Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore julalak

julalak

Published by julalakjen, 2018-04-24 10:32:26

Description: julalak

Search

Read the Text Version

ส่อื วัฒนธรรม จ.อตุ รดติ ถ์

คำ�น�ำ จุลสารเลม่ นี้จดั ท�ำ ขึน้ เพ่ือใหผ้ ู้ท่ีไดเ้ ขา้ มาอา่ นได้รถู้ ึงสื่อวัฒนธรรมต่างๆของต�ำ บลป่าเซ่า และรวมไปถงึ สื่อวฒั นธรรมต่างๆของอ�ำ เภอเมอื งจงั หวดัอตุ รดติ ถ์ และเพือ่ ใหค้ นร่นุ ใหม่ๆได้รบั รถู้ ึงวัฒนธรรมต่างๆที่เราทุกคนควรเกบ็ รกั ษาวัฒนธรรมน้ันๆของแตล่ ะทอ้ งถิ่นไวใ้ หค้ งนานไปสรู่ ่นุ ลูกรุน่ หลาน ผู้จดั ทำ�หวังเปน็ อย่างยงิ่ วา่ จลุ สารเลม่ นีจ้ ะเป็นประโยชน์และได้ใหค้ วามรกู้ ับบคุ คลหลายๆคนทีไ่ ดเ้ ขา้ มาศกึ ษาและอ่านจุลสารเลม่ นี้ ผ้จู ัดทำ� จุฬาลักษณ์ จริ ะตันตพิ งศ์

ความเปน็ มาของจงั หวดั อตุ รดติ ถ์ อุตรดิตถ์ เดมิ สะกดวา่ อุตรดิฐ เป็นจังหวดั หนง่ึ ตั้งอยูท่ างภาคเหนอื ของประเทศไทยได้ชอื่ ว่าเมอื งท่าแห่งทิศเหนอื ต�ำ นานอนั ลกึ ลบั ของเมืองลับแล ดนิ แดนแหง่ ลางสาดหวานหอม อุตรดติ ถ์เปน็ เมอื งทม่ี คี วามสำ�คัญทางประวัติศาสตรม์ ายาวนาน โดยมีการค้นพบหลกั ฐานการตัง้ ถิ่นฐานของชมุ ชนมาตง้ั แตส่ มัยกอ่ นประวตั ศิ าสตร์ เดมิ ทีตวัเมอื งอตุ รดติ ถ์ในปจั จุบนั นเ้ี ปน็ เพยี งต�ำ บลชอ่ื “บางโพธ์ทิ า่ อิฐ” แต่เพราะบางโพธ์ทิ ่าอิฐซึง่ อยรู่ ิมฝ่ังขวาของแมน่ ำ้�น่านมีความเจรญิ รวดเรว็ เพราะเป็นท่าเรือขนถ่ายสินคา้สำ�คัญในหัวเมืองฝ่ายเหนอื ดังน้นั ในสมยั รัชกาลท่ี 5 พระองคจ์ ึงทรงพระกรุณาโปรดเกลา้ ฯ ย้ายเมอื งหลักมาจากเมืองพชิ ยั มายังตำ�บลบางโพธท์ิ า่ อิฐ และยกฐานะขึ้นเปน็เมอื ง “อุตรดิตถ์” ซง่ึ มคี วามหมายวา่ ทา่ นำ้�แห่งทิศเหนือของสยามประเทศ ต่อมาในสมยั รัชกาลที่ 6เมอื งอตุ รดิตถม์ คี วามเจรญิ ขน้ึ เมืองอุตรดติ ถจ์ งึ ไดร้ ับการยกฐานะขึ้นเปน็ จังหวดั

สญั ลักษณ์ประจำ�จงั หวัด ตราสญั ลกั ษณป์ ระจำ�จงั หวัดตราสัญลักษณป์ ระจำ�จังหวัดอุตรดติ ถ์ ออกแบบโดย พระพรหมพจิ ิตร (อู๋ ลาภานนในปี พ.ศ. 2483 ตามนโยบายของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรใี นสมัยนน้ั พระพรหมพิจติ รไดส้ นองนโยบายทีใ่ หน้ ำ�ปชู นียวตั ถสุ ถานสำ�คัญของจงั หวผูกเป็นตรา ทา่ นจงึ ไดน้ ำ�รูปมณฑปประดษิ ฐานพระแทน่ ศลิ าอาสน์ โบราณสำ�คัญขจงั หวดั อตุ รดิตถ์ มาประกอบผูกเขา้ ไว้เปน็ ตราประจำ�จังหวดั อุตรดติ ถ์ ตราที่ผกู ข้นึ ใน้เี ขียนลายเส้นโดย นายอณุ ห์ เศวตมาลย์ ไมม่ รี ปู ครุฑ, นามจงั หวัดและลายกนกประกอบ ตอ่ มาทางราชการจงึ ได้เพิม่ รายละเอยี ดทง้ั สามเข้าไว้ในตราจงั หวดัซึง่ ตราน้ียงั คงใช้มาจนปัจจุบนั

คำ�ขวัญประจำ�จังหวัด เหล็กน้ำ�พ้ลี ือเล่ือง เมอื งลางสาดหวาน บ้านพระยาพิชัยดาบหัก ถิ่นสักใหญ่ของโลกนท)์นวัดมาของใหม่ก

ดอกไมป้ ระจ�ำ จงั หวดัดอกประด่บู ้าน ดอกไมป้ ระจ�ำ จงั หวดั อตุ รดติ ถ์ ในราวปี พ.ศ. 2504 รัฐบาลเร่ิมใชแ้ ผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหง่ ชาติฉบบั แรก ได้มีโครงการพัฒนาท้องถิ่นหลายรูปแบบ สว่ นใหญเ่ น้นเรอ่ื งเศรษฐกิจในชุมชนเปน็ หลักเพ่อื เปน็ แบบอย่างในการพฒั นาสว่ นหนง่ึ จังหวดั จึงมนี โยบายให้หนว่ ยงานราชการทกุ แหง่ ปลูกไม้ประดบั และไมย้ นื ตน้ ในพ้ืนทีข่ องสว่ นราชการทกุ แห่ง และเสนอแนะใหป้ ลูกพันธ์ุไม้กลั ปพฤกษแ์ ละพันธ์ุไมป้ ระดบู่ ้าน แต่พันธไ์ุ ม้ท่ีปลูกท้ังสองชนิดมีเพียงดอกประดู่บ้านทบ่ี านสะพร่งั ทางจังหวัดจึงก�ำ หนดให้ดอกประด่บู ้านเป็นดอกไม้ประจำ�จงั หวัดอตุ รดิตถ์

อนุสาวรียพ์ ระยาพิชัยดาบหัก อนุสาวรยี ์พระยาพชิ ยั ดาบหัก ประดษิ ฐานอยู่หน้าศาลากลางจงั หวัดอุตรดติ ถ์อ�ำ เภอเมอื ง สร้างขนึ้ เพ่ือระลึกถงึ เกียรตใิ นเรื่องความองอาจ กลา้ หาญ รักชาติและเสยี สละของทา่ น มพี อ่ ค้า ประชาชน ร่วมกนั บรจิ าคทรัพย์เปน็ ทุนก่อสร้างโดยไมม่ ีงบประมาณแผ่นดนิ ของทางหน่วยงานราชการมาเกยี่ วข้องเลยเปน็ การเกดิ จากก�ำ ลงั ศรัทธาของชาวจงั หวดั อตุ รดติ ถ์

ประเพณแี ละวฒั นธรรมสภาพพ้นื ท่ขี องจงั หวดั อุตรดติ ถ์ อยูใ่ นเขตรอยตอ่ 3 วฒั นธรรม คอื ลา้ นนา ล้านชา้ ง และไทยกลาง เป็นผลให้ลักษณะวถิ ชี วี ติ ความเปน็ อยู่ ภาษาถิ่นและงานประเพณีพื้นบา้ นตา่ ง ๆ มลี กั ษณะผสมผสาน บางสว่ นพูดภาษาไทยถน่ิ เหนือ (คำ�เมือง) บางส่วนพดู ภาษาไทยภาคกลาง บางสว่ นพูดภาษาลาว และบางส่วนพูดภาษาทอ้ งถ่นิ ของตน

งานเทศกาล และงานประจำ�ปีจงั หวั วัดทา่ ถนน-งานเทศกาลพระยาพิชัยดาบหกั และงานกาชาดจังหวดั อุตรดิตถ์ ระหวา่ งวันท่ี 7- 16 มกราคม ของทกุ ปี ณ สนามกีฬาพระยาพชิ ยั ดาบหกั ถนนแปดวา และถนนประตูชัย-งานเทศกาลลางสาด ลองกองหวาน และสนิ คา้ OTOP อตุ รดติ ถ์ ณ สนามกฬี าพระยาพิชัยดาบหกั ถนนแปดวา และถนนประตชู ัย-งานเทศกาลสงกรานต์ถนนหลงหลินลบั แล(มหาสงกรานต์เมืองอตุ รดติ ถ์) ระหว่างวนั ท่ี 13 - 15 เมษายน ของทุกปี ณ ถนนฤดเี ปรมตง้ั แต่งวงเวยี นสาธารณสขุ ถงึแยกสนามแบดมนิ ตนั : จัดโดยเทศบาลเมืองอตุ รดิตถ์-งานประจำ�ปีนมสั การหลวงพอ่ เพชร วัดทา่ ถนน-งานประจ�ำ ปวี ัดหมอนไม้-งานหอการค้าแฟร์ : ณ สนามกฬี าพระยาพิชัยดาบหัก ถนนแปดวา และถนนประตูชัย จัดโดยหอการค้าจงั หวดั อุตรดติ ถ์-งานอตุ รดติ ถเ์ กษตรแฟร์ : ณ ถนนแปดวา และถนนประตชู ัย จดั โดยสำ�งานเกษตรจังหวัดอุตรดิตถ์

วดั ทา่ ถนน วัดท่าถนน เดิมช่ือ วดั วงั เตาหม้อ อยตู่ รงขา้ มสถานีรถไฟอุตรดิตถ์ ประดษิ ฐานหลวงพอ่ เพช็ ร พระพุทธรูปเชยี งแสนสิงห์ 1 หลอ่ ด้วยทองสัมฤทธิท์ ง้ั องค์ ในบรเิ วณวัดมอี าคารศิลปะแบบตะวันตก สรา้ งเมื่อ พ.ศ. 2474 เป็นโรงเรียนปรยิ ตั ธิ รรมและภาษาบาลขี องพระภกิ ษุสามเณรในเมอื ง มีลักษณะสถาปัตยกรรมสวยงาม และอโุ บสถซง่ึ มภี าพจติ รกรรมฝาผนังซงึ่ ไดร้ ับยกย่องว่าสวยงามทส่ี ุดในจังหวดั อตุ รดิตถ์หลวงพ่อเพ็ชรเป็นพระพทุ ธรูปส�ำ ริดปางมารวิชัยขัดสมาธเิ พชร ศิลปะเชยี งแสนสิงห์หน่ึง หนา้ ตกั กว้าง 32 นิ้ว มพี ทุ ธลกั ษณะงดงามมาก ชาวอุตรดิตถน์ บั ถอื ว่า เป็นพระพุทธรปู สำ�คัญประจ�ำ เมืองอตุ รดิตถ์ มีงานนมัสการประจำ�ปใี นวันกลางเดือนสข่ี องทุกปี

วัดหมอนไม้ หลวงพ่อสัมฤทธ์ิ เปน็ พระพทุ ธรูปศักด์ิสทิ ธ์ิ 1 ใน 9 พระพุทธรูปศักดิส์ ิทธแิ์ หง่เมอื งอุตรดิตถ์ องค์พระพุทธรูปเปน็ พระสกุลช่างสุโขทยั สรา้ งในสมัยกรุงสุโขทยั เป็นราชธานี ตวั องคพ์ ระเปน็ เนอ้ื โลหะส�ำ ริด ปางมารวิชัย ประดิษฐานเปน็ พระประธานภายในอโุ บสถ วดั หมอนไม้ อ�ำ เภอเมืองอตุ รดติ ถ์ จงั หวัดอตุ รดติ ถ์เมือ่ พ.ศ. 2446 สมภารตงิ่ เจ้าอาวาสวดั หมอนไม้ในสมยั นัน้ ไดพ้ บหลวงพอ่สมั ฤทธิ์ในวิหารเก่าในวดั ร้างแหง่ หนงึ่ ในอ�ำ เภอลบั แล องคพ์ ระเดมิ มีความชำ�รุดมากทา่ นจงึ ได้น�ำ ชาวบ้านและพระสงฆม์ าอัญเชิญองค์พระกลบั มายงั วัดหมอนไมเ้ พอ่ื สกั การบชู า โดยทา่ นเจา้ อาวาสองคต์ อ่ มาคอื สมภารหวิง ไดล้ งไปศกี ษาพระปริยตั ธิ รรมยังวดั สระเกษม กรุงเทพมหานคร จึงไดช้ กั ชวนชาวบา้ นเรยี่ ไรได้เงนิ และโลหะทองแดงจำ�นวนหนึ่งเพ่ือน�ำ ไปให้ชา่ งทำ�การบูรณะหลวงพ่อให้สมบูรณ์ โดยสมภารหวิงได้อัญเชญิ หลวงพ่อไปซ่อมแซมยงั บา้ นชา่ งหล่อ ธนบรุ ี (กรุงเทพมหานคร) ในปี พ.ศ.2455 จึงอัญเชิญกลับมาประดิษฐานเปน็ พระประธานในอโุ บสถวัดหมอนไม้จนปัจจุบนั

ลานพระบรมรูป เสด็จพอ่ ร.5 รมิ นา่ น พระบาทสมเดจ็ พระปรมินทรมหาจฬุ าลงกรณ์ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยู่หัว(20 กนั ยายน พ.ศ. 2396 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453) เป็นพระมหากษตั รยิ ์สยามรชั กาลที่ 5 แห่งราชวงศจ์ ักรี เสดจ็ พระราชสมภพเมอ่ื วันองั คาร เดอื น 10 แรม 3ค�่ำ ปีฉลู ตรงกบั วันท่ี 20 กนั ยายน พ.ศ. 2396 เป็นพระราชโอรสพระองค์ท่ี 4 ในพระบาทสมเดจ็ พระจอมเกลา้ เจ้าอย่หู ัว และเป็นพระองค์ท่ี 1 ในสมเดจ็ พระเทพศิรนิ ทราบรมราชนิ ี เสวยราชสมบตั เิ ม่ือวนั พฤหัสบดี เดือน 11 ขึ้น 15 ค่ำ� ปมี ะโรง พ.ศ.2411 เสด็จสวรรคต เมือ่ วันอาทติ ย์ เดอื น 11 แรม 4 ค�ำ่ ปีจอ ตรงกับวันที่ 23ตุลาคม พ.ศ. 2453 ด้วยโรคพระวักกะ


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook