาที่ทำ�ให้น้ำ�เสียงฟังร่ืนหูมากขึ้น ทว่าในการเขียนหนังสือ ซึ่งมีธรรมชาติของการส่ือสารท่ี แตกตา่ งไปจากการพดู คยุ ธรรมดา อะไรทไี่ มจ่ �ำ เปน็ แทนทจ่ี ะ ทำ�ให้การส่ือสารกลมกล่อม กลับจะกลายเป็นสิ่งสกปรก เปรอะเปอื้ นจนบดบงั ความสวยงามอยา่ งอนื่ ได้ หากสามารถ ปราบดา หยุ่น 73
เลย่ี งกค็ วรหลีก หรือหากตัดทอนสง่ิ ใดออกแล้วความหมาย ที่ตอ้ งการสอื่ สารยงั คงอย่คู รบถว้ น กไ็ มค่ วรเสียดาย การรจู้ กั ขดั เกลาภาษามไิ ดแ้ ปลวา่ จะสนกุ กบั ภาษา ไม่ได้ ผมเป็นคนหนึ่งท่ีนิยมเล่นตลกกับตัวหนังสือ เพราะ รู้สึกว่าเป็นการเพิ่มรสชาติและสีสันให้กับโลกที่บางครั้งก็ มีคนใช้ทางเดินเดียวกันบ่อยคร้ังเกินไป ผมได้ยินผู้ใหญ่ พูดให้ฟังมาต้ังแต่เด็กว่า ‘ภาษาด้ินได้’ ซึ่งหมายความว่า ในกฎเกณฑ์ต่างๆของการใช้ภาษา ยังมีช่องว่างสำ�หรับ การทดลอง สำ�หรับการหยอกล้อกับภาษาเสมอ เรามิควร สับสนความหมายของการ ‘ใช้ภาษาอย่างสละสลวย’ กับ การเป็นทาสของกฎระเบียบ ผมเองก็เป็นหน่ึงในสมาชิก ชมรมผนู้ ิยมแหกกฎเม่อื เหน็ ลู่ทาง แตผ่ มเช่ือวา่ ทกุ คนควร รูจ้ ักและเคารพในกฎทจ่ี ะแหกใหด้ เี สยี กอ่ น เพราะการแหก โดยไม่รู้ มิอาจเรียกว่าแหกกฎได้ มันเป็นแค่ความคะนอง มัว่ ซ่ัวเท่าน้นั เอง ในเม่ือผมสามารถเรียนรู้วิธีการใช้ภาษาไทย มาจากนักเขียนช้ันครู คิดว่าทุกคนน่าจะสามารถทำ�ได้ ด้วยวิธีเดียวกัน ท้ังน้ีมิได้แปลว่าอ่านมากๆแล้วจะเข้าใจ โลกของภาษาได้ละเอียดถี่ถ้วน เพราะถึงอย่างไรก็ยังต้อง พยายามคลำ�ทางเอาเองด้วย และที่สำ�คัญ นักเขียนที่ มีชื่อเสียง ไม่ว่าจะในอดีตหรือปัจจุบัน ไม่ว่าจะข้ึนชื่อเป็น 74 เป็น: เรียงความว่าด้วยลมหายใจในตัวหนงั สอื
ชั้นครูหรือชั้นอะไร ก็ไม่ได้มีความสามารถในการใช้ภาษา ทัดเทียมกัน บางท่านก็โด่งดังเพราะความสามารถในการ ร้อยร่างโครงเร่ืองมากกว่า โดยส่วนตัว ผมก็คงแนะนำ�ชื่อ ที่ได้เอ่ยไปแล้ว เพราะภาษาของบุคคลเหล่าน้ันยังคงอยู่ ในความทรงจ�ำ ผมเสมอ และหากจะให้เสรมิ อีกสักสามส่ชี ่ือ ผมกเ็ สนอ กหุ ลาบ สายประดษิ ฐ์ (ศรบี ูรพา) มาลัย ชพู นิ จิ (น้อย อินทนนท์) และสองบุรุษท่ียังคงยืนหยัดอยู่ในวันน้ี: ค�ำ สงิ ห์ ศรนี อก (ลาว คำ�หอม) และ ’รงค์ วงศ์สวรรค์ และ อีกหลายช่ือท่ีผมอาจจะไม่เคยรู้จักผลงานด้วยซ้ำ� จึงต้อง ขออภัยท่ไี มไ่ ด้ยกอา้ ง ถงึ แม้ว่านกั เขียนรุ่นเกา่ (ยุคบุกเบกิ ‘วรรณกรรมสมยั ใหม’่ ของไทย) จะไมไ่ ดใ้ ชภ้ าษาดที ดั เทยี มกนั ทุกคน แต่โดยรวมๆแล้ว ผมเช่ือว่าคุณภาพก็อยู่บน เส้นทางท่ีสูงกว่างานโดยรวมของวรรณกรรมร่วมสมัย ในขณะนี้ ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นงานของใคร หากอ่านอย่าง ละเอียด พลางพยายามซึมซับวิธีใช้ภาษามาสอนตัวเอง ย่อมต้องไดป้ ระโยชน์แนน่ อน การทำ�ความรู้จักกับตัวหนังสือและวิถีชีวิตของ ภาษา มีรายละเอียดปลีกย่อยมากมายเกินกว่าจะพูดคุย หมดภายในไม่กี่หน้า น่ีคือด้านหนึ่งของการเขียนหนังสือ ท่ตี อ้ งอาศัยศลิ ปะส่วนตัวของแตล่ ะคนในการถา่ ยทอด และ ในระหว่างการศึกษาเรียนรู้ จะด้วยการอ่านงานดีๆ หรือ ปราบดา หยุ่น 75
การฝึกเขียนสม่ำ�เสมอ ผ้เู รียนไม่ควรลืมอิสระของการเปิด หนา้ ตา่ งกวา้ งๆบานนน้ั ในขณะทม่ี คี นชน้ี �ำ ทาง กไ็ มค่ วรละเลย ท่ีจะคลำ�หาด้วยตัวเองต่อไป เพราะในโลกแห่งตัวหนังสือ ถึงจะมีผู้ชำ�นาญทางอยู่หลายคน แต่ความท่ีเป็นโลก ขนาดใหญ่ และพร้อมจะขยายอาณาเขตออกไปเร่ือยๆ ย่อมไม่มีใครเข้าใจหรือรู้จักไปเสียทุกตรอกซอกซอย ยังมี มุมมืดมากมุมรอคอยการค้นพบโดยคนตาดี ยังมีทางลัด อีกมากมายรอคอยการเปิดโปงโดยคนหัวไวใจร้อน และ ก็เป็นไปได้อีกเช่นกัน ท่ีผู้เดินทางอาจจะอาจหาญถึงข้ัน ถมถนนใหม่ข้ึนเอง สร้างทางเช่ือม สะพาน ทางด่วน รถไฟฟ้า รถไฟใต้ดิน เพราะโลกของตัวหนังสือก็เหมือน โลกท่ีเราดำ�เนินชวี ติ อยู่ มันเปน็ โลกทีม่ ลี มหายใจ พรอ้ มจะ เตบิ โตเปล่ยี นแปลง อาจารย์สอนวิชาออกแบบของผมคนหน่ึง เคยให้ ข้อคิดติดสมองไว้ว่า ในการออกแบบอะไรก็ตาม พยายาม นึกว่างานชิ้นน้ันเป็นสวนที่เราต้องเดินเข้าไป ถ้าเป็นสวน ท่สี กปรก รกรุงรงั มแี ตข่ องวางเกะกะขยับตวั ไปมาลำ�บาก กถ็ อื วา่ เปน็ สภาพแวดลอ้ มทไ่ี มน่ า่ อยู่ ไมน่ า่ เขา้ ไมน่ า่ เดนิ ชม งานออกแบบท่ดี ี กค็ ือสวนที่ทงั้ สวย สะอาด มีระเบยี บ และ มีเสน่ห์ น่าสนุกไปในตัว ใครสามารถออกแบบอะไรท่ีมี คุณสมบตั ิเหล่านนั้ ครบถว้ น กจ็ ะเป็นนกั ออกแบบทด่ี ี 76 เป็น: เรียงความว่าด้วยลมหายใจในตัวหนงั สอื
ผมชอบข้อคิดของอาจารย์คนน้ัน เพราะใช้ได้กับ งานศิลปะเกือบทุกประเภท ไม่ใช่เฉพาะงานออกแบบ การเขียนหนังสือที่สละสลวยก็เหมือนการออกแบบสวน เช่นกัน และคุณสมบัติดังกล่าวก็ล้วนเป็นส่ิงจำ�เป็นท้ังสิ้น ในการดแู ลสวนตวั หนงั สอื การสอ่ื สารทเ่ี หมาะสมกบั เนอื้ หา เม่ือใดควรขึ้นย่อหน้าใหม่ คำ�ไหนควรตัดทอนออกไปได้ ประโยคไหนสับสนจนทำ�ให้ความหมายลบเลือน คำ�ไหน สะกดผดิ ประโยคสดุ ทา้ ยเหมาะสมที่จะปิดเร่อื งแล้วหรือไม่ เหลา่ นค้ี อื ค�ำ ถามของผดู้ แู ลสวน ซงึ่ ตอ้ งอาศยั ประสบการณ์ สว่ นตวั ของแตล่ ะคนในการตัดสินใจ คงมีนักเขียนไม่น้อยท่ีหวังพึ่งบรรณาธิการ ช่วยขัดเกลาสำ�นวนภาษาให้ ถ้าเป็นสมัยก่อนก็อาจจะพอ ฝากเน้ือฝากตัวไว้กับบรรณาธิการได้ อาจจะมีนักเขียน จ�ำ นวนมากดว้ ยซ้ำ� ทห่ี ากขาดบรรณาธกิ ารประจ�ำ ตวั ไปเสยี คุณภาพในงานก็จะตกลงเหวอย่างไม่น่าเชื่อ แต่นั่นคือ ยุคสมัยท่ีมีบรรณาธิการเก่งๆและสนใจโลกแห่งตัวหนังสือ พอๆกัน หรืออาจจะมากกว่านักเขียนเสียอีก ซ่ึงต้อง ยอมรับอย่างน่าใจหายว่าสถานการณ์ในปัจจุบันไม่ได้เป็น เช่นนั้นแล้ว ความพิถีพิถันในการตรวจอ่านงานเขียน กอ่ นสง่ โรงพมิ พก์ �ำ ลงั อยใู่ นยคุ ตกต่ำ�อยา่ งมาก คงเปน็ เพราะ การแขง่ ขนั ทางธรุ กจิ รนุ แรงรวดเรว็ ขนึ้ จนเหลอื เวลาส�ำ หรบั ปราบดา หยนุ่ 77
ความประณตี นอ้ ยลง สง่ วนั น้ี วางแผงพรงุ่ นอ้ี ะไรท�ำ นองนน้ั ประกอบกบั คณุ ภาพบคุ ลากรทค่ี งตกต่ำ�ตามไปดว้ ย หนงั สอื หลายเล่มท่ีวางแผงอยู่ในตลาดจึงดูเหมือนไม่ได้ผ่านการ ดูแลความเรียบร้อยมาเลย หรือถ้าผ่านก็ผ่านแบบขอไปที เพราะวนั ๆหนง่ึ บรรณาธกิ ารอาจตอ้ งผา่ นตน้ ฉบบั เปน็ สบิ ๆ เล่ม นักเขียนไทยส่วนใหญ่ก็ยังไม่ร่ำ�รวยพอจะจ้าง บรรณาธกิ ารสว่ นตวั เหมอื นทนี่ กั เขยี นบางประเทศเขาท�ำ กนั (หรือถึงจะร่ำ�รวยพอ ก็คงไม่มีบรรณาธิการให้จ้าง) ดังนั้น นักเขียนจึงต้องพิถีพิถันกันเอง และควรศึกษาหาความรู้ เพ่อื ปรับปรงุ ขอ้ บกพรอ่ งทางภาษาอยู่เสมอ บางทเี ขียนไป นานๆเขา้ ก็จะเกิดความเคยชินกับการใช้ค�ำ บางค�ำ สำ�นวน บางสำ�นวน หรือลูกเล่นบางอย่าง จนทำ�ซ้ำ�แล้วซ้ำ�เล่า โดยไม่รู้ตัว จึงต้องหัดฝึกฝนท่ีจะตรวจสอบความประพฤติ ทางตวั หนงั สือบ่อยๆ หดั สะกิดตัวเองเม่ือมีโอกาส คนสวน ทด่ี ีคงไมส่ ามารถลาพกั รอ้ นนานๆ เพราะกิง่ กา้ นของต้นไม้ จะทิ่มไชให้สวนรุงรังได้ในเวลาอันสั้น เว้นแต่ว่าจะอยาก เลิกเป็นคนสวน ก็ว่ากันไม่ได้ คนเขียนหนังสือถ้าไม่ดูแล ตัวหนังสือของตัวเองให้ดี ก็อาจจะแปลว่าหมดความสนใจ ในโลกแห่งภาษาเสียแล้วกระมงั 78 เป็น: เรียงความว่าดว้ ยลมหายใจในตัวหนังสือ
นอกจากโลกของตัวหนังสือจะมีลักษณะการ ด�ำ เนนิ ชวี ติ คลบั คลา้ ยกบั โลกแหง่ ความเปน็ จรงิ (แบบมนษุ ย)์ แล้ว ผมยังเชื่อว่าหนังสือแต่ละเล่ม เร่ืองเขียนแต่ละเร่ือง เป็นโลกท่ีไม่ได้เป็น ‘ความจริงสากล’ กล่าวคือ การอ่าน หนงั สือเล่มเดียวกัน ถ้ามนี ักอา่ นสองคน กอ็ าจจะมสี องโลก สามคนก็สามโลก เป็นต้น ท้ังท่ีผู้เขียนเขียนออกมาเพียง โลกเดยี วเทา่ นนั้ โลกของตัวหนังสือ ถึงแม้จะอ้างอิงโลกจริงอย่าง ละเอียดลออเท่าใด เนื่องจากต้องกรองเป็นตัวหนังสือ อีกทอดหน่ึง ผมเชื่อว่าไม่มีหนังสือหรืองานเขียนชิ้นไหน ท่ีจะเรียกได้ว่าเป็นการเสนอ ‘ความจริง’ อย่างถ่องแท้ แม้แต่งานเขียนสารคดีก็ต้องมีคราบไคลแห่งการป้ันแต่ง เป็นองค์ประกอบ แมจ้ ะน้อยนดิ เทา่ ไรกต็ าม ด้วยเหตนุ ้ีเอง ความเข้าใจผิดหรือคลาดเคลื่อนจึงเกิดขึ้นได้เสมอ ในการอ่าน หนังสือแต่ละเล่มจึงส่ือสารความหมายต่างกัน ไปบ้างตามการรับป้อนข้อมูลของคนอ่านที่ต่างพื้นฐาน ความคิดกัน ศรีบูรพาอาจจะเขียน ข้างหลังภาพ ข้ึนมา เลม่ เดยี ว เปน็ โลกเดยี ว แตถ่ า้ มคี นอา่ นสบิ คน ขา้ งหลงั ภาพ ก็มีสิบภาพสิบโลก มีร้อยคนก็ร้อยแบบร้อยโลก น่ีคือ คุณสมบัติของศิลปะที่น่าทึ่ง มันสามารถแตกขยายได้ กว้างไกลเกินกว่าใครจะสามารถคาดเดา และมีลมหายใจ ปราบดา หย่นุ 79
