Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore หนังสือพระอภิธรรม จากสาระในพระสูตร

หนังสือพระอภิธรรม จากสาระในพระสูตร

Published by CCDKM, 2018-04-01 23:40:52

Description: เล่มที่ 54 ผลิตขึ้นช่วงวันปีใหม่ 2551 สร้างปัญญาสวดมนต์

Search

Read the Text Version

ประวตั ิความเป็นมาของพระอภธิ รรม โดย อ.ทวี สุขสมโภชน์ในคัมภีร์อัฏฐสาลินี ซ่ึงเป็นอรรถกถาอธิบายความในธัมมสังคณี (คัมภีร์แรกของพระอภิธรรมปิฎก) และคัมภีร์ธัมมปทัฏฐกถา ซ่ึงเป็นอรรถกถาธรรมบทในพระสตุ ตนั ตปิฎก (ตอนพทุ ธวรรคเรื่องยมกปาฏิหาริย์) พระอรรถกถาจารย์ได้เล่าประวัติการตรัสพระอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดาในสวรรค์ช้นั ดาวดงึ ส์ ใจความสรปุ ว่า ในคราวที่พระพุทธองค์ประทับที่เมืองสาวัตถี แคว้นโกศลและได้ทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามพระสาวกแสดงฤทธิ์นั้น พวกเดียรถีย์นักบวชนอกพระพุทธศาสนา มีศาสดาปูรณกัสสปะ และนิครนถ์นาฏบุตร เป็นต้น ก็ฉวยโอกาสมาท้าประลองฤทธ์ิ เพ่ือเรียกศรัทธาประชาชน ทั้งที่พวกตนไม่ได้มีฤทธ์ิอันใด โดยคิดว่า พระองค์จะไม่ทรงแสดงฤทธิ์แข่งแน่ๆ เพราะเปน็ ผู้บัญญัตสิ กิ ขาบทเอง แต่แล้วพระองคก์ ลับตรสั รับคาท้าท่ีจะแสดงฤทธ์ิดว้ ยเหตุผลว่า การบัญญัติห้ามแสดงฤทธ์ิน้ัน ห้ามเฉพาะพระสาวก เปรียบเหมือนกับการท่ีพระเจ้าแผ่นดิน ทรงห้ามบุคคลทั่วไปสอยมะม่วงในพระอุทยานมากิน แตน่ ่ันหาไดห้ ้ามสาหรับพระเจา้ แผ่นดิน ผตู้ อ้ งการจะเสวยผลมะมว่ งนน้ั ไม่ พวกเดียรถีย์คาดไม่ถึงว่า พระพุทธองค์จะทรงมีพระอุบายอันแยบคายเช่นนั้น ในที่สุด เมื่อถึงวันแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ จึงต้อง๒ ธรรมะเพ่อื ชวี ิต

อับอายประชาชนและสานุศิษย์ท่ีพากันมาเฝ้าดู จนต้องเผ่นหนีกระเจิดกระเจิงไปคนละทิศละทาง ในคัมภีร์กล่าวว่า ศาสดาปูรณกัสสปะน้ัน ถงึ ข้ันเอาเชอื กผกู คอถว่ งน้าตาย ไปเกดิ ในอเวจีนรก พุทธานุภาพอันเป็นอิทธิปาฏิหาริย์ท่ีพระพุทธองค์ทรงแสดงการาบพวกเดียรถีย์ในคร้ังน้ันเรียกว่า “ยมกปาฏิหาริย์” หมายถึงปาฏิหาริย์ที่ทรงบันดาลให้ท่อไฟกับสายน้าเป็นคู่สลับปรากฏพร้อมกันที่พระวรกาย เช่น เม่ือท่อไฟปรากฏจากพระวรกายส่วนบนสายน้าก็ปรากฏจากพระวรกายส่วนล่าง แล้วสลับเป็นท่อไฟอยู่ส่วนกลาง สายน้าอยู่ส่วนบน เป็นต้น สลับหมุนเวียนเป็นคู่ๆ ไป จนครบทุกส่วนแห่งพระวรกายเช่นนี้ เป็นท่ีอัศจรรย์ใจแก่ทวยเทพ และมวลมนษุ ย์ทพ่ี ากนั มาเฝา้ ดูย่งิ นกั ขณะทท่ี รงแสดงอยู่นั้นมพี ระดารวิ ่า พระพุทธเจา้ ท้ังหลายในอดีตหลังจากแสดงยมกปาฏิหาริย์แล้ว เสด็จจาพรรษา ณ ท่ีใด ทรงทราบดว้ ยพระญาณว่า เสด็จจาพรรษา ณ ชั้นดาวดึงส์เพื่อแสดงพระอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดาตลอดไตรมาส ซึ่งเป็นพุทธประเพณีของพระพุทธเจ้าทัง้ หลายในอดตี เมือ่ ทรงทราบเช่นนี้ จงึ ทรงพระดาริตอ่ ไปอกี ว่า พระชนนขี องตถาคตน้ีมีคุณูปการรักใคร่ในตถาคตมาก ทรงตั้งความปรารถนาไว้แต่คร้ังพระวิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้าประมาณแสนกัปล่วงมาแล้วว่าขอให้ได้เป็นพระมารดาของตถาคต บัดน้ี ควรที่เราตถาคตจะเสด็จประวัติความเป็นมาของพระอภธิ รรม ๓

ไปภพดาวดึงส์ เพ่ือแสดงพระอภิธรรมสนองพระคุณ จากนน้ั จึงเสด็จลงจากพุทธอาสน์ เม่ือเหล่าเทพยดาและมนุษย์ท้ังหลายได้ถวายอภิวาทโดยเคารพแล้ว พระองค์ทรงยกพระบาทเบื้องขวาเหยียบเหนือยอดเขายุคันธร และทรงยกพระบาทเบอ้ื งซ้ายเหยียบเหนอื ยอดเขาสิเนรุ ก็เสด็จถึงเทวโลกชั้นดาวดึงส์ อันเป็นท่ีสถิตของท้าวสักกะเทวราช ประทบั เหนอื บัณฑุกมั พลศลิ าอาสน์ ภายใต้ต้นปาริฉตั ร ท้าวสักกะเทวราชและเทพบุตรเทพธิดาต่างออกจากทิพยวิมาน ถือผอบทองเต็มไปด้วยบุปฝชาติของหอมอันเป็นทิพย์ พากันมาเฝ้าพระพุทธเจ้า ต่างกระทาสักการบูชา แล้วน่ัง ณ ท่ีสมควร แม้เทวดาเหล่าอื่นในหม่ืนจักรวาล ต่างก็ถือเคร่ืองสักการบูชามายังมงคลจักรวาลน้ี ถวายนมัสการแล้วน่ังอยู่ ณ ท่ีสมควร กล่าวกันว่าเทวดาทั้งหลายต่างเนรมิตกายเท่าอณูและปรมาณู (คือ ทากายให้เล็กท่ีสุดเท่าที่จะเล็กได้ เพ่ือไม่ให้กินเน้ือที่) แม้พ้ืนท่ีเท่าปลายขนทรายจามรีกอ็ ยู่ไดส้ ิบองค์บา้ ง ยี่สิบองค์บ้าง ถึงแสนองค์ก็มี คร้ันทวยเทพมาประชุมพร้อมกันแล้ว พระพุทธองค์ทรงทอดพระเนตรเหล่าทวยเทพน้ัน เมื่อมิได้ทรงเห็นสันดุสิตเทพบุตรผู้เคยเป็นพระมารดา* มาเฝ้าในท่ามกลางเทวสมาคมนั้น จึงตรัสถาม* คือพระนางสิริมหามายา ซึ่งหลังจากประสูติเจ้าชายสิทธัตถได้ ๗ วัน ก็ส้ินพระชนม์ บังเกิดเป็นเทพบุตร ณ สวรรค์ชั้นดุสิต จึงมีนามว่าสันดุสิตเทพบุตร๔ ธรรมะเพอื่ ชีวิต

หากับท้าวสักกะเทวราช ท้าวสักกะเทวราชก็ทราบโดยพลันว่า พระพุทธองค์เสด็จมาสวรรค์คร้ังนี้ทรงมีพุทธประสงค์จะตรัสพระธรรมเทศนาโปรดเทพบุตรพุทธมารดาให้บรรลุมรรคผล จึงรีบเสด็จไปยังชั้นดุสิตอันเป็นท่ีสถิตของสันดุสิตเทพบุตรผู้เคยเป็นพระมารดาน้ันคร้ันเสด็จถึงก็อภิวาทโดยเคารพ แล้วตรัสบอกว่า “ขณะน้ี พระพุทธองค์เสด็จมายังภพดาวดึงส์ ประทับ ณ บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ภายใต้ควงไม้ปาริฉัตร ทรงรอคอยท่าน เพ่ือจะตรัสพระธรรมเทศนาขอเชิญท่านไปเฝ้าโดยเร็วเถดิ ” สันดุสิตเทพบุตรผู้เคยเป็นพระมารดาได้สดับดังน้ัน ก็มีความโสมนัส รีบลงจากชั้นดุสิตไปยังชั้นดาวดึงส์พร้อมด้วยเทพอัปสรผู้เป็นบริวาร ถวายนมัสการแล้วนั่งอยู่เบ้ืองขวาพระพุทธองค์พลางดาริว่า “การท่ีเราได้พระโอรสผู้ประเสริฐเห็นปานน้ีนับว่ามีบุญยง่ิ นกั มเิ สียทีท่เี ราอุ้มท้องมา” ลาดับน้ัน พระพุทธองค์มีพระทัยปรารถนาจะสนองคุณพระมารดาจึงทรงพระดาริว่า “พระคุณแห่งมารดาที่ทาไว้แก่ตถาคตย่ิงใหญ่นัก สุดท่ีจะคณานับได้ว่ากว้างหนาและลึกปานใด ธรรมอันใดจึงจะสมควรที่จะทดแทนพระคุณได้ หมวดธรรมฝ่ายพระวนิ ัยและพระสูตรก็ยังน้อยนัก มิเท่าคุณแห่งพระมารดา เห็นควรแต่พระอภิธรรมเทา่ น้ันที่จะพอยกข้นึ ช่งั เทา่ กันได้” คร้ันทรงดาริดังนี้แล้ว จึงทรงกวักพระหัตถ์เรียกพระพุทธมารดาว่า “ดูกรชนนี มาน่ีเถิด ตถาคตจะใช้ค่าน้านมข้าวป้อนของประวัตคิ วามเป็นมาของพระอภิธรรม ๕

มารดาอันเลี้ยงตถาคตนี้มาแต่อเนกชาติในอดีตภพ” แล้วทรงกระทาพระพุทธมารดาให้เป็นประธานในเทวสมาคมน้ัน ตรัสอภิธรรม ๗คัมภีร์ อันมีชื่อว่า ธัมมสังคณี วิภังค์ ธาตุกถา ปุคคลบัญญัติกถาวัตถุ ยมก และปัฏฐาน ให้สมควรแก่ปัญญาบารมีของพระพุทธมารดาและหมู่ทวยเทพ เม่ือพระพุทธองค์ทรงแสดงสัตตปกรณาภิธรรม (พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์) น้ันจบลง สันดุสิตเทพบุตรพุทธมารดาก็บรรลุโสดาปัตติผล สาเรจ็ เป็นพระอริยบุคคลชั้นแรกในพระพทุ ธศาสนา กล่าวกันว่า พระพุทธองค์ทรงแสดงพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ณ เทวโลกชั้นดาวดึงส์ทั้งกลางคืนและกลางวัน มิได้มีระหว่างว่างเว้น เป็นเวลาถึง ๓ เดือนเต็มตามเวลาโลกมนุษย์ ในระหว่างท่ีทรงแสดง เม่ือถึงเวลาเสด็จบิณฑบาตเพ่ือเสวยพระภัตตาหาร และเวลาทรงพักผ่อนกลางวัน พระองค์ก็เสด็จไปทรงกระทาพุทธกิจน้ันโดยทรงเนรมติ พระพุทธเจ้าจาลองไว้ใหแ้ สดงพระอภธิ รรมแทน กล่าวถึงโลกมนุษย์ ในช่วงเวลาท่ีพระพุทธองค์ทรงกระทายมกปาฏิหาริย์ แล้วเสด็จข้ึนไปสู่ดาวดึงส์เทวโลกน้ัน มหาชนท้ังหลายท่ีมาประชุมกันอยู่ ณ ที่นนั้ ได้เห็นพระพุทธองค์เสด็จหายไปจากโลกมนุษย์ ก็สุดเศร้าโศกปริเทวนาการไปต่างๆ ว่า “พระบรมศาสดาเสด็จขึ้นไปสู่ภูเขาจิตรกูฏ ไกรลาส หรือยุคนธรเสียแล้วพระองค์ทรงปลีกวิเวก จะไม่เสด็จกลับมาสู่โลกนี้อีกแล้ว เราทั้งหลายจะมิได้เห็นพระองค์ในกาลบัดนี้” แล้วพากันเข้าไปถามพระ๖ ธรรมะเพอ่ื ชีวิต

มหาโมคคัลลานเถระว่า “ข้าแต่พระคุณเจ้า พระบรมศาสดาของเราทั้งหลายเสด็จไปสถิตอยู่ ณ ที่แห่งใด” พระมหาเถระจึงกล่าวว่า“พวกท่านจงถามท่านพระอนุรุทธะก็จะทราบ” มหาชนเหล่านั้นก็ไปถามพระอนุรุทธเถระ และได้คาตอบว่า “พระพุทธองค์เสด็จข้ึนไปจาพรรษาที่บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ในดาวดึงส์เทวโลก เพื่อจะตรัสพระธรรมเทศนาอภธิ รรม ๗ คมั ภรี ์ โปรดพระพทุ ธมารดา” ครั้นถึงวันมหาปวารณาออกพรรษา ขึ้น ๑๕ ค่าเดือน ๑๑อันเป็นวันครบกาหนด ๓ เดือนท่ีเสด็จจาพรรษา ณ เทวโลก พระพุทธองค์จึงเสด็จลงจากเทวโลก ณ เมืองสังกัสสนคร ซ่ึงต่อมาชาวพุทธได้ปรารภเหตุการณ์นี้ จัดประเพณีทาบุญวันเทโวโรหณะ หรือตักบาตรเทโว ซ่ึงหมายถึงวันทาบุญเน่ืองในโอกาสท่ีพระพุทธองค์เสด็จลงจากเทวโลก ภายหลังจากท่ีเสด็จจากมนุษยโลกไปเป็นเวลาสามเดือน (บางแห่งเล่อื นทาในวันแรม ๑ ค่าเดือน ๑๑) จากหลักฐานแสดงประวัติความเป็นมาแห่งการตรัสพระอภิธรรมดังกล่าวมาน้ี เป็นเหตุให้ชาวพุทธถือว่า พระอภิธรรมเป็นพระพุทธวจนะ คือตรัสออกจากพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้า ในคราวที่ทรงเทศนาโปรดพวกเทวดา มีสันดุสิตเทพบุตรพุทธมารดาเป็นประธาน อนั เป็นพทุ ธจรยิ า แสดงกตัญญกู ตเวทติ าธรรม สว่ นในโลกมนุษยน์ ้ี พระพุทธองคท์ รงแสดงพระอภธิ รรมโดยย่อแก่พระสารีบุตร ผู้เป็นพระอัครสาวกเบื้องขวาเป็นครั้งแรก ณ ริมสระอโนดาต และพระสารีบตุ รเถระได้นาพระอภิธรรมนั้นมาแสดงแก่ประวตั คิ วามเป็นมาของพระอภิธรรม ๗

พระภิกษุท่ีเป็นศิษย์โดยไม่ย่อและไม่พิสดารเกินไป ส่งผลให้พระอภิธรรมไดร้ ับการศกึ ษาเผยแผ่นาสืบกันมาตราบเท่าทุกวนั นี้พระอภิธรรม ๓ ฉบบั จากประวัติความเป็นมาของพระอภิธรรมดังกล่าว เราอาจแบ่งพระอภิธรรมตามลักษณะโวหารทแ่ี สดงได้ ๓ ฉบบั คือ๑. อติวติ ถารอภธิ รรม พระอภิธรรมฉบบั พิสดารทสี่ ุด๒. อติสังเขปอภธิ รรม พระอภธิ รรมฉบับย่อที่สุด๓. นาติสังเขปนาติวิตถารอภิธรรม พระอภิธรรมฉบับกลางๆไมย่ อ่ ไม่พิสดารนัก พระอภิธรรมฉบับพิสดารท่ีสุด หมายถึง พระอภิธรรมท่ีพระพุทธองค์ทรงแสดงโปรดพวกเทวดามีสันดุสิตเทพบุตรพุทธมารดาเป็นประธาน ณ เทวโลกช้ันดาวดึงส์ ในพรรษาที่ ๗ แห่งการตรัสรู้ ทรงแสดงนานถึง ๓ เดือน (ตามเวลาในโลกมนุษย์) ติดต่อกันทั้งกลางวันและกลางคืน ดังท่ีคัมภรี อ์ ัฏฐสาลนิ ีกล่าวไวว้ า่ “อภิธรรมท่ีพระพุทธเจ้าทรงแสดงติดต่อกัน ๓ เดือนน้ันเป็นอนันต์ (ไม่รู้จักจบสน้ิ ) ไมอ่ าจคานวณได้ จะเรียนสักร้อยปพี นั ปี กเ็ รียนไม่จบ” พระอภิธรรมฉบับพิสดารที่สุดนั้น พระพุทธองค์ทรงแสดงโปรดพวกเทวดาโดยเฉพาะ เพราะเทวดาสามารถฟังด้วยอิริยาบถเดียวถึง ๓ เดือน โดยไม่ต้องเปลี่ยนอิริยาบถและไม่ง่วงนอน สาหรับมนุษย์เราน้ัน ไม่อาจฟังพระอภิธรรมพิสดารนานถึง ๓ เดือนด้วย๘ ธรรมะเพื่อชวี ิต

อิริยาบถเดียว คือ จะนั่งฟังติดต่อกันท้ังกลางวันและกลางคืนนานถึง๓ เดอื นไมไ่ ดโ้ ดยเดด็ ขาด อน่ึง ในพระบาลีธัมมหทยวิภังค์ แห่งคัมภีร์วิภังค์ อภิธรรมปิฎก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ ข้อ ๑๐๒๓) ได้ระบุถึงอายุของเหล่าเทวดาช้ันดาวดึงส์ไว้ว่า “…๑๐๐ ปีของมนษุ ย์นบั เป็นวันหนึ่งและคืนหนึ่งของเหล่าเทวดาช้ันดาวดึงส์ โดย ๓๐ ราตรีเป็น ๑ เดือน ๑๒เดือนเป็น ๑ ปี เทวดาช้ันดาวดึงส์มีอายุ ๑,๐๐๐ ปีทิพย์ นับอย่างปีมนุษย์มปี ระมาณเทา่ กับ ๓๖ ลา้ นป…ี ” จะเห็นว่า ระยะเวลา ๓ เดือนในโลกมนุษย์ ไม่นานเลย เมื่อเทียบกับเวลาในสวรรคช์ น้ั ดาวดึงส์ พระอภิธรรมฉบับย่อท่ีสุด หมายถึง พระอภิธรรมท่ีพระพุทธองค์ทรงแสดงแก่พระสารีบุตรในป่าหิมพานต์ ใกล้ฝ่ังอโนดาต กล่าวคือ แม้พระพุทธองค์จะทรงแสดงพระอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดา และทวยเทพในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ติดต่อกันเป็นเวลา ๓ เดือน แต่ก็มีช่วงท่ีทรงพัก โดยพ ระองค์ทรงเนรมิตพระพุทธเจ้าจาลองที่เรียกว่า นิรมิตพุทธะ หรือพระพุทธเนรมิตแล้วทรงอธิษฐานให้ทาหน้าที่แสดงพระอภิธรรมแทนพระองค์ชั่วครู่หลังจากนั้น พระองค์ก็เสด็จไปยังป่าหิมพานต์ ทรงเคี้ยวไม้ชาระพระทนต์ บ้วนพระโอษฐ์ ล้างพระพักตร์ที่สระอโนดาต แล้วเสด็จไปบิณฑบาตท่ีอุตตรกุรุทวีป ทรงนาภัตตาหารมาประทับฉัน ณ ฝั่งสระอโนดาต ระหว่างน้ันพระสารีบุตรได้มาเฝ้าปฏิบัติพระองค์อยู่ประวตั คิ วามเปน็ มาของพระอภิธรรม ๙

หลังจากทรงฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว พระองค์ได้ตรัสบอกพระสารีบุตรว่า “สารีบุตร วันนี้เราแสดงธรรมประมาณเท่าน้ี เธอจงไปบอกสอนพวกภิกษุ ๕๐๐ รูป ที่เป็นศิษย์ของเธอ” เม่ือตรัสดังนี้แล้ว ก็เสด็จหายพระองค์ไปแสดงพระอภิธรรม โปรดพวกเทวดาในสวรรค์ชน้ั ดาวดงึ ส์ ต่อจากทพี่ ระพทุ ธเนรมติ แสดง พระอภิธรรมที่พระองคต์ รัสบอกพระสารบี ุตรแตล่ ะวันในโลกมนุษยน์ แ้ี หละ เรยี กวา่ พระอภิธรรมปิฎกฉบบั ยอ่ ท่ีสดุ พระอภิธรรมปิฎกฉบับกลางๆ ไม่ย่อ ไม่พิสดารนักหมายถึง พระอภิธรรมที่พระสารีบุตรทรงจานัยท่ีพระพุทธองค์ทรงแสดง แล้วนามาบอกกล่าวสั่งสอนพระภิกษุ ๕๐๐ รูป ท่ีบวชเพราะเล่ือมใสในยมกปาฏิหาริย์ ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงก่อนเสด็จไปยังเทวโลก พระภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่าน้ี เป็นชาวเมืองสาวัตถี เป็นสัทธิวิหาริก (ศิษย์) ของพระสารีบุตรเถระ โดยเหตุท่ีท่านเป็นพระอปุ ัชฌาย์บวชให้ เมื่อฟังพระอภิธรรมที่พระสารีบุตรเถระนามาแสดงด้วยอุบายวิธีท่ีไม่ย่อเกินไป ไม่พิสดารเกินไป ไม่ช้าไม่นานก็เป็นผู้ฉลาดเชี่ยวชาญในพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ เหตุท่ีแตกฉานในพระอภิธรรมได้เร็วปานนั้น เป็นเพราะอานาจวาสนาบารมีที่คุ้นเคยกับการไดฟ้ งั พระอภธิ รรมนี้มาในอดีตชาตนิ ่ันเอง คัมภีร์อรรถกถาธรรมบทกล่าวถึงประวัติในอดีตชาติของพระภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านี้ไว้ว่า ในกาลแห่งพระศาสนาของพระพุทธเจ้านามว่ากัสสปะ ท่านเหล่าน้ีเกิดเป็นค้างคาวอาศัยอยู่ที่๑๐ ธรรมะเพือ่ ชวี ิต

เงื้อมเขาแห่งหนึ่ง เม่ือมีพระภิกษุเถระ ๒ รูปมาเดินจงกรม สาธยายพระอภิธรรมอยู่ใกล้ๆ ก็ฟังจนจับนิมิตในเสียงสาธยายได้ (จาติดหู)แต่ไมร่ ู้ความหมายแห่งคาสาธยาย คอื ไม่รวู้ ่าสภาวธรรมเหลา่ น้ีช่ือว่าขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธาตุ เป็นต้น อาศัยเพียงจาได้ติดหูเทา่ น้นั คร้นั ตายจากอัตภาพท่เี ปน็ คา้ งคาวแลว้ ไดไ้ ปเกดิ ในเทวโลก จนกาลเวลาผ่านไปหน่ึงพุทธันดร (สิ้นสุดอายุกาลแห่งพระศาสนาของพระกัสสปพุทธเจ้ามาถึงกาลแห่งพระพุทธเจา้ ของเรา) ก็จุติจากเทวโลก มาบังเกิดในนครสาวัตถี เม่ือไดเ้ หน็ พระพุทธองค์ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ ก็เกิดความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ขอบวชเป็นศิษย์อยู่ในสานักของพระสารีบุตรเถระ และได้ฟังพระอภิธรรมจากพระอุปัชฌาย์ของตน จนเกิดความเช่ียวชาญแตกฉานในพระอภธิ รรม ๗ คัมภรี ์ กอ่ นภกิ ษุอ่นื ๆ ท้งั หมดในพระพทุ ธศาสนา พระอภิธรรม ๓ ฉบับนี้ อาจเรียกช่ือใหม่ตามสถานท่ีเพ่ือกาหนดจดจาความเปน็ มาไดง้ า่ ยดงั น้ีพระอภิธรรมฉบับดาวดงึ ส์พระอภิธรรมฉบบั สระอโนดาต และพระอภธิ รรมฉบับพระนครสาวตั ถี หรือฉบับมิชฌมิ ประเทศ พระอภิธรรมปิฎกที่ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษร ให้ศึกษากันอยู่ในปัจจุบันนี้ นักปราชญ์หลายท่านสันนิษฐานว่า วิวัฒนาการสืบเนื่องมาจากพระอภิธรรมฉบับกลางๆ ที่ไม่ย่อไม่พิสดารนัก หรือฉบับพระนครสาวตั ถนี ่ันเองประวัตคิ วามเปน็ มาของพระอภิธรรม ๑๑

หลักฐานเรือ่ งอภิธรรม เพ่ือให้ผู้สนใจศึกษาพระอภิธรรมได้ทราบประวัติความเป็นมาของพระอภิธรรมโดยชัดเจนขึ้น จึงขออัญเชิญพระนิพนธ์หลักฐานเรื่องพระอภิธรรมของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ซ่ึงทรงพระนิพนธ์ไว้ใน ความเขา้ ใจเร่ืองพระอภธิ รรม มานาเสนอดังนี้ “…ในวินัยปิฎกเอง ท่ีเล่าถึงเร่ืองสังคายนาคร้ังที่หน่ึง ที่ทาเม่ือหลงั พุทธปรนิ ิพพานไม่นานนัก และสังคายนาครัง้ ท่ีสอง ท่ีทาเมื่อหลังจากพุทธปรินิพพานประมาณ ๑๐๐ ปี ก็เล่าแต่เพียงว่า ได้ทาสังคายนาพระวินัยและพระธรรม ไม่ได้กล่าวถึงอภิธรรมปิฎก เมื่อพระพุทธเจ้าจะนิพพาน ก็ทรงแสดงเพียงว่า ธรรมะท่ีทรงแสดงแล้ววนิ ัยท่ีทรงบัญญัติแล้ว เป็นศาสดาแทนพระองค์ กก็ ล่าวถงึ แต่ธรรมะแ ล ะ วิ นั ย เท่ า นั้ น ไม่ ได้ พู ด ถึ ง อ ภิ ธ รรม ฉ ะ น้ั น นั ก ศึ ก ษ าพระพุทธศาสนาที่วิจารณ์ท้ังประวัติและเน้ือความของปิฎกท้ังสามจึงมีมากท่ีท่านลงความเห็นว่า อภิธรรมปิฎกน้ันมีในภายหลัง แต่ว่าเม่ือพระพุทธศาสนาล่วงมาหลายร้อยปีเข้า จนถึงสมัยแต่งอรรถกถาประมาณว่า พระพุทธศาสนาล่วงมาขนาดพันปี จึงได้ปรากฏหลักฐานในคัมภีร์อรรถกถาท่ีแต่งในสมัยนั้น ถึงเร่ืองประวัติของอภิธรรมว่า พระพุทธเจ้าไปเทศน์อภิธรรมแด่พระพุทธมารดาท่ีดาวดึงส์พิภพ และถ้อยคาในอรรถกถาแสดงว่ามีการนับถือคัมภีร์๑๒ ธรรมะเพื่อชวี ติ

อภิธรรมน้ีเป็นอันมาก ใครจะคัดค้านว่าอภิธรรมมิใช่พระพุทธวจนะเป็นไม่ได้ ในอรรถกถาเองได้ประณามคนท่ีคัดค้านอย่างเป็นคนนอกศาสนาเลยทีเดียว แต่เพราะได้กล่าวไว้เช่นน้ัน ก็บ่งว่าคงจะได้มีผู้คดั ค้านมาตั้งแต่สมยั นน้ั แล้ว จึงได้เขยี นไว้อยา่ งนั้น ท่าน (อรรถกถา) แสดงหลักฐานว่า พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้อภิธรรม ได้ทรงแสดงอภิธรรมแทรกเข้าไว้อย่างมากมาย คือ ในหลักฐานชั้นบาลีท่ีมีในวินัยปิฎกว่า เม่ือพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้แล้ว ได้ประทับนั่งเสวยวิมุตติสุข (ความสุขท่ีเกิดจากวิมุตติ ความหลุดพ้น)ท่ีควงไม้ต่างๆ ๕ สปั ดาห์ สัปดาหท์ ี่ ๑ ประทบั นงั่ ณ ควงไม้โพธิพฤกษ์ คอื ทไี่ ดต้ รสั รู้ สัปดาห์ท่ี ๒ ประทับนั่ง ทคี่ วงไม้นโิ ครธ คือ ควงไมไ้ ทร สปั ดาหท์ ี่ ๓ ประทับนง่ั ที่ควงไมม้ จุ จลินทะ คือควงไมจ้ ิก สัปดาหท์ ่ี ๔ ประทับนั่งที่ควงไมร้ าชายตนะ คือควงไมเ้ กด สปั ดาหท์ ี่ ๕ ประทับนั่งทค่ี วงไม้ไทรอีก พระอรรถกถาจารย์ผู้เขียนตานานอภิธรรมได้แสดงแทรกไว้ในคมั ภีร์อรรถกถาอกี ๓ สัปดาห์ จากสัปดาห์ที่ ๑ ในบาลีคอื สัปดาห์ท่ี ๒ เสด็จจากไม้มหาโพธิ ไปทางทิศอีสาน ทรงยืนถวายเนตร คือว่าจ้องดูพระมหาโพธิในที่นั้น จึงเรียกว่า อนิมิตตเจดีย์ แปลว่า เจดีย์ที่ทรงจ้องดู โดยมิได้กระพรบิ พระเนตร ท่ีเป็นมูลให้สรา้ งพระถวายเนตร สาหรับวนั อาทิตย์ประวตั คิ วามเปน็ มาของพระอภธิ รรม ๑๓

สัปดาห์ท่ี ๓ เสด็จจากท่ีน้ัน มาหยุดอยู่ระหว่างมหาโพธิกบั อนิมิตตเจดีย์น้ัน ทรงนิรมิตทีจ่ งกรมขึ้นแล้ว เสด็จจงกรม ณ ที่นั้นที่น้ันจึงเรียกว่า รัตนจงกรมเจดีย์ แปลว่า ที่จงกรมแก้ว คาว่าท่ีจงกรมแก้วน้ี อาจารย์หน่ึงก็วา่ เป็นเรือนแก้วที่เทพนิรมิต อีกอาจารย์หน่ึงก็ว่า มิใช่เป็นเรือนแก้ว แต่ว่าหมายถึง ที่เป็นที่ทรงพิจารณาอภธิ รรม สัปดาห์ที่ ๔ ประทับนั่งขัดบัลลังก์ ในทิศปัศจิมหรือทิศพายพั แหง่ มหาโพธิ ทรงพจิ ารณาอภิธรรม จึงเรยี กวา่ รัตนฆรเจดีย์แปลว่า เรือนแก้ว คาว่าเรือนแก้วน้ี อาจารย์หน่ึงก็ว่า เป็นเรือนแก้วที่เป็นเทพนิรมิต อีกอาจารย์หนึ่งก็ว่ามิใช่เป็นเรือนแก้วเช่นน้ัน แต่หมายถึง ท่ีเป็นที่ทรงพจิ ารณาอภิธรรม รัตนฆระคือเรอื นแก้วนี้ ก็เป็นมูลให้สร้างพระพุทธรูปมีเรือนแก้ว เหมือนอย่างพระพุทธชินราช ที่จงั หวัดพษิ ณโุ ลกมีเรอื นแกว้ เมื่อท่านแทรกเข้ามาอีก ๓ สัปดาห์ดั่งนี้ สัปดาห์ที่ ๒ ตามที่แสดงในบาลีก็ต้องเลื่อนไปเป็นที่ ๕ และก็เล่ือนไปโดยลาดับ ท่านก็ได้อธิบายไว้ด้วยว่า การที่แทรกนอกจากพระบาลีออกไปน้ัน ไม่ผิดไปจากความจริง เพราะในบาลีแสดงแต่โดยย่อ เหมือนอย่างพูดว่ากินข้าวแล้วนอน ความจริงกินข้าวแล้ว ก่อนจะนอนก็ได้มีกิจอ่ืนหลายอย่าง แต่ว่าเว้นไว้ไม่กล่าว ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวถึงกิจท่ีเว้นไว้นน้ั ใหบ้ รบิ รู ณ์๑๔ ธรรมะเพื่อชีวติ

ตานานอภิธรรมดังกล่าวมานี้ ได้มีกล่าวไว้ในหนังสืออรรถกถาที่เขียนข้ึนเมื่อพระพุทธศาสนาล่วงมาแล้วนาน และท่านก็ยังได้เล่าไว้อีกว่า คัมภีร์อภิธรรมน้ันมี ๗ คัมภีร์ เรียกว่า สัตตปกรณ์ปกรณ์แปลว่า คัมภีร์ สัตตแปลว่า เจ็ด สัตตปกรณ์ก็แปลว่า ๗ คัมภีร์คาน้ีได้นามาใช้ในเมื่อบังสุกุลพระศพเจ้านาย ต้ังแต่หม่อมเจ้าขึ้นไปใช้คาว่า สดับปกรณ์ ก็มาจากคาว่า สัตตปกรณ์ คือเจ็ดคัมภีร์น้ีเองแต่พระพุทธเจ้าไม่ได้แสดงท้ัง ๗ คัมภีร์ เว้นคัมภีรก์ ถาวัตถุ ทรงแสดงแค่ ๖ คัมภีร์ ส่วนคัมภีร์กถาวัตถุนั้น พระโมคคัลลีบุตรติสเถระเป็นผู้แสดง ในสมัยสังคายนาคร้ังที่ ๓ แต่ว่าพระเถระก็ได้แสดงตามนัยที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ ฉะนั้น จึงได้ครบเจ็ดปกรณ์ในสมัยสังคายนาคร้ังที่สามนั้น และก็ถือว่า เป็นพระพุทธภาษิตทั้งหมดเพราะพระพุทธเจ้าไดป้ ระทานนยั ไว้ ในตานานนี้ได้กล่าวว่า พระพุทธเจ้าได้เทศน์อภิธรรมตลอดเวลาไตรมาสคือสามเดือน โดยไม่มีเวลาหยุดยั้ง ฉะน้ันจึงได้เกดิ ปัญหาข้นึ ๒ ขอ้ ข้อ ๑. ว่าพระพุทธเจ้าไม่ทรงบารุงพระสรีระ เช่น เสวย และปฏิบตั สิ รรี กจิ อยา่ งอ่นื ตลอดไตรมาสหรือ ขอ้ ๒. พระอภิธรรมมาทราบกันในเมอื งมนุษยไ์ ด้อยา่ งไร? ปญั หาเหล่าน้ีท่านผู้เล่าตานานอภิธรรมก็ได้เล่าแก้ไว้ด้วยว่าเมื่อเวลาภิกษาจารคือเวลาทรงบิณฑบาต ก็ได้ทรงนิรมิตพระพุทธประวตั คิ วามเปน็ มาของพระอภธิ รรม ๑๕

นิมิตไว้ ทรงอธิษฐานให้แสดงอภิธรรมตามเวลาที่ทรงกาหนดไว้แทนพระองค์ แล้วเสด็จลงมาปฏิบัติพระสรีรกิจท่ีสระอโนดาต แล้วเสด็จไปเท่ียวบิณฑบาตท่ีอุตรกุรทุ วีป เสด็จลงมาเสวยที่สระนั้น เสวยแล้วเสด็จไปประทับพักกลางวันที่นันทวัน ต่อจากน้ันก็จึงเสด็จข้ึนไปแสดงอภิธรรมต่อจากพระพุทธนิมิต และท่ีนันทวันน้ันเอง ท่านพระสารีบุตรได้ไปเฝ้าทาวัตรปฏิบัติ พระองค์จึงได้ประทานนัยอภิธรรมท่ีทรงแสดงแล้วแก่ท่านพระสารีบุตร ท่านพระสารีบุตรก็ได้มาแสดงอภิธรรมแกห่ มูภ่ กิ ษุท่ีเป็นสัทธวิ ิหาริกของทา่ นต่อไป ทา่ นแกไ้ วอ้ ย่างนี้ กเ็ ป็นอันแก้ปญั หาท้ังสองข้อนั้นตามคาแก้ของท่านน้ีเอง แสดงว่าอภิธรรมมาปรากฏขึ้นในหมู่มนุษย์ก็โดยพระสารีบุตรเป็นผู้แสดง เพราะฉะน้ัน เม่ือพูดกันอย่างในเมืองมนุษย์ท่านพระสารบี ตุ รจึงเปน็ ผู้แสดงอภิธรรมนน่ั เอง แต่ ท่ าน ว่าพ ระส ารีบุ ต รไม่ ใช่นั ก อ ภิ ธรรม องค์ แรกพระพุทธเจ้าเป็นนักอภิธรรมองค์แรก เพราะได้ตรัสรู้อภิธรรมตั้งแต่ราตรีท่ีได้ตรัสรู้ ได้ทรงพิจารณาอภิธรรมท่ีรัตนฆรเจดีย์ ดังที่กล่าวมาแล้ว และได้ทรงแสดงนัยแห่งอภิธรรมแก่ท่านพระสารีบุตร ท่านพระสารีบตุ รจงึ ไดม้ าแสดงตอ่ ไป ในปัจจุบันนี้ ได้มีท่านผู้หนึ่งเขียนหนังสือค้านว่า อภิธรรมปิฎ กน้ันพิ มพ์ เป็นหนังสือได้เพี ยงสิบสองเล่ม ตามประวัติพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงอยู่ตลอดสามเดือน ไม่มีเวลาหยุด และยัง๑๖ ธรรมะเพื่อชวี ิต

ได้กล่าวอีกว่า ได้มีรับส่ังเร็ว คือว่าพระพุทธเจ้าพูดเร็วกว่ามนุษย์สามัญหลายเท่า เม่ือเป็นเช่นนี้ ถ้าจะมารวมพมิ พข์ ึ้นก็จะตอ้ งกว่าสิบสองเล่มเป็นไหนๆ เมื่อหนังสือนี้ออกมา ได้มีผู้ที่นับถืออภิธรรมไม่พอใจกันมาก เพราะเหตุดังท่ีได้กล่าวแล้ว ในหลักฐานตัง้ แตช่ ้ันอรรถกถานั้น ได้มีผู้นับถืออภิธรรมมาก จนถึงบัดนี้ ก็ยังมีผู้นับถืออภิธรรมกันอยู่มาก ยิ่งในพม่ายิ่งนับถือมากเป็นพิเศษ จนถึงกับมีนิทานเล่าเป็นประวัติว่า มีเรือเชิญพระไตรปิฎกจากลังกามา ๓ ลา ระหว่างทางเกิดพายุ พัดเอาเรือทั้ง ๓ ลาไปคนละทาง เรือท่ีทรงพระอภิธรรมปิฎกไปประเทศพม่า เรือท่ีทรงพระวินัยปิฎกไปประเทศรามัญ เรือท่ีทรงพระสุตตันตปฎิ กมาประเทศไทย นี่เป็นเรื่องท่ีผูกขึ้นมานานแล้ว พิจารณาดูก็มีเค้าอยู่บ้างเพราะว่าพม่านั้นนับถืออภิธรรมมาก รามัญก็เคร่งครัดในวินัย ส่วนฝ่ายไทยอยู่ระหว่งกลาง ไม่ใคร่เคร่งวินัยนัก และก็ไม่ย่อหย่อนอย่างพม่า พอใจจะถือเอาเหตผุ ล ซ่ึงกส็ งเคราะหว์ า่ เป็นฝา่ ยสุตตันตปิฎก จะอย่างไรก็ตาม สารัตถะในพระอภิธรรมน้ันมีมาก ถึงท่านจะไม่แสดงประวัติให้พิสดารไว้อย่างไร สารัตถะในพระอภิธรรมนน้ั เอง กเ็ ปน็ สิง่ ที่ควรศึกษา ซ่ึงเม่ือศึกษาแล้ว กจ็ ะทาให้ได้ความรใู้ นพระพุทธศาสนาพสิ ดารขน้ึ อีกเปน็ อย่างมาก…” *** *** *** *** ***ประวตั ิความเป็นมาของพระอภิธรรม ๑๗

มาสรา้ งปญั ญาในคาสวดมนต์คดั มาจากบางสว่ นของหนงั สอื “มาสรา้ งปัญญาในคาสวดมนตพ์ ระอภิธรรม๗ คมั ภีร์ฉบบั หลวงกนั เถอะ” เขียนโดย อ.วนิ ัย อัศวศ์ วิ ะกุลบทนาวตั ถุประสงค์และแนวการเขียนหนงั สอื เล่มนี้ ผู้เขียนได้รวบรวมคาสวดมนต์พระอภิธรรมฉบับหลวง มาอธิบายแต่ละข้อความเป็นภาษางา่ ยๆ พยายามหลีกเล่ียงคาบาลี ถ้ามีก็จะให้คาแปลหรือใส่ไว้ในวงเล็บ เพ่ือให้เห็นว่ามีท่ีมา มิใช่ผู้เขียนคิดข้นึ มาเอง… จากชื่อหนังสือน้ี “มาสร้างปัญญาในคาสวดมนต์พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ฉบับหลวงกันเถอะ” แสดงว่า เน้นการมาสร้างปัญญา คือ มาทาให้เกิดความเข้าใจเน้ือความของคาสวดมนต์พระอภิธรรม โดยมีวตั ถปุ ระสงค์ชใี้ ห้เห็นว่า เนือ้ ความในคาสวดมนตพ์ ระอภิธรรมน้ีสะท้อนถึงพระปัญญาอันสูงสุดขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า การฟังคาสวดมนต์ด้วยความเข้าใจย่อมทาให้เกิดความปีติโสมนัสในมหากุศลอันประกอบด้วยปัญญา…อีกทั้งยังเป็นการสร้างคุณภาพชีวิตจิตใจให้สูงข้ึน และเป็นการสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา รวมท้ังเปน็ การช่วยรักษาและส่งเสรมิ วัฒนธรรมอันดงี ามของไทยอีกด้วย …๑๘ ธรรมะเพือ่ ชีวิต

สาระรวบยอดของพระอภธิ รรม ๗ คัมภีร์๑. พ ร ะ คั ม ภี ร์ ธั ม ม สั งค ณี มี แ ม่ บ ท ธ รร ม ที่ บ ริ บู ร ณ์ พ ลั ง๒. พระคมั ภรี ์วิภังค์ จาแนกแยกแยะปรมัตถธรรมอยา่ งจริงจัง๓. พระคมั ภีร์ธาตุกถา อาสาแยกธาตแุ ทธ้ รรมชาตชิ ีวติ จิตใจ๔. พระคัมภรี ป์ ุคคลบญั ญัติ ให้หลกั ดมู นษุ ย์ และสมมุติสัจจะ๕. พระคมั ภีร์กถาวตั ถุ บรรจวุ ิธชี ี้ผิด รู้ถกู หยดุ มจิ ฉาทิฏฐิ๖. พระคัมภรี ย์ มก ยกคูป่ ุจฉา พน้ ข้อกงั ขา๗. พระคัมภีร์มหาปัฏฐาน ประสานเหตุและผลของชีวิต เพื่อปลอดพษิ พ้นภยั วฏั ฏสงสารบทที่ ๑ความหมายและความประเสรฐิ ของพระอภธิ รรม๑.๑ พระอภิธรรมคืออะไรพระอภิธรรม คือ คาส่ังสอนขั้นสูงสุดขององค์สมเด็จพระสัมมาสมั พุทธเจา้ ซึ่งกล่าวถึงความจรงิ แท้ของธรรมชาติตลอดจนความจริงเทียม เพื่อให้ผู้ศึกษารู้แจ้ง และรู้เท่าทันความจริงเหล่านี้ อันเป็นประโยชนต์ อ่ การลดทุกข์ พน้ ทุกข์ เพิ่มสุข สูส่ ุขสงู สดุ๑.๒ ความประเสรฐิ ของพระอภิธรรมพระอภิธรรมเป็นวิทยาการอันประเสริฐ เหนือกว่าวิทยาการใดๆ ในโลก เพราะว่ามาสรา้ งปญั ญาในคาสวดมนต์ ๑๙

๑) พระอภิธรรมเป็นวิทยาการที่ยืนยงคงทนต่อการพิสูจน์ ไม่วิปริตแปรปรวนไปเปน็ อยา่ งอื่น๒) พระอภิธรรมเป็นวิทยาการท่ีทรงค้นพบโดยพระสัพพัญญุตญาณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจา้๓) พระอภิธรรมเป็นที่ดาเนินของพระบรมญาณอันบริสุทธิ์สูงสุดของพระพุทธองค์๔) พระอภิธรรมเป็นประธานของการบัญญัติวิทยาการอื่นๆ และส่ิงอ่นื ๆ ในโลก๕) พระอภิธรรมเป็นสัจธรรมท่ีแยกแยะสภาวธรรมของความจริงทุกระดบั๖) พระอภธิ รรมเปน็ วทิ ยาการทวี่ ่าดว้ ยเรอื่ งของชีวติ อย่างลกึ ซงึ้๗) พระอภิธรรมเป็นสัจธรรมของการปฏิบัติ เพ่ือขจัดความมืดบอดของชีวิต๘) พระอภิธรรมเป็นสัจธรรมของการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดอริยปัญญาอยา่ งแทจ้ รงิ๙) พระอภิธรรมเป็นสัจธรรมของการปฏิบัติ เพ่ือพ้นทุกข์ทั้งปวงและสอู่ มตสุขบทที่ ๒ภาพรวมของพระอภธิ รรม ๗ คมั ภีร์ และคาสวดมนต์ ในพระไตรปิฎก ๑๗ คัมภีร์เป็นพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ พระ๒๐ ธรรมะเพ่ือชวี ิต

สูตร ๕ คัมภีร์ พระวินัย ๕ คัมภีร์ หรือในพระไตรปิฎก ๘๔,๐๐๐พระธรรมขันธ์เป็นพระอภิธรรมปิฎก ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ พระสุตตันตปิฎก ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ พระวินัยปิฎก ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ จะเห็นว่า จานวนพระธรรมขันธ์ของพระอภิธรรมปิฎกเท่ากับจานวนพระธรรมขันธ์ของพระสุตตันตปิฎกรวมกับของพระวินัยปิฎก ซ่ึงแสดงว่าพระอภิธรรมเป็นพระคัมภีร์ที่ย่ิงใหญ่ที่สุด เป็นพระธรรมที่พระพุทธองคท์ รงแสดงด้วยวิธีปรมตั ถเทศนา คือ ทรงส่ังสอนความจริงที่เข้าถึงแก่นแท้ของความจริงสูงสุดโดยไม่ต้องมีการยกเหตกุ ารณ์ ยกตัวอยา่ ง แสดงถึงเน้ือสจั ธรรมล้วนๆ ส่วนพระสุตตันตปิฎกเป็นคาสอนท่ีพระพุทธองค์ทรงแสดงด้วยวิธีโวหารเทศนา คือ ทรงส่งั สอนตามความเหมาะสมของพื้นฐานผฟู้ ัง มกี ารยกตวั อยา่ ง อปุ มาอุปไมย เหตกุ ารณ์ฯ สว่ นพระวนิ ัยปิฎกเป็นคาสอนที่พระพุทธองค์ทรงแสดงด้วยวิธีอาณาเทศนา คือ ทรงสั่งสอนตามความผิดท่ีเกิดข้ึน ซ่ึงควรละเว้นหมายความว่า เป็นคาสอนเกี่ยวกับข้อละเว้น หรือ “ศีล” เพ่ือให้มีวจีกรรมและกายกรรมที่เหมาะสมน่าเลื่อมใส อันง่ายต่อการชักชวนใหบ้ ุคคลต่างๆ มาเจรญิ กุศลธรรม พระอภิธรรมมีอยู่ในพระสูตรและพระวินัย เพราะมีธรรมจากพระสูตรและพระวินัยท่ีทรงแสดงในแง่ปรมัตถสัจธรรม ซึ่งเป็นธรรมที่เข้าถึงความจริงสูงสุดและประเสริฐท่ีสุด เม่ือพระพุทธองค์ทรงนาหลักพระอภิธรรมปรับให้เหมาะสมกับจริตของผู้ศึกษา ทาให้มาสรา้ งปัญญาในคาสวดมนต์ ๒๑

มหี ลักธรรมแง่พระวนิ ยั พระไตรปฎิ ก ไม่วา่ จะเปน็ ปิฎกไหน ย่อมมีความสัมพันธ์กันย่อมไม่แยกออกจากกัน มีข้ออุปมาว่า พระไตรปิฎกเหมือนคน พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์เห มือน โครงกระดูก พ ระสูตรห รือพ ระสุตตันตปิฎกเหมือนอวัยวะภายในร่างกาย ส่วนพระวินัยปิฎกเหมือนผิวพรรณเส้นผม ท้ังสามส่วนไม่แยกจากกัน ถ้าไม่มีพระอภิธรรมพระสูตรและพระวินัยก็ตั้งอยู่ไม่ได้ ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงกล่าวว่า ถ้าพระพุทธศาสนาจะเส่ือม พระอภธิ รรมจะเสือ่ มก่อน แต่ถ้ามกี ารศกึ ษาพระอภิธรรมอยู่ ก็เท่ากับรักษาพระพุทธศาสนาไม่ให้เส่ือมสูญไปพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ จึงมีความสาคัญอยา่ งยิ่งตอ่ การช่วยสืบต่ออายุพระพทุ ธศาสนา ในพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์น้ี ประกอบด้วยพระธัมมสังคณีพระวิภังค์ พระธาตุกถา พระปุคคลบัญญัติ พระกถาวัตถุ พระยมกและพระมหาปัฏฐาน ซ่ึงมีคากุญแจให้จาดังนี้ “ส วิ ธา ปุ กะ ยะ ปะ”เน้ือหายอ่ ๆ ของแตล่ ะคมั ภรี ์ ซึ่งทาให้เกิดคาสวดมนตม์ ดี งั น้ี พระธัมมสังคณี พระอภิธรรมปิฎก พระคัมภีร์ที่ ๑ ว่าด้วยการรวบรวมธรรมอย่างครบถ้วนบริบูรณ์ โดยแสดงเป็นแม่บทธรรม๓๕๐ บท ทั้งนัยพระอภิธรรมและนัยพระสูตร เช่น กุสลา ธัมมาอกุสลา ธัมมา อัพยากตา ธัมมา ในเรื่องกุศลธรรม พระพุทธองค์ทรงแสดงกุศลจิต ๒๑ ชนิด แต่ในคาสวดมนต์พระธัมมสังคณีเป็นเพียงตวั อย่างของกุศลจิตชนดิ หนึง่ โดยนาลักษณะบางประการของกุศลจิต๒๒ ธรรมะเพือ่ ชีวิต

ชนิดน้ีมาสวดมนต์กันเท่าน้ัน ยังมีคาสวดมนต์ติกมาติกา ซ่ึงก็เป็นแม่บทธรรมของพระธมั มสังคณี และพระอภธิ รรมปิฎก จุดเด่นของพระธัมมสังคณีคือ ถ้าศึกษาเข้าใจแล้ว ทาให้รู้พระธรรมของพระพุทธองค์อย่างถูกต้อง ไม่สับสน และรู้ว่าใครพูดธรรมผิดจากคาสอนของพระพุทธองค์ด้วย (คาสวดมนต์พระธัมมสังคณีนามาจากพระไตรปิฎกเล่มท่ี ๓๔ ขอ้ ท่ี ๑, ๑๖) พระวิภังค์ พระอภิธรรมปิฎก พระคัมภีร์ท่ี ๒ ว่าด้วยการแยกแยะธรรม ๑๘ เรอ่ื ง ซง่ึ ส่วนใหญ่แยกแยะในแง่พระอภิธรรม และในแง่พระสูตร โดยผูกสัมพันธ์กับแม่บทธรรมในพระธัมมสังคณีเพื่อให้เกิดความเข้าใจถูกต้อง พ้นจากความเห็นผิดวิปริตท่ีเป็นเหตุของทุจริตทั้งปวง ในคาสวดมนต์พระวิภังค์นี้ ได้นาธรรมหมวดแรกคอื ขันธ์ ๕ มาสวดมนตเ์ ท่านั้น จุดเด่นของพระวิภังค์คือ การวิเคราะห์หลักธรรม ทั้งแนวพระสูตรเชิงวิชาการและแนวพระอภิธรรม จะเห็นว่าการศึกษาพระอภิธรรมทาให้ได้เครื่องมือตรวจสอบความถูกต้องของธรรมว่า ตรงตามคาสอนของพระพุทธองค์หรือไม่ (คาสวดมนต์พระวิภังค์นามาจากพระไตรปฎิ กเลม่ ๓๕ ข้อที่ ๑-๒) พระธาตุกถา พระอภิธรรมปิฎก พระคัมภีรท์ ่ี ๓ ว่าดว้ ยเคร่อื งทรงพลังของพระธาตุกถา ๑๔ เครื่อง เพื่อนาไปวิเคราะห์หลักธรรม๒๒ หมวด หรือ ๑๒๕ บท ให้รู้เท่าทันธาตุแท้ของชีวิต (ธาตุ)องค์ประกอบแก่นแท้ของชีวิต (ขันธ์ ๕) และตัวเชื่อมให้เกิดมาสร้างปัญญาในคาสวดมนต์ ๒๓

กระบวนการชีวิตจิตใจ (อายตนะ) และยังนาแม่บทธรรมในพระธัมมสังคณี ผ่านเคร่ืองส่องสัจธรรมพระธาตุกถา เพ่ือให้เกิดความแจ่มชัดในแม่บทธรรมยง่ิ ๆ ข้ึน ในคาสวดมนต์พระธาตุกถา ได้นาเคร่ืองทรงพลังของพระธาตุกถา ๘ เครื่อง และช้ินส่วนของเคร่ืองที่ ๑๔ มาสวดมนต์ โดยเคร่ืองท่ี ๑๔ ท้ังเครื่อง คือ วิปฺปยุตฺเตน สงฺคหิต อสงฺคหิต (ธรรมที่สงเคราะห์ได้ ธรรมทีส่ งเคราะห์ไม่ไดด้ ว้ ยธรรมที่ประกอบไมไ่ ด้) แต่ในคาสวดมนต์นาเพียงส่วนท้ายคือ “อสงฺคหิต” มาสวดมนต์กัน (คาสวดมนตพ์ ระธาตุกถานามาจากพระไตรปฎิ กเลม่ ที่ ๓๖ ขอ้ ที่ ๑) พระปุคคลบัญญัติ พระอภธิ รรมปิฎก พระคัมภีร์ที่ ๔ ว่าด้วยการจาแนกบุคคลประเภทต่างๆ อย่างละเอียด ใครท่ีศึกษาแล้วทาให้รู้เท่าทันคน รู้หลักดูคน เพราะรู้เร่ืองบุคคลประเภทต่างๆ ในสากลจักรวาล ก่อนท่ีพระพุทธองค์จะทรงแสดงบุคคลประเภทต่างๆพระองค์ทรงแสดงการบัญญัติธรรมย่อๆ ๖ ประเภท ได้แก่ ขันธบัญญัติ (การบัญญัติองค์ประกอบแก่นแท้ของชีวิต คือ รูปขันธ์ และนามขันธ์) อายตนบัญญัติ (การบัญญัติตัวเช่ือมให้เกิดการรับรู้) ธาตุบัญญัติ (การบัญญัติธรรมชาติท่ีทรงไว้ซ่ึงสภาวะน้ันๆ) สัจจบัญญัติ(การบัญญัติอริยสัจ ๔) อินทริยบัญญัติ (การบัญญัติธรรมชาติท่ีเป็นใหญ่ในหน้าที่ของตน) และบุคคลบัญญัติ (การบัญญัติบุคคลประเภทตา่ งๆ)๒๔ ธรรมะเพอ่ื ชีวิต

ในคาสวดมนต์ได้นาบัญญัติ ๖ มาสวดมนต์กัน โดยสวดปุคลบัญญัติเพียงจานวน ๒๐ บุคคล จากจานวน ๕๔ บุคคล ในกลุ่มจาแนกหนึ่งประเภทเท่าน้ัน คือ ตั้งแต่ สมยวิมุตฺโต (บุคคลผู้หลุดพ้นแบบมีสมัย) จนถึง อรหตฺตาย ปฏิปนฺโน (บุคคลผู้ปฏิบัติเพ่ือเป็นพระอรหันต์) (คาสวดมนต์พระปุคคลบัญญัตินามาจากพระไตรปฎิ กเลม่ ท่ี๓๖ ข้อท่ี ๑, ๗) การที่พระพุทธองค์ทรงนาบุคคลมาจาแนกในพระอภิธรรมแม้จะเป็นความจริงเทียม (สมมุติสัจจะ) แต่เป็นเคร่ืองมือช่วยให้เข้าใจความจรงิ แท้ไม่ให้ผิดพลาด เช่น ทรงบัญญัติบุคคลชื่อว่าปุถุชน คือบุคคลที่หนาด้วยกิเลส จริงอยู่ บุคคลเป็นแค่ความจริงสมมุติหรือความจริงเทียม แต่ทาให้ผู้ศึกษาเข้าใจได้ดีว่า ขันธ์ ๕ ชุดนั้น ซึ่งสมมุติว่าเป็นบุคคลน้ันยังหนาด้วยกิเลส ยังละไม่ได้ ท้ังน้ี เป็นการยืมบุคคลมาทาความเข้าใจความจริงแท้ให้ถูกต้อง และยังป้องกันการเข้าใจผิดในเร่ืองการสูญเปล่าของการให้ผลของกรรม เพราะเมื่อศึกษาว่า ไม่มีตัวตน อาจเข้าใจผิดไปว่า ไม่มีใครเสวยผลของกรรมจริงอยู่ ผลกรรมท่ีเสวยไม่มีตัวตน แต่ก็มีขันธ์ ๕ น้ันๆ เสวยผลของกรรม และขันธ์ ๕ นั้นๆ ก็เกิดจากการสืบต่อของขนั ธ์ ๕ ในอดีตท่ีทากรรมนั้นมา พระพุทธองค์ทรงบัญญัติบุคคลข้ึนมา เพ่ือให้เข้าใจประเด็นสาคัญว่า ใครทากรรมใด ผู้นั้นจะต้องเสวยผลกรรมนั้น จะสับเปลย่ี นให้บคุ คลที่ไม่ไดท้ ามาเสวยผลกรรมแทนไม่ได้ และเพอื่ ให้เหน็ ว่า ขันธ์ ๕ ชดุ น้ันๆ เม่ือทาช่วั ย่อมเสวยผลช่ัว ทาดีย่อมเสวยผลดีมาสรา้ งปญั ญาในคาสวดมนต์ ๒๕

สับกันไม่ได้ ด้วยเหตุน้ี การบัญญัติบุคคลจึงเป็นประโยชน์ต่อการทาความเข้าใจในความเป็นไปของขันธ์ ๕ แต่ละชุดที่ทากรรมไว้ว่า ทากรรมอยา่ งใดกต็ ้องเสวยผลกรรมอยา่ งน้ัน พระกถาวัตถุ พระอภิธรรมปิฎก พระคัมภีร์ท่ี ๕ ว่าด้วยวิธีถามตอบแบบกถาวัตถุ ๒ ๑๙ ข้อ โดยซักไซร้ไล่เลียงให้เกิดสัมมาทิฏฐิ ขจัดความเห็นผดิ ออกไป วิธีถามตอบแบบกถาวตั ถุนี้ เป็นการถามตอบระหว่างฝ่ายเห็นถูกและฝ่ายเห็นผิด โดยฝ่ายเห็นถูกจะมีวิธีถามเพื่อให้ฝ่ายเห็นผิดแสดงความเห็นผิดน้ันออกมา จากนั้นฝ่ายเห็นถูกก็จะถามแบบมีหลักสัจธรรมนาหน้าคาถาม เหมือนช้ีช่องให้เห็นคาตอบที่ถูกต้อง แล้วจึงถามในแบบท่ีทาให้ฝ่ายเห็นผิดตอบถูกขึ้นมา แต่ยังขัดกับคาตอบแรก จากน้ันฝ่ายเห็นถูกจึงช้ีให้ฝ่ายเห็นผิดทราบว่า คาตอบตอนแรกกับตอนหลังไม่รับกัน และช้ีผิด ให้รู้ถูก ให้เหตุผลที่ถกู ต้องตามความเป็นจรงิ วิธีถามตอบแบบกถาวัตถุ ๒๑๙ ข้อนี้ มีเร่ืองเก่ียวกับบุคคลการละกิเลส การตั้งอยู่ของจิต จิตมีอดีตเป็นอารมณ์ จิตมีอนาคตเป็นอารมณ์ การไดก้ ุศลจติ เปน็ ต้น ในคาสวดมนต์พระกถาวัตถุ ได้นาบทแรกเกีย่ วกับการทาให้เกิดความเห็นถูกในประเด็นที่ว่า บุคคลเป็นความจริงสมมุติ ไม่ใช่ความจริงแท้ มาโต้ตอบกัน โดยชี้ผิดให้รู้ถูกเก่ียวกับบุคคลว่า เป็นความจริงเทียม โดยความจริงแท้เป็นเพียงรูปและนามเทา่ น้นั (คาสวดมนตข์ องพระกถาวัตถุ นามาจากพระไตรปฎิ กเลม่ ท่ี ๓๗ ข้อที่ ๑)๒๖ ธรรมะเพ่ือชีวติ

พระยมก พระอภิธรรมปิฎก พระคมั ภีรท์ ่ี ๖ ว่าด้วยธรรมคอู่ ยู่๑๐ เร่ือง ได้แก่ มูลยมก ขันธยมก อายตนยมก ธาตุยมก สัจจยมกสังขารยมก (ว่าด้วยการปรุงแต่งกาย วาจา และใจ) อนุสสยยมก (ว่าด้วยกิเลสท่ีนอนเน่ืองในขันธสันดาน) จิตตยมก (ว่าด้วยเร่ืองจิต)ธัมมยมก (ว่าด้วยกุศล อกุศล และอัพยากต) และอินทริยยมก คาว่ายมก แปลว่า คู่ ซึ่งมี ๓ คู่ คู่แรกคือ คาถามกับคาตอบหนึ่งคู่ คู่สองคือบทต้ังกับบทถามหนึ่งคู่ คู่สามคือ ถามตามกับถามย้อนหน่ึงคู่ พระพุทธองค์ทรงอาศัยวิธีการของยมก เพ่ือให้เข้าใจหลักธรรมที่เข้าถึงแก่นแท้ความเป็นจริงของชีวิต ทาให้พ้นข้อสงสัยในเร่ืองการแก้ไขปัญหาชีวิต และการพัฒนาชีวิต เพื่อบรรลุความสุขสูงสุด คือพระนิพพาน โดยสวดมนต์ตอนต้นของพระคัมภีร์ (คาสวดมนต์พระยมกนามาจากพระไตรปฎิ กเลม่ ท่ี ๓๘ ข้อท่ี ๑) พระมหาปัฏฐาน พระอภิธรรมปิฎก พระคัมภีร์ท่ี ๗ ว่าด้วยการแสดงปัจจัยต่างๆ ของชีวิต ๒๔ ปัจจัย โดยนาแม่บทธรรมจากพระธัมมสังคณีมาแสดงเป็นปัจจัยที่ทาให้เกิดผลต่างๆ โดยแสดงกลับไปกลับมาด้วยอานาจของปัจจยั ต่างๆ โดยพิจารณาจากปัจจัยน้ันโดยตรง และไม่ใช่ปัจจัยน้ัน ทาให้ทราบถึงเหตุของความทุกข์ เหตุของความสุขของชีวิต เหตุท่ีทาให้เกิดความเป็นมา ความเป็นอยู่ และความเป็นไปของชวี ิตต่างๆ ไม่ว่าเหตุในอดีตชาติ ในปจั จุบันชาติ และในอนาคตชาติ ตลอดถึงเหตุที่ทาให้พ้นจากวัฏฏสงสารอย่างละเอียดพิสดาร ในคาสวดมนต์ได้นาปัจจัย ๒๔ มาสวด เริ่มต้ังแต่เหตุปจฺจโยมาสรา้ งปญั ญาในคาสวดมนต์ ๒๗

จนถึงอควิคตปจฺจโย (คาสวดมนต์พระมหาปัฏฐานนามาจากพระไตรปิฎกเลม่ ท่ี ๔๐ ข้อท่ี ๑)บทที่ ๓การแก้ไขปญั หาของการฟังสวดมนตพ์ ระอภิธรรม ในสภาพสังคมไทยปัจจุบัน มีการสวดพระอภิธรรมหน้าศพอนั เป็นประเพณีสืบต่อกันมา การนาธรรมช้ันสูง ซงึ่ เป็นท่ีดาเนินของพระบรมญาณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาบูชาเคารพศพผู้ตายน้ัน ถือวา่ เป็นการแสดงความกตญั ญูกตเวทีอย่างสูง เมอื่ เจา้ ภาพได้จัดงานสวดพระอภิธรรมหน้าศพขึ้น ได้เชิญญาติมิตรสหาย ผู้รู้จักมาร่วมงาน หรือคนที่รู้จักผู้ตายมาร่วมบาเพ็ญกุศลสวดศพ ดังนั้นสังคมการสวดมนต์พระอภิธรรมหน้าศพ จึงเป็นสังคมของมหากุศลจิตท้งั ของฝา่ ยเจ้าภาพ และฝา่ ยผ้มู าร่วมงาน เพราะมีเจตนาท่เี สยี สละ อย่างไรก็ตาม แม้หลักการมาฟังสวดพระอภิธรรมหน้าศพเป็นการเจริญกุศลธรรม แต่ก็มีปัญหาหลายประการ ในท่ีน้ีจะหยิบยกปัญหาการฟังสวดมนต์พระอภิธรรมหน้าศพบางประการมาพิจารณาเพื่อจะได้ค้นหาสาเหตุ และหาแนวทางแก้ไขปัญหาการฟังสวดพระอภธิ รรมหน้าศพต่อไป๓.๑ ปัญหาการฟงั สวดมนต์พระอภธิ รรมหน้าศพ ปัญหาสาคัญของการฟังสวดมนต์พระอภิธรรมหน้าศพท่ีเกิดขึน้ ในปัจจุบัน อาจสรุปออกเป็น ๓ ข้อคอื ข้อทีห่ นง่ึ การไม่รวู้ ิธีฟังสวดพระอภธิ รรม คอื ไมร่ ้วู ิธีวางใจ๒๘ ธรรมะเพือ่ ชีวติ

ข้อท่ีสอง อกุศลประท้วงเงียบ คือ เกิดความรู้สึกเบ่ือหน่ายไมส่ นใจ งว่ ง หลบั ราคาญ อึดอดั หงดุ หงิด และ ข้อที่สาม อกุศลประท้วงดัง คือ ส่งเสียงแข่งกับการสวดพระอภธิ รรม ซึง่ จะอธิบายขยายความในแต่ละปญั หา ดงั น้ี ๑) ปัญหาการไม่รู้วิธีฟังสวดพระอภิธรรม คือ การไม่รู้วิธีวางใจให้แยบคาย (โยนิโสมนสิการ) ในการฟังคาสวดพระอภิธรรมกล่าวคือ เม่ือมาน่ังฟังสวด ก็พนมมือ สายตาก็มองไปตามความอยากจิตใจก็คิดฟุ้งเรื่องน้ันเร่ืองน้ี โดยไม่มีการวางใจให้แยบคายในขณะฟังสวด แม้ตนจะฟังไม่รู้เร่ือง แต่ถ้ารู้จักวางใจอย่างแยบคาย ก็จะเกิดมหากศุ ลจติ แทนที่จะปล่อยให้เกิดอกุศลจติ ไปตามกเิ ลสของตน ๒) ปัญหาอกุศลประท้วงเงียบ คือการเกิดความรู้สึกเบ่ือหน่ายกับการมาฟังสวด บางรายน่ังฟังด้วยความอึดอัด เพราะอาจตัวใหญ่ ต้องน่ังสารวม จะกระดุกระดิกตามต้องการก็ไม่ได้ บางรายนั่งสปั หงกหรอื หลับ หลายคนมาโดยมารยาท ก่อนจะมารถก็ติดเสียเวลาบางคนคิดในใจก่อนมาว่า ต้องมาน่ังฟังสวดศพอีกแลว้ น่าเบื่อจะตายแต่ไม่ไปก็ไม่ได้ เด๋ียวจะขัดใจกัน บางคนจาต้องมา มิฉะนั้นอาจจะเสียสังคม หรืออาจเสียหายต่อธุรกิจสัมพันธ์ หรือเสียหายต่อการงานทต่ี ้องติดตอ่ สมั พันธ์กัน ๓) ปัญหาอกุศลประท้วงดัง คือการส่งเสียง (คุยกัน) แข่งกับการสวดมนต์พระอภิธรรม หากจะมองในมุมของการสังสรรค์ญาติมิตร งานสวดศพเป็นการเปิดโอกาสให้ได้มาพบปะญาติมิตร ทาให้มาสรา้ งปัญญาในคาสวดมนต์ ๒๙

เกิดการกระชับมิตรไมตรีจิต นี่ก็เป็นผลพลอยได้ไม่น่าจะเป็นปัญหาแต่ก็เกิดปัญหาข้ึน คือ การพูดคุยจนเกินเลยกว่าท่ีควรจะเป็น บางคนคุยส่งเสียงดัง บางคนถือโอกาสนาสุรามาดื่มในงานศพก็มี แทนที่จะเป็นการชุมนุมทาบุญกุศล กลับมาร่วมกันสร้างอกุศลจิต และรบกวนแขกผู้อ่นื ทีม่ ารว่ มงานสวดศพอยา่ งบรสิ ทุ ธใ์ิ จด้วย๓.๒ สาเหตขุ องปัญหาการฟงั สวดพระอภธิ รรมหน้าศพ สาเหตุของปัญหามีหลายประการ สาเหตุท่ีสาคัญท่ีสุด คือการไม่เข้าใจในคาสวดมนต์พระอภิธรรมหน้าศพ และขาดความเข้าใจพระธรรมว่าด้วยการวางใจอย่างแยบคายในการฟังธรรม หรือในการฟังสวดมนต์พระอภธิ รรมหน้าศพ ไม่รจู้ ักนาคาสวดมนต์มาทาสมาธจิ ติ เพ่ือใหจ้ ิตสงบ เบาใจ ผอ่ นคลายความตึงเครยี ด๓.๓ แนวทางการแก้ไขปัญหาการฟังสวดพระอภิธรรม แนวทางการแก้ไขปัญหาการฟังสวดมนต์พระอภิธรรมที่จะกล่าวต่อไปน้ี เป็นการพิจารณาไปในแนวทางของการแก้ไขปัญหานี้ในปัจจุบัน คือ ให้มีการสวดมนต์พร้อมคาแปล และให้มีการพูดธรรมะประกอบการสวดมนต์พระอภิธรรม แต่การแก้ไขเช่นนี้ มีข้อพึงระวังคือ อย่าทาให้เป็นการแก้ไขปัญหาที่สร้างปัญหาใหม่ให้เกิดขึ้น ซ่ึงบางทีร้ายแรงกว่าปัญหาเก่า และไม่ควรทาลายประเพณีส่วนท่ีดีงามให้หมดไป อย่างไรก็ตาม จะเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหานี้ ท้งั ในระยะส้นั และในระยะยาว ๑) แนวทางการแกไ้ ขปญั หาโดยทว่ั ไปและขอ้ พึงระวัง๓๐ ธรรมะเพอ่ื ชวี ิต

ปัจจุบันนี้ มีบางคนเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาการฟังสวดมนต์พระอภิธรรมหลายแนวทาง บางท่านบอกว่า เวลาสวดมนต์ให้มีคาแปลด้วย เพราะคาสวดเป็นภาษาบาลี ฟังไม่รู้เร่ือง แต่ถา้ มีการสวดมนต์พร้อมด้วยคาแปล คาแปลหลายตอนฟังก็ ไม่รู้เรื่องเหมือนกัน ถึงกระน้ันบางคนบอกว่า ก็ยังดีกว่าฟังไม่รู้เร่ืองท้ังหมดประเด็นน้ีน่าคิดว่า เม่ือมีคาแปลแล้ว ก็ใช่ว่าจะรู้เร่ืองอยา่ งดี บางทีฟังคาแปลรู้เรื่องบางตอน แต่ไม่รู้เรื่องท้ังหมด อาจทาให้เกิดปัญหาใหม่ข้ึนมา คือ ชวนให้เกิดความเข้าใจผิดในหลักสัจธรรม และทาให้เกิดความเห็นผิดข้ึนมาได้ เพราะคาสวดมนต์พระอภิธรรมบางตอนเป็นการนาบางส่วนมาโดยละข้อความบางส่วน ถ้าไม่ได้ศึกษาให้เกิดความเข้าใจดพี อ แม้จะแปลเป็นภาษาไทยหมดกอ็ าจไมร่ ู้ ไม่อาจเขา้ ใจในบางข้อความ จะต้องศึกษาจึงเข้าใจ ดังน้ัน ทางแก้ไขจึงมิใช่จะต้องมีคาแปล หรือไม่มีคาแปล แต่อยู่ท่ีวา่ จุดหมายของการฟังสวดมนต์ที่สาคัญคืออะไร คนฟังสวดมนต์โดยไม่เข้าใจในคาสวดมนต์นั้น จะสามารถบรรลุจุดหมายของการฟังสวดมนต์ได้หรือไม่ ประเด็นน้ีน่าจะสาคัญมากกว่า เมื่อพิจารณา จุดหมายของการฟังสวดมนต์ แล้ว ในหลักคาสอนขององค์สมเดจ็ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงแนะพทุ ธบรษิ ัทให้เข้าถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ให้มีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง ไม่ต้องมีอย่างอ่ืนเป็นที่พึ่ง เพราะพระรัตนตรัยเป็นส่ิงสูงสุดที่แท้จริงของการเป็นท่ีพึ่งของชีวิตแล้ว จึงไม่จาเป็นต้องหาสิ่งอ่ืนมาเป็นที่พึ่งมาสร้างปญั ญาในคาสวดมนต์ ๓๑

ทัง้ นี้การเข้าถึงพระธรรมมีหลายวธิ ดี ว้ ยกนั คือ วิธีท่ีหน่ึง ศึกษาทาความเข้าใจพระธรรมให้ดี เพื่อจะได้รู้จักนาพระธรรมมาใชใ้ นการดารงชวี ติ อย่างถกู ตอ้ งและปลอดภยั วิธีท่ีสอง นาพระธรรมมาปฏิบัติให้เหมาะกับอัตภาพของแต่ละบุคคล วิธีที่สาม บาเพญ็ กุศลอน่ื ๆ ตามหลกั บุญกริ ิยาวัตถุ ๑๐ ไม่ว่าจะใช้วิธีใดในสามวิธีนี้ ควรใช้วิธีที่ส่ีควบคู่ไปด้วยในทุกกรณี คอื ใหร้ ะลึกถึงคุณของพระธรรมไม่ว่าจะศึกษาธรรม ปฏิบัติธรรม บาเพ็ญกุศลอื่นๆ ให้ระลึกว่า “พระธรรมมีคุณประโยชน์แก่ชวี ิตอยา่ งแท้จริง” ผูใ้ ดรูแ้ จ้งธรรมแลว้ กจ็ ะเข้าถึงพระพุทธ และเขา้ ถึงพระสงฆ์ด้วย สมด่ังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า ผู้ใดเห็นธรรม ผู้น้ันเห็นตถาคต พระธรรมทีท่ รงสอนดว้ ยพระโอษฐ์ของพระพุทธองค์ จึงเป็นของสงู ทีค่ วรบชู า เม่ือเราได้ฟังพระธรรมท่ีเปน็ พระพุทธพจน์โดยตรง แม้ยังไม่ร้เู ร่ืองก็ใช่ว่าจะเสียประโยชน์ ควรวางใจอย่างแยบคาย ดว้ ยการระลึกถึงเสียงสวดมนต์แล้วโน้มในใจระลึกว่าพระธรรมมีคุณ เพียงแค่ระลึกถึงเสียงสวดพระอภิธรรม ซ่ึงเป็นพระธรรมท่ีสูงท่ีสุดในพระบวรพระพุทธศาสนา แล้วโน้มในใจระลึกว่า พระธรรมมีคุณๆๆภาวนาในใจเช่นนี้บ่อยๆ ไม่ต้องไปตีความหมาย หรือแปลความหมายของคาสวดมนต์ใดๆ เลย ถ้าไปตีความ จิตจะไม่มีโอกาสทาสมาธิภาวนา การวางใจระลึกในคุณของพระธรรมบ่อยๆ น้ี ก็จะ๓๒ ธรรมะเพือ่ ชีวิต

ช่วยให้มาศึกษาพระธรรมและปฏิบัติธรรมในส่วนที่ตนไม่เข้าใจให้เจริญย่ิงๆ ขึ้นได้ ด้วยเหตุผลดังกล่าว พระโบราณาจารย์จึงให้เราฟังเสียงสวดมนต์โดยไม่มีคาแปลน้ี เพราะจุดหมายสาคัญที่ซุกซ่อนอยู่ ก็คือ ให้ชาวพุทธรู้จักฟังคาสวดมนต์พร้อมทาสมาธิแบบธรรมานุสสติ คือระลึกถึงพระธรรมมีคุณ ย่อมสร้างประโยชน์ยิ่งกว่าการฟังสวดมนต์แปลเฉยๆ อีกหลายร้อยหลายพนั เท่า ดังนั้น การท่ีแนะให้มีคาสวดมนต์แปลน้ัน จึงเป็นการทาให้จิตใจของเราจับความหมายหลายอารมณ์ขณะฟัง และอาจฟังคาแปลไม่รู้เร่ือง ถ้ามิได้ศึกษามาก่อน ย่ิงคาแปลบางตอนตัดตอนมาฟังไม่ดีเกิดเห็นผิดในพระธรรมข้ึนมา แม้จะทราบถึงความหวังดีของท่านที่ให้มีการสวดมนต์แปล แต่ก็ไม่ควรละเลยคุณค่าของการฟังสวดมนต์ที่ไม่ต้องแปล ซึ่งทาให้สามารถเจริญสมาธิภาวนาด้วยธรรมานุสสติในขณะฟังสวดมนต์ได้ การที่พระโบราณาจารย์ให้เราฟังสวดมนต์โดยไม่แปลน้นั กม็ ีประโยชนม์ าก ถ้ารู้จกั วางใจอย่างแยบคายดังกล่าว มีบางท่านเสนอวธิ ีแก้ไขการฟังคาสวดพระอภิธรรมหน้าศพโดยให้มีการพูดธรรมประกอบ เพ่ือให้ผู้ฟังเกิดความเข้าใจธรรมดียิ่งข้ึน นี่ก็เป็นวิธีแก้ไขวิธีหนึ่งได้เช่นกัน แต่ต้องระวัง เพราะอาจกลายเป็นการแก้ไขปัญหาที่จะสร้างปัญหาใหม่ให้เกิดข้ึน และเป็นการทาลายการสืบทอดพุทธพจน์โดยตรง ในรูปประเพณีสวดมนต์พระอภิธรรมหนา้ ศพทบ่ี รรพบรุ ษุ ของเราอุตสา่ หส์ รา้ งข้ึนมาดว้ ยมาสร้างปัญญาในคาสวดมนต์ ๓๓

จากประสบการณ์ของผู้เขยี นพบว่า มีข้อที่ควรระวังอยา่ งยง่ิ ก็คือ คาสวดมนต์เป็นคาพุทธพจน์โดยตรง สมบูรณ์ด้วยอรรถและพยัญชนะ เม่ือมีคาสวดมนต์ อย่างน้อยก็มีพุทธพจน์อยู่ในใจของท่านผูส้ วดมนต์ ผฟู้ งั ก็พลอยได้อานิสงส์จากการฟังพทุ ธพจน์โดยตรง โดยผา่ นทางการฟังสวดมนต์ แม้จะรู้เร่ืองหรือไม่รู้เร่ืองก็ตาม อย่างน้อยก็ใหส้ งั คมยอมรบั วา่ พทุ ธพจนท์ ี่อยู่ในคาสวดมนตม์ คี วามสาคัญ แต่เมื่อมีการนารายการพูดธรรมมาแทรก ก็พบว่ามีการพูดแข่งกับพุทธพจน์ มิใช่แข่งดี แตแ่ ขง่ ในเชิงขัดแยง้ กับพุทธพจน์ ทาให้ผ้ฟู งั ท่ีไมเ่ ข้าใจธรรมดีพอ เชือ่ คาสอนผิดๆ ไป นึกวา่ พระพุทธเจา้ ตรัสไว้เช่นนั้น จึงมีความเห็นผิดไป ผลที่ตามมา คือ ฟั งสวดมนต์ไม่รู้เรื่อง แต่ฟังการพูดธรรมท่ีมีความเห็นผิดรู้เรื่อง ย่อมได้ผลเสียมากกว่าผลดี ปัญหานี้เป็นปัญหาใหม่ที่เกิดตามมา กลายเป็นว่า การแก้ไขปัญหาการฟังสวดพระอภิธรรมด้วยการมีรายการพูดธรรมกลับสร้างปัญหาใหม่ให้เกิดขึ้นมา คือความเข้าใจผิดในพระธรรม ซึ่งเป็นปัญหาทรี่ ้ายแรงกวา่ ปญั หาท่จี ะแกไ้ ขอกี ประเด็นนี้ต้องระมัดระวังอย่างย่ิง การแก้ไขปัญหานี้ ข้อสาคัญจึงอยู่ที่ผู้พูดธรรมควรศึกษาให้มีความเข้าใจอย่างถ่องแท้เสียก่อนท่ีจะพูดธรรม การศึกษาพระอภิธรรมจะเป็นเครื่องช่วยให้พูดธรรมได้อย่างถูกต้อง สมดั่งที่พระมหาโมคคัลลานะกล่าวว่า ผู้พูดธรรม ถ้าไม่ศึกษาพระอภิธรรมจะพูดธรรมสับสนผิดพลาดได้ง่ายพระพุทธองค์ทรงสาธุการว่า ถูกต้องแล้วโมคัลลานะๆ ถ้าผู้พูดธรรม๓๔ ธรรมะเพ่อื ชีวิต

ยงั ไมแ่ น่ใจในข้อธรรมใด ควรหลีกเล่ียงการพดู ข้อธรรมน้นั หรือต้องซักถามผู้รจู้ รงิ ให้เข้าใจถอ่ งแท้เสียกอ่ น ตามท่ีผู้เขียนเคยประสบมา มีการพูดธรรมในงานสวดศพอยู่สองงานที่พูดธรรมขัดแย้งกัน และไม่ตรงตามเนื้อความในพระไตรปิฎกด้วย ย่ิงปัจจุบันมีหลายสานึกศึกษาปฏิบัติธรรมแบบใช้ความเห็นของอาจารย์ผู้สอนเป็นใหญ่ ไม่ใส่ใจใยดีคาสอนของพระพุทธองค์โดยตรงตามพระไตรปิฎก จึงทาให้เกิดการพูดธรรมหลายแนวขึ้นมา พูดถูกตอ้ งตามพุทธพจน์ก็มี พดู ผดิ เพ้ยี นไปกม็ ี ฉะนน้ั หากเนน้ ให้มีการพูดธรรมในงานศพเป็นใหญ่ จะต้องระวังผลท่ีตามมา เนื่องจากการแบ่งแยกสานักพูดธรรมในงานศพเหมือนกับสานักศกึ ษาปฏบิ ัติธรรมกไ็ ด้ ดังน้ัน หากจะพูดธรรมในงานศพ ขอให้พูดตรงตามพุทธพจน์ ย่ิงพูดเชิญชวนให้ผู้ฟังสวดพระอภิธรรมหน้าศพ รู้จักวางใจอยา่ งแยบคายในการฟัง ก็ยง่ิ ดี ๒) การแก้ไขปัญหาระยะสนั้ และระยะยาว หลักหรือแนวทางการแก้ไขปัญหาการฟังสวดพระอภิธรรมหน้าศพ คือ ให้แก้ไขด้วยการขจัดสาเหตุของปัญหานั้น ได้แก่ การแก้ไขปญั หาระยะสั้น และการแก้ไขปัญหาระยะยาว การแก้ไขปัญหาระยะส้ัน คือ ให้รู้จักวางใจอย่างแยบคายในการฟังสวดมนต์พระอภิธรรมหนา้ ศพ โดยจัดสื่อการศึกษาสร้างความเขา้ ใจในคาสวดมนต์ในเวลาอันสน้ั เช่น จัดทาหนังสือท่ีช่วยให้เข้าใจมาสรา้ งปญั ญาในคาสวดมนต์ ๓๕

คาสวด หนังสือน้ีจะต้องมีคาอธิบายด้วยภาษาง่ายๆ และมีตัวอย่างประกอบด้วย นอกจากนี้ ควรจัดให้มีการประยุกต์คาสวดมนต์พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ มาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจาวันด้วย หนังสือที่ทา่ นมอี ยู่น้ี ถือว่าเปน็ หนังสอื เลม่ หน่ึงท่ชี ่วยแก้ไขปญั หาระยะส้นั ของการไปฟังสวดมนต์พระอภิธรรม นอกจากน้ีก่อนฟังคาสวดมนต์พระอภิธรรม น่าจะมีการแนะนาวิธีวางใจอย่างแยบคายในการฟังคาสวดมนต์พระอภิธรรม หรือแนะวิธีทาสมาธิด้วยการนาเสียงสวดมนต์มาทาให้จิตตั้งมั่น โดยอาศัยสื่อมวลชน สถาบันการศึกษา องค์กรที่เกยี่ วขอ้ งมาชว่ ยกนั แนะวธิ วี างใจดงั กลา่ วแก่ประชาชนท่ัวไป การแก้ไขปัญหาระยะยาว คือ ให้มีการศึกษาพระอภิธรรมพระสูตร พระวินัยท้ังระบบ ไม่ว่าระบบการศึกษาของทางโลกหรือทางธรรม เป็นการปฏิรูปการศึกษาพระพุทธศาสนาให้ชาวพุทธ มีพทุ ธธรรมอยู่ในใจ ไมใ่ ช่แคอ่ ยู่ในตูพ้ ระไตรปิฎกเท่านน้ั เมื่อชาวพุทธมีความเข้าใจในพระไตรปิฎก โดยเฉพาะอย่างยงิ่ ในส่วนของพระอภิธรรมแล้ว เวลาฟังสวดมนต์พระอภิธรรมย่อมมคี วามซาบซ้งึ ดื่มด่าในเสียงสวดมนต์ ปัจจุบันนี้ มีชาวพุทธเพียงส่วนน้อยที่มีโอกาสศึกษาพระอภิธรรม และได้สวดมนต์พระอภิธรรมท่ีบ้านอยู่เป็นประจา เวลาไปฟังสวดมนต์พระอภิธรรมที่วัด ก็จะเกิดจิตโสมนัสปีติ และมีความเข้าใจในคาสวดมนต์พระอภิธรรม แต่ถ้ามีการแก้ไขทั้งระบบ ชาว๓๖ ธรรมะเพื่อชวี ติ

พทุ ธส่วนใหญ่ก็จะได้รับประโยชน์จากการฟังสวดมนต์พระอภิธรรมด้วยปัญญาอันส่องทางประเสริฐของชีวติ ได้ *** *** *** *** ***มาสรา้ งปัญญาในคาสวดมนต์ ๓๗


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook