Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ธรรมะเพื่อชีวิต เล่มที่ ๖๐

ธรรมะเพื่อชีวิต เล่มที่ ๖๐

Published by CCDKM, 2018-04-02 03:44:19

Description: ฉบับวันวิสาขบูชา ๒๕๕๒
ชาดกเรื่องต่างๆ (เล่ม ๗)

Search

Read the Text Version

ธรรมะเพอ่ื ชีวติ เล่มท่ี ๖๐ ฉบบั วันวิสาขบชู า ๒๕๕๒ชาดกเรื่องตา่ งๆ (เลม่ ๗)จดั ทาโดยมูลนิธพิ ทุ ธศาสนศึกษา วัดบุรณศิริมาตยาราม

ธรรมชาติส่วนพิเศษของมนุษย์ คือเป็นสัตว์ที่ฝึกได้ ตรงนี้สาคญั มาก ถา้ พูดอย่างภาษาสมัยใหมก่ ็ใช้คาวา่ “เป็นสตั ว์ที่พฒั นาได้”ไมใ่ ชจ่ มอยกู่ ับที่ แตเ่ ปลยี่ นแปลงได้ในเชงิ คุณภาพ หรือเรยี กว่าเป็นสัตว์พเิ ศษกไ็ ด้ พิเศษคือแปลกจากสัตว์ชนิดอื่น คือสัตว์ชนิดอ่ืนไม่เหมือนมนุษย์ สัตว์มนุษย์น้ีแปลกจากสัตว์อื่น แปลกหรือพิเศษอย่างไร พิเศษในแง่ท่วี า่ สตั วอ์ ่ืนฝึกไม่ไดห้ รือฝกึ แทบไม่ได้ แต่มนุษย์นฝ้ี ึกได้ คาว่า “ฝกึ ” นี้พดู อยา่ งสมยั ใหม่ไดแ้ กค่ าว่า เรยี นรแู้ ละพัฒนาพูดตามคาหลักแท้ๆ คือ ศึกษา หรือสิกขา พูดรวมๆ กันไปว่า เรียนรู้ฝึกหัดพัฒนา หรอื เรยี นร้ฝู ึกศึกษาพัฒนา พูดส้นั ๆ ว่า มนุษย์เป็นสัตวท์ ีฝ่ ึกได้ และต้องฝึก สัตว์อื่นแทบไม่ต้องฝึก เพราะมันอยู่ได้ด้วยสัญชาตญาณ พอเกิดมาปบั๊ เรียนรจู้ ากพอ่ แมน่ ดิ หน่อย เดี๋ยวเดยี วมันกอ็ ยู่รอดได้ อยา่ งลูกววั คลอดออกมา ๒-๓ นาทีลุกขนึ้ เดนิ ได้ ไปกับแม่แล้วห่านออกจากไข่เช้าวันนั้น พอสายหน่อยวิ่งตามแม่มันลงไปในสระเลยวงิ่ ได้ ว่ายน้าได้ หากินตามพ่อตามแมม่ นั เลย แต่มันอยู่ได้ด้วยสัญชาตญาณ เรียนรู้ได้นิดเดียว แค่พอกินอาหารเป็นต้น แต่ต่อจากนั้นมันฝึกไม่ได้ เรียนรู้ไม่ได้ เพราะฉะนั้นมันจงึ อยดู่ ว้ ยสัญชาตญาณตลอดชีวิต เกดิ มาอยา่ งไรก็ตายไปอย่างน้นั

แต่มนุษย์นี้ต้องฝึก ต้องเรียนรู้ ถ้าไม่ฝึก ไม่เรียนรู้ ก็อยู่ไม่ได้ไม่ต้องพูดถึงจะอยู่ดี แม้แต่รอดก็อยู่ไม่ได้ มนุษย์จึงต้องอยู่กับพ่อแม่อยู่กบั พเ่ี ลี้ยงเป็นเวลานับสิบปี พอออกมาดูโลก มนุษย์ทาอะไรไม่ได้เลย ต้องเรียนรู้ทุกอย่างกินก็ต้องเรียนรู้ ต้องฝึกต้องหัด นั่ง นอน ขับถ่าย เดิน พูด ต้องฝึกต้องเรียนรู้ท้ังหมด น่ีคือธรรมชาติของมนุษย์ เป็นสัตว์ท่ีต้องหัดต้องฝึกไปทุกอย่าง มองในแงน่ ้เี หมอื นเป็นสตั วท์ ่ีดอ้ ย แตเ่ ม่ือมองในแง่บวก คอื เรียนรู้ได้ ฝกึ ได้ ตอนน้ีเปน็ แง่เด่น คือพอฝึก เริ่มเรียนรู้ คราวน้ีมนุษย์ก็เดินหน้า มีปัญญาเพ่ิมพูนข้ึน พูดได้สื่อสารได้ มีความคิดสร้างสรรค์ ประดิษฐอ์ ะไรๆ ได้ มนุษย์สามารถพัฒนาโลกแห่งวัตถุ เกิดเทคโนโลยีต่างๆ มีความเจริญท้ังในทางนามธรรม และทางวัตถุธรรม มีศิลปะวิทยาการเกิดเป็นวัฒนธรรม อารยธรรม จนกระท่ังเกิดเป็นโลกของมนุษย์ ซ้อนข้นึ มาทา่ มกลางโลกของธรรมชาติ สัตว์อื่นท้ังหลาย มีหรือไม่ท่ีสามารถสร้างโลกของมันต่างหากจากโลกของธรรมชาติ...ไม่มี มันเกดิ มาด้วยสัญชาตญาณอยา่ งไร ก็ตายไปดว้ ยสญั ชาตญาณอย่างนน้ั หมนุ เวียนกนั ตอ่ ไป แต่มนุษย์เป็นสัตว์พิเศษ คือต้องฝึก ต้องเรียนรู้ และเรียนรู้ได้ ฝกึ ได้(จาก “ถ้ารจู้ กั พระพุทธศาสนา ความสขุ ตอ้ งมาทันท”ี พระพรหมคณุ าภรณ์(ป.อ.ปยตุ ฺโต))

สารบญั ๖ ๓๓ราชาบณั ฑติ ๔๐ดาบสขอร่มมนต์อาจารย์

ราชาบัณฑติเรียบเรียงจาก พระสูตรและอรรถกถา (แปล) ขุททกนิกาย เล่มท่ี ๓ ภาคท่ี ๔ติกนิบาตชาดก สังกัปวรรค เรอ่ื งที่ ๗ คามณิจนั ทชาดก “สัตว์ตัวนี้ไม่ฉลาดท่ีจะทาเรือน มีปกติหลุกหลิก หนังท่ีหน้า ย่น พึงประทษุ ร้ายของที่เขาทาไวแ้ ล้ว ตระกูลสัตว์น้ีมีอย่างนั้นคเปน็ ธรรมดา” >>>>> <<<<< ร้ังหนึ่ง ขณะทพ่ี ระบรมศาสดาประทับอยู่พระเชตวันวิหาร ภิกษุทั้งหลายท่ีอยู่ในธรรมสภาต่างนั่งสนทนาสรรเสริญถึง พระปัญญาของพระพุทธเจ้าว่า พระทศพลทรงมีพระ ปัญญามาก มีพระปัญญาร่าเริง มีพระปัญญาไว มีพระปัญญากล้าแข็ง มีพระปัญญาชาแรกกิเลส ก้าวล่วงโลกน้ีพร้อมท้ังเทวโลกด้วยพระปัญญา คร้ันพระศาสดาเสด็จมาทรงทราบเร่ืองนั้นแล้วตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย มิใช่ในบัดน้ีเท่านั้น แม้ในกาลก่อนตถาคตก็มีปัญญาเหมอื นกนั ” แล้วทรงนาเรอื่ งในอดตี มาตรสั เล่าดงั น้ีพระกุมารน้อย อดีตกาลนานมาแล้วพระโพธิสัตว์บังเกิดในพระครรภ์ของพระอัครมเหสีของพระเจ้าชนสันธะพระราชาผู้เป็นใหญ่แห่งเมืองพาราณสีเมื่อคราวประสูติพระโพธิสัตว์ทรงได้รับการขนานนามว่า อาทาสมุขกุมาร เพราะพระพักตร์ของพระกุมารมีความงามอันเลิศ เกลี้ยงเกลา

บริสุทธ์ิดุจแว่นทองคา ภายในเวลา ๗ ปี พระชนสันธะผู้เป็นพระราชบิดาทรงให้พระกุมารศึกษาพระเวททั้ง ๓ และสิ่งท้ังปวงที่จะพึงทาในโลก คร้ันพระกุมารมีพระชันษาได้เพียง ๗ ปี พระราชาก็เสด็จสวรรคตอามาตย์ทั้งหลายได้ถวายพระเพลิงพระบรมศพอย่างสมพระเกียรติแล้วถวายทานอุทิศเพื่อพระราชา ในวันที่ ๗ น้ันเองเหล่าอามาตย์ต่างมาประชุมหารือเกี่ยวกับพระราชาองค์ใหม่ ท่ีประชุมเห็นว่า พระกุมารยังเด็กเกินไป อาจไม่สามารถปกครองบ้านเมืองได้ เหล่าอามาตย์จึงยังไม่อภิเษกพระกุมารให้ครองราชสมบัติในทันที แต่คิดจะทดลองพระกุมารก่อน หากพระกุมารมีพระปรีชาสามารถจริงก็จะอภิเษกให้เป็นพระราชาอุบายคร้งั ท่ี ๑ วันหน่ึงเหล่าอามาตย์ไดจ้ ัดการตกแต่งพระนครแล้วจัดสถานที่วินิจฉัยคดี ตกแต่งบังลังก์ แล้วไปทูลพระกุมารว่า “ขอเดชะ ข้าพเจ้าท้ังหลายขอทูลเชิญพระกุมารเสด็จไปยังท่ีวินิจฉัยคดีด้วยเถิด พระเจ้าข้า” พระกมุ ารรบั คาแล้วเสด็จไปพร้อมบริวารเป็นอนั มาก คร้ันพระกุมารประทับน่ังบนบังลังก์แล้ว อามาตย์ทั้งหลายก็เอาลิงท่ีเดิน ๒ เท้าได้ตัวหนึ่งให้แต่งตัวเป็นอาจารย์ผู้มีวิชาดูที่ จากนั้นก็นาลิงมาเข้าเฝ้าพระกุมารและกราบทูลว่า “ขอเดชะ พระกุมารผู้เจริญ ในสมัยพระชนกของพระองค์ บุรุษผู้น้ีเป็นอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญวิชาดูท่ี สามารถรู้คุณและโทษในท่ีท่ีมีรัตนะ ๗ สถานท่ีอันเป็นท่ีตั้งวังของราชตระกูลก็ได้อาศัยบุรุษผู้น้ีจัดการท้ังสิ้น ขอพระองค์จง

สงเคราะหบ์ ุรษุ นี้ โปรดสถาปนาไว้ในตาแหน่งดว้ ยเถิด” พระกุมารแลดูบุรุษนั้นอย่างพินิจพิเคราะห์ มองดูทั้งเบื้องล่างและเบื้องบนก็ทรงทราบว่า น้ไี ม่ใช่มนุษย์ แต่เป็นลิง พระกุมารทรงดาริว่า ธรรมดาลิงย่อมรู้แต่จะทาลายส่ิงท่ีเขาทาไว้ ย่อมไม่รู้จักทาหรือจัดส่งิ ท่เี ขายังไมไ่ ด้ทา จงึ กล่าวแก่เหลา่ อามาตย์ว่า “สตั ว์ตัวน้ีไม่เฉลียวฉลาดท่ีจะทาเรือน มปี กติหลุกหลิก หนังท่ีหน้ายน่ ธรรมดาตระกูลลงิ น้มี ีสภาวะอย่างนี้คือ ชอบทาลายสงิ่ ที่เขาทาไวใ้ หพ้ นิ าศ” อามาตย์เหล่าน้ันจึงทูลว่า “ขอเดชะ เป็นดังพระดารัส พระเจ้าข้า” จากนั้นก็ให้นาลงิ ออกไปอบุ ายคร้งั ท่ี ๒ คร้ันผ่านไปสองวันอามาตย์ก็ให้แต่งตัวลิงนั้นเพ่ือนาไปเข้าเฝ้าพระกุมารในสถานที่วินิจฉัยคดี แล้วกราบทูลว่า “ขอเดชะ ในสมัยพระบิดาของพระองค์ บุรุษนี้เป็นอามาตย์ผู้วินิจฉัยอรรถคดี กระบวนการวินิจฉัยของบุรุษผู้น้ีเป็นไปด้วยความเรียบร้อยดี สมควรท่ีพระองค์จะทรงอนเุ คราะห์ให้ทาหน้าทว่ี นิ ิจฉยั อรรถคดีต่อไป” ฝ่ายพระกุมารแลดูแล้วก็รู้ว่า คนท่ีเป็นมนุษย์สมบูรณ์มีความคิด ย่อมไม่มีขนเห็นปานน้ี แม้ผู้น้ีคงเป็นลิงท่ีไม่มีความคิด จะไม่สามารถทากจิ ในการวนิ ิจฉยั คดไี ด้ จงึ ตรสั วา่ “ขนอย่างนี้ไม่ใช่ขนของสัตว์ที่มีความคิดอันประกอบด้วยปัญญาเป็นเคร่ืองพิจารณา ก็ธรรมดาของสัตว์เดรัจฉานย่อมไม่มี

ความคิด ลิงตัวน้ีจะทาให้ผอู้ ่ืนปลอดโปร่งใจไม่ได้ เพราะไม่สามารถเป็นที่พึ่งหรือพร่าสอนให้ผู้อื่นโล่งใจได้ พระราชบิดาของเราทรงสอนไว้ว่าธรรมดาลิงยอ่ มไม่ร้จู ักเหตุอนั ใดอันหน่ึง” อามาตย์ท้ังหลายไดฟ้ ังดังน้ันแล้วก็กราบทูลว่า “ขอเดชะ เป็นเชน่ น้นั พระเจา้ ข้า” เสรจ็ แล้วกน็ าลิงนน้ั ออกไปอบุ ายครง้ั ท่ี ๓ อยู่มาวันหนึ่งอามาตย์ทั้งหลายก็ตบแต่งลิงตัวนั้นอีกแล้วนามาเขา้ เฝ้าพระกมุ ารกราบทูลว่า “ขอเดชะ เมอื่ ครง้ั พระชนกมหาราช บรุ ุษนี้ได้บาเพ็ญหน้าที่บารุงบิดามารดา เป็นผู้กระทาความอ่อนน้อมต่อผู้เจริญในตระกูล พระองค์สมควรอนเุ คราะห์บุรุษน้ี” พระกุมารฟังคาแล้วจึงมองลิงตัวน้ัน ทรงดาริว่า ธรรมดาลิงทั้งหลายมีจิตใจกลับกลอก ไม่สามารถทาการงานเช่นนี้ได้ จึงกล่าวขึ้นว่า “สัตว์เช่นน้ันจะพึงเล้ียงดูบิดามารดา หรือพี่ชายพ่ีสาวของตนไม่ได้พระเจ้าชนสันธะผเู้ ปน็ พระชนกของเราสง่ั สอนไว้เช่นนี้” อามาตย์ทั้งหลายจึงกราบทูลว่า “ขอเดชะ เป็นเช่นพระดารัสนนั้ พระเจ้าข้า”

พระราชาบัณฑติ ค รั้ น อ า ม า ต ย์ เห ล่ า นั้ น ใ ห้ น า ลิ ง อ อ ก ไป แ ล้ ว จึ ง ป ร ะ ชุ มปรึกษาหารือกันแล้วเห็นว่า พระกุมารเป็นบัณฑิตทรงพระปรีชา จักสามารถครองราชสมบัติได้ ด้วยเหตุนี้เอง เหล่าอามาตย์ท้ังหลายจึงพากันอภิเษกพระกุมารให้ครองสิริราชสมบัติ แล้วให้ทหารเท่ียวตีกลองป่าวประกาศท่ัวพระนครว่า “นี่เป็นอาณาจักรของพระเจ้าอาทาสมุข” นับแต่น้ันเป็นต้นมาพระกุมารก็เสด็จขึ้นครองราชย์ ปกครองบา้ นเมอื งโดยธรรมสม่าเสมอ กิตติศัพท์ของพระเจ้าอาทาสมุขจึงเลื่องลือระบือแพร่ไปทั่วชมพูทวีปว่า พระเจ้าอาทาสมุขเป็นบัณฑิต เฉลียวฉลาด และเพื่อแสดงความที่พระองค์เป็นบัณฑิตจะนาเร่ืองต่างๆ ที่แสดงถึงพระปัญญาของพระองค์มากลา่ วไว้ดังน้ีคือ๑. เร่ืองโค ๒. เร่ืองบุตร ๓. เรื่องม้า ๔. เรื่องช่างสานเส่ือ ๕. เรือ่ งนายบา้ นสว่ ย ๖. เร่ืองหญงิ คณิกา ๗. เร่ืองหญิ งรุ่นสาว ๘. เรื่องงู๙. เรื่องเน้ือ ๑๐. เรื่องนกกระทา ๑๑. เร่ืองรุกขเทวดา ๑๒. เร่ืองพญานาค ๑๓. เรือ่ งดาบสมตี บะ ๑๔. เร่อื งพราหมณ์มาณพ

๑. เรือ่ งโค ในครัง้ น้นั ยังมชี ายคนหน่ึงช่ือวา่ คามณจิ ันท์ เขาเคยเป็นข้ารับใช้ในสมัยพระเจ้าชนสันธะ เม่ือพระเจ้าอาทาสมุขเสด็จเสวยราชสมบัติแล้ว นายคามณิจันท์ก็เกิดความคิดอย่างน้ีว่า ธรรมดาความเป็นพระราชาย่อมจะงดงามคู่กับคนที่มีวัยเสมอกัน ส่วนตนนั้นเป็นคนแก่แล้ว คงไม่เหมาะที่จะบารุงพระกุมารหนุ่ม อย่ากระน้ันเลยตนแก่แล้วควรทากสิกรรมเลี้ยงชีวิตอยู่ในชนบทจะดีกว่า ครั้นคิดเช่นนี้แล้วนายคามณิจันท์จึงออกจากวัง ไปอาศัยอยู่ในหมู่บ้านแห่งหน่ึงไกลจากพระนคร ๖ โยชน์ เลี้ยงชีพด้วยการทานา แต่เพราะเขาเป็นคนยากจนมากจงึ ไม่มีแม้แต่โคท่จี ะใชไ้ ถนา วนั หนึ่งฝนตกลงมาเขาจึงไปขอยืมโค ๒ ตัวจากเพื่อนคนหนึ่งที่กาลังไถนาอยู่ ในวันน้ันตลอดทั้งวันเขาใช้โคท้ังสองไถนา เมื่อไถนาเรียบร้อยแล้วก็ให้โคกินหญ้าจากน้ันจึงนาไปคืนท่ีบ้านเจ้าของ เม่ือไปถึง โคท้ังสองก็เดินเข้าคอกด้วยความคุ้นเคย ส่วนเจ้าของโคกาลังนั่งบรโิ ภคอาหารอยกู่ ับภรรยา นายคามณจิ นั ทเ์ หน็ เช่นนั้นก็คิดว่าถ้าสหายของเราเห็นเราก็คงจะเช้ือเชิญเราให้ร่วมบริโภคอาหารเป็นแน่แท้ เราควรกลับก่อนดกี ว่า ครั้นคิดดังน้ีแล้วจึงรบี กลับทันทีโดยท่ียังไม่ได้กล่าวมอบโคคืนให้แก่เจ้าของ ก็ในคืนนั้นเองบังเอิญพวกโจรได้มาลักโคเหล่านั้นไปเสีย ครั้นรงุ่ เช้าเจา้ ของโคไม่เห็นโคเหลา่ นัน้ แต่ท้ังๆ ทรี่ ูอ้ ย่วู ่าโคถูกโจรลัก ก็กลับ

คิดจะไปปรับเอาสินไหมกับนายคามณิจันท์ เขาจึงไปหานายคามณิจันท์แล้วพูดข้ึนว่า “ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงมอบโคท้ังสองคืนแก่ขา้ พเจา้ ” นายคามณิจันท์ “ก็โคทงั้ สองเขา้ บ้านไปแล้วมใิ ชห่ รือ?” เจ้าของโคจึงถามว่า “ท่านมอบโคเหล่านั้นคืนแก่ข้าพเจ้าแล้วหรอื ?” นายคามณิจนั ท์ “ยงั ไมไ่ ดม้ อบ” เจ้าของโคจึงพูดขึ้นว่า “ถ้าอย่างน้ันเร่ืองน้ีเป็นความอาญาสาหรับท่าน ท่านจงตามเรามา เราไปเฝ้าพระราชาดัวยกันให้พระองค์ตดั สินคดีน้ี” ธรรมเนียมในสมัยน้ันมีว่า ถ้ามีใครยกเอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นก้อนกรวดหรือเศษกระเบ้ืองก็ตามแล้วพูดว่า “น่ีเป็นความอาญาสาหรับท่าน ท่านจงมา” หากผู้ท่ีถูกกล่าวหาไม่ไป ก็จะถูกลงอาญา ด้วยเหตุนี้นายคามณิจันท์พอได้ฟังว่านี้เป็นความอาญาสาหรับท่าน เขาจึงต้องออกไปกบั เจ้าของโคนั้นทนั ที๒. เรอื่ งบตุ ร ระหว่างทางขณะที่เดินผ่านบ้านของสหายคนหน่ึง นายคามณิจันท์เกิดความหิวครอบงาจึงพูดแก่เจ้าของโคว่า “น่ีแน่ะ ท่านผู้เจริญข้าพเจ้าหิวเหลือเกิน ขอท่านจงรออยู่ที่นี่ก่อน ข้าพเจ้าจะเข้าไปทานข้าวในบ้านของสหายแล้วรีบกลับมา” ครั้นกล่าวแล้วเขาก็เข้าไปยังบ้านของสหายนนั้

ฝ่ายหญงิ ท้องผู้เป็นภรรยาของสหายออกมาหานายคามณิจันท์เม่ือทราบธุระของนายคามณิจันท์แล้ว หญิงท้องจึงกล่าวว่า “ข้าแต่นาย สามีของข้าพเจา้ ไม่อย่บู ้าน ทา่ นจงรอสกั ครู่ ดิฉันจักหุงข้าวใหท้ า่ นเด๋ียวนแ้ี หละ” นางรีบไต่พะองข้ึนไปบนฉางข้าว ด้วยความรีบทาให้พลัดหล่นลงมา ครรภ์ ๗ เดือนของนางก็ตกไป นางกแ็ ท้งบุตร ณ ท่นี ั้นเอง สามีของนางกลับมาเห็นพอดีจึงร้องข้ึนด้วยความโกรธว่า“คามณิจันท์ ท่านทาให้นางแท้งลูก น้ีเป็นความอาญาของทา่ น ท่านจงมา” เขาพูดแล้วจึงนานายคามณิจันท์น้ันออกไป คนทั้งสองให้นายคามณจิ นั ทอ์ ย่กู ลาง สว่ นเขาทั้งสองเดนิ ขนาบข้าง๓. เร่ืองมา้ ขณะท่ีคนทั้งสามกาลังเดินผ่านประตูบ้านของคนเล้ียงม้าแห่งหนึ่ง คนเล้ียงม้าไม่สามารถต้อนม้าของตนให้กลับเข้าบ้านได้ และม้าก็กาลังเดินเข้าไปหาคนเหล่าน้ัน คนเล้ียงม้าจึงตะโกนขึ้นว่า “ลุงคามณิจันท์ ม้าของข้าพเจ้ามันไม่ยอมกลับบ้าน แต่กลับเดินไปหาพวกท่านทา่ นช่วยเอาอะไรก็ไดป้ ามา้ ตวั นใ้ี หก้ ลบั มาทีเถดิ ” นายคามณิจันท์ได้ยินดังน้ันจึงหยิบเอาก้อนหินก้อนหนึ่งขว้างออกไป บังเอิญก้อนหินไปถูกขาม้า ขาม้าจึงหักทันที คนเล้ียงม้าเห็นเช่นน้ันจึงพูดขึ้นด้วยความโกรธว่า “ท่านทาม้าของเราขาหัก น้ีเป็นความอาญาสาหรบั ท่าน” แล้วจึงจบั ตัวนายคามณจิ นั ท์ไป

๔. เรือ่ งชา่ งสานเสอื่ ระหว่างทางนายคามณิจันท์ก็คิดว่า “คนเหล่าน้ีพาเราไปหาพระราชาเพื่อตดั สินคดี อันตัวเราก็ลาบากยากจนขนาดนล้ี าพังแค่ค่าโคเราก็ไม่มเี งินจะจ่าย จะกล่าวไปไยถึงความอาญาท่ีทาให้หญิงสหายของเราแทง้ หรอื แม้แต่ค่าม้าเราจะเอาเงินมาจากไหน เราจะทาอยา่ งไรดี สู้ตายเสยี ยงั จะดกี วา่ ” ครั้นนายคามณิจันท์ได้เห็นภูเขาลูกหนึ่ง ข้างหน้ามีหน้าผาสูงชัน ก็หมายจะฆ่าตัวตายจึงพูดกับคนท้ังสามว่า “ข้าพเจ้าปวดท้องจะถ่ายอุจจาระ ขอท่านทั้งหลายจงรออยู่ท่ีน่ีสักครู่หน่ึงจนกว่าข้าพเจ้าจะกลับมา” พดู จบนายคามณิจันท์ก็รีบข้นึ ไปบนหน้าผาสูงน้ันแล้วกระโดดลงไปหมายจะให้ตัวตาย แต่บังเอิญ ใกล้ๆ ทางในดงนั้นมีช่างสานเสื่อพ่อลูกกาลังนั่งสานเสื่อลาแพนอยู่ใต้หน้าผานั้น ทาให้เขากลับหล่นไปบนหลังของช่างสานผู้เป็นพ่อ และทาให้ช่างสานผู้พ่อถึงแก่ความตายทันที ส่วนนายคามณิจันท์กลับไม่ตาย คร้ันลุกขึ้นได้ก็จะเดินไปเสียฝา่ ยบตุ รชา่ งสานเห็นดงั นน้ั จึงรีบพดู ข้นึ วา่ “ท่านเป็นโจรฆ่าพ่อฉัน ท่านทาให้พ่อฉันตาย จะหนีไปไหน น่ีเป็นความอาญาสาหรับท่าน” กล่าวจบก็จับมือนายคามณิจันท์ไว้ลากออกมาจากพุม่ ไมท้ นั ที นายคามณิจนั ทพ์ ดู ว่า “นมี่ ันอะไรกนั ”

บตุ รช่างสานพูดด้วยความโมโหว่า “เจ้าเป็นโจรฆ่าพ่อขา้ พวกเราสานเส่อื อยดู่ ีๆ เจ้าก็มาฆ่าพอ่ ขา้ ตาย” ก็เป็นอันว่า คนท้ังส่ีก็กุมตัวนายคามณิจันท์เอาไว้ให้อยู่ตรงกลาง โดยพวกเขาพากันล้อมไวเ้ พอื่ พาไปเฝ้าพระราชาให้วินจิ ฉัยคดี๕. เร่ืองนายบา้ นสว่ ย ก็ในระหว่างทางท่ีจะไปเฝ้าพระราชา พวกเขาเดินผ่านประตูบ้านแห่งหน่ึง นายบ้านส่วยมองเห็นนายคามณิจันท์เดินมาก็พูดว่า “ลุงคามณจิ นั ทจ์ ะไปไหน?” นายคามณจิ ันท์ “จะไปเฝ้าพระราชา” นายบ้านสว่ ย “ท่านจะไปเฝา้ พระราชาจริงหรอื ” นายคามณิจันท์ “จริงสิ” นายบ้านส่วยจึงรีบพูดขึ้นด้วยความดีใจว่า “ข้าพเจ้ามีเรื่องขอร้องท่าน ถ้าท่านจะไปเฝ้าพระราชา ข้าพเจ้าประสงค์จะถวายสาสน์แดพ่ ระองค์ ทา่ นจะนาไปบอกพระองค์แทนข้าพเจา้ ไดห้ รือไม่” นายคามณจิ ันท์ “ได้สิ ข้าพเจ้าจะนาไปให้” นายบ้านส่วยจึงพูดต่อไปว่า “แต่ก่อนน้ัน ข้าพเจ้ามีรูปงาม ไม่มีโรค มีทรัพย์สมบูรณ์ด้วยยศศักด์ิ แต่ว่ามาบัดน้ีกลับกลายเป็นคนยากจนเข็ญใจ เป็นโรคผอมเหลือง ขอท่านจงทูลความน้ีแก่พระราชาแล้วจงถามพระองค์ว่าเพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนี้ ข้าพเจ้าได้ยินมาว่าพระราชานี้เป็นผู้ฉลาด เป็นบัณฑิต พระองค์คงจะตรัสบอกแกท่ ่านเป็น

แน่แท้ ขอท่านจงบอกคาของพระราชาน้ันแก่ข้าพเจ้าด้วย” นายคามณิจันทร์ บั ปากแล้วก็เดินทางตอ่ ไป๖. เร่ืองหญิงคณกิ า ขณะน้ันเองก็มีหญิงคณิกาคนหน่ึงยืนอยู่ท่ีประตูบ้าน นางเห็นนายคามณจิ นั ท์จงึ ถามว่า “ลุงคามณจิ ันท์ ท่านจะไปไหนกัน” นายคามณิจนั ทต์ อบว่า “ขา้ จะไปเฝา้ พระราชา” หญิงคณิกาดใี จจึงพดู ว่า “เขาร่าลือกนั ว่า พระราชาของเราน้ันเป็นบัณฑิตผู้ชาญฉลาด ถ้าเช่นน้ันขอท่านจงนาข่าวสาสน์ของดิฉันไปกราบทลู พระราชาด้วยเถิด” นายคามณิจันท์รับปาก หญิงคณิกาจึงบอกปัญหาของตนว่า“แต่ก่อนนั้นข้าพเจ้าได้คา่ จ้างมากมาย มาบัดน้ีแม้แต่หมากพลูสักคา ก็ยังไม่ได้รับเลย ไม่มีใครมาหาสักคนเลย ขอท่านจงทูลถามพระราชาว่าน้ีเป็นเพราะเหตุใด ครั้นพระองค์ไขความแล้วพึงกลับมาบอกแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด” นายคามณจิ นั ท์รับคาแลว้ ก็เดนิ ทางต่อไป๗. เรื่องหญิงรนุ่ สาว ต่อมาคณะของนายคามณิจันท์เดินผ่านไปยังประตูบ้านแห่งหน่ึง มีหญิงสาวคนหนึ่งเห็นนายคามณิจันท์ นางได้ถามและขอฝากขา่ วไปถึงพระราชาเหมือนคนก่อนๆ ว่า “ข้าพเจ้าไม่สามารถอยู่บ้านของสามี และไม่สามารถอยู่ในบ้านของบิดามารดาตนเองได้ ขอท่านจงทูลถามพระราชาถึงเร่ืองน้ี ว่าทาไมถึงเป็นเช่นนี้ พระราชาทรงพระปรีชา

จะต้องรู้ถึงความน้ีเป็นแน่แท้ คร้ันเมื่อพระองค์ตรัสส่ิงใดขอท่านจงนาความนั้นมาบอกแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด” นายคามณิจันท์ตอบตกลง แล้วจึงหลีกไป๘. เรอ่ื งงู ระหว่างทาง คณะของนายคามณิจันท์เดินผ่านจอมปลวกใกล้ทางใหญ่แห่งหน่ึง ก็มีงูตัวหน่ึงซ่ึงอาศัยอยู่ในจอมปลวกน้ันเห็นนายคามณิจันทจ์ ึงถามว่า “ทา่ นคามณจิ นั ท์ๆ จะไปไหนกันล่ะ” นายคามณิจันทต์ อบว่า “จะไปเฝ้าพระราชา” งไู ด้ยินดังนน้ั จึงพูดดว้ ยความยินดวี ่า “ไดข้ า่ ววา่ พระราชาเป็นบัณฑิต ถ้าเช่นน้ันขอท่านจงช่วยนาปัญหาของข้าพเจ้าไปทูลถามพระองค์ด้วยเถิด พระองค์จะต้องช่วยข้าพเจ้าได้แน่ๆ เพราะใครๆ ก็พูดวา่ พระราชาเป็นผรู้ อบรู้ เปน็ ผูม้ ปี ัญญามาก” นายคามณิจันท์รับปาก งูจึงกล่าวว่า “ในเวลาท่ีข้าพเจ้าจะออกไปหาอาหาร ข้าพเจ้าถูกความหิวแผดเผามีร่างกายเหี่ยวแห้ง แต่ขณะท่ีจะออกจากจอมปลวกกลับเต็มคับปล่อง เคลื่อนตัวออกด้วยความยากลาบากย่ิง ครั้นเท่ียวหากินจนอิ่มหนา ร่างกายอ้วนพีแล้วจึงกลับมา ปรากฏว่ากลับเข้าจอมปลวกได้อย่างง่ายดาย ทั้งๆ ท่ีร่างกายสมบรู ณ์แต่ไม่กระทบกระทั่งข้างปล่องเลย ขอทา่ นจงทูลถามความน้ีแก่พระราชาว่า ด้วยเหตุอันใดจึงเป็นเช่นนี้ แล้วโปรดกลับมาบอกคาตอบแก่ข้าพเจ้าผู้น่าสงสารด้วยเถิด” นายคามณิจันท์รับคาน้ันแล้วเดินทางตอ่ ไป

๙. เรือ่ งเนอ้ื ต่อมาเมื่อคณะของนายคามณิจันท์เดินผ่านป่า ก็มีเน้ือตัวหนึ่งเห็นนายคามณิจันท์ เนื้อตัวนั้นได้ไต่ถามเหมือนพวกก่อนๆ และฝากปัญหาให้นายคามณิจันท์ทูลถามพระราชาว่า “ข้าพเจ้าไม่สามารถไปกินหญ้าในที่อื่นๆ ได้เลย ข้าพเจ้ากินได้เฉพาะหญ้าท่ีโคนต้นไม้ต้นนี้เทา่ นัน้ ขอทา่ นพงึ ทลู ถามว่า เพราะเหตุใดถึงเป็นเช่นน้ัน เมือ่ ไดค้ าตอบแล้วพึงกลับมาหาข้าพเจ้าแล้วบอกความนั้นแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด” นายคามณจิ ันทต์ กลงตามน้ัน แล้วกจ็ ากไป๑๐. เร่อื งนกกระทา ลาดับนั้นเองยังมีนกกระทาตัวหน่ึงจับอยู่จอมปลวกข้างหน้านกกระทาเห็นนายคามณิจันท์ก็ฝากถามปัญหาของตนว่า “ข้าพเจ้าสามารถจับอยู่ท่ีจอมปลวกได้เพียงแห่งเดียวเท่าน้ัน ไม่สามารถไปอยู่ท่ีอื่นได้เลย เพราะเมื่อจับอยู่ที่จอมปลวกนี้ข้าพเจ้ารู้สึกอยู่ได้อย่างสบายอกสบายใจ ขอท่านพึงถามความนี้แก่พระราชาผู้เป็นบัณฑิตว่า ด้วยเหตุใดข้าพเจ้าถึงไม่สามารถไปอยู่ที่อื่นได้ และเม่ือได้คาตอบแล้วขอท่านพึงแจ้งแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด” นายคามณิจันท์รับคาแล้วเดินทางต่อไป

๑๑. เร่ืองรุกขเทวดา ต่อมาคณะของนายคามณิจันท์ได้เดินทางผ่านป่า ขณะน้ันเองมีรุกขเทวดาตนหนึ่งอาศัยอยู่ต้นไม้ข้างหน้ามองเห็นนายคามณิจันท์จึงร้องถามว่า นายคามณิจันท์จะไปไหน คร้ันรู้ว่าจะไปเฝ้าพระราชา รุกขเทวดาก็พูดข้ึนว่า “เขาเล่าลือกันว่า พระราชาเป็นผู้ฉลาด ขอท่านจงบอกความน้ีแก่พระองค์ด้วยว่า เม่ือก่อนข้าพเจ้าได้รับลาภสักการะมากมาย แต่ขณะน้ี แม้แต่ใบไม้อ่อนสักกามือหนึ่งก็ยังไม่ได้เลย ขอท่านชว่ ยทลู ถามพระองค์ผู้เป็นบัณฑิตว่า เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น” นายคามณิจันท์รบั ปาก จากนนั้ กเ็ ดนิ จากไป๑๒. เรอื่ งพญานาค นายคามณิจันท์และคณะเดินผ่านสระน้าแห่งหนึ่ง ในสระน้าแห่งนี้มีพญานาคอาศัยอยู่ พญานาคน้ันแลเห็นนายคามณิจันท์แล้วก็ถามเหมือนดังพวกก่อนๆ แล้วจึงกล่าวปัญหาของตนว่า “ได้ยินว่าพระราชาเปน็ บัณฑติ โปรดทูลถามพระองคว์ า่ เมื่อก่อนน้าในสระแหง่ น้ีใสดังแก้วมณี มาบัดน้ีน้าน้ันกลับขุ่นมัว มีจอกแหนปกคลุมไปท่ัว ท่านพึงขอให้พระองค์ทรงไขปัญหานั้น แล้วนาความมาบอกแก่ขา้ พเจ้าด้วยเถิด” นายคามณิจนั ทร์ บั ปากแลว้ จงึ เดินทางตอ่ ไป

๑๓. เร่ืองดาบสมตี บะ ในท่ีใกล้พระนครน้ันเอง ยังมีเหล่าดาบสอาศัยอยู่ในอารามแห่งหน่ึง ดาบสเหล่าน้ันแลเห็นนายคามณิจันท์เดินผ่านมา จึงทักทายและฝากปัญหาเช่นเดียวกับพวกก่อนๆ ว่า “เขาพูดกันว่า พระราชาของเราเป็นคนฉลาดรอบรู้ ฉะน้ันขอพระองค์เป็นท่ีพึ่งแก่เรา ขอท่านจงถามพระองค์ว่า แต่ก่อนบรรดาผลไม้ทั้งหลายในอารามแห่งน้ีอร่อยมรี สหวาน แต่เพราะเหตุใดมาบัดนี้จึงกลับมรี สเฝือ่ น มรี สฝาด ไม่อร่อยไม่เป็นรสเลย แล้วนาคาน้ันมาบอกแก่พวกข้าพเจ้าด้วยเถิด” นายคามณิจันทร์ ับคาแลว้ จงึ หลกี ไป๑๔. เรือ่ งพราหมณ์มาณพ ลาดบั น้ันขณะเดนิ ผ่านศาลาใกล้ประตูพระนคร ซงึ่ มพี ราหมณ์มาณพทั้งหลายอาศัยอยู่ พราหมณ์เหล่าน้ันเห็นนายคามณิจันท์เดินมาแล้วจึงทักทายและฝากถามปัญหาดังเชน่ พวกก่อนๆ วา่ “เม่ือก่อนน้ีพวกเราร่าเรียนมนต์แล้ว ย่อมสามารถทรงจาได้เป็นอย่างดี แต่เด๋ียวนี้กลับไม่สามารถทรงจาอะไรๆ ได้เลย เหมือนน้าในหม้อทะลุ ย่อมปรากฏเหมือนความมืดมนอนธการ ขอท่านจงทูลถามพระราชาผู้มีปัญญาของเราถึงเร่ืองนั้นว่าเป็นเพราะเหตุอันใด แล้วนาความนั้นกลับมาบอกแก่พวกข้าพเจ้าด้วยเถิด” นายคามณิจันท์ยินดีรับคาน้ันแล้วจึงเดนิ ทางเข้าส่พู ระนคร

ก็เป็นอันว่า การไปเข้าเฝ้าพระราชาของนายคามณิจันท์น้ัน มีคดคี วามของตนเอง ๔ เรอื่ ง และปัญหาของผู้อืน่ ๑๐ เรื่องพระราชาบณั ฑติ ในท่ีสุดคณะของนายคามณิจันท์กเ็ ดินทางมาถึงพระนคร พวกโจทก์ทั้งหลายพานายคามณิจันท์ไปเฝ้าพระราชายังสถานที่วินิจฉัยคดีฝ่ายพระราชาเห็นนายคามณิจันท์ก็ทรงจาได้จึงดาริข้ึนว่า นายคามณิจันท์คนน้ีเป็นข้ารับใช้ของพระราชบิดาของเรา พอเราขึ้นครองราชสมบัติแล้วก็ไม่เห็นเขาอีกเลย ตลอดเวลาที่ผ่านมาเขาไปอยู่ที่ไหนหนอพระเจา้ อาทาสมขุ จงึ ตรสั ถามนายคามณิจันทว์ ่า “ท่านคามณิจันท์ผู้เจริญ ตั้งแต่เราเป็นพระราชาท่านไปอยู่ไหน เราจึงไม่ได้เห็นท่านนานมากเลย แล้วท่านมาท่ีนี่ด้วยประสงค์ส่ิงใดหรือ?” นายคามณิจันท์จึงกราบทูลว่า “ขอเดชะ พระอาญาไม่พ้นเกล้า จาเดิมแต่พระชนกของพระองค์เสด็จสู่สวรรคาลัยแล้ว หม่อมฉันไปอาศัยอยใู่ นชนบททากสิกรรมเลยี้ งชีพ พระเจ้าขา้ และที่หม่อมฉนั มาในวันนี้ก็เพราะต้องความอาญา บรรดาโจทก์ทั้งหลายจึงนาหม่อมฉันมาเฝา้ พระองค์เพอ่ื ให้ตัดสนิ คดีความพระเจ้าข้า” พระราชาตรัสว่า “เออ ดี นี่ถ้าท่านไม่ถูกจบั กมุ ตัวมากค็ งไม่มาหาเราสินะ เพราะฉะนั้นการท่ีท่านต้องคดีอาญาถูกกุมตัวมา น่ีแหละจึงเป็นเรือ่ งด”ี

คดีโค ครั้นแล้วพระราชาก็ถามต่อไปว่า “เอาล่ะ เราจะวินิจฉัยคดีเจ้าของโคโจทก์ของท่านอยู่ที่ไหนล่ะ?” นายคามณิจันท์ “อยู่น่ีพระเจ้าขา้ ” พระราชาตรสั ถามว่า “ท่านผู้เจริญ ได้ยินวา่ ท่านฟ้องความอาญาแก่นายคามณจิ ันทข์ องเราหรือ” เจา้ ของโค “จริงพระเจ้าขา้ ” พระราชา “เพราะเหตุใด” เจ้าของโค “เพราะนายคามณิจนท์คนน้ียังไม่ได้คืนโค ๒ ตัวที่ยมื ไปใหแ้ ก่ข้าพระองค์ พระเจ้าข้า” พระราชาจึงหันไปถามนายคามณิจนั ท์ว่าจรงิ หรือไม่ นายคามณิจันท์ตอบว่า “ขอเดชะ ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์โปรดฟังหม่อมฉันอธบิ ายกอ่ นเถิด พระเจา้ ข้า” ครั้นแล้วนายคามณิจันท์จึงเล่าเร่ืองน้ันตั้งแต่ยืมโค ๒ ตัวจากเจ้าของโค จนกระท่ังนาโคท้ังสองกลับบ้านให้พระราชาทรงทราบ เมื่อพระราชาได้ฟังคานั้นก็ตรัสถามเจ้าของโคว่า “ท่านผู้เจริญ เมื่อโคเข้าไปในบ้านของทา่ น ทา่ นเห็นหรือเปลา่ ” เจา้ ของโค “ไม่เหน็ พระเจา้ ข้า” พระราชาจึงตรัสว่า “ท่านไม่เคยได้ยินคนอื่นเขาพูดถึงเราบ้างหรอื ทา่ น จงบอกความจรงิ มาเถดิ ” เจ้าของโคทราบกิตติศัพท์ของพระราชาน้ันดีจึงรีบพูดว่า “ข้าพระองค์เห็น พระเจา้ ข้า”

พระราชา “เอาละท่ีน้ีเราจะตัดสินความ พวกเจ้าจงฟัง คามณิจันท์ ด้วยเหตุที่ท่านไม่มอบโคน้ันให้เจ้าของ จึงปรับค่าโคเป็นสินไหมสาหรบั ท่าน แตบ่ ุรุษน้ีสิ ท้งั ๆ ท่ีเห็นก็ยังกล่าวมสุ า พูดโกหกทง้ั ๆ ท่ีรอู้ ยู่ฉะน้ันให้ท่านนั่นแหละเป็นผู้ควักนัยน์ตาทั้งสองข้างของบุรุษนี้ทิ้งเสียส่วนตวั ทา่ นใหจ้ ่ายเงิน ๒๔ กหาปณะเพือ่ เป็นคา่ โค” ฝ่ายเจ้าของโคได้ฟังคาตัดสินนั้นก็คิดข้ึนว่า เมื่อเราถูกควักลูกตาเสียแล้ว เงินสินไหมค่าโคท่ีได้จะเอาไปทาไม เจ้าของโคจึงหมอบลงแทบเท้าของนายคามณิจันท์แล้วพูดว่า “ท่านคามณิจันท์ กหาปณะค่าโคนั้นจงเป็นของท่านเถิด และจงเอากหาปณะเหล่าน้ีของข้าพเจ้าไปด้วย ข้าพเจ้าผิดไปแล้ว” ครั้นแล้วก็มอบเงินให้นายคามณิจันท์ ขอให้นายคามณจิ ันทย์ กโทษนน้ั ให้แก่ตนแล้วกจ็ ากไปคดบี ตุ ร ตอ่ มาบรุ ุษคนท่ี ๒ ผู้เป็นสหายของนายคามณิจันท์จึงกราบทูลว่า “ขอเดชะ ฝ่าบาท นายคามณิจันท์คนนี้ทาให้บุตรของข้าพระองค์ต้องตาย ภรรยาผู้ตั้งครรภ์ได้ ๗ เดือนของหม่อมฉันต้องมาแท้งเพราะนายคามณจิ นั ทค์ นนีท้ ีเดียว พระเจ้าข้า” พระราชา “จรงิ หรอื คามณจิ ันท์” นายคามณิจันท์ทูลว่า “ขอเดชะ ข้าแต่มหาราช โปรดฟังหม่อมฉนั ชี้แจงก่อน พระเจ้าขา้ ” ครั้นแล้วนายคามณิจันท์จึงเล่าความนั้นให้พระราชาฟังจนหมดสิ้น ฝ่ายพระราชาไดฟ้ ังคาน้นั แล้วจึงตรสั ถามบุรุษคนท่ี ๒ ว่า

“ท่านผู้เจริญ เรื่องที่นายมณิจันท์ทาให้ครรภ์ของภรรยาท่านตกไป ท่านสามารถทาให้เกิดมีขึ้นใหม่ได้หรือไม่” บุรุษคนท่ี ๒ ตอบ“ไมอ่ าจทาได้ พระเจ้าขา้ ” พระราชาถาม “แลว้ มาบัดน้ี ท่านจะทาอย่างไร” บุรุษคนที่ ๒“ขา้ พระองค์ตอ้ งการบตุ รคนื มา พระเจ้าขา้ ” พระราชาจึงกล่าวว่า “ดีล่ะ ถ้าเช่นน้ันคามณิจันท์ ท่านจงเอาภรรยาของบุรุษผู้นี้ไปไว้ในเรือนของท่าน แล้วในเวลาที่นางคลอดบุตรจงนาบุตรน้นั มาใหบ้ รุ ษุ ผ้นู ้ี” ฝ่ายบุรุษคนที่ ๒ ได้ฟังดังน้ันจึงหมอบลงแทบเท้านายคามณิจันท์แล้วพดู ขึ้นวา่ “โอ้ นายจา๋ ท่านอยา่ ได้ทาลายเรือนของเราเลย เราผิดไปแล้ว” บุรุษผู้เป็นสหายนั้นจึงมอบเงินให้แก่นายคามณิจันท์แล้วรบี หลีกไปคดีมา้ ถดั มาบุรษุ คนที่ ๓ คือชายเล้ียงม้าจงึ เข้ามากราบทูลพระราชาว่า ขอเดชะ ข้าแต่สมมติเทพ นายคามณิจันท์คนน้ีได้ทาเท้าม้าของข้าพระองค์หักไป พระเจ้าข้า” พระราชาฟังคากล่าวหานั้นแล้วก็ถามนายคามณิจนั ท์วา่ “เจา้ ทาขามา้ หัก จริงหรอื ” นายคามณิจันท์จึงพูดว่า “ขอเดชะ ข้าแต่เทวะ ขอพระองค์โปรดฟังหม่อมฉันก่อนเถิด พระเจ้าข้า” นายคามณิจันท์จึงกราบทูลเรอ่ื งราวให้พระราชาทรงทราบโดยละเอียด ครัน้ พิจารณาแล้วพระราชาจงึ ถามชายเลยี้ งมา้ ว่า “เขาว่าทา่ น

พูดว่า จงขวา้ งม้าให้กลับจริงหรือ” ชายเล้ียงม้า “ขอเดชะ ข้าพระองค์ไมไ่ ดพ้ ูด พระเจ้าข้า” พระราชาจึงถามซ้าอีกครั้งว่า “จริงหรือว่า เจ้าไม่ได้พูด เจ้าแน่ใจนะ” ชายเล้ียงม้ากลัวจึงยอมรับว่า “ขอเดชะ พระอาญามิพ้นเกล้า ข้าพระองค์พูด พระเจ้าข้า” พระราชาจึงกล่าวว่า “คามณิจันท์เจ้าจงมานี่ บุรุษผู้น้ีพูดแล้วกลับกล่าวมุสาวาทว่าไม่ได้พูด ท่านจงตัดลิ้นของเขาออกมา แล้วเอาของทม่ี ขี องเราเปน็ คา่ มา้ หนง่ึ พันกหาปณะให้แกบ่ รุ ุษนไี้ ป” ฝ่ายชายเล้ียงม้าฟังคาตัดสินนั้นแล้วก็ตกใจกลัวจึงกราบแทบเท้านายคามณิจันท์แล้วพูดว่า “ข้าแต่ท่านคามณิจันท์ ขอท่านจงยกโทษน้ันแก่ข้าพเจ้าแล้วท่านจงเอากหาปณะเหล่าน้ีของข้าพเจา้ ไปเถิด”ครนั้ ให้เงินแลว้ ชายเล้ียงม้าก็รีบจากไปทนั ทีคดชี ่างสาน สุดท้ายบุตรช่างสานจึงกราบทูลว่า “ขอเดชะ ข้าแต่มหาราชนายคามณิจันท์คนน้ีน่ีเอง เป็นโจรฆ่าบิดาของหม่อมฉันตาย ขอพระองค์โปรดลงโทษโจรน้ีดว้ ยเถดิ พระเจา้ ขา้ ” พระราชา “ท่เี ขากลา่ วหาเจา้ จรงิ หรือคามณจิ ันท์” นายคามณิจันท์จึงเล่าเร่ืองราวให้พระราชาทรงพิจารณาพระราชาฟงั ความแล้วจึงถามช่างสานว่า “มาบัดน้ี ทา่ นจะทาอย่างไร” ช่างสานทูลว่า “ขอเดชะ ข้าพระองค์ต้องการบิดาของข้าพระองค์คนื มา พระเจา้ ขา้ ”

พระราชาจึงตรัสว่า “การได้บิดาของเจ้าคืนมาเป็นเหตุอันสมควร แต่คนตายแล้วไม่อาจนามาคืนได้อีก ถ้าเช่นนั้นคามณิจันท์ทา่ นจงไปนามารดาของบตุ รชา่ งสานคนน้ีมาไว้ในเรอื นของท่าน แล้วตัวท่านเองจงเป็นบดิ าของชา่ งสานน้ี” บุตรช่างสานได้ฟังคานั้นจึงรีบกล่าวว่า “ข้าแต่นาย ท่านอย่าได้ทาลายเรือนแห่งบิดาผู้ตายไปแลว้ ของข้าพเจ้าเลย ขอท่านจงยกโทษนั้นแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด” คร้ันแล้วบุตรช่างสานก็ให้กหาปณะของตนแก่นายคามณิจันทแ์ ลว้ จึงไปทันที ในที่สุดนายคามณิจันท์ก็ได้ประสบชัยชนะ ซึ่งชัยชนะที่ได้รับในคร้ังนี้เกดิ ขนึ้ ได้เพราะพระราชาผู้เป็นบัณฑิตกระทาเร่อื งต่างๆ น้ันให้กระจ่างแจ้ง นายคามณิจันท์จึงมีจิตยินดีคร้ันแล้วจึงระลึกถึงปัญหาที่รับฝากไว้แล้วกราบทูลพระราชาว่า “ขอเดชะ ข้าแต่มหาราชผู้เป็นบัณฑิต มีใครบางคนฝากสาสน์มากราบทูลแก่พระองค์ ควรมิควรแลว้ แต่จะโปรด พระเจา้ ข้า” พระราชา “จงบอกมาเถิด เรายินดีฟังสาสน์น้ัน” นายคามณิจันท์จึงกราบทูลปัญหาทีละเรื่องๆ โดยย้อนลาดับเริ่มจากเร่ืองสุดท้ายมาเป็นลาดับแรกให้พระราชาทรงวิสัชนาไปตามลาดับ ครั้นพระราชาสดับฟงั ปญั หาน้ันแล้วกท็ รงวิสัชนาแก้ปญั หาดังน้ีเรอื่ งพราหมณ์มาณพ พระเจ้าอาทาสมุขผู้มีปัญญาตรัสแก้ปัญหาเรื่องพราหมณ์มาณพว่า แต่ก่อนน้ันมีไก่ซ่ึงขันเป็นเวลาอยู่ในท่ีอยู่ของพราหมณ์

เหล่านั้น เมื่อพราหมณ์ลุกขึ้นตามเสียงไก่ขันแล้วเล่าเรียนมนต์ ทาการสาธยายมนต์จนอรุณขึ้น มนต์ที่พวกพราหมณ์เล่าเรียนก็ไม่เสื่อม ทรงจาไดอ้ ย่างแม่นยา แต่มาตอนน้ีมีไก่ซึ่งขันไม่เป็นเวลาอาศัยอยู่ในที่แห่งน้ัน ไก่ตัวนั้นขันดึกเกินไปบ้าง ขันจวนสว่างบ้าง พวกพราหมณ์ไม่รู้ความน้ันจึงลุกข้ึนตามเสียงไก่ซ่ึงขันดึกเกินไป แล้วเล่าเรียนมนต์ก็ง่วงนอน ขณะกาลังสาธยายมนต์ก็หลับไปอีก คร้ันลุกตามเสียงไก่ซึ่งขันในเวลาจวนจะสว่าง ก็สาธยายมนต์ไม่ได้ ด้วยเหตุน้ีเอง มนต์ที่พวกพราหมณ์เล่าเรยี นไวจ้ งึ เสอื่ ม จงึ จามนตไ์ มไ่ ด้เรอ่ื งดาบสมีตบะ เมื่อก่อนดาบสเหล่าน้ันพากันกระทาสมณธรรม เป็นผู้ขวนขวายเจริญการบริกรรมกสิณ แต่มาตอนน้ีดาบสเหล่าน้ันกลับพากันละทิ้งสมณธรรมท่ีตนเคยประพฤติปฏิบตั ิ ขวนขวายประกอบกิจทีไ่ ม่ควรทา ดาบสเหล่านั้นให้ผลาผลที่เกิดขึ้นในอารามแก่พวกอุปัฏฐากสาเร็จการเล้ียงชีวิตด้วยมิจฉาชีพ ด้วยการรับก้อนข้าวและให้ก้อนข้าวตอบแทน ด้วยเหตุน้ี ผลไม้ในอารามจงึ ไมอ่ รอ่ ย ไม่มรี ส หากดาบสเหล่าน้ันกลับมาเป็นผู้ขวนขวายประกอบสมณธรรมดงั เดิม ผลาผลทง้ั หลายจะกลบั มามรี สอรอ่ ยอกี

เรื่องพญานาค เพราะพญานาคเหล่าน้ันมัวแต่ทะเลาะกัน น้าในสระจึงขุ่นมัวถ้าหากพญานาคกลับมาสมัครสมาน สามัคคีรักใคร่กลมเกลียวกันเหมอื นแต่ก่อน น้าในสระกจ็ ะกลับมาใสดงั แก้วมณเี ช่นเดิมเรอ่ื งรกุ ขเทวดา เมื่อก่อนรุกขเทวดาตนน้ันดูแลรักษาพวกมนุษย์ผู้เดินทางไกลไปในดงใหไ้ ด้รับความปลอดภัย ดว้ ยเหตุน้พี วกมนษุ ย์จึงพากนั ถวายพลีกรรมมีประการต่างๆ แต่มาบัดนี้ เทวดานั้นไม่กระทาอารักขา ไม่ดูแลปกป้องคนเดินทาง จึงไม่ได้รับการบูชา ถ้ารกุ ขเทวดาตนน้ันจะกลับมากระทาอารักขาปกปักรักษามนุษย์ผู้เข้าสู่ดงเหมือนในกาลก่อน ก็จะเปน็ ผไู้ ดร้ ับลาภอนั เลศิ อีกเรือ่ งนกกระทา นกกระทาตัวนั้นจับอยู่ท่ีเชิงจอมปลวกแล้วขันอย่างอิ่มเอิบใจเพราะใต้จอมปลวกน้ันมีหม้อขุมรัพย์ใหญ่ฝังเอาไว้ ท่านจงไปขุดจอมปลวกเอาขมุ ทรพั ย์น้ันเถดิ

เร่อื งเนือ้ เพราะเบื้องบนของต้นไม้นั้นเองมีรวงผึ้งใหญ่รวงหนึ่งอยู่ เนื้อตวั น้ันจึงไม่สามารถไปกินหญ้าที่โคนต้นไม้อ่ืนได้ เน้ือตัวนั้นติดรสน้าผ้ึงท่ีเปื้อนบนยอดหญ้า จึงไม่อาจเค้ียวกินหญ้าอ่ืนๆ ได้ ท่านจงไปนารวงผึ้งนั้นมาแล้วส่งรสหวานอันช้ันเลิศมาให้แกเ่ รา ส่วนท่ีเหลอื เจ้าเก็บเอาไว้บริโภคสาหรบั ตนเถิดเร่ืองงู ภายใต้จอมปลวกที่งูอาศัยอยู่น่ันเองมีขุมทรัพย์หม้อใหญ่ฝงั อยู่งตู วั นั้นรกั ษาขุมทรพั ย์นน้ั คร้ันในเวลาที่จะออกหากิน เพราะความโลภความหวงแหนในทรัพย์ จึงทาสรีระร่างกายให้หย่อน ติดน่ันติดน่ีออกไปลาบาก คร้ันได้เหยื่อกินอิ่มหนาสาราญแล้ว เพราะความเสน่หาในทรัพย์ จึงรีบกลับเข้าไปในจอมปลวกได้โดยรวดเร็ว ร่างกายกลับไม่ติดขดั อะไรเลย ทา่ นจงขุดเอาขมุ ทรพั ยน์ ัน้ มาเถดิเร่ืองหญิงรุ่นสาว หญิงสาวน้ันมีชายช้อู ยู่ในบ้านแหง่ หนึ่ง ซึ่งอย่รู ะหว่างบ้านสามีและบ้านบิดามารดาของตน ด้วยความสิเน่หาในชายชู้นั้น เมื่อนางเกิดความระลึกคิดถึงชายชู้ก็ไม่สามารถที่จะอยู่ในบ้านสามีของตนได้จึงพูดวา่ ฉนั จะกลับไปเย่ียมบิดามารดา คร้ันแลว้ ก็ไปอย่ใู นเรือนชายชสู้ กั ๒ -๓ วัน แล้วจึงไปยังบ้านบิดามารดาของตน ขณะที่อยู่ในเรือนบิดา

มารดาของตนได้ ๒ - ๓ วัน ก็หวนระลึกถึงชายชู้น้ันข้ึนมาอีกก็พูดว่าฉันจะไปกลบั ไปบา้ นสามี กห็ วนกลับไปยังเรือนของชายชู้นั่นแหละ ท่านจงไปบอกนางว่า พระราชกาหนดกฎหมายนั้นมีอยู่ ถ้าพระราชารับส่ังให้จับท่าน ชวี ิตของท่านก็จะหมดส้ินไปทนั ที ฉะนน้ั นางควรกระทาความไม่ประมาทอย่าประพฤตเิ ช่นน้อี กี ตอ่ ไปเรือ่ งหญงิ คณกิ า กจ็ าเดิมนั้นหญงิ คณิการบั คา่ จ้างจากมอื ของชายที่จ้างนางแล้วก็อยู่ปรนนิบัติประจากับชายที่จ้างคนนั้น ไม่รับค่าจ้างจากชายคนอื่นอีก ด้วยเหตุนี้ ในครั้งๆ ก่อนค่าจ้างจึงเกิดขึ้นแก่นางนั้นอย่างมากมายแต่มาบัดนี้ นางกลบั ละทง้ิ ธรรมดาของตนเสีย กล่าวคอื รับเงนิ จากชายคนแรกแล้วไม่กระทาหน้าที่ของตนให้เสร็จเสียก่อน แต่กลับไปรับเงินจากชายคนอื่น นางไม่ให้โอกาสแก่ชายคนแรก กลับให้โอกาสแก่ชายคนหลัง ด้วยเหตุน้ันเอง ค่าจ้างจึงไม่เกิดขึ้นแก่หญิงคณิกานางนั้น ทาให้ไม่มีใครไปหานาง หากนางประพฤติปฏิบัติตามธรรมดาของตนค่าจ้างก็จะเกิดข้ึนแก่นางเช่นเดียวกับเม่ือก่อน ท่านจงไปบอกหญิงคณกิ าน้ันใหต้ ั้งอยใู่ นธรรมของตนดงั เดิมเถดิเรอื่ งนายบา้ นสว่ ย เดิมทีเดียวนายบ้านส่วยคนน้ันวินิจฉัยคดีโดยธรรมอย่างสม่าเสมอ ด้วยเหตุดังกล่าวน้ีจึงเป็นท่ีรัก เป็นท่ีชอบใจของคนทั้งหลายพวกคนที่รักใคร่นายบ้านส่วยก็นาส่ิงของเครื่องบรรณาการเป็นอันมาก

มาให้แก่เขา และเพราะเหตุนี้เขาจึงเป็นบุรุษผู้มีรูปงาม มีทรัพย์มากสมบูรณ์ด้วยยศ แต่มาบัดนี้นายบ้านส่วยน้ันกลับกลายมาเป็นผู้เห็นแก่สินบน เขาวินิจฉัยคดีโดยไม่เป็นธรรม ด้วยเหตุนี้เอง เขาจึงกลายเป็นคนกาพร้า เข็ญใจ ไม่มีคนรัก ถูกโรคผอมเหลืองครอบงา ถ้าหากว่านายบ้านส่วยน้นั กระทาการวนิ ิจฉยั อรรถคดีโดยธรรมเชน่ ดังเดิม เขาจะกลับเป็นเหมือนเมื่อก่อนอีก คือมีคนรักใคร่ พร่ังพร้อมด้วยทรัพย์ เขาคงไม่รู้ว่ามีพระราชาเช่นเราอยู่ ท่านจงไปบอกเขาให้วินิจฉัยคดีโดยธรรมเถดิ คร้ันพระเจ้าอาทาสมุขผู้เป็นบัณฑิตทรงพยากรณ์ปัญหาทั้งหลายเหล่าน้ันด้วยพระปัญญาของพระองค์ประดุจพระสัพพัญญูพุทธเจ้าแล้ว พระองค์ได้พระราชทานทรัพย์เป็นอันมากแก่นายคามณิจันท์ ทรงกระทาบ้านท่ีอยู่ของเขาให้เป็นพรหมไทย พระราชทานเฉพาะเขาเทา่ นั้นแลว้ ส่งกลับไป ฝ่ายนายคามณิจันท์เมื่อออกจากพระนคร ก็ได้นาความของพระราชาน้ันแจ้งแก่พราหมณ์มาณพ ดาบส พญานาค และรุกขเทวดาเสรจ็ แล้วจึงไปขุดเอาขมุ ทรัพยจ์ ากจอมปลวกท่ีนกกระทาจับอยู่ แล้วไปเอารวงผ้ึงจากต้นไมใ้ นท่เี นอ้ื กนิ หญ้า ส่งนา้ ผึ้งไปถวายพระราชา แลว้ ไปขุดเอาขุมทรัพย์ใต้จอมปลวกท่ีงูน้ันอาศัยอยู่ จากนั้นก็แจ้งข่าวสาสน์ตามทานองท่ีพระราชาได้ตรัสไว้แก่หญิงรุ่นสาว หญิงคณิกา นายบ้านสว่ ย เมอื่ เรยี บร้อยแลว้ กก็ ลับไปยงั บ้านของตนดว้ ยยศอนั ยง่ิ ใหญ่

คร้ันจบพระธรรมเทศนาพระศาสดาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลายตถาคตมีปัญญามาก หาใช่แต่ในบัดน้ีเท่าน้ัน แม้ในกาลก่อนก็มีปัญญามากเหมือนกัน” ทรงประกาศสัจจธรรม ชนเป็นอันมากได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน พระอนาคามี และพระอรหันต์ ทรงประชุมชาดกว่า“นายคามณิจันทไ์ ด้มาเป็นพระอานนท์ในคร้ังนี้ ส่วนพระเจ้าอาทาสมุขผเู้ ปน็ บัณฑติ คือเราตถาคตน้แี ล” :: :: :: :: ::

ดาบสขอร่มเรียบเรยี งจาก พระสูตรและอรรถกถา (แปล) ขทุ ทกนิกาย เลม่ ท่ี ๓ ภาคท่ี ๔ จตุกกนบิ าตชาดก กุฏิทสู วรรค เรื่องที่ ๓ พรหมทตั ตชาดก “ดูก่อนมหาบพิตร ผู้ขอย่อมได้ ๒ อย่างคือ ได้ทรัพย์ หรือ ไม่ได้ทรัพย์ แท้จริงการขอมีอย่างน้ีเป็นธรรมดา” “ดูก่อน มหาบพิตร ผู้เป็นใหญ่ในปัญจาลรัฐ บัณฑิตกล่าวถึงการขอว่า เป็นการร้องไห้ ผู้ใดปฏิเสธคาขอ บัณฑิตกล่าวคาปฏิเสธของผู้คนนั้ วา่ เป็นการรอ้ งไห้ตอบ” >>>>> <<<<< ร้ังหนึ่ง พระบรมศาสดาประทบั อยู่ ณ อคั คาฬวเจดีย์ เมือง อาฬวี ทรงปรารภถึงกุฏิการสิกขาบทว่า “ดูก่อนภิกษุ ท้ังหลาย ได้ยินว่าพวกเธอมากไปด้วยการขอ มากไปด้วย การทาวิญญัตติอยู่ จริงหรือ” ภิกษุเหล่าน้ันกราบทูลว่า“จรงิ พระเจ้าขา้ ” พระพุทธองค์จงึ ทรงติเตียนภกิ ษุเหลา่ นัน้ แล้วตรสั ว่า“ดูกอ่ นภิกษุท้ังหลาย โบราณกบณั ฑติ ท้ังหลาย แม้พระราชาผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดินได้ปวารณาไว้ ปรารถนาจะขอรม่ ใบไม้และรองเท้าช้ันเดยี วคู่หนึ่ง ก็ไม่ขอในท่ามกลางมหาชน เพราะกลัวหิริโอตตัปปะร้าวฉาน จึงได้กล่าวขอในทีล่ ับ” แลว้ ทรงนาเรื่องในอดีตมาสาธกดงั น้ีดาบสเข้าเมอื ง นานมาแล้ว ณ นครอุตตรปัญจาล มีพระเจ้าปัญจาลราชเสวย

ราชสมบัติเป็นพระราชาผู้เป็นใหญ่แห่งกบิลรัฐ ครั้งน้ันพระโพธิสัตว์ถือกาเนิดเกิดในตระกูลพราหมณ์ คร้ันเจริญวัยแล้วได้ไปศึกษาศิลปวิทยาการทั้งปวงท่ีเมืองตักกศิลา ต่อมาจึงออกบวชเป็นดาบสอาศัยอยู่ในป่าหิมวันตประเทศ ยังชีพด้วยผลาผลทั้งหลายในป่าน้ันเอง เม่ือดาบสอยู่ป่ามาเป็นเวลานาน จึงเกิดความต้องการที่จะเสพรสเค็ม รสเปรี้ยว จึงออกจากปา่ มาสูเ่ มอื งอตุ ตรปัญจาล รุ่งเช้าวันหน่ึงในเวลาภิกษาจาร ดาบสเขา้ ไปยงั พระนครยนื อยู่ใกล้ประตูพระราชวัง ขณะนั้นเองพระเจ้าปัญจาลราชทรงเห็นพระดาบสนั้น ก็พลนั เกดิ ความเล่ือมใสในจริยาวัตรความประพฤติท่ีสมบรู ณ์ของพระดาบส พระองค์ทรงให้ทหารนิมนต์พระดาบสให้มานั่งในท้องพระโรง แลว้ ทรงถวายโภชนะอนั ประณีตของพระราชาให้แกพ่ ระดาบสนั้น เสร็จแล้วพระราชาก็ทรงนิมนต์พระดาบสให้พานักอยู่ในพระราชอุทยานของพระองค์ดาบสอยากได้ร่ม พระดาบสพานักอยู่ในพระราชอุทยานจนกระทั่งฤดูฝนผ่านพ้นไป พระดาบสต้องการที่จะกลบั ไปยังป่าในหิมวนั ตประเทศจึงคดิ ข้ึนว่า “เม่ือเราจะเดินทางไป เราควรจะได้รองเท้าชั้นเดียวสักหน่ึงคู่และรม่ ใบไม้สกั หนึ่งคนั ถา้ กระไรเสีย เราจะทลู ขอจากพระราชา” อยู่มาวันหน่ึงพระราชาเสด็จมายังพระราชอุทยาน พระองค์ไหว้พระดาบสแล้วประทับน่ังอยู่ ฝ่ายพระดาบสจึงคิดข้ึนว่า ตนจะทูลขอรองเท้าและร่ม คร้ันคิดต่อไปว่า คนเม่ือขอผู้อื่นว่า ท่านจงให้ของน้ี

ชื่อว่าร้องไห้ ส่วนฝ่ายผู้กล่าวว่า ไม่มีก็ช่ือว่าร้องไห้ตอบ เมื่อเป็นเช่นนี้ชนทั้งหลายอย่าได้เห็นเราผู้ร้องไห้ และอย่าได้เห็นพระราชาผู้ร้องไห้ตอบเลย ดังนั้น หากแม้เราทั้งสองร้องไห้กันอยู่ในที่ปกปิดเร้นลับจักเปน็ ผ้นู ่ิงเงียบ” คร้ันดาบสคิดดังน้ีแล้วก็กราบทูลพระราชาว่า “ข้าแต่มหาราชอาตมภาพหวงั เฉพาะท่ีลับ” พระราชาได้ยินคาน้ันจึงรับส่ังแก่พวกราชบุรุษทั้งหลายว่า“พวกเจา้ ท้งั หลาย จงถอยออกไปกอ่ น” ส่วนพระดาบสกลับคิดต่อไปว่า ถ้าเราทูลขอแล้วพระราชาไม่ประทานให้ ไมตรีของเราก็จะแตกไป เพราะฉะนั้นเราจะไม่ทูลขอ ครั้นแล้วพระดาบสจึงกราบทูลว่า “ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์จงเสด็จกลบั ไปก่อนเถดิ อาตมภาพจะกลา่ วในวนั รุ่งขน้ึ ” ในวันถัดมาเมื่อพระราชาเสด็จมาถึงพระราชอุทยานแล้ว พระดาบสก็กราบทูลเหมือนเช่นวันก่อนว่า “อาตมภาพหวังเฉพาะที่ลับ”พระราชาไดย้ ินคานั้นกใ็ ห้พวกราชบุรษุ ถอยออกไป เม่ืออยู่ตามลาพังพระดาบสก็ได้แต่พูดว่า “ขอพระองค์เสด็จไปก่อน อาตมภาพจะกลา่ วในวนั รุง่ ขน้ึ ” ในวันต่อๆ มาพระดาบสก็กราบทูลเหมือนอย่างเดิมอีกน่ันแลวันแล้ววันเล่าผ่านไปพระดาบสก็ได้แต่พูดเชน่ เดมิ รวมความว่า เวลาได้ผ่านล่วงเลยไปถึง ๑๒ ปี พระดาบสก็ไม่อาจทูลขอส่ิงท่ีตนปรารถนาได้เลย

๑๒ ปี จงึ สมปรารถนา จนกระท่ังวันหนึ่งพระราชาทรงดาริขึ้นว่า “พระผู้เป็นเจ้าของเราได้แต่กล่าวว่า หวังเฉพาะที่ลับ ครั้นได้ที่ลับอยู่ตามลาพังก็ไม่กล่าวคาอะไรๆ ได้เลย จนเวลาล่วงเลยไปถึง ๑๒ ปี พระผู้เป็นเจ้านั้นก็ประพฤติพรหมจรรย์ช้านาน ชะรอยสงสัยว่า เธอคงจะระอาใจใคร่จะบริโภคสมบัติ หรือหวังเฉพาะราชสมบัติเท่าน้ัน ก็ในเมื่อพระคุณเจ้าไม่อาจระบุชื่อ ไม่อาจจะเอ่ยขอราชสมบัติจึงได้แต่นิ่งเงียบเสีย ดีละวันนี้เราจะได้รกู้ ันว่า พระคุณเจ้านน้ั ปรารถนาสิ่งใดเราจะใหส้ ่งิ น้ัน ตงั้ ตน้ แต่ราชสมบัติเป็นตน้ ไป ถา้ พระคุณเจ้าเอ่ยปากขอ เราจะใหท้ นั ที” ครั้นแล้วพระราชาจึงเสด็จไปยังพระราชอุทยานทรงไหว้พระดาบสแล้วประทับน่ังอยู่ ลาดับน้ันเองพระดาบสจงึ กราบทูลขึ้นว่า “อาตมภาพหวังเฉพาะทีล่ ับ” พระราชาตรัสกบั ราชบุรษุ วา่ “พวกเจา้ จงถอยออกไป” เม่ื อ บ ริ ษั ท ท้ั ง ห ล า ย อ อ ก ไ ป ห ม ด แ ล้ ว พ ร ะ ร า ช า จึ ง พู ด ว่ า“พระคุณเจ้าผู้เจริญ ตลอดระยะเวลา ๑๒ ปีท่ีผ่านมาน้ี ท่านกล่าวแก่ขา้ พเจา้ วา่ อาตมภาพหวังเฉพาะทีล่ ับ แม้นไดท้ ี่ลบั อยตู่ ามลาพังกันแล้วท่านก็ไม่อาจจะกล่าวอะไรๆ ได้อีกเลย วันนี้ข้าพเจ้าขอปวารณาส่ิงท้ังปวงมีราชสมบัติเป็นต้นแก่ท่าน ขอท่านอย่าได้กลัวภัย จงขอในสิ่งท่ีท่านชอบใจเถดิ ” พระดาบสจึงถามข้ึนว่า “ขอถวายพระพรมหาบพิตร พระองค์จะพระราชทานส่งิ ท่อี าตมภาพทลู ขอจริงหรอื ”

พระราชา “พระคุณเจ้าผู้เจริญ บอกมาเถิดว่าท่านประสงค์จะได้ส่งิ ใด ขา้ พเจา้ จะให้สิ่งน้ัน” พระดาบส “ขอถวายพระพร อาตมภาพปรารถนาจะกลับหิมวันตประเทศ จึงหวังว่าจะได้รองเท้าชั้นเดียวหนึ่งคู่ กับร่มใบไม้หนึ่งคนั ” ฝ่ายพระราชาทรงประหลาดใจจึงถามข้ึนว่า “พระคุณเจ้าผู้เจริญ สิ่งของมีประมาณแค่นี้เองหรือที่ทาให้พระคุณเจ้าไม่อาจขอได้ตลอดเวลา ๑๒ ปที ผี่ า่ นมา” พระดาบส “ขอถวายพระพรมหาบพิตร เป็นเช่นน้ัน” พระราชาจึงถามต่อไปว่า “พระคุณเจ้าผู้เจริญ เพราะเหตุใดท่านจึงได้กระทาเชน่ น้ี”ผู้ร้องไห้ กับ ผู้รอ้ งไหต้ อบ พระดาบสจงึ กล่าววา่ “มหาบพิตร คนขอว่าท่านจงใหส้ ิ่งน้แี ก่เราชื่อว่าร้องไห้ คนที่ถูกขอกล่าวว่าไม่มี ชื่อว่าร้องไห้ตอบ ถ้าพระองค์ถูกอาตมภาพทูลขอ หากไม่พระราชทานแล้ว ก็มหาชนอ ย่ า ได้ เห็ น ก า ร ท่ี อ า ต ม ภ า พ ร้ อ งไห้ แ ล ะพ ร ะ อ งค์ ร้ อ งไห้ ต อ บ เล ยเพราะฉะน้ันอาตมภาพจึงหวังแต่ท่ีลับเพ่ือประโยชน์นี้เอง” แล้วพระดาบสจึงกล่าวตอ่ ไปว่า “ข้าแต่พระเจ้าพรหมทัต ผู้ขอย่อมได้ ๒ อย่าง คือ ไม่ได้ กับได้ แทจ้ ริงการขอยอ่ มมีอยา่ งนี้เป็นธรรมดา”

“ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐกว่าชาวปัญจาละ บัณฑิตกล่าวการขอว่าเป็นการร้องไห้ ผู้ใดปฏิเสธต่อผู้ขอ บัณฑิตกล่าวผู้นั้นว่าเป็นการร้องไหต้ อบ” “ชาวปัญจาละผู้มาประชุมกันแล้ว อย่าได้เห็นอาตมภาพผู้กาลังร้องไห้อยู่ หรืออย่าได้เห็นพระองค์ผู้กาลังกรรแสงตอบอยู่เพราะฉะนน้ั อาตมภาพจึงปรารถนาขอเฝ้าในทล่ี ับ” พระราชาได้ฟังดังน้ันทรงเล่ือมใสในลักษณะแห่งความเคารพของพระดาบสย่ิงนัก พระองคป์ ระทานพรตรสั ว่า “ข้าแตท่ า่ นพราหมณ์ข้าพเจ้าขอถวายวัวแดงหนึ่งพันตัวพร้อมด้วยโคจ่าฝูงแก่ท่าน อันอารยชนได้ฟังคาถาประกอบด้วยเหตุผลของท่านแล้ว ไฉนจะไม่พึงให้แก่อารยชนเลา่ ” พระดาบสได้ฟังดังน้ันจึงกราบทูลพระราชาว่า “ข้าแต่มหาบพิตร อาตมภาพไม่ตอ้ งการสิ่งใดๆ ขอพระองค์จงประทานสิ่งทอี่ าตมภาพทลู ขอเถิด” จากน้ันพระราชาก็พระราชทานรองเท้าและร่มแก่พระดาบสแม้พระราชาจะทรงวิงวอนพระดาบสให้พานักอยู่ต่อไป พระดาบสก็มิได้ปรารถนาจะอยู่ต่อ พระดาบสก็ให้โอวาทพระราชาว่า “ขอถวายพระพรมหาบพิตร ขอพระองค์ทรงไม่ประมาท จงรักษาศีล กระทาอุโบสถกรรมเถิด” คร้ันแล้วก็กลับไปยังหิมวันตประเทศ กระทาอภิญญาสมาบัตใิ หบ้ ังเกดิ สนิ้ ชวี ิตแลว้ ไดไ้ ปเกิดในพรหมโลก

ค รั้ น จ บ พ ร ะ ธ ร ร ม เท ศ น า พ ร ะ ศ า ส ด า ท ร ง สื บ อ นุ ส น ธิ ว่ าพระราชาในคร้ังน้ันได้มาเป็นพระอานนท์ในครั้งนี้ ส่วนดาบสคือเราตถาคตนี้แล :: :: :: :: ::อลาโภ ธมมฺ โิ ก เสยโฺ ย ยญฺเจ ลาโภ อธมฺมโิ กไมไ่ ดแ้ ตช่ อบธรรมดีกวา่ ถึงได้แตไ่ ม่ชอบธรรมจะดีอะไรอตฺตานเมว ปฐม ปฏริ ูเป นเิ วสเยอถญญฺ มนุสาเสยยฺ น กลิ ิสเฺ สยยฺ ปณฺฑโิ ตทาตนน่ีแหละ ใหต้ ัง้ อย่ใู นความดีอนั สมควรกอ่ นจากนน้ั จงึ คอ่ ยพรา่ สอนผู้อื่น บณั ฑติ ไมค่ วรมขี ้อมัวหมอง

มนต์อาจารย์เรียบเรียงจาก พระสูตรและอรรถกถา (แปล) ขุททกนิกาย เล่มท่ี ๓ ภาคที่ ๔ปญั จกนิบาตชาดก อัฑฒวรรค เรื่องท่ี ๓ มูสกิ ชาดก “เราเป็นผู้อันบุตรปรารถนาจะฆ่าเสีย จะพ้นจากความตายพเพราะภพในอากาศ หรือเพราะบุตรที่รักเปรียบด้วยอวัยวะ ก็ หาไม่ เราพ้นจากความตาย เพราะคาถาทอ่ี าจารยผ์ ูกให้” >>>>> <<<<< ระบรมศาสดาประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหารทรงเห็น พระเจ้าพิมพิสารหยอกล้อกับพระราชโอรสไปพลางฟัง ธรรมไปพลาง พระศาสดาทรงทราบว่า พระโอรสจักเป็น ผู้นาภัยมาสู่พระราชา จึงตรัสว่า “มหาบพิตร พระราชาครั้งเก่าก่อนทั้งหลายทรงรังเกียจสิ่งที่ควรรังเกียจ ได้ทรงกระทาโอรสของพระองค์ไว้ ณ ส่วนข้างหน่ึง” เม่ือทรงปรารภถึงพระราชกมุ าอชาตศัตรูแลว้ ทรงนาเรื่องในอดีตมาสาธกดงั น้ีอาจารยผ์ กู้ ารณุ ย์ อดีตกาลนานมาแล้วพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในนครพาราณสี พระองค์มีพระราชโอรสพระองค์หนึ่งทรงพระนามว่า ยวกุมาร คร้ันพระกุมารเจริญวัยข้ึน พระราชาทรงส่งพระราชโอรสไปศึกษาศิลปวิทยาการตา่ งๆ ทเ่ี มอื งตกั กศลิ า คร้ังน้ันพระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลพราหมณ์ และเป็นอาจารย์

ทิศาปาโมกข์แห่งสานักตักกศิลา พระราชโอรสยวกุมารเสด็จมาศึกษาศิลปศาสตร์ในสานักพระโพธิสัตว์ จวบจนสาเร็จการศึกษาจึงมีความประสงค์จะกลับไปยังบ้านเมืองของตน อาจารย์จึงได้ทดสอบพระกมุ ารดว้ ยการถามตอบปัญหาต่างๆ พระโพธิสัตว์นั้นมีความเช่ียวชาญด้านการดูอวัยวะ คร้ันพจิ ารณาพระกมุ ารก็รู้วา่ ในอนาคตกาลพระราชกมุ ารนจ้ี ะต้องได้รับภัยจากพระโอรสของตน เม่อื เห็นดังน้แี ล้ว ด้วยเมตตาจิตคิดอนุเคราะห์ลูกศษิ ย์ใหพ้ ้นจากภัยน้ัน พระโพธิสัตว์จงึ คดิ หาอุบายที่จะป้องกันภัยให้แก่ศษิ ย์ของตนด้วยการแต่งคาถาคาถาแรก เพราะหนูเป็นเหตุ วันหน่ึง ม้าของอาจารย์เกิดเป็นแผลที่เท้า พวกคนเล้ียงม้าจึงนามา้ มาไว้ทเี่ รอื นเพื่อรักษาแผล ในเรือนน้ันมีหนูอยู่ตัวหนงึ่ หนตู ัวน้ีได้วิ่งออกมากัดแผลท่ีเท้าม้า ม้าไม่รู้จะทาอย่างไรได้แต่ปล่อยให้หนูกัดแผล วันหนึง่ เม่ือหนูมากัดแผลทเ่ี ทา้ อีก ม้าไมส่ ามารถทนความเจบ็ ปวดได้ จึงเอาเท้าดีดหนูตัวนั้นกระเด็นตกลงไปในบ่อน้าตาย ก่อนหน้านี้ทุกครั้งท่ีพวกคนเล้ียงม้ามาดูแผล จะเห็นแผลท่ีถูกหนูกัด แต่ในวันน้ันไม่เห็นแผลหนูกัดจึงกล่าวว่า “วันอ่ืนๆ หนูชอบมากัดแผลม้า ทาไมวันนี้ถึงไม่มา มันไปที่ไหนเสีย” ฝ่ายอาจารย์ผู้ฉลาดก็รู้ทันทีถึงเหตุการณ์นั้น จึงกล่าวขึ้นมาว่า “คนอ่ืนไม่รู้หนูไปไหน มีแต่เราเท่าน้ันที่รู้ว่า หนูตัวนั้นถูกม้าฆ่าตายด้วยการดีดลงไปในบ่อน้านั้นเอง” คร้ันแล้วอาจารยจ์ งึ อาศยั เหตกุ ารณ์นี้แต่งคาถาทีห่ น่ึง

คาถาที่สอง เกิดจากม้ากนิ ข้าวเหนียว วนั ต่อมาอาจารย์เห็นม้าตัวนนั้ กลับคืนเปน็ ปกตบิ าดแผลหายดีแล้ว กาลังเดินออกไปท่ีไร่ข้าวเหนียวแห่งหนึ่ง ครั้นถึงไร่ข้าวเหนียวก็หยุดอยู่หน้ารั้ว แล้วสอดปากเข้าไปทางช่องรั้วเพื่อจะกินข้าวเหนียวอาจารย์เห็นเหตุนั้นจงึ แต่งคาถาท่ี ๒คาถาที่สาม เกิดจากปญั ญาแหง่ อาจารย์ ส่วนคาถาท่ี ๓ พระโพธิสัตว์ผูกข้ึนตามกาลังแห่งปัญญาของตน พระโพธิสัตว์มอบคาถาท่ีตนผูกไว้แก่พระราชกุมารแล้วกาชับว่า“ดูก่อนพระราชกุมาร เธอจงจาไว้ให้ดีว่า เม่ือเธอเสวยราชสมบัติแล้วในเวลาเย็นท่ีเธอจะเดินไปที่สระโบกขรณีสาหรบั สรงสนาน เธอพึงเดินท่องบ่นคาถาท่ี ๑ ครั้นเมื่อเธอเดินไปถึงบันไดใกล้จะเข้าไปยังปราสาทของตน เธอจงเดินท่องบ่นคาถาท่ี ๒ จนใกล้เชิงบันได ต่อจากนั้นเธอจนเดินท่องบ่นคาถาท่ี ๓ จนถึงหัวบันได ขอพระกุมารจงจดจาไว้ให้ดีแล้วกระทาตามอยู่เสมอๆ” พระกุมารรับคาแล้วกล่าวว่า “ขอรับท่านอาจารย์ กระผมจักจาไว้แล้วทาตามคาสอนของอาจารย์” จากน้ันพระกมุ ารกร็ ่าลาอาจารย์แลว้ กเ็ สดจ็ กลับเมอื ง

พระโอรสอยากครองเมือง พระราชกุมารเสด็จกลับพระนครแล้ว เม่ือพระราชบิดาเสด็จสวรรคต พระราชกุมารจึงเสวยราชสมบัติพระนามว่า พระเจ้ายวราช ต่อมาพระองค์ทรงมีพระโอรส คร้ันพระราชโอรสมีพระชนม์พรรษา ๑๖ ปี ก็ถูกความโลภในราชสมบัติครอบงาคิดอยากเป็นพระราชา จึงวางแผนปลงพระชนม์พระราชบิดาของตน ได้ปรึกษากับมหาดเล็กว่า “พระบิดาของเรายังหนุ่ม หากเรามัวแต่รอพระองค์เสด็จสวรรคต เราก็กลายเป็นคนแก่เฒ่าแล้ว เมื่อถึงเวลาน้ันการครองราชสมบัตจิ ะให้ประโยชน์อะไรแก่เราได้” มหาดเล็กก็รีบยุยงทันทีว่า “ข้าแต่สมมติเทพ จริงอย่างที่พระองค์พูด ขอพระองค์จงปลงพระชนม์พระราชบิดาด้วยอุบายอย่างใดอยา่ งหนึง่ แล้วยึดเอาราชสมบตั ิมาครอบครองเถดิ ”คาถาแรก รอดตายเพราะคาถา“นางหนูหายไปไหน” คร้ันแล้วพระองค์จึงเสด็จไปยังสระโบกขรณีอันเป็นที่สรงสนานของพระเจ้ายวราช พระกุมารยืนถือพระขรรค์ด้วยความตั้งใจว่าเราจะฆ่าเสด็จพ่อของเรา ณ ที่น่ี ในเวลาเย็นน้ันเองพระราชารับส่ังให้นางทาสีท่ีชื่อนางหนูว่า “น่ีแน่ะ นางหนู เจ้าจงไปทาความสะอาดที่สระโบกขรณี เสร็จแล้วกลับมาบอกเรา เราจะไปอาบน้า” เมื่อนางหนูมาถึงสระก็เห็นพระกุมารยืนถือพระขรรค์อยู่ ฝ่ายพระกุมารกลัวว่าเม่ือ

นางหนูเห็นตนแล้วความผิดของตนก็จะถูกเปิดเผยจึงฟันนางหนูขาดเปน็ ๒ ท่อน แลว้ โยนทง้ิ ลงในสระโบกขรณี ฝ่ายพระราชาคอยนางหนูไม่เห็นกลับมาจึงกล่าวว่า “นางหนูไปไหน” แล้วจึงเสด็จไปยังสระโบกขรณีพร้อมทั้งระลึกถึงคาสั่งของอาจารย์จึงตรัสคาถาท่ี ๑ ว่า “คนพร่าบ่นอยู่ว่า นางหนูไปไหน นางหนูไปไหน เราคนเดียวเท่าน้ันรู้ว่า นางหนูตายอยู่ในบ่อน้าน้ี ”พระราชาท่องคาถาท่ี ๑ ไปตลอดทางที่เสด็จจนไปถึงสระโบกขรณีพระองค์ไม่ทรงทราบสักนิดเลยว่า นางหนูตายแล้ว ได้แต่ท่องบ่นคาถาตามคาสง่ั สอนของอาจารยเ์ ทา่ น้นั เม่ือพระกุมารได้ยินเช่นน้ัน ด้วยความกลัวราชภัยจึงรีบหนีไปแล้วบอกเร่ืองน้ันแก่มหาดเล็กของตน ครั้นเวลาล่วงเลยไป ๗ - ๘ วันมหาดเล็กจึงบอกแก่พระกุมารว่า “ข้าแต่สมมติเทพ หากพระราชาทราบเร่ืองน้ีแล้ว พระองค์คงจะไม่น่ิงเฉยอยู่เช่นน้ีแน่ คงต้องมีรับสั่งให้จับกมุ พระกุมาร พวกข้าพเจ้าคิดว่าคากล่าวของพระราชาน้ันคงจะเป็นการคาดเดาเอาเท่าน้ันเอง ถ้าอย่างไรเสียขอพระกุมารจงปลงพระชนม์พระราชบิดาของพระองค์เสียเถิด” พระกุมารได้ฟังคายุยงนั้นก็เห็นชอบด้วยจึงรับคาน้ันว่า “ดีละ วันพรุ่งน้ีเราจะไปฆ่าพระบิดาของเราเสีย”

คาถาที่ ๒ พระราชาพน้ จากมรณภยั ในวันรุ่งข้ึนพระกุมารทรงถือพระขรรค์ประทับยืนใกล้เชิงบันไดทรงมองหาโอกาสที่จะฆ่าพระราชา ขณะที่พระราชากาลังเสด็จดาเนินมา พระองค์ก็ทรงสาธยายมนต์บทท่ี ๒ ว่า “เหตุใดท่านจึงคิดอย่างน้ี และมองหาโอกาสจะประหารอยู่ทางโน้นทางน้ีแล้วกลับไปเสมอื นลา เพราะฉะน้ันเราจึงรวู้ า่ วันก่อนทา่ นฆ่าทาสีชอื่ นางหนูตายทงิ้ ไว้ในบ่อน้า วันนี้ยังปรารถนาจะฆา่ พระเจา้ ยวราชอีกหรอื ” พระเจ้ายวราชไม่ทรงทราบถึงภัยน้ัน พระองค์ไม่รู้เรื่องอะไรเลยได้แต่ท่องคาถาตามคาส่ังของอาจารย์เท่าน้ัน ฝ่ายพระกุมารได้ยินก็สะดงุ้ ตกพระทยั รีบหนไี ปดว้ ยคดิ วา่ พระบิดาทรงรแู้ ลว้คาถาที่ ๓ พระกุมารถูกจบั เวลาผ่านไปคร่ึงเดือนไม่มีเหตุใดๆ พระกุมารจึงคิดว่า วันนี้แหละเราจะเอาท่อนไม้ฆา่ พระบดิ าใหต้ ายเสีย พระกุมารจึงเดินถอื ทอ่ นไม้ท่อนหน่ึงแล้วไปยืนอยู่ท่ีหัวบันไดของปราสาทรอเวลาที่พระราชาเสด็จข้ึนมาจะได้ประหารเสียให้ตาย ส่วนพระราชาขณะที่พระองค์กาลงั เสด็จขนึ้ บันไดไปพลางก็สาธยายมนตไ์ ปพลางวา่ “แน่ะ เจ้าผู้โง่เขลา เจ้ายังเป็นเด็กอ่อน ยังเป็นหนุ่มอยู่ในปฐมวัย มีผมดาสนิทมายืนถือท่อนไม้ยาวน้ีอยู่ เราจะไม่ยอมยกชีวิตใหแ้ ก่เจ้า บัดนี้ เราจักไมใ่ ห้ชีวติ เจ้าผู้ไม่มคี วามละอาย เราจักฆา่ ตัด

ใหเ้ ป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่ แลว้ ให้เสยี บไปบนหลาวนนั่ แหละ” พระราชาดินท่องคาถาน้ีไปจนถึงหัวบันไดที่พระกุมารยืนอยู่และไม่สามารถหลบหนีไปไหนได้เลย พระกุมารได้ยินคาน้ันแล้วก็รีบเข้าไปหมอบท่ีเท้าของพระราชากล่าวว่า “ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์โปรดประทานชวี ติ แก่ขา้ พระองคด์ ้วยเถดิ ” ฝ่ายพระราชาเห็นดังนั้นก็ทรงทราบด้วยพระปัญญาแห่งตนทันทีว่า พระราชโอรสจะทาปิตุฆาต จึงรับสั่งให้จองจาพระกุมารขังไว้ในเรือนจา แล้วพระองค์เสด็จไปประทับนั่งเหนือราชอาสน์ท่ีประดับประดาภายใต้เศวตฉัตร ทรงระลึกถึงอาจารย์ผู้เปี่ยมด้วยเมตตาจึงผูกคาถาท้ังสามเพื่อป้องกันมรณภัยน้ีแก่ตนเอง ครั้นคิดข้ึนมาแล้วพระราชาทรงร่าเรงิ ยนิ ดเี ปล่งอุทานวา่ “ก็เราอันบุตรของเราปรารถนาจะฆ่าเสีย ในวันนี้เราจะพ้นจากความตายเพราะภพในอากาศ หรือเพราะบุตรท่ีรักเปรียบด้วยอวัยวะ ก็หาไม่ เรานั้นพ้นจากความตายก็เพราะคาถาท้ังหลายที่อาจารยป์ ระพนั ธ์ใหม้ า บุคคลควรเรียนวิชาท่ีควรเรียนทุกอย่าง ไม่ว่าจะเลว ดี หรือปานกลาง บุคคลควรรู้ประโยชน์ของวิชาที่เรียนท้ังหมด แต่ไม่ควรประกอบใช้มนต์ชั้นต่า หรือศิลปะช้ันกลาง ควรประกอบใช้แต่ช้ันสูงเท่านั้น ศิลปะท่ีศึกษาแล้วนาประโยชน์มาให้ในเวลาใด แม้เวลาเช่นนั้นย่อมจะมแี ท”้

พระราชาทรงระลึกถึงคุณความดีของอาจารย์ที่ได้ช่วยชีวิตของตน ในกาลต่อมาเมื่อพระเจ้ายวราชเสด็จสวรรคตแล้ว พระกุมารก็ได้เสวยราชสมบัตสิ ืบต่อไป เม่ือพระธรรมเทศนาจบลงพระศาสดาทรงประชุมชาดกว่าอาจารยท์ ศิ าปาโมกขค์ อื เราตถาคตนีแ้ ล :: :: :: :: ::


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook