Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ชาดกคลายโศก

Description: ชาดกคลายโศก

Search

Read the Text Version

ชาดก คลายโศก ISBN : 978-616-8103-10-4 ผ้คู น้ คว้าและเรยี บเรียง : สริ ิปุณฺโณ ภาพประกอบ : www.dmc.tv และเวบไซตอ์ ่นื ๆ ออกแบบปก : จริ พัฒน์ ยังโป้ย รูปเลม่ /จดั อาร์ต : สกุ ญั ญา บญุ ทัน พมิ พ์คร้งั ที่ ๑ : พ.ศ. ๒๕๖๒ ลิขสิทธแ์ิ ละจัดพิมพ์โดย : สมาคมสมาธเิ พ่อื การพฒั นาศีลธรรมโลก โทร. ๐๓๘-๔๒๐๐๔๓ พิมพท์ ี่ : บรษิ ทั พมิ พด์ ี จ�ำกัด โทร. ๐-๒๔๐๑-๙๔๐๑ ขอ้ มลู ทางบรรณานุกรมของสำ� นกั หอสมุดแห่งชาติ National Library of Thailand Cataloguing in Publication Data สิริ ปุณฺ โณ. ชาดกคลายโศก.-- นนทบุรี : สมาคมสมาธิเพ่อื การพฒั นา ศีลธรรมโลก, 2562. 144 หนา้ 1. ชาดกยอ่ . 2. ธรรมะคลายโศก. I. สิริปุณฺโณ ผคู้ น้ ควา้ และเรียบเรียง. II. ชื่อเรื่อง. 294.3184

ค�ำ นำ� ผลงานเรียบเรียงชาดกที่สืบเน่ืองมาจาก หนังสือธรรมะ คลายโศกท่เี คยนำ� เสนอไปก่อนหน้าแล้ว ความทุกข์อันเกิดจากการพลัดพรากจากคนท่ีรัก ในครอบครัว ตั้งแต่ พ่อแม่, พี่น้อง, ลูก, ภรรยา หรือแม้แต่ ลูกศิษย,์ เรอ่ื งสดุ ทา้ ย เป็นความทกุ ขท์ ปี่ ระสบจากความลม้ เหลว ในการงาน นำ� แงค่ ดิ จากตวั อยา่ งมาใชป้ ลอบประโลมใจ ในยามทกุ ข์ เมอื่ คดิ ไดว้ า่ เปน็ เรอ่ื งปกตทิ ท่ี กุ คนตอ้ งเจอะเจอ ความทกุ ข์ ท่ดี เู หมือนหนักก็จะผอ่ นคลาย ท�ำใจให้ยอมรับได้ หวังว่าท่านผู้อ่านจะได้รับความรู้ มุมมอง ความเชื่อมโยง ในเนอื้ หา และสาระจากเรอ่ื งท่เี รยี บเรยี งขึน้ ท้งั หมดในเล่มน้ี เจรญิ สุขสวัสดี สริ ิปณุ โฺ ณ มิถนุ ายน พ.ศ. ๒๕๖๒ ไลนไ์ อดี Line ID : Siripunno แฟนเพจ Facebook: Siripunno อเี มล์ E-mail : [email protected]

สารบัญ ๗ ๑. ทสรถชาดก ว่าดว้ ย ผมู้ ีปัญญายอ่ มไมเ่ ศรา้ โศกถึงสิง่ ทเ่ี สียไปแล้ว ๒๑ ๒. สุชาตชาดก ว่าดว้ ย ค�ำคมของคนฉลาด ๒๗ ๓. มตโรทนชาดก ว่าด้วย รอ้ งไห้ถงึ คนตาย ๓๓ ๔. อุรคชาดก ว่าด้วย เปรยี บคนตายเหมอื นงลู อกคราบ ๔๗ ๕. มฏั ฐกณุ ฑลชิ าดก ว่าด้วย คนรอ้ งไหถ้ งึ คนตายเปน็ คนโง่เขลา ๕๕ ๖. ฆตปัณฑติ ชาดก ว่าด้วย ความดับความโศก

๗๙ ๗. สิคาลชาดก ว่าดว้ ย การทำ� โดยไมพ่ ิจารณา ๘๗ ๘. อัสสกชาดก ว่าดว้ ย ไมร่ ูข้ องจรงิ เพราะมีสง่ิ ใหมๆ่ ปดิ ไว้ ๙๑ ๙. อนนโุ สจิยชาดก ว่าด้วย ทุกคนจะต้องตายควรเมตตากัน ๑๐๑ ๑๐. โสมทัตตชาดก ว่าดว้ ย ความเศรา้ โศกถงึ ผเู้ ปน็ ที่รกั ๑๐๗ ๑๑. มิคโปตกชาดก วา่ ด้วย ค�ำพูดทท่ี ำ� ให้หายเศร้าโศก ๑๑๓ ๑๒. กามชาดก วา่ ด้วย กามและโทษของกาม ๑๓๓ บทสรุป

6 ชาดกคลายโศก

๑) ทสรถชาดก๑ ว่าดว้ ย ผ้มู ีปัญญายอ่ มไม่เศร้าโศก ถงึ สง่ิ ทีเ่ สียไปแล้ว สถานท่ีตรัส พระเชตวนั มหาวิหาร ทรงปรารภ กฎุ ุมพีผูบ้ ิดาตายแลว้ คนหนง่ึ สาเหตทุ ต่ี รัส กุฎุมพี๒คนหนึ่ง เม่ือบิดาถึงแก่กรรมแล้วถูกความ เศร้าโศกครอบง�ำ จึงทอดท้ิงหน้าที่การงานเสียทุกอย่าง ครนุ่ แต่ความเศรา้ โศกอยแู่ ต่ถ่ายเดียว. พระศาสดาทรงตรวจดูสัตวโลกในเวลาใกล้รุ่ง ทอดพระเนตรเหน็ อปุ นิสัยแหง่ โสดาปตั ติผลของเขา รุ่งขึ้นจึงเสด็จโปรดสัตว์ในกรุงสาวัตถี เสวยพระ- กระยาหารเสรจ็ แลว้ ทรงสง่ ภกิ ษทุ งั้ หลายกลบั ทรงชวนไว้ เป็นปจั ฉาสมณะเพียงรูปเดยี ว เสด็จไปยงั เรือนของเขา ๑ ตน้ ฉบบั ชาตกฏั ฐกถา อรรถกถาเอกาทสนบิ าต,ล.๖๐,น.๗๔,มมร. ๒ น. กระฎมุ พ,ี คนมงั่ มี ๑. ทสรถชาดก 7

เมื่อตรัสเรียกเขาผู้น่ังถวายบังคมด้วยพระด�ำรัส อันไพเราะ จึงตรัสว่า “ดูกอ่ นอุบาสก เจ้าเศรา้ โศกไปทำ� ไม ?” เมอื่ เขากราบทูลว่า “พระเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความเศร้าโศก ถงึ บิดา กำ� ลังเบียดเบียนขา้ พระองค์.” จึงตรสั วา่ “ดกู อ่ นอบุ าสก บณั ฑติ ในปางกอ่ น ทราบโลกธรรม ๘ ประการตามความเป็นจริง เมื่อบิดาถึงแก่กรรมแล้ว กม็ ิได้ประสบความเศรา้ โศก แมส้ กั น้อยหนงึ่ เลย” เขากราบทลู อาราธนา จงึ ทรงนำ� อดตี นทิ านมาตรสั วา่ เนื้อหาชาดก ในอดีตกาล พระเจ้าทสรถมหาราช ทรงละความ ถงึ อคติ เสวยราชสมบตั โิ ดยธรรมในกรงุ พาราณสี พระอคั ร- มเหสีผู้เป็นใหญ่กว่าสตรี ๑๖,๐๐๐ นางของท้าวเธอ ประสูติพระโอรส ๒ พระองค์ พระธิดา ๑ พระองค์ พระโอรสองคใ์ หญ่ทรงพระนามวา่ ‘รามบณั ฑิต’ องค์นอ้ ง ทรงพระนามว่า ‘ลักขณกุมาร’ พระธิดาทรงพระนามว่า ‘สดี าเทว’ี 8 ชาดกคลายโศก

ครนั้ จำ� เนียรกาลนานมา พระอัครมเหสสี ิน้ พระชนม์ พระราชาเมื่อพระนางสิ้นพระชนม์แล้ว ทรงถึงอ�ำนาจ แห่งความเศร้าโศกตลอดกาลนาน หมู่อ�ำมาตย์ช่วยกัน กราบทลู ใหท้ รงสรา่ ง ทรงกระทำ� กาเกย่ี วกบั พระศพ ทคี่ วร กระท�ำแก่พระนางแล้ว ทรงต้ังสตรีอื่นไว้ในต�ำแหน่ง อัครมเหสีพระนางเป็นท่ีรัก เป็นที่จ�ำเริญพระหฤทัยของ พระราชา คร้ันกาลต่อมา พระนางก็ทรงพระครรภ์ ทรงได้รับ พระราชทานเคร่ืองครรภ์บริหาร จึงประสูติพระราชโอรส พระประยรู ญาตขิ นานพระนามพระโอรสนนั้ วา่ ‘ภรตกมุ าร’ พระราชาตรัสว่า “แน่ะนางผเู้ จริญ ฉันขอใหพ้ รแกเ่ ธอ เธอจงรับเถิด.” ดว้ ยทรงพระเสนห่ าในพระโอรส พระนางทรงเฉยเสยี ทำ� ทวี า่ ทรงรบั แลว้ จนพระกมุ าร มีพระชนมายุได้ ๗ - ๘ พรรษา จึงเข้าไปเฝ้าพระราชา กราบทูลวา่ “พระทูลกระหมอ่ ม พระองคพ์ ระราชทานพระพรไว้ แก่บุตรของกระหม่อมฉัน บัดน้ี ขอทรงพระกรุณาโปรด พระราชทานพระพรน้นั แกเ่ ธอ.” เมอื่ พระราชาตรัสวา่ “รบั เอาเถดิ นางผู้เจริญ.” ๑. ทสรถชาดก 9

จึงกราบทูลวา่ “ข้าแต่พระทูลกระหม่อม ขอพระองค์โปรดทรง พระราชทานราชสมบัติ แก่บุตรของกระหม่อมฉันเถิด พระเจ้าข้า” พระราชาทรงตบพระหัตถ์ตรสั ขู่วา่ “เจา้ จงยอ่ ยยบั เสยี เถอะ นางถอ่ ย บตุ รของขา้ ๒ คน กำ� ลงั รงุ่ เรอื งเหมอื นกองเพลงิ เจา้ จะใหข้ า้ ฆา่ เขาทง้ั ๒ คน เสีย แล้วขอราชสมบตั ใิ หล้ ูกของเจา้ .” พระนางตกพระทยั เสดจ็ เขา้ สพู่ ระตำ� หนกั อนั ทรงสริ ิ ถงึ ในวนั อน่ื ๆ เลา่ กค็ งทลู ขอราชสมบตั กิ บั พระราชาเนอื งๆ ทีเดียว พระราชาครน้ั ไมพ่ ระราชทานพระพรแก่พระนาง จงึ ทรงพระดำ� รวิ า่ ‘ขน้ึ ชอื่ วา่ มาตคุ ามเปน็ คนอกตญั ญู มักท�ำลายมิตร นางน้ีพึงปลอมหนังสือ หรือจ้างคนโกงๆ ฆา่ ลูกทัง้ ๒ ของเราเสียได’้ พระองค์จึงตรัสส่ังให้พระราชโอรสท้ัง ๒ เข้าเฝ้า ตรัสความนนั้ มพี ระด�ำรสั ว่า “พ่อเอ๋ย อันตรายคงจักมีแก่พวกเจ้า ผู้อยู่ ณ ท่ีน้ี เจ้าทั้งหลายจงพากันไปสู่แดนแห่งสามันตราช หรือสู่ ราวป่า พากันมาก็ต่อเม่ือพ่อตายแล้ว ยึดเอาราชสมบัติ ของตระกลู เถิด” 10 ชาดกคลายโศก

ดงั นแ้ี ลว้ รบั สง่ั ใหพ้ วกโหราจารยเ์ ขา้ เฝา้ อกี ตรสั ถาม ก�ำหนดพระชนมายุของพระองค์ ทรงสดบั วา่ ‘จักย่งั ยืนไปตลอด ๑๒ ปีขา้ งหน้า’ จงึ ตรัสว่า “พ่อเอย๋ โดยล่วงไป ๑๒ ปถี ดั จากนี้ พวกเจ้าจงพา กันมา ใหม้ หาชนยกฉัตรถวาย.” พระราชโอรสเหล่าน้นั กราบทลู วา่ “ดีแล้ว พระเจ้าข้า” พากันถวายบังคมพระราชบิดา ทรงพระกันแสง๓ เสด็จลงจากพระปราสาท พระนางสีดาเทวี ทรงพระด�ำริ วา่ ‘ถงึ เราก็จักไปกบั พ่ีทั้งสอง’ ถวายบังคมพระราชบิดา ทรงพระกันแสงเสด็จออก กษัตรยิ ์ทงั้ ๓ พระองค์นน้ั แวดล้อมไปดว้ ยมหาชน ออกจากพระนครไป ครนั้ สดุ ระยะทางหนงึ่ กท็ รงใหม้ หาชน พากันกลับ เสด็จเข้าสู่หิมวันตประเทศโดยล�ำดับ สร้าง อาศรม ณ ประเทศอนั มนี ำ้� และมลู ผลาผลสมบรู ณ์ ทรงเลยี้ ง พระชนมชพี ด้วยผลาผล พากันประทับอยแู่ ลว้ ๓ รอ้ งไห,้ ราชาศพั ทใ์ ชว้ า่ ทรงพระกนั แสง หรอื ทรงกนั แสง. ๑. ทสรถชาดก 11

ฝ่ายพระลักขณบัณฑิต และพระนางสีดา ได้ทูล ขอรอ้ งพระรามบัณฑิตรบั ปฏิญญาว่า “พระองค์ด�ำรงอยู่ในฐานะแห่งพระราชบิดาของ หมอ่ มฉนั เหตนุ น้ั เชญิ ประทบั ประจำ� ณ อาศรมบทเทา่ นน้ั เถิด หมอ่ มฉันท้ัง ๒ จกั น�ำผลาผลมาบ�ำรุงเลยี้ งพระองค”์ นบั แตน่ ้นั มา พระรามบณั ฑติ คงประทับประจ�ำ ณ อาศรมบทนนั้ เทา่ นนั้ พระลกั ขณบณั ฑติ และพระนางสดี า พากนั หาผลาผลมาปรนนบิ ัตพิ ระองค์ เม่อื กษัตรยิ ท์ ั้ง ๓ พระองคน์ ้นั ทรงเลยี้ งพระชนมชพี อยดู่ ว้ ยผลาผลอยา่ งนี้ พระเจา้ ทสรถมหาราช เสดจ็ สวรรคต ลงในปที ่ี ๙ เพราะทรงเศรา้ โศกถึงพระราชโอรส ครั้นจัดการถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระเจ้า ทสรถมหาราชเสรจ็ แลว้ พระเทวมี พี ระดำ� รสั ใหพ้ วกอำ� มาตย์ ถวายพระเศวตฉัตรแด่พระภรตกมุ ารผโู้ อรสของตน แต่พวกอ�ำมาตยท์ ลู วา่ “เจ้าของเศวตฉัตรยงั อยู่ในปา่ ” ดังนแี้ ล้ว จึงไมย่ อม ถวาย พระภรตกุมารตรัสวา่ “เราจักเชิญพระรามบัณฑิต ผู้เป็นพระภาดามา จากป่า.” 12 ชาดกคลายโศก

ให้ทรงเฉลิมพระเศวตฉัตร ทรงถือเคร่ืองราชกกุธ- ภณั ฑ์ ๕ อยา่ ง๔ พรอ้ มดว้ ยเสนา ๔ เหลา่ บรรลถุ งึ ทป่ี ระทบั ของพระรามบัณฑิตน้ัน ให้ต้ังค่ายพักแรมอยู่ ณ ท่ีอัน ไมไ่ กล เสด็จเข้าไป สู่อาศรมบทกับอ�ำมาตย์ ๒ - ๓ นาย ในเวลาทพี่ ระลักขณบัณฑิต และพระนางสดี าเสดจ็ ไปป่า เข้าเฝา้ พระรามบณั ฑิตผู้ทรงประทับน่งั อยา่ งสบาย ประหนง่ึ รปู ทองค�ำทตี่ ง้ั ไว้ ณ ประตอู าศรมบท ครั้นเม่ือเขา้ เฝา้ แลว้ จึงทรงถวายบังคม ประทบั ยืน ณ ทส่ี มควรขา้ งหนง่ึ กราบทลู ขา่ วของพระราชาแลว้ กท็ รง ฟุบลงแทบพระบาททั้งคู่ ทรงพระกันแสงพร้อมกับเหล่า อำ� มาตย์ พระรามบัณฑิตมิได้ทรงเศร้าโศกเลย มิได้ทรง พระกันแสงเลย แม้เพียงอาการผิดปกติแห่งอินทรีย์ กม็ ิไดม้ แี กพ่ ระองคเ์ ลย ในเวลาท่ีพระภรตะทรงพระกันแสงประทับนั่งเป็น เวลาสายัณหสมัย๕ พระลักขณบัณฑิต และพระนางสีดา ทงั้ ๒ พระองค์ ทรงพากนั ถือผลาผลเสดจ็ มาถึง ๔ น. เครอื่ งประดบั เกยี รตยิ ศของพระเจา้ แผน่ ดนิ มี ๕ อยา่ ง เรยี กวา่ เบญจราชกกุธภัณฑ์ คือ ๑. แส้จามรี ๒. มงกุฎ ๓. พระขรรค์ ๔. ธารพระกร ๕. ฉลองพระบาท, บางแห่ง ว่า ๑. พระขรรค์ ๒. เศวตฉตั ร ๓. มงกฎุ ๔. ฉลองพระบาท ๕. พดั วาลวชี นี ๕ น. เวลาเยน็ . (ป. สายณหฺ ; ส. สายาหนฺ ). ๑. ทสรถชาดก 13

พระรามบัณฑิตทรงดำ� ริวา่ ‘เจ้าลักขณะและแม่สีดายังเป็นเด็กยังไม่มีปรีชา ก�ำหนดถ่ีถ้วนเหมือนเรา ได้รับบอกเล่าว่า บิดาของเธอ สวรรคตแลว้ โดยรวดเรว็ เมอื่ ไมอ่ าจจะยบั ยงั้ ความเศรา้ โศก ไวไ้ ด้ แมห้ วั ใจของเธอกอ็ าจแตกไปได้ เราตอ้ งใชอ้ บุ ายให้ เจา้ ลักขณะและแมส่ ีดาจงไปแช่นำ�้ แลว้ ให้ได้ฟังข่าวนนั้ ’ ลำ� ดบั นนั้ ทรงชแี้ อง่ นำ้� แหง่ หนงึ่ ขา้ งหนา้ แหง่ กษตั รยิ ์ ทง้ั ๒ พระองคน์ ้ัน ตรสั ว่า “เจา้ ทง้ั ๒ มาชา้ นกั นเี่ ปน็ ทณั ฑกรรม๖ของเจา้ เจา้ จง ลงไปแช่นำ�้ ยืนอยู่” ดงั น้แี ลว้ จงึ ตรสั กึง่ พระคาถาวา่ มาน่ีแนะ่ เจ้าลักษณแ์ ละนางสีดาทั้งสองจงมาลงนำ้� พระลักขณะและพระนางสีดาท้ัง ๒ พระองค์น้ัน พากันเสด็จลงไปประทับยืนอยู่ ด้วยพระด�ำรัสครั้งเดียว เทา่ นัน้ ลำ� ดับนนั้ พระรามบณั ฑิต เมือ่ จะทรงบอกข่าวแหง่ พระราชบดิ าแกก่ ษตั รยิ ท์ งั้ ๒ พระองคน์ นั้ จงึ ตรสั กงึ่ คาถา ทเี่ หลือวา่ “พระภรตนี้กล่าว อยา่ งน้ีวา่ ‘พระเจา้ ทสรถสวรรคต เสียแลว้ ’.” ๖ น. การลงโทษ โทษทลี่ งแกส่ ามเณรทปี่ ระพฤตผิ ดิ 14 ชาดกคลายโศก

พระลักขณะและพระนางสีดาทั้ง ๒ พระองค์น้ัน พอไดส้ ดบั ข่าววา่ ‘พระราชบดิ าสวรรคตเทา่ นัน้ ’ ก็พากนั วสิ ญั ญี๗สลบไป พระรามบัณฑิตตรัสบอกซ�้ำอีก ก็พากันสลบไปอีก หมู่อ�ำมาตย์ชว่ ยกันอมุ้ กษัตริยท์ ้งั ๒ พระองค์ อนั ทรงถึง วิสัญญีภาพไปถึง ๓ ครงั้ ด้วยอาการอย่างนี้ ข้ึนจากน�้ำ ใหป้ ระทบั นงั่ บนบก เมอ่ื เธอทงั้ ๒ ไดล้ มอสั สาสปสั สาสะ๘แลว้ ทกุ พระองค์ ตา่ งก็ประทบั นั่ง ทรงพระกนั แสงคร�่ำครวญกนั เรือ่ ย ครง้ั นน้ั พระภรตกมุ ารทรงพระด�ำรวิ ่า ‘พระภาดาของเรา ลักขณกุมารและพระภคินี๙ สีดาเทวีของเรา สดับข่าวว่า พระทสรถสวรรคตเสียแล้ว มิอาจจะยับย้ังความเศร้าโศกไว้ได้ แต่พระรามบัณฑิต มิได้ทรงเศร้าโศก มิได้ทรงคร่�ำครวญเลย อะไรเล่าหนอ เป็นเหตุแห่งความไม่เศร้าโศกของพระองค์ ต้องถาม พระองค์ดู’ เม่อื ทา้ วเธอจะตรสั ถามพระองค์ จึงตรสั พระคาถา ที่ ๒ วา่ ๗ ว. หมดความรสู้ กึ , สนิ้ สต,ิ สลบ. ๘ น. ลมหายใจเขา้ ออก ๙ น. พสี่ าว หรอื นอ้ งสาว, ในทน่ี ี้ หมายถงึ นอ้ งสาว ๑. ทสรถชาดก 15

พ่รี าม ดว้ ยอานุภาพอะไร เจา้ พไี่ มเ่ ศรา้ โศกถึงส่ิงท่ี ควรเศร้าโศก ความทุกขม์ ไิ ดค้ รอบง�ำพี่เพราะได้ทรงสดบั วา่ ‘พระราชบิดาสวรรคต’ เลา่ ?” ลำ� ดับน้นั พระรามบณั ฑติ เมอื่ จะแสดงเหตทุ ่ีบงั คบั มใิ หพ้ ระองคท์ รง เศรา้ โศก แกพ่ ระกมุ ารภรตะนนั้ จงึ ตรสั วา่ “คนเราไม่สามารถจะรักษาชีวิต ท่ีคนเป็นอันมาก พร่�ำเพ้อถึง นักปราชญ์ผู้รู้แจ้งจะท�ำตนเพื่อให้เดือดร้อน เพื่ออะไรกนั ?. ทงั้ เดก็ ทง้ั ผใู้ หญ่ ทง้ั พาลทงั้ บณั ฑติ ทง้ั คนมง่ั มที ง้ั คน ยากจน ล้วนบ่ายหน้าไปหามฤตยู๑๐ทงั้ นน้ั . ผลไม้ที่สุกแล้ว ก็พลันแต่จะหล่นลงเป็นแน่ฉันใด สัตวท์ ง้ั หลายเกิดมาแลว้ ก็พลันแต่จะตายเปน็ แนฉ่ ันน้ัน. เวลาเช้าเห็นกันอยู่มากคน พอถึงเวลาเย็นบางคน ก็ไม่เห็นกัน เวลาเย็นเห็นกันอยู่มากคน พอถึงเวลาเช้า บางคนก็ไมเ่ ห็นกนั . ถ้าผู้ที่คร่�ำครวญหลงเบียดเบียนตนอยู่ จะพึงได้รับ ประโยชน์สักเล็กน้อยไซร้ บัณฑิตผู้มีปรีชาก็จะพึงท�ำ เช่นนัน้ บ้าง. ๑๐ ความตาย 16 ชาดกคลายโศก

ผู้เบียดเบยี นตนของตนอยู่ ย่อมซบู ผอม ปราศจาก ผวิ พรรณ สตั วผ์ ลู้ ะไปแลว้ ไมไ่ ดช้ ว่ ยคมุ้ ครองรกั ษา ดว้ ยการ ร่�ำไหน้ นั้ เลย การร่�ำไห้ไรป้ ระโยชน.์ คนฉลาดพงึ ดบั ไฟทไี่ หมเ้ รอื นดว้ ยนำ้� ฉนั ใด คนผเู้ ปน็ นกั ปราชญไ์ ดร้ บั การศกึ ษามาดแี ลว้ มปี ญั ญาเฉลยี วฉลาด พงึ รบี กำ� จดั ความเศรา้ โศกทเี่ กดิ ขนึ้ โดยพลนั เหมอื นลมพดั ปยุ นนุ่ ฉะน้นั . คนๆ เดียวเท่านั้นตายไป คนเดียวเท่านั้นเกิดใน ตระกลู สว่ นการคบหากนั ของสรรพสตั ว์ มกี ารเกยี่ วขอ้ งกนั เป็นอย่างยง่ิ . เพราะเหตนุ นั้ แล ความเศรา้ โศกแมจ้ ะมากมาย กไ็ ม่ ท�ำจิตใจของนักปราชญ์ผู้เป็นพหูสูต มองเห็นโลกน้ีและ โลกหนา้ รทู้ ัว่ ถงึ กรรมให้เรา่ รอ้ นได้. เราจักให้ยศ และโภคสมบัติ แก่ผู้ท่ีควรจะได้ จกั ทะนบุ ำ� รงุ ภรยิ า ญาตทิ ง้ั หลาย และคนทเ่ี หลอื นเี้ ปน็ กจิ ของบณั ฑิตผปู้ รีชา. พระรามบณั ฑติ ไดป้ ระกาศถงึ อนจิ จตา๑๑ดว้ ยคาถา ๖ คาถาเหลา่ น.้ี ฝงู ชนฟังธรรมเทศนาอนั ประกาศความไมเ่ ทย่ี งของ พระรามบัณฑิตนี้แลว้ พากนั สรา่ งโศก. ๑๑ ว. ความเปน็ สภาพทไ่ี มเ่ ทย่ี ง ๑. ทสรถชาดก 17

ตอ่ จากนนั้ พระภรตกมุ ารบงั คมพระรามบณั ฑติ ทลู วา่ “เชญิ พระองคท์ รงรบั ราชสมบตั ใิ นพระนครพาราณสี เถดิ .” “ดูก่อนพ่อ ท่านจงพาพระลักขณ์และสีดาเทวีไป ครองราชสมบตั ิกนั เถดิ .” ทลู ถามวา่ “ก็พระองค์เลา่ พระเจา้ ข้า.” ตรัสวา่ “พอ่ เอย๋ พระบดิ าของฉนั ไดต้ รสั ไวก้ ะฉนั วา่ ‘ตอ่ ลว่ ง ๑๒ ปี เจา้ คอ่ ยมาครองราชสมบตั ’ิ เมอ่ื ฉนั จะไป ณ บดั นเ้ี ลา่ ก็เป็นอันไม่ชื่อว่า ‘ไม่กระท�ำตามพระด�ำรัสของพระองค์’ แต่ครนั้ พน้ จาก ๓ ปี อนื่ ไปแลว้ ฉันจกั ยอมไป.” ทูลถามว่า “ตลอดกาลเพยี งนี้ ใครจกั ครองราชสมบตั เิ ลา่ .” “พวกเธอครองส.ิ ” ทูลวา่ “หากหม่อมฉันไมค่ รอง.” ตรัสว่า “ถ้าเช่นน้นั รองเทา้ คู่น้จี กั ครอง จนกว่าฉนั ไปแลว้ ” ทรงถอดฉลองพระบาทท�ำด้วยหญ้าของพระองค์ ประทานให.้ 18 ชาดกคลายโศก

กษัตริย์ทั้งสามพระองค์รับฉลองพระบาท บังคม พระรามบณั ฑิต แวดล้อมดว้ ยมหาชน เสดจ็ ไปสพู่ ระนคร พาราณสี. ฉลองพระบาทครองราชสมบัติตลอด ๓ ป.ี พวกอ�ำมาตย์พากันวางฉลองพระบาทหญ้าเหนือ ราชบังลังก์ แล้วพากันตดั สินคด.ี ถ้าตัดสินไม่ดี ฉลองพระบาทก็กระทบกัน ด้วย สัญญาน้ันต้องพากันตัดสินใหม่ เวลาท่ีตัดสินชอบแล้ว ฉลองพระบาทปราศจากเสยี งและคงเงียบอยู่. ต่อน้ันสามปี พระรามบัณฑิตจึงเสด็จออกจากป่า บรรลถุ งึ พระนครพาราณสี เสด็จเข้าสู่พระราชอุทยาน. พระกมุ ารทงั้ หลายทรงทราบความทพ่ี ระองคเ์ สดจ็ มา มีหมู่อ�ำมาตย์แวดล้อมเสด็จไปพระอุทยาน ทรง กระท�ำนางสีดาเป็นอคั รมเหสแี ล้วอภเิ ษกท้งั คู.่ พระมหาสัตว์ทรงปราบดาภิเษกแล้ว ประทับเหนือ ราชรถอนั อลงกต๑๒ เสด็จเข้าสู่พระนครดว้ ยบรวิ ารขบวน ใหญ่ ทรงเลียบพระนครแล้วเสด็จข้ึนสู่ท้องพระโรง แห่ง พระสุนันทนปราสาท. ต้ังแต่นั้นมา ทรงครองราชสมบัติโดยธรรมตลอด หมื่นหกพนั ปี ในเวลาส้ินพระชนมายุ ทรงยังเมืองสวรรค์ ให้เนืองแนน่ แลว้ . ๑๒ ก. ตกแตง่ , ประดบั ประดา. ๑. ทสรถชาดก 19

อภสิ มั พุทธคาถา๑๓นว้ี ่า พระเจา้ รามผมู้ พี ระศอดจุ กลองทอง มพี ระพาหาใหญ่ ทรงครอบครองราชสมบัติอยู่ตลอด ๑๖,๐๐๐ ปี ดังน้ี ยอ่ มประกาศเน้อื ความนัน้ . พระศาสดาทรงน�ำพระธรรมเทศนาน้ีมาแล้ว ทรง ประกาศสจั จะ ในเวลาจบสจั จะ กฎุ มุ พดี ำ� รงในโสดาปตั ตผิ ล ประชมุ ชาดก พระทสรถมหาราชครง้ั นน้ั ไดม้ าเป็น พระเจ้าสทุ โธทนมหาราช พระมารดา ได้มาเป็น พระนางสริ ิมหามายา สีดา ได้มาเป็น พระมารดาพระราหุล เจา้ ภรตะ ได้มาเปน็ พระอานนท์ เจ้าลกั ขณ ์ ได้มาเปน็ พระสารบี ุตร บรษิ ทั ได้มาเป็น พทุ ธบรษิ ทั สว่ นรามบัณฑติ ได้มาเป็น เราตถาคต แล. ๑๓ “คาถาของพระองค์ผู้ตรัสรู้แล้ว” เป็นค�ำที่แทบไม่พบในที่อื่น นอกจากอรรถกถาชาดก (พบในอรรถกถาเปตวตั ถุ ๑ ครงั้ ) ไมใ่ ช่ ของบคุ คลอน่ื ในเรอื่ ง และไมใ่ ชข่ องพระโพธสิ ตั ว์ 20 ชาดกคลายโศก

๒) สุชาตชาดก๑๔ ว่าด้วย ค�ำคมของคนฉลาด สถานที่ตรัส วดั เชตวัน เมืองสาวตั ถี ทรงปรารภ กฎุมพผี ทู้ บี่ ิดาตาย สาเหตุที่ตรัส กฎมุ พคี นหนง่ึ เมอื่ บดิ าตายแลว้ เทย่ี วปรเิ ทวนาการ๑๕ ร่ำ� ไร ไมอ่ าจบรรเทาความโศกได้. ลำ� ดับนน้ั พระศาสดาทรงเหน็ อปุ นสิ ยั โสดาปตั ติผล ของกฎุมพีน้ัน ทรงพาปัจฉาสมณะเสด็จเท่ียวบิณฑบาต ในนครสาวตั ถี เสด็จไปถึงเรือนของกฎุมพีนัน้ ประทบั น่งั บนอาสนะทเี่ ขาปลู าดไวแ้ ลว้ จงึ ตรสั กะกฎุ มุ พนี น้ั ผนู้ มสั การ แลว้ น่ังอยวู่ า่ “อุบาสก ท่านเศร้าโศกหรือ ?” เมอื่ กฎุมพนี นั้ กราบทู ลวา่ “พระเจ้าข้า ขา้ แต่พระองค์ผ้เู จริญ” ๑ ๑๕๔ (มชมามคตร.ก.ปฏั รฐเิ กทถวานอ+รรอถากกถารา)ชนาด. กกาจรตคกุ รกำ�่ คนรบิ วาญต,ชกาดารกร,ำ� ลพ.๕นั ๘. , น.๗๑๔, ๒. สชุ าตชาดก 21

22 ชาดกคลายโศก

จึงตรสั ว่า “อาวุโส โบราณกบัณฑิตทั้งหลาย ฟังถ้อยค�ำของ บณั ฑติ ทั้งหลายแลว้ เมอ่ื บดิ าตาย ไม่เศรา้ โศกเลย” อันกฎุมพีน้ันทูลอาราธนาแล้ว จึงทรงน�ำเอาเรื่อง ในอดีต มาสาธก๑๖ ดังต่อไปน้ี :- เนื้อหาชาดก กาลครง้ั หนง่ึ นานมาแลว้ พระโพธสิ ตั วเ์ กดิ ในตระกลู พ่อค้าเมืองพาราณสี มีช่ือว่า ‘สุชาตกุมาร’ เมื่อเติบโต เป็นหนมุ่ ป่ขู องเขากไ็ ดเ้ สยี ชีวิตลง หลังจากปู่เสียชีวิตแล้ว บิดาของเขาอยู่ในอาการ เศร้าโศกตลอดมา ไมม่ จี ิตใจทำ� การค้าขาย เมือ่ เผารา่ งปู่ เสรจ็ แล้ว กน็ ำ� กระดกู มาบรรจุสถูปดนิ ไว้ในสวนหลงั บา้ น เที่ยวไปไหว้กระดูกนั้น แล้วเดินวนเวียนน่ังร้องไห้อยู่ ไมอ่ าบนำ�้ ไม่กนิ ขา้ วไมท่ �ำการค้าขาย เป็นประจ�ำทกุ วนั สชุ าตกมุ ารเหน็ บดิ าตกอยใู่ นอาการเชน่ นน้ั จงึ คดิ หา วิธีเตือนสติ วันหน่ึงเขาเดินออกไปนอกบ้านเห็นวัวตายตัวหน่ึง จึงน�ำหญ้าและน�ำ้ มาวางไว้ข้างหนา้ มนั แลว้ พูดวา่ ๑๖ ก.ยกตวั อยา่ งมาอา้ งใหเ้ หน็ , อา้ งตวั อยา่ งใหเ้ หน็ สม. ๒. สุชาตชาดก 23

“จงกิน จงดมื่ ” ผคู้ นทีเ่ ดินผ่านไปมาเห็นเขาก็ถามว่า “ท่านทำ� อะไร ? เป็นบา้ เหรอ ปอ้ นอาหารให้วัวตาย” สุชาตกุมารก็ไม่ได้พูดตอบโต้อะไร ยังคงนั่งพูดอยู่ อยา่ งนนั้ ชาวบา้ นจงึ เดนิ ไปบา้ นบอกบดิ าของเขาใหท้ ราบ วา่ ‘สุชาตกุมารเปน็ บ้าแล้ว นงั่ ป้อนอาหารวัวทีต่ ายแลว้ ’ บิดาของเขาพอทราบเร่ือง ก็รีบไปดูด้วยความเป็น หว่ งลูกชาย ลืมการตายของบิดาไปช่วั ขณะ เม่ือไปถงึ ทลี่ ูกชายนง่ั อยจู่ ึงถามว่า “ลูกเป็นคนฉลาดมิใช่หรือ ? ท�ำไมจึงป้อนหญ้า ป้อนน้�ำให้วัวตายเล่า ? ไม่มีวันที่มันจะฟื้นคืนมาได้ดอก อยา่ มานง่ั บน่ เพอ้ เหมอื นคนไร้ความคดิ เลย” สชุ าตกมุ ารจงึ ตอบว่า “พอ่ ...ววั ตวั นรี้ า่ งกายมนั อยคู่ รบบรบิ รู ณด์ ี ผมเขา้ ใจ วา่ ‘มนั ตอ้ งลกุ ขน้ึ มากนิ ได’้ สว่ นปขู่ องเราไมม่ รี า่ งกายแลว้ พ่อยังไปนั่งร้องไห้คร�่ำครวญหาอยู่ท้ายสวนเป็นประจ�ำ พ่อมใิ ช่เปน็ คนไร้ความคิดกว่าเหรอ ?” บดิ าจงึ ไดส้ ติคนื มา กลา่ วยกย่องชมเชยสชุ าตกมุ าร แลว้ กลา่ เป็นคาถาว่า เจา้ รดพ่อผู้เดือดร้อนยงิ่ นักให้หายรอ้ น ทำ� ความกระวนกระวายของพ่อใหด้ ับไดห้ มดส้นิ 24 ชาดกคลายโศก

เหมอื นบคุ คลเอานำ้� รดไฟทต่ี ดิ เปรยี งใหด้ บั ไปฉะนนั้ เจา้ มาถอนลกู ศรคอื ความโศกทเ่ี สยี บแนน่ อยใู่ นหทยั ของพอ่ ออกไดแ้ ล้วหนอ เมอื่ พอ่ ถูกความโศกครอบง�ำ เจ้าไดบ้ รรเทาความโศกถงึ บดิ าเสียได้. พอ่ เป็นผูถ้ อนลกู ศรคอื ความโศกออกได้แล้ว ปราศจากความเศรา้ โศก หมดความมัวหมอง ลกู รัก พ่อจะไม่เศร้าโศก จะไม่รอ้ งไห้ เพราะไดฟ้ ังค�ำของเจ้า. คนผมู้ ปี ญั ญามใี จอนเุ คราะห์ยอ่ มทำ� บคุ คลใหห้ ลดุ พน้ จากความเศรา้ โศกได้เหมอื นกบั พอ่ สชุ าตบตุ รของเรา ท�ำเราผู้บิดาใหห้ ลุดพน้ ความโศก ฉะน้ัน. พระศาสดา ครน้ั ทรงนำ� พระธรรมเทศนานมี้ าแสดงแลว้ จงึ ทรงประกาศสจั จะทง้ั หลาย แลว้ ทรงประชมุ ชาดก. ในเวลาจบสัจจะกฎมุ พกี ็ดำ� รงอยใู่ นโสดาปัตตผิ ล. ประชมุ ชาดก สว่ นสชุ าตกมุ ารในครง้ั นน้ั ไดเ้ ปน็ เราตถาคต ฉะนแ้ี ล. ๒. สุชาตชาดก 25

26 ชาดกคลายโศก

๓) มตโรทนชาดก๑๗ วา่ ดว้ ย ร้องไหถ้ งึ คนตาย สถานทตี่ รสั พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ กฎุมพีในนครสาวตั ถีคนหน่งึ สาเหตทุ ี่ตรสั ภาดา๑๘ ของกฎุมพีคนหน่ึงได้ท�ำกาลกิริยาตายไป เขาถูกความโศกครอบง�ำ เพราะกาลกิริยา๑๙ ของพ่ีชาย กฎมุ พนี น้ั ไมอ่ าบน้�ำ ไม่บริโภคอาหาร ไม่ลบู ไล้ ไปป่าช้า แต่เช้าตรู่ ถงึ ความเศรา้ โศกร้องไห้อยู.่ พระศาสดาทรงตรวจดโู ลกในเวลาปจั จสุ มยั ทรงเหน็ อปุ นสิ ยั แหง่ โสดาปตั ตผิ ลของพชี่ ายแหง่ กฏมุ พนี น้ั จงึ ทรง พระดำ� รวิ า่ ‘เราควรน�ำอดีตเหตุมาระงับความเศร้าโศก แล้วให้ โสดาปัตติผลแก่พ่ีชายกฏุมพีน้ี เว้นเราเสียใครๆ อ่ืน ๑๗ ชาตกฏั ฐกถา อรรถกถาชาดก จตกุ กนบิ าตชาดก, ล.๕๘, น.๔๙๑, ๑ ๑๘๙ นมนม..คพรว่ีช.าามยตหายรอื. น้องชาย. ในเร่ืองน้ีนา่ จะหมายถงึ พีช่ าย ๓. มตโรทนชาดก 27

ผู้สามารถย่อมไม่มี เราเป็นท่ีพึ่งอาศัยของพ่ีชายแห่ง กฏมุ พนี ี้ จงึ จะควร.’ ในวนั รงุ่ ขนึ้ เสดจ็ กลบั จากบณิ ฑบาต ภายหลงั ภตั แลว้ ทรงพาปัจฉาสมณะไปยังประตูเรือนของพ่ีชายกฏุมพีน้ัน ผอู้ นั กฏมุ พพี ชี่ ายไดฟ้ งั วา่ ‘พระศาสดาเสดจ็ มา’ จงึ กลา่ ววา่ “ท่านท้ังหลายจงปูลาดอาสนะ” แล้วนิมนต์ให้เสด็จ เข้ามา พระองค์จงึ เสด็จไปแล้วประทับนัง่ บนอาสนะที่เขา ปลู าดไว.้ ฝ่ายกฏุมพีก็มาถวายบังคมพระศาสดาแล้วนั่ง ณ สว่ นสุดขา้ งหนง่ึ . ลำ� ดบั นัน้ พระศาสดาจงึ ตรสั กะกฏมุ พีนัน้ วา่ “ดกู ่อนกฎมุ พี ท่านคดิ เสียใจอะไรหรือ ?” กฏุมพกี ราบทูลวา่ “พระเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์คิด เสยี ใจตง้ั แตเ่ วลาทภ่ี าดา (พชี่ าย) ของขา้ พระองคต์ ายไป.” พระศาสดาตรสั ว่า “ดูกอ่ นผมู้ อี ายุ สังขารทง้ั หลาย ไม่เทีย่ ง สง่ิ ท่คี วรจะ แตกท�ำลาย กแ็ ตกท�ำลายไป ไม่ควรคิดเสยี ใจในเรอ่ื งน้ัน แมโ้ บราณกบณั ฑิตทง้ั หลาย เม่ือพี่ชายตายไป กไ็ มไ่ ด้คดิ เสียใจว่า ‘สงิ่ ทีค่ วรจะแตกทำ� ลาย ไดแ้ ตกทำ� ลายไปแลว้ ’ 28 ชาดกคลายโศก

อันกฏุมพีนั้นทูลอาราธนาแล้ว จึงทรงน�ำเอาเรื่องในอดีต มาสาธก ดงั ตอ่ ไปนี้ :- เนื้อหาชาดก ในอดตี กาล เมื่อพระเจา้ พรหมทตั ครองราชย์สมบัติ อยู่ ในนครพาราณสี พระโพธสิ ัตวบ์ ังเกดิ ในตระกลู เศรษฐี มที รพั ยส์ มบัติ ๘๐ โกฏิ เมือ่ พระโพธสิ ัตวน์ ้นั เจรญิ วยั แลว้ มารดาบิดา ก็ได้ท�ำกาลกิริยาตายไป เม่ือมารดาบิดานั้นท�ำกาลกิริยาตายไปแล้ว พ่ีชาย ของพระโพธสิ ตั วจ์ งึ จดั แจงทรพั ยส์ มบตั แิ ทน พระโพธสิ ตั ว์ อาศยั อยูก่ ับพชี่ ายนน้ั ในกาลต่อมา พ่ีชายน้ันได้ท�ำกาลกิริยาตายไปด้วย ความป่วยไข้ ญาตมิ ติ รทงั้ หลายพากันครำ�่ ครวญ รอ้ งไห้ สว่ นพระโพธิสตั ว์ไม่ครำ�่ ครวญ ไม่รอ้ งไห้ คนทั้งหลายพากนั ตเิ ตียนพระโพธสิ ัตวว์ ่า “ดูเอาเถิดท่านผู้เจริญทั้งหลาย เมื่อพี่ชายของผู้น้ี ตายไปแล้ว อาการแม้สักว่าหน้าสย้ิว๒๐ก็ไม่มี เขามีใจ แข็งกระด้างมาก เห็นจะอยากให้พี่ชายตายด้วยคิดว่า ‘เราเท่านนั้ จักไดใ้ ชส้ อยทรัพย์สมบตั ิทงั้ สองส่วน’ ” ๒๐ ก. ทำ� หนา้ นวิ่ ควิ้ ขมวดแสดงความไมพ่ อใจ หรอื เบอื่ หนา่ ย ในคำ� วา่ สยวิ้ หนา้ . ๓. มตโรทนชาดก 29

ฝา่ ยญาตทิ งั้ หลายกต็ เิ ตยี นพระโพธสิ ตั วน์ นั้ เหมอื นวา่ “เมื่อพีช่ ายตายเจา้ ไม่ร้องไห”้ พระโพธสิ ตั วน์ น้ั ไดฟ้ งั คำ� ของญาตเิ หลา่ นนั้ จงึ กลา่ ววา่ “ท่านทั้งหลายไม่รู้จักโลกธรรม ๘ ประการ เพราะ ความท่ีตนเป็นคนบอดเขลา จึงพากันร้องไห้ว่า ‘พี่ชาย ของเราตาย แมเ้ ราเองกจ็ กั ตาย เพราะเหตไุ รทา่ นทง้ั หลาย จงึ ไม่ร้องไห้ถงึ เราบา้ งวา่ ‘ผนู้ กี้ ็จกั ตาย’ แมท้ ่านทัง้ หลายก็จกั ตาย เพราะเหตไุ รจึงไมร่ อ้ งไห้ ถึงตนเองบา้ งวา่ ‘แมเ้ ราท้ังหลายก็จักตาย’ สังขารท้ังปวงย่อมเป็นของไม่เที่ยง แม้สังขาร อย่างหน่ึง ซ่ึงสามารถด�ำรงอยู่ตามสภาวะน้ันนั่นแหละ ย่อมไมม่ ี ท่านทั้งหลายเป็นผู้บอดเขลา ไม่รู้จักโลกธรรม ๘ ประการ จึงพากันร้องไห้ เพราะความไม่รู้ เราจักร้องไห้ เพื่ออะไรกัน ?” แลว้ กลา่ วคาถาเหล่านวี้ ่า : ท่านทง้ั หลาย ยอ่ มรอ้ งไหถ้ ึงแตค่ นท่ีตายแลว้ ๆ ท�ำไมจงึ ไมร่ ้องไหถ้ งึ คนทจี่ ักตายบ้างเลา่ สัตวท์ กุ จำ� พวกผูด้ ำ� รงสรรี ะไว้ ยอ่ มละทิ้งชวี ิตไปโดยล�ำดบั . 30 ชาดกคลายโศก

เทวดา มนษุ ย์ สตั วจ์ ตุบาท หมปู่ กั ษีชาติ และพวกงู ไม่มีอิสระในสรรี ะร่างกายนี้ ถึงจะอภริ มย์อยู่ (ในร่างกาย) น้ัน ก็ตอ้ งละท้งิ ชวี ติ ไปท้ังนนั้ . สุขและทุกข์ทเ่ี พ่งเล็งกันอย่ใู นหมู่มนุษย์ เป็นของแปรผนั ไมม่ นั่ คงอยอู่ ยา่ งน้ี การครำ�่ ครวญ การรำ�่ ไห้ ไมเ่ ปน็ ประโยชนเ์ ลย เพราะเหตไุ ร กองโศกจงึ ท่วมทับทา่ นได้ ? พวกนกั เลง และพวกคอเหลา้ ผไู้ ม่ทำ� ความเจริญ เป็นพาล ห้าวหาญ ไม่มีความขยนั หม่นั เพียร ไม่ฉลาดในธรรม ย่อมส�ำคัญบัณฑิตวา่ เป็นพาลไป. พระโพธิสัตว์คร้ันแสดงธรรมแก่ญาติเหล่าน้ัน ด้วย ประการอยา่ งนแ้ี ลว้ ไดก้ ระทำ� ญาตทิ งั้ หมดนน้ั ใหห้ ายโศกแลว้ พระศาสดา ครั้นทรงน�ำพระธรรมเทศนาน้ีมาแล้ว จงึ ทรงประกาศสจั จะ แล้วทรงประชุมชาดก ในเวลาจบสจั จะ กฏมุ พดี ำ� รงอยแู่ ลว้ ในโสดาปตั ตผิ ล. ประชุมชาดก บัณฑิตผู้แสดงธรรมแก่มหาชนแล้วกระท�ำให้หาย โศกเศร้าในครงั้ นั้น คอื เราตถาคต ฉะนแี้ ล. ๓. มตโรทนชาดก 31

32 ชาดกคลายโศก

๔) อุรคชาดก๒๑ วา่ ด้วย เปรยี บคนตายเหมือนงลู อกคราบ สถานท่ตี รสั พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ กฎมุ พคี นหน่งึ ผู้มบี ุตรตายแลว้ สาเหตทุ ่ตี รสั เรื่องปจั จบุ ันเปน็ เหมอื น เรื่องกฎมุ พีผูม้ ีภรรยาตาย และมีบิดาตายแล้วนั่นแหละ. แม้ในชาดกนี้ พระศาสดา เสดจ็ ไปยงั นิเวศนข์ องกฎมุ พีนั้น อย่างนัน้ เหมอื นกัน แลว้ ตรัสถาม กฎมุ พีน้นั ผมู้ าถวายบงั คมแลว้ นั่งอย่วู ่า “อาวโุ ส ท่านเศรา้ โศกหรอื ?” เมื่อกฎมุ พีนนั้ กราบทลู วา่ “พระเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ เศรา้ โศก ตง้ั แตบ่ ตุ รของข้าพระองคต์ ายไปแลว้ .” จงึ ตรสั วา่ ๒๑ ชาตกฏั ฐกถา อรรถกถาชาดก จตกุ กนบิ าตชาดก, ล.๕๘, น.๗๓๒, มมร. ๔. อุรคชาดก 33

“อาวุโส ช่ือว่าส่ิงท่ีมีการแตกท�ำลายเป็นธรรมดา ย่อมจะแตกท�ำลายไป ชื่อว่าสิ่งท่ีมีการพินาศไปเป็น ธรรมดา ย่อมจะพินาศไป ก็แหละสิ่งที่มีการแตกและ การพินาศไปนั้น จะมีแก่คนผู้เดียวเท่าน้ันก็หามิได้ จะมี ในหมู่บ้านเดียวเท่าน้นั กห็ ามิได้ ช่ือวา่ ‘สภาวธรรม’ คอื ความไม่ตายย่อมไม่มีในภพทั้งสาม ในจักรวาลอันหา ประมาณมิได้ แม้สังขารอย่างหนึ่งซ่ึงสามารถด�ำรงอยู่ โดยภาวะนั้นเทา่ น้นั ชอ่ื ว่าเที่ยงยัง่ ยืนย่อมไมม่ ี สตั วท์ งั้ ปวงมคี วามตายเปน็ ธรรมดา สงั ขารทงั้ หลาย มกี ารแตกสลายไปเปน็ ธรรมดา แม้โบราณกบัณฑิตท้ังหลาย เม่ือบุตรตายแล้ว คิดว่า ‘ส่ิงท่ีมีการพินาศไปเป็นธรรมดา’ พินาศไปแล้ว จงึ ไมเ่ ศรา้ โศกเลย.” อนั กฎมุ พนี น้ั ทลู อาราธนาแลว้ จงึ ทรงนำ� เอาเรอื่ งใน อดตี มาสาธก ดังต่อไปน้ี :- เน้อื หาชาดก ในอดีตกาล เม่ือพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติ อยใู่ นนครพาราณสี พระโพธสิ ัตวบ์ งั เกดิ ในสกุลพราหมณ์ ณ หมู่บ้านใกล้ประตูเมืองพาราณสี สั่งสมทรัพย์สมบัติ 34 ชาดกคลายโศก

ไวเ้ ลย้ี งชพี ดว้ ยกสกิ รรม. พระโพธสิ ตั วน์ น้ั ไดม้ ที ารก ๒ คน คือ บุตร ๑ ธดิ า ๑. พระโพธิสัตว์นั้น เม่ือบุตรเจริญวัยแล้ว ได้น�ำ นางกุมาริกามาจากสกุลที่เสมอกัน. ดังน้ันชนเหล่าน้ัน ได้เป็น ๖ คนด้วยกันกับนางทาสี คือ พระโพธิสัตว์ ภรรยา บตุ ร ธดิ า ลกู สะใภ้และทาส.ี ชนเหลา่ นนั้ ไดเ้ ปน็ ผูส้ มคั รสมานยินดีอยกู่ นั ดว้ ยความรัก. พระโพธสิ ตั วไ์ ดใ้ หโ้ อวาทแกค่ นทง้ั ๕ ทเ่ี หลอื อยา่ งนวี้ า่ “ท่านท้ังหลายจงให้ทานโดยนิยาม๒๒ตามท�ำนองท่ี หาได้เท่าน้ัน จงรักษาศีล กระท�ำอุโบสถกรรม เจริญ มรณัสสติ จงก�ำหนดถึงภาวะคือความตายของท่าน ทั้งหลาย เพราะความตายของสตั ว์เหลา่ น้ี เปน็ ของยัง่ ยนื ชีวิตไม่ยั่งยืน สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง มีความเสื่อมสิ้นไป เป็นธรรม (ดา) เทียว ท่านท้ังหลายจงเป็นผู้ไม่ประมาท ท้งั กลางคนื และกลางวันเถดิ .” ชนทง้ั ๕ นนั้ รบั โอวาทวา่ “สาธ”ุ แลว้ เปน็ ผไู้ มป่ ระมาท เจรญิ มรณสตอิ ย.ู่ อยู่มาวันหน่ึง พระโพธิสัตว์ไปนาพร้อมกับบุตร ไถนาอยู่ บุตรลากหยากเหยื่อมาเผา ๒๒ น. การกำ� หนด, ทาง, อยา่ ง, แบบ ๔. อรุ คชาดก 35

ในท่ีไม่ไกลบุตรนั้น มีอสรพิษอยู่ในจอมปลวก แห่งหนึ่ง ควันไฟกระทบตาของอสรพิษนั้น มันโกรธ เล้ือยออกมาคิดว่า ‘ภัยเกิดแก่เราเพราะอาศัยคนผู้น้ี’ จึงกดั บตุ รชายจมท้ัง ๔ เข้ียว เขาลม้ ลงตายทันที. พระโพธิสัตว์เหลียวมาดูเห็นบุตรชายน้ันล้มลง จงึ หยุดโคแล้วไปหา ร้วู ่า ‘บุตรชายน้นั ตายแล้ว’ จึงยกบุตรนั้นข้ึนให้นอนอยู่ที่โคนไม้แห่งหน่ึง คลุมผ้าไว้ ไมร่ ้องไห้ ไม่ปรเิ ทวนาการรำ่� ไร ไถนาไปพลาง ก�ำหนดถึงเฉพาะความเปน็ อนจิ จงั ว่า ก็ส่งิ ที่มกี ารแตกเปน็ ธรรมดา แตกไปแลว้ ส่ิงที่มคี วามตายเป็นธรรมดา ตายไปแล้ว สงั ขารท้ังปวงไมเ่ ที่ยง ส�ำเรจ็ ดว้ ยความตาย. พระโพธสิ ตั วน์ นั้ เหน็ บรุ ษุ ผคู้ นุ้ เคยกนั คนหนง่ึ เดนิ ไป ทางใกลน้ า จึงถามว่า “จะไปเรอื นหรือพ่อ ?”. เม่อื เขากล่าววา่ “จ้ะ.” จึงกลา่ วว่า “ถ้าอย่างนั้น ท่านพึงแวะไปยังเรือนของพวกเรา บอกกะนางพราหมณเี ขาวา่ ‘วนั น้ี ไมต่ อ้ งนำ� ภตั ตาหารไป 36 ชาดกคลายโศก

เพื่อคนสองคนเหมือนดังก่อน พึงน�ำอาหารไปเฉพาะ ส�ำหรบั คนผู้เดียวเทา่ น้นั และเม่อื กอ่ น ทาสผี ูเ้ ดียวเท่าน้นั นำ� อาหารมา แต่วนั นี้ คนทั้ง ๔ พึงน่งุ หม่ ผ้าขาว ถือของ หอมและดอกไม้มา.’ ” บุรุษนั้นรับค�ำแล้วไปบอกแก่นางพราหมณีเหมือน อยา่ งนน้ั . นางพราหมณีถามวา่ “ดกู อ่ นพอ่ ข่าวนี้ใครใหท้ า่ นมา ?” บุรุษนั้นตอบว่า “พราหมณใ์ หม้ าจะ้ แม่เจ้า.” นางพราหมณีนนั้ รูไ้ ดว้ ่า “บุตรของเราตายแล้ว” แม้ความวปิ รติ สกั วา่ ‘ความ หวั่นใจก็มิได้มีแก่นางพราหมณีน้ัน’ ก็นางมีจิตอบรมไว้ ดแี ล้วอย่างน้ี นงุ่ หม่ ผ้าขาว ถือของหอมและดอกไม้ ให้ถอื อาหาร แล้วได้ไปพรอ้ มกบั คนทเี่ หลือ แม้คนผเู้ ดยี วกม็ ิได้มคี วาม ร้องไหห้ รอื ความรำ่� ไร. พระโพธสิ ตั วน์ ง่ั ในรม่ เงาทบี่ ตุ รชายนอนอยนู่ นั่ แหละ บรโิ ภคอาหาร ในเวลาเสรจ็ การบรโิ ภคอาหาร คนแม้ทั้งหมดก็ขนฟืนมา ยกบุตรชายน้ันข้ึนสู่ เชิงตะกอน บูชาด้วยของหอมและดอกไม้แล้วเผา น�้ำตา ๔. อุรคชาดก 37

แมห้ ยดเดยี วกไ็ มไ่ ดม้ แี กใ่ ครๆ ทงั้ หมดเปน็ ผเู้ จรญิ มรณสั - สตไิ วด้ แี ลว้ . ดว้ ยเดชแหง่ ศีลของชนเหลา่ น้ัน ภพแหง่ ทา้ วสักกะ จงึ แสดงอาการรอ้ น. ทา้ วสกั กะนนั้ ทรงใครค่ รวญอยวู่ า่ ‘ใครหนอประสงค์ จะใหเ้ ราเคลือ่ นจากที่ ?’ ทรงทราบวา่ ‘ภพร้อนเพราะเดช แห่งคณุ ของชนเหล่าน้นั เป็นผมู้ ีพระมนัส๒๓เล่ือมใส’ ทรงดำ� รวิ า่ ‘เราไปยงั ส�ำนักของชนเหล่าน้ี ทำ� ใหเ้ ขา บันลือสีหในเวลาเสร็จสิ้นการบันลือสีหนาท จึงกระท�ำ นิเวศนข์ องชนเหล่าน้นั ใหเ้ ตม็ ดว้ ยรัตนะทงั้ ๗ แล้วจงึ มา ยอ่ มจะควร’ จึงเสด็จไปในที่น้ันโดยเร็ว แล้วประทับยืนอยู่ท่ีข้าง ปา่ ชา้ ตรสั วา่ “ดกู ่อนพ่อ พวกทา่ นท�ำอะไรกนั .?” ชนเหล่านน้ั กล่าววา่ “นาย พวกเราเผามนษุ ย์ คนหน่งึ .” ท้าวสกั กะตรัสวา่ “พวกทา่ นจกั ไมเ่ ผามนษุ ย์ แตเ่ หน็ จะฆา่ เนอ้ื ตวั หนง่ึ แล้วจงึ ป้ิงอยู่.” ๒๓ [มะนดั มะนดั สะ-] น. ใจ 38 ชาดกคลายโศก

ชนเหล่าน้นั กลา่ ววา่ “นาย ข้อน้ันก็หามิได้ พวกเราเผาเฉพาะมนุษย์ เท่านัน้ .” ทา้ วสักกะตรสั ว่า “ถา้ อยา่ งนน้ั เขาคงจะเปน็ มนษุ ยท์ ม่ี เี วรกบั พวกทา่ น.” ลำ� ดับนัน้ พระโพธิสัตวจ์ ึงกลา่ วกะทา้ วสักกะนั้นวา่ “นาย เขาเป็นบุตรผู้เกิดแต่อกของพวกเรา ไม่ใช่ คนมเี วรกัน.” ท้าวสกั กะตรสั ว่า “ถ้าอย่างน้ัน เขาคงจะเป็นบุตร ผู้ท่ีไม่เป็นที่รัก ของทา่ น.” พระโพธิสตั ว์กล่าวว่า “นาย เขาเป็นบุตรทร่ี กั ยิ่งของขา้ พเจ้า.” ทา้ วสักกะตรัสว่า “เมอ่ื เป็นเชน่ นั้น เพราะเหตุไร? ท่านจึงไม่รอ้ งไห.้ ” พระโพธิสัตว์น้ัน เม่ือจะบอกถึงเหตุท่ีไม่ร้องไห้ จงึ กล่าวคาถาท่ี ๑ ว่า บุตรของขา้ พเจ้าละท้ิงรา่ งกายของตนไป ดจุ งูละทิ้งคราบเก่าฉะน้ัน ๔. อรุ คชาดก 39

เมือ่ ร่างกายแห่งบุตรของข้าพเจ้าใชอ้ ะไรไม่ได้ ท�ำกาละไปแลว้ อยา่ งนี้ บุตรของขา้ พเจา้ ถูกเผาอยู่ ย่อมไม่รู้สกึ ถึงความรำ�่ ไรของหมู่ญาติ เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจงึ ไมเ่ ศร้าโศกถงึ เขา คตขิ องตนมีอยา่ งใด เขากย็ อ่ มไปสูค่ ตขิ องตนอยา่ งน้ัน. ท้าวสักกะได้ทรงฟังค�ำของพระโพธิสัตว์ แล้วตรัส ถามนางพราหมณีวา่ “ดกู ่อนแม่ เขาเปน็ อะไรแกท่ ่าน ?” นางพราหมณตี อบวา่ “นาย เขาเป็นบุตรท่ีข้าพเจ้าบริหารด้วยครรภ์ถึง ๑๐ เดอื น ให้ดม่ื ถัน๒๔แลว้ บ�ำรุงเล้ียงใหเ้ จรญิ เติบโต.” ทา้ วสักกะตรสั ว่า “ดูก่อนแม่ บิดาไม่ร้องไห้ เพราะเป็นบุรุษก็ยกไว้ ส่วนหทัยของมารดาอ่อนโยน เพราะเหตุไร ? ท่านจึง ไมร่ อ้ งไห.้ ” นางพราหมณีนั้น เม่ือจะบอกเหตุท่ีไม่ร้องไห้ จึงกล่าวคาถา ๒ คาถาว่า ๒๔ น. เตา้ นม, นำ�้ นม. 40 ชาดกคลายโศก

บตุ รของดิฉันน้ี ดิฉันมไิ ดเ้ ชอ้ื เชญิ ใหเ้ ขา มาจากปรโลก เขากม็ าเอง แมเ้ มอ่ื จะไปจากมนษุ ยโลกน้ี ดิฉันกม็ ิได้อนุญาตใหเ้ ขาไป เขามาอย่างใด เขากไ็ ปอยา่ งน้ัน การปริเทวนาถึงในการทีบ่ ุตรของดฉิ ัน ไปจากมนุษยโ์ ลกน้ัน จะเกิดประโยชนอ์ ะไร บุตรของดิฉันถกู เผาอยู่ ก็ไม่ร้สู กึ ถงึ ความรำ่� ไร ของพวกญาติ เพราะฉะนั้น ดฉิ ันจงึ ไมเ่ ศรา้ โศก ถงึ เขา คติของเขามอี ยา่ งใด เขาก็ไปส่คู ติของตนอยา่ งน้นั . ล�ำดับน้ัน ท้าวสักกะ คร้ันได้สดับถ้อยค�ำของ นางพราหมณแี ล้ว จงึ ตรัสถามน้องสาวว่า “แน่ะแม่ เขาเป็นอะไรแกเ่ ธอ ?” น้องสาวกลา่ ววา่ “เขาเปน็ พี่ชายของดฉิ ันจ้ะ นาย.” ท้าวสักกะตรัสวา่ “แน่ะแม่ ธรรมดา น้องสาวท้ังหลายย่อมมีความ สิเนหา๒๕รกั ใคร่พ่ชี าย เพราะเหตไุ ร ? เธอจงึ ไม่รอ้ งไห.้ ” ๒๕ น. ความรกั ใคร,่ ความมเี ยอ่ื ใย. ๔. อรุ คชาดก 41

ฝ่ายน้องสาวนั้น เม่ือจะบอกเหตุที่ไม่ร้องไห้แก่ ทา้ วสกั กะน้ัน จึงกลา่ วคาถา ๒ คาถาวา่ เมือ่ พชี่ ายตายแล้ว หากว่าดฉิ ันจะพึงรอ้ งไห้ ดิฉนั ก็จะผา่ ยผอม เมอื่ ดิฉนั รอ้ งไหอ้ ยู่ จะมีผลอะไร ความไมย่ นิ ดีก็จะพึงมีแก่ญาติ มิตร และสหาย ของดิฉันย่งิ ขึน้ พีช่ ายของดฉิ ันถูกเผาอยู่ ก็ไม่รสู้ ึกถึงความรำ�่ ไห้ ของพวกญาติ เพราะฉะน้นั ดิฉันจงึ ไมเ่ ศรา้ โศก ถึงพช่ี ายนน้ั คตขิ องตนมอี ยา่ งใด เขากไ็ ปสคู่ ตขิ องตนอย่างนั้น. ครั้นท้าวสักกะได้ทรงสดับถ้อยค�ำของหญิงผู้เป็น น้องสาวแล้ว จึงตรสั ถามภรรยาของบุตรที่ตายนนั้ ว่า “แนะ่ แม่ เขาเป็นอะไรแกเ่ ธอ ?” ภรรยาตอบว่า “นาย เขาเป็นสามีดิฉนั .” ทา้ วสักกะตรสั ว่า “ธรรมดาสตรที งั้ หลาย เมอ่ื สามตี ายไป ยอ่ มเปน็ หมา้ ย ไร้ท่พี งึ่ เพราะเหตุไร ? เธอจงึ ไมร่ ้องไห้.” 42 ชาดกคลายโศก

ฝ่ายภรรยาน้ัน เม่ือจะบอกเหตุที่ไม่ร้องไห้แก่ ทา้ วสกั กะนนั้ จงึ กลา่ วคาถา ๒ คาถาวา่ เด็กร้องไห้ขอพระจันทรอ์ นั โคจรอยใู่ นอากาศฉนั ใด การทบ่ี คุ คลมาเศรา้ โศกถงึ ผู้ที่ละไปส่ปู รโลกแล้วน้ี ก็มอี ุปไมยฉันน้ัน สามีของดิฉันถูกเผาอยู่ ยอ่ มไม่ร้สู ึกถงึ ความร่ำ� ไห้ ของพวกญาติ เพราะฉะนน้ั ดิฉนั จึงไมเ่ ศรา้ โศก ถึงสามนี นั้ คติของตนมอี ย่างใด เขาก็ไปสูค่ ติของตนอย่างน้ัน. ทา้ วสกั กะไดท้ รงสดบั ถอ้ ยคำ� ของภรรยา แลว้ จงึ ตรสั ถามทาสีว่า “ดูกอ่ นแม่ เขาเปน็ อะไรแก่เจ้า ?” ทาสตี อบวา่ “ข้าแตน่ าย เขาเป็นนายของดิฉัน.” ท้าวสักกะตรัสวา่ “เจ้าจักได้ถูกบุรุษนี้เบียดเบียนโบยตีแล้วใช้สอย เป็นแน่ เพราะฉะนัน้ เจ้าจงึ ไมร่ ้องไห้เพราะคิดวา่ ‘บรุ ษุ น้ี พ้นไปเสยี ดีแลว้ .’ ” ๔. อรุ คชาดก 43

ทาสีกลา่ ววา่ “นาย ทา่ นอยา่ พดู อยา่ งนน้ั คำ� ทที่ า่ นพดู นไี้ มส่ มควร แก่นายดิฉันน้ี ลูกเจ้านายของดิฉันเพียบพร้อมด้วยขันติ เมตตาและความเอน็ ดู ไดเ้ ปน็ ผเู้ สมอื นบตุ รทดี่ ฉิ นั ใหเ้ จรญิ เตบิ โตในอก.” ท้าวสกั กะตรัสวา่ “เมอ่ื เปน็ เช่นนนั้ เพราะเหตไุ ร ? เจ้าจึงไม่ร้องไห.้ ” ฝา่ ยทาสนี นั้ เมอ่ื จะบอกเหตทุ ไ่ี มร่ อ้ งไหแ้ กท่ า้ วสกั กะ นัน้ จึงกลา่ วคาถา ๒ คาถาว่า หม้อน้�ำที่แตกแลว้ เชื่อมให้สนิทอีกไม่ได้ ฉันใด การทีบ่ คุ คลเศร้าโศกถึงผทู้ ล่ี ะไปสู่ปรโลกแลว้ น้ี ก็มีอปุ ไมยฉันนนั้ นายของดิฉันถูกเผาอยู่ ยอ่ มไม่รู้สึกถึงความร่ำ� ไห้ ของพวกญาติ เพราะฉะนน้ั ดฉิ นั จึงไมเ่ ศร้าโศก ถงึ นายนนั้ คตขิ องตนมอี ยา่ งใด นายของดิฉนั กไ็ ปส่คู ตขิ องตนอยา่ งนน้ั . ท้าวสักกะทรงสดับธรรมกถาของคนทั้งหมดแล้ว ทรงเลอื่ มใส ตรสั ว่า 44 ชาดกคลายโศก

“ท่านท้ังหลายเป็นผู้ไม่ประมาทเจริญมรณัสสติแล้ว จ�ำเดิมแต่นี้ไป ท่านทั้งหลายไม่ต้องท�ำการงานด้วยมือ ของตน เราเป็นท้าวสักกะเทวราช เราจักท�ำรัตนะทั้ง ๗ อันหาประมาณมไิ ด้ไว้ในเรอื นของพวกท่าน ท่านทั้งหลายจงให้ทาน รักษาศีล อยู่จ�ำอุโบสถ จงเปน็ ผูไ้ มป่ ระมาทเถิด.” คร้ันให้โอวาทแก่ชนเหล่านั้นแล้ว ทรงกระท�ำเรือน ใหม้ ีทรพั ย์นับประมาณไม่ได้ แล้วเสดจ็ หลกี ไป. พระศาสดา ครน้ั ทรงน�ำพระธรรมเทศนานีม้ าแสดง แล้ว จงึ ทรงประกาศสจั จะ แลว้ ประชุมชาดก ในเวลาจบสจั จะ กฎมุ พีดำ� รงอยู่ในโสดาปัตตผิ ล. ประชุมชาดก ทาสีในคร้ังน้ัน ไดเ้ ป็น นางขชุ ชตุ ตรา ธิดา ไดเ้ ป็น นางอบุ ลวรรณา บุตร ได้เปน็ พระราหลุ มารดา ไดเ้ ปน็ นางเขมา สว่ นพราหมณ์ ได้เป็น เราตถาคต ๔. อุรคชาดก 45

46 ชาดกคลายโศก

๕) มฏั ฐกณุ ฑลชิ าดก๒๖ ว่าด้วย คนรอ้ งไห้ถงึ คนตายเปน็ คนโงเ่ ขลา สถานทต่ี รัส พระวหิ ารเชตวัน ทรงปรารภ กฎุ มุ พผี หู้ นง่ึ ซง่ึ ลกู ตาย สาเหตุทีต่ รสั ในพระนครสาวัตถี บตุ รน้อยน่ารกั ของกุฎมุ พีผเู้ ปน็ พุทธอุปฐาก๒๗คนหนึ่งได้ตายลง กุฎุมพีเพียบด้วยความ เศร้าโศกถึงบุตร ไม่อาบน�้ำไม่บริโภคอาหาร ไม่ดูแล การงาน ไม่ไปที่บ�ำรุงพระพุทธเจา้ บ่นเพอ้ อยูอ่ ยา่ งเดยี ว ว่า ‘ลูกรักเจา้ จากพอ่ ไปกอ่ นแลว้ ’ เปน็ ต้น พระศาสดาตรวจดูสัตวโลกเวลาใกล้รุ่ง ทรงเห็น อปุ นสิ ยั โสดาปัตติผลของกุฎมุ พนี ั้น คร้ันรุ่งข้ึน พระองค์ทรงแวดล้อมไปด้วยภิกษุสงฆ์ เสด็จเท่ียวบิณฑบาตในพระนครสาวัตถี พอฉันเสร็จ ทรงสง่ ภกิ ษทุ ง้ั หลายกลับ ๒๒ ๖๗ ปชมามจั ตจรกบ.ุ ฏันั ฐใชกว้ถา่ าพอทุ รรธถอกปุ ถฏั าฐชาากดก ทสกนบิ าตชาดก, ล.๕๙, น.๙๐๕, ๕. มัฏฐกุณฑลชิ าดก 47

พระองค์ทรงมีพระอานันทเถระเป็นปัจฉาสมณะ (พระที่ติดตาม) ได้เสด็จไปที่ประตูเรือนกุฎุมพีน้ัน คนท้ังหลายบอกแก่กฎุ ุมพีว่า “พระศาสดาเสดจ็ มา” ล�ำดับนั้นคนในเรือนของกุฎุมพีได้ปูลาดอาสนะ แลว้ นมิ นตพ์ ระศาสดาใหป้ ระทบั นง่ั ชว่ ยกนั ประคองกฎุ มุ พี มาเฝ้าพระศาสดา กุฎุมพีถวายบังคมแล้วน่ังอยู่ ณ ส่วนข้างหน่ึง พระศาสดาทรงใชพ้ ระวาจาเยอื กเยน็ กอปรดว้ ยพระกรณุ า ทกั ทายแลว้ ตรัสถามว่า “อบุ าสก ทา่ นเศร้าโศกถึงบุตรน้อยหรือ ?” เม่ือกฎุ ุมพีกราบทลู ว่า “ถกู แล้วพระเจา้ ข้า” พระองคต์ รัสว่า “อุบาสก บัณฑิตในครั้งโบราณ เม่ือลูกตายก็เพียบ ดว้ ยความเศรา้ โศก เทย่ี วไป ครนั้ ไดฟ้ งั ถอ้ ยคำ� ของบณั ฑติ ก็รโู้ ดยถอ่ งแทว้ ่า เป็นฐานะทไี่ ม่ควรจะได้ แลว้ ก็มไิ ดเ้ ศร้า โศกแม้นอ้ ยหน่งึ เลย” กุฎุมพีนั้นทูลอาราธนาให้ตรัสเรื่องราว แล้วทรงน�ำ เอาเรื่องในอดตี มาสาธก ดงั ตอ่ ไปนี้ :- 48 ชาดกคลายโศก

เนอื้ หาชาดก ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติ อย่ใู นพระนครพาราณสี บุตรของพราหมณ์ผ้มู ีสมบตั ิมาก คนหน่ึง เม่ืออายุได้ ๑๕ - ๑๖ ปี ถูกพยาธิ๒๘ชนิดหนึ่ง เบียดเบียน ตายไปเกิดในเทวโลก ตั้งแต่บุตรนั้นตาย พราหมณไ์ ปปา่ ชา้ คยุ้ เขยี่ กองฟอน๒๙ครำ่� ครวญอยู่ เลกิ ละ การงานทกุ อยา่ ง เฝ้าแต่เท่ยี วเศร้าโศก เทพบตุ รผเู้ คยเปน็ บตุ รพราหมณน์ น้ั พจิ ารณาดเู หน็ ดังน้ันก็ทรงด�ำริว่า ‘เราจักท�ำการเปรียบเทียบอย่างหนึ่ง เพ่อื ระงับความโศกของพราหมณน์ น้ั ’ ครนั้ เวลาพราหมณไ์ ปปา่ ชา้ ครำ�่ ครวญอาลยั ถงึ บตุ รอยู่ จึงแปลงเพศเป็นบุตรของพราหมณ์นั้น ประดับด้วย อาภรณ์ทุกอย่าง ยืนอยู่ ณ ประเทศ๓๐แห่งหน่ึง เอามือ ทั้ง ๒ ไวเ้ หนือศรี ษะร้องไหด้ ว้ ยเสียงอันดัง พราหมณ์ได้ยินเสียงจึงแลดูเทพบุตรจ�ำแลงน้ัน กลับได้ความรักในบุตร จึงได้เข้าไปใกล้เทพบุตร เม่ือจะ ๒๘ น. ความเจบ็ ไข,้ ความไมส่ บาย, โรค. “โรคาพยาธ”ิ ๒๙ น. กองขเ้ี ถา้ ของศพทเี่ ผาแลว้ . ๓๐ น.บา้ นเมอื ง, ชาต,ิ แวน่ แควน้ , ดนิ แดน, รฐั . คำ� เพม่ิ ขา้ งหลงั ของคำ� เดมิ โดยไมท่ ำ� ใหค้ วามหมายเปลยี่ น. “หทยั ประเทศ อรุ ประเทศ.” ในทน่ี ี้ นา่ จะหมายความวา่ ที่ ๕. มฏั ฐกุณฑลชิ าดก 49

ถามว่า พ่อมาณพ เหตุไร ? เจ้าจึงมาร้องไห้คร�่ำครวญ อยูก่ ลางปา่ ชา้ น้ี จงึ ไดก้ ลา่ วคาถาท่ี ๑ วา่ : ทา่ นประดบั แลว้ ดว้ ยอาภรณต์ า่ งๆมตี า่ งหเู กลย้ี งเกลา ทดั ทรงระเบยี บดอกไม้ลบู ไลก้ ระแจะ๓๑จนั ทนส์ เี หลอื ง ท่านมที กุ ข์อะไรหรือ จึงมากอดอกคร�ำ่ ครวญอยใู่ นกลางป่า ? ล�ำดับน้ัน มาณพเทพบุตรเมื่อจะบอกแก่พราหมณ์ จึงกล่าว คาถาที่ ๒ ว่า : เรอื นรถงามแพรวพราวแลว้ ไปด้วยทองค�ำ ของเรามอี ยแู่ ลว้ เราหาลอ้ ทงั้ สองของรถนนั้ ยงั ไมไ่ ด้ ดว้ ยความทกุ ขอ์ นั นี้ เราจะตายเป็นแนๆ่ เมือ่ พราหมณจ์ ะรับหาให้ จงึ ได้กลา่ วคาถาที่ ๓ วา่ : ทา่ นต้องการรถชนิดไร รถทำ� ด้วยทองคำ� แก้วมณี โลหะ หรอื รูปิยะ จงบอกรถชนดิ นน้ั แก่เราเถดิ เราจักท�ำใหท้ ่าน จะหาลอ้ ทัง้ คใู่ ห้ท่าน ? ล�ำดับน้ัน มาณพจึงบอกแก่พราหมณ์นน้ั วา่ ๓๑ น. ผงเครอื่ งหอมตา่ งๆ ทป่ี ระสมกนั สำ� หรบั ทาหรอื เจมิ โดยปรกติ มเี ครอื่ งประสม คอื ไมจ้ นั ทน์ แกน่ ไมห้ อม ชะมดเชยี ง หญา้ ฝรนั่ . 50 ชาดกคลายโศก


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook