Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore หลักการเยี่ยมและส่งเสริมสุขภาพครอบครัว

หลักการเยี่ยมและส่งเสริมสุขภาพครอบครัว

Published by 013 chunyanut, 2021-11-29 10:06:01

Description: หลักการเยี่ยมและส่งเสริมสุขภาพครอบครัว

Search

Read the Text Version

ห ลั ก ก า ร เ ยี่ ย ม แ ล ะ ส่ ง เ ส ริม สุ ข ภ า พ ค ร อ บ ค รัว

1 ความหมายและวัตถุประสงค์ของการเยี่ยมครอบครัว ความหมายของการเยี่ยมครอบครัว การให้บริการด้านสุขภาพเชิงรุกใน การดูแลสุขภาพ ของบุคคลและครอบครัวในทุกกลุ่มอายุและสถานะ สุขภาพ โดยการทํางานร่วมกันระหว่างทีมสหสาขาวิชาชีพ เพื่อให้ผู้รับบริการสามารถดูแลตนเองได้เมื่อเกิดการเจ็บ ป่วย ปฏิบัติตามแนวทางการรักษาได้อย่างถูกต้อง และ ดํารงไว้ซึ่งภาวะสุขภาพดีตามสภาพของแต่ละบุคคลและ ครอบครัว เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการเยี่ยมครอบครัว การเยี่ยมครอบครัว เป็นการพยาบาลเชิงรุกที่มุ่งจัด บริการเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการหรือ ครอบครัวโดยการให้บริการแบบผสมผสานเป็นองค์รวม และมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการวางแผน และดําเนินการตามแผน เพื่อให้เหมาะสมกับความ ต้องการและสามารถดูแลตนเองให้เกิดสุขภาวะได้

1 ความหมายและวัตถุประสงค์ของการเยี่ยมครอบครัว การแบ่งกลุ่มภาวะสุขภาพครอบครัว - กลุ่มภาวะสุขภาพดี (Wellness condition) คือภาวะที่บุคคลหรือครอบครัวมีสุขภาพแข็งแรง มี พฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม หรืออาจมีผู้ป่วยอาศัยอยู่ ในครอบครัวแต่มีการปฏิบัติตัวเกี่ยวกับโรคที่เหมาะสม - กลุ่มภาวะสุขภาพคุกคาม (Health threat) คือภาวะที่บุคคลหรือครอบครัวเสี่ยงต่อการเกิดปัญหา สุขภาพหรือความเจ็บป่วยต่าง ๆ เช่น การได้รับสารพิษ จากยาฆ่าแมลง การเสพสิ่งเสพติด - กลุ่มภาวะสุขภาพบกพร่อง (Health deficit) คือภาวะที่ไม่ปกติทั้งทางร่างกายและจิตใจของบุคคล หรือครอบครัว - กลุ่มภาวะวิกฤต (Crisis situation) คือภาวะที่ บุคคลหรือครอบครัวเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงและ ต้องการปรับตัว

2 หลักการจัดลําดับการเยี่ยมครอบครัว 1 หลักความเร่งด่วน หมายถึง ความ ต้องการหรือความจํา เป็นที่ต้องให้การช่วย เหลือโดยเร็ว มิฉะนั้น จะเกิดผลเสียแก่ผู้รับ บริการหรือครอบครัว เช่น การเกิดอุบัติเหตุ 2 หลักการป้องกัน การแพร่กระจายเชื้อ หมายถึง การป้องกัน การแพร่กระจายเชื้อ จากบุคคลหนึ่งไปสู่ อีกบุคคลหนึ่ง หรือ จากครอบครัวหนึ่งไป สู่อีกครอบครัวหนึ่ง

3 การแบ่งระยะการเยี่ยมครอบครัว ระยะก่อนเยี่ยมครอบครัว 1 การเตรียมข้อมูล ได้แก่ - สภาพของชุมชนซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับครอบครัว ได้แก่ สภาพทางเศรษฐกิจ สังคม ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม และสภาพแวดล้อมต่าง ๆ - ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับผู้ป่วยและครอบครัวจากแฟ้ม ประวัติสุขภาพครอบครัว (Family folder) ในกรณีที่ ครอบครัวได้รับการเยี่ยมเป็นครั้งแรกควรมีการเก็บ รวบรวมข้อมูลทั่วไปด้วย - ในกรณีที่มีการส่งต่อผู้ป่วยจากโรงพยาบาล โรง พยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลหรือหน่วยงานอื่นๆ จะมี ข้อมูลในแบบบันทึกการส่งต่อ (Referral report) 2 การเตรียมตัวผู้เยี่ยม - การเตรียมความรู้ จากการศึกษาข้อมูลต่าง ๆ ของ ครอบครัวจะทําให้ทราบปัญหาเบื้องต้นและการวางแผน ให้การพยาบาล นอกจากนี้พยาบาลผู้เยี่ยมต้องศึกษา หาความรู้เพื่อใช้ในการวางแผนและให้การพยาบาลตาม หลักวิชา - การเตรียมความพร้อมด้านร่างกาย ได้แก่ การแต่งกาย ที่เหมาะสมและสุภาพเหมาะสมกับกาลเทศะ การวางตัวที่ดี จะช่วยสร้างความศรัทธาเชื่อถือและการได้รับความร่วม มือจากครอบครัวและผู้เกี่ยวข้องอื่น ๆ

3 การแบ่งระยะการเยี่ยมครอบครัว 3 การเตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือต่าง ๆ ที่จําเป็น สําหรับรายเยี่ยมหรือครอบครัวแต่ละครอบครัวและสมุด บันทึกเพื่อทําการบันทึกข้อมูลของครอบครัวโดยย่อ แล้ว จึงนํามาบันทึกในแฟ้มครอบครัวภายหลัง 4 การจัดลําดับการเยี่ยม 5 การติดต่อนัดหมายกับครอบครัวที่จะเข้าเยี่ยม รวมถึง ประสานงานกับผู้นําชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ระยะเยี่ยมครอบครัว 1 สร้างสัมพันธภาพกับครอบครัว การสร้างสัมพันธภาพ จะทําให้ครอบครัวเกิดความไว้วางใจและให้ความร่วมมือใน กิจกรรมต่าง ๆ โดยการแนะนําตัว แจ้งวัตถุประสงค์ของ การเยี่ยม รวมถึงการแสดงกิริยาต่าง ๆ ด้วยความ อ่อนน้อมและยอมรับถึงความแตกต่างของแต่ละ ครอบครัว 2 เก็บรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติม เนื่องจากข้อมูลของ ครอบครัวมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา พยาบาลจึง ต้องทําการเก็บรวบรวมข้อมูลของครอบครัวทุกครั้งที่ เยี่ยม 3 การร่วมกับครอบครัวในการระบุข้อวินิจฉัยทางการ พยาบาล วางแผนการพยาบาล และลงมือการปฏิบัติการ พยาบาล

3 การแบ่งระยะการเยี่ยมครอบครัว ระยะหลังเยี่ยมครอบครัว 1 ทําความสะอาดอุปกรณ์และตรวจเช็คความเรียบร้อย ของกระเป๋าเยี่ยม เพื่อความสะดวกพร้อมใช้สําหรับการ เยี่ยมครั้งต่อไป 2 บันทึกรายงานการเยี่ยมครอบครัว

4 เครื่องมือและอุปกรณ์การเยี่ยมครอบครัว - กระเป๋าเยี่ยมบ้าน ในกระเป๋าเยี่ยมบ้านประกอบด้วย อุปกรณ์ดังต่อไปนี้ อุปกรณ์สําหรับล้างมือ อาจเป็นสบู่หรือน้ํายาทําความสะอาดมือ 75% Alcohol ผ้าเช็ดมือ ชามรูปไต อุปกรณ์สําหรับทําแผล และ อุปก รณ์สําหรับตรวจร่างกายเบื้องต้น ได้แก่ ปรอท เครื่องวัด ความดันโลหิต หูฟัง ไฟฉายขนาดเล็ก สายวัด ไม้ กดลิ้น และอุปกรณ์สําหรับทิ้งขยะ การใช้กระเป๋าเยี่ยมบ้านใช้ เทคนิคสะอาด - เครื่องมือที่ต้องเตรียมเฉพาะรายเยี่ยม หมายถึง เครื่องมืออื่น ๆ ที่มีความจําเป็นต่อการให้บริการสมาชิก ครอบครัวเฉพาะราย เช่น อุปกรณ์และแบบบันทึกการ ประเมินพัฒนาการเด็ก - อุปกรณ์อื่น ๆ เช่น เครื่องชั่งน้ําหนักหรือสื่อการสอน ต่าง ๆ เพื่อให้สมาชิกในครอบครัวเข้าใจ และสามารถ ปฏิบัติตามคําแนะนําในการดูแลสุขภาพได้ถูกต้อง

5 กระบวนการพยาบาลในการเยี่ยมครอบครัว การประเมินครอบครัว คือ การศึกษาครอบครัวในฐานะผู้รับบริการ มีเป้าหมาย เพื่อรวบรวมข้อมูล การประเมินครอบครัวจะได้ผลดี พยาบาลต้องคิดเป็นระบบ ปรับเปลี่ยนจุดเน้นการดูแล บุคคลมาเป็นครอบครัวและประยุกต์แนวคิดทฤษฎี เช่น ทฤษฎีระบบ ทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่ ทฤษฎีพัฒนาการมา เป็นกรอบ ในการศึกษาและรวบรวมข้อมูลเพื่อประเมิน ครอบครัว การวินิจฉัยปัญหาสุขภาพครอบครัว หลังจากการเก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เพิ่มเติมจะทําให้ พยาบาลสามารถมองเห็นปัญหาหรือการต้องการความ ช่วยเหลือของครอบครัว และมีข้อมูลเพียงพอสําหรับนํา มาระบุข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลครอบครัวได้อย่าง ครอบคลุม ซึ่งข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลจะเป็นพื้นฐาน ของการเลือกวิธีให้การพยาบาล เพื่อบรรลุผลลัพธ์และ อยู่ในขอบเขตความรับผิดชอบของพยาบาล

5 กระบวนการพยาบาลในการเยี่ยมครอบครัว การวางแผนดูแลสุขภาพครอบครัว 1 การจัดลําดับความสําคัญของปัญหา เนื่องจากในแต่ละ ครอบครัวอาจมีข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล หรือปัญหาที่ ต้องแก้ไขหลายประการ จึงจําเป็นต้องมีการจัดลําดับ ความสําคัญของปัญหา เพื่อจะได้แก้ไขปัญหาที่มีความ สําคัญมากที่สุดไปตามลําดับ เกณฑ์ที่นํามาพิจารณาจัด ลําดับความสําคัญ ได้แก่ - ความสนใจของครอบครัว - ความรุนแรงของปัญหา - ความสามารถในการแก้ไขปัญหา 2 การกําหนดวัตถุประสงค์และเกณฑ์การประเมินผล วัตถุประสงค์จะต้องกําหนดให้สอดคล้องกับปัญหา มี ความชัดเจน ประเมินผลได้ - เกณฑ์การประเมินผลระยะยาวหรือเป้าหมายขั้นสูงสุด คือความมีสุขภาพดีที่สุดเท่าที่ความสามารถของบุคคล และครอบครัวจะอํานวย - เกณฑ์การประเมินผลระยะสั้นตั้งไว้เพื่อชี้ให้เห็นความ ก้าวหน้าของการพยาบาลที่วางไว้ 3 การกําหนดกิจกรรมการพยาบาล ควรมีความ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และเหมาะสมกับบริบทของ ครอบครัว

5 กระบวนการพยาบาลในการเยี่ยมครอบครัว การปฏิบัติการพยาบาลครอบครัว เป็นการนําแผนการพยาบาลที่วางไว้ไปปฏิบัติ ซึ่ง พยาบาลควรตระหนักถึงการมีส่วนร่วมของครอบครัว โดยเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยและผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน (caregiver) ได้แสดงความรู้สึกหรือความต้องการ การช่วยเหลือและพยาบาลควรคํานึงถึงการเสริมสร้าง พลังอํานาจให้สมาชิกในครอบครัวเกิดความมั่นใจและ สามารถปฏิบัติการดูแลตนเองและผู้ป่วยในครอบครัวได้ การประเมินผล 1 การประเมินรายครั้ง (Formative evaluation) เป็นการประเมินขณะเยี่ยมครอบครัว ผลจากการประเมิน รายครั้งจะนํามาใช้ปรับเปลี่ยนเป้าหมายการพยาบาล วัตถุประสงค์ วิธีการปฏิบัติการพยาบาลและ ลําดับความ สําคัญของการพยาบาล 2 การประเมินสุดท้าย (Summative evaluation) เป็นการประเมินเมื่อต้องการสิ้นสุดการเยี่ยมครอบครัว และใช้สรุปผลของการประเมินที่เกิดขึ้นว่าบรรลุเป้าหมาย ตามที่วางไว้หรือไม่และยังมีสิ่งที่ครอบครัวต้องการความ ช่วยเหลืออีกหรือไม่เพื่อการส่งต่อที่ถูกต้อง

6 การบันทึกรายงานการเยี่ยมครอบครัว วัตถุประสงค์การบันทึกรายงานการเยี่ยม ครอบครัว 1 เก็บไว้เป็นหลักฐาน การบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับ ครอบครัวและกิจกรรมของพยาบาลที่เกี่ยวข้องกับ ครอบครัวจะเป็นประโยชน์สําหรับเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องได้ รับทราบความเคลื่อนไหวในการปฏิบัติงาน นอกจากนี้ บันทึกรายงานยังเป็นหลักฐานทางกฎหมายอีกด้วย 2 เพื่อความต่อเนื่องของงาน พยาบาลชุมชนต้องดูแล หลายครอบครัวในเวลาเดียวกัน การบันทึก รายงานจะ ช่วยให้การทํางานของพยาบาลมีความต่อเนื่อง 3 เพื่อรายงานความก้าวหน้า การเปลี่ยนแปลงบางอย่าง เป็นไปช้า ๆ ต้องใช้การสังเกตอย่างถี่ถ้วน การบันทึก ข้อมูลที่ได้จากการสังเกตไว้เป็นระยะ ๆ จะเป็นหลักฐาน เพื่อเปรียบเทียบความเปลี่ยนแปลงนั้น 4 เพื่อประเมินคุณภาพของการพยาบาล การทบทวน รายงานที่บันทึกไว้จะช่วยให้ทราบถึงคุณภาพของการ พยาบาลที่ครอบครัวได้รับว่าดีหรือไม่เพียงใด โดยการ เปรียบเทียบกับมาตรฐานที่กําหนดไว้ 5 เพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัย บันทึกรายงานที่มีไว้นั้น อาจเป็นประโยชน์สําหรับผู้สนใจในการศึกษาวิจัยได้ และ การศึกษาวิจัยจะช่วยให้สามารถปรับปรุงบริการที่จัดให้ กับครอบครัวได้

6 การบันทึกรายงานการเยี่ยมครอบครัว หลักการบันทึกรายงานการเยี่ยมครอบครัว การบันทึกรายงานการเยี่ยมครอบครัวที่ดีต้องมี ความ ครบถ้วนตามกระบวนการพยาบาล สะท้อนการใช้ กระบวนการพยาบาล ซึ่งเป็นกระบวนการที่ใช้ในการแก้ ปัญหาอย่างมีระบบด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ จึงมี การนําหลัก 4C มาเป็นแนวทางในการบันทึกรายงาน - ความถูกต้อง (Correct) - ความครบถ้วน (Complete) - ความชัดเจน (Clear) - การได้ใจความ (Concise)


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook