Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore คู่มือมาตรการป้องกันควบคุมโรคในพื้นที่เฉพาะ

คู่มือมาตรการป้องกันควบคุมโรคในพื้นที่เฉพาะ

Published by 2bnatthanicha, 2021-09-08 02:09:17

Description: BBS_Final_02

Keywords: โควิด-19

Search

Read the Text Version

คำนำ ด้วยสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด 19 มีการระบาดในประเทศไทย เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการระบาดในสถานประกอบกิจการ ซึ่งส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรม หลายประเภท โดยผตู้ ดิ เชอื้ มีโอกาสแพร่เช้ือในสถานประกอบกิจการและชุมชนรอบนอก การแพร่เช้ือใน สถานประกอบกิจการส่งผลต่อการขาดแรงงานทั้งการหยุดพักรักษาตัวและกลุ่มเสี่ยงผู้สัมผัสที่ต้อง กักกันตัว เกิดการสูญเสียรายได้ เกิดผลกระทบต่อกระบวนการผลิตและการดำเนินการของ สถานประกอบกิจการ และเศรษฐกิจของประเทศ กระทรวงสาธารณสุข โดยท่านปลดั กระทรวงสาธารณสขุ นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ได้ให้นโยบาย หลักการและแนวคิดของมาตรการ Bubble and Seal เพอื่ ใชเ้ ปน็ แนวทางในการป้องกนั และควบคุมการระบาดของโรคติดเช้ือไวรสั โคโรนา 2019 คู่มือการดำเนินงานมาตรการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคในพื้นที่เฉพาะ Bubble and Seal เล่มนี้ ได้นำแนวคิดและหลักการของมาตรการ Bubble and Seal สู่การปฏิบัติ โดยเน้นใน สถานประกอบกิจการหรือโรงงาน และปรับแนวทางให้สอดคล้องกับบริบทของสถานประกอบกิจการ ซึ่งประกอบด้วยเนื้อหาหลัก 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 มาตรการ Bubble and Seal เพื่อการป้องกันโรค ภายใตแ้ นวทางการปฏบิ ัติการ “จัดกลุ่ม คมุ ไว ลดการแพร่กระจาย รายไดไ้ ม่สญู เสยี ” โดยเน้นการจัด กลุ่มเป็นย่อย (small bubble) ควบคู่กับมาตรการด้านการจัดสภาพแวดล้อมการทำงานและ DMHTTA ส่วนที่ 2 มาตรการ Bubble and Seal เพื่อการควบคุมโรค เน้นการควบคุมการแพร่ระบาด ของโรคในสถานประกอบกิจการและการแพร่เชื้อไปสู่ชุมชน โดยมาตรการน้ีจะแบ่งเป็น 3 ระดับ ตามความรุนแรงของการระบาด คอื ระดับนอ้ ย ระดบั ปานกลาง และระดับมาก เพ่อื ให้มีความเหมาะสม และความเป็นไปได้ในการดำเนินการตามมาตรการ ภายใต้หลักการและแนวทางนี้นอกจากเพื่อการ ป้องกันควบคุมโรคแล้ว ยังคำนึงถึงการดำเนินการของสถานประกอบกิจการให้มีรายได้ ไม่ปิดกิจการ ใหเ้ ศรษฐกจิ ไทยเดินหนา้ ต่อไปได้ กรมควบคุมโรค โดยกองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม หวังเป็นอย่างยิ่งว่า “คู่มือมาตรการป้องกันควบคุมโรคในพื้นที่เฉพาะ (Bubble and Seal)” สำหรับสถานประกอบกิจการฉบับน้ี จะเป็นประโยชน์ และเป็นแนวทางในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซง่ึ ปรบั ประยกุ ต์ใช้ตามบรบิ ทของสถานประกอบกจิ การได้ คณะผู้จัดทำ สงิ หาคม 2564 กองโรคจากการประกอบอาชพี และสิง่ แวดล้อม ก กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

สารบญั หนา้ หลักการ แนวคดิ สู่การปฏบิ ตั ิ ก คำนำ ข สารบญั 1 บทนำ 1 2 หลกั การและเหตุผล 2 วัตถุประสงค์ 2 ขอบเขต 5 คำจำกัดความ 11 สว่ นท่ี 1 มาตรการ Bubble and Seal เพือ่ การป้องกนั โรค 19 ส่วนท่ี 2 มาตรการ Bubble and Seal เพอ่ื การควบคุมโรค 24 แนวปฏิบตั ิการตรวจคดั กรองด้วย Antigen Test Kit (ATK) 30 แนวทางการดูแลสขุ ภาพจิตสำหรับผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการ 31 เอกสารอ้างอิง ภาคผนวก 32 - แบบฟอร์มท่ี 1 รายการตรวจสอบ (Checklist) มาตรการ Bubble and seal เพ่อื การป้องกันโรค ในสถานประกอบกจิ การ 38 - แบบฟอร์มที่ 2 รายการตรวจสอบ (Checklist) มาตรการ Bubble and seal เพือ่ การควบคุมโรค ในสถานประกอบกจิ การ กองโรคจากการประกอบอาชพี และสง่ิ แวดลอ้ ม ข กรมควบคมุ โรค กระทรวงสาธารณสขุ



บทนำ หลักการและเหตุผล ตามที่สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทยมีแนวโน้มสูงขึ้น และยงั พบการระบาดอย่างต่อเนื่องในสถานประกอบกจิ การ ศูนยบ์ ริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติด เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) มีประกาศข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหาร ราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ 30) ลงวันที่ 1 สิงหาคม 2564 ข้อ 9 มาตรการ เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดในกลุ่มแรงงานในสถานประกอบกิจการหรือโรงงานท่ัว ราชอาณาจกั ร ในการยกระดบั มาตรฐานการปฏิบัติดา้ นสาธารณสขุ และมาตรการป้องกนั ควบคุมโรค ในพื้นที่เฉพาะ (Bubble and Seal) เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด -19 ตามหลักเกณฑ์และแนวทางที่ราชการกำหนด กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมกำหนดมาตรการในการบริหารจัดการและดำเนินการด้านความปลอดภัยของสุขภาพ จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรสั โคโรนา 2019 โดยใช้มาตรการป้องกันควบคุมโรคในพื้นที่เฉพาะ (Bubble and Seal) เพื่อการป้องกัน ควบคุม และลดการแพร่ระบาดของโรค โดยดำเนินการควบคู่ กบั มาตรการจัดสภาพแวดล้อม และมาตรการ DMHTTA อย่างเครง่ ครัด และกำกบั ติดตามมาตรการ อยา่ งต่อเนอื่ ง มาตรการป้องกันควบคุมโรคในพื้นที่เฉพาะ (Bubble and Seal) สำหรับสถานประกอบ กิจการหรือโรงงานฉบับนี้ ได้นำหลักการ แนวคิด ของท่านปลัดกระทรวงสาธารณสุข และการปฏบิ ตั งิ านตามมาตรการในพืน้ ที่มารวบรวมและปรับแนวทางการปฏิบัติเพ่ือการนำไปใช้ได้ใน ทุกสถานประกอบกิจการ ทั้งนี้อาจมีการปรับประยุกต์ได้ตามประเภทหรือตามบริบทนั้น ๆ โดยแบ่งมาตรการเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 มาตรการ Bubble and Seal เพื่อการป้องกันโรค กรณีที่ยังไม่พบผู้ติดเชื้อในสถานประกอบกิจการ โดยมาตรการนี้เน้นการจัดกลุ่มย่อย (small bubble) และใหผ้ ปู้ ฏบิ ัติงานทำกิจกรรมภายใต้เงื่อนไขเดยี วกนั และไม่ข้ามกลุ่ม ดังนั้นเมื่อพบ ผู้ติดเชื้อจะสามารถแยกผู้ที่ติดเชื้อเข้าสู่ระบบการรักษาได้ทันที และทราบกลุ่มเสี่ยงหรือกลุ่มผู้สัมผัส โดยเร็ว ทำให้ควบคมุ ได้ไวและลดการแพร่กระจายของโรคในสถานประกอบกิจการ โดยผู้ปฏิบัติงานที่ เหลือในกลุ่มนแี้ ละกลมุ่ ย่อยอื่นยังสามารถทำงานได้ เป็นผลให้สถานประกอบกิจการยังสามารถดำเนิน กิจการได้ ช่วยลดผลกระทบจากการขาดแรงงานและรายได้ ในส่วนที่ 2 มาตรการ Bubble and Seal เพื่อการ ควบคุมโรค มีการแบ่งระดับการควบคุมเปน็ 3 ระดับ คือ ระดับน้อย ระดับปานกลาง และระดับมาก โดยระดับมากจะใชก้ ารควบคุมโรคแบบเข้มงวด สำหรับสถานประกอบกิจการที่พบผู้ตดิ เชื้อตามเกณฑ์ 2 ใน 3 ข้อ ดังนี้ 1) อัตราผู้ติดเชื้อมากกว่า ร้อยละ 10 ของผู้ปฏิบัติงานทั้งหมด 2) จำนวนผู้ติดเช้ือ มากกวา่ 100 คนขึน้ ไป 3) พบการติดเช้ือในผูป้ ฏบิ ตั งิ านต่อเน่อื งนานกวา่ 14 วนั ใน 28 วัน ซ่ึงแต่ละ ระดับจะมีแนวทางการดำเนินการแตกต่างกัน กรณีเกิดการระบาดระดับมาก สถานประกอบกิจการ ต้องดำเนินการควบคุมแบบเข้มงวดเพื่อควบคุมการติดเชื้อในสถานประกอบกิจการและลดการแพร่ กองโรคจากการประกอบอาชพี และสิ่งแวดลอ้ ม 1 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสขุ

เช้ือไปสู่ชุมชน มีการควบคุม กำกบั รวมถึงดำเนนิ การจัดหาพ้นื ทสี่ ำหรับแยกกักผู้ติดเช้ือ โรงพยาบาล สนามหรือโรงพยาบาลคู่ปฏิบัติการเพื่อรองรับกรณีมีผู้ติดเพิ่มเชื้อมาก จัดหาที่พัก และรถรับ - ส่ง ผู้ปฏิบัติงาน รวมท้ังควบคุมดแู ลความเรยี บร้อยของการดำเนินการ วัตถปุ ระสงค์ 1. เพื่อทราบหลักการแนวทางของมาตรการป้องกันควบคุมโรคในพื้นที่เฉพาะ (Bubble and Seal) และสามารถนำไปประยกุ ตใ์ ช้กับบรบิ ทของสถานประกอบกิจการได้ 2. เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัตใิ นการเตรียมพร้อมรองรับสถานการณ์การระบาดของโรคติดเช้อื ไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับสถานประกอบกจิ การ 3. เพื่อป้องกันการติดเชื้อและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคท่ีอาจเกิดขึ้นภายใน สถานประกอบกจิ การ และลดการแพร่กระจายเชือ้ สู่ชมุ ชนไดอ้ ย่างมปี ระสทิ ธิภาพ ขอบเขต ค่มู อื มาตรการป้องกนั ควบคมุ โรคในพน้ื ที่เฉพาะ (Bubble and Seal) สำหรบั สถานประกอบ กจิ การนี้ สามารถใชเ้ ปน็ แนวทางในการวางแผน เฝา้ ระวัง ป้องกันควบคุมการแพรร่ ะบาดของโรคตาม สภาพปัญหาและบริบทสำหรบั สถานประกอบกิจการ ทกุ ขนาด ทกุ ประเภท ประกอบด้วย 2 ส่วน ส่วนท่ี 1 มาตรการ Bubble and Seal เพือ่ การป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สว่ นท่ี 2 มาตรการ Bubble and Seal เพอ่ื การควบคมุ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 คำจำกดั ความ ผู้ปฏิบัติงาน หมายถึง ลูกจ้างหรือพนักงาน ที่เป็นบุคลากรประจำหรือชั่วคราวที่ปฏิบัติงาน ในสถานประกอบกิจการ สถานประกอบกิจการ หมายถึง หน่วยงานแต่ละแห่งของนายจ้างที่มีลูกจ้าง หรือ ผู้ปฏิบัติงาน ทำงานในหน่วยงาน ในคู่มือเล่มนี้ สถานประกอบกิจการ ส่วนใหญ่จะหมายถึง โรงงาน อตุ สาหกรรม กลุม่ โรงงานหรือนคิ มอตุ สาหกรรม กลุ่มเปราะบาง หมายถึง ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป หญิงครรภ์ ผู้มีโรคประจำตัว 7 กลุ่มโรค ไดแ้ ก่ โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตเร้อื รงั ระยะท่ี 5 โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็งที่อยู่ระหว่างรักษา โรคเบาหวาน โรคอ้วน (น้ำหนักตัวเกิน 90 กิโลกรัม หรือ ดัชนีมวลกาย ≥ 30 กโิ ลกรัมตอ่ ตารางเมตร) กองโรคจากการประกอบอาชพี และสง่ิ แวดลอ้ ม 2 กรมควบคมุ โรค กระทรวงสาธารณสุข

Bubble หมายถึง ลักษณะของกลุ่ม ก้อน วง ที่มีขอบเขต ปรับขยายได้และยืดหยุ่นได้ ในคู่มือเล่มน้ี Bubble ใช้แทนความหมายของการจัดกลุ่ม วง ขอบเขต ซึ่งสามารถจัดแบ่งเป็นกลุ่ม ย่อย (small bubble) ในการจัดสรรผู้ปฏิบัติงานตามประเภทความเสี่ยง หรือ การทำงานและทำ กิจกรรม ตามบริบทของสถานประกอบกจิ การภายใต้เงื่อนไขทำงานในกลุม่ เดียวกนั เช่น การแบ่งกลุ่ม ย่อยตามลักษณะการทำงาน ฝ่ายการผลิต ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายขาย ฝ่ายซ่อมบำรุง กลุ่มละประมาณ 10 – 20 คน เป็นต้น หรือหมายถึงวง กลุ่มที่ใหญ่ขึ้น (large bubble) เช่น โรงงาน แผนก ห้อง สถานทีท่ กี่ ำหนด Seal หมายถึง การครอบ ปิดกั้น ปิดผนึก ปิดรอยรั่ว ในคู่มือเล่มนี้ Seal ใช้ในความหมาย การกำหนดขอบเขต อาณาบรเิ วณ ขอบเขตพน้ื ที่ หรือเสน้ ทางของผู้ปฏิบตั ิงานแต่ละกลุ่ม การกำหนด พื้นที่ให้อยู่ในสถานประกอบกิจการหรือที่พัก โดยไม่ให้ผู้ปฏิบัติงานเคลื่อนที่ออกไปจากอาณาเขตท่ี กำหนดไว้ หรอื ควบคุมการเดนิ ทาง (seal route) กรณีทต่ี ้องออกจากพืน้ ที่ หรอื การงดการออกพ้ืนท่ี ชุมชนโดยรอบ เพอื่ ลดการแพร่ระบาดของเช้ือสู่ชุมชน Bubble and seal หมายถึง การแบ่งกลุ่ม จัดกลุ่ม หรือกำหนดขอบเขต อาณาบริเวณ รวมถึงเส้นทางของผู้ปฏิบัติงานให้อยู่ในพื้นที่พื้นที่เฉพาะที่จำกัด หรือจัดไว้ แต่สามารถทำกิจกรรม หรือเดินทางไดภ้ ายใต้เงื่อนไขที่กำหนด เชน่ การจดั การทำงานเป็นกลุ่มย่อย (small bubble) โดยให้ ทำกิจกรรมรว่ มกนั ในกลมุ่ มีพืน้ ท่ีการทำงาน พ้ืนทท่ี ำกิจกรรม ท่พี กั อาศัย การกำหนดเสน้ ทาง วิธีการ เพื่อลดการสมั ผสั และปอ้ งกนั การติดเช้ือ ซึง่ สามารถปรบั ตามบริบทของสถานประกอบกิจการ มาตรการ Bubble and Seal นี้ เป็นการบริหารจัดการป้องกันควบคุมโรคในพื้นที่เฉพาะ โดยสามารถดำเนนิ การไดท้ ง้ั กอ่ นการระบาด และเมื่อเกิดการระบาดในพน้ื ท่ี ซึ่งยงั สามารถทำกิจกรรม กลุ่มกิจกรรม หรือทำงานได้ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด สามารถเคลื่อนย้ายระหว่างที่พักและที่ทำงาน ภายใตก้ ารควบคมุ กำกับ เพ่ือลดผลกระทบดา้ นเศรษฐกจิ และควบคุมการแพรร่ ะบาดในวงกวา้ ง มาตรการป้องกัน หมายถึง มาตรการที่ใช้ในการป้องกันการติดเชื้อและการแพร่ระบาดโรค ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในสถานประกอบกิจการ ได้แก่ การสื่อสารอบรมสร้างความเข้าใจด้าน พฤติกรรม การป้องกันส่วนบุคคล มาตรการ DMHTTA การจัดสภาพสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการ ปอ้ งกนั โรค การประเมินความเสย่ี ง การจัดกลุม่ ย่อย (small bubble) และควบคุมไมใ่ หข้ ้ามกลุ่มย่อย การกำหนดพื้นที่ร่วม การทำความสะอาดพื้นที่ส่วนกลางและจุดสัมผัสร่วม การตรวจคัดกรอง การ กกั กนั ผปู้ ฏิบัตงิ านใหม่กอ่ นรบั เขา้ ทำงานรวมถงึ การได้รับวคั ซนี เป็นตน้ มาตรการควบคุม หมายถึง มาตรการที่ใช้ในการควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในสถานประกอบกจิ การ เพื่อลดการแพรก่ ระจายของโรค โดยการแยกกกั ผปู้ ฏิบัติงานทีต่ ิดเช้ือออกไป รกั ษา การกักกันผสู้ ัมผสั กลุ่มเสี่ยงภายใตก้ ลุ่มย่อย การควบคุมกลุม่ ย่อย (small bubble) ไม่ให้มีการ ขา้ มกล่มุ การจำกดั พืน้ ท่ี เส้นทาง พฤตกิ รรม ทำให้จัดการควบคมุ ผ้ตู ดิ เชื้อได้อยา่ งรวดเร็ว ลดการแพร่ กองโรคจากการประกอบอาชพี และสิง่ แวดล้อม 3 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

ระบาดในวงกว้างในสถานประกอบกิจการและลดการแพร่เชื้อสู่ชุมชน คู่มือเล่มนี้แบ่งการระดับการ ควบคมุ เป็น 3 ระดับ ไดแ้ ก่ ระดบั นอ้ ย ระดับปานกลาง และระดบั มาก มาตรการควบคุมเข้มงวด หมายถึง มาตรการควบคุมโรคโดยการจัดหาที่พักให้แก่ ผู้ปฏิบัติงาน ที่พักสำหรับผู้ติดเชื้อ โรงพยาบาลสนามและโรงพยาบาลคู่ปฏิบัติการ การจัดกลุ่มย่อย (small bubble) ไม่ให้ข้ามกลุ่ม และการ seal route การเดินทางและควบคุมระบบรถรับ-ส่ง อย่างเข้มงวด โดยใช้กระบวนการ กำกับ ติดตาม อย่างเคร่งครัด เพื่อไม่ให้เกิดการแพร่กระจายเชื้อ การรับเชื้อจากชุมชนเข้าสู่สถานประกอบกิจการและควบคุมการแพร่เชื้อไม่ให้ออกไปสู่ชุมชน มาตรการควบคุมเข้มงวดนี้สถานประกอบกิจการสามารถดำเนินการได้เอง หรือขอความร่วมมือจาก หน่วยงานภายนอกช่วยควบคุม กำกับ ดูแลให้ดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) กำนันและผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ องค์กรปกครองส่วน ทอ้ งถนิ่ หรือ หนว่ ยงานดา้ นความมัน่ คง (ทหาร ตำรวจ) ตามบรบิ ทของพ้ืนท่ี มาตรการด้านสังคม หมายถึง มีการจัดทีมหรือคณะทำงาน การจัดทำแผนการดำเนินงาน ตามมาตรการ Bubble and Seal แผนการจำหน่ายออก (exit plan) การจัดเตรียมการด้านสถานท่ี ได้แก่ ที่พักในสถานประกอบกิจการหรือในชุมชน โรงพยาบาลสนาม รวมถึงโรงพยาบาลคู่ปฏิบตั ิการ เพื่อรองรับผู้ติดเชื้อจำนวนมาก การระบบควบคุมการเดินทาง หรือ จัดระบบรถรบั -สง่ การสนับสนนุ อาหารและสิ่งอำนวยความสะดวก การสื่อสารความรู้ การสื่อสารความเสี่ยงให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน ครอบครวั และชุมชน และการรักษาความปลอดภัยและรกั ษาความสงบเรยี บร้อย การประเมินความเสีย่ ง หมายถึง การประเมนิ ปจั จัยและโอกาสการสัมผัสเชือ้ สัมผสั ผตู้ ดิ เช้ือ หรือการรับเชื้อ การประเมินพฤติกรรมเสี่ยง การประเมินการแพร่กระจายของเชื้อ ได้แก่ ประเมินผู้ สัมผสั การประเมินอาการ และประเมนิ สมาชิกในครอบครวั ของผู้ปฏิบัตงิ าน เปน็ ตน้ มาตรการเฝา้ ระวัง หมายถงึ มาตรการหรือกจิ กรรมที่เกยี่ วข้องการสังเกต การพจิ ารณา การ ตรวจจับความผิดปกติ การเฝ้าดูอย่างเป็นระบบ การจัดทำทะเบียน การจัดการข้อมูลอย่างต่อเนื่อง และเป็นระบบ การวเิ คราะห์และแปลผลข้อมูลเพ่ือนำไปใช้ในการวางแผนการป้องกันควบคุมการการ แพร่ระบาดของโรคในสถานประกอบกจิ การ รวมถึงการสมุ่ ตรวจเพ่อื หาเช้ือในสถานประกอบกิจการ กองโรคจากการประกอบอาชพี และส่ิงแวดลอ้ ม 4 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสขุ

ส่วนที่ 1 มาตรการ Bubble and Seal เพื่อการป้องกนั โรค กองโรคจากการประกอบอาชพี และสิง่ แวดลอ้ ม 5 กรมควบคมุ โรค กระทรวงสาธารณสขุ

ส่วนที่ 1: มาตรการ Bubble and Seal เพ่ือการปอ้ งกันโรคติดเชอ้ื ไวรัสโคโรนา 2019 ในสถานประกอบกิจการ วัตถปุ ระสงค์ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อหรือการแพร่ระบาดในวงกว้าง โดยการจัดกลุ่มย่อย (small bubble) ตามลกั ษณะการทำงานหรอื ตามความเส่ยี งภายใต้เงอื่ นไขเดยี วกนั และไม่มีการข้ามกลุ่ม แนวคดิ การทำงาน แนวคิดหลกั ของมาตรการนี้ คอื จัดกลุ่ม ให้ผู้ปฏบิ ัติงานทำงานหรอื ทำกิจกรรมภายใตเ้ ง่ือนไข เดียวกัน แนะนำการจัดกลุ่มย่อย (small bubble) ให้เล็กที่สุด ตามบริบทของสถานประกอบกิจการ ทั้งนี้ควรคำนึงถึงลักษณะงาน กิจกรรม พฤติกรรมเสี่ยง ความเสี่ยงต่างๆร่วมด้วย โดยแต่ละกลุ่มต้อง ทำงานและทำกจิ กรรมร่วมกันภายในกลมุ่ ไมม่ ีการขา้ มกลุม่ คุมไว กรณีพบผู้ปฏิบัติงานตดิ เชื้อในกลุ่ม ย่อยนั้น เมื่อแยกผู้ติดเชือ้ ออกไปรักษา ในการจัดกลุ่มย่อยนี้จะทำให้ทราบกลุ่มเส่ียงสัมผสั ผู้ติดเช้ือได้ เร็วคือผู้ที่อยู่ในกลุ่มย่อยเดียวกัน ลดระยะเวลาการประเมินและติดตามผู้สัมผัสกลุ่มเสี่ยง ทำใ ห้ สามารถจัดการกักกันหรือควบคุมได้เร็ว คือเข้าสู่มาตรการต่างๆ ได้รวดเร็ว ลดการแพร่กระจาย เนื่องจากการจัดกลุ่มย่อย ไม่ข้ามกลุ่ม เป็นการออกแบบและจัดระบบไว้ไม่ให้ปะปนกันตั้งแต่ต้น รายได้ไม่สูญเสีย ถึงแม้จะพบผู้ติดเชื้อ ผู้ปฏิบัติงานที่เหลือในกลุ่มที่มีความเส่ียง ผู้ปฏิบัติงานในกลุ่ม ย่อยอน่ื ยังคงสามารถทำงานหรือทำกจิ กรรมไดภ้ ายใต้เง่ือนไข ซง่ึ เป็นผลดตี ่อสถานประกอบกิจการทำ ใหไ้ มต่ อ้ งหยุดดำเนินกจิ การ ผปู้ ฏิบตั งิ านและสถานประกอบกิจการมรี ายได้ จัดกลุ่ม คุมไว ลดการแพรก่ ระจาย รายได้ไมส่ ูญเสีย ขอ้ ดขี องการทำ Bubble and Seal เพือ่ การป้องกนั โรคตดิ เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 1. การจัดกลุ่มย่อย (small bubble) ให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานและทำกิจกรรมด้วยกัน โดยไม่ข้ามกลุ่ม จะช่วย ปอ้ งกันการติดเชอ้ื ระหว่างกลุ่ม 2. สามารถจะช่วยให้ค้นหากลุ่มเสี่ยงได้ไว ควบคุมการติดเชื้อได้อย่างรวดเร็ว และลดการติดเชื้อระหวา่ งกลุ่มใน สถานประกอบกจิ การไดอ้ ย่างรวดเร็วและมปี ระสิทธภิ าพ 3. กรณีพบผู้ติดเชื้อ ผู้ปฏิบัติงานที่เหลือในกลุ่มย่อยนั้นเป็นกลุ่มเสี่ยงให้เฝ้าระวังอาการและดำเนินการภายใต้ มาตรการได้ทนั ที ลดระยะเวลาการดำเนินการติดตามผู้สมั ผสั หรอื timeline กรณีไม่ขา้ มกลุ่ม แต่ถา้ ข้ามกลุม่ ยังคงต้องติดตามกลมุ่ ย่อยอ่นื และผสู้ มั ผัสกับผู้ตดิ เชอ้ื น้นั 4. กลมุ่ เสยี่ งจากการทำงานในกล่มุ ยอ่ ยท่ีมผี ู้ตดิ เชื้อ ยังสามารถทำงานได้ภายใต้ bubble ของตนเอง และภายใต้ กิจกรรมเง่อื นไขท่กี ำหนด ถา้ ผู้ปฏบิ ตั งิ านมีอาการใหแ้ ยกไปตรวจหาเชอื้ ด้วยวิธี ATK / RT-PCR ซึ่งทำให้ไม่ขาด แรงงานและรายได้ 5. สำหรับผปู้ ฏบิ ตั งิ านในกลมุ่ ยอ่ ยอน่ื ๆ ยังสามารถทำงานไดต้ ามปกติ โดยไมม่ ีการข้ามกล่มุ 6. ใช้หลักการบริหารจัดการ และการควบคุม กำกับ ที่ชัดเจน ดำเนินการได้ทันที สามารถปรับประยุกต์และมี ความยืดหย่นุ มากขนึ้ ใชไ้ ดก้ บั กจิ การทกุ ประเภท กองโรคจากการประกอบอาชพี และสงิ่ แวดลอ้ ม 6 กรมควบคมุ โรค กระทรวงสาธารณสขุ

กองโรคจากการประกอบอาชพี และสง่ิ แวดลอ้ ม 7 กรมควบคมุ โรค กระทรวงสาธารณสขุ

ขั้นตอนการดำเนินงานมาตรการ Bubble and Seal เพื่อการปอ้ งกนั โรค ข้นั เตรยี มการ 1. สถานประกอบกจิ การกำหนดนโยบาย และทีมคณะทำงานในสถานประกอบกจิ การ 2. จัดทำแผนการดำเนินงาน ขั้นตอน และรายละเอียดการดำเนินงานตามมาตรการ รวมถึงระบบการกำกบั ติดตาม ประเมินผล 3. เตรยี มความพรอ้ มการสื่อสารมาตรการป้องกันโรคติดเช้ือไวรัสโคโรนา 2019 และท่ีเก่ียวข้อง ใหแ้ ก่ผู้ปฏบิ ัตงิ านทุกคน เพื่อให้เกดิ ความเข้าใจและนำไปปฏบิ ัตอิ ย่างถูกต้อง 4. สถานประกอบกิจการมีการเตรียมความพร้อมการฉีดวัคซีนให้ผู้ปฏิบัติงาน ตามบริบทของ สถานประกอบกิจการ ขน้ั ดำเนนิ การ 1. จัดทำทะเบียนผู้ปฏิบัติงานกลุ่มเปราะบาง เช่น ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป หญิงตั้งครรภ์ ผู้มีโรค ประจำตัว 7 กลุ่มโรค ได้แก่ โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตเรื้อรังระยะที่ 5 โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็งที่อยู่ระหว่างรักษา โรคเบาหวาน โรคอว้ น (น้ำหนกั ตวั เกิน 90 กโิ ลกรัม หรอื ดชั นีมวลกาย ≥ 30 กโิ ลกรัมต่อตารางเมตร) 2. จัดทำทะเบียนรายชื่อผู้ปฏิบัติงานแยกเป็นกลุ่มย่อย (small bubble) ตามลักษณะ การทำงานหรือการทำกิจกรรม หรือ อาจมีการกำหนดสัญลักษณ์ประจำกลุ่มย่อย เช่น การทำปา้ ยคลอ้ งคอ ปา้ ยสี หรือ ผ้าพนั คอ ตามบรบิ ทของสถานประกอบกจิ การ 3. สื่อสารให้ผู้ปฏิบัติงานแตล่ ะกลุ่มเข้าใจถงึ มาตรการปอ้ งกันโรคตดิ เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดย เนน้ ย้ำให้ทำกจิ กรรมรว่ มกันภายใต้เงือ่ นไขเดยี วกนั กบั สมาชิกภายในกลุ่มเท่าน้ัน 4. จัดกลุ่มย่อย (small bubble) ให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน กรณีมีที่พักในสถานประกอบกิจการ สามารถทำ bubble ต้ังแต่ทพ่ี กั การเดินทาง การทำงานและทำกจิ กรรม โดยกำหนดให้แต่ละ กลมุ่ ย่อยทำงานและทำกจิ กรรมในกลมุ่ ของตนเอง ไมม่ กี ารขา้ มกลุ่ม กรณมี ที ี่พกั ในชมุ ชน ควร เน้นย้ำให้ผู้ปฏิบัติงานปฏิบัตติ ามมาตรการ DMHT อย่างเคร่งครัด และก่อนเข้า bubble ใน สถานประกอบกิจการ ควรต้องมีการประเมนิ ความเส่ียงทุกราย 5. การจดั ท่พี ักให้ผ้ปู ฏบิ ัตงิ าน สามารถดำเนินการไดต้ ามบริบทของสถานประกอบกิจการ กรณี จัดทีพ่ กั ในสถานประกอบกิจการ ❖ จัดทำทะเบียนรายชื่อผู้เข้าพัก พร้อมทั้งควบคุม กำกับ ดูแล ให้ผู้เข้าพักปฏิบัติตาม กฎระเบยี บ โดยมีผูค้ วบคมุ กำกบั โดยจัดผเู้ ขา้ พักตามกลมุ่ bubble ยอ่ ยการทำงาน ❖ ควรมีการกำกบั เวลา เขา้ -ออก จากท่ีพกั โดยต้องเข้าออกท่พี กั ตามกลุ่มของตนเอง ❖ หลกี เลี่ยงการสังสรรคห์ รือการรวมกลุ่มกับบุคคลอ่ืน ๆ ไม่ขา้ มกล่มุ กองโรคจากการประกอบอาชพี และส่ิงแวดลอ้ ม 8 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสขุ

กรณี จดั ทีพ่ ักในชุมชน ❖ มีหัวหน้าหรือผู้ควบคุม จัดทำทะเบียนรายชื่อผู้เข้าพัก พร้อมทั้งควบคุม กำกับ ดูแล ให้ผูเ้ ขา้ พกั ปฏิบัตติ ามกฎระเบยี บ โดยจดั ผเู้ ข้าพักตามกลุ่ม bubble ยอ่ ยการทำงาน ❖ ควรมีการกำกับเวลา เขา้ -ออก จากท่ีพัก โดยตอ้ งเขา้ ออกทพ่ี กั ตามกลุ่มของตนเอง ❖ หลีกเลีย่ งการสงั สรรค์หรือการรวมกลุ่มกับบคุ คลอืน่ ๆ กรณี พกั ทบี่ ้าน ❖ จดั สภาพแวดลอ้ มท่ีพักสะอาด และปลอดภัย ❖ กำชบั มาตรการ DMH กบั ผู้ปฏบิ ตั งิ าน ❖ หลีกเล่ยี งการสังสรรคห์ รือการรวมกลุ่มกับบคุ คลอ่ืน ๆ และการเข้าไปในชุมชน 6. การเดินทางมาทำงานมีหลายกรณี ควรมีการประเมินความเสี่ยงทุกวันก่อนเข้าทำงาน อาจ จัดระบบการเดนิ ทางและการควบคมุ การเดินตามบริบทของสถานประกอบกิจการ กรณีที่พักในโรงงาน การเดินเท้ามาทำงาน ตามเส้นทางที่กำหนด สวมใส่หน้ากากอนามัย ตลอดเวลาการเดนิ ทาง กรณมี รี ถรับ-ส่ง ควรกำหนดจุดรับส่งท่ชี ัดเจน สวมหน้ากากอนามัยตลอดการเดนิ ทาง จัด ที่นั่งเว้นระยะห่าง ไม่อนุญาตให้รับประทานอาหารระหว่างการเดินทาง และมีการทำ ความสะอาดรถหลังจากทรี่ บั ส่งผูป้ ฏบิ ัตงิ าน กรณเี ดนิ ทางด้วยพาหนะสว่ นตวั พยายามหลกี เลย่ี งการแวะ หรอื เขา้ ชุมชน กรณีเดินทางโดยรถโดยสารประจำทางหรือสาธารณะ เวน้ ระยะหา่ ง 1-2 เมตร ปฏิบตั ิตาม มาตรการ DMH 7. มีจดุ คัดกรองก่อนเขา้ สถานประกอบกิจการ เช่น การตรวจวดั อณุ หภูมิ และการประเมนิ อาการ หรอื ใช้ แอบพลิเคช่ันไทยเซฟไทย การเวน้ ระยะหา่ งใหเ้ หมาะสม 8. ให้ผู้ปฏิบัตงิ านทุกคนปฏบิ ตั ิตามมาตรการ D M H T T A อยา่ งเคร่งครดั ไดแ้ ก่ D: Distancing การรกั ษาระยะห่างระหว่างบุคคล อย่างน้อย 1 - 2 เมตร หรอื จดั ให้มี ฉากก้ันขณะปฏิบัตงิ าน M: Mask wearing จัดหาหน้ากากอนามยั ให้เพียงพอ และให้ผู้ปฏิบัตงิ านสวมหน้ากาก อนามยั ตลอดเวลาปฏิบตั งิ าน H: Hand washing มจี ดุ ล้างมอื ทเี่ พยี งพอ และผปู้ ฏิบัตงิ านล้างมอื บ่อย ๆ อยา่ งถกู วิธี T: Temperature กำหนดให้มีการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายก่อนเข้าทำงาน โดย ผปู้ ฏิบตั งิ านตอ้ งมีอุณหภูมไิ มเ่ กิน 37.5 องศาเซลเซยี ส T: Testing มกี ารตรวจหาเชอื้ ไวรสั โคโรนา 2019 กรณีมผี ู้ปฏิบตั ิงานที่มีอาการป่วย มี ประวตั สิ ัมผสั ใกลช้ ิดผู้ติดเช้อื หรอื เดินกลบั มาจากพนื้ ที่เสี่ยง กองโรคจากการประกอบอาชพี และสิ่งแวดล้อม 9 กรมควบคมุ โรค กระทรวงสาธารณสุข

A: Application ติดตั้งและใช้แอปพลิเคชัน “ไทยชนะ” และ “ไทยเซฟไทย” ก่อนเข้า - ออก สถานที่ทุกครั้ง เพื่อติดตามประวัติการเดินทางและความเสี่ยง ของผ้ปู ฏิบัตงิ าน 9. จัดทำทะเบียนรายชื่อผู้ปฏิบัติงานแต่ละกลุ่ม ทำการสุ่มตรวจผู้ปฏิบัติงานด้วยชุดตรวจ ATK ทุก 1 - 2 เดือน เพื่อเฝ้าระวังและประเมินความเสี่ยง ทั้งนี้จำนวนการสุ่มอาจขึ้นอยู่กับ นโยบายของสถานประกอบกิจการ และระยะการสุ่มอาจปรับได้ตามสถานการณ์และความ ชุกการติดเชื้อ และให้สถานประกอบกิจการดำเนินมาตรการ Bubble and Seal เพื่อการควบคุม เม่ือสุ่มตรวจพบผตู้ ดิ เช้อื ในสถานประกอบกิจการ ดงั นี้ จำนวนผ้ปู ฏิบัตงิ านทง้ั หมด จำนวนท่ีสมุ่ ตรวจ จำนวนผตู้ ดิ เชอื้ เกนิ 10% ในสถานประกอบกจิ การ ตามการสุ่มแบบ LQAS ท่ตี ้องทำ BBS แบบควบคุม นอ้ ยกวา่ 50 คน สมุ่ ตรวจทกุ คน มากกว่า 2 ราย 50 - 99 คน 50 คน มากกวา่ 2 ราย 100 - 500 คน 75 คน มากกว่า 3 ราย 501 - 1,000 คน 150 คน มากกวา่ 7 ราย มากกวา่ 1,000 คน สุม่ ตรวจ 150 คน ต่อทกุ มากกว่า 7 ราย ตอ่ 150 คน 1,000 คน Lot Quality Assurance Sampling (LQAS) คือ การสมุ่ ตวั อยา่ งเพ่อื การยอมรับ 10. แนวทางการปฏบิ ัติจากการสุม่ ตรวจ ATK กรณผี ลตรวจ ATK เป็นบวก เรียกวา่ ผตู้ ดิ เชื้อเข้าขา่ ย (Probable Case) ❖ แยกออกจากกล่มุ bubble ทนั ที แยกกักเข้าระบบการรกั ษา Home Isolation หรอื Community Isolation หรือสง่ โรงพยาบาล ขึน้ กับอาการ แนวปฏิบัตแิ ละบรบิ ทพนื้ ที่ ❖ ผู้ปฏิบัติงานในกลุ่มย่อยนั้นถือเป็นกลุ่มผู้สัมผัสที่ดำเนินการกักกันใน small bubble ย่อย นั้น กรณีทำงานให้ทำงานได้ในกลุ่มย่อย (small bubble) ของตนเอง และไม่มีการข้ามกลมุ่ พรอ้ มกบั ใหป้ ฏิบัตติ ามมาตรการ D M H T T A อยา่ งเครง่ ครัด ใหท้ ำความสะอาดแผนกทผี่ ปู้ ฏบิ ตั ิงานของกลุม่ ย่อยนั้นเพ่อื ฆา่ เช้อื โรค ❖ รายงานต่อหัวหน้างานหรือหัวหน้าแผนกทราบ เพื่อแจ้งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ โดยเรว็ ❖ ให้สถานประกอบกิจการเตรียมปรับแผนการเข้าสู่มาตรการ Bubble and Seal เพื่อ การควบคุม 11. สถานประกอบกิจการเตรียมจัดหาวัคซีนใหผ้ ปู้ ฏบิ ัติงานให้ครอบคลุม อยา่ งนอ้ ย 70 % 12. กรณีมีผู้ปฏิบัติงานเข้ามาใหม่ ให้ทำการตรวจหาเชื้อด้วยวิธี ATK / RT-PCR และให้กัก ตัวอยา่ งน้อย 14 วนั กอ่ นเข้าทำงาน กองโรคจากการประกอบอาชีพและส่งิ แวดลอ้ ม 10 กรมควบคมุ โรค กระทรวงสาธารณสขุ

ส่วนท่ี 2 มาตรการ Bubble and Seal เพ่ือการควบคมุ โรค กองโรคจากการประกอบอาชพี และส่ิงแวดล้อม 11 กรมควบคมุ โรค กระทรวงสาธารณสขุ

สว่ นที่ 2: มาตรการ Bubble and Seal เพื่อการควบคุมโรคตดิ เชอื้ ไวรสั โคโรนา 2019 ในสถานประกอบกิจการ วตั ถุประสงค์ 1. เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในสถานประกอบกิจการ และป้องกันการระบาดของโรคสู่ชุมชนโดยรอบ รวมถึงลดอัตราการเสียชีวิตของ ผ้ปู ฏิบตั ิงาน 2. เพ่อื ลดผลกระทบจากการขาดแรงงาน รายได้ การสญู เสยี ทางเศรษฐกิจและสังคม แนวคิดการทำงาน แนวคิดหลักของมาตรการนี้ คือ การบริหารจัดการควบคุมโรคในที่พื้นท่ี ของ สถานประกอบกิจการ เมื่อพบผู้ปฏิบัติงานติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งแบ่งระดับการติดเชื้อของ สถานประกอบกจิ การ ออกเปน็ 3 ระดับ ดงั น้ี 1. ระดบั นอ้ ย กรณีที่พบอัตราผตู้ ิดเช้ือ < 10 % ของผู้ปฏบิ ตั งิ านทัง้ หมด 2. ระดบั ปานกลาง กรณีท่ีพบอัตราผตู้ ิดเช้ือ > 10 % ของผปู้ ฏิบตั ิงานทัง้ หมด 3. ระดับ มาก กรณที ่ีพบผู้ตดิ เชื้อตามเกณฑ์ 2 ใน 3 ข้อ ดงั น้ี 3.1) อตั ราผตู้ ิดเช้ือมากกวา่ รอ้ ยละ 10 ของผ้ปู ฏบิ ัตงิ านทัง้ หมด 3.2) จำนวนผู้ติดเชอื้ มากกวา่ 100 คนขนึ้ ไป 3.3) พบการติดเชื้อในผ้ปู ฏบิ ตั ิงานตอ่ เนอื่ งนานกวา่ 14 วัน ใน 28 วัน เป้าหมายหลักของมาตรการ Bubble and Seal เพื่อการควบคุมโรค คือ การช่วย สถานประกอบกจิ การทพี่ บผู้ตดิ เช้ือให้ยงั คงดำเนินกิจการไดโ้ ดยไม่ต้องปิดกจิ การ สามารถควบคุมการ แพร่กระจายของโรคทั้งในสถานประกอบกิจการและชุมชนได้ โดยการจัดกลุ่มย่อย (small bubble) ทำงานหรือทำกิจกรรมภายในกลุ่มเท่านั้น ไม่ข้ามกลุ่ม กรณีพบการติดเชื้อ ให้แยกผู้ที่ติดเชือ้ ไปรักษา ทันที สำหรับผู้ปฏิบัติงานที่เหลือในกลุ่มให้กักกัน แต่ยังสามารถมาทำงานได้ โดยไม่ข้ามกลุ่ม ผู้ปฏิบัติงานในกลุ่มย่อยอื่นยังคงสามารถทำงานได้ตามปกติ ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด ดังนั้นสถาน ประกอบกิจการจึงสามารถดำเนนิ กิจการตอ่ ไปได้โดยไม่ต้องปดิ กิจการ ข้อดีของมาตรการ Bubble and Seal เพือ่ การควบคุมโรคตดิ เชอ้ื ไวรสั โคโรนา 2019 1. ผู้ปฏิบัติงานที่เหลือในกลุ่มที่มีการติดเชื้อ และกลุ่มย่อยอื่น ๆ สามารถทำงานและทำกิจกรรมได้ ภายใตเ้ งื่อนไขการกักกนั การทำงานและทำกจิ กรรมภายในกลุ่มย่อย (small bubble) ไม่ข้ามกลุ่ม สง่ ผลใหส้ ถานประกอบกิจการไม่ขาดแรงงงาน กจิ การยงั คงดำเนินตอ่ ไปได้ 2. สามารถบริหารจัดการทรพั ยากรในแตร่ ะดับได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. ควบคุมการระบาด และลดการติดเชือ้ ภายในสถานประกอบกิจการ และชมุ ชนโดยรอบ กองโรคจากการประกอบอาชพี และสง่ิ แวดลอ้ ม 12 กรมควบคมุ โรค กระทรวงสาธารณสขุ

ขน้ั ตอนการดำเนินงานมาตรการ Bubble and Seal เพื่อการควบคมุ โรค ข้นั เตรียมการ 1. สถานประกอบกจิ การกำหนดนโยบาย และทมี คณะทำงานในสถานประกอบกจิ การ 2. จัดทำแผนการดำเนินงาน ขั้นตอน และรายละเอียดการดำเนินงานตามมาตรการ Bubble and Seal เพ่อื การควบคมุ โรค รวมถึงระบบการกำกับตดิ ตาม ประเมนิ ผล 3. เตรียมความพร้อมการสื่อสารมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และที่เกี่ยวข้อง ให้แก่ผูป้ ฏบิ ัตงิ านทุกคน เพ่ือให้เกดิ ความเขา้ ใจและนำไปปฏิบตั ิอยา่ งถูกตอ้ ง 4. เตรียมความพร้อมสถานท่ีในสถานประกอบกิจการหรือในชุมชน เพื่อเป็นโรงพยาบาลสนาม และโรงพยาบาลค่ปู ฏบิ ัติการเพอ่ื รองรับมาตรการควบคุมแบบเข้มงวด 5. เตรยี มพรอ้ มจัดหาที่พัก รถรบั - ส่ง รวมท้งั การจดั หาอาหารและสิ่งอำนวยความสะดวกให้แกผ่ ู้ปฏิบัติงาน ขั้นดำเนินการ 1. จดั ทำรายชือ่ แบง่ กลุม่ ผ้ปู ฏบิ ัติงานเปน็ กล่มุ ย่อย (small bubble) ตามลักษณะการทำงาน หรือกจิ กรรม ตามบริบทของสถานประกอบกิจการ และกำหนดใหผ้ ูป้ ฏิบตั ิงานทำงานภายใต้ เงื่อนไขเดียวกนั และไม่มกี ารข้ามกลุม่ กนั โดยการควบคมุ ของหัวหนา้ หรือผู้รบั ผิดชอบ 2. การจัดหาท่ีพกั ใหผ้ ปู้ ฏบิ ตั งิ าน โดยมกี ารจดั ทำทะเบียนรายชอ่ื ผเู้ ขา้ พักและมีผูก้ ำกบั อยา่ ง ชดั เจน ตามบริบทของสถานประกอบกิจการ 3. การควบคุมกำกับการเดินทางมาทำงาน จะต้องไม่ออกนอกเส้นทางหรือแวะระหว่างทาง สามารถดำเนินการได้ตามบริบทของสถานประกอบกิจการ 4. การจัดเตรียมอาหารให้ครบ 3 ม้ือ โดยมกี ารจัดเหลอื่ มเวลารับประทานอาหาร และสนับสนุน ส่ิงอำนวยความสะดวก รวมทง้ั ของใช้ท่จี ำเป็นในชีวติ ประจำวนั 5. ปรับปรุงสภาพแวดล้อมในสถานประกอบกิจการ ทั้งที่พัก พื้นที่ส่วนกลาง โดยให้มีการทำ ความสะอาดจดุ สมั ผสั ร่วมบ่อยๆ หรอื ตามนโยบายทสี่ ถานประกอบกิจการกำหนดไว้ 6. ให้ผ้ปู ฏิบตั งิ านดำเนนิ การตามมาตรการ D M H T T A อย่างเครง่ ครัด และงดการรวมกล่มุ สังสรรค์ 7. สมุ่ ตรวจหาเชือ้ ดว้ ยวธิ ี ATK ในแตล่ ะกลมุ่ กรณผี ลเปน็ บวก ให้ตรวจซ้ำด้วยวธิ ี RT-PCR หาก พบผลเป็นผู้ป่วยยืนยัน (ผลบวก) ให้ดำเนินการรักษาตามแนวทางของกรมการแพทย์ สำหรับผู้ปฏิบัติงานในกลุ่มที่พบผู้ติดเชื้อ และกลุ่มอื่น ๆ สามารถทำงานหรือทำกิจกรรมใน กลมุ่ (bubble) ไดต้ ามปกติ โดยไมม่ ีการข้ามกลมุ่ 8. กลุ่มเปราะบาง เช่น หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว 7 กลุ่มโรค ให้ทำการตรวจ ATK ทกุ คน กรณผี ลเปน็ บวก ให้เขา้ รบั การรกั ษา หากไม่พบการตดิ เชอ้ื และยงั ไมไ่ ดร้ ับวัคซีน ให้รีบดำเนินการใหว้ ัคซนี แก่กลุ่มดงั กลา่ ว กองโรคจากการประกอบอาชพี และสิ่งแวดล้อม 13 กรมควบคมุ โรค กระทรวงสาธารณสขุ

9. เน้นการฉีดวคั ซีนใหผ้ ้ปู ฏบิ ตั ิงานอย่างครอบคลุม อย่างน้อย 70 % 10. กรณีมีผู้ปฏิบัติงานเข้ามาใหม่ ให้ทำการตรวจหาเชื้อด้วยวิธี ATK / RT-PCR และให้กัก ตัวอย่างน้อย 14 วนั กอ่ นเขา้ ทำงาน 11. ให้สถานประกอบกิจการประเมินระดับการติดเชื้อจากการสุ่มตรวจด้วยชุดตรวจ ATK โดย แบ่งระดับการติดเชื้อเป็น 3 ระดับ และให้ดำเนินมาตรการตามระดบั การตดิ เช้อื ดังน้ี กองโรคจากการประกอบอาชพี และสิ่งแวดลอ้ ม 14 กรมควบคมุ โรค กระทรวงสาธารณสขุ

ระดบั นอ้ ย พบผตู้ ิดเชื้อ < 10% ➢ แยกกัก รกั ษาผตู้ ดิ เชือ้ ในโรงพยาบาล หรอื Home Isolation Community Isolation ตามบริบทพน้ื ที่ ➢ ค้นหาผ้ตู ดิ เช้อื ในกล่มุ เปราะบางทกุ คน ด้วยวิธกี ารตรวจ ATK / RT-PCR ➢ แยกผูส้ มั ผสั เสี่ยงสูงในกลมุ่ bubble ย่อย เพอื่ กกั กนั ซ่ึงสามารถทำงานได้ภายใต้ bubble เดียวกัน (ห้าม ข้ามกลุม่ ) และภายใตเ้ ง่ือนไขเดยี วกนั ➢ พิจารณาการใชพ้ ้ืนท่ีสว่ นรวมและการจัดเหลือ่ มเวลาตามกลมุ่ ย่อย เชน่ โรงอาหาร หอ้ งพัก เน้นยำ้ การ ควบคุมกำกับ สถานท่ี เสน้ ทางเฉพาะกล่มุ ไม่ขา้ มกลุ่มยอ่ ย กองโรคจากการประกอบอาชีพและสง่ิ แวดลอ้ ม 15 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสขุ

ระดบั ปานกลาง พบผู้ตดิ เช้อื > 10% ➢ แยกกัก รกั ษาผูต้ ดิ เชื้อในโรงพยาบาล หรือ Home Isolation Community Isolation ตามบริบทพื้นท่ี ➢ ค้นหาผ้ตู ดิ เชอ้ื ในกล่มุ เปราะบางทุกคน ด้วยวธิ ี ATK / RT-PCR ➢ เน้นการจดั กลมุ่ ย่อย (small Bubble) โดยให้ทำกิจกรรมในกลุ่มย่อยร่วมกัน ไม่ข้ามกลุ่มกนั ➢ พิจารณาการใชพ้ ้ืนที่ส่วนรวมและการจดั เหลื่อมเวลาตามกลุ่มย่อย เชน่ โรงอาหาร หอ้ งพัก เนน้ ยำ้ การควบคมุ กำกับ สถานที่ หรอื เส้นทางเฉพาะกลุ่ม ไม่ข้ามกลมุ่ ย่อย ➢ จดั เตรยี มสงิ่ สนับสนนุ ทพี่ ัก ท่กี ัก พาหนะและระบบความปลอดภัย กองโรคจากการประกอบอาชีพและส่ิงแวดลอ้ ม 16 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสขุ

ระดับมาก การติดเช้ือตามเกณฑ์ 2 ใน 3 ข้อ ดงั นี้ 1) อตั ราผูต้ ดิ เช้ือมากกวา่ ร้อยละ 10 ของผูป้ ฏบิ ัตงิ านทงั้ หมด 2) จำนวนผูต้ ิดเช้อื มากกวา่ 100 คนขน้ึ ไป 3) พบการตดิ เชื้อในผู้ปฏบิ ตั ิงานตอ่ เนื่องนานกวา่ 14 วนั ใน 28 วนั ➢ จัดหาท่ีพกั ใหผ้ ปู้ ฏบิ ัตงิ าน และผ้ตู ดิ เชอ้ื (Factory Isolation) จัดหาโรงพยาบาลสนาม โรงพยาบาลคู่ ปฏบิ ัติการ การควบคมุ ยานพาหนะ การเดินทาง เพ่อื ไมใ่ ห้แพรร่ ะบาดสู่ชุมชน (seal route) ➢ มีการควบคมุ กำกับการดำเนินการ Bubble and Seal อย่างเข้มงวด อาจเพิ่มหรือยกระดับการกำกับโดย สถานประกอบกิจการเอง หรือ ขอความร่วมมือจากหน่วยงานอื่น เช่น หน่วยงานความมั่นคง (ทหาร ตำรวจ) อสม. เพอื่ การควบคุม กำกับ ตดิ ตามเข้มงวด กองโรคจากการประกอบอาชพี และสง่ิ แวดล้อม 17 กรมควบคมุ โรค กระทรวงสาธารณสขุ

12. แนวทางการจำหน่าย (Exit Plan) ตามมาตรการbubble and Seal เมื่อสถานประกอบกิจการ ดำเนินการ Bubble and seal จนเห็นว่าการแพร่เชื้อใน bubble อยู่ในระดับต่ำ หรือการแพร่ ระบาดในชุมชนหรือจังหวัดอยู่ในระดับต่ำหรือลดลง มีแนวทางการตัดสินใจผ่อนมาตรการ Bubble and seal เพื่อการควบคุมโรค ดงั น้ี ❖ มีสัดส่วนของผู้ติดเชื้อยืนยัน ผู้ตรวจพบว่ามีภูมิคุ้มกัน และผู้ได้รับวัคซีน ในสถาน ประกอบกิจการ รวมกันมากกว่า 85 % ของจำนวนผูป้ ฏิบตั งิ านในสถานประกอบกจิ การ ❖ เม่ือตรวจภมู ิค้มุ กนั (Ab) ในวันที่ 14-21 ของการควบคุมโรคตามมาตรการ Bubble and Seal กรณีระบาด หากพบว่า ผู้ที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน และผลการตรวจ PCR/ATK มีความชุก ต่ำกว่าชุมชนนั้น ภายในอำเภอหรือจังหวัด พิจารณาผ่อนมาตรการเป็น Bubble and Seal เพอื่ การปอ้ งกนั โรค หมายเหตุ: การตรวจ Antibody พิจารณาจาก IgG และใช้ Machine based ซึ่งมีความไวและ ความจำเพาะตามเกณฑ์ ชุดตรวจ Rapid test antibody ไม่แนะนำให้ใช้เนื่องจากความไว ความจำเพาะของชุดตรวจกลมุ่ นยี้ ังมีการประเมนิ ผลการใชง้ านจรงิ จำกดั กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดลอ้ ม 18 กรมควบคมุ โรค กระทรวงสาธารณสุข

แนวปฏบิ ัตกิ ารตรวจคดั กรองด้วยชดุ ตรวจ Antigen Test Kit (ATK) ในสถานประกอบกิจการทยี่ ังไมพ่ บผู้ตดิ เช้ือ ชดุ ตรวจ Antigen Test Kit (ATK) คอื อะไร เครื่องมือท่ีใช้สุ่มตรวจคัดกรองผู้ที่เสี่ยงสัมผัสใกล้ชิดผู้ที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ท้ังท่ีมอี าการ และไม่มอี าการ กอ่ นตรวจซำ้ เพ่อื ยนื ยันผลการตดิ เชื้อดว้ ยวิธี RT-PCR ขอ้ ดี คอื ใชง้ านง่าย ทราบผลภายในเวลา 30 นาที ผลการตรวจมีความใกลเ้ คียงกับการตรวจ RT-PCR ถงึ 90% หรอื ข้ึนอยกู่ ับชนดิ ของชุดตรวจ ข้อจำกัด คือ ผู้ใช้ต้องมีทักษะในการตรวจที่ถูกต้อง และเมื่อทราบผลเป็นบวก ต้องมีการ ตรวจซ้ำเพ่ือยืนยันผลการตดิ เชอ้ื ด้วยวิธี RT-PCR หลกั การตรวจ ATK ➢ ชุดตรวจ ATK ต้องมีมาตรฐานและผ่านการประเมินและขึ้นทะเบียนจากสำนักงาน คณะกรรมการอาหารและยา (อย.) (สามารถตรวจสอบข้อมูลได้จากกองควบคุมเครื่องมือ แพทย์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข) ➢ เก็บตัวอย่างจาก nasopharyngeal, oropharyngeal, nasal swab และใช้ buffer ตามที่ ชุดตรวจกำหนด และปฏิบัติตามให้ถูกต้องตามขั้นตอน (สามารถศึกษาวิธีการตรวจจากกรม วิทยาศาสตร์ การแพทย์ กระทรวงสาธารณสขุ ) แนวทางปฏิบัติการตรวจคัดกรองดว้ ยชดุ ตรวจ ATK ➢ ตรวจ ATK เพื่อการลงพื้นที่ตรวจเชิงรุก สำรวจกลุ่มเสี่ยง หรือ กรณี Active Case Finding (ACF) หรือติดตามผู้สัมผัสใกล้ชิดเสี่ยงสูงนอกสถานพยาบาล กรณีผู้มารับบริการตรวจหาเช้ือ ไวรัสโคโรนา 2019 ที่สถานพยาบาล หากไม่เข้าข่ายเป็นผู้ป่วยที่เข้าตามเกณฑ์ผู้สงสัยติดเช้ือ ไวรัสโคโรนา 2019 (Patient Under Investigation : PUI) ที่มารับบริการที่คลินิกโรคติดเช้ือ ระบบทางเดนิ หายใจ (Acute Respiratory Infection (ARI) clinic) ให้ตรวจด้วยวิธี ATK ทง้ั หมด ➢ กรณีที่ผู้ตรวจพบผลเป็นบวกจาก ATK จะถูกจัดเป็นผู้ติดเชื้อเข้าข่าย (Probable Case) ตามนิยามของ กรมควบคมุ โรค ซึง่ ยังไม่นับเปน็ กลมุ่ ป่วยยืนยนั (Confirmed Case) การแปลผลการตรวจคัดกรองด้วยชุดตรวจ ATK ในสถานประกอบกจิ การ ➢ ผทู้ ต่ี รวจด้วย ATK แลว้ มีผลเป็นบวก เรยี กว่า ผตู้ ิดเชื้อเขา้ ข่าย (Probable Case) ➢ ผู้ที่ตรวจดว้ ย RT-PCR แลว้ มีผลเป็นบวก เรียกว่า ผู้ปว่ ยยืนยนั (Confirmed Case) กองโรคจากการประกอบอาชพี และสิง่ แวดลอ้ ม 19 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

แนวปฏิบัติการตรวจคดั กรองดว้ ยชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) สถานประกอบกจิ การ (โรงงาน) ผู้ปฏิบตั ิงานทต่ี อ้ งตรวจทุกคน ไดแ้ ก่ การสุ่มตรวจผปู้ ฏบิ ตั ิงานตามแนวทาง (1) กลุ่มเปราะบาง (2) ผู้ท่มี อี าการ แนวทางการสุ่มตรวจ (ทุก 1-2 เดือนขน้ึ กับสถานการณ์) จำนวนผ้ปู ฏิบตั ิงาน จำนวนทีส่ มุ่ ตรวจ น้อยกว่า 50 คน สมุ่ ตรวจทกุ คน 50 - 99 คน 50 คน 100 - 500 คน 75 คน 501 - 1,000 คน 150 คน มากกว่า 1,000 คน สุ่มตรวจ 150 คน ตอ่ ทกุ 1,000 คน *หมายเหตุ* 1) จำนวนการสุ่มอาจขึน้ อยู่กบั นโยบาย ของโรงงาน 2) ระยะการสมุ่ อาจปรับได้ตามสถานการณ์ และความชุกการติดเชื้อ ATK Negative (ผลลบ) ATK ATK Positive (ผลบวก) ผู้ปฏบิ ตั งิ านกลุ่มเปราะบาง ทำงานไดต้ ามความ ผู้ปฏิบตั ิงานกลมุ่ เปราะบาง ใหแ้ ยกกกั และส่งตวั ไปรักษาที่ เหมาะสม ในกลุ่มยอ่ ยท่กี ำหนด เร่งรัดการฉดี วคั ซีน โรงพยาบาล เน้นมาตรการ DMHTT ผปู้ ฏบิ ตั งิ านกลุ่มท่วั ไป ใหแ้ ยกกักแบบ Home Isolation ผู้ปฏิบตั ิงานที่มีอาการ ใหต้ รวจ ATK ซำ้ ในวันท่ี 3 – หรือ Community Isolation หรือ Factory Isolation 5 หลังจากการตรวจครั้งแรก หรือตามบรบิ ทของ ประเภทใดข้ึนอยู่กบั บรบิ ทของพนื้ ท่แี ละขน้ึ กบั กลุ่มอาการ สถานประกอบกิจการ ตา่ งๆ (กลุ่มสเี ขยี ว กลมุ่ สเี หลอื ง กลมุ่ สีแดง) การแบง่ อาการปว่ ยตามกลมุ่ สี ดงั น้ี กลุ่มสเี ขยี ว คือ กล่มุ ไม่มอี าการ/อาการเล็กนอ้ ย หรอื มีอาการนอ้ ย ๆ เช่น ไข้ ไอ มนี ำ้ มูก ตาแดง ผนื่ ขนึ้ ไมม่ ีโรครว่ ม กกลลุุ่มม่ สสแเีี หดลงอื คงอื คผอื ู้ปผ่วู้ปย่วทยมี่ ทกอี ่มี าาีอกราาตกราเรหรวนไมจือ่ ่รยคนุ หแดั อรกบงรมหออีายงากใดจาว้ลรเำยหบชนา่อืุดกยตเหอรอกวบซจเหรยาAพ์ยใTบจปKเรอว็ ดใอมนักีปสเัจสถจบยัารเนนุ สแย่ีปรงรงอะามกกีภาาอรวรบะนุ ปกแอริจดงกแบลาวะมรโรคควรา่วมมอ่มิ ตวั ของเลือดน้อยลงกวา่ 96% หรอื ลดลงของออกซเิ จนมากกวา่ 3% เวลาออกแรง ของคา่ ทวี่ ดั ได้คร้ังแรกทีอ่ อกแรง กองโรคจากการประกอบอาชพี และสิ่งแวดลอ้ ม 20 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

กลุ่มเป้าหมายผ้ปู ฏบิ ตั งิ านทีต่ อ้ งตรวจ ❖ ผู้ปฏิบัติงานที่อยู่กลุ่มประชากรเปราะบางทุกคน ได้แก่ ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ หรือ ผู้ท่ีมีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคทางเดินหายใจเรื้อรังรุนแรง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตเรื้อรังระยะที่ 5 โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็งทุกชนิดที่อยู่ระหว่างเคมีบำบัด โรคเบาหวาน โรคอ้วน (ผู้ท่ีมีน้ำหนักเกิน 90 กิโลกรัมหรือ ดัชนีมวลกาย ≥ 30 กิโลกรัมต่อ ตารางเมตร) ❖ ผปู้ ฏิบตั งิ านทีม่ ีอาการเข้าข่าย PUI ทกุ คน Patient Under Investigation (PUI) หมายถึง ผู้สงสัยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ เขา้ เกณฑส์ อบสวนโรค ดงั น้ี ✓ มีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ มีประวัติไข้หรือวัดอุณหภูมิได้ตั้งแต่ 37.5°C ข้ึน ไป ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ ไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส หายใจเร็ว หายใจเหนื่อย หรือหายใจ ลําบาก ตาแดง ผืน่ ถา่ ยเหลว ✓ มปี ระวัติเสยี่ ง ในช่วง 14 วัน กอ่ นวนั เริ่มปว่ ยอย่างใดอย่างหน่ึง ดงั นี้ 1. เดินทางไปยัง มาจาก หรืออยู่อาศัยในประเทศที่มีรายงานผู้ป่วยในช่วง 1 เดือน ยอ้ นหลงั นับจากวันทอ่ี อกจากพนื้ ทนี่ น้ั 2. มีประวัติสมั ผสั กบั ผปู้ ว่ ยยนื ยัน COVID-19 3. ไปในสถานที่ชุมนุมชนหรือสถานทที่ ี่มีการรวมกลุ่มคน เชน่ สถานบนั เทงิ ตลาดนัด ห้างสรรพสินค้า สถานพยาบาล หรือ ขนส่งสาธารณะที่มีรายงานผู้ป่วยยืนยัน COVID-19 ในชว่ ง 1 เดอื น ยอ้ นหลงั นบั จากวนั ท่อี อกจากพ้ืนทน่ี ้นั การสุ่มตรวจผ้ปู ฏบิ ตั งิ านด้วยชุดตรวจ ATK ทุก 1 - 2 เดอื น เพอื่ เฝ้าระวงั และประเมนิ ความเสี่ยง โดยคำนวณสดั ส่วนการสุ่มจากจำนวนผ้ปู ฏิบตั งิ าน ดังนี้ จำนวนผ้ปู ฏิบัติงานทั้งหมด จำนวนทส่ี มุ่ ตรวจ ในสถานประกอบกจิ การ นอ้ ยกวา่ 50 คน สมุ่ ตรวจทกุ คน 50 - 99 คน 50 คน 100 - 500 คน 75 คน 501 - 1,000 คน 150 คน มากกว่า 1,000 คน สุ่มตรวจ 150 คน ตอ่ ทุก 1,000 คน กองโรคจากการประกอบอาชพี และส่งิ แวดลอ้ ม 21 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสขุ

ผลการตรวจด้วยชดุ ATK และแนวทางการปฏิบัติตน ผลการตรวจ แนวทางการปฏิบัติ ผลลบ ➢ ผปู้ ฏบิ ตั งิ านท่ีเหลือทัง้ หมด ใหก้ ลบั เขา้ ทำงานในกลุ่มของตนเองและไม่มี การขา้ มกลุ่ม ➢ ผ้ปู ฏิบัตงิ านทีใ่ กลช้ ดิ และเส่ยี งสงู ท่ีมอี าการ ให้ตรวจ ATK ซำ้ ระหว่างวันท่ี 3 - 5 หลงั จากการตรวจคร้ังแรก ➢ ผู้ปฏิบัติงานกลุ่มเปราะบาง ให้แยกอยู่ในโซนที่เตรียมไว้ เร่งรัดการให้ วัคซนี โดยเร็ว ทำงานไดต้ ามความเหมาะสม ผลบวก ➢ แยกผู้ป่วยตามความเสี่ยง คือ กลุ่มสีเขียว กลุ่มสีเหลือง และกลุ่มสีแดง และรักษาตามแนวทางของ กรมการแพทย์ (ตารางแนวทางการรักษาแยก ประเภทผปู้ ว่ ย) ➢ กลุ่มสเี ขียว ไม่มอี าการหรือมีอาการเล็กนอ้ ย ให้แยกกักตามแนวทาง Home Isolation หรอื Community Isolation หรือ Factory Accommodation Isolation ตามบรบิ ทสถานประกอบกิจการ ➢ ผู้ตดิ เชอ้ื กล่มุ สเี หลือง และ กลมุ่ สแี ดง ให้สง่ ตรวจ RT-PCR ทุกราย • กรณผี ลเป็นบวก ให้สง่ ผูป้ ฏิบัตงิ านไปรกั ษาทโ่ี รงพยาบาล ➢ การจำแนกผูป้ ่วยตามลกั ษณะอาการ ประเภท ลกั ษณะอาการ ผ้ปู ่วย ➢ ไม่มีอาการ หรือ มีอาการเล็กนอ้ ย สีเขียว ➢ มไี ข้ หรืออุณภูมสิ งู กวา่ 37.5 องศาเซลเซียสขึน้ ไป ➢ มีอาการเลก็ น้อย เช่น ไข้ ไอ ตาแดง ผ่นื ขน้ึ ถ่ายเหลว ไม่มีอาการหายใจเรว็ ไมม่ ีหายใจเหน่อื ยหอบ ไม่มหี ายใจลำบาก ไม่มปี อดอักเสบ สีเหลือง ➢ มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง หรือ โรคร่วมที่สำคัญ ข้อใดข้อหน่ึง ได้แก่ แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวกขณะทำกิจกรรม หายใจเร็ว หายใจ เหนื่อย หรือหายใจลำบาก ไอแล้วเหนื่อย อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ ปอด อกั เสบ หรือ ถ่ายเหลวมากกวา่ 3 คร้งั ตอ่ วนั ร่วมกับอาการหนา้ มดื วิงเวียน กองโรคจากการประกอบอาชพี และสิง่ แวดลอ้ ม 22 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

ประเภท ลกั ษณะอาการ ผ้ปู ว่ ย ➢ เหนือ่ ยหอบ พูดไมเ่ ป็นประโยคขณะสนทนา ➢ แนน่ หน้าอกตลอดเวลา หายใจแลว้ เจบ็ หน้าอก สีแดง ➢ ซมึ เรยี กไมร่ ู้สึกตวั หรือ ตอบสนองช้า ➢ อาการปอดบวม ออกซิเจนปลายนิว้ < 96% หรือ ภาพรังสที รวงอกแย่ลง แนวทางการรกั ษาเมือ่ ผ้ปู ฏบิ ตั ิงานไดร้ ับการยนื ยนั การติดเชื้อจากผลการตรวจ RT-PCR ประเภทผู้ป่วย แนวทางการรกั ษา ➢ โทร 1330 เพื่อเข้าระบบการรักษา ➢ การกกั ตัวอย่ทู ีบ่ า้ น Home Isolation หรอื กักตัวในชุมชน Community Isolation สีเขยี ว ➢ แยกห้องน้ำและของใช้ส่วนตัว งดการสัมผัสสัตว์เลี้ยง สวมหน้ากาก อนามัยตลอดเวลา ตรวจวัดอุณหภูมิ และสังเกตอาการของตนเอง ถา้ มอี าการหายใจลำบากใหต้ ดิ ต่อเพื่อขอรับการรักษาทนั ที รวมทง้ั แจ้ง ผู้ใกล้ชิดให้ทราบความเสี่ยงจากการสัมผัส และควรได้รับการตรวจ หาเชือ้ ➢ รบั ยาฟาวพิ ริ าเวยี ร์ (Favipiravir) สเี หลอื ง ➢ ประสานหาเตียง หากมีอาการระบบทางเดินหายใจให้ประสาน โรงพยาบาลเพ่อื เข้ารบั การรกั ษา ตามบรบิ ทของพ้นื ที่ ➢ กรณีมีโรงพยาบาลค่ปู ฏิบตั ิการ ส่งตอ่ ตามระบบ ➢ เข้ารับการรักษาท่โี รงพยาบาล ➢ โทร 1668, 1330 สายด่วนของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อหาเตียง สแี ดง ผปู้ ่วย ➢ 1669 รบั ผู้ป่วยฉุกเฉิน ➢ หรอื ตามมาตรการของจงั หวัด และบริบทพื้นท่ี หมายเหตุ : แนวทางการรักษาปรบั เปลย่ี นตามแนวทางการรกั ษาของกรมการแพทย์ กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิง่ แวดล้อม 23 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสขุ

แนวทางการดแู ลสขุ ภาพจติ สำหรับผู้ปฏิบตั งิ านในสถานประกอบกจิ การ กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดลอ้ ม 24 กรมควบคมุ โรค กระทรวงสาธารณสขุ

ขัน้ ตอนการดูแลสขุ ภาพจิตสำหรับผ้ปู ฏิบตั ิงานในสถานประกอบกิจการ 1. ทีมสุขภาพจิตชี้แจงภารกิจที่รับผิดชอบในกลุ่มไลน์สุขภาพผ่านหน่วยพยาบาลของสถาน ประกอบกิจการ โดยทีมสุขภาพจิตทำหน้าที่ สนับสนุนให้มีการประเมินสุขภาพจิต (โดยเครื่องมือ การประเมินสุขภาพใจด้วยตัวเอง Mental health check in ของกรมสุขภาพจิต) และให้คำปรึกษา แก่ผู้ปฏิบัติงานพบว่ามีความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิต เช่น ภาวะเครียด ซึมเศร้า คิดทำร้ายตนเอง รวมท้ังใหก้ ารดูแลผ้ทู ม่ี โี รคจิตเวชอยเู่ ดิม เช่น โรคจิตเวช โรคซมึ เศร้า เพอ่ื ไม่ใหก้ ำเริบ 2. ทีมสุขภาพจิตส่งแบบประเมินคัดกรองสุขภาพจิตเบื้องต้นให้กับผู้ปฏิบัติงาน ในรูปแบบ QR code (ผา่ น Admin กลุ่มไลน์เจา้ หน้าทีผ่ ูด้ ูแล หรอื พยาบาลทป่ี ระสานโดยตรงกบั ผปู้ ฏบิ ัติงาน) โดยมีแบบประเมนิ ดังต่อไปนี้ - แบบประเมินความเสี่ยงต่อปัญหาอารมณ์และพฤติกรรม (BS3) สำหรับคัดกรองความเสี่ยง เบื้องต้น เช่น โรคจิตเวช สุรายาเสพติด เพื่อแจ้งให้ทีมสุขภาพจิตดูแล เริ่มทำภายใน 3 วันแรก ของการแยกกกั - แบบสังเกตประเมินพฤติกรรม 5 ข้อ สำหรับพยาบาลหรือเจ้าหน้าที่ผู้ดูแล ในการสังเกตอาการ ระหวา่ งแยกกัก ถ้าพบพฤตกิ รรมผดิ ปกตขิ อ้ ใดข้อหนง่ึ ใหแ้ จง้ ทีมสุขภาพจิตเพ่ือดแู ล - แบบประเมิน mental health check in โดยมีแบบประเมินความเครียด (ST-5) แบบคัดกรอง โรคซึมเศร้า (2Q) (9Q) และแบบประเมนิ การฆ่าตัวตาย (8Q) ให้ผปู้ ฏบิ ัตงิ านท่ีแยกกักทำการประเมิน ด้วยตนเอง อย่างน้อย 1 อาทิตย์ต่อครั้ง โดยจะประเมินในวันท่ี 3 วันที่ 7 หรือ วันท่ี 10 หลังจากการ เขา้ รับการรักษา 3. ทีมสุขภาพจิตจะส่งข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลจิตใจตนเอง ในรูปแบบของสื่อแผ่นพับ infographic หรือคลปิ การจดั การความเครยี ด (ผา่ น Admin กลุ่มไลน์ของพยาบาลที่ประสานโดยตรงกับผปู้ ว่ ย) 4. เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลดำเนินการประชาสัมพันธ์ช่องทางในการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิต (ผ่าน Admin กลุ่มไลน์ของบุคคลากรที่ประสานโดยตรงกับผู้ป่วย) และทีมสุขภาพจิตจะเป็นผู้ให้การ ชว่ ยเหลือในแตล่ ะราย ตามความเหมาะสม 5. กรณีผู้ปฏิบัติงาน/บุคลากรทางการแพทย์มีความประสงค์ขอรับคำปรึกษาทางสุขภาพจิต ทีมสุขภาพจิตได้จัดบริการให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ และสายด่วนสุขภาพจิต 1323 ตลอด 24 ชั่วโมง กองโรคจากการประกอบอาชีพและสงิ่ แวดลอ้ ม 25 กรมควบคมุ โรค กระทรวงสาธารณสุข

6. เจา้ หน้าท่ี ประเมินความเสีย่ งต่อปญั หาอารมณแ์ ละพฤติกรรม (BS3) ในชว่ งเรม่ิ การแยกกัก 6.1 มีประวัติการรักษาทางจิตเวชมาก่อน หรือใช้ยาทางจิตเวช เช่น ยาคลายเครียด ยานอนหลับ (อาการเครียดมาก หรือเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า ฆ่าตัวตาย หรือ เอะอะอาละวาด ควบคุมตนเองไม่ได้ อาจเป็นอนั ตรายต่อตนเองและผู้อ่ืน) 6.2 เคยใช้สารเสพติด เช่น สุรา กัญชา ยาบ้า ฯลฯ ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา (Hazardous drinker Harmful drinker มีอาการสั่น หงุดหงิด กระสับกระส่าย ตื่นเต้น ตกใจง่าย มีอาการหลงผดิ ประสาทหลอนและมีพฤติกรรมแปลกๆ) 6.3 ท่านรู้สึกเครียด กังวล ท้อแท้ สิ้นหวัง จนรบกวนการดำเนินชีวิต ในช่วง 2 สัปดาห์นี้ หากพบ อาการดังกล่าว 1 ข้อ ให้ประสานบุคลากรในหน่วยสุขภาพประจำสถานประกอบกิจการ / โรงงาน อุตสาหกรรม เพื่อให้การดูแลเฝ้าระวังเบื้องต้น โดยหากมีความจำเป็นให้ประสาน ผู้รับผิดชอบงาน สขุ ภาพจิต ประจำจงั หวัดท่ีรับผดิ ชอบ 7. เจา้ หน้าท่ีให้ผ้ปู ฏบิ ตั ิงานทำการประเมนิ สุขภาพใจผา่ นโปรแกรม mental health check in เพอื่ ประเมนิ ปัญหาสุขภาพจติ ทอ่ี าจเกดิ ขน้ึ ระหว่างการแยกกกั 8. หากหัวหนา้ งาน / บคุ ลากรทางการแพทย์สังเกตพบว่า ผปู้ ว่ ยมีอาการทางอารมณ์และพฤติกรรม ตามแนวทาง 5 ขอ้ ดงั นี้ 8.1 ไม่ทานอาหาร หรือไม่แจง้ ขอ้ มูลสขุ ภาพประจำวัน 8.2 เหม่อลอยหรอื กระสับกระสา่ ย ไมส่ ามารถอยูน่ ่งิ ได้ 8.3 ทำรา้ ยตนเองให้บาดเจบ็ โดยตัง้ ใจหรือไมต่ ้งั ใจ 8.4 มปี ัญหาการนอน 8.5 สือ่ สาร ไมอ่ ยากมชี ีวติ อยู่ ไรค้ ่า ไมม่ ีที่พ่ึง หากพบอาการดังกล่าว 1 ข้อ ให้ประสานทีมสุขภาพจิตที่รับผิดชอบสถานประกอบกิจการ / โรงงานอุตสาหกรรม เพื่อให้การดูแลตามปัญหาที่พบ พร้อมบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ และหาก สังเกตเห็นพฤติกรรมของผู้ปฏิบัติงานที่ผิดปกติอื่น ๆ เช่น เดินออกนอกพื้นที่ โยนสิ่งของ ทำลายของ ท่าทีสับสน หงุดหงิด สื่อสารไม่รู้เรื่อง ลืมวันลืมคืน ไม่รู้สถานที่ สิ่งเหล่านี้เป็นสัญญาณ เตือนที่ผิดปกติ ควรรีบแจ้งหัวหน้างานและบุคลากรสาธารณสุขที่รับผิดชอบ ให้การช่วยเหลือ โดยด่วน หากจำเป็นต้องนำเข้าสู่ระบบการรักษาประสานผ่านระบบการส่งต่อของแต่ละจังหวัด หรือตามสทิ ธ์กิ ารรกั ษา กองโรคจากการประกอบอาชพี และสิ่งแวดล้อม 26 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสขุ

การดูแลสขุ ภาพใจด้วยตวั เองสำหรบั ผู้ปฏบิ ัตงิ าน ผู้ดแู ล และบคุ ลากรสาธารณสขุ การนำหลักการ 4 สร้าง 2 ใช้ มาเป็นแนวทางการดูแลจิตใจในสถานประกอบกิจการ / โรงงาน อุตสาหกรรม เพื่อลดปัญหาและเพิ่มความเข้มแข็งให้ทั้งผู้ปฏิบัตงิ าน ผู้ดูแล และบุคลากรสาธารณสขุ ท่ีปฏิบัตงิ านในสถานประกอบกจิ การ/โรงงานอตุ สาหกรรม หลกั 4 สร้าง 2 ใช้ แนวทาง/มาตรการ แนวทาง/มาตรการ สำหรบั ผูป้ ่วย สำหรับบุคลากรสาธารณสขุ • จัดระบบปอ้ งกนั การตดิ เชื้อ สร้าง 1 ประชาสมั พนั ธ์ใหส้ มาชกิ ทำตามกฎแห่ง • จัดหาอุปกรณป์ ้องกนั ให้ สร้างความปลอดภยั ความปลอดภยั เพยี งพอ และจดั การอบรม เพอื่ ใหเ้ กดิ ความม่นั ใจในการ Promote • เว้นระยะห่างทางสังคม ปฏบิ ัตงิ าน • จัดสวสั ดิการให้แกบ่ คุ ลากรทั้ง SAFETY • หม่นั ลา้ งมือดว้ ยสบ/ู่ ด้านทีพ่ ัก อาหาร การประกัน ชีวติ เพื่อความปลอดภัย แอลกอฮอล์ • จัดบริการประเมิน ตรวจวินจิ ฉัย กรณมี ีความเสี่ยงติดเช้อื ส่วน • สวมหน้ากากตลอดเวลาเมอื่ อยู่ กรณบี คุ ลากรติดเช้ือ ในสถานประกอบกจิ การ/ โรงงานอุตสาหกรรม • ทำความสะอาดพ้นื ผวิ ที่มือ สัมผสั (โตะ๊ เกา้ อ้ี ทีห่ ยบิ จับ) กองโรคจากการประกอบอาชีพและส่งิ แวดลอ้ ม 27 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

หลัก 4 สรา้ ง 2 ใช้ แนวทาง/มาตรการ แนวทาง/มาตรการ สำหรบั ผู้ป่วย สำหรับบุคลากรสาธารณสขุ สร้าง 2 สรา้ งความสงบ • รบั ฟงั ขา่ วสารที่เชื่อถือได้และใช้ ควรวางแผนการรกั ษา รายงาน Promote CALM เวลากับสอ่ื อย่างเหมาะสม ความคบื หนา้ และแจง้ ภาวะ สขุ ภาพปจั จบุ ัน สรา้ ง 3 • ฝึกเทคนคิ การคลายเครยี ด ท่ี สรา้ งความคาดหวัง เหมาะสมกบั ตนเอง • ส่อื สารประชาสมั พันธ์ ข้อมูล Instill HOPE ขา่ วสารที่ถูกต้อง ชัดเจน ทันต่อ • ให้ทำกจิ กรรมทม่ี สี ่วนรว่ ม ไม่ให้ เหตกุ ารณ์ แก่บุคลากรทุกระดับ ว่างเกนิ ไป และมีกิจกรรมผอ่ น เชน่ line group เสยี งตามสาย คลายรว่ มดว้ ย • ทมี ดแู ลสุขภาพจิตประเมนิ • สร้างความมั่นใจให้กับตนเอง บคุ ลากร ทีม่ ีภาวะเครียด วติ ก เพือ่ ว่าสามารถป้องกันและแก้ไข กังวล ปัญหาสุขภาพจิต อย่าง ปญั หาอุปสรรคได้ด้วยการรับฟัง นอ้ ยสัปดาหล์ ะ 1 คร้ัง และมี ข้อมูลข่าวสาร จากแหล่งข้อมูล กจิ กรรมฝึกทกั ษะในการจัดการ ที่เชื่อถือได้ หรือซักถามจาก ความเครยี ด เช่น การฝกึ หายใจ บุคลากรสาธารณสขุ คลายเครียด การนัง่ สมาธิ การ ผอ่ นคลายกลา้ มเน้อื • ใหก้ ำลงั ใจ รบั ฟังปญั หาและให้ คำปรกึ ษา หาแนวทางการแก้ไข อย่างมสี ่วนรว่ ม ผ่านช่องทาง สื่อสาร เชน่ line group การ ประชุม Conference ต่าง ๆ ของทมี บรหิ ารจดั การ • จดั ใหม้ บี อร์ดเพื่อแสดง ความร้สู กึ และแบง่ ปนั เร่อื งราว ดๆี ในสถานประกอบกจิ การ/ โรงงานอตุ สาหกรรม กองโรคจากการประกอบอาชพี และสิ่งแวดล้อม 28 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

หลัก 4 สร้าง 2 ใช้ แนวทาง/มาตรการ แนวทาง/มาตรการ สร้าง 4 สำหรบั ผ้ปู ่วย สำหรบั บคุ ลากรสาธารณสขุ สรา้ งความเหน็ ใจ • จัดกจิ กรรมให้กำลงั ใจซ่ึงกัน DE- • ดูแลซง่ึ กันและกันในกล่มุ โดยไม่ STIGMATIZATION แบ่งแยกเช้ือชาติ ศาสนาหรือ และกนั เชน่ เขยี นข้อความให้ อาชีพใด กำลงั ใจ ใช้ 1 • สอ่ื สารแลกเปลย่ี นซง่ึ กนั และกัน ใชศ้ ักยภาพใหเ้ ตม็ ท่ี • มีอาสาสมัครทพ่ี ร้อมชว่ ยเหลือ อยา่ งสมำ่ เสมอ Promote และให้กำลงั ใจ รวมท้ัง EFFECTIVENESS จัดกิจกรรมท่ีทุกคนมี • จดั ให้มีการหมุนเวยี นการ สว่ นรว่ ม เชน่ กจิ กรรม เปิดใจ- ปฏิบัตงิ านอยา่ งน้อยสัปดาห์ละ ใช้ 2 คลายกงั วล และใหส้ มาชิกแสดง 1 คร้ังหรอื 2 สัปดาห์เพือ่ ลด ใชส้ ายสมั พันธ์สรา้ ง ความเห็นใจและเสริมพลงั กัน ความเหน่อื ยลา้ หมดไฟ ความเข้มแข็ง Promote social • อาสาสมัคร/จิตอาสา ทำ • สนับสนุนสวัสดิการ แก่บุคลากร กจิ กรรมหมุนเวียน เชน่ ค่าตอบแทนต่าง ๆ รถรับ- ส่ง ค่าเสยี่ งภยั ฯลฯ • สนบั สนนุ สวสั ดกิ ารสำหรับ ผ้ปู ฏิบตั ิงาน (เชน่ อาหารและ • แลกเปลยี่ นความรู้สึก ความ นำ้ แอลกอฮอล์เจล หนา้ กาก กังวลที่เกดิ ขึ้นในกลุม่ ก้อนและ อนามยั ) หลงั การปฏิบัติงานในแต่ ละวนั ร่วมแกไ้ ขปญั หาโดยใช้ • สมาชกิ ท่ีใกล้ชิด หรอื ทำ กระบวนการกลุ่ม รวมถึง การ กิจกรรมรว่ มกนั ชืน่ ชม ให้กำลังใจบคุ ลากรทุก ใหก้ ำลังใจ ใส่ใจ และช่วยเหลอื ระดบั ซงึ่ กนั และกัน • สรา้ งบรรยากาศการแลกเปลี่ยน • ให้กำลงั ใจผู้ที่อ่อนแอ หมดหวัง แบง่ ปนั ในเชิงบวก “สง่ ต่องาน ขาดกำลงั ใจ สง่ ตอ่ สขุ ” โดยสามารถปรึกษา โปรแกรมจากทีมสขุ ภาพจิตของ • สง่ เสรมิ ใหม้ กี ารติดตอ่ กันใน ศูนยส์ ขุ ภาพจิต / โรงพยาบาล ครอบครัว จิตเวชในพนื้ ทข่ี องทา่ น กองโรคจากการประกอบอาชพี และสิ่งแวดล้อม 29 กรมควบคมุ โรค กระทรวงสาธารณสุข

เอกสารอา้ งองิ 1. กรมควบคุมโรค.แนวทางการควบคมุ โรคโดยหลักการ Bubble and Seal [อนิ เทอรเ์ น็ต].2564[ เข้าถงึ เมอ่ื 23กรกฎาคม 2564].เขา้ ถงึ ได้จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/g_other/bubble_and_seal_200764.pdf 2. กรมวิทยาศาตร์การแพทย.์ การตรวจ Antigen Test Kit (ATK) ประเภท Self-test สำหรับประชาชน[อินเทอรเ์ น็ต].2564[เข้าถงึ เมื่อ 10 สิงหาคม 2564].เข้าถึงได้จาก: https://www3.dmsc.moph.go.th/assets/post/QW50aWdlblRlc3RLaXRfUGVvcGxlX3Y0. pdf 3. กรมสขุ ภาพจิต.การวางแผนเตรยี มความพร้อมบริการด้านจิตสังคมเพ่ือรับมือการแพรร่ ะบาดใหญ่ ของไวรัส กรณตี วั อย่างรฐั มิสซูรี่ (การระบาดของไข้หวดั ใหญ่)[อินเทอรเ์ นต็ ].2563[เข้าถึงเมอ่ื 23 กรกฎาคม 2564].เขา้ ถงึ ได้จาก:https://www.dmh.go.th/covid19/news1/view.asp?id=14 4. คณะทำงานดา้ นการรกั ษาพยาบาลและการป้องกันการติดเช้ือในโรงพยาบาล กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสขุ ร่วมกับ คณาจารย์ผ้เู ชี่ยวชาญ จากคณะแพทยศาสตร์ มหาวทิ ยาลัยตา่ ง ๆ. แนวทางเวชปฏิบัติ การวินจิ ฉัย ดแู ลรกั ษา และปอ้ งกันการติดเชอ้ื ในโรงพยาบาล กรณผี ู้ป่วยติด เชอื้ ไวรสั โคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรบั แพทยแ์ ละบุคลากรสาธารณสุข[อนิ เทอรเ์ น็ต].2564[ เขา้ ถึงเม่อื 10 สงิ หาคม 2564].เขา้ ถงึ ไดจ้ าก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/g_health_care/g_cpg_040864.pdf 5. สำนกั งานคณะกรรมการอาหารและยา.รายช่ือชดุ ตรวจสำหรับ COVID-19 แบบตรวจหาสาร พนั ธกุ รรม ด้วยวิธี RT-PCR ท่ีไดร้ บั การอนญุ าตให้ผลติ /นำเขา้ จากสำนกั งานคณะกรรมการ อาหารและยา[อินเทอร์เน็ต].2564 [เขา้ ถงึ เม่ือ 10 สิงหาคม 2564].เข้าถึงไดจ้ าก: https://www.fda.moph.go.th/sites/Medical/Shared%20Documents/%E0%B8%82%E 0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%A3%E0% B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8 %8A%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%88 %E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0 %B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B 8%B1%E0%B8%9A%20COVID-19%20Professional%20use.pdf กองโรคจากการประกอบอาชพี และส่ิงแวดล้อม 30 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

ภาคผนวก แบบฟอร์มที่ 1 รายการตรวจสอบ (Checklist) มาตรการ Bubble and Seal เพื่อการป้องกันโรค ในสถานประกอบกิจการ แบบฟอร์มที่ 2 รายการตรวจสอบ (Checklist) มาตรการ Bubble and Seal เพอ่ื การควบคมุ โรค ในสถานประกอบกิจการ กองโรคจากการประกอบอาชพี และสงิ่ แวดลอ้ ม 31 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสขุ

แบบฟอร์มท่ี 1 รายการตรวจสอบ (Checklist) มาตรการ Bubble and Seal เพอื่ การป้องกนั โรค ในสถานประกอบกิจการ ขอ้ มูลทั่วไป ชอ่ื สถานประกอบกจิ การ ............................................................................................................... ทต่ี ั้ง .............................................................................................................................................. ............................................................................................................................................... จำนวนผู้ปฏิบตั งิ านทงั้ หมด ................. คน ผู้ปฏิบตั ิงานชาย ................. คน ผปู้ ฏบิ ตั ิงานหญิง ................. คน ผู้ปฏิบตั งิ านแยกตามสัญชาติ ผปู้ ฏิบตั งิ านไทย ................. คน ผู้ปฏิบัตงิ านต่างดา้ ว ................. คน ผู้ปฏิบตั ิงานต่างชาติ ................. คน จำนวนผูป้ ฏิบัติงานทไ่ี ดฉ้ ีดวัคซนี เขม็ ที่หน่ึง ................. คน เข็มทสี่ อง ................. คน การจดั ทพี่ ักใหผ้ ู้ปฏบิ ตั ิงาน ................. ไม่มี ................. มี ประเภทการจัดหาทพ่ี ักให้ ................. ทพ่ี ักในสถานประกอบกิจการ ผ้ปู ฏิบัตงิ าน ................. ท่ีพักนอกสถานประกอบกิจการ การเดนิ ทางของผู้ปฏบิ ตั งิ าน ................. เดินทางเท้า ................. รถรบั -สง่ ................. เดินทางยานพาหนะสว่ นตัว จำนวนสมุ่ ตรวจ ATK ................. ราย วนั ที่ตรวจ .................................... ผรู้ ายงาน ......................................................................... ตำแหน่ง ......................................................... เบอร์ตดิ ต่อ ..................................................................... อีเมล .................................................................. กองโรคจากการประกอบอาชพี และส่ิงแวดลอ้ ม 32 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

รายการตรวจสอบ (Checklist) มาตรการ Bubble an สว่ นท่ี 1 การเตรียมความพรอ้ มด้านนโยบาย สว่ นที่ 2 การดำเนนิ การ Bubble and Seal เพอื่ การป้องกันโ ********************************************************** ส่วนที่ 1 การเตรียมความพร้อมด้านนโยบาย ลำดบั รายการ ครบ 1. มีนโยบายการเฝา้ ระวงั ป้องกัน ควบคุม การแพรร่ ะบาดของ โรคโควิด – 19 2. มีทีมหรือคณะทำงานเฝ้าระะวัง ป้องกัน ควบคุม การแพร่ ระบาดของโรคโควิด – 19 พร้อมจัดทำรายละเอียดการ ประสานงาน 3. สอ่ื สาร ถ่ายทอดนโยบาย แผนการดำเนนิ งาน ขน้ั ตอน และ รายละเอียดการทำ Bubble and Seal เพ่ือปอ้ งกนั การแพร่ ระบาดของโรค ใหแ้ ก่คณะทำงาน และผูป้ ฏิบัติงานทุกคน 4. เตรยี มทำแผนงาน ขนั้ ตอน และรายละเอยี ด มาตรการ Bubble and Seal เพอ่ื การป้องกันโรค โดยคัดเลือกหวั หนา้ กลมุ่ และรายละเอยี ดขน้ั ตอนการปฏิบตั ิงาน

nd Seal เพอื่ การป้องกันโรค ในสถานประกอบกิจการ จำนวน 5 ข้อ โรค จำนวน 8 ข้อ ********************************************************** การดำเนินการ มี ไมม่ ี เอกสารประกอบ บ ไมค่ รบ ✓ มีการจัดทำนโยบายการควบคุมการแพรร่ ะบาดโค วดิ - 19 เช่น คำสั่ง ปา้ ยประกาศ ✓ มีคำสงั่ แต่งต้งั คณะทำงานหรือการมอบหมายทมี ✓ มีการจัดทำรายละเอยี ดผู้รบั ผิดชอบงาน หน่วยงาน หมายเลขโทรศัพท์ อเี มล ✓ มีหลกั ฐาน เชน่ หนังสอื สง่ั การ บนั ทกึ การประชมุ หนังสอื แจง้ เวียนนโยบายหรือแนวทางของ สถาน ประกอบกิจการ เป็นต้น ✓ มีรายละเอียดขั้นตอนการปฏิบตั ิงาน เชน่ แผนการคัดแยกกลุ่ม การจดั กิจกรรมในแตล่ ะกลมุ่ ✓ มีรายชื่อผ้รู บั ผดิ ชอบหลัก กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดลอ้ ม กรมควบคมุ โรค กระทรวงสาธารณสขุ 33

ลำดบั รายการ ครบ 5. จัดเตรียมแผนการฉีดวัคซีนให้แก่ผู้ปฏิบัติงานในสถาน ประกอบกิจการทกุ คน (ตามบรบิ ทของสถานประกอบกิจการ) สว่ นท่ี 2 การเตรยี มความพร้อมมาตรการ Bubble and Seal เพ ลำดบั รายการ ครบ 1. จัดทำทะเบียนผู้ปฏิบัติงานกลุ่มเปราะบาง เช่น ผู้ปฏิบัติงานท่ี มีอายุ 60 ปีขึ้นไป หญิงตั้งครรภ์ หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว 7 กลุ่มโรค ได้แก่ โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอด เลือด โรคไตเรื้อรัง ระยะ 5 โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็งท่ี อยู่ระหว่างรักษา โรคเบาหวาน โรคอ้วน (น้ำหนักเกิน 90 กิโลกรัม หรือ ดัชนีมวลกาย ≥ 30 กิโลกรัมตอ่ ตารางเมตร) 2. จดั ทำทะเบยี นแยกผู้ปฏบิ ัตงิ านเป็นกลุ่มยอ่ ย (small bubble) ตามบริบทของสถานประกอบกจิ การ โดยมีการจัดกลุ่มเป็น กลุ่มย่อย (small bubble) ระบจุ ำนวนและรายชอื่

การดำเนนิ การ มี ไม่มี เอกสารประกอบ บ ไมค่ รบ ✓ มีแผนการให้วคั ซีน รายช่ือผู้ปฏิบตั ิงานตามแผนก และ กลุ่มเปราะบาง เปน็ ตน้ พื่อการป้องกนั โรค การดำเนินการ มี ไม่มี เอกสารประกอบ บ ไม่ครบ ✓ มีทะเบียนคุมแยกประเภทผปู้ ฏบิ ตั งิ านที่มีความ เส่ยี ง กลุ่มโรคประจำตัว 7 กลุ่มโรค ✓ มีทะเบยี นรายชื่อผู้ปฏิบัติงานตามกลุ่ม ✓ มีหลกั ฐานการแยกผปู้ ฏิบตั งิ านแตล่ ะกลุ่ม กองโรคจากการประกอบอาชพี และสิ่งแวดลอ้ ม กรมควบคมุ โรค กระทรวงสาธารณสขุ 34

ลำดบั รายการ ครบ และกำหนดสัญลักษณ์ให้ผ้ปู ฏิบัตงิ านแตล่ ะกล่มุ กำหนด กิจกรรมท่ีทำร่วมกัน เชน่ การพักอาศยั ในท่ีพัก การเดนิ ทาง การรับประทานอาหาร กิจกรรมนนั ทนาการ 3. มีการส่อื สารให้ผู้ปฏิบัติงานเข้าใจถงึ มาตรการ เนน้ ยำ้ เร่ืองการ ทำกจิ กรรมภายใต้เง่ือนไขเดยี วกนั โดยผู้ปฏิบตั งิ านจะต้องทำ กจิ กรรมร่วมกับสมาชกิ ภายในกลุ่มเท่าน้ัน 4. มกี ารดำเนินการตามมาตรการ DMHTTA อยา่ งเครง่ ครดั ❖ การเวน้ ระยะห่าง (Distancing) กำหนดการเวน้ ระยะหา่ ง ระหวา่ งบคุ คล อย่างน้อย 1- 2 เมตร และ มมี าตรการ ไม่ใหร้ วมกลุ่มสังสรรค์ ❖ การสวมหน้ากากอนามัย (Mask wearing) จดั หา หน้ากากอนามยั ให้คำแนะนำการใส่ การถอด การ ประเมินการใสท่ ี่ถูกต้อง และมีการจดั ที่ทิง้ ขยะตดิ เชือ้ ❖ การล้างมือ (Hand washing) มีจุดลา้ งมอื และวธิ ีการลา้ ง มือเพยี งพอ ประเมนิ การล้างมือท่ีถกู ต้อง และจัดหา แอลกอฮอลลเ์ จล 70% ข้นึ ไป ในจดุ สัมผสั ร่วม

การดำเนนิ การ มี ไม่มี เอกสารประกอบ บ ไม่ครบ ✓ มีหลกั ฐานแสดงสญั ลกั ษณแ์ ทนกลมุ่ เช่น ป้ายสี คล้องคอ ผา้ พนั คอ เป็นตน้ ✓ มีหลักฐานการชี้แจง เชน่ บนั ทึกการประชมุ หนงั สือเวียน ภาพถ่ายกิจกรรม ป้ายประกาศ Line Group เป็นตน้ ✓ มีหลักฐานเชงิ ประจักษ์ เช่น • การรักษาระยะห่างระหวา่ งบุคคล อยา่ งน้อย 1 – 2 เมตรหรอื มีฉากกนั้ • การสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่ ปฏิบตั ิงาน • มจี ุดล้างมอื อยา่ งเพยี งพอ • มกี ารตรวจวดั อณุ หภมู ิผปู้ ฏบิ ัติงานก่อนเข้า สถานประกอบกจิ การ กองโรคจากการประกอบอาชีพและส่งิ แวดลอ้ ม กรมควบคมุ โรค กระทรวงสาธารณสขุ 35

ลำดบั รายการ ครบ ❖ การวัดอณุ หภูมิ (Temperature) กำหนดจุดวดั อุณหภูมิ ใน สถานประกอบกิจการ เช่น จดุ คัดกรอง หอ้ ง ปฏิบตั งิ าน โรงอาหาร ห้องประชมุ เปน็ ตน้ พร้อมท้ังแนว ทางการปฏิบตั ิตัว กรณีผูป้ ฏิบัติงานเขา้ ข่าย PUI ❖ การตรวจหาเชือ้ (Testing) กรณีผปู้ ฏบิ ัตงิ านมีอุณหภูมิสงู กวา่ 37.5 องศาเซลเซยี ส และมีอาการ PUI ❖ การใช้ Application กำหนดใหผ้ ู้ปฏบิ ตั งิ านทกุ คนเช็คอิน ผ่าน Application “ไทยชนะ” “หมอชนะ” กอ่ นเข้า – ออก สถานประกอบกจิ การ ทุกครงั้ 5. มกี ารใชส้ ่อื สารความเสย่ี ง ❖ สอ่ื สารแกผ่ ปู้ ฏิบตั ิงาน โดยมีการสอื่ สารขอ้ มลู การป้องกนั และควบคุมโรคโควิด – 19 อยา่ งถูกต้อง เชน่ เสียงตาม สาย Line Group โปสเตอร์ มีการแจง้ และให้ ผู้ปฏบิ ตั ิงานงดไปพื้นท่ีเส่ยี งท่ีมกี ารระบาดของโรค

การดำเนินการ มี ไม่มี เอกสารประกอบ บ ไม่ครบ • มีบันทกึ ผู้ปฏบิ ัตงิ านท่ีไดร้ บั การตรวจหาเชอื้ โควิด • มบี นั ทึกและข้อมูลการใช้ Application ไทย ชนะ หมอชนะ ก่อนเข้า – ออก สถาน ประกอบกิจการ ✓ หลกั ฐาน เชน่ ป้ายประกาศ ป้ายประชาสัมพันธ์ โปสเตอร์ Line Groups รายงานการใช้สื่อของ สถานประกอบกจิ การ กองโรคจากการประกอบอาชีพและส่ิงแวดลอ้ ม กรมควบคมุ โรค กระทรวงสาธารณสขุ 36

ลำดบั รายการ ครบ ❖ สือ่ สารแก่บุคคลในครอบครัวผ้ปู ฏิบตั ิงาน เช่น มกี ารแจ้ง ใหผ้ ปู้ ฏิบัตงิ านและครอบครัวงดไปพื้นท่ีเสีย่ งเม่ือเกิดการ ระบาด 6. ❖ มีการดำเนินการสุ่มตรวจผู้ปฏิบัติงานด้วยชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) ตามเกณฑ์ ตามแนวทางหรือ ตามนโยบายสถานประกอบกิจการ ❖ มีสรุปรายงานผลการตรวจ ATK 7. ❖ เมื่อพบผู้ติดเชื้อหรือกรณีมีผล ATK บวก มีการแยก ผปู้ ฏบิ ัติงานออกจากกลมุ่ เพือ่ ไปรักษาที่โรงพยาบาล หรอื Home Isolation และแจ้งต่อหัวหน้าเพื่อรายงานต่อ เจ้าหนา้ ทโี่ รคติดตอ่ ❖ จดั เตรียมแผนตามมาตรการ BBS เพอื่ การควบคุมโรค 8. กรณีมีผู้ปฏิบัติงานเข้ามาใหม่ ให้ทำการตรวจหาเชื้อด้วยวิธี ATK / RT-PCR และใหก้ กั ตัวอยา่ งนอ้ ย 14 วัน กอ่ นเขา้ ทำงาน

การดำเนนิ การ มี ไมม่ ี เอกสารประกอบ บ ไม่ครบ ✓ มบี ันทึกผลการตรวจ และมีแนวทางการส่งต่อ ✓ มีสรุปรายงานผลการตรวจ ATK ✓ มเี จ้าหน้าท่ีผูร้ บั ผิดชอบ และโรงพยาบาลเครือข่าย พร้อมรายละเอยี ดการตดิ ตอ่ ✓ มีบันทึกรายช่ือผูป้ ฏบิ ตั ิงานท่ีมผี ลบวก ✓ มแี ผนการแยกกักผูต้ ิดเช้อื ไปโรงพยาบาลหรอื Home Isolation ✓ มรี ายละเอียดการตดิ ต่อโรงพยาบาลเครอื ขา่ ย ✓ มีแผน BBS เพ่ือการควบคุมโรค ✓ มที ะเบยี นผูป้ ฏิบัตงิ านทร่ี บั ใหม่ ✓ มผี ลการตรวจ ATK / RT-PCR ✓ มีรายงานการกักตัวครบ 14 วนั กองโรคจากการประกอบอาชีพและสงิ่ แวดลอ้ ม กรมควบคมุ โรค กระทรวงสาธารณสขุ 37

แบบฟอรม์ ที่ 2 รายการตรวจสอบ (Checklist) มาตรการ Bubble and Seal เพ่ือการควบคุมโรค ในสถานประกอบกจิ การ ข้อมูลท่ัวไป ชอื่ สถานประกอบกจิ การ ............................................................................................................... ทตี่ งั้ .............................................................................................................................................. สถานประกอบกิจการ ................. มีผู้ติดเช้ือ วันแรกทีพ่ บผ้ปู ่วย ....................................................................... จำนวนผูต้ ิดเชือ้ ................. คน จำนวนผู้ปฏบิ ตั ิงานท้ังหมด ................. คน ผูป้ ฏิบัติงานชาย ................. คน ผ้ปู ฏิบัติงานหญิง ................. คน คน ผูป้ ฏิบัตงิ านแยกตามสัญชาติ คน ผปู้ ฏิบตั ิงานไทย ................. คน ผปู้ ฏบิ ัติงานต่างดา้ ว ................. ผู้ปฏิบัติงานต่างชาติ ................. คน จำนวนผูป้ ฏบิ ัตงิ านทไ่ี ดฉ้ ีดวัคซีน เขม็ ท่หี น่ึง ................. คน เขม็ ท่ีสอง ................. การจัดทีพ่ กั ใหผ้ ้ปู ฏบิ ัติงาน ................. ไม่มี ................. มี ประเภทการจัดหาทพี่ ักให้ ................. ทพ่ี ักในสถานประกอบกจิ การ ผู้ปฏิบัติงาน ................. ทีพ่ กั นอกสถานประกอบกิจการ การเดินทางของผู้ปฏบิ ัตงิ าน ................. เดนิ ทางเท้า ................. รถรับ-สง่ ................. เดินทางยานพาหนะส่วนตัว ผู้รายงาน ......................................................................... ตำแหนง่ ......................................................... เบอร์ตดิ ต่อ ..................................................................... อเี มล .................................................................. กองโรคจากการประกอบอาชีพและส่งิ แวดลอ้ ม กรมควบคมุ โรค กระทรวงสาธารณสขุ 38

รายการตรวจสอบ (Checklist) มาตรการ Bubble an สว่ นท่ี 1 การเตรยี มความพรอ้ มด้านนโยบาย ส่วนท่ี 2 การดำเนนิ การ Bubble and Seal เพอ่ื การควบคุมโ 2.1 ระดับนอ้ ย 2.2 ระดับปานกลาง 2.3 ระดบั มาก ********************************************************** สว่ นที่ 1 การเตรยี มความพรอ้ มด้านนโยบาย ลำดบั รายการ ครบ 1. มนี โยบายการเฝา้ ระวัง ป้องกัน ควบคุม การแพร่ระบาดของ โรคโควิด – 19 2. มีทีมหรือคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม การแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 พร้อมจัดทำรายละเอียด การประสานงาน

nd Seal เพอ่ื การควบคมุ โรค ในสถานประกอบกิจการ จำนวน 8 ข้อ โรค จำนวน 6 ขอ้ จำนวน 7 ข้อ จำนวน 7 ข้อ ********************************************************** การดำเนินการ มี ไม่มี เอกสารประกอบ บ ไมค่ รบ ✓ มีการจดั ทำนโยบายการควบคุมการแพรร่ ะบาดโค วิด - 19 เช่น คำสัง่ ปา้ ยประกาศ ✓ มีคำส่งั แต่งต้งั คณะทำงานหรือการมอบหมาย ✓ มีการจดั ทำรายละเอยี ดผ้รู บั ผดิ ชอบงาน หนว่ ยงาน หมายเลขโทรศัพท์ อีเมล กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิง่ แวดลอ้ ม 39 กรมควบคมุ โรค กระทรวงสาธารณสุข


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook