Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore Rama V

Rama V

Published by Saowaluk Kongsiri, 2021-09-12 06:58:27

Description: พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ๒๔๑๑ - ๒๔๕๓ (๔๒ ปี)

Keywords: พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ๒๔๑๑ - ๒๔๕๓ (๔๒ ปี)

Search

Read the Text Version

Rama V พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ๒๔๑๑ - ๒๔๕๓ (๔๒ ปี) - ปฏิรูปการปกครองให้เป็นแบบ ตะวันตกรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง ยกเลิกระบบเจ้าเมือง ริเริ่มระบบ มณฑลเทศาภิบาล - ยกเลิกระบบจตุสดมภ์ ริเริ่มระบบ กระทรวง - ตั้งเสนาบดีสภา และองคมนตรี สภา - ปฏิรูปการคลัง ตั้งหอรัษฎากรณ์ พิ พั ฒน์ เพื่ อเก็บภาษีอากร - ปฏิรูปการศาล - การก่อตั้งการประปา การไฟฟ้า ไปรษณีย์โทรเลข โทรศัพท์ การสื่อสาร การรถไฟ

Rama V พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ๒๔๑๑ - ๒๔๕๓ (๔๒ ปี) - ประกาศออกมาให้มีการนับถือ ศาสนาโดยอิสระในประเทศ - ยกเลิกระบบไพร่ โดยให้ไพร่เสีย เงินแทนการถูกเกณฑ์ นับเป็นการเกิดระบบทหารอาชีพใน ประเทศไทย - ออกกฎหมายให้ลูกทาสอายุครบ ๒๐ ปีเป็นอิสระ จนกระทั่ง ออกพระราชบัญญัติเลิกทาส ร.ศ. ๑๒๔ (พ.ศ. ๒๔๔๘) - ระบบการใช้ธนบัตรและเหรียญ บาท

สาเหตุการปฏิรูป ๑) ปัญหาโครงสร้างเดิมของระบบบริหาร ราชการแผ่นดิน ๒) ปัญหาการจัดเก็บภาษีอากรและ การคลัง ๓) ปัญหา การควบคุมกำลังคน ในระบบ ไพร่ ๔) ปัญหาการมีทาส ๕) ปัญหาการขาด ประสิทธิภาพ ของระบบการทหารแบบ เดิม ๖) ปัญหา ข้อบกพร่องของระบบศาลและกฎหมาย ๗) ปัญหา ด้านการศึกษา พระราชปณิธานในการปฏิรูป ในการปฏิรูปการปกครองนั้นพระบาทสมเด็จพระ- จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ ทรงมีพระบรมราโชบายดังนี้ ประการแรก พระราชประสงค์ของพระองค์ ในการที่จะยุบ ประเทศราชและให้มารวมเป็นหัวเมือง ในราชอาณาจักร เพื่อ ต้องการเสริม สร้างความเป็น เอกภาพของชาติ ประการที่สอง ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะ รวมการบังคับ บัญชาหัวเมืองทั้งหมดมารวมไว้ที่ กระทรวงมหาดไทยเพียง กระทรวงเดียว

บริหารราชการแผ่นดิน กฎหมาย บุคลากร และงบประมาณ ๑) ด้านกฎหมาย สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงวางแผนในการปกครองส่วนภูมิภาค โดยอาศัยหลัก การปกครองแบบเก่าของไทยผสมผสาน กับแบบแผน การ ปกครองที่อังกฤษใช้ปกครองพม่า และมลายูคือ การ ปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล เมือง อำเภอ ตำบล และ หมู่บ้านตามลำดับ พร้อมออกกฎหมายในการปกครองที่สำคัญ ๔ ฉบับด้วยกัน ๑) พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ ร.ศ. ๑๑๖ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ๒) ข้อบังคับลักษณะปกครองหัวเมือง ร.ศ.๑๑๖ (พ.ศ.๒๕๕๐) ๓) ข้อบังคับลักษณะ ปกครองมณฑลตะวันตกเฉียงเหนือ ร.ศ.๑๑๘ พ.ศ. ๒๕๔๓) ๔) ข้อบังคับลักษณะปกครองท้องที่ใบ ๒ หัว เมืองอิสลาม ปักษ์ใต้ ร.ศ.๑๒๐ พ.ศ. ๒๕๕๔)

๒) บุคลากร สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรง ราชานุภาพได้ ทรงยกเลิกระบบ “กินเมืองมาเป็นการ รับเงินเดือนจากทาง รัฐบาล และ ยกเลิกระบบ “เจ้า เมือง” เป็น “ผู้ว่าราชการ เมือง” โดยลดบทบาทจากคำ ว่า “เจ้า” มาเป็นข้าราชการใน พระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัว มีที่ทำงานเป็นทางการ (Formal Organization) ทำให้การปฏิบัติราชการตาม เป้าหมายของทางราชการ (Policy Implementation) ที่ สะดวกและชัดเจนขึ้น ๓) งบประมาณ การจัดเก็บภาษีอากร ในสมัยนั้นค่อนข้าง แผ่นดิน จึงปฏิรูป การคลังขึ้น พ.ศ. ๒๕๑๖ ได้ตรา พระราชบัญญัติสําหรับหอ รัษฎากรพิพัฒน์ต่อมาได้ พัฒนาขึ้นมาเป็นกระทรวงพระ คลังมหาสมบัติใน พ.ศ. ๒๔๓๓

การปรับเปลี่ยนกระบวนการในการบริหาร การปฏิรูปเมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๕ ทรงมีพระบรม ราชโองการประกาศตั้งกระทรวงแบบ ใหม่ และผู้ดำรง ตำแหน่งเสนาบดี ให้เป็นสัดส่วนกัน ดังนี้ ๑) กระทรวงมหาดไทย ๒) กระทรวงกลาโหม ๓) กระทรวงการต่างประเทศ ๔) กระทรวงวัง ๕) กระทรวงเมือง (ภายหลังเรียกว่า กระทรวงนครบาล) ๖) กระทรวง เกษตราธิการ ๗) กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ๘) กระทรวงยุติธรรม ๙) กรมยุทธนาธิการ ๑๐) กระทรวงธรรมการ ๑๑) กระทรวงโยธาธิการ ๑๒) กระทรวงมุรธาธิการ (ประกาศตั้งตำแหน่งเสนาบดี ๑ เมษายน ร.ศ.๑๑๑ ราชกิจ จานุเบกษา ๕, ๒๕๓๕)

การปฏิรูประบบกฎหมายและการศาล สมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นระยะเวลาที่ชาวยุโรปเริ่มแสวงหา อาณานิคมและแผ่อิทธิพลเข้ามาในเมืองไทย พระองค์จึงได้ ทรงตรากฎหมายและประกาศต่าง ๆ ขึ้นใช้บังคับมากมาย เพื่อให้ทันสมัยเหมาะสมกับสภาพบ้านเมืองในขณะนั้น เช่น พระราชบัญญัติมรดกสินเดิมและสินสมรส ใน พ.ศ. ๒๓๙๔ พระราชบัญญัติพระสงฆ์สามเณร และศิษย์วัด พ.ศ. ๒๔๐๒ ในการติดต่อกับต่างประเทศ ทำให้ไทยเสีย “สิทธิสภาพนอกอาณาเขต” โดยต่างชาติอ้างว่ากฎหมาย ไทยป่าเถื่อนและรังเกียจวิธีการพิจารณาคดีแบบจารีต นครบาล (คือวิธีการไต่สวนคดีของตุลาการอย่างทารุณ เช่น การตอกเล็บ บีบขมับ รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯยกเลิก เมื่อ พ.ศ.๒๔๓๙) จึงไม่ยอมให้ใช้บังคับคนต่างชาติหรือ คนในบังคับบัญชา ทำให้ไทยต้องทำการปฏิรูปกฎหมายใน สมัยรัชกาลที่ ๕

การปฏิรูปกฎหมายไทยในสมัยรัชกาลที่ ๕ เริ่มเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๐ โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวง ราชุรีดิเรกฤทธิ์ พระนามเดิมว่า พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ หัวและเจ้าจอมมารดาตลับ ได้ทรงศึกษาวิชากฎหมายจาก มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ ทรงได้รับแต่ง ตั้งให้เป็นเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมและได้รับยกย่องว่าเป็น “พระบิดาแห่งกฎหมายและการศาลไทย” ทรงตั้งโรงเรียน สอนวิชากฎหมายขึ้น โดยดำเนินการสอนเอง โรงเรียน กฎหมายแห่งนี้ต่อมาได้กลายเป็นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ตั้งคณะกรรมการตรวจชำระและร่างกฎหมาย ได้แก่ กฎหมายลักษณะอาญา ประกาศใช้ใน พ.ศ.๒๔๕๑ จัดเป็น กฎหมายฉบับใหม่และทันสมัยที่สุดฉบับแรกของไทย ต่อมา ได้ประกาศใช้กฎหมายอีกหลายฉบับ เช่น พระราชบัญญัติ ลักษณะปกครองท้องที่ ร.ศ.๑๑๖ พระราชบัญญัติสิทธิ์ผู้ แต่งหนังสือ ร.ศ.๑๒๐ กฎหมายว่าด้วยการเลิกทาส พ.ศ ๒๔๔๘ ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีการปฏิรูปภาษากฎหมายไทยให้ รัดกุม ชัดเจนและเหมาะสมยิ่งขึ้น

การศาล ในสมัยรัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯให้ตั้งกระทรวงยุติธรรมใน พ.ศ.๒๔๓๔ เพื่อ เป็นการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เช่น ตุลาการขาดความยุติธรรม ทุจริตตัดสินคดีความล่าช้า เป็นต้น โดยแยกตุลาการออก จากฝ่ายธุรการ และรวมศาลที่กระจายอยู่ตามกระทรวงต่าง ๆ มาไว้ที่กระทรวงยุติธรรมเพียงแห่งเดียว และใน พ.ศ.๒๔๓๕ ได้มีการเปลี่ยนแปลงงานด้านการศาล คือ รวม ศาลอุทธรณ์คดีราษฎร์ ตั้งศาลราชทัณฑ์พิเฉทขึ้น ยกเลิก กรมรับฟ้องโดยตั้งจ่าศาลเป็นพนักงานรับฟ้องประจำศาล ต่างๆ ต่อมารวมศาลราชทัณฑ์พิเฉทกับศาลอาญา รวมศาล แพ่งเกษมกับศาลแพ่งไกรศรีเป็นศาลแพ่ง ใน พ.ศ.๒๔๔๑ จัดแบ่งศาลออกเป็น ๓ แผนก ได้แก่ ศาลฎีกา ศาล กรุงเทพฯ และศาลหัวเมือง

ผลงาน พระราชกรณียกิจที่สำคัญของรัชกาลที่ ๕ ได้แก่ ทรงพระ กรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการเลิกทาสและไพร่ในประเทศไทย การป้องกันการเป็นอาณานิคมของจักรวรรดิฝรั่งเศส และ จักรวรรดิอังกฤษ ได้มีการประกาศออกมาให้มีการนับถือ ศาสนาโดยอิสระในประเทศ โดยบุคคลศาสนาคริสต์และ ศาสนาอิสลามสามารถปฏิบัติศาสนกิจได้อย่างอิสระ นอกจากนี้ได้มีการนำระบบจากทางยุโรปมาใช้ในประเทศไทย ได้แก่ระบบการใช้ธนบัตรและเหรียญบาท ใช้ระบบเขตการ ปกครองใหม่ เช่น มณฑลเทศาภิบาล จังหวัดและอำเภอ และได้มีการสร้างรถไฟ สายแรก คือ กรุงเทพฯ ถึง เมือง นครราชสีมา ลงวันที่ ๑ มีนาคม ร.ศ.๑๐๙ ซึ่งตรงกับ พุทธศักราช ๒๔๓๓

นอกจากนี้ได้มีงานพระราชนิพนธ์ ที่สำคัญ การก่อตั้งการ ประปา การไฟฟ้า ไปรษณีย์โทรเลข โทรศัพท์ การสื่อสาร การรถไฟ ส่วนการคมนาคม ให้มีการขุดคลองหลายแห่ง เช่น คลองประเวศบุรีรมย์ คลองสำโรง คลองแสนแสบ คลองนครเนื่องเขต คลองรังสิตประยูรศักดิ์ คลองเปรม ประชากร และ คลองทวีวัฒนา ยังทรงโปรดเกล้าฯ ให้ขุด คลองส่งน้ำประปา จากเชียงราก สู่สามเสน อำเภอดุสิต จังหวัดพระนคร ซึ่งคลองนี้ส่งน้ำจากแหล่งน้ำดิบเชียงราก ผ่านอำเภอสามโคก อำเภอเมืองปทุมธานี อำเภอ คลองหลวง อำเภอธัญบุรีและอำเภอลำลูกกา จังหวัด ปทุมธานี,อำเภอปากเกร็ด และ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัด นนทบุรี และ เขตสายไหม เขตบางเขน เขตดอนเมือง เขต หลักสี่ เขตจตุจักร เขตบางซื่อ เขตดุสิต เขตพญาไท และ เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร

พระราชกรณียกิจด้านสังคม ทรงยกเลิกระบบไพร่ โดยให้ ไพร่เสียเงินแทนการถูกเกณฑ์ นับเป็นการเกิดระบบทหาร อาชีพในประเทศไทย นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงดำเนินการ เลิกทาสแบบค่อยเป็นค่อยไป เริ่มจากออกกฎหมายให้ลูก ทาสอายุครบ ๒๐ ปีเป็นอิสระ จนกระทั่งออกพระราช บัญญัติเลิกทาส ร.ศ. ๑๒๔ (พ.ศ. ๒๔๔๘) ซึ่งปล่อยทาสทุก คนให้เป็นอิสระและห้ามมีการซื้อขายทาส


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook