Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore คู่มือทักษะความฉลาดทางดิจิทัล สำหรับครู พรรณราย เลขที่ 10 หมู่ 2 ป.บัณฑิตรุ่น23

คู่มือทักษะความฉลาดทางดิจิทัล สำหรับครู พรรณราย เลขที่ 10 หมู่ 2 ป.บัณฑิตรุ่น23

Description: คู่มือทักษะความฉลาดทางดิจิทัล สำหรับครู พรรณราย เลขที่ 10 หมู่ 2 ป.บัณฑิตรุ่น23

Search

Read the Text Version

DIGITAL INTELLIGENCE QUOTIENT DQ คู่ มื อ ทั ก ษ ะ ค ว า ม ฉ ล า ด ท า ง ดิ จิ ทั ล สำหรับครู

คำนำ PREfACE ความฉลาดทางดิจิทัล (DIGITAL INRELLINGENCE QUOTIENT) เป็น ทักษะที่สำคัญอย่างมากในการดำรงชีวิตในยุคปัจจุบัน ซึ่งเป็นโลกแห่ง เทคโนโลยี ที่จะสามารถทำให้รับมือ เผชิญกับสถานการณ์ และสามารถปรับ ตัวให้เข้ากับชีวิตดิจิทัลได้ เทคโนโลยีดิจิทัล เข้ามามีบทบาทอย่างมากอย่าง หลีกเลี่ยงไม่ได้กับชีวิตของเรา ดังนั้น การเรียนรู้เกี่ยวกับความฉลาดทางดิจิทัล จะสามารถช่วยให้แต่ละบุคคล ตระหนักถึงการใช้ดิจิทัลอย่างมีจริยธรรม รู้เท่า ทัน ไม่ตกเป็นเหยื่อกลลวง คู่มือทักษะความฉลาดทางดิจิทัล สำหรับครูเล่มนี้ เป็นส่วนหนึ่งของ รายวิชาการพัฒนาความเป็นครู (GD 58201) เพื่อให้เล็งเห็นถึงความสำคัญใน เรื่องความฉลาดทางดิจิทัล ผู้จัดทำหวังว่า คู่มือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้ อ่านที่ต้องการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับความฉลาดทางดิจิทัล หากมีข้อแนะนำ หรือผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย นางสาวพรรณราย สำเภาอินทร์ เลขที่ 10 หมู 2 ป.บัณฑิตรุ่น 23 ผู้จัดทำ

สารบัญ CONTENTS เรื่อง หน้า ความฉลาดทางดิจิทัล 1 ความเป็นพลเมืองดิจิทัล 1 ทักษะของพลเมืองดิจิทัล 8 ด้าน 2 ทักษะที่ 1 : การรักษาอัตลักษณ์ที่ดีของตนเอง 3 ทักษะที่ 2 : การคิดวิเคราะห์มีวิจารณญานที่ดี 4 ทักษะที่ 3 : การรักษาอัตลักษณ์ที่ดีของตนเอง 5 ทักษะที่ 4 : การรักษาข้อมูลส่วนตัว 6 ทักษะที่ 5 : การจัดสรรเวลาหน้าจอ 7 ทักษะที่ 6 : การบริหารจัดการข้อมูลที่ผู้ใช้งานทิ้งไว้ 8 บนโลกออนไลน์ 9 ทักษะที่ 7 : การรับมือกับการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ หน้า 10 ทักษะที่ 8 : การใช้เทคโนโลยีอย่างมีจริยธรรม หน้า 11 สรุปความรู้ที่ได้รับ 12 เอกสารอ้างอิง 13 อาจารย์ผู้สอน และผู้จัดทำ

ความฉลาดทางดิจิทัล | 1 WHAT IS DIGITAL INTELLIGENCE QUOTIENT ? ความฉลาดทางดิจิทัล (DQ : DIGITAL INRELLINGENCE QUOTIENT) คือ กลุ่มความสามารถทางสังคม อารมณ์ และการรับรู้ ที่จะสามารถทำให้คน คนหนึ่ง สามารถเผชิญกับความท้าทายของชีวิตดิจิทัล และสามารถปรับตัว แ ล ะ ป รั บ พ ฤ ติ ก ร ร ม ใ ห้ เ ข้ า กั บ ชี วิ ต ใ น ยุ ค ดิ จิ ทั ล ไ ด้ ซึ่งจะครอบคลุมความรู้ ทักษะ ทัศนคิติและค่านิยมที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตในฐานะสมาชิกโลกออนไลน์ กล่าวคือ ทักษะการใช้สื่ อและการเข้าสังคมในโลกออนไลน์ DIGITAL CITIZENSHIP ความเป็นพลเมืองดิจิทัล คือ พลเมืองผู้ใช้งานสื่ อดิจิทัล และสื่ อสังคม อ อ น ไ ล น์ ที่ เ ข้ า ใ จ ก า ร ป ฏิ บั ติ ตั ว ใ ห้ เ ห ม า ะ ส ม มีความรับผิดชอบในการใช้ เทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสื่ อสารในยุคดิจิทัล เป็นการสื่ อสารที่ไร้ พรมแดน ที่สมาชิกของโลกออนไลน์ ทุกคนที่ใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตบนโลกใบ นี้ ซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้ อชาติ อายุ ภาษา และวัฒนธรรม พลเมืองดิจิทัล จึงต้องเป็นพลเมืองที่มีความรับผิดชอบ จริยธรรม เห็นอกเห็นใจและเคารพผู้อื่ น มีส่วนร่วม และมุ่งเน้นความเป็นธรรมในสังคม โดยการเป็นพลเมืองในยุคดิจิทัล นั้น จะมีทักษะที่สำคัญทั้งหมด 8 ประการ

ความฉลาดทางดิจิทัล | 2 8 SKILLS OF DIGITAL CITIZENSHIP ทักษะความฉลาดทางดิจิทัล 8 ด้าน การรักษาอัตลักษณ์ที่ดีของตนเอง การรักษาข้อมูลส่วนตัว การคิดวิเคราะห์มีวิจารณญานที่ดี การบริหารจัดการข้อมูล ที่ผู้ใช้งานทิ้งไว้บนโลกออนไลน์ การใช้เทคโนโลยีอย่างมีจริยธรรม การรักษาความปลอดภัย ของตนเองในโลกออนไลน์ การรับมือกับ ภัยคุกคามทางโลกออนไลน์ การจัดสรรเวลาหน้าจอ

ความฉลาดทางดิจิทัล | 3 1 ทักษะในการรักษาเอกลักษณ์ที่ดีของตนเอง DIGITAL CITIZEN IDENTITY ทักษะที่สามารถสร้างและบริหารจัดการอัตลักษณ์ที่ดีของตนเองไว้ได้อย่างดี ทั้ง ในโลกออนไลน์และโลกความจริง อัตลักษณ์ที่ดีคือ การที่ผู้ใช้สื่อดิจิทัลสร้างภาพ ลักษณ์ในโลกออนไลน์ของตนเองในแง่บวก ทั้งความคิด ความรู้สึก และการกระทำ โดยมีวิจารณญานในการรับส่งข่าวสารและแสดงความคิดเห็น มีความเห็นอกเห็นใจผู้ ร่วมใช้งานในสังคมออนไลน์ และรู้จักรับผิดชอบต่อการกระทำ ไม่กระทำการที่ผิด กฎหมาย และจริยธรรมในโลกออนไลน์ เช่น การละเมิดลิขสิทธิ์ การกลั่นแกล้งหรือการ ใช้วาจาที่สร้างความเกลียดชังผู้อื่ นทางสื่ อออนไลน์ จริงใจ ไม่ปลอม สร้างตัวตนในโลกออนไลน์ให้เหมือนตัวจริง แปลงตัวตน ใช้สื่อดิจิทัลสร้างภาพลักษณ์ในโลกออนไลน์ของ ตนเองในแง่บวก ทั้งความคิด ความรู้สึก เช่น ไม่ใช้ คำหยาบคาย ดูหมิ่นผู้อื่น การนับถือตนเอง ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นที่เผยแพร่ในรูปดิจิทัล และนับถือผู้อื่น เคารพกฎหมายและจริยธรรมบนโลกออนไลน์ ไม่ ละเมิดลิขสิทธิ์ผลงานของผู้อื่น เช่น นำรูปภาพมาใช้ ทางการค้าโดยไม่ผ่านการตกลงกับเจ้าของ คัดลอก ผลงานของผู้อื่น หรือเผยแพร่สื่อไม่ถูกลิขสิทธิ์ การป้องกันตนเอง ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นที่เผยแพร่ในรูปดิจิทัล และป้องกันผู้อื่น มีอิสระในการแสดงออก แต่ต้องรับผิดชอบในการ กระทำของตนเอง ไม่เผยแพร่ข้อมูลส่วนตัวของ ตนเองและผู้อื่น TIPS : สร้างอัตลักษณ์ที่ดีของตนเอง ทั้งในโลกออนไลน์และโลกความจริง FOR TEACHER สร้างทัศนคติและความเชื่อที่ดี เพื่อเป็นต้นแบบแม่พิมพ์ที่ดีให้กับนักเรียน อัตลักษณ์ตัวตนและการใช้ชีวิตในโลกดิจิทัล

ความฉลาดทางดิจิทัล | 4 2 ทักษะการคิดวิเคราะห์มีวิจารณญาณที่ดี CRITICAL THINKING ความสามารถในการวิเคราะห์แยกแยะระหว่างข้อมูลที่ถูกต้องและข้อมูลที่ผิด ข้อมูลที่มีเนื้อหาเป็นประโยชน์ และข้อมูลที่เข้าข่ายอันตราย ข้อมูลติดต่อทางออนไลน์ ที่น่าตั้งข้อสงสัยและน่าเชื่อถือได้ เมื่อใช้อินเทอร์เน็ต จะรู้ว่าเนื้อหาอะไร มีประโยชน์ รู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ สามารถวิเคราะห์และประเมิน ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่ หลากหลายได้ เข้าใจรูปแบบการหลอกลวงต่างๆ ในโลกไซเบอร์ เช่น ข่าวปลอม เว็บ ปลอม ภาพตัดต่อ เป็นต้น FAKE NEWS ใช้วิจารณญานในการวิเคราะห์ แยกแยะระหว่าง ข้อมูลที่ถูกต้องและข้อมูลที่ผิด ไม่หลงเชื่อข่าวเท็จ เว็บปลอม ภาพตัดต่อ คำโฆษณาชวนเชื่อ รู้เท่าทันสื่อ รู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ วิเคราะห์และประเมิน ข้อมูลจากแหล่งที่หลากหลาย เช่น ข้อมูลที่มีแหล่ง อ้างอิงเชื่อถือได้ 5 เทคนิคสร้างทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ FAKE NEWS รู้ทันข่าวปลอม ข่าวลวง ECHO TIPS : ตรวจสอบข่าวสารจากแหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้เสมอก่อนนำมาใช้ในการเรียนการสอน FOR TEACHER : สนับสนุนและเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ให้แก่นักเรียน : ใช้วิจารณญานประเมินความเสี่ยง อย่างรอบคอบอย่างมีความรู้กว้างขวาง

ความฉลาดทางดิจิทัล | 5 ทักษะในการรักษาความปลอดภัยของตนเองในโลกไซเบอร์ 3 CYBERSECURITY MANAGEMENT ทักษะที่ป้องกันข้อมูลด้วยการสร้างระบบความปลอดภัยที่เข้มแข็ง และป้องกัน การโจรกรรมข้อมูล หรือการโจมตีออนไลน์ได้ มีทักษะในการรักษาความปลอดภัยของ ตนเองในโลกออนไลน์ การรักษาความปลอดภัยของตนเองในโลกไซเบอร์คือ การปกป้องอุปกรณ์ดิจิทัล ข้อมูลที่จัดเก็บและข้อมูลส่วนตัว ไม่ให้เสียหาย สูญหาย หรือถูกโจรกรรมจากผู้ไม่หวัง ดีในโลกไซเบอร์ การรักษาความปลอดภัยทางดิจิทัล รักษาความเป็นส่วนตัวและความลับ ป้องกันการขโมยอัตลักษณ์ การรักษาความปลอดภัยจะทำให้ข้อมูล ตัวอย่างเช่น การทำธุรกรรมออนไลน์ ที่เป็นความลับถูกป้องกันจากการรั่วไหล หากไม่มีการรักาาความปลอดภัย อาจถูก และการโจรกรรมได้ อุปกรณ์ดิจิทัลจึงมี มิจฉาชีพขโมยข้อมูลไปสวมรอยทำ ความปลอดภัย ธุรกรรมต่าง ๆ ได้ เช่น กู้ยืมเงิน รับผล ประโยชน์แทน ป้องกันการโจรกรรมข้อมูล ป้องกันความเสียหายของอุปกรณ์ และข้อมูล ข้อมูลต่าง ๆ นั้น มักเก็บรักษาในรูปของ ดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นเอกสาร ภาพถ่าย ภัยคุกคามทางไซเบอร์ทำให้เกิดผลเสีย หรือคลิปวีดิโอ ข้อมูลเหล่านี้อาจจะถูก ต่อข้อมูลและอุปกรณ์ดิจิทัล อันตรายต่อ โจรกรรมเพื่อนนำไปขายต่อ แบล็คเมล์ ข้อมูลและอุปกรณ์ที่เก็บรักษา สร้าง ความเสียหายร้ายแรงให้กับคอมพิวเตอร์ หรือระบบปฏิบัติการได้ ปลอดภัยไซเบอร์ ECHO

ความฉลาดทางดิจิทัล | 6 4 ทักษะในการรักษาข้อมูลส่วนตัว PRIVACY MANAGEMENT มีความสามารถในการบริหารจัดการข้อมูลส่วนตัว รู้จักปกป้องข้อมูลความเป็น ส่วนตัวในโลกออนไลน์ โดยเฉพาะการแชร์ข้อมูลออนไลน์ เพื่อป้องกันความเป็นส่วน ตัวทั้งของตนเองและผู้อื่น รู้เท่าทันภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ตเช่น ไวรัสคอมพิวเตอร์ กลลวงทางไซเบอร์ มีความสามารถในการบริหารจัดการข้อมูลส่วนตัว โดยเฉพาะ การแชร์ข้อมูลออนไลน์ เพื่อป้องกันความเป็นส่วนตัวทั้งของตนเองและผู้อื่น จะต้องมี ความตระหนักในความเท่าเทียมกันทางดิจิทัล เคารพในสิทธิของคนทุกคน รวมถึงต้อง มีวิจารณญาณในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลตนเองในสังคมดิจิทัล รู้ว่าข้อมูล ใดควรเผยแพร่ ข้อมูลใดไม่ควรเผยแพร่ และต้องจัดการความเสี่ยงของข้อมูลของตน ในสื่ อสังคมดิจิทัลได้ด้วย 5 วิธีปกป้องข้อมูลส่วนตัว จากภัยบนโลก ออนไลน์ ข้อมูลส่วนบุคคล สำคัญ อย่างไร

ความฉลาดทางดิจิทัล | 7 5 ทักษะในการจัดสรรเวลาหน้าจอ SCREEN TIME MANAGEMENT ทักษะการบริหารจัดการเวลาหน้าจอ เป็นเรื่องสำคัญที่พลเมืองดิจิทัลควรได้ ฝึกฝนเพื่อการใช้เทคโนโลยีอย่างมีความรับผิดชอบ ไม่เสพติดหรือหมกมุ่นอยู่แต่ใน โลกออนไลน์ มีความตระหนักถึงผลกระทบ ของการใช้สื่อดิจิทัลที่มากเกินไป การรู้เท่า ทันสื่อและใช้เทคโนโลยีอย่างชาญฉลาดจะช่วยให้พลเมืองดิจิทัล รู้จักการสร้างความ สมดุลระหว่างชีวิตดิจิทัลกับชีวิตจริง พร้อมทั้งรู้จักการรักษาปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับ ครอบครัว คนรู้จัก และหลีกเลี่ยงผลกระทบอันเกิดจากการใช้เวลาหน้าจอมากเกินไป PLANE POWER OFF จำกัดเวลาการใช้หน้าจอ งดใช้ในช่วงเวลาสำคัญ วางแผนการจัดสรรการใช้หน้าจอเกินความจำเป็น งดใช้อุปกรณ์ดิจิทัลในช่วงเวลาสำคัญ เช่น ผู้ปกครอง ครู และนักเรียนร่วมกันปรับเปลี่ยน ขณะรับประทานอาหาร ช่วงเวลาก่อนนอน พฤติกรรมการใช้หน้าจอ เพื่อลดการต่อต้าน หรือช่วงเวลาของครอบครัว เพื่อลดปัญหา กำหนดเวลาการใช้งานอุปกรณ์ดิจิทัลในบางช่วง สุขภาพและสร้างความสัมพันธ์ที่ดี ของแต่ละวัน เพื่อสุขภาพที่ดี เมื่อต้องใช้หน้าจอเป็นเวลานานติดต่อกัน ควร หยุดพักสายตาเป็นระยะ พร้อมขยับร่างกาย PLAY เล่นอย่างสร้างสรรค์ ลดการพูดคุย ติดต่อผ่านโซเชียล นัดพบในชีวิต จริงให้มากขึ้น หางานอดิเรกทำแทนการใช้หน้าจออย่างเดียว เล่นกิจกรรมสร้างสรรค์ที่จะช่วยลดการพึ่งพาหน้า จอมากเกินไป เช่น การออกไปทำกิจกรรมกลาง แจ้งกับเพื่อน ๆ ต่อเลโก้ หรืออ่านหนังสือ เมื่อต้องการสืบค้นข้อมูล สามารถค้นคว้าจากสื่อ อื่น ๆ นอกจากออนไลน์เช่น ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์

ความฉลาดทางดิจิทัล | 8 ทักษะในการบริหารจัดการข้อมูลที่ผู้ใช้งานทิ้งไว้บนโลกออนไลน์ 6 DIGITAL FOOTPRINTS รอยเท้าดิจิทัล (DIGITAL FOOTPRINTS) คืออะไร ? คำที่ใช้เรียกร่องรอยการกระทำต่างๆ ที่ผู้ใช้งานทิ้งรอยเอาไว้ในโลกออนไลน์ โซเชียลมีเดีย เว็บไซต์หรือโปรแกรมสนทนา เช่น การลงทะเบียน อีเมล การโพสต์ ข้อความหรือรูปภาพ เมื่อถูกส่งเข้าโลกไซเบอร์แล้ว จะทิ้งร่อยรอยข้อมูลส่วนตัวของ ผู้ใช้งานไว้ให้ผู้อื่นติดตามได้เสมอ แม้ผู้ใช้งานจะลบไปแล้ว ดังนั้น หากเป็นการกระทำ ที่ผิดกฎหมาย หรือศีลธรรม ก็อาจมีผลกระทบต่อชื่อเสียงและภาพลักษณ์ของผู้กระทำ ดังนั้นรอยเท้าดิจิทัลคือ ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกอินเทอร์เน็ตที่บอกเรื่องของเรานั่นเอง ไม่โพสสิ่งที่ไม่ดีลงโซเชียล เช่น การบูลลี่ การเหยียดต่าง ๆ หรือการคุกคามทางเพศ ไม่โพสโชว์ของมีค่า เช่น บ้าน รถ ของสะสมที่มีมูลค่า จำกัดข้อมูลที่เปิดเผยและความเป็นส่วนตัว เช่น ไม่แชร์ตำแหน่งที่ตั้ง ที่ทำงาน ที่อยู่ หรือสถานที่ท่องเที่ยวที่ไป รู้เท่าทัน DIGITAL FOOTPRINT ก่อนสาย

ความฉลาดทางดิจิทัล | 9 7 ทักษะในการรับมือกับการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ CYBERBULLYING MANAGEMENT การกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์คือ การใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือหรือช่องทาง เพื่อก่อให้เกิดการคุกคาม ล่อลวง และการกลั่นแกล้ง บนโลกอินเทอร์เน็ตและสื่อสังคม ออนไลน์ โดยกลุ่มเป้าหมายมักจะเป็นกลุ่มเด็กจนถึงเด็กวัยรุ่น การกลั่นแกล้งบนโลก ไซเบอร์คล้ายกันกับการกลั่นแกล้งในรูปแบบอื่น แต่การกลั่นแกล้งประเภทนี้จะกระทำ ผ่านสื่อออนไลน์หรือสื่อดิจิทัล เช่น การส่งข้อความทาง โทรศัพท์ ผู้กลั่นแกล้งอาจจะ เป็นเพื่อนร่วมชั้น คนรู้จักในสื่อสังคมออนไลน์ หรืออาจจะเป็นคนแปลกหน้าก็ได้ ภัยคุกคามยุคใหม่ CYBER BULLYING ทักษะในการรับมือกับการ BULLY วิธีจัดการเมื่อถูกกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ หยุดการตอบโต้กับผู้ ปิดกั้นการสื่อสารกับ ผู้ ถ้าผู้กลั่นแกล้งยังไม่หยุด กลั่นแกล้ง LOGOUT กลั่นแกล้ง โดยการ การกระทำอีก ควร จากบัญชีสื่ อสังคม บล็อก จากรายชื่อผู้ ออนไลน์ หรือปิดเครื่อง ติดต่อ รายงานผู้ปกครอง ครู หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง มือสื่ อสาร BLOCK TELL STOP TIPS : สอดแทรกความรู้การจัดการเมื่อถูกกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ให้กับนักเรียนได้ FOR TEACHER : สร้างค่านิยมและตระหนักถึงผลเสียของกาารบูลลี่ผู้อื่น เป็นต้นแบบที่ดีให้กกับนักเรียน

ความฉลาดทางดิจิทัล | 10 8 ทักษะในการใช้เทคโนโลยีอย่างมีจริยธรรม DIGITAL EMPATHY มีความเห็นอกเห็นใจ และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่นบนโลกออนไลน์ แม้จะ เป็นการสื่อสารที่ไม่ได้เห็นหน้ากัน มีปฏิสัมพันธ์อันดีต่อคนรอบข้าง ไม่ว่าพ่อแม่ ครู เพื่อนทั้งในโลกออนไลน์และในชีวิตจริง ไม่ด่วนตัดสินผู้อื่นจากข้อมูลออนไลน์แต่เพียง อย่างเดียว และจะเป็นกระบอกเสียงให้ผู้ที่ ต้องการความช่วยเหลือ IS IT TRUE ? IS IT ILLEGAL ? เรื่องที่จะโพสต์เป็นเรื่องจริงหรือไม่ เรื่องที่จะโพสต์ผิดกฏหมายหรือไม่ IS IT HURTFUL ? เรื่องที่จะโพสต์ทำใครเดือดร้อนหรือไม่ THINK... IS IT NECESSARY ? BEFORE YOU POST เรื่องที่จะโพสต์มีสาระหรือความจำเป็น IS IT KIND ? หรือไม่ เรื่องที่จะโพสต์มีเจตนาดีหรือไม่ ก่อนที่จะโพสต์รูปหรือข้อความลงในสื่อออนไลน์ ไม่โพสต์ DIGITAL EMPATHY คืออะไร ขณะกำลังอยู่ในอารมณ์โกรธ สื่อสารกับผู้อื่นด้วยเจตนาดี ไม่ใช้ วาจาที่สร้างความเกลียดชังทางออนไลน์ ไม่เผยแพร่ข้อมูลส่วน ตัวของผู้อื่น ไม่กลั่นแกล้งผู้อื่นผ่านสื่อดิจิทัล โดยอาจตั้งความ ถามกับตัวเองก่อนโพสต์เสมอ คิดถึงใจเขาใจเราเสมอ จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

ความฉลาดทางดิจิทัล | 11 สรุปความรู้ที่ได้รับ ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม เป็นทักษะพื้นฐานที่ผู้เรียนทุกคนในศตวรรษ ที่ 21 ต้องได้รับ จุดเน้นของทักษะนี้อยู่บนพื้นฐานของการสร้างสรรค์ การคิดแบบมี วิจารณญาณ การสื่อสาร และการมีส่วนร่วมในการทำงาน ทั้งนี้ในการจัดการศึกษา ในศตวรรษที่ 21 ต้องมีการผสมผสานการมีความฉลาดทางดิจิทัล ซึ่งถือเป็นทักษะ ร่วมของทุกคนในสังคม ได้แก่ เอกลักษณ์พลเมืองดิจิทัล การบริหารจัดการเวลาบน โลกดิจิทัล การจัดการการกลั่นแกล้งบนไซเบอร์ การจัดการความปลอดภัยบนระบบ เครือข่าย การจัดการความเป็นส่วนตัว การคิดอย่างมีวิจารณญาณ ร่องรอยทาง ดิจิทัล ความเห็นอกเห็นใจและสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นทางดิจิทัล หากบุคคลมี การผสมผสานทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมและความสามารถทั้ง 8 ประการของ ความฉลาดทางดิจิทัลจะทำ ให้บุคคลนั้นมีความสามารถในการบริหารจัดการตนเอง รู้ผิดรู้ถูก และรู้เท่าทันสื่อ เป็นบรรทัดฐานในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลการเรียนรู้อย่าง เหมาะสม เรียนรู้ที่จะใช้เทคโนโลยีในการสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างชาญฉลาด และ มีความปลอดภัย

ความฉลาดทางดิจิทัล | 12 อ้ า ง อิ ง ธนวัฒน์ เจริญษา ,สุภาณี เส็งศรี. (2563) ความฉลาดทางดิจิทัลกับทักษะการ เรียนรู้และนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 : วารสารวิจัยและนวัตกรรม สถาบันการ อาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2563 นิตยา นาคอินทร์ ,สุภาณี เส็งศรี ,กิตติพงษ์ พุ่มพวง. (2563) 8 ทักษะ \"ความ ฉลาดทางดิจิทัล\" ของนักศึกษาวิชาชีพครูสู่การเป็นพลเมือง 4.0 : วารสารบัณฑิต ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย ปีที่ 14 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2564 HTTPS://WWW.SCIMATH.ORG/ARTICLE-TECHNOLOGY/ITEM/10611- DIGITAL-INTELLIGENCE HTTPS://WWW.SALIKA.CO/2019/04/03/8-SKILLS-FOR-DIGITAL- CITIZENSHIP HTTPS://WWW.OPS.GO.TH/MAIN/INDEX.PHP/KNOWLEDGE- BASE/ARTICLE-PR/1355-GOTO-CITIZENS21ST HTTP://CCLICKTHAILAND.COM/WP- CONTENT/UPLOADS/2020/04/CYBERSECURITY_FINAL.PDF

ความฉลาดทางดิจิทัล | 13 เสนอ STOP อ.แจ็ค อ.แอม อ.ดร.สุจิตตรา จันทร์ลอย อ.ดร.สุธิดา ปรีชานนท์ วิชา การพัฒนาความเป็นครู GD 58201 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง จัดทำโดย ใบเตย นางสาวพรรณราย สำเภาอินทร์ เลขที่ 10 หมู่ 2 ป.บัณฑิตรุ่น 23 รหัส 647190210



DIGITAL INTELLIGENCE QUOTIENT