Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore นางสาวฑิฆัมพร เกตุเพชร วิจัย ม.1 เทอม 2 -2563 การพัฒนาทักษะการฟังโดยใช้แบบฝึกหัดประกอบภาพยนตร์

นางสาวฑิฆัมพร เกตุเพชร วิจัย ม.1 เทอม 2 -2563 การพัฒนาทักษะการฟังโดยใช้แบบฝึกหัดประกอบภาพยนตร์

Published by thikumishaneul, 2022-06-27 16:19:44

Description: วิจัย ม.1 เทอม 2 -2563 การพัฒนาทักษะการฟังโดยใช้แบบฝึกหัดประกอบภาพยนตร์

Search

Read the Text Version

วจิ ยั ในช้ันเรยี น เร่ือง การพฒั นาทักษะการฟงั ภาษาองั กฤษโดยใช้แบบฝกึ หดั ประกอบภาพยนตร์ ของนักเรียนชนั้ มัธยมศึกษาปีที่ 1/2 ภาคเรยี นที่ 2 ปกี ารศึกษา 2563 ผู้วิจยั นางสาวฑิฆัมพร เกตเุ พชร ภาษาองั กฤษฟัง-พูด 2 อ 20213 กลมุ่ สาระการเรยี นรู้ภาษาต่างประเทศ ชั้นมัธยมศกึ ษาปที ่ี 1/2 ภาคเรยี นท่ี 2 ปกี ารศึกษา 2563 โรงเรียนพุนพนิ พิทยาคม ตำบลท่าข้าม อำเภอพนุ พิน จงั หวดั สรุ าษฎรธ์ านี เขตพ้นื ทีก่ ารศึกษามัธยมศึกษา เขต 11

ก ชอ่ื งานวิจัย การพัฒนาทกั ษะการฟงั ภาษาองั กฤษโดยใชแ้ บบฝึกหัดประกอบภาพยนตร์ ของนักเรยี นช้ันมธั ยมศึกษาปีที่ 1/2 ภาคเรยี นท่ี 2 ปกี ารศึกษา 2563 ช่ือผู้วิจยั นางสาวฑฆิ ัมพร เกตุเพชร กลุม่ สาระการเรียนรู้ ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) บทคดั ย่อ การวิจัยน้ีมวี ัตถุประสงค์เพื่อศกึ ษาผลการใช้แบบฝึกหัดประกอบภาพยนตร์ เพื่อการพัฒนาทกั ษะการ ฟังภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนพุนพินพิทยาคม ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 42 คน ได้มาจากการสุม่ อยา่ งงา่ ย โดยใช้ห้องเรียนเป็นหนว่ ยสุม่ เครื่องมือที่ใชใ้ นการวิจัย ได้แก่ แบบ ฝกึ ประกอบภาพยนตร์สำหรับนักเรยี นชน้ั มธั ยมศึกษาปีที่ 1/2 จำนวน 4 หน่วยการเรียน หนว่ ยการเรียนละ 2 ชั่วโมง และแบบทดสอบทักษะการฟังภาษาอังกฤษก่อนและหลังเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ คา่ เฉลีย่ ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่เข้าร่วมในกิจกรรมพัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษโดยใช้แบบฝึกหัด ประกอบภาพยนตร์ โดยภาพรวมมีทักษะการฟังภาษาอังกฤษ จากการทดสอบก่อนเรียน ระดับคะแนนเฉล่ีย อยู่ที่ 12.46 และจากการทดสอบหลังเรียน ระดับคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 17.55 โดยพบว่า นักเรียนมีทักษะการฟงั ภาษาอังกฤษดขี ึน้ หลงั จากพฒั นาทกั ษะการฟังภาษาอังกฤษโดยใช้แบบฝึกหัดประกอบภาพยนตร์ ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการฟังภาษาอังกฤษของนักเรียนก่อนเรียนหลังเรียนพบว่าหลัง การทดลองนักเรียนมีการฟังภาษาอังกฤษโดยใช้แบบฝึกหัดประกอบภาพยนตร์ดีขึ้น โดยมีทักษะการฟัง ภาษาอังกฤษโดยใช้แบบฝึกหดั ประกอบภาพยนตร์หลังการทดลองสูงกว่า ก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญอยู่ ที่ 4.90 จากการศึกษาปรากฏว่า การทดสอบจากการฟังภาษาอังกฤษโดยใช้แบบฝึกหัดประกอบภาพยนตร์ ทำให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถทำแบบทดสอบหลังเรียนได้ดียิ่งขึ้น ดังจะเห็นได้จากการ เปรียบเทียบผลการทดสอบกอ่ นเรียนและหลงั เรียนของนักเรยี นท่ีเพมิ่ ขนึ้

ข กติ ตกิ รรมประกาศ รายงานการวิจัยเรื่องการพัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษโดยใช้แบบฝึกหัดประกอบภาพยนตร์ ของนักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปีท่ี 1/2 ภาคเรียนท่ี 2 ปีการศึกษา 2563 ฉบับน้ี สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดเี พราะ ได้รับการสนบั สนนุ จากกลมุ่ สาระการเรยี นรูภ้ าษาต่างประเทศ โรงเรียนพุนพนิ พิทยาคม ขอขอบคุณนักเรียนจำนวน 42 คน ที่เรียนรายวิชาภาษาอังกฤษฟัง-พูด 2 อ 20213 ภาคเรียน ท่ี 2 ปกี ารศึกษา 2563 โรงเรียนพุนพินพทิ ยาคม ในการเป็นกล่มุ ตวั อย่างให้ผวู้ จิ ัยใช้ในการวิจัยในครง้ั น้ี ขอขอบคุณบุคคลรอบข้างที่ช่วยใหง้ านวิจยั ชิ้นนี้สำเร็จลลุ ่วงไปได้ คุณค่าและประโยชน์ใด ๆ จากการ วิจยั ในครงั้ นข้ี อมอบเป็นเครื่องบชู าคุณพระศรีรตั นตรยั พระคณุ บิดาและมารดาผ้ใู ห้กำเนดิ และเลี้ยงดูตลอดจน ครูอาจารย์ทุกทา่ นท่ไี ดป้ ระสิทธิประสาทวชิ า ฑิฆัมพร เกตเุ พชร ผวู้ ิจยั

สารบญั ค สารบญั หนา้ บทคดั ย่อ หน้า กติ ตกิ รรมประกาศ ก สารบัญ ข สารบัญตาราง ค บทที่ 1 บทนำ ง 1 ความเปน็ มาและความสำคัญ 1 วตั ถุประสงค์ของการวิจยั 2 สมมตฐิ านการวจิ ัย 3 ขอบเขตการวจิ ยั 3 นิยามศพั ทเ์ ฉพาะ 3 ประโยชน์ทค่ี าดว่าจะได้รบั 4 บทท่ี 2 เอกสารและงานวิจัยทเ่ี ก่ยี วขอ้ ง 5 1. หลกั สตู รการศึกษาