Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore คู่มือผู้ตัดสินกีฬาเทนนิส

คู่มือผู้ตัดสินกีฬาเทนนิส

Description: คู่มือผู้ตัดสินกีฬาเทนนิส

Search

Read the Text Version

ชอ่ื หนงั สอื คมู่ ือผ้ตู ดั สนิ กฬี าเทนนิส ตามหลกั สตู รมาตรฐานวิชาชพี ผตู้ ดั สนิ กฬี าเทนนิส จัดท�ำ โดย กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเทย่ี วและกฬี า ปที ีพ่ ิมพ์ 2559 จำ�นวนพิมพ์ 2,000 เลม่ ISBN 978-616-297-460-1 ออกแบบปก โดย เกยี รตศิ กั ด์ิ บุตรศาสตร์ จดั อารต์ ออกแบบ โดย นภิ า สิงหส์ ว่าง พมิ พ์ท ่ี ส�ำ นักงานกจิ การโรงพมิ พ์ องคก์ ารสงเคราะห์ทหารผา่ นศึก ในพระบรมราชูปถมั ภ์

คำ�นำ� คมู่ อื ผตู้ ดั สนิ กฬี าเทนนสิ เลม่ น้ี กรมพลศกึ ษา โดยสถาบนั พฒั นาบคุ ลากรการพลศกึ ษา และการกีฬาได้จัดท�ำขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้ ใช้ประกอบการฝึกอบรมผู้ตัดสินกีฬาเทนนิส และให้ผู้ตัดสินกีฬาเทนนิสได้ใช้เป็นคู่มือในการตัดสินกีฬาเทนนิสได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทงั้ นกี้ ารด�ำเนนิ การจดั ท�ำคมู่ อื เลม่ นไ้ี ดร้ บั ความรว่ มมอื จากผเู้ ชย่ี วชาญ ซง่ึ มคี วามรคู้ วามสามารถ และประสบการณด์ ้านการเป็นผู้ตัดสนิ กฬี าเทนนิสมาเปน็ ทีป่ รกึ ษาและรว่ มจัดท�ำต้นฉบบั กรมพลศึกษา ขอขอบคุณผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เช่ียวชาญและผู้ท่ีเก่ียวข้องทุกท่านท่ีมี ส่วนร่วมในการจัดท�ำคู่มือผู้ตัดสินกีฬาเทนนิส เล่มน้ีจนส�ำเร็จลุล่วงด้วยดี และหวังเป็น อย่างยิ่งว่าคู่มือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมพัฒนาบุคลากรด้านกีฬาเทนนิส ใหม้ ศี กั ยภาพในการเป็นผู้ตัดสนิ กฬี าเทนนสิ เพมิ่ ข้นึ และมีส่วนช่วยในการยกระดบั มาตรฐาน กีฬาเทนนสิ ของชาติให้สูงข้ึน สนองนโยบายและแผนพฒั นาการกฬี าแหง่ ชาตติ ่อไป กรมพลศึกษา มนี าคม 2560 ค่มู ือผตู้ ัดสนิ กีฬาเทนนสิ ก



TENNIS สารบัญ หนา้ คำ� น�ำ สารบญั 1 หลักสตู รการฝึกอบรมผู้ตัดสนิ กีฬาเทนนิส 2 ตารางการฝกึ อบรมหลักสตู รผตู้ ัดสินกฬี าเทนนิส 3 มาตรฐานวชิ าชพี ผตู้ ัดสินกีฬาเทนนสิ 9 บทท่ี 1 ประวตั ิกฬี าเทนนสิ 13 บทท ่ี 2 หลกั การเป็นผตู้ ัดสินกฬี าเทนนิส 13 บทบาทหนา้ ทค่ี วามรบั ผิดชอบ 15 การพัฒนาผตู้ ัดสินกฬี าเทนนิส 17 จรรยาบรรณของผตู้ ดั สินกฬี าเทนนิส 18 การเสรมิ สร้างสขุ ภาพและสมรรถภาพทางกาย 20 บทท ี่ 3 การปฏิบตั ิหนา้ ทขี่ องผู้ตัดสินกฬี าและกรรมการใหค้ ะแนน 20 หลกั การปฏิบตั ิการเปน็ ผตู้ ัดสนิ กีฬา 20 ลกั ษณะของการเปน็ ผู้ตัดสนิ กฬี าท่ดี ี 21 ส่ิงท่ีผู้ตดั สนิ ควรจะยึดถือปฏิบตั ิ 23 ขอ้ แนะนำ� ในการปฏิบัตหิ นา้ ทผ่ี ตู้ ัดสนิ กฬี า 25 การปฏิบัติหนา้ ทข่ี องผ้ตู ดั สนิ กีฬาเทนนสิ 38 บทที่ 4 จติ วิทยาสำ� หรับผู้ตัดสนิ กีฬา 38 ความวิตกกังวลและการควบคุม 42 แรงจูงใจ 43 การตั้งเปา้ หมาย 44 การจนิ ตภาพ คมู่ ือผตู้ ัดสนิ กีฬาเทนนสิ ข

TENNIS สารบญั หนา้ บทที ่ 5 กติกาเทนนิส 46 บทท่ี 6 วิธกี ารจดั การแข่งขันกฬี าเทนนิส 72 บรรณานกุ รม 87 คณะกรรมการจดั ทำ� คู่มอื ผตู้ ัดสินกีฬาเทนนสิ 89 ค คู่มือผตู้ ัดสินกฬี าเทนนสิ

ห ลักสตู รการฝึกอบรม ผู้ตดั สนิ กฬี าเทนนิส ระยะเวลาด�ำ เนนิ การ : จ�ำ นวน 5 วนั เนอ้ื หาหลักสูตร : ลำ�ทด่ี ับ เน้อื หา กจิ กรรม บรรยาย อภิปราย ฝึกปฏบิ ัติ สเื่อทนควโตันกโลรรยมี ปรทะดเสมอินบผล จชำั่ว�นโมวนง สาธติ 1 พ้ืนฐานความรูค้ วามเข้าใจเก่ียวกบั ทกั ษะ 2.00 - - - - 2.00 และเทคนคิ กีฬาเทนนสิ 2 ปรัชญา คณุ ธรรม จรยิ ธรรมและ 2.00 - - - - 2.00 จรรยาบรรณของผูต้ ดั สนิ กีฬา 3 บทบาท หน้าท่ี และความรบั ผิดชอบของ 2.00 - - - - 2.00 ผู้ตดั สิน ผู้ก�ำกับเสน้ และผ้ตู ัดสินชขี้ าด 4 กระบวนการขั้นตอนของการตดั สนิ และ 2.00 - - - - 2.00 ระบบการจัดการแขง่ ขนั /การควบคุม การแข่งขัน 5 กฎ กติกาเทนนสิ ระเบยี บ วธิ กี ารแข่งขนั 16.00 - - - - 16.00 และข้อชข้ี าด 6 วิธกี ารตดั สิน และการเขียนใบบันทึกคะแนน 2.00 - - - - 2.00 7 สอบภาคทฤษฎ ี - - - - 2.00 2.00 8 การฝกึ ภาคปฏิบัติ/สาธิต/อภปิ รายซกั ถาม - 1.00 7.00 - - 8.00 9 สอบภาคปฏิบัติ - - - - 4.00 4.00 หมายเหตุ : หลกั สูตรอาจมกี ารเปลยี่ นแปลงไดต้ ามความเหมาะสม คมู่ ือผูต้ ดั สนิ กฬี าเทนนิส 1

2 ค่มู ือผูต้ ดั สนิ กีฬาเทนนสิ ตารางการฝกึ อบรมหลกั สูตรผู้ตดั สนิ กฬี าเทนนิส วนั /เวลา 08.00-09.00 09.00-10.00 10.00-11.00 11.00-12.00 1123..0000- 13.00-14.00 14.00-15.00 15.00-16.00 16.00-17.00 1 พ้ืนฐานความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกบั ปรัชญา คุณธรรม บทบาท หนา้ ที่ และ ปรชั ญา คณุ ธรรม กระบวนการขนั้ ตอน กฎ กตกิ าเทนนิส ระเบยี บ ทักษะและเทคนิคกีฬาเทนนสิ จริยธรรมและ ความรบั ผดิ ชอบของ จริยธรรมและ ของการตดั สนิ และ วิธกี ารแข่งขัน และขอ้ ชีข้ าด จรรยาบรรณของ ผตู้ ดั สนิ ผกู้ ำ� กบั เสน้ จรรยาบรรณของ ระบบการจัดการ ผูต้ ัดสินกีฬา และผตู้ ดั สนิ ชขี้ าด ผ้ตู ัดสนิ กีฬา แข่งขัน/การควบคมุ การแขง่ ขนั บทบาท หน้าท่ี และ กระบวนการขน้ั ตอน ความรับผดิ ชอบของ ของการตดั สนิ และ กฎ กติกาเทนนิส ระเบยี บ 2 กฎ กตกิ าเทนนิส ระเบยี บ วิธกี ารแขง่ ขนั และขอ้ ชี้ขาด ผูต้ ดั สิน ผู้กำ� กบั เส้น ระบบการจัดการ วธิ ีการแข่งขนั และข้อชี้ขาด และผตู้ ดั สนิ ช้ขี าด แขง่ ขนั /การควบคมุ การแขง่ ขัน พกั 3 กฎ กตกิ าเทนนิส ระเบยี บ วธิ ีการแข่งขัน และขอ้ ชีข้ าด กฎ กติกาเทนนสิ ระเบียบ วธิ กี ารแข่งขนั และข้อชขี้ าด 4 วธิ กี ารตดั สนิ และการเขียน สอบภาคทฤษฎี การฝกึ ภาคปฏิบตั ิ / สาธิต / อภปิ รายซกั ถาม ใบบนั ทึกคะแนน สอบภาคปฏิบตั ิ 5 การฝกึ ภาคปฏบิ ัติ / สาธิต / อภิปรายซกั ถาม

ม าตรฐานวชิ าชพี ผู้ตัดสนิ กฬี าเทนนิส มาตรฐานวิชาชีพเป็นเกณฑ์มาตรฐานท่ีผู้ประกอบวิชาชีพยึดถือเป็นแนวทางในการ ท�ำหน้าท่ีตามบทบัญญัติแห่งวิชาชีพซึ่งก�ำหนดไว้อย่างมีคุณภาพ ได้แก่ มาตรฐานด้านความรู้ มาตรฐานในการปฏบิ ัตหิ น้าที่ และมาตรฐานในการปฏบิ ัติตนตามจรรยาบรรณวชิ าชีพ มาตรฐานวิชาชีพบุคลากรด้านการกีฬาเป็นกรอบหรือแนวทางการด�ำเนินงานหรือ การปฏิบัติหน้าที่ของบุคคลที่เป็นสมาชิกในวิชาชีพเดียวกัน ได้แก่ ผู้ฝึกสอนกีฬา ผู้ตัดสินกีฬา เพ่ือรับรองความน่าเชื่อถือและเป็นการรับประกัน (Accreditations) การปฏิบัติหน้าท่ีอย่างมี คุณภาพและเป็นมาตรฐานเดียวกัน ในการจัดท�ำคู่มือผู้ตัดสินกีฬาเทนนิสนี้ได้ยึดหลักการ จากมาตรฐานวิชาชีพผู้ตัดสินกีฬาเทนนิสระดับชาติ ซึ่งกรมพลศึกษาได้จัดท�ำโดยความร่วมมือ ของผู้ตัดสินกีฬาเทนนิส ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้มีส่วนเก่ียวข้องในการน�ำคู่มือผู้ตัดสินกีฬาเทนนิส ไปใช้ในการอบรม ผู้ตัดสินควรพิจารณาเลือกเน้ือหาให้เหมาะสมกับเวลาในการอบรมและ ระดับชั้นของผู้ตัดสิน อันจะเป็นแนวทางในการพัฒนาผู้ตัดสินกีฬาเทนนิสให้มีความรู้ ความสามารถเป็นทีย่ อมรับและเชื่อถอื ของสงั คมทัง้ ในระดบั ชาตแิ ละนานาชาตติ ่อไป มาตรฐานวิชาชีพผู้ตดั สนิ กีฬาเทนนิส ประกอบด้วยมาตรฐาน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ ด้านการปฏิบัติงานและด้าน การปฏิบัตติ น รวมทั้งสิน้ 15 มาตรฐาน ดังนี้ 1) มาตรฐานดา้ นความรู้ แบ่งออกเป็น 3 มาตรฐานย่อย คือ มาตรฐานท่ี 1 มคี วามรู้ความเข้าใจเกยี่ วกบั การเปน็ ผตู้ ัดสนิ กฬี าเทนนสิ 1.1 ปรชั ญา คณุ ธรรม จรยิ ธรรมและจรรยาบรรณของผู้ตัดสนิ กีฬา 1.2 บทบาท หน้าท่ีและความรับผดิ ชอบ 1.3 กระบวนการและขัน้ ตอนของการตัดสินกฬี า 1.4 การควบคมุ การแขง่ ขนั 1.5 กฎหมายทเี่ กย่ี วข้อง คู่มือผู้ตัดสินกีฬาเทนนิส 3

มาตรฐานท่ี 2 มีความร้เู ก่ยี วกบั กีฬาเทนนสิ 2.1 กฎ กตกิ า และระเบยี บวธิ กี ารแขง่ ขนั อย่างถูกต้องทันสมัย 2.2 หลักการและระบบการจัดการแข่งขัน 2.3 วธิ กี ารควบคมุ การแข่งขัน 2.4 พ้ืนฐานความรู้ความเข้าใจเก่ียวกับทกั ษะและเทคนคิ กีฬาทตี่ ัดสิน มาตรฐานท่ี 3 มคี วามรคู้ วามเขา้ ใจเกยี่ วกบั วทิ ยาศาสตรก์ ารกฬี าและเรอื่ งทเี่ กยี่ วขอ้ ง กับกีฬาเทนนสิ 3.1 วิทยาศาสตรก์ ารกีฬาทเ่ี ก่ยี วขอ้ งกบั การเป็นผูต้ ดั สินกฬี าเทนนิส 3.2 จติ วทิ ยาส�ำหรบั ผู้ตัดสินกฬี า 3.3 ความปลอดภัย การบาดเจ็บจากการกฬี าและการปฐมพยาบาล 2) มาตรฐานดา้ นการปฏิบตั งิ าน มาตรฐานท่ี 4 ปฏบิ ตั ิหน้าท่ผี ้ตู ดั สินกีฬาเทนนสิ ไดอ้ ย่างถูกตอ้ ง 4.1 สามารถน�ำความรู้ด้านระเบียบและกฎกติกาการแข่งขันไปใช้ได้อย่างถูกต้อง และยตุ ธิ รรม 4.2 ปฏบิ ตั ติ ามขัน้ ตอนการตัดสนิ และตัดสินได้ถูกต้องตามกตกิ าการแข่งขนั 4.3 ตรวจสอบความถูกต้องของสนาม อุปกรณ์ที่ใช้ในการแข่งขันและอุปกรณ์ ของนกั กฬี า รวมถงึ ความถูกต้องของโลโก้และชดุ ของนักกีฬาได้ 4.4 ใช้เครอ่ื งมือในการตดั สินไดอ้ ย่างถูกต้องและมีประสทิ ธภิ าพ 4.5 ส่อื สารกับผทู้ ีเ่ กย่ี วขอ้ งไดอ้ ย่างเหมาะสมตามสถานการณ์ 4.6 ปฏิบัติได้ถูกต้องเก่ียวกับต�ำแหน่งการยืน ท่าทาง การให้สัญญาณและการใช้ สญั ญาณมือ 4.7 สามารถหยดุ การเล่นและยตุ ิการแข่งขันไดเ้ หมาะสมตามสถานการณ์ 4.8 สามารถควบคุมเกมการแขง่ ขนั ได้ 4.9 สามารถเขยี นรายงานการแขง่ ขันไดอ้ ยา่ งถกู ต้อง มาตรฐานท่ี 5 สามารถบริหารจัดการการตัดสนิ กฬี าเทนนิสไดอ้ ย่างมีประสทิ ธภิ าพ 5.1 สามารถจดั ระบบการแขง่ ขนั กฬี าเทนนสิ 5.2 สามารถประสานความร่วมมือระหว่างผู้ตดั สินและเจา้ หนา้ ทอี่ น่ื ๆ 5.3 สามารถจดั เตรยี มอปุ กรณแ์ ละเอกสารทจี่ �ำเป็นในการตัดสนิ อยา่ งเปน็ ระบบ 5.4 สามารถวางแผนข้ันตอนการบรหิ ารความเสย่ี งทเี่ กยี่ วขอ้ งกับการแข่งขนั 4 คมู่ ือผูต้ ัดสนิ กฬี าเทนนสิ

มาตรฐานท่ี 6 ปฏิบตั ิหนา้ ทดี่ ว้ ยความซอื่ สัตย์ 6.1 มีความน่าเชอ่ื ถอื 6.2 โปรง่ ใส 6.3 ยุติธรรม 6.4 ไม่เปดิ เผยความลับของแตล่ ะฝา่ ย 6.5 ไม่รบั ผลประโยชนจ์ ากผ้อู ื่นและไม่รบั ของขวญั หรือสินบนจากฝ่ายใดๆ มาตรฐานที่ 7 ปฏบิ ตั หิ นา้ ทด่ี ว้ ยมาตรฐานสงู สุดตามมาตรฐานสากล 7.1 ตั้งใจปฏบิ ตั ิหนา้ ทอ่ี ย่างเต็มความสามารถ 7.2 มคี วามรับผิดชอบต่อการตัดสนิ 7.3 รบั ฟังความคิดเหน็ ของผอู้ น่ื มาตรฐานที่ 8 ปฏบิ ตั ิหนา้ ทดี่ ้วยความรบั ผดิ ชอบตอ่ วชิ าชพี 8.1 ปฏิบัตหิ นา้ ท่ดี ว้ ยความเอาใจใสต่ ามมาตรฐานวิชาชพี 8.2 ปฏบิ ัตหิ นา้ ทโี่ ดยมีมาตรฐานเดียวกัน 8.3 ยึดมนั่ ในปรชั ญาของการเปน็ ผู้ตดั สินกีฬา 8.4 ให้ความร่วมมอื ในการใหค้ �ำปรกึ ษากบั ทุกฝา่ ยท่เี กย่ี วข้อง 8.5 ยอมรบั และให้ความรว่ มมอื ในการปฏบิ ตั ิหนา้ ทขี่ องทกุ ฝ่าย มาตรฐานที่ 9 ปฏบิ ัติหนา้ ทีโ่ ดยให้เกียรตแิ ละเคารพต่อผอู้ น่ื 9.1 เคารพในสิทธิพนื้ ฐานของผูอ้ ื่น 9.2 ค�ำนึงถงึ ความแตกตา่ งระหวา่ งบคุ คล ในเรอื่ ง สังคม เช้อื ชาติ ศาสนา วัฒนธรรม เพศ และอายุ 9.3 ให้เกียรตกิ ับทกุ คนทมี่ สี ว่ นเกี่ยวขอ้ ง 9.4 ปฏบิ ตั ิตอ่ ผอู้ ื่นอย่างเท่าเทยี มกัน 3) มาตรฐานด้านการปฏิบตั ิตน เรื่อง การปฏิบตั ิต่อตนเอง มาตรฐานที่ 10 การดูแลรักษาสขุ ภาพและเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย 10.1 ออกก�ำลงั กายและเสรมิ สรา้ งสมรรถภาพทางกายเปน็ ประจ�ำ 10.2 ตรวจสขุ ภาพและทดสอบสมรรถภาพทางกายเปน็ ประจ�ำ ค่มู ือผตู้ ัดสนิ กีฬาเทนนสิ 5

มาตรฐานท่ี 11 มคี วามกระตอื รือรน้ ในการพัฒนาตนเอง 11.1 สรา้ งเสรมิ บุคลกิ ภาพและแต่งกายใหเ้ หมาะสมกบั การเป็นผูต้ ัดสินกฬี าเทนนสิ 11.2 เรียนรเู้ ทคโนโลยใี หม่ ๆ เพ่อื น�ำมาใชพ้ ฒั นาตนและพัฒนางาน 11.3 หมัน่ ศึกษาหาความร้อู ย่เู สมอ 11.4 มีภาวะผ้นู �ำ ผ้ตู ามและมีความเชอื่ มนั่ ในตนเอง 11.5 ปฏิบัตติ นเป็นแบบอยา่ งให้กับผู้ตัดสนิ คนอนื่ ๆ เรื่อง การปฏิบตั ติ อ่ ผู้อื่น มาตรฐานท่ี 12 มีมนุษยสมั พนั ธ์ดี 12.1 มคี วามเป็นมติ รกบั ผู้อ่ืน 12.2 ไม่กล่าวร้ายและไม่น�ำขอ้ เสียของผู้อ่ืนไปเผยแพร่ต่อ 12.3 สามารถท�ำงานร่วมกับผู้อืน่ ได้ มาตรฐานท่ี 13 วางตวั ได้อยา่ งเหมาะสม 13.1 มสี มั มาคารวะ 13.2 รจู้ กั กาลเทศะ 13.3 ปรับตัวใหเ้ ข้ากบั ผอู้ น่ื ได้ 13.4 มคี วามอดทน อดกลนั้ 13.5 ควบคุมอารมณไ์ ด้เป็นอย่างดใี นทกุ สถานการณ์ มาตรฐานท่ี 14 สือ่ สารกับผู้อืน่ ไดอ้ ยา่ งมีประสทิ ธิภาพ 14.1 สามารถสื่อสารกับนกั กฬี าและผูท้ ีเ่ กย่ี วข้องไดอ้ ย่างถกู ต้อง 14.2 ส่อื สารกบั ผอู้ ่นื ด้วยวาจาและการกระท�ำทเี่ หมาะสม 14.3 สามารถสือ่ สารภาษาอังกฤษได้ มาตรฐานท่ี 15 ยึดมั่นและศรัทธาในวิชาชีพ ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีตาม จรรยาบรรณวิชาชพี 15.1 มีความยุติธรรม ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความบริสุทธิ์ใจ ไม่ตัดสินเข้าข้างฝ่ายใด ฝา่ ยหนงึ่ 15.2 มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสงั คม มีน�ำ้ ใจนกั กีฬา รแู้ พ้ รชู้ นะ รอู้ ภัย และ ยอมรบั การกระท�ำทผี่ ิดพลาด 15.3 มีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับของการเป็น ผตู้ ดั สินอย่างถกู ต้อง 6 คูม่ ือผูต้ ัดสนิ กฬี าเทนนสิ

15.4 ไม่ยุ่งเก่ยี วกบั ยาเสพติดและลมุ่ หลงในอบายมุข 15.5 ไม่เอาเปรียบผู้อ่ืนหรือหาวิธีการที่จะได้รับผลประโยชน์จากผู้ตัดสินด้วยกัน เพื่อความกา้ วหน้าอยา่ งไม่ถูกตอ้ ง คมู่ อื ผู้ตัดสินกฬี าเทนนสิ 7

8 ค่มู ือผูต้ ดั สนิ กีฬาเทนนสิ

บทที่ 1 ป ระวัติกีฬาเทนนิส กฬี าเทนนสิ เป็นกฬี าชนิดหนง่ึ ที่อาศัยทักษะ เทคนิค และการเลน่ ท่ีหลากหลาย ท่สี �ำคัญ เป็นกีฬาชนิดเดียวท่ีมีพ้ืนสนามแข่งขันหลายแบบ เช่น สนามคอนกรีต สนามดิน สนามหญ้า และสนามยางสังเคราะห์ ซ่ึงในแต่ละพื้นสนาม นักกีฬาจะต้องใช้ยุทธวิธีการเล่นท่ีแตกต่างกัน การเล่นเทนนิส ต้องอาศัยสมรรถภาพทางกลไกหลายด้าน การพัฒนาการเล่นให้มีประสิทธิภาพ และปลอดภัย จึงต้องอาศัยกระบวนการวิเคราะห์ และการประยุกต์หลักการทางวิทยาศาสตร์ การกฬี าเฉพาะดา้ น ประวัติและความเป็นมาของกีฬาเทนนิส กีฬาเทนนิส หรือเรียกว่า ลอนเทนนิส (Lawn Tennis) เพราะกีฬาประเภทน้ีเล่นในสนามหญ้า ค�ำว่า Lawn แปลว่า สนามหญ้า ลอนเทนนิส ในปัจจุบันได้วิวัฒนาการไปมาก และไม่จ�ำเป็นต้องเล่นกันในสนาม อาจจะเล่นกันในห้องท่ีมี หลงั คา พน้ื ไม้ หรือพื้นคอนกรีต แตอ่ ยา่ งไรกต็ าม กีฬาประเภทนยี้ งั ไดช้ อื่ ว่าลอนเทนนสิ อย่ดู ังเดมิ เพราะเทนนิสแท้จริงนั้นเป็นกีฬาอีกประเภทหน่ึงท่ีเล่นกันในคอร์ตท่ีมีหลังคา แล้วใช้แร็กเกต ท่ีใหญ่กว่าแร็กเกตลอนเทนนิสธรรมดา ส่วนลูกบอลจะคล้ายลูกซอฟต์บอล หรือเบสบอล กฬี าเทนนิสเร่ิมเลน่ กนั มาตง้ั แตส่ มัยโบราณ ส่วนลอนเทนนิสเพ่งิ จะเริ่มข้ึนเมื่อปลายศตวรรษที่ 19 ในสมัยกรีกและโรมนั มีกีฬาซ่งึ คล้ายกับเทนนิส ที่เล่นกนั เม่ือประมาณ 1,300 ปี ก่อนคริสตศ์ กั ราช กีฬาประเภทนี้เรียกเป็นภาษาฝร่ังเศสว่า เจอ เดอ ปุม (Jue de Paume) ชาวฝร่ังเศส น�ำเข้ามาเล่นในประเทศฝรั่งเศส โดยระยะแรกใช้ตบด้วยมือ (คล้ายวอลเลย์บอล) แต่ต่อมาได้ วิวัฒนาการเป็นใช้แร็กเกต ส�ำหรับข้อมูลเก่ียวกับเทนนิสที่ได้บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ปรากฏเป็นครั้งแรกในอิตาลี เม่ือปี พ.ศ. 2098 จนในศตวรรษที่ 16 และ 17 จึงได้แพร่หลาย ไปในอังกฤษ ศตวรรษท่ี 18 กีฬาชนิดน้ีได้ลดความนิยมลง แต่ได้เริ่มนิยมเล่นกันอีกในหมู่ผู้มั่งค่ัง เมอ่ื ราวศตวรรษที่ 19 ค�ำวา่ เทนนิส มาจากภาษาฝร่งั เศสว่า เทเนซ์ (Tenez) ซงึ่ แปลวา่ จะเอาไป เล่นโดยมี ชาวอังกฤษช่ือ W. Skeet ผู้ซึ่งมีความช�ำนาญ และมีชื่อเสียงให้การสนับสนุนว่า เทเนซ์เป็นของ ด้ังเดิมจริง แตเ่ ขยี นวา่ เทเนทซ์ (Tenez) ซึง่ หมายความวา่ เอาใจใส่ หรอื ระวงั โดยมีความหมาย เหมือนกับในปัจจุบันคือ เล่น นาย Malcolm D. Whitman ผู้เขียนเรื่องความเป็นมาและ ความมหัศจรรยข์ องเทนนสิ กลา่ ววา่ การเลน่ เจอ เดอ ปุม ได้ปรากฏก่อนเทนเนซ์ ในปี พ.ศ. 2416 พันตรี Walter C. Wingfield แห่งกองทัพบกอังกฤษได้ดัดแปลงการเล่นเทนนิสซ่ึงเล่นกันในร่ม ค่มู ือผู้ตัดสินกฬี าเทนนสิ 9

ไปเล่นในสนามกลางแจ้ง พร้อมท้ังน�ำเอาแร็กเกตแบดมินตันและคอร์ตเทนนิสมารวมกันเข้า และ ดัดแปลงเป็นกีฬาใหม่เรียกว่า สไพริสไตค์ (Sphairistike) ต่อมาได้เปล่ียนชื่อเป็นลอนเทนนิส เพราะเป็นกีฬาที่เล่นในสนามหญ้า และมีวิธีการเล่นที่คล้ายคลึงกับกีฬาเทนนิสสมัยเดิมมาก ในขัน้ แรกใช้คอรต์ ท่ีมีรูปรา่ งเหมือนนาฬกิ าทราย ตาขา่ ยสงู 7 ฟตุ กั้นกลาง และภายหลังจากเขา ไดแ้ นะน�ำกฬี าชนิดน้ี ใหป้ ระชาชนไดร้ จู้ ักกนั เป็นครง้ั แรกในงานเลยี้ งทสี่ นามปารต์ ี้ (Lawn Party) ณ เวลส์ ในปี พ.ศ. 2417 Walter C.Wingfield ได้จดทะเบยี นสงวนลิขสิทธ์ขิ องสนาม จนกระท่ัง ในปี พ.ศ. 2418 ประชาชนได้เรียกร้องให้เลิกสงวนลิขสิทธ์ิน้ี กีฬาเทนนิสจึงได้แพร่หลาย เพื่อความสะดวกของผู้เล่น สมาคมโครเกต์แห่งอังกฤษ ที่วิมเบิลดันได้อุทิศสนามให้เป็นที่เล่น กีฬาใหม่ชนิดนี้ และทางสมาคมยังได้จัดการแข่งขันชิงชนะเลิศของโลกประเภทสมัครเล่น ข้ึนเป็นคร้ังแรกในปี พ.ศ. 2420 ท�ำให้มีการแข่งขันลอนเทนนิสที่มีชื่อเสียงมาจนถึงทุกวันนี้ ในปี พ.ศ. 2431 ได้มกี ารกอ่ ต้ังสมาคมลอนเทนนสิ แหง่ ชาตขิ ึน้ ทีป่ ระเทศองั กฤษ ซง่ึ ตอ่ มาสมาคมนี้ มีช่ือว่า “ลอนเทนนิสสมาคม” และได้จัดพิมพ์กติกาการเล่นเทนนิสข้ึน อย่างเป็นทางการ เมื่อปี พ.ศ. 2437 (ฐานข้อมูลองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา, 2554 และ ลอนเทนนิสสมาคม แห่งประเทศไทย, 2554) ประวตั กิ ฬี าเทนนิสในประเทศไทย ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าใครเป็นผู้น�ำกีฬาเทนนิสเข้ามาสู่ประเทศไทยและในสมัยใด แตส่ ันนษิ ฐานวา่ คงจะเรมิ่ เล่นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจลุ จอมเกล้าเจา้ อยูห่ วั โดยชาวอังกฤษ และอเมริกันท่ีเดินทางเข้ามาในประเทศไทย แต่ในขณะน้ันคนไทยยังไม่สนใจการเล่นเทนนิส มากนัก คงเล่นกันในหมู่คนต่างชาติ ต่อมาจึงมีเจ้านายคนไทยชั้นสูง และข้าราชการช้ันสูง เร่ิมเล่นลอนเทนนิสกัน ครั้งน้ันนักเทนนิสไทยบางท่านนุ่งผ้าม่วงเล่นเทนนิส บางคนระหว่าง การเล่นก็กินหมาก ต่อมาจึงนุ่งกางเกงขายาว และต้องสีขาวตามแบบฉบับของชาวฝรั่ง ถือว่า เล่นเทนนิสต้องนุ่งกางเกงขายาวสีขาว เป็นการสุภาพกว่าขาส้ัน จนกระทั่งในราวปี พ.ศ. 2460 ประชาชนให้ความสนใจกันมากขึ้น จึงมีการตั้งสโมสรเทนนิสขึ้นอย่างเป็นทางการแห่งแรก ทพี่ ระราชอทุ ยานสราญรมย์ มสี มาชกิ ครงั้ แรก เพยี ง 10 คน ตอ่ มาเปลยี่ นสถานทไี่ ปเลน่ ทพ่ี พิ ธิ ภณั ฑ์ สถานแห่งชาติ แต่ก็ล้มเลิกไปในท่ีสุด ในระหว่างน้ันก็มีอีกสโมสรหน่ึงท่ีมีการเล่นลอนเทนนิสคือ บางกอกยไู นเตด็ คลับ แต่เป็นสนามซีเมนต์เพยี งสนามเดยี ว และมีเอกชนต้ังสโมสรลอนเทนนสิ ข้ึน หลายแหง่ เชน่ บรษิ ทั บอรเ์ นยี ว บรษิ ทั บอมเบยเ์ บอรม์ า ทบี่ า้ นมสิ เตอรค์ อลลนิ ซง่ึ สมาชกิ สว่ นใหญ่ เปน็ ชาวตา่ งประเทศ และยงั มกี ารเลน่ ลอนเทนนสิ ทบ่ี า้ นมสิ เตอรล์ อฟตสั ซงึ่ อยใู่ กลโ้ รงเรยี นนายเรอื ธนบุรี บ้านหมอแม็คฟาแลนด์ ที่โรงพยาบาลศิริราช และบ้านมิสเตอร์บัสโฟร์ หลังกองทัพเรือ 10 คู่มือผู้ตัดสนิ กีฬาเทนนสิ

ส�ำหรบั ในหมูค่ นไทย เชน่ ทก่ี ระทรวงเกษตร สโมสรโรงเรยี นนายเรอื ในปี พ.ศ. 2469 กรมหม่นื พิทยาลงกรณ์ ได้ทรงจัดตั้งลอนเทนนิสสมาคมแห่งประเทศไทยขึ้น โดยได้รับความร่วมมือจาก สโมสรเทนนิส 12 สโมสรคือ ราชกรีฑาสโมสร สโมสรรถไฟ สโมสรกีฬาอังกฤษ สโมสรกีฬา สามคั ยาจารย์ สโมสรนครสวรรค์ สโมสรสีลม สโมสรล�ำปาง สโมสรนวรัฐ สโมสรเชยี งใหม่ยิมคานา สโมสรสงขลา สโมสรกลาโหมและสโมสรภูเก็ต ได้ส่งผู้แทนเข้าประชุมกันเป็นครั้งแรก ที่วังกรมหม่ืนพิทยาลงกรณ์ ในท่ีประชุมก็ได้ลงมติเอกฉันท์ให้ตั้ง “ลอนเทนนิสสมาคม แห่งประเทศไทย” และได้ทรงด�ำรงต�ำแหน่งนายกของลอนเทนนิสสมาคมเป็นคนแรก พร้อมท้ัง ได้ออกกฎข้อบังคับของสมาคมฯ ขึ้นใช้เป็นมาตรฐานทั่วไป ซ่ึงได้ใช้เป็นบรรทัดฐาน มาจนถึงปัจจุบันน้ี คณะกรรมการชุดแรกของลอนเทนนิสสมาคมแห่งประเทศไทยคือ กรมหม่ืน พิทยาลงกรณ์ ทรงเป็นนายกสมาคมฯ นายอาร์ดี. เครก เป็นเลขานุการกิตติมศักด์ิ พระยา สุพรรณสมบัติเป็นเหรัญญิกกิตติมศักดิ์ ส่วนสโมสรที่อยู่ในเครือที่ได้รับเลือกเป็นกรรมการคือ ราชกรีฑาสโมสร สโมสรกีฬาสามคั ยาจารย์ สโมสรกีฬาองั กฤษ สโมสรสีลม และสโมสรกลาโหม พระวรวงศ์เธอกรมหม่ืนพิทยาลงกรณ์ ได้ทรงมีส่วนส�ำคัญในการสร้างลอนเทนนิส สมาคมแห่งประเทศไทย และไดท้ รงด�ำรงต�ำแหนง่ นายกสมาคมตั้งแต่ พ.ศ. 2470 ถงึ พ.ศ. 2482 เป็นเวลาถึง 12 ปี ต่อมาในปี พ.ศ. 2482 พลเอกหลวงพรหมโยธี ได้รับเลือกเป็นนายกสมาคม ในวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2484 พ.ต.ท.ขุนศรีวรากร ได้รับเลือกเป็นนายกสมาคม และ ในปี พ.ศ. 2490 หม่อมเจ้าวิมวาทิตย์ รพีพัฒน์ ทรงเป็นนายกสมาคม ถือว่าวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2470 เปน็ วันสถาปนาลอนเทนนิสสมาคมแห่งประเทศไทย อย่างเปน็ ทางการ และในปลายปี พ.ศ. 2470 ทางสมาคมฯ ได้จัดการแข่งขันลอนเทนนิสรอบชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย ขึ้นเป็นคร้ังแรกท่ีสโมสรสีลม และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 พระองค์ทรงรับเอาลอนเทนนิสสมาคมแห่งประเทศไทยไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ เน่ืองจาก พระองคท์ รงโปรดกีฬาเทนนสิ มาก และทรงเทนนสิ อยู่เสมอในสนามเทนนิสวงั สุโขทยั ในปี พ.ศ. 2494 คณะกรรมการสมาคมได้คิดตราเคร่ืองหมายของสมาคมขึ้นเป็น พระมหามงกุฏ มเี ครอ่ื งหมาย 7 อยู่ขา้ งใต้ เพอ่ื เป็นการระลึกถึงพระมหากรุณาธคิ ณุ ของพระบาท สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และในปี พ.ศ. 2495 ทางสมาคมฯ ได้แปลกติกาลอนเทนนิส ของสมาคมลอนเทนนิสระหว่างชาติขึ้น เพ่ือเป็นหลักในการแข่งขันและไว้เผยแพร่ให้ผู้ท่ีสนใจ กฬี าประเภทนี้ทราบโดยทว่ั กนั ต้ังแต่ปี พ.ศ. 2500 เป็นต้นมา ทางลอนเทนนิสสมาคมฯ ได้จัดการแข่งขันให้ กว้างขวางขึ้น มีการแข่งขันเพ่ือชิงชนะเลิศแห่งภาคขึ้นทุกภาคและคัดนักกีฬาท่ีชนะเลิศ เอามาแข่งขันรอบชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย ซ่ึงแบ่งการแข่งขันออกเป็นหลายประเภท เช่น ประเภทชายเด่ยี ว ประเภทชายคู่ ประเภทหญงิ เด่ยี ว ประเภทหญงิ คู่ ประเภทคู่ผสม ประเภทชาย เดยี่ วสูงอายุ (อายุ 50 ปีข้นึ ไป) ประเภทชายคูส่ งู อายุ (อายรุ วมกนั 100 ปีข้ึนไป) เปน็ ต้น คูม่ อื ผู้ตดั สินกฬี าเทนนสิ 11

ในปี 2509 ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งท่ี 5 ซึ่งจัด การแข่งขันเทนนิสท่ีสนามกีฬาแห่งชาติ ปทุมวัน ด้านหลังสนามศุภชลาศัย และหลังจากเสร็จ การแข่งขันกีฬาเอเช่ียนเกมส์แล้ว กรมพลศึกษาได้อนุญาตให้ลอนเทนนิสสมาคมฯ เข้ามาใช้ห้อง ท�ำงานและสนาม 10 สนาม และตอ่ มาลอนเทนนิสสมาคมฯ ได้เปิดเทนนิสใหก้ บั ประชาชนท่วั ไป ปี 2520 เมอื่ องคก์ ารสง่ เสรมิ กฬี าแหง่ ประเทศไทย (การกฬี าแหง่ ประเทศไทย ในปจั จบุ นั ) ได้จัดสร้างสนามเทนนิส จ�ำนวน 6 คอร์ต ขึ้นในบริเวณองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย หวั หมาก ไดม้ อบใหล้ อนเทนนสิ สมาคมแห่งประเทศไทยฯ เป็นผคู้ รอบครอง และใช้สนามเทนนสิ ให้เป็นประโยชน์ในการด�ำเนินกิจการของสมาคม และได้สร้างอาคารท่ีท�ำการให้แก่สมาคม ทสี่ นามเทนนสิ แหง่ นีด้ ้วย กฬี าเทนนิสในประเทศไทยไดพ้ ัฒนาขึน้ มาก ในการแขง่ ขันเอเชยี่ นเกมส์ ครั้งท่ี 8 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2521 ท่ีประเทศไทยเป็นเจ้าภาพนั้น นักเทนนิสประเภทคู่ผสม ของไทย คือ จารึก เฮงรัศมี นักเทนนิสชาวจังหวัดอุตรดิตถ์ และสุทธาสินี ศิริกายะ ได้ต�ำแหน่ง ชนะเลิศ ปัจจุบันมีนักเทนนิสไทยอยู่ในระดับโลกหลายคน และหวังว่าทุกๆ ส่วนที่เก่ียวข้อง โดยเฉพาะลอนเทนนิสสมาคมแห่งประเทศไทย คงมีแผนงานระยะยาวท่ีจะท�ำให้กีฬาเทนนิส เมืองไทยมมี าตรฐานเทา่ เทยี มกับประเทศอเมรกิ าและกลมุ่ ในประเทศยโุ รป 12 ค่มู อื ผูต้ ดั สินกฬี าเทนนิส

บทที่ 2 ห ลักการเป็นผู้ตัดสินกีฬาเทนนิส บทบาทหน้าที่ความรับผดิ ชอบ ผตู้ ดั สนิ ชขี้ าดและผอู้ �ำนวยการจดั การแขง่ ขนั จะตอ้ งท�ำงานใหป้ ระสานและเปน็ ไปในทศิ ทาง เดียวกันภายใต้ระเบียบและกติกาของการแข่งขันเทนนิส โดยปกติแล้วผู้ตัดสินช้ีขาดจะท�ำหน้าท่ี ในสนามแข่งขัน หรือตัดสินปัญหาท่ีเกี่ยวข้องกับการแข่งขัน ผู้อ�ำนวยการจัดการแข่งขันจะ รับผดิ ชอบภาพรวมท้งั หมดในการแข่งขนั้ ครัง้ นน้ั ๆ หน้าทแี่ ละอ�ำนาจของกรรมการผู้ตัดสนิ ชีข้ าด ผู้ตัดสินช้ีขาดจะมีอ�ำนาจหน้าที่ตามท่ีกฎและระเบียบการแข่งขันจะพึงก�ำหนดให้มี เพอื่ การแขง่ ขันเปน็ ไปดว้ ยความยุติธรรมและราบร่นื ดังตอ่ ไปน้ี 1. ประสานงานกับคณะกรรมการจัดการแข่งขันและผู้อ�ำนวยการจัดการแข่งขันตั้งแต่ การเตรียมความพร้อมก่อนการแข่งขันและส่ิงท่ีจะต้องมีในการแข่งขันเพ่ือให้เป็นไปตามระเบียบ การแขง่ ขันนน้ั ก�ำหนดไว้ 2. คดั เลือกนกั กฬี าเข้าสสู่ ายแข่งขนั ตามสถานภาพนักกีฬา จัดเรียงล�ำดับนกั กฬี าตามท่ี ระเบยี บการแข่งขนั ก�ำหนด 3. ลงทะเบยี นผเู้ ลน่ และจดั สายการแขง่ ขนั โดยขน้ั ตอนการจดั สายการแขง่ ขนั จะเปน็ ไป ตามระเบยี บการแขง่ ขนั ของสหพันธเ์ ทนนิสนานาชาติ 4. ควบคุมการแข่งขัน ให้ด�ำเนินไปด้วยความเรียบร้อย และรวดเร็วตามสภาพของ การแข่งขนั อยา่ งไม่ตดิ ขดั 5. จดั ก�ำหนดการแข่งขัน ซึ่งจะตอ้ งประกาศใหน้ ักกฬี าทราบรวมถงึ ผูช้ มและสือ่ มวลชน 6. รักษาวินัยอย่างเคร่งครัด ตัดสินใจด้วยความสุขุม และเฉียบขาด มีลักษณะของ ความเปน็ ผนู้ �ำเสมอ 7. ตัดสินแก้ปัญหาที่เกิดข้ึนในสนามแข่งขันร่วมกับผู้ตัดสินภายใต้ กฎ กติกาเทนนิส ตอบขอ้ ซกั ถามของนกั กีฬา คู่มือผตู้ ัดสนิ กฬี าเทนนสิ 13

8. ประสานงานกับผู้อ�ำนวยการจัดการแข่งขันในส่วนท่ีเก่ียวข้องกับสภาพท่ัวไปและ ส่งิ อ�ำนวยความสะดวกในสนามแขง่ ขนั ความพร้อมต่างๆ ตลอดระยะเวลาทที่ �ำการแข่งขนั 9. พิจารณาสับเปล่ียนเจ้าหน้าท่ีสนามหากมีความจ�ำเป็น เช่น ผู้ก�ำกับเส้น หรือเด็ก เก็บลูก เป็นต้น ในกรณีท่ีจ�ำเป็น เมื่อมีความรู้สึกว่าทีมที่อยู่ในสนามเกิดความกดดันจากนักกีฬา เพื่อหมนุ เวียนให้ได้พกั ผ่อน เพอ่ื ลดการกระทบกระทง่ั เปน็ ตน้ 10. พิจารณาสภาพสนามแข่งขันประกอบการตัดสินใจท�ำให้สนามพร้อมใช้ใน การแข่งขัน ในกรณีที่ต้องใช้ไฟส่องสว่างหรือสภาพอากาศที่เปลี่ยนไป หรือหากมีความจ�ำเป็น จะต้องย้ายสนามแข่งขัน 11. รวบรวมผลการแข่งขันในแต่ละวัน และรวบรวมผลการแข่งขันท้ังหมดเพื่อส่งให้ ส่วนทีเ่ กยี่ วขอ้ ง เช่น ฝ่ายจดั การแข่งขัน ส่อื มวลชน ผู้ชม ต่อไป หนา้ ท่ีและอ�ำนาจของผอู้ �ำนวยการจดั การแขง่ ขัน ผู้อ�ำนวยการจัดการแข่งขันจะมีอ�ำนาจหน้าท่ีตามท่ีกฎและระเบียบการแข่งขันก�ำหนด เพื่อใหม้ ีการแข่งขันด�ำเนินไปดว้ ยความเรยี บรอ้ ยส�ำเร็จตามวตั ถุประสงค์ ดงั ตอ่ ไปน้ี 1. ประสานงานกับคณะกรรมการจัดการแข่งขันและผู้ตัดสินช้ีขาดอยู่เสมอ หากเกิด สงิ่ ใดขาดไปกต็ ้องพยายามท�ำให้ครบถ้วนตามทีร่ ะเบียบก�ำหนดไว้ 2. รบั สมคั รและจดั รวบรวมรายชอ่ื นกั กฬี าทเี่ ขา้ รว่ มการแขง่ ขนั ตรวจสอบอยา่ งละเอยี ด แลว้ จัดสง่ ไปยังผู้ทร่ี ับผิดชอบตอ่ ไป 3. ให้ข้อมูลรายละเอียดที่เก่ียวข้องกับการแข่งขัน รวมถึงอ�ำนวยความสะดวกในการ ติดตอ่ สอบถาม 4. จัดเตรียมความพร้อมของสนามแข่งขัน ให้อยู่ในสภาพที่สามารถท�ำการแข่งขัน ไดอ้ ย่างไมม่ ขี ้อติดขัด หรือผิดตอ่ ข้อก�ำหนดที่บอกไว้ในระเบยี บจดั การแข่งขนั น้ันๆ 5. จดั เตรียมเอกสารทเ่ี กยี่ วขอ้ งกบั การแข่งขนั ท้ังหมด 6. ประชาสัมพันธ์การแขง่ ขนั สู่มวลชน ดว้ ยวธิ ตี า่ งๆ คุณสมบัติของผตู้ ดั สินกีฬาเทนนสิ 1. มีความรู้เร่ืองทั่วไปเก่ียวกับกีฬาเทนนิสเป็นอย่างดี มีความสนใจติดตามข่าวสาร จากสอ่ื ต่างๆ อยา่ งสม่�ำเสมอ สามารถสนทนาแลกเปล่ยี นความคิดเหน็ และประสบการณ์กับบคุ คล ท่วั ไปได้ 14 คมู่ อื ผตู้ ัดสินกีฬาเทนนสิ

2. มีความรู้เร่ืองกติกาเทนนิสเป็นอย่างดี สามารถวิเคราะห์ความหมายของกติกา ได้อย่างถูกตอ้ ง เพ่อื น�ำไปใช้ในการควบคมุ การแข่งขนั 3. บุคลิกภาพดี แต่งกายเรียบร้อยท้ังในการปฏิบัติหน้าท่ีในสนามและนอกสนาม กริ ยิ ามารยาทเรียบรอ้ ย มีสมั มาคารวะ รกู้ าลเทศะ มคี วามสมั พนั ธ์ท่ดี กี ับทกุ คน 4. สุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง มกี ารฝกึ ซอ้ มออกก�ำลงั กายและบรหิ ารรา่ งกายเปน็ ประจ�ำ มีสายตาดี ความจ�ำดี รู้จักสงั เกต สติปญั ญาและไหวพรบิ ดี รจู้ ักพักผอ่ นใหเ้ พียงพอ 5. มีความยุติธรรม ท�ำหน้าที่ด้วยความบริสุทธิ์ใจ วางตนได้เหมาะสมกับสถานการณ์ ตา่ งๆ ไม่น�ำปญั หาอน่ื ๆ มาเกีย่ วข้องขณะท�ำหนา้ ที่ผู้ตัดสนิ 6. มีน�้ำใจเป็นนักกีฬา รู้อภัย ยินดีรับฟังความคิดเห็นหรือค�ำแนะน�ำจากบุคคลอื่นที่ เก่ียวข้องขณะท�ำหน้าที่ผู้ตัดสิน โดยเฉพาะจากเพ่ือนผู้ตัดสินด้วยกัน ไม่วิจารณ์การตัดสินไป ในทางท่ไี มเ่ ปน็ ประโยชน์ 7. มีความขยันหม่ันเพียรในการฝึกซ้อมและการท�ำหน้าที่ผู้ตัดสิน ศึกษาการแข่งขัน การตัดสนิ ของบุคคลอนื่ ทง้ั ภายในและภายนอกประเทศ เพอื่ เปน็ แนวทางในการพฒั นาตนเอง การพฒั นาผู้ตดั สนิ กีฬาเทนนสิ การพัฒนาผู้ตัดสินให้มีประสิทธิภาพในการตัดสินกีฬาเทนนิสจะต้องพัฒนาผู้ตัดสินให้มี คุณลกั ษณะ 16 ข้อ โดยแบง่ ออกเป็น 5 ส่วนใหญๆ่ เพอื่ ใช้ในการประเมิน ดงั น้ี - การแสดงออกทางรา่ งกาย บคุ ลิกภาพและการควบคมุ เกม - การสื่อสาร - บคุ ลิกภาพ - การประพฤติตวั - ความซ่ือสตั ย์ - ภาพลกั ษณ์การควบคุมตนเอง - สมรรถภาพทางกาย สมรรถภาพทางกาย การยนื ต�ำแหนง่ และการเคล่ือนไหว คู่มอื ผู้ตัดสินกฬี าเทนนสิ 15

- ตดั สนิ ใจรวดเร็วหนักแนน่ ความร้แู ละการน�ำกฎกติกามาใช้ - ความรใู้ นกฎกติกา - ตัดสนิ ใจอยา่ งบริสุทธิ์ - ความรแู้ ละเขา้ ใจในเกม การตัดสนิ ตามบริบท - การจดั การหรอื ทรัพยากร - ความเอาใจใส่ - ความมน่ั ใจ ความเปน็ เลศิ ทางจติ วิทยา - สมรรถภาพทางจติ - ความกลา้ หาญ ประสิทธิภาพในการตดั สนิ ผู้ตัดสินท่ีดีต้องมีคุณสมบัติต่าง ๆ มากมายหลายประการแต่คุณสมบัติท่ีเป็นหลักส�ำคัญ มี 3 ประการ ดังต่อไปนี้ ซึ่งอาจเรียกเพื่อให้เข้าใจและจ�ำได้ง่ายว่า “3’ F หรือ K F C” ดังน้ี (สถาบันพฒั นาบุคลากรการพลศกึ ษาและการกฬี า, 2551) 3’ F K F C FAIRNESS รู้และเขา้ ใจกติกาเป็นอย่างดีและน�ำไปใช้ KNOWLEDGE อย่างถูกตอ้ งยุตธิ รรมแก่ทง้ั สองฝ่าย FITNESS มีสมรรถภาพทางกายที่ดี FITNESS FIRMNESS มคี วามมนั่ คง หนักแนน่ กล้าหาญ COURAGE ในการตดั สินใจ 16 คู่มือผ้ตู ัดสนิ กฬี าเทนนสิ

คณุ สมบตั ิท่ีดขี องผู้ตัดสินกฬี า วนิ ยั ของผ้ตู ดั สนิ กีฬา 1. ต้องแต่งกายสุภาพเรียบร้อย ถูกต้อง ตามระเบียบและค�ำส่ังของสมาคมเทนนิส แห่งประเทศไทย 2. ต้องไม่ปฏิเสธการไปปฏิบัติหน้าที่ตามค�ำส่ังที่ได้รับมอบหมาย โดยปราศจาก เหตุผลอนั ควร 3. ตรงตอ่ เวลา 4. ต้องเขา้ รว่ มการฝกึ ซ้อมก่อนหนา้ การแขง่ ขนั ตามทไ่ี ดร้ บั แจ้งทุกครง้ั 5. ปฏบิ ัติหนา้ ท่ผี ูต้ ดั สิน ตามหนา้ ทท่ี ี่ไดร้ บั มอบหมายอยา่ งเครง่ ครัด 6. ซ่อื สตั ย์ เทย่ี งตรงตอ่ หน้าที่ ปราศจากการล�ำเอยี ง หรือตดั สินผิดพลาดอยู่ตลอดเวลา จนขาดความยุติธรรม 7. อ่อนน้อม เชื่อฟังค�ำตักเตือนของหัวหน้ากรรมการ หรือหัวหน้าผู้ตัดสินท่ีควบคุม การปฏิบัติหนา้ ท่ีของแตล่ ะรายการ 8. ควรขออนุญาต หรือแจ้งสมาคมฯ ทุกครั้ง หากได้รับการติดต่อเป็นการส่วนตัว ใหไ้ ปท�ำหนา้ ท่ผี ตู้ ัดสิน 9. ต้องไม่ประพฤติตัวโดยมิชอบ จัดหา หรือเรียกร้องผลประโยชน์อ่ืนอย่างเด็ดขาด อันเปน็ การเสอ่ื มเสียเกียรตแิ ละศักดิ์ศรีของส่วนรวม 10. ต้องไม่ประพฤติช่วั อยา่ งร้ายแรง จรรยาบรรณของผูต้ ดั สนิ กฬี าเทนนิส 1. รักและศรัทธาสถาบนั ผตู้ ัดสนิ 2. ไมก่ ระท�ำการใดทเี่ ป็นการลบหลู่และท�ำลายสถาบันผตู้ ดั สนิ 3. อุทิศตนและสรา้ งสถาบนั ผ้ตู ัดสนิ ให้มคี วามก้าวหน้า 4. ปฏิบัตติ ามระเบยี บของการเป็นผู้ตดั สนิ 5. ตรงตอ่ เวลา 6. มีความยุตธิ รรม 7. ศึกษาหาความรู้อย่เู สมอ 8. มีคารวะธรรมตอ่ สถาบัน ผู้มีพระคุณและให้เกยี รตผิ ้ตู ดั สนิ ดว้ ยกนั 9. ไม่ลมุ่ หลงในอบายมขุ ทงั้ ปวง คู่มือผตู้ ดั สินกีฬาเทนนสิ 17

10. มีความซือ่ สัตย์ สุจริต 11. มีความรับผิดชอบ 12. ไมว่ จิ ารณใ์ ห้ผู้อ่นื เสียหาย 13. สร้างสรรค์และมีน้�ำใจเป็นนกั กีฬา 14. เห็นประโยชนส์ ว่ นรวมมากกวา่ ประโยชนส์ ว่ นตน การสรา้ งเสริมสุขภาพและสมรรถภาพทางกาย ผตู้ ดั สนิ กฬี าจ�ำเปน็ ทจี่ ะตอ้ งสรา้ งเสรมิ สขุ ภาพอยเู่ สมอ เนอื่ งจากในการตดั สนิ กฬี าเทนนสิ ผู้ตัดสินอาจต้องปฏบิ ัตหิ นา้ ทเ่ี ป็นระยะเวลานานและมคี วามเครียด การสร้างเสริมสุขภาพควรกระท�ำอย่างต่อเน่ือง ได้แก่ ออกก�ำลังกายเป็นประจ�ำ ตรวจรา่ งกายเป็นประจ�ำปีละครง้ั และเสรมิ สร้างสมรรถภาพทางกายอยเู่ สมอ สมรรถภาพทางกาย (สนธยา สีละหมาด, 2557) หมายถงึ การมสี ภาพสรรี วทิ ยาทช่ี ว่ ยใหบ้ คุ คลสามารถประกอบกจิ กรรมในชวี ติ ประจ�ำวนั ไดอ้ ยา่ งมีประสทิ ธภิ าพ สมรรถภาพทางกายท่ีส�ำคัญส�ำหรับผู้ตัดสินกีฬา คือ สมรรถภาพทางกายท่ีสัมพันธ์กับ สขุ ภาพ (Health-related fitness) ซ่ึงประกอบไปด้วย 1. ความอดทนของระบบหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular Endurance) คือ ความสามารถของระบบไหลเวียนและระบบหายใจในการน�ำออกซิเจนไปใช้ขณะมีกิจกรรม ทางกาย 2. ความแขง็ แรงของกลา้ มเนื้อ (Muscular Strength) คือ ความสามารถของกลา้ มเนอ้ื ทจ่ี ะออกแรงเอาชนะแรงตา้ นทาน 3. ความอดทนของกล้ามเนื้อ (Muscular Endurance) คือ ความสามารถของ กล้ามเน้อื ทีจ่ ะออกแรงท�ำงานอยา่ งต่อเนื่องโดยไมเ่ กิดความเมื่อยลา้ 4. ความออ่ นตัว (Flexibility) คือ ความสามารถในการเคล่ือนไหวของขอ้ ต่อ 5. สัดสว่ นของรา่ งกาย (Body Composition) คอื ปรมิ าณสมั พัทธข์ องกลา้ มเน้อื ไขมัน กระดกู และอวยั วะสว่ นอ่ืนๆ ของรา่ งกาย 18 คู่มอื ผตู้ ัดสนิ กีฬาเทนนสิ

การทดสอบสมรรถภาพทางกาย สามารถท�ำได้หากมีเครื่องมือ เช่น ความอ่อนตัวใช้เครื่องวัดความตัวอ่อน หัวใจและ ระบบไหลเวียนเลือดใช้จกั รยานวดั ก�ำลงั (Bicycle Ergo - meter) แต่ถ้าไม่มเี ครอื่ งมืออาจจ�ำเปน็ ต้องขอความช่วยเหลือจากหน่วยงาน เช่น กรมพลศึกษา การกีฬาแห่งประเทศไทย หรือจาก สถาบนั การศกึ ษาท่มี ีคณะวิทยาศาสตร์การกฬี า ซง่ึ มักจะมเี ครื่องมือดงั กล่าวอยูแ่ ล้ว ขณะเดียวกนั ผตู้ ดั สนิ ทกุ คน ควรไดร้ บั การตรวจรา่ งกายจากแพทย์ เพอื่ ดพู ยาธสิ ภาพของรา่ งกายและอวยั วะอนื่ ๆ โดยเฉพาะการตรวจเลือดและสายตา ซ่ึงมีความส�ำคัญและจ�ำเป็นส�ำหรับผู้ตัดสินทุกคน ผู้ตัดสินจ�ำเป็นต้องทราบผลการตรวจร่างกายและสมรรถภาพทางกายของตนเองเพื่อสามารถ น�ำไปประเมนิ สมรรถภาพทางกายของตนเองให้มีความพร้อมในการท�ำหนา้ ที่ คู่มอื ผู้ตดั สินกีฬาเทนนสิ 19

บทที่ 3 ารปฏิบัติหน้าที่ของผู้ตัดสินกีฬา ก และกรรมการให้คะแนน หลักการปฏบิ ัตกิ ารเป็นผู้ตัดสินกีฬา ผู้ตัดสินจะต้องมีหลักในการปฏิบัติงานของแต่ละคนให้มั่นคงแน่วแน่ จะท�ำให้การปฏิบัติ หน้าท่ีบังเกิดผลสัมฤทธ์ิตามวัตถุประสงค์ มีหลักปฏิบัติท่ีส�ำคัญ 4 ประการ หรือหลัก 4F คือ (กรมพลศกึ ษา, 2552) FITNESS หมายถึง มีความสมบูรณ์ทง้ั รา่ งกายและจิตใจ คือ จะตอ้ งเปน็ ผทู้ มี่ สี มรรถภาพ ทางกายท่ีแข็งแรง รูปร่างดี รู้จักการออกก�ำลังกายอย่างสม่�ำเสมอ มีจิตใจร่าเริงเบิกบาน ต้องพักผ่อนนอนหลับอย่างเพียงพอ ผมตัดเรียบร้อย เล็บสั้น สะอาด ฯลฯ มีการเตรียมพร้อม อยู่เสมอที่จะรับการเปล่ียนแปลงในด้านวิชาการ ด้านกติกาจะต้องรู้จริง สามารถวิเคราะห์กติกา เขา้ ใจได้อย่างถ่องแท้ FAIRNESS หมายถึง มีความยุติธรรมให้แก่นักกีฬาทุกคน ทุกทีม ไม่ค�ำนึงถึงชื่อเสียง นักกีฬาท่ีเขา้ แขง่ ขัน ไม่เอนเอียงเขา้ กบั ผ้ใู ด FIRMNESS หมายถึง มีความเชื่อมั่นในตนเอง จิตใจมั่นคงไม่หว่ันไหวต่ออิทธิพลใดๆ ท้ังส้ิน ไม่ว่าจะเป็นการณ์ใดๆ เกิดข้ึน ต้องไม่ใช้อารมณ์ของตนเป็นเครื่องตัดสิน มีสติรอบคอบ ตลอดเวลา การแสดงกิริยาท่าทางต้องเด็ดขาด ชัดเจน ไม่ลังเล การแต่งกายเรียบร้อย ไม่เป็น อนั ตรายต่อนักกีฬาและถกู ตอ้ งตามกติกา FRIENDLY หมายถึง มีความสัมพันธ์เปรียบเสมือนเพ่ือนสนิทให้ความเป็นกันเองกับ สมาชิกผู้ตัดสิน รู้จักการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน แม้จะไม่ได้มีการร้องขอก็ตาม มีความเอื้ออาทร ตอ่ กันและกนั อย่างแทจ้ รงิ ลักษณะของการเป็นผูต้ ดั สนิ กีฬาทด่ี ี กรมพลศึกษา (2552) ไดเ้ สนอลกั ษณะของการเปน็ ผตู้ ดั สินกฬี าที่ดี ไวด้ ังนี้ 1. เป็นผู้ที่มีบุคลิกท่าทางท่ีน่านิยม สภาพของร่างกาย กิริยาท่าทาง การแต่งกาย ท้ังภายนอกและภายในสนามเหมาะกบั สภาพและกาละเทศะ 20 คูม่ ือผ้ตู ดั สินกฬี าเทนนสิ

2. เป็นผู้ท่ีมีอารมณ์มั่นคง แสดงออกถึงความน่าเช่ือถือ เป็นผู้ท่ีมีความซ่ือตรง แสดงออกถึงความซื่อสัตย์ต่อผู้เข้าแข่งขัน และต่อผู้ตัดสินด้วยกันท้ังต่อหน้าและลับหลัง มีความเทย่ี งธรรม และมีศักดศ์ิ รีของการเปน็ ผู้ตัดสนิ 3. เป็นผู้ที่มีความกล้าหาญ มีน้�ำใจเด็ดเดี่ยว ไม่เกรงกลัวอิทธิพลใดๆ กิริยาท่าทาง กระฉับกระเฉงคล่องแคล่วว่องไว ไม่เช่ืองช้า ทันต่อเหตุการณ์ตลอดเกมการแข่งขัน ถ้ามี การแข่งขนั ทกี่ ระท�ำผิดกตกิ าจะต้องตัดสินชข้ี าดทนั ที 4. เปน็ ผทู้ ี่สามารถใชส้ ามัญส�ำนึกในการตัดสินได้อย่างดี ตอ้ งรจู้ กั ยดื หยุน่ ให้เหมาะสม 5. เป็นผู้ที่จะแสดงออกถึงความสามารถอย่างเต็มท่ี ต้องค�ำนึงอยู่เสมอว่าการตัดสิน ทกุ คร้งั คอื การท�ำแบบฝึกหดั ท่ียากมาก ฉะนน้ั ตอ้ งท�ำใหด้ ีที่สดุ ไม่ประมาท ทะนงตวั 6. เป็นผู้ท่ีมีใจคอหนักแน่น มีความเข้าใจในตนเองและเพื่อนผู้ตัดสินด้วยกัน มีจิตใจ กวา้ งขวาง ยินดแี ละพรอ้ มทจ่ี ะรบั ฟงั ความคิดเหน็ ของผ้อู ่นื และกลุ่มสมาชิก 7. เป็นผู้ท่ีมีเกียรติเชื่อถือได้ จะต้องไม่น�ำเอาข้อเสียของผู้ตัดสินคนหนึ่งคนใด ไปบอกให้บุคคลอื่นฟัง หรือน�ำเอาข้อบกพร่องของผู้ฝึกสอนท่ีกระท�ำผิด หรือของนักกีฬา ทเ่ี ข้าแข่งขนั ได้กระท�ำแลว้ น�ำไปบอกเล่าใหผ้ ้อู ืน่ ฟัง 8. เป็นผู้ที่มีความยุติธรรมแก่ทุกๆ คน ต้องตัดสินการแข่งขันด้วยความบริสุทธิ์ ยตุ ิธรรม 9. เป็นผู้ที่มีความรอบรู้ มีเชาว์ปัญญาดี ปฏิบัติหน้าท่ีด้วยความสุขุมรอบคอบ ซ่ึงจะ ท�ำให้การแข่งขันด�ำเนินไปด้วยความเรียบร้อย การควบคุมการแข่งขันที่ราบร่ืน ปราศจาก อปุ สรรคทอ่ี าจจะเกดิ ขนึ้ 10. เป็นผู้ที่มีความพร้อม มีสติสัมปชัญญะ ติดตามและควบคุมการแข่งขันตั้งแต่เร่ิมต้น จนเสร็จสิ้นการแข่งขนั อย่างใกลช้ ิด สิง่ ทีผ่ ้ตู ัดสินควรจะยดึ ถือปฏบิ ตั ิ 1. มคี วามซ่อื สัตยแ์ ละยุติธรรม 2. ตั้งใจจรงิ ในการปฏิบัติหน้าท่อี ย่างเตม็ ความสามารถ 3. หลีกเลีย่ งการมสี ว่ นได้ส่วนเสยี ในการแข่งขัน 4. หลีกเลี่ยงการโต้เถียงหรือทะเลาะวิวาทกับผู้หนง่ึ ผใู้ ด 5. หลีกเลี่ยงการวจิ ารณ์ใดๆ เก่ยี วกับการแข่งขัน 6. ไมเ่ รยี กร้องคา่ ตอบแทนเป็นพิเศษ 7. ไม่ท�ำหนา้ ทเ่ี ปน็ กรรมการผูต้ ดั สิน เม่อื พิจารณาแล้วเหน็ ไม่เหมาะสม คมู่ อื ผตู้ ัดสนิ กฬี าเทนนสิ 21

8. ไม่ละเลยตอ่ การกระท�ำความผดิ แมว้ า่ ความผดิ นัน้ จะเปน็ ของตนเอง 9. ไม่น�ำเรื่องสว่ นตัวมาเกีย่ วข้องกับการตดั สิน 10. ไม่ละทิง้ หนา้ ท่ใี ห้ความร่วมมือกบั เจา้ หน้าท่ที กุ ฝา่ ย การปฏบิ ัติเมือ่ เขา้ สสู่ นามแขง่ ขนั /ระหว่างแข่งขนั วางตัวให้เหมาะสม แต่งกายให้ถูกต้องตามลักษณะของการเป็นผู้ตัดสินกีฬา มีความ ประณีต ความสะอาด เกิดความศรทั ธาแม้แตเ่ พียงแค่การมอง ผ้ตู ดั สินควรมีการแสดงออก ดงั นี้ 1. เป็นผู้ที่มีลักษณะท่าทางการวางตัวอยู่ในท่าทีสง่างาม อยู่ในชุดตัดสินที่สะอาด ประณตี เรียบร้อย 2. เป็นผู้ท่ีมีกิริยามารยาท ไว้ศักดิ์ศรี เด็ดขาด ไม่ประหม่า เงียบขรึมแต่สุภาพ การแสดงออกถงึ ความพงึ พอใจ ความเขา้ ใจ การโอภาปราศรัยกับผู้ฝกึ สอน และ/หรอื ผูเ้ ขา้ แขง่ ขัน เท่าที่จ�ำเปน็ จะตอ้ งไม่หยอกล้อขณะนัง่ พกั รอปฏบิ ตั ิหนา้ ทค่ี ู่ตอ่ ไป 3. ไม่พดู จาโออ้ วดตัว อวดเด่นกับผ้ตู ัดสนิ ดว้ ยกนั ควรพูดแตใ่ นสงิ่ ทสี่ ร้างสรรค์เป็นเร่ือง ทีเ่ ปน็ ความจริง อย่าพดู ลับหลังท่อี าจจะท�ำใหเ้ กิดความแตกแยก ขาดความสามคั คี 4. เป็นผู้ท่ีต้องแสดงออกถึงการให้ความร่วมมือกับผู้อ่ืนด้วยความเต็มใจ และยินดี ที่จะให้ความช่วยเหลือเม่ือได้รับการขอร้องจากผู้เข้าแข่งขัน ผู้ฝึกสอน และผู้ตัดสินคนอื่นๆ ไมอ่ นญุ าตใหน้ �ำบุคคลอน่ื ๆ ทม่ี ิใช่ผตู้ ดั สินเขา้ มาคุยในห้องสว่ นตัว 5. ต้องรู้จักการให้เกียรติผู้ตัดสินด้วยกัน ต้องเคารพกันและกัน จะต้องมีความเป็นพี่ เปน็ นอ้ งมีผูอ้ าวโุ ส ไม่แสดงความเห็นแกต่ ัว 6. การปฏิบัติหน้าที่ผู้ตัดสินด้วยความเด็ดขาด ถูกต้อง แต่มีความสุภาพอ่อนน้อม 7. ควรใช้วาจาเฉพาะท่ีจ�ำเป็น ถ้ามีความจ�ำเป็นจะต้องพูดก็ควรพูดเฉพาะหลักการ เพ่ือสร้างความเชื่อมน่ั แก่ผฟู้ งั 8. ไม่ควรโต้เถียงกับผู้หน่ึงผู้ใด อันจะเป็นการลดฐานะและลดศักด์ิศรีของตนเอง ให้ตกต่�ำลงจะน�ำไปสู่การทะเลาะเบาะแว้งกัน หรือท�ำให้เกิดความขัดข้องเคืองใจ ผู้ตัดสินจะต้อง สรา้ งความเช่อื มน่ั สามารถควบคุมอารมณ์ได้ และจะต้องไม่มีอารมณค์ า้ ง 9. ถ้ามีการสัมภาษณ์ของส่ือมวลชน จะต้องหลีกเล่ียงและปฏิเสธการให้สัมภาษณ์ ด้วยความสุภาพ หรือแนะน�ำให้ไปสัมภาษณ์ผู้รับผิดชอบสูงสุดที่รับผิดชอบในการแข่งขันครั้งนั้น เท่าน้ัน แต่ถ้าหลีกเล่ียงไม่ได้จริงๆ จงให้สัมภาษณ์เฉพาะที่เป็นหลักการเท่านั้น จะต้องไม่วิพากษ์ วจิ ารณ์ แสดงความคดิ เหน็ ซำ้� เตมิ หรอื กา้ วกา่ ยหนา้ ทขี่ องผอู้ นื่ อยา่ งเดด็ ขาด และจะตอ้ งพดู กระชบั น้อยเท่าท่จี ะนอ้ ยได้ 22 ค่มู ือผู้ตัดสนิ กฬี าเทนนิส

ขอ้ แนะน�ำในการปฏิบตั ิหนา้ ทผ่ี ู้ตดั สนิ กรมพลศกึ ษา (2553) มขี อ้ เสนอแนะในการเป็นผู้ตดั สินกีฬาทดี่ ี ดังน้ี 1. ผู้ตัดสินที่ดีควรให้ความส�ำคัญกับบุคลิกลักษณะภายนอกของตนเอง ชุดแต่งกาย ต้องสะอาด ดูดี ชุดปฏิบัติหน้าที่เป็นไปตามที่สมาคมก�ำหนด บุคลิกลักษณะภายนอกเป็นหน้าท่ี ความรับผิดชอบส่วนบุคคล ท่นี �ำไปสู่ความภาคภมู ิใจในตนเอง 2. ผู้ตัดสินท่ีดีต้องตรงต่อเวลา ต้องตระหนักว่าท้ังผู้ฝึกสอนและผู้เล่นมีสิ่งที่ต้องคิด ในการเลน่ มากพออยแู่ ลว้ ทจ่ี ะตอ้ งคอยกงั วลวา่ เมอื่ ไหรผ่ ตู้ ดั สนิ จะมา โดยความเปน็ จรงิ ทสี่ �ำคญั มาก ก็คือ การเดินทางมาให้ตรงเวลา ยังเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนการแข่งขันถือเป็นช่วงแรก ของเวลาการแข่งขนั ค�ำวา่ “ตรงเวลามไิ ด้หมายถึงเวลาการแขง่ ขัน” 3. ระหวา่ งการแขง่ ขนั ผู้ตัดสนิ ทด่ี ี ต้องไมพ่ ูดคุยโตต้ อบกับผเู้ ลน่ และผูฝ้ กึ สอนจนยืดยาว การโต้เถียงเช่นน้ันจะเป็นเหตุท�ำให้เกิดปัญหามากกว่าจะพบทางแก้ปัญหา หากมีความจ�ำเป็น ต้องติดต่อพูดคุยกับใคร การพูดคุยนั้นต้องสุภาพ มีมารยาท ชัดเจน แต่กะทัดรัดได้ใจความ ในทางตรงกันข้ามการพูดคุยกับผู้บันทึกคะแนนและผู้จับเวลาต้องให้ความละเอียด ชัดเจน ไม่เรง่ รีบ 4. ผตู้ ัดสินท่ีดตี อ้ งไม่ท�ำตนเองใหเ้ ป็นจุดสนใจ ต้องรบู้ ทบาทของผู้ตดั สิน ควรด�ำเนินไป อยา่ งไมส่ ะดดุ ตาเท่าท่จี ะท�ำได้ เสยี งท่ีใช้ตอ้ งชัดเจน จริงจงั และนา่ เชอ่ื ถอื สญั ญาณสอ่ื ความหมาย ได้ชดั เจน การหยุดเกมต้องคงไวซ้ ่ึงความเฉียบขาด เทา่ ทีจ่ ะท�ำได้ 5. ผู้ตัดสินท่ีดีจะต้องรู้ว่า การตัดสินท่ีเกิดขึ้นในระหว่างการแข่งขันอาจจะเป็นท่ีสงสัย ของผู้เล่นหรือผู้อ่ืน ไม่มีความจ�ำเป็นท่ีจะต้องแสดงเหตุผลกับค�ำตัดสินน้ัน การส่ายศีรษะ หรอื แสดงท่าทางไมย่ อมรบั เป็นเพียงเรอ่ื งเลก็ นอ้ ยของสว่ นหนงึ่ ในการแสดงออก 6. ผู้ตัดสินที่ดีต้องไม่ยึดถือหนังสือกติกาจนเกินไป เขาควรตระหนักว่ากติกาทุกข้อ ประสงค์เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงปรัชญาการเล่น เขาควรรู้และใช้กติกาให้เป็นไปตามจุดประสงค์ ค�ำว่า “จังหวะ” “การไหลล่ืนของเกม” และ “การจัดการกับเกม” เป็นเร่ืองที่มีความส�ำคัญ เช่นเดยี วกบั ค�ำนยิ ามในกติกา 7. ผ้ตู ดั สินทด่ี ีต้องมคี วามเปน็ มอื อาชีพ เปิดเผย และมเี หตุผล 8. ผู้ตัดสินที่ดี คือ ผู้ที่มีมารยาทและควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ และไม่สูญเสีย ความอดทนกับผู้เล่น ผู้ตัดสินต้องยอมรับการพูดคุย ปรึกษาข้อขัดแย้งในการเล่นในขณะเดียวกัน ต้องควบคุมสถานการณ์ให้ได้โดยปราศจากพฤติกรรมที่หยิ่งยโส ต้องรู้ว่าใครคือผู้ที่สามารถ จะคุยสัง่ การได้ และตระหนกั วา่ หากเกิดการทักทว้ งต่อค�ำตัดสนิ ต้องรู้จกั ใช้กติกาและจุดประสงค์ ของกตกิ าจัดการกับค�ำทกั ทว้ งนน้ั อย่างชาญฉลาด ขณะเดียวกนั ผตู้ ดั สินต้องตระหนักถึงค�ำสองค�ำ ท่ีมคี วามส�ำคัญมากในการพดู เมอ่ื ปฏิบัตหิ นา้ ที่ คือ กรุณา และขอบคณุ ค่มู ือผ้ตู ัดสินกีฬาเทนนิส 23

9. ผู้ตัดสินท่ีดีต้องตระหนักว่าเขาไม่ใช่ผู้ท่ีไม่รู้จักความผิดพลาด ความผิดพลาดย่อม มีโอกาสเกิดขึ้นได้เสมอ เม่ือความผิดพลาดเกิดข้ึนควรรู้จักการยอมรับข้อผิดพลาดนั้น โดย ไม่ท�ำให้เกิดการขาดความมั่นใจและความวุ่นวายใจ เมื่อความผิดพลาดได้รับการแก้ไขแล้ว ก็คือ ความถูกต้อง หากเกินขอบเขตที่จะแก้ไขได้ การแข่งขันก็ต้องด�ำเนินต่อไป การปฏิบัติหน้าที่ ให้เต็มความสามารถท่ีสดุ คอื วัตถปุ ระสงค์ของการปฏิบัติหนา้ ที่เสมอ ขอ้ ละเว้นของผู้ตดั สินและผู้ชีข้ าดที่ไมค่ วรปฏิบตั ิ 1. ไม่ปฏิบัติหน้าท่ี ถ้ามีความรู้สึกว่าร่างกายไม่สบายหรือไม่สมบูรณ์ ไม่พร้อมที่จะ ปฏิบัติหน้าท่ไี ด้ แต่จะตอ้ งแจง้ ใหผ้ ู้รับผดิ ชอบ (ประธานผู้ตดั สิน) ทราบลว่ งหน้าก่อน 2. ไมเ่ ลือกตดั สนิ เฉพาะคแู่ ข่งขนั ทเ่ี ราพงึ พอใจ 3. ไม่เลือกเฉพาะทีจ่ ่ายเบีย้ เลยี้ งค่าตอบแทนสูง/หรือคแู่ ขง่ ขนั ท่ตี ัดสนิ งา่ ย 4. ไมเ่ ลอื กรบั ตดั สินเพยี งเพ่อื หวงั จะรับรางวลั เท่านน้ั 5. ไม่ตดั สินคูท่ ี่มสี ่วนเกย่ี วข้องหรือมีความสัมพันธก์ บั ตนเอง 6. ไม่สนทนาวิสาสะกับผู้ฝึกสอน หรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับทีมต่างๆ ท้ังก่อนและหลัง การแขง่ ขัน 7. ไม่สนใจกับเหตุการณ์อ่ืนใดที่ไม่เกี่ยวข้องกับการแข่งขัน ควรสนใจเฉพาะเหตุการณ์ ทีเ่ กย่ี วข้องกับการแข่งขนั เทา่ นนั้ 8. ไมค่ ยุ โม้โอ้อวดในขณะที่ท่านปฏบิ ัตหิ น้าที่ 9. ไม่เกรงกลัวในการที่ท่านจะลงโทษนักกีฬา หรือผู้เกี่ยวข้องกับนักกีฬาท่ีเล่นกระท�ำ ผดิ กติกา เม่ือท่านได้ม่นั ใจวา่ เขากระท�ำผิดจริง 10. ไม่ท�ำหน้าทเ่ี ป็นผู้ตัดสนิ ถา้ ทา่ นต้องท�ำหนา้ ท่เี ป็นผู้ฝึกสอนดว้ ย 11. ไมต่ ัดสนิ ดว้ ยการเดาหรอื คาดคะเนวา่ จะมเี หตุการณ์ตา่ งๆ เกิดขึน้ แลว้ 12. ไม่สร้างความหวังหรือบนบานศาลกล่าวให้สิ่งศักดิ์สิทธ์ิช่วยเหลือท่าน เพื่อให้ การปฏิบัติหน้าทส่ี �ำเรจ็ ลุลว่ งไปด้วยดี แตข่ อใหท้ ่านมคี วามเชอื่ มน่ั ในตนเอง 13. ไม่ขอความเห็นใจต่อผู้อื่น หรือบอกกับผู้อื่นว่าเป็นภาระหนักเหลือเกินท่ีท่านต้อง ท�ำหน้าทต่ี ัดสินการแข่งขนั คู่นี้ 14. ไม่แก้ตัวหรือขอโทษในข้อผิดพลาดของตนท่ีอาจมี ไม่ต้องอธิบายให้ใครฟังว่าท่าน ได้ตัดสนิ ถูกต้องแลว้ แม้วา่ จะเป็นเวลาทีพ่ ักอยู่กต็ าม หรอื เวลาประชุมแก้ไขทุกครั้ง 15. ไม่ท�ำโทษหรือลงโทษผู้แข่งขันฝ่ายตรงข้ามเม่ืออยู่ในขณะได้เปรียบ หรือระงับ การลงโทษอันจะเปน็ ประโยชนแ์ ก่ฝา่ ยผกู้ ระท�ำผิด 24 คมู่ ือผู้ตัดสินกีฬาเทนนิส

16. ไม่โต้เถียงกับผู้แข่งขัน ผู้ฝึกสอน และผู้ชม ในขณะที่ก�ำลังแข่งขันและก�ำลังปฏิบัติ หน้าท่ีอยู่ 17. ไม่เสียอารมณ์ แม้ท่านจะถูกต่อว่าหรือถูกทักท้วงจากผู้แข่งขัน ผู้ฝึกสอน หรือผู้ชม ก็ตาม 18. ไมล่ ะสายตาของทา่ นออกจากการแขง่ ขนั 19. ไม่เก็บเอาการแข่งขันท่ีท่านได้ท�ำการตัดสินไปแล้วมาคิดทบทวนในระหว่างท่ีคู่อ่ืนๆ ก�ำลงั แข่งขันอยู่ 20. ไมร่ ีรอเมอ่ื ทา่ นท�ำหนา้ ที่เรยี บรอ้ ยแลว้ ควรออกจากสนามแขง่ ขนั และกลับที่พกั ทันที 21. ไม่แต่งกายตามสบาย เมื่อท่านจะต้องปฏิบัติหน้าท่ีจะต้องแต่งกายให้เหมาะสม กบั ประเภทกีฬาชนดิ น้ันๆ การปฏิบตั หิ น้าท่ขี องผ้ตู ดั สินกีฬาเทนนสิ 1. หนา้ ทผ่ี ตู้ ัดสนิ ผ้กู �ำกบั เส้น และผตู้ ดั สินชี้ขาด ผู้ตัดสิน ผู้ก�ำกับเส้น และผู้ตัดสินชี้ขาด จะท�ำหน้าที่ในส่วนที่แต่ละฝ่ายรับผิดชอบ เพื่อให้การแข่งขันด�ำเนินไปด้วยความเรียบร้อย อย่างไรก็ตามการท�ำงานดังกล่าวจะต้องเป็นไป ในทิศทางเดียวกันเปรียบเสมือนเป็นทีมเดียวกัน ไม่มีการขัดแย้งกันโดยเฉพาะอย่างย่ิงการตัดสิน ในภาคสนาม ควรจะเคารพในหน้าที่ที่แต่ละฝ่ายได้ตัดสินลงไป หากเกิดข้อโต้แย้งในการตัดสินใจ การตัดสนิ จะเปน็ ไปตามล�ำดับความรบั ผดิ ชอบที่แตล่ ะฝา่ ยพึงมสี ทิ ธิ์ การเป็นผู้ตัดสินท่ีดี จะต้องมีเทคนิคเบื้องต้นและวิธีปฏิบัติในการท�ำหน้าที่ เป็นผู้ตัดสินเทนนิสที่ดีและถูกต้องรวมถึงความรู้ในกฎกติกาของเทนนิส รวมถึงระเบียบ การแข่งขันในแต่ละประเภทของการแข่งขัน และการควบคุมท่ีส�ำคัญอย่างยิ่ง ในการท�ำหน้าท่ี ผู้ตัดสินเทนนิส ในแต่ละปีกฎและกติกาเทนนิสมีการปรับเปล่ียนตลอดเวลา ผู้ตัดสินเอง ต้องหาความรู้เพิ่มเติมและใส่ใจสิ่งเหล่านี้ด้วย ซ่ึงท�ำให้ผู้ตัดสินมีการพัฒนาตัวเองอันจะน�ำไปสู่ การเปน็ ผู้ตัดสินในระดับทส่ี ูงข้นึ ในอนาคต 2. การประท้วงเกยี่ วกบั กฎ กตกิ าเทนนสิ ผู้เล่นมีสิทธิ์ร้องขอการตัดสินเก่ียวกับกฎ กติกาเทนนิสต่อผู้ตัดสิน ผู้ตัดสินจะหยุด การแข่งขันและพิจารณาตัดสินในข้อสงสัยเบื้องต้น หากผู้ตัดสินไม่แน่ใจหรือผู้เล่นยังมีข้อสงสัย ในค�ำตัดสินน้ันสามารถร้องขอผู้ตัดสินชี้ขาดเข้ามาในสนาม ผู้ตัดสินต้องชี้แจงกฎกติกาต่อผู้เล่น และผู้ตัดสินและพิจารณาตัดสินข้อสงสัยดังกล่าว และการตัดสินของผู้ตัดสินชี้ขาดถือเป็น ทสี่ ิ้นสดุ และผเู้ ลน่ จะตอ้ งท�ำการแขง่ ขันต่อภายใน 20 วนิ าที หลงั จากผตู้ ัดสนิ ขาน “Let’s Play” คมู่ ือผตู้ ัดสนิ กีฬาเทนนิส 25

3. การประทว้ งเก่ียวกับข้อเท็จจริง 3.1 การประท้วง ผู้เล่นมีสิทธิ์ประท้วงการตัดสินที่เก่ียวกับข้อเท็จจริงที่เกิดข้ึน ระหว่างการแข่งขันอันเกิดจากการตัดสินหรือผู้ก�ำกับเส้นโดยประท้วงไปยังผู้ตัดสิน ผู้ตัดสิน จะต้องยืนยันการตัดสินนั้นและควรจะให้เสร็จส้ินภายใน 20 วินาที และท�ำการแข่งขันต่อทันที ยกเว้นในกรณที จ่ี �ำเปน็ ต้องมกี ารอธบิ ายท่ีมากขึน้ อาจใชเ้ กินกว่า 20 วนิ าที จะต้องท�ำการแข่งขัน ต่อหลังจากผู้ตัดสินขาน “Let’s Play” โดยการตัดสินของผู้ตัดสินเป็นท่ีสิ้นสุด ผู้เล่นจะร้องขอ ผูต้ ดั สินชข้ี าดไมไ่ ด้ 3.2 การกลับค�ำตัดสิน ผู้ตัดสินอาจกลับค�ำตัดสินของผู้ตัดสินหรือผู้ก�ำกับเส้น เฉพาะในกรณีท่ีความผิดพลาดของผู้ก�ำกับเส้น ผู้ก�ำกับเส้นอาจแก้ไขข้อผิดพลาดด้วยตัวเอง การกลบั ค�ำตดั สนิ ทกุ กรณีจะตอ้ งท�ำอยา่ งรวดเร็วและทันทที นั ใด เป็นการยากที่จะแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดข้ึนได้ท้ังหมด อย่างไรก็ตามผู้ตัดสินจะต้อง อยู่ในต�ำแหนง่ ท่จี ะต้องตดั สินข้อผดิ พลาดที่เกิดข้นึ ใหพ้ น้ จากข้อสงสัย ผู้ตัดสินไมค่ วรกลบั ค�ำตัดสิน ในกรณีท่ีลูกลงหรือออกใกล้เส้นมากๆ จนไม่สามารถตัดสินใจได้ การกลับค�ำตัดสินจาก “ลง” เปน็ “ออก” ผตู้ ดั สนิ จะตอ้ งสามารถเหน็ ชอ่ งวา่ งระหวา่ งลกู กบั เสน้ ได้ การกลบั ค�ำตดั สนิ จาก “ออก” เป็น “ลง” ผตู้ ดั สนิ จะต้องสามารถเห็นลกู ตกในเสน้ ได้ การขาน “foot faults” ทไ่ี ม่ไดข้ านจากผกู้ �ำกบั เสน้ จะต้องท�ำอยา่ งคงเส้นคงวา การกลับค�ำตัดสินจะต้องท�ำทันทีทันใดท่ีพบข้อผิดพลาด ผู้ตัดสินไม่สามารถ กลับค�ำตัดสินได้หลังจากผู้เล่นคัดค้านหรือประท้วง ผู้ก�ำกับเส้นไม่สามารถแก้ไขข้อผิดพลาดได้ หลงั จากผเู้ ลน่ คดั ค้านหรือประท้วง 3.3 การชี้จุดลูกตก การชี้จุดลูกตกจะท�ำได้เฉพาะการแข่งขันในสนามดินเท่าน้ัน เม่ือผู้เล่นร้องขอการชี้รอยหลังจากแต้มจบหรือผู้เล่นหยุดที่เล่นแต้มนั้น ผู้ตัดสินจะต้องลงมา ตรวจสอบรอยลูกตกดว้ ยตัวเอง หากผตู้ ดั สินไม่สามารถหารอยลกู ตกไดอ้ าจให้ผกู้ �ำกับเสน้ ชว่ ยช้ีจดุ ทต่ี กได้ แต่ผู้ตดั สินจะต้องเป็นผู้ตรวจสอบแตม้ ทเี่ ล่นไปแล้วจะยงั คงไวห้ ากผู้ตดั สินหรอื ผู้ก�ำกบั เส้น ไม่สามารถหารอยลูกตกได้หรือรอยลูกตกเล่ือนรางเกินไป ดังน้ันในการใช้สนามดินในการแข่งขัน ผู้ตัดสินจะไม่ขานสกอร์เร็วมากนัก ยกเว้นกรณีที่เห็นและตัดสินได้อย่างชัดเจน ถ้าผู้เล่นลบรอย ลูกตกถือว่าเป็นลูกที่ดี ถ้าหากผู้เล่นข้ามไปช้ีรอยลูกตกในส่ิงตรงข้ามจะมีความผิดว่าด้วย การควบคมุ ความประพฤติของนักกฬี า 4. การเริม่ ต้นของการแขง่ ขัน การเร่ิมต้นของการแข่งขันอย่างเป็นทางการจะเริ่มขึ้นเมื่อการเสิร์ฟแต้มแรกของ แมทซแ์ รก 26 คมู่ ือผ้ตู ดั สนิ กีฬาเทนนสิ

5. การหยดุ รอการแขง่ ขันและการเลอื่ นการแข่งขัน หากในระหวา่ งการแขง่ ขันเกิดปญั หาจากความมดื สภาพสนามหรือสภาพภูมิอากาศ ผู้ตัดสินหรือผู้ตัดสินช้ีขาดสามารถเลื่อนการแข่งขันออกไปได้ การหยุดการแข่งขันโดยผู้ตัดสิน จะต้องแจ้งผู้ตัดสินช้ีขาดทุกครั้ง ระหว่างที่การแข่งขันหยุดรอจนกระทั่งประกาศเลื่อนการแข่งขัน โดยผู้ตัดสินช้ีขาด ผู้เล่น ผู้ตัดสินและเจ้าหน้าท่ีสนามจะต้องพร้อม เพ่ือท่ีจะท�ำการแข่งขันต่อ ผู้ตัดสินช้ีขาดหรือคณะกรรมการจัดการแข่งขันจะเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะเลื่อนการแข่งขันออกไป แขง่ ขันในวันถดั ไปหรือไม่ การเล่ือนการแข่งขันเนื่องจากความมืดควรจะท�ำในตอนจบเซต หรือให้การแข่งขัน ด�ำเนนิ ไปจนจบเกมคู่ หากมกี ารเล่ือนการแข่งขนั ผตู้ ัดสินจะตอ้ งบนั ทกึ เวลา แต้ม เกม และเซต ชอ่ื ผเู้ สิร์ฟ แดนทผี่ ้เู สิร์ฟอยแู่ ละเกบ็ ลูกท่ใี ช้แขง่ ขนั ไว้เพอื่ ด�ำเนนิ การแข่งขันตอ่ ในกรณีที่หยุดรอการแข่งขันหรือเล่ือนการแข่งขัน เม่ือกลับมาท�ำการแข่งขันใหม่ จะตอ้ งมีการวอร์มใหมต่ ามเวลา ดังนี้ หยดุ การแขง่ ขัน 0 - 15 นาที ไม่มีการวอรม์ หยุดการแข่งขนั 15 - 30 นาที วอร์ม 3 นาที หยุดการแข่งขันมากกว่า 30 นาที วอรม์ 5 นาที 6. การประกาศ ผู้ตัดสินต้องประกาศในการแข่งขันเป็นภาษาอังกฤษและหรือภาษาของประเทศน้ัน ส�ำหรับการแข่งขันในเมืองไทยนิยมประกาศและสกอร์เป็นภาษาไทย นอกเหนือจากนั้นประกาศ เป็นภาษาอังกฤษ การประกาศ หรือการขานคะแนนต้องพูดด้วยเสียงชัดเจน เพื่อให้นักกีฬา ท้ังสองฝ่าย และผู้ชมภายนอกสนามได้ยิน อย่างไรก็ตามการใช้เสียงต้องค�ำนึงถึงการรบกวน สนามข้างเคียงหากต้องมีการใช้สนามแข่งขันมากว่า 1 สนามติดกัน การใช้เครื่องขยายเสียงใดๆ ผ ู้ตัดสนิ ตอ้ งตรวจสอบการท�ำงานและระดับความดัง ก่อนทจี่ ะมกี ารแข่งขันเสมอ 6.1 การประกาศในการแข่งขนั 6.1.1 วอรม์ “สองนาที” [two minutes] เมือ่ เหลอื เวลาวอรม์ 2 นาที “หนึ่งนาท”ี [one minutes] เมอ่ื เหลอื เวลาวอรม์ 1 นาที “time” [time, prepare to play] เมื่อหมดเวลาวอร์ม และส่งลูกไปยัง ฝัง่ ผ้เู สริ ์ฟ “…………………………………..to serve, play ค่มู ือผตู้ ดั สินกีฬาเทนนิส 27

6.1.2 การประกาศแมทซ์การแข่งขนั ก. ถ้าการประกาศแมทซ์ท�ำโดยผู้ตัดสิน หลังจากขาน “หน่ึงนาที” ให้ ประก าศวา่ “This is ……………………round match between to the left of the chair……………………and to the right of the chair……………………The best of three/five tie break sets……………………won the toss and choose to……………………” ข. ถา้ มกี ารประกาศแมทซโ์ ดยฝ่ายจดั การแข่งขัน ใหป้ ระกาศวา่ “……………………won the toss and choose to……………………” 6.1.3 การควบคมุ ผ้ชู ม ผู้ตัดสินควรมีวิธีการบอกให้ผู้ชมอยู่ในภาวะที่จะไม่เกิดเหตุการณ์ท่ีจะรบกวน การเล่นของนักกฬี าโดยมวี ธิ ีพูดดังตัวอยา่ ง “Quiet please thank you” “Please be seated, thank you” “Seats quickly, please” “As a courtesy to both players” “No flash photography, please” 6.1.4 สกอร์ ก. การขานคะแนนจะต้องขานคะแนนของผู้เสิร์ฟก่อนเสมอ ยกเว้นคะแนน ไท-เบรก ให้ขานคะแนนผ้นู �ำ ข. การขานคะแนน “Fifteen-Love [15-0], Love-Fifteen [0-15], Thirty-Love[30-0], Forth-Love [40-0], Love-Forty [0-40], Fifteen-all [15-15], Fifteen-Thirty [15-30], Thirty-Fifteen [30-15], Fifteen-Forty [15-40], Forty-Fifteen [40-15], Thirty-all [30-30], Thirty-Forty [30-40], Forty-Thirty [40-30], Deuce, Advantage………...……,Game…..……………. ค. ถา้ การแขง่ ขนั ใชร้ ะบบดวิ ซค์ ะแนนเดยี ว (No-Ad Scoring System) หลงั จาก การขาน “ดวิ ซ์” ใหข้ านดงั น้ี “deciding point, receive choice” (คะแนนตัดสิน ผู้รับเลอื กรบั ) 28 คมู่ อื ผู้ตดั สนิ กฬี าเทนนิส

ง. การขานผลควรจะขานให้ดัง และชัดเจนเพียงพอท่ีผู้เล่น และผู้ชมจะได้ยิน หลังจากจบคะแนน การขานควรจะเร็วและขานก่อนท่ีจะบันทึกคะแนนในแผ่นบันทึก เว้นแต่ ในบางครั้งทเี่ ปน็ คะแนนทต่ี น่ื เตน้ และผชู้ มสง่ เสยี งดงั หลงั จากจบคะแนนการขานอาจลา่ ชา้ ออกไป แตก่ ารขานในกรณนี ตี้ ้องขานเน้นเป็นพิเศษ (ส�ำหรับการขานในการแข่งขันในสนามดิน ให้ดูเร่ือง การชีจ้ ุดลกู ตก) จ. หลังจากจบเกมหรอื เซต การขานจะเปน็ ดังตัวอย่าง “Game Smith, Smith (Jones) leads 4-2, first set” “Game Smith, 3 games all, first set” “Game and third set Smith, 7 games to 5, Jones leads 2 sets to 1” ถ้าการแข่งขนั มีสกอรบ์ อร์ด ไม่จ�ำเป็นตอ้ งขานสกอร์ของเซต ฉ. ถา้ การแข่งขันด�ำเนินไปจนถึงไท-เบรก การขานจะเปน็ ดังนี้ “Game Smith, 6 games all, Tie-break……………………to serve” ช. ระหว่างเล่นไท-เบรก การขานสกอร์ต้องขานคะแนนก่อนแล้วจึงขานช่ือ ผเู้ ลน่ ที่มีคะแนนน�ำในคะแนนไท-เบรก เช่น “1-0 Jones” or “1-all” “2-1 Smith” ให้ใช้ Zero แทน 0 ในการขานคะแนนในไท-เบรก หลังจากปรากฏ ผลแพช้ นะในเกมไท-เบรก การขานจะเปน็ ดังนี้ “Game and……………………set……………………. 7-6” “Treatment complete” เมื่อเวลาของการพยาบาลนักกีฬาจบลง ผู้เล่นจะมีเวลาตามสมควรในการ สวมใส่เส้ือผ้า รองเท้า ถุงเท้า ในกรณีท่ีต้องถอดออกเพื่อการปฐมพยาบาล หลังจากนั้นผู้ตัดสิน จะขาน “Time” ถ้าผเู้ ล่นไมเ่ ล่นตอ่ ภายใน 30 วินาที หลังจากที่ขาน Time ไปแล้ว นกั กีฬา จะถกู ลงโทษเน่ืองจากความลา่ ช้าในการแขง่ ขัน ถ้าการปฐมพยาบาลเกิดขึ้นในช่วงพักเปล่ียนข้างหรือพักเซต เวลา ปฐมพยาบาลจะนบั หลงั จากที่เวลาของการพกั จบลง อยา่ งไรกต็ ามการประกาศทก่ี ลา่ วมาทง้ั หมดขา้ งตน้ อาจจะแตกตา่ งในค�ำพดู หรือลักษณะของการใช้งานแล้วแต่ธรรมชาติของผู้ตัดสินคนนั้นๆ การประกาศต้องด�ำเนินไปด้วย ความกระชบั และมีจังหวะน้�ำเสียงทดี่ ี เช่น การประกาศหรอื การขานในระหว่างการแขง่ ขันที่มผี ู้ชม คูม่ อื ผ้ตู ดั สินกีฬาเทนนสิ 29

เป็นจ�ำนวนมาก การขานอาจต้องรอให้เสียงผู้ชมซาลงก่อนถึงขาน หรือขานก่อนท่ีผู้ชมจะส่งเสียง เชียร์ เป็นต้น การใช้ระดับเสียงสูงต่�ำก็เป็นสิ่งที่ส�ำคัญท่ีจะท�ำให้ผู้ชมมีส่วนร่วมและมีอารมณ์ คล้อยตามในระหว่างการแข่งขัน ผู้ตัดสินที่ดีควรหมั่นฝึกฝน และหาประสบการณ์จากผู้ตัดสินท่ีมี ร ะดบั สงู กวา่ อยเู่ สมอ 6.2 ค�ำท่ีใช้ในการขาน การขานจะต้องดงั และชดั เจน โดยมีค�ำท่ีใช้เป็นประจ�ำ ดังนี้ 6.2.1 “Fault” เมอ่ื ลกู เสริ ฟ์ ลกู แรกและลกู ทส่ี องออกนอกพนื้ ทเี่ สริ ฟ์ หา้ มขาน ในกรณีท่ลี กู เสิร์ฟไม่ข้ามตาขา่ ย และห้ามขาน “double fault” ในกรณีที่ ผ้เู สริ ฟ์ สองลูกตดิ กัน 6.2.2 “Out” เมื่อลกู ที่อยใู่ นการเลน่ ออกนอกสนามหรอื กระทบสิง่ ตดิ ตง้ั ถาวร ทีอ่ ยู่นอกสนาม 6.2.3 “Net” เม่อื ลกู เสริ ์ฟถูกตาข่ายและขา้ มตาขา่ ยไป 6.2.4 “Though” เมื่อลูกบอลลอดตาข่าย 6.2.5 “Foot Fault” เมอื่ ผู้เล่นท�ำผดิ กฎขอ้ 7 และ 8 ของกตกิ าเทนนิส 6.2.6 “Let” เมอื่ ผตู้ ดั สนิ เหน็ ควรวา่ จะเลน่ คะแนนนน้ั ใหมห่ รอื ลกู เสริ ฟ์ ควรจะ เสิรฟ์ ใหมต่ ามกฎ ขอ้ ที่ 13 ของกติกาเทนนสิ 6.2.7 “Not Up” หรือลูกท่ีอยู่ในการเล่นสัมผัสถูกตัวผู้เล่นหรือส่ิงท่ีผู้เล่น สวมใส่ หรอื อุปกรณ์หรือส่ิงทีผ่ เู้ ล่นสวมใส่ข้ามไปตกในแดนคตู่ ่อสหู้ รือ 6.2.8 “Tough” เม่ือผู้เล่นตีลูก 2 คร้ัง หรือตีลูกก่อนท่ีลูกจะข้ามตาข่ายหรือ ผเู้ ล่นหรอื สง่ิ ท่สี วมใสถ่ ูกตาขา่ ยในขณะทีเ่ ล่นคะแนนนน้ั 6.2.9 “Hindrance” เมื่อผู้เล่นไปขัดขวางคู่ต่อสู้ตามกฎข้อ 21 ตามกติกา เทนนสิ 6.2.10 “Wait please” เมอ่ื มสี งิ่ ทเ่ี ขา้ มาขัดขวางก่อนทจ่ี ะมีการเลน่ คะแนนนน้ั หรือก่อนการเสริ ์ฟลกู ทีส่ อง 6.2.11 “Correction (Overules) เม่อื กลบั ค�ำตดั สิน” ใชค้ �ำว่า Correction the ball was good เมอ่ื กลับค�ำตดั สินจากลูก “ออก” เปน็ “ลง” ใช้ค�ำวา่ Out หรอื Fault เม่อื กลับค�ำตดั สินจาก “ลง” เปน็ “ออก” 7. การใชส้ ัญญาณมือ การใชส้ ญั ญาณมอื เปน็ การยนื ยนั สง่ิ ทผี่ ตู้ ดั สนิ ไดต้ ดั สนิ ใจในเหตกุ ารณข์ องขอ้ เทจ็ จรงิ เชน่ ลกู ลงหรอื ลกู ออกโดยปกตแิ ลว้ ลกู ทอี่ อกผตู้ ดั สนิ ตอ้ งขานเพอ่ื ใหผ้ เู้ ลน่ หยดุ การเลน่ แตบ่ างครงั้ 30 คมู่ อื ผตู้ ัดสินกีฬาเทนนิส

ที่ผู้เล่นไม่แน่ใจ หรือลูกท่ีลงหรือออกใกล้เส้นมากหรืออยู่ในช่วงเวลาท่ีผู้เล่นไม่ได้ยินเสียงขาน มักจะมีค�ำถามว่าลงหรือออกจากนักกีฬาเสมอ ดังนั้นการใช้สัญญาณมือจึงเป็นอีกวิธีหน่ึงท่ีจะย�้ำ การตัดสินใจให้นักกีฬาทราบ อันจะเป็นการยุติการสอบถามที่จะตามมา การใช้สัญญาณมือ ไม่ควรใช้อย่างพร่�ำเพรื่อ แต่จะใช้เฉพาะที่จ�ำเป็น ในเทคนิคนี้ผู้ตัดสินจะต้องใช้วิจารณญาณว่า เหตกุ ารณ์ใดทีผ่ เู้ ล่นน่าจะสงสยั ในการตดั สนิ วา่ ลกู ลงหรือออกของผตู้ ดั สนิ 8. การบันทกึ ผู้ตัดสินต้องบันทึกผลให้ถูกต้องตามแบบบันทึกผลในแต่ละแบบท่ีใช้ และลงข้อมูล ให้ครบถ้วนตามแบบฟอร์มที่ใช้หรือเครื่องบันทึกแบบอิเล็กทรอนิกส์ ในบันทึกสกอร์จะเป็น ข้อมูลหนึ่งส�ำหรับการแข่งขันของนักกีฬา และส�ำหรับข้อมูลด้านเทคนิคอ่ืนๆ ของการแข่งขัน เชน่ เวลาทใ่ี ชใ้ นการแขง่ ขันว่ายาวนานเพยี งใด เพ่ือก�ำหนดเวลาพกั หากตอ้ งท�ำการแขง่ ขนั มากกวา่ 1 แมทซ์ ในวนั เดียวกัน เป็นตน้ บทบาทหนา้ ท่ีผู้ตดั สนิ ช้ขี าดและผอู้ �ำนวยการจัดการแข่งขัน ผู้ตัดสินช้ีขาดและผู้อ�ำนวยการจัดการแข่งขันจะต้องท�ำงานให้ประสานและเป็นไป ในทิศทางเดียวกันภายใต้ระเบียบและกติกาของการแข่งขันเทนนิส โดยปกติแล้วผู้ตัดสินชี้ขาด จะท�ำหนา้ ทใ่ี นสนามแขง่ ขนั หรอื ตดั สนิ ปญั หาทเ่ี กยี่ วขอ้ งกบั การแขง่ ขนั ผอู้ �ำนวยการจดั การแขง่ ขนั จะรบั ผิดชอบในภาพรวมทง้ั หมด ในการแขง่ ข้ันในครง้ั นั้นๆ ห น้าทีแ่ ละอ�ำนาจของกรรมการผู้ตัดสินช้ีขาด ผู้ตัดสินชี้ขาดจะมีอ�ำนาจหน้าที่ตามที่กฎและระเบียบการแข่งขันจะพึงก�ำหนดให้มี เพอื่ การแข่งขันเป็นไปดว้ ยความยุตธิ รรมและราบรืน่ ดงั ตอ่ ไปน้ี 1. ประสานงานกับคณะกรรมการจัดการแข่งขันและผู้อ�ำนวยการจัดการแข่งขันตั้งแต่ การเตรียมความพร้อมก่อนการแข่งขันและส่ิงที่จะต้องมีในการแข่งขันเพ่ือให้เป็นไปตามระเบียบ การแข่งขันน้นั ก�ำหนดไว้ 2. จัดเลอื กนกั กีฬาเข้าสู่สายแขง่ ขันตามสถานภาพนกั กฬี า จดั เรยี งล�ำดับนกั กีฬาตามท่ี ระเบยี บการแข่งขนั ก�ำหนด 3. ลงทะเบยี นผเู้ ลน่ และจดั สายการแขง่ ขนั โดยขน้ั ตอนการจดั สายการแขง่ ขนั จะเปน็ ไป ตามระเบยี บการแขง่ ขนั ของสหพันธเ์ ทนนิสนานาชาติ คู่มอื ผตู้ ัดสนิ กฬี าเทนนิส 31

4. ควบคุมการแข่งขัน ให้ด�ำเนินไปด้วยความเรียบร้อย และรวดเร็วตามสภาพของ การแขง่ ขันอยา่ งไม่ตดิ ขัด 5. จัดก�ำหนดการแข่งขัน ซ่ึงจะต้องประกาศให้นักกีฬาทราบรวมถึงผู้ชมและ สือ่ มวลชน 6. รักษาวินัยอย่างเคร่งครัด ตัดสินใจด้วยความสุขุม และเฉียบขาด มีลักษณะของ ความเป็นผนู้ �ำเสมอ 7. ตัดสินแก้ปัญหาท่ีเกิดขึ้นในสนามแข่งขันร่วมกับผู้ตัดสินภายใต้ กฎ กติกาเทนนิส ตอบข้อซักถามของนักกฬี า 8. ประสานงานกับผู้อ�ำนวยการจัดการแข่งขันในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสภาพท่ัวไปและ สิง่ อ�ำนวยความสะดวกในสนามแขง่ ขนั ความพรอ้ มตา่ งๆ ตลอดระยะเวลาทท่ี �ำการแขง่ ขนั 9. พิจารณาสับเปล่ียนเจ้าหน้าท่ีสนาม หากมีความจ�ำเป็น เช่น ผู้ก�ำกับเส้น หรือ เด็กเก็บลูก เป็นต้น ในกรณีท่ีจ�ำเป็น เม่ือมีความรู้สึกว่าทีมท่ีอยู่ในสนามเกิดความกดดัน จากนกั กีฬา เพ่อื หมุนเวยี นให้ได้พกั ผอ่ น เพอ่ื ลดการกระทบกระทงั่ เปน็ ตน้ 10. พจิ ารณาสภาพสนามแขง่ ขนั ประกอบการตดั สนิ ใจท�ำใหส้ นามพรอ้ มใชใ้ นการแขง่ ขนั ในกรณีท่ีต้องใช้ไฟส่องสว่างหรือสภาพอากาศท่ีเปลี่ยนไป หรือหากมีความจ�ำเป็นจะต้องย้าย สนามแขง่ ขัน 11. รวบรวมผลการแข่งขันในแต่ละวัน และรวบรวมผลการแข่งขันทั้งหมดเพื่อส่งให้ สว่ นทเ่ี ก่ียวข้อง เช่น ฝ่ายจัดการแข่งขนั สอ่ื มวลชน ผชู้ ม ต่อไป หน้าทแ่ี ละอ�ำนาจของผอู้ �ำนวยการแขง่ ขนั ผ้อู �ำนวยการจดั การแข่งขนั จะมีอ�ำนาจหน้าท่ีตามท่ีกฎและระเบียบการแข่งขันจะก�ำหนด เพื่อการแข่งขันด�ำเนนิ ไปดว้ ยความเรยี บรอ้ ยส�ำเรจ็ ตามวตั ถปุ ระสงค์ ดงั ต่อไปน้ี 1. ประสานงานกับคณะกรรมการจัดการแข่งขันและผู้ตัดสินช้ีขาดอยู่เสมอ หากเกิด ส่ิงใดขาดไปก็ตอ้ งพยายามท�ำให้ครบถว้ นตามทรี่ ะเบยี บก�ำหนดไว้ 2. รบั สมคั รและจดั รวบรวมรายชอ่ื นกั กฬี าทเ่ี ขา้ รว่ มการแขง่ ขนั ตรวจสอบอยา่ งละเอยี ด แล้วจดั สง่ ไปยังผทู้ ร่ี ับผดิ ชอบตอ่ ไป 3. เป็นท่ีให้ข้อมูลรายละเอียดท่ีเกี่ยวข้องกับการแข่งขัน รวมถึงอ�ำนวยความสะดวก ในการตดิ ตอ่ สอบถาม 4. จัดเตรียมความพร้อมของสนามแข่งขัน ให้อยู่ในสภาพที่สามารถท�ำการแข่งขัน ไดอ้ ยา่ งไมม่ ขี ้อตดิ ขัด หรอื ผิดตอ่ ขอ้ ก�ำหนดทบ่ี อกไวใ้ นระเบยี บจัดการแขง่ ขันนัน้ ๆ 32 คมู่ ือผตู้ ัดสินกีฬาเทนนสิ

5. จัดเตรียมเอกสารทเ่ี ก่ยี วข้องกบั การแข่งขันทง้ั หมด 6. ประชาสมั พนั ธก์ ารแขง่ ขันสู่มวลชน ดว้ ยวธิ ตี า่ งๆ วธิ กี ารตดั สินและการเขียนใบบันทกึ คะแนน ในการตัดสินเทนนิสผู้ตัดสินจะต้องมีวิธีการตัดสินตามเทคนิคเบ้ืองต้นที่ถูกต้อง อันจะ เปน็ กา้ วแรกทจ่ี ะท�ำใหผ้ ตู้ ดั สนิ มกี ารพฒั นาและยกระดบั ของตวั เองอยา่ งรวดเรว็ ซง่ึ เทคนคิ ดงั กลา่ ว จะต้องหมั่นฝึกฝนจนเกิดความช�ำนาญและเคยชินในการปฏิบัติหน้าท่ีจนกระทั่งท�ำให้เกิดขึ้น โดยอัตโนมัติ ทุกคร้ังที่ท�ำหน้าท่ีผู้ตัดสิน วิธีการตัดสินอันจะน�ำมาซึ่งการเป็นผู้ตัดสินท่ีดีมิได้ หมายถึงเฉพาะระหว่างที่นักกีฬาแข่งขันเท่านั้น แต่รวมถึงก่อนและหลังจบการแข่งขันในแต่ละ แมทซด์ ว้ ยโดยมีขั้นตอน ดงั ตอ่ ไปน้ี 1. การมาถงึ สนาม ผู้ตัดสินที่ดีจะต้องอยู่ในสนามท่ีปฏิบัติหน้าที่ก่อนที่นักกีฬามาถึง ซึ่งจะต้องมีเวลา มากพอท่ีจะตรวจสอบความเรียบร้อยของสนามแขง่ ขนั ไม่ว่าจะเป็นจุดทีส่ ่ิงตดิ ต้งั ถาวรต่างๆ อยูใ่ น ต�ำแหน่งถูกต้องหรือไม่ เช่น ต�ำแหน่งเสาค�้ำตาข่าย ความสูงของตาข่ายตรงกลาง ต้องตรวจวัด อย่างละเอียด ในระดับนานาชาติ หรืออาชีพ ตอ้ งตรวจสอบกอ่ นวา่ มี น�้ำดมื่ ผ้าเช็ดตวั ผงขเ้ี ล่อื ย มีหรือไม่ ที่น่ังนักกีฬาต้องอยู่ในต�ำแหน่งท่ีเหมาะสม เก้าอี้ผู้ตัดสินต้องไม่ต้ังย้อนแสงอาทิตย์ ต้องไม่มีขยะ ลูกเทนนิสจากการแข่งขันในแมทซ์ก่อนหน้า หรือมีน้�ำนองเลอะเทอะในสนาม หรือไม่ เป็นต้น การตรวจสอบเหล่าน้ีจะท�ำให้ผู้ตัดสินมีความรอบคอบและมองดูเป็นมืออาชีพ ซง่ึ จะไดร้ ับการยอมรบั จากนกั กีฬา 2. การแนะน�ำนกั กฬี าก่อนการแข่งขัน เม่ือนักกีฬามาพร้อมกันในสนามแล้ว ผู้ตัดสินต้องออกไปยืนอยู่ในบริเวณสนาม ระหวา่ งเสน้ เด่ยี ว และเสน้ กง่ึ กลางสนามชดิ กับตาข่าย โดยมเี พียงเหรียญส�ำหรบั เส่ยี งท่ีถือไว้ในมือ เป็นการเร่งให้นักกีฬาออกมารับฟังข้อช้ีแจงก่อนการแข่งขัน โดยผู้ตัดสินจะชี้แจงเก่ียวกับระบบ การเล่น การเปล่ียนลูกเทนนิส จ�ำนวนเจ้าหน้าที่ผู้ก�ำกับเส้น และเด็กเก็บลูก โดยให้นักกีฬา ทั้งสองฝา่ ยไดร้ บั รู้ 3. การเส่ียงเหรยี ญ ก่อนการเส่ียงเหรียญจะต้องพลิกเหรียญให้นักกีฬาดู และให้นักกีฬาคนใดก็ได้ เป็นคนเลือก การเลือกเหรียญที่ใชเ้ สยี่ งให้ใช้เหรยี ญทมี่ ขี นาดพอดี เพื่อความชัดเจน ใหโ้ ยนเหรียญ ข้ึนไปในอากาศสูงพอประมาณแล้วปล่อยลงพ้ืนให้นักกีฬาท่ีชนะการเสี่ยง มีสิทธิเลือกตามกติกา เทนนสิ ข้อ 9 คมู่ อื ผู้ตดั สนิ กีฬาเทนนิส 33

4. การวอรม์ ในระหว่างการวอร์ม ผู้ตัดสินจะประกาศเวลาท่ีเหลืออยู่ ตามหลักการประกาศ ในหัวข้อหน้าท่ีผู้ตัดสินช่วงระหว่างที่นักกีฬาวอร์ม ผู้ตัดสินจะใช้เป็นเวลากรอกข้อมูลใน ใบบันทึกคะแนนเพ่ิมเติมจากที่มีอยู่ และถือเป็นการทดสอบสายตาเรียนรู้ลักษณะของการเล่น ของนักกีฬา 5. การเรมิ่ ต้นการแข่งขัน หลงั เสรจ็ จากการวอรม์ นกั กฬี าอาจจะเดนิ กลบั ทนี่ งั่ เพอื่ เชด็ เหงอื่ ดมื่ นำ้� ในระหวา่ งน้ี ผู้ตัดสินจะต้องตรวจสอบความเรียบร้อยของสนาม ลูกเทนนิสต้องอยู่ด้านผู้เสิร์ฟ ควบคุมผู้ชม ให้อยู่ในความสงบก่อนท่ีผู้เล่นจะเสิร์ฟ หลังจากน้ันผู้เล่นจะออกมาเสิร์ฟลูกแรก นั่นหมายถึง การแข่งขันได้เริ่มต้นข้ึน การให้ความส�ำคัญต่อการเร่ิมต้นการแข่งขันถือเป็นอันดับแรกท่ีผู้ตัดสิน ต้องค�ำนึงถึง การผิดพลาดใดๆ ในช่วงเร่ิมเกม มักจะเป็นเหตุให้เกิดการไม่ยอมรับจากนักกีฬา จนจบการแขง่ ขัน 6. ระหวา่ งการแข่งขัน เทคนคิ ในระหว่างการแข่งขนั เป็นส่งิ ส�ำคญั ทีต่ ้องฝึกฝนใหช้ �ำนาญและเคยชิน ไดแ้ ก่ ก. การมองผู้รับและผู้เสิร์ฟ การมองท้ังสองอย่างนี้ต้องท�ำในเวลาท่ีใกล้เคียง การเสิร์ฟท่ีสุด เพื่อให้ม่ันใจว่าทั้งผู้รับและผู้เสิร์ฟพร้อมที่จะเล่น โดยเมื่อผู้เสิร์ฟเข้าประจ�ำจุด ที่จะเสิร์ฟต้องมองไปที่ผู้รับว่าพร้อมหรือไม่แล้วกลับมามองท่ีผู้เสิร์ฟ จนเสิร์ฟลูกน้ันไป สิ่งท่ีต้อง ตรวจสอบในช่วงเวลานกี้ ็คอื ผรู้ บั กระท�ำการใดขัดขวางผู้เสิร์ฟหรอื ไม่ ผูเ้ สริ ฟ์ กระท�ำการอันผดิ ตอ่ กตกิ าเทนนิสว่าด้วยการเสริ ์ฟหรือไม่ ข. การมองลูกเทนนิส เป็นส่ิงที่ต้องใช้ความช�ำนาญพอสมควร การมองลูกจะต้อง ใช้การคาดคะเนต�ำแหน่งท่ีลูกตกดว้ ย โดยเฉพาะลกู เสริ ์ฟทคี่ ่อนขา้ งเรว็ ค. การมองผู้เสียคะแนน ผู้เล่นท่ีเสียคะแนนมักจะมีปฏิกิริยาค่อนข้างมาก ไม่จ�ำเป็นว่าจะต้องเกิดจากการตัดสินผิดพลาดเสมอไป บางครั้งผู้เล่นที่เสียคะแนนอาจต้องการ ค�ำยืนยันการตัดสินจากผู้ตัดสินอีกคร้ัง หรืออาจแสดงกิริยาที่ไม่ดีออกมา ผู้ตัดสินไม่ควรมอง กดดันนักกีฬา ให้มองแบบผ่านในลักษณะที่อยู่ในสายตาเท่าน้ัน อย่างไรก็ดีผู้ได้คะแนนก็ไม่ควร ละเลยทจ่ี ะมอง เพราะอาจมีกริ ยิ าทแ่ี สดงออกถึงการเยาะเย้ยค่ตู ่อสไู้ ด้ หลังจากน้นั จึงขานคะแนน ง. การขานคะแนน การขานคะแนนในกรณีที่ไม่มีเคร่ืองขยายเสียงจะต้อง ดังเพียงพอท่ีจะท�ำให้ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายและผู้ชมได้ยินอย่างชัดเจน หากมีสนามใกล้เคียง หรือติดกันก�ำลังท�ำการแข่งขัน ต้องค�ำนึงถึงเสียงท่ีจะไปรบกวนสนามข้างเคียง หากมี เคร่ืองขยายเสียงควรปรับระดับโทนเสียงลงให้มีความดังที่เหมาะสม โดยหากมีเคร่ืองขยายเสียง ใหผ้ ตู้ ัดสนิ ทดสอบทุกครั้งเมอ่ื มาถงึ สนาม 34 คมู่ ือผู้ตดั สินกีฬาเทนนิส

จ. การบนั ทกึ คะแนนในใบบนั ทกึ คะแนน เมอื่ ขน้ั ตอนดงั กลา่ วขา้ งตน้ ผา่ นพน้ ไปแลว้ โดยใชเ้ วลาในการบันทกึ คะแนนให้น้อยทส่ี ดุ แต่ตอ้ งถูกตอ้ งและครบถ้วน 7. หลังจบการแข่งขนั หลังจบการแข่งขันต้องคอยรับไหว้ (จับมือ) นักกีฬา จึงจะถือว่าท�ำหน้าท่ีจนจบ และหลกี เลีย่ งการกระทบกระท่ังกับนกั กฬี า โดยเกบ็ เครอ่ื งมือหรอื เอกสารทกุ อยา่ งออกจากสนาม โดยเร็ว กรอกใบบันทึกคะแนนให้สมบูรณ์ ส่งใบบันทึกคะแนน รายงานเหตุการณ์ไม่ปกติ ให้ผู้ตัดสินชี้ขาดได้รับทราบ รวมถึงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของนักกีฬาหากมีเหตุการณ์ เหล่าน้นั เกิดขนึ้ กติกาเทนนสิ และขอ้ ชขี้ าด ผู้ตัดสินจะต้องหมั่นทบทวนกติกา และระเบียบการแข่งขันเทนนิสอยู่เสมอเพื่อให้ การพิจารณาใช้กติกาและระเบียบเป็นไปด้วยความราบร่ืน และมีปัญหาน้อยที่สุด การชี้ขาด ในข้อสงสัยเก่ียวกับปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นจะพิจารณาตัดสินเบ้ืองต้นโดยผู้ตัดสินท่ีท�ำหน้าท่ี ในสนามหากยังไม่มีข้อยุติผู้ตัดสินชี้ขาดจะเป็นคนสุดท้ายที่มีอ�ำนาจพิจารณาตัดสินข้อปัญหานั้น อย่างไรก็ดี หากมีปัญหาท่ีเกิดจากการบังคับใช้นั้นต้องการค�ำอธิบายหรือเหตุผลในการใช้กติกา สามารถติดต่อฝ่ายผู้ตัดสินของสหพันธ์นานาชาติเพื่อขอข้อชี้ขาดได้ โดยเฉพาะปัญหาการใช้ ระเบียบการแข่งขัน โดยปัญหาท่ีเกิดขึ้นท้ังหมดที่ยังไม่เคยได้รับการตัดสินช้ีขาดจะถูกพิจารณา ตัดสินและถือเป็นข้อยุติท่ีใช้แก้ปัญหาที่เกิดข้ึนในการแข่งขันต่อไป ซ่ึงผู้ตัดสินที่ดีจะต้อง คอยตดิ ตามขา่ วสารโดยเฉพาะกติกาและระเบียบการแขง่ ขันท่เี ปลยี่ นแปลงในแตล่ ะปี คู่มอื ผู้ตดั สนิ กฬี าเทนนสิ 35

ตวั อยา่ งใบบนั ทึกคะแนน 36 คู่มือผตู้ ัดสนิ กีฬาเทนนสิ

ค่มู อื ผ้ตู ดั สินกฬี าเทนนสิ 37

บทที่ 4 จิ ตวิทยาสำ�หรับผู้ตัดสินกีฬา ผู้ตัดสิน คือ ผทู้ �ำหน้าทตี่ ัดสินและควบคุมการแข่งขันกีฬาใหเ้ ป็นไปอย่างถกู ต้อง ยุติธรรม และมีประสิทธิภาพสูง ในสถานการณ์ของการตัดสิน ผู้ตัดสินจะเผชิญกับสิ่งแวดล้อมที่ท�ำให้ เกิดความเครียดและความกดดันหลากหลายจากการแข่งขัน ผู้ตัดสินจะต้องสามารถควบคุม เกมการแข่งขนั ใหด้ �ำเนนิ ไปได้ดว้ ยความเรยี บร้อย จงึ ต้องฝกึ ควบคุมอารมณใ์ ห้ม่ันคง และสามารถ ตัดสินใจแก้ปัญหาได้ในทุกสถานการณ์การแข่งขัน ผู้ตัดสินกีฬาจึงต้องมีความรู้เก่ียวกับจิตวิทยา การกีฬา เพอื่ สามารถน�ำมาใชใ้ หเ้ ปน็ ประโยชน์ในการปฏบิ ัติหนา้ ทไี่ ด้อยา่ งมีประสิทธภิ าพ ตามหลักจิตวิทยาหรือตามหลักการโดยท่ัวไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นผู้เข้าแข่งขันท้ังสองฝ่าย หรือผู้ดูท่ัวสนามก็ตาม ต่างก็คอยจับตามองตลอดเวลาว่าใครจะมาเป็นผู้ตัดสินในคู่ที่แต่ละคน ให้ความสนใจหรือมีส่วนเก่ียวข้องอยู่ด้วยความกระวนกระวายใจ ท้ังน้ีรวมถึงตัวผู้ฝึกสอนของ ทั้งสองฝ่ายด้วย ฉะนั้น ผู้ตัดสินไม่ควรแสดงออกในอาการท่ีท�ำให้คนอื่นมองเห็นแล้วหมดศรัทธา ผู้ตัดสินจะต้องประพฤติปฏิบัติกิริยาที่ส�ำรวม เรียบร้อย การวางตนที่เหมาะสม เม่ือมีผู้พบเห็น จะบังเกิดความศรัทธาประทบั ใจ ความวิตกกังวลและการควบคุม โดยท่ัวไป ความวิตกกังวล (Anxiety) หมายถึง ความรู้สึกกลัวท่ีเกิดข้ึนจากการ คาดเหตกุ ารณ์ล่วงหนา้ ว่าจะผดิ หวงั ลม้ เหลว หรือเปน็ อันตราย ทุกคนคงจะมีประสบการณ์เกี่ยวกับความวิตกกังวลในการสอบไล่ การสอบสัมภาษณ์ เข้าท�ำงาน การพบปะบุคคลส�ำคัญ การกล่าวสุนทรพจน์ หรือการเล่นกีฬาในการแข่งขันที่ส�ำคัญ บางคนมีความวิตกกังวลสูงมาก จะมีอาการนอนไม่หลับ ต้องรับประทานยานอนหลับเพ่ือให้ รา่ งกายพกั ผอ่ น บางคนทนต่อความรสู้ ึกวติ กกังวลไม่ได้ ความวิตกกังวลสงู จะมีผลระยะสน้ั ท�ำให้ การแสดงความสามารถของผู้ตัดสินต่�ำกว่ามาตรฐาน และมีผลก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย และจติ ใจในระยะยาว 38 คมู่ อื ผู้ตดั สนิ กฬี าเทนนสิ

อ าการตอบสนองทางรา่ งกายและจิตใจตอ่ ความวติ กกังวล แม้ว่าจะเกิดความวิตกกังวลขึ้นในสถานการณ์ท่ีแตกต่างกัน คนเราจะมีอาการ คล้ายคลงึ กนั ท่ีแสดงวา่ เกดิ ความวิตกกังวลขึน้ อาการทางรา่ งกาย ไดแ้ ก่ ◎ กล้ามเนื้อตึงเครยี ด ◎ เหนอ่ื ย ◎ กระสบั กระส่าย ◎ ปากแหง้ ◎ หนาว ◎ มอื และเทา้ เยน็ ◎ ต้องการปสั สาวะ ◎ ตาพร่า ◎ กลา้ มเนอื้ สั่นและกระตกุ ◎ หน้าแดง ◎ เสยี งสัน่ ◎ ท้องกระอกั กระอว่ นและอาเจยี น ◎ หายใจลกึ และถี่ ◎ อัตราการเต้นของหวั ใจเพิ่มขึ้น อาการทางจิต ไดแ้ ก่ ◎ รสู้ กึ สับสน ◎ ลืมรายละเอยี ด ◎ ขาดสมาธิ ◎ ใชน้ สิ ัยเดมิ ◎ ลงั เลใจ ช นิดของความวติ กกังวล โดยปกติ คนเราจะมีความวิตกกังวลอยู่ 2 ชนิดด้วยกนั คอื 1. ความวติ กกงั วลซึง่ เปน็ ลกั ษณะประจ�ำตัวของบคุ คล (Trait Anxiety) ความวิตกกังวลชนิดน้ีมีลักษณะค่อนข้างถาวร ไม่ว่าจะท�ำกิจกรรมใดๆ ก็จะเกิด ความวติ กกงั วลอยเู่ สมอ ผทู้ มี่ คี วามวติ กกงั วลชนดิ นมี้ กั จะเปน็ บคุ คลทม่ี คี วามหวงั สงู และรสู้ กึ กลวั ท่ีจะผดิ หวงั ค่มู ือผตู้ ัดสินกฬี าเทนนิส 39

2. ความวิตกกงั วลตามสถานการณ์ (State Anxiety) เป็นความวิตกกังวลท่ีเกิดข้ึนตามสถานการณ์ ถ้าสถานการณ์มีความส�ำคัญมาก เช่น การตัดสินการแข่งขันระดับนานาชาติ ก็จะมีความวิตกกังวลสูง แต่ถ้าสถานการณ์ไม่ส�ำคัญ ก็จะเกิดความวิตกกังวลต่�ำ การควบคุมความวิตกกงั วล เพอ่ื ใหม้ คี วามวติ กกงั วลทเ่ี หมาะสม ผตู้ ดั สนิ ควรจะรวู้ ธิ คี วบคมุ ความวติ กกงั วลซงึ่ มวี ธิ กี าร ดงั ตอ่ ไปน้ี 1. วิธกี ารแบบง่าย (Simple Method) ก. วิธกี ารทางร่างกาย 1) การออกก�ำลงั กายเคลือ่ นไหวเปน็ จงั หวะ 2) การออกก�ำลงั กายเพม่ิ ชว่ ง 3) การหายใจลกึ ๆ ข. วธิ กี ารทางจติ ใจ 1) การยอมรบั 2) การเบีย่ งเบนความคดิ 3) การคดิ ในทางทีด่ ี 4) การหัวเราะ 2. วิธกี ารผ่อนคลายกล้ามเนื้อ (Muscle Relaxation Method) เป็นการผ่อนคลายกล้ามเน้ือต่อเนื่องกันจากกลุ่มหนึ่งไปยังอีกกลุ่มอื่นๆ โดยการฝึก การรับรู้ความแตกต่างระหว่างความเครียดและความผ่อนคลายของกล้ามเนื้อเหล่านั้น โดยการ ผ่อนคลายกล้ามเนื้อแต่ละส่วนจะมีผลท�ำให้จติ ใจรสู้ กึ ผ่อนคลายดว้ ย ประโยชนข์ องการผ่อนคลายกล้ามเน้ือ 1. ช่วยลดความวติ กกังวล 2. ช่วยใหก้ ารฟน้ื ตัวได้เร็ว 3. ชว่ ยประหยัดพลังงาน 4. ชว่ ยท�ำใหน้ อนหลับ 5. ชว่ ยขจัดความเครียดจากกล้ามเนื้อ 40 คู่มอื ผตู้ ัดสนิ กฬี าเทนนสิ

ข้นั ตอนการฝกึ ผ่อนคลายกลา้ มเน้อื 1. กระท�ำต่อเนอ่ื งจากกลา้ มเนอื้ กลุม่ หน่งึ ไปยงั กลุ่มอน่ื ๆ 2. ท�ำให้กลา้ มเนื้อเครยี ด และรับรคู้ วามเครยี ด 3. ผอ่ นคลายความเครยี ดทเ่ี กิดข้นึ และรับรู้ความผอ่ นคลาย 4. รบั รคู้ วามแตกตา่ งระหว่างความเครียดและความผ่อนคลาย 5. เมอ่ื ฝกึ จนสามารถรบั รคู้ วามเครยี ดระดบั ตา่ งๆ ไดแ้ ลว้ ใหเ้ ขา้ สสู่ ภาวะการผอ่ นคลาย ได้เลย ขน้ั ตอนการฝกึ การผอ่ นคลายกล้ามเนอื้ 1. ขยายเครื่องแต่งกายท่ีรดั แน่น 2. ถอดรองเทา้ 3. ถอดคอนแทคเลนส์ 4. น่ังอยใู่ นท่าสบาย 3. วิธกี ารฝกึ สมาธิ (Meditation Method) ในสถานการณ์ท่ฝี กึ สมาธิ จะสามารถลดความวิตกกงั วลใหอ้ ยใู่ นระดับเหมาะสมซึง่ จะ เป็นผลให้แสดงความสามารถได้สูงสุด นอกจากน้ียังช่วยให้มีสมาธิในการเล่น ช่วยให้ฟื้นตัวได้เร็ว และชว่ ยใหน้ อนหลบั พกั ผ่อนอยา่ งเต็มที่ ในท่ีนี้จะบอกกล่าวถึงการฝึกสมาธิตามแนวต่างๆ เพียง 2 แบบฝึก และแบบฝึก ที่น�ำมาใช้นี้ก็เป็นการย่อมาจากการปฏิบัติที่สมบูรณ์ รายละเอียดนอกจากน้ีจะหาได้จากเอกสาร อนื่ ๆ ท่ีเกี่ยวขอ้ ง แบบฝกึ ที่ 1 การก�ำหนดลมหายใจ แบบฝกึ นเี้ ป็นการฝกึ สมาธติ ามแนวอานาปานสติ ซึง่ มวี ธิ กี ารฝกึ ดงั นี้ 1. นง่ั วางมอื ขวาทบั มอื ซา้ ยไวบ้ นหนา้ ตกั ใหป้ ลายนว้ิ หวั แมม่ อื ทง้ั สองชนกนั ตวั ตรงไมเ่ อยี ง ไปมา หลับตา 2. ก�ำหนดลมหายใจเขา้ ออก สูดลมหายใจเข้าลึกๆ และหายใจออกลกึ ๆ 3. ให้มีสติอยู่ทล่ี มหายใจ หายใจเข้าก็รู้ หายใจออกกร็ ู้ โดยใช้ความรู้สกึ ทป่ี ลายจมูกหรอื รมิ ฝปี าก 4. ท�ำเป็นเวลา 5 นาที คู่มือผู้ตัดสนิ กฬี าเทนนิส 41

แบบฝกึ ที่ 2 การกำ� หนดเคร่อื งหมาย แบบฝึกนเ้ี ปน็ สว่ นหนง่ึ ของการฝกึ สมาธติ ามแนวพระธรรมกาย ซงึ่ มีวธิ ีการฝึกต่อไปนี้ 1. นั่งมือขวาทับมือซ้ายไว้บนหน้าตัก ให้ปลายนิ้วหัวแม่มือท้ังสองชนกัน ตัวตรงไม่เอียง ไปมา หลับตา 2. ก�ำหนดเครอื่ งหมายเปน็ ลกู แกว้ ใสเทา่ ตาด�ำของคนข้ึนในใจ 3. สร้างภาพในใจของตนเอง ตั้งแต่สะดอื ขน้ึ มา 4. สร้างภาพในใจชอ่ งวา่ งกลางล�ำตวั ตั้งแตส่ ะดอื ข้ึนมา 5. ก�ำหนดให้ลกู แก้วอยใู่ นชอ่ งกลางล�ำตัว ณ ท่ีจดุ สูงกวา่ สะดือ 2 นิ้ว 6. เพง่ สติอย่ทู ล่ี กู แก้วตรงจุดนัน้ 7. ท�ำเปน็ เวลา 5 นาที ทกี่ ลา่ วมาทง้ั สองแบบฝกึ นี้ เปน็ เพยี งตวั อยา่ งและการดดั แปลงน�ำมาใชใ้ นสถานการณก์ ฬี า ทา่ นที่ต้องการฝกึ ปฏบิ ตั ทิ ีส่ มบูรณ์ โปรดศกึ ษาค้นควา้ เพิ่มเตมิ วิธีการควบคุมความวิตกกังวลท้ังสามวิธีที่กล่าวมาแล้วนี้ ต้องการการฝึกหัดเช่นเดียวกัน กับทักษะกีฬา การฝึกหัดท�ำอยู่เป็นประจ�ำ จะช่วยให้ท่านท�ำได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ตรงกนั ขา้ ม ถา้ ท่านหยุดละเว้นการฝึกหัดก็จะเกิดการลมื ได้เช่นเดียวกัน แรงจูงใจ (Motive) แรงจูงใจ (Motive) หมายถึง สง่ิ กระตนุ้ ใหบ้ ุคคลแสดงพฤติกรรมไปสู่เปา้ หมาย การจงู ใจ (Motivation) หมายถึง กระบวนการท่บี ุคคลถูกกระตนุ้ ให้แสดงพฤตกิ รรม ไปสู่เปา้ หมาย อทิ ธิพลของแรงจงู ใจ แรงจูงใจมอี ิทธิพลต่อพฤตกิ รรมของบุคคลดงั ต่อไปนี้ 1. การเลือกกิจกรรม เมื่อบุคคลมีแรงจูงใจต่อกิจกรรมหนึ่ง เขาจะเลือกกระท�ำ กจิ กรรมนนั้ จากหลายๆ กิจกรรมที่มีอยู่ 2. การยืนหยัดต่อกิจกรรม บุคคลจะมีความสนใจต่อกิจกรรมนั้นอย่างต่อเน่ือง เปน็ เวลานาน 3. การทุ่มเทความพยายาม แรงจูงใจที่สูงจะท�ำให้บุคคลทุ่มเทความพยายามเพ่ือ ทจี่ ะพฒั นาความรู้และทกั ษะในกิจกรรมน้นั 4. ระดับการแสดงความสามารถ แรงจงู ใจภายในบุคคลในขณะที่แสดงความสามารถ จะมอี ทิ ธิพลต่อคณุ ภาพของกจิ กรรมทเ่ี ขากระท�ำ 42 คู่มือผู้ตัดสนิ กีฬาเทนนสิ