หลากหลายลักษณะ ที่แม้แต่ตัวผู้สร้างก็ไม่มีปัญญาล่วงรู้ หรอื บังคับได้ ฝร่ังพูดกันว่า ‘Beauty is in the eyes of the beholder’ แปลว่า ความงามขึ้นอยู่กับดวงตาของผู้ที่ได้ เห็น น่ันคือ แต่ละคนมองต่างกัน อะไรที่คนหน่ึงว่าสวย อีกคนอาจจะว่าอัปลักษณ์ ตัวหนังสือก็มีคุณสมบัติเช่นนี้ งานเขียนแต่ละชิ้นก็เป็นโลกของผู้อ่านเป็นการตีความของ ผอู้ ่าน ผู้เขียนจะสอดแทรกปรัชญาล้ำ�ลกึ หลายขมุ ไว้เท่าใด หากผอู้ า่ นไมเ่ ลอื กจะรบั รู้ กไ็ มม่ คี วามส�ำ คญั ในทางกลบั กนั บางอย่างที่ผู้อ่านซาบซ้ึงหรือเล่ือมใสในตัวหนังสือ ผู้เขียน อาจไมไ่ ด้ตั้งใจหยอดใส่ไว้เลยกไ็ ด้ ผมรู้สึกสนุกทุกครั้งที่ได้ยินคนตีความงานเขียน ของผมไปต่างๆนานา บางคร้ังก็ตรงกับท่ีผมคิดตอนเขียน บางครั้งก็น่าตื่นเต้นกว่าที่ผมคิดเองเสียอีก แต่ผมจะไม่ ตัดสินในแง่ผิดหรือถูก หากมีคนถามว่า “นักวิจารณ์คนนี้ ตคี วามงานคณุ ถกู หรอื เปลา่ ” ผมจะตอบไมไ่ ด้ เพราะผมเชอื่ ว่าถงึ อยา่ งไร คงไม่มใี ครลว่ งรถู้ งึ ส่ิงท่ผี มคิดระหวา่ งทำ�งาน ได้ ‘ถกู ’ เท่าตัวผมเอง ดังนั้น การอา่ นหรือเขยี นงานวจิ ารณ์ สงิ่ ส�ำ คญั จงึ มไิ ดอ้ ยทู่ คี่ วามแมน่ ย�ำ ในการตคี วามของผเู้ ขยี น แต่อยู่ที่ความสามารถในการจับเนื้อแล้วแตกหน่อออกไป อย่างน่าสนใจต่างหาก เพราะงานเขียนชิ้นหน่ึงคือพื้นที่ 80 เป็น: เรยี งความว่าดว้ ยลมหายใจในตัวหนังสอื
ที่ทุกคนมีสิทธ์ิใช้เพื่อช้ีทาง ผมอาจจะเป็นคนเขียนโลกนั้น ขนึ้ มา แตผ่ มกไ็ มส่ ามารถเหน็ รายละเอยี ดของมนั ไดท้ งั้ หมด ย่ิงถา้ เป็นโลกซบั ซอ้ น มีการเจรญิ เติบโตของมนั เอง ผมย่ิง จนปัญญาจะตามไปเก็บทุกเหตุการณ์ท่ีเกิดข้ึน และเมื่อ เผยแพร่ออกสู่สายตาสาธารณชนแล้วคนอ่ืนยิ่งมีสิทธิ์ ทดั เทียมกนั ในการตรวจสอบหรอื ใชป้ ระโยชนจ์ ากโลกนัน้ บางโลกทเี่ ขยี นขน้ึ เอง ผมกไ็ มป่ ระสงคจ์ ะไปเหยยี บ อีก บางโลกก็เขียนขึ้นอย่างว่องไว จนมองพลาดหลายส่ิง หลายอย่าง บางโลกก็ผูกพันมากจนรู้สึกอยากปกป้อง เกนิ เหตุ แต่ผมก็พยายามทำ�ใจอย่เู สมอวา่ งานทกุ ช้ินมชี วี ติ ท่ีเป็นอิสระ สิ่งที่ผมได้จากการเขียนโลกของตัวหนังสือ ข้ึนมาแต่ละโลกก็คือค่าตอบแทนเฉพาะท่ีลงแรงสร้างมัน ขึ้นมาเท่าน้ัน ท้ายที่สุดแล้ว ผมก็ไม่ใช่เจ้าของชีวิตของ งานเขียนชน้ิ ใดเลย เม่ือให้อิสระกับตัวเองในการจินตนาการ ก็ต้องให้ อิสระกับการด�ำ เนินชวี ิตของจินตนาการดว้ ยเชน่ กนั คอยดไู ด–้ ตวั หนงั สอื จะมชี วี ติ อยนู่ านกวา่ ผมดว้ ยซ้ำ� มนั แขง็ แกรง่ กวา่ มนษุ ย์มากนัก การรจู้ กั จดั สวนแหง่ ตวั หนงั สอื ใหด้ ี นอกจากจะเปน็ คณุ สมบตั อิ นั ไมค่ วรแยกออกจากความเปน็ คนเขยี นหนงั สอื ทด่ี แี ลว้ ยงั จะชว่ ยใหง้ านเขยี นด�ำ เนนิ ไปอยา่ งงา่ ยดายยงิ่ ขนึ้ ปราบดา หยนุ่ 81
ตัวหนังสือท่ีมีชีวิตจะช่วยสร้างชีวิตให้ตัวละคร ช่วยสร้าง ฉากให้เหตุการณ์ ช่วยผูกโครงเร่ืองให้โดยผู้เขียนไม่ต้อง กุมขมับเป็นเวลานาน ในหนงั สอื เกยี่ วกบั การเขยี นหนงั สอื ของสตเี ฟน่ คงิ เขาเปดิ เผยอยา่ งหนา้ ชนื่ ตาบานวา่ เขาไมช่ อบการวางพลอ็ ต หรือโครงเรื่องก่อนลงมือเขียน เพราะเขาเชื่อว่าในการ ดำ�เนนิ ชีวติ แต่ละวนั เราก็ไมร่ ู้พลอ็ ตของตวั เอง และเช่อื ว่า การ ‘สร้างสรรค์อย่างฉับพลัน’ เป็นส่วนสำ�คัญของ การผลิตงาน เม่ือเรารู้จักโลกของตัวหนังสือดีแล้ว รู้วิธี จัดการดูแลอย่างรัดกุมพอสมควร ตัวหนังสือก็จะจูงมือเรา ไปยงั ทิศทางอนั น่าตนื่ เตน้ ต่างๆได้เอง บางคร้ังในความคุ้นเคยกับตัวหนังสือ ผู้เขียนจะ ได้เดินทางไปเจอสถานท่ีสวยงามหรือน่าสนใจหลายแห่ง โดยไม่ตั้งใจ การค้นพบหรือสร้างสรรค์อย่างบังเอิญ (บ้าง อาจบอกว่ามาจากจิตใต้สำ�นึก) แบบนี้เกิดข้ึนบ่อยในงาน ศิลปะ จนบางคร้ังความไม่ต้ังใจดูจะโดดเด่นและมีบทบาท สำ�คัญมากกว่าส่ิงท่ีต้ังใจเสียอีก ครูสอนวาดเขียนคนหนึ่ง ของผมเรยี กปรากฏการณน์ วี้ า่ ‘อบุ ตั เิ หตอุ นั นา่ ยนิ ด’ี (Happy Accidents) เธอว่ามันน่าต่ืนเต้นมากเมื่อความไม่ต้ังใจดีๆ เกดิ ขน้ึ และตวั ผสู้ รา้ งสรรคก์ ค็ วรอา้ แขนโอบกอดวาระพเิ ศษนน้ั อย่างเต็มใจ บางคนไม่เรียกมันเป็นอุบัติเหตุด้วยซ้ำ� 82 เปน็ : เรยี งความวา่ ดว้ ยลมหายใจในตวั หนงั สือ
