Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ขัตติยพันธกรณี (1)

ขัตติยพันธกรณี (1)

Published by kanjana11jah, 2022-08-31 14:51:41

Description: ขัตติยพันธกรณี (1)

Search

Read the Text Version

ขัตติยพั นธกรณี คณะผูัจัดทำ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖/๑ นำเสนอ ครูชมัยพร แก้วปานกัน

เรื่อง ขัตติยพันธกรณี คณะผู้จัดทำ ๑. น.ส.ธนพร จิวศิริตระกูล เลขที่ ๙ ๒.น.ส.นันท์ชญาน์ เจริญไพฑูรย์ เลขที่ ๑๕ ๓.น.ส.มนัสนันท์ หม่อมหมื่นทอง เลขที่ ๒๔ ๔.น.ส.ลัดดาวรรณ เทพสิน เลขที่ ๒๖ ๕.น.ส.ศศิกาน สาธุพันธุ์ เลขที่ ๓๐ ๖.น.ส.ศุภนันท์ โพธิพันธุ์ เลขที่ ๓๑ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖/๑ นำเสนอ คุณครู ชมัยพร แก้วปานกัน วารสารเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาภาษาไทย ท๓๓๑๐๑ ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๕ โรงเรียนสงวนหญิง จังหวัดสุพรรณบุรี

ก คำนำ วารสารเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ โดยมีจุดประสงค์ในการ ศึกษาวิเคราะห์ วิจารณ์วรรณคดีเรื่อง ขัตติยพันธกรณี แนวทางการนำเสนอเนื้อหา มุ่งเน้นให้คณะผู้จัดทำ และผู้ศึกษาเล่าเรียนทุกคน ได้ศึกษาเรื่องราวความเป็นมาของขัตติยพันธกรณี นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้คิด วิเคราะห์อย่างเป็นระบบในเนื้อหาและกลวิธี การใช้ภาษา และประโยชน์กับคุณค่าที่ได้รับ คณะผู้จัดทำหวังว่าวารสารเล่มนี้จะมีประโยชน์ต่อผู้ที่กำลังศึกษา หากมีข้อแนะนำหรือข้อผิดพลาดประการใด ทางคณะผู้จัดทำต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย คณะผู้จัดทำ

ข สารบัญ หน้า ก เรื่อง ข คำนำ สารบัญ ๑-๓ ความเป็นมา ๔-๑๐ ประวัติผู้แต่ง ๑๑-๑๒ ลักษณะคำประพั นธ์ เนื้อเรื่องเต็ม (แบบย่อ) ๑๓ เนื้อเรื่องเต็ม (เฉพาะตอนที่เรียน) ๑๔-๑๖ วิเคราะห์คุณค่า ๑๗-๒๓ บรรณานุกรม ๒๔

๑ ความเป็นมา ขัตติยพันธกรณี มาจากเหตุการณ์จริงในประวัติศาสตร์ คือเหตุการณ์ รศ.๑๑๒ (ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๓๖) โดยเหตุการณ์ครั้งนี้มาจากความขัดแย้ง ระหว่างประเทศไทยและประเทศฝรั่งเศสเกี่ยวกับเขตแดนทางด้านหลวงพระ บาง ซึ่งเริ่มต้นจากการกระทบกระทั่งกันของกำลังทหารทั้งจากฝั่ งไทยและ ฝรั่งเศส และทวีความรุนแรงขึ้นไปเรื่อย ๆ เมื่อผู้แทนทางการทูตของทั้ง ๒ ประเทศเจรจาเพื่อหาทางออกไม่สำเร็จ จนกระทั่งวันที่ ๑๓ กรกฎาคม รศ. ๑๑๒ กองเรือรบของฝรั่งเศส ได้รุกล้ำเข้ามาถึงปากแม่น้ำเจ้าพระยา แล่น ผ่านป้อมพระจุลจอมเกล้า และป้อมผีเสื้อสมุทร จนในที่สุด เรือปืนของ ฝรั่งเศส ๒ ลำก็สามารถเข้ามาจอดและทอดสมอหน้าสถานทูตฝรั่งเศสได้ พร้อมทั้งยื่นคำขาดในการเรียกร้องสิทธิเหนือดินแดน และเรียกร้องค่าปรับ

๒ อย่างไรก็ตาม วิกฤตการณ์ครั้งนี้จบลง เมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม รศ. ๑๑๒ ด้วยการ ลงนามในสนธิสัญญากรุงเทพฯ ซึ่งมีผล ทำให้ไทยเสียดินแดนฝั่ งซ้ายของแม่น้ำโขง ไป และเสียอำนาจการปกครองคนใน บังคับชาวอินโดจีนให้แก่ฝรั่งเศส

ความเป็นมา ๓ เหตุการณ์ครั้งนี้ ทำให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสียพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่ง จนทรงประชวรหนัก ไม่ยอม เสวยพระโอสถ ในระหว่างนี้ ได้ทรงพระราชนิพนธ์บทโคลงและ ฉันท์ เพื่อระบายความเจ็บปวด ความทุกข์ทรมานแสนสาหัส จน ไม่ทรงปรารถนาที่จะดำรงพระชนม์ชีพอีกต่อไป พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงส่งบทพระราชนิพนธ์ไปอำลาเจ้า นายพี่น้องบางพระองค์ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์ เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งเป็นพระเจ้าน้องยาเธอใน ขณะนั้น เมื่อทรงได้รับ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา ดำรงราชานุภาพ ก็ทรงนิพนธ์บทประพันธ์ถวายตอบทันที

๔ ประวัติผู้แต่ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ และสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี ประสูติ เมื่อวันอังคารที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๓๙๖ ทรงพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฎว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพยมหามกุฎ บุรุษ รัตนราชรวิวงศ์ วรุตมพงศ์บริพัตร ศิริวัฒนราชกุมาร ทรงได้รับการ สถาปนาเป็นเจ้าฟ้าต่างกรม มีพระนามกรมว่า กรมหมื่นพิฆเณศวรสุรสัง กาศ หลังจากทรงผนวชเป็นสามเณรทรงได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธยขึ้น เป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ฯ กรมขุนพินิตประชานาถ ทรงเป็นพระราชปิโยรสที่สมเด็จพระบรมชนกนาถโปรดให้เสด็จอยู่ใกล้ชิดติด พระองค์เสมอเพื่อให้มีโอกาสแนะนำสั่งสอนวิชาการต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งวิชารัฏฐาภิบาล ราชประเพณีและโบราณคดี นอกจากนั้นยังทรงศึกษา ภาษามคธ ภาษาอังกฤษ การยิงปืนไฟ กระบี่กระบอง มวยปล้ำ รวมทั้งการ บังคับช้างอีกด้วย

๕ ครองราชย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงได้รับการกราบบังคมทูล เชิญขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์สืบต่อจากสมเด็จพระบรมราชชนกเมื่อวัน พฤหัสบดีที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๑๑ ด้วยพระชนมายุเพียง ๑๕ พรรษา ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๔๑๑ โดยมีเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นผู้ สำเร็จราชการแทนพระองค์ จนหลังจากพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งที่ ๒ เมื่อพระชนมายุ ๒๐ พรรษา ในวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๑๖ จึงทรงปกครองแผ่นดินด้วยพระองค์เองอย่างสมบูรณ์ ทรงครอง ราชย์อยู่เป็นเวลายาวนานถึง ๔๒ ปี และได้ทรงพัฒนาประเทศให้เจริญ ก้าวหน้าทัดเทียมอารยประเทศทุกวิถีทาง

๖ สวรรคต ในบั้นปลายพระชนมชีพ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระพลานามัยไม่ สมบูรณ์นัก หลังจากเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ ๒ แล้ว พระอาการก็ค่อยทรุดลงเป็น ลำดับ และเสด็จสวรรคตด้วยพระโรคพระวักกะพิการเมื่อเวลา ๒ ยาม ๔๕ นาที ของวัน เสาร์ที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ สิริพระชนมายุ ๕๘ พรรษา ทรงครองสิริราชสมบัติ ๔๒ ปี ทรงมีพระราชโอรส พระราชธิดารวมทั้งสิ้น ๔๔ พระองค์ ด้วยทรงมีพระ มหากรุณาธิคุณต่อไพร่ฟ้าประชาชนอย่างหาที่สุดมิได้มาตลอดรัชกาลอันยาวนาน ประชาชนจึงพร้อมใจกันถวายพระบรมราชสมัญญานาม ว่า สมเด็จพระปิยมหาราช อันมี ความหมายว่า พระมหากษัติรย์ผู้ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชน และถือวันที่ ๒๓ ตุลาคม เป็นวันปิยมหาราชมาจนตราบเท่าทุกวันนี้

ประสูติ ๗ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ มีพระนามเดิมว่า พระองค์ เจ้าดิศวรกุมาร (อ่านว่า พระ-องค์-เจ้า-ดิด-สะ-วอ-ระ-กุ-มาร) เป็นพระราชโอรส พระองค์ที่ ๕๗ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นพระองค์เดียวที่ ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาชุ่ม พระสนมเอก ณ พระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๐๕ พระองค์ได้รับพระราชทานพระนามจากพระบิดาในวันสมโภช เดือนและขึ้นพระอู่ โดยมีรายละเอียดว่า “สมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าแผ่นดินสยามผู้พระบิดา ขอตั้งนามกุมารบุตรที่เกิดแต่ชุ่มเล็กเป็นมารดานั้น และซึ่งคลอดในวันเสาร์ แรม ๙ ค่ำ เดือน ๗ ปีจอจัตวาศกนั้น ว่าดังนี้ พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าดิ ศวรกุมาร นาคนาม ขอจงเจริญชนมายุ วรรณ สุข พล ปฏิภาณ สรรพสิริส วัสดิพิพัฒนมงคลทุกประการ สิ้นกาลนานต่อไปเทอญ” ชาววังโดยทั่วไป เรียกกันว่า “เสด็จพระองค์ดิศ” โดยพระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงนำเอานามของพระยาอัพภัน ตริกามาตย์ (ดิศ โรจนดิศ) ซึ่งเป็นบิดาของเจ้าจอมมารดาชุ่มมา ตั้งพระราชทาน เนื่องจากทรงพระราชดำริว่าท่านเป็นคนซื่อตรง

๘ ทรงศึกษา พระองค์ทรงเริ่มเรียนหนังสือไทยชั้นต้นจากสำนักคุณแสงและคุณปาน ราชนิกุล ในพระบรมมหาราชวัง ทรงศึกษาภาษาอังกฤษในโรงเรียนหลวง ซึ่งมีมิสเตอร์ ฟ รานซิส ยอร์ช แพตเตอร์สัน เป็นพระอาจารย์ พ.ศ. ๒๔๑๘ ขณะพระชันษา ๑๓ ปี ผนวชเป็ นสามเณรที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดย มีสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ และ ประทับจำพรรษาที่วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร พ.ศ. ๒๔๒๘ ทรงสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบก ได้รับพระราชทานยศ เป็นนายร้อยตรีทหารมหาดเล็ก บังคับกองแตรวง ขณะพระชันษา ๑ ปี

รับราชการ ๙ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงประกอบพระ กรณียกิจด้านต่าง ๆ และทรงเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยในพระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระเชษฐา ถึงขนาดตรัสชมว่า ทรงเป็นเสมือน “เพชร ประดับพระมหาพิ ชัยมงกุฎ” ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระเจ้าบรม วงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ก็ได้สนองพระเดชพระคุณตลอดมา ตราบจนชราทุพพลภาพ ไม่สามารถทำราชการหนักในตำแหน่งต่อไปอีก จึง กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยในปี พ.ศ. ๒๔๕๘พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงสถาปนาเป็นเสนาบดีที่ ปรึกษา

๑๐ สิ้นพระชนม์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เริ่ม ประชวรด้วยโรคพระหทัยพิ การมาตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ จึงเสด็จกลับมารักษาพระอาการประชวรในประเทศไทย (ก่อนหน้านั้นทรงประทับอยู่ต่างประเทศ จากเหตุการณ์การ เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕) พระอาการทรงและทรุด เรื่อยมาจนสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๖ ที่วังว รดิศ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล สิริ พระชันษา ๘๑ ปี

ลักษณะคำประพันธ์ ๑๑ โคลงสี่สุภาพ แต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทโคลงสี่สุภาพและอินทรวิเชียร () ()

๑๒ อินทรวิเชียรฉันท์

๑๓ เนื้อเรื่องเต็ม(แบบย่อ) บทพระราชนิพนธ์และบทนิพนธ์นี้เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการเขียนตอบ เริ่มจากบทพระราชนิพนธ์ใน พระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่เป็นเรื่องราวของพระองค์ ณ เวลานั้น การเข้ามาของ ฝรั่งเศสได้สร้างความกังวล พระหฤทัยเป็นอย่างมากประกอบกับอาการพระชวรจึงทําให้บทพระราช นิพนธ์นี้เปรียบเสมือนการบรรยายความทุกข์ ความสิ้นหวังและความกังวลของพระองค์ หลังจากจบ บทพระราชนิพนธ์ ก็ต่อด้วยบทพระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรม วงศ์เธอ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ ซึ่งมีรูปแบบลักษณะของการถวายกําลังพระทัย ซึ่งอยู่ในส่วนแรก ถัดมาเป็นการ ให้ข้อคิดโดยการใช้อุปมา ต่อจากการให้ข้อคิด สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดํารงราชานุ ภาพได้ทรงอาสาจะ ถวายชีวิตรับใช้และต่อสู้กับปัญหาที่เผชิญ สุดท้ายพระนิพนธ์จบลงด้วยการถวาย พระพรและคํายืนยันถึงความจงรักพัก ดีที่ประชาชนไทยมีต่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

เนื้อเรื่องเต็ม (เฉพาะตอนที่เรียน) ๑๔ เหตุการณ์นี้คือเหตุการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ ซึ่งตรงกับ พ.ศ. ๒๔๓๖ ไทยขัดแย้งกับฝรั่งเศสเรื่องเขตแดนทาง ด้านเขมร ฝรั่งเศสส่งเรือปืนแล่นผ่านป้อมพระจุลจอมเกล้าฯ เข้ามาจอดทอดสมอหน้าสถานทูตฝรั่งเศส ถืออำนาจเชิญธงชาติฝรั่งเศสขึ้นเหนือแผ่นดินไทย ตรงกันวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ซึ่งเป็นวันชาติฝรั่งเศส และยื่นคำขาดเรียกร้องดินแดนทั้งหมดทางฝั่ งตะวันออกของแม่น้ำโขง ซึ่งขณะนั้นอยู่ใต้อำนาจ ปกครองของไทยเนื่องจากไทยให้คำตอบล่าช้า ทูตปาวีของฝรั่งเศสจึงให้เรือปืนปิดล้อมอ่าวไทย เป็นการประกาศสงครามกับไทย ซึ่งข้อเรียกร้องของฝรั่งเศส ได้แก่ ฝรั่งเศสในฐานะเป็นมหาอำนาจผู้ คุ้มครองเวียดนามและกัมพู ชา จะต้องได้ดินแดนทั้งหมดทางฝั่ งตะวันออกของแม่น้ำโขง ไทยจะต้อง ลงโทษนายทหารทุกคนที่ก่อการรุกรานที่ชายแดน ไทยจะต้องเสียค่าปรับแก่ฝรั่งเศสเป็นจำนวน ๓ ล้าน ฟรังค์เหรียญทอง (เท่ากับ ๑,๕๖๐,๐๐๐บาท สมัยนั้น) เหตุการณ์นี้ทำให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ เสียพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่ง จนทรงพระประชวรหนัก ไม่ยอมเสวยพระโอสถใด ๆ ในระหว่างนั้นได้ทรงพระราช นิพนธ์บทโคลงและฉันท์ระบายความทุกข์โทมนัสในพระราชหฤทัยจนไม่ทรงปรารถนา ที่จะดำรงพระชนม์ชีพอีกต่อไป ได้ทรงส่งบทพระราชนิพนธ์ไปอำลาเจ้านายพี่น้อง บางพระองค์รวมทั้งสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ซึ่งเป็นพระเจ้าน้องยาเธอด้วย เมื่อ ทรงได้รับสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ก็ทรงนิพนธ์บทประพันธ์ถวายตอบทันที ทำให้ กำลังพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ กลับคืนมาอีกครั้งหนึ่ง กลับเสวยพระโอสถ และเสด็จออกว่าราชการได้ในไม่ช้า

๑๕ ส่วนพระนิพนธ์ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพนั้น เป็นอินทรวิเชียรฉันท์ทั้งหมด มีเนื้อความแสดงความวิตกและความทุกข์ของประชาชนชาวไทยในพระอาการประชวรของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ สำหรับตัวพระองค์เองนั้น ถ้าเลือดเนื้อของพระองค์เจือ ยาถวายให้หายประชวรได้ก็ยินดีจะทูลเกล้าฯ ถวาย ทรงเปรียบประเทศชาติเป็นรัฐนาวา มี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงเป็นผู้บัญชาการเรือ เมื่อมาทรงพระประชวรและไม่ ทรงบัญชาการ ผู้กระทำหน้าที่ต่าง ๆ ในเรือก็ปฏิบัติหน้าที่ของตนไม่ถูก เป็นธรรมดาเมื่อ เรือแล่นไปในทะเลในมหาสมุทรมีบางครั้งอาจเจอพายุหนักบ้างเบาบ้าง ถ้ากำลังเรือดีก็แล่น รอดไปได้ ถ้าหนักเกินกำลังเรือจะรับก็อาจจะล่ม พวกชาวเรือก็ย่อมจะรู้กัน ดังนั้นตราบที่ เรือยังลอยอยู่ยังไม่จม ก็ต้องพยายามแก้ไขกันจนสุดความสามารถ เหมือนรัฐนาวาเจอ ปัญหาวิกฤติก็ต้องหาทางแก้จนสุดกำลังความสามารถถ้าแก้ไม่ได้ก็ต้องยอมรับสภาพว่า ถึงกรรมจะต้องให้เป็นไป แต่ถ้าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงทอดธุระเสีย ไม่ทรง หาทางแก้ไข ในที่สุดรัฐนาวาก็ย่อมจะไปไม่รอดต่างกันก็แต่ว่าถ้าพระองค์พยายามหาทาง แก้ไขจนเต็มกำลังพระปรีชาสามารถ

๑๖ แล้วแก้ไขไม่ได้ ก็ไม่มีใครมาว่าได้ว่าพระองค์ขลาดเขลาและไม่เอาพระทัยใส่ในการแก้ไขปัญหาของประเทศ ถึงจะพลาดพลั้งก็ยังได้รับการยกย่องและความเห็นใจว่าปัญหาหนักใหญ่เกินกำลังจะแก้ไขได้ สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทรงเปรียบตัวพระองค์เองเหมือนม้าที่เป็นพระราชพาหนะ เตรียมพร้อมที่ จะรับใช้เทียบหน้าพลับพลา คอยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ประทับและทรงบัญชาการให้ม้าไป ทางใด ก็ยินดีจะทำตามพระราชบัญชา ไม่ว่าจะลำบากหรือใกล้ไกลเพียงใดก็ทรงยินดีรับใช้จน สิ้นพระชนม์ชีพ ถึงจะวายพระชนม์ก็จะตายตาหลับด้วยได้ทรงบำเพ็ญพระกรณียกิจที่มีต่อชาติบ้าน เมืองสมกับพันธกรณีแล้ว ทรงขอให้อำนาจแห่งคำสัตย์ของพระองค์ดลบันดาลให้พระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าฯ ทรงหายจากการประชวรทั้งพระวรกายและพระราชหฤทัย และขอให้สำเร็จพระราช ประสงค์ที่ทรงปรารถนา ให้เหตุที่ทำให้ทรงขุ่นขัดพระราชหฤทัยเคลื่อนคลายเหมือนเวลาหลายปีได้ผ่าน พ้นไป และขอให้ดำรงพระชนม์ชีพยืนนานเพื่อเกื้อกูลและสร้างความเจริญแก่ประเทศไทยตลอดไป

๑๗ วิเคราะห์คุณค่าด้านเนื้อหา โครงเรื่อง : การเขียนจดหมายตอบโต้กันระหว่างพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และกรมพระยาดำรงราชานุภาพส่วนแรกกล่าวถึงอาการเจ็บป่วยแสดงความกังวลใจที่ป่วย เป็นเวลานาน ทำให้เป็นภาระหนักอกประกอบกับความเจ็บป่วยทั้งกายและใจยิ่งเฉพาะในยาม วิกฤตแบบนี้พระองค์ไม่สามารถละทิ้งบ้านเมืองไปได้ ส่วนที่สองเป็นการเขียนตอบกลับของ กรมพระยาดำรงราชานุภาพมีเนื้อความให้กำลังใจปนความกังวลและห่วงใยพร้อมที่จะสละ เลือดเนื้อและชีวิตหากจะช่วยบรรเทาอาการป่วยนี้ได้ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว - โคลงสี่สุภาพ จำนวน ๗ บท - อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ จำนวน ๔ บท พระนิพนธ์ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ - อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ จำนวน ๒๖ บท กลวิธีการแต่ง - ใช้วิธีการเปรียบเทียบและยกตัวอย่าง

วิเคราะห์คุณค่าด้านวรรณศิลป์ ๑๘ การสรรคำ ผู้แต่งได้ใช้โวหารภาพพจน์ อุปมาและอุปลักษณ์เพื่อทำให้ผู้อ่านเข้าใจง่ายและเห็นภาพมากขึ้น อีกทั้งยังแสดงให้เห็นถึง ความรักชาติ พระมหากษัตริย์ของคนไทยในสมัยนั้น การเลือกใช้คำให้เหมาะสมกับเรื่องและฐานะของบุคคลในเรื่อง ในเรื่องมีตัวละครหลักคือพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จกรมพระยา ราชานุภาพ จึงได้มีการใช้คำราชาศัพท์ที่ถูกต้องเพื่อให้เหมาะสมกับฐานะกษัตริย์ การเรียบเรียงคำ เป็นบทพระราชนิพนธ์และบทประพันธ์ที่ถูกแต่งขึ้นเป็นคำฉันท์ ทรงเลือกใช้อินทรวิเชียรฉันท์ในการแต่งและทรงใช้การ ออกเสียงตามธรรมชาติของการพู ดภาษาไทยแต่เน้นการใช้คำที่สร้างจินตภาพและอารมณ์สะเทือนใจ การใช้พรรณนาโวหาร ตัวอย่างเช่น ยังราย ส่านอ เป็นฝีสามยอดแล้ว ช่วยได้ เศียรกลัด กลุ้มแฮ ปวดเจ็บใครจักหมาย นั่นนั้นเห็นจริง ใช่เป็นแต่ส่วนกลาย ใครต่อเป็นจึ่งผู้ มีการให้รายละเอียดโดยการแทรกอารมณ์ความรู้สึกถึงการเจ็บปวดทรมานมาก ปวดทั้งกายและศีรษะด้วยพิ ษไข้ของโรคฝีสามยอด

๑๙ การใช้เทศนาโวหาร ตัวอย่างเช่น ชีวิตมนุษย์นี้ เปลี่ยนแปลง จริงนอ สุขและทุกข์พลิกแพลง มากครั้ง โบราณท่านจึงแสดง เป็นเยี่ยง อย่างนา ชั่วนับเจ็ดทีทั้ง เจ็ดข้างฝ่ายดี มีการกล่าวสั่งสอนชี้แนะว่าชีวิตมนุษย์เปลี่ยนแปลงไปได้อยู่เสมอ มีทุกข์สุขสลับกันไปตามคำโบราณว่า “ชั่วเจ็ดทีดีเจ็ดหน” การใช้สาธกโวหาร ตัวอย่างเช่น กล้วยเผาเหลืองแก่ก้า เกินพระ ลักษณ์นา แรกก็ออกอร่อยจะ ใคร่กล้า นานวันยิ่งเครอะคระ กลืนยาก ทนจ่อซ่อมจิ้มจ้า แดกสิ้นสุดใบ ในบทประพันธ์นี้ได้มีการยกตัวอย่างเช่นกล้วย ว่ากล้วยเผาจนเหลือง เหลืองยิ่งกว่าสีผิวของพระลักษณ์ ครั้งแรกอร่อยใครๆก็ อยากจะกิน แต่พอหลายวันเข้าก็แข็งกลืนยาก จะเอาซ่อมจิ้มสักกี่ที ก็ไม่อ่อนลงได้

๒๐ การใช้อติพจน์ ตัวอย่างเช่น ประสาแต่อยู่ใกล้ ทั้งรู้ใช่ว่าหนักหนา เลือดเนื้อผิเจือยา ให้หายได้จะชิงถวาย บทนี้มีการกล่าวเกินจริงว่าถ้าเลือดเนื้อของกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เจือยาถวายให้หายประชวรได้ ก็ยินดีที่จะทูลเกล้าฯ ถวาย การใช้อุปลักษณ์ ตัวอย่างเช่น ตะปูดอกใหญ่ตรึ้ง บาทา อยู่เฮย จึงบ่อาจลีลา คล่องได้ เชิญผู้ที่มีเมตตา แก่สัตว์ ปวงแฮ ชักตะปูนี้ให้ ส่งข้าอัญขยม การเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง เปรียบพันธกรณีที่มีต่อชาติบ้านเมืองในฐานะที่พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์เป็น ตะปูดอกใหญ่ที่ตรึงพระบาทไว้มิให้ก้าวย่างไปได้

๒๑ การใช้อุปมา ตัวอย่างเช่น เปรียบตัวเหมือนอย่างม้า ที่เป็นพาหนะยาน ผูกเครื่องบังเหียนอาน ประจำหน้าพลับพลาชัย กรมพระยาดำรงราชานุภาพเปรียบตนเองเหมือนม้าที่จะเป็นพาหนะของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว การใช้นามนัย ตัวอย่างเช่น ชาวเรือก็ย่อมรู้ ฉะนี้อยู่ทุกจิตใจ แต่ลอยอยู่ตราบใด ต้องจาแก้ด้วยแรงระดม มีการแสดงความหมายแทนที่ชาวเรือ คือ ประชาชน การใช้นาฏการ ตัวอย่างเช่น ก็ไม่ผิด ณ นิยม ถ้าจะว่าบรรดากิจ จะเปรียบต่อก็พอกัน เรือแล่นทะเลลม มีการใช้เรือแล่นเป็นนาฏการแสดงอาการเคลื่อนไหว

การใช้กรุณารส ตัวอย่างเช่น ๒๒ อันพระประชวรครั้ง นี้แท้ทั้งไผทสยาม เหล่าข้าพระบาทความ วิตกพ้ นจะอุปมา ประสาแต่อยู่ใกล้ ทั้งรู้ใช่ว่าหนักหนา เลือดเนื้อผิเจือยา ให้หายได้ชิงถวาย บทประพันธ์นี้เป็นบทพรรณนาเพื่อแสดงถึงความเมตตา ที่ทำให้ผู้อ่านหดหู่เกิดความสงสาร การใช้สำนวนสุภาษิต ตัวอย่างเช่น ไกลใกล้บ่ได้เลือก จะกระเดือกเต็มประดา ตราบเท่าจะถึงวา- ระชีวิตมลายปราณ มีการใช้สำนวนสุภาษิตพระร่วงที่ว่า อาสาเจ้าจนตัวตาย การเล่นเสียงวรรณยุกต์ ตัวอย่างเช่น กลืนยาก นานวันยิ่งเครอะคระ แดกสิ้นสุดใบ ทนจ่อซ่อมจิ้มจ้ำ จะวิบัติพระขันตี การเล่นสัมผัสพยัญชนะ ตัวอย่างเช่น ละลืมเลิกละลายสูญ ขอเหตุที่ขุ่นขัด จงคลายเหมือนหลายปี

๒๓ วิเคราะห์คุณค่าด้านสังคม - สะท้อนความคิด ความเชื่อของคนไทยในอดีตได้เป็นอย่างดี - ปลุกจิตสำนึกให้คนในชาติหวงแหนรักษาผืนแผ่นดินไทยไว้ให้ดำรงอยู่สืบไปและตระหนักถึงความเหนื่อยยากของ บรรพบุรุษที่ต้องยอมแลกด้วยชีวิตเพื่ อรักษาฝืนแผ่นดินนี้ไว้ ฉันไปปะเด็กห้า หกคน โกนเกศนุ่งขาวยล เคลิบเคลิ้ม ถามเขาว่าเป็นคน เชิญเครื่อง ไปที่หอศพเริ้ม ริกเร้าเหงาใจ - ประเพณีเรื่องการโกนเกศนุ่งขาว เป็นลักษณะการเข้าทุกข์ใหญ่โดยการโกนผมแล้วนุ่งขาวแสดงให้เห็นถึง ประเพณีการไว้ทุกข์ในอดีต

๒๔ บรรณานุกรม ความเป็นมา (ออนไลน์) : เข้าถึงได้จาก https://kingkarnk288.wordpress.com/. ค้นเมื่อ ๒๘ กรกฏาคม ๒๕๖๕ ประวัติผู้แต่ง (ออนไลน์) :พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เข้าถึงได้จากhttps://th.wikipedia.org/wiki/พระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ค้นเมื่อ ๒๘ กรกฏาคม ๒๕๖๕ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เข้าถึงได้จาก https://th.wikipedia.org/wiki/สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ_กรมพระยา ดำรงราชานุภาพ ค้นเมื่อ ๒๘ กรกฏาคม ๒๕๖๕ ลักษณะคำประพันธ์ (ออนไลน์) : http://noinuay.blogspot.com/2016/12/blog-post.html ค้นเมื่อ ๒๘ กรกฏาคม ๒๕๖๕ หนังสือกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย(2551). วรรณคดีวิจักษ์. สกสค. ลาดพร้าว. น.145-158 ค้นเมื่อ ๒๘ กรกฏาคม ๒๕๖๕


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook