Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore NAZI Concentration Camp

NAZI Concentration Camp

Published by Kachornpon, 2020-05-29 05:39:57

Description: NAZI Concentration Camp_12610489_นวพรรณ_สุขม่วง

Search

Read the Text Version

ในรอบ 100 ปีที่ผ่านมา โลกผ่านโศกนาฏกรรมฆ่าล้าง เผ่าพันธุ์มาแล้วนบั คร้งั ไม่ถว้ น ไมว่ ่าจะเป็นการสกู้ นั ระหว่างชนเผ่าทุต ซีกับฮูตูในรวันดา การสังหารโหดของเขมรแดง สงครามกลางเมืองใน ยูโกสลาเวีย หรืออาจรวมถึงการสังหารชาวโรฮิงญาในพม่าด้วย แต่ไม่ มีการสังหารโหดครั้งใดจะถูกจดจำได้มากเท่ากับ“โฮโลคอสต์” (holocaust) หรอื การฆ่าล้างเผา่ พันธ์ุชาวยวิ โดยนาซี โฮโลคอสต์ (อังกฤษ: The Holocaust) หรืออีกชื่อหนึ่งว่า โชอา (อังกฤษ: Shoah; ฮีบรู: ‫ )השואה‬เป็นการกระทำอย่างเป็น ระบบแลไตร่ตรองไว้ก่อนเพื่อทำลายกลุ่มชาติพันธ์ุ ในช่วงระหว่าง สงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งนาซีเยอรมนีและผู้ให้การสนับสนุนท้องถิ่น ฆ่ายิวยโุ รปประมาณ 6 ล้านคนอย่างเปน็ ระบบ คดิ เป็นสองในสามของ ประชากรยิวในทวีปยุโรป ระหว่างปี 1941 ถึง 1945 ซึ่งเยอรมนีและ ผู้ให้การสนับสนุนบีฑาและฆ่ากลุ่มอื่น รวมทั้งชาวสลาฟ (ส่วนใหญ่ ได้แก่ ผู้มีชาติพันธุ์โปแลนด์ เชลยศึกโซเวียต และพลเมืองโซเวียต) ชาวโรมา \"ผูป้ ว่ ยรักษาไม่หาย\" ผคู้ ัดคา้ นทางการเมอื งและศาสนา เช่น นักคอมมิวนิสต์และคริสต์ศาสนิกชนพยานพระยะโฮวา และชายรัก รว่ มเพศ เม่ือรวมผู้เสยี หายท้งั หมดจากการบีฑาของนาซีแลว้ จะมียอด ผู้เสยี ชวี ติ ถงึ 17 ลา้ นคน

คำนำ หนังสือเล่มนี้จัดทำขึ้นมาสำหรับผู้ที่ต้องการเรียนรู้หรือศึกษา เรื่องราวของค่ายกักกันนาซี ซึ่งคือสถานที่ที่เป็นหลักฐานทาง ประวัติศาสตร์ที่สำคัญของโลก เพื่อเป็นสิ่งเตือนใจว่าครั้งหนึ่งความ โหดร้ายเกิดจากการที่มนุษยก์ ระทำมนุษย์ด้วยกนั เอง ความเกลียดชัง เป็นเคร่ืองกระตุ้นความโหดร้ายจากเบื้องลึกของจิตใจมนุษย์ได้อย่าง ไม่น่าเชือ่ เพื่อเป็นการระลกึ ถึงผู้ที่ตกเปน็ เหยือ่ ของโศกนาฏกรรมครงั้ นี้ จึงได้จัดทำเพื่อเป็นความรู้ และนำเสนอข้อเท็จจริง ของเหตุการณ์ ในอดีต ยานอวกาศ

สารบัญ 1-6 7-8 ระบอบนาซี 8 - 13 คนื กระจกแตก 14 สลมั สำหรับชาวยิว 15 - 42 การแกป้ ัญหาชาวยวิ คร้ังสดุ ท้าย 43 - 63 ค่ายกักกัน 64 - 79 การทดลอง บนั ทึกของ แอนนา แฟรงค์

1 ระบอบนาซี นาซี (อังกฤษ: Nazi) ย่อมาจากคำในภาษาเยอรมันว่า นาชีโย นาลโซเซยี ลลิสท์ (เยอรมัน: Nationalsozialist) ท่ีแปลวา่ ชาตสิ ังคมนิยม (ชาตินิยม+สังคมนิยม) เป็นอุดมการณ์และวิถีปฏิบัติของพรรคนาซีและ ไรชท์ ส่ี าม อดุ มการณ์นาซีเชือ่ ในความสูงสดุ ของเชอื้ ชาติอารยัน และกล่าว อ้างว่าชาวเยอรมันเป็นชาติอารยันที่บริสุทธิ์ที่สุดพวกเขากล่าวอ้างว่า ความอยู่รอดของประเทศเยอรมนีในฐานะชาติที่ยิ่งใหญ่ในสมัยใหม่นี้ จำต้องสร้างระเบียบโลกใหม่ขึ้น เป็นจักรวรรดิในทวีปยุโรปซึ่งจะทำให้ ชาติเยอรมันมีผืนดินขนาดใหญ่ ทรัพยากร ตลอดจนการขยายตัวของ ประชากรที่จำเป็นต่อการแข่งขันกับมหาอำนาจอื่น ๆ ทั้งทางเศรษฐกิจ และทางทหาร บ ท ค ว า ม ท ี ่ น ่ า ส นใ จ ม า ก ข อง Ian Kershaw ช ื ่ อ The Uniqueness of Nazism ท่ีอธิบายว่า จดุ เด่นของระบอบนาซี คอื การฆา่ ล้างเผ่าพันธุ์อย่างเป็น “ระบบ” ซึ่งไมม่ รี ะบอบการเมืองใดๆ ทั้งก่อนหน้า และหลังจากนาซีที่ฆ่าอย่างเป็นระบบเช่นนี้ คำว่าเป็น “ระบบ” ในที่นี้ หมายถึง มีการใช้ความรู้ของโลกสมัยใหม่ ซึ่งประเด็นสำคัญคือ “ชาติ พนั ธ”ุ์ นอกจากนี้มีอุดมคติในระบอบนาซีว่าด้วย ‘working towards the Führer’ คือ เจ้าหน้าที่และผู้ปฏิบัติการในระบอบนาซีมุ่งทำงาน สนองความต้องการและเจตจำนงของท่านผู้นำ ฮิตเลอร์จะไม่เข้า แทรกแซงโครงสร้างระบบราชการ นอกจากเรื่องการต่างประเทศและ สงคราม แต่ปล่อยให้เจา้ หน้าทนี่ าซดี ำเนนิ กิจกรรมต่างๆ ของรัฐไปเองบน หลกั การข้างต้น

2 หลังจากเยอรมนีแพ้สงครามโลกครั้งที่ 1 ได้มีการเปลี่ยนแปลง การปกครองจากระบอบสมบูรณาญาณสิทธิราช มาเป็นระบอบ สาธารณรัฐ ถูกบังคับให้ทำสนธิสัญญาแวร์ซาย ที่ผู้แพ้ต้องเสียค่า ปฏิกรรมสงคราม สูญเสยี ดนิ แดน ถูกลดกำลงั ทหารและอาวุธลง จนทำให้ เกดิ ปัญหาเศรษฐกจิ และหมดสิ้นความมหาอำนาจ ต่อมาได้มีนักการเมืองคนสำคัญที่ได้ใช้นโยบายแก้ปัญหา เศรษฐกิจ ทำการกู้ศักดิ์ศรีเยอรมัน โดยการใช้นโยบายรวมชาติเยอรมัน จนเกดิ เปน็ จักรวรรดิ ไรซ์ที่ 3 จนไดม้ าเป็นประเทศมหาอำนาจของโลกอีก คร้ังหนง่ึ ซงึ่ นกั การเมืองคนน้กี ค็ ือ อดอล์ฟ ฮติ เลอร์ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (เยอรมัน: Adolf Hitler) เป็นนักการเมือง เยอรมันเชื้อชาติออสเตรีย หัวหน้าพรรคกรรมกรชาติสังคมนิยมเยอรมัน หรอื ท่ีรจู้ กั กนั ทว่ั ไปในชื่อ พรรคนาซี ฮติ เลอรด์ ำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เยอรมนี ระหว่าง ค.ศ. 1933–1945 และเป็นฟือเรอร์ของเยอรมนี ตั้งแต่ ค.ศ. 1934–1945 ฮิตเลอร์เป็นผู้นำสูงสุดของไรช์เยอรมัน ผู้จุดชนวน สงครามโลกครัง้ ทส่ี องในทวปี ยโุ รป และเปน็ ผู้เห็นชอบการฮอโลคอสต์

3 (เกิดเมื่อวนั ที่ 20 เมษายน ค.ศ. 1889 และเสียชวี ิตในวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 1945) ฮิตเลอร์ เป็นนักการเมืองเยอรมัน เชื้อสายออสเตรีย เคยเป็น ทหารในกองทัพเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 หลังสงครามโลกครง้ั ที่ 1 ได้เข้าร่วมพรรคนาซี หลังจากนั้น ฮิตเลอร์ก็ได้เป็นผู้นำพรรคนาซี และได้สร้างหน่อย SA และหน่วย SS เพื่อทำหน้าที่คุ้มครองและทำงาน ตามท่ีฮิตเลอร์สั่ง จากการที่รัฐบาลขาดเสถียรภาพในการปกครอง ทำให้ ประธานาธิบดีเยอรมัน คือ เพาล์ ฟ็อน ฮินเดินบวร์ค ได้แต่งตั้งฮิตเลอร์ เป็นนายกรฐั มนตรี เมอ่ื วนั ท่ี 30 มกราคม ค.ศ.1933 ตอ่ มาในปี ค.ศ.1934 ประธานาธิบดีฮนิ เดนิ บวร์ค ได้เสียชีวิตลง ทำใหฮ้ ติ เลอร์กลายเป็นผนู้ ำเยอรมัน ฮติ เลอรไ์ ด้ทำการเปลี่ยนช่ือประเทศ จากสารธารณรัฐไวมาร์ มาเป็นจักรวรรดิไรซ์ที่ 3 ที่มีการปกครองแบบ เผดจ็ การเบ็ดเสรจ็ โดยมีพรรคนาซพี รรคเดียวท่ปี กครองประเทศ และได้มี การใชส้ ญั ลักษณส์ วัสติกะ เป็นสญั ลักษณข์ องจักรวรรดิไรซท์ ี่ 3 ฮติ เลอร์ได้

4 เตรียมตัวทำสงครามโดยทำการฉีกสนธิสัญญาแวร์ซาย ด้วยการเกณฑ์ ทหารและผลติ อาวุธจำนวนมาก มีนโยบายกำจัดชาวยิว โดยการส่งไปที่ค่ายกักกันเพื่อให้ใช้ แรงงาน และสงั หารชาวยิวทงิ้ เขานำการสร้างเสริมกำลังอาวุธขึ้นใหม่และการบุกครอง โปแลนด์ ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1939 อันนำไปสู่การปะทุของ สงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป ภายในสามปีใต้การนำของฮิตเลอร์ กองทัพเยอรมันและพันธมิตรในยุโรปยึดครองดินแดนยุโรปและแอฟริกา เหนือส่วนใหญ่ อย่างไรก็ดี สถานการณ์ค่อยพลิกผันหลัง ค.ศ. 1941 กระทั่งกองทัพสัมพันธมิตรเอาชนะกองทัพเยอรมันใน ค.ศ. 1945 นโยบายความสูงสุดและที่กระตุ้นดว้ ยการถือชาติพันธุ์ของฮิตเลอร์ลงเอย ด้วยการฆาตกรรมผู้คนนับ 17 ล้านคนอย่างเป็นระบบในจำนวนนี้เป็น ชาวยวิ เกือบหกล้านคน ปลายสงคราม ระหวา่ งยทุ ธการเบอร์ลินใน ค.ศ. 1945 ฮิตเลอร์ แต่งงานกับเอฟา เบราน์ ทั้งสองทำอัตวินบิ าตกรรมเมื่อวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 1945 เพื่อหลกี เลย่ี งไมใ่ ห้ถูกกองทพั แดงของโซเวียตจบั ตัว และสง่ั ให้ เผารา่ งของตน

5 ระบอบนาซกี ็มีความเป็นรฐั ซ้อนรฐั อกี ที? “นี่เป็นข้อเสนอของ แฟรงเคิล (Ernst Fraenkel) เสนอว่าตัว พรรคนาซีเองเป็นองคก์ รท่ีซ้อนรฐั อยู่ในรัฐเยอรมัน ภาษาวิชาการเรยี กว่า double state (หนังสอื The Dual State, 1941) ภาพที่น่าสนใจก็คือ ตอนฮิตเลอร์ขึ้นมามีอำนาจใหม่ๆ และ หลังจากนั้น จะมีกองตำรวจของรัฐบาลกลางเยอรมัน ซึ่งกุมอำนาจโดย พรรคนาซอี ยูแ่ ล้ว เดินตรวจตราความเรียบร้อยในเมือง แตจ่ ะมีอีกคนหนึ่ง เดินคู่ไปด้วย เป็นตำรวจของพรรคนาซีเอง ที่เรียกว่าหน่วย SA (Sturmabteilung) ในตอนแรกเป็น SA ต่อมาแข่งอำนาจกันกับฮิตเลอร์ หาว่าฮิต เลอร์ไมส่ ามารถปฏวิ ตั ิเยอรมนเี ปน็ นาซีได้แท้จรงิ พวก SA จะก่อกบฏ ฮิต เลอร์เลยสนับสนุนอีกคนให้ตั้ง SS (Schutzstaffel) ขึ้นมา แล้วจัดการ ผู้นำกลุ่ม SA จนเหลือแต่ SS ก็เป็นตำรวจเปิดเผย ไม่ใช่ตำรวจลับ แล้ว เดินมาคูก่ ันเลยระหว่างตำรวจรัฐบาลกลางกบั ตำรวจของพรรคนาซี คือมี พรรคการเมืองไหนไหมท่ีมีตำรวจเปน็ ของตัวเอง แตฮ่ ิตเลอรท์ ำได้ เราเรียกภาวะอย่างนี้ว่าเป็นรัฐซ้อนรัฐ แล้วพวกนี้จะพกหมาไป เดินด้วย เป็นหมาฝรั่งตวั ใหญ่ๆ เอาไว้กัดศัตรูทางการเมือง บางทีก็กัดตอ่ หน้าสาธารณชน จุดประสงค์คือ ไม่ใช่ว่าหมากัดแล้วเจ็บกว่าลูกปืน แต่ เ ป็นเ พร าะ ต ้องการ ทำให้คนนั้ นร ู้ส ึก ถึ งความ อับ อ ายอย่า งถ ึง ท ี ่ สุ ด (humiliate) โดยเฉพาะอย่างย่ิง คนทีเ่ ปน็ ยิว” บทความจาก ตลุ ย์ อศิ รางกูร ณ อยุธยา ใน 101world

6 แนวคิดที่จะคงไว้เพียงชาติพันธุ์เยอรมันเพียงชาติพันธุ์เดียว Volksgemeinschaft คำนี้เป็นคำที่ระบอบนาซีใช้ ‘Volk’ คือประชาชน ส่วน ‘Gemeinschaft’ คือชุมชน (community) ที่เป็นชุมชนแบบโบราณ เพราะถ้าเป็นชุมชนสมัยใหม่ จะใช้ Gesellschaft ที่แปลว่าสังคม (society) ทีนี้ Volk คือประชาชาติ เป็นเอกพจน์ในภาษาเยอรมัน รูป พหพู จนค์ อื Völker เพราะฉะนั้นประชาชาตนิ ี้มีแคเ่ ช้อื ชาติเดียว ชุมชน น้จี งึ เปน็ คำท่ีผมแปลในภาษาไทยวา่ ‘ชมุ ชนเอกชาตพิ ันธุ์’ คอื เป็นชุมชน ที่มีอยู่เพียงชาติพันธ์ุเดียว เพราะใช้คำว่า Volk ไม่ใช่ Völker และนี่คือ ชุมชนที่มีชาติพันธุ์เยอรมันเท่านั้น ไอเดียนี้เป็นไอเดียของฮิตเลอร์ท่ี ต้องการกำจัดยวิ เป็นหลัก พูดอีกอย่างก็คือการต่อต้านเชื้อชาติอ่ืนท่ฮี ติ เลอร์คดิ วา่ เปน็ อริกับอดุ มการณข์ องระบอบนาซี ในการเลือกตั้งปี ค.ศ. 1932 ฮิตเลอร์นำเสนอนโยบาย Volksgemeinschaft ซึ่งเป็นการสร้างสังคมใหม่ขึ้นมา เป็นสังคมท่ี ปราศจากความขัดแย้งทางชนชั้น ทุกคนมีสิทธิ์อย่างเท่าเทียมกันบนฐาน ของเชื้อชาติ และต้องเป็นเยอรมันเท่านั้น เขามองว่ามันเป็นกลไกที่จะ สลายความขดั แย้งและความวนุ่ วายในสังคม นโยบายนส้ี อดคล้องกันดีกับ ไอเดียของคริสต์ศาสนาโปรเตสแตนต์ซึ่งประชากรส่วนใหญ่กว่า 2 ใน 3 ของประเทศนับถืออยู่ นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมฮิตเลอร์จึงได้เสียง สนบั สนนุ จากผ้คู นจำนวนมาก

7 คืนกระจกแตก เดือนพฤศจิกายน 1938 มันเกิดสิ่งที่เรียกว่า คืนกระจกแตก (Kristallnacht – The Night of Broken Glass) เหตุการณ์ที่ปลุกป่ัน ความเกลียดชังชาวยิว ในช่วงกอ่ นสงครามโลกคร้งั ที่สอง คริสทัลล์นัคท์เป็นเหตุการณ์การสังหารหมู่ชาวยิวในวันที่ 9-10 พฤศจิกายน 1938 เกือบๆ หนึ่งปีก่อนที่สงครามโลกครั้งที่สองจะเริ่มต้น ขึ้น และส่งผลให้มีชาวยิวเสียชีวิตกว่า 91 ราย และนี่ก็นับเป็นจุดเปลี่ยน สำคญั จดุ หนง่ึ ของเยอรมนีเลยกว็ ่าได้ เรื่องราวมันเกิดขึ้นเมื่อมีชาวยิวชื่อเฮอรเ์ ชล กรินสปัน เขาลอบ สงั หารเจ้าหนา้ ที่การทูตของนาซี ในสถานทูตเยอรมนั ท่ีประเทศฝร่ังเศส แม้ไม่อาจฟันธงได้ว่าการกระทำของเขานั้นมาจากความโกรธ แค้นที่นาซีปฏิบัติต่อชาวยิว หรือว่านี่เป็นเพียงแผนการของนโยบายทาง เช้อื ชาตขิ องนาซกี ันแน่ แต่การกระทำของเขาก็ทำใหม้ ีคนเยอรมันจำนวน มากลุกขึ้นตอ่ ตา้ นชาวยิว

8 ในวันนั้นมีการจลาจลที่เกิดขึ้นจากความเกลียดชังขึ้นทั่วท้องถนนของ เยอรมนี มีคนจำนวนมากเข้าไปทำลาย บา้ น รา้ นคา้ และโบสถข์ องชาวยิว ที่เหตุการณ์เลวร้ายถึงขั้นนี้นั้นเชื่อกันว่ามาจากการปลุกปั่นของทาง พรรคนาซี เพราะมีการบันทึกไว้ว่า ไฮน์ริช มูลเลอร์หน่วยตำรวจลับของ ฮิตเลอร์ได้ทำการส่งโทรเลขไปห้ามตำรวจไม่ให้เข้าไปยุ่งกับการจลาจล ของชาวเยอรมนี

9 นั่นทำให้ในเวลาเพียง 2 วัน 2 คืนเท่านั้นในเยอรมนีก็มีโบสถ์ ของชาวยิวถูกเผาไปกว่า 1,000 แห่ง ร้านค้าชาวยิวถูกทำลายไปร่วม 7,500 ท่ี กอ่ นท่ีชาวยิวอกี กว่า 30,000 รายถูกสง่ เขา้ คา่ ยกกั กันเลยทเี ดยี ว แต่แม้ว่าการจลาจลจะจบลงไปแล้วก็ตาม แต่ความเกลียดชัง ชาวยิวในประเทศก็ยังไม่จบลง เพราะหลังจากคริสทัลล์นัคท์ไม่นาน รฐั บาลนาซกี ็แบนชาวยวิ ออกจากสถานทสี่ าธารณะสว่ นใหญใ่ นเยอรมนี และแน่นอนว่าความเกลียดชังนั้น ก็ลุกลามใหญ่โตขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นการฆ่าล้างเผา่ พันธช์ุ าวยิวในช่วงสงครามโลกตอ่ ไป แผนจัดการกับยวิ ก่อนส่งเข้าค่ายกักกันเป็นอย่างไร Ghetto เกตโตนาซี หรือ สลัมสำหรบั ชาวยิว ถูกจัดตัง้ ขึ้นโดยนาซีเยอรมนีเพื่อกักขังชาวยิว และบางครัง้ อาจ รวมชาวยิปซี เข้าไปในพื้นที่แออัดแน่นของนคร คำว่า \"เกตโต\" จะใช้ โดยทั่วไปในงานประพันธ์เกี่ยวกับการล้างชาติโดยนาซี แต่พวกนาซีมัก เรยี กสถานกักกันเหลา่ นีบ้ ่อยครัง้ วา่ \"ย่านชาวยวิ \" ในกรุงวอร์ซอ ประชากร 30% ถูกบังคับให้อาศัยอยู่ในพื้นที่ 2.4% ของนคร โดยมีความหนาแน่นถึง 7.2 คนต่อห้อง พวกยิวไม่ได้รับ อนุญาตให้ออกนอกเกตโต ดังนั้นพวกเขาจึงต้องพึ่งการลักลอบและการ ปันส่วนอาหารที่พวกนาซีจัดให้ ในกรุงวอร์ซอ การปันส่วนนั้นอยู่ที่ 253 แคลอรตี ่อชาวยิวหน่ึงคน เปรียบเทียบกบั 669 แคลอรีต่อชาวโปแลนด์หนึ่งคน และ 2,613 แคลอรีต่อชาวเยอรมันหนึ่งคน ด้วยสภาพความเป็นอยู่ที่แออัด อาหารท่ี

10 ไม่เพียงพอและการสุขาภิบาลที่แทบไม่มี ทำให้ชาวยิวหลายแสนคน เสียชวี ติ ดว้ ยโรคระบาดหรอื ความหวิ โหย วอรซ์ อเกตโต เปน็ เกตโตยวิ ในทวีปยโุ รปภายใต้การยดึ ครองของ นาซีที่ใหญ่ที่สุดระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ตั้งอยู่ในเมืองหลวงของ โปแลนด์ ขึ้นระหว่างเดือนตุลาคมและวันที่ 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1940 ในเขตเจเนรัลกอแวร์เมนท์ (General Government) ในโปแลนด์ภายใต้ การยึดครองของเยอรมนี โดยมีชาวยิวมากกว่า 400,000 คนจากบริเวณ ใกล้เคียงถูกจัดให้อยู่อาศัยอย่างแออัดในพื้นที่ 3.4 ตารางกิโลเมตร และ ลอดซ์เกตโตเป็นเกตโตแห่งใหญ่รองลงมา โดยมีชาวยิวอาศัยอยู่ราว 160,000 คน พอนาซีบุกเมืองอื่นๆ ของโปแลนด์ หรือเชกได้ ก็เอาคนเข้าไป อยใู่ นเกต็ โตเดมิ หรือสรา้ งเก็ตโตใหม่ แตอ่ ย่างไรก็ตาม คนกแ็ ออัดมาก จึง ดำเนนิ นโยบายขั้นต่อไปคือการอพยพยวิ ออกไปนอกยุโรป ตอนแรกเลย นาซีวางแผนจะใช้เกาะมาดากัสกา ร์ (Madagascar) เนื่องจากตอนนั้น ปี 1941 เพิ่งยึดฝรั่งเศสได้ แล้ว มาดากสั การ์เป็นอาณานคิ มของฝร่งั เศส ฮติ เลอร์ตอ้ งการจะเนรเทศคนยิว ไปที่นั่น แต่คิดแล้วไม่คุ้มค่าใช้จ่าย จึงยกเลิกแผนนี้ไป บุคคลสำคัญที่ทำ หน้าที่วางแผนนี้ก็คือ อดอล์ฟ ไอช์มันน์ (Adolf Eichmann) คนที่เป็น กรณีศึกษาของ ฮันนาห์ อาเรนต์ (Hannah Arendt) นักปรัชญาและนัก ทฤษฎีการเมืองคนสำคญั เมื่อแผนจะส่งยิวไปมาดากัสการ์ล้มเหลว ในแต่ละเก็ตโตจะมี สมัชชายิว (Jewish Council) คอยดูแล หัวหน้าของแต่ละเก็ตโตจะทำ หน้าท่ีส่งลิสตร์ ายชื่อยวิ ให้กับรัฐบาลนาซี แล้ว ฮนั นาห์ อาเรนต์ ตีความว่า นี่คือการให้ความร่วมมือกับระบอบนาซี ฮันนาห์ อาเรนต์ ยอมรับว่าการ

11 ต่อต้านฮิตเลอร์เป็นไปไม่ได้ แต่ถ้าจะหาทางอื่นก็อาจจะเป็นไปได้ แต่ โอกาสในความเปน็ จริงกย็ าก นอกเหนือไปกว่านั้น สมัชชายิวพวกนี้ได้รับการบอกเล่าจาก รัฐบาลนาซีว่า ถ้าส่งรายชื่อเหล่านี้มา รัฐบาลนาซีจะอำนวยความสะดวก ในการเดินทางไปยังดินแดนปาเลสไตน์-หรือในอนาคต ต่อมาในปี 1948 หลังสงครามโลก อังกฤษและอเมริกาก็ตั้งเปน็ ประเทศอิสราเอลขึ้นมา-จะ ส่งไปที่ดินแดนนั้น ซึ่งนั่นคือ ‘บ้าน’ หรือดนิ แดนในพันธสัญญาของพระผู้ เป็นเจ้า ตามหลักศาสนายิว เขาก็อยากจะไป ฉะนั้น สมัชชายิวก็เลยส่ง รายชื่อเหล่านั้นให้ แต่ปรากฏวา่ เมื่อเตรียมรายชื่อใหไ้ ปแล้ว มันคือการท่ี คนเหล่าน้ีท้ังหมดถกู จบั ขนึ้ รถไฟแล้วสง่ ไปยงั ค่ายกกั กันในระบอบนาซี สุดท้ายก็เลยอพยพยิวไปอยู่ในค่ายกักกัน เช่น มีการสร้างค่าย กักกันจำนวนมากในยุโรปตะวันออก แล้วคนที่เป็นคนประสานงานต่างๆ ก็คือ ไอช์มันน์ ในการประชุมที่รู้จักกันดีคือ การประชุมที่วันน์เซ (Wannsee Conference) ปี 1941-1942 ลงมติ ‘Final Solution’ วา่ จะ จดั การอย่างไรกบั ยิว คำตอบก็คือ จับและขนคนจากเกต็ โตต่างๆ เขา้ ไปใน คา่ ยกักกนั น่ีคือผลงานภาพถา่ ยของ Henryk Ross แหง่ เมอื งวูช ประเทศ โปแลนด์ ช่างภาพข่าวและกีฬาที่ปฏบิ ัติหน้าที่อยู่ในโปแลนด์ขณะที่พรรค นาซีบุกเข้ามากวาดล้างและควบคุมชาวยิวช่วงปี 1939-1944 Henryk เสี่ยงชีวติ เพอื่ ถา่ ยภาพวิถีชีวติ ของชาวยิวในเมืองวูชเกบ็ ไว้เป็นจำนวนมาก จากนน้ั เม่อื สถานการณเ์ ร่มิ สุม่ เส่ียงเขาจึงนำภาพท้ังหมดไปฝังไวใ้ ต้ดิน จน กระทั่งวูชเป็นอิสระจากการควบคุมของนาซีในปี 1945 เขาจึงกลับไปนำ ภาพบางส่วนที่ยังไม่เสียหายออกมาเผยแพร่สู่สายตาชาวโลก และนี่คือ ภาพถา่ ยบางสว่ นจากผลงานใน Art Gallery of Ontario โดยชา่ งภาพ Henryk Ross แห่งเมอื งวชู

12 เด็กชายกำลงั คุ้ยหาเศษอาหาร ภรรยาและลกู ของตำรวจชาวยิว

13 “ชมุ ชนชาวยิว ห้ามเข้า” ชาวยวิ ท่ถี กู ควบคุมตัวไวใ้ น Lodz Ghetto Prison

14 Final Solution (องั กฤษ: Final Solution ; เยอรมนั : Die Endlösung) การแก้ปัญหาชาวยิวครั้งสุดท้าย หรือ มาตรการสุดท้าย เป็น แผนนาซีสำหรับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์หรือการกำจัดชาวยิวในช่วง สงครามโลกครั้งที่สอง \"มาตรการสุดท้ายของปัญหาชาวยิว\" เป็นชื่อรหัส นามอย่างเป็นทางสำหรับการสังหารชาวยิวทั้งหมดในการบรรลุถึง ซ่ึง ไม่ได้จำกัดอยู่ที่ทวีปยุโรป นโยบายนี้เป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์โดยเจตนา และอย่างเป็นระบบ ได้มีการเริ่มต้นไปทั่วทั้งดินแดนยุโรปที่ถูกยึดครอง โดยเยอรมัน หลังจากยึดฝรั่งเศสได้ 1 ปี เยอรมนีได้จัดประชุม Final Solution เพื่อแก้ปัญหาชาวยิวครั้งสุดท้ายโดยผู้นำนาซีในเดือนมกราคม ค.ศ. 1942 ที่การประชุมทีว่ ันเซท่ีถูกจัดขึน้ ใกล้กบั กรุงเบอร์ลินนโยบายนี้ เป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์โดยเจตนาและอย่างเป็นระบบ ได้มีการเริ่มต้นไป ทั่วทั้งดินแดนยุโรปที่ถูกยึดครองโดยเยอรมันเป็นแผนนาซีสำหรับการฆา่ ลา้ งเผา่ พนั ธห์ุ รือการกำจัดชาวยิวในชว่ งสงครามโลกครัง้ ที่ 2 จากนั้นจึงเริ่มสร้างค่ายกักกันและค่ายรมแก๊สเหยื่อชาวยิว และกลุ่มอื่นๆ ในระบอบนาซี ดังนั้น การรมแก๊สจึงเป็นระยะท้ายๆ แล้ว และเป็นผลจากการที่นาซีขยายดินแดนออกไปมากระหว่างสงครามแล้ว กำจดั ยวิ ไม่ทัน

15 คา่ ยกกั กนั (Concentration Camp)

16 ค่ายกักกนั เป็นอีกสถานที่สำคญั แห่งหนึ่งในการใช้กบั ขงั และกด ขี่ข่มเหงนักโทษภายใต้การปกครองของนาซี รัฐบาลนาซีใช้ค่ายกักกัน เหลา่ นส้ี ำหรบั คมุ ขังศัตรทู างการเมือง และบคุ คลที่รัฐบาลพจิ ารณาเห็นว่า ไม่เป็นที่พึงปรารถนาในทางสังคมหรอื เช้ือชาติ ระหว่างสงครามโลกครัง้ ท่ี 2 ให้กับการมีบทบาทสำคัญในฐานะการเป็นศูนย์กลางการกำจัดชาวยิว ยิปซี นักโทษทางการเมือง รวมถึงชนกลุ่มน้อยอื่นๆ ที่อยู่ภายใต้การ ปกครองของนาซี 3 ช่วง คือ ค.ศ.1933-1936 , ค.ศ.1936-1942 , ค.ศ. 1943-1945 ค่ายกักกันใน ค.ศ.1933-1936 ช่วงแรกของค่ายกักกันถูกใช้ สำหรับคุมขังศัตรูทางการเมืองซึ่งได้แก่พวกฝ่ายซ้ายและเสรีนิยม ให้กับ การมขี ้นึ หลงั เหตุการณ์เพลงิ ไหม้สภาไรค์ตากในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1933 สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ถูกจับกุมเป็นจำนวน มาก และเพื่อจัดการกับปัญหานักโทษที่เพิ่มมากขึ้น รัฐบาลนาซีได้คิด สร้างค่ายกักกันขึ้นเพื่อใช้คุมตัวนักโทษค่ายกักกันที่ถูกสร้างขึ้นใน ระยะแรก เช่น คา่ ยดาเคา คา่ ยซักเซนิ เฮาเซนิ เปน็ ต้น

17 ค่ายดาเคา (Dachau Concentration Camp)

18 ดาเคาเปน็ ค่ายกดั กันแห่งแรกของนาซี ตง้ั อยหู่ า่ งจากเมืองมิวนิคไปทาง ทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 15 กิโลเมตร สาเหตุที่รัฐบาลนาซี เลอื กเพราะเปน็ สถานทตี่ ้ังโรงงานผลติ อาวธุ ในสมัยสงครามโลกคร้ังที่ 1 ซึ่งสามารถจัดเตรียมพื้นที่ได้ตามต้องการ มีการประกาศเปิดค่ายอย่าง เป็นทางการในวันท่ี 20 มนี าคม ค.ศ.1933 ค.ศ.1935 ค่ายน้ีถกู ใชเ้ ป็นทีค่ ุมขังบุคคลท้งั หมดที่ถกู ตดั สินว่า มีความผิดตามกฎหมาย นกั โทษชาวยวิ กลมุ่ แรกท่ถี กู ส่งตวั มายงั ค่ายเป็น ที่รู้จักกันว่าเป็นผู้มีความคิดทางการเมืองต่อต้านรัฐบาลนาซี นักโทษ ชาวยิวในค่ายดาเคาจะได้รับการปฏิบัติที่เลวร้ายกว่านักโทษกลุ่มอื่นๆ จำนวนนกั โทษชาวยิวเพิม่ มากข้ึนหลังจากคืนกระจกแตกใน ค.ศ. 1938 ประชาชนชาวยิวจำนวนนับหมื่นคนทั่วทั้งเยอรมนีถูกจับกุมและส่งไป คา่ ยกกั ขงั ท่ดี าเคา แต่เช้าอยู่คนใดท่ีแสดงความตอ้ งการจะเดินทางออก นอกประเทศจะได้รับการปล่อยตัวต่อมาเมื่อมีการกำจัดชาวยิวอย่าง เป็นระบบในค.ศ. 1942 ชาวยิวในค่ายดาเคา และค่ายอื่นๆ ใน จักรวรรดิไรค์ จะถูกส่งไปยังค่ายสังหารในโปแลนด์ ค่ายดาเคาเป็น ค่ายที่ไม่มีการสังหารหมู่ด้วยแก๊สพิษ แต่มีการทดลองทางการแพทย์ เช่นเดียวกันกับค่ายกกั กนั ของนาซี

19 ค่ายซคั เซนเฮาเซิน (Sachsenhausen Concentration Camp)

20 ค่ายตัง้ อยู่ใกล้กับกรุงเบอร์ลิน เริ่มก่อสร้างในเดอื นกรกฎาคม ค.ศ. 1936 โดยมวี ตั ถปุ ระสงคใ์ นการสรา้ งเพ่อื ใช้ในภาวะสงคราม และ หลังจากเหตุการณค์ ืนกระจกแตกชาวยิวจำนวน 1,800 คนถูกส่งตัวมา ที่นี่ และในจำนวนนี้มี 450 คนถูกสังหารในทันทีที่มาถึงค่าย ค่าย ซัคเซินเฮาเซินมีนักโทษประมาณ 200,000คน เมื่อสงครามโลกคร้งั ที่ 2 ได้เริ่มขึ้น สภาพการณ์ภายในค่ายก็เลวร้ายลง ใน ค.ศ. 1939 มี นักโทษเสียชีวิตประมาณ 800 คนและเพิ่มขึ้นถึง 4,000 คนในคศ 1940 นักโทษส่วนใหญ่ในค่ายจะถูกส่งตัวมาจากประเทศโปแลนด์ ต่อมาเดือนเมษายน ค. ศ. 1941 ได้มีการสร้างค่ายบริวารของค่ายซคั เซนเฮาเซินขึ้นเพื่อใช้เป็นที่พักสำหรับนักโทษสภาพการภายในค่าย บริวารเหลา่ น้ีไมค่ ่อยมีความรุนแรง นักโทษท่สี ่งตัวมายังคา่ ยบริวารมักมี โอกาสรอดชีวิตที่มากกว่านักโทษค่ายหลัก เดือนสิงหาคม ค. ศ. 1941 หน่วย SS ได้เริ่มการสังหารหมู่นักโทษด้วยการยิง ในเดือนต่อมาเชลย สงครามชาวโซเวียตประมาณ 13,000 ถึง 18,000คนถูกส่งตัวมาส่ัง หารยงั ค่ายแห่งนี้ ค่ายซคั เซนเฮาเซิน ได้มีการสรา้ งหอ้ งรมแกส๊ และลาน เผาใน ค.ศ. 1943

21 คา่ ยบูเคนวลั ด์ (Buchenwald Concentration Camp)

22 ค่ายบูเคนวัลด์เป็นหนึ่งในค่ายกับการที่มีขนาดใหญ่ที่สุดใน เยอรมนี มีค่ายบริวาร 130 ค่าย ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศ ตั้งขึ้น ในวันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ.1937 นักโทษกลุ่มแรกที่ส่งตัวมายังค่ายมี จำนวน 149 คน ส่วนใหญ่เป็นพวกอาชญากรและผู้ที่ถูกจับด้วยเหตุผล ทางการเมือง ค่ายบูเคนวัลด์แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกว่า Large Camp สำหรบั นักโทษที่มีตำแหน่งหรือฐานะทางการเมือง Small Camp สำหรับนักโทษทั่วไป และ Tent Camp สร้างข้ึนเพื่อเตรียมรองรับ นักโทษชาวโปล หลังจากที่เยอรมนีเข้ารุกรานใน ค.ศ.1939 เดือน กรกฎาคม ค.ศ.1938 มีจำนวนนักโทษในค่าย 7,723 คน และต่อมาใน เดือนกันยายนเพิ่มขึ้นอีก 2,200 หลังเหตุการณ์คืนกระจกแตกก็มีชาวยิว ถูกจับกุมและส่งตัวมายังค่ายบูเคนวัลด์นับหมื่นคน ค่ายบูเคนวัลด์ จึงมี นักโทษมากกว่า18,000 คน นักโทษชาวยิวในค่ายบูเคนวัลด์ได้รับการ ปฏิบัติอย่างทารุณ พวกเขาต้องทำงาน 14-15ชั่วโมงต่อวัน และต้อง อดทนตอ่ สภาพความเป็นอยู่ท่เี ลวร้ายและการลงโทษทโ่ี หดร้ายจนนำไปสู่ การต่อต้านขึ้นภายในค่าย ต่อมาเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งท่ี 2 ขึ้น นักโทษ ทางการเมืองได้หลั่งไหลเข้าสู่ค่ายบูเคนวัลด์เป็นจำนวนมาก จากหลาย ประเทศที่เยอรมนีได้เข้ายึดครอง ทำให้กลุ่มต่อต้านได้ก่อตัวเพิ่มมากข้ึน โดยแบ่งกลุ่มตามสญั ชาติในค.ศ. 1943 ไดเ้ กิดการเคลอื่ นไหวใตด้ ินขึ้น ซึ่ง ก็รวมไปถึงชาวยิวด้วย โดยมีชื่อว่า International Underground Committee การเคลื่อนไหวในค่ายบูเคนวัลด์นั้นค่อนข้างประสบ ความสำเรจ็ สมาชกิ กลมุ่ สามารถลกั ลอบนำอาวุธ และดินปืนเข้ามาภายใน คา่ ยได้

23 ค่ายเชล์มโน (Chelmno Concentration Camp)

24 ค่ายกักกันค่ายแรกของนาซีที่ใช้แก๊สพิษในการสังหารหมู่ และ เป็นค่ายแรกที่ทำการสังหารหมู่ภายใต้มาตรการการแก้ไขปัญหาชาวยิว คร้งั สุดท้าย สรา้ งข้นึ ในวันท่ี 7 ธันวาคม ค.ศ. 1941 และถูกกำหนดใหเ้ ป็น ศูนย์กลางการกำจัดชาวยิวในโลดซ์เกตโต และแคว้นวอเทอเกา (Warthegau) ทั้งหมด ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านในเชล์มโน ห่างจากเมืองโลดซ์ไป ทางทิศตะวนั ตก ประมาณ 75 กิโลเมตร คา่ ยถูกสรา้ งขนึ้ เปน็ 2 สว่ น ส่วน แรกอยู่ใน Schloss ซึ่งเป็นเขตพระราชวังเก่าภายในหมู่บ้านใช้เป็น สถานที่รับรอง ศูนย์กลางการสังหาร และเป็นที่พักอาศัยของเจ้าหน้าท่ี ดูแลค่าย ส่วนที่สองตั้งอยู่ใน Waldlage อยู่ติดกับป่าใช้เป็นสถานท่ี สำหรบั ฝงั และเผาศพ ในต้นเดือนธันวาคม ค.ศ. 1941 มีการนำรถแก๊ส 3 คันมาใช้ในค่าย ด้านในรถปิดสนิทด้วย ประตูสองชั้น ภายนอกมลี ักษณะคล้ายกบั รถขนเฟอร์นเิ จอรท์ ั่วไป มขี นาด กว้าง 2.2 เมตร ยาว4-5 เมตร และสูง 2 เมตร สามารถบรรจุคนได้ 50 - 70 คนได้ในแต่ละคนั อยา่ งไรก็ตาม ในเดอื นมนี าคม ค.ศ. 1943 เม่ือชาวยวิ ทง้ั หมดใน แคว้นวอเทอเกาถูกกำจัดลงรัฐบาลนาซีได้ประกาศยกเลิกค่ายแห่งนี้ และ เจ้าหน้าที่ค่ายถูกส่งตัวไปยังยูโกสลาเวีย ต่อมาในเดือนเมษายน ค.ศ. 1944 ไดม้ แี ผนการทีจ่ ะกวาดลา้ งโลดซ์เกตโต รฐั บาลนาซีจึงตัดสินใจที่จะ เปิดใช้ค่ายเชล์มโนอีกครั้ง เจ้าหน้าที่ที่ถูกส่งตัวไปยังยูโกสลาเวียถูกเรียก ตัวกลับมาเพ่ือจุดประสงค์นี้ ในวันที่ 23 มิถุนายน ค.ศ. 1944 ได้เริ่มการ ขนส่งชาวยวิ จากโลดซ์เกตโตมายงั คา่ ยเชลม์ โน ซึ่งระบบการสังหารในค่าย ยังคงเดิมทุกอย่าง กลางเดอื นกรกฎาคมก็ได้มีการขนส่งชาวยิวจากเกตโต ไปยังคา่ ยเอาชวิทซ์

25 คา่ ยเอาชวิทซ์ 1 (Auschwitz I)

26 ต้นค.ศ. 1940 ฮิตเลอร์ไดใ้ ห้ความสนใจเมืองเอาชวิทซ์และได้มีคำสั่งให้ เจ้าหน้าที่หน่วย เอสเอสออกสำรวจพื้นที่ทั้งหมดตามแนวชายแดน สำหรับ ก่อสร้างค่ายกักกันแห่งใหม่ เอริค ฟอน เดม บาช เซเลสกี (Erich von dem Bach-Zelewski) หัวหน้าสำนักงานใหญ่เอสเอสประจำภูมิภาคตะวันออก เฉียงใต้ได้เสนอค่าย Sachsenganger ที่มีอยู่ก่อนแล้วว่ามีความเหมาะสม ในขณะที่เจ้าหน้าที่เอสเอสอาวุโสคนอื่นก็มีคำแนะนำที่แตกต่างกันออกไป เจา้ หน้าที่ เอสเอสผเู้ ชย่ี วชาญเองก็มีความกังวลต่อการกำหนดสถานท่กี ่อสร้าง ในเมืองเอาชวิทซ์เช่นกัน เพราะส่ิงก่อสร้างและค่ายทหารได้ชำรุดผุพัง พื้นที่ บริเวณโดยรอบกเ็ ฉอะแฉะจากน้าบนผวิ ดินและปลักตม ซงึ่ อาจทำให้เจ็บป่วย จากไข้มาลาเรียและยังมีปัญหาเกี่ยวกับน้ำบาดาลอีกด้วยอย่างไรก็ตามทาง เบอร์ลินได้มีการส่งคณะกรรมาธิการเข้ามาตรวจสอบพื้นที่อย่างละเอียดอีก คร้งั ก่อนท่จี ะมีการตดั สนิ ใจกอ่ สรา้ งในเดอื นเมษายน ค.ศ. 1940 เจ้าหน้าทท่ี ี่มี ส่วนดูแลรับผิดชอบเกี่ยวกับค่ายกักกันได้เล็งเห็นผลประโยชน์ที่จะได้รับจา การสร้างค่ายในเมืองเอาชวิทซ์กล่าวคือมีความเหมาะสมในการใช้เป็นจุด เชื่อมต่อระบบการขนส่ง สามารเดนิ ทางเข้าถึงทุกส่วนของยุโรปได้โดยไม่ยาก และเมืองเอาชวิทซ์เองก็มีสภาพภูมิประเทศและภูมอิ ากาศที่ไม่เอื้ออำนวยตอ่ การอย่อู าศยั เนือ่ งจากมหี นองนำ้ อยเู่ ปน็ จำนวนมากทำให้ได้รบั ผลกระทบจาก การเปลี่ยนแปลงของความชื้นอยู่เสมอและยิ่งเลวร้ายลง เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว ดังนั้นจึงสามารถใช้ประโยชน์จากธรรมชาติเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการ ทำลายล้างมนษุ ย์ไดอ้ ีกประการหนึ่ง

27 ด้วยเหตุผลดังกล่าวค่ายเอาชวิทซ์จึงได้ถูกสร้างขึ้นในวันที่ 27 เมษายน ค.ศ. 1940 คา่ ยเอาชวทิ ซ์จึงเป็นค่ายกักกันแหง่ ที่ 7 ของรฐั บาลนา ซีโดยมีรดู อลฟ์ โฮส (Rudolf Höss ค.ศ. 1901 - 1947) เข้ารบั ตำแหนง่ เปน็ ผู้บัญชาการค่ายในวันที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 1940 และเขายังเป็นผู้ริเริ่มคำ ขวัญที่ว่า “การทำงานนำมาซึ่งอิสรภาพ” (Arbeit Macht Frei : Work Makes You Free) ซึ่งปรากฏอยู่เหนือประตูทางเข้าค่าย สำหรับนักโทษ แล้วคำขวญั ดงั กล่าวเป็นเพียงการเสียดสีเพราะการทำงานในค่ายกักกันของ นาซีมีความหมายถึงการถูกใช้เพื่อแสวงหาผลประโยชน์การก่อกวน การถูก ทำร้ายเฆ่ยี นตแี ละความตาย โฮสในฐานะผู้บัญชาการมีหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องความปลอดภัย ภายในค่าย เขาจึงเป็นหัวหน้าของหน่วยรักษาความปลอดภัยเอสเอสด้วย และมีอำนาจในการจัดการเรื่องราวต่าง ๆ ท่ีเกิดขึ้นภายในค่ายท้ังหมด การ บริหารงานของบุคลากรภายในค่ายถูกแบ่งออกเป็น 6 แผนกประกอบไป ด้วยแผนกแรกคือสำนักงานผู้บัญชาการ แผนกที่สอง เป็นแผนกการเมือง สำหรับตวั แทนของเจ้าหน้าทเี่ กสตาโป ตำรวจลับและครีโป (Kripo) แผนกที่ สาม เป็นที่รวมการดำเนินงานของหนว่ ยงานคุ้มกันอารักขา แผนกที่สี่ กอง อำนวยการ แผนกที่ห้า นายแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์และแผนก สุดท้ายศูนย์ฝึกอบรมและกองสวัสดิการกองกำลังเอสเอส ปลายปีค.ศ. 1940 มีการตัดสินใจที่จะสร้างสิ่งก่อสร้างทั่วไปขึ้นในพื้นที่เช่น เขต อุตสาหกรรม โรงงาน โรงนอน รา้ นค้า บ้านพกั เจ้าหน้าที่หนว่ ยเอสเอส และ เขตพื้นที่เกษตรกรรม ซึ่งทั้งหมดถูกเพิ่มเข้าไปเป็นส่วนประกอบของค่าย ขอบเขตของพื้นที่ที่ขยายออกไปทำให้เจ้าหน้าที่เอสเอสได้ครอบครองใน ส่วนของหมู่บ้าน ป่า บ่อน้าและพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมด โดยสถานที่เหล่าน้ี ถูกเรียกว่า “SS Zone of Interest” ซึ่งถูกจัดให้เป็นเขตรักษาความ ปลอดภัยครอบคลุมเนื้อที่ประมาณ 40 ตารางกิโลเมตร มีที่ดินที่เหมาะ

28 สำหรับการเพาะปลูก 15,000 ไร่ ต่อมาได้กลายสภาพมาเป็นฟาร์มขนาด ใหญ่มีนักโทษถูกส่งเขา้ มาทำงานที่นี่ประมาณ 10,000 คน ซึ่งส่วนมากเป็น ผู้หญิงและยังเป็นสถานีทดลองทางการเกษตรเพื่อช่ วยเหลือและอำนวย ผลประโยชน์ตอ่ ชาวนาเยอรมนีที่มาตง้ั ถิน่ ฐานในเมืองเอาชวิทซแ์ ละไดห้ มาย ตาที่นาทียึดมาจากชาวโปล มีการปิดป้ายเตือนล้อมรอบทั้งพื้นที่กำแพง คอนกรีต หอสังเกตการณแ์ ละรั้วลวดหนามไฟฟา้ นักโทษท่คี ่ายเอาชวิทซ์ 1 ในวันที่ 14 มิถุนายน ค.ศ. 1940 ค่ายเอาชวิทซ์เปิดทำการในฐานะค่าย กักกัน หรือค่ายที่ใช้ ในการขนส่งนักโทษ (Transit Camp) นักโทษที่เดนิ ทางเข้า มาจำนวนมากจะถูกแบ่งกลุ่ม โดยการจับแยกออกเป็นกลุ่มเล็กๆ และนำมา รวมกันใหม่อีกครั้งหนึ่ง หลังจากนั้นจึงทำการขนส่ง นักโทษไปยังค่ายกักกัน อื่นๆ หลังจากนั้นไม่นานค่ายเอาชวิทซ์ได้กลายมาเป็นค่ายกักกันแบบถาวร ต่อมาประชากรจำนวนมากถูกส่งตัวมาสังหารในค่ายเอาช์วิทซ์ แต่ใน ระยะแรกนั้นค่ายก็ยังไม่ได้เป็นศูนยก์ ลางในการสังหาร วัตถุประสงค์แรกของ การเปดิ ใชค้ า่ ย เพ่ือไวส้ ำหรบั กักขงั นกั โทษทางการเมอื งชาวโปแลนด์ นักโทษ ชาวยิวเพ่ิมมากขึ้นและส่วนใหญ่เป็นนักโทษทาง การเมือง และเนื่องจาก ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวยังไม่มีหลักเกณฑ์ในการสังหารนักโทษอย่างเป็น ระบบ การเสียชีวิตของนักโทษส่วนใหญ่จึงมีสาเหตุมาจากความอดอยากหิว โหย การทำงานที่มากเกินไป การถูกเฆี่ยนตีทำร้าย การถูกจับแขวนคอและ การถูกยงิ

29 ในการระบุและแยกประเภทนกโทษในคา่ ยได้มีการใชแ้ ถบสปี ้าย สามเหลี่ยมที่เรียกว่า Winkiel เย็บติดไว้บนเสื้อของนักโทษ โดยใช้สีเป็น ตัวกำหนด แถบสามเหลี่ยมสีแดง สำหรับนักโทษทางการเมืองแถบ สามเหลี่ยมสีเขียวคือพวกอาชญากร แถบสามเหลี่ยมสีดำคือกลุ่ม คน เรร่ อ่ นทีถ่ ูกสง่ มายงั ค่าย รวมไปถึงชาวยิปซี แถบสามเหล่ยี มสีชมพูสำหรับ พวกรักรว่ มเพศและผทู้ ำผดิ กฎหมายโดยการล่วงละเมดิ ทางเพศ และแถบ สามเหลี่ยมสีเหลืองสำหรับชาวยิวนอกจากนี้ยังได้มี การนำตัวอักษรและ ตัวเลขมาใช้ในการแบ่งแยกประเภทเชน่ เดยี วกนั โดยตวั อักษรถกู นำมาใช้ ในการระบุสัญชาติ ยกตวั อยา่ งเชน่ ตวั อกั ษร “P” หมายถงึ ชาวโปล ยกเว้น ตวั อกั ษร “E” ที่ใช้ สำหรบั นกั โทษ ทถี่ กู จับกมุ ได้ในขณะทห่ี ลบหนีจากการ ถกู ใช้แรงงาน สำหรับชาวยิวน้ันเสื้อผ้าจะถูกติดด้วยสัญลักษณ์ดาวเดวิด และมีแถบ สามเหลี่ยมที่มีสี แตกต่างกันติดอยู่เหนือสามเหลี่ยมสีเหลืองอันแรก ทั้ง แถบสีสามเหลี่ยมและตัวอักษรเป็น สัญลักษณ์แสดงถึงการจัดหมวดหมู่ และการแยกประเภทของนักโทษ แต่สัญลักษณ์ที่ใช้ในการระบุ ตัวบุคคล จะใช้การสักตัวเลข รอยสักสามารถทำให้ชี้ตัวนักโทษที่ถูกลบออกจาก รายชื่อได้ และง่าย ต่อการตรวจสอบในกรณีที่เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล

30 นกั โทษผิด โดยตัวเลขจะถกู สกั ลงบนแขนซา้ ยของนักโทษหลังจากเดินทาง มาถงึ ค่ายเอาชวิทซ์ นักโทษทถ่ี ูกสง่ มาในรถเที่ยวเดยี วกันส่วนใหญ่จะ ถูก สกั เรยี งตามตัวอกั ษร สภาพความเป็นอยู่ของนักโทษภายในค่ายยำ่ แยม่ าก พวกเขา ต้องนอนเบียดเสยี ดแออดั กัน ในชว่ งแรกมเี พียงกระสอบท่ียัดฟางขา้ ววาง บนพน้ื สำหรับนอนเท่านั้น มบี ่อน้าสองบอ่ สำหรับนักโทษจำนวนหลายพนั คนในการใช้ชำระล้าง และสขุ าที่สรา้ งข้นึ จากการขดุ คเู พยี งหนึ่งแห่ง ใน เดือนกุมภาพนั ธ์ ค.ศ. 1941 จึงมกี ารสร้างหอ้ งสุขา และหอ้ งอาบนา้ สำหรบั นักโทษเพิ่มขน้ึ อยา่ งละ 1 ห้อง หลังจากน้นั ได้มีการสรา้ งเตยี งไม้ 2 ชัน้ โดยนักโทษ 6 คน หรอื มากกวา่ ต้องใช้นอนร่วมกนั ท้ังๆ ทอ่ี อกแบบมา สำหรบั 3 คน ตอนเชา้ นักโทษจะไดร้ บั ชา หรือกาแฟคนละถ้วย มอื้ กลางวันเป็นซุปผกั เชน่ หัวไชเท้า มันฝรัง่ งหรอื ข้าวฟ่าง แตไ่ ม่มีเน้ือสตั ว์

31 คา่ ยเอาชวิทซ์ - บริ ์เคเนา หรือเอาชวทิ ซ์ 2 (Auschwitz -Birkenau)

32 บิร์เคเนาเป็นค่ายขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาค่ายกักกันและค่ายบริวาร (Sub -Camps) กว่า 40 แห่งที่สร้างขึ้นในศูนย์การสังหารเอาช์วิทซ์ ตลอดเวลา 3 ปีที่ดำเนินการมีการขยายขอบเขตการปฏิบัติการอย่าง กว้างขวาง เมื่อแรกเริ่มก่อสร้างในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1941 ในขั้นต้นกำหนด ใช้เป็น ค่ายกักกันเชลยสงครามจำนวน 125,000 คน ต่อมาในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1942 ได้เปลี่ยนสถานภาพ เป็นสาขาของค่ายเอาช์วิทซ์ 1 และใช้เป็น ศูนย์กลางการกวาดล้างชาวยิวด้วย นับตั้งแต่ค.ศ. 1944 ค่าย บิร์เคเนา กลายเป็นสถานที่ที่นักโทษถูกส่งตัวคุมขังและจากนั้นมีการคัดเลือกนั กโทษที่ แขง็ แรงส่งต่อไปเปน็ แรงงานทาสตามโรงงานอตุ สาหกรรมต่าง ๆ ในจกั รวรรดิ ไรค์ ความคิดในการก่อตัง้ ค่ายกักกันบิร์เคเนาใน Brzezinka ซึ่งเป็นหมูบ่ า้ น แห่งหนึ่งใกล้กับค่าย เอาชวิทซ์หลังจากการเดินสำรวจพื้นที่ในบิร์เคเนาของ เฮสิ สใ์ นวันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ. 1941 ได้มีการเปลยี่ นแปลงสถานทเ่ี ป็นบิร์เคเนา การก่อสร้างจึงเริ่มในอีก 2 วันต่อมา ในการวางผังค่ายครั้งแรกประมาณกัน ว่าขนาดของค่ายต้องสามารถรองรับนักโทษได้กว่า 100,000 - 125,000 คน แต่ระหว่างดำเนนิ การสร้างมีการปรับผังค่ายกักกันหลายคร้ัง ในค.ศ.1942 มี การกำหนดให้เพม่ิ ขีดความสามารถท่ีจะรองรบั นกั โทษเปน็ 2 เทา่ ค่ายจะถูกแบ่งเป็น 4 ส่วน แต่ละส่วนใช้ตัวเลขโรมันเป็นเครื่องหมาย สว่ นแรกออกแบบให้รองรับนักโทษได้ 20,000 คน อีกสาม สว่ นที่เหลือแต่ละ สว่ นรองรับนกั โทษได้ 60,000 คน พื้นที่ในค่ายกักกนั 437.5 ไร่ จะมีการสรา้ ง ห้อง รมแกส๊ สำหรับสังหารหมชู่ าวยิวซ่ึงดำเนินการสร้างในค.ศ. 1943 เพือ่ ใช้ เป็นส่วนหนึ่งของการกำจัด ชาวยิว ตามแผนการที่กำหนดเดิม เชลยสงคราม ชาวโซเวียตซึ่งถกู จองจำจะเป็นแรงงานก่อสร้าง โดยเชลยสงครามชาวโซเวียต จำนวน 10,000 คนถูกนำตัวมาจากค่ายกักกันเชลยสงครามท่ีNeuhammer am Quais (ปัจจุบัน คือ Swietoszow) และจาก Lamsdorf (ปัจจุบันคือ Lambinowice) เพื่อสร้างค่ายในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1941 นักโทษเหล่าน้ีต้อง

33 เดินเท้าทุกวันไปยังเขตพื้นที่ก่อสร้างที่หมู่บ้าน Brzezinka ส่วนชาวโปลที่ อาศยั อยู่ในหมู่บา้ นดงั กลา่ วจะถูกขบั ไลอ่ อกไปต้ังแต่เดือน เมษายน ค.ศ.1941 หมบู่ ้านของท้งั หมดก็ถกู ร้ือทำลาย Brzezinka ตั้งอย่ใู นพน้ื ท่ีขนาด 40 ตาราง กิโลเมตร และถูกเรียกว่า Camp interest Zone BI คือส่วน (Segment) แรกของคา่ ย บิร์เคเนาทีดำเนินการก่อสร้างตามแผนงานการก่อสร้างเริ่มในช่วงปลายฤดู หนาว ค.ศ. 1941/1942 โดยแบ่งเป็น 2 เขต (Sector) คือ BIa และBIb ประกอบดว้ ยโรงนอน 62 หลัง โรงเรือนอีก 10 ซึ่งมีห้องซักล้าง และหอ้ งสุขา โรงครัว โรงอาบน้ำสาธารณะ และโรงเก็บของงานก่อสร้างในส่วนที่ 2 คือ BII เริ่ม ก่อสร้างในค.ศ. 1942 และเสร็จสิ้นปลายค.ศ. 1943 งานก่อสร้างในส่วน ที่ 2 แบ่งออกเปน็ 7 เขต โรงเรือนที่ทำด้วยไม้เขต BIIa ประกอบด้วยโรงนอน 16 หลัง โรงนอน 3 หลังที่มีห้องน้ำห้อง อาบน้ำ และโรงครัว เขต BIIb,c,d และแต่ละเขตจะประกอบไปด้วยอาคารนอน 32 หลัง มี 6 หลัง ที่มีห้อง อาบน้ำและห้องสุขา และมี 2 โรงครัว เขต BIIf มีโรงนอน 17 หลัง และโรง อาบน้ำสาธารณะ 1 หลัง โรงเรือนอีก 30 หลังใช้เปน็ โกดังเกบ็ สนิ ค้าเป็นหลกั ซึ่งสร้างขึ้นอยู่ในเขต BIIg พร้อมด้วยโรงอาบน้ำสาธารณะ 1 หลังที่ทำจากอิฐ ในค.ศ. 1942งานกอ่ สรา้ งในส่วนทส่ี าม BIIIก็เริม่ ขึ้น แต่การรบในแนวหน้าเริ่ม เขา้ มาใกล้เอาชว์ ิทซใ์ นค.ศ. 1944 ทำให้การกอ่ สร้างหยดุ ชะงักลงงานก่อสร้าง ในสว่ นทส่ี จ่ี งึ ไม่เกดิ ขึ้น

34 โรงนอน (Barrack) อาคารนอนในค่ายที่สร้างด้วยไม้จะไมม่ หี น้าตา่ ง โรงนอนท่ีสรา้ งด้วยอิฐ มีลกั ษณะเปน็ เพงิ ชน้ั เดยี วพร้อมมหี นา้ ตา่ ง 8 บานท่ีปิดสนิท ขนาดประมาณ 3 ตารางฟุต ในโรง นอนอิฐห้องสี่ห้องจะถูกทำเครื่องหมายไว้ระหว่างผนังกั้นที่ สงู 230 เซนติเมตร มชี น้ั ทท่ี ำจากไมว้ าง กัน้ อยู่ 2 ชนั้ วัดจากพน้ื สงู ห่างกันช้ัน ละ 75 ซม. ชั้นทั้งสามที่ขนานไปกับพื้นราบเรียกว่า “Roosts” แต่ละชั้นจะถกู ใช้เป็นที่พักอาศัย หรือห้องนอนสำหรบั 5 - 12 คนขน้ึ อยกู่ ับสภาพความแออัด ภายในค่าย โรงนอนแต่ละหลังใช้เป็นที่พักสำหรับนักโทษ ประมาณ 600 - 800 คน แตม่ กั จะเพิ่มเป็น 1,000 - 1,400 คนอยเู่ สมอ 86 ในขณะท่ีโรงนอน อาคารไม้ จะตดิ ตง้ั เตียงไม้ 3 ชน้ั มีไว้สำหรบั ให้นักโทษหญงิ นอนรวมกัน หลาย ๆ คน ส่วนอาคารที่เป็นเรือนพยาบาลน้ันจะเป็นเตียง 2 ชั้นมีขนาดเท่ากับ เตียงในเรือนนอน นักโทษที่ป่วยหนักมักจะนอนเปลือยอยู่บนแผ่นกระดาน บาง ๆ บนที่นอนที่ทำจากฟางคลุมด้วยผ้าห่มที่เต็มไปด้วยเหาหรือแมลง รบกวน ผู้ที่มีสิทธทิ ่ีจะไดเ้ ข้าไปรบั บริการจะต้องเป็นไข้ที่มอี ณุ หภูมสิ ูงกว่า 39 องศาเซลเซียส อาคารโกดงั เกบ็ ของ (Kanada II) ส่วนกลมุ่ อาคารโกดังเก็บของนนั้ มีชอ่ื เรยี กว่า Kanada II ซ่งึ เป็นท่ีเก็บ สัมภาระทย่ี ดึ มาได้ จากชาวยวิ ซงึ่ มีอยูจ่ ำนวนมากและมีการจดั ประเภทกันท่ีนี่ อีกดว้ ย โกดังเก็บของเปิดข้ึนในเดอื น ธันวาคมในเขตพื้นท่ีBIIg นอกจากน้ียังมี ค่ายขนส่งอีก 3 ค่าย เปิดทำการในค.ศ. 1944 สองในสาม เปิดข้ึนในเขต BIIc และBIII สำหรับนักโทษหญิงชาวยิว ส่วนอีกแห่งหนึ่งสำหรับนักโทษชาย ซ่ึง ตงั้ อยู่ในเขต BIIe โดยใชอ้ าคารนอนของค่ายยปิ ซหี ลังจากท่ีพวกยิปซีถูกกวาด ล้างไปแล้ว

35 ค่ายโมโนวทิ ซ์ หรือ ค่ายเอาชวิทซ์ 3 (Monowitz)

36 คา่ ยกักกนั ในเมอื งโมโนวชิ (Monowice) เปน็ หนึง่ ในค่ายบรวิ ารของ ค่าย เอาชวิทซ์ที่มีขนาด ใหญ่ที่สุดโดยเป็นสำนักงานใหญ่ของระบบ อุตสาหกรรมของค่ายบริวาร และผู้บัญชาการค่ายเป็น ทั้งผู้จัดการและ ผู้บริหารค่ายโดยหัวหน้าหน่วยเอสเอสรายงานตรงต่อเขา ผรู้ ิเร่ิมก่อต้ังค่ายคือ บริษัท อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ไอ.จี. ฟาเบน (I.G. Farben Industrie A.G.) ท่ี ต้องการจะสร้างโรงงาน อุตสาหกรรมขนาดใหญ่แห่งทีส่ ามของบริษัทสำหรบั ผลิตยางสังเคราะห์และเชื้อเพลิงเหลว ค่ายแห่ง ใหม่นี้ตั้งอยู่ในพื้นที่ของไซลี เซยี (Silesia) บริเวณทีร่ าบระหว่างพ้นื ท่ีทางตะวันออกของค่ายเอาชวิทซ์และ หมู่บ้านในเมืองดอรี (Dwory) กับเมืองโมโนวิช เนื่องจากมีชัยภูมิทาง ภูมิศาสตร์ที่เหมาะสม สามารถเข้าถึงเส้นทางรถไฟ อยู่ใกล้แหล่งนำ้ (แม่น้ำวิ สทูลา) และมีวัตถุดิบที่เพียงพอในการนำไปใช้ เช่น ถ่านหิน (เพราะมีเหมือง แร่อยูใ่ นเมอื งLibiaz, Jawiszowice และJaworzno) หินปูน หรือปูนขาว (ใน เมืองKrzeszowice) และเกลือ (ใน เมืองWicliezka) นอกจากนี้ยังมีความ เป็นไปได้ที่บริษัทจะสามารถว่าจ้างนักโทษจากค่ายเอาชวิทซ์ ที่ตั้งอยู่ใน บรเิ วณใกล้เคียงมาทำงานได้ นักโทษแรงงานกลุ่มแรกถูกส่งไปยังสถานที่ก่อสร้างโรงงานในช่วง กลางเดือนเมษายน ค.ศ. 1941 และตั้งแตต่ ้นเดือนพฤษภาคมนักโทษเหลา่ นน ต้องเดินเท้าเป็นระยะทาง 7 - 6 กิโลเมตร ทุกวันจากค่ายไปยังเขตก่อสร้าง ในแต่ละวันการทำงานของพวกเขาเริ่มขึ้นตั้งแต่เวลาประมาณตีสามในตอน เช้า ปลายเดือนกรกฎาคมเมื่อจำนวนนักโทษพิเศษเหล่านี้เพิ่มขึ้นประมาณ 1,000 คน ไอ.จี.ฟาเบนจึงไดเ้ ริ่มขนสง่ นักโทษท่ีเป็นแรงงานทางรถไฟระหว่าง ค่ายแม่ไปยังสถานี Dwory ในการทำงานนักโทษต้องทำงานหนักต่าง ๆ เช่น การทำรังวัดถนน การขุดคระบายน้ำวางสาย โทรเลข และการสร้างถนน เป็นต้น การทำงานได้หยุดชะงักลงเนื้องจากเกิดโรคไข้รากสาดใหญ่ซึ่ง เป็น โรคระบาดข้ึนในค่ายเอาชวิทซ์ 1 ทัง้ น้ีบริษทั เองกม็ คี วามกังวลเก่ียวกับโอกาส

37 ที่จะสูญเสีย นกั โทษไปจงึ ตัดสินใจทจ่ี ะสรา้ งคา่ ยท่เี รยี กวา่ Buna Camp และ เปลี่ยนแปลงโรงนอนที่จะสร้างขึ้น เพื่อแรงงานพลเรือนใกล้กับเมืองโมโนวิช ให้เป็นทพี่ ักสำหรบั นักโทษ แต่เนอ่ื งจากความลา่ ชา้ ใน การจดั ส่งลวดหนามทำ ใหก้ ำหนดการต้องเลื่อนออกไป ค่ายโมโนวิทซไ์ ด้รบั การสนบั สนนุ การเงนิ จาก บรษิ ทั เอกชนแล้วเสร็จใน ฤดูร้อนค.ศ. 1943 ตลอดระยะเวลาการเปิดทำการค่าย มีนักโทษจำนวนมาก ตกเป็นเหยื่อของการทำงานหนัก และถูกส่งตัวไปยังโรงพยาบาลที่ค่ายเอาช วทิ ซ์ 1 ที่นน่ั พวกเขาจะถูกฆา่ ด้วยการฉีดสาร ฟีนอลเข้าสู่หัวใจ หรือถูกส่งตวั ไปยังค่ายบิร์เคเนาทีซึ่งจะถูกกำจัดหลงั จากทำ การคัดเลือกใหม่อกี ครั้งใน โรงพยาบาลของเขต BIIf หรือถูกส่งไปฆ่าในทนั ที ที่ห้องรมแก๊ส มีจำนวนอีกไม่น้อยที่เสียชีวิตที่โรงพยาบาลโมโนวิทซ์ และ นักโทษแรงงานอีกจำนวนหนึ่งก็ถกู ยิงตายในสถานที่ที่ก่อสร้างหรือถูก แขวน คอภายใน ที่โมโนวิทซ์มีหน้าต่างและเครื่องให้ความ ร้อนในฤดูหนาว ส่วน อาหารในคา่ ยโมโนวทิ ซ์นนั้ บริษทั ไอ.จ.ี ฟาเบนเปน็ ผรู้ ับผิดชอบเรยี กว่า อาหาร เพื่อสุขภาพ (Health Care) และยังมีอาหารเสริม เรียกว่า Buna Suppe ให้ ดว้ ย ค่ายโมโนวทิ ซ์จึงเป็นค่ายที่มกี ารปนั ส่วนอาหารท่ดี ีกวา่ ค่ายอ่ืน ๆ กล่าว ได้ว่าเหตุผลหลัก ของอัตราการเสียชีวิตที่สูงในค่ายโมโนวิทซ์นั้นเนื่องมาจาก การทำงานหนักตามความต้องการของ ต่อมาทางบริษัทก็ได้มีการนำเสนอ ระบบใน การจา่ ยเงินค่าจ้างเปน็ รายช้นิ และมกี ารออกอุบายตา่ ง ๆ กระตนุ้ ให้ คนงานอยากทำงาน เช่น อนุญาต ให้คนงานใส่นาฬิกาข้อมอื ไว้ผมยาว และมี การให้ใบแทนธนบัตรเพอ่ื ใช้ในโรงอาหารซ่ึงมที ้ังบุหร่ี และของหวานขาย อีก ทั้งยังสามารถไปใช้บริการในซ่องโสเภณีซึ่งเปิดขึ้นในค่ายโมโนวิทซ์ในค.ศ. 1943 ฟรี

38 การขนส่งนักโทษ รัฐบาลนาซีใช้การขนส่งทางรถไฟเป็นวิธีการหนึ่งในการกำหนดจัด ระเบียบชนชาติใน เป็นการขนสง่ ชาวยิวออก จากเยอรมน้ไี ปยังเกตโตในยุโรป ตะวันออกโดยมีชื่อเรียกว่า “รถไฟขบวนพิเศษ” (Sonderzuge : Special Train) เจ้าหน้าที่การรถไฟเยอรมนีใช้ทั้งขบวนรถไฟโดยสารและรถไฟขนส่ง สินค้าในการอพยพ ชาวยิวอพยพจะไม่ได้รับทั้งน้าและอาหารตลอดการ เดินทาง ความแออัดยัดเยียดจากการเดินทางโดยขบวนรถไฟที่ปิดสนิทสร้าง ความทรมานเป็นอย่างมาก พวกเขาตองอูดทนกับความร้อน ที่ร้อนจัดในฤดู ร้อนและเย็นจัดในฤดูหนาว สิ่งอำนวยความสะดวกด้านสุขอนามัย นอกเหนือจากถัง ส้วมเพียง 1 ใบก็ไม่มีอะไรอีก กลิ่นเหม็นจากสิ่งปฏิกูลย่ิง สรา้ งความทุกขท์ รมานแกผ่ อู้ พยพยง่ิ ไปอีก การขาดูแคลนอาหารและน้าทำให้ มีผู้เสียชีวิตหลายคนก่อนรถไฟจะเดินทางถึงจุดหมายปลายทาง ตำรวจติด อาวุธที่เดินทางมากับขบวนรถไฟได้รับคำสั่งให้ยิงใครก็ตามที่พยายามจะ หลบหนี การบริหารและการปกครองของคา่ ยเอาชวิทซ์ ในบรรดาค่ายกักกันทั้งหมดเอาชวิทซ์มีบทบาทสำคัญในการ สังหารชาวยิวตามแผนที่ได้ กำหนดในการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของนาซี มีการ รวบรวมเจ้าหน้าทจ่ี ากหน่วยเอสเอสสาขาต่าง ๆ จำนวนมากไว้ท่ีนี่ โดยจะแบ่ง เขตพนื้ ทกี่ ันรบั ผดิ ชอบ ซง่ึ บางหนว่ ยก็ปฏบิ ตั ิหนา้ ทีซ่ อ้ นทับกนั ตลอด โครงสร้างองคก์ รภายในค่ายเอาชวิทซ์แบ่งเปน็ 7 ฝา่ ย ได้แก่ สำนักงานผู้บัญชาการฝ่าย การเมืองฝ่ายบริหาร ฝ่ายนักโทษแรงงาน ฝ่ายเศรษฐกิจ ศูนย์การแพทย์ และฝ่ายสวัสดิการโดยมี การแบ่งแยกกัน บริหาร ฝ่ายบริหารและฝ่ายการเมืองมีบทบาทสำคัญในการชี้นำระบบสงั หาร ผู้ที่ปฏิบัติงานในฝ่ายการเมืองได้แก่ตำรวจลับ และตำรวจปราบอาชญากร หัวหน้าฝ่ายการเมืองต้อง รายงานต่อผู้บัญชาการค่าย และสำนักงานกลาง

39 ความมั่นคงและดำเนินงานตามคำสั่งจากทั้งสอง ส่วน ต่อมาได้มีการจัดต้ัง หน่วยสืบสวนขนึ้ ภายในฝ่ายการเมืองซ่ึงไดส้ ร้างความหวาดกลวั เป็นอย่างมาก ตอบรรดาเหล่านกั โทษ ฝ่ายการเมอื งมีหนา้ ที่รับผิดชอบเก่ียวกบั นักโทษอย่าง กว้างขวาง เช่น จัดเก็บประวัติและคัดแยกประเภทนกโทษ การจัดการฌาปน สถาน สังเกตความสัมพันธ์ระหว่าง นักโทษกับหน่วยเอสเอส ปราบปราม นกั โทษทเ่ี คลอ่ื นไหวตอ่ ต้าน และควบคุมการดำเนนิ มาตรการการจำกดั ชาวยวิ หน้าที่รับผิดชอบดังกล่าวทำให้ฝ่ายการเมืองเป็นหน่วยงานที่มีความสำคัญ ทส่ี ุดใน ในส่วนของศูนย์การแพทย์นั้นจะมีความโดดเด่นในระบบของการกวาด ล้าง หน่วยการแพทย์มีเป้าหมายที่แตกต่างกัน 2 ประการคือให้การรักษา บรรดาเจ้าหน้าที่เอสเอส และกำจัด นักโทษ นายแพทย์เอสเอสจะทำการ คัดเลือกันกโทษในโรงพยาบาล และเพิกเฉยต่อสภาพ สุขอนามัยที่เลวร้าย ภายในค่าย ทั้งนี้นายแพทย์จะมีส่วนร่วมในการคัดเลือกันกโทษใหม่ที่ เพึ่ง เดินทางมาถงึ เข้าสูห่ ้องรมแก๊ส และดำเนินงานด้านการทดลองทางการแพทย์ หัวหน้าแพทย์มี หน้าที่กำกบั ดูแลศนู ย์การแพทย์ของค่ายอยู่ภายใต้การบงั คบั บัญชาของหัวหน้าคณะแพทย์ประจำค่ายกักกัน โดยมีหน่วย Sanitatsdienstgrad _SDG เป็นผู้ช่วยทางการแพทย์และมีส่วนเกี่ยวข้องใน กระบวนการสังหาร กล่าวคือเข้าไปมีส่วนร่วมในการฆ่านักโทษที่หมดแรงไม่ สามารถทำงานได้ โดยการฉีดสารฟีนอลเข้าสู่หัวใจและมีการดึงหน่วยที่ เรยี กว่า SS - Desinfektionskommando ทำหนา้ ทีเ่ ป็นผู้เทแกส๊ พิษ Zyklon B เข้าสู่ห้องรมแกส๊

40 การรมแก๊สท่คี ่ายเอาชวทิ ซ์ เดือนส.ค. ค.ศ. 1941 รูดอล์ฟ โฮสในฐานะผู้บัญชาการค่าย เอาชวิทซ์ได้รับคำสั่งให้เตรียมการสำหรับกำจัดชาวยิวขึ้นที่ค่ายเอาชวทิ ซ์ ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหาชาวยิวคร้ังสุดท้ายและการสังหาร หมู่ด้วยแก๊สพิษเป็นวิธีที่ถูกเลือกนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวแต่ เดิมใชก้ ารยิงท้ิง การแขวนคอและการฉดี ยาพษิ ห้องรมแก๊สจะประกอบไปด้วยประตู 2 บาน ป้องกันการร่ัว ออกมาของแก๊ส เพดานที่ถูก เจาะให้เป็นรูสำหรับใส่แกส๊ พิษเข้าไปข้าง ใน และติดตั้งระบบระบายอากาศ ห้องมีขนาดกว้าง 4.6 เมตร ยาว 16.8 เมตร มีพื้นที่ 77.28 ตารางเมตร ห้องรมแก๊สที่ค่ายเอาชวิทซ์ 1 ถกู ใช้งานตั้งแต่ฤดใู บไมร้ ่วงค.ศ. 1941 ถึงเดอื นตุลาคม ค.ศ. 1942 และ เมือ่ มกี ารกอ่ สร้างคา่ ยเอาชวทิ ซ์ 2 ได้มีการดัดแปลงกระทอ่ มของชาวนา 2 หลังเพื่อทำหน้าที่เป็นห้องรมแก๊ส หลังแรกถูกเปิดใช้ในเดือน มกราคม ค.ศ. 1942 และอีกหนึ่งหลังในเดือนมิถุนายนในปีเดียวกัน เรียกว่าบังเกอร์ 1 และ2 ( บังเกอร์ 1 ถูกรื้อทำลายในช่วงสิ้นค.ศ.1944 ในขณะทีบ่ ังเกอร์ 2 ถูกรื้อในฤดูฝนปีเดียวกัน แต่ได้มี การนำกลับมาใช้ ใหม่อีกครั้งในช่วงปลายปีในฐานะบังเกอร์ 5) บังเกอร์ท้ังสองหลังนี้มี ขนาดกว้าง 7 เมตร ยาว 15 เมตร คิดเป็นพื้นที่ 105 ตารางเมตร ซึ่งมี ขนาดใหญ่กว่าที่ค่ายเอาชวิทซ์ 1 บังเกอร์ 1 ประกอบไปด้วยห้องรม แก๊ส 2 ห้อง แต่ละห้องมี 1 ประตูบังเกอร์ 2 มีห้องรมแก๊ส 4 ห้อง แต่ ละห้อง มีประตูทางเข้าอยู่ทางด้านหนึ่ง และประตูอีกบานหนึ่งอยู่ฝ่ัง ตรงข้ามเพื่อใช้เป็นทางในการขนศพ ออก ห่างออกไปจากับงเกอร์จะมี อาคารไม้สำหรับเปลี่ยนเสื้อผ้า โดยเป็นของบังเกอร์ 1 สองหลัง และ ของบังเกอร์ 2 สามหลัง ภายในจะถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ส่วนแรก สามารถรองรับนักโทษทั้งหมดได้ประมาณ 1,200 คน ส่วนที่สอง 700

41 คน ส่วนท่สี าม 400 คน และสว่ นที่สี่ 250 คน ในส่วนของหอ้ งท่ีมีขนาด ใหญ่ทีส่ ดุ จะมี หนา้ ตา่ งบานเล็ก ๆ 2 บาน สว่ นที่เหลอื จะมเี พยี ง 1 บาน เทา่ น้ัน ซ่ึงหนา้ ต่างเหล่านีจ้ ะถกู ปดิ สนทิ หอ้ งแต่ละห้องจะมีทางเข้าแยก ออกจากกัน บนประตูทางเข้าจะมีแผ่นโลหะ พร้อมคำอธิบายปิดไว้ว่า กระแไฟฟ้าแรงสูงอันตรายถึงตายได้ (High Vottage - Danger of Death) แต่คำเตือนนี้จะเห็นได้ทางเดียวเมื่อ ตอนประตูปิดเท่านั้น ในทางกลับกันเมื่อประตูเปิดจะเห็น คำว่า สำหรับอาบน้า (To the Baths) แทน ผู้คน ท่ีถกู นำตวั เขา้ ไปในห้องน้จี ะถกู รมแกส๊ และประตูฝั่ง ตรงข้ามคือทางออกที่เอาไว้สำหรับลำเลียงศพออก ซึ่งบ้านหลังนี้ถูก เรียกว่า บังเกอร์ 2 ห่างออกไปอีก 500 เมตรจะมีบ้านอีกหนึ่งหลัง เรียกว่าบังเกอร์ 1 ซึ่งมี ขนาดค่อนข้างเล็กถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน แต่ ละห้องมีประตูทางเข้าและหน้าต่างเล็ก ๆ อย่างละ 1 บาน ใกล้กับ บังเกอร์ 1 จะมีโรงนาเล็ก ๆ และอาคารไม้อีกสองหลัง หลุมเผาศพจะ อย่หู า่ งออกไป ค่อนข้างไกล ซึ่งจะมรี างรถไฟเปน็ ตวั เช่อื มกบั บงั เกอร์ ภายในอาคารเผาศพสามารถแบง่ ออกได้เป็น 3 ส่วน สว่ นแรก คือห้องเผาศพ ส่วนต่อมาคือห้องโถงใหญ่ และส่วนสุดท้ายคือห้องรม แก๊ส ใจกลางห้องจะมปี ลอ่ งไฟขนาดใหญ่ และเตาเผาศพ 9 เตาวางเรยี ง กนั อยู่โดยรอบ มชี อ่ งลิฟท์ 4 ชอ่ งสามารถเผาศพไดค้ ร้งั ละ 3 ศพภายใน ระยะเวลา 1 ชั่วโมง 30 นาทีห้องถัดมามีขนาดค่อนข้างใหญ่รับนักโทษ ได้ประมาณ 2,000 คนมีป้ายเขียนบอก ว่าเป็นห้องอาบน้ำมีไฟสว่าง ตรงกลางห้องมีเสาเรียงเป็นแนวโดยรอบ ตลอดแนวกำแพงมีม้านั่งอยู่ หลายตัว เหนือม้าน่ังมีท่ีแขวนเสือ้ ซ่ึงมีหมายเลขกำกับอยู่ หลังจากถอด เส้ือผ้าออกจนหมดแลว้ นายทหารเอสเอสจะนำเหย่ือเข้าไปอีกห้องหนึ่ง ซึ่งมีขนาดใหญ่เท่ากันกับห้องแรก เสาท่ีเรียงรายไป ตามห้องน้ัน นอกจากจะมีเสาคอนกรีตที่มีวัตถุประสงค์ในการค้ายนั้นน้ำหนักของ

42 เพดานแล้วยังมีเสา กลวงที่ทำด้วยโลหะแผ่น ทั้งนี้เพื่อให้สามารถเดิน ท่อแก๊สพิษที่พ่นออกมาจากหัวฝักบัวโลหะ จำนวนมาก รูปลักษณ์ของ ฝักบัวนี้จงใจทำมาเพื่อใช้หลอกล่อเหยื่อเมื่อทหารเอสเอสเดินออกไป จาก ห้องแล้ว ประตูจะถูกปิดและไฟจะดับ ที่ด้านนอกกกเจ้าหน้าท่ี หน่วยเอสเอสจะสวมีหน้ากากป้องกันแกส๊ พิษปีนข้ึนไปบนหลังคา ก่อน เปิดฝาครอบออกแล้วเทสารพิษลงไปเบื้องล่าง โดยที่กระป l อง บรรจุ จะมีฉลากติดไว้ว่า Zyklon for Destroying Pests103 จากการบันทึก ของนายแพทย์มิโคลนูสชลี (MiklosNyiszli) แพทย์นักโทษที่ทำงานใน ค่ายเอาชวิทซ์ทำให้ทราบว่าแก๊สพิษดังกล่าวจะ ถูกนำมาจากภายนอก โดยรถของกาชาดและไม่เคยมีการเก็บแก๊สพิษเอาไว้ที่อาคารเผา ใช้ เวลา เพยี งสามนาท่เี หยือ่ ทกุ คน

43 “There is today one state,\" wrote Hitler, \"in which at least weak beginnings toward a better conception are noticeable. Of course, it is not our model German Republic, but the United States.” สร้างสงั คมอันสูงส่งของอารยนั คนไขโ้ รคจิต คนป่วยรักษา ไมห่ าย คนชราในบ้านพักคนชรา พวกรักร่วมเพศ คนยิปซี ถือ เปน็ ตัวถว่ งความเจรญิ ของอาณาจกั ร Adolf Hitler

44 8 พ.ค. 1945 สงครามโลกครง้ั ที่สองสน้ิ สุด มกี ารพจิ ารณาคดหี มอนาซีทที่ ดลองวทิ ยาศาสตร์กับมนุษยท์ ่ีเมือง “นเู รมเบริ ์ก” ผลจากการพจิ ารณาคดนี ำมาสู่ “ประมวลนเู รมเบิรก์ ” ซึ่งเปน็ ข้อกำหนดการทดลองกบั มนษุ ยต์ ่อไป… การพิจารณาคดยี ่ืนฟ้องแพทยเ์ ยอรมนั 20 คน ผชู้ ่วยเยอรมนั 3 คน หลงั จากการพิจารณาคดีจบ มหี มอ 8 คนพ้นผิด7 คนถูกตดั สนิ ประหาร ชีวติ 5 คนถกู จำคกุ ตลอดชีวติ 4 คนถกู ตัดสนิ จำคกุ 10-20 ปี

45 การทดลองบรรยากาศช้ันสูง High-Altitude Experiments มนี าคม ถึงกรกฎาคม 1942 ในค่ายดาเชา การทดลองน้คี ดิ โดย นพ.ซิกมุนด์ ราเชอร์ การทดลองนท้ี ำโดนเอาห้องกระเปาะโลหะทรงกลมปรับลดความดนั จำลองสภาพความสูงทร่ี ะดบั 68,000 ฟตุ โดยสูบเอาอากาศออก เหย่ือจะ ได้รบั หน้ากากออกซิเจน หรือไมม่ กี ็ได้ แบ่งเป็น -การร่อนลงเช่ืองชา้ โดยไมม่ ีออกซเิ จน (จำลองตอนมรี ่มชชู ีพกาง) -การร่อนลงเชื่องช้าโดยมีออกซเิ จน (จำลองตอนมรี ่มชูชพี กาง) -การตกดงิ่ โดยไม่มีออกซเิ จน (จำลองการตกอสิ ระก่อนร่มกาง) -การตกดิ่งโดยมีออกซิเจน (จำลองการตกอสิ ระกอ่ นร่มกาง) การทดลองนที้ ำเพอ่ื สมมตนิ กั บนิ ของเยอรมนั ต้องตกด่งิ ลงมาจากบรรยา กาสสงู จะเปน็ อยา่ งไร

46 เหย่ือทใ่ี ชท้ ดลองมกี ารสุ่มเลอื กราวสองร้อยคน มีทัง้ คนรัสเซยี เชลยรัสเซยี โปแลนด์ ยวิ นักโทษการเมอื งชาวเยอรมนั เหยอื่ การทดลอง 78 คน เสียชวี ติ เหยอ่ื โดนหลอกวา่ ถ้าเขา้ รว่ มการทดลองแลว้ จะได้ปล่อยตวั เป็น อิสระ


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook