14. ชาวมอแกลนมีความรู้เก่ียวกับสมุนไพรหรือการรักษาพยาบาล พ้ืนบ้านหรือไม่? ในสมัยก่อนท่ีการเดินทางยากล�ำบากและบริการด้านสาธารณสุขไม่กว้างขวางและมีประสิทธิภาพ เทา่ ในปจั จบุ นั ชาวมอแกลนจะใชว้ ธิ รี กั ษาพยาบาลพนื้ บา้ น โดยเฉพาะการใชย้ าทที่ ำ� จากสมนุ ไพร เพราะไดส้ ะสม ความรู้เก่ียวกับพืชพันธุ์ต่างๆ มีการทดลอง ถ่ายทอด เรียนรู้เพิ่มเติมจากภายนอกหรือแลกเปล่ียนการเรียนรู้ กับผู้อื่นมาเนิ่นนาน และน�ำความรู้มาประยุกต์ใช้จริงเพ่ือการพึ่งตนเอง แต่ในปัจจุบันเน่ืองจากมีสถานีอนามัย และโรงพยาบาลทเี่ ขา้ ถงึ ไดส้ ะดวกยงิ่ ขนึ้ ชาวมอแกลนจงึ หนั มาใชบ้ รกิ ารสาธารณสขุ สมยั ใหม่ และละเลยความรู้ พนื้ บา้ นเหลา่ น้ี ตารางดา้ นขวาเปน็ ตวั อยา่ งความรเู้ รอื่ งการใชพ้ ชื สมนุ ไพรในการบำ� บดั รกั ษาของชาวมอแกลน10 10. ข้อมูลจากป้าเขียบ ปานสุวรรณ ชาวมอแกลนหมู่บ้านทุ่งดาบ เกาะพระทอง จังหวัดพังงา อ่านเพิ่มเติมเก่ียวกับความรู้ ชาวมอแกลนได้ใน “คลื่นแห่งความยงุ่ ยากบนเกาะพระทอง” โดยโอลิเวียร์ เฟอรร์ ารแี ละคณะ (2549) 151 มอแกลน
ตาราง การใชป้ ระโยชนพ์ ชื สมนุ ไพร รักษา/แกอ้ าการ พชื สมนุ ไพร การเตรยี มยา เจบ็ อก ผักแว่น (มีรสขมจดั ) นำ� มาตำ� จากนน้ั กรองดว้ ยผา้ ขาวบาง ชำ้� ใน เอาแตน่ ำ�้ ผสมกบั ยาดำ� (ซอ้ื จากรา้ นยาแผนโบราณ) ไอออกเลือด เหลา้ และนำ้� ผง้ึ ราว 1 องคลุ ี (หรอื 1 ขอ้ นวิ้ ) กนิ อาทติ ยล์ ะครงั้ แผลสด เสลดพังพอน เก็บใบทัง้ ต้นผู้ (ต้นมหี นาม) ตน้ เมยี (ตน้ ยาว) แผลถูกของมคี ม ซึ่งจะขน้ึ อยคู่ กู่ ัน นำ� มาตำ� ใหล้ ะเอยี ดกบั ขา้ วสาร 4-5 เมด็ เลือดออกมาก หวั ขมน้ิ ผสมนำ�้ เปลา่ เลก็ นอ้ ย นำ� มาโปะทแ่ี ผล แมลงสัตว์กดั ตอ่ ย หากเป็นแผลถกู งกู ดั แทนท่ีจะผสมกับน้�ำ ตอ้ งผสมกับเหล้าแทน สตรีอย่ไู ฟ หัวข่า 7 หวั คนโบราณจะน�ำส่วนผสมมาต�ำให้ละเอยี ด หลงั คลอดบุตร กระเทียม 7 กลบี ผสมดว้ ยน้�ำผึ้ง แลว้ ปน้ั เปน็ ลกู กลอน พรกิ ไทย 7 หยิบ ชว่ ยใหผ้ หู้ ญงิ มดลกู เขา้ อเู่ รว็ รวมทง้ั เปน็ ยาประสานนำ�้ นม เกลอื เม็ดหยาบ 7 หยิบ ซง่ึ จะทำ� ใหแ้ มม่ นี ำ�้ นมมาก และทำ� ใหเ้ จรญิ อาหาร 153 มอแกลน
เดก็ ๆ ชาวมอแกลน ที่สว่ นใหญพ่ ูดภาษามอแกลนไมไ่ ด้แลว้ ทักษะวัฒนธรรมชาวเล 154
15. ท�ำไมชาวมอแกลนจึงมีการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมมาก? การติดต่อปฏิสัมพันธ์ท่ีใกล้ชิดกับชุมชนอ่ืนๆ มาแต่เนิ่นนาน ท�ำให้วัฒนธรรมของชาวมอแกลนมีการ ผสมผสานไปอยา่ งมากเม่อื เทียบกับชาวมอแกนและอูรักลาโวย้ ภาษามอแกลนมีการหยิบยืมค�ำจากภาษาไทยไปใช้เป็นจ�ำนวนมาก และในปัจจุบันก็หาคนที่พูดภาษา มอแกลนไดย้ ากขน้ึ ชมุ ชนมอแกลนบางแหง่ ไมพ่ ดู ภาษาดงั้ เดมิ เลย แตห่ นั มาพดู ภาษาไทยปกั ษใ์ ต้ ดงั ทก่ี ลา่ วแลว้ วา่ ชาวมอแกลนกลายเปน็ สว่ นหนง่ึ ในกระบวนการพฒั นาของพน้ื ทแ่ี ถบพงั งาและภเู กต็ ตงั้ แตย่ คุ การทำ� เหมอื งแร่ การเริ่มน�ำมะพร้าวและยางพารามาปลูกเป็นสวนขนาดใหญ่ในพื้นท่ี และการพัฒนารูปแบบการประมงท่ีใช้ เรอื หัวโทงตดิ เครอื่ งยนตแ์ ทนเรอื แจวด้วยแรงคน หรอื ใช้ใบพึง่ แรงลม ปัจจัยอีกอย่างหนึ่งท่ีท�ำให้กระบวนการผสมผสานวัฒนธรรมเป็นไปอย่างรวดเร็วคือระบบการศึกษา ภาคบังคับ โรงเรียนต่างๆ ในแถบนี้ตั้งข้ึนมานานแล้ว บางแห่งไม่ต่�ำกว่า 100 ปี บางโรงเรียนเร่ิมจากเป็น เพงิ หลังคามงุ จากต้ังอย่บู นพื้นทราย หรอื เปน็ โรงเรียนทีป่ ระชาชนในท้องถิน่ สร้างขึน้ แลว้ ทางราชการรับเขา้ มา อยู่ในระบบในภายหลัง เด็กๆ ชาวมอแกลนส่วนใหญ่เรียนร่วมกับเด็กอื่นๆ ในท้องถ่ิน เพราะชุมชนมอแกลน มักจะมีขนาดไม่ใหญ่นักและอยู่ใกล้เคียงชุมชนไทยหรือมุสลิม ที่ผ่านมา เด็กมอแกนไม่ค่อยได้เรียนหนังสือ เพราะตอ้ งติดเรือพ่อแมอ่ อกไปทำ� มาหากิน เร่รอ่ นไปนานๆ ทัง้ ครอบครัว สว่ นเด็กมอแกลนนนั้ สว่ นใหญ่มีบ้าน และตั้งหลักแหล่งอยู่กับที่มากกว่า จึงเข้าสู่ระบบโรงเรียนมากกว่า ส�ำหรับเด็กอูรักลาโว้ยนั้น เนื่องจากชุมชน มกั จะมขี นาดใหญ่ โรงเรยี นจงึ มกั จะเปน็ โรงเรยี นสำ� หรบั เดก็ ชาวอรู กั ลาโวย้ โดยเฉพาะหรอื เปน็ โรงเรยี นทนี่ กั เรยี น ส่วนใหญเ่ ปน็ ชาวอูรกั ลาโวย้ จงึ มีโอกาสเรียนรว่ มกับเดก็ ไทยและชาติพนั ธุ์อนื่ ๆ น้อยกว่า ในปัจจบุ นั ชาวเลท้งั สามกลุ่มได้มโี อกาสเรยี นสูงขึ้น กระบวนการผสมผสานทางวฒั นธรรมจึงเขม้ ข้นขึ้น เนอื่ งจากไม่คอ่ ยมหี ลักสตู รทอ้ งถิน่ ทเ่ี นน้ เรือ่ งการเรียนรเู้ ก่ียวกับภาษาและวัฒนธรรมดัง้ เดิมมากนกั 155 มอแกลน
ป้าลาภ หาญทะเล แหง่ ชุมชนทบั ตะวัน ยังรักษาเครอื่ งมือประมงแบบเดมิ และใช้เลยี งไม้เพ่ือร่อนแรท่ ต่ี กั มาจากชายหาด
16. ชาวมอแกลนยังเหลืออะไรท่ีเป็นอัตลักษณ์ส�ำคัญบ้าง? ถ้าพูดถึงวิถีการกินอยู่ในชีวิตประจ�ำวัน การแต่งกาย ภาษาพูด การประกอบอาหาร ฯลฯ ก็เรียกได้ว่า ชาวมอแกลนถกู ผสมกลมกลนื เขา้ สวู่ ฒั นธรรมทอ้ งถนิ่ แลว้ แตว่ า่ รายละเอยี ดนนั้ ยงั มคี วามแตกตา่ งทเี่ ปน็ อตั ลกั ษณ์ อยู่ เชน่ ในหลายชุมชนชาวมอแกลนวยั กลางคนและรนุ่ อาวุโสยงั นิยมสื่อสารดว้ ยภาษามอแกลน สำ� หรับอาชีพ ประมงนั้น แม้ว่าจะมีการพัฒนาสู่เรือแบบหัวโทงท่ีใช้เคร่ืองยนต์ แต่ชาวมอแกลนรุ่นอาวุโสยังถนัดใช้เรือมาด ที่ติดเคร่ืองขนาดเล็กหรือเรือแจวเพ่ือออกเก็บหาสัตว์ทะเลอยู่ และท้ังผู้ใหญ่ วัยรุ่น และเด็กก็ยังนิยม ที่จะเดนิ เก็บหาปลา ปู กุ้ง หอยบรเิ วณชายหาดหรอื ชายคลอง กลา่ วได้ว่ารปู แบบของการประมงน้ันมีลักษณะทย่ี ังคงความเปน็ “พน้ื บ้าน” มากกวา่ ชมุ ชนท้องถน่ิ อน่ื ๆ และบางบ้านก็ยังรักษาหรือใช้ประโยชน์เครื่องมือประมงพื้นบ้านท่ีท�ำด้วยวัสดุธรรมชาติ ลักษณะอีกประการ หน่ึงของชาวมอแกลนก็คืออดทนสงู้ านทเ่ี รียกกวา่ เปน็ งานใช้แรง งานหนกั ตรากตร�ำกรำ� แดด งานท่ลี ะเอยี ดและ ต้องใช้เวลา เช่น งานร่อนแร่ ส่วนท่ีเป็นอัตลักษณ์ส�ำคัญที่ยังคงอยู่อีกอย่างหนึ่งก็คือความเชื่อและพิธีกรรม ซึ่งจะกล่าวถงึ ในตอนต่อๆ ไป 157 มอแกลน
พธิ กี รรมของชาวมอแกลนในจงั หวัดพงั งา ทักษะวฒั นธรรมชาวเล 158
17. พิธีกรรมของชาวมอแกลนเหมือนกับของชาวมอแกนหรือไม่? ความเช่ือและพิธีกรรมของชาวมอแกลนมีท้ังที่คล้ายกับชาวมอแกน ไทย และมลายู รวมทั้งมีพิธีกรรม ท่ีแสดงอัตลักษณ์เฉพาะของมอแกลนด้วย บางพิธีก็สะท้อนความเช่ือมโยงระหว่างมอแกลนและมอแกนแต่ได้ ผ่านการปรับปรนเพ่ือให้เข้ากับบริบทของผู้อยู่อาศัยบนบก จึงสันนิษฐานกันว่าในสมัยก่อนนั้นชาวมอแกลน และมอแกนอาจจะเคยมีประวัติศาสตร์ร่วมกัน แต่เมื่ออพยพแยกออกมาและต้ังถิ่นฐานมากข้ึน มีปฏิสัมพันธ์ กับชมุ ชนบนบกมากขน้ึ รายละเอยี ดพธิ กี รรมเหล่าน้จี งึ ถกู ปรบั เปลย่ี นไป ผู้ประกอบพิธีหรือส่ือกลางระหว่างโลกน้ีและโลกเหนือธรรมชาติมักจะโพกผ้ารอบศีรษะในระหว่าง ท�ำพธิ ีกรรม ซ่งึ อาจจะมาจากอทิ ธพิ ลสายวฒั นธรรมมลายู เพราะโตะ๊ หมอหรือบอมอ (bomoh) ก็มักจะคาดผา้ รอบศรี ษะเชน่ กนั ในบางพธิ ี ชาวมอแกลนใชเ้ ตา่ บกในการเซน่ ไหว้ ซงึ่ คลา้ ยกบั การทช่ี าวมอแกนเซน่ ไวเ้ สาวญิ ญาณ บรรพบุรุษด้วยเต่าทะเล อาจจะเป็นไปได้ว่าเต่าทะเลหายากข้ึนส�ำหรับผู้คนบนบก ชาวมอแกลนจึงหันมา ใช้เตา่ บกในการท�ำพธิ ีกรรมแทนเตา่ ทะเล ส�ำหรับวิถปี ลกู ข้าวไร่ ก็มีพิธกี รรมเกี่ยวกับข้าวท่แี ตกต่างไปจากพิธขี องไทย ชาวมอแกลนมีศาลศักดิ์สทิ ธ์ิ ในนาข้าว มีการอัญเชิญวิญญาณศักด์ิสิทธิ์ในธรรมชาติมาให้พรและปกปักรักษาต้นข้าวท่ีออกรวง หลังจาก การเก็บเก่ียวแล้ว ก็น�ำข้าวที่เก่ียวแล้วใส่ในกระบุงที่สานด้วยใบเตยหนามและมีการเซ่นไหว้โดยใช้กล้วย หอยสองฝาจากปา่ ชายเลน และขา้ วตอกทท่ี ำ� เองโดยควั่ เมลด็ ขา้ วในกระทะทรี่ อ้ นจดั ชาวมอแกลนเลกิ ทำ� ขา้ วไร่ มานานแลว้ และปจั จุบันหลายชุมชนก็มปี ัญหาเรื่องท่ีดนิ อยอู่ าศยั และทำ� กนิ พธิ ีกรรมและเรอ่ื งราวเกา่ ๆ เชน่ นี้ จึงคอ่ ยๆ เลอื นรางไป 159 มอแกลน
ถว้ ยตายายในบ้านชาวมอแกลน
18. ถ้วยกระเบ้ืองเคลือบที่แขวนตามฝาบ้านชาวมอแกลนคืออะไร? ถ้วยกระเบ้ืองท่ีแขวนในบ้านชาวมอแกลนน้ันเป็นอัตลักษณ์พิเศษที่ส�ำคัญส�ำหรับชาวมอแกลนท่ีไม่พบ ในกลุ่มมอแกนหรอื อูรกั ลาโวย้ ชาวมอแกลนเรยี กวา่ “ถว้ ยตายาย” และเป็นทส่ี งิ สถิตของวญิ ญาณบรรพบรุ ุษ ปู่ย่าตายาย พิธีไหว้ “ตายาย (ที่อยู่ใน) ถ้วย” ของชาวมอแกลนจัดเป็นพิธีส�ำคัญประจ�ำปี จัดขึ้นในเดือนส่ี ทางจนั ทรคติ โดยในชว่ งเวลากลางวนั จะจดั พธิ ขี น้ึ บรเิ วณปา่ ใกลห้ มบู่ า้ น มผี เู้ ฒา่ ชาวมอแกลนเปน็ ผปู้ ระกอบพธิ ี พิธีเริ่มจากการตั้งเสาไม้ไผ่ 4 เสา ท�ำคานเล็กๆ และเอาแผ่นไม้ปูท�ำเป็นแคร่ หลังจากน้ันก็เอาใบตอง ปลู งบนแคร่ จากนนั้ มกี ารตง้ั ของเซน่ ไหวค้ อื ขา้ วหลาม 1 กระบอก แกงทท่ี ำ� จากเนอ้ื เตา่ บก ไก่ 1 ตวั เหลา้ 1 ขวด ขนม หมาก พลู ธูป เทียน เม่ือเตรียมของเซ่นไหว้แล้ว ผู้เฒ่าก็น�ำถ้วยใบเล็กมาวางด้านล่างแคร่ ฉีกไก่และ น�ำของต่างๆ ท่ีเตรียมอย่างละนดิ หน่อยใส่ในถ้วยน้ัน พธิ นี ้ถี ือเป็นพธิ ีกลางทไี่ หวเ้ จ้าท่แี ละวญิ ญาณทวั่ ไป ส่วนพิธีท่ีจัดข้ึนในช่วงเวลากลางคืนน้ันเป็นพิธีของแต่ละครอบครัว ซ่ึงพ่อหมอผู้เฒ่าจะทยอยประกอบ พิธีไปทีละบ้านจนครบท้ังหมู่บ้าน โดยจัดเตรียมข้าวปลาอาหารหวานคาวไว้ เชิญมาเพื่อให้สมาชิกในบ้าน อยู่สบายไม่เจ็บไข้ได้ป่วย มาในระยะหลัง พิธีดังกล่าวลดน้อยลงเพราะแทบจะไม่เหลือพ่อหมอผู้สืบทอด การเปน็ ผ้ปู ระกอบพธิ กี รรมอกี แล้ว นอกจากนน้ั ในชว่ งสึนามิ ถว้ ยตายายกย็ งั สญู หายหรือถูกซดั แตกกระจาย ไปโดยคลื่น เม่ือขาดถ้วยตายาย ก็เหมือนกับขาดศูนย์รวมจิตใจของสมาชิกในบ้านและพิธีกรรมที่ซ่อนเงื่อนไข ในการรวมตัวกันท�ำกิจกรรมส�ำคัญกส็ ญู หายไปพรอ้ มกันดว้ ย 161 มอแกลน
ผ้มู จี ิตศรทั ธานำ� สิ่งของมามอบใหแ้ กพ่ ่นี ้องชาวเลในงานบุญประจำ� ปใี นจงั หวดั พงั งา และภูเกต็ ทักษะวฒั นธรรมชาวเล 162
19. ทำ� ไมชว่ งงานบญุ เดอื นสบิ จะเหน็ ชาวเลขนึ้ มารบั บญุ อยตู่ ามวดั ตา่ งๆ ? สำ� หรบั คนไทยปกั ษใ์ ต้ งานบญุ เดอื นสบิ จดั ขนึ้ เพอ่ื รำ� ลกึ ถงึ บรรพบรุ ษุ ทไี่ ดล้ ว่ งลบั ไปแลว้ เชอื่ กนั วา่ บรรพบรุ ษุ ทต่ี อ้ งใชเ้ วรกรรมอยใู่ นยมโลกและจะกลบั มาเยยี่ มญาตหิ รอื ครอบครวั ในชว่ งวนั แรม 1 คำ่� ถงึ วนั แรม 15 คำ่� เดอื น 10 ทางจนั ทรคติ ซง่ึ ทำ� ใหเ้ กดิ การทำ� บญุ ทำ� ทานอทุ ศิ สว่ นกศุ ลใหแ้ กบ่ รรพบรุ ษุ ทลี่ ว่ งลบั ไปแลว้ โดยจะนำ� อาหาร ขนม และผลไม้ต่างๆ มาที่วัดเพ่ือถวายแด่พระสงฆ์ จากน้ันจะน�ำอาหาร ขนม และผลไม้ใส่ในส�ำรับหรือถาดหมรับ มาวางเรยี งไวก้ ลางลานโล่งเพือ่ สง่ ตอ่ ใหว้ ิญญาณซึง่ เช่ือว่าจะมาคอยรับส่วนบญุ พิธดี งั กล่าวเรยี กว่า “พิธีชงิ เปรต” ชาวมอแกลนเชือ่ ว่าบรรพบรุ ุษของตนท่ีลว่ งลบั ไปแล้วจะมารบั บญุ น้ี เชน่ กัน โดยชาวมอแกลนจะมารบั บุญตามวัด และน�ำกลบั ไปท่ีบา้ นเพื่อท�ำพธิ ไี หว้และสง่ ตอ่ บญุ นใ้ี หบ้ รรพบรุ ษุ ส่วนขนมและอาหารท่ีเหลือจากการไหว้น้ันก็น�ำมารับประทานกันเพราะเช่ือว่าจะมีโชคลาภ คนเฒ่าคนแก่ ชาวมอแกลนจะอบรมสัง่ สอนให้ลูกหลานต้องไปรบั บุญเป็นประจำ� ทกุ ปี ในชว่ งงานบญุ เดือนสิบน้ี ชาวมอแกลนจะเดนิ ทางมาตามวดั ตา่ งๆ ทกุ คนนิยมน�ำ ชอบ หรือ สอบ หรือ กระบุงที่สานจากใบเตยหนามมาเตรียมรับขนมต้ม ขนมเทียน ขนมห่อ ขนมลาและของไหว้ต่างๆ รวมทั้ง กบั ขา้ วเพอื่ นำ� กลบั บา้ น นอกจากนน้ั กย็ งั ไดร้ บั เศษสตางคท์ ค่ี นเตรยี มแลกมาเพอื่ ใหท้ าน ชาวมอแกลนบางคนนำ� เปลอื กหอยมาขาย งานบญุ เดอื นสบิ จงึ เปน็ พน้ื ทที่ างวฒั นธรรมทก่ี อ่ ใหเ้ กดิ ปฏสิ มั พนั ธท์ ส่ี ำ� คญั สำ� หรบั ชาวไทยพทุ ธ และชาวมอแกลน รวมทงั้ ชาวมอแกนและอรู กั ลาโวย้ ด้วย 163 มอแกลน
ภาพพิธลี อยเรอื ของชาวมอแกลนที่บา้ นแหลมหลาหรอื บา้ นทา่ ฉตั รไชย ทกั ษะวัฒนธรรมชาวเล 164
20. ชาวมอแกลนมีพิธีลอยเรือด้วยหรือ? ชาวมอแกลนบ้านแหลมหลา จังหวัดภูเก็ต มีพิธีลอยเรือท่ีนับว่าเป็นเอกลักษณ์ เพราะมีหลายส่วนท่ี คล้ายคลึงกับพิธีลอยเรือของชาวอูรักลาโว้ย แต่ก็มีความต่างกันหลายอย่าง ส่วนท่ีเหมือนกันคือพิธีจัดขึ้น ในวนั ข้นึ 15 คำ่� เดอื น 6 และเดอื น 11 มีการสรา้ งเรอื ลอยเคราะห์ มกี ารตัดเลบ็ ตัดผมใสไ่ ปในเรอื มงี านฉลอง รอ้ งเพลงและรา่ ยรำ� เหมอื นกนั เชอ่ื วา่ เปน็ งานพธิ สี ะเดาะเคราะห์ ใหล้ กู หลานหายจากโรคภยั ขอใหเ้ จา้ ทเ่ี จา้ ทาง และสิ่งศักดิ์สิทธ์ิช่วยคุ้มครองปกป้องชาวบ้านเหมือนกัน แต่ส่วนที่ต่างกันคือวัสดุท�ำเรือและรูปแบบเรือ เรอื ของชาวมอแกลนแหลมหลาทำ� ดว้ ยหยวกกลว้ ยนำ� มาเรยี งกนั เสยี บเชอื่ มกนั ดว้ ยไมย้ าวเหลาแหลม ทำ� คลา้ ยแพ แต่ข้ึนรูปเปน็ เรือ มีใบเรือทีท่ �ำจากผา้ ขาวมา้ และประดบั ตกแต่งรอบเรอื ดว้ ยดอกไม้ ในช่วงงานลอยเรือ แต่ละบ้านก็ท�ำอาหารใส่จานเรียงกันเพื่อให้พ่อหมอมาประกอบพิธีเซ่นไหว้ ให้สิง่ ศักดิ์สิทธิต์ า่ งๆ งานนจ้ี งึ เตม็ ไปด้วยความคกึ คกั และเห็นการมสี ว่ นรว่ ม เห็นความสามคั คพี ร้อมเพรียงกนั ของคนในหมู่บ้าน บรรยากาศงานลอยเรือในอดีตสนุกมาก ผู้คนเป็นกันเอง มีการร้องร�ำทั้งคืนโดยใช้ กลองร�ำมะนา รอ้ งเพลงเสียงสดๆ ไม่ได้ใชไ้ มโครโฟน ไม่มีเสยี งเพลงดังอกึ ทกึ ครึกโครม แต่ในสมัยนี้ผู้คนออกไปท�ำงานรับจ้างและงานอื่นๆ นอกชุมชน การมีส่วนร่วมในงานจึงน้อยลง ส่วนท่ีมาร่วมคือการดื่มเหล้าและเต้นร�ำที่เรียกว่า “เธค” หรือดิสโก้เธค ใช้เครื่องเสียงดังสน่ัน ซึ่งนับว่าเป็น การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมที่ชาวชุมชนจะต้องทบทวนว่ามีผลกระทบอะไรต่อชุมชนบ้าง และช่วยกันฟื้นฟู พธิ ีกรรมท่ีแสดงถึงจิตวญิ ญาณความเป็นชมุ ชนกลบั มาอีกครงั้ 165 มอแกลน
หลาพ่อตาของชาวมอแกลน ในจังหวัดพงั งา ทักษะวฒั นธรรมชาวเล 166
21. ชาวมอแกลนมีความเชื่อเร่ืองวิญญาณบรรพบุรุษหรือไม่? ชาวมอแกลนมีความเชื่อเก่ียวกับบรรพบุรุษที่ศักด์ิสิทธ์ิหรือ “พ่อตา” ในแต่ละชุมชนอาจนับถือพ่อตา ไม่เหมอื นกัน เช่น ชมุ ชนมอแกลนบ้านปากจกและบ้านทา่ แปะ๊ โย้ยให้ความเคารพ “พอ่ ตาหินกอง” เป็นพเิ ศษ ส่วนชุมชนมอแกลนบ้านบางสักให้ความเคารพ “พ่อตาสามพัน” ชุมชนมอแกลนบ้านเหนือให้ความเคารพ “พ่อตาหนิ ลูกเดียว” และชุมชนมอแกลนบ้านล�ำปใี หค้ วามเคารพ “พอ่ ตาหลวงจกั ร” สำ� หรบั “พอ่ ตาหลวงจกั ร” ของชาวมอแกลนทล่ี ำ� ปนี นั้ นบั เปน็ สงิ่ ศกั ดสิ์ ทิ ธท์ิ ช่ี าวมอแกลนใหค้ วามเคารพ นับถือสืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษโดยเชื่อกันว่าเป็นวิญญาณท่ีมีอ�ำนาจ สามารถดูแลและปกป้อง ให้พ้นจากอันตรายต่างๆ ได้ โดยวิญญาณของพ่อตาหลวงจักรนั้นสิงสถิตอยู่ในจอมปลวกต้ังอยู่ท่ีบ้านล�ำปี ต�ำบลท้ายเหมือง อ�ำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา โดยชาวบ้านได้สร้างศาลเคารพที่มีลักษณะเป็นศาลาไม้ ครอ่ มไวบ้ นจอมปลวก ถอื เปน็ สถานทเี่ คารพนบั ถอื ของผคู้ นทง้ั ในและนอกหมบู่ า้ น แมก้ ระทงั่ คนไทยจากภายนอก ชุมชนต่างก็ให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างมาก โดยมีการจัดงานประเพณีไหว้พ่อตาหลวงจักรขึ้นเป็นประจ�ำ ทุกปีในเดอื นหา้ ทางจันทรคติ ในวันนั้น ชาวมอแกลนจะน�ำเครื่องเซ่นไหว้ ข้าว แกง มารวมกันท้ังหมู่บ้าน โดยจะมีทั้งชาวมอแกลน มอแกน รวมท้ังชาวไทยที่ให้ความเคารพนับถือในพ่อตาหลวงจักรเข้าร่วมพิธี ผู้ร่วมพิธีเหล่านี้มักจะเป็น ผทู้ ่ีเคยบนบานศาลกลา่ วขอใหพ้ อ่ ตาหลวงจกั รชว่ ยเหลอื ในเรื่องตา่ งๆ เม่อื ส�ำเร็จสมดงั ความตง้ั ใจ ก็จะมาแก้บน ตามท่ไี ด้บนบานกนั เอาไว้ และแสดงความเคารพต่อพ่อตาหลวงจกั รในวันส�ำคัญเช่นนี้ 167 มอแกลน
ป้าเขยี บ ผอู้ าวุโสแห่งเกาะพระทองทม่ี ีความสามารถรอบด้าน อาศยั อยใู่ นหมบู่ ้านทุ่งดาบ เกาะพระทอง ซงึ่ เป็นชุมชนพหวุ ฒั นธรรมทม่ี ผี คู้ นหลายภาษาหลายวฒั นธรรมเคยมาอาศัยและทำ� มาหากินร่วมกัน ทกั ษะวัฒนธรรมชาวเล 168
22. ท�ำไมเกาะพระทองจึงมีความส�ำคัญในแง่มุมของชาติพันธุ์สัมพันธ์? จดหมายเหตุประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ11 ได้บันทึกถึง การขุดหาดีบุกบนเกาะพระทองซึ่งดึงดูดให้ผู้คนจากท่ีต่างๆ เข้ามารวมตัวกัน นักเผชิญโชคเหล่านี้เริ่มเข้ามา อยู่ด้านบนของเกาะพระทอง บริเวณท่ีเรียกว่าเกาะชาดเป็นจ�ำนวนมากก่อนจะกระจัดกระจายไปทั่วเกาะเพื่อ ขุดหาดีบุก เกาะชาดจึงกลายเป็นชุมชนใหญ่จนกระท่ังมีการต้ังโรงเรียนประมาณปี พ.ศ. 2478 ต่อมาเกิด ไข้ทรพิษระบาด ผู้คนทยอยอพยพออกไปจนโรงเรียนปิดไปก่อน พ.ศ. 2500 ต่อจากน้ันก็มีชุมชนเกิดขึ้น ทบ่ี า้ นปากจก บา้ นทา่ แป๊ะโย้ย และบา้ นทุง่ ดาบ ซึง่ ลว้ นแลว้ แตเ่ ปน็ ชมุ ชนหลากหลายวฒั นธรรม ชมุ ชนบนเกาะพระทองจงึ เปน็ สงั คมพหวุ ฒั นธรรมคอื มหี ลายชาตพิ นั ธอ์ุ ยรู่ ว่ มกนั มปี ฏสิ มั พนั ธท์ ำ� มาหากนิ รว่ มกันหรอื เสริมกนั และมกี ารแตง่ งานข้ามกลุ่มกันบ้าง ไมว่ า่ จะเปน็ ชาวมอแกนและมอแกลน ชาวจนี ชาวไทย จากท่ีต่างๆ ก็เข้ามาท�ำมาหากินในดินแดนท่ีอุดมสมบูรณ์น้ี ท้ังท�ำประมงพ้ืนบ้าน ขุดหาแร่ ตัดไม้เผาถ่าน ทำ� สวนมะพร้าว ทำ� สวนมะมว่ งหิมพานต์ ฯลฯ ชอ่ื หมบู่ า้ นทา่ แปะ๊ โยย้ บนเกาะพระทองกช็ ช้ี ดั วา่ เรมิ่ มกี ารตงั้ ชมุ ชนถาวรโดยคนจนี แตค่ าดกนั วา่ บรเิ วณน้ี เป็นแหล่งท�ำมาหากิน จอดเรือ พักพิงอาศัยของชาวเลกลุ่มมอแกนและมอแกลนมาเป็นเวลานานแล้ว แม้ว่า จะมีสมาชิกจากหลายกลุ่มชาติพันธุ์ แต่นับว่าชุมชนบนเกาะพระทองเป็นชุมชนที่มีความกลมกลืนกัน มีการกีดกันหรือดูถูกดูแคลนกันน้อยมากเม่ือเทียบกับชุมชนบนฝั่ง ทั้งน้ี เน่ืองจากผู้คนในรุ่นวัยกลางคนถึง วัยชราไดม้ โี อกาสท�ำมาหากนิ ท�ำเหมือง เพาะปลกู และประมง รวมทงั้ ไดแ้ ลกเปล่ยี นแบง่ ปนั และชว่ ยเหลือกัน เด็กๆ กโ็ ตขึ้นมาด้วยกนั และเขา้ โรงเรยี นเดยี วกนั ตา่ งกถ็ ือวา่ เป็นคนหมู่บา้ นเดียวกัน 11. “มบี างเกาะทม่ี เี หมอื งแรด่ บี กุ เชน่ เกาะพระทองเปน็ ตน้ ” จากจดหมายเหตปุ ระพาสหวั เมอื งปกั ษใ์ ต้ ร.ศ. 128 พระราชนพิ นธ์ ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ เมื่อคร้ังด�ำรงพระยศเป็นพระบรมโอรสาธิราช มกุฎราชกุมารของสยาม โดยใช้ นามแฝงวา่ นายแก้ว พระนคร: โรงพมิ พม์ หามกฎุ ราชวิทยาลยั (2502) 169 มอแกลน
ภาพโรงเรียนเกยี รตปิ ระชา ซึ่งสรา้ งข้นึ ในสมัยหลงั และกย็ งั คงเปน็ สถาบันท่บี ่มเพาะการศึกษาของเด็กหลายกลุ่มชาติพนั ธ์ุ ทกั ษะวัฒนธรรมชาวเล 170
23. โรงเรียนเป็นแหล่งบ่มเพาะสังคมพหุวัฒนธรรมได้หรือไม่? “ชาวเล” มักเป็นกลุ่มที่มักถูกดูถูกดูแคลนจากคนในท้องถ่ิน แต่เกาะพระทองเป็นชุมชนที่ผู้คน หลายชาติพันธุ์ท�ำมาหากินอยู่ร่วมกัน จึงเป็นสังคมที่คุ้นชินกับความหลากหลาย โรงเรียนที่เกาะพระทอง มีเด็กๆ จากหลายกลุ่มเข้ามาเรียนและเล่นด้วยกัน โตข้ึนมาด้วยกัน โรงเรียนจึงกลายเป็นสถาบันท่ีบ่มเพาะ ความเป็นสงั คมพหุวัฒนธรรม ในสมัยก่อน ท่ีเกาะพระทองมีหมู่บ้านช่ือเกาะชาด เป็นชุมชนเล็กๆ ที่เกิดขึ้นจากการท�ำเหมืองแร่ มีคนจีนและคนไทยปลูกบ้านอยู่ประมาณ 20 หลัง ส่วนมอแกลนยกกระต๊อบเล็กๆ ชั่วคราว 7-8 หลัง โรงเรียนบ้านเกาะชาด ก่อต้ังเมื่อ พ.ศ.2478 อาคารเรียนเป็นเรือนไม้สองช้ันยกพื้น ปูพ้ืนด้วยไม้ไผ่ หลังคามุงจาก เปิดสอนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีนักเรียนราว 20-30 คน เด็กๆ ใช้กระดานชนวน แผ่นสังกะสีหรือกระเบ้ืองในการขีดเขียน เพราะเป็นช่วงสงครามท่ีทุกอย่างขาดแคลน เด็กมอแกลน เรยี นหนงั สอื บา้ ง ไมเ่ รยี นบา้ ง มาเรยี นไมแ่ นน่ อน โรงเรยี นปดิ เทอมในชว่ งฤดเู กบ็ เกยี่ ว เพราะเดก็ ตอ้ งไปชว่ ยพอ่ แม่ เก็บเก่ียวข้าวไร่ ต่อมาเกิดโรคระบาด ผู้คนจึงพากันอพยพไปอยู่ท่ีบ้านท่าแป๊ะโย้ย จนโรงเรียนบ้านเกาะชาด ถกู ยบุ ไปในทีส่ ดุ โรงเรียนแห่งท่ีสอง คือ โรงเรียนบ้านปากจก ตั้งข้ึนมากว่า 70 ปีแล้ว เดิมเป็นเพิงหลังคามุงจาก เปิดสอนตั้งแตช่ ้ันประถมศกึ ษาปีท่ี 1-4 มีนกั เรียน 20 คน กวา่ ครึ่งเปน็ เดก็ มอแกลน ในสมัยก่อนนั้นการเดินทาง ระหว่างเกาะกับฝั่งค่อนข้างล�ำบาก ต้องอาศัยการเดินเท้าหรือใช้เรือแจว เด็กไทยและมอแกลนบางส่วน มาจากทุง่ ดาบ ทุ่งนางด�ำ และอ่าวน�้ำจดื บา้ งก็มาเรียนและพักอยู่ประจำ� กับญาติ จะเหน็ ไดว้ า่ โรงเรยี นทงั้ สอง มีความส�ำคัญ เพราะมีเด็กหลากหลายกลุ่มชาติพันธุ์ ทั้งไทย จีน มอแกลนและมอแกน เข้ามาเรียนหนังสือ ร่วมกันและเป็นเพ่ือนกันต้ังแต่เล็กๆ ต่อมาโรงเรียนบ้านปากจกถูกท�ำลายโดยคล่ืนสึนามิในปี พ.ศ. 2547 ส่วนโรงเรียนเกียรติประชา และโรงเรียนทุ่งดาบน้ันสร้างขึ้นหลังจากที่มีโรงเรียนบ้านปากจกแล้ว แต่ก็มีส่วน บม่ เพาะให้เกดิ ความสัมพนั ธ์อนั ดีระหวา่ งเดก็ ๆ หลายกลุม่ ชาตพิ นั ธบุ์ นเกาะพระทองเช่นเดยี วกัน 171 มอแกลน
ผอู้ าวุโสชาวมอแกลนเป็นคลังความรู้ ทั้งเร่ืองหตั ถกรรมและเร่ืองตำ� นานเก่าแก่
24. ชาวมอแกลนยังมีนิทานหรือต�ำนานเก่าๆ เหลืออยู่บ้างหรือไม่? เน่ืองจากสังคมชาวเลเป็นสังคม “มุขปาฐะ” หรือสงั คมทีไ่ มม่ ีตัวอกั ษรเขยี น ดังนนั้ ค�ำสอน คำ� บอกเลา่ เรื่องราวต่างๆ มักจะถูกถ่ายทอดต่อๆ กันมาโดยผ่านการบอกเล่าต�ำนาน นิทาน หรือเพลงร้องจากรุ่นสู่รุ่น ในสมัยก่อนท่ีชุมชนชาวมอแกลนยังไม่ได้รับส่ือสมัยใหม่มากนัก ก็มีการเล่านิทานเหล่าน้ีให้ลูกหลานฟัง ซึ่งส่วนใหญ่กเ็ ปน็ เรอื่ งที่สอดแทรกคำ� สอนหรือหลกั คิดตา่ งๆ ไว้เพอื่ เป็นสิ่งเตอื นใจให้ด�ำรงชพี อย่างมีสติ ชาวมอแกลนมนี ทิ านเรอ่ื ง “เกาะเหา” ทสี่ ะทอ้ นถงึ เหตกุ ารณน์ ำ้� ทว่ มใหญ่ อนั ทจ่ี รงิ แลว้ หลายวฒั นธรรม มเี ร่อื งราวเก่ยี วกบั ภัยพิบัตแิ ละน้�ำทว่ ม ซ่งึ เป็นเคร่ืองเตอื นใจถึงความไม่แน่นอนของธรรมชาติ และการท่ีมนุษย์ จะตอ้ งสำ� นกึ วา่ สงั คมมนษุ ยเ์ รากเ็ ปน็ สว่ นหนงึ่ ของธรรมชาตเิ ชน่ กนั นทิ านเรอ่ื ง “เกาะเหา” มดี งั น้ี “กาลครง้ั หนงึ่ นานมาแล้ว หลังเกิดภัยพิบัติมีแผ่นดินผุดข้ึนมาจากทะเล ชาวมอแกลนเรียกเกาะแห่งใหม่น้ีว่า “บุโล่ย” หรือท่ีแปลว่า “เหา” ต่อมาเกิดพายุฝนฟ้าคะนองและมีน้�ำทะเลท่วมแผ่นดิน ผู้คนต่างหนีขึ้นไปอาศัยในถ้�ำ ท่ีอยู่บนเกาะน้ี คนท่ีปีนข้ึนมาบนเกาะไม่ทันก็กลายเป็นเต่าและปลาพะยูนไปในที่สุด จนเมื่อน้�ำทะเลลดลง ผคู้ นกแ็ ยกย้ายกันออกไปจากเกาะแหง่ น้ี ขา้ งๆ “เกาะเหา” มเี กาะเล็กๆ ช่ือ “เกาะผี” ซึง่ กเ็ ป็นเหมือนกับสมอ ที่คอยยดึ “เกาะเหา” เอาไว”้ นอกจากนี้ ยังมนี ทิ านเร่ือง “ผหี ลงั โวง หรือผหี ลงั โหว”่ ทเ่ี ลา่ กันว่า “มหี ญงิ คนหนงึ่ มาตะโกนร้องเรยี ก คนในหมู่บ้านมอแกลน และคนบนบ้านเอ่ยตอบมาว่าให้ข้ึนบ้านก่อน เพราะค่�ำมืดแล้ว แต่หญิงคนน้ันบอกว่า ข้ึนบ้านไม่ได้หรอกเพราะหลังฉันโหว่! คนในบ้านจึงตอบไปว่าต่อมาไม่ต้องมาบ้านน้ีแล้วนะ จะท�ำบุญไปให้” นทิ านเร่อื งนใี้ ชเ้ ป็นกศุ โลบายเพอ่ื สอนใหเ้ ด็กๆ ใหเ้ ขา้ นอนแต่หวั ค�ำ่ ไม่ออกไปเลน่ ซกุ ซนในยามคำ่� คนื 173 มอแกลน
สามีภรรยา ค่ชู วี ติ ชาวมอแกลนที่เกาะพระทอง จงั หวัดพงั งา ทกั ษะวฒั นธรรมชาวเล 174
25. พิธีแต่งงานของชาวมอแกลนเป็นอย่างไร? เม่ือหญิงชายมอแกลนรู้จักชอบพอกันจนตัดสินใจใช้ชีวิตร่วมกัน หรือบางคนฝ่ายพ่อแม่ต่างชอบพอ นสิ ยั ใจคอกนั เหน็ สมควรใหล้ กู แตง่ งานมคี รอบครวั ฝา่ ยชายกจ็ ะสง่ “เถา้ แก”่ ซงึ่ สว่ นใหญเ่ ปน็ ผอู้ าวโุ สทฝ่ี า่ ยชาย นบั ถือท�ำหนา้ ทีเ่ จรจาสู่ขอกบั พ่อแม่ของฝา่ ยหญิง ในสมยั ก่อน สินสอดทองหม้นั ประกอบไปด้วยผ้าถุง 2-3 ผนื หมากพลูจ�ำนวน 99 ค�ำ และท่ีส�ำคัญ คอื เงนิ หนกั หนง่ึ ชงั่ (ประมาณ 1.2 กโิ ลกรมั ) ซง่ึ ในสมยั กอ่ นนน้ั ชาวบา้ นยงั ใชเ้ งนิ เหรยี ญทม่ี รี ตู รงกลางน�ำมารอ้ ยเชอื ก ให้เป็นพวงขนาดพวงมาลัย ถ้าหากฝ่ายชายน�ำเงินสินสอดมาจ�ำนวนเกินกว่า 1 ช่ัง ฝ่ายหญิงนิยมจะคืนให้ กลบั ไป เนือ่ งจากจ�ำนวนเงินท่ใี หม้ าน้ันก็นบั ว่าเพียงพอแล้ว นอกจากนั้น ยังมีเร่ืองเล่าว่า ฝ่ายหญิงอาจจะลองใจฝ่ายชายก่อนท่ีจะตกลงปลงใจจะใช้ชีวิตร่วมกัน เพ่ือพิสูจน์ว่ารักจริงหรือไม่ มีความขยันและอดทนมากน้อยเพียงใด เช่น ฝ่ายหญิงจะขอร้องให้ผู้ชายช่วยงาน บางอย่าง ให้หาบน�้ำมาเติมจนเต็มตุ่ม ให้ถางหญ้า ถางไร่ หรือช่วยท�ำงานอื่นๆ ก่อนที่จะตัดสินใจแต่งงาน เพราะโดยปกตแิ ล้วชาวมอแกลนจะไม่แยกทางหรือหยา่ กนั จนกระท่ังฝา่ ยใดฝ่ายหนึ่งจากไป 175 มอแกลน
อรู กั ลาโวย้
ลงุ มณี ผู้อาวุโสชาวอรู กั ลาโวย้ บ้านเกาะสเิ หร่ จังหวัดภูเกต็ กบั เรือปราฮูจ�ำลองแบบด้ังเดิม ทกั ษะวฒั นธรรมชาวเล 178
1. ภูมิหลังของชาวอูรักลาโว้ยเป็นอย่างไร? ชาวอูรักลาโว้ยนับได้ว่าเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลผู้ท่ีอยู่บริเวณเกาะและชายฝั่งทะเลอันดามันมาเป็น เวลานาน ชอื่ ภาษาและชื่อท่ีเรยี กตนเองกส็ ะท้อนใหเ้ ห็นความสัมพนั ธอ์ ันแนบแนน่ นอี้ ย่างชดั เจน อูรัก คือคน และ ลาโว้ย คือทะเล วิถีอูรักลาโว้ยด้ังเดิมคือการเก็บหาและล่าสัตว์ทะเลมาต้ังแต่สมัย ปู่ย่าตาทวด ชาวอูรักลาโว้ยเดินทางไปตามเกาะและชายฝั่งทะเลเพ่ือท�ำมาหากิน ด�ำรงชีพด้วยวิถีแบบ เคลอื่ นยา้ ยบอ่ ยครงั้ โดยทม่ี แี หลง่ พกั พงิ ชว่ั คราวเพอื่ เกบ็ หาและลา่ สตั วท์ ะเล โดยเฉพาะในชว่ งฤดแู ลง้ ในระหวา่ ง เดือนพฤศจิกายนถึงเดอื นเมษายน การเดินทางไปทำ� มาหากินโดยมแี หลง่ พักชว่ั คราวนเี้ รยี กว่า บากัด ชาวอูรักลาโว้ยมีความสามารถด้านการว่ายน้�ำ ด�ำน�้ำ มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการเดินเรือ การสังเกต สภาพแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงของภาวะอากาศ ชุมชนอูรักลาโว้ยรอดพ้นจากภัยสึนามิเพราะบรรพบุรุษ เลอื กพน้ื ท่ตี ง้ั หม่บู า้ นไดอ้ ย่างเหมาะสม สว่ นใหญ่แล้วหม่บู ้านจะอยู่ในอ่าวดา้ นตะวันออกที่หลบลม นอกจากน้ี ชาวอูรักลาโว้ยยังมีต�ำนานเรื่องคลื่นเจ็ดชั้นเช่นเดียวกับชาวมอแกน เมื่อสังเกตสภาพการเปลี่ยนแปลงของ น้�ำทะเลท่ีลดลงอย่างมากผิดสังเกต และต่อมามีคล่ืนเป็นแนวขาวมาแต่ไกล ชาวอูรักลาโว้ยจึงรีบตะโกน เตือนกันและว่ิงหนีไปหลบอยู่บนพ้ืนท่ีสูง แม้ว่าเรือ บ้านเรือน และข้าวของเคร่ืองใช้จะได้รับผลกระทบ จากคล่ืนบา้ ง แต่คนส่วนใหญ่ในหมูบ่ า้ นอูรักลาโวย้ ก็ปลอดภยั 179 อูรกั ลาโวย้
ภาพแหล่งบากัดของชาวอูรกั ลาโวย้ ที่ปาตยั ปาญัก เกาะราวี จังหวดั สตูล โดยสพุ ณิ วงศ์บุษราคัม
2. “บากัด” คืออะไร และมีความส�ำคัญต่อวิถีเก็บหาของชาวอูรักลาโว้ยอย่างไร? “บากดั ” เปน็ คำ� ในภาษาอรู กั ลาโวย้ หมายถงึ การเดนิ ทางจากบา้ นไปทำ� มาหากนิ และพกั แรมตามสถานท่ี ตา่ งๆ และสรา้ งเพงิ พกั อาศยั ชว่ั คราวแบบงา่ ยๆ เพอ่ื หลบั พกั ผอ่ นและทำ� อาหาร มกี ารนำ� ขา้ วของเครอ่ื งใชต้ ดิ ตวั ไปเท่าท่จี �ำเปน็ อาทิ มีดพรา้ ขวาน แห เบ็ด ฯลฯ ส่วนใหญ่สมาชิกในครอบครวั จะเดนิ ทางไปดว้ ยกันทัง้ หมด เส้นทางบากัดมีหลากหลายเส้นทาง ทั้งระยะใกล้และไกล ครอบคลุมพ้ืนท่ีตั้งแต่หมู่เกาะอาดัง-ราวี เกาะหลีเปะ๊ เกาะลันตา เกาะยาวนอ้ ย เกาะยาวใหญ่ เกาะภูเก็ต เกาะไม้ทอ่ น หมู่เกาะสมิ ลิ นั หม่เู กาะสุรนิ ทร์ เรื่อยไปจนถึงหมู่เกาะมะริดในเมียนมาร์หรือพม่า เมื่อชาวอูรักลาโว้ยได้ของท่ีหามาได้จากทะเล เช่น ปลา หอย ปู ฯลฯ ก็จะน�ำมาบริโภคและแบ่งกันภายในชุมชน แต่ของบางอย่างที่ขายได้และมีราคาดี ก็จะเก็บไว้ ขายหรอื แลกเปลีย่ นกับพ่อค้าคนกลาง เช่น ปลงิ และหอยตากแหง้ เปลอื กหอยมกุ หอยนมสาว ฯลฯ การเดินทางโยกย้ายไปตามแหล่งท�ำมาหากินนี้สอดคล้องกับฤดูกาล การเคลื่อนท่ีท�ำให้ชาวอูรักลาโว้ย สามารถเข้าถึงแหล่งอาหารท่ีอุดมสมบูรณ์และหลากหลาย แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่ก่อให้เกิดความเสื่อมโทรม ของทรัพยากรเน่ืองมาจากการใช้สอยท่ีต่อเน่ือง วิถีดั้งเดิมของชาวอูรักลาโว้ยจึงเป็นวิถีแห่งการอนุรักษ์ แต่ภายหลังระบบตลาดเข้ามาครอบง�ำวิถีชีวิตมากขึ้น ท�ำให้ต้องเก็บหาทรัพยากรมากข้ึน และขูดรีดแรงงาน ตัวเองมากขึ้น เช่นมีการใช้เคร่ืองปั๊มลมช่วยในการด�ำน�้ำ12 ซ่ึงท�ำให้เกิดความเส่ียงท่ีจะเป็นโรคน้�ำหนีบ (decompression sickness) และท�ำใหช้ ายชาวอรู ักลาโวย้ หลายคนพิการหรอื เสยี ชวี ิต 12. การด�ำน�้ำด้วยเครื่องปั๊มลม คือการด�ำลงไปในน้�ำโดยสวมหน้ากากด�ำน�้ำที่ครอบส่วนบนของใบหน้า ในขณะปากที่ คาบปลายสายท่อลมพลาสติกท่ีหย่อนลงไปในน้�ำเพื่อเป็นท่อหายใจ สายท่อน้ียึดติดกับเครื่องปั๊มลมท่ีตั้งอยู่บนเรือ การด�ำนำ้� วธิ ีนเ้ี ปน็ วิธที ่อี นั ตรายทม่ี าจากปมั๊ ลม ท่อลม การปรับร่างกายเข้ากบั แรงกดของนำ้� ในระดับต่างๆ ฯลฯ 181 อูรกั ลาโวย้
แผนที่แสดงชื่อสถานที่ท่เี ป็นภาษาอูรกั ลาโวย้ จากงานวจิ ัยโดยสพุ ิณ วงศบ์ ุษราคมั และคณะ (2549) ทักษะวฒั นธรรมชาวเล 182
3. มีช่ือเรียกเกาะต่างๆ เป็นภาษาอูรักลาโว้ยหรือไม่? แผนท่ีแสดงหมู่บ้านเก่าและแหล่งพักแรมด้ังเดิม หรือ บากัด ของชาวอูรักลาโว้ยในหมู่เกาะอาดัง-ราวี บ่งบอกว่าชาวเลกลุ่มอูรักลาโว้ยเข้ามาอาศัยและท�ำมาหากินบริเวณนี้เป็นเวลายาวนานและรู้จักพ้ืนท่ีต่างๆ เป็นอย่างดี ดังปรากฏให้เห็นจากค�ำศัพท์และช่ือเรียกเกาะ รวมท้ังสถานที่ต่างๆ บนเกาะ นอกจากน้ี ชาวอูรักลาโว้ยยังมีอภิธานศัพท์ระบบนิเวศทางทะเล ทั้งลักษณะของหาดทราย อ่าว โขดหิน คล่ืน ลม กระแสนำ�้ ฯลฯ ตารางแสดงตัวอยา่ งช่อื เกาะบริเวณเกาะอาดัง-ราวที ่ีเปน็ ภาษาอรู กั ลาโว้ย13 ชื่อเกาะในภาษาอรู ักลาโวย้ ค�ำแปลภาษาไทย (ปเู ลา = เกาะ) ปูเลา บอื ตก (บือตก = ไม้ไผช่ นิดหนง่ึ ) เกาะตง -- เกาะทมี่ ไี มไ้ ผบ่ อื ตก (ไผต่ ง) เปน็ จำ� นวนมาก ปูเลา นปิ ฮิ (นิปฮิ = แบน หรือราบ) เกาะหลเี ปะ๊ -- เปน็ เกาะทคี่ อ่ นขา้ งแบนและมพี น้ื ทร่ี าบ ปเู ลา ฆอื ตัฮ (ฆอื ตฮั = ยางพารา) เกาะยาง -- ในอดตี เคยมีตน้ ยางลอยมาตดิ ท่ีเกาะ ปเู ลา บูบู (บูบู = ไซ) เกาะไซ -- เปน็ ท่ซี ึง่ ชาวบ้านนยิ มไปวางไซในอดีต 13. จากข้อมูลของสุพิณ วงศ์บุษราคัม ใน “ชุมชนมอแกนและอูรักลาโว้ยกับพ้ืนที่คุ้มครอง” กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวทิ ยาลัย (2549) 183 อรู ักลาโวย้
สภาพบา้ นชาวอรู กั ลาโวย้ แบบดั้งเดมิ ทเ่ี กาะหลเี ปะ๊ จงั หวัดสตลู ซึ่งเป็นภาพทไ่ี ม่มีอีกแลว้ ในปัจจุบนั
4. ชาวอูรักลาโว้ยเลือกท่ีต้ังหมู่บ้านอย่างไร? ในฤดูฝนที่ทะเลมีคลื่นและลมพายุค่อนข้างแรง ชาวอูรักลาโว้ยจะตั้งหลักแหล่งเป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชายฝั่งและในป่ามากข้ึน มีการศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยในการเลือกสถานท่ีต้ัง ถนิ่ ฐานของชาวอูรกั ลาโวย้ ซึง่ ไดข้ ้อสรุปว่าในการเลอื กท่ตี ง้ั ถิ่นฐานนนั้ จะตอ้ งมปี จั จยั ท่ีเหมาะสมด้านภูมศิ าสตร์ มีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติท่ีอุดมสมบูรณ์ นอกจากนั้น ยังมีปัจจัยเรื่องความเชื่อและความสัมพันธ์กับสิ่ง เหนอื ธรรมชาติ รวมทง้ั ความสะดวกในการเดนิ ทางและการตดิ ตอ่ ค้าขาย กบั ชุมชนอนื่ ดว้ ย (โปรดดรู ายละเอียด ในตารางหนา้ ถดั ไป)14 14. จากวทิ ยานพิ นธเ์ รอื่ ง “พฒั นาการของการตงั้ ถน่ิ ฐานชมุ ชนอรู กั ลาโวย้ ในพนื้ ทภี่ เู กต็ จากมมุ มองนเิ วศวฒั นธรรม” โดยเมธริ า ไกรนที วทิ ยานพิ นธศ์ ลิ ปศาสตรมหาบณั ฑติ สหสาขาวชิ าพฒั นามนษุ ยแ์ ละสงั คม บณั ฑติ วทิ ยาลยั จฬุ าลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั (2552) ทกั ษะวฒั นธรรมชาวเล 186
ตารางแสดงปัจจยั ในการเลือกสถานท่ีตง้ั ถิน่ ฐานของชาวอูรกั ลาโว้ย ปัจจัยหลัก ปจั จัยย่อย รายละเอียด ปจั จัยดา้ นกายภาพ ภมู ิประเทศและภมู อิ ากาศ มีพ้ืนท่รี าบ มีพ้ืนที่สามารถหลบคล่ืนลมและพายุฝนได้ ชายหาดมีความลาดชนั พอดี จอดเรอื ได้สะดวก หรอื มรี อ่ งน้�ำ สำ� หรบั ให้เรอื แลน่ เขา้ ออกจากฝ่ังไดง้ ่าย มคี วามปลอดภยั จากสัตวร์ า้ ยและอนั ตรายอน่ื ๆ แหล่งทรัพยากรธรรมชาติ มีแหล่งน�ำ้ จดื มที รพั ยากรธรรมชาตอิ ุดมสมบูรณ์ มีทรพั ยากรธรรมชาติที่หลากหลาย มีเครือขา่ ยของระบบนเิ วศยอ่ ยๆ ปัจจัยด้านสังคม ความเชื่อและความสัมพนั ธ์กบั การตดั สินใจโดยผู้น�ำทางจิตวญิ ญาณ วัฒนธรรมและเศรษฐกิจ ส่งิ เหนอื ธรรมชาติ ความรู้สกึ และสัญชาตญาณในการอยอู่ าศัยของคนในชุมชน การเดนิ ทางและการติดต่อ การเย่ียมเยียนญาติพี่น้องตา่ งชุมชน ค้าขายกับชุมชนอน่ื การตดิ ต่อค้าขายแลกเปลี่ยน 187 อรู ักลาโว้ย
ภาพถ่ายดาวเทยี มเกาะลันตา (Google Earth) แสดงให้เหน็ ถึงชุมชนชาวเล ทกั ษะวฒั นธรรมชาวเล 188
5. ท�ำไมจึงเรียกเกาะลันตาว่าเป็นเมืองหลวงของชาวอูรักลาโว้ย? เกาะลนั ตา หรอื ชอ่ื ทช่ี าวอรู กั ลาโวย้ เรยี กวา่ “ปเู ลาซาตก๊ั ” หมายถงึ เกาะทมี่ หี าดทรายทอดตวั เปน็ แนวยาว บา้ นหวั แหลมกลางบนเกาะลนั ตาแหง่ นเี้ คยถกู ขนานนามวา่ เปน็ เมอื งหลวงของชาวอรู กั ลาโวย้ ในเขตนา่ นนำ้� ไทย เลยทีเดียว ด้วยว่าในอดีตเคยมีชาวอูรักลาโว้ยอาศัยอยู่รวมกันเป็นชุมชนใหญ่ประมาณ 40-50 ครัวเรือน โดยมรี อ่ งรอยหลกั ฐานทบ่ี ง่ บอกวา่ ชาวเลกลมุ่ ทเี่ รยี กตวั เองวา่ “อรู กั ลาโวย้ ” อพยพเขา้ มาอาศยั ตามหมเู่ กาะตา่ งๆ ในแถบทะเลอันดามันมาเป็นเวลานานดังปรากฏให้เห็นจากสุสานโบราณ ศาลเคารพเก่าแก่ ต�ำนานความเชื่อ เกี่ยวกบั สถานท่ี และช่ือสถานทต่ี า่ งๆ บริเวณหมเู่ กาะโดยรอบทีเ่ ป็นภาษาอรู ักลาโวย้ นนั่ เอง จากคติความเช่ือของชาวเลแทบทุกกลุ่มที่เช่ือกันว่าที่ดิน ผืนน้�ำ และป่าไม้เป็นของคนทุกคน ไม่มีผู้ใด เป็นเจ้าของ ใครจะใช้ประโยชน์ท่ีไหนอย่างไรก็ได้ เม่ือชาวเลไม่มีวัฒนธรรมในการจับจองครอบครองพื้นท่ี เพอ่ื ตงั้ ถนิ่ ฐานถาวร เปน็ เพยี งการสรา้ งเพงิ พกั ชว่ั คราวตามเกาะและชายฝง่ั ทะเล กอปรกบั ปจั จยั ตา่ งๆ ทเี่ ออื้ ตอ่ วิถีการเดนิ ทางเรร่ ่อนและเคล่อื นยา้ ยหากินตามฤดูกาล อาทิ โรคภัยไขเ้ จบ็ โดยเฉพาะโรคระบาดหรือโรคติดตอ่ ร้ายแรง การทะเลาะและความขัดแย้งภายในกลมุ่ ฯลฯ ดังนั้นภายหลังเม่อื ตอ้ งหวนกลบั มายังแหล่งท่พี ักอาศัย เดิม กม็ ักจะพบวา่ มีผูอ้ ืน่ เข้ามาจับจองยดึ ครองกรรมสทิ ธ์ิแลว้ นน่ั จงึ เป็นเหตผุ ลว่า ท�ำไมชุมชนชาวเลหลายแหง่ จงึ ประสบปญั หาเร่อื งกรรมสิทธท์ิ ีด่ ิน 189 อูรกั ลาโว้ย
ตวั อยา่ งบ้านแบบด้งั เดมิ ของชาวอูรกั ลาโวย้
6. บ้านแบบด้ังเดิมของชาวอูรักลาโว้ยเป็นอย่างไร? ในสมัยก่อน ลกั ษณะบา้ นของชาวอรู ักลาโวย้ เปน็ บา้ นไมใ้ ตถ้ ุนสูง ตัวบ้านค่อนข้างโปรง่ มปี ระตหู น้าบา้ น และหลงั บา้ น โดยบันไดขึ้นบา้ นต้องมีจำ� นวนเปน็ เลขค่ี ไมน่ ยิ มเป็นเลขคู่ หลงั คาและฝาบา้ นท�ำด้วยวัสดุทหี่ าได้ งา่ ยในทอ้ งถิ่น เชน่ ใบคอ้ ใบจาก ใบเตยหนาม แต่ภายหลงั หันมาใช้สงั กะสีและกระเบอ้ื งมงุ หลังคา พืน้ ทำ� ด้วย ไม้ไผ่ แต่ต่อมาก็ใช้ไม้กระดาน ในสมัยก่อน ชาวอูรักลาโว้ยนอนกับพ้ืนหรือต่อแคร่ไม้ไผ่ใช้เป็นเตียงนอน ปัจจุบันนิยมนอนบนฟูกและ บางบ้านก็ใช้เตียงนอน ใต้ถุนบ้านเป็นสถานที่สารพัดประโยชน์ ส�ำหรับน่ังพักผ่อน ท�ำหัตถกรรมสานเส่ือ ทำ� เครอ่ื งมอื เครอ่ื งใช้ ใชเ้ ปน็ สถานทต่ี อกและแกะหอย ฯลฯ นอกจากใตถ้ นุ แลว้ บา้ นยงั มกั จะมรี ะเบยี งหนา้ บา้ น ทีม่ ีหลังคาลาดเอยี งคลมุ ตลอด จึงสามารถจะกนั ลมกันฝนไม่ใหส้ าดเขา้ มาในตวั บา้ นได้ บ้านในสมัยกอ่ นสรา้ งขน้ึ อยา่ งเหมาะเจาะกับวถิ ชี ีวิตชายฝง่ั ทะเล แตป่ ัจจุบนั ชาวอรู ักลาโวย้ ไม่สามารถ จะตดั ไม้มาท�ำเสาบ้านได้แลว้ อีกทัง้ เสาปนู ไมก้ ระดาน ฯลฯ ก็มีราคาแพง การสรา้ งบา้ นใต้ถุนสูงจึงมคี า่ ใช้จา่ ย มาก บา้ นในสมยั หลงั ๆ จงึ เปน็ บา้ นปนู สรา้ งตดิ ดนิ นอกจากจะเปน็ การสญู เสยี อตั ลกั ษณข์ อง “บา้ นชาวเล” แลว้ ยังอยู่ไมค่ ่อยสบาย อบั ทึบ พืน้ ทีใ่ ช้สอยน้อยลง ไม่เหมอื นบ้านแบบด้ังเดมิ 191 อูรกั ลาโวย้
การแห่เรอื ปือลาจั้กรอบหมู่บา้ นแหลมต๊กุ แก จงั หวดั ภเู กต็
7. พิธีกรรมประจ�ำปีท่ีส�ำคัญของชาวอูรักลาโว้ยมีอะไรบ้าง? พิธีลอยเรือ นับเป็นงานประเพณีประจ�ำปีที่ส�ำคัญท่ีสุดของชาวอูรักลาโว้ย พิธีน้ีจัดข้ึนในช่วงคืนวันเพ็ญ เดอื น 6 และเดอื น 11 ทางจันทรคติของทกุ ปี ซง่ึ เป็นชว่ งเปลยี่ นผา่ นของฤดูกาล กอ่ นพธิ ีจะเริม่ ขนึ้ พวกผู้ชาย ในหมบู่ า้ นจะเดนิ ทางไปตดั ไมร้ ะกำ� และไมต้ นี เปด็ เตรยี มไวเ้ พอ่ื นำ� มาใชส้ ำ� หรบั ตอ่ เปน็ เรอื ลอยเคราะห์ หรอื ทเ่ี รยี ก ในภาษาอูรกั ลาโว้ยวา่ ปือลาจกั้ เรือน้จี ะท�ำหน้าทนี่ �ำพาทกุ ขโ์ ศกโรคภยั ให้ออกไปจากครอบครัวและชมุ ชน ชาวอรู กั ลาโวย้ จะหยดุ การทำ� มาหากนิ เปน็ ระยะเวลา3 วนั ในชว่ งพธิ กี รรม และพธิ จี ะดำ� เนนิ ไปเปน็ ระยะเวลา 3 วนั 3 คนื โดยมโี ตะ๊ หมอเปน็ ผนู้ ำ� การเซน่ ไหวแ้ ละเขา้ ทรงเสยี่ งทาย ชาวอรู กั ลาโวย้ จะเขา้ รว่ มงานกนั ทงั้ หมบู่ า้ น รวมทั้งยังมีญาติพ่ีน้องจากท่ีต่างๆ เดินทางมาร่วมงาน รายละเอียดพิธีในแต่ละชุมชนจะไม่เหมือนกันทีเดียว บางชมุ ชนกไ็ มม่ พี ธิ ลี อยเรอื แตม่ พี ธิ อี นื่ ทเี่ ปน็ องคป์ ระกอบสำ� คญั ในพธิ ลี อยเรอื เชน่ ทห่ี าดราไวยม์ พี ธิ อี าบนำ�้ มนต์ ส�ำหรับพิธีอาบน�้ำมนต์ท่ีหาดราไวย์นั้น จัดข้ึน ในชว่ งเวลาเดยี วกบั พธิ ลี อยเรอื ในพธิ นี ี้ แตล่ ะครอบครวั จะน�ำโอ่งใส่น้�ำมาต้ังรวมกันในบริเวณลานโล่งท่ีใช้จัด พิธีกรรม จากนั้นโต๊ะหมอจะประกอบพิธีพร้อมท้ัง เสกนำ�้ มนต์ ในชว่ งหวั รงุ่ ชาวอรู กั ลาโวย้ แตล่ ะครอบครวั จะทยอยมายังลานพิธีและอาบน้�ำมนต์ ซึ่งถือกันว่า จะสามารถชว่ ยชำ� ระสง่ิ ทไ่ี มด่ ใี หห้ ลดุ ออกไปจากรา่ งกาย ครอบครัว และชมุ ชน 193 อูรักลาโวย้
ชาวอูรกั ลาโวย้ นำ� เทียนมาจดุ ในเรอื ปอื ลาจ้กั ในเวลากลางคืน ทกั ษะวฒั นธรรมชาวเล 194
8. ในพิธีลอยเรือมีการสื่อสารผ่านสัญลักษณ์อะไรบ้าง? เช่นเดียวกับพิธีกรรมในวัฒนธรรมต่างๆ ทั่วโลก พิธีลอยเรือมีรหัสท่ีซ่อนความหมายอยู่มากมาย มีสัญลักษณ์ต่างๆ ท่ีบรรพบุรุษพยายามสร้างขึ้นเพ่ือส่ือสารให้ชาวอูรักลาโว้ยรุ่นหลังตีความและท�ำความเข้าใจ ถึงวิถีแห่งความสามัคคี การอยู่ร่วมกัน การแสดงออกร่วมกัน และการมีชีวิตตามจังหวะจะโคนของธรรมชาติ ในระหว่างพิธีลอยเรือ แต่ละครอบครัวจะน�ำไม้ระก�ำมาแกะสลักเป็นตุ๊กตารูปคนซ่ึงจะเป็นตัวแทนของสมาชิก ในครอบครวั รวมทงั้ แกะสลกั เป็นเครือ่ งมอื เครอ่ื งใช้ในชวี ิตประจ�ำวัน เชน่ มีด พรา้ ขวาน เตาไฟ นอกจากนน้ั ยังมีปืนเอาไว้ป้องกันตัวด้วย เพราะในสมัยก่อน น่านน�้ำแถบน้ีมีโจรสลัดอยู่มาก เครื่องมือขนาดจิ๋วนี้จึงเป็น ส่ิงสะท้อนประวัติความเป็นมาและวิถีในอดีต เมื่อน�ำไม้แกะสลักเหล่าน้ีไปใส่รวมไว้ในเรือลอยเคราะห์ ก็หมายถึงท้ังชุมชนมีชะตากรรมร่วมกัน และเคราะห์ร้ายท่ีทิ้งใส่ไว้ในเรือจะถูกน�ำออกไปลอยในทะเลนอก ในช่วงเช้ามืดของวันรุ่งข้ึนเพ่ือขจัดปัดเป่าสิ่งช่ัวร้ายในครอบครัวและชุมชน พิธีนี้จึงตอกย�้ำความเป็นชุมชน และการมชี ะตากรรมท่ผี กู โยงกนั เมือ่ พ้นเคราะห์ ทุกคนในชุมชนกจ็ ะฉลองการมคี วามสุขรว่ มกัน เป็นท่ีน่าเสียดายที่พิธีกรรมในปัจจุบันมักจะเน้นเฉพาะความบันเทิง ชุมชนจึงมีเวทีเต้นร�ำ มีล�ำโพง ขนาดใหญเ่ ปดิ เพลงดงั ลน่ั ทกี่ ลบเสยี งเพลงรำ� มะนาอนั ไพเราะและเตม็ ไปดว้ ยความหมาย ดงั นน้ั สญั ลกั ษณต์ า่ งๆ ไดก้ ลายเปน็ องคป์ ระกอบทไ่ี มไ่ ด้สื่อความหมายอะไรอกี ต่อไป ทา้ ยสุด “สาระ” ท่ีซอ่ นอยู่จงึ ถูกลืมเลือนไป 195 อูรกั ลาโวย้
แผนทแ่ี สดงพ้ืนทีป่ ลูกข้าวของชาวอูรักลาโวย้ (สีเขยี ว) ทเี่ กาะสเิ หร่ (ซา้ ย) และที่หาดราไวย์ (ขวา)15 15. แผนท่ีจากวิทยานิพนธ์เร่ือง “พัฒนาการของการตั้งถ่ินฐานชุมชนอูรักลาโว้ยในพื้นที่ภูเก็ตจากมุมมองนิเวศวัฒนธรรม” โดยเมธริ า ไกรนที วทิ ยานพิ นธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สหสาขาวชิ าพัฒนามนษุ ย์และสงั คม บณั ฑิตวิทยาลัย จฬุ าลงกรณ์ มหาวทิ ยาลยั (2552) ทกั ษะวัฒนธรรมชาวเล 196
9. ชาวอูรักลาโว้ยเคยปลูกข้าวด้วยหรือ? ในสมัยก่อน นอกจากชาวอูรักลาโว้ยจะท�ำมาหากินในทะเลเป็นหลักแล้ว ยังมีการเก็บพืชผักจากป่า มาบรโิ ภค และบางพืน้ ท่ียังปลกู ข้าวไรโ่ ดยอาศยั นำ�้ ฝน จงึ ปลูกไดป้ ลี ะครัง้ เทา่ น้นั บางคนปลูกพชื ผักสวนครัวไว้ ไม่ไกลจากไร่ขา้ ว เชน่ พริก มะเขือ หรือปลูกไม้ยนื ตน้ เช่น มะพรา้ ว มะม่วงไวด้ ้วย ชาวอูรกั ลาโวย้ ท่ีอาศยั อยู่ บนเกาะภูเก็ตจ�ำได้ว่าเคยท�ำข้าวไร่และบ้างก็ท�ำสวนบนพ้ืนที่ราบและเชิงเขาแถบเกาะบอน เกาะเฮ เกาะราชา เกาะไมท้ อ่ น แหลมกา แหลมพรหมเทพ และเกาะสเิ หร่ โดยทำ� บนพนื้ ทข่ี นาดพอกนิ จนกระทง่ั ตอ่ มา เรม่ิ มชี าวบา้ นบางสว่ นพกั อาศยั อยทู่ นี่ น่ั อยา่ งถาวรและขยายจนเปน็ ชมุ ชนใหญข่ น้ึ เพราะมอี าหารอดุ มสมบรู ณม์ าก ในสมัยสงครามโลกครั้งท่ี 2 ผู้อาวุโสชาวอูรักลาโว้ยหลายคนจ�ำได้ว่าข้าวท่ีปลูกไว้ก็ท�ำต่อไม่ได้ต้อง ปล่อยให้ยืนต้นตายไป ผู้คนก็แยกย้ายกระจัดกระจายหนีภัยสงคราม เมื่อสงครามส้ินสุดลง ชาวอูรักลาโว้ย ก็กลับมาท�ำข้าวไร่กันใหม่ ในอดีต ชุมชนอูรักลาโว้ยมีครกต�ำข้าวและกระด้งฝัดข้าวที่มีลักษณะเป็นภาชนะ สานเป็นวงกลมมีขอบปากท�ำด้วยไม้ไผ่ ปัจจุบันเรื่องราวเกี่ยวกับการปลูกข้าวกลายเป็นต�ำนานท่ีเล่าขาน ให้ลกู หลานฟงั เพราะแทบจะไม่มีเครือ่ งไมเ้ ครื่องมอื ที่แสดงใหเ้ หน็ ถงึ วฒั นธรรมข้าวเหลอื อยเู่ ลย 197 อรู ักลาโว้ย
ภาพทหารญ่ปี ุ่นเคล่อื นพล ทกั ษะวัฒนธรรมชาวเล 198
10. ชาวอูรักลาโว้ยได้รับผลกระทบ จากเหตุการณ์สงครามโลกคร้ังที่ 2 บ้างหรือไม่? คนเฒา่ คนแกช่ าวอรู กั ลาโวย้ หลายคนยงั จดจำ� ชว่ งเวลาทก่ี องทพั ญป่ี นุ่ เขา้ มาบรเิ วณเกาะภเู กต็ ในระหวา่ ง สงครามโลกครงั้ ท่ี 2 พ.ศ. 2484 ได้ โดยในชว่ งสงครามนน้ั ชาวอูรักลาโวย้ ประสบกับความยากลำ� บากในการ ท�ำมาหากินเพราะมีทั้งทหาร เรือรบและเครื่องบิน บ้างก็ต้องว่ิงหลบหนีระเบิด ท�ำให้หลายครอบครัวต้องหนี ไปอาศัยอยู่ท่ีอ่ืน บ้างก็หนีไปท�ำไร่ท่ีเกาะแก้ว เกาะบอน และคลองตาเนียม บ้างก็อพยพเข้าไปหลบอยู่ในป่า ด�ำรงชีวติ ด้วยการหาหัวมนั มะพรา้ ว กลว้ ย มะกอก มากนิ เพ่อื ประทังชวี ิต ชาวมอแกลนผหู้ นงึ่ มชี อ่ื ทพี่ อ่ แมต่ งั้ ขนึ้ เพอ่ื ระลกึ ถงึ การเขา้ มาของทหารญป่ี นุ่ ลงุ “มาปนุ้ ” หรอื “นายญปี่ นุ่ ตันเก” เกิดที่บ้านเหนือ (บ้านหินลูกเดียว) ในจังหวัดภูเก็ตประมาณ 10 ปีหลังจากสงครามมหาเอเชียบูรพา ซงึ่ มที หารญปี่ นุ่ เขา้ มาในบรเิ วณจงั หวดั ภเู กต็ เปน็ จำ� นวนมาก รวมทงั้ ในบรเิ วณบา้ นเหนอื ดว้ ย ทำ� ใหช้ าวมอแกลน ในบริเวณนั้นต่างก็หลบหนีภัยสงครามเช่นกัน พ่อแม่ของลุงเลยต้ังชื่อลุงให้เป็นที่ระลึกถึงเหตุการณ์ครั้งนั้น ในขณะที่ชาวมอแกลนบ้านบางสักมีค�ำบอกเล่าว่าในสมัยนั้น ช่วงเวลากลางคืนที่ได้ยินเสียงเคร่ืองบิน ทุกบ้าน ต้องรีบดับไฟที่หุงข้าว เพ่ือป้องกันไม่ให้ทหารมองเห็นแสงไฟและควันไฟ มิฉะนั้นอาจถูกยิงหรือทิ้งระเบิด จากเครื่องบิน ส่วนชาวมอแกนท่ีหมู่เกาะสุรินทร์ ในจังหวัดพังงาก็เล่าถึงการหนีภัยสงครามโดยการลงเรือ ไปหลบตามอ่าวที่มีต้นไม้ใหญ่ก�ำบัง รวมท้ังการท่ีทหารญ่ีปุ่นเข้ามาตั้งฐานสังเกตการณ์บริเวณจุดสูงสุดของ เกาะสุรินทร์ใต้ในชว่ งสงครามเดยี วกัน การอพยพโยกย้ายถิ่นท่ีอยู่อาศัยด้วยเหตุผลต่างๆ รวมท้ังเพื่อหนีจากภยันตรายน้ันเป็นเรื่องธรรมดา ของวิถีชีวิตของชาวเล ความรู้เร่ืองการเดินเรือและความคุ้นเคยกับภูมิประเทศแถบชายฝั่งทะเล ผนวกกับ ความสามารถในการด�ำรงชีวิตท่ามกลางธรรมชาติ ส่งผลให้กลุ่มชาวเลสามารถอพยพโยกย้ายและเอาตัวรอด ได้อย่างคลอ่ งตัวกว่ากล่มุ ชนอืน่ ๆ อยา่ งไรกด็ ี ในปจั จบุ ันสภาพการณ์ต่างๆ เปลย่ี นแปลงไปอยา่ งมาก วิถที เ่ี คย เป็นการปรับตัวอยา่ งดีคอ่ ยๆ ถกู เบียดจนทำ� ให้กลุ่มชาวเลกลายเป็นกลุ่มชายขอบในสังคมไทย 199 อรู ักลาโวย้
ภาพซา้ ย – เรือแบบด้งั เดมิ ของชาวอูรักลาโว้ย ภาพขวา – การผกู เชอื กสมอ ทักษะวฒั นธรรมชาวเล 200
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124
- 125
- 126
- 127
- 128
- 129
- 130
- 131
- 132
- 133
- 134
- 135
- 136
- 137
- 138
- 139
- 140
- 141
- 142
- 143
- 144
- 145
- 146
- 147
- 148
- 149
- 150
- 151
- 152
- 153
- 154
- 155
- 156
- 157
- 158
- 159
- 160
- 161
- 162
- 163
- 164
- 165
- 166
- 167
- 168
- 169
- 170
- 171
- 172
- 173
- 174
- 175
- 176
- 177
- 178
- 179
- 180
- 181
- 182
- 183
- 184
- 185
- 186
- 187
- 188
- 189
- 190
- 191
- 192
- 193
- 194
- 195
- 196
- 197
- 198
- 199
- 200
- 201
- 202
- 203
- 204
- 205
- 206
- 207
- 208
- 209
- 210
- 211
- 212
- 213
- 214
- 215
- 216
- 217
- 218
- 219
- 220
- 221
- 222
- 223
- 224
- 225
- 226
- 227
- 228
- 229
- 230
- 231
- 232
- 233
- 234
- 235
- 236
- 237
- 238
- 239
- 240
- 241
- 242
- 243
- 244
- 245
- 246
- 247
- 248
- 249
- 250
- 251
- 252