ศิลปินจำ�นวนไม่น้อยเชื่อว่าในโลกนี้ไม่มี ‘อุบัติเหตุ’ ทุกส่ิง ทุกอย่างอุบัติขึ้นเพื่อรองรับเหตุผลเสมอ สำ�หรับคนที่ ชำ�นาญทางของโลกแห่งตัวหนังสือ ไม่ต้องกังวลเลยว่า จะมีโอกาสได้ประสบอุบัติเหตุอันน่ายินดีกับเขาไหม เพราะมันเป็นปรากฏการณ์ที่เหมือนจะรับประกันแล้ว ไม่วันใดก็วันหนึ่ง ตัวหนังสือจะทำ�หน้าท่ีนำ�ทางไปสู่ ความน่าประหลาดใจเชน่ นน้ั แนน่ อน ภาษาเป็นเครื่องมือของมนุษย์ และในเม่ือมนุษย์ แบ่งออกเป็นเผ่าพันธุ์ เป็นชนชาติ ลักษณะของภาษา ก็สะท้อนความแตกต่างระหว่างกลุ่มย่อยของมนุษย์ โดยปริยาย ทว่าความเป็นสากลครอบคลุมชีวิตคนท้ังโลก กเ็ ป็นส่งิ ที่ปฏิเสธไม่ได้ คนก็คอื คนเหมอื นกนั เม่ือเป็นเช่นน้ี ภาษาต่างๆก็มีความเป็นสากล เคลอื บอยบู่ นผวิ ของความแตกตา่ ง เกอื บทกุ ภาษาทผ่ี า่ นการ เติบโตมาเป็นเวลานานมักมีการแตกแขนงของวรรณศิลป์ คลา้ ยคลงึ กัน เกือบทุกภาษามกี าพยก์ ลอน เกอื บทกุ ภาษา มกี ารแตง่ เน้อื เพลง เกือบทุกภาษามีอารมณข์ ันอันเกดิ จาก การพลิกแพลงตัวหนังสือ (เช่นคำ�ผวนของไทย) เกือบทุก ภาษามีแสลงทเี่ ปล่ียนแปลงตามความนยิ ม เกอื บทุกภาษา มคี �ำ ดดั จรติ ทใ่ี ชก้ นั เฉพาะในหมนู่ กั วชิ าการ รายละเอยี ดยอ่ ย เหล่านม้ี อี กี หลายรูปแบบ จะใหเ้ ปรียบเทยี บจรงิ จงั ระหวา่ ง ปราบดา หยุ่น 83
ภาษาก็คงพิมพ์เป็นหนังสือได้อีกหลายสิบเล่ม แต่สรุปว่า ในความแปลกหูเม่อื เราได้ฟังภาษาตา่ งถิ่น กค็ ือการสอ่ื สาร ที่ไม่ผิดแผกไปจากภาษาของเราเองมากนัก เราจงึ สามารถ ‘แปล’ ความหมายให้คนต่างชนชาติได้พูดคุยกันเข้าใจ อย่างไรก็รู้ว่าต้องสื่อสารถึงส่ิงที่เกี่ยวข้องกับส่ิงที่เป็น ประสบการณแ์ ละปรากฏการณบ์ นโลกเหมอื นกัน ด้วยเหตุน้ี ผมคิดว่าการเข้าใจภาษาใดภาษาหนึ่ง อย่างดี ก็จะช่วยในการเข้าใจความเป็นสากลของภาษา ท้ังหมดได้ด้วย และจะสามารถถ่ายเทคุณสมบัติของแต่ละ ภาษา เพอ่ื ใช้ร่วมกนั ได้อย่างสมดลุ คล้องจอง ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีความสามารถในการ พลกิ แพลงสงู เปน็ ภาษาทม่ี ากดว้ ยลกู เลน่ ลน้ เออ่ ดว้ ยความ สนกุ สนาน ในขณะที่ภาษาอยา่ งภาษาอังกฤษมีหลักการใช้ รดั กมุ หลายขนั้ ตอน ผมู้ คี วามสนใจในตวั หนงั สอื และโลกแหง่ ภาษาที่โชคดีได้เริ่มด้วยการรู้จักภาษาไทย จึงควรตักตวง อสิ ระพเิ ศษและรายละเอยี ดอนั เปน็ เอกลกั ษณข์ องภาษาไทย ให้ซมึ ซบั เขา้ ไปในการท�ำ งานอยา่ งเตม็ ท่ี อาจจะร้อนหน่อย ทำ�ให้เหนียวตัวนิด แต่ก็มี หน้าฝนชุ่มฉ่ำ�รออยเู่ สมอ 84 เปน็ : เรียงความว่าด้วยลมหายใจในตัวหนงั สือ
กิจกรรม ท�ำ ความรจู้ กั ปดั กวาด และขดั เกลาเรอื่ งทเี่ ขยี นทงั้ สองเรอื่ ง ก่อนหน้าน้ี ปราบดา หยนุ่ 85
บทท่ี 4 เปน็ เรื่อง : ทำ�ความรูจ้ กั กบั โลกภายนอก ผกู้ �ำ กบั ภาพยนตรท์ า่ นหนง่ึ เคยยกตวั อยา่ งเรอ่ื งความสมจรงิ ในการเขียนหนังสือ หรือการวางโครงเร่ืองให้ผมฟังว่า ในโลกน้ีมีกะเหร่ียงคอยาวอยู่ก็จริง แต่คงไม่บ่อยนักที่เรา จะเห็นกะเหร่ียงคอยาวคนหน่ึงนั่งจิบกาแฟอยู่ในร้าน กลางกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นการแนะให้เห็นว่าถึงแม้โลกน้ี จะมีความหลากหลายล้นหลาม แต่ทุกอย่างก็มีที่ทางและ ความเหมาะสมของมนั และหากใสส่ งิ่ แปลกปลอมลงไปทใ่ี ด กจ็ ะเปน็ จดุ สนใจจนดพู ิลกึ พลิ ั่นผดิ ธรรมชาติ มีเหตุผลอยู่ในคำ�แนะนำ�ของผู้กำ�กับแน่นอน แต่ สำ�หรับผม แนวคิดเช่นน้ันทำ�ให้เกิดสิ่งท่ีเราเรียกว่า ‘สูตร’ หรอื ความยดึ ตดิ กบั ปรากฏการณ์‘โดยทว่ั ๆไป’เสยี จนลมื ทจี่ ะ สะท้อนสีสันอันแตกต่างของธรรมชาติและความเป็นมนุษย์ ไมเ่ ถยี งวา่ การใหก้ ะเหรยี่ งคอยาวมานงั่ ในรา้ นกาแฟโดยไมม่ ี ปราบดา หยนุ่ 87
สาเหตุอาจจะแปลกประหลาดไปเสียหน่อย แต่หากว่าส่ิงที่ ผู้เขยี นต้องการสือ่ คือ ‘ความเปน็ ไปได’้ ในสังคม ผมวา่ กม็ ี น้ำ�หนกั พอส�ำ หรับการทดลองแลว้ ความซ้ำ�ซากจำ�เจจะเกิดข้ึนกับงานศิลปะก็ต่อเมื่อ ทุกคนคิดหรือมองไปในจุดเดียวกันเป็นเวลานาน ดังนั้น ก่อนอื่นเราควรทำ�ความเข้าใจว่า โลกใบนี้มีรายละเอียด มากมายทยี่ งั ไมโ่ ดน ‘สตู ร’ กกั ขงั และสงั คมมนษุ ยก์ ซ็ บั ซอ้ น เกนิ กวา่ จะสามารถแบ่งแยกเปน็ รูปแบบตายตวั ได้ ยกตัวอย่างง่ายๆ เมื่อใดที่มีผู้เขียนถึงความ ไม่เป็นธรรมในสังคม ตัวละครแห่งความขัดแย้งมักจะเป็น ระหว่างผู้มีอำ�นาจกับผู้ถูกกดข่ี บ่อยครั้งเหลือเกินท่ี ผู้มีอำ�นาจถูกวางให้เป็นคนรวย และผู้ถูกกดขี่คือคนจน ส�ำ หรับผมู้ ีสำ�นกึ ผิดชอบกับวถิ ชี ีวิตมนุษย์ แนน่ อนว่าความ ไมย่ ตุ ธิ รรมระหวา่ งชนชนั้ เปน็ ประเดน็ หลกั ทคี่ วรสะทอ้ นถงึ เมื่อมีโอกาส แต่ในขณะเดียวกัน ผมคิดว่าส่ิงสำ�คัญคือ การสะท้อนอย่างกระจกเงา มิใช่สะท้อนด้วยนัยน์ตา ของผู้เขียนเพียงฝ่ายเดียว สะท้อนอย่างกระจกเงา คือ การสะท้อนทุกรายละเอียดอย่างที่มันเป็น มิได้เข้าข้าง รายละเอียดใดเป็นพิเศษ เพราะประเด็นการสะท้อนชีวิต ก็มีหลายข้ันตอน จะตัดสินว่าคนอย่างน้ีดี คนอย่างนี้เลว เพียงเพราะเหตุการณ์โดยรวมพาไปน้ัน ผมว่าเป็น ‘การ 88 เปน็ : เรยี งความว่าดว้ ยลมหายใจในตัวหนังสือ
โฆษณา’ มากกวา่ การสะท้อนภาพอยา่ งคมชัด ภาพคมชดั คอื ภาพของความเปน็ ไปในสังคมทีล่ กึ กวา่ เปลอื กของอาชพี เชน่ ตวั อยา่ งคนรวย–คนจนทกี่ ลา่ วมา ลกั ษณะงานเขยี นโจมตสี ว่ นใหญม่ กั ฟนั ธงวา่ คนจนเปน็ ฝา่ ย ธรรมะ คนรวยเปน็ ฝา่ ยอธรรม ซึง่ ในโลกแหง่ ความเป็นจรงิ มใิ ชเ่ ชน่ นน้ั เสมอไป คนจนทเ่ี ปน็ คนเลวกม็ ี คนรวยทเ่ี ปน็ คนดี ก็มี คนจนที่จนเพราะทำ�ตัวเหลวแหลกก็มี คนรวยท่ี รวยเพราะขยันขันแข็งและดำ�เนินชีวิตโดยไม่ได้เห็นแก่ เงนิ ทองมากนักกม็ ี ขอทานไม่จำ�เปน็ ตอ้ งน่าสงสารเสมอไป พระสงฆท์ กุ รปู ไมไ่ ดฝ้ กั ใฝใ่ นการศกึ ษาธรรมะอยา่ งเครง่ ครดั เท่าเทียมกัน ตำ�รวจไม่ใช่คนดีทุกนาย ผู้ร้ายบางคนก็ มคี วามจำ�เปน็ ผลกั ดนั ใหต้ ้องทำ�ผดิ กฎหมาย ครบู าอาจารย์ ไม่ได้น่าสรรเสริญเยินยอไปเสียหมด เพราะบางคนก็ไม่ สนใจการสอน จอ้ งแตจ่ ะจบี ลกู ศษิ ย์ ผชู้ ายทม่ี ที ที า่ ออ่ นชอ้ ย กไ็ มจ่ �ำ เปน็ ตอ้ งเปน็ เกยท์ กุ คน ในขณะทหี่ ญงิ มน่ั คลอ่ งแคลว่ ตัดผมสั้นเต่อ ก็ไม่ได้แปลว่าเธอต้องเป็นทอม คนหน้าตา โหดเหี้ยมอาจจะมีน้ำ�ใจงดงาม เด็กท่ีดูสดใสไร้เดียงสา อาจจะเพงิ่ จบั นอ้ งกดน้ำ�ตายไปหมาดๆ คนพดู จาหยาบคาย ไม่ใช่คนก้าวร้าวเสมอไป และคนเรียบร้อยเหมือนผ้าพับไว้ กม็ ไิ ดแ้ ปลวา่ จติ ใจออ่ นโยน คนนยิ มท�ำ บญุ เปน็ กจิ วตั รอาจจะ เป็นมือปืนฆ่าคน และคนท่ีไม่เคยช่วยเหลือเกื้อกูลใครเลย ปราบดา หยนุ่ 89
อาจจะมีความเอ้ือเฟ้ือเผื่อแผ่เจิ่งนอง เพียงแต่ไม่มีใครเคย ถามเขา คนชอบกินแฮมเบอร์เกอร์ไม่จำ�เป็นต้องเป็นพวก นิยมของนอก ในขณะที่คนนุ่งห่มชุดไหมไทยท้ังปีทั้งชาติ อาจจะไมเ่ คยดลู เิ กแมแ้ ตค่ รงั้ เดยี ว ผชู้ ายทเี่ ปน็ มติ รสนทิ สนม กับเพ่ือนร่วมงานอย่างดี อาจจะกลับบ้านไปตบถีบลูกเมีย ทุกวัน หญิงขายบริการทางเพศไม่ได้ทำ�ด้วยความฝืนใจ ไปเสียหมด เด็กติดเหล้าเมายาก็ไม่ได้ใฝ่ชั่วทุกคน เหล่านี้ คอื ตวั อยา่ งครา่ วๆทผ่ี มกลา้ ยนื ยนั วา่ เปน็ ความจรงิ ในสงั คม ทัง้ ๆท่ีฟังดเู หมอื นไมน่ ่าจะจรงิ เอาเลย การยึดติดกับสูตรของความน่าจะเป็นจนเกินไป มีส่วนทำ�ให้งานวรรณกรรมละเลยท่ีจะ ‘เล่า’ และ ‘ฉาย’ พฤติกรรมอันน่าสนใจหลายอย่างของคนและธรรมชาติ งานที่ถูกแบ่งเป็นประเภทจึงถูกถ่ายทอดออกมาเหมือนๆ กันหมด และบ่อยครัง้ ทีค่ วามแตกต่างปะทะกนั เองโดยไม่มี เหตผุ ล นกั เขยี นทาสทนุ นยิ มกจ็ ะเขยี นแตค่ วามเจรญิ รงุ่ เรอื ง ของผลติ ภณั ฑต์ า่ งๆ ในขณะทนี่ กั เขยี น ‘เพอื่ ชวี ติ ’ กม็ งุ่ แตจ่ ะ ตอ่ สเู้ อาชนะ หรอื ระบายความคบั แคน้ ใจของฝา่ ยใดฝา่ ยหนงึ่ นักเขียนหลายท่านอาจจะเชื่อว่างานวรรณกรรม หรือการ เขียนหนังสือควรมีหน้าที่รับใช้กระบวนการอะไรบางอย่าง เพอื่ ตดั สนิ ความถกู ตอ้ งทางศลี ธรรม ทางจรยิ ธรรมในสงั คม แต่ผมไม่ฝักใฝ่ความเชื่อนั้น เพราะรู้สึกว่ามันบีบศิลปะให้ 90 เป็น: เรยี งความว่าดว้ ยลมหายใจในตวั หนังสอื
ตีบตันเกินไป และทำ�ให้คนไม่ได้มองโลกอย่างที่มันเป็น –ซ่ึงคือโลกแห่งการเชื่อมโยงของทุกสิ่งทั้งดีและช่ัว ท้ังมั่ว และเหมาะ ทัง้ เจาะและกลบ ทง้ั รบและกอดคอ งานเขยี นทม่ี ีประโยชน์ในทศั นคตขิ องผม คืองานท่ี ชว่ ยขยายมมุ มองของมนษุ ยท์ ม่ี ตี อ่ โลกใหก้ วา้ งขน้ึ สามารถ ทำ�ให้ผู้อ่าน ‘เห็นความเป็นไปในโลกโดยไม่ต้องออกไป ไหนเลย’ ดังสำ�นวนในปรัชญาฮินดูว่าไว้หรือทำ�หน้าที่เป็น เหมือนหยดน้ำ�เล็กๆที่สะท้อนได้แม้แต่ภาพดวงจันทร์ ท้งั ดวง ดังท่ี โดเก็น นักพรตเซน ส�ำ นักโซโตะ เปรียบเปรย ถงึ การ ‘หย่ังรู’้ ของจิตใจมนุษย์ การสังเกตพฤติกรรมของคนจึงเป็นงานอดิเรกท่ี จ�ำ เปน็ ส�ำ หรบั ผสู้ นใจงานเขยี นหนงั สอื ถา้ ไมส่ งั เกตไมเ่ ฝา้ ดู ไมศ่ กึ ษาความหลากหลายของคนในสงั คม กจ็ ะยดึ ตดิ อยกู่ บั ตัวละครสูตรสำ�เร็จที่ซึมซับมาจากแหล่งอ่ืนอีกทอดหน่ึง ดหู นงั ดลู ะครมากๆกจ็ ะตดิ ตวั ละครทถี่ กู เหลาเสยี จนเบาบาง ไม่ใช่มนุษย์ที่แท้จริง เพราะในความบันเทิงท่ีฉาบฉวยกว่า ตัวหนังสือ ย่อมต้องลดความสมจริงลงเพ่ือเปิดพื้นท่ีให้กับ ความเข้มข้น ความมีสีสันของบทบาทผู้แสดง ตัวอิจฉา ในละครทีวีจึงไม่เคยมีงานทำ� วันๆได้แต่ขับรถไปตบตีกับ นางเอก ได้แต่โผล่ไปเซอร์ไพรส์พระเอกที่ทำ�งาน ได้แต่ ทะล่ึงเข้าไปหาเรื่องคนใช้ในครัว คนใช้ก็ได้แต่จับกลุ่มกัน ปราบดา หย่นุ 91
นินทานาย ได้แต่ทำ�ตัวเป็นฝ่ายสอดแนมให้พ่อแม่พระเอก พระเอกก็ได้แต่นั่งอยู่กับโต๊ะออฟฟิศ จ้องมองเอกสาร ปลอมๆไดเ้ ปน็ เดอื นเปน็ ปี นางเอกกไ็ ดแ้ ตอ่ มทกุ ข์ ขมวดคว้ิ เงื้อมือจะตบตวั อิจฉาแต่กต็ ้องระงบั ใจไว้ เหลา่ นคี้ อื รปู แบบ ตัวละครที่เห็นซ้ำ�แล้วซ้ำ�อีกในละครไทย ใครอยากเขียน หนังสือที่ประกอบไปด้วยคนกลวงแบนดังกล่าวไม่ใช่เรื่อง ยาก คร้านจะเขียนได้วันละสองสามเล่มด้วยซ้ำ� แต่ในโลก แห่งความเป็นจริง กิจวัตรประจำ�วันของคนมีรายละเอียด มากมายท่อี าจจะไม่เกีย่ วกบั ‘ประเด็น’ หลักในชีวติ ผู้หญิงท่ีมีสันดานอิจฉาริษยาอย่างในละครน้ัน คงมีอยู่จริงได้ แต่ก็ต้องมีบ้างที่เธอจะต้องสงบจิตสงบใจ ต้องเขา้ หอ้ งน้ำ� ตอ้ งไปหาเพ่อื นพอ้ ง ตอ้ งเปน็ หวัดไม่สบาย ตอ้ งไปดหู นังกบั ครอบครัว ต้องท�ำ อะไรตอ่ อะไรหลายอยา่ ง ท่ีมากไปกว่าการหาเร่ืองท่ีบ้านคนอื่น และในบางครั้ง คนขี้อิจฉาก็สามารถคิดจะทำ�ดีขึ้นมาก็ได้ วันพระก็อาจจะ ไปท�ำ บุญ เห็นเดก็ ขายพวงมาลยั ตามสี่แยกกอ็ าจจะสงสาร ถึงขน้ั แอบร้องไหก้ ็ได้เช่นกนั เรื่องที่คิดไม่ถึง แต่เป็นความจริงของโลก คือ ความน่าสนใจอันดับต้นๆที่ทำ�ให้ผมชอบอ่านและชอบ เขียนหนังสือ และความจริงก็ไม่ยากเยน็ เกนิ ความสามารถ ที่จะค้นพบในสังคม เพียงน่ังมองคนข้างถนนสักพัก 92 เป็น: เรยี งความวา่ ดว้ ยลมหายใจในตัวหนงั สือ
ความหลากหลายก็จะปรากฏขึ้นให้เก็บข้อมูลเอง หรือถ้า ไม่มีเวลาเฝ้ามองคนแปลกหนา้ การกม้ มองตัวเองกพ็ อแลว้ ลองไตรต่ รองดวู า่ เราเคยท�ำ อะไรทน่ี า่ แปลกใจแมแ้ ตส่ �ำ หรบั เราเองบ้างหรือไม่ เช่นปกติเราเป็นคนต่ืนสาย แต่จู่ๆก็ เกิดตื่นเช้าขึ้นมาวันหน่ึง แล้วทำ�ให้ได้ทักทายกับแสงแดด นุ่มๆท่ีไม่เคยสัมผัสมาก่อน หรือปกติเราจะให้เงินขอทาน บนสะพานลอยวันละบาทสองบาทด้วยความสงสาร แต่จู่ๆ วันหน่ึงก็เกิดอาการต่อต้าน นึกวิจารณ์ในใจว่าทำ�ไมเขา ไม่ลองไปหางานทำ�ดูบ้าง เกิดความคลางแคลงใจจึงไม่ ให้เงินเหมอื นเดมิ หรอื ปกตเิ ราเปน็ คนใจเยน็ แตจ่ ๆู่ วนั หนง่ึ ก็ ใจรอ้ น ลกุ ลนรบี เรง่ จนประสบอบุ ตั เิ หตุ เฉพาะตวั เรากม็ คี วาม นา่ แปลกใจเลก็ ๆนอ้ ยๆปะทพุ พุ องไดท้ กุ วว่ี นั เคยร�ำ พงึ เงยี บๆ วา่ ‘วนั นเ้ี กดิ อะไรหนอ รสู้ กึ ไมเ่ ปน็ ตวั เองเอาเลย’ บา้ งไหมครบั นน่ั คอื สง่ิ ทเ่ี กดิ ขน้ึ จรงิ ๆกบั ชวี ติ บางวนั เรากไ็ มเ่ ปน็ เรา การรวบรวมรายละเอียดหลากชนิดของชีวิต เป็นวัตถุดิบช้ันเยี่ยมสำ�หรับงานเขียนหนังสือ และถ้าขยัน ทจ่ี ะสงั เกต ขยนั ทจี่ ะเกบ็ เกยี่ ว ผมคดิ วา่ จะไมม่ วี นั ทวี่ ตั ถดุ บิ จะหมดไปได้ สำ�หรับค�ำ ถาม “หาวัตถุดิบจากไหนมาเขยี น” ผมต้องถามกลับไปว่า “มีท่ีไหนไม่มีวัตถุดิบบ้าง” เพราะ วัตถุดิบมีอยทู่ ัว่ ไป ทกุ หนแห่งตลอดเวลา กระท่งั เวลานอน วัตถุดิบก็ยังสามารถพร่ังพรู นักเขียนหลายคนสารภาพว่า ปราบดา หยนุ่ 93
ได้แนวคิดในการทำ�งานมาจากความฝันบ่อยคร้ัง ดังนั้น ถ้ารู้จักจะมอง ไม่ต้องเกรงกลัวว่าจะอับจนความคิดหรือ แรงบันดาลใจ ปญั หากค็ อื ส�ำ หรบั คนจ�ำ นวนมาก ค�ำ วา่ วตั ถดุ บิ คอื การวางแผนคน้ ควา้ เพอ่ื งานเขยี น หรอื การหมกมนุ่ กบั สงิ่ ใด สิ่งหนง่ึ ประหนง่ึ ยากระตนุ้ ให้เกดิ ประกายในการเร่ิมทำ�งาน วิธีการขุดหาวัตถุดิบอย่างนั้นก็เป็นวิธีที่อาจจะ ได้ผล การอ่านหนังสือ การดูหนังฟังเพลง เป็นกิจกรรมท่ี ช่วยป่ันกระแสไฟฟ้าในสมองได้แน่นอน ทว่ามันเป็นเพียง วธิ หี นึ่งเทา่ นนั้ ไมใ่ ชว่ ธิ ีเดียว และเมอ่ื มนั กลายเปน็ วธิ ีเดยี ว เมื่อไร วัตถุดิบที่ได้ก็จะมาเป็นสูตร เป็นรูปแบบจำ�เจ ทผ่ี ดิ จากความเปน็ จรงิ ในโลกกวา้ ง ทกุ คนกจ็ ะสอ่ื สง่ิ ซ้ำ�ซอ้ น ซ้ำ�ซาก ดังทเี่ ปน็ ปัญหาในบางยุคสมยั ของงานศลิ ปะ บางคนคิดว่าการศึกษาจากชีวิตประจำ�วันเป็น เร่ืองน่าเบ่ือและไม่สร้างสรรค์ นั่นเป็นความเช่ือที่ผิดถนัด และเป็นความเชื่อท่ีทำ�ให้เม่ือผู้เช่ือไปเจองานสร้างสรรค์ ทีจ่ �ำ ลองมาจากชวี ติ จริง กจ็ ะทำ�ใหต้ อ้ งแปลกใจ ทกึ ทกั เอา วา่ เปน็ เรอ่ื งแปลกประหลาด เปน็ งาน ‘ทดลอง’ หรอื เปน็ การ ประพฤติผดิ ขนบธรรมเนียมที่เคยทำ�กนั มา ทั้งทจ่ี รงิ แล้ว ขนบธรรมเนียมยาวนานนนั้ ต่างหาก ทปี่ ระหลาด! 94 เป็น: เรยี งความว่าด้วยลมหายใจในตัวหนงั สอื
ตอนหน่ึงในนิยายเรื่อง ยูลิซิส (Ulysses) ของ เจมส์ จอยซ์ ตัวละครท่ชี ่อื ลีโอโพลด์ บลูม พยายามนกึ ถงึ อะไรบางอย่าง แต่เขานึกไม่ออก จึงกลับไปสนใจสิ่งอื่น ทเี่ กดิ ขึ้นรอบข้างแทน จนกระท่ังเวลาล่วงเลยไปหลายหน้า กระดาษ อาจจะเปน็ รอ้ ย ขณะบลมู ก�ำ ลงั ท�ำ กจิ กรรมบางอยา่ ง จๆู่ เขากโ็ พลง่ ความทรงจ�ำ ออกมาทง้ั ทไี่ มไ่ ดม้ อี ะไรเกยี่ วขอ้ ง กับสิ่งที่ทำ�อยู่แม้แต่น้อย มันคือความทรงจำ�ที่นายบลูม นึกไม่ออกเม่อื หลายหนา้ ท่ีแล้วนน่ั เอง เจมส์ จอยซ์ เป็นนักเขียนคนหน่ึงท่ีสนใจในการ ‘จำ�ลอง’ พฤตกิ รรมของมนุษย์ด้วยตวั หนงั สอื อยา่ งละเอยี ด ท่สี ดุ และการ ‘นกึ ออก’ ของตวั ละคร กค็ อื การสะทอ้ นส่ิงท่ี คนเราทำ�เสมอได้อย่างสนุกสนาน คุณเองก็เคยใช่ไหม ที่ตื่นมาตอนเช้า พยายามนึกว่าฝันอะไรไปบ้าง แต่น่ังนึก นานเท่าไรก็จำ�ไม่ได้ แล้วเมื่อวันผ่านไปขณะกำ�ลังนั่งคุย กับเพื่อนกลางโต๊ะอาหารเย็น ภาพความฝันท่ีนึกไม่ออก ตอนเชา้ กพ็ ลนั ผดุ ขน้ึ มาอกี ครง้ั อยา่ งชดั เจน ความชา่ งสงั เกต ของจอยซ์ท่ีหยิบพฤติกรรมปกติของเราไปใช้ในงานเขียน กลับท�ำ ให้เป็นรายละเอยี ดโดดเด่นและแปลกใหมข่ น้ึ มา แต่เขาไมไ่ ดค้ ดิ อะไรขน้ึ มาเองเลย! น่าแปลกใจที่งานจำ�ลองชีวิตจริงหลายชิ้นถูกมอง เป็นงานพิสดาร ดูเหมือนว่าคนเราจะยังไม่รู้จักธรรมชาติ ปราบดา หย่นุ 95
แห่งความเป็นมนุษย์ดีพอด้วยซ้ำ� น่ีคือเหตุผลที่ทำ�ให้ ตวั หนงั สอื ยงั มชี อ่ งวา่ งในการสะทอ้ นภาพของโลกไดไ้ มจ่ บสน้ิ เปรยี บเสมอื นกระจกทย่ี ังขยายขนาดใหญโ่ ตขึน้ ทุกขณะ ในการสนทนาระหวา่ งกนั คนเรากม็ กั ไมย่ นื เผชญิ หนา้ ทื่อๆแลว้ พน่ คำ�พูดตรงๆ บางคนกไ็ ม่ชอบสบตากับอีกฝา่ ย บ้างก็ชอบหันไปหันมาอยู่ไม่สุข บ้างก็ชอบเกาโน่นเกาน่ี ไปด้วยขณะคุย แต่เม่ือดูความประพฤติของคนในละคร หรือในหนังบางเร่ือง ผู้แสดงมักจ้องหน้าพูดจาอย่างกับจะ สะกดจิตกันด้วยสายตา นี่คือสูตรคือรูปแบบสำ�เร็จ อันน่าเบ่ือหน่ายและไม่สมจริง และเป็นสิ่งท่ีผมเห็นว่าควร หลีกเลย่ี งเป็นอย่างยิง่ ในงานเขยี น แมแ้ ตก่ าร ‘ไมม่ อี ะไรเกดิ ขน้ึ ’ ในโลกนกี้ ม็ รี ายละเอยี ด นา่ สนใจมากมายใหส้ งั เกต แมแ้ ตค่ นนง่ั เฉยๆ กม็ วี ธิ นี ง่ั เฉยๆ แตกต่างกันไป ถ้าเฝ้ามองด้วยตาคมกริบ และบันทึก ทุกการเคลื่อนไหวของคนน่ังเฉยๆอย่างถ่ีถ้วน ผมเชื่อว่า สมดุ หนาๆหนงึ่ เลม่ กใ็ ชจ้ ดไมห่ มด และสามารถเขยี นออกมา เป็นหนังสือได้โดยไม่ต้องให้คนน่ังเฉยๆคนนั้นลุกขึ้นเดิน ไปไหนเลย ปรากฏการณ์ในธรรมชาติก็เป็นส่ิงสำ�คัญสำ�หรับ งานเขียน คนเราต้องอยู่กับสภาพแวดล้อม ต้องอยู่กับ อุณหภูมิอากาศบางอย่าง ต้องยืนอยู่ในพื้นที่บางประเภท 96 เปน็ : เรียงความว่าดว้ ยลมหายใจในตัวหนงั สือ
ไม่มีใครใช้ชีวิตล่องลอยในความว่างเปล่า ดังน้ัน การรู้จัก สงั เกตดนิ ฟา้ อากาศกซ็ บั ซอ้ นพอๆกบั การสงั เกตพฤตกิ รรม มนุษย์ ท่ีจริงธรรมชาติซับซ้อนกว่าด้วยซ้ำ� แต่ในเมื่อ นกั เขยี นไมใ่ ชน่ กั วทิ ยาศาสตรจ์ งึ ไมต่ อ้ งศกึ ษาถงึ ขน้ั เจาะลกึ ลงไปในโมเลกลุ เพียงรูพ้ อจะสร้างบรรยากาศใหต้ ัวหนังสอื ได้ พอจะบอกตวั ละครวา่ ในอากาศอยา่ งนค้ี วรจะรสู้ กึ อยา่ งไร ควรจะครน่ั เนอื้ ครน่ั ตวั ไหม ควรจะไอจาม หรอื ควรจะยกมอื ขนึ้ ปอ้ งจมกู เพราะฝนุ่ ลงจดั เกนิ ไป หรอื ควรจะกางรม่ เพราะ ฝนเรมิ่ ลงเมด็ หรอื ควรจะมคี วนั พวยพงุ่ ออกจากปากเพราะ หนาวจนหิมะตก ถ้าตัวหนังสือท่ีอยู่ข้ัวโลกเหนือไม่มีควัน ออกจากปากเวลาต้องสนทนา ความ ‘จอมปลอม’ ของ ตัวหนังสือจะปรากฏทันทโี ดยไม่ตอ้ งป่าวประกาศ ความไม่จรงิ จะแสดงตวั ออกมาเองเสมอ เคล็ดลับในการรู้จักโลกภายนอก คือต้องระลึก เสมอวา่ ‘ความจริงคอื ความลวง’ กล่าวคือ สง่ิ ใดที่เราเชอ่ื วา่ ต้องเป็นอย่างนี้ ท่ีจริงมันอาจจะเป็นอย่างนั้น สิ่งท่ีเราเห็น กับตาหน้าบ้านทุกวัน ก็มีสิทธ์ิทำ�ให้เราแปลกใจได้ การ สังเกตอย่างสม่ำ�เสมอเท่านั้นที่จะช่วยให้เราเรียนรู้วิธี สะท้อนภาพชวี ิตอยา่ งที่มันดำ�เนินไปจริง พูดเหมือนง่าย แต่นี่คือกิจกรรมท่ีผู้สนใจใน ตัวหนังสือต้องทำ�ไปตลอดชีวิต เพราะไม่มีวันจบส้ิน ปราบดา หยนุ่ 97
ความจรงิ วนั นก้ี ลายเปน็ ความลวงวนั พรงุ่ นไ้ี ดอ้ ยา่ งงา่ ยดาย ตวั หนงั สอื กเ็ ชน่ กนั วนั นอ้ี าจจะเปน็ สจั ธรรม อกี สบิ ปอี าจจะ พฒั นาไปเปน็ นิทานหลอกเดก็ หนา้ ทขี่ องตวั หนงั สอื ทเ่ี หมาะสมจงึ อาจจะไมถ่ งึ กบั ต้องเปล่ง ‘สัจธรรม’ ออกมาเสียทีเดียว แต่เป็นการบันทึก ความจรงิ อยา่ งตรงไปตรงมาตามเวลาทมี่ นั สะทอ้ นมากกวา่ และเหมือนกับทุกๆเร่ืองในการมีชีวิต-อย่าปักใจเชื่อ ความจรงิ ใดนานเกนิ ไปนกั ผมไม่รู้ว่ามีคนคิดแบบผมอยู่มากน้อยเท่าใด แต่ผมรู้สึกว่าความคิดสร้างสรรค์หรือแนวคิดทุกอย่าง ลว้ นล่องลอยอยใู่ นอากาศ อย่ทู ีว่ า่ ใครโชคดีไขวค่ วา้ แนวคดิ ไหนออกมาเปน็ รูปธรรมไดเ้ ท่านั้น หาก อลั เบิร์ต ไอน์สไตน์ ไม่ได้เกิดมา ก็ต้องมีนายอะไรสักนายที่สามารถเก็บเก่ียว สมการฟิสิกส์จากอากาศเช่นเดียวกับสมการของไอน์สไตน์ งานเขียนหนังสือก็ไม่ใช่ข้อยกเว้น มุมมองใหม่ๆลอยเอื่อย ไปทัว่ รอคอยการคน้ พบจากผคู้ น ดงั นัน้ ยิ่งเอาตวั เข้ารว่ ม กบั ธรรมชาตขิ องโลกไดด้ เี ทา่ ไร โอกาสจะปะทะกบั ความคดิ แหวกแนวในอากาศกจ็ ะย่ิงมมี ากข้ึน สมยั นก้ี ระแสการทอ่ งเทย่ี วก�ำ ลงั แรงใครพอเจยี ดทรพั ย์ จ่ายค่าเดินทางได้ก็โชคดี ได้พบเห็นวัฒนธรรมต่างถิ่น (ต่างถิ่นในท่ีนี้อาจจะเป็นต่างจังหวัดก็ได้ ไม่จำ�เป็นต้อง 98 เปน็ : เรยี งความว่าด้วยลมหายใจในตวั หนังสือ
ต่างประเทศ) ท่ีน่าสนใจให้เรียนรู้มากมาย แต่ก็ไม่ได้ หมายความวา่ การมองโลกกวา้ งๆคอื การเดนิ ทางทอ่ งเทยี่ ว ไปในที่ห่างไกลเสมอ หากเงินทองไม่อำ�นวยก็ไม่ต้อง ดันทรุ ัง เพียงออกไปนอกประตูบ้านกห็ าจดุ ใหมๆ่ ใหม้ องได้ ทกุ วนั ผมเคยสังเกตวา่ กระท่งั ตกึ ที่อยบู่ นถนนเดยี วกนั กับ บ้านตัวเองหลายหลังผมไม่เคยแม้จะชำ�เลืองมองด้วยซ้ำ� ความที่กิจวัตรในชีวิตมีแต่จะบังคับให้เดินทางซ้ำ�ไม่ก่ีเส้น การ ‘ผจญภัย’ จึงเกิดน้อยครั้ง ทั้งที่มันเกิดได้ง่ายๆ โดยความตั้งใจของเราเอง เห็นตรอกไหนไม่เคยเข้า บ้านไหนไม่เคยสังเกตชัดๆ ต้นไม้ต้นไหนไม่เคยรู้ชื่อ สงิ่ เหลา่ นี้เราศกึ ษาได้เมื่อต้องการ สำ�หรับผู้ที่มีความเกี่ยวพันกับงานเขียนหนังสือ อยู่แล้ว แต่จู่ๆเกิดอาการสมองไม่แล่น หรือแล่นไปชน กำ�แพง การปลดปล่อยตัวเองออกจากส่ิงแวดล้อมเดิมๆ เพื่อทำ�ความสะอาดสมองสักพักน่าจะช่วยให้มีพ้ืนท่ีสะอาด เพอื่ ใช้งานเพิม่ ขึน้ ลองท�ำ อะไรท่ีไมเ่ คยท�ำ กินอะไรที่ปกติ เกลียดเขา้ ไส้ คุยกับศตั รู ยิ้มใหค้ นแปลกหนา้ อะไรกไ็ ดท้ จ่ี ะ ง้างความรสู้ ึกกวา้ งออก แลว้ รบั ความคดิ ใหม่ๆเข้ามา นักเขียนหลายคนอาจจะไม่ต้องการความ เปลี่ยนแปลงทางมุมมอง นั่นเป็นเรื่องและสิทธ์ิของเขา หลกั ฐานก็ปรากฏโทนโท่วา่ นักเขียนผนู้ ิยมจะเดินทางเดยี ว ปราบดา หยุน่ 99
ไปเรอื่ ยๆกม็ มี ากมาย โลกของเขาเปน็ โลกทเ่ี ลอื กแลว้ เขาจะ ไมล่ องในสิ่งทไ่ี ม่ม่นั ใจหรือไมค่ ้นุ เคย หากถนนเส้นสำ�คัญของเขาใหญ่โต โอ่โถง กวา้ งขวางพอ เขากอ็ าจจะไมจ่ �ำ เปน็ ตอ้ งขวนขวายหาตรอก ซอกซอย แต่ผมเคยเห็นน้อยคนนักที่จะปูทางม่ันคงและ นา่ เดนิ ไปไดต้ ลอดชวี ติ สว่ นใหญค่ นทพี่ อใจจะเดนิ ทางเดยี ว จะเป็นเพราะอาการหวาดกลัวภายใน หวาดกลัวอันตราย หวาดกลวั คนแปลกหนา้ หวาดกลวั ความลม้ เหลว หวาดกลวั ทุกอย่างท่ีตนไม่รู้จัก อย่างนี้จะเรียกว่ารู้จักโลกภายนอก ไมไ่ ด้ เปน็ เพยี งการรจู้ กั สง่ิ ทป่ี ลอดภยั เทา่ นน้ั เมอ่ื ใดทคี่ ดิ จะ ลองสิง่ ใหมๆ่ ผมก็กลัวหวั เกือบหดเหมือนกัน แตก่ ย็ งั อยาก ลองไปให้ตลอดรอดฝัง่ เพราะความรู้สึก ‘ส�ำ เรจ็ ’ ท่ีมคี า่ มาก ท่ีสุดต่อจิตใจ คือการได้ก้าวข้ามหัวความหวาดกลัวจนมัน ค่อยๆลับตา และไม่ต้องเจอะเจออีกเลย ทกุ คนคงคนุ้ กบั ค�ำ พดู ทว่ี า่ “ชวี ติ จรงิ แปลกประหลาด ยงิ่ กวา่ นยิ าย” ซง่ึ ถกู ตอ้ งอยา่ งมาก เพราะนยิ ายมองชวี ติ จรงิ ไดไ้ ม่ทะลุปรุโปรง่ เทา่ ที่ควร! มาพยายามท�ำ นยิ ายใหแ้ ปลกประหลาดไดเ้ ทยี บเทา่ ชวี ติ จริง หรอื แปลกประหลาดย่ิงกวา่ น้นั กันไหมครับ เร่ิมด้วยกะเหร่ยี งคอยาวในร้านกาแฟกไ็ ด้ 100 เป็น: เรยี งความว่าดว้ ยลมหายใจในตวั หนังสอื
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106