Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ระบบบริการสุขภาพในระดับปฐมภูมิ และ ความจําเป็นพื้นฐํานด้านสุขภาพของประชาชน

ระบบบริการสุขภาพในระดับปฐมภูมิ และ ความจําเป็นพื้นฐํานด้านสุขภาพของประชาชน

Published by 013 chunyanut, 2021-11-29 10:03:24

Description: ระบบบริการสุขภาพในระดับปฐมภูมิ และ ความจําเป็นพื้นฐํานด้านสุขภาพของประชาชน

Search

Read the Text Version

ระบบบริการสุขภาพในระดับปฐมภูมิ และ ความจําเป็นพื้นฐานด้านสุขภําพ ของประชาชน COMMUNITY NURSING II

1 แนวคิดและหลักการของระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ การบริการสุขภาพปฐมภูมิ เน้นบริการด่านหน้าที่ทำ หน้าที่คัด กรองผู้ป่วยเพื่อส่งต่อไปรับการรักษาในระดับ ทุติยภูมิและตติยภูมิต่อไป เป็นหน่วยบริการที่อยู่ใกล้กับ ชุมชนมากที่สุดและเข้าถึงได้ง่ายที่สุด ใช้ชุมชนเป็นฐาน (Community-based) ในการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม (Holistic care) ให้การดูแลที่ต่อเนื่องและผสมผสาน (Integrated and Continuity of Care) เน้นการทางานเชิง รุกภายใต้ปรัชญาแนวคิดที่ว่า สุขภาพเป็นสิ่งที่ต้องการ ความใส่ใจและดูแลรักษาร่วมกันระหว่างบุคลากรสุขภาพ ปฐมภูมิกับบุคคล ครอบครัว และ ชุมชน โดยกิจกรรม บริการของการดูแลสุขภาพปฐมภูมิเน้นการรักษาโรคที่ พบบ่อยในท้องถิ่น การสร้างเสริม สุขภาพ และการ ควบคุมและป้องกันโรค หรือการส่งเสริมการพึ่งตนเอง ได้ของครอบครัวและชุมชน การบริการพยาบาลในระดับปฐมภูมิ เน้นการจัดบริการ ในชุมชนเพื่อดูแลสุขภาพของประชาชน ที่เบ็ดเสร็จ ( Comprehensive care) เน้นการรักษาโรคง่าย ๆ ที่ไม่ซับ ซ้อน เน้นการสร้างเสริมสุขภาพและการพึ่งตนเองของ ประชาชน

1 แนวคิดและหลักการของระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ ลักษณะที่สําคัญของบริการปฐมภูมิ 1. เป็นหน่วยงานที่ให้บริการด้านสุขภาพที่ผสมผสานทั้ง ด้านการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การรักษา และ ฟื้ นฟูสภาพ โดยพิจารณาปัญหาอย่างเป็นองค์รวม 2. เป็นบริการสุขภาพด่านแรกที่ประชาชนเข้าถึงได้ง่าย ทั้งในด้านภูมิศาสตร์ จิตวิทยา และด้าน เศรษฐกิจ 3. เน้นบทบาทการให้บริการสุขภาพในเชิงรุกเพื่อการ สร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการเพิ่ม ศักยภาพการพึ่งตนเองของประชาชน 4. ร่วมดูแลสุขภาพกับประชาชนอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ ก่อนป่วย ขณะป่วย และช่วงฟื้ นฟูสภาพ พร้อมกับการ จัดทาระบบข้อมูลของประชาชนตั้งแต่เกิดจนเสียชีวิต 5. ทาหน้าที่ประสานกับหน่วยบริการอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อ ให้บริการที่ต่อเนื่อง รอบด้าน อาทิ สถานพยาบาลเฉพาะ ด้านต่าง ๆ หน่วยงานสังคมสงเคราะห์ และหน่วยงาน ปกครองส่วนท้องถิ่น

1 แนวคิดและหลักการของระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ บริการสุขภาพปฐมภูมิที่พึงประสงค์ 1. ยุติธรรม เท่าเทียม เข้าถึงได้ (Equity - Accessibility) 2. มีคุณภาพ (Quality) ทั้งด้านการแพทย์และการดูแล แบบองค์รวม 3. มีประสิทธิภาพ (Efficiency) ใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่า 4. โปร่งใส ตรวจสอบได้ (Social Accountability) บริหาร จัดการด้วยหลักธรรมมาภิบาล 5. ตอบสนองความต้องการของประชาชน (Responsiveness)

2 โครงสร้างระบบบริการสุขภาพในระดับปฐมภูมิ ระบบสุขภําพระดับอําเภอ หมายถึง ระบบการทางานด้านสุขภาพระดับอาเภอร่วมกับ ทุกภาคส่วน ด้วยการบูรณาการด้านทรัพยากรภายใต้ บริบทของพื้นที่ผ่านกระบวนการชื่นชมและการจัดการ ความรู้แบบ อิงบริบทของแต่ละพื้นที่ ส่งเสริมให้ ประชาชนและชุมชนพึ่งตนเองได้และไม่ทอดทิ้งกัน โดยมี เป้าหมายร่วมเพื่อ สุขภาวะของประชาชน ดังนี้ 1. เพื่อให้ประชาชนสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้มากขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถพึ่งตนเองได้และ ชุมชนไม่ ทอดทิ้งกัน 2.สถานะสุขภาพของประชาชนในอาเภอดีขึ้น สามารถ จัดการปัญหาสุขภาพได้ด้วยตนเอง ลด ค่าใช้จ่ายในการ รักษาพยาบาล และมีศักยภาพพอที่จะเผชิญกับปัญหา สุขภาพที่เปลี่ยนแปลงไป 3. เกิดเครือข่ายความร่วมมือในการจัดการสุขภาพที่เข็ม แข็ง มีพลังในการขับเคลื่อนการสร้างสุขภาวะ ในอำเภอ และพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น 4. มีบริการสุขภาพที่ได้มาตรฐาน มีคุณภาพ ผู้รับบริการ มีความพึงพอใจ ผู้ให้บริการมีความสุขในการ ทำงาน

2 โครงสร้างระบบบริการสุขภาพในระดับปฐมภูมิ หลักกํารดําเนินงํานระบบสุขภําพระดับอําเภอ 1.การทำงานร่วมกันในระดับอำเภอ (Unity District Health Team) ของภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้ความสาคัญ กับ Working relationship คือ ความสัมพันธ์ที่นำไปสู่ ผลลัพธ์ทางสุขภาพที่ดีของประชาชน 2. การมีส่วนร่วมของเครือข่ายและชุมชน (Community participation) เน้นการมีส่วนร่วมของ ทุกภาคส่วนในระ ดับอาเภอในทุกขั้นตอนของการพัฒนา ร่วมคิด ร่วมรับรู้ ร่วมดำเนินการ และร่วมประเมินผล 3. การทำงานจนเกิดคุณค่า ทั้งกับผู้รับบริการและผู้ให้ บริการเอง (Appreciation and Quality) เป็น คุณค่าที่เกิด ขึ้นทั้งฝ่ายผู้ให้บริการและผู้รับบริการ โดยการพัฒนา คุณภาพไม่เน้นที่เชิงปริมาณเพียงอย่างเดียว แต่เน้นที่ เนื้อหาและคุณภาพบริการที่ประชาชนได้รับร่วมกัน จึง เป็นการสร้างคุณค่าให้เกิดขึ้น

2 โครงสร้างระบบบริการสุขภาพในระดับปฐมภูมิ การบริการปฐมภูมิ (Primary Care) หมายถึงการบริการระดับแรกที่อยู่ใกล้ชิดชุมชนมาก ที่สุด โดย ดูแลสุขภาพประชาชน ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว และชมชนอย่างใกล้ชิด โดยดูแลตั้งแต่กอน ป่วย ไปจนถึง การดูแลเบื้องตนเมื่อเจ็บป่วย และภาย หลังเจ็บป่วย ทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ

3 ทีมหมอครอบครัว ทีมหมอครอบครัว หมายถึง ทีมที่ประกอบด้วยสหวิชาชีพทั้งด้านการแพทย์ และการสาธารณสุข ทั้งใน หน่วยบริการใกล้บ้านและใน โรงพยาบาล รวมถึง อสม. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน ภาคประชาชน และ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการ ดูแลสุขภาพของประชาชน เพื่อดูแลปัญหาด้านกาย ครอบคลุมทั้ง รักษา ส่งเสริม ป้องกัน และดูแลด้าน จิตใจ สังคม บรรเทาทุกข์ พัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ ป่วย ครอบครัว ชุมชน อย่างใกล้ชิด เข้าถึงและเข้าใจ องค์ประกอบทีมหมอครอบครัว หรือ “3 หมอ” - ระดับอําเภอ ประกอบด้วย แพทย์และสหวิชาชีพ เช่น แพทย์เวชศาสตร์ / แพทย์เฉพาะทาง / แพทย์ ทั่วไป / ทันตแพทย์ / เภสัชกร / พยาบาลเวชปฏิบัติ / พยาบาล วิชาชีพ / นักกายภาพบาบัด / นักสังคม สงเคราะห์ / นักสุขภาพจิตในโรงพยาบาล และทีมจากสาธารณสุ ขอาเภอ

3 ทีมหมอครอบครัว - ระดับตําบล ประกอบด้วย บุคลากรในหน่วยบริการปฐม ภูมิ (โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตาบล/ศูนย์ แพทย์ ชุมชน/ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง/ศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาล/คลินิกชุมชนอบอุ่น) - ระดับชุมชน ประกอบด้วย ภาคประชาชนในพื้นที่นั้น เช่น อสม. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่ บ้าน จิตอาสา นักบริบาล แกนนาครอบครัว มีหน้าที่ช่วย เหลือผู้ป่วยและครอบครัวในการดูแลตนเอง หรือให้การ บริบาล ทำหน้าที่ประดุจญาติมิตร

4 ความจำเป็นพื้นฐานด้านสุขภาพของประชาชน ข้อมูลความจําเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) คือ ข้อมูลในระดับครัวเรือนที่แสดงถึงสภาพความจำเป็น พื้นฐาน ของคนในครัวเรือนในด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับ คุณภาพชีวิตที่ได้กำหนดมาตรฐานขั้นต่ำเอาไว้ว่า คนควร จะมี คุณภาพชีวิตในแต่ละเรื่องอย่างไรในช่วงระยะเวลา หนึ่งๆ หลักการของข้อมูลความจําเป็นพื้นฐาน 1. ใช้เครื่องชี้วัดความจาเป็นพื้นฐานเป็นเครื่องมือของ กระบวนการเรียนรู้ของประชาชนในหมู่บ้าน/ ชุมชน เพื่อ ให้ประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชน ทราบถึงสภาพความเป็นอยู่ ของตนเองและหมู่บ้าน/ชุมชนว่าบรรลุ ตามเกณฑ์ความ จำเป็นพื้นฐานแล้วหรือไม่ 2. ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนา โดยผ่าน กระบวนการความจาเป็นพื้นฐาน นับต้ั งแต่ การกำหนด ปัญหาความต้องการที่แท้จริงของชุมชน ค้นหาแนวทาง แก้ไขปัญหา ตลอดจนการประเมินผลการ ดำเนินงานที่ ผ่านมา 3. ใช้ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานเป็นแนวทางในการคัด เลือกโครงการ กิจกรรมต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับ สภาพ ปัญหาที่แท้จริงของหมู่บ้าน/ชุมชน สามารถใช้ทรัพยากร ที่มีอยู่อย่างจากัดได้อย่างทั่วถึงและมี ประสิทธิภาพ รวม ทั้งมีการประสานระหว่างสาขาในด้านการปฏิบัติมากขึ้น

4 ความจำเป็นพื้นฐานด้านสุขภาพของประชาชน ประโยชน์ของข้อมูลความจําเป็นพื้นฐาน 1. ประชาชน จะได้ทราบข้อมูลสถานการณ์คุณภาพชีวิต ของตนเองและครัวเรือน และสามารถปรับปรุงคุณภาพ ชีวิตให้ดีขึ้นได้ด้วยตนเอง 2. ประชาชน สามารถเข้าถึงและได้รับสวัสดิการด้านต่าง ๆ จากรัฐ โดยเฉพาะการช่วยเหลือสนับสนุนจากภาครัฐ อย่างทันท่วงทีเมื่อได้รับผลกระทบจากสาธารณภัยหรือ ภัยพิบัติ เพราะได้ให้ข้อมูลของตนเองไว้กับภาครัฐ 3. ชุมชน โดยคณะกรรมการหมู่บ้าน องค์กร หรือกลุ่ม ภายในหมู่บ้าน/ชุมชน จะได้ทราบและมีข้อมูล สถานการณ์ คุณภาพชีวิตของประชาชน ครัวเรือน และหมู่บ้าน/ชุมชน อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อจะได้นาไปใช้ในการวางแผน กำหนดกิจกรรมพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชน และยกระดับ คุณภาพชีวิตของประชาชน 4. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือภาครัฐที่เกี่ยวข้อง จะได้ทราบและมีข้อมูลสถานการณ์คุณภาพชีวิตของ ประชาชน ครัวเรือน ชุมชน ตำบล อำเภอ จังหวัด ตลอด จนภาพรวมในระดับประเทศ 5. ภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน กลุ่ม องค์กร หรือสถาบันที่เกี่ยวข้อง สามารถเข้าถึงประชาชน ทุกกลุ่มเป้าหมายตามสภาพปัญหาได้อย่างทั่วถึง 6. ภาคเอกชน สามารถนำข้อมูลในภาพรวมระดับหมู่บ้าน/ ชุมชนขึ้นไป ไปใช้ในการตัดสินใจและวางแผนทางธุรกิจ