Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore วันสำคัญทางศาสนา

วันสำคัญทางศาสนา

Description: วันสำคัญทางศาสนา

Search

Read the Text Version

วนั สำคัญทางศาสนา กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม



วนั สำคัญทางศาสนา กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

วนั สำคญั ทางศาสนา ผู้จดั พมิ พ์ กรมการศาสนา กระทรวงวฒั นธรรม พมิ พ์คร้ังที่ ๒ ปที ่พี ิมพ ์ พ.ศ. ๒๕๕๓ จำนวนพมิ พ์ ๒๐,๐๐๐ เลม่ ที่ปรึกษา อธิบดกี รมการศาสนา ๑. นายสด แดงเอียด รองอธบิ ดีกรมการศาสนา ๒. นายกฤษศญพงษ์ ศริ ิ ผอู้ ำนวยการกองศาสนปู ถมั ภ์ ๓. นายพิสทิ ธ์ิ นิรัตติวงศกรณ์ เลขานุการกรมการศาสนา ๔. นางสาวภัคสจุ ์ิภรณ์ จปิ ภิ พ รวบรวมเรยี บเรียง ๑. นางศิรกิ าญจนา อิศรางกูร ณ อยุธยา นักวิชาการศาสนาชำนาญการพเิ ศษ ๒. นายชุมพล อนุกานนท์ นกั วชิ าการศาสนาชำนาญการ ๓. นางธิตกิ าญจน์ ธนศรีสนุ ยี ์ นักวชิ าการศาสนาชำนาญการ ๔. นายสมคิด ไพบูลย์ นกั วชิ าการศาสนาชำนาญการ ๕. นายประชา เชาวนว์ ิวัฒนาพร นักวิชาการศาสนาชำนาญการ คณะผปู้ ระสานงาน ๑. นางศรนี วล ลัภกติ โร นกั วชิ าการศาสนาชำนาญการพิเศษ ๒. นายสำรวย นักการเรียน นักวชิ าการศาสนาชำนาญการ ๓. นางสาววภิ ารตั น์ กอพยคั ฆินทร ์ นักวชิ าการศาสนาชำนาญการ ๔. นางสาวอมรา ไหมพิมพ์ นักวชิ าการศาสนาชำนาญการ ๕. นางสาวรกั ชนก ษมาศิร ิ นักวชิ าการศาสนาชำนาญการ ๖. นายชนะกิจ คชชี นักวิชาการศาสนาปฏิบัติการ ๗. นางสาวภคภรณ์ อมรรัตน ์ นักวชิ าการศาสนาปฏบิ ตั ิการ ๘. นายธนพล พรมสุวงษ ์ นกั วิชาการศาสนาปฏบิ ัติการ ๙. นายยอดชาย แสงศริ ิ นกั วิชาการศาสนา ๑๐. นายวีระพงษ์ ฉตั รเวทิน นกั วชิ าการศาสนา ๑๑. นายผดงุ ศกั ด์ิ กะรตั น์ นกั วชิ าการศาสนา ๑๒. นางสาวนภสั วรรณ เกตสุ รอ้ ย เจ้าหนา้ ที่บนั ทกึ ข้อมลู ๑๓. นายเกยี รติพงษ์ สุทธการ เจา้ หนา้ ทีบ่ นั ทกึ ขอ้ มูล พมิ พ์ที่ โรงพิมพ์ชุมนมุ สหกรณก์ ารเกษตรแหง่ ประเทศไทย จำกดั ๗๙ ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจกั ร กรุงเทพมหานคร ๑๐๙๐๐ โทร. ๐-๒๕๖๑-๔๕๖๗ โทรสาร ๐-๒๕๗๙-๕๑๐๑ นายโชคดี ออสวุ รรณ ผู้พมิ พ์ผโู้ ฆษณา

คำนำ กรมการศาสนา ไดจ้ ัดพิมพ์หนงั สือ วันสำคญั ทางศาสนา ออกเผยแพร่เม่ือปี พ.ศ. ๒๕๕๒ จำนวน ๕,๐๐๐ เล่ม ปรากฏว่าหนังสือดังกล่าว ได้รับความ สนใจและเป็นประโยชน์ต่อศาสนิกชนของแต่ละ ศาสนา ในเรื่องวันสำคัญและพิธีกรรมทางศาสนา เป็นอย่างมากจึงทำใหห้ นังสือหมดลงอยา่ งรวดเร็ว กรมการศาสนา พิจารณาเห็นว่าหนังสือดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมให้คนไทยมีความรัก ความสามัคคี มีความสมานฉันท์ เอ้ือเฟ้ือเผ่ือแผ่ซ่ึงกัน และกัน โดยไม่แบ่งแยกว่านับถือศาสนาใด และ ส่งเสริมให้ศาสนิกชนต่างศาสนาได้เรียนรู้ในหลักธรรม และพิธีกรรมของกันและกันได้เป็นอย่างดี อันจะ เป็นการสร้างความเข้าใจและเคารพในวิถีชีวิตแนวทาง ปฏิบัติท่ีแตกต่างกัน ดังนั้นจึงได้จัดพิมพ์ข้ึนเป็นครั้งท่ี ๒ เพือ่ เผยแพร่ใหก้ วา้ งขวางย่งิ ขน้ึ

หวังเป็นอย่างย่ิงว่าหนังสือ “วันสำคัญทาง ศาสนา” เล่มนี้ จะอำนวยประโยชน์อย่างไพศาล แก่ศาสนกิ ชนของแต่ละศาสนาตลอดไป (นายสด แดงเอยี ด) อธิบดีกรมการศาสนา

สารบัญ หนา้ คำนำ ๑ ๑๑ วันสำคญั ทางศาสนาพุทธ ๒๕ ๒๕ วนั สำคญั ทางศาสนาอิสลาม ๓๕ ๔๑ วันสำคญั ทางศาสนาครสิ ต์ ๔๕ นกิ ายโรมันคาทอลกิ นกิ ายโปรเตสแตนท์ วันสำคัญทางศาสนาพราหมณ-์ ฮนิ ดู วันสำคญั ทางศาสนาซกิ ข์



วันสำคัญทางศาสนาพุทธ เรียบเรียงโดย เปรียญธรรมสมาคม ๑. วันมาฆบชู า วันมาฆบูชา ตรงกับวันข้ึน ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ (หากตรงกับปีอธิกมาส คือปีที่มีเดือน ๘ สองหน วนั มาฆบชู าจะเลอื่ นไปเป็นวนั ขนึ้ ๑๕ คำ่ เดือน ๔) คำว่า “มาฆบูชา” เป็นช่ือของพิธีบูชา และ การทำบุญในพระพุทธศาสนาอย่างหน่ึง ซึ่งปรารภ การประชุมใหญ่ของพระสาวกท่ีเรียกว่า จาตุรงค สันนิบาต ในวันเพ็ญเดือน ๓ ณ วัดเวฬุวันมหาวิหาร ใกลก้ รุงราชคฤห์ คำว่า จาตุรงคสันนิบาต แปลว่า การประชุม พระสาวก ซ่ึงประกอบด้วยองค์สี่ หรือการประชุม พร้อมดว้ ยองค์สี่ ไดแ้ ก่ ๑. พระสงฆท์ ีม่ าประชมุ วนั น้นั ลว้ นเปน็ เอหิภิกขุ คอื ไดร้ ับอปุ สมบทโดยตรงจากพระพุทธเจ้า ๒. พระสงฆ์เหล่าน้ันเป็นพระอรหันต์ผู้ได้ อภญิ ญา ๖ ทั้งสิ้น ๓. พระสงฆ์ท่ีประชุมวันนั้นมีจำนวนถึง ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย และพระพุทธเจ้าได้ ทรงแสดงโอวาทปาตโิ มกข ์

