Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore โครงการเสริมสร้างภาพลักษณ์องค์กรโดยการใช้สื่อใหม่ (New Media)

โครงการเสริมสร้างภาพลักษณ์องค์กรโดยการใช้สื่อใหม่ (New Media)

Description: โครงการเสริมสร้างภาพลักษณ์องค์กรโดยการใช้สื่อใหม่ (New Media)

Search

Read the Text Version

โครงการเสรมิ สรา้ งภาพลกั ษณ์องคก์ รโดยการใช้สอื่ ใหม่ (New Media) คณะทำงานด้านจัดการความรู้ สำนกั ประชาสัมพนั ธ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 สำนักงานเลขาธกิ ารสภาผู้แทนราษฎร

สารบญั ▪ โครงการเสริมสร้างภาพลักษณ์องคก์ รโดยการใชส้ ่ือใหม่ (New Media) 1 ▪ กำหนดการ 3 ▪ พิธีเปิด 5 นางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ประธานในพิธีเปิดฯ นางจงเดือน สุทธริ ตั น์ ที่ปรึกษาด้านระบบงานนิติบญั ญัติ กล่าวรายงาน ▪ แนะนำแผนการดำเนนิ งาน 7 นางสาวนภาจรี จวิ ะนนั ทประวตั ิ ผูอ้ ำนวยการโครงการมูลนธิ ิคอนราด อาเดนาวร์ ▪ สรุปผลองค์ความรกู้ ารเสวนา เรือ่ ง “การเสริมสร้างภาพลักษณ์องคก์ ร 8 โดยการใช้สื่อสมยั ใหม่” นายกรวีร์ ปริศนานนั ทกุล สมาชกิ สภาผ้แู ทนราษฎร พรรคภูมิใจไทย นายวาโย อัศวรุ่งเรอื ง สมาชิกสภาผแู้ ทนราษฎร พรรคก้าวไกล นายธีร์วัฒน์ ชรู ตั น์ ผปู้ ระกาศข่าว ThaiPBS (ผดู้ ำเนินรายการ) ▪ สรปุ ผลองคค์ วามรกู้ ารบรรยาย เรอ่ื ง “สื่อใหมก่ ับการประชาสัมพันธ์งานฝา่ ยนิติบัญญัติ” 12 ผู้ชว่ ยศาสตราจารย์ณฐั า ฉางชูโต รองคณบดีคณะนเิ ทศศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั กรงุ เทพ ▪ สรุปผลการสมั ภาษณก์ ลุ่มเป้าหมายทเ่ี ขา้ รว่ ม 14 ▪ ประเมินผลความพึงพอใจ 19 ภาคผนวก - เอกสารประกอบการเสวนา ของนายวาโย อัศวรุ่งเรือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล - เอกสารประกอบการบรรยาย ของผู้ช่วยศาสตราจารยณ์ ัฐา ฉางชโู ต รองคณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั กรุงเทพ - แบบประเมนิ ผลความพึงพอใจ - แบบสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม

๑ โครงการเสรมิ สรา้ งภาพลกั ษณอ์ งค์กรโดยการใชส้ อื่ ใหม่ (New Media) ของสำนกั งานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ----------------------------------- 1. หลกั การและเหตผุ ล สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เป็นหน่วยงานสำคัญที่ทำหน้าที่ในการสนับสนุน ภารกิจขององค์กรฝ่ายนิติบัญญัติ จึงต้องมีความพร้อมในการส่งเสริมและสนับสนุนและรองรับภารกิจงาน ด้านเลขานุการในการประชุมด้านวิซาการ ด้านต่างประเทศ ด้านประชาสัมพันธ์และเผยแพร่องค์ความรู้ และ ด้านบริหารจัดการทั่วไป ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นภารกิจหลักที่ต้องมีบุคลากร เป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อน การปฏิบัติหน้าที่ให้เกิดผลฤทธิ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล อันก่อประโยชน์ต่อบทบาทหน้าที่ของ ฝ่ายนิติบัญญัติ และสามารถสนองตอบต่อความต้องการของผู้รับบริการหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้อย่างเป็นท่ี พึงพอใจ รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพสูงสุด ดังนั้น การเพิ่มศักยภาพบุคลากรในการปฏิบัติงานโดยการพัฒนา บคุ ลากร เปน็ ปจั จยั สำคัญท่ตี อ้ งพฒั นาทัง้ ความรู้ ทักษะ และสมรรถนะในด้านต่าง ๆ ที่จำเปน็ ในการปฏิบัติงาน ให้บคุ ลากรสามารถปฏบิ ตั งิ านอย่างมอื อาชพี และกอ่ ใหเ้ กดิ ประโยชน์สงู สดุ ต่อองคก์ ร สำนักประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จึงได้ตระหนักถึงความสำคัญ ดังกล่าว จึงเห็นควรจัดโครงการเสริมสร้างภาพลักษณ์องค์กรโดยการใช้สื่อใหม่ (New Media) เพื่อสนับสนุน การทำงานด้านนิติบัญญัติของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพ ของบุคลากรในการรองรับการทำงานดา้ นนิติบัญญตั ิของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรได้อย่างถูกตอ้ ง ครบถ้วน รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ ตลอดจนให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้าง ภาพลักษณ์องค์กรโดยการใชส้ อ่ื สมัยใหม่ เพ่ือเผยแพร่ภารกจิ ขององคก์ รฝา่ ยนิตบิ ัญญัติ ๒. วตั ถุประสงค์ ๒.๑ เพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในการรองรับการทำงานด้านนิติบัญญัติของสำนักงาน เลขาธิการสภาผูแ้ ทนราษฎร ได้อยา่ งถกู ตอ้ ง ครบถ้วน รวดเรว็ และมปี ระสทิ ธิภาพ ๒.๒ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเสริมสร้างภาพลักษณ์องค์กร โดยการใชส้ ื่อใหม่ (New Media) ๒.๓ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายนำความรู้การใช้สื่อใหม่ (New Media) ไปประยุกต์ใช้สนับสนุน การทำงานของฝา่ ยนติ ิบญั ญตั ิ ๓. เป้าหมาย จดั กิจกรรมสัมมนาเชิงปฏิบัตกิ าร (Workshop) จำนวน ๑ คร้ัง ๔. กลุ่มเปา้ หมาย ผบู้ ริหาร ข้าราชการ พนักงานราชการ จากสำนกั ประชาสัมพันธ์ สถานีวิทยุกระจายเสียงและ วิทยุโทรทัศน์รัฐสภา สำนักสารสนเทศ สำนักวิชาการ สำนักกฎหมาย สำนักการพิมพ์ สำนักพัฒนาบุคลากร สำนักกรรมาธิการ ๑ และสำนักกรรมาธิการ ๒ ของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร รวมจำนวน ๑๒๐ คน โครงการเสริมสรา้ งภาพลักษณอ์ งคก์ รโดยการใช้ส่อื ใหม่ (New Media)

๒ ๕. วิธดี ำเนินงานและกจิ กรรม ๕.๑ การบรรยาย เรอื่ ง \"สอ่ื ใหม่กับการประชาสัมพันธ์งานฝ่ายนิติบญั ญัติ” ๕.๒ การเสวนา เรอ่ื ง “การเสริมสรา้ งภาพลกั ษณ์องค์กรโดยการใช้ส่อื ใหม่ (New Media)” ๖. ระยะเวลาดำเนินการ การสมั มนาเชงิ ปฏบิ ตั กิ าร จำนวน ๑ วนั ในวันจนั ทร์ที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๔ ๗. สถานทจ่ี ัดกจิ กรรม โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ และบางกอก คอนเวนชัน เซ็นเตอร์ แอท เซ็นทรลั เวิลด์ กรงุ เทพฯ ๘. งบประมาณ เงนิ สนับสนนุ จากมูลนธิ ิคอนราด อาเดนาวร์ ๙. ผรู้ ับผิดชอบโครงการ คณะทำงานจัดการความรขู้ องสำนักประชาสมั พนั ธ์ สำนกั งานเลขาธิการสภาผ้แู ทนราษฎร ๑๐. ประโยชนท์ ่คี าดว่าจะไดร้ บั ๑๐.๑ บุคลากรของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรมีการพัฒนาศักยภาพรองรับการ ทำงานด้านนิตบิ ัญญัติไดอ้ ย่างถูกต้อง ครบถว้ น รวดเร็ว และมปี ระสิทธิภาพ ๑๐.๒ กลมุ่ เปา้ หมายมีความรูค้ วามเข้าใจเกยี่ วกับการเสริมสร้างภาพลักษณ์องค์กรโดยการใช้ ส่ือใหม่ (New Media) ๑๐.๓ กลมุ่ เป้าหมายสามารถนำความรู้การใช้สื่อใหม่ (New Media) ไปประยุกต์ใช้สนับสนุน การทำงานของฝ่ายนติ ิบัญญตั ิไดอ้ ย่างมปี ระสิทธภิ าพ ๑๑. ตวั ขวี้ ดั โครงการ เชิงปริมาณ - กลุม่ เป้าหมายเข้าร่วมกจิ กรรมฯ ไม่นอ้ ยกว่าร้อยละ ๘๐ เชิงคณุ ภาพ - กลุม่ เปา้ หมายมคี วามพงึ พอใจต่อการดำเนินงานกิจกรรมฯ ไมน่ อ้ ยกว่ารอ้ ยละ ๘๐ ๑๒. การติดตามและประเมนิ ผล แบบประเมินความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมาย และการตดิ ตามผลจากการฝึกอบรม โครงการเสริมสรา้ งภาพลักษณ์องค์กรโดยการใช้สื่อใหม่ (New Media)

๓ กำหนดการ โครงการเสริมสรา้ งภาพลกั ษณอ์ งค์กรโดยการใช้สอื่ ใหม่ (New Media) ของสำนกั งานเลขาธกิ ารสภาผแู้ ทนราษฎร วนั จันทรท์ ่ี ๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๔ ณ หอ้ ง World Ballroom B – C ชนั้ 23 โรงแรมเซน็ ทารา แกรนด์ และบางกอก คอนเวนชัน เซ็นเตอร์ แอท เซน็ ทรลั เวิลด์ (Centara Grand & Bangkok Convention Centre at CentralWorld) จัดโดย สำนกั งานเลขาธกิ ารสภาผูแ้ ทนราษฎร ร่วมกับ มลู นิธคิ อนราด อาเดนาวร์ ประเทศไทย (Konrad Adenauer Stifftung) ----------------------------------------------------------------------- วันจนั ทร์ท่ี ๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๔ เวลา กจิ กรรม เวลา ๐๗.๓๐ – ๐๘.๓๐ นาฬิกา - ลงทะเบยี น เวลา ๐๘.๓๐ – ๐๙.๐๐ นาฬกิ า - พิธเี ปดิ การสัมมนา เวลา ๐๙.๐๐ – ๐๙.๓๐ นาฬิกา โดย นางพรพศิ เพชรเจรญิ เวลา ๑๐.๐๐ – ๑๒.๐๐ นาฬิกา เลขาธิการสภาผ้แู ทนราษฎร ผา่ นสือ่ อเิ ล็กทรอนกิ ส์ (โปรแกรม Zoom) เวลา ๑๒.๐๐ – ๑๓.๐๐ นาฬิกา กลา่ วรายงาน โดย นางจงเดอื น สทุ ธริ ตั น์ ท่ปี รึกษาด้านระบบงานนิตบิ ญั ญตั ิ - แนะนำแผนการดำเนนิ งาน โดย นางสาวนภาจรี จวิ ะนันทประวัติ ผู้อำนวยการโครงการมลู นิคอนราด อาเดนาวร์ - การเสวนา เร่ือง “การเสรมิ สรา้ งภาพลกั ษณอ์ งค์กรโดยการใช้ สอื่ ใหม่ (New Media)” โดย - นายกรวีร์ ปรศิ นานันทกลุ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชอ่ื พรรคภูมใิ จไทย - นายวาโย อัศวรงุ่ เรือง สมาชิกสภาผแู้ ทนราษฎร แบบบญั ชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล - นายธรี ์วัฒน์ ชูรัตน์ ผ้ปู ระกาศขา่ วศนู ยส์ ่ือสารวาระทางสังคม และนโยบายสาธารณะ ThaiPBS (ผู้ดำเนนิ รายการ) - พักรบั ประทานอาหารกลางวนั เวลา ๑๓.๐๐ – ๑๕.๐๐ นาฬิกา - การบรรยาย เร่อื ง “สอ่ื ใหมก่ บั การประชาสมั พนั ธง์ านฝา่ ยนิตบิ ญั ญตั ”ิ โดย ผ้ชู ว่ ยศาสตราจารย์ณฐั า ฉางชโู ต รองคณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรงุ เทพ และหวั หนา้ หลักสตู รการผลติ อีเวนท์และการจดั การนทิ รรศการและการประชมุ โครงการเสริมสรา้ งภาพลักษณ์องคก์ รโดยการใชส้ ื่อใหม่ (New Media)

๔ ภาพกิจกรรม โครงการเสรมิ สร้างภาพลักษณ์องคก์ รโดยการใชส้ ่ือใหม่ (New Media)

๕ พิธีเปดิ นางจงเดือน สุทธิรัตน์ ที่ปรึกษาด้านระบบงานนิติบัญญัติ เป็นผู้กล่าวรายงานในพิธีเปิด กิจกรรมฯ โดยได้กล่าวขอบคุณเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ผ่านระบบ ZOOM ที่กรุณาให้เกียรติเป็นประธาน ในพิธเี ปิดกิจกรรมเสรมิ สรา้ งภาพลักษณ์องค์กรโดยการใช้สือ่ ใหม่ (New Media) และกลา่ ววา่ ปัจจุบันววิ ฒั นาการ ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ทั้งระบบเครือข่าย สังคมออนไลน์ และสื่อใหม่ (New Media) ที่อยู่ในรูปแบบดิจิทัลจนก่อให้เกิด Digital Platform ขึ้นมากมาย ซ่ึงเข้ามาแทนท่ีส่ือกระแสหลกั ประเภทส่ือวทิ ยุ โทรทัศน์ และสือ่ สง่ิ พิมพ์ โดยสอื่ ใหมเ่ ปน็ เครอื่ งมือสื่อสารที่ได้รับ ความนยิ มและมีอทิ ธิพลต่อความคิดของประชาชน โดยเฉพาะการใช้ส่ือใหมเ่ ปน็ เคร่ืองมือในการแสดงออกความ คดิ เห็นเกย่ี วกบั การเมอื งการปกครอง จากความสำคัญดังกล่าว สำนักประชาสัมพันธ์ ในฐานะหน่วยสนับสนุนการทำงานของ ฝ่ายนิตบิ ัญญตั ิ จึงไดจ้ ัดสมั มนา “กจิ กรรมเสริมสรา้ งภาพลักษณ์องค์กรโดยการใชส้ ื่อใหม่ (New Media)” โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบุคลากรของสำนักงานฯ ให้มีความรู้ ทักษะ และสมรรถนะเกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัล และสื่อใหม่ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในทางสร้างสรรค์ ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร ในการเผยแพร่ องค์ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ประชาชน เพื่อให้ประชาชนมีทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับการเมืองการปกครอง ระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา การเสริมสร้างภาพลักษณ์ให้องค์กรจากการทำหน้าที่สนับสนุน การทำงานของฝ่ายนิติบัญญัติใหม้ ีประสทิ ธิภาพมากขึ้น ทั้งในด้านกระบวนการตรากฎหมาย ด้านต่างประเทศ และด้านการส่งเสริมการมสี ่วนร่วมของประชาชน เป็นตน้ ซึ่งการจัดกิจกรรมฯ ในวันน้ี มีกลุ่มเป้าหมายเป็นบุคลากรของสำนักงานเลขาธิการ สภาผู้แทนราษฎรจาก ๙ สำนัก ประกอบด้วย สำนักประชาสัมพันธ์ สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุ โทรทัศน์รัฐสภา สำนักสารสนเทศ สำนักกรรมาธิการ ๑ สำนักกรรมาธิการ ๒ สำนักวิชาการ สำนักกฎหมาย สำนักการพิมพ์ และสำนักพัฒนาบุคลากร รวมจำนวนทั้งสิ้น ๑๒๐ คน โดยรูปแบบ กิจกรรมประกอบด้วย การเสวนาและการบรรยายให้ความรู้ ซึ่งช่วงเช้าเป็นการเสวนา เรื่อง “การเสริมสร้าง ภาพลักษณ์องค์กรโดยการใชส้ ื่อใหม่ (New Media)” โดยได้รับเกียรติจากสมาชกิ สภาผู้แทนราษฎร นายกรวีร์ ปริศนานันทกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคภูมิใจไทย นายวาโย อัศวรุ่งเรือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล และนายธีร์วัฒน์ ชูรัตน์ ผู้ประกาศข่าวศูนย์สื่อสารวาระทางสังคมและนโยบายสาธารณะ ThaiPBS เป็นผูด้ ำเนนิ การเสวนา โครงการเสริมสรา้ งภาพลักษณ์องค์กรโดยการใชส้ อ่ื ใหม่ (New Media)

๖ ในช่วงบ่าย เป็นการบรรยาย เรื่อง “สื่อใหม่กับการประชาสัมพันธ์งานฝ่ายนิติบัญญัติ” โดย ผชู้ ่วยศาสตราจารยณ์ ัฐา ฉางชโู ต รองคณบดคี ณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลยั กรงุ เทพ จากนั้นได้เรียนเชิญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้กรุณากล่าวเปิดกิจกรรมเสริมสร้างภาพลักษณ์องค์กรโดยการใช้สื่อใหม่ (New Media) ผา่ นสื่ออเิ ล็กทรอนิกส์ (โปรแกรม Zoom) จากสำนกั งานเลขาธกิ ารสภาผู้แทนราษฎร นางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิด กิจกรรมฯ โดยได้กล่าวว่า รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มาเป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมเสริมสร้างภาพลักษณ์ องค์กรโดยการใช้สื่อใหม่ (New Media) ซึ่งจากคำกล่าวรายงานของที่ปรึกษาด้านระบบงานนิติบัญญัติ ทำให้ทราบวา่ เครื่องมือในการส่ือสารเพื่อสร้างความเข้าใจในยุคปัจจบุ ัน โดยเฉพาะสื่อใหม่ หรอื New Media มีบทบาทสำคัญในการเป็นตัวกลางในการสื่อสารข้อมูล ข่าวสาร องค์ความรู้เกี่ยวกับการเมืองการปกครอง ระบอบประชาธิปไตย กระบวนการทางด้านนิติบัญญัติ กิจกรรมของรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎรและ การดำเนินงานของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรในด้านต่าง ๆ ไปสู่ประชาชน ตลอดจนเป็นช่องทาง ในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างสมาชิกรัฐสภากับประชาชน การเสริมสร้างทัศนคติที่ดีของประชาชน ต่อฝา่ ยนติ ิบัญญัติ จากรูปแบบการจัดกิจกรรมดังกล่าว หวังว่าบุคลากรของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ทั้ง ๙ สำนัก จะได้รับการพัฒนาความรู้ ทักษะ สมรรถนะในการนำเนื้อหาที่เกี่ยวกับกระบวนการนิติบัญญัติ ไปสู่รูปแบบสื่อใหม่ที่เข้าใจง่าย เหมาะสมกับประชาชนกลุ่มต่าง ๆ และสื่อนั้นสามารถเป็นกระบอกเสียงของ ประชาชน (Public Voice) เพื่อสะท้อนประเด็นปัญหาของประชาชนเข้าสู่กระบวนการนิติบัญญัติ สามารถ ยกระดับการตอบสนองความพึงพอใจของสมาชิกรัฐสภาและประชาชน ตลอดจนทำให้ประชาชนตระหนักถึง สิทธิ หน้าที่ของตนในฐานะพลเมืองตามระบอบประชาธิปไตย และกระตุ้นให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ทางการเมือง เกดิ ความรว่ มมอื ระหว่างฝา่ ยนติ บิ ญั ญตั ิและภาคประชาชนอย่างย่งั ยืน จากนั้นเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร กล่าวขอบคุณมูลนิธิคอนราด อาเดนาวร์ ประจำประเทศไทย ที่เป็นภาคีเครือข่ายให้การสนับสนุนการจัดกิจกรรมของสำนักงานฯ มาอย่างต่อเนื่อง และอำนวยพรให้การจัด กิจกรรมประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ทุกประการ และเปิดกิจกรรมเสริมสร้างภาพลักษณ์องค์กร โดยการใช้ส่ือใหม่ (New Media) โครงการเสรมิ สรา้ งภาพลักษณ์องคก์ รโดยการใช้ส่ือใหม่ (New Media)

๗ แนะนำแผนการดำเนนิ งาน โดย นางสาวนภาจรี จิวะนันทประวตั ิ ผอู้ ำนวยการโครงการมลู นคิ อนราด อาเดนาวร์ ในนามของมูลนิธิคอนราด อาเดนาวร์ และ ดร. เซลีน อแก็ธ คาโร ผู้แทนมูลนิธิคอนราด อาเดนาวร์ ประจำประเทศไทย ยินดีที่ได้มากล่าวต้อนรับในกิจกรรมเสริมสร้างภาพลักษณ์องค์กรโดยการใช้ สื่อใหม่ (New Media) เนื่องจากกิจกรรมดังกล่าวจะสามารถนำมาใช้ในการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูล ข่าวสารของรัฐสภาให้กับประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งนี้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เป็นหน่วยงานที่มีความสำคัญยิ่ง ที่จะช่วยในการทำงานของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นตัวแทนของ ประชาชน ในการทำหนา้ ทฝ่ี า่ ยนิตบิ ัญญัติ การตรวจสอบการทำงานของรฐั บาล รวมท้ังการรบั เรอื่ งราวร้องทุกข์ ของประชาชน และเผยแพร่ประชาธิปไตยให้กับประชาชน ซึ่งการสัมมนาครั้งน้ีเป็นนิมิตรหมายที่ดีในการ ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้เรื่องประชาธิปไตย และรัฐธรรมนูญ เนื่องจากที่ผ่านมาเราเจอกับสถานการณ์ การระบาดของโรคติดเชอื้ ไวรสั โคโรนา จงึ ไม่สามารถจัดสมั มนาได้ จากนั้นได้แนะนำการดำเนินงานของมูลนิธิคอนราด อาเดนาวร์ ว่าเป็นองค์กรสาธารณะ ประโยชน์จากสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ได้รับการสนับสนุนจากงบประมาณภาครัฐ และได้ดำเนินงานอยู่ใน ร้อยกว่าประเทศทั่วโลก อาทิ สหรัฐอเมริกา ประเทศแถบอเมริกาใต้ อังกฤษ เบลเยี่ยม ฝรั่งเศส ประเทศแถบ ยุโรปตะวันออก อเมริกา ตะวันออกกลาง จีน ญี่ปุ่น เกาหลี เอเชียใต้ อินเดีย และออสเตรเลีย เป็นต้น โดยมี วัตถุประสงค์ 5 ประการ คือ 1) ส่งเสริมประชาธิปไตย 2) ส่งเสริมหลักนิติธรรม 3) ส่งเสริมภาคประชาสังคม (นักวิชาการ สื่อมวลชน) 4) ส่งเสริมเศรษฐกิจระบบตลาดเพื่อสังคม (Social market economy) แบบไม่ แสวงหากำไร และ 5) ส่งเสริมความมั่นคงและความสมานฉันท์ในภูมภิ าค อนึ่ง มูลนิธิคอนราดฯ จัดตั้งขึ้นโดย พณฯ คอนราด อาเดนาวร์ นายกรัฐมนตรีคนแรกของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และดำรงตำแหน่ง 3 สมัย หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 กล่าวโดยสรุป การทำงานของมูลนิธิคอนราดฯ เชื่อในหลักการ สิทธิ เสรีภาพ ความเท่าเทียม และเปน็ ธรรม ดังนนั้ จงึ หวังเปน็ อย่างยง่ิ ว่าการจัดกิจกรรมในครั้งน้ีจะเปน็ ประโยชน์ และเป็นไป เพ่ือการรบั รู้ข้อมูลขา่ วสารของประชาชนอย่างแทจ้ ริง โครงการเสรมิ สรา้ งภาพลักษณอ์ งคก์ รโดยการใช้ส่อื ใหม่ (New Media)

๘ สรุปองคค์ วามรู้การเสวนา เรื่อง “การเสริมสร้างภาพลักษณ์องค์กรโดยการใชส้ ื่อใหม่ (New Media)” โดย - นายกรวีร์ ปรศิ นานันทกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบญั ชีรายช่ือ พรรคภูมิใจไทย - นายแพทย์วาโย อัศวรุ่งเรอื ง สมาชกิ สภาผูแ้ ทนราษฎร แบบบัญชีรายช่ือ พรรคก้าวไกล - นายธีร์วฒั น์ ชรู ตั น์ ผปู้ ระกาศขา่ วศนู ยส์ ่ือสารวาระทางสังคมและนโยบายสาธารณะ ThaiPBS (ผู้ดำเนนิ รายการ) การเสวนาเรื่อง “การเสริมสร้างภาพลักษณ์โดยการใช้สื่อใหม่ New Media” กิจกรรม เสริมสร้างภาพลักษณ์องค์กรโดยการใช้สื่อใหม่ (New Media) ของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ในวันจันทร์ที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๔ ณ ห้อง World Ballroom B – C ชั้น 23 โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ และ บางกอก คอนเวนชัน เซน็ เตอร์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ สรปุ ได้ ดังน้ี นายธีร์วัฒน์ ชูรัตน์ ผู้ประกาศข่าวศูนย์ สื่อสารวาระทางสังคมและนโยบายสาธารณะ ThaiPBS ซึ่ง เป็นผู้ดำเนินรายการเสวนา ได้ซักถามสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในประเด็นความหมายและความสำคัญของการสร้างภาพลักษณ์ แนวทางการใช้สื่อใหม่ เพื่อสร้างภาพลักษณ์องค์กร และ วิธีการเลือก Content เพื่อนำเสนอข้อมูลให้น่าสนใจ ถูกต้อง ชัดเจน และสามารถส่ือสารใหต้ รงกับกลุ่มเป้าหมาย (Target) โครงการเสริมสรา้ งภาพลักษณอ์ งค์กรโดยการใช้สอ่ื ใหม่ (New Media)

๙ นายกรวีร์ ปริศนานันทกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย กล่าวโดยสรุปว่า ความหมายของ “ภาพลักษณ์” และ “สร้างภาพ” ไม่เหมือนกัน ภาพลักษณ์ คือ การรับรู้ที่ บุคคลมีในเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับองค์กร ส่วนสร้างภาพ คือ การเสแสร้ง ทำให้ดูดี หรืออะไรที่มีความหมาย ประมาณนี้ ซึ่งปัจจุบันสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนิยมใช้ Social Media เป็นช่องทางในการสร้างภาพลักษณ์ ทั้งของพรรคภูมิใจไทย และของรัฐสภา ทั้งนี้สิ่งสำคัญในการสร้างภาพลักษณ์ คือ การใช้ Content ที่สามารถ สื่อสารกับแต่ละกลุ่มเป้าหมาย โดยกลุ่มเป้าหมายที่สื่อสารระหว่างกันมีทั้งชื่นชมและตำหนิ แต่เราจะต้องนำ ข้อมูลเหล่านั้นมาคิดในเชิงบวก รับฟังความเห็นต่าง พร้อมที่จะพัฒนาและปรับปรุงอยู่เสมอ เนื่องจากการ สื่อสารกับคนเห็นต่างเป็นความท้าทายอย่างหนึ่งในการทำงาน และสิ่งสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ “สาร” ที่จะ ส่งไปให้ผู้อน่ื ไดร้ บั รู้อยา่ งเขา้ ใจ และลดความขดั แยง้ ทั้งนี้การสร้างภาพลักษณ์ของสมาชิกฯ ในรัฐสภา เป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งสามารถใช้ช่องทางส่ือ โทรทศั นแ์ ละวิทยุของรฐั สภาส่ือสารกบั ประชาชน ทงั้ นค้ี วรคำนงึ ถึงการรับรู้เป็นสำคัญ เพราะการนำเพียงโพสต์ ที่ได้ในแต่ละวันอาจไม่เพียงพอ จำเป็นต้องใช้ช่องทางอื่น ๆ ในการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ภาพลักษณ์ เช่น facebook หรือ Youtube ทม่ี ี Content ตรงกับความต้องการกลมุ่ เป้าหมาย รวมท้ังเผยแพร่ในชว่ งวนั / เวลาท่ี เหมาะสมดว้ ย เพราะ Content ท่ดี ีจะเร่ิมจากที่ตัวเราวา่ เราวาง Positioning ของตัวเราอย่ตู รงไหน ซึง่ ส่วนตัว จะมุ่งเน้นการสื่อสารข้อมูลกับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะเจาะจง คือ กลุ่มเป้าหมายในพื้นที่จังหวัดอ่างทอง โดยแบ่ง Content เป็น 3 ด้าน คือ 1) ข้อมูลพื้นที่ 2) ข้อมูลความรู้ 3) ข้อมูลทั่วไปที่เป็น lifestyle แล้วทำการสื่อสาร โดยวิธีการเรียนรู้และพัฒนาไปเรื่อย ๆ จนสามารถทำการสื่อสารกับประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น การสร้างภาพลักษณ์ของสมาชิกรัฐสภาจึงเป็นเรื่องของทุกคนในองค์กร ที่จะต้องหาวิธีการใช้สื่อใหม่ให้เข้าถึง กลุ่มเปา้ หมายเกิดความเชอื่ ม่ัน ทันสมยั ตลอดจนสามารถใช้ Content ท่เี หมาะสมและน่าสนใจ นายแพทย์ วาโย อัศวรุ่งเรือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล กล่าวโดยสรุปว่า ปัจจุบันการสร้างภาพลักษณ์มีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะวิธีการนำเสนอภาพลักษณ์ ซึ่งประกอบด้วย การสื่อสาร + สร้างภาพลักษณ์ + เครื่องมือสื่อสาร ซึ่งในอดีตยุคช่วง 90 จะเป็นการสื่อสาร ทางเดียว (One way communication) ต่อมาผ่านช่วงของ Generation clash การสื่อสารได้เปลี่ยนรูปแบบ เป็นการสื่อสารระหว่างกัน ที่ทุกคนเริ่มต้องปรับตัวให้เข้าสู่ยุคดิจิทัลมากขึ้น แต่ทั้งนี้ในทุกสังคมย่อมมีความ คดิ เห็นทีแ่ ตกต่างกนั จำเปน็ ทเ่ี ราตอ้ งเคารพ รับฟัง เพื่อปรบั แก้ใหเ้ กิดความเขา้ ใจระหวา่ งกนั โครงการเสริมสร้างภาพลักษณอ์ งคก์ รโดยการใชส้ ่ือใหม่ (New Media)

๑๐ ทั้งนี้ การทำงานของสมาชิกรัฐสภา หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ยกตัวอย่างเช่น ในการอภิปราย ไมไ่ ว้วางใจนายกรฐั มนตรี หรือรองนายกรัฐมนตรีครั้งท่ีผ่านมา ที่ได้รับจัดสรรเวลาเพียง 1 ชั่วโมง ดังนั้นจึงตอ้ ง ใช้ข้อมูลที่กระชับ รัดกุม ไม่เสียดสี ประชดประชัน เพื่อสื่อสารกับคนที่เห็นด้วย หรือกลุ่มอื่น ๆ ที่ไม่เห็นด้วย ผ่านสื่อใหม่ต่าง ๆ ที่นำเสนออย่างน่าสนใจ น่าเชื่อถือ เนื่องจากปัจจุบันการนำ Social Media มาใช้ในการ สื่อสาร จะช่วยให้เราสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะจากข้อมูลสถิติปัจจุบัน ปี ๒๐๒๑ ประชาชนของประเทศไทยใช้ Social Media มากถึงร้อยละ 69.88 ใช้ Smartphone ร้อยละ 98.9 ดูวิดีโอ ออนไลน์ (Watch online videos) ร้อยละ 99 ใช้เวลาออนไลน์ 8 ชั่วโมง 44 นาที ต่อวัน นิยมใช้ Youtube มากที่สุด ร้อยละ 94.2 รองลงมาคือ Facebook ร้อยละ 93.3 (รายละเอียดตามเอกสารการเสวนาที่แนบ) ดังนั้นจึงจะเห็นได้ว่าการสื่อสารผ่านออนไลน์สำหรับคนไทยมีความสำคัญ และเข้าถึงได้มากที่สุด แต่ที่ต้อ งให้ ความสำคัญและมงุ่ เนน้ ด้วยนัน่ คือ - Content ว่าจะใช้อยา่ งไร แบบไหน เพ่ือให้ Engagement กบั กลุม่ เป้าหมาย ทสี่ ร้างฐานขอ้ มลู (Custom Audience) - โฆษณาประชาสมั พันธ์เผยแพร่อยา่ งไรใหม้ คี ่าใช้จา่ ยนอ้ ยท่ีสุด (Below the line strategy) - กลมุ่ เป้าหมาย (Target) แตล่ ะกลุ่มไมเ่ หมือนกัน “อยู่ท่เี ราเลอื ก” ค่อย ๆ ทำ เรียนรแู้ ละเตมิ เต็มให้งานส่ือสารประสบความสำเร็จ ทง้ั ในเรือ่ ง Page Content และ Channel - หลกั สำคญั ในการส่ือสารผา่ นส่อื ออนไลน์ควรคำนึงถงึ ประเด็นตา่ ง ๆ ดังน้ี 1) การเลอื กใชส้ ่ือให้เหมาะสม 2) โพสต์ Facebook ควรมีรูป หรือ infographic 3) สอ่ื วดิ โี อมปี ระชาชนใหค้ วามสนใจมากขน้ึ ในปจั จบุ นั 4) การยงิ Ad TV ยงั พอมีอยู่บ้าง แตต่ อ้ ง provide ข้อมลู ต่อ 5) การโพสต์ควรคำนงึ ท่ีชว่ งวนั และเวลาในแต่ละแพลตฟอร์ม กล่าวโดยสรุปการสื่อสารจำเป็นต้องมีข้อมูลที่แสดงถึง Personal lifestyle และ Position ของตนเอง เพื่อแสดงจุดยืน และความต้องการผ่านการสื่อสาร อีกทั้งโพสต์ต่าง ๆ จะต้องสามารถสร้าง Impact กับกลุ่มเป้าหมายได้ ซึ่งในฐานะของข้าราชการที่ทำงานอยู่ในรัฐสภา จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าใจในบทบาท หน้าที่ หรือ Position ของตนเอง สื่อสารด้วย Mine set และ Production ใหม่ ๆ รวมทั้งวัดผลการเข้ามามีส่วนร่วม ของประชาชนด้วยตัวชี้วัด และควรจะวัดผลสำเร็จด้วยยอดกด like หรือยอด Engagement ของประชาชน กลมุ่ เป้าหมายเปน็ สำคญั โครงการเสริมสร้างภาพลักษณ์องค์กรโดยการใช้ส่อื ใหม่ (New Media)

๑๑ ภาพกจิ กรรม โครงการเสรมิ สร้างภาพลักษณ์องค์กรโดยการใช้ส่อื ใหม่ (New Media)

๑๒ สรปุ องคค์ วามร้กู ารบรรยาย โดย ผ้ชู ่วยศาสตราจารยณ์ ัฐา ฉางชูโต รองคณบดีคณะนเิ ทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ และหัวหน้าหลักสูตรการผลิตอีเวนท์ และการจดั นิทรรศการและการประชมุ การบรรยายเรื่อง “สื่อใหม่กับการประชาสัมพันธ์งานฝ่ายนิติบัญญัติ” กิจกรรมเสริมสร้าง ภาพลักษณ์องค์กรโดยการใช้สื่อใหม่ (New Media) ของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ในวันจันทร์ที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๔ ณ ห้อง World Ballroom B – C ชั้น 23 โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ และบางกอก คอนเวนชัน เซ็นเตอร์ แอท เซ็นทรลั เวิลด์ สรุปได้ ดังนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ณัฐา ฉางชูโต รองคณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ กล่าวโดยสรุปใน 2 ประเด็นหลัก คือ 1) การประชาสัมพันธ์ในยุคดิจิทัล และ 2) แนวทางในการสร้างคอนเทนท์และ การประชาสมั พันธผ์ ่านส่ือใหม่ (รายละเอยี ดตามเอกสารท่แี นบ) 1) การประชาสัมพันธ์ในยคุ ดิจทิ ัล (Digital PR) ปัจจุบันผู้ใช้สื่อสามารถเป็นผู้ผลิตสื่อควบคู่ไปด้วยกันได้ โดยผลิตเนื้อหาที่เป็นเรื่องราว เรื่องเล่า เป็นสื่อที่สร้างสรรค์ขึ้นมา ตีพิมพ์เผยแพร่ผ่านอินเทอร์เน็ต และทุกคนได้เข้ามามีส่วนร่วม ดังนั้น เปา้ หมายในการประชาสัมพันธ์ คอื Image and Reputation หรือภาพลกั ษณ์และช่ือเสยี ง การประชาสัมพันธ์ ในยคุ ดจิ ิทลั จงึ มลี กั ษณะสำคัญ ดังน้ี - You are what you public เรอื่ งราวท่นี ำเสนอผา่ นส่อื ตา่ ง ๆ โดยเฉพาะบนโลกออนไลน์ ทั้งทางตรง และทางอ้อม จะสะท้อนภาพขององค์กรทั้งหมด - Direct to Target Audience สามารถนำเสนอข้อมลู ข่าวสารไปยงั ผูบ้ รโิ ภค เปา้ หมายโดยตรง - Public again สอ่ื อินเทอรเ์ น็ตทำใหข้ ้อมลู ข่าวสารทางการประชาสัมพันธ์ ได้รบั เผยแพร่อีกครั้ง - การดำเนินงานประชาสมั พนั ธ์ เน้นกลยุทธแ์ ละสร้างกระบวนการการเชื่อมต่อ และความสัมพันธอ์ ยา่ งมีสว่ นร่วมกับกลุ่มประชาชนทเ่ี กี่ยวขอ้ ง โครงการเสริมสร้างภาพลักษณ์องค์กรโดยการใชส้ อ่ื ใหม่ (New Media)

๑๓ - เปลีย่ นจาก “การกระจายขา่ วสารทางเดยี ว” สู่ “การสร้างความสมั พนั ธ์ แบบมีสว่ นร่วม” โดยใช้ส่ือออนไลน์ (Social Media) ในการสร้างเครือข่ายสังคม ออนไลน์ (Social Networking) - Digital PR forces Public Relations to stop broadcasting and start connecting ทงั้ นี้ ชอ่ งทางในการใช้สอื่ ปัจจบุ ัน คอื สื่อของเรา (Owned Media) และส่อื เราจา่ ย (Paid Media) โดยแบง่ เป็น 3 รูปแบบ - สอ่ื องค์กร เช่น เว็บไซต์ หน้าเพจเฟซบุ๊ค ชอ่ งรายการของตนเอง เราควบคุมได้ (งบประมาณ เนอื้ หา และเวลา) - สือ่ มวลชน เชน่ รายการวิทยุ - โทรทศั น์ หนงั สอื พิมพ์ โฆษณาประชาสมั พนั ธ์ ปา้ ยบลิ บอร์ด เราควบคุมได้บางสว่ น (งบประมาณ และความถ่)ี - สื่อสงั คม เช่น หนา้ กลุม่ แฟนเพจ เวบ็ กระทู้ ทวติ เตอร์ กระดานสนทนา บทสนทนา ในสือ่ ออนไลน์ เราควบคมุ ไมไ่ ด้ แต่สงั เกตการณ์ได้ 2) แนวทางในการสรา้ งคอนเทนท์และการประชาสัมพนั ธผ์ ่านส่ือใหม่ ประการแรกต้องเข้าใจคอนเทนต์ (Content) คือ การสื่อสารข้อมูล และประสบการณ์ถึงลูกคา้ หรือผู้ใช้งาน เพื่อให้ผู้สื่อสารสามารถบรรลุเป้าหมายที่ต้องการได้ ดังนั้นการสื่อสารข้อมูลผ่านคอนเทนต์ที่ดี ต้องถูกออกแบบให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย ผ้รู บั ฟงั ประเภทของเน้ือหา และชอ่ งทางการสื่อสารในรูปแบบ ตา่ ง ๆ เชน่ แอปพลิเคชนั รปู ภาพ คลิก เสยี ง อีเวน้ ต์ หนงั สือ ข้อความ และอ่นื ๆ การส่อื สารผา่ นการสร้างคอนเทนต์ - เปลี่ยนความเขา้ ใจ change your understanding - เปล่ยี นความรสู้ ึก change the feeling - เปลย่ี นความเชอ่ื change of faith - เปล่ยี นพฤติกรรม change behavior ทั้งน้ี สิ่งสำคัญที่สุด คือ ต้องการสื่อสารกับใคร ต้องการบอกอะไร เขาสนใจเรื่องอะไร ประโยชน์ท่ีได้คืออะไร (Share the same interest) ดังนัน้ 3 คำสำคญั ท่ีจะสอื่ สาร คอื - ถกู เร่อื ง เชย่ี วชาญส่งิ ท่ีเราอยากจะบอก ความคดิ และสิ่งที่เปา้ หมายอยากจะรู้ - ถูกที่ เปรียบเหมือนการส่งพสั ดุที่มตี ัวเลอื กมากมายให้เลือกส่ง ดังนัน้ การทำคอนเทนต์ ตอ้ งทำให้เหมาะสมกบั แพลตฟอร์มท่ีต้องการสื่อสาร โดยเช่ยี วชาญสงิ่ ท่ีเราอยากจะบอก ยึดม่นั ในความถกู ต้อง เชื่อถือได้ ยืนอยู่ข้างประชาชน และสิ่งท่เี ปา้ หมายอยากจะรู้ - ถูกใจ สรา้ งเซอร์ไพรส์ ทำภาพอิมแพค สรา้ งให้คนมสี ่วนร่วม และพดู ความจรงิ ใครก็ชอบ อีกทั้งปัจจุบัน Social Media ที่ยอดนิยมของคนไทย คือ Facebook Instagram Youtube TikTok และ Twitter ซึ่งมุ่งเน้นกลุ่มผู้ใช้งาน พฤติกรรม รูปแบบคอนเทนต์ และความโดดเดน่ ในการสื่อสาร โครงการเสรมิ สรา้ งภาพลักษณ์องค์กรโดยการใชส้ ่อื ใหม่ (New Media)

๑๔ สรุปผลการสัมภาษณก์ ลมุ่ เป้าหมายท่ีเขา้ รว่ มกจิ กรรมฯ หลังจากการดำเนินงานจัดโครงการเสริมสร้างภาพลักษณ์องค์กรโดยการใช้สื่อใหม่ (New Media) เสร็จสิ้น ผู้รับผิดชอบโครงการฯ ได้มีการติดตามผลการอบรมจากกลุ่มเปา้ หมาย โดยวิธีการสัมภาษณ์ แบบเจาะจง จำนวน ๗ คน โดยใช้คำถาม จำนวน ๒ ข้อ ประกอบด้วย ๑) ปจั จุบนั “การเสรมิ สรา้ งภาพลักษณ์ องคก์ รโดยการใชส้ ่อื ใหม่ (New Media)” มีความสำคัญอยา่ งไร และ ๒) ทา่ นจะนำความรทู้ ี่ไดร้ บั ไปประยุกต์ใช้ เพื่อสนับสนุนการทำงานของฝ่ายนิติบัญญัติตามภารกิจของสำนักฯ ที่สังกัดอย่างเป็นรูปธรรมได้อย่างไร (ยกตัวอยา่ ง) สรุปสาระสำคัญไดด้ งั น้ี นางสาวมันทนา ศรีเพญ็ ประภา ผ้บู ังคับบญั ชากลมุ่ งานเผยแพร่ประชาธิปไตยและกิจกรรม สภาผู้แทนราษฎร สำนักประชาสัมพันธ์ เห็นว่าการเสริมสร้างภาพลักษณ์องค์กรโดยการใช้สื่อใหม่ (New Media)” นั้นมีความสำคัญซึ่งสามารถสร้างความจดจำให้เกิดขึ้นในสังคมได้อย่างกว้างขวาง และประหยัด ค่าใช้จ่าย ส่วนการนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้เพื่อสนับสนุนการทำงานของฝ่ายนิติบัญญัติตามภารกิจของ สำนักประชาสัมพันธ์ที่เป็นรูปธรรมนั้น เห็นว่าความรู้ที่ได้รับสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดทำและการ นำเสนอเนื้อหา (Content) ให้เหมาะสมกับ platform ของสื่อใหม่ มีการสรุปเนื้อหาที่ยากให้กลุ่มเป้าหมาย สามารถเข้าใจได้ในเวลาจำกัด เช่น นำเสนอเนื้อหาของร่างพระราชบัญญัติที่อยู่ในความสนใจของ สังคมใน รูปแบบที่เข้าใจง่าย เป็นต้น ส่วนข้อเสนอแนะเห็นว่าควรจัดให้มีการฝึกอบรมในลักษณะนี้อีก เพื่อสร้างความ เท่าทันในด้านการใช้สือ่ เพ่อื การสร้างภาพลักษณ์ และการประชาสัมพนั ธใ์ หเ้ กดิ สัมฤทธผิ ล นางสาวชลัยยกร ศิวะเสน ผู้บังคับบัญชากลุ่มงานผลิตรายการวิทยุกระจายเสียง สถานี วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา เห็นว่าการเสริมสร้างภาพลักษณ์องค์กรโดยการใช้สื่อใหม่ ( New Media)” นั้นมีความสำคัญ มีประโยชน์อย่างมากในการสื่อสารและประชาสัมพันธ์เพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์ องค์กร ให้กับสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร แต่ด้วยความที่เป็นสื่อใหม่หรือ new media ทำให้ หน่วยงานที่นำมาใช้ ยังขาดแนวทางและการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ เพื่อการประยุกต์ใช้อย่างมี ประสิทธิภาพ เต็มศักยภาพที่เครื่องมือเหล่านี้มีอยู่ ซึ่งความสำคัญของการใช้สื่อใหม่ในการประชาสัมพันธ์เพื่อ เสริมสร้างภาพลักษณ์องค์กร ถือเป็นการช่วยเสริมสื่อประชาสัมพันธ์แบบดั้งเดิมให้มีประสิทธิภาพเพิ่มข้ึน การประชาสัมพันธภ์ ายใต้กระแสส่ือใหม่ ควรให้ความสำคญั กับการเปล่ียนแปลงการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ การสื่อสารเพื่อการประชาสัมพันธ์รวมทั้งประเด็นเนื้อหาที่นำเสนอ ตลอดจนรูปแบบของการใช้สื่อ ใหม่ เพื่อการประชาสัมพันธ์เพื่อนำมาซึ่งชื่อเสียง ภาพลักษณ์ และการสนับสนุนองค์กร ทั้งนี้ความสำคัญและ ประโยชน์ของการนำสื่อใหม่ที่เป็นสื่อสังคมออนไลน์มาใช้ก็เพื่อพัฒนารูปแบบการสื่อสารข้อมูลสารสนเทศ การเกบ็ รวบรวม ขอ้ มลู สารสนเทศ การใหบ้ ริการสารสนเทศเพ่ือใช้ในงาน บรหิ ารขององคก์ ร องค์กรจะส่ือสาร และประชาสัมพันธ์ อย่างไรกบั กลุ่มเปา้ หมายเพ่อื สรา้ งการยอมรบั และความ อยูร่ อดขององคก์ รอย่างย่ังยนื ส่วนการนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้เพื่อสนับสนุนการทำงานของฝ่ายนิติบัญญัติตาม ภารกจิ ของสถานวี ิทยุกระจายเสยี งและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภาทเี่ ป็นรูปธรรมน้ัน เหน็ ว่าการประชาสัมพันธ์องค์กร ผ่านบล๊อก (Public Relations on Blog) โดยจัดทำบล็อกเพื่อการประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการสภา ผู้แทนราษฎร ในรูปแบบของบล๊อกองค์กร (Corporate Blog) ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อการรายงานข้อมูลข่าวสารของ สำนักงานฯ ไปยังผู้รับบริการ ซึ่งสำนักงานฯ ควรจะมีบล๊อกขององค์กรเพื่อให้ง่ายต่อการตรวจสอบและทราบ ความคิดเห็นของประชาชนผู้รับบริการและผู้ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้สำนักงานฯ สามารถใช้บล๊อกแสดงความ คิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นการมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นในบล๊อกของหน่วยงานอื่น เพื่อนำข้อมูลมาใช้เป็น แนวทางในการดำเนินงานประชาสัมพันธ์และบริหารจัดการบล็อกของสำนักงานฯ ซึ่งการประชาสัมพันธ์ผ่าน โครงการเสรมิ สร้างภาพลักษณ์องคก์ รโดยการใชส้ ่ือใหม่ (New Media)

๑๕ บล็อกนั้น ลักษณะของบล๊อก คือ หน้าเว็บที่เจ้าของบล๊อก ซึ่งเรียกว่า blogger จะนำเสนอเป็นรูปแบบของ การเขียนบทความ สามารถเพิ่มเติมเนื้อหาใหม่ ๆ ได้ตลอดเวลา โดยนำเสนอด้วยข้อความ ภาพ ลิงก์ บางครั้ง จะรวมสื่อต่าง ๆ อาทิ วิดโี อในหลายรูปแบบ ทั้งน้ีบลอ๊ กจะเปิดให้ผู้อ่านแสดงความคิดเห็น และผู้เขียนสามารถ ได้ผลตอบกลับในทนั ที สำหรับข้อเสนอแนะเห็นว่าสำนักงานฯ ควรดำเนินการวางแผนจัดการการใช้สื่อใหม่กับงาน ประชาสมั พนั ธเ์ พ่ือเสริมสรา้ งภาพลักษณ์องค์กรอย่างเปน็ ระบบ โดยการกำหนดแผนกลยุทธ์และนโยบายการใช้ งานสื่อใหม่กับงานประชาสัมพันธ์ที่มีวัตถุประสงค์และเป้าหมายการนำมาใช้งานอย่างชัดเจน อาทิ ประเภท และเครื่องมือสื่อสังคมออนไลน์ที่นำมาใช้งาน ข้อตกลงการใช้งาน ประเภทของกิจกรรม ข่าวสารที่เผยแพร่ โดยให้เปน็ ไปในทศิ ทางเดยี วกันและส่อื สารนโยบายไปยังผ้ปู ฏบิ ัตงิ านประชาสมั พันธ์ขององค์กร เพอ่ื ให้ทราบถึง สิ่งที่ต้องเป็นความรับผิดชอบในการขับเคลื่อนการใช้งานสื่อใหม่กับงานประชาสัมพันธ์เพื่อให้บรรลุ วัตถุประสงค์ที่ต้องการ ทั้งนี้การกำหนดแผนกลยุทธ์และนโยบาย เป็นสิ่งแรกที่สำนักงานฯ ควรดำเนินการ รวมถึงการให้ความสำคญั ต่อการพัฒนาระบบในการตรวจสอบและควบคุมเน้ือหาสาระท่ีมีการส่ือสารกันบนเว็บ สื่อสังคมสังคมออนไลน์ (social web) เช่น การกำหนดผู้รับผิดชอบ การพัฒนาโปรแกรมตรวจสอบ เพื่อทำหน้าที่ ในการกลั่นกรองข้อความที่ผู้เข้าใช้เว็บมีการสื่อสารกัน และเป็นไปตามนโยบายด้านการสื่อสารองค์กรของ สำนักงานฯ เพื่อป้องกันข้อมูลที่เป็นความลับขององค์กรเผยแพร่สู่สาธารณะชน ซึ่งอาจทำให้ส่งผลต่อ ภาพลักษณ์ของสำนักงานฯ ทั้งนี้การประชาสัมพันธ์เพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์องค์กร มีภารกิจในการสื่อสาร ข้อเท็จจริง สารสนเทศ และข่าวสารขององค์กรไปสู่บุคคลทั้งภายในและภายนอกองค์กร เพื่อเสริมสร้าง ภาพลักษณ์และการยอมรับ รวมถึง ความรู้ความเข้าใจในตัวองค์กร ดังนั้นการจัดให้มีระบบตรวจสอบจึงเป็น ส่ิงท่มี ีความจำเป็นอย่างย่ิง แต่ท้ังนม้ี าตรการในการควบคุมและตรวจสอบไม่ควรเคร่งครัดมากจนเกินไป เพราะ อาจส่งผลเสียให้ไม่มีการใชง้ าน นางสาวสุวรรณา มารีนี นักประชาสัมพันธ์ชำนาญการพิเศษ สำนักประชาสัมพันธ์ เห็นว่า การเสริมสร้างภาพลักษณ์องค์กรโดยการใช้สื่อใหม่ (New Media)” นั้นมีความสำคัญ ซึ่งสื่อใหม่หรือสื่อสังคม ออนไลน์ เป็นสื่อที่ได้รับความนิยมในงานประชาสัมพันธ์และมีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังมีแนวโนม้ ว่าจะได้รับความนิยมสูงขึ้นในอนาคต โดยองค์กรต่าง ๆ ได้ใช้สื่อใหม่ในการประชาสัมพันธ์องค์กร สินค้าและ การบริการเพ่ือช่วยเสริมส่ือประชาสัมพันธใ์ นรูปแบบดั้งเดิมให้มีประสิทธภิ าพมากเพิ่มขึ้น ดังนั้น การใช้ส่ือใหม่ ในการประชาสัมพันธ์จึงมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรให้ก้าวหน้าต่อไป ส่วนการนำความรู้ที่ได้รับไป ประยุกต์ใช้เพื่อสนับสนุนการทำงานของฝ่ายนิติบัญญัติตามภารกิจของสำนักประชาสัมพันธ์ที่เป็นรูปธรรมน้ัน เห็นว่าสามารถนำความรู้ไปผลิตสื่อในรปู แบบออนไลน์เพื่อการประชาสัมพันธ์ทางช่องทางตา่ ง ๆ ทั้ง แอปพลิเคชันไลน์ และเฟสบกุ๊ อาทิ อินโฟกราฟฟกิ โฟโตโ้ คด้ คลปิ วดิ โี อ รวมทง้ั การประชมุ ต่าง ๆ โดยผา่ นทางสื่ออเิ ล็กทรอนิกส์ นางสาววิมลิน หิรัญบูรณะ นักวิชาการสื่อใหม่ สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ รัฐสภา เห็นว่าการเสริมสร้างภาพลักษณ์องค์กรโดยการใช้สื่อใหม่ (New Media)” โดยในยุคที่เทคโนโลยีมี ความก้าวหน้า การใช้สื่อใหม่และแพลตฟอร์มต่าง ๆ ถือเป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกองค์กรจะต้องมีการปรับตัวเพื่อให้ ทันต่อกระแสโลกาภิวัตน์ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะองค์กรนิติบัญญัติอย่างสํานักงานเลขาธิการสภา ผ้แู ทนราษฎร ที่กำลงั กา้ วสู่การเป็น Smart Parliament จึงจำเป็นต้องใชท้ รัพยากรทางดา้ นเทคโนโลยีท่ีมีอย่าง คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด โดยเฉพาะผู้เข้ารับการอบรมที่ปฏิบัติงานด้านสื่อใหม่จึงได้ใช้ประโยชน์จากการ อบรมในครงั้ นม้ี าเปน็ สว่ นชว่ ยในการประชาสมั พนั ธ์ข้อมลู ขา่ วสารทางดา้ นการเมืองการปกครองและนิติบัญญัติ ผ่านช่องทางสื่อใหม่ของสถานีฯ จึงถือว่าเป็นการเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้เกิดขึ้นกับองค์กร และทำให้ ประชาชนผู้รบั ขา่ วสารได้ทราบข้อมูลไดอ้ ย่างรวดเรว็ และทันต่อเหตุการณ์ โครงการเสรมิ สรา้ งภาพลักษณอ์ งค์กรโดยการใชส้ ื่อใหม่ (New Media)

๑๖ ส่วนการนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้เพื่อสนับสนุนการทำงานของฝ่ายนิติบัญญัติตาม ภารกิจของสถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภาที่เป็นรูปธรรมนั้น เห็นว่าจะนำความรู้ที่ได้รับจาก การอบรมไปผลิตสื่อในรูปแบบที่เข้าถึงความต้องการของผู้รับสาร เช่น การผลิตคลิปวีดีโอ การผลิตอินโฟ กราฟิกที่เปลี่ยนจากภาษาราชการเป็นภาษาที่เข้าใจง่าย เป็นต้น เพราะสิ่งนี้จะทำให้ประชาชนได้เข้าใจและ เขา้ ถึงเนอ้ื หาข้อมลู ด้านนติ ิบัญญตั ิไดง้ ่ายข้ึน อีกท้ังยงั เปน็ การเสรมิ สร้างภาพลกั ษณ์ทีด่ ใี ห้เกิดขนึ้ กบั องค์กรอีกดว้ ย นายปิยะพล พวงแก้ว นักวิชาการสื่อใหม่ สถานีวิทยุกระจายเสยี งและวิทยโุ ทรทัศน์รัฐสภา เห็นว่าการเสริมสร้างภาพลักษณ์องค์กรโดยการใช้สื่อใหม่ (New Media)” นั้นมีความสำคัญมากโดยสามารถ นำไปใช้ให้เกดิ ประโยชน์กับองค์กรในหลายดา้ น เชน่ - สื่อใหม่ คือ การทรานฟอร์มนำเอาข้อมูลของสื่อดั้งเดิมอยา่ งหนงั สือพิมพ์ วิทยุและโทรทศั น์ มานำเสนอโดยใช้การครีเอทีฟ สร้างสรรค์ออกแบบให้โดดเด่น สั้นกระชับ เข้าใจง่าย ใช้ key word ในรูปแบบ ต่าง ๆ สื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านแพลตฟอร์มต่าง ๆ เพื่อสร้างจุดเด่น ความน่าสนใจให้กับองค์กร และทำ ให้ประชาชนเห็นถงึ ความทันสมัยในการปรบั ตัวเขา้ ส่ยู คุ 4.0 - การให้บริการข้อมูล รวดเร็ว เข้าถึงฐานผู้ชมได้ง่าย โดยรับชมสะดวกผ่านอุปกรณ์ อิเลก็ ทรอนิกส์ ซึง่ ตา่ งจากสอ่ื เดมิ - สามารถใหข้ ้อมูลขา่ วสารประชาสัมพนั ธ์ ไปยังกลุ่มเป้าหมายได้หลากหลายกลมุ่ เปา้ หมายทั้ง แบบเจาะจงพื้นที่ อาชีพ และไม่เจาะจง เผยแพร่ไปยังกลุ่มเป้าหมายจำนวนมากได้ในระยะเวลาพร้อม ๆ กัน ซึ่งข้อดีคือการสร้างการจดจำทำให้เห็นสัญลักษณ์หรือโลโก้และช่องทางต่าง ๆ ขององค์กรที่แฝงในการพีอาร์ เสมอ (อาทิ facebook เป็นต้น) และสามารถเขา้ ถึงกลุ่มเปา้ หมายไดท้ ่ัวประเทศและทั่วโลก - สื่อใหม่ยังเปน็ แพลตฟอร์มท่ีมีความสามารถในการติดต่อสื่อสาร แบบ ๒ ทาง จึงทำให้ผู้ดูแล และผู้ติดตามสามารถโต้ตอบได้ทันที - สื่อใหม่ ได้รับการยอมรับในสากล สามารถวัดผลและประเมินจำนวนผู้ติดตามข้อมูลที่ได้ มีการนำเสนอออกไปว่าได้รับการตอบรับและสนใจมากน้อย มีเครื่องมือ analysis (black office) ของ แพลตฟอร์ม นำมาวิเคราะห์จำนวนคนติดตาม กลุ่มอายุ และประเทศ นำมาสู่การเพิ่มกลยุทธ์และนโยบาย ใหต้ รงกบั ความต้องการมากข้นึ - สื่อใหม่ โดยระบบ OTT (over the top) สตีมมิ่ง จะเป็นก้าวสำคัญ เป็นการทรานฟอร์ม และเป็นแหล่งรวมทุกคอนเทนน์ของสื่อดั้งเดิม นำเสนอในรูปแบบใหม่ในแพลตฟอร์มเดียว อาทิ ถ่ายทอดสด วิดีโอ คลิปข่าว Podcast ภาพข่าว ด้วยมีระบบคราวเป็นของตัวเอง มีความรวมเร็วในการรับชมไม่ติดขัด เป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ ง่ายต่อการนำเสนอและรับชมประเภทของสื่อได้หลากหลายในแพลตฟอร์มเดียวทำให้ ประชาชนเขา้ ถงึ ไดง้ ่าย และเขา้ มาติดตามตอ่ เน่อื ง ส่วนการนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้เพื่อสนับสนุนการทำงานของฝ่ายนิติบัญญัติตาม ภารกิจของสถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภาที่เป็นรูปธรรมนั้น เห็นว่าจะนำความรู้ที่ได้รับจาก การอบรมไปประยุกต์ใช้ในการปฏบิ ัตงิ าน เช่น - นำเสนอผลิตข้อมูลภาพ วิดีโอให้โดดเด่นในรูปแบบสื่อใหม่ โดยใช้การอ้างอิงจากหน่วยงาน ข้อดีคือเพิ่มความน่าเชื่อถือให้ความสำคัญกับหน่วยงาน สร้างการจดจำ ติดตาม เป็นที่รู้จักมากขึ้น นำเสนอ บทบาทการทำหน้าทข่ี องหน่วยงาน อาทิ ฝา่ ยกฎหมาย ฝา่ ยตา่ งประเทศ ฝ่ายประชมุ ญตั ติ ตลอดจนแต่ละฝ่าย ให้มีความโดดเด่นเพื่อเห็นถึงโครงสรา้ งกลไกการทำงาน และการสนับสนุนฝา่ ยนิติบัญญตั ิ เช่น เลขาธิการสภา ผู้แทนราษฎร หรือรองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร มีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ตรวจเข้มมาตรการโควิด การมอบ นโยบายเดินหน้ายุค 4.0 บุกแพลตฟอร์มโอทีที ยกระดับสื่อรัฐสภาเข้าถึงผู้ชมทุกช่องทางด้วยเน้นคอนเทนน์ โครงการเสรมิ สร้างภาพลักษณอ์ งคก์ รโดยการใช้สือ่ ใหม่ (New Media)

๑๗ หลากหลาย ถ่ายสด ภาพข่าว คลิปวิดีโอ podcast ในแพลตฟอร์มเดียว เล็งเสริมคอนเทนน์กีฬา เทคโนโลยี ยิงสดกฬี าเพิม่ ฐานคนดูทกุ กลมุ่ - นำเสนอการทำงานของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา ในบทบาทการ อภิปรายปัญหาบ้านเมือง และกรรมาธิการฯ ในฐานะฝ่ายนิติบัญญัติ ทั้งการออกกฎหมาย การแก้ไขปัญหา ความเดือดรอ้ นของประชาชน การรับเรื่องราวรอ้ งทุกข์ - นำเสนอบทบาทของประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวฒุ ิสภา ในการทำ หน้าทค่ี วบคมุ การประชุมสภาให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย ควบคุมสมาชิกไม่ใหผ้ ิดข้อบังคับ (นำคลิปช่วง ท่ปี ระธานวนิ จิ ฉยั ขอ้ บงั คับมาตัดตอ่ นำเสนอสรา้ งความโดดเดน่ ของบทบาทหนา้ ท่ีในตำแหนง่ ของประธาน - นำคำพูดมาทำ info กราฟฟิก ภาพนิ่ง ทำให้เกิดวาทะและคำพูดในเชิงภาวะผู้นำ เช่น ประธานย้ำเดินหน้าประชุมสภา พอใจมาตรการโควิด เป็นต้น การนำเสนอแนวทางน้ีจะเพิ่มความโดดเดน่ ของ ประธาน และสำนกั งานฯ ที่จะสรา้ งการจดจำความเปน็ ส่อื รัฐสภาในการนำเสนอคอนเทนน์แนวน้ี มากกว่าสอ่ื อืน่ - เป็นสื่อกลางในยุค 4.0 ระหว่างหน่วยงานกับประชาชน เป็นช่องทางรับฟังข้อแนะนำและ ข้อเสนอแนะ รวมถึงเรื่องร้องเรียนจากผู้ชม รวมถึงประชาชนทั่วไป เพื่อรวบรวมเป็นข้อมูลนำเสนอให้กับ หน่วยงานฝ่ายนิติบญั ญัติ สมาชิกรัฐสภา และกรรมาธกิ าร เพอื่ นำมาสกู่ ารพฒั นาในด้านตา่ ง ๆ สำหรับข้อเสนอแนะเหน็ วา่ สำนักงานฯ ควรดำเนินการ - เพิ่มอัตรากำลังด้านครีเอทีฟ กราฟฟิก ระบบสารสนเทศ เพื่อรองรับงานโอทีทีสื่อใหม่ที่จะ ขยายเพิ่มมากข้นึ - เปิดพื้นที่ให้เจ้าหน้าที่ทุกคนให้เกิดการพัฒนางานได้หลากหลาย โดยผลิตและให้ใช้ แพลตฟอร์มโอทีที และแพลตฟอร์มของสถานีเพื่อเกิดความรวดเร็วในการผลิตและเผยแพรไ่ ด้คล่องตัว ซึ่งเป็น ข้อดใี นการพัฒนาสอื่ ของรฐั สภาในอนาคต - เพิ่มขีดความสามารถพัฒนาเจ้าหน้าที่ให้ทำงานได้หลากหลาย ทดแทนกันได้มากขึ้น เพื่อประโยชนใ์ นการทำงานรว่ มกนั และประโยชนส์ งู สดุ ให้กับองค์กร - สนับสนุนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และจอคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูงให้เพียงพอกับบุคลากร และการใชง้ านปัจจุบัน โดยสอบถามปญั หาและความตอ้ งการของผู้ปฏบิ ตั งิ าน - สนับสนุนและอัพเดทโปรแกรมซอฟแวย์ต่าง ๆ ในการผลิตงาน อาทิ effect โดยสอบถาม ปัญหาและความตอ้ งการของผู้ปฏิบัติงาน - สนับสนุนการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเจ้าหน้าที่สื่อใหม่ ในด้านอบรมการใช้ โปรแกรมกราฟฟกิ adobe - ควรคัดสรรและเพิ่มบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถและมีประสบการณ์ด้านการผลิตและ เป็นนักสื่อสารมวลชนโดยโปรไฟล์ เข้าใจบทบาทของสื่อใหม่ เพื่อผลักดันและช่วยกำหนดทิศทางในการพัฒนา ซ่ึงส่งผลตอ่ การเติบโตของฐานผู้ชม และประสทิ ธภิ าพของเจา้ หนา้ ท่ีในการพัฒนางานใหถ้ ูกทิศทางตามนโยบาย - พิจารณาติดตามรบั ฟังปัญหาและอุปสรรคระดับล่างในการปฏิบัตงิ านและข้อเสนอแนะของ เจ้าหน้าที่เพื่อประโยชน์ในการดำเนินนโยบาย และให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฎิบัติงาน สามารถนำเสนอปัญหาและ อุปสรรค สะท้อนการทำงาน เพอ่ื ประเมินสถานการณ์และข้อเท็จจริง ซ่ึงในหลายองค์กรพบวา่ ประสบปัญหาใน การพัฒนางานและระบบการทำงานให้เกิดความเหมาะสม เนื่องจากไม่ได้รับการสะท้อนปัญหาสู่ระดั บบน เทา่ ทีค่ วร - ควรมอบงานให้เหมาะสมกับตำแหน่งและกรอบงาน เพื่อประสิทธิภาพในการพัฒนางาน อย่างถกู ต้องตามนโยบาย - ใหเ้ จา้ หน้าทีไ่ ดเ้ ย่ยี มชมดูงานสถานี ศึกษาการผลิตคอนเทนนใ์ นรปู แบบช่องโอทที ีสอื่ ใหม่ โครงการเสริมสรา้ งภาพลักษณ์องคก์ รโดยการใช้สือ่ ใหม่ (New Media)

๑๘ - เสริมคอนเทนน์ให้เกิดความหลากหลายเพิ่มฐานผู้รับชมในช่องโอทีที อาทิ ข่าวกีฬา เทคโนโลยี คอลัมนิส บทความ เรื่องเล่า ประวัติศาสตร์ กฎหมายน่ารู้ ซึ่งเป็นรูปแบบที่สื่อยุคใหม่รวมอยู่ใน แพลตฟอร์มเดียว สอดคล้องกับโครงสร้างสื่อใหม่ ภายใต้ช่องโอทีทีที่เป็นกลไกสำคัญในการรวมทุกคอนเทนน์ โดยมแี พลตฟอรม์ ต่างชาตเิ ปน็ ฝา่ ยสนับสนนุ เขา้ ถงึ ฐานผชู้ มและตดิ ตาม นายมนัสธนนท์ เอกโภควัฒน์ นิติกรชำนาญการ สำนักกฎหมาย เห็นว่าการเสริมสร้าง ภาพลกั ษณ์องค์กรโดยการใช้สอ่ื ใหม่ (New Media)” เป็นเรื่องสำคญั ซ่งึ การสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่ใช้งาน สามารถสร้างชุมชนออนไลน์เพื่อแบ่งปันสารสนเทศ ความคิด ข้อความส่วนบุคคล และเนื้อหาอื่น ๆ โดยเป็น ช่องทางที่ช่วยให้คนสามารถเชื่อมโยงกับคนอื่น ๆ ได้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และเป็นช่องทางที่ทำให้ สารสนเทศเกิดการแลกเปลี่ยน รวบรวม และแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว ส่วนการนำความรู้ที่ได้รับไป ประยุกต์ใช้เพื่อสนับสนุนการทำงานของฝ่ายนิติบัญญัติตามภารกิจของสำนักกฎหมายที่เป็นรูปธรรมน้ัน เป็นการส่งเสริมให้เกิดการทำงานร่วมกัน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน รวมถึงเป็นสื่อใหม่ที่องค์กรสามารถใช้ใน การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อความ ข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว ทันเวลา และราคาถูก ทำให้องค์กรในปัจจุบันยากที่ จะหลีกเลี่ยงการนำสื่อสังคมออนไลน์มาใชเ้ ป็นเครอื่ งมือในการประชาสัมพันธแ์ ละสอื่ สารองค์กร เช่น ไลน์ เฟซบุค เป็นตน้ นางจุฑามาศ นาคกรด นักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ สำนักพัฒนาบุคลากร เห็นว่าการ เสริมสร้างภาพลักษณ์องค์กรโดยการใช้สื่อใหม่ (New Media)” เป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะเป็นองค์กรแห่ง ข้อมลู ขา่ วสาร จงึ จำเป็นตอ้ งมชี อ่ งทางการส่ือสารใหม่ ๆ โดยใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ เขา้ มาช่วยใหป้ ระชาชนเข้าถึง ข้อมูลได้เร็วและถูกต้อง และให้ดีเพิ่มขึ้น ควรมีช่องทางการพูดคุย การมีส่วนร่วมของประชาชนให้มากกว่ านี้ ส่วนการนำความรู้ท่ีไดร้ ับไปประยกุ ต์ใชเ้ พื่อสนับสนุนการทำงานของฝา่ ยนติ ิบญั ญัตติ ามภารกิจของสำนักพัฒนา บุคลากรที่เป็นรูปธรรมนั้น เห็นว่าจะดำเนินการประชาสัมพันธ์การฝึกอบรม ด้วยคลิป vdo สั้นๆ ผ่าน Facebook และ youtube ส่วนข้อเสนอแนะเห็นว่าเป็นโครงการที่ดีน่าสนใจ วิทยาการให้ความรู้ทางทฤษฎี ชดั เจนในเน้ือหา และควรเพม่ิ ตัวอย่างการส่ือสารขององค์กรภาครัฐอืน่ ที่ประสบความสำเร็จ ทั้งในประเทศและ ต่างประเทศ เพ่อื ให้เห็นเป็นรูปธรรมและสามารถนำไปเป็นแบบอย่างได้ โครงการเสรมิ สร้างภาพลักษณอ์ งคก์ รโดยการใช้สอื่ ใหม่ (New Media)

๑๙ ประเมนิ ผลความพงึ พอใจ “กจิ กรรมเสริมสรา้ งภาพลกั ษณอ์ งค์กรโดยการใชส้ ื่อใหม่ (New Media)” วันจันทรท์ ี่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๔ ณ ห้อง World Ballroom B – C ชัน้ ๒๓ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ และบางกอก คอนเวนชัน เซ็นเตอร์ แอท เซน็ ทรัลเวิลด์ ............................................................................. แบบสำรวจความพึงพอใจการเข้าร่วมกจิ กรรมเสริมสร้างภาพลักษณ์องค์กรโดยการใช้สื่อใหม่ (New Media) จัดทำขึ้นเพื่อสำรวจความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรมฯ และนำข้อมูลไปปรับปรุงพัฒนาการ จัดกิจกรรมของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรใหเ้ หมาะสมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทั้งนี้ แบบสำรวจ ความพึงพอใจท่ใี ชใ้ นการวิเคราะห์ครงั้ น้ี แบ่งออกเปน็ ๓ ส่วน ดงั นี้ ส่วนที่ ๑ ข้อมลู พ้ืนฐาน ได้แก่ เพศ อายุ ระดบั การศกึ ษา และสำนัก สว่ นท่ี ๒ แบ่งเป็น ๒ ดา้ น คือ ๒.๑ องคค์ วามร้ทู ่ีไดร้ ับจากการเขา้ ร่วมกิจกรรมฯ ๑) ได้รับความรูเ้ รือ่ งส่อื ใหม่ท่สี ามารถนำมาสนบั สนนุ งานของฝา่ ยนติ บิ ัญญตั ิ ๒) ไดร้ บั ความร้เู ก่ียวกบั แนวทางการสรา้ งภาพลักษณอ์ งคก์ รโดยใชส้ อ่ื ใหม่ ๓) สามารถนำองค์ความรทู้ ไ่ี ด้รับไปใชป้ ระโยชน์ในการปฏบิ ตั ิงาน ๒.๒ การบริหารจดั การกิจกรรมฯ ๑) การให้คำแนะนำและตอบข้อซกั ถามอย่างชัดเจน ๒) ความสะดวกในการติดตอ่ ประสานงานเพ่ือเข้ารว่ มกจิ กรรม ๓) ระยะเวลาการจดั กจิ กรรมมีความเหมาะสม ๔) สถานที่จดั กจิ กรรมมีความสะดวกและเหมาะสม ส่วนที่ ๓ ข้อเสนอแนะ การเก็บรวบรวมข้อมลู เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้เข้าร่วมกิจกรรมเสริมสร้างภาพลักษณ์องคก์ รโดยการใช้สือ่ ใหม่ (New Media) โดยแจกแบบประเมินความพึงพอใจให้กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย สำนักประชาสัมพันธ์ สถานี วทิ ยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา สำนักสารสนเทศ สำนักกรรมาธิการ ๑ สำนกั กรรมาธิการ ๒ สำนัก วิชาการ สำนักกฎหมาย สำนักการพมิ พ์ และสำนักพฒั นาบคุ ลากร รวมทง้ั สนิ้ ๑๐๖ คน คดิ เป็นรอ้ ยละ ๘๘.๓ การวเิ คราะหข์ ้อมลู นำแบบสำรวจความพึงพอใจที่ได้รับกลับคืนมาตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลแล้วนำมา วเิ คราะห์ ดงั น้ี - วเิ คราะห์โดยใช้โปรแกรมสำเรจ็ รูป SPSS for Windows - วิเคราะห์โดยใชส้ ถติ ิแบบแจกแจงความถ่แี ละร้อยละ - วเิ คราะหค์ ่าเฉลยี่ (Mean) สำหรบั แปลความหมายคะแนนเฉลยี่ ของแบบสอบถามรายขอ้ โครงการเสรมิ สรา้ งภาพลักษณ์องค์กรโดยการใช้สื่อใหม่ (New Media)

๒๐ - ดำเนินการโดยประเมินระดับคะแนนซงึ่ ใช้เกณฑ์ ดังน้ี ๑.๐๐ - ๑.๔๙ หมายถึง ระดบั น้อยทีส่ ุด ๑.๕๐ – ๒.๔๙ หมายถึง ระดับนอ้ ย ๒.๕๐ – ๓.๔๙ หมายถงึ ระดบั ปานกลาง ๓.๕๐ – ๔.๔๙ หมายถงึ ระดับมาก ๔.๕๐ – ๕.๐๐ หมายถงึ ระดับมากที่สุด สว่ นท่ี ๑ ขอ้ มลู พืน้ ฐาน ไดแ้ ก่ เพศ อายุ ระดับการศกึ ษา และสำนัก ตารางที่ ๑.๑ แสดงจำนวนและรอ้ ยละของผรู้ ่วมกจิ กรรมฯ จำแนกตามเพศ ข้าราชการ พนกั งานราชการ และเจ้าหนา้ ท่ี เพศ สำนักงนาเลขาธิการสภาผแู้ ทนราษฎร จำนวน (คน) รอ้ ยละ ชาย ๔๘ ๔๕.๓ หญิง ๕๘ ๕๔.๗ รวม ๑๐๖ ๑๐๐ จากตารางที่ ๑.๑ พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ที่เข้ากิจกรรมเสริมสร้างภาพลักษณ์องค์กร โดยการใช้สอ่ื ใหม่ (New Media) เปน็ เพศหญิง คิดเป็นร้อยละ ๕๔.๗๐ และเพศชาย คดิ เป็นรอ้ ยละ ๔๕.๓๐ กราฟแสดงจำนวนและรอ้ ยละของผู้เขา้ ร่วมกจิ กรรมฯ จำแนกตามเพศ เพศ ชาย 45% หญิง 55% โครงการเสริมสรา้ งภาพลักษณอ์ งคก์ รโดยการใช้สื่อใหม่ (New Media)

๒๑ ตารางท่ี ๑.๒ แสดงจำนวนและรอ้ ยละของกลมุ่ ตัวอยา่ งจำแนกตามอายุ อายุ (ป)ี ขา้ ราชการ พนกั งานราชการ และเจา้ หนา้ ที่ สำนักงานเลขาธกิ ารสภาผ้แู ทนราษฎร ตำ่ กว่า ๒๕ ปี ๒๕ – ๔๐ ปี จำนวน (คน) ร้อยละ ๔๑ – ๕๐ ปี ๕๑ – ๖๐ ปี -- รวม 37 34.9 53 50.0 16 15.1 ๑๐๖ ๑๐๐ จากตารางที่ ๑.๒ พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ที่เข้ากิจกรรมเสริมสร้างภาพลักษณ์องค์กร โดยการใช้สื่อใหม่ (New Media) มีอายุ ๔๑ – ๕๐ ปี คิดเป็นร้อยละ ๕๐.๐ รองลงมามีอายุระหว่าง ๒๕ – ๔๐ ปี คิดเป็นร้อยละ ๓๔.๙ และมีอายุ ๕๑ – ๖๐ ปี คิดเป็นร้อยละ ๑๕.๑ ตามลำดับ ทั้งนี้ การจัด กิจกรรมฯ ในครง้ั น้ไี มม่ ผี ทู้ เ่ี ข้ารว่ มกจิ กรรมฯ ที่มอี ายตุ ่ำกวา่ ๒5 ปี กราฟแสดงจำนวนและร้อยละของผู้ร่วมกจิ กรรมฯ จำแนกตามอายุ อายุ 51-60 ปี 25-40 ปี 41-50 ปี โครงการเสริมสร้างภาพลักษณ์องคก์ รโดยการใชส้ อื่ ใหม่ (New Media)

๒๒ ตารางที่ ๑.๓ แสดงจำนวนและรอ้ ยละของผเู้ ข้ารว่ มกจิ กรรมฯ จำแนกตามระดับทางการศึกษา การศกึ ษา ข้าราชการ พนกั งานราชการ และเจา้ หนา้ ที่ สำนักงานเลขาธิการสภาผแู้ ทนราษฎร ต่ำกวา่ ปรญิ ญาตรี ปริญญาตรี จำนวน (คน) รอ้ ยละ ปรญิ ญาโท รวม 5 4.7 46 43.4 55 51.9 106 100 จากตารางที่ ๑.๓ พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ที่เข้ากิจกรรมเสริมสร้างภาพลักษณ์องค์กร โดยการใช้สื่อใหม่ (New Media) สว่ นใหญม่ รี ะดับการศึกษาปริญญาโท คิดเป็นรอ้ ยละ 51.9 รองลงมามีระดับ การศึกษาปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 43.4 และมีระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 4.7 ตามลำดับ กราฟแสดงจำนวนและรอ้ ยละของผเู้ ข้ารว่ มกจิ กรรมฯ จำแนกตามระดบั ทางการศึกษา การศกึ ษา ตา่ กว่าปริญญา ปริญญาโท ปริญญาตรี โครงการเสริมสรา้ งภาพลักษณอ์ งค์กรโดยการใช้สอื่ ใหม่ (New Media)

๒๓ ตารางที่ ๑.๔ แสดงจำนวนและร้อยละของผเู้ ขา้ ร่วมกิจกรรมฯ จำแนกตามสำนกั สำนัก ขา้ ราชการ พนกั งานราชการ และเจา้ หน้าที่ สำนักงานเลขาธิการสภาผแู้ ทนราษฎร สำนักประชาสมั พันธ์ สถานีวทิ ยกุ ระจายเสยี งและวิทยุโทรทศั นร์ ฐั สภา จำนวน (คน) ร้อยละ สำนกั กรรมาธกิ าร ๑ 61 57.5 สำนกั กรรมาธิการ ๒ สำนกั สารสนเทศ 11 10.4 สำนักวิชาการ 5 4.7 สำนกั กฎหมาย สำนักการพิมพ์ 3 2.8 สำนักพัฒนาบุคลากร 9 8.5 รวม 6 5.7 2 1.9 5 4.7 4 3.8 106 100 จากตารางท่ี ๑.๔ พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ที่เข้ากิจกรรมเสริมสร้างภาพลักษณ์องค์กร โดยการใช้สื่อใหม่ (New Media) ส่วนใหญ่เป็นข้าราชการ พนักงานราชการ และเจ้าหน้าที่จากสำนัก ประชาสัมพันธ์ คิดเป็นร้อยละ 57.5 รองลงมาเป็นสถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ คิดเป็นร้อยละ 10.4 สำนักสารสนเทศ คิดเป็นร้อยละ 8.๕ สำนักวิชาการ คิดเป็นร้อยละ 5.7 สำนักกรรมาธิการ ๑ และสำนักการพิมพ์ คิดเป็นร้อยละ 4.7 สำนักพัฒนาบุคลากร คิดเป็นร้อยละ 3.8 สำนักกรรมาธิการ ๒ คิดเปน็ รอ้ ยละ ๒.๘ และสำนักกฎหมาย คดิ เป็นร้อยละ 1.9 ตามลำดับ กราฟแสดงจำนวนและร้อยละของผู้เข้ารว่ มกิจกรรมฯ จำแนกตามสำนกั สงั กดั สำนกั ประชำสมั พนั ธ์ สถำนวี ิทยฯุ กรรมำธิกำร 1 กรรมำธิกำร 2 สำรสนเทศ วชิ ำกำร กฎหมำย กำรพมิ พ์ พฒั นำบคุ ลำกร โครงการเสรมิ สร้างภาพลักษณ์องคก์ รโดยการใชส้ อ่ื ใหม่ (New Media)

๒๔ ส่วนที่ ๒ ความพงึ พอใจในการดำเนินงาน ตารางท่ี ๒.๑ องคค์ วามรู้ทไี่ ดร้ ับจากการเข้าร่วมกจิ กรรม โดยคิดคา่ เฉลี่ยจำแนกตามรายข้อคำถาม ประเดน็ วัดความพึงพอใจ คา่ เฉล่ยี แปรความหมาย ๔.38 มาก (๑) ได้รบั ความรู้เรื่องสื่อใหม่ที่สามารถนำมาสนับสนนุ งาน ๔.๓4 มาก ของฝา่ ยนิตบิ ัญญัติ 4.39 มาก (๒) ไดร้ บั ความรเู้ กย่ี วกบั แนวทางการสรา้ งภาพลักษณ์ ๔.37 มาก องคก์ รโดยใช้ส่อื ใหม่ (๓) สามารถนำองค์ความรทู้ ี่ได้รับไปใชป้ ระโยชน์ ในการปฏิบตั งิ าน ค่าเฉล่ยี โดยรวม จากตารางที่ ๒.๑ แสดงให้เห็นว่าผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมฯ มีความพึงพอใจด้านองค์ความรู้ที่ได้รับจาก การเข้าร่วมกิจกรรมฯ ทั้งความรู้เรื่องสื่อใหม่ที่สามารถนำมาสนับสนุนงานของฝ่ายนิติบัญญัติ ความรู้เกี่ยวกับ แนวทางการสร้างภาพลักษณ์องค์กรโดยใช้สื่อใหม่ และการนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ในการ ปฏบิ ตั งิ าน อยู่ในระดับมาก โดยในภาพรวมมีค่าเฉลย่ี เทา่ กับ ๔.๓๗ กราฟแสดงรอ้ ยละความพงึ พอใจในการไดร้ บั องคค์ วามรูท้ ่ีได้รับจากการเข้าร่วมกจิ กรรม t4.40 t4.38 4.39 t4.37 t4.38 t4.34 t4.36 t4.34 t4.32 t4.30 ได้รบั ความรู้เรื่องสอ่ื ใหมท่ ีส่ ามารถนาํ มาสนบั สนนุ งานของฝ่ายนติ บิ ญั ญัติ ได้รบั ความร้เู กย่ี วกับแนวทางการสรา้ งภาพลักษณ์องค์กรโดยใช้สื่อใหม่ สามารถนาํ องคค์ วามรูท้ ่ีไดร้ ับไปใช้ประโยชน์ในการปฏบิ ัตงิ าน คา่ เฉลยี่ โดยรวม โครงการเสริมสร้างภาพลักษณอ์ งคก์ รโดยการใชส้ อื่ ใหม่ (New Media)

๒๕ ตารางที่ ๒.๒ การบริหารจัดการกจิ กรรมฯ โดยคดิ ค่าเฉลย่ี จำแนกตามรายขอ้ คำถาม ประเด็นวัดความพงึ พอใจ ค่าเฉลยี่ แปรความหมาย 4.31 มาก (๑) การให้คำแนะนำและตอบขอ้ ซักถามอยา่ งชัดเจน ๔.๓3 มาก (๒) ความสะดวกในการตดิ ต่อประสานงานเพื่อเขา้ รว่ ม 4.42 มาก กจิ กรรมฯ 4.42 มาก (๓) ระยะเวลาในการจัดกจิ กรรมมีความเหมาะสม ๔.37 มาก (๔) สถานทจี่ ดั กจิ กรรมมีความสะดวกและเหมาะสม คา่ เฉลี่ยโดยรวม จากตารางท่ี ๒.๒ แสดงใหเ้ หน็ ว่าผูท้ ี่เขา้ รว่ มกิจกรรมฯ มคี วามพงึ พอใจด้านการบริหารจัดการกิจกรรม ทั้งในการให้คำแนะนำและตอบข้อซักถามอย่างชัดเจน ความสะดวกในการติดต่อประสานงานเพื่อเข้าร่วม กิจกรรมฯ ระยะเวลาในการจัดกิจกรรมมีความเหมาะสม และสถานที่จัดกิจกรรมมีความสะดวกและเหมาะสม อยูใ่ นระดบั มาก โดยในภาพรวมมีคา่ เฉลย่ี เท่ากบั ๔.๓๗ กราฟแสดงร้อยละความพึงพอใจในการการบริหารจดั การกิจกรรมฯ 4.45 4.42 4.42 4.4 t4.37 4.35 4.31 t4.33 4.3 4.25 การใหค้ ําแนะนําและตอบขอ้ ซักถามอยา่ งชดั เจน ความสะดวกในการติดต่อประสานงานเพอื่ เข้าร่วมกิจกรรมฯ ระยะเวลาในการจดั กิจกรรมมีความเหมาะสม สถานท่ีจดั กจิ กรรมมีความสะดวกและเหมาะสม คา่ เฉลี่ยโดยรวม โครงการเสริมสรา้ งภาพลักษณ์องคก์ รโดยการใช้สื่อใหม่ (New Media)

๒๖ สว่ นที่ ๓ ข้อเสนอแนะ - หากไม่มสี ถานการณ์การระบาดของโรคติดเชอื้ โควิด 19 อยากให้จดั มจี ัดกิจกรรมอบรมแบบน้อี ีก - ควรมีสัมมนาต่อยอดในเชงิ ปฏิบัตกิ ารลงในระดบั สำนัก - เป็นองค์ความรทู้ ีด่ ี มีความทนั สมยั นำมาปรับใชใ้ นการทำงานได้จรงิ - สามารถนำไปใชใ้ นการนำเสนอข้อมลู การอภปิ รายของสมาชกิ - ทำใหร้ ู้ถงึ ความต้องการของสมาชิกรฐั สภาตอ่ การใช้ส่ือใหม่ - ควรจัดให้มกี าร Workshop แบ่งกลุ่มแลกเปล่ียนเรยี นรู้ - ควรจัดอบรมด้านการจดั ทำส่ือเพิ่มเตมิ เช่น PPT / Motion graphics - เชิญวทิ ยากรท่ีเช่ยี วชาญในการทำสอื่ มิเดยี ใหม่ มาบรรยายร่วมหรือวทิ ยากรในวงการ IT - อยากเหน็ ความรว่ มมือในระดับสำนักงานฯ ในเรื่องของ Contents ทบ่ี รู ณาการรว่ มกนั เพือ่ เผยแพร่ส่สู าธารณะอยา่ งนา่ เช่อื ถอื โครงการเสรมิ สรา้ งภาพลักษณอ์ งค์กรโดยการใชส้ อื่ ใหม่ (New Media)

ภาคผนวก

การส่ือสารออนไลน์ วาโย อัศวรุง่ เรอื ง สภาชกิ สภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล



ภาพ

พรวม การส่ือสารออนไลน์



การส่ือสารออนไลน์



การส่ือสารออนไลน์



การส่ือสารออนไลน์

คนไทยใช้ Smartphone 98.9% และใ

ใส่ Smart Watch 21.9% ในปี 2021 การส่ือสารออนไลน์

คนไทยออนไลน์วนั ละ 8 ช

ชวั่ โมง 44 นาทีในปี 2021 การส่ือสารออนไลน์

คนไทยใชเ้ วลาออนไลน์บนมอื ถือเพ่ิมข้

ขนึ 25% รวมเปน็ 58,810 ล้านชว่ั โมง! การส่ือสารออนไลน์



การส่ือสารออนไลน์

คนไทย 99% ชอบ

บดวู ดิ ีโอออนไลน์ การส่ือสารออนไลน์

YouTu Social งานมาก