ภาวะการน�ำเพื่อการขา้ มพ้น Leadership for Transcendence สาระจากการอบรมเชิงปฏิบตั กิ ารภาวะการน�ำเพื่อการข้ามพ้น โครงการผูน้ ำ� แห่งอนาคต พิมพ์ครง้ั แรก : มิถนุ ายน 2562 จำ� นวน 1,000 เล่ม ราคา 250 บาท ขอ้ มลู บรรณานกุ รมของส�ำนักหอสมดุ แห่งชาติ ยาไพร สาธธุ รรม. Leadership for Transcendence : ภาวะการนำ� เพื่อการขา้ มพ้น.-- นครปฐม : โครงการ ผนู้ �ำแหง่ อนาคต คณะวทิ ยาการเรยี นรูแ้ ละศึกษาศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร,์ 2562. 207 หน้า. 1. ภาวะผนู้ ำ� . I. แพรวา สาธธุ รรม, ผแู้ ต่งร่วม. II. ชือ่ เรอื่ ง. 658.4092 ISBN 978-616-488-020-7 ISBN 978-616-488-020-7 สงวนลิขสทิ ธิ์ © 2562 ผสู้ รปุ และเรยี บเรยี ง : ยาไพร สาธธุ รรม บรรณาธกิ าร : แพรวา สาธธุ รรม ประสานงานการผลติ : ชมพู นทุ สปั ปินนั ทน์ ภาพถ่าย : ศภุ จติ สิงหพงษ์ ออกแบบปก : เดด็ เดีย่ ว เหลา่ สินชยั ออกแบบรปู เลม่ : พรรษ ภชู ำ� นิ จัดพิมพ์โดย : โครงการผู้น�ำแห่งอนาคต คณะวทิ ยาการเรยี นรแู้ ละศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 999 อาคารประชาสงั คมอุดมพัฒน์ ชัน้ ท่ี 4 ถนนพุ ทธมณฑลสาย 4 ตำ� บลศาลายา อ�ำเภอพุ ทธมณฑล จงั หวัดนครปฐม 73170 โทรศัพท์ 0-2441-5222 โทรสาร 0-2441-5223 [email protected] www.leadershipforfuture.com www.facebook.com/leadershipforthefuture2014
CONTENTS: สา ร บัญ หลักสูตรท่ี 1 15 การอบรมวนั ที่ 1 การน�ำท่ดี �ำรง ความหมายของขอบ อยบู่ นขอบ และการคน้ หาขอบ (Edge Walking 41 การอบรมวันท่ี 2 Leadership) ทกั ษะในการกา้ วเดนิ บนขอบ 67 การอบรมวันท่ี 3 ทักษะในการเดนิ บนขอบ และการเดินบนขอบในชวี ิตประจำ� วนั
หลักสูตรท่ี 2 89 การอบรมวันท่ี 1 การนำ� ดว้ ย ความหมายของญาณทศั นะ ญาณทศั นะ การเขา้ ถึงญาณทศั นะ (Leading with และหลักการที่เกีย่ วกบั ญาณทศั นะ Intuitive Intelligence) 111 การอบรมวันท่ี 2 หลกั การทเ่ี กย่ี วกบั ญาณทศั นะ 127 การอบรมวนั ท่ี 3 หลักการของญาณทศั นะและจรยิ ธรรม ในการใชญ้ าณทศั นะ หลกั สูตรท่ี 3 149 การอบรมวันท่ี 1 การน�ำดว้ ย การเข้าถึงเปา้ ประสงค์ เป้าประสงค์ ที่จริงแท้ ทางจิตวญิ ญาณ (Leading with 167 การอบรมวนั ท่ี 2 Soul Purpose) การเดนิ ทางตามเปา้ ประสงค์ 191 การอบรมวนั ท่ี 3 หลอมรวมเปา้ ประสงค์ สูก่ ารเดนิ ทางในชวี ติ จรงิ
ค�ำนำ� ในท่ามกลางกระแสแห่งการเปล่ียนแปลงและปัญหาอันถาโถมของโลกสมัยใหม่ หากผู้น�ำมุ่งท่ีจะออกไปท�ำงานเพื่อจัดการกับเงื่อนไขปัจจัยแวดล้อมและมุ่งแก้ปัญหา ภายนอกเพียงถ่ายเดียว โดยปราศจากการท�ำงานเพื่อบ่มเพาะความม่ันคงภายใน การกลับมาดูแลจิตใจ ด�ำรงอยู่อย่างมีสติรู้เท่าทัน พลังแห่งการสร้างการเปล่ียนแปลง อย่างลึกซ้ึงย่อมถูกบ่ันทอนลงไป เพราะแท้จริงแล้วสภาวะและวิธีการที่เราปฏิสัมพันธ์ กับโลกภายนอกนั้นเชื่อมโยงกับการเติบโตภายในอย่างแยกกันไม่ออก การแม้เราจะมี หลกั สตู รพฒั นาผนู้ ำ� และภาวะผนู้ ำ� มากมายในยคุ ปจั จบุ นั แตจ่ ะหาหลกั สตู รทม่ี งุ่ ทำ� งาน กบั การบม่ เพาะหลอ่ เลย้ี งมติ ทิ างจติ วญิ ญาณและการเทา่ ทนั ตนของผนู้ ำ� นนั้ หาไดย้ ากยงิ่ หลักสูตรภาวะการน�ำเพื่อการข้ามพ้น (Leadership for Transcendence) ด�ำเนินการภายใต้โครงการผู้น�ำแห่งอนาคต เป็นหลักสูตรที่ออกแบบโดย คุณวิกรัม ภัฏฏ์ ผู้ร่วมก่อต้ังองค์กรเครือข่าย Leadership that Works ในประเทศอินเดีย ซง่ึ เปน็ องคก์ รทมี่ งุ่ ทำ� งานดา้ นการพฒั นาศกั ยภาพของผนู้ ำ� และผบู้ รหิ ารในองคก์ รตา่ ง ๆ หลักสูตรภาวะการน�ำเพื่อการข้ามพ้นถูกออกแบบมาเพ่ือสร้างการเรียนรู้และบ่มเพาะ คณุ ภาพภายในของผนู้ ำ� ในระดบั ตา่ ง ๆ เพอ่ื รบั มอื กบั ความทา้ ทายและการเปลยี่ นแปลง ในโลกยคุ ใหม่ ม่งุ เนน้ การให้ผนู้ �ำกลับมาเชอ่ี มโยงกับปัญญาภายใน เทา่ ทันเสียงตัดสนิ ฝึกฝนการเปิดรับญาณทัศนะ รับฟังเสียงภายในที่น�ำทางไปสู่เป้าประสงค์แห่งชีวิต โดยแบ่งการเรียนรู้ออกเป็นสามโมดูล คือ 1) ภาวะการน�ำที่ด�ำรงอยู่บนขอบ (Edge Walking Leadership) 2) ปัญญาญาณทัศนะ (Intuitive Intelligence) และ 3) เปา้ ประสงคท์ างจติ วญิ ญาณ (Soul Purpose) แตล่ ะโมดลู มคี วามเชอ่ื มโยงรอ้ ยเรยี งกนั เป็นการเปิดประตูเข้าสู่โลกภายในของผู้น�ำในมิติต่าง ๆ เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง ในระดับจิตใจและกระบวนทัศน์ โครงการผู้น�ำแห่งอนาคตเล็งเห็นว่าองค์ความรู้ใน เร่ืองดังกล่าวเป็นภูมิปัญญาอันลึกซึ้งควรค่าแก่การรวบรวมและเผยแพร่ เพื่อสร้างความตระหนักรู้สู่สังคม ด้วยหวังเป็นอย่างย่ิงว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็น ประดุจประตูแห่งการเรียนรู้อีกบานหน่ึงท่ีช่วยบ่มเพาะภาวะการน�ำท่ีข้ามพ้นไปสู่มิติ แห่งการเปล่ียนแปลงจากภายในทท่ี รงพลงั โครงการผนู้ ำ� แหง่ อนาคต
บทน�ำ หนังสือเร่ืองสภาวะการน�ำเพื่อการข้ามพ้นเล่มนี้เป็นมาจากการสรุปสาระส�ำคัญ จากการอบรมเชิงปฏิบัติการภาวะการน�ำเพ่ือการข้ามพ้น (Leadership for Transcendence) ท้ังสามหลักสูตรซ่ึงจัดโดยโครงการผู้น�ำแห่งอนาคต คณะ ศึกษาศาสตร์และวิทยาการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้สรุปและเรียบเรียง หนังสือได้มีโอกาสสนทนากับคุณวิกรัม ภัฏฏ์ ผู้เป็นวิทยากรหลักในการอบรมดังกล่าว การสนทนากับคุณวิกรัมท�ำให้ทราบถึงความคิดของเขาที่เกี่ยวข้องกับความรู้และ ทักษะการเดินบนขอบ การใช้ญาณทัศนะ และการเดินตามเป้าประสงค์ท่ีแท้ของชีวิต ซง่ึ เปน็ เนอ้ื หาหลกั ของแตล่ ะหลกั สตู ร เขากลา่ ววา่ เนอ้ื หาทงั้ สามหลกั สตู รนถี้ กู ออกแบบ มาให้ร้อยเรียงกัน การเรียนรู้เก่ียวกับการเดินบนขอบจะส่งเสริมให้การค้นหาหรือ ฝึกใช้ญาณทัศนะเป็นเรื่องที่ง่ายข้ึน และความรู้ทักษะทั้งสองประการน้ีก็จะช่วยเอื้อ ให้ผู้เข้าอบรมค้นพบเป้าประสงค์ทางจิตวิญญาณของตนและเดินตามเส้นทาง แหง่ เป้าประสงค์ไดอ้ ยา่ งมคี ุณภาพ แม้ว่าคุณวิกรัมเป็นทั้งวิทยากรและโค้ชที่สามารถใช้ญาณทัศนะในการท�ำงานและ การด�ำเนินชีวิตได้เป็นอย่างดี แต่เส้นทางการเรียนรู้และเติบโตในเรื่องน้ีมิได้เกิดขึ้น อย่างง่ายดาย การเรียนรู้เกี่ยวกับญาณทัศนะท�ำให้เขาพบกับ “ขอบ” หรือพ้ืนที่ ระหว่างความ “รู้” และ “ไม่ร”ู้ ที่เขาต้องค้นหาวธิ กี ารเดินไปบนขอบนัน้ เช่นกัน ทง้ั นี้ เน่ืองมาจากในยุคปัจจุบัน ผู้คนโดยส่วนมากมักเคยชินกับการใช้ตรรกะเหตุผล เชิงวิทยาศาสตร์ จนท�ำให้ละเลยปัญญาภายในตนเองไป ผู้คนจ�ำนวนมากค้นพบ ญาณทัศนะภายในตนเองแต่ถูกกดทับไว้เพราะบริบทของชุมชนหรือสังคมที่ตนเอง อาศัยอยู่ ทำ� ใหม้ ไิ ดพ้ ฒั นาการใช้ญาณทัศนะอย่างเต็มศกั ยภาพ คุณวิกรัมกล่าวว่าแท้ที่จริงแล้วญาณทัศนะมิได้ขัดกับตรรกะและเหตุผล หากแต่ ส่งเสริมกันและกันท�ำให้บุคคลสามารถตัดสินใจหรือด�ำเนินชีวิตได้ในหนทางท่ีถูกต้อง เหมาะสมมากขน้ึ ดงั นน้ั การสนบั สนนุ ใหม้ กี ารเรยี นรแู้ ละเผยแพรค่ วามรใู้ นเรอ่ื งดงั กลา่ ว กลบั จะยง่ิ กอ่ ใหเ้ กดิ ประโยชนต์ อ่ การสรา้ งสงั คมทม่ี คี ณุ ภาพทา่ มกลางความเปลย่ี นแปลง ของโลกยุคปัจจบุ นั การจะท�ำใหเ้ รอื่ งของญาณทศั นะเปน็ เรอื่ งของ “พรสวรรค์ (Gift)” มากกว่า “ความละอาย (Shame)” และสร้างการยอมรับในเร่ืองของความฉลาด
