Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore การเพาะขยายพันธ์ปลาเลียหิน

การเพาะขยายพันธ์ปลาเลียหิน

Description: การเพาะขยายพันธ์ปลาเลียหิน

Search

Read the Text Version

คำ� น�ำ หนังสือการเพาะขยายพันธุ์ปลาเลียหินเล่มนี้ เป็นหนังสือเล่ม แรกของผู้เขียนท่ีเขียนเกี่ยวกับการเพาะขยายพันธุ์ปลาท้องถิ่นในจังหวัด น่าน ซึ่งตลอดระยะเวลาการท�ำงานด้านการเพาะขยายพันธุ์ปลาเลียหิน ท้ังจากขบวนการวิจัย การบริการวิชาการ การเรียนการสอน การถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชนต่างๆ ภายในจังหวัดน่าน ตลอดจนการมีส่วน ในการอนุรักษ์พันธุ์ปลาเลียหินในหลายๆ พ้ืนที่ของจังหวัดน่าน ได้พบ ข้อมลู ใหม่ๆ ทค่ี วรเพม่ิ เติมเข้าไปเพอื่ ใหไ้ ด้เน้ือหาทสี่ มบรู ณ์มากขนึ้ จากระยะเวลาทั้งหมดท่ีได้ท�ำงานเกี่ยวกับปลาเลียหินไม่น้อยกว่า 10 ปี ท่ีผ่านมา จนมีความมั่นใจว่าสิ่งที่ได้จากการท�ำงานนั้นสามารถใช้ได้จริง กับท้องถ่ินและได้การยอมรับจากท้องถิ่นในวงกว้างมากขึ้น ซึ่งขอ เรียกสิ่งท่ีได้ว่าความรู้ท่ี “ตกผลึก” แล้ว จึงน�ำมาจัดท�ำเป็นหนังสือเพื่อ รวบรวมองค์ความรู้ต่างๆ ในการเพาะขยายพันธุ์ปลาเลียหินไว้อย่าง ครบถ้วนทุกกระบวนการ เพื่อน�ำไปสู่การเผยแพร่ความรู้และเป็นเอกสาร ท่ีบุคคลหรือหน่วยงานที่มีความสนใจเกี่ยวกับการเพาะพันธุ์ปลาเลียหิน นำ� ไปใชใ้ นการทำ� งานได้ ซงึ่ ผเู้ ขยี นหวงั เปน็ อยา่ งยงิ่ วา่ หนงั สอื เลม่ นจี้ ะเปน็ ประโยชน์ กับสังคมในวงกว้างและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

สารบญั

06 บทน�ำ 09 เร่ืองทัว่ ไปของปลาเลียหนิ 10 การเพาะพนั ธป์ุ ลาเลยี หนิ 26 การอนุบาลลกู ปลาเลียหิน 33 โอกาสการสร้างเป็นปลาเศรษฐกจิ 34 บทสรุป 36 ภาพกิจกรรมการด�ำเนนิ งาน

บทนำ� ปลาเลียหินเป็นปลาพ้ืนเมืองอีกชนิดหน่ึงที่คนในจังหวัด น่านนิยมนำ� มาเป็นเมนูอาหารจานเด็ด เพราะเปน็ ปลาขนาด 6 การเพาะขยายพันธ์ุ ปลาเลียหนิ เลก็ ทสี่ ามารถนำ� มาประกอบอาหารไดท้ ง้ั ตวั มรี สชาตมิ นั และ อรอ่ ยมาก ดว้ ยรสชาตทิ มี่ นั และอรอ่ ยนเี่ องทำ� ใหค้ นในทอ้ งถน่ิ เรยี กปลาชนดิ นว้ี า่ “ปลามนั ” โดยเฉพาะเมอ่ื นำ� มายา่ งไฟแลว้ ปลาย่ิงมีความมันและรสชาติอร่อยมากขึ้น ดังน้ันจากความ นยิ มนำ� มาบรโิ ภคนเี่ องทที่ ำ� ใหร้ าคาขายเปน็ ปลาสดในปจั จบุ นั ราคาสงู ถงึ กโิ ลกรมั ละ 200-300 บาท โดยเฉพาะอยา่ งย่ิงปลา ตวั เมยี ในฤดผู สมพนั ธว์ุ างไขอ่ าจจะมรี าคาสงู ถงึ 400-500 บาท เลยทีเดียว จึงเป็นสาเหตุให้มีการจับปลาชนิดน้ีกันมากขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่าสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติที่ ปลาเลยี หนิ อาศัยอยู่ในปจั จุบันมสี ภาพแย่ลง เชน่ การบุกรกุ ป่าต้นน�้ำ การขุดลอกแม่น�้ำ การใช้ยาและสารเคมีในการ ท�ำการเกษตร เป็นต้น (ภาพท่ี 1) และยังพบว่าแหล่งเพาะ ขยายพันธุ์ตามธรรมชาติของปลาเลียหินถูกรบกวนมากขึ้น จงึ เปน็ เหตทุ ำ� ใหป้ ลาเลยี หนิ ตามธรรมชาตมิ จี ำ� นวนลดนอ้ ยลง เรอื่ ยๆ ทำ� ให้คนในชมุ ชนต่างๆ จับปลาชนดิ นไี้ ดน้ อ้ ยลงตาม ไปด้วย ซ่ึงส่งผลกระทบต่อปลาเลียหินในแหล่งน้�ำธรรมชาติ และแหลง่ อาหารตามธรรมชาตขิ องคนในชมุ ชน จากผลกระทบดังกล่าวท�ำให้คนในชุมชนที่สามารถจับ ปลาเลียหินในธรรมชาติได้เริ่มตระหนักถึงการคงอยู่ของปลา ชนิดน้ี คนในชุมชนต่างๆ หันมาให้ความส�ำคัญในการร่วม กนั ดแู ลสภาพแวดล้อมทมี่ ผี ลตอ่ ปลา รักษาและอนุรักษพ์ ันธ์ุ ปลาเลียหินในแหล่งน�้ำธรรมชาติกันมากข้ึน ซึ่งจะเป็นผลดี ต่อชุมชนทั้งทางด้านแหล่งอาหาร และสภาพแวดล้อมของ ชมุ ชนเอง

ภาพที่ 1 สภาพปา่ ต้นน้ำ� ถกู บุกรกุ เพื่อใชท้ ำ� เป็นพืน้ ทกี่ ารเกษตร อย่างไรก็ดีได้มีหน่วยงานราชการหลายๆ หน่วยได้เล็งเห็นถึงปัญหา ดงั กลา่ ว จงึ ไดท้ ำ� การศกึ ษาวจิ ยั การเพาะขยายพนั ธป์ุ ลาเลยี หนิ หนง่ึ ในนนั้ คอื มหาวิทยาลยั เทคโนโลยีราชมงคลล้านนา นา่ น ไดท้ ำ� การศึกษาวิจยั การเพาะ ขยายพนั ธป์ุ ลาเลยี หนิ เพอื่ การอนรุ กั ษแ์ ละเพม่ิ จำ� นวนปลาในแหลง่ นำ้� ธรรมชาติ และได้ท�ำการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะขยายพันธุ์ปลาเลียหินให้กับคน ในชมุ ชนตา่ งๆ ในจงั หวดั นา่ นมานานนบั 10 ปี เพอ่ื การมสี ว่ นรว่ มในการพฒั นา ทอ้ งถนิ่ และเปน็ แนวทางหรอื ตวั อยา่ งในการดำ� เนนิ กจิ กรรมตา่ งๆ ทเี่ กย่ี วขอ้ ง กบั การรกั ษาพนั ธป์ุ ลาเลยี หนิ ในทอ้ งถน่ิ ของแตล่ ะชมุ ชน และสดุ ทา้ ยคอื การมอี ยู่ ของปลาเลียหินและความม่ันคงทางด้านอาหารของชมุ ชนตลอดไป 7การเพาะขยายพันธ์ุ ปลาเลียหนิ

ภาพท่ี 2 ลกั ษณะภายนอกของปลาเลยี หิน ภาพที่ 3 ลักษณะทางกายภาพของแหล่งน�ำ้ ทป่ี ลาเลยี หนิ อาศยั 8 การเพาะขยายพนั ธุ์ ปลาเลยี หิน

ขเรออื่ งงปทลว่ั าไปเลยี หิน ชือ่ ท้องถิน่ : ปลามัน ชอ่ื องั กฤษ : Stone-lapping fish หรือ Stonelapping minnow ชอื่ วทิ ยาศาสตร์ :Ceratogarracambodgiensis(Tirant,1884) ลกั ษณะสำ� คญั : มหี นวด1 คบู่ รเิ วณรอ่ งดา้ นขา้ งปาก รมิ ฝปี าก ด้านล่างแผ่ออกเป็นแผ่นค่อนข้างกลมเพ่ือยึดติดกับวัสดุใต้น�้ำ มีเกลด็ บนเส้นข้างล�ำตัวจ�ำนวน 32-35 เกล็ด มีแถบด�ำยาวตามแนว ด้านหลังและแถบด�ำตามยาวด้านข้างล�ำตัวจนถึงฐานครีบหางซ่ึงมี ความกวา้ งเทา่ กบั จำ� นวน แถวของเกลด็ 2 แถว ครบี หลงั มแี ถบดำ� 2 แถบ และขอบครบี หางมีสีดำ� ปนแดง (ภาพที่ 2) ขนาด : มขี นาดความยาวไดถ้ ึง 15 เซนติเมตร การกระจายพันธุ์ : มีการกระจายพันธุ์ในลุ่มแม่น้�ำโขงใน มณฑลยูนนานในจีน ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ลุ่มแม่น�้ำ เจ้าพระยา และล่มุ แมน่ ำ้� ตา่ งๆในคาบสมทุ รมลายู ส�ำหรบั ในจังหวดั น่านน้ันพบว่าปลาเลียหินมีการกระจายพันธุ์ในทุกล�ำน้�ำของจังหวัด ทงั้ ทีเ่ ปน็ ล�ำห้วย แมน่ ำ้� น่านและแม่น�้ำสาขาทกุ สาขา แหล่งอาศัย : อาศัยอยู่ตามล�ำธารบนภูเขาสูง พ้ืนท้องน้�ำจะ เปน็ กอ้ นหนิ เลก็ ไปจนถงึ โขดหนิ ขนาดใหญ่ กระแสนำ�้ จะคอ่ นขา้ งไหล เชย่ี ว (1-2 เมตร/วินาท)ี ความลกึ น้ำ� ไมเ่ กนิ 1 เมตร อุณหภูมขิ องนำ�้ เฉลย่ี 23 องศาเซลเซยี ส และมกี ารเปลยี่ นแปลงอณุ หภมู ใิ นรอบวนั นอ้ ย (ภาพท่ี3) โดยทว่ั ไปแลว้ ปลาเลยี หนิ จะอาศยั เกาะตามหนิ ตา่ งๆ ตามพนื้ ท้องน้�ำเพื่อดูดกินตะไคร่น้�ำที่เกาะติดตามก้อนหิน ตลอดจนแพลงก์ ตอนพืช ตัวอ่อนของแมลง และสัตว์หนา้ ดนิ เปน็ อาหาร สถานการณ์ถูกคุกคาม : โอกาสถูกคุกคามมีน้อย (Least Concern, LC) 9การเพาะขยายพนั ธ์ุ ปลาเลยี หิน

การ เพาะพันธุ์ ปลาเลียหนิ การเพาะพนั ธป์ุ ลาเลยี หนิ นน้ั นยิ มใชว้ ธิ กี ารเลยี นแบบธรรมชาติ กลา่ วคอื ทำ� การฉดี ฮอรโ์ มนสงั เคราะห์ กระต้นุ ทัง้ พอ่ -แม่พนั ธ์ปุ ลาแลว้ ปลอ่ ยไลใ่ นบ่อเพาะพนั ธ์ุ โดยขั้นตอนการเพาะขยายพนั ธมุ์ ดี งั นี้ 1. การรวบรวมพ่อ-แมพ่ ันธ์ุ การรวบรวมพ่อ-แม่พันธ์ุน้นั สามารถรวบรวมได้จาก 2 แหล่ง คือรวบรวมจากแหล่งนำ้� ธรรมชาตแิ ละ รวบรวมจากการเลย้ี ง ซงึ่ พอ่ -แมพ่ นั ธป์ุ ลาเลยี หนิ มคี วามสมบรู ณเ์ พศและพรอ้ มเพาะขยายพนั ธอ์ุ ยรู่ ะหวา่ ง เดอื นพฤษภาคมถงึ เดอื นกรกฎาคมของทกุ ปี ดงั นนั้ การรวบรวมพอ่ -แมพ่ นั ธป์ุ ลาเลยี หนิ จงึ ทำ� การรวบรวมใน ชว่ งเวลาดงั กลา่ ว หากรวบรวมปลาจากแหลง่ นำ้� ธรรมชาตจิ ะใชต้ าขา่ ยจบั ปลาเลยี หนิ โดยเฉพาะเพราะปลา จะไม่ช�้ำ แตห่ ากรวบรวมจากบ่อเลย้ี งจะใหส้ วงิ เนอื้ ละเอียดในการจบั และรวบรวมพอ่ -แมพ่ ันธป์ุ ลาเลียหิน 10 การเพาะขยายพันธุ์ ปลาเลียหนิ

2. การคัดเลือกพ่อ-แมพ่ นั ธุ์ ปลาเลยี หนิ ทพี่ รอ้ มนำ� มาเพาะพนั ธน์ุ นั้ เราสามารถมองเหน็ และสมั ผสั ไดโ้ ดยตรง ซงึ่ จะมลี กั ษณะทเี่ หมาะสมดงั นี้ 2.1. ปลาเพศผู้ จะมลี กั ษณะลำ� ตวั เรยี วยาว ขนาดตวั เลก็ กวา่ ปลาเพศเมยี ในปลาทมี่ อี ายเุ ทา่ กนั ลกั ษณะชอ่ งเพศ เป็นวงรขี นาดเล็ก ถ้าเอานว้ิ แตะบริเวณช่องเพศเบาๆ จะมนี ้�ำเชอื้ สขี าวขุน่ ไหลออกมา (ภาพท่ี 4) ภาพที่ 4 ลักษณะ ภายนอกและน้ำ� เชอื้ ปลา เพศผู้ 2.2 ปลาเพศเมยี จะมลี ักษณะลำ� ตวั อว้ นป้อม ท้องอูมเปลง่ หนงั ทอ้ งบาง ล�ำตัวมีขนาดใหญก่ ว่าปลาเพศผู้ ในอายุเท่ากนั ลกั ษณะชอ่ งเพศเป็นวงกลมสีชมพอู ่อนๆ (ภาพที่ 5) ภาพที่ 5 ลกั ษณะ ภายนอกและรงั ไขป่ ลา เพศเมยี 11การเพาะขยายพนั ธ์ุ ปลาเลียหิน

ส�ำหรับจ�ำนวนพ่อ-แม่พันธุ์ที่จะคัดเลือกน�ำมาเพาะพันธุ์ในแต่ละคร้ังนั้นขึ้นอยู่กับอัตราส่วนการผสม พนั ธุ์ระหวา่ งเพศผู้ : เพศเมยี ทเ่ี ราก�ำหนด ถ้าหากจะใหไ้ ดผ้ ลดคี วรใชอ้ ัตราส่วนระหว่างเพศผู้ : เพศเมีย เทา่ กบั 2:1 ตัวหรือ 3:2 ตวั แต่ถ้าหากมีจำ� นวนปลาเพศผนู้ ้อยกส็ ามารถใชอ้ ัตรา 1:1 กไ็ ดเ้ ชน่ กนั แต่อตั รา การผสมติดของไข่จะต�่ำกวา่ การใชอ้ ตั ราสว่ น 2:1 และ 3:2 นอกจากนแี้ ล้วยังขน้ึ อยกู่ บั ความสามารถใน การรวบรวมพ่อ-แม่พันธแุ์ ละจำ� นวนบ่อทเี่ ราเตรียมดว้ ย 3. การชั่งน�ำ้ หนกั และการพักพ่อ-แม่พนั ธุ์ 3.1 การชงั่ น�้ำหนักพอ่ -แมพ่ นั ธป์ุ ลา จะชงั่ แบบแยกเพศ โดยเพศเดยี วกนั จะชง่ั รวมกันครัง้ เดียวเพราะ ปลาเลยี หนิ มขี นาดเลก็ จงึ ไมค่ วรทำ� การชง่ั ครงั้ ละตวั เมอื่ ทำ� การชง่ั ปลาแตล่ ะเพศเสรจ็ แลว้ กจ็ ะนำ� ไปพกั ใน ภาชนะทีเ่ ตรียมไว้ กอ่ นทีจ่ ะนำ� ปลาไปพักจะต้องนับและจดบนั ทกึ จ�ำนวนและน้�ำหนักของพอ่ -แมพ่ ันธุ์ไว้ เพราะเป็นข้อมูลทส่ี ำ� คญั ในขน้ั ตอนการค�ำนวณฮอรโ์ มนส�ำหรับฉดี กระตนุ้ ปลา 3.2 การพกั พ่อ-แม่พันธ์ปุ ลาเลยี หนิ จะพกั แยกเพศผู้-เพศเมยี ในกะละมังพลาสติกขนาดใหญ่ โดยมี ระดับน�้ำไม่น้อยกว่าเศษหนึ่งส่วนสี่ของความสูงของกะละมังพร้อมเติมออกซิเจนตลอดเวลา และจ�ำนวน พอ่ -แมพ่ นั ธ์ุในแตล่ ะกะละมังไม่ควรเกนิ 50 ตวั ทั้งน้ีการเติมออกซิเจนตลอดเวลาและพักปลาในแตล่ ะ กะละมังที่ไม่แน่นเกินไปจะท�ำให้พ่อ-แม่พันธุ์ปลามีความสดช่ืนและไม่เครียด ซึ่งจะส่งผลดีต่อการผสม ติดของไข่ปลา 4. การเตรียมบอ่ เพาะพันธ์ุ ในการเตรียมบ่อเพาะพันธุ์นั้นไม่มีกติกาตายตัว กล่าวคือขึ้นอยู่กับวัสดุอุปกรณ์ที่มี หากไม่มีบ่อ เพาะพนั ธ์ุแบบมาตรฐาน เชน่ บ่อไฟเบอร์กลาส บอ่ ซเี มนต์ ก็สามารถดัดแปลงภาชนะบางอย่างมาทำ� เปน็ บ่อเพาะพันธก์ุ ็ได้ เชน่ กะละมัง กระบะผสมปูน เปน็ ตน้ แตท่ ้ังน้ีทั้งนน้ั ผิวภายในของภาชนะท่นี ำ� มาทำ� เป็นบ่อต้องเรียบและมีระบบการหมุนเวียนและถ่ายเทน้�ำท่ีเหมาะสมกับชนิดของไข่ปลาเลียหินซึ่งเป็นไข่ แบบครงึ่ จมครงึ่ ลอย ซงึ่ ระบบนำ�้ ภายในบอ่ เพาะควรเปน็ แบบลน้ ทอ่ เพอ่ื สะดวกตอ่ การควบคมุ ระดบั นำ้� และ การถ่ายเทน�ำ้ ซ่ึงท่อระบายน�้ำควรจะอยตู่ รงก่งึ กลางบ่อ (central drain) (ภาพที่ 6) นอกจากนย้ี ังตอ้ งมี ปัจจัยสนบั สนุนทสี่ �ำคัญในการเพาะขยายพนั ธุ์ คอื นำ้� และกระแสไฟฟ้า ดังนน้ั จึงขอเสนอไวเ้ ป็นแนวทาง ในการปฏิบตั ใิ นการเตรยี มบอ่ ดังนี้ ภาพที่ 6 ลกั ษณะบอ่ แบบต่างๆ สำ� หรับการเพาะพันธปุ์ ลาเลยี หิน 12 การเพาะขยายพนั ธุ์ ปลาเลียหิน

4.1 ทำ� ความสะอาดบ่อ โดยทำ� การขัดล้างบ่อด้วยน้�ำยาลา้ งจานแล้วลา้ งให้สะอาด จาก น้ันแช่ด้วยน้�ำด่างทับทิมเข้มข้น 25 มิลลิกรัม/ลิตร นานประมาณ 30 นาทีจึงล้างบ่อด้วย น�้ำสะอาดอีกคร้งั แลว้ ตากบ่อให้แห้ง 4.2 ทำ� การสวมทอ่ นำ้� PVC ทมี่ ขี นาดเทา่ กบั รรู ะบายนำ้� ลงตรงกลางบอ่ เพอื่ ใชเ้ ปน็ ทอ่ นำ�้ ลน้ ส�ำหรับระบายน�้ำ โดยใหป้ ลายท่อน�ำ้ ล้นอยู่ต�่ำกวา่ ขอบบ่อประมาณ 15 เซนติเมตร 4.3 ท�ำการสวมตะกร้าทรงสูงประมาณ 30 เซนติเมตร ท่ีเจาะตรงกลางของก้นตะกร้า เท่ากับขนาดของท่อน้�ำ PVC และสวมด้วยถุงกรองผ้าโอล่อนแก้วบนด้านปลายของท่อน�้ำ (ภาพที่ 7) แล้วยึดเข้ากับไม้ท่ีพาดบนขอบบ่อ ซึ่งตะกร้าท่ีสวมด้วยถุงกรองน้ีมีหน้าท่ีในการ ปอ้ งกนั ไมใ่ หไ้ ข่ปลาไหลออก ภาพท่ี 7 ลกั ษณะและการประกอบตะกรา้ เขา้ กบั ถุงโอลอ่ นแกว้ 4.4 ท�ำการตอ่ ระบบอากาศและระบบนำ้� ในบ่อ โดยระบบอากาศจะทำ� การตอ่ ทอ่ PVC ขนาด ½ นิ้ว เข้าเครื่องให้อากาศแล้วพาดวางท่อบนขอบบ่อด้านใดด้านหน่ึงให้ครอบคลุม บอ่ เพาะทกุ บอ่ จากนนั้ ตอ่ วาลว์ ปรบั ลมเขา้ กบั ทอ่ โดยแตล่ ะบอ่ จะตอ่ วาลว์ ปรบั ลมจำ� นวน 6-10 วาล์วจนครบทุกบ่อ จากน้ันต่อสายลมด้านหน่ึงเข้ากับวาล์วและอีกด้านต่อเข้ากับหัวทราย ทรงกลม จากนนั้ วางหวั ทรายบรเิ วณโคนท่อนำ�้ ล้นท่ีพนื้ ก้นบอ่ จำ� นวน 2-4 หัวและวางหวั ทราย วางรอบบอ่ อกี ประมาณ 4-6 หัว ซง่ึ การวางหัวทรายในลกั ษณะดงั กลา่ วนอกจากจะเป็นการ เพ่ิมปริมาณออกซิเจนในน้�ำแล้วยังท�ำให้ไข่ปลาไม่กองอยู่ที่พื้นบ่ออีกด้วย ส่วนระบบน�้ำน้ัน จะตอ่ ท่อน้�ำ PVC ขนาด ½ นิว้ วางขนานกับท่อลมแล้วต่อนำ�้ ลงบ่อเพาะแต่ละบอ่ จำ� นวน 1 จดุ โดยแตล่ ะจุดจะตดิ ตั้งบอลวาล์วควบคมุ ความแรงของน�้ำ (ภาพท่ี 8) แตอ่ ยา่ งไรก็ตามเทคนิค การตอ่ ระบบอากาศและนำ้� ในบอ่ เพาะคงขน้ึ อยกู่ บั เทคนคิ ของผทู้ ำ� การเพาะฟกั เอง เพราะไมม่ ี กฎตายตัวในเรอื่ งการจัดวางระบบนี้ 13การเพาะขยายพันธ์ุ ปลาเลียหนิ

4.5 ทำ� การเตมิ นำ�้ ลงบอ่ เพาะ ซงึ่ นำ้� ทใ่ี ชใ้ นการเพาะฟกั จะตอ้ งสะอาดปราศจากคลอรนี และ สารเคมอี นื่ ๆ เพราะเนอื่ งจากไขป่ ลาเลยี หนิ จะไวตอ่ สารเคมสี งู มาก หากเปน็ นำ้� ทมี่ าจากระบบ ประปาภูเขาจะถือว่าเป็นน้�ำที่มีคุณสมบัติที่ดีและเหมาะสมส�ำหรับการเพาะฟักไข่ปลาเลียหิน การเตมิ นำ�้ ลงบอ่ ตอ้ งมรี ะดบั นำ�้ สงู ประมาณ30-40 เซนตเิ มตร ซง่ึ ระดบั นำ�้ จะสงู มากนอ้ ยเทา่ ใด ขน้ึ อยกู่ บั ปลายทอ่ นำ้� ลน้ ตรงกลางบอ่ จากนนั้ จงึ ทำ� การเปดิ ระบบลมเพอื่ ทำ� ใหน้ ำ้� ทจ่ี ะใชเ้ พาะฟกั มคี วามสดมากขึ้น (ภาพที่ 8) ภาพที่ 8 บ่อที่พร้อมส�ำหรับเพาะฟกั ปลาเลียหนิ 5. การเตรียมฮอร์โมนส�ำหรับเพาะพันธุ์ ในการเพาะพันธุ์ปลาเลียหินน้ัน เราสามารถใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์ Buserelin acetate ซ่ึงมีชื่อทางการค้าว่า ซูพรีแฟค (Suprefact) ฉีดกระตุ้นการวางไข่ผสมพันธุ์ได้ผลดีและมี ประสิทธภิ าพสูงมาก โดยมีขนั้ ตอนการเตรยี มฮอรโ์ มนสำ� หรบั ฉีดกระตนุ้ ปลาเลยี หินดงั นี้ ภาพที่ 9 การเตรียมฮอร์โมนสำ� หรบั ฉีดกระตนุ้ พ่อ-แม่พันธป์ุ ลา 14 การเพาะขยายพนั ธุ์ ปลาเลยี หนิ

5.1 ท�ำการเตรียมฮอร์โมนทจ่ี ะใช้สำ� หรับฉดี ปลา เนอ่ื งจากฮอรโ์ มนสงั เคราะหท์ ซ่ี อ้ื มา นน้ั ไมส่ ามารถนำ� มาฉดี กระตนุ้ ปลาใหผ้ สมพนั ธก์ุ นั ไดท้ นั ที เพราะเนอื่ งจากมคี วามเขม้ ขน้ ของ ฮอรโ์ มนสงู ถงึ 10,000 ไมโครกรมั (มคก.) ในสารละลายฮอรโ์ มน 10 มลิ ลลิ ติ ร (มล.) ซ่งึ เรา เรียกเป็นภาษาง่ายๆ ว่า “ขวดบริสุทธ์ิ” แต่ระดับความเข้มข้นฮอร์โมนท่ีสามารถน�ำมาฉีด กระตนุ้ ปลาไดน้ น้ั จะใชค้ วามเขม้ ขน้ ของฮอรโ์ มนเพยี ง1,000 ไมโครกรมั เทา่ นนั้ ดงั นน้ั จงึ จำ� เปน็ จะต้องทำ� การเจอื จางฮอรโ์ มนให้ไดใ้ นระดับความเขม้ ขน้ ทต่ี อ้ งการกอ่ น โดยการใชก้ ระบอก ฉีดยาขนาด 1 มิลลิลิตรดดู ฮอร์โมนสังเคราะหจ์ ากขวดบริสุทธิม์ า 1 มลิ ลิลติ ร ใสล่ งในขวด ทีเ่ ตรยี มไว้แลว้ เติมน้�ำกลั่นลงไป 9 มิลลิลติ รเขยา่ ใหเ้ ข้ากนั กจ็ ะได้ฮอร์โมนทมี่ คี วามเขม้ ขน้ เทา่ กบั 1,000 ไมโครกรมั ในปรมิ าตรรวมเทา่ กบั 10 มลิ ลลิ ติ ร เราเรยี กฮอรโ์ มนทเ่ี จอื จางแลว้ วา่ “ขวดเจอื จาง” ซงึ่ ถอื วา่ เปน็ ฮอรโ์ มนทพ่ี รอ้ มใชใ้ นการผสมพนั ธป์ุ ลาเลยี หนิ แลว้ และทงั้ ฮอรโ์ มน ขวดบริสุทธิ์และขวดเจอื จางจะต้องเก็บรกั ษาไวใ้ นตู้เย็นท่ีอณุ หภมู ิ 5 องศาเซลเซยี ส (ภาพที่ 9) 5.2 การคำ� นวณปรมิ าตรฮอร์โมนที่จะใชฉ้ ดี มีข้นั ตอนดังนี้ 5.2.1 ทำ� การก�ำหนดความเข้มข้นฮอร์โมนท่ีจะใชฉ้ ีดให้กับพ่อ-แมพ่ ันธ์ปุ ลาก่อน ในการเพาะพนั ธป์ุ ลาเลยี หนิ นน้ั สามารถกำ� หนดความเขม้ ขน้ ฮอรโ์ มนไดต้ งั้ แต่10-30 ไมโครกรมั / ปลา 1 กิโลกรัม ท้ังน้ีขึ้นอยู่กับความพร้อมของพ่อ-แม่พันธุ์ปลา และประสบการณ์ของ ผู้เพาะพันธุ์ แต่ระดับความเข้มข้นฮอร์โมนท่ีใช้ได้ผลดี แนะน�ำให้ใช้ความเข้มข้นท่ี 15 ไมโครกรัม/ปลา 1 กิโลกรัม และก�ำหนดความเขม้ ขน้ ของฮอรโ์ มนทใี่ ช้ฉีดเทา่ กนั ทง้ั ปลา เพศผูแ้ ละเพศเมยี 5.2.2 คำ� นวณปรมิ าตรฮอร์โมนที่จะใชฉ้ ีด จากสูตรดังน้ี 10 X ความเขม้ ขน้ ฮอร์โมนท่ีกำ�หนด X นำ้ �หนักรวมของปลา =……. มล. 1,000 เมื่อคำ� นวณเสรจ็ แล้ว กจ็ ะได้ปริมาณของฮอร์โมนที่จะใชฉ้ ีดปลาในแต่ละครั้ง ซึ่งมีหน่วย เปน็ มลิ ลลิ ติ ร(มล.) หรอื ซซี ี และจากสตู รนจ้ี ะมตี วั เลขตายตวั อยู่2 ตวั ทกุ ครงั้ ทที่ ำ� การคำ� นวณ ฮอร์โมน ไดแ้ ก่ ปรมิ าตรฮอร์โมนในขวดเจอื จางและความเขม้ ข้นของฮอร์โมนในขวดเจอื จาง ซ่ึงมีคา่ เทา่ กับ 10 มลิ ลิลิตร และ 1,000 ไมโครกรัม ตามลำ� ดบั สว่ นความเข้มข้นฮอรโ์ มน ที่ก�ำหนด (ไมโครกรัม/ปลา 1 กิโลกรมั ) และน้ำ� หนกั รวมของปลาแตล่ ะเพศ (กโิ ลกรัม) ไดจ้ าก การกำ� หนดของผู้เพาะพันธ์ุและจากการชง่ั นำ้� หนักของพ่อ-แม่พันธป์ุ ลา ตามล�ำดับ 15การเพาะขยายพนั ธุ์ ปลาเลียหนิ

5.2.3 การค�ำนวณยาเสริมฤทธิ์ ในการเตรียมฮอร์โมนส�ำหรับฉีดกระตุ้นการ ผสมพันธุ์ปลานั้นจะต้องมีการผสมยาเสริมฤทธิ์ด้วยทุกคร้ัง เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ ของฮอรโ์ มนสังเคราะหใ์ หส้ งู ข้ึน ยาเสรมิ ฤทธท์ิ ใ่ี ช้ คือ ดอมเพอรโิ ดน (Domperidone) หรอื ทค่ี นในวงการเพาะพนั ธส์ุ ตั วน์ ำ�้ เรยี กวา่ โมทเี ลยี ม(Motilium) ซงึ่ ชอื่ นเี้ ปน็ ชอ่ื ทางการคา้ อกี ยหี่ อ้ หนงึ่ ของยาเสรมิ ฤทธท์ิ ค่ี นในวงการใชก้ นั อยา่ งกวา้ งขวาง แตท่ จ่ี รงิ แลว้ ยาดงั กลา่ วมหี ลายยหี่ อ้ ลกั ษณะของยาเสริมฤทธิ์จะเปน็ เมด็ สขี าวนวล มีตวั ยา ดอมเพอริโดน เท่ากับ 10 มิลลกิ รมั (มก.)/เม็ด ซ่ึงยาชนดิ นใ้ี ช้ในการรกั ษาอาการจกุ เสียด แนน่ หนา้ อก คลื่นไส้ อาเจียน ทอ้ งอดื แน่นทอ้ งหลังอาหาร บรรเทาอาการคลื่นไสแ้ ละอาเจยี นจากสาเหตอุ น่ื ๆ ในคน แตน่ �ำมา ประยุกต์ใช้ในการเพาะพันธุ์สัตว์น�้ำ ส�ำหรับวิธีการค�ำนวณนั้นมีการก�ำหนดความเข้มข้นที่ ใชด้ ังนี้ สัตว์นำ้ �หนกั 1 กโิ ลกรัม ผสมยาเสริมฤทธ์ิ 10 มก. หรือเทา่ กับ 1 เม็ด 5.2.4 การคำ� นวณหานำ้� กลน่ั ซงึ่ ในสารละลายฮอรโ์ มนจะประกอบไปดว้ ย ฮอรโ์ มน สงั เคราะห+์ ดอมเพอริโดน+น�้ำกลนั่ โดยทวั่ ไปแล้วการเพาะพันธปุ์ ลาด้วยวธิ ีการฉดี ฮอร์โมน กระตุ้นการผสมพันธุ์วางไข่จะมีการก�ำหนดสารละลายฮอร์โมนที่ใช้ฉีดปลา โดยก�ำหนดให้ ปลาหนกั 1 กิโลกรัม ฉีดสารละลายฮอรโ์ มน เทา่ กบั 1 มลิ ลิลิตร หรอื 1 ซซี ี ซ่งึ เปน็ ไปตาม หลกั ทฤษฎใี นการเพาะพนั ธป์ุ ลา แตเ่ นอื่ งจากปลาเลยี หนิ มขี นาดเลก็ มาก ดงั นน้ั ในการคำ� นวณ สารละลายฮอร์โมนจึงจ�ำเป็นต้องก�ำหนดข้ึนมาเป็นพิเศษเพื่อให้มีความเหมาะสมต่อการ เพาะพนั ธุป์ ลาเลยี หิน โดยจะทำ� การกำ� หนด ดังน้ี ปลาเลียหนิ 1 ตวั ฉดี สารละลายฮอร์โมน เท่ากับ 0.03 - 0.05 มล. 16 การเพาะขยายพันธุ์ ปลาเลียหิน

ดังน้ันจะเห็นได้ว่าปริมาณสารละลายฮอร์โมนที่จะฉีดในแต่ละครั้งข้ึนอยู่กับจ�ำนวนของ พอ่ -แมพ่ นั ธป์ุ ลาเลยี หนิ เมอื่ ไดท้ ำ� การกำ� หนดความเขม้ ขน้ ฮอรโ์ มน คำ� นวณหาปรมิ าณฮอรโ์ มน ก�ำหนดปริมาณสารละลายฮอร์โมนท่ีจะฉีดปลาแต่ละตัวเรียบร้อยแล้ว ก็สามารถค�ำนวณหา ปริมาณน้ำ� กล่ันทจี่ ะเติมลงไปเพอื่ ให้ไดป้ ริมาณสารละลายฮอรโ์ มนที่ตอ้ งการ จากสูตร ดงั น้ี ปริมาณสารละลายฮอร์โมน-ปริมาณฮอร์โมนท่คี ำ�นวณได้ เม่ือค�ำนวณเสรจ็ แล้ว ก็จะได้ปรมิ าณของนำ�้ กลน่ั ทจี่ ะใชผ้ สมกบั ฮอรโ์ มนท่ีคำ� นวณไดเ้ พอ่ื ให้ได้สารละลายฮอร์โมนทีจ่ ะฉดี ปลาในแตล่ ะคร้งั ซง่ึ มีหน่วยเป็น มลิ ลิลติ ร หรอื ซีซี แตใ่ น บางครง้ั พบวา่ ฮอรโ์ มนทค่ี ำ� นวณไดม้ ปี รมิ าณนอ้ ยมากจงึ ไมม่ คี วามจำ� เปน็ ตอ้ งเอาไปลบออกจาก ปริมาณสารละลายฮอร์โมนกไ็ ด้ ซ่ึงผลที่ออกมานน้ั ไม่มีความแตกต่างกนั 17การเพาะขยายพนั ธุ์ ปลาเลยี หนิ

ตวั อยา่ งในการคำ� นวณฮอร์โมน โจทย์ ต้องการเพาะพนั ธปุ์ ลาเลยี หนิ โดยมีแม่พันธ์ุ 50 ตวั ๆ ละ 20 กรมั พอ่ พนั ธุ์ 100 ตวั ๆ ละ 15 กรัม ก�ำหนดความเขม้ ขน้ ฮอร์โมนสังเคราะห์ที่จะฉดี ทั้ง 2 เพศ เท่ากบั 15 ไมโครกรมั /ปลา 1 กิโลกรมั ยาเสรมิ ฤทธ์ิ 10 มลิ ลกิ รมั /ปลา 1 กโิ ลกรัม และสารละลายท่ี ฉดี เขา้ ตัวปลา 0.05 มิลลกิ รัม/ตวั วธิ ีท�ำ 1. นำ้� หนักปลารวมทงั้ หมด 3.5 กโิ ลกรัม 2. ค�ำนวณปริมาตรฮอร์โมนทจ่ี ะใช้ฉดี แทนคา่ ตามสตู ร 10x15x3.5 = 0.525 มิลลิลิตร (ซซี ี) 1,000 ดงั นนั้ ต้องใชฮ้ อรโ์ มนสงั เคราะห์ = 0.525 มลิ ลิลติ ร หรอื 0.53 มลิ ลลิ ิตร 3. คำ� นวณปรมิ าณยาเสรมิ ฤทธิ์ ดงั น้ี ปลาหนัก 1 กโิ ลกรมั ใช้ยาเสรมิ ฤทธิ์ 1 เม็ด ฉะนัน้ ปลาหนัก 3.5 กโิ ลกรมั ใช้ยาเสรมิ ฤทธิ์ = 3.5 เมด็ ดังน้นั ตอ้ งใช้ยาเสรมิ ฤทธ์ิ = 3.5 เมด็ 4. ค�ำนวณปรมิ าณน�้ำกล่ันทีจ่ ะใช้เติม ปลาเลยี หนิ 1 ตัว ฉดี สารละลายฮอร์โมน = 0.05 มิลลลิ ิตร ปลาเลยี หนิ 150 ตวั ฉดี สารละลายฮอร์โมน=0.05x150=7.5 มลิ ลลิ ติ ร เพราะฉะนั้น จะต้องใช้สารละลายฮอร์โมนทัง้ หมด = 7.5 มลิ ลลิ ิตร ดงั น้ันจะต้องใชน้ ้�ำกลน่ั ทีจ่ ะใชเ้ ตมิ = 7.5-0.53 = 6.97 มิลลิลิตร 18 การเพาะขยายพนั ธุ์ ปลาเลยี หนิ

สรุป ในการเพาะพันธุ์ปลาเลียหินครั้งนี้ จะต้องเตรียมส่วนท่ีเก่ียวข้องกับการเตรียม ฮอรโ์ มนทจี่ ะใช้ฉดี ปลาเลยี หนิ ในครั้งน้ี ดังนี้ 1. ฮอร์โมนสงั เคราะห์ = 0.53 มิลลิลติ ร 2. ยาเสรมิ ฤทธิ์ จ�ำนวน 3.5 เมด็ 3. ปริมาณน�้ำกล่นั = 6.97 มิลลิลิตร 5.3 การผสมฮอร์โมน หลังจากท่ีท�ำการค�ำนวณฮอร์โมนที่จะใช้ฉีดปลาได้แล้ว จงึ ท�ำการผสมฮอร์โมน โดยมขี ัน้ ตอนดังนี้ 5.3.1 ทำ� การเตรียมวสั ดุ-อปุ กรณใ์ ห้พรอ้ ม ไดแ้ ก่ ฮอร์โมนขวดเจอื จาง นำ�้ กล่ัน หรือน้ำ� ดมื่ บรรจขุ วด ยาเสริมฤทธิ์ ครกบดยา กระบอกฉดี ยาขนาด 1 มล. พร้อมเขม็ ฉีดยา (ภาพที่ 10) ภาพท่ี 10 วัสด-ุ อุปกรณท์ ี่ใชส้ ำ� หรับผสมฮอร์โมนสังเคราะห์ 5.3.2 ทำ� การบดยาเสริมฤทธใ์ิ นครกบดยาให้ละเอียดจนกลายเปน็ ผงแป้ง ถา้ หาก บดยาไม่ละเอียดแลว้ ยาอาจไปอดุ ตนั เข็มฉดี ยาได้ 5.3.3 เมอ่ื บดยาเสริมฤทธลิ์ ะเอียดแล้วจึงเตมิ น�ำ้ กล่ันตามปริมาณทคี่ ำ� นวณไดแ้ ล้ว คนใหเ้ ขา้ กัน 5.3.4 ใช้กระบอกฉีดยาดูดฮอร์โมนสังเคราะห์ตามปริมาณท่ีค�ำนวณได้ ลงไปในครกบดยาแล้วผสมให้เข้ากันอีกครั้ง ก็จะได้สารละลายฮอร์โมนสังเคราะห์ ท่ีพร้อมจะน�ำไปฉีดพ่อ-แม่พันธุ์ปลาเลียหินเพ่ือกระตุ้นการวางไข่ผสมพันธุ์แล้ว และฮอร์โมนที่ผสมแล้วจะต้องอยู่ในอุณหภูมิท่ีต่�ำ ดังน้ันเราสามารถใช้น�้ำกล่ันที่แช่เย็นมา ใช้ในการผสมฮอร์โมนได้ และน่าจะเป็นวิธีการที่ง่ายในการรักษาอุณหภูมิของฮอร์โมนขณะ รอฉีดให้ปลา 19การเพาะขยายพนั ธุ์ ปลาเลียหนิ

6. การฉีดฮอร์โมนพ่อ-แม่พันธ์ุ เมอื่ ทำ� การผสมฮอรโ์ มนเรยี บรอ้ ยแลว้ จงึ นำ� มาฉดี ใหก้ บั พอ่ -แมพ่ นั ธป์ุ ลา เลียหิน ซ่ึงการฉีดนั้นสามารถฉีดให้พ่อหรือแม่พันธุ์ปลาก่อนก็ได้ เนื่องจาก ไดก้ ำ� หนดความเข้มข้นของฮอรโ์ มนเท่ากันท้ังสองเพศ โดยมขี ้ันตอนดงั นี้ 6.1 จดั เตรยี มวสั ด-ุ อปุ กรณใ์ หพ้ รอ้ ม ไดแ้ ก่ กะละมงั พกั พอ่ -แมพ่ นั ธป์ุ ลา ผ้าขนหนูขนาดเล็กส�ำหรับจับพ่อ-แม่พันธุ์ปลา ฮอร์โมนท่ีผสมเรียบร้อยแล้ว และกระบอกฉีดยาพรอ้ มเข็มฉีดยาเบอร์ 26Gx1/2 นิว้ โดยจัดให้บริเวณทจี่ ะ ใช้ฉีดฮอร์โมนให้กับพ่อ-แม่พันธุ์ปลาจะต้องอยู่ใกล้กับบ่อเพาะฟัก ทั้งน้ีเพื่อ ความสะดวกและรวดเรว็ ในการปลอ่ ยพอ่ -แมพ่ นั ธเ์ุ มอื่ ฉดี ฮอรโ์ มนเรยี บรอ้ ยแลว้ 6.2 ทำ� การฉดี ฮอร์โมนให้กบั พอ่ -แม่พนั ธป์ุ ลา โดยมวี ธิ ีการดังน้ ี 6.2.1 ใช้กระบอกฉีดยาดูดสารละลายฮอร์โมนใหเ้ ต็ม 1 มิลลลิ ิตร และภายในกระบอกฉดี ยาจะตอ้ งไมม่ อี ากาศอยภู่ ายใน ซง่ึ ฮอรโ์ มน1 มลิ ลลิ ติ ร สามารถฉีดใหก้ บั พอ่ -แมพ่ ันธปุ์ ลาไดไ้ ม่น้อยกว่า 20 ตวั ท้งั น้ที ั้งนัน้ ข้ึนอยูก่ บั ปรมิ าณสารละลายฮอรโ์ มนทีก่ �ำหนดในขน้ั ตอนการคำ� นวณ 6.2.2 ใช้ผ้าขนหนูชุบน�้ำให้เปียกแล้วจับปลาขึ้นมาโดยเปิดให้ เห็นบรเิ วณแนวสนั หลังของตวั ปลา จากนนั้ ท�ำการปกั เข็มฉดี ยาเข้ากลา้ มเน้ือ บรเิ วณปลายสดุ ของฐานครบี หลงั ซงึ่ กลา้ มเนอ้ื ในบรเิ วณดงั กลา่ วจะมลี กั ษณะ คล้ายรู ซ่ึงเป็นต�ำแหน่งของกระดูกค้�ำจุนฐานครีบหลังก้านสุดท้ายพอดี จะท�ำให้ปักเข็มได้ง่ายและปลาบอบช้�ำน้อยที่สุดโดยให้เข็มแทงลงไปไม่เกิน 0.5 เซนติเมตร และให้เข็มฉีดยาท�ำมุมกับแนวสันหลังของปลาประมาณ 45 องศา แล้วท�ำการฉีดฮอร์โมนเข้าไปในตัวปลา (ภาพท่ี 11) จากน้ัน ก็ดึงเข็มออก แล้วน�ำพ่อ-แม่พันธุ์ปลาที่ฉีดฮอร์โมนเรียบร้อยแล้วลงในบ่อ เพาะฟกั ที่เตรียมไว้ จากการสงั เกตจะเหน็ ไดว้ า่ ปลาทีถ่ กู ฉีดฮอร์โมนเขา้ ไป แล้ว บริเวณสันหลังรอบๆ ต�ำแหน่งท่ีฉีดฮอร์โมนเข้าไปจะเปลี่ยนเป็นสีด�ำ นนั่ แสดงวา่ ฮอรโ์ มนไดเ้ ขา้ สตู่ วั ปลาแลว้ และทำ� ใหม้ น่ั ใจวา่ ปลาไดร้ บั ฮอรโ์ มน แน่นอน (ภาพที่ 12) 20 การเพาะขยายพนั ธุ์ ปลาเลียหิน

ภาพที่ 11 การฉดี ฮอร์โมนสังเคราะห์ใหก้ บั พอ่ -แมพ่ ันธ์ุปลา ภาพท่ี 12 การเปลีย่ นสขี องตัวปลาในบรเิ วณที่ฉดี ฮอร์โมน 21การเพาะขยายพันธ์ุ ปลาเลียหนิ

7. การผสมพนั ธุป์ ลาเลยี หิน เมอ่ื พอ่ -แมพ่ นั ธป์ุ ลาไดร้ บั การฉดี ฮอรโ์ มนกระตนุ้ การวางไขผ่ สมพนั ธแ์ุ ลว้ กป็ ลอ่ ยใหพ้ อ่ -แมพ่ นั ธ์ุ ปลาผสมกนั เองในบอ่ เพาะฟกั ซง่ึ การเพาะพนั ธใ์ุ นลกั ษณะนเ้ี รยี กวา่ “การเพาะพนั ธด์ุ ว้ ยวธิ ฉี ดี ฮอรโ์ มน กระตุ้นแล้วปล่อยไล่” ซ่ึงเป็นการผสมพันธุ์ด้วยการเลียนแบบธรรมชาติของปลา โดยบ่อเพาะฟัก ท่ีมีพน้ื ทนี่ ำ้� ขนาด 1.5 ตารางเมตร ควรปลอ่ ยแม่พนั ธุป์ ลาเลียหินไม่เกนิ 25 ตวั เพราะหากปล่อย แมพ่ นั ธ์มุ ากกว่าน้ีจะท�ำให้มีไขแ่ นน่ เกนิ ไปเพราะแม่ปลา 1 ตัว จะมไี ข่ประมาณ 8,000-12,000 ฟอง ซง่ึ ขณะทปี่ ลาอยใู่ นชว่ งการผสมพนั ธว์ุ างไขน่ น้ั จะตอ้ งเปดิ นำ้� และออกซเิ จนภายในบอ่ เพาะฟกั ใหแ้ รง พอที่จะท�ำใหน้ ้�ำไหลวนรอบบ่อและน้�ำภายในบ่อเกิดการเคล่ือนตัวตลอด เพราะเนอื่ งจากไข่ปลาเลยี หนิ เปน็ แบบ “ไขค่ รึ่งจมคร่ึงลอย” ฉะนั้นน�ำ้ จะตอ้ งมกี ารเคลื่อนตัวตลอดเวลา ถ้าหากน้�ำนง่ิ ไขป่ ลา จะจมลงพ้ืนก้นบ่อและท�ำให้ไข่เสียได้ นอกจากน้ีแล้วยังเป็นสิ่งที่ทำ� ให้น้�ำในบ่อเพาะฟักมีความสด และมีออกซิเจนละลายน�้ำสูง ซ่ึงจะเป็นตัวช่วยกระตุ้นให้ปลาผสมพันธุ์วางไข่ได้ดีและท�ำให้ไข่ปลา ผสมติดได้ดี ขณะท�ำการเพาะปลาน้ันปากบ่อเพาะฟักน้ันจะต้องปิดด้วยอวนเขียวเพ่ือป้องกัน การกระโดดออกของปลา เมื่อท�ำการปล่อยพ่อ-แม่พันธุ์ปลาไล่กันแล้วภายในเวลาประมาณ 4-8 ชัว่ โมงปลาก็จะทำ� การผสมพนั ธ์ุกนั สงั เกตไดจ้ ากพอ่ พนั ธจ์ุ ะไล่รัดแมพ่ ันธ์ุ และมไี ขป่ ลาลอยอยู่ น่ันแสดงว่าปลาท�ำการผสมพันธุ์กันแล้ว แล้วรอเวลาจนกว่าพ่อพันธุ์จะหยุดไล่แม่พันธุ์ปลา หรือ ประมาณชวั่ โมงท่ี9-10 กท็ ำ� การจบั ปลาพอ่ -แมพ่ นั ธอ์ุ อกจากบอ่ เพาะได้ แลว้ นำ� พอ่ -แมพ่ นั ธไ์ุ ปปลอ่ ย 22 ไวใ้ นบ่อพัก โดยแยกพ่อ-แมพ่ ันธอุ์ อกจากกนั การเพาะขยายพันธ์ุ ปลาเลยี หิน

“การเพาะขยายพันธป์ุ ลาเลยี หนิ “ คอื ...อกี หนทางของการ อนุรกั ษท์ รพั ยากรธรรมชาติ และรักษาแหลง่ อาหารของชมุ ชน ในนา่ นให ้อยูอ่ ยา่ งย่งั ยืน

8. การฟักไข่ปลา 8.1 เมอ่ื นำ� เอาพอ่ -แม่พันธป์ุ ลาออกจากบอ่ แลว้ ให้เอาอวนเขยี วท่ปี ิดปากบ่อออก เพอื่ จะ ได้สงั เกตการฟกั ของไขไ่ ด้สะดวก การท่ไี ข่จะฟกั ออกเป็นตัวน้ันขึ้นอย่กู ับหลายๆ ปจั จยั ไดแ้ ก่ 8.1.1 การผสมตดิ ของไข่ เม่ือไข่ได้รบั การผสมจากน้ำ� เชือ้ แลว้ เปลอื กไข่จะขยายตวั ออกมีลักษณะคล้ายลกู บอลซง่ึ เกดิ จากไข่ดดู นำ้� เขา้ ไป และไข่มีสีใส โดยมีเซลลท์ ่พี ัฒนาเปน็ เมด็ เลก็ ๆ อยภู่ ายในเปลือกไข่ หากไข่ได้รับการผสมพนั ธุ์ไข่ก็มีสีใสและเซลลก์ ็จะพฒั นาเป็นตวั อ่อน ตอ่ ไป แต่ถ้าหากไข่ไมไ่ ดร้ ับการผสมพันธไ์ุ ข่ก็จะมกี ารพัฒนาเหมือนกบั ไข่ทไี่ ด้รับการผสมพันธ์ุ แต่เมื่อเวลาผา่ นไปประมาณ 4-6 ชั่วโมง ไข่ดงั กลา่ วกจ็ ะเปลี่ยนเป็นสีขาวขุน่ นัน่ แสดงวา่ เปน็ ไข่ ที่ไมไ่ ดร้ ับการผสมพันธุ์ หรอื ทเ่ี รยี กกันว่า “ไขเ่ สยี ” 8.1.2 คุณภาพน�ำ้ หากน�ำ้ ท่นี �ำใช้เปน็ น้ำ� มาจากแหล่งนำ้� ธรรมชาติ มักจะมีคุณภาพ นำ�้ ทเ่ี หมาะสมตอ่ การนำ� มาฟกั ไขป่ ลาอยแู่ ลว้ แตน่ ำ�้ ตอ้ งมคี วามใสหรอื มตี ะกอนแขวนลอยใหน้ อ้ ย ที่สุด ดังนั้นขณะท�ำการฟักไข่ปลาจะต้องดูแลและตรวจสอบระบบน้�ำและระบบออกซิเจนเป็น พิเศษ เพราะเป็นช่วงท่ไี ขป่ ลาต้องการนำ้� ทส่ี ดสะอาดและมีปริมาณออกซเิ จนละลายน้ำ� ไม่ตำ่� กว่า 5 มิลลกิ รัม/ลิตร (mg/l, ppm) ในการพัฒนาตัวของไข่ พบวา่ หากน�ำ้ ไมส่ ดสะอาดและมีปรมิ าณ ออกซเิ จนละลายน้�ำต่�ำกว่า 5 มลิ ลกิ รมั /ลิตร พบว่าเปอร์เซน็ ต์การตดิ ของไข่จะต�ำ่ โดยสงั เกตได้ จากลักษณะของไข่ ซึ่งไข่ปลาเลียหินเมื่อได้รับการผสมพันธุ์แล้วเปลือกไข่จะพองตัวออกคล้าย ลกู บอลมสี ใี ส แต่ถ้าหากคณุ ภาพน้�ำไมด่ ีจะพบว่าไขจ่ ะมสี ีขาวขนุ่ นน่ั แสดงว่าไขเ่ สยี แล้ว ดังนั้น จึงต้องมกี ารตรวจสอบอย่ตู ลอดเวลาในช่วงเวลาการฟกั ไข่ 24 การเพาะขยายพันธ์ุ ปลาเลยี หนิ

8.2 ไข่ปลาเลียหินจะใช้เวลาฟักออกเป็นตัวน้ันข้ึนอยู่กับ อุณหภูมิของน้�ำท่ีใช้ฟักไข่ปลา หากอุณหภูมิต่�ำกว่า 24 องศาเซลเซียส ไขป่ ลาจะใชเ้ วลาในการฟักออกเปน็ ตัวนานถงึ 36 ชัว่ โมง แต่หากอณุ หภูมิ สูงตั้งแต่ 24-29 องศาเซลเซียส ไข่ปลาจะฟักออกเป็นตัวภายใน 18-20 ชว่ั โมงเทา่ นน้ั แตเ่ ปอรเ์ ซน็ ตก์ ารฟกั ออกเปน็ ตวั ของไข่ปลาไมแ่ ตกต่างกัน ดงั น้นั จงึ แสดงให้เหน็ วา่ อณุ หภูมิของนำ้� มีผลอย่างยง่ิ ต่อการพฒั นาและฟัก ออกเป็นตัวของไข่ปลาเลียหิน 8.3 เมื่อลูกปลาฟักออกเป็นตัวท้ังหมดแล้วจึงท�ำการลด ความแรงของระบบน�้ำและระบบออกซิเจนลงให้คงมีความแรงปานกลาง เพราะเนื่องจากลูกปลายังอ่อนแอและยงั ไมส่ ามารถว่ายน้�ำได้ โดยลกู ปลา บางสว่ นจะนอนนงิ่ ๆ นงิ่ ตามพนื้ บอ่ และบางสว่ นลอยไปตามการเคลอื่ นตวั ของนำ้� ซึง่ ลูกปลาจะอยูใ่ นลกั ษณะนี้ประมาณ 4-6 ช่วั โมง จากนน้ั ลูกปลา จงึ เรม่ิ เคลอื่ นทไ่ี ดใ้ นแนวดงิ่ นนั่ เปน็ สญั ญาณวา่ ลกู ปลาทฟี่ กั ออกมาแขง็ แรง ดี แตห่ ากในเวลาดงั กล่าวลกู ปลายังนอนนงิ่ ๆ อย่ตู ามพ้นื แสดงให้เห็นวา่ ลูกปลามคี วามออ่ นแอและอาจตายในท่ีสดุ 25การเพาะขยายพันธ์ุ ปลาเลยี หนิ

กลกูารปอลนาุบเลายี ลหนิ 26 การเพาะขยายพันธ์ุ ปลาเลยี หิน

การอนุบาลลกู ปลาเลียหินนั้นสามารถอนุบาลในบอ่ เพาะฟกั ไดเ้ ลย หลังจาก อนุบาลในบ่อเพาะฟักเป็นเวลา 7 วันจึงค่อยย้ายลูกปลาไปอนุบาลในบ่อซีเมนต์ ทีม่ ีขนาดใหญ่กว่าบอ่ เพาะฟัก เพราะเม่ือลูกปลามอี ายุมากขนึ้ ท�ำให้พนื้ ท่ีอาศัย น้อยลง กินอาหารมากขึ้นทำ� ใหม้ ีการขบั ถ่ายมากขน้ึ ซ่งึ จะส่งผลใหน้ ้�ำมีคุณภาพ ดอ้ ยลง สง่ ผลใหล้ กู ปลาออ่ นแอได้ ดงั นนั้ ในการอนบุ าลลกู ปลาเลยี หนิ จงึ ตอ้ งใสใ่ จ เปน็ พเิ ศษ โดยด�ำเนินการตามขน้ั ตอน ดงั น้ี 1. การเตรยี มบอ่ อนุบาล ในการอนุบาลลูกปลาช่วงสัปดาห์แรกจะอนุบาลในบ่อเพาะฟักซ่ึงไม่ต้อง เตรียมการอะไรมากมาย เพียงแตต่ อ้ งกำ� จดั คราบสกปรกและตะกอนตามพ้นื บ่อ และคราบสกปรกดา้ นขา้ งของบอ่ ออก สว่ นระบบนำ้� และอากาศใชร้ ะบบทมี่ อี ยแู่ ลว้ ไดเ้ ลย แตห่ ากเป็นบ่ออนบุ าลลกู ปลาอายุตั้งแต่ 8 วนั ขึ้นไปจะต้องอนบุ าลในบ่อ คอนกรีตทมี่ ีขนาดใหญ่ จะตอ้ งดำ� เนินการดงั น้ี 1.1 ท�ำความสะอาดบ่อด้วยน้�ำยาล้างจาน เนื่องจากน้�ำยาล้างจาน สามารถก�ำจดั คราบสกปรกไดด้ ีแล้ว ล้างออกไดง้ ่าย และมีพษิ ต่อสัตวน์ �้ำต�่ำกว่า น�้ำยาล้างห้องน้�ำหรือผงซักฟอก เม่ือล้างบ่อสะอาดแล้วปล่อยให้แห้งอย่างน้อย 1 วัน 1.2 เติมน�้ำท่ีผ่านการกรองหรือน�้ำท่ีพักไว้ ให้มีระดับน�้ำในบ่อสูง ประมาณ 30-40 เซนตเิ มตร 1.3 วางระบบเติมอากาศ โดยใช้หัวทรายขนาดใหญ่ต่อกับสาย ออกซิเจน วางให้กระจายทั่วบอ่ จากนั้นจงึ เปิดเครื่องเตมิ อากาศ เพ่อื ท�ำการเตมิ ออกซเิ จนลงในนำ�้ ที่เตรยี มไว้ อย่างไรก็ตามบ่ออนุบาลจะต้องมีระบบระบายน�้ำและควบคุมระดับน�้ำในบ่อ เพือ่ สะดวกในการเปล่ยี นถ่ายน�ำ้ และควบคุมระดบั น�้ำในบ่ออนบุ าล (ภาพท่ี 13) ภาพที่ 13 รูปแบบบ่อ ระบบน�ำ้ และระบบอากาศของบ่ออนุบาล 27การเพาะขยายพันธุ์ ปลาเลียหนิ

2. การย้ายลกู ปลา เมอื่ ทำ� การอนบุ าลลกู ปลาในบอ่ เพาะฟกั ได้7 วนั แลว้ ตอ้ งทำ� การยา้ ยลกู ปลาไป อนบุ าลในบอ่ ทใ่ี หญก่ วา่ ซง่ึ การยา้ ยลกู ปลาควรจะยา้ ยในตอนเชา้ เนอ่ื งจากอากาศ ไม่รอ้ นนกั และอณุ หภูมิของน�้ำทงั้ สองบอ่ ไมแ่ ตกต่างกันมาก การย้ายลูกปลาน้ัน จะใช้สวิงผ้าโอล่อนแก้วช้อนลูกปลาใส่ลงกะละมังที่เตรียมน้�ำไว้แล้วเอาไปปล่อย ลงในบอ่ อนบุ าล ซงึ่ การปลอ่ ยลกู ปลาจะตอ้ งคอ่ ยๆ ปลอ่ ยลกู ปลาลงในบอ่ อนบุ าล อยา่ งช้าๆ เพื่อป้องกนั ไม่ให้ลกู ปลาบอบชำ้� 3. อาหารและการให้อาหาร ลกู ปลาทฟี่ กั ออกเปน็ ตวั ใน 2 วนั แรกนน้ั จะไดร้ บั อาหารจากไขแ่ ดง (Yolk Sac) ที่ติดมากับตัวจึงยังไม่ต้องให้อาหาร เมื่อลูกปลามีอายุได้ 3 วัน ลูกปลาจะกิน ไขแ่ ดงทตี่ ดิ มากบั ตวั หมด ซงึ่ สงั เกตจากถงุ ไขแ่ ดงบรเิ วณหนา้ ทอ้ งยบุ และลกู ปลา ว่ายน้�ำในแนวระนาบมากขึ้น ดังน้นั จะตอ้ งมีการให้อาหารแกล่ กู ปลา และอาหาร ท่ีให้ลูกปลากินนั้นก็ขึ้นอยู่ในแต่ละช่วงอายุของลูกปลา โดยมีหลักการให้อาหาร ดังนี้ 3.1 การอนบุ าลลูกปลาอายุ 3-7 วัน ยงั ท�ำการอนบุ าลในบ่อเพาะฟกั อาหารท่ีใช้อนุบาลคือ ไข่แดงต้มสุก ซ่ึงไข่ท่ีน�ำใช้นั้นสามารถใช้ได้ท้ังไข่ไก่และ ไข่เป็ด ข้ึนอยู่กับความสะดวกในการจัดหา วิธีการเตรียมอาหารน้ันท�ำได้ด้วย การน�ำไข่มาต้มให้สุกแล้วน�ำเอาเฉพาะไข่แดงมาบดละเอียดผ่านผ้าโอล่อนแก้ว แล้วน�ำไปละลายกับน้�ำสะอาด (ภาพที่ 14) ภาพท่ี 14 การเตรียมไขแ่ ดงต้มสกุ เพอื่ ใชเ้ ป็นอาหารอนุบาลลกู ปลาเลยี หนิ 28 การเพาะขยายพันธ์ุ ปลาเลยี หิน

จากนน้ั จึงใชม้ ือวิดน้ำ� ไข่แดงใหล้ ูกปลากินวนั ละ 2 มื้อ ไดแ้ ก่ มอื้ เชา้ เวลา 08.00-09.00 น. และม้ือเยน็ เวลา 16.00-17.00 น. โดยให้มื้อละ ½ ฟอง ในชว่ ง อายุวนั ที่ 3-4 และชว่ งอายุ 5-7 วนั ให้ 2 ม้อื ๆ ละ 1 ฟอง 3.2 การอนบุ าลลกู ปลาอายุ8-15 วนั เปน็ การอนบุ าลในบอ่ ทมี่ ขี นาด ใหญ่ขน้ึ ซ่ึงจะอนบุ าลลกู ปลาท่คี วามหนาแนน่ 2,000 ตัว/ตารางเมตร อาหารทใ่ี ช้ อนุบาล คอื ร�ำละเอยี ดผสมกบั ปลาปน่ ในอตั ราส่วน 1:1 ใหว้ ันละ 2 ม้อื ไดแ้ ก่ มอ้ื เช้าเวลา 08.00-09.00 น. และมอ้ื เยน็ เวลา 16.00-17.00 น. ให้ในปรมิ าณที่ เพียงพอ โดยวิธีการหว่านให้ท่ัวผิวหน้าน้�ำ ซึ่งลูกปลาจะข้ึนมากินอาหารบริเวณ ผวิ นำ�้ ใหเ้ ห็น 3.3 การอนุบาลลูกปลาอายุ 16-40 วัน เป็นช่วงสดุ ท้ายในการอนุบาล ลูกปลาเลียหิน ซึ่งช่วงน้ีลูกปลาจะมีพฤติกรรมในการหากินเหมือนปลาท่ีเป็น ตวั เตม็ วยั คอื กนิ ตามพน้ื ทอ้ งนำ้� อาหารทใ่ี ชอ้ นบุ าลลกู ปลาคอื อาหารเมด็ สำ� เรจ็ รปู ชนิดเม็ดลอยนำ�้ ระดับโปรตีนไม่ตำ่� กวา่ 32 เปอร์เซน็ ต์ ให้วนั ละ 2 มอื้ ได้แก่ มอื้ เช้าเวลา 08.00-09.00 น. และม้อื เย็น เวลา 16.00-17.00 น. โดยการนำ� อาหาร เมด็ แช่น้�ำ รอจนกวา่ เม็ดอาหารจะนมุ่ นำ� มานวดใหเ้ ขา้ กนั แล้วป้นั เป็นกอ้ นขนาด เส้นผ่าศนู ย์กลางประมาณ 1 เซนตเิ มตร (ภาพที่ 15) วางตามพน้ื กน้ บ่อใหท้ วั่ บอ่ ให้ในปรมิ าณที่เพยี งพอโดยสงั เกตจากการกินอาหารของลกู ปลา ภาพท่ี 15 อาหารทปี่ ั้นเปน็ ก้อนขนาดเสน้ ผ่าศนู ย์กลาง 1 เซนตเิ มตร หมายเหตุ : การให้อาหารตอนเย็นนั้นจะให้หลังจากท่ีท�ำความสะอาดบ่อและ เปลยี่ นถา่ ยน้�ำเสรจ็ เรยี บร้อยแล้ว 29การเพาะขยายพนั ธ์ุ ปลาเลียหนิ

4. การจัดการบอ่ อนบุ าล มขี ้ันตอนในด�ำเนินการดังนี้ 4.1 ลกู ปลาอายุ3-7 วนั เชด็ คราบสกปรกตามขอบและ พื้นก้นบ่อให้สะอาดด้วยฟองน้�ำ ท�ำการดูดตะกอนและเศษ อาหารดว้ ยสายยางใสขนาดเสน้ ผ่าศนู ย์กลาง 0.5 มิลลเิ มตร แล้วท�ำการเปลี่ยนถา่ ยนำ�้ ในอัตรา 30 เปอรเ์ ซน็ ตข์ องปรมิ าณ นำ้� ทง้ั หมดในตอนเยน็ ของทกุ วนั 4.2 ลกู ปลาอายุ 8-15 วัน ดูดตะกอนและเศษอาหาร ทุกวัน แลว้ เปลย่ี นถ่ายนำ�้ ในอัตรา 50 เปอร์เซ็นตท์ กุ ๆ 2 วนั 4.3 ลูกปลาอายุ 16-40 วนั ดดู ตะกอนและเศษอาหาร ดว้ ยสายยางใสขนาดเสน้ ผา่ ศนู ยก์ ลาง 1 ซม. ทกุ ๆ 2 วนั และ เปล่ยี นถา่ ยน�ำ้ อตั รา 50 เปอร์เซ็นต์ทกุ ๆ 4-5 วัน หมายเหตุ : 1. ในการท�ำความสะอาดบ่อทุกครงั้ การดดู ตะกอนและ เศษอาหาร จะต้องปดิ ระบบน้ำ� ระบบอากาศ เพ่อื ปอ้ งกันไม่ ใหต้ ะกอนและเศษอาหารฟงุ้ กระจายและจะเปดิ ระบบอากาศ พรอ้ มกับการเติมนำ้� เข้าบ่อ 2. ในการดูดตะกอนและเศษอาหารเสร็จจะต้องเติมน้�ำ ในบอ่ อนุบาลให้อยใู่ นระดับเดมิ เสมอ เมื่อท�ำการอนุบาลลูกปลาเลียหินจนอายุครบ 40 วัน ลูกปลาจะมีลักษณะภายนอกและอวัยวะครบสมบูรณ์เหมือน ตัวเต็มวัยทุกประการ ซึ่งเป็นขนาดที่สามารถน�ำไปปล่อย ในแหล่งน�้ำธรรมชาติหรือน�ำไปเลี้ยงต่อได้แล้ว ปลาเลียหิน ที่ปล่อยลงแม่น�้ำนี้จะกลายเป็นปลาท่ีโตเต็มวัยภายในระยะ เวลา 1 ปี ซงึ่ สามารถจบั มาเปน็ อาหารหรือจับขาย หรอื น�ำ มาเป็นพอ่ -แม่พนั ธไุ์ ด้ แต่หากน�ำไปเล้ยี งในบ่อระบบปดิ ปลา จะเจรญิ เตบิ โตชา้ กวา่ ปลาในแหลง่ นำ�้ ธรรมชาตปิ ระมาณ20% ในระยะเวลาเทา่ กนั อยา่ งไรกต็ ามในการปลอ่ ยลงในแหลง่ นำ้� ธรรมชาติน้ันสามารถน�ำลูกปลาท่ีอนุบาลครบ 2 สัปดาห์ไป ปล่อยได้เช่นกันถ้าหากไม่สามารถอนุบาลให้ครบ 40 วันได้ แต่อัตราการรอดตายมีแนวโน้มจะต่�ำกว่าลูกปลาที่มีอายุ 40 วัน เพราะเนอ่ื งจากมขี นาดเล็กและว่ายนำ�้ ไดช้ า้ กวา่ 30 การเพาะขยายพันธ์ุ ปลาเลยี หนิ

5. โรคและการรักษาโรค 5.1 โรคตัวคดงอ เกดิ ขนึ้ จาก 2 สาเหตุ ไดแ้ ก่ 5.1.1 แม่พนั ธุถ์ กู ฉีดด้วยฮอรโ์ มนสงั เคราะห์กระต้นุ การวางไขท่ ีม่ คี วามเข้มข้นสูง เกนิ 30 ไมโครกรัม/ปลาหนกั 1 กิโลกรัม ลกู ปลาท่ีฟกั อออกมาจะมอี าการคดงอบางส่วน หากลูกปลา คดงอในกรณีนี้ ต้องท�ำลายลูกปลาทิง้ เพราะไมส่ ามารถแก้ไขได้ ดงั น้นั ผทู้ ที่ �ำการเพาะพันธปุ์ ลาเลียหิน จึงไมค่ วรใช้ความเขม้ ข้นของฮอร์โมนสังเคราะห์สงู เกนิ กว่า 30 ไมโครกรัม/ปลาหนกั 1 กิโลกรัม 5.1.2 เกิดจากการขาดสารอาหาร จากการสังเกตลูกปลาท่ีอนุบาลตั้งแต่อายุ 30 วนั ขน้ึ ไป พบวา่ มอี าการตวั คดงอใหเ้ หน็ แตไ่ มม่ ากนกั ซงึ่ ลกู ปลาทมี่ อี าการคดงอจากการขาดสารอาหาร จะมสี ที เ่ี ขม้ กวา่ ปกติ ดงั นน้ั ควรมกี ารผสมวติ ามนิ ซี เขา้ ไปในอาหารใหล้ กู ปลากนิ ในอตั รา วติ ามนิ ซี 1 กรมั ตอ่ อาหาร 1 กโิ ลกรมั ใหล้ กู ปลากินนาน 7-10 วนั อาการกจ็ ะดีขึ้นและหายในทสี่ ุด 5.2 โรคจุดขาว (white spot disease) โรคน้จี ะพบเม่ืออณุ หภมู ขิ องนำ�้ ท่ใี ชอ้ นบุ าลลูกปลา สงู กวา่ 27 องศาเซลเซยี ส เปน็ เวลานานเกิน 5 วัน และจะพบโรคนตี้ ้งั แตล่ กู ปลาวัยออ่ นจนถึงลกู ปลาทีม่ ี ลกั ษณะเหมอื นพอ่ -แม่ทกุ ประการ (juvenile) ลูกปลาจะมีจุดขาวๆ ขนาดเลก็ ประมาณ 0.5-1 มิลลเิ มตร ปรากฏขนึ้ ตามลำ� ตวั และครบี แลว้ เพมิ่ มากขน้ึ เรอื่ ยๆ จนเหน็ ชดั เจน ลกู ปลาจะวา่ ยนำ�้ ผดิ ปกติ ไมค่ อ่ ยกนิ อาหาร และในบางครง้ั ลกู ปลาจะลอยคอขนึ้ มาอยบู่ นผวิ นำ�้ อาการดงั กลา่ วเกดิ จากการตดิ เชอ้ื โปรโตซวั ชนดิ หนงึ่ คอื เชอ้ื Ichthyophthirius multifiliis วธิ ปี อ้ งกนั การเกดิ โรคโดยการพยายามรกั ษาระดบั อณุ หภมู ขิ องนำ�้ ท่ีใช้อนุบาลไม่เกิน 27 องศาเซลเซียส และอย่าให้อุณหภูมิน้�ำเปล่ียนแปลงโดยฉับพลัน ส่วนวิธีการ รักษาลูกปลาที่ติดเชื้อนั้น รักษาโดยการแช่ด้วยฟอร์มาลีนเข้มข้น 25-50 มิลลิกรัม/ลิตร (ใส่น�้ำยา ฟอรม์ าลนี เขม้ ขน้ 37-40 เปอรเ์ ซน็ ต์ จำ� นวน25-50 ซซี ี ตอ่ นำ�้ ทใ่ี ชอ้ นบุ าล1,000 ลติ ร) แชต่ ลอดจนกวา่ ลกู ปลา จะหายจากโรคดงั กลา่ ว ในขณะท�ำการรกั ษาไมค่ วรถา่ ยเทนำ�้ ในบอ่ ท่เี กดิ โรคออกเดด็ ขาดหากยงั ไม่กำ� จดั เช้อื โรคในน�้ำก่อน ควรลดปรมิ าณอาหารท่ใี หต้ ่อมอ้ื ลงเหลือไม่เกนิ 70 เปอรเ์ ซน็ ต์ จนกวา่ ลกู ปลาจะหาย และหา้ มนำ� อปุ กรณท์ ใี่ ชก้ บั บอ่ อนบุ าลลกู ปลาทเ่ี ปน็ โรคนรี้ ว่ มกบั บอ่ ลกู ปลาอน่ื ๆ เปน็ อนั ขาด เพราะลกู ปลา บ่ออน่ื จะตดิ โรคนีไ้ ดอ้ ยา่ งรวดเรว็ 5.3 โรคท้องบวม ในบางคร้ังเม่ืออนุบาลลูกปลาอายุได้ 3-4 วันด้วยไข่แดงพบว่าลูกปลา ทอ้ งบวมลอยตามผวิ นำ้� หากบวมนาน 2-3 วนั ลกู ปลาจะตาย หากพบอาการทอ้ งบวมดงั กลา่ ว จะตอ้ งงดให้ อาหาร ดูดตะกอนตามพื้นกน้ บอ่ ออกให้ได้มากท่ีสดุ และเปิดน�ำ้ ไหลผ่านตลอด 24 ช่ัวโมงซึง่ อาจใช้เวลา นาน 2-3 วันลูกปลาจะมีอาการปกติ จงึ ให้อาหารตามเดิม 31การเพาะขยายพันธ์ุ ปลาเลยี หนิ

32 การเพาะขยายพันธ์ุ ปลาเลยี หนิ

โอกาส จากการศึกษาการเลี้ยงปลาเลียหินในบ่อซีเมนต์ การสรา้ ง พบว่าปลาท่ีเลี้ยงในบ่อที่ไม่มีการปล่อยน�้ำไหลผ่าน เป็นปลา ตลอดเวลา แต่มกี ารเปล่ยี นถา่ ยน้�ำทุกๆ 2 วนั พบว่าปลา เศรษฐกจิ มีอัตราการเจริญเติบโตช้ากว่าปลาในแหล่งน้�ำธรรมชาติ ประมาณ 20-30% เมือ่ เล้ียงครบ 1 ปี แต่เม่อื เปรียบเทียบ กับปลาท่ีเลี้ยงในบ่อที่มีน้�ำไหลผ่านตลอด พบว่ามีอัตรา การเจรญิ เตบิ โตใกลเ้ คยี งกบั ปลาในแหลง่ นำ�้ ธรรมชาติ และ หากมีการเลย้ี งบนพื้นทส่ี ูงไดก้ ็จะย่ิงดี เนือ่ งจากหมบู่ า้ นบน พ้ืนที่สูงใช้น้�ำเพื่อการอุปโภคท่ีมาจากระบบประปาภูเขาซึ่ง คุณภาพน้�ำมีความเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของปลา เลียหนิ อยา่ งยงิ่ เมอื่ พิจารณาข้อมลู จากการเลย้ี งเบ้ืองต้น แลว้ พบวา่ การเลยี้ งปลาเลยี หนิ ในเชงิ พาณชิ ยใ์ นจงั หวดั นา่ น น้ันเป็นไปได้สูงมาก และการเล้ียงจะมีโอกาสประสบผล ส�ำเร็จได้ควรเล้ียงในพ้ืนที่ที่สามารถน�ำน�้ำจากธรรมชาติมา เลย้ี งไดโ้ ดยตรง ดังนั้นหากมีการเล้ียงปลาเลียหินในเชิงพาณิชย์ ได้จริง ก็จะมีประโยชน์กับชุมชนในหลายๆ ด้าน เช่น การใช้ประโยชน์และสร้างมูลค่าจากทรัพยากรธรรมชาติ ในท้องถ่ิน การสร้างอาชีพและรายได้ของคนในชุมชน ลดการจบั ปลาจากธรรมชาตทิ ำ� ใหป้ ลาในแหลง่ นำ�้ ธรรมชาติ ยังคงมีอยู่ และน�ำไปสู่การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ของชมุ ชนในท่สี ุด 33การเพาะขยายพันธุ์ ปลาเลียหนิ

บทสรุป การเพาะขยายพันธุ์ปลาเลียหินในจังหวัดน่าน เป็นขบวนการหนึ่งที่ได้จากการศึกษา วิจัยและปฏิบัติต่อเนื่องยาวนานกว่า 10 ปี ท่ีพยายามช่วยรักษาและอนุรักษ์ปลาชนิดนี้ ใหค้ งมอี ยู่ ตลอดจนเปน็ แหลง่ อาหารตามธรรมชาตขิ องชมุ ชนตา่ งๆ ในจงั หวดั นา่ นไดอ้ ยา่ ง ยาวนาน ข้ันตอนต่างๆ ในการเพาะขยายพันธุ์ปลาเลียหินที่ด�ำเนินการมาอย่างยาวนาน นั้น ได้มีปรับวิธีการมาตลอดเวลาจนคิดว่านิ่งและเป็นองค์ความรู้และวิธีปฏิบัติท่ีตกผลึก น่ันหมายความว่าใครๆ ก็สามารถน�ำไปปฏิบัติในภาคสนามได้เลย แต่ทั้งนี้ทั้งน้ันความรู้ ในเรอื่ งใดๆ ไมเ่ คยตายตวั ถงึ แมจ้ ะเปน็ ขน้ั ตอนการปฏบิ ตั ทิ ย่ี าวนาน แตก่ ย็ งั สามารถพฒั นา ต่อไดอ้ กี ตามความสามารถของผู้ปฏบิ ตั งิ าน ผู ้ เ ขี ย น อ ย า ก เ ห็ น จั ง ห วั ด น ่ า น เ ป ็ น จั ง ห วั ด ที่ อุ ด ม ไ ป ด ้ ว ย ก า ร อ นุ รั ก ษ ์ แ ล ะ ใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่าและยาวนาน อยากเห็นหลายๆ หน่วยงานท�ำการ ศึกษาวิจัยและถ่ายทอดองค์ความรู้ต่างๆ ให้ชุมชนได้น�ำไปใช้ในการบริหารจัดการ ทรพั ยากรธรรมชาตภิ ายในชุมชนของตนเอง สดุ ทา้ ยอยากเหน็ คนนา่ นหวงแหน ดูแลและ รักษาทรัพยากรธรรมชาติของตัวเองเพ่ือลูกหลานของตัวเองด้วยใจ แค่น้ีก็คงคุ้มค่ากับ การไดม้ าพ่งึ ใบบญุ อาศยั อยใู่ นจังหวัดนา่ นวา่ 21 ปี ความเหนด็ เหน่ือยที่ผา่ นมาคงหาย มลายสน้ิ 34 การเพาะขยายพนั ธุ์ ปลาเลียหนิ

35การเพาะขยายพนั ธ์ุ ปลาเลียหนิ

ภกาารพดกำ�จิ เนกนิรงรามน 36 การเพาะขยายพันธุ์ ปลาเลียหนิ

37การเพาะขยายพนั ธ์ุ ปลาเลียหนิ

บรรณานุกรม เกยี รติคุณ เจริญสวรรค์ และ วิวฒั น์ ปรารมภ์. 2543. ชวี วิทยาบางประการของปลามัน. เอกสารวิชาการ ฉบบั ท่ี 3. สถานีประมงน้�ำจืด จงั หวัดนา่ น, กองประมงน้�ำจดื , กรมประมง. กรงุ เทพฯ. ววิ ัฒน์ ปรารมภ์ พงษ์พนั ธ์ สุนทรวภิ าต และ วิจักษ์ ขุนพลชว่ ย. 2545. การเพาะและอนุบาลปลามัน. เอกสาร วิชาการฉบบั ท่ี 34. สถานีประมงน�้ำจดื จังหวัดนา่ น, กองประมงนำ�้ จืด, กรมประมง. กรุงเทพฯ. อมรชัย ล้อทองค�ำ และ เชาวลยี ์ ใจสุข. 2553. การศกึ ษาและการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะพนั ธุป์ ลาเลีย หนิ ในเชงิ อนุรักษ์ เพ่ือความม่ันคงทางอาหารในอำ� เภอบ่อเกลือ จังหวดั นา่ น. การประชุมทางวิชาการ การพัฒนาชนบททย่ี ่งั ยืน ครั้งท่ี 2, มหาวิทยาลัยขอนแกน่ . 420-422. Doi, A. 1997. A review of taxonomic studies of cypriniform fishes in Southeast Asia. Japanese Jour. Ichthyol. 44 (1): 1-33. Kottelat, M. 1989. Zoogeography of the fishes from indochinese inland waters with an annotated check-list. Bul. Zool. Mus. Univ. Amsterdam. 2 (1): 1-56. Kottelat, M. 2001. Fishes of Laos. WHT Publications, Colombo. 1-198, Pls. 1-48. Kottelat, M. 2020. Ceratogarra, a genus name for Garra cambodgiensis and G. fasciacauda and comments on the oral and gular soft anatomy in labeonine fishes (Teleostei: Cyprinidae). Raffles Bul. of Zool. Supplement No. 35: 156–178. Menon, A. G. K. 1964. Monograph of the cyprinid fishes of the genus Garra Hamilton. Mem. Indian Mus., 14: 173-260, pls. 8-13. Rainboth, W.J. 1996. FAO species identification field guide for purposes. Fishes of Cambodian Mekong. FAO. Rome. 265 p. Pls. I-XXVII. Smith, H.M. 1945. The Freshwater Fishes of Siam, or Thailand. Bul. U.S. Nat. Mus. 188. Xi + 622 pp., 9 pls. กติ ตกิ รรมประกาศ ขอขอบพระคุณ ดร. กฤษณพงศ์ กีรติกร อดีตนายกสภามหาวิยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา อย่างสูง ทที่ ่านได้กรณุ าถามไถ่ แนะน�ำและให้ก�ำลังใจในการท�ำงานตลอดมา ขอขอบพระคุณ รองศาสตราจารย์ ดร. คมสัน อ�ำนวยสิทธิ์ อดีตรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลลา้ นนา นา่ น ทไี่ ดเ้ ออ้ื อำ� นวยความสะดวกในการปฏบิ ตั งิ านภาคสนามและอนื่ ๆ ทเ่ี กยี่ วขอ้ ง และไดก้ รณุ า แนะนำ� และปรบั ปรงุ เนื้อหาใหส้ มบรู ณย์ งิ่ ขน้ึ ขอขอบพระคุณ ผชู้ ่วยศาสตราจารย์ ดร. วไิ ลพร จนั ทรไ์ ชย อดีตรองคณบดีคณะวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี การเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยรี าชมงคลล้านนา นา่ น ท่ีคอยใหค้ ำ� แนะน�ำและให้กำ� ลงั ใจในการปฏิบัตงิ าน ขอขอบคุณนายไพสิฐ เมฆวิไล และนางสาวจรุ ีรัตน์ กลุ เทพพรม ทชี่ ว่ ยเหลอื งานภาคสนามมาตลอด สดุ ทา้ ยขอขอบคุณคนในชมุ ชนบนอ�ำเภอบ่อเกลือ อ�ำเภอปัว และอำ� เภอเชียงกลางทกุ ชมุ ชนท่ไี ด้ใหโ้ อกาสผม เข้าไปทำ� งานในพื้นทีแ่ ละยอมรบั ในส่งิ ทีผ่ มได้พยายามท�ำอยา่ งสดุ ความสามารถ ตลอดจนบคุ คลอีกจ�ำนวนมาก ท่ไี ม่สามารถเอ่ยนามได้ทัง้ หมด 38 การเพาะขยายพนั ธุ์ ปลาเลยี หิน

ผเู้ ขยี น ชอ่ื -สกลุ : ผชู้ ว่ ยศาสตราจารย์อมรชัย ล้อทองคำ� หนว่ ยงาน : สาขาสตั วศาสตรแ์ ละประมง คณะวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยกี ารเกษตร มหาวทิ ยาลยั เทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน การศกึ ษา : ระดบั ปริญญาตรี วท.บ. ประมง สถาบนั เทคโนโลยรี าชมงคล คณะเกษตรศาสตรบ์ างพระ ระดับปริญญาโท วท.ม. วทิ ยาศาสตร์การประมง คณะประมง มหาวิทยาลยั เกษตรศาสตร์ 39การเพาะขยายพันธุ์ ปลาเลยี หนิ

การเพาะขยายพันธปุ์ ลาเลยี หนิ ISBN: 978-974-625-904-0 ISBN: 978-974-625-905-7 (E-book) ที่ปรกึ ษา รองศาสตราจารยศ์ ีลศิริ สง่าจติ ร ผเู้ ขีย น ดร.สรุ พล ใจวงศษ์ า ผชู้ ว่ ยศาสตราจารย์อมรชัย ล้อทองค�ำ กองบรรณาธกิ าร ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์เกรยี งไกร ธารพรศร ี ผู้ช่วยศาสตราจารยน์ ทชี ยั ผัสดี นายวิสทุ ธิ์ บัวเจรญิ ดร.สุรีวรรณ ราชสม นายพษิ ณ ุ พรมพราย นายนรศิ ก�ำแพงแก้ว วา่ ที่ ร.ต.รชั ต์พงษ์ หอชยั รัตน์ นางสาวทิน อ่อนนวล นายวษิ ณลุ ักษณ์ คำ� ยอง นางสาวสุธาสนิ ี ผ้อู ยู่สุข นายจักรรินทร ์ ชื่นสมบตั ิ นายเจษฎา สภุ าพรเหมนิ ทร ์ นางสาวรัตนาภรณ์ สารภี นางสาวหนึง่ ฤทัย แสงใส วา่ ท่ี ร.ต.เกรียงไกร ศรีประเสรฐิ นางสาวเสาวลกั ษณ์ จนั ทรพ์ รหม นางสาวอารีรตั น ์ พมิ พน์ วน นางสาววราภรณ์ ตน้ ใส นายวรี วิทย์ ณ วรรณมา จดั ทำ� โดย สถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสูช่ ุมชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยรี าชมงคลลา้ นนา 98 หมู่ 8 ต�ำบลป่าปอ้ ง อ�ำเภอดอยสะเก็ด จงั หวดั เชยี งใหม่ 50220 พิมพ์คร้ังที่ 1 ปี 2563 บรษิ ทั สยามพมิ พ์นานา จำ� กดั 108 ซอยพงษ์สวุ รรณ ต�ำบลศรีภมู ิ อำ� เภอเมอื ง จงั หวดั เชียงใหม่ 50200 โทร. 0-5321-6962 40 การเพาะขยายพันธ์ุ ปลาเลียหิน