๔. วันนั้นเป็นวันเพ็ญเดือนมาฆะ พระจันทร์เต็ม ดวงบริบรู ณ์ คำว่า โอวาทปาติโมกข์ แปลว่า โอวาทที่เป็น ประธาน หรือคำสอนท่ีเป็นหลักใหญ่ เป็นหัวใจของ พระพทุ ธศาสนา โดยย่อมี ๓ ประการ คอื ๑. การไมท่ ำบาปทัง้ ปวง (ละชั่ว) ๒. การยงั กุศลใหถ้ งึ พรอ้ ม (ทำความดี) ๓. การทำจิตของตนให้ผ่องแผ้ว (ทำจิตใจ บริสุทธ์ิ) ๒. วันวิสาขบูชา วันวสิ าขบชู า ตรงกบั วนั ขึ้น ๑๕ คำ่ เดอื น ๖ คำว่า วิสาขบูชา ย่อมาจากคำว่า “วิสาข ปูรณมีบูชา” แปลว่า การบูชาพระในวันเพ็ญ เดือนวิสาขะ ตรงกับวันเพ็ญข้ึน ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ถ้าหากตรงกับปีอธิกมาส คือ ปีท่ีมีเดือน ๘ สองหน วันวิสาขบชู าจะเล่อื นไปเป็นวันข้ึน ๑๕ คำ่ เดือน ๗ ในวันวิสาขบูชา มีเหตุการณ์เกิดข้ึน ๓ ประการ และจดั ว่าเป็นเหตุการณท์ ีส่ ำคัญ คอื

๑. เ ป็ น วั น ป ร ะ สู ติ ข อ ง เจ้ า ช า ย สิ ท ธั ต ถ ะ ณ ลุมพินีวัน อยู่ระหว่างกรุงกบิลพัสด์ุกับกรุงเทวทหะ แควน้ สกั กะ ตรงกบั วันศุกรข์ นึ้ ๑๕ ค่ำ เดอื น ๖ ซง่ึ ต่อ มาพระองค์ได้ออกบวชจนได้บรรจุอนุตตรสัมมา สัมโพธิญาณ เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า จึง ถอื วา่ เป็นวนั เกดิ ขึน้ ของพระพุทธเจ้าหรือวนั พระพุทธ ๒. เป็นวันตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ณ มหาโพธิ บัลลังก์ ริมฝ่ังแม่น้ำเนรัญชราฝั่งตะวันตก ตำบลอุรุ เวลาเสนานิคมแคว้นมคธ ในตอนเช้ามืดของวันพุธ ขึ้น ๑๕ คำ่ เดือน ๖ ปีระกา ก่อนพทุ ธศกั ราช ๔๕ ปี จึงถอื ว่าเปน็ วันเกดิ ขึ้นของพระธรรมหรอื วนั พระธรรม ๓. เ ป็ น วั น ป ริ นิ พ พ า น ข อ ง พ ร ะ พุ ท ธ เจ้ า ณ ระหว่างต้นสาละ ๒ ต้น ในสาลวโนทยานของ มลั ลกษตั ริยใ์ กล้กรงุ กุสนิ ารา เมอ่ื วนั อังคาร ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปมี ะเสง็ สมัชชาใหญ่ขององค์การสหประชาชาติ ได้มีมติ เปน็ เอกฉนั ท์ เม่ือวนั ที่ ๑๕ ธนั วาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้ ถือวา่ วันวิสาขบูชา เป็นวนั สำคญั สากล (International of the Visaka Day)

๓. วันอาสาฬหบูชา วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวัน ข้ึน ๑๕ คำ่ เดอื น ๘ ความหมายของ “วนั อาสาฬหบูชา” อาสาฬหบชู า ประกอบขึ้นจากคำ ๒ คำ คือ อาสาฬห (เดือน ๘ ทางจันทรคติ) กับบูชา (การบูชา) เมื่อรวมกันเข้าจึง แปลวา่ การบชู าในเดือน ๘ หรือการบชู าเพื่อระลกึ ถงึ เหตุการณส์ ำคญั ในเดือน ๘ ความสำคญั ของวนั อาสาฬหบูชา ๑. เป็นวันท่ีพระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา (เทศนากณั ฑแ์ รก) คือ พระธัมจักกปั ปวัตตนสตู ร ๒. เป็นวันเกิดพระอริยสงฆ์สาวกองค์แรก คือ ท่านอัญญาโกณฑัญญะ ผู้ได้ดวงตาเห็นธรรม เมื่อได้ สดับพระปฐมเทศนา ๓. เป็นวันเกิดพระสังฆรัตนะ ทำให้มีพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ครบทั้ง ๓ รตั นะ ในวนั นี้ ข้อสงั เกต ๑. วนั มาฆบชู า ถอื ว่าเปน็ วันพระธรรม ๒. วันวสิ าขบูชา ถอื ว่าเป็นวนั พระพุทธเจา้ ๓. วนั อาสาฬหบชู า ถือวา่ เปน็ วันพระสงฆ์

๔. วนั อัฏฐมีบชู า วันอฏั ฐมบี ูชา ตรงกับวันแรม ๘ คำ่ เดอื น ๖ วันอัฏฐมีบูชา เป็นวันถวายพระเพลิงพระพุทธ สรีระของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หลังจาก ที่พระพุทธเจ้าทรงดับขันธปรินิพพานแล้ว ๘ วัน โดยนบั จากวันทีพ่ ระองคป์ รนิ พิ พาน ข้อปฏิบัติของพุทธศาสนิกชนในวันสำคัญทาง พระพทุ ธศาสนา ๑. เ ม่ื อ ถึ ง วั น ม า ฆ บู ช า วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา และวันอัฏฐมีบูชา เวียนมาถึงใน ตอนเช้า นอกจากจะมีการทำบุญตักบาตรตามปกติแล้ว สาธุชนจะรับอุโบสถศีล และฟังเทศน์ตามวัดที่ใกล้เคียง หรือวัดท่ีคุ้นเคย ในตอนค่ำนำธูป เทียน ดอกไม้ ไปประชุมพร้อมกันที่โบสถ์ หรือเจดียสถานแห่งใด แหง่ หนง่ึ เพ่อื ทำพิธีเวยี นเทียน ๒. เม่ือพระสงฆ์ประชุมพร้อมแล้ว คฤหัสถ์ ทั้งหลาย ยืนถือธูป เทียน ดอกไม้ ประนมมือ อยู่ถัดพระสงฆ์ออกไป เมื่อ พระภิกษุที่เป็นประธานกล่าวนำ

คำบูชา ที่ประชุมทั้งหมดว่าตามพร้อม ๆ กัน เมื่อ กล่าวคำบูชาเสร็จแล้ว พระสงฆ์ เดินนำหน้าเวียนขวา รอบพระอุโบสถ หรือพระสถูปเจดีย์ ๓ รอบ ซึ่งเรียกวา่ เวยี นเทียน คฤหสั ถ์เดนิ ตามอย่างสงบ ๓. ขณะเวียนเทียนรอบแรกให้ระลึกถึง พระพุทธคุณ รอบท่ี ๒ ระลึกถึงพระธรรมคุณ รอบท่ี ๓ ระลกึ ถึงพระสังฆคุณ ๔. ข้อที่ควรทำเป็นพิเศษในวันนี้ ก็คือ ควร พิจารณาความหมายของการเว้นช่ัว ทำดี ทำจิตใจ ให้บริสุทธ์ิ ให้เข้าใจชัดเจนลึกซ้ึง แล้วต้ังใจปฏิบัติ ไดต้ ามน้นั ๕. คณะสงฆ์ ทางราชการ ภาคเอกชน และ พุทธศาสนิกชน ได้ร่วมกันจัดงานสัปดาห์ส่งเสริม พระพุทธศาสนา ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง และ พุทธมณฑล ตลอดจนวัดต่าง ๆ ท่วั ราชอาณาจักร ๕. วันเข้าพรรษา ความหมาย วันเข้าพรรษา เป็นวันที่พระสงฆ์จะต้องเข้า จำพรรษา จะไปค้างแรมที่อื่น

ไม่ได้ คือต้องอยู่ประจำที่ตลอด ๓ เดือน ในฤดูฝน ตามพระวนิ ยั บัญญตั ิ วันเขา้ พรรษามี ๒ ระยะ คอื ๑. วันเข้าพรรษาแรก เร่ิมต้ังแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ไปจนถึงวันข้นึ ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ๒. วันเข้าพรรษาหลัง เร่ิมตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๙ ไปจนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ (มีปฏบิ ัตินอ้ ยมาก) ๖. วันออกพรรษา ความหมาย วันออกพรรษา เป็นวันส้ินสุดการอยู่จำพรรษา ของพระสงฆ์ตลอด ๓ เดือน ใน ฤดูฝนจนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ พระสงฆ์จะทำ พิธีออกพรรษา ซ่ึงเป็นสังฆกรรมอย่างหนึ่ง เรียกว่า วันมหาปวารณา โดยภิกษุทุกรูปจะกล่าวปวารณา คือ เปิดโอกาสให้ว่ากล่าวตักเตือนกันในเร่ือง ความประพฤติจะเป็นด้วยได้เห็นได้ฟังมา หรือระแวง สงสัยก็ตาม ให้ว่ากล่าวตักเตือนกันได้ วันนี้จึงเรียกว่า วันออกพรรษาหรอื วนั มหาปวารณา

๗. พิธตี กั บาตรเทโว พิธีตักบาตรเทโว คือ การทำบุญพิเศษในวัน ออกพรรษา พุทธศาสนิกชนนิยมไปตักบาตรที่วัด ในวนั แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ เรียกว่า “การตกั บาตรเทโว” คือ เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงมาจากสวรรค์ ช้ันดาวดึงส์ หลังจากท่ีทรงประทับจำพรรษาอยู่ตลอด ๓ เดือน เพื่อโปรดพุทธมารดา โดยเสด็จลงท่ีประตู เมอื งสังกัสสะ ๘. วนั ธมั มัสสวนะ หรอื วันพระ วันธัมมัสสวนะ หรือวันพระ ในหนึ่งเดือนจะมี ๔ วัน คือ วันข้ึน ๘ ค่ำ หรือแรม ๘ ค่ำ และ วันขึ้น ๑๕ คำ่ หรือแรม ๑๕ ค่ำ (ถา้ เดอื นขาดจะเปน็ วันแรม ๑๔ ค่ำ) กิจกรรมในวันน้ีชาวพุทธจะทำบุญตักบาตร รักษาอุโบสถศีล (รักษาศีล ๘ เป็นกรณีพิเศษ) ฟังเทศน์ เจริญจิตตภาวนา งดเว้นอบายมุข ตามสมควรแก่อปุ นสิ ัย

๙. วนั ข้นึ ปีใหม ่ ในอดีตไทยเราเคยกำหนด วันขึ้นปีใหม่ เป็นวันแรม ๑ ค่ำ เดือนอ้าย (เดือน ๑) บ้าง ข้ึน ๑ ค่ำ เดือน ๕ บ้าง วันที่ ๑ เมษายน และวันที่ ๑๓ เมษายน (วนั สงกรานต)์ ต่อมาทางราชการโดยคณะรัฐบาลของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ประกาศเม่ือวันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๓ โดยให้ใช้วันที่ ๑ มกราคม ต้ังแต่ พ.ศ. ๒๔๘๔ เป็นต้นมาให้เป็นวันขึ้นปีใหม่ และใชเ้ รอ่ื ยมาจนทุกวันน้ี กิจกรรมท่ีชาวพทุ ธพึงกระทำคอื ทำบญุ ตักบาตร รกั ษาศลี ฟังธรรม ปลอ่ ยนก ปล่อยปลา เปน็ ตน้ ๑๐. วนั สงกรานต ์ วันสงกรานต์ ถือเป็น วั น ขึ้ น ปี ใ ห ม่ ข อ ง ไ ท ย ม า แ ต่ โบราณ และในช่วงวันที่ ๑๓-๑๔-๑๕ เมษายน ทางราชการหยดุ ๓ วัน ถือวา่ เปน็ วันครอบครัว ตอ่ มา ทางราชการได้กำหนดเอาวันท่ี ๑ มกราคมของทุกปี เป็นวันข้นึ ปใี หม่ ตัง้ แต่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๔

กิจกรรมที่ชาวพุทธปฏิบัติ คือ การทำบุญ ตักบาตร รกั ษาศีล เจริญจิตตภาวนา มพี ิธีสรงน้ำพระ รดน้ำดำหัว เล่นน้ำสงกรานต์ ปล่อยนก ปล่อยปลา เปน็ ตน้ ๑๑. วนั สารทไทย วนั สารทไทย ตรงกบั วนั แรม ๑๕ คำ่ เดอื น ๑๐ วันสารทไทย เป็นการทำบุญ กลางปีของไทย เป็นเวลาระหว่างพืชพันธ์ุผลไม้กำลัง อุดมสมบูรณ์ จึงเป็นที่น่าปีติยินดี น่ารื่นรมย์ ปัจจุบัน เป็นการทำบุญ ตักบาตร เพื่ออุทิศส่วนกุศลแก ่ บรรพบุรุษ คือ ปู่ ย่า ตา ยาย ท่ีล่วงลับไปแล้ว ด้วยอาหารคาวหวาน พร้อมทั้งกระยาสารท และ กล้วยไข่ ทำบุญแล้ว ก็กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลแก ่ บรรพชน ผ้ลู ว่ งลบั ไปแลว้ 10

วันสำคญั ทางศาสนาอสิ ลาม เรยี บเรียงโดย สำนักจฬุ าราชมนตร ี อิสลามได้บัญญัติหลักคำสอนไว้สอดคล้องกับ ธรรมชาติของมนุษย์ ท้ังน้ีเพื่อให้การปฏิบัติตน เป็นไปด้วยความสะดวกและเรียบง่าย โดยเร่ิมต้นจาก การศรัทธาต่ออัลลอร์ผู้สร้าง จนกระทั่งการปฏิบัติ ศาสนกิจ เพ่ือการขัดเกลาจิตใจให้สะอาด มีศีลธรรม และสามารถครองตนอยู่ร่วมกับผู้อ่ืนในสังคมอัน หลากหลายไดอ้ ยา่ งสันติ “อิสลาม” แปลว่า การยอมจำนน การปฏิบัติ ตาม และการนอบน้อมต่อ อัลลอฮ์ พระผู้เป็นเจ้า พร้อมกันน้ี พระองค์ ได้แต่งตั้งมุฮัมมัด บุตรอับดุลลอฮ์ เป็นศาสดานำพามนุษย์สู่การให้ ความเป็นเอกะแด่พระองค์ในการ เป็นพระผู้อภิบาลและการเป็น พระเจ้า พร้อมทั้งยอมจำนนต่อพระประสงค์ของ พระองค์ ให้ถือปฏิบัติตามคำบัญชาใช้ของพระองค์ 11

และออกห่างจากคำสั่งห้ามของ พระองค์ และพิพากษาความ ผิดตามท่ีพระองค์ได้ทรงกำหนด โทษไว้ พร้อมท้ังยึดมั่นในจริยธรรม อนั สูงสง่ แห่งอสิ ลาม โดยการปฏบิ ตั ิ ศาสนกิจตามหลักการอิสลาม ๕ ประการ และหลักศรัทธาอีก ๖ ประการ เพ่ือให้เกิด คุณธรรม ใ น จิ ต ส ำ นึ ก อั น จ ะ น ำ ม า ซึ่ ง ก า ร เกือ้ กลู กนั ในสงั คม “มุสลิมหรือผู้ท่ีนับถือศาสนาอิสลาม” หมายถึง ผู้ท่ีนอบน้อมยอมปฏิบัติตามพระบัญชาแห่งอัลลอฮ์ โดยสิ้นเชิง คำสอนอิสลามท่ีอัลลอฮ์ได้กำหนดแก่ มวลมนุษยชาติในโลกน้ี มิใช่เป็นคำสอนที่ถูกกำหนด เฉพาะกลุ่มชนชาวอาหรับเท่านั้น เพียงแต่ว่าท่าน ศาสดามุฮัมมัด เป็นชาวอาหรับจึงเร่ิมเผยแพร่อิสลาม จากถ่ินที่อยู่ของท่านและได้ขยายออกสู่ดินแดนต่าง ๆ ของโลก ศาสนาอิสลามมีจุดเร่ิมต้นการเผยแพร่ใน คาบสมุทรอาหรับและได้ขยายเข้าสู่ดินแดนต่าง ๆ ของโลก รวมท้ังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จาก 12

คาบสมุทรอาหรับผ่านเข้าสู่เปอร์เซีย และโดยพ่อค้า จากคาบสมุทรอาหรับและเปอร์เซียที่นำสินค้าเข้ามา ขายยังแหลมมลายู ได้แก่ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย รวมถึงตอนใต้ของประเทศไทย ด้วยอัธยาศัยไมตรี ท่ีเป็นมิตร และมีความเคร่งครัดในบัญญัติแห่งอิสลาม ของบรรดาพ่อค้าเหล่านั้น จึงเป็นเหตุให้ผู้คนท่ีคบค้า ด้วยเกิดความประทับใจและพอใจที่จะเข้ารับนับถือ ศาสนาอิสลาม ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ อิสลาม ไดข้ ยายเข้าสภู่ าคกลางและภมู ิภาคอ่ืน ๆ ของประเทศไทย โดยการอพยพและย้ายถิ่นฐานของมุสลิม นอกจากนี้ ยังมีมุสลิมชาวต่างชาติท่ีได้เข้ามาต้ังถิ่นฐานอยู่ในดิน แดนของไทยด้วย เช่น ชาวเปอร์เซีย เป็นตน้ มุสลิมทุกคนต้องศรัทธาอิหม่ามต่อหลัก ๖ ประการ คอื ๑. ต้องศรัทธาว่าอัลลอฮ์คือพระเจ้า โดยกล่าว ยืนยันด้วยล้ิน เช่ือมั่นด้วยหัวใจ และแสดงออกถึงการ ศรัทธาด้วยการปฏิบัติความดี และละเว้นความชั่ว ตามคำสง่ั ของอลั ลอฮ์ และโอวาททา่ นศาสดามุฮัมมดั ๒. ต้องศรัทธาต่อบรรดามะลาอิกะห์ (เทวทูต) บ่าวของอัลลอฮ์ที่พระองค์ทรงสร้างพวกเขาจากรัศมี 13

พวกเขาไม่กิน ไม่ด่ืม ไม่หลับ ไม่นอน ไม่มีบุตร และจะปฏิบัติ ตามทอี่ ัลลอฮไ์ ด้ทรงบญั ชาใช ้ ๓. ต้องศรัทธาต่อบรรดา คัมภีร์ ที่ถูกล่าวไว้ในกุรอาน อาทิ เตาร๊อต อินญ้ิล (ไบเบิ้ล) และอัลกุรอาน เป็นต้น อัลลอฮ์เป็นผู้ประทานคัมภีร์เหล่าน้ันมายังศาสนทูต ของพระองค์เพื่อนำไปสั่งสอนแก่ประชาชาติของเขา และอัลกุรอานเป็นคัมภีร์เล่มสุดท้ายท่ีพระองค์ทรง ประทานแก่ท่านศาสดามุฮัมมัดเพื่อเป็นธรรมนูญชีวิต แกม่ วลมนษุ ยชาต ิ ๔. ต้องศรัทธาต่อบรรดานบีและร่อซู้ล อัลลอฮ์ ได้ส่งร่อซู้ล (ศาสนทูต) มาเพ่ือเผยแพร่ศาสนาของ พระองค์ บรรดาร่อซู้ลทั้งหลายจะทำหน้าท ่ี ตามท่ีได้รับบัญชาโดยครบถ้วน ไม่มีการปิดบังใด ๆ ทั้งส้ิน จำนวนนบี และร่อซู้ลท่ีปรากฏในอัลกุรอานมี ท้ังหมด ๒๕ ท่าน ไดแ้ ก่ ๑. อาดัม ๒. อดิ รสิ ๓. นหู ์ (โนอา) ๔. ฮูด ๕. ซอและห์ ๖. อิบรอฮมี (อบิ ราฮาม) ๗. ลูฏ 14

๘. อิสมาอีล ๙. อสิ หาก ๑๐. ยะอก์ บู๊ ๑๑. ยูซุฟ ๑๒. อัยยูบ ๑๓. ชอุ ยั บ ์ ๑๔. มซู า (โมเซส) ๑๕. ฮารูน ๑๖. ซลุ กฟิ ลี ๑๗. ดาวู๊ด ๑๘. สลุ ยั มาน ๑๙. อลิ ยาส ๒๐. อัลยะซะอ์ ๒๑. ยูนุส ๒๒. ซาการยี า ๒๓. ยะห์ยา ๒๔. อซี า (เยซู) ๒๕. มฮุ มั มดั บรรดานบี (ศาสดา) และร่อซู้ล (ศาสนทูต) มีคุณลักษณะ ๔ ประการ ดังน้ี ๑. มีสจั จะ ๒. มีความซื่อสัตย์ ๓. ทำการประกาศเผยแพร ่ ๔. มไี หวพรบิ ปฏิภาณ ๕. ต้องศรัทธาต่อวันกิยามะห์ มนุษย์ทุกคน จะต้องฟ้ืนคืนชีพใหม่อีกคร้ังหลังจากที่เขาได้ตายไป แล้ว เพื่ออัลลอฮ์จะทรงสอบสวน และพิพากษา การงานท่ีเขาได้ปฏิบัติในโลกนี้ พระองค์จะทรง สอบสวน และตัดสินพวกเขาด้วยความยุติธรรม ผู้ใด ประกอบความดี เขาก็จะได้รับการ ตอบแทนด้วยความดีโดยให้ความ ผาสุกในสรวงสวรรค์ และผู้ใด ท่ีกระทำความชวั่ เขากจ็ ะถกู ลงโทษ ในนรก 15

๖. ต้องศรัทธาต่อกอฎออ์ และกอฎัร (กำหนดสภาวะท้ังดี และร้าย) เหตุการณ์ทั้งหมดท่ีเกิด ขึ้นอยู่ในความรอบรู้ และเป็นไป ต า ม พ ร ะ ป ร ะ ส ง ค์ แ ห่ ง อั ล ล อ ฮ์ หากว่าพระองค์ไม่ทรงประสงค์ เหตุการณ์นั้นก็จะ ไม่เกิดข้นึ แม้วา่ มนษุ ยจ์ ะพยายามให้มนั เกิดขน้ึ อิสลามได้บังคับใช้ให้มุสลิมปฏิบัติศาสนกิจ อันจะทำให้บุคคลสร้างเสริมและเพิ่มพูนความศรัทธา ภายในจิตใจ หลักการปฏิบัติศาสนกิจได้แก่ หลกั อิสลาม มที ัง้ หมด ๕ ประการ คือ ๑. ต้องกล่าวคำปฏิญาณว่า “ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮ์ มุฮัมมัดร่อซูลุลลอฮ์” ไม่มีพระเจ้าอื่นใด นอกจากอลั ลอฮ์ มุฮมั มัดเปน็ ศาสนทูตของอลั ลอฮ ์ ผู้ใดกล่าวคำปฏิญาณและยืนยันว่า อัลลอฮ์เป็น พระเจา้ มฮุ มั มดั เป็นศาสนทูตของอัลลอฮ์ ถอื ว่าเขาได้ เป็นมุสลิมแล้ว และเขามีหน้าที่ต้องปฏิบัติในสิ่งที่ อัลลอฮ์และร่อซู้ลใช้ และละเว้นในส่ิงท่ีอัลลอฮ์และร่อ ซู้ลห้าม 16

๒. ต้องดำรงการละหมาดฟัรฎู (บังคับใช้ให้ ปฏบิ ัต)ิ ในวันหน่งึ กับคืนหน่ึง ๕ เวลา การละหมาดคอื โครงสรา้ งหลักของศาสนาอสิ ลาม ได้แก่ ๒.๑ ละหมาดดุฮร์ ี เรมิ่ ตั้งแต่ดวงอาทิตยค์ ล้อยไป ทางทิศตะวันตก จนกระท่งั เงาเทา่ ตวั เอง ๒.๒ ละหมาดอัศรี เร่ิมตั้งแต่เงาเท่าตัวเอง จนกระท่งั ดวงอาทิตย์ตก ๒.๓ ละหมาดมัฆริบ เริ่มต้ังแต่ดวงอาทิตย์ตก จนกระทง่ั หมดแสงแดง ๒.๔ ละหมาดิอีซา เริ่มต้ังแต่ หมดแสงแดงท่ีขอบฟ้า จนกระทั่ง แสงอรณุ แทจ้ ริงปรากฏขน้ึ ๒.๕ ละหมาดซุบฮิ เร่ิมต้ังแต่ แสงอรณุ ขึน้ จนกระทัง่ ดวงอาทิตย์ข้นึ ๓. ต้องจ่ายซะกาต สำหรับผู้ท่ีมีกรรมสิทธ์ิใน ทรัพย์สินที่ครบจำนวนและครบรอบปี โดยการจ่ายซะ กาตมีเปา้ หมายเพอ่ื ช่วยเหลือผ้ทู ย่ี ากจนขัดสน และผมู้ ี สิทธใิ์ นการรบั ซะกาตท้ัง ๘ จำพวก 17

๔. ต้องถือศีลอดในเดือน รอมฎอน เพ่ือปลูกฝังความอดทน และความตั้กวา (ยำเกรง) อัลลอฮ์ ใหม้ ีอยู่ในจติ ใจของมสุ ลิม ๕. ต้องประกอบพิธีฮัจย์ ณ บัยตุ้ลลอฮ์ แห่งนครมักกะห์ ราชอาณาจักร ซาอุดิอาระเบียสำหรับผู้ท่ีมีความสามารถเดินทางไป ได้ อันเป็นการปฏิบัติศาสนกิจร่วมกันของพ่ีน้องมุสลิม ทัว่ โลก หลักคุณธรรมหรือเอียะห์ซาน คือ แสดงออก ด้วยการขัดเกลาจิตใจให้ใสสะอาดผ่องแผ้วปราศจาก ความโลภ โกรธ หลง และการมัวเมาในกิเลสตัณหา มีจรรยามารยาทเรียบร้อยงดงาม มีความสำนึกอยู่ เสมอว่า อัลลอฮ์ทรงตระหนักถึงส่ิงที่มีอยู่ในหัวใจของ เขาและการกระทำของเขาไม่ว่าเขาจะอยู่ ณ ท่ีใด ดงั ที่ ท่านศาสดามุฮัมมัดได้สอนไว้ ความว่า “คุณธรรม คือ ท่านต้องเคารพภักดีต่ออัลลอฮ์ ประหน่ึงว่า ท่านมองเห็นพระองค์ ถ้าท่านมองไม่เห็นพระองค์ แท้จริง พระองค์ทรงเห็นทา่ น” 18

วันและเดอื นที่สำคัญทางศาสนา อสิ ลามกำหนดวนั และเดือนโดยการดดู วงจนั ทร์ ทางจันทรคติเปน็ เกณฑ ์ วันสำคญั ทางศาสนาอสิ ลาม ๑. วนั อดี ลิ้ อัฎฮา สง่ิ ท่คี วรปฏบิ ัตใิ นวันอีด ๑. อาบน้ำ พรมน้ำหอม และ ใส่เส้อื ผา้ ท่ดี ีและสวยท่ีสดุ ๒. รับประทานอาหารเล็กน้อย ก่อนออกไปละ หมาดอีดล้ิ ฟติ ริ่ ๓. ให้กล่าวสรรเสรญิ ความเกรยี งไกรแหง่ อัลลอฮ์ ๔. ให้ออกไปยังสถานที่ละหมาดทางหนึ่ง และ เดินกลบั อีกทางหนึง่ ๕. ให้ละหมาดอดี ทั้งสองกลางแจ้ง ๖. ให้อวยพรและขอโทษซึ่งกันและกัน โดย กลา่ ววา่ “ตะกอ๊ บบะลลั ลอฮุ่ มนิ นาวะมินกุม” ๗. ให้มีการกิน การดื่ม และรื่นเริงได้ในกรอบ ของศาสนา 19

๒. วันตัชรีกหรอื ตัซเรค คือวันที่ ๑๑, ๑๒ และ ๑๓ ของเดือนซุลฮิจยะห์ เป็นช่วงวันที่ ๒, ๓ และ ๔ ของอดี ้ิลอัฎฮา ๓. วันข้นึ ศักราชใหมอ่ สิ ลาม การกำหนดปีฮิจเราะห์ศักราช ท่านศาสดามุฮัมมัดได้อพยพไปถึง นครมะดีนะห์ในวันจันทร์ท่ี ๑๒ เดือนร่อบีอุ้ลเอาวัล ตรงกับวันท่ี ๒๒ กันยายน ค.ศ. ๖๒๒ ขณะเดียวกันก็ได้มีการคัดเลือกให้เดือน มุฮรั รอมเปน็ เดอื นแรกของศักราช โดยเหตุนีจ้ ึงทำใหป้ ี ฮิจเราะห์มีมาก่อนการอพยพของท่านศาสดามุฮัมมัด ทแี่ ทจ้ ริงเปน็ เวลา ๑ เดือน ๑๒ วนั 20

๔. วนั อาชรู ออ์ คือวันท่ี ๑๐ ของเดือนมุฮัร รอม เป็นวันท่ีท่านศาสดามุฮัมมัด ได้ถือศีลอดและส่งเสริมให้มุสลิม ปฏิบัติตาม และให้ถือศีลอดในวันที่ ๙ มุฮัรรอม อกี หนึง่ วัน ๕. วันเมาลิดนบี (วันคล้ายวันเกิดของท่านศาสดา มุฮัมมดั ) คือวันจันทร์ที่ ๑๒ เดือนร่อ บีอุ้ลเอาวัล ตรงกับวันที่ ๒๐ เมษายน ค.ศ. ๕๗๑ (พ.ศ. ๑๑๑๔) และท่านได้เสียชีวิตในวันจันทร์ที่ ๑๒ เดือนร่อบีอุ้ล เอาวลั ฮ.ศ. ๑๑ ตรงกบั วนั ที่ ๑๑ มิถุนายน ค.ศ. ๖๒๓ (พ.ศ. ๑๑๗๖) รวมอายุได้ ๖๓ ปี 21

๖. วนั เมย๊ี ะราจ คือวันที่ ๒๗ ของเดือนร่อญับ เป็นวันที่ท่านศาสดามุฮัมมัดได้เดิน ทางจากนครมักกะห์ไปยังมัสยิด อัลอกั ซอ กรงุ เยรูซาเล็ม ประเทศปาเลสไตน์ หลังจาก น้ันได้ข้ึนยังฟ้าช้ันท่ีเจ็ด เพ่ือรับโองการการละหมาด ๕ เวลา จากอัลลอฮ์ ซบุ ฮานะฮูวะตะอาลา ๗. วนั อีดิ้ลฟติ ริ ท่านศาสดามุฮัมมัดได้ส่งเสริม ให้ล่าช้าในการละหมาดอีด้ิลฟิตริ (อีดเล็ก) เพื่อจะได้มีเวลาแจกจ่าย ซะกาตฟิตเราะห์ก่อนละหมาด (จ่ายข้าวสารหรือ อาหารพนื้ เมืองแก่คนยากจนตามที่ศาสนากำหนด) ให้ คนยากจน และให้ปฏิบัติตนเหมือนเช่นการปฏิบัติตน ใหอ้ ดี ลิ้ อฎั ฮาทกุ ประการ 22

๘. วันจนั ทรแ์ ละวันพฤหสั บดี ท่านศาสดามุฮัมมัด กล่าวว่า “การงานจะถูก นำเสนอ ณ อัลลอฮ์ ในทุกวันจันทร์และ วันพฤหัสบดี ดังนั้น ฉันจึงชอบที่จะให้การงานของ ฉันถกู นำเสนอ โดยท่ฉี ันถอื ศีลอด” ๙. วนั ศกุ ร ์ ท่านศาสดามุฮัมมัด กล่าวว่า “ผู้ใดที่อาบน้ำ ละหมาด โดยเขาอาบน้ำละหมาด อย่างดี แล้วไปละหมาดญุมะอะห์ (วันศุกร์) และฟังคุฎบะห์ (ธรรมกาถา) โดยสงบนิ่ง เขาจะได้รับการอภัยโทษ ระหว่างวันศุกร์นั้นและวันศุกร์ต่อไป และเพิ่มอีก ๓ วัน และผู้ใดที่ลูบคลำเม็ดหิน (ไม่สนใจฟัง คุฎบะห์) แท้จริง เขาทำให้ผลบุญในการละหมาด วนั ศกุ รเ์ ป็นโมฆะ” 23

เดือนในปฏิทนิ อสิ ลามท้งั ๑๒ เดอื น ไดแ้ ก ่ ๑. มุฮรั รอม ๒. ซอฟรั ๓. ร่อบีอุลเอาวาล ๔. ร่อบีอุลอาคิร ๕. ญุมาดัลเอาวลั ๖. ญุมาดัลอาคริ ๗. รอญบั ๘. ชะอบ์ าน ๙. รอมฎอน ๑๐. เชาวาล ๑๑. ซุลเก๊าะดะห ์ ๑๒. ซลุ ฮิจยะห ์ 24

วันสำคัญทางศาสนาครสิ ต์ นกิ ายโรมันคาทอลกิ ค.ศ. ๒๐๑๐ เรียบเรยี งโดย สภาป ระมขุ แห่งบาทหลวงโรมนั คาทอลกิ วนั ที่ ๑ มกราคม สมโภชพระนางมารีย์ พระชนน ี พระเป็นเจ้า ● พระนางมารีย์ได้รับเกียรติเป็น พระมารดาของพระเยซูเจ้า ซ่ึงเป็นทั้งพระเจ้าแท้และมนุษย์แท้ คาทอลิกจึงนับถือและให้เกียรติ สงู สง่ แกพ่ ระนางมารีย์ วันที่ ๓ มกราคม สมโภชพระคริสตเจ้าแสดงองค์ ● พระเยซูคริสตเจ้แสดงองค์แก ่ หมู่บัณฑิต ซึ่งเป็นชาวต่างชาติ ต่างภาษา และต่างศาสนา พระองค์มิได้จำกัดการแสดงองค์ ต่อคริสตชนแตเ่ พียงกลมุ่ เดยี ว 25

วนั ที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ พธุ รับเถ้า ● การคลุกตนกับเถ้า เป็นประเพณี ก า ร แ ส ด ง อ อ ก ข อ ง ช า ว ยิ ว ถึ ง ความสำนึกผิด กลับใจ และใช้ โทษความผิดของตน คาทอลิก นำพิธีดังกล่าวมาปรับและลด รูปแบบเป็นการโรยเถ้าบนศีรษะ ซ่ึ ง เ ป็ น ก า ร แ ส ด ง อ อ ก ถึ ง ก า ร เตรียมตัวเข้าสู่เทศกาลมหาพรต (การพลีกายใช้โทษบาป) พร้อม กับเพ่ือนคาทอลิกท่ัวโลกเป็น เวลา ๔๐ วนั กอ่ นสมโภชปสั กา วันท่ี ๑๙ มีนาคม สมโภชนักบุญยอแซฟ ภัสดาของ พระนางพรหมจารีมารีย ์ ● นั ก บุ ญ ย อ แซ ฟ ไ ด้ รั บ เ กี ย ร ติ เ ป็ น ส า มี ต า ม ก ฎ ห ม า ย ข อ ง พ ร ะ น า ง ม า รี ย์ แ ล ะ เ ป็ น บิ ด า (เลี้ยง) ของพระเยซูเจ้า ท่านจึง ได้รับการเทิดเกียรติจากคาทอลิก เปน็ อย่างมาก 26

วันที่ ๒๘ มีนาคม อาทิตย์มหาทรมาน (แห่ใบลาน) ● ๑ สัปดาห์ก่อนวันปสั กา คาทอลกิ นำชีวิตช่วงสุดท้ายของพระเยซูเจ้า ท่ีเกิดขึ้นจริง มาทำการไตร่ตรอง และประยกุ ตก์ ับชวี ติ โดยเริ่มด้วย ขบวนแห่ต้อนรับพระเยซูเจ้า ด้วยใบปาล์ม วนั ที่ ๑ เมษายน พฤหัสบดีศักดิ์สิทธ์ิ ระลึกถึง พระเยซเู จา้ ทรงต้งั ศีลมหาสนิท ● เป็นวันระลึกถึงการรับประทาน อาหารม้ือค่ำคร้ังสุดท้ายของ พระเยซูเจ้า ซ่ึงพระองค์ได้ทรง บั น ด า ล ใ ห้ ปั ง แ ล ะ เ ห ล้ า อ งุ่ น (อาหารและเคร่ืองด่ืมหลักใน สมัยนั้น) กลายเป็นพระกายและ พระโลหิตของพระองค์ ซึ่งเป็น อ นุ ส ร ณ์ ข อ ง ก า ร บู ช า ชี วิ ต (พระกายและพระโลหิต) เป็น การไถก่ ู้มวลมนุษย 27

วันที่ ๒ เมษายน ศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ ระลึกถึงพระเยซูเจ้า ทรงรับทรมานและส้ินพระชนม์บน ไมก้ างเขน ● เป็นวันระลึกถึงพระเยซูเจ้า ผู้ ไ ด้ ท ร ง ส ล ะ ชี วิ ต ด้ ว ย ก า ร สิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน ซึ่ง เ ป็ น สั ญ ลั ก ษ ณ์ ข อ ง ค ว า ม รั ก สุ ด ย อ ด ท่ี พ ร ะ เจ้ า ท ร ง มี ต่ อ มวลมนุษย์ วันที่ ๓ เมษายน เสาร์ศักด์ิสิทธ์ิ ระลึกถึงชัยชนะ ที่ทำให้มนุษย์มีความหวังท่ีจะชนะ อำนาจบาป ความมดื และความช่ัว ทั้งหลาย ● คาทอลิกเชื่อว่า พระเยซูเจ้ามิได้ เป็นผู้แพ้ แต่ทรงพักผ่อนอยู่ใน คู ห า ร อ เ ว ล า ที่ ก ลั บ คื น ชี พ พระองค์เป็นผชู้ นะ ทำใหม้ นุษยม์ ี ความหวังท่ีจะชนะอำนาจบาป ความมดื และความช่วั ท้งั หลาย 28

วันท่ี ๔ เมษายน สมโภชพระเยซูเจ้าทรงกลับคืน พระชนมชีพ (วนั ปสั กา) ● พระเยซูคริสตเจ้าเป็นผู้ชนะ อย่างแท้จริง อัลเลลูยา และ มนุษย์ทุกคนก็มีส่วนในชัยชนะ กับพระองค์ เหนือการทรมาน และความตาย อีกทั้งม่ันใจว่า ชีวิตนิรันดรกับพระคริสตเจ้า คือ คำตอบของชวี ิต วันท่ี ๑๖ พฤษภาคม สมโภชพระเยซูเจ้าเสด็จ ขึน้ สวรรค ์ ● เป็นวันไตร่ตรองและฉลอง ความหวังว่า คำตอบสุดท้ายที่ มนุษย์พึงปรารถนา คือ การได้มี ชีวิตอยู่กับพระบิดาเจ้าพร้อมกับ พระคริสตเจ้า ซ่ึงเป็นผู้นำเราเข้า สู่พระราชัยสวรรค์อันเป็นบ้านแท้ ถาวร 29

วนั ที่ ๒๓ พฤษภาคม สมโภชพระจติ เจา้ ● พระบิดาและพระเยซูเจ้าทรงส่ง พระจิตเจ้ามาสู่สานุศิษย์และ มวลมนุษย์ทุกคน เพื่อดลใจให้ เข้าถึงคำสอนของพระคริสตเจ้า และนำมวลมนุษย์ให้ต่อสู้อำนาจ ของจิตช่ัวท่ยี งั ทำงานอยู่ในโลกน้ ี วันที่ ๓๐ พฤษภาคม สมโภชพระตรเี อกภาพ ● คาทอลิกเช่ือว่า พระเจ้า ประกอบด้วยสามพระบุคคล ที่ทรงรักเป็นหน่ึงเดียว และมอบ ความเป็นพระบุคคลของพระองค์ แก่กันสามพระบุคคลทรงสนิท สัมพันธ์เป่ียมล้น จนกระทั่งได้ ทรงแบ่งปันชีวิตของพระองค์ ด้วยการสร้างให้มนุษย์มีภาพ ลักษณ์ของพระองคใ์ นตวั มนษุ ย์ 30

วนั ที่ ๖ มถิ ุนายน สมโภชพระวรกายและพระโลหิต ของพระคริสตเจา้ ● พระวรกายและพระโลหิตของ พระคริสตเจ้า ภายใต้รูปปรากฏ ของปังและเหล้าองุ่นท่ีได้รับการ เสกในพิธีมิสซาบูชา เป็นอนุสรณ์ แห่งพระทรมานและการกลับ คนื ชพี ของพระเยซูเจา้ วันท่ี ๒๗ มิถุนายน สมโภชนักบุญเปโตรและนักบุญ เปาโล อคั รสาวก ● นักบุญเปโตรและนักบุญเปาโล เ ป็ น อั ค ร ส า ว ก เ ส า ห ลั ก ข อ ง คาทอลิก ท่านท้ังสองเป็นผู้ก่อต้ัง พระศาสนจักรทีก่ รงุ โรม ชวี ติ การ อุ ทิ ศ ต น ข้ั น วี ร ก ร ร ม ข อ ง ท่ า น ท้าทายให้คาทอลิกเลียนแบบ อยา่ งท่าน 31

วันที่ ๑๕ สงิ หาคม สมโภชพระนางมารีย์รับเกียรติ ยกข้นึ สวรรค ์ ● พระนางมารีย์เป็นมนุษย์บุคคล แรกที่เพียบพร้อมด้วยความดีงาม จนกระท่ังได้มีส่วนร่วมในชัยชนะ ของพระเยซูเจ้าในระดับสูงสุด เหนือความตาย วันที่ ๗ พฤศจิกายน สมโภชนักบุญทัง้ หลาย ● นักบุญหรือผู้ศักดิ์สิทธิ์จำนวนมาก ที่ ไ ม่ ไ ด้ รั บ ก า ร ป ร ะ ก า ศ เ ป็ น ทางการ แต่ท่านเหล่าน้ันได้ พยายามตอบสนองความรักท่ี พระเจ้าประทานแก่ท่าน ด้วย วิธีการต่าง ๆ จนกระท่ังท่าน ได้บรรลุถึงพระเจ้า กลายเป็น นักบุญ ซึ่งคาทอลิกฉลองให้ เกยี รติท่านพรอ้ มกนั ในวนั น ้ี 32

วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน สมโภชพระเยซูเจ้ากษตั ริยแ์ ห่ง สากลจกั รวาล ● พระเยซูคริสตเจ้าเสด็จลงมาบน โลกน้ี เพอ่ื นำสนั ตมิ าสู่มนุษยชาติ พ ร ะ อ ง ค์ ท ร ง ร ว บ ร ว ม ม นุ ษ ย ์ และสิ่งสร้างท้ังหลายเพ่ือนำข้ึน ทูลเกลา้ ฯ ถวาย แดอ่ งคพ์ ระบิดาเจา้ วันที่ ๘ ธันวาคม สมโภชพระนางมารีย์ผู้ปฏิสนธ ิ นริ มล ● พระนางมารีย์ด้รบการทะนุถน อ ม จ า ก พ ร ะ ฤ ท ธ า นุ ภ า พ ข อ ง พระเจ้า ให้ปราศจากบาป ทกุ ชนิด แม้กระทัง่ บาปกำเนิด 33

วันท่ี ๒๕ ธนั วาคม สมโภชพระครสิ ตสมภพ ● พระเจ้าผู้ย่ิงใหญ่และดูเหมือน อยู่ห่างไกล ได้เสด็จมารับเอา เน้ือหนังกลับกลายเป็นมนุษย์ ศักดิ์ศรีของมนุษย์ย่ิงใหญ่และ สำคัญ จนกระทัง่ พระเจ้าเสด็จมา เป็นหนึ่งเดียว และเป็นเพื่อนร่วม เดนิ ทางบนโลกนกี้ ับมนุษย ์ 34

วันสำคัญคริสตศาสนา นิกายโปรเตสแตนท ์ เรยี บเรียงโดย สภาคริสตจกั รในประเทศไทย ความหมายของวันสำคัญครสิ ตศาสนา นกิ ายโปรเตสแตนท์ วนั อาทติ ย์ทางตาล พระเยซูทรงรับส่ังให้สาวกไป เอาลามาและประทับน่ังหลังลา เสดจ็ เข้าสกู่ รุงเยรูซาเล็ม ประชาชน พากันเอาใบตาลมาปูตามทางที่ พระองค์เสด็จผ่าน ให้สัญลักษณ์ว่าความรอดของ พระเจ้าไม่ใช่อาณาจักรแห่งโลกน้ีท่ีใช้อาวุธประหัต ประหารกัน พระองค์ประทับนั่งบนหลังลา ซ่ึงเป็น สัญลักษณ์แห่งสันติภาพ เพื่อให้ประชากรได้ระลึกถึง คำทำนายของผู้เผยพระวจนะ (เศคาริยาห์ บทท่ี ๙ ขอ้ ๙) การเสด็จเข้าสู่กรุงเยรูซาเล็มของพระเยซูคริสต์ เป็นการแสดงตัวให้ชนชาติอิสราเอลได้ทราบถึง การเสด็จมาของพระผู้ช่วยให้รอดตามคำทำนายของ ผู้เผยพระวจนะ และพระกรณียกิจของพระเยซูคริสต์ 35

ตลอดสัปดาห์ พระองค์ได้แสดงถึงน้ำพระทัยของ พระเจ้าท่ีมพี ระประสงค์ต่อเรา การกำหนดวัน วันอาทิตย์ ๑ สัปดาห์ต้นวันคืน พระชนม์ กำหนดให้เป็นวันอาทิตยท์ างตาล วนั ศุกร์ประเสริฐ ใ น ต อ น บ่ า ย ข อ ง วั น ศุ ก ร์ พระเยซูคริสต์ทรงถูกตรึงที่บน กางเขนด้วยความทุกข์ทรมานแล ส้ินพระชนม์ชีพของพระองค์ เพ่ือ ทรงไถ่เราทั้งหลายใหพ้ ้นจากความผิดบาปทั้งมวล พระเยซูคริสต์ทรงเป็นพระบุตรของพระเจ้าที่ เสด็จเข้ามาในโลก ทรงสภาพเป็นมนุษย์เช่นเรา ทั้งหลาย และถูกทรมานจนถึงความตาย พระองค์ ยอมสละชีวิตของพระองค์เพ่ือมนุษย์ที่มีความผิดบาป พระองค์ทรงยอมให้ชีวิตที่บริสุทธ์ิของพระองค์เป็น ค่าไถเ่ ราทัง้ หลาย การกำหนดวัน คือ วันศุกร์ก่อนวันคืนพระชนม์ กำหนดให้เปน็ วันศุกร์ประเสรฐิ 36

วนั พระเยซคู รสิ ต์ทรงคืนพระชนม ์ ในวันอาทิตย์ตอนรุ่งอรุณ พระเยซูคริสต์ได้ฟ้ืนคืนพระชนม์ การฟ้ืนคืนชีพของพระเยซูคริสต์ แสดงถึงพระลักษณะของพระเจ้า ในพระองค์ คริสตชนเชื่อในพระเยซูคริสต์ทรงฟื้นจาก ความตาย พระองคเ์ ปน็ พระเจ้าแหง่ องค์นิรันดร์ ท่ีเป็น ความหวังของมนุษยชาติ “ค่าจ้างของความบาปคือ ความตาย” พระเยซูทรงฟ้ืนคืนชีพ ทรงมีชัยชนะ เหนือความตาย วันน้ีจึงเป็นวันที่สำคัญอย่างย่ิงของ เหล่าคริสตศาสนิกชน การกำหนดวัน ให้นับจากวันท่ี ๒๑ มีนาคมของ ทุกปีเป็นหลัก และวันอาทิตย์แรกหลังวันเพ็ญ จะเป็น วนั คืนพระชนม์ (คำนวณจากปฏทิ นิ ตามจันทรคติ) วันพระวิญญาณบรสิ ทุ ธ์ิ วันพระวิญญาณบริสุทธ์ิหรือ วันเพนเตคอส คือ วันท่ี ๕๐ นบั ตัง้ แต่ วั น ที่ พ ร ะ เ ย ซู ค ริ ส ต์ ท ร ง ฟื้ น คื น 37

พระชนม์ เป็นวันที่อัครสาวกและบรรดาผู้ติดตาม พระองค์หลายชนชาติมาชุมนุมพร้อมกันประมาณ สามพันคน ทุกคนสามารถพูดและส่ือสารกับคนอ่ืน ๆ ด้วยภาษาพูดของตนเอง และสามารถร่วมสามัคคีธรรม ซ่ึงกันและกัน ดังนั้น วันพระวิญญาณบริสุทธิ์จึงเป็น วันที่คริสตจักรได้รับฤทธ์ิเดชแห่งองค์พระวิญญาณ บริสุทธ์ิเป็นวันท่ีแสดงถึงว่าพระเจ้าได้ทรงทำงานโดย ทางพระวิญญาณบริสุทธ์ิกับคริสตจักรของพระองค ์ ทั่วโลก การกำหนดวัน ให้ถือเอาวันอาทิตย์ที่ ๕๐ โดยนับจากวันคืนพระชนม์เป็นวันแห่งพระวิญญาณ บรสิ ุทธิ ์ วันมหาสนิทสากล พิธีมหาสนิทเป็นพิธีสำคัญ ของคริสตจักร โดยพระเยซูคริสต์ ทรงต้ังพิธีศักดิ์สิทธิ์น้ี โดยการรับ ประทานอาหารม้ือสุดท้ายร่วมกับ อัครสาวกท้ัง ๑๒ คน ในคืนวันพฤหัสบดีก่อนท่ี พระองค์จะถูกตรึง พระเยซูทรงใช้ขนมปังและน้ำองุ่น 38

เป็นสัญลักษณ์ของพระวรกายและพระโลหิตของ พระองค์ที่ทรงหักออกและหล่ังบนไม้กางเขนเพื่อชำระ เราทง้ั หลายให้ปราศจากความผิดบาป การกำหนดวัน ปัจจุบันคริสตจักรทั่วโลกจะ ประกอบพิธีมหาสนิทพร้อมกันในวันมหาสนิทสากล ให้ถือเอาวันพฤหัสบดีของสัปดาห์แรกของเดือน ตุลาคมเป็นวันมหาสนทิ สากล วันเร่มิ เทศกาลรับเสด็จ คริสตจักรต่าง ๆ ทั่วโลกจะ ร่วมกันเตรียมจิตใจของสมาชิกของ ตนให้พร้อมสำหรับวันท่ีพระเจ้า ท ร ง ส่ ง พ ร ะ บุ ต ร ที่ รั ก ย่ิ ง ข อ ง พระองค์เข้ามาในโลก ทรงบังเกิด เป็นมนุษยเ์ ชน่ เราทัง้ หลาย ดังน้ัน เป็นโอกาสที่คริสตชนจะเตรียมใจรับ การเสด็จมาขององค์พระเยซูคริสต์ นอกจาก ความปีติยินดี ความสนุกสนานแล้ว คริสตจักรจะ เตรียมจิตใจของสมาชิกของตนให้พร้อมท่ีจะรับ องค์พระผู้เป็นเจ้าเข้ามาในจิตใจ ให้การเสด็จมาของ 39

พระองค์มคี วามหมายต่อชีวิตของแตล่ ะคน การกำหนดวัน วันอาทิตย์สัปดาห์ท่ีส่ี ก่อนถึง วันคริสตสมภพ (บางครั้งตรงกับปลายเดือน พฤศจิกายนหรือต้นเดือนธันวาคม ท้ังน้ีให้นับ วันอาทิตย์เปน็ หลกั ) วนั คริสตสมภพ พระเจ้าทรงส่งพระบุตรอัน เป็นที่รักยิ่งของพระองค์มาบังเกิด เป็นมนุษย์ เพื่อช่วยมนุษย์ให้ รอดพน้ จากความผดิ บาป นำมนุษย์ ให้กลับไปมีสัมพันธภาพท่ีสมบูรณ์กับองค์พระผู้เป็นเจ้า อีกครั้งหนงึ่ วันบังเกดิ ของพระเยซูครสิ ต์ จึงเปน็ วันที่คนท่ัวโลก ร่วมกนั แสดงความปตี ิยนิ ดี การกำหนดวัน วันท่ี ๒๕ ธันวาคม จะไมต่ รงกับ วันอาทิตย์ทุกปี คริสตชนท่ัวโลกจึงนิยมฉลอง ครสิ ตสมภพในวนั อาทติ ย์แรกถัดจากวนั ที่ ๒๕ ธันวาคม ของทกุ ป ี 40

วนั สำคญั ทางศาสนาพราหมณ์-ฮนิ ดู เรียบเรยี งโดย สมาคมฮนิ ดสู มาช การจัดกิจกรรมของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ยึด ตามปฏิทินโหราศาสตร์ ซง่ึ จะมีวันสำคัญท่ีหลากหลาย ตลอดปี แต่ ณ ที่นี้จะขอนำเสนอเฉพาะวันที่สำคัญ เปน็ พิเศษ สำหรบั ศาสนิกชนพราหมณ์-ฮนิ ดทู ุกคน ๑. ทปี าวลี หรือทีวาลี ตรงกับวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ เป็นเทศกาลท่ีเฉลิม ฉลองการกลับมาเมืองอโยธยา ของพระราม หลังจากท่ีปราบทศกัณฑ์แล้ว ในวันน้ ี ทุกบ้านเรือนจะจุดประทีปสว่างไสว มีการจุดประทัด เล่นกันอย่างสนุกสนาน ในช่วงเย็นจะมีการบูชาเทพเจ้า ๕ พระองค์ คือ พระแม่ลักษมี พระคเณศ พระกุเวร พระแม่สุรัสวดี และพระอินทร์ แต่จะให้ความสำคัญ เป็นพิเศษกับเจ้าแม่ลักษมี เชื่อว่าเจ้าแม่ลักษมี ซ่ึงเป็น 41

เจ้าแม่แห่งทรัพย์สินเงินทอง ความดีงามทั้งหลาย จะมาเยือนทุกบ้าน ในคืนน้ีชาวพราหมณ์-ฮินดู จงึ เปิดไฟสวา่ งไสวทั้งคืนเพือ่ ตอ้ นรับพระองค์ ๒. นวราตรี จัด ๒ ชว่ ง ใน ๑ ปี คอื ช่วงที่ ๑ มีในวันข้ึน ๑ ค่ำ เดือน ๕ ถงึ ขนึ้ ๙ คำ่ เดอื น ๕ ช่วงท่ี ๒ มีในวันขึ้น ๑ ค่ำ เดอื น ๑๑ ถงึ ขนึ้ ๙ คำ่ เดอื น ๑๑ ชาวพราหมณ์-ฮินดูจะถือศีลกินเจและบูชา พระแมอ่ มุ า ซงึ่ มี ๙ ปางด้วยกัน คือ ๑. ปางไศลบุตรี ๒. ปางพรหมจาริณี ๓. ปางจนั ทรฆัณฎา ๔. ปางกษู ามาณฑา ๕. ปางษกนั ทมาตา ๖. ปางกาตยายน ี ๗. ปางกาลราตร ี ๘. ปางมหาเคาร ี ๙. ปางสิทธทิ าตร ี 42