ในการใช้ญาณทัศนะ หรือ Intuitive Intelligence ให้เกิดขึ้นในสังคมยุคปัจจุบันน้ัน ยังเป็นเรื่องท่ีท้าทาย เช่นเดียวกับการชี้ให้ผู้คนเห็นคุณค่าของความฉลาดด้านอ่ืน ๆ อย่างเช่น ความฉลาดในการเชื่อมโยงกับธรรมชาติ (Nature Intelligence) และ ความฉลาดทางกาย (Body Intelligence) การพัฒนาญาณทัศนะของคุณวิกรัมนอกจากจะพาให้เขาพบกับ “ขอบ” แล้ว ยงั ทำ� ใหเ้ ขาพบกบั “เปา้ ประสงคท์ แี่ ทจ้ รงิ ” ของชวี ติ อกี ดว้ ย เสน้ ทางชวี ติ พาใหเ้ ขาพบกบั “ครู” ได้แก่ Virginia Kellogg ผู้กอ่ ต้งั สถาบนั Leadership that Works ผูจ้ ดุ ประกาย ใหเ้ ขาเดนิ เขา้ สเู่ สน้ ทางการเตบิ โตภายใน และพบกบั นกั เตน้ ผทู้ ตี่ ง้ั คำ� ถามถงึ เปา้ ประสงค์ ทแี่ ท้จรงิ ในชีวิตของเขา จนท�ำใหเ้ ขาเรมิ่ ตระหนกั มองหา จนกระทง่ั คน้ พบเป้าประสงค์ แห่งจิตวญิ ญาณในเวลาตอ่ มา เมือ่ สมี าภรรยาของเขาให้กำ� เนิดลูกชายคนแรก “จะทำ� อยา่ งไรใหล้ กู ชายของเขาเตบิ โตมาในสงั คมทด่ี ?ี ” นคี่ อื คำ� ถามทผ่ี ดุ ขน้ึ มาจาก ความรกั ของคนทกี่ ลายเปน็ พ่อหมาด ๆ เมอ่ื เขาตอบตวั เองได้ว่าเส้นทางการทำ� งานกบั พรสวรรคท์ เ่ี ขามใี นเรอ่ื งญาณทศั นะและการเปน็ โคช้ คอื สง่ิ ทน่ี า่ จะมสี ว่ นชว่ ยใหเ้ กดิ สงั คม ในแบบทเี่ ขาตอ้ งการ เขาจงึ กา้ วเขา้ สกู่ ารทำ� งานดา้ นการเตบิ โตภายในอยา่ งเตม็ ตวั และ พบกบั ขอบใหม่ ๆ ทเ่ี ขาตอ้ งเจอในเสน้ ทางนี้ แตท่ วา่ เปน็ ขอบทเ่ี ขาเตม็ อกเตม็ ใจทจ่ี ะเดนิ ไปบนนน้ั เพราะมนั อยู่บนเสน้ ทางแห่งเป้าประสงค์อนั แทจ้ รงิ ของเขา วิกรัมหวังว่าการได้มาเผยแพร่ความรู้ในการอบรมภาวะการน�ำเพ่ือการข้ามพ้นนี้ จะมสี ว่ นช่วยใหผ้ คู้ นมีทักษะในการเดนิ ไปบนขอบ มีญาณทัศนะ และความตระหนกั รู้ ในเป้าประสงค์ของตนเองเพ่ิมขึ้น ซ่ึงอาจน�ำไปสู่การเกิดชุมชนหรือสังคมคุณภาพเพื่อ คนร่นุ หลงั ต่อไป ผู้เรียบเรียงจึงอยากเช้ือเชิญให้ผู้อ่านลองเปิดใจเรียนรู้เน้ือหาที่อยู่ในหนังสือเล่มนี้ ทำ� ความเขา้ ใจ ทดลองทำ� แบบฝกึ หดั หากมขี อ้ สงสยั หรอื คน้ พบสง่ิ ทเี่ ปน็ ประโยชนก์ อ็ าจ ลองพาตนเองไปเรยี นรู้เพม่ิ เติม หรอื ตอ่ ยอดใหเ้ ข้าใจอย่างลกึ ซง้ึ ในขั้นต่อไป หนังสือเล่มนี้แบ่งเนื้อหาออกเป็น 3 ส่วน ตามหลักสูตรการอบรม เนื้อหาแต่ละ หลักสูตรไล่เรียงไปตามเน้ือหาของการอบรมแต่ละวัน และมีสรุปสาระส�ำคัญอยู่ท้าย หลักสตู ร เนื้อหาส่วนแรกเป็นสรุปสาระส�ำคัญจากการอบรมหลักสูตรท่ี 1 ในหัวข้อ การน�ำ ทดี่ ำ� รงอยบู่ นขอบ (Edge Walking Leadership) ซง่ึ จดั ขนึ้ ในวนั ที่ 21- 23 พฤษภาคม 2560 เนอื้ หาในสว่ นนคี้ รอบคลมุ ความหมายของการเดนิ บนขอบและเหตผุ ลวา่ ทำ� ไมเรา จึงควรเดนิ บนขอบ การค้นหาขอบของตนเอง และทักษะต่างๆ ในการก้าวเดนิ บนขอบ
ไดแ้ ก่ การโอบประคองข้วั ตรงข้ามระหว่างขอบสองฝง่ั การฟงั เสียงตวั กวนทส่ี ร้างสรรค์ การใชเ้ หตผุ ลหลอมรวมกบั ญาณทัศนะ และการฟงั เสียงของวิวัฒนาการ เน้ือหาส่วนท่ีสอง เป็นสาระส�ำคัญจากการอบรมหลักสูตรที่ 2 ในหัวข้อ การน�ำ ด้วยญาณทัศนะ (Leading with Intuitive Intelligence) ซึ่งจัดข้ึนในวันท่ี 14 –16 ธนั วาคม 2560 เนอื้ หาในสว่ นนอี้ ธบิ ายความหมายและหลกั การของญาณทศั นะ รวมถึงความรู้และแบบฝึกหัดต่างๆ ท่ีเก่ียวกับช่องทางและทักษะในการเข้าถึง ญาณทศั นะ รวมไปถงึ จริยธรรมของการใชญ้ าณทศั นะในชวี ิตประจ�ำวัน สว่ นทสี่ าม เปน็ สาระสำ� คญั จากการอบรมหลกั สตู รท่ี 3 คอื การนำ� ดว้ ยเปา้ ประสงค์ ทางจติ วิญญาณ ( Leading with Soul Purpose) ซึง่ จัดขนึ้ ในวนั ท่ี 8 –10 มนี าคม 2561 เนื้อหาในส่วนน้ีกล่าวถึงความหมายและแนวทางการเข้าถึงเป้าประสงค์ผ่าน ชุดค�ำถามและแบบฝึกหัดต่าง ๆ รวมถึงพาไปเรียนรู้แนวคิดการเดินทางของผู้กล้า (Hero’s journey) เพื่อให้มองเห็นและใคร่ครวญเส้นทางชีวิตของตนเองที่ผ่านมา พร้อมกับค้นหาเพ่ือนร่วมทางที่สนับสนุนและเพื่อนร่วมทางท่ีท้าทายต่อเป้าประสงค์ และค้นหาแนวทางการหลอมรวมเป้าประสงค์เข้ากับชีวิตประจ�ำวันของตนเอง เพ่ือให้ สามารถเดินไปตามเสน้ ทางของเป้าประสงคไ์ ดใ้ นทางปฏิบตั ิ ผู้สรปุ และเรียบเรยี ง
หลักสูตรที่ 1 การน�ำทีด่ �ำรงอยบู่ นขอบ (Edge Walking Leadership)
หากเราก�ำลังเดินบนเส้นทางการเป็นผู้น�ำการเปลี่ยนแปลง เรา หลกี เลี่ยงไมไ่ ดท้ ีจ่ ะตอ้ งเผชิญกับ “ขอบ” หรือ “Edge” ในภาษาอังกฤษ จากภายในตนเองและบรบิ ทภายนอก เมอ่ื เราอยบู่ นขอบ เราตอ้ งตดั สนิ ใจ ว่าจะใช้ชีวิตหรือจะก้าวเดินต่อไปอย่างไรจากฐานของส่ิงท่ีเรารู้ในอดีต และส่ิงทเ่ี ราไม่รใู้ นอนาคต การเรียนรูเ้ รอ่ื ง “ขอบ” จะชว่ ยให้เราได้สำ� รวจ ภายในตนเอง ตระหนกั รใู้ นการเดนิ บนขอบ และสามารถเลอื กเดนิ บนขอบ ของตนเองได้อยา่ งมีคุณภาพยงิ่ ขึน้ การอบรมหลักสูตรการน�ำท่ีด�ำรงอยู่บนขอบนี้เป็นหลักสูตรแรกของ ชุดการอบรมเชิงปฏิบัติการ “ภาวะการน�ำเพ่ือการข้ามพ้น” หลักสูตร ลำ� ดบั ตอ่ มามเี นอ้ื หาเกย่ี วกบั การนำ� ดว้ ยญาณทศั นะ ทง้ั นี้ ในหลกั สตู รแรก มีหลักการเร่ืองญาณทัศนะเข้ามาเก่ียวข้องบ้าง ผู้อ่านสามารถศึกษา เร่ืองญาณทัศนะอย่างลึกซึ้งข้ึนในหลักสูตรท่ีสองซึ่งอยู่ในตอนถัดไปของ หนังสือ และหลักสูตรล�ำดับสุดท้ายของชุดการอบรมภาวะการน�ำเพ่ือ การเปลี่ยนแปลงมีเนื้อหาว่าด้วยการท�ำงานกับเป้าประสงค์ของชีวิต วิกรัมกลา่ วว่าแท้ที่จริงแลว้ ขอบ ญาณทัศนะ เป้าประสงค์ของชีวติ หรอื แมก้ ระทัง่ ความคดิ แบบมตี รรกเหตผุ ลนนั้ ลว้ นเช่ือมโยงกันท้ังส้ิน การอบรมหลักสูตรหัวข้อการน�ำที่ด�ำรงอยู่บนขอบน้ี โครงการผนู้ ำ� แหง่ อนาคตไดเ้ ชญิ คณุ วกิ รมั ภฏั ฏ์ มาเปน็ กระบวนกร รว่ มดว้ ยวทิ ยากรจาก องคก์ ร Leadership That Works ในสว่ นของการแปลภาษา โครงการ
ไดเ้ ชญิ คุณณัฐฬส วงั วิญญู และคณุ ไพลิน จริ ชยั สกุล มาเป็นล่ามตลอด การอบรมสามวัน วิกรัมกล่าวว่าในการอบรมครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมจะได้ท�ำ ความเข้าใจว่าอะไรคือขอบในชีวิตของคนเรา และได้มีประสบการณ์ ในการเฝ้าดูการเดินบนขอบของตนเอง รวมถึงได้ฝึกฝนทักษะต่าง ๆ ท่ีมีประโยชน์ในการเดินบนขอบ วิกรัมขอให้ผู้เข้าร่วมน�ำปัญญาญาณ และความสงสัยใคร่รู้มาใชใ้ นการอบรมคร้ังนี้ เพอ่ื ให้เรากล้าถามคำ� ถาม ท่ยี ากสำ� หรบั ตนเอง เพราะทุกครงั้ ท่ีเรากล้าตงั้ ค�ำถามและใชต้ นเองเปน็ พนื้ ทใ่ี นการเรยี นรู้ เราไดช้ ว่ ยใหผ้ อู้ น่ื สามารถเดนิ บนขอบของเขาไปดว้ ย ตอนออกแบบการอบรมครั้งน้ี วิกรัมกล่าวกับสีมาซึ่งเป็นภรรยา ของเขาว่า เขา “สอน” เรื่องการเดินบนขอบไม่ได้ ส่ิงที่เขาท�ำได้คือ “สร้างพื้นท่ีเพ่ือเรียนรู้ขอบ” ร่วมกันกับผู้เข้าอบรม แล้วปัญญาหรือ ความรู้ที่เกี่ยวข้องจะเผยข้ึนมาเอง ส่วนสีมากล่าวว่าการท่ีเธอร่วม ออกแบบการอบรมหลกั สตู รนก้ี บั วกิ รมั ทำ� ใหต้ ระหนกั รวู้ า่ มขี อบใดบา้ งที่ เกดิ ขน้ึ ตลอด 17 ปี ตง้ั แต่แตง่ งานกบั วิกรมั เธอพบวา่ ชว่ งเวลาดงั กลา่ ว เปน็ ชว่ งเวลาทเี่ ธอเตบิ โตแบบกา้ วกระโดด ดงั นน้ั เธอจงึ หวงั วา่ การอบรม ครั้งน้ีจะช่วยใหผ้ ูเ้ ข้าร่วมเกดิ ความตระหนกั รูใ้ นการเดนิ บนขอบ รู้จักวิธี การจดั การกบั อารมณท์ เ่ี กดิ ขน้ึ และสามารถเชอ่ื มโยงกบั เปา้ ประสงคข์ อง ชวี ติ ได้วา่ ทำ� ไมเราถงึ เดินบนขอบนี้
การอบรมวนั ท่ี 1 ความหมายของขอบ และการคน้ หาขอบ ในการอบรมวันแรก วิกรัมได้อธิบายให้ผู้เข้าร่วมเข้าใจความหมายและ ความสำ� คญั ของการเดนิ บนขอบ การฝกึ เปน็ สกั ขพี ยานในการเฝา้ มองขอบของ ตนเองเพ่ือเริ่มก้าวแรกในการเดินบนขอบ รวมถึงท�ำกิจกรรมเพ่ือค้นหาขอบ ผ่านการท�ำกจิ กรรมฐานกายและการใช้เครือ่ งมือภเู ขาน้ำ� แขง็ ความหมายและความส�ำคญั ของการด�ำรงอยู่บนขอบ ก่อนเริ่มการอบรม วิกรัมขอให้ผู้เข้าร่วมแนะน�ำตัวและแบ่งปัน ความคาดหวังของแต่ละคน ซ่ึงพบว่าผู้เข้าร่วมมีจุดประสงค์ในการเข้ามา เรียนรู้ที่หลากหลาย บ้างก็เข้ามาอบรมเพ่ือค้นหาขอบของตนเองเพ่ือให้ สามารถเป็นโค้ชหรือใช้ชีวิตได้ดีขึ้น บ้างก็ต้องการเรียนรู้วิธีท่ีท�ำให้เดินบน ขอบไดอ้ ยา่ งสบายขนึ้ บา้ งกต็ อ้ งการพกั จากการเดนิ บนขอบ บา้ งกก็ ำ� ลงั อยตู่ รง ทางแยกของชีวิตท่ีต้องเลือกว่าจะไปทางไหนต่อ บ้างก็ต้องการหาค�ำตอบ วา่ การปลอ่ ยจากขอบหนง่ึ ไปสอู่ กี ขอบหนง่ึ เมอ่ื ใดจงึ พอดี หรอื หยดุ เดนิ ไดไ้ หม หลังจากการแนะน�ำตัว วิกรัมได้แบ่งปันเรื่องราวเก่ียวกับขอบของ ตนเองและอธบิ ายความหมายของขอบเพือ่ ให้ผูเ้ ขา้ ร่วมเขา้ ใจวา่ ขอบคืออะไร 15
ภาวะการนำ� เพื่อการขา้ มพ้น ขอบแรกของวิกรัมเกิดขึ้นเม่ืออายุประมาณ 12-13 ปี เมื่อเขาเร่ิม ต้องการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ นอกบ้านของเขา เขากล่าวว่า “รักแรกของผม คือคุณแม่ ท่านเป็นเหมือนนางฟ้าส�ำหรับผม ส่ิงใด ๆ ท่ีท่านพูดออกมา จึงส�ำคัญและเป็นความจริงส�ำหรับผม พ้ืนที่ที่ผม“รู้” คือ บ้านและ สิ่งต่าง ๆ ที่คุณแม่บอกกล่าว แต่ไม่นาน ผมก็ตระหนักรู้ว่าชีวิตของผมมี ขอบเขตท่ีมากกว่าคุณแม่และบ้าน ขอบเขตน้ีเป็นพื้นที่ที่ผม “ไม่รู้” พื้นที่นี้ น่าสนใจและท�ำให้ผมต้องการท�ำสิ่งต่าง ๆ ที่แตกต่างไปจากส่ิงที่คุณแม่สอน ดังนั้น ผมจึงต้องการ “ข้ามขอบ” เพื่อให้สามารถเห็นมุมมองใหม่ ๆ ที่มา เก้ือหนุนชีวิตได้ ในการพยายามข้ามขอบครั้งนี้ ผมต้องขัดแย้งกับคุณแม่ อยู่ถึงหกปี กว่าที่ผมจะสามารถเลือกชีวิตของตนเองและพบความสงบ ภายในใจได”้ ขอบต่อมาของวิกรัมคือขอบด้านความรัก เขาเล่าว่า “ความรักของผม กับสีมาไม่ใช่เร่ืองง่าย เพราะเรามีชนชั้น วรรณะ ภาษาท้องถิ่นที่แตกต่างกัน ถึงแม้ว่าเราสองคนจะรักกัน แต่ครอบครัวของเราทั้งคู่ไม่ชอบหน้ากัน สิ่งนี้ เป็นขอบที่เราสองคนต้องเดินไปด้วยกัน เราจึงแต่งงานกันเร็ว” และสิบปีต่อ มาขอบก็เกิดขึ้นอีกในชีวิตการแต่งงานของเขา วิกรัมกล่าวว่า “เม่ือมนุษย์มี ความสมั พันธก์ บั คนอื่นจะไม่มีสงิ่ ใดคงท่ี เราต้องข้ามขอบตลอดเวลา” อีกขอบหน่ึงท่ีส�ำคัญในชีวิตของวิกรัมเป็นขอบในด้านการท�ำงาน วิกรัม เรม่ิ ตน้ อาชีพของเขาดว้ ยการทำ� งานดา้ นเทคโนโลยสี ารสนเทศ ต่อมาเขารู้สึก เบ่ืองานที่ท�ำอยู่จึงตัดสินใจลาออก กอปรกับการที่เขามีโอกาสได้พบบุคคลท่ี เขาอยากท�ำงานด้วย เขาจึงตัดสินใจเร่ิมก้าวข้ามขอบ “ผมเข้าไปสัมผัสเสียง เรียกร้องภายใน เรียนรู้ทักษะการเป็นโค้ชและกระบวนกร และท�ำอาชีพน้ี เป็นเวลาสิบกว่าปี ปัจจุบันผมตระหนักว่าวิถีการเป็นโค้ชหรือกระบวนกรที่มี ลกั ษณะการทำ� งานแบบตวั คนเดยี วไมใ่ ชส่ งิ่ ทผ่ี มตอ้ งการทำ� ไปตลอดชวี ติ ดงั นนั้ ขอบตอ่ ไปของผมคอื การสรา้ งชมุ ชนโคช้ เพอื่ ทจ่ี ะทำ� งานกบั ผอู้ น่ื อยา่ งเปน็ กลมุ่ เป็นก้อน และไม่ไดส้ รา้ งชุมชนเพียงแคท่ ีอ่ นิ เดีย แตข่ ยายไปประเทศอืน่ ด้วย” 16
Leadership for Transcendence ขอบ คอื พ้ืนท่ีที่อยู่ระหว่างความรู้กบั ความไม่รู้ สิง่ ท่เี รารูส้ ว่ นใหญเ่ ป็นสงิ่ ท่ีเกิดขึน้ ในอดตี สว่ นสิง่ ท่เี ราไม่รเู้ ป็นสงิ่ ทจี่ ะเกิดขน้ึ ในอนาคต หากเราต้องการเติบโตงอกงาม เราจะใช้ชวี ติ อยู่เพียงแตใ่ นพื้นท่ที ่ีเรารู้ไมไ่ ด้ ขอบด้านสุดท้ายของวิกรัมคือขอบท่ีเก่ียวข้องกับบทบาทการเป็นพ่อ ในขณะทลี่ กู ชายของเขาโตขน้ึ เรอ่ื ย ๆ เขาเหน็ วา่ มขี อบมากมายใหเ้ ขากา้ วขา้ ม ในบทบาทของการเป็นพอ่ ที่ดี จากตวั อยา่ งทวี่ ิกรมั หยบิ ยกมาเล่าจะเหน็ ไดว้ ่าขอบมีหลายดา้ น เชน่ ขอบ ด้านความสัมพันธ์ การท�ำงาน การท�ำประโยชน์แก่ชุมชน แต่แท้ท่ีจริงแล้ว “ขอบ” คอื อะไรกนั แน่ ? วิกรัมอธิบายความหมายของขอบว่า “ขอบ คือ พื้นท่ีที่อยู่ระหว่าง ความรู้กับความไม่รู้” สิ่งท่ีเรารู้ส่วนใหญ่เป็นสิ่งที่เกิดข้ึนในอดีต ส่วนสิ่งที่ เราไมร่ ู้เปน็ สิ่งท่จี ะเกิดขึน้ ในอนาคต หากเราตอ้ งการเติบโตงอกงาม เราจะใช้ ชวี ติ อย่เู พยี งแต่ในพ้ืนทท่ี ี่เรารู้ไม่ได้ เพราะจะไม่มีส่ิงใดใหม่เกิดขน้ึ และทำ� ให้ ชีวิตของเราขาดทางเลือก นอกจากน้ี การท่ีเราอยู่แต่ในพ้ืนท่ีที่เรารู้จัก หรือคุ้นเคยจะท�ำให้รูปแบบพฤติกรรมเดิม ๆ ของเราเกิดข้ึนซ้�ำแล้วซ้�ำเล่า นั่นหมายความว่า อนาคตของเราจะไม่มีความหมายใด เพราะเรามีเพียง สิ่งต่าง ๆ ในอดีตเป็นตวั ขบั เคลอื่ นชวี ติ ไปเร่ือยๆ ค�ำถามต่อไปคือ จะเกิดอะไรข้ึนหากเราก้าวไปบนขอบและลองอยู่ใน ฝั่งของพื้นที่ท่ีเราไม่รู้หรือไม่คุ้นเคย? เราอาจมีความรู้สึก สนุก กลัว ต่ืนเต้น 17
ภาวะการน�ำเพื่อการข้ามพ้น หรือสบั สน เม่อื ไดก้ ้าวไปส่พู ืน้ ท่ีใหม่ และความเส่ยี งจากการทเ่ี ราเขา้ ไปอยใู่ น พื้นที่ที่เราไม่รู้ก็คือ เราอาจสูญเสียสิ่งท่ีเรามีในอดีต เช่น ตัวตนเดิมที่เราเป็น แต่ในขณะเดียวกัน ณ พ้ืนท่ีแห่งความไม่รู้ก็มีความสนุกสนาน ตัวของเรา จะเลก็ ลงและรวมเปน็ สว่ นหนงึ่ ของสง่ิ ทใ่ี หญข่ นึ้ แมว้ า่ ในพน้ื ทน่ี เี้ ราจะปกั หมดุ ไมไ่ ดว้ า่ เราอยู่ตรงจดุ ใด แตเ่ รากย็ งั อยู่บนโลก มตี วั ตนของเรา มเี ป้าประสงค์ มีครอบครวั และมีชมุ ชนที่เราอยากดูแล ค�ำถามถัดไปคือ มีการกระท�ำหรือมีสิ่งใดบ้างท่ีจะช่วยให้เรามี ความตระหนักรู้ รู้ตัวเน้ือรู้ตัว และมองเห็นทางเลือกในการก้าวเดินไป บนขอบซึ่งอยู่ระหว่างความรู้และความไม่รู้ เพื่อท่ีเราจะได้รื่นรมย์ไปกับ พลังของความไม่รู้ และน�ำสิ่งดี ๆ จากพ้ืนท่ีท่ีเราไม่รู้มายังพ้ืนท่ีท่ีเรารู้ เพือ่ ใหพ้ ื้นท่ที ี่เรารู้นีย้ ังคงอยกู่ ับเราได้ด้วย การเดินบนขอบอยา่ งร้เู น้อื รู้ตัวนนั้ ท�ำให้เรามีพลังในการท�ำในสิ่งที่จริงแท้กับตนเอง” สีมากล่าวเสริมว่าขอบของเธอคือความท้าทาย หลายคร้ังในชีวิต เธอ ถูกผลักไปถึงจุดท่ีเป็นความท้าทาย โดยท่ีเธอไม่ทราบว่าชีวิตข้างหน้าจะ เป็นอย่างไร แต่สิ่งที่สีมาท�ำคือดึงพลังจากภายในตนเองขึ้นมาเพื่อที่จะก้าว ไปสู่ส่ิงท่ีไม่รู้ เธอกล่าวว่า “คนเรามีรูปแบบของขอบที่แตกต่างกัน และ ขอบควรเป็นพื้นที่ที่เรามีทางเลือก โดยทั่วไปเราจะใช้ชีวิตด้วยรูปแบบ และพฤติกรรมเดิมเวลาเราอยู่ในอดีตหรือในพ้ืนท่ีที่เรารู้ แต่เม่ือเราไปอยู่ ในพื้นท่ีท่ีเราไม่รู้ เราอาจจะถูกส่ิงท่ีไม่รู้ผลักให้ไหลไปเรื่อย ๆ แต่การเดิน บนขอบท่ีดีน้ัน คือการอยู่ในจุดที่เราสามารถยืนได้อย่างม่ันคง และเป็น ผเู้ ลอื กได้” วิกรัมเสริมในประเด็นดังกล่าวว่า “คนเราสามารถเลือกขอบได้ และ สามารถตระหนักรู้ รู้เน้อื ร้ตู วั บนขอบ รวมถงึ มีพลังอำ� นาจทีจ่ ะเดินบนขอบได้ แต่ถ้าเราไม่มีสิ่งเหล่าน้ี เราอาจไม่ได้ก�ำลังเดินบนขอบ แต่เป็นการปล่อยให้ ตนเองให้ลอยไปตามแรงลมพายุของชีวิตท่ีพัดเข้ามา และกลายเป็นคนที่ถูก ผู้อื่นท�ำให้เดนิ บนขอบ แตม่ ไิ ดเ้ ลอื กเดนิ บนขอบดว้ ยตนเอง กล่าวโดยสรปุ คือ ขอบนน้ั เปน็ ทางเลอื ก เรามไิ ดถ้ กู บงั คบั จากขอบหรอื สง่ิ อนื่ ใดทม่ี ากกวา่ ตวั เรา” 18
Leadership for Transcendence วกิ รมั แบ่งปนั เรือ่ งราวเกยี่ วกบั ขอบของตนเองและอธบิ าย ความหมายของขอบ 19
ภาวะการนำ� เพื่อการขา้ มพ้น หลังจากอธิบายความหมายของขอบ วิกรัมได้เชิญให้ผู้เข้าอบรมจับ กลุ่มสนทนากันและแบ่งปันในวงใหญ่ว่ามีความคิดใดผุดข้ึนมาบ้าง ซึ่งมี ความคิดเห็นที่น่าสนใจดังน้ี ผ้เู ขา้ ร่วม : ขอบท่เี รากำ� ลงั เดินอยไู่ มไ่ ด้มีเพียงขอบเดยี ว ระหวา่ งที่เราเดิน บนขอบหนงึ่ อยู่ ก็มีขอบอนื่ ๆ ทีเ่ ราตอ้ งเดินไปดว้ ยในช่วงเวลาเดยี วกัน ผเู้ ขา้ รว่ ม : ในชว่ งวยั เดก็ หากเรารบั สง่ิ ใดมาแลว้ พะวงกบั สง่ิ นน้ั อาจทำ� ให้ เราไม่กล้าใช้ชีวิตนอกเหนือไปจากส่ิงท่ีตนเองรู้ แต่ถ้าได้พัฒนาจนรู้จักตนเอง ดีแล้ว อาจท�ำให้เราสามารถเชื่อมโยงตนเองกับส่ิงท่ีรู้ จนสามารถข้ามไปสู่ พื้นท่ีของความไม่รู้ และเกิดเป็นโอกาสใหม่ ๆ ในชวี ติ ได้ ผู้เข้าร่วม : คนในกลุ่มเรามีขอบด้านการท�ำงานท่ีคล้ายคลึงกันคือ อยู่ระหว่างทางแยกที่ต้องเลือกอาชีพ แต่ละท่านมีวิธีการก้าวข้ามขอบ แตกตา่ งกัน บางท่านก้าวขา้ มไปยงั ส่วนทไ่ี ม่รู้ได้ทนั ที แตบ่ างทา่ นต้องทำ� สว่ น ทไ่ี มร่ ู้ใหร้ ูห้ รอื มีข้อมูลมากข้ึนกอ่ น แล้วจงึ คอ่ ยกา้ วขา้ มขอบไป ผู้เข้าร่วม : ภาพของขอบท่ีเราเห็นน้ันขึ้นอยู่กับว่า เราจะวาดภาพ ให้ขอบแต่ละฝั่งเป็นเช่นไร เราอาจวาดฝั่งหนึ่งของขอบอาจเป็นเหว หรืออีก ฝั่งเป็นสวนต้นไม้ คนแต่ละคนวาดภาพขอบไว้แตกต่างกันไป และบางครั้ง เราเป็นคนขดี ขอบใหต้ นเอง การเป็นสักขพี ยานและการมีทางเลือกบนขอบ วิกรัมกล่าวเกี่ยวกับการด�ำรงอยู่บนขอบว่า “เมื่อเราอยู่บนขอบเป็น ธรรมดาท่ีเราอาจรู้สึกกลัวและต่ืนเต้น ความรู้สึกน้ีเป็นความกลัวการสูญเสีย ตัวตนเดิมของตนเอง และเป็นความตื่นเต้นว่าจะมีส่ิงใดใหม่เข้ามาในชีวิต ในบางครั้ง วิกฤตหรือสถานการณ์บางอย่างที่เราไม่ได้ร้องขอก็เกิดข้ึน ในชีวิตของเราเสมือนว่าวิกฤตน้ีเป็นขอบท่ีเข้ามาเพื่อป่วนชีวิตของเรา เช่น การจากพราก ความสัมพันธ์ท่ีมีปัญหา วิกฤตการเงิน วิกฤตด้าน 20
Leadership for Transcendence จิตวิญญาณ แต่แท้ท่ีจริงแล้ว ส่ิงเหล่านี้คือเหตุการณ์ท่ีเกิดข้ึนกับเราเท่านั้น แตม่ ใิ ช่ขอบ การจะเดนิ บนขอบไดอ้ ยา่ งมคี ณุ ภาพนน้ั เราตอ้ งเรยี นรกู้ ารเปน็ สกั ขพี ยาน ในการเฝ้ามองขอบของตนเองเสียก่อน คนเรามีขอบท่ีหลากหลายและสิ่งที่ เกิดข้ึนในชีวิตของคนเราเป็นไปได้ทั้งเหตุการณ์ด้านลบหรือบวก หรือเป็น เหตุการณ์ที่ท้ังวางแผนไว้หรือไม่ได้วางแผนไว้ และอาจมีบางสถานการณ์ที่ เราตกอยู่ในหน่ึงในสี่ช่องดังภาพ (หน้าถัดไป) ซึ่งท�ำให้เรามีปฏิกิริยาต่อส่ิงที่ เข้ามาได้หลากหลาย เช่น ตน่ื เตน้ มคี วามสุข หวั เสีย หรือโกรธ” วิกรัมกล่าวต่อไปว่า “ส่ิงที่เข้ามาในชีวิตทั้งด้านลบและบวกนั้นเป็น เหมือนของขวัญ และเป็นสิ่งที่บอกให้เราค่อย ๆ เดินไปที่ขอบ เม่ือไป ถึงขอบแล้ว สิ่งแรกท่ีต้องท�ำคือการเป็นสักขีพยานในการมองขอบ โดย ค้นหาว่าแท้ท่ีจริงแล้วขอบของเราคืออะไร และด�ำรงอยู่ ณ พ้ืนท่ีบนขอบ อย่างรู้เน้ือรู้ตัวเพ่ือดูแลขอบของเรา ซึ่งขอบของเรามิใช่เหตุการณ์ หรือ ปฏิกิริยาต่าง ๆ ของเราต่อเหตุการณ์ที่เกิดข้ึน แต่ขอบของเราคือค�ำถาม ที่วา่ ฉันตอ้ งเปน็ คนแบบใด? ส่ิงใหม่ทีต่ อ้ งมเี พิม่ ขน้ึ คอื อะไร? มสี ่งิ ใดจากอดีต ทคี่ วรน�ำพามาหรือควรละทง้ิ ไป?” วิกรัมยกตัวอย่างการเฝ้ามองขอบจากประสบการณ์ของเขาเม่ือปี 2559 วันหนึ่งวิกรัมไปโค้ชผู้บริหารท่านหน่ึงตามแผนท่ีวางไว้ และผู้บริหารท่านน้ัน ได้มอบโครงการใหญ่ให้เขารับผิดชอบ แต่ทว่าแม่ของเขาล้มป่วยลงและต้อง รักษาตวั ในโรงพยาบาลในวนั เดยี วกนั แมว้ ่าตอ่ มาแมข่ องเขาจะมอี าการดขี น้ึ และกลับมาอยู่ท่ีบ้าน แต่ก็ยังคงต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องเพราะ เป็นโรคเร้ือรัง นอกจากแม่ของเขาแล้ว ป้าของเขาก็หกล้มข้อมือแตกและ ตอ้ งการการดูแลเชน่ กนั วิกรัมกล่าวว่าการที่แม่และป้าของเขาเจ็บป่วยนั้นมิใช่ขอบของเขา เหตุการณ์เหล่าน้ีเป็นเรื่องที่ไม่ได้วางแผนไว้และเป็นเหตุการณ์ที่ไม่ดี แต่ใน ขณะเดียวกันก็มีเหตุการณ์ที่เขาวางแผนไว้และเป็นเร่ืองดีเกิดขึ้น ซึ่งก็คือ การโค้ชผู้บริหารและได้รับโครงการใหญ่มาท�ำ ทั้งสองเหตุการณ์น้ีเกิดข้ึน 21
ภาวะการนำ� เพื่อการขา้ มพ้น 22
Leadership for Transcendence พร้อมกัน ซึ่งเขาไม่สามารถควบคุมให้แม่ไม่ล้มป่วยได้ และไม่สามารถส่ังให้ ผู้บริหารท่านน้ันรอเขาจัดการเรื่องแม่ก่อนแล้วจึงท�ำโครงการได้เช่นกัน ขอบของวิกรัม ณ ขณะน้ัน คือการท�ำให้เกิดความสมดุลระหว่างการดูแล โครงการใหญก่ บั การดูแลแมแ่ ละป้าของเขา สง่ิ แรกที่วกิ รมั ทำ� ในสถานการณน์ ้ี เพอื่ ทีจ่ ะเดินบนขอบได้อย่างมีคณุ ภาพ คือ เฝ้าสังเกตสิ่งที่เกิดข้ึนอย่างจริงจังทั้งภายในตนเองและบริบทภายนอก จนกระท่ังตระหนักว่าการดูแลโครงการกับการดูแลแม่และป้าล้วนเป็นเร่ือง ส�ำคัญส�ำหรับชีวิตของเขา วิกรัมและภรรยาจึงเริ่มเรียนรู้ทักษะต่าง ๆ และ เตรียมส่ิงอ�ำนวยความสะดวกในการดูแลผู้สูงวัยในบ้าน ในส่วนของการดูแล โครงการใหญ่ที่ได้รับ เขาต้องละท้ิงตัวตนในอดีตที่เคยชินกับการท�ำงานเอง ท้ังหมด แล้วสร้างคู่ธุรกิจข้ึนมาเพื่อช่วยแบ่งเบางาน การลงมือท�ำส่ิงต่าง ๆ เหลา่ น้คี ือขอบใหม่ของวิกรมั ซึง่ ณ ตอนนนั้ เขาไมม่ ศี กั ยภาพมากพอทจ่ี ะดูแล ผสู้ ูงวยั ในบา้ นและทำ� งานเพอ่ื ขยายทีมตวั เองให้เติบโตได้ไปพรอ้ ม ๆ กัน สิง่ ที่ เขาเลือกในการด�ำรงอยู่บนขอบน้ีก็คือ เขาต้องใช้ชีวิตช้าลง ให้เวลากับ คนท่เี ขารกั มากขึน้ และทำ� งานให้นอ้ ยลงแต่เป็นงานทีส่ รา้ งผลกระทบไดม้ าก จากตัวอย่างของวิกรัมจะเห็นได้ว่าก้าวแรกในการเดินบนขอบ คือ การทำ� ตวั เปน็ สักขีพยานในการเฝา้ ดูขอบ โดยเร่ิมจากสงั เกตใหเ้ หน็ ขอบก่อน แล้วจึงค่อย ๆ เรียนรู้และเติบโตไปบนขอบนั้น ผ่านการต้ังค�ำถามเหล่านี้ กบั ตนเอง 23
ภาวะการนำ� เพื่อการข้ามพ้น “อะไรคือขอบในสถานการณ์นี”้ “ณ ตอนนีอ้ ะไรคอื ส่งิ ทสี่ ำ� คญั ทีส่ ุด” “ส่งิ ใดทีเ่ ราควรตอ้ งละท้งิ ไป” “เราควรเป็นใคร/ตัวตนใหมท่ ีค่ วรเป็นคืออะไร” “ส่งิ ใดในตวั ตนเกา่ ของเราทีย่ งั ต้องนำ� พาไปดว้ ย” “เราจะทำ� ส่ิงใดได้บา้ งในเหตกุ ารณ์น”ี้ การต้ังค�ำถามกับตนเองนั้นมีความส�ำคัญส�ำหรับการเติบโตไปบนขอบ เพราะท�ำให้เรามองเห็นทางเลือกว่าจะใช้ชีวิตตามวิถีเดิมหรือปรับเปล่ียน จากวิถีเดิมไปอย่างไร และการเห็นทางเลือกบนขอบจะเกิดได้ต่อเม่ือเรา มีความตระหนักรู้ในสิ่งที่เกิดขึ้น ซ่ึงทุก ๆ เสี้ยววินาทีจะมีเหตุการณ์ใหม่ เกิดข้ึน ท้ังเหตุการณ์เชิงลบหรือบวก และเหตุการณ์ท่ีวางแผนไว้หรือไม่ได้ วางแผนไว้ ดังนั้น เราจึงต้องใช้เวลาอยู่ตรงน้ันสักพักเพื่อเป็นสักขีพยาน ในการเฝา้ ดขู อบ จนกระทงั่ เหน็ วา่ แทท้ จี่ รงิ แลว้ สง่ิ ทเี่ กดิ ขนึ้ กำ� ลงั บอกอะไรหรอื เรียกร้องอะไรจากเรา 24
Leadership for Transcendence การคน้ หาขอบ หลังจากท่ีวิกรัมได้อธิบายความหมายของขอบและการเป็นสักขีพยานใน การเดินบนขอบไปแล้ว ในช่วงบ่ายของการอบรมวิกรัมได้น�ำผู้เข้าอบรมเข้าสู่ กิจกรรมการค้นหาหรือสัมผัสขอบของตนเองผ่านกระบวนการ 2 แบบ ได้แก่ การค้นหาขอบผา่ นกจิ กรรมฐานกาย และการค้นหาขอบผา่ นเครื่องมือภูเขานำ้� แขง็ กิจกรรมฐานกาย วิกรัมกล่าวว่าสาเหตุท่ีน�ำการท�ำงานกับฐานกายมาใช้ในการฝึกค้นหา ขอบก็เพ่ือให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจเรื่องขอบท้ังในทางทฤษฎีและปฏิบัติ กิจกรรม ฐานกายเป็นกระบวนการท่ีใช้การจินตนาการมาเชื่อมกับการเคล่ือนไหวทาง ร่างกาย ซ่ึงช่วยให้ผู้เข้าอบรมได้สัมผัสประสบการณ์ด้วยตนเองว่าการด�ำรง อยู่บนขอบเป็นเช่นไร โดยวิกรัมกลา่ วน�ำกระบวนการ ดังน้ี “เริ่มจากหาพื้นท่ียืนอย่างม่ันคงและรู้สึกถึงแก่นข้างในของตนเอง คล้ายการหย่ังราก อาจลองย่อเท้าเพ่ือประเมินว่าเรายืนอย่างม่ันคงหรือไม่ เม่ือยืนอย่างม่ันคงแล้วให้หลับตาลง ในขณะท่ีเรากลับไปยังจุดแกนของเรา ให้เราจินตนาการว่า ขณะนี้เราอยู่ในพื้นที่ท่ีรู้สึกสบาย เป็นพ้ืนท่ีท่ีเรารู้ ทุกอย่าง แล้วลองสังเกตร่างกายของเราว่ารู้สึกอย่างไร ในตอนนเี้ รากำ� ลงั อยใู่ นพ้ืนท่ีทเี่ รารู้จกั ดี ลองขยบั มือไม้ของเรา ท�ำทา่ ทาง ว่าการอยู่ในพื้นที่ท่ีเรารู้เป็นอย่างไร ลองสัมผัสพ้ืนที่ในสามมิติ บน ล่าง ด้านข้าง ว่าเป็นอย่างไร เราสามารถจะนั่ง ยืดเส้นยืดสาย หรือท�ำอะไรก็ได้ เพราะเป็นพ้ืนที่ที่เรารู้สึกปลอดภัย หลังจากนี้เราจะลองเดินบนขอบ ลองจินตนาการว่าเราก�ำลังก้าวเท้า ออกไปหน่ึงหรือสองก้าวเพ่ือออกจากพื้นที่ที่เรารู้ และน�ำพาตนเองไปสู่ ขอบ โดยค่อย ๆ พาตัวเองเดินออกไปจากจุดที่เรายืนอยู่ อาจเปน็ กา้ วเลก็ ๆ ก้าวใหญ่ ๆ หรอื กา้ วกระโดดก็ได้ 25
ภาวะการน�ำเพื่อการข้ามพ้น ณ ตอนนี้คุณอยู่บนขอบแล้ว อยู่ระหว่างพื้นที่ที่รู้และไม่รู้ ลองน�ำพาจิต ของเราเข้าไปส�ำรวจว่าพ้ืนที่บริเวณขอบของเรานั้นเป็นอย่างไร และต่างจาก พ้ืนท่ีที่เราเคยอยู่ก่อนหน้าน้ีอย่างไร ลองสัมผัสตนเองว่าตัวเราใหญ่ขึ้นหรือ เลก็ ลงด้วยมือและเทา้ ของเรา และสังเกตดูวา่ พนื้ ที่ทเ่ี ราไมร่ ู้น้นั อยตู่ รงจุดไหน หรือมาจากทิศทางใด หลังจากนี้เราจะน�ำพาตัวเราออกจากขอบ แล้วก้าวไปสู่พ้ืนที่ท่ีเราไม่รู้ โดยให้เราท�ำงานผ่านจินตนาการของตนเอง และใช้ร่างกายเคลื่อนไปสู่พื้นที่ ของความไม่รู้ ค่อย ๆ ก้าวออกไป เม่ือไปถึงพ้ืนท่ีแห่งความไม่รู้ ให้เฝ้าดูว่า พ้ืนท่ีน้ีเป็นเช่นไรแลจะน�ำพาสิ่งใดมาสู่ขอบของเรา ตอนนใี้ หพ้ าตวั เองออกมาจากพื้นท่ที ่ีไมร่ ู้ แล้วกลบั มายืนอยูท่ ่ีขอบอีกคร้งั สังเกตว่าขอบของเราใหญ่ข้ึน ไม่เล็กเหมือนแต่ก่อนอีกแล้ว ขณะนี้เรามีท้ัง สิ่งที่เรารู้และไม่รู้อยู่บนขอบ ลองใช้กายเข้าไปสังเกตว่าขอบของเราแตกต่าง จากเดิมอย่างไร สัมผัสถึงพลังที่อยู่รอบ ๆ ตัวเราว่าเป็นอย่างไร และสิ่งท่ี ไดร้ ับท้งั จากฝง่ั ท่รี ู้และไม่รู้คอื อะไร ณ ตอนนเ้ี มอื่ รสู้ กึ พรอ้ มแลว้ เชญิ ลมื ตาขน้ึ ดว้ ยความตระหนกั รทู้ อี่ ยบู่ นขอบ ด�ำรงอยู่ในความเงียบแล้วเดินไปรอบ ๆ ห้องเพื่อการใคร่ครวญ ลองสัมผัส ความรูส้ กึ ของตนเองวา่ เปน็ อยา่ งไร ส�ำรวจกายของเราว่าอยากเคลื่อนไหวไป ในทศิ ทางใด และในขณะเดยี วกันก็เฝ้าดูวา่ มคี วามคิดใดผุดขึน้ มาบ้าง ลองจินตนาการว่า ขณะน้ีขอบของเราใหญ่ขึ้น ๆ พ้ืนท่ีฝั่งที่เรารู้และไม่รู้ เข้ามาใกล้กันมากขึ้นเรื่อย ๆ ให้เราสัมผัสเข้าไปถึงจุดท่ีตัวเราและขอบเป็น หน่ึงเดยี วกัน และเมือ่ เราสมั ผัสถงึ จดุ ทีเ่ ราอยากพักบนขอบนี้ ใหเ้ ราหยดุ เดิน แลว้ มองไปรอบ ๆ ตวั เรา” หลังจากนั้น วิกรัมได้เชิญให้ผู้เข้าอบรมแบ่งปันประสบการณ์จากการท�ำ กจิ กรรมฐานกาย โดยมีประเดน็ ที่น่าสนใจดังนี้ 26
Leadership for Transcendence ผ้เู ข้ารว่ มก�ำลังฝึกกจิ กรรมฐานกายโดยใชจ้ นิ ตนาการ รว่ มกับการเคลอื่ นไหวทางร่างกาย 27
ภาวะการนำ� เพื่อการข้ามพ้น ผู้เข้าร่วม : ขอบในการท�ำกิจกรรมนี้คือการก้าวข้ามความถูกผิด เป็น ความกลวั วา่ ตนเองจะทำ� ไดไ้ มถ่ กู ต้องเหมอื นผเู้ ขา้ รว่ มทา่ นอน่ื และคดิ วา่ ขอบ เดิมที่เราได้ข้ามไปแล้วอาจไม่ได้หมายความว่าขอบนั้นจะไม่เป็นขอบของเรา อกี ตอ่ ไป ผู้เข้าร่วม : ระหว่างท่ีเดินไปยังพ้ืนที่ต่าง ๆ ได้พยายามหลอมรวมพื้นที่ ท่ีรู้และไม่รู้เข้าด้วยกัน และพบว่าพ้ืนที่ท่ีเราไม่รู้อาจเป็นพ้ืนที่ที่คนอ่ืนรู้ มาก่อน หรือพ้ืนท่ีที่คนอ่ืนไม่รู้ก็คือพื้นท่ีท่ีเรารู้ พ้ืนท่ีเหล่านี้ซ้อนทับกันกับ พ้นื ที่ของคนอืน่ วิกรัม : ขออธิบายเสริมว่าส่ิงน้ีเป็นความงดงามของการมีเพื่อนร่วมทาง บางคร้ังส่ิงท่ีเป็นขอบของเราอาจไม่ใช่ขอบของคู่ชีวิตหรือคนรอบข้างเรา การมีเพ่อื นรว่ มทางจะช่วยสนบั สนุนกันและกนั ในการใชช้ ีวติ ผู้เข้าร่วม : รู้สึกว่าพ้ืนท่ีที่เราไม่รู้น้ันมีความรู้บางประการท่ีสามารถน�ำ มาใช้ได้ เมื่อเราน�ำความรู้น้ันมาใช้แล้ว ออราหรืออานุภาพของเราจะใหญ่ กวา่ เดมิ ตอนทว่ี กิ รมั บอกใหเ้ ขา้ ไปเปน็ หนงึ่ เดยี วกบั ขอบ รสู้ กึ เหมอื นเกดิ ระเบดิ บกิ แบง (Big Bang) แลว้ มตี วั เราขนึ้ มาใหม่ วกิ รมั : สง่ิ ทผี่ เู้ ขา้ รว่ มพดู ถงึ นเี้ ปน็ ประเดน็ ทสี่ ำ� คญั ของการเดนิ บนขอบ เวลา ทเี่ ราเดนิ บนขอบดว้ ยความมสี ตริ เู้ นอ้ื รตู้ วั นน่ั คอื การอนญุ าตใหบ้ างอยา่ งทใ่ี หญ่ กวา่ ตัวเราไดท้ �ำงานภายในตัวเรา แลว้ พลงั ของเราจะขยายใหญข่ ึน้ ผู้เข้าร่วม : รู้สึกงุนงงระหว่างท�ำกิจกรรม ยังจินตนาการตามไม่ทันและ ร้สู กึ วา่ ตนเองไม่มคี วามสามารถ วิกรัม : ขอให้ลองสังเกตเสียงวิพากษ์วิจารณ์ภายในตนเอง ขอบใน เร่ืองน้ีอาจเป็นการที่ตนเองไม่ไปท�ำให้เสียงวิพากษ์วิจารณ์นั้นขยายใหญ่ขึ้น ซึง่ จะช่วยท�ำใหเ้ รามีพลังเข้าไปสัมผสั กบั ขอบไดม้ ากข้นึ 28
Leadership for Transcendence เครอ่ื งมอื ภูเขาน�ำ้ แข็ง เคร่ืองมือช้ินถัดไปในการค้นหาหรือพิจารณาขอบ ได้แก่ เครื่องมือ ภูเขาน�้ำแข็ง วิกรัมกล่าวว่าการค้นหาขอบผ่านเคร่ืองมือภูเขาน้�ำแข็งเป็น การท�ำงานภายในตนเองผ่านการใช้ความคิดหรือปัญญาในฐานคิด เพ่ือ พิจารณาปัจจัยที่ขับเคลื่อนพฤติกรรมของเรา วิกรัมอธิบายแนวคดิ เรอ่ื งภเู ขานำ้� แขง็ ว่า เมื่อมนษุ ย์กระทำ� พฤตกิ รรมใด ๆ ออกมา จะมีสิ่งท่ีขับเคล่ือนอยู่ภายในเสมอ พฤติกรรมและการกระท�ำของ มนุษย์ท่ีเผยแสดงออกมาให้ผู้อื่นเห็นน้ัน เปรียบเสมือนส่วนบนสุดของ ภูเขาน�้ำแข็ง ส่วนน้ีเป็นส่วนท่ีโผล่ข้ึนมาเหนือน�้ำ ซ่ึงเป็นส่ิงท่ีเราหรือผู้อื่น สังเกตเห็นได้ และมีสัดส่วนเพียงร้อยละสิบภูเขาน้�ำแข็งท้ังหมด ส่วนของ ภเู ขานำ้� แขง็ ทเี่ หลอื อกี รอ้ ยละเกา้ สบิ อยใู่ ตน้ ำ�้ ภเู ขานำ้� แขง็ สว่ นทอ่ี ยใู่ ตน้ ำ้� นเ้ี ปน็ ตัวขับเคลื่อนให้เกิดพฤติกรรมหรือการกระท�ำท่ีอยู่ส่วนยอดของภูเขาน้�ำแข็ง ช้ันแรกของภูเขาน้�ำแข็งในส่วนท่ีอยู่ใต้น้�ำ คือ ช้ันของความคิดและ ความรู้สึก เป็นชั้นท่ีเชื่อมต่อกับชั้นของพฤติกรรมท่ีอยู่เหนือผิวน้�ำ ความ คิดเป็นเสียงที่อยู่ในหัวของเรา เช่น เสียงท่ีวิพากษ์วิจารณ์ตัวเองหรือคนอ่ืน สว่ นความรสู้ กึ หรอื อารมณเ์ ปน็ พลงั งานทเี่ คลอ่ื นไหว เชน่ ความรสู้ กึ โกรธ กลา้ หรือกลัว ช้นั ที่อยถู่ ัดลงไป คอื ช้ันของความเช่อื และคณุ คา่ ทีเ่ รายึดถือ ช้ันล่างลงมา คือ ช้ันของความต้องการ ซึ่งความต้องการมี 2 ประเภท คือ ความต้องการที่ได้รับการตอบสนอง และความต้องการท่ีไม่ได้รับ การตอบสนอง ช้นั ล่างสดุ ของภูเขาน้�ำแข็ง คือ ชัน้ ของตวั ตน เปน็ เนอ้ื แท้หรอื ตัวตนทแี่ ท้ ของบุคคลหนึง่ ๆ การมองเห็นช้ันต่าง ๆ เหลา่ นี้จากภายนอกจะทำ� ไดย้ ากขึน้ ไปเรอื่ ย ๆ ใน ชั้นของภูเขาน้�ำแข็งท่ีอยู่ลึกลงไป ยกตัวอย่างเช่น เมื่อท่ีเราเห็นพฤติกรรม 29
ภาวะการนำ� เพื่อการขา้ มพ้น หรือสีหน้าท่าทางของบุคคลหน่ึงที่แสดงออกมา เราอาจจะสามารถคาดเดา ความรู้สึกของบุคคลนั้นได้ แต่เราจะไม่สามารถมองเห็นความเช่ือ คุณค่าท่ี บุคคลผู้นัน้ ยึดถือ หรือความตอ้ งการของเขาได้อย่างชดั เจน วิกรัมได้สาธิตการใช้เครื่องมือภูเขาน้�ำแข็งในการค้นหาและพิจารณาขอบ โดยมอี าสาสมคั รทา่ นหนงึ่ รว่ มการสาธติ ในฐานะผทู้ ที่ ำ� งานกบั ขอบของตนเอง (ผ้รู บั การโค้ช) และอีกฝา่ ยหนึ่งคือ วกิ รมั (กระบวนกรหรอื โคช้ ) ซง่ึ ทำ� หนา้ ท่ี ถามค�ำถามผู้รับการโค้ชตามข้ันตอนของเคร่ืองมือภูเขาน้�ำแข็งเพื่อให้ผู้รับ การโค้ชไดต้ ระหนักรเู้ กย่ี วกบั ขอบของตนเอง วิกรัมอธิบายว่า “ขั้นตอนแรกเร่ิมด้วยการให้ผู้รับการโค้ชระบุขอบที่ ต้องการน�ำขึ้นมาพิจารณา ขั้นต่อไปเป็นการส�ำรวจและระบุพฤติกรรมหรือ คุณภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบันว่าเป็นเช่นไร หลังจากนั้นให้ผู้รับการโค้ชระบุ พฤตกิ รรมทเ่ี จาะจงเพยี งหนง่ึ อยา่ งทอี่ ยากจะเปลย่ี นหรอื ทำ� ใหต้ า่ งไปจากเดมิ เมื่อได้ค�ำตอบครบแล้วจึงเร่ิมตั้งค�ำถามเพ่ือส�ำรวจลงลึกไปในแต่ละช้ันของ ภูเขาน้�ำแข็งในส่วนทีอ่ ยู่ใต้นำ�้ โดยเร่มิ จากชนั้ ทอี่ ย่สู ูงกว่าไปยงั ชั้นที่ตำ�่ กว่า ชนั้ แรกคอื ชน้ั ของความคดิ และความรสู้ กึ กระบวนกรหรอื โคช้ จะตงั้ คำ� ถาม เพื่อส�ำรวจว่าขณะท่ีเกิดสถานการณ์นั้น ๆ ผู้รับการโค้ชมีความรู้สึกอย่างไร มคี วามคดิ ใดเกิดขึ้นบ้าง หลงั จากนน้ั ลงไปสำ� รวจในชน้ั ของความเชอื่ และคณุ คา่ กระบวนกรหรอื โคช้ จะตงั้ คำ� ถามเพ่ือให้ผรู้ บั การโค้ชพจิ ารณาว่า ทกุ ครง้ั ท่ีเขาท�ำพฤตกิ รรมเดมิ ซำ้� ไปมา เขากำ� ลงั ปกป้องหรือดแู ลคุณคา่ ใดภายในตนเอง และจากการเลอื กทำ� พฤติกรรมน้ี เขาต้องสญู เสียคุณค่าในเรื่องใดไป ชน้ั ตอ่ มาเปน็ การสำ� รวจความตอ้ งการ กระบวนกรหรือโคช้ ตง้ั คำ� ถามเพื่อ ให้ทราบว่าในสถานการณ์นั้น ๆ แท้ที่จริงแล้ว ผู้รับการโค้ชมีความต้องการ สิ่งใด โดยค้นหาความต้องการทั้ง 2 ประเภท คือ ความต้องการที่ได้รับ การตอบสนอง กับความต้องการท่ีไม่ได้รับการตอบสนอง และเม่ือส�ำรวจ แตล่ ะชน้ั ของภเู ขานำ้� แขง็ เสรจ็ สนิ้ แลว้ ใหส้ รปุ สง่ิ ทคี่ น้ พบจากการสำ� รวจขอบ” 30
Leadership for Transcendence 31
ภาวะการน�ำเพื่อการขา้ มพ้น หลงั จากนน้ั วกิ รมั ไดส้ าธติ กระบวนการดงั กลา่ วรว่ มกบั อาสาสมคั ร ซง่ึ มสี าระ ส�ำคัญดงั นี้ ข้ันระบุขอบของตนเอง วกิ รัมถามผ้รู ับการโคช้ วา่ ขอบท่กี ำ� ลงั เดินอยใู่ นตอนนค้ี ืออะไร ผู้รับการโค้ชตอบว่าในบางคร้ังจะรู้สึกว่าเสียงของตนไม่มีอ�ำนาจพอ เม่ือต้องท�ำงานกับคนบางกลุ่มหรือบางองค์กร ขอบอาจเป็นการท�ำให้เสียง ของตนเองมีอ�ำนาจมากข้ึน ขัน้ ส�ำรวจพฤตกิ รรมหรือคุณภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน วิกรมั ถามถึงพฤติกรรมทีผ่ ู้รับการโค้ชเปน็ อยู่ในปจั จุบันว่าเปน็ เช่นไร ผู้รับการโค้ชเล่าว่าในบางคร้ังท่ีต้องท�ำงานกับกลุ่มคนที่คอยจับผิดตนเอง เขามกั จะไม่อยากแสดงความคดิ เห็นออกมา แมว้ ่าตนเองจะมคี วามรู้เก่ียวกับ เรอ่ื งนน้ั ๆ กต็ าม ขั้นระบพุ ฤตกิ รรมหนง่ึ อย่างทอี่ ยากจะเปลย่ี น วกิ รมั ถามผรู้ บั การโคช้ วา่ พฤตกิ รรมใดทอ่ี ยากจะเปลยี่ น เพอ่ื ใหเ้ ดนิ บนขอบ นี้ได้ ผรู้ ับการโคช้ ระบุวา่ อยากแสดงความคิดเหน็ ไดอ้ ยา่ งกล้าหาญ ขัน้ ส�ำรวจภเู ขาน�้ำแขง็ ส่วนทอ่ี ยใู่ ต้น�ำ้ ชัน้ ท่ี 1 ความคดิ และความรู้สึก วิกรัมให้ผู้รับการโค้ชจินตนาการภาพของกลุ่มคนมีอ�ำนาจมากกว่าตัวเขา มาอยูต่ รงหนา้ “คณุ อยากพูดบางอย่าง แตม่ อี ะไรตดิ ในคอ พอได้สมั ผสั ภาพนนั้ อยากให้ เล่าหน่อยครบั วา่ มคี วามรู้สกึ อย่างไร?” ผู้รับการโค้ชตอบว่า การท่ีอยากแสดงความคิดเห็นแต่ไม่ได้แสดงออกไป ทำ� ใหร้ สู้ กึ สบั สน อดสู อดึ อดั และหงดุ หงดิ ตวั เองทไี่ มต่ อบโตก้ ลบั ไป และถอ้ ยคำ� ท่ีผุดขึ้นมาในความคิดคือ “ฟังฉันบ้าง” “เราไม่สมควรถูกกระท�ำแบบน้ัน” 32
Leadership for Transcendence วกิ รมั อธบิ ายเกยี่ วกับเครอื่ งมอื ภูเขานำ�้ แขง็ ให้แกผ่ ้เู ขา้ รว่ ม 33
ภาวะการน�ำเพื่อการข้ามพ้น ชั้นท่ี 2 ความเช่ือและคุณค่า วิกรัมถามผู้รับการโค้ชว่า “ทุกครั้งท่ีคุณไม่สามารถแสดงออกให้คนอื่น รบั รไู้ ด้ มคี ณุ คา่ บางอยา่ งของคณุ ทไี่ มไ่ ดร้ บั การดแู ล เพอ่ื แลกมากบั สงิ่ ทค่ี ณุ เงยี บ ตอนนัน้ คณุ ค่านัน้ คอื อะไร?” หลงั จากซกั ถามก็พบว่าผรู้ ับการโค้ชเลอื กท่จี ะ ไม่แสดงความคิดเห็นเพ่ือที่จะรักษาความสัมพันธ์กับกลุ่มคนดังกล่าว แต่ใน ขณะเดยี วกนั ผรู้ บั การโคช้ กต็ อ้ งสญู เสยี คณุ คา่ ทตี่ นยดึ ถอื ในเรอื่ งความเทา่ เทยี ม และความซอ่ื ตรงต่อตนเองไป ชัน้ ที่ 3 ความต้องการ วิกรัมได้ถามค�ำถามเพื่อค้นความต้องการของผู้รับการโค้ช และพบว่า การทผ่ี รู้ บั การโคช้ เลอื กทจี่ ะนงิ่ เงยี บหรอื ไมแ่ สดงความเหน็ ในสถานการณน์ นั้ ๆ ก็เพื่อปกป้องตนเองและสร้างความสอดคล้องกลมกลืนกับผู้คนและ สถานการณ์ในขณะนัน้ ดงั นั้น สงิ่ ท่ีผรู้ บั การโค้ชต้องการ คือ ความปลอดภยั ซึ่งในสถานการณ์น้ี ความต้องการความปลอดภัยเป็นความต้องการท่ีได้รับ การตอบสนอง ส่วนความต้องการท่ีไม่ได้รับการตอบสนองของผู้รับการโค้ช คอื ความสามารถในการแสดงออกอยา่ งเทา่ เทยี ม และความจรงิ แทต้ อ่ ตนเอง หลังจากการสาธติ จบลง ผู้เขา้ รว่ มอบรมได้ร่วมกันแสดงความคิดเหน็ และ ต้ังค�ำถามเกยี่ วกับกิจกรรมเครื่องมือภูเขานำ้� แข็ง ดังน้ี ผเู้ ข้ารว่ ม : ขอบมีลกั ษณะเช่นนี้เสมอหรอื ไม่? วกิ รมั : โดยสว่ นใหญ่ ขอบของคนเราจะเกย่ี วพนั กบั สง่ิ ทอ่ี ยใู่ ตภ้ เู ขานำ�้ แขง็ ขอบมักเช่ือมโยงกับความต้องการและคุณค่าท่ีส�ำคัญส�ำหรับตัวเรา ส่วน พฤติกรรมเป็นเพียงผลลัพธ์ ส�ำหรับอาสาสมัครท่านนี้ ขอบเก่ียวพันกับ ความเท่าเทียมและการได้เผยความคิดหรือสิ่งท่ีอยู่ข้างในออกมาอย่างอิสระ ทั้งนี้ หากเราย่ิงส�ำรวจภูเขาน�้ำแข็งลึกลงไปเรื่อย ๆ เราจะย่ิงพบส่ิงที่ส�ำคัญ กบั ชวี ติ ของเราอยา่ งแท้จรงิ ผเู้ ขา้ รว่ ม : ในการสำ� รวจแตล่ ะขอบ หากเรากา้ วขา้ มสงิ่ ไมพ่ งึ ประสงคท์ เ่ี รา คน้ พบในแต่ละช้ันของภูเขาน้�ำแขง็ ไปได้ เราจะเปน็ อิสระได้ ใช่หรือไม่? 34
Leadership for Transcendence วิกรัม : เวลาที่เราคน้ หาขอบผ่านเครื่องมอื ภเู ขานำ้� แข็ง เราจะค้นหาขอบ ไดย้ ากถา้ หากขอบนนั้ ๆ เกย่ี วพนั กบั พฤตกิ รรมทผ่ี รู้ บั การโคช้ อยากจะเปลย่ี น เพราะการส�ำรวจพฤติกรรมท่ีไม่พึงประสงค์น้ันมักไปแตะส่วนที่เปราะบาง ภายในของเรา แต่ถ้าหากขอบนั้นที่เก่ียวพันกับพฤติกรรมที่เราภูมิใจ เราจะ ค้นหาขอบไดง้ ่ายมาก ในการสำ� รวจขอบของอาสาสมัครทา่ นน้ี เราทำ� งานกนั ค่อนข้างยาก เพราะเป็นพฤติกรรมท่ีอยากจะเปล่ียน แต่ความยากนี้ถือเป็น ขอบของผ้ทู ีเ่ ป็นโค้ชหรือกระบวนกร ไมใ่ ชข่ อบของผู้รบั การโคช้ ถา้ ผ่านขอบ น้ีไปได้ แสดงว่าท�ำขั้นแรกส�ำเร็จแล้ว น่ันคือค้นหาความต้องการของผู้รับ การโคช้ ทอี่ าจจะขดั แยง้ กนั แล้วขอบทีแ่ ท้จรงิ จงึ ปรากฏขน้ึ มา พฤติกรรมนั้นเป็นผลลัพธ์หรืออาการท่ีเผยมาจากความต้องการ คุณค่า ความเช่ือ และความเป็นตัวตนของเรา หากเราต้องการเปล่ียนแปลงตนเอง แตไ่ มไ่ ดเ้ ขา้ ไปเคารพหรอื ดแู ลความตอ้ งการของเรา จะทำ� ใหก้ ารเปลย่ี นแปลง นน้ั ๆ อยไู่ มค่ งทนถาวร และเราจะกลบั ไปทำ� พฤตกิ รรมเดมิ เพราะเราไมไ่ ดผ้ า่ น กระบวนการน�ำความเปราะบางออกมา หรือไม่ได้ตระหนักถึงความต้องการ ของเราอย่างชดั เจน ดังน้ัน ในการเดินบนขอบ แทนท่ีเราจะมัวคิดว่าจะเดินบนขอบอย่างไร เราควรหันมาส�ำรวจความรู้สึกของเราที่ค่อนข้างยากจะรับรู้ พิจารณา ความต้องการท่ีได้รับการตอบสนองและไม่ได้รับการตอบสนอง และระบุ พฤติกรรมท่ีอยากจะเปลี่ยน สิ่งเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของการเดินบนขอบ เราควรระลึกว่าเราก�ำลังจะก้าวข้ามผ่านขอบไป การส�ำรวจพบจุดเปราะบาง ไมใ่ ชเ่ รอื่ งทจี่ ะตอ้ งรสู้ กึ ละอาย เพียงแต่ตระหนักรู้ว่ามันอยู่ตรงน้ันและเข้าไป สัมผัสอย่างอ่อนโยน ผู้เข้าร่วม : ถ้าท�ำกระบวนการภูเขาน�้ำแข็งด้วยตนเองจะได้หรือไม่ หรอื จำ� เปน็ ตอ้ งมีคนชว่ ยถามและสะทอ้ นความคิด? วกิ รมั : ในระยะเรมิ่ ฝกึ ปฏบิ ตั ิ ถา้ หากทำ� กระบวนการนค้ี นเดยี วอาจจะเกดิ ความสบั สนได้ เพราะมโี อกาสทเี่ ราจะหลอกตวั เอง เครื่องมือนงี้ า่ ยและมพี ลงั 35
ภาวะการน�ำเพื่อการข้ามพ้น ดังนั้นในระยะแรกเราควรเปิดใจให้ผู้อ่ืนเป็นผู้โค้ชหรือต้ังค�ำถาม แต่หลังจาก ที่เราคุ้นเคยกับกระบวนการแล้ว เราสามารถท�ำกระบวนการน้ีด้วยตนเองได้ ส่ิงส�ำคัญในการท�ำกระบวนการน้ีด้วยตนเอง คือ ควรจดบันทึกสิ่งที่ค้นพบ ระหวา่ งการคน้ หาขอบผา่ นเครอ่ื งมอื ภเู ขานำ�้ แขง็ เพอ่ื ชว่ ยใหเ้ กดิ การตระหนกั รู้หรือได้ขอ้ คน้ พบใหม่ ๆ ผู้เข้าร่วม : การท่ีวิกรัมหรือผู้ท่ีต้ังค�ำถามพยายามถามอาสาสมัครว่าคุณ เป็นเช่นน้ีใชห่ รือไม่ การทำ� เชน่ น้ีคือส่วนหน่ึงของกระบวนการด้วยหรอื ไม่? วิกรัม : ส่ิงที่โค้ชท�ำในการถามค�ำถามมีอยู่สองประการ ประการแรก คือ โค้ชจะถามค�ำถามไปทีละข้ันโดยจะขออนุญาตผู้รับการโค้ชหรือคนที่ เราท�ำงานด้วยเสียก่อน โค้ชจะไม่พาหรือผลักเขาเพ่ือให้ลงลึก เว้นแต่บุคคล ผู้นั้นจะอนุญาต ประการท่ีสอง คือ โค้ชจะบอกหรือสะท้อนส่ิงที่โค้ชได้ยิน จากผรู้ ับการโค้ชในแต่ละชั้น เพ่อื เป็นกระจกสะท้อนความจรงิ ให้แก่เขา ผ้เู ข้ารว่ ม : เราจะรูไ้ ด้อยา่ งไรว่าสง่ิ นนั้ ๆ เป็นความเชอ่ื หรือเป็นคุณคา่ ? วิกรัม : จากตัวอย่างที่สาธิตให้ดู อาจเป็นไปได้ว่าความเชื่อของ อาสาสมัครท่านนี้ คือ การพูดความจริงท�ำให้ผู้อ่ืนเจ็บปวด หรือท�ำให้ เกิดความเสียหายกับคนอื่น ความเชื่อน้ีอาจเกิดมาจากประสบการณ์ท่ี อาสาสมัครเคยพูดความจริงแล้วเกิดความเสียหายขึ้นขณะท่ีเดินบน ขอบ ท�ำให้ความเชื่อเกี่ยวกับการแสดงออกค่อย ๆ เปลี่ยนไป วิธีการหน่ึง ของการโค้ชโดยใช้เคร่ืองมือภูเขาน�้ำแข็ง คือ ตั้งค�ำถามเพื่อช่วยให้ผู้รับ การโค้ชเปล่ียนความเชื่อ (ท่ีจ�ำกัด) เป็นความเช่ือที่ถูกต้องหรือเป็นจริง มากขน้ึ แตโ่ คช้ จะไมเ่ ปลยี่ นคณุ คา่ ทเี่ ขายดึ ถอื ซงึ่ ในกรณขี องอาสาสมคั ร คณุ คา่ ที่ พดู ถงึ คือ คุณค่าเก่ยี วกับความเทา่ เทียม และความซอื่ ตรงตอ่ ตนเอง ณัฐฬส : ในการช่วยค้นหาว่าอะไรคือคุณค่าหลักของผู้ท่ีรับการโค้ช ผู้ต้ังค�ำถามหรือโค้ชสามารถสังเกตได้จากปฏิกิริยาทางกายท่ีผู้รับการโค้ช แสดงออกมาอยา่ งเชน่ นำ้� เสียงทม่ี คี วามเปราะบาง หลังจากได้เรียนรู้จากตัวอย่างแล้ว วิกรัมให้ผู้เข้าอบรมฝึกส�ำรวจขอบ ผ่านเคร่ืองมือภูเขาน้�ำแข็ง โดยให้จับคู่และผลัดกันเป็นโค้ชและผู้รับการโค้ช 36
Leadership for Transcendence เมอื่ เสรจ็ สน้ิ การฝกึ ปฏบิ ตั ิ ผเู้ ขา้ อบรมไดเ้ ลา่ ประสบการณจ์ ากการใชเ้ ครอ่ื งมอื ภเู ขานำ�้ แขง็ ไว้ดงั น้ี ผู้เข้าร่วม : รู้สึกขอบคุณตัวเองท่ีเลือกขอบท่ีมีผลกับชีวิตมาแลกเปล่ียน รูส้ กึ วา่ ตวั เองได้รับการเยียวยาและได้เจอของขวญั สว่ นความสมั พนั ธก์ ับขอบ ตอนน้ีตระหนักแล้วว่าขอบอยู่กับชีวิตของเรามาตลอด แต่เราไม่เคยสัมผัสถึง มันมาก่อน ท่ีผ่านมาเราเดินบนขอบทุกวันและเห็นแค่เพียงพฤติกรรมท่ีเผย แสดงออกมาเท่าน้นั เราพยายามค้นหาว่าพฤติกรรมนั้น ๆ เกดิ จากอะไรและ พยายามจะปรับพฤติกรรม แต่ก็ไม่สามารถปรับได้ เพราะเราไม่เคยค้นลึก ลงไปภายในตนเอง ซ่งึ กจิ กรรมภูเขาน�ำ้ แขง็ ในวนั นชี้ ่วยใหเ้ หน็ ว่าทำ� ไมเราจงึ มี พฤติกรรมเชน่ นี้ ท�ำใหเ้ ข้าใจตนเองและรู้สึกมพี ลงั มากขึ้น ผเู้ ขา้ รว่ ม : ผมไดเ้ ขา้ ใจวา่ ขอบของผมเปน็ เรอื่ งของการตกรอ่ งเดมิ ๆ ทำ� ใหเ้ กดิ พฤตกิ รรมขน้ึ วนั นไี้ ดก้ ลบั เขา้ ไปพจิ ารณาขอบทำ� ใหเ้ หน็ ความตอ้ งการ และเหน็ ชอ่ งทางและวธิ ที ำ� งานกบั มนั ได้ เมอื่ กอ่ นผมจะมรี ปู แบบวธิ กี ารทจ่ี ดั การกบั ขอบ ไปเรื่อย ๆ ตามแต่สถานการณ์ แต่กิจกรรมน้ีท�ำให้ผมทราบอย่างชัดเจน ขน้ึ ว่าแทท้ ีจ่ รงิ แลว้ ผมควรทำ� อะไรเพ่อื ใหก้ ้าวข้ามขอบนไี้ ปได้ หรอื อยกู่ ับขอบ ได้ดขี นึ้ ผเู้ ขา้ รว่ ม : มคี วามรสู้ กึ เกดิ ขน้ึ มากมายจากกจิ กรรมน้ี ในเรอ่ื งความสมั พนั ธ์ กับขอบก็ได้ค้นพบส่ิงท่ีเราไม่คิดว่าเราจะมี หรือได้ค้นพบส่ิงท่ีไม่เคยส�ำรวจ มาก่อน จึงคิดว่าอาจมีอีกหลายส่ิงที่เราไม่รู้อยู่ภายในตัวเราที่รอการเข้าไป ส�ำรวจ เครอ่ื งมือนี้ชว่ ยให้เหน็ ถงึ ความเป็นไปไดใ้ หม่ ๆ ที่ไม่เคยคดิ วา่ เราจะมี มาก่อน ทำ� ให้รู้สกึ ดมี าก วกิ รมั : อยากจะเฉลมิ ฉลองใหก้ ับบทสนทนาท่ีดรี ะหว่างผเู้ ข้าร่วมกบั คู่ฝกึ การเดินบนขอบคนเดยี วอาจท�ำใหร้ ู้สกึ โดดเดยี่ ว แตถ่ ้าหากเราเดนิ ด้วยกันจะ ท�ำให้รู้สึกมีพลังมากย่ิงขึ้น แม้ว่าการเดินบนขอบเป็นประสบการณ์ส่วนตัว ก็จริง แต่เม่ือเราเลือกท่ีจะเดินแล้ว เราสามารถเป็นแรงบันดาลใจให้ คนอ่นื ทำ� ในสิง่ เดียวกนั ได้ และหากชุมชนรว่ มเดินบนขอบดว้ ยกันก็จะยิ่งช่วย ยกระดบั ชมุ ชนนน้ั ใหส้ งู ขนึ้ ไปอกี ระดบั หนง่ึ แมว้ า่ ระหวา่ งทางเราอาจตอ้ งเผชญิ 37
ภาวะการน�ำเพื่อการข้ามพ้น ความรสู้ กึ เจ็บปวด เศร้า และความร้สู ึกอื่น ๆ อกี มาก แตเ่ รากจ็ ะมีความสุข มากเชน่ กนั ถ้าเราสามารถเช่ือมโยงจดุ แขง็ ของคนในชมุ ชนและยกระดบั ขอบ ขนึ้ มาได้รว่ มกนั วกิ รัมกลา่ วปิดท้ายในการอบรมวันแรกวา่ “หลังจากจบการอบรมในวันน้ี ขอใหผ้ เู้ ขา้ อบรมกลบั ไปพจิ ารณาความตอ้ งการของตนเองทไี่ ดค้ น้ พบระหวา่ ง การฝกึ เครอ่ื งมอื ภเู ขานำ้� แขง็ โดยอาจถามตนเองวา่ ความตอ้ งการฝง่ั หนง่ึ สำ� คญั กว่าความต้องการอีกฝั่งหรือไม่ และในการอบรมวันถัดไปผู้เข้าอบรมจะได้ เรียนรู้ว่าสิ่งท่ีอยู่ทั้งสองฝั่งส�ำคัญน้ันส�ำคัญเท่า ๆ กันในการเดินบนขอบ สง่ิ สำ� คญั คอื เราไดต้ ระหนกั รวู้ า่ การเดนิ บนขอบนน้ั จะมขี วั้ ตรงขา้ มเกดิ ขนึ้ เสมอ เพียงเทา่ นี้กถ็ ือได้วา่ เรามองเห็นขอบแล้ว” 38
การอบรมวนั ที่ 2 ทกั ษะในการกา้ วเดนิ บนขอบ ในการอบรมวนั ทสี่ อง เนอื้ หาการอบรมเขา้ สเู่ รอ่ื งทกั ษะทส่ี ำ� คญั ในการเดนิ บนขอบ โดยครอบคลุมทักษะการเดินบนขอบ 3 ทกั ษะแรก ได้แก่ การโอบ ประคองขั้วตรงขา้ ม ตัวกวนท่ีสร้างสรรค์ และการน�ำเหตผุ ลหลอมรวมเข้ากับ ญาณทัศนะ ซึ่งการเรียนรู้ทักษะการก้าวเดินบนขอบนั้นจะช่วยให้ผู้เข้าร่วม สามารถมองเห็นขอบของตนเองได้ชัดเจนและก้าวเดินบนขอบของตนเองได้ อยา่ งมีประสทิ ธภิ าพมากขึ้น ทกั ษะการกา้ วเดินบนขอบ ในการอบรมวนั ทส่ี อง เนอ้ื หาการอบรมเขา้ สเู่ รอ่ื งทกั ษะทสี่ ำ� คญั ในการเดนิ บนขอบ วิกรัมกล่าวว่าคนเราควรฝึกทักษะในการเดินบนขอบเพ่ือสามารถ ก้าวเดินบนขอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซ่ึงทักษะการเดินบนขอบนั้นมีด้วย กันอยู่ 4 ทักษะ ทกั ษะประการแรก คอื การโอบประคองขว้ั ตรงขา้ ม เพอ่ื รกั ษาความสมดลุ ของคณุ ค่าและความต้องการในตัวบคุ คล 41
ภาวะการน�ำเพื่อการขา้ มพ้น ทักษะประการท่ีสอง คือ ตัวกวนที่สร้างสรรค์ เป็นการฝึกสร้าง ความตระหนกั รเู้ กย่ี วกบั แรงตา้ นในการเดนิ บนขอบและการสรา้ งความเชอ่ื ใหม่ ทักษะประการท่ีสาม คือ การน�ำเหตุผลหลอมรวมเข้ากับญาณทัศนะ เป็นการเปิดรับญาณทัศนะและน�ำเหตุผลมาวิเคราะห์สิ่งที่ญาณทัศนะมอบ ให้เพ่อื คน้ หาความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ของการกระท�ำที่ส่งเสรมิ การเดนิ บนขอบ ทักษะประการสุดท้าย คือ การฟังเสียงของวิวัฒนาการเป็นการสัมผัส ปัญญาหรือเสียงจากภายในและภายนอกตนเองเพ่ือให้เราสามารถเลือกเดิน บนขอบท่ีจริงแท้และสอดคล้องกับตนเองได้ น�ำไปสู่การเติบโตและตัวตน ที่เปน็ อสิ ระ ทกั ษะการเดนิ บนขอบตอนท่ี 1 : การโอบประคองข้วั ตรงข้าม วิกรัมได้ชวนผู้เข้าร่วมครุ่นคิดเก่ียวกับการเดินบนขอบเพื่อนำ� เข้าสู่ทักษะ การโอบประคองขว้ั ตรงขา้ ม วกิ รมั ถามผเู้ ขา้ อบรมวา่ “เมอ่ื เรานกึ ถงึ ตวั เองขณะ กำ� ลงั เดินบนขอบ เรานึกถึงภาพอะไร?” ซง่ึ ผูเ้ ขา้ อบรมได้แบ่งปันคำ� ตอบไว้หลากหลาย ดงั น้ี “ภาพจะไมเ่ หมอื นกนั ทกุ ครงั้ บางขอบเหมือนลวดสลิงทเี่ ชื่อมตอ่ ระหว่าง ยอดตกึ สองยอด แลว้ เราถือไม้ยาว ๆ คอยประคองไว้ บางทีตอ้ งหลับตาเดิน” “ผมยืนอยู่ตรงขอบเหว ก�ำลังตัดสินใจว่าจะกระโดดหรือไม่กระโดด แล้วปีกเราจะงอกไหม เราจะบินไดไ้ หม หรอื เราจะตกลงไปท่ีกน้ เหว” “เห็นภาพเปน็ ภเู ขาสองลกู เดนิ ทางจากลูกหนง่ึ ไปยงั อกี ลูกหนึ่ง ทางผา่ น จะเป็นเสน้ บาง ๆ เป็นทางเชอ่ื ม ไม่ใชท่ างเดินคน ต้องปนี ขา้ มไป” “นกึ ถึงตอนเดินขน้ึ เขา ขึ้นจากฟากหนง่ึ มที างเดนิ บนสนั เขา มคี นบอกว่า อกี ฝงั่ ของเขาสวย แตไ่ มม่ ีทางเดินลงไป เราอยากลงไปแตก่ ็กลวั ตกเขา จงึ เดนิ กับเพ่ือนไปเรอื่ ย ๆ ไมก่ ลา้ ลงไป” “นึกถึงค�ำว่า journey” 42
Leadership for Transcendence “นกึ ถงึ ตอนไปเทย่ี วทะเลครงั้ แรก ทะเลสวยและมคี ลนื่ แตเ่ มอื่ เราตดั สนิ ใจ ลงไปในทะเลก็รู้สึกกลัวว่าจะมีส่ิงใดในน�้ำมาโดนเราหรือไม่ ยิ่งกลัวมากข้ึน เม่ือได้ด�ำน้�ำแล้วตามองไม่เห็น น�้ำทะเลก็เค็ม แต่ในขณะเดียวกันก็มีสัมผัส ใหม่ ๆ ทเ่ี ราได้รบั ตอนอยใู่ นทะเล” “เหน็ ภาพตวั เองลอยอยใู่ นทางชา้ งเผอื ก วนไปมาและมสี งิ่ รอบตวั มากมาย เหมือนว่าเราอยใู่ กลข้ อบของคนอนื่ แตเ่ รากอ็ ยูใ่ นทางของตัวเองดว้ ย โดยไมร่ ู้ วา่ จะถูกพัดไปฝ่ังนนั้ หรือฝง่ั นี”้ “ไม่ว่าจะเป็นขอบทะเล ขอบท้องฟ้า จะชอบมองไปสุดทางว่ามีขอบอยู่ ตรงนน้ั แตก่ ็รวู้ ่าพอไปถงึ ตรงนัน้ ขอบจะขยายขึ้น” “ผมนึกถึงตอนท่ีกวนฝ่าเท้าแม่ แม่จะห้ามไม่ให้ผมท�ำ แต่ผมจะพยายาม ท�ำตอ่ เป็นบรรยากาศท่ผี มทา้ ทายแม่ เปน็ ขอบทผ่ี มรู้สึกสนุก ตื่นเต้น และได้ เรียนรอู้ ะไรใหม”่ “นกึ ถงึ ภาพขอบพซิ ซา่ ทเ่ี ปน็ ชสี หนานมุ่ ปกตเิ ปน็ คนชอบกนิ ขอบของพซิ ซา่ และในชีวิตจริง เราก็ชอบเดินอยู่บนขอบ คนอ่นื อาจมองเป็นเสน้ ทาง แต่เรา มองว่ามนั เป็นการเตน้ รำ� ทตี่ ้องอาศยั การถา่ ยน้ำ� หนัก หาความสมดุล อาจจะ สูญเสียสมดุลบ้าง แต่ก็ได้สนุกกับการเลือกว่าจะไปซ้ายหรือขวา และเรายัง สามารถท�ำให้การเตน้ น้สี วยงามไดอ้ กี ด้วย” หลงั จากน้ัน วิกรัมเปิดเพลง One Moment in Time ให้ผ้เู ข้าอบรมฟงั วิกรัมกล่าวว่าความหมายของเพลงนี้เกี่ยวกับการเดินบนขอบ ช่วงเวลาที่คน เรามีประสบการณ์ในการเดินบนขอบจะรู้สึกราวกับว่าเวลาหยุดลง และรู้สึก เป็นอิสระจากอดีต ช่วงเวลาน้ีเป็นช่วงเวลาท่ีคนเราสามารถเปลี่ยนเส้นทาง ชวี ติ หรอื พฤตกิ รรมได้หากตอ้ งการ 43
One Moment Each day I live, I want to be a day in Time to give the best of me I’m only one, but not alone ขับร้องโดย My finest day is yet unknown Whitney Houston I broke my heart, fought every gain To taste the sweet, I face the pain I rise and fall, yet through it all This much remains I want one moment in time When I’m more than I thought I could be When all of my dreams are a heartbeat away And the answers are all up to me Give me one moment in time When I’m racing with destiny Then in that one moment of time I will feel, I will feel eternity I’ve lived to be, the very best I want it all, no time for less I’ve laid the plans, now lay the chance Here in my hands You’re a winner for a lifetime If you seize that one moment in time, make it shine Give me one moment in time When I’m more than I thought I could be When all of my dreams are a heartbeat away And the answers are all up to me Give me one moment in time When I’m racing with destiny Then in that one moment of time I will be…I will be…I will be free
แต่ละวนั ทฉี่ นั มีชวี ติ อยู่ ฉนั ต้องการท�ำทุกส่งิ อย่างดที ีส่ ุด ถึงแมฉ้ ันจะโดดเดีย่ ว แต่ไม่เคยเดียวดาย วนั ทดี่ ที ีส่ ุดของฉัน ยงั ไม่อาจล่วงร้ไู ด้ ฉนั ผ่านความผิดหวงั และการต่อสูเ้ พื่ อใหไ้ ด้ชัยชนะ ฉนั เผชิญความเจ็บปวด เพื่ อล้ิมรสความหอมหวาน ฉันรุง่ โรจนแ์ ละตกตํา่ และแม้จะผ่านส่ิงต่าง ๆ ท้งั หมดนีม้ าได้ กย็ ังเหลอื อกี มากมายให้เผชญิ ฉนั ตอ้ งการเพี ยงช่ัวขณะหนงึ่ ในชวี ิต ทีฉ่ ันเป็นได้มากกว่าทเี่ คยคิด ทคี่ วามฝันท้งั หมดของฉันอยหู่ ่างออกไปเพี ยงแคอ่ ึดใจ และคำ� ตอบท้ังหลายขนึ้ อยกู่ บั ตัวฉัน โปรดมอบช่ัวขณะหนงึ่ ของชวี ิตใหแ้ ก่ฉัน ทฉี่ นั กำ� ลงั แข่งขันกับโชคชะตา แลว้ ช่วั ขณะน้นั ฉนั จะรสู้ กึ ...รสู้ กึ ไดถ้ งึ ความเป็นนริ ันดร์ ฉนั มีชีวติ อยเู่ พื่ อเป็นฉันทยี่ อดเยยี่ มทสี่ ดุ ฉันตอ้ งการท้ังหมด ไมม่ เี วลาส�ำหรบั อะไรทนี่ ้อยกวา่ น้ัน ฉนั ได้วางแผนไวแ้ ล้ว ณ ตอนนจี้ งมอบโอกาส ลงบนมือของฉนั เถิด คุณจะเป็นผู้ชนะไปช่ัวชีวติ ถา้ คุณคว้าชว่ งเวลาขณะน้นั เอาไว้ และทำ� ให้มนั สอ่ งประกาย โปรดมอบช่ัวขณะหนงึ่ ในชีวติ ใหแ้ กฉ่ ัน ทีฉ่ ันเป็นไดม้ ากกวา่ ทเี่ คยคดิ ทีค่ วามฝันท้งั หมดของฉนั อยู่หา่ งออกไปเพี ยงแค่อดึ ใจ และคำ� ตอบท้ังหลายขนึ้ อยกู่ ับตวั ฉัน โปรดมอบช่วั ขณะหนงึ่ ของชวี ติ ทีฉ่ นั ก�ำลังแขง่ ขันกับโชคชะตา แล้วในช่วั ขณะน้นั ฉนั จะเป็น...จะเป็นอิสระอยา่ งแท้จริง
ภาวะการน�ำเพื่อการขา้ มพ้น วิกรัมกล่าวว่า ในการอบรมวันแรก ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้การใช้เคร่ืองมือ ภูเขาน้�ำแข็งเพ่ือค้นหาขอบของตนเอง ซ่ึงจะเห็นได้ว่า การเดินบนขอบของ คนเราจะมีข้ัวตรงข้ามเกิดขึ้นเสมอ ในช่วงเวลาเดียวกัน คนเราสามารถมี ความตอ้ งการที่ตรงขา้ มกนั ได้ เชน่ ต้องการเช่อื มโยงกับคนอ่นื ไปพรอ้ ม ๆ กบั ต้องการอยู่คนเดียวล�ำพัง หรือต้องการสื่อสารกับคนอ่ืนแต่ในขณะเดียวกันก็ อยากปลอดภัยด้วย ดังนัน้ ในทักษะการโอบประคองขั้วตรงขา้ ม ผู้เข้าร่วมจะ ได้เรียนรู้วิธีสร้างสมดุลระหว่างความต้องการและความเช่ือที่อยู่ตรงข้ามกัน ทง้ั สองฝั่งของขอบ ทกั ษะการโอบประคองขว้ั ตรงขา้ มน้ี หากเปรยี บเทยี บแลว้ กไ็ มต่ า่ งจากภาพ จนิ ตนาการทผ่ี เู้ ขา้ อบรมแบง่ ปนั ไวเ้ มอ่ื นกึ ถงึ การเดนิ บนขอบ เชน่ การเดนิ โดย ถือไม้เพอ่ื สร้างความสมดลุ บางคร้งั ต้องพยายามทรงตวั บนขอบ บางครง้ั ต้อง หลับตาหรือลืมตาเดิน หรือการลอยอยู่ในจักรวาลแล้วไม่สามารถเลือกได้ว่า จะไปทางซ้ายหรือขวาเพราะทั้งสองฝั่งล้วนจริงแท้เช่นเดียวกัน หรือแม้แต่ ภาพคนเดินป่า ท่ีต้องการไปอีกฝั่งหน่ึงของภูเขาแต่ระหว่างทางมีเหวอยู่สอง ข้างทาง ท้งั นี้ ขั้วตรงข้ามท้งั ซา้ ยและขวาลว้ นมพี ลงั ชีวิตไม่ต่างกนั แตค่ นเรา ตอ้ งเดินผ่านขัว้ ท้ังสองฝง่ั ไป วกิ รมั อธบิ ายเพมิ่ เตมิ เกย่ี วกบั ความแตกตา่ งระหวา่ งคณุ คา่ และความเชอื่ เพื่อให้ผู้เข้าอบรมท�ำความเข้าใจทักษะการโอบประคองขั้วตรงข้ามได้ดีขึ้น เขากลา่ ววา่ “คณุ คา่ กบั ความเชอ่ื ตา่ งกนั ตรงทคี่ ณุ คา่ คอื สง่ิ ทเ่ี ราใหค้ วามสำ� คญั และเป็นส่ิงที่ช่วยก�ำหนดทิศทางในชีวิตของเรา เพราะคุณค่าเป็นส่ิงท่ีคนเรา ใชต้ ดั สนิ สงิ่ ทเี่ ขา้ มาในชวี ติ วา่ ผดิ หรอื ถกู สว่ นความเชอื่ นน้ั มาจากประสบการณ์ ท่ีสะสมในชีวิตจริง ยกตัวอย่างเช่น ความซื่อตรงหรือความไว้วางใจอาจ เป็นคุณค่าท่ีทุกคนในการอบรมคร้ังน้ียึดถือหรือมีเหมือนกัน แต่ความเชื่อ เกย่ี วกบั เรอื่ งนตี้ า่ งกนั ออกไปขน้ึ อยกู่ บั ประสบการณข์ องแตล่ ะคน บางคนอาจ เชอ่ื วา่ คนเราสามารถไวว้ างใจทกุ คนไดเ้ สมอ ในขณะทบี่ างคนอาจเชอื่ วา่ การจะ ไวว้ างใจคนคนหนง่ึ ไดก้ ต็ อ่ เมอ่ื มขี อ้ พสิ จู นแ์ ลว้ จากตวั อยา่ งจะเหน็ ไดว้ า่ ถงึ แม้ คนเราจะมรี ะบบคณุ คา่ ทเ่ี หมอื นกนั แตป่ จั เจกบคุ คลอาจมคี วามเชอ่ื ทแ่ี ตกตา่ ง 46
Leadership for Transcendence กนั ได้ ยามทค่ี นเรามคี วามขดั แยง้ กนั สว่ นใหญม่ กั ไมไ่ ดม้ สี าเหตจุ ากการยดึ ถอื คุณค่าท่ีต่างกัน แต่เป็นเพราะเรามีความเชื่อท่ีต่างกัน” เม่ือ 5 ปีก่อนวิกรัมได้มีโอกาสท�ำงานที่ประเทศจีน ในช่วงเวลาพัก กลางวันมักมีคนมาถามเขาว่าคุณจะแข็งแรงได้อย่างไรถ้าไม่กินอาหารที่มี เน้ือสัตว์ เพราะชาวจีนมักมีความเชื่อว่าการที่คนเราจะมีร่างกายที่แข็งแรง ไดน้ นั้ เราจะขาดอาหารจำ� พวกเนอื้ สตั วไ์ ปไมไ่ ด้ แตใ่ นทางกลบั กนั ชาวอนิ เดยี ท่ีทานมังสวิรัติจะมองว่าอาหารท่ีมีเนื้อสัตว์นั้นไม่ดีและอาจจะขอน่ังแยก โต๊ะกับคนที่ทานเนื้อสัตว์ จากเรื่องราวน้ี จะเห็นไดว้ ่าทั้งคนอนิ เดยี และคนจีน ต่างก็ให้คุณค่ากับการมีสุขภาพแข็งแรง แต่ความเชื่อเก่ียวกับการมีสุขภาพ ทแ่ี ข็งแรงนนั้ แตกต่างกนั วกิ รมั กลา่ วว่า ในการเดินบนขอบ เม่ือคนเราต้องการละท้งิ ประสบการณ์ เดิมเพื่อไปสัมผัสประสบการณ์ใหม่ ๆ ในชีวิต เรามักจะพบกับส่ิงท่ีมาหยุด เราไมใ่ หไ้ ปตอ่ สง่ิ ทมี่ าหยดุ เรานี้คอื “ความเชื่อ” มใิ ช่ “คุณคา่ ” เพราะคณุ คา่ น้ันเปน็ สิง่ ท่ีดแี ละใหพ้ ลัง ยกตวั เชน่ คนคนหนึง่ ตอ้ งการลาออกมาสามปแี ล้ว แต่สิ่งท่ีหยุดเขาคือความเช่ือท่ีว่า การยังท�ำงานอยู่ท่ีเดิมถือเป็นการได้อยู่เพ่ือ ชว่ ยเหลอื คนอนื่ และการลาออกอาจหมายถงึ การเอาตวั รอด ดงั นนั้ การเดนิ บน ขอบจงึ ตอ้ งอาศยั ความกลา้ หาญในการเผชญิ กบั ความเชอ่ื ของตนเองทอี่ าจจะ ไมม่ ปี ระโยชนห์ รอื ไมเ่ ปน็ จรงิ อกี ตอ่ ไป ถา้ ไมเ่ ชน่ นน้ั แลว้ ตอ่ ใหผ้ คู้ นหรอื สงิ่ ตา่ ง ๆ จะสง่ สญั ญาณบอกใหเ้ ราเคลอ่ื นออกจากพนื้ ทเ่ี ดมิ ๆ และมายนื เดนิ บนขอบได้ แล้ว แตข่ า้ งในตวั เราจะยังมีความเชอ่ื ท่ีคอยบอกวา่ อยา่ ท�ำอยู่ดี คนเรามีความเชื่อท้ังที่มีเหตุผลและไม่มีเหตุผล ความเชื่อที่ไม่มีเหตุผล มักเป็นความคิดที่นิยมความสมบูรณ์แบบ โดยมีค�ำว่า “เสมอ” “ไม่เคย” “ฉนั /พวกเขาเทา่ นน้ั ” “ทกุ ๆ ท”ี่ “ไมส่ กั ท”ี่ อยใู่ นประโยคของความเชอื่ เหลา่ นน้ั ยกตัวอย่างเช่น ถา้ เราเชือ่ วา่ เจอแขกกับงู ให้ตีแขกกอ่ น เป็นความเช่อื ท่ี ไมส่ มเหตสุ มผลและไม่ตรงกับความเป็นจรงิ ถือเปน็ ความคิดเชิงเหมารวม แต่ ถ้าหากเราเช่ือว่า คนอินเดียบางคนเจ้าเล่ห์ บางคนซ่ือตรง จะเป็นความเช่ือ ทีม่ เี หตุผลและตรงกับความเปน็ จริงมากกวา่ เพราะมคี นทัง้ สองแบบอยู่จริง 47
ภาวะการน�ำเพื่อการข้ามพ้น หากเราต้องการเดินบนขอบ สิ่งส�ำคัญคือเราต้องพร้อมในการท้าทาย ความเชื่อเดมิ ของตนเองทคี่ อยหยุดเราไม่ให้เดินตอ่ ไปขา้ งหนา้ วิกรัมกล่าววา่ คนเราเปลย่ี นเสอ้ื ผา้ อาบนำ้� แปรงฟนั ทกุ วนั แตม่ กั ไมค่ อ่ ยชำ� ระลา้ งสมองของ ตนเอง เรามกั เกบ็ ความเชอื่ เดมิ ๆ เอาไวใ้ นหวั แมว้ า่ ความเชอื่ เดมิ ของเราจะไม่ เปน็ จรงิ อีกตอ่ ไปแล้วกต็ าม ท้งั นี้ คนเรามที างเลอื กทจ่ี ะน�ำความเชื่อเดมิ ท่ไี มม่ ี ประโยชนอ์ อกไป แลว้ เลอื กความเชอ่ื ใหมท่ มี่ ปี ระโยชนห์ รอื เปน็ จรงิ เขา้ มาแทน จากนั้น วิกรัมอธิบายเก่ียวกับภูเขาน้�ำแข็งในช้ันของความต้องการว่า ถา้ หากคนเรายงั มชี วี ิตอยู่ เราจะยังมีความตอ้ งการอยเู่ สมอ ท้งั ความต้องการ ที่ได้รับการตอบสนองและไม่ได้รับการตอบสนอง และในการเดินบนขอบ เราควรตรวจสอบความเชอ่ื และความตอ้ งการของเราเสยี กอ่ น เมอ่ื เราตดั สนิ ใจ เลือกเดินบนขอบแล้ว ขั้วตรงข้ามจะเกิดขึ้น ซ่ึงมีทั้งข้ัวตรงข้ามระหว่าง ความเชื่อชุดเก่ากับความเชื่อชุดใหม่ และอีกข้ัวตรงข้ามหนึ่งคือกลุ่ม ความต้องการที่ได้รับการตอบสนองและไม่ได้รับการตอบสนอง วิกรัมยกตัวอย่างโดยใช้กรณีของตนเองว่า “ถ้าหากคุณเป็นคนที่เดินบน ขอบตลอดเวลาเหมือนผม คุณอาจจะมีความต้องการหน่ึงที่มักละเลยน่ันคือ ความตอ้ งการการพกั ผอ่ นหรอื ใหเ้ วลากบั ตวั เอง ในขณะทคี่ วามตอ้ งการชว่ ยเหลอื ผอู้ น่ื กผ็ ดุ ขนึ้ อกี ฝง่ั หนง่ึ เกดิ เปน็ ขวั้ ความตอ้ งการทอี่ ยตู่ รงขา้ มกนั จะเหน็ ไดว้ า่ สิ่งตา่ ง ๆ เหลา่ น้ีเป็นความสมั พนั ธ์ระหว่างขัว้ ตรงขา้ มของความต้องการหรือ ความเช่ือที่เราจะตอ้ งโอบประคองท้งั สองดา้ นใหเ้ กดิ ความสมดุล” กจิ กรรมการโอบประคองข้วั ตรงขา้ ม หลังจากอธิบายเก่ียวกับทักษะการโอบประคองข้ัวตรงข้าม วิกรัมให้ ผู้เข้าร่วมท�ำกิจกรรมการโอบประคองขั้วตรงข้าม เพ่ือส�ำรวจความเชื่อและ ความต้องการท้ังสองฝั่งของตนเอง และฝึกให้คุณค่ากับขั้วตรงข้ามทั้งสองฝั่ง อย่างเท่ากัน โดยวิกรัมให้ผู้เข้าอบรมวาดภาพขอบของตนเอง หลังจากน้ัน ระบุความเช่ือและความต้องการท่ีอยู่ในฝั่งตรงข้ามกัน ในส่วนของความเช่ือ 48
Leadership for Transcendence ใหใ้ ชก้ ารเขยี นเปน็ ตวั อกั ษร และในสว่ นของความตอ้ งการอาจทำ� โดยการวาด หรอื เขยี นก็ได้ ภาพตัวอย่างด้านบนเป็นภาพขอบของวิกรัมในเร่ืองการใช้ชีวิตให้ช้าลง ความเช่ือท่ีสนับสนุนขอบน้ีของวิกรัมคือ “การใช้ชีวิตช้าลงจะท�ำให้มีเวลา กับคนท่ีเรารักมากขึ้น” และความเช่ือท่ีเป็นขั้วตรงข้ามคือ “เราจะพลาด โอกาสท่ียิ่งใหญ่ในชีวิตถ้าใช้ชีวิตช้าลง” ในระดับล่างของภาพ แสดงให้เห็น ความต้องการในเบ้ืองลึกของวิกรัมความต้องการท่ีได้รับการตอบสนอง 49
ภาวะการนำ� เพื่อการข้ามพ้น ผ้เู ขา้ ร่วมล้อมวงทำ� กิจกรรมเพื่ อฝกึ โอบอ้มุ ความเชือ่ และความ ตอ้ งการ ผา่ นคำ� วา่ วา่ “ใช่ กับคำ� วา่ “และ” 50
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124
- 125
- 126
- 127
- 128
- 129
- 130
- 131
- 132
- 133
- 134
- 135
- 136
- 137
- 138
- 139
- 140
- 141
- 142
- 143
- 144
- 145
- 146
- 147
- 148
- 149
- 150
- 151
- 152
- 153
- 154
- 155
- 156
- 157
- 158
- 159
- 160
- 161
- 162
- 163
- 164
- 165
- 166
- 167
- 168
- 169
- 170
- 171
- 172
- 173
- 174
- 175
- 176
- 177
- 178
- 179
- 180
- 181
- 182
- 183
- 184
- 185
- 186
- 187
- 188
- 189
- 190
- 191
- 192
- 193
- 194
- 195
- 196
- 197
- 198
- 199
- 200
- 201
- 202
- 203
- 204
- 205
- 206
- 207
- 208