Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ภาวะโลกร้อน

ภาวะโลกร้อน

Published by สิรภัทร จงจิต, 2022-03-07 19:15:35

Description: ภาวะโลกร้อน

Search

Read the Text Version

Global Warming ภาวะโลกร้อน

คำนำ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ( E- Book ) เล่มนี้ จัดทำขึ้นเพื่อประกอบการเรียนการ สอนวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยผู้จัดทำร่วมกันศึกษาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ และจัดทำออกแบบมาในรูปหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ( E- Book ) เพื่อเป็นการนำความ รู้ที่ได้จากการศึกษาทำออกมาเป็นชิ้นงานและนำไปใช้ประโยชน์ในด้านการเรียนการ สอนต่อไป ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจหรือ กำลังหาข้อมูลเรื่องนี้อยู่ หากมีข้อผิดพลาดประการใด ผู้จัดทำต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ ด้วย และขอน้อมรับคำติชมเพื่อนำไปปรับปรุงให้ดีขึ้นในครั้งถัดไป คณะผู้จัดทำ

สารบัญ 1 4 ภาวะโลกร้อนคืออะไร 5 ปัจจัยที่ทำให้ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง 6 สถานการณ์โลกร้อนในปัจจุบัน 8 ผลกระทบจากภาวะโลกร้อน 9 ผลกระทบร้ายแรงในระยะยาว 13 ผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นในประเทศไทย 14 วิธีการช่วยป้องกันภาวะโลกร้อน ผู้จัดทำ

1 ภาวะโลกร้อนคืออะไร ? ภาวะโลกร้อนเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น เนื่องจากโลกไม่สามารถระบายความร้อนที่ได้รับจาก รังสีดวงอาทิตย์ออกไปได้อย่างปกติ จึงทำให้อุณหภูมิ เฉลี่ยของโลกสูงขึ้น และทำให้สภาพอากาศของโลก เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิติบนโลก

ปัจจัยที่ทำให้ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง 2 ปัจจัยที่ทำให้ภูมิอากาศโลกเปลี่ยนแปลง มีทั้งปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายใน ปัจจัยภายนอก ได้แก่ พลังงานจากดวงอาทิตย์ และวงโคจรของโลก ปัจจัยภายใน ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของก๊าซใน บรรยากาศ การเปลี่ยนแปลงของพื้นผิวโลก ซึ่ง พอสรุปรวมได้ดังนี้ พลังงานจากดวงอาทิตย์ วงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ องค์ประกอบของบรรยากาศ อัลบีโด หรือความสามารถในการสะท้อนแสงของบรรยากาศและพื้นผิวโลก น้ำในมหาสมุทร แผ่นน้ำแข็งขั้วโลก การเปลี่ ยนแปลงของเปลือกโลก

ก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญๆ 3 ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นก๊าซที่อยู่รอบตัวเรา เกิดขึ้นในบรรยากาศตามธรรมชาติ และ เกิดจากการหายใจของพืชและสัตว์ นอกจากนี้เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ ได้แก่การ เผาไหม้เชื้อเพลิง การ ขับเคลื่อนรถยนต์ และเครื่องจักรกลที่ใช้ในการเกษตรสมัยใหม่ ก๊าซมีเทน ที่เกิดจากธรรมชาติเกิดขึ้นได้ในลักษณะต่างๆ เช่น วัว ควายกินหญ้าและพืชต่างๆ เข้าไปจะถูก จุลินทรีย์ ย่อยสลายในระบบการย่อยอาหาร ทำให้เกิดก๊าซมีเทนเป็น จำนวนมากนอกจากนี้ก๊าซมีเทน ยังเกิดจากจุลินทรีย์ที่อาศัย อยู่ในดินที่มีน้ำขัง โดยจุลินทรีย์เหล่านี้จะย่อยสลายสาร อินทรีย์ที่เกิดจาก การทับถมกัน ส าหรับก๊าซมีเทน ที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ จะพบว่าเมื่อมนุษย์ทิ้งขยะ เป็น ปริมาณมากหรือมีการเผาป่าดิบและทุ่งหญ้าจะทำให้เกิดก๊าซมีเทน

4 มลพิษทางอากาศที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม ก๊าซไนตรัสออกไซด์ เป็นก๊าซที่เกิดจากแหล่งต่างๆ หลายแหล่งได้แก่ การเผาไหม้ของแร่ เชื้อเพลิง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ่านหิน ไอเสียรถยนต์ ปุ๋ยไนโตรเจนเมื่อลงดินจะสลายตัว แล้วจะปล่อยก๊าซ ไนตรัสออกไซด์ออกมา คลอโรฟลูออโรคาร์บอน เป็นสารเคมีสังเคาระห์ที่ไม่ได้เกิดขึ้นตามธรรมชาตินำมาใช้อย่าง แพร่หลายในรูปสารเคมีอุตสาหกรรม สารเคมีเหล่านี้บางชนิดใช้ทำความสะอาดชิ้นส่วนวงจรคอมพิวเตอร์ และแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ บางชนิดใช้ เป็นสารที่ทำให้เกิดการขับดันในกระป๋องสเปรย์ บางชนิดใช้เป็น ส่วนประกอบสำคัญในการผลิตผลิตภัณฑ์ โฟม พลาสติกทุกชนิด

5 สถานการณ์โลกร้อนในปัจจุบัน น้ำแข็งขั้วโลกละลาย มีแนวโน้มว่าอุณหภูมิของโลกจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อุณหภูมิของโลกในอีก 100 ปีข้างหน้า อาจจะ เพิ่มขึ้นอีกประมาณ 4-5 องศาเซลเซียส เนื่องจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึงร้อยละ 63 และก๊าซมีเทนร้อยละ 27 ประเทศไทยมีอุณหภูมิสูงขึ้น 1 องศาเซลเซียสในรอบ 40 ปี ผลกระทบที่เกิดขึ้น คือ ฝนตกหนัก ในบางพื้นที่ พายุพัดเข้าประเทศบ่อยขึ้น มีฤดูหนาวสั้นลง ปัจจุบันในชั้นบรรยากาศมี คาร์บอนไดออกไซด์สูงถึง 380 ล้านในล้านส่วน หลายพื้นที่อากาศแปรปรวน มีพายุเกิดขึ้นบ่อยขึ้น

6 ผลกระทบจากภาวะโลกร้อน ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากธารน้ำแข็งที่กำลังละลาย และอุณหภูมิทั่วโลกที่กำลังสูงขึ้นจาก การขยายตัวทางความร้อนของน้ำในมหาสมุทร ก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปล่อยออกมามหาศาลจากชั้นดินเยือกแข็ง และป่าที่กำลังตาย มีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะเกิดสภาพอากาศรุนแรง เช่น คลื่นความร้อน ความแห้งแล้ง และน้ำท่วม ในปัจจุบันความแห้งแล้งทั่วโลกได้เพิ่มสูงขึ้นมากกว่าใน 30 ปีที่ผ่านมา 2 เท่า ผลกระทบรุนแรงในระดับภูมิภาค ตัวอย่างเช่น ในยุโรป จะเกิดน้ำท่วมจากแม่น้ำเพิ่มขึ้นในพื้นที่ ส่วนมากของทวีป และตามพื้นที่ชายฝั่งจะเสี่ยงต่อน้ำท่วม การกัดเซาะ และการสูญเสียพื้นที่ใน ทะเลเพิ่มขึ้นอย่างมาก

7 ระบบทางธรรมชาติ ซึ่งได้แก่ ธารน้ำแข็ง ปะการัง ป่าชายเลน ระบบนิเวศของทวีปอาร์กติก ระบบ นิเวศของเทือกเขาสูง ป่าสนแถบหนาว ป่าเขตร้อน เขตลุ่มน้ำในทุ่งหญ้า และ เขตทุ่งหญ้าในท้อง ถิ่น จะถูกคุกคามอย่างรุนแรง สัตว์สายพันธุ์ต่างๆ เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มากขึ้น และเกิดความสูญเสียด้านความหลากหลายทาง ชีวภาพ ผลกระทบที่รุนแรงกว่าจะตกอยู่กับประเทศยากจน ได้แก่ ประเทศที่กำลังพัฒนาของทวีป แอฟริกา เอเชีย และมหาสมุทรแปซิฟิค ที่มีความสามารถน้อยที่สุดในการป้องกันตนเองจาก ระดับทะเลที่สูงขึ้น การแพร่กระจายของเชื้อโรค และผลผลิตภาคเกษตรที่ต่ำลง ภาวะโลกร้อนทุกระดับจะทำให้ประเทศที่กำลังพัฒนาทุกข์ทรมานมากที่สุด

ผลกระทบร้ายแรงในระยะยาว 8 พืดน้ำแข็งบนเกาะกรีนแลนด์และทวีปแอนตาร์กติกากำลังละลาย หากไม่ควบคุม ความร้อนที่ เกิดจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอาจจุดชนวนให้เกิดการละลายของพืดน้ำแข็งทั้งหมดในเกาะ กรีนแลนด์ในอีกไม่กี่ทศวรรษข้างหน้า ซึ่งจะทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นสูงสุดถึง 7 เมตรเป็นเวลา หลายทศวรรษ มีหลักฐานใหม่ที่แสดงว่าอัตราของการไหลลงต่ำของน้ำแข็งในทวีป แอนตาร์กติกาแสดงถึงภาวะเสี่ยงที่จะละลายทั้งหมด กระแสน้ำอุ่นในมหาสมุทรแอตแลนติกที่ไหลช้าลง เปลี่ยนทิศทาง หรือ หยุดไหล ซึ่งส่งผลกระ ทบอย่างสูงในยุโรป และทำให้ระบบการไหลเวียนของมหาสมุทรผิดปกติ หายนะจากการปล่อยก๊าซมีเทนอย่างมหาศาลจากมหาสมุทร ซึ่งทำให้ก๊าซมีเทนในบรรยากาศ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และส่งผลให้โลกร้อนขึ้น

ผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นในประเทศไทย 9 เมื่ออุณหภูมิของโลกที่ร้อนขึ้นทำให้อุณหภูมิของน้ำทะเลสูงขึ้นด้วย จึงส่งผลให้มีพายุ หมุนเขตร้อน คือ พายุดีเปรสชั่น พายุโซนร้อนและพายุไต้ฝุ่น เกิดถี่ขึ้นและรุนแรงมากขึ้ัน น้ำท่วม

10 ดินถล่ม คือ การเคลื่อนที่ของมวลดินและหิน ลงมาตามลาดเขา ด้วยอิทธิพลของเเรงโน้มถ่วงของโลก มักจะมีน้ำเข้ามาเกี่ยวข้องในการเกิดดินถล่ม ลักษณะพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่ม - อยู่ติดกับภูเขาและห้วย - อยู่บนเนินหน้าหุบเขาหรือที่ที่เคยมีดินถล่ม - มีรอยแยกบนพื้นดินหรือร่องรอยดินไหลบนภูเขา - มีน้ำป่าไหลผ่านแหละน้ำท่วมบ่อย

โรคระบาดและการเปลี่ยนแปลง 11 ภาวะโลกร้อน ทำให้ระบบนิเวศเปลี่ยนแปลงไปทำให้เชื้อโรคเจริญเติบโตอย่าง รวดเร็ว เนื่องจากมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การฟักตัวของเชื้อโรคและศัตรูพืช จะมีโรคที่เคยควบคุมไว้ได้แล้ว จะกลับมาระบาดใหม่อีกครั้ง เช่น โรคมาลาเรีย อหิวาตกโรค และอาหารเป็นพิษ เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศทางทะเล ปะการังบางชนิดตาย เกิดปรากฏการณ์ ฟอกขาวในปะการัง บางพื้นที่มีสาหร่ายแพร่พันธุ์ในเขตน้ำอุ่นที่มีมลพิษทางกิจกรรมของ มนุษย์

12 พายุ

13 วิธีการช่วยป้องกันภาวะโลกร้อนไว้ดังนี้ 1. ลดระดับการใช้งานเครื่องใช้ ไฟฟ้าลง เช่น เพิ่มความร้อนของเครื่องปรับอากาศในสำนักงาน หรือที่พักอาศัยลงสักหนึ่งองศา หรือ ปิดไฟขณะไม่ใช้งาน 2. นำกระดาษหรือภาชนะบรรจุอื่นๆ กลับไปใช้ใหม่ พยายามซื้อสิ่งของที่มีอายุการใช้งานนานๆ จะช่วยลดการใช้พลังงานของโลกอย่างมากมาย 3. รักษาป่าไม้ให้ได้มากที่สุด และลดหรืองดการจัดซื้อสิ่งของหรือเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ที่ทำจากไม้ที่ ตัดเอามาจากป่า 4. ลดการใช้น้ำมันจากการขับขี่ยานพาหนะ

14 ผู้จัดทำ นางสาวนรีรัตน์ วันแรก นางสาวภาวิณีย์ นวลมี นางสาวสิรภัทร จงจิต เลขที่ 13 ห้อง ว.611 เลขที่ 16 ห้อง ว.611 เลขที่ 22 ห้อง ว.611


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook