Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore NEW NORMAL TEACHER

NEW NORMAL TEACHER

Published by Sirinya Mahaon, 2022-01-27 11:49:59

Description: คุณครูในยุค New normal

Search

Read the Text Version

NEW NORMAL TEACHERs SIRINYA MAHAON 64121070126

การเรียนการสอนในสถานการณ์โควิด - 19 ในหลายประเทศที่ประกาศมาตรการปิดโรงเรียน รัฐบาลมักจะออกมาตรการด้านการเรียนรู้มารองรับ ด้วยการเรียนทางไกลรูปแบบต่างๆ โดยพิจารณาจากเงื่อนไข ความพร้อมด้านอุปกรณ์ ความพร้อมของพ่อแม่ และความพร้อมตาม ช่วงวัยของเด็ก

รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่นิยมใช้ใน ณ ปัจจุบัน รูปแบบ Online การเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต ผ่านทางระบบ Video Conference รูปแบบ On - site การจัดการเรียนการสอนที่โรงเรียนตามปกติ หรืออาจมีการแบ่งนักเรียน ออกเป็น 2 กลุ่มแล้วสลับกันไปโรงเรียน อีกส่วนนึงจัดการเรียนการสอนรูปแบบออนไลน์ (Hybrid learning) รูปแบบ On hand สำหรับนักเรียนที่ไม่มีความพร้อมด้านอุปกรณ์การรับชม โดยการนำหนังสือ แบบฝึกหัด ใบงาน ไปเรียนรู้ที่บ้าน รูปแบบ On - Air การเรียนการสอนผ่านทีวี รูปแบบ On - demand ผ่านทางเว็บไซต์ DLTV (www.dltv.ac.th) ช่อง Youtube (DLTV Channel 1-15) และแอปพลิเคชั่น DLTV

บทสัมภาษณ์ อดีตผู้อำนวยการ โรงเรียนบ้านห้วยสำราญ อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลฯ นายสุรทัตน์ ตั้งพิทักษ์ไกร

การจัดการเรียนการสอนในยุคสถานการณ์โควิดกับ 1 สถานการณ์ปกติมีความแตกต่างกันอย่างไร สำหรับการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์ที่มีโรคระบาด นั้นโรงเรียนจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมหลายอย่างเพื่อ ให้เข้ากับสถานการณ์โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของนักเรียน บุคลากรภายในโรงเรียนเป็นอันดับแรก

1 อุปสรรคของการจัดการเรียนการสอนรูปแบบออนไลน์ หากเป็นอุปสรรคในด้านของผู้เรียนก็จะเป็นเรื่องของสัญญาณอินเตอร์เน็ตและข้อกำจัด ทางบ้านของนักเรียน เพราะนักเรียนบางคนไม่สามารถเรียนออนไลน์ได้จากหลายปัจจัย เช่นปัจจัยทางการเงิน หรือพื้นที่ห่างไกลสัญญาณ ก็ทำให้มีปัญหาตามมาได้ หากนักเรียน ไม่สามารถเรียนออนไลน์ได้ คุณครูก็สามารถมอบหมายใบงาน On hand ให้นักเรียนได้ ส่วนเรื่องอุปสรรคของผู้สอนก็จะเป็นเรื่องความไม่เชี่ยวชาญทางเทคโนโลยี ซึ่งอาจทำให้ การสอนล่าช้าในเวลาที่จำกัด

1 ข้อดีของการเรียนออนไลน์ นักเรียนสามารถสืบค้นข้อมูลหรือเรียนรู้ด้วยตนเองได้อย่างกว้างขวาง สามารถเรียนรู้ได้หลายทางและเลือกวิธีที่ตนเองถนัดที่สุดได้ อยู่ที่ไหนก็สามารถเรียนได้เพียงแค่มีสมาร์ทโฟน สามารถลดภาระค่าใช้ จ่ายผู้ปกครองได้ในบางเรื่อง นักเรียนมีความกล้าที่จะออกความคิดเห็น มากขึ้น

1 ข้อเสียหรือข้อจำกัดของการเรียนออนไลน์ ผู้สอนจำเป็นต้องมีความเข้มงวดกับนักเรียน เช่นบังคับให้นักเรียนเปิด กล้องตลอดเวลาสอน และไม่สามารถตรวจสอบความสงสัยและความ เข้าใจของนักเรียนได้อย่างคลอบคลุมหรืออาจทำได้ยากกว่าการเรียน การสอนในห้องเรียน บางทีไม่สามารถสร้างแรงจูงใจในการเรียนของ นักเรียนได้เท่าที่ควร

มีวิธีอย่างไรในการรับมือสถานการณ์ที่กดดัน 1 หรือเคร่งเครียดจากการสอน \" ไม่มีอะไรคงอยู่เสมอไป \" ต้องรู้ตัวอยู่แล้วว่าการเป็นครูจะต้องแบกรับภาระหน้าที่ต่าง ๆ มากมายอยู่แล้ว ต้องมีความอดทนต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น คำนึงถึงผลประโยชน์ของศิษย์ เป็นหลัก หากอยู่ในสภาวะเคร่งเครียด เราก็แค่พักผ่อน หาอะไรที่ชอบทำเพื่อ ผ่อนคลาย การมองโลกในแง่บวกก็เป็นสิ่งสำคัญ หากวันนี้เราเหนื่อยเราก็แค่พัก วันถัดไปเดี๋ยวทุกอย่างก็ดีขึ้น ไม่มีอะไรคงอยู่เสมอไป

''ครูดี'' คืออะไร ครูที่ดีคือ รู้ดี สอนดี มีวิสัยทัศน์ ต้องเป็นครูที่ใจกว้าง พร้อม ให้โอกาสคน อุทิศตนเพื่ออนาคตของศิษย์ เป็นตัวอย่างที่ดีให้ แก่ผู้อื่น สามารถสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ทำอะไรหวัง ผลประโยชน์ส่วนตัว มีจรรยาบรรณวิชาชีพครู

1 คาดหวังอะไรจากการศึกษาประเทศไทยในปั จจุบัน ด้วยเทคโนโลยีทำให้การศึกษาสามารถเข้าถึงผู้คนได้อย่างง่ายดายขึ้น แต่ สิ่งที่ยังคงฉุดรั้งการศึกษาประเทศไทยไว้นั่นคือความคิดที่ล้าหลังของคน รุ่นเก่าบางคนที่ไม่ยอมปรับเปลี่ยนไปตามกาลเวลา ดังนั้นจึงหวังว่าการ ศึกษาของคนสมัยนี้จะมีความเปิดกว้างและพัฒนาไปได้ไกลกว่า เร็วกว่า ณ ปัจจุบัน เพราะเด็ก ๆ คืออนาคตของประเทศชาติ

ดังนั้นแนวทางการจัดการเรียนรู้ในยุค New Normal ควรคำนึงถึงหลักการดังนี้ “ พลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส ” 1. กระชับหลักสูตร ปรับให้สอดคล้องกับสถานการณ์โควิด-19 และสื่อสาร ให้ผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนทราบ หลักสูตรการศึกษาพื้นฐานของไทยในปัจจุบัน เน้นเนื้อหามาก ครูจำเป็นต้องใช้เวลาเยอะเพื่อสอนได้ครบถ้วน และไม่เอื้อให้นักเรียนมีส่วนร่วม ( Active Learning ) เท่าที่ควร ซึ่งควรกระชับหลักสูตรโดยเน้นเนื้อหาจำเป็น ตามมาตรฐานของแต่ละช่วงวัย เพื่อให้ครูสามารถนำไปวางแผนการสอนและใช้เวลาได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งออกคู่มือหลักสูตรฉบับย่อสำหรับผู้ปกครอง เพื่อสื่อสารให้เข้าใจถึงหลักสูตรที่เปลี่ยนแปลงไป

2. เพิ่มความยืดหยุ่นของโครงสร้างเวลาเรียนและความหลากหลาย ของรูปแบบการเรียนรู้ ความยืดหยุ่นในการใช้เวลาและการเลือกรูปแบบการเรียนจะทำให้ครูสามารถออกแบบหน่วยการเรียนรู้ที่เหมาะสม และส่งเสริมการเรียนรู้รายบุคคล ( personalized learning ) ดังตัวอย่างของรัฐ Alberta ประเทศแคนาดา ซึ่งมีแนวทางสนับสนุนให้ครูจัดการเรียนรู้ด้วยแบบผสมผสาน (blended learning) โดยแนะนำการกำหนด จำนวนชั่วโมงการเรียนรู้รูปแบบต่างๆ ได้แก่ ชั่วโมงเรียนรู้ผ่านจอสำหรับเด็กแต่ละช่วงวัย โดยคำนึงถึงพัฒนาการด้านร่างกาย (ปัญหาด้านสายตา) และ พัฒนาการด้านสังคม (ปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น) ชั่วโมงการเรียนรู้ด้วยตนเองที่บ้านจากการทำใบงาน ชิ้นงาน ค้นคว้าด้วยตัวเอง ชั่วโมงที่ครูและนักเรียนทำกิจกรรมเรียนรู้ร่วมกัน ในกรณีของไทย แม้หลักสูตรแกนกลางของไทยเปิดให้มีความยืดหยุ่นในการกำหนดชั่วโมงเรียน แต่ก็ยังมีข้อ กำหนดเกี่ยวกับโครงสร้างเวลาเรียนที่ค่อนข้างแข็งตัว

3. ออกแบบหน่วยการเรียนรู้ และสอนอย่างมีแผนที่เหมาะสม ในสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป ครูจะต้องเตรียมความพร้อมก่อนการสอนแบบใหม่ วิธีการหนึ่งคือ การออกแบบหน่วยการเรียนรู้ ซึ่งจะนำไปสู่การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ หลังการระบาดของโควิดสิ้นสุดลง ซึ่งควรเริ่มต้นโดยการจัดกลุ่มตัวชี้วัดให้เป็นหน่วยการเรียนรู้ ซึ่งจะทำให้แผนการเรียนรู้มีความยืดหยุ่นตามสถานการณ์การระบาด ในการจัดหน่วยการเรียนรู้สามารถจัดตาม เนื้อหาหรือตามประเด็นที่น่าสนใจ และยังสามารถบูรณาการข้ามวิชาหรือในวิชาเดียวกันหลังจากกำหนดคำถาม สำคัญของแต่ละหน่วย และวางแผนการติดตามการเรียนรู้ตามตัวชี้วัดด้านความรู้ ทักษะ และเจตคติอย่างชัดเจน เลือกสื่อการเรียนรู้ ที่เหมาะสมกับเด็ก และสื่อสารกับพ่อแม่ให้ทราบถึงบทบาทที่จะเปลี่ยนไป

4. ยกระดับการประเมินเพื่อการพัฒนา (formative assessment) เพื่อไม่ให้ เด็กเสียโอกาสพัฒนาความรู้และทักษะ เมื่อนักเรียนไปโรงเรียนตามปกติไม่ได้ ครูกับนักเรียนก็จะมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันลดลง ทำให้ครูไม่สามารถติดตาม พัฒนาการของนักเรียนได้เต็มที่ อาจทำให้ไม่สามารถรู้ปัญหาของนักเรียนได้ทันเวลา การประเมินเพื่อพัฒนาจึงไม่สามารถลดหรือละทิ้งไปได้ทั้งการประเมินเพื่อการเรียนรู้ (assessment for learning) ของเด็ก เพื่อให้ครูทราบถึงกระบวนการเรียนรู้ของเด็ก โดยจะสามารถให้ feedback กับเด็กและปรับ แผนการเรียนรู้ได้ตรงตามสถานการณ์ และการประเมินซึ่งทำให้เกิดการเรียนรู้​(assessment as learning) ของเด็ก โดยครูเปิดโอกาสให้เด็กย้อนคิดถึงกระบวนการเรียนของตนเอง กระบวนการนี้จะทำให้เด็ก มีความรับผิดชอบและเป็นเจ้าของการเรียนรู้ของตนเองมากขึ้น รวมถึงเมื่อเด็กเข้าใจตนเองก็จะเป็นโอกาส ที่จะวางแผนการเรียนรู้ของตนเองร่วมกับผู้ปกครองและครูได้

5. ควรให้น้ำหนักการประเมินโอกาสทางการเรียนของเด็กมากกว่าการวัด ความรู้ด้วยคะแนนสอบ สถานการณ์โรคระบาดในปั จจุบันทำให้ต้องใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลาย ดังนั้น คุณภาพการศึกษาที่เด็กจะได้รับในแต่ละพื้นที่จะไม่เหมือนกัน จึงไม่สามารถใช้คะแนนวัดความรู้ หรือทักษะแบบเดียวกันเพื่อให้เกิดความรับผิดรับชอบได้ จึงควรปรับเกณฑ์ข้อสอบวัดความรู้ (test-based) มาสู่การให้น้ำหนักกับตัวชี้วัดที่ไม่ใช่ด้านวิชาการ (non-academic measure) มากขึ้น เช่น อัตราการเข้าเรียน (attendance rate) หรืออัตราการออกกลางคัน (drop-out rate) เป็นต้น โดยการเก็บข้อมูลตัวชี้วัดเหล่านี้ที่สามารถใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย เพื่อลดภาระครู เช่น ใช้ระบบ Google Classroom บันทึกการใช้งาน ซึ่งจะช่วยทำให้เขตพื้นที่สามารถติดตาม และให้การสนับสนุนโรงเรียนได้ตรงกับความต้องการมากขึ้น

What is Growth Mindset ? Fixed Mindset \" Growth mindset คือกุญแจสู่ความสำเร็จ \" เป็นกระบวนการคิด โดยเชื่อว่า เราเกิด มาด้วยทักษะหรือความสามารถที่ติดตัว Growth Mindset หรือกรอบความคิดเชิงบวก มาแต่เกิด และเราก็ไม่สามารถ ที่สามารถพัฒนาและสร้างได้ในตัวบุคคล เปลี่ยนแปลงมันได้ ปั ญหาและอุปสรรคเป็นโอกาสในการเรียนรู้และพัฒนา โดยส่วนใหญ่มักจะมีความเชื่อว่า พวก ซึ่งให้ความสำคัญกับความพยายาม เขาเกิดมาพร้อมกับสิ่งดี ๆ บางอย่าง แนวความคิดที่ส่งผลต่อคุณลักษณะ รวมถึงพฤติกรรม และมีบางสิ่งที่ไม่ดี และการตอบสนองต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งแตกต่างตาม รูปแบบของกรอบความคิดของแต่ละบุคคล สามารถ เปลี่ยนแปลงและพัฒนาได้ทั้งด้านเชวน์ปัญญา ทักษะ ความสามารถ และบุคลิกภาพ

ทำไม Growth Mindset ถึงสำคัญกับเรา? การพัฒนากระบวนการคิดแบบ Growth Mindset ให้ได้แต่เนิ่น ๆ หรือตั้งแต่เด็ก จะเป็นกระบวนการนำพาให้เราประสบความสำเร็จและมีชีวิต ที่มีความสุขได้ การสอนให้เด็ก ๆ เข้าใจถึงพลังของการพยายามเรียนรู้กลยุทธ์ต่างๆ ที่จะทำให้เรียนรู้แต่ละสิ่งได้ดีขึ้น จะทำให้พวกเขารู้สึกมีพลังทางบวกและพยายาม มากขึ้นกว่าเดิม เมื่อเด็ก ๆ เรียนรู้และเข้าใจอย่างถูกวิธีว่า สมองของเราสามารถ เจริญเติบโต เรียนรู้และฝึกฝนได้ จะทำให้เขารู้สึกมีความมั่นใจ และไม่กลัวความผิดพลาดหรือความล้มเหลว เพราะฉะนั้นการสอนให้เด็กรู้จัก กระบวนการคิดแบบ Growth Mindset จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก

ลักษณะของผู้ที่มี Growth Mindset เป็นอย่างไร? พร้อมที่จะรับมือกับความท้าทาย มีความมุ่งมั่นที่จะเรียนรู้ มองว่าความล้มเหลวหรือความผิดพลาดเป็นสิ่งที่จะนำพาให้เราเติบโต พร้อมที่จะเรียนรู้หรือปรับปรุงเมื่อได้รับคำวิพากวิจารณ์ แทนการไม่ใส่ใจ รู้สึกได้รับแรงบันดาลใจจากผู้อื่น แทนที่จะรู้สึกว่าผู้อื่นกำลังคุกคามตนเอง เชื่อว่า ความสามารถต่าง ๆ เกิดขึ้นและพัฒนาได้จากการพยายามและฝึกฝน สนุกกับการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และพร้อมที่จะพัฒนาความฉลาด ความสามารถ และทักษะด้านอื่น ๆ ไปพร้อม ๆ กัน

ลักษณะของผู้ที่มี Fixed Mindset เป็นอย่างไร ไม่พร้อมที่เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ เพราะกลัวความล้มเหลว มองว่าความผิดพลาดที่เกิดขึ้น คือความล้มเหลวมากกว่าจะเป็นโอกาสในการเรียนรู้ข้างหน้า กลัวการเรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ ๆ พยายามหลีกเลี่ยงความเสี่ยง รู้สึกว่าต้องการการยอมรับ มีความเชื่อว่าความสามารถหรือทักษะที่มีนั้นมีมาตั้งแต่เกิด หรือถ้าไม่มี ก็ไม่มีตั้งแต่เกิด และก็ไม่มีอะไรจะมาเปลี่ยนแปลงได้ พยายามจะหาทางเพื่อพิสูจน์ความสามารถและความฉลาดของเขา แทนที่จะหาวิธีพัฒนาให้ดี ขึ้น เชื่อว่าความสามารถหรือทักษะที่ได้มาเกิดจากความสำเร็จโดยที่ไม่ต้องพยายาม

มีทางสอนเด็กที่มีความคิดแบบ Fixed Mindset ให้เปลี่ยน มาคิดแบบ Growth Mindset ได้หรือไม่ เราสามารถสอนวิธีการคิดแบบ Growth Mindset ได้โดยเน้นการชมความพยายาม มากกว่าการชมผลงาน กระบวนการคิดแบบเติบโตนี้ ขึ้นอยู่กับสิ่งที่เราจะมองและสอน ความยืดหยุ่นทางการคิด และ การให้ความสำคัญกับสิ่งต่าง ๆ รอบตัว หากเราตัดสินใจที่จะพัฒนาตนเองและเด็ก ๆ ให้มอง สิ่งรอบตัวให้ไปในทิศทางบวกร่วมกัน ทัศนคติต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการกระทำ กระบวนการทางความคิดที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ หรือ ความคาดหวังจากสิ่งต่าง ๆ รอบตัวแล้ว ก็จะทำให้เด็ก ๆ ได้มีส่วนร่วมกับประสบการณ์และการคิดบวกมากขึ้น

เริ่มต้นที่คุณครู เรียนรู้การสร้าง Growth Mindset 1. เรียนรู้ที่จะรับผิดชอบ ปรับปรุงเพื่อเปลี่ยนแปลง 2. ยอมรับและมองความล้มเหลว (setbacks) และการย้อนกลับ (Feeback) เป็นโอกาสในการพัฒนาทักษะ 3. สร้างโอกาสให้กับตนเอง มองหาความท้าทายใหม่ ๆ เพื่อการเรียนรู้ และเปิดโลกใหม่ 4. สร้างพลังบวกกับตัวเอง และสร้างความคาดหวังในตัวผู้เรียน 5. สื่อสารกับตนเองและกับผู้เรียนด้วยภาษา Growth Mindset เพื่อสร้าง พลังบวกแก่กันระหว่างคุณครูและผู้เรียน

สร้างห้องเรียนด้วย Growth Mindset 1. ก่อนที่จะพูดหรือกระทำสิ่งใด ลองพิจารณาการใช้ภาษาแบบ Growth Mindset เพื่อสร้างพลังบวก สร้างทัศนคติที่ดีให้กับตัวผู้เรียน เช่น “หนูทำไม่ได้ไม่เป็นไร ลองหาวิธีใหม่” 2. ชมอย่างเหมาะสม ไม่มากจนเกินไป หลีกเลี่ยงคำชม เช่น เก่ง ฉลาดมาก เพราะเป็นการลดแรง กระตุ้นและจะทำให้เด็กคิดว่าเก่งแล้ว ส่งผลต่อการปลูกฝัง Fixed mindset แต่เปลี่ยนเป็น “คุณครูภูมิใจที่หนูมีความตั้งใจเรียน” ชมด้วยเหตุผลที่แสดงถึงความตั้งใจ ความพยายามของผู้เรียน 3. ให้รางวัลกับความสำเร็จของผู้เรียน จากการทำกิจกรรมร่วมกัน ความขยันจากการตั้งใจเรียน 4. ท้าทายความสามารถผู้เรียนโดยแจ้งวัตถุประสงค์ให้ทราบตั้งแต่เริ่ม เพื่อกระตุ้นให้เกิดการมีส่วน ร่วมในกิจกรรม 5. รู้จักและเรียนรู้จากความผิดพลาด พิจารณาจากความผิดพลาดนั้น แล้วลุกขึ้นมาพัฒนาตนเอง แล้วฝึกฝนอีกครั้ง 6. ใช้การย้อนกลับ หรือ feedback เป็นเทคนิคในการพัฒนาผู้เรียน และให้เวลาให้เค้าได้พัฒนาจุด ด้อยนั้น

\" การสร้าง Growth Mindset ไม่ใช่เรื่องไกลตัว \" หากเป็นเรื่องของการปลูกฝังและย้ำเตือนการสร้างทัศนคติที่ดีให้กับผู้เรียน จัดการกับความล้มเหลวของตนเอง และสร้างโอกาสเพื่อพัฒนาต่อ

จากคำตอบสัมภาษณ์ที่บอกว่า '' ครูที่ดีคือ รู้ดี สอนดี มีวิสัยทัศน์ เป็นตัวอย่างที่ดี สามารถสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ '' นั้นเข้าข่ายกฎหมายที่ให้ความสำคัญกับวิชาชีพทางการศึกษา ตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 มาตรา 49 กำหนดให้มีมาตรฐานวิชาชีพ 3 ด้าน ประกอบด้วย 1. มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ หมายถึง ข้อกำหนดสำหรับผู้ที่จะ เข้ามาประกอบวิชาชีพ จะต้องมีความ รู้และมีประสบการณ์วิชาชีพเพียงพอที่จะประกอบวิชาชีพ จึงจะสามารถขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเพื่อใช้เป็นหลักฐาน แสดงว่าเป็นบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ และมีประสบการณ์พร้อมที่จะประกอบวิชาชีพทางการศึกษาได้ 2. มาตรฐานการปฏิบัติงาน หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในวิชาชีพ ให้เกิดผลเป็นไปตามเป้าหมายที่ กำหนด พร้อมกับมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความชำนาญในการประกอบวิชาชีพ ทั้งความชำนาญเฉพาะ ด้านและความชำนาญตามระดับคุณภาพของมาตรฐานการปฏิบัติงาน หรืออย่างน้อยจะต้องมีการพัฒนาตามเกณฑ์ที่กำหนดว่า มีความรู้ ความสามารถ และความชำนาญ เพียงพอที่จะดำรงสถานภาพของการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพต่อไปได้หรือไม่ นั่น ก็คือการกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องต่อใบอนุญาตทุกๆ 5 ปี 3. มาตรฐานการปฏิบัติตน หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับการประพฤติตนของ ผู้ประกอบวิชาชีพ โดยมีจรรยา บรรณของวิชาชีพเป็นแนวทางและข้อพึงระวังในการประพฤติปฏิบัติ เพื่อดำรงไว้ซึ่งชื่อเสียง ฐานะ เกียรติ และศักดิ์ศรีแห่ง วิชาชีพ ตามแบบแผนพฤติกรรม ตามจรรยาบรรณของวิชาชีพที่คุรุสภาจะกำหนดเป็นข้อบังคับต่อไป

จรรยาบรรณวิชาชีพครู 5 หมวด 9 ข้อ หมวด 1 จรรยาบรรณต่อตนเอง ข้อ 1 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องมีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ บุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และ การเมืองอยู่เสมอ หมวด 2 จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ ข้อ 2 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อ วิชาชีพ และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ

หมวด 3 จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ ข้อ 3 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องรัก เมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่ง เสริม ให้กำลังใจแก่ศิษย์ และผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่โดยเสมอหน้า ข้อ 4 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ทักษะ และนิสัยที่ถูกต้องดีงามแก่ศิษย์ และผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่อย่างเต็ม ความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ ข้อ 5 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ

ข้อ 6 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความ เจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์ และผู้รับบริการ ข้อ 7 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอ ภาค โดยไม่เรียกรับ หรือยอมรับผลประโยชน์จากการใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิ ชอบ หมวด 4 จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ ข้อ 8 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา พึงช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่าง สร้างสรรค์ โดยยึดมั่นในระบบคุณธรรม สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ

หมวด 5 จรรยาบรรณต่อสังคม ข้อ 9 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา พึงประพฤติปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการ อนุรักษ์ และพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา สิ่ง แวดล้อม รักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกท่าน ถือว่าเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องประพฤติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ และแบบแผนพฤติกรรมตามจรรยา บรรณของวิชาชีพ

ครูที่ดี เป็นผู้ที่พร้อม มีความรอบรู้ สามารถนำความรู้ ใน พัฒนาตนเอง ขยันเพิ่มพูนความรู้ ทางทฤษฎี ยุค อยู่ตลอดเวลา ไปปฏิบัติได้ New ของตนเอง Normal เอาใจใส่และเปิดใจ สามารถถ่ายทอด มีเหตุผล ใน รับฟังความคิดเห็น ความรู้ต่างๆ ให้กับผู้ รักความยุติธรรม เรียนได้อย่างดี เข้าใจ ผู้เรียนสามารถเข้าถึง อุดมคติ ของผู้เรียน ง่าย และสนุกสนาน เป็น ได้ง่าย อย่างไร

“ The roots of education are bitter, but the fruit is sweet. ” - Aristotle - ชื่อ นางสาวสิรินยา มหาอ้น เลขที่ 25 ( 64121070126 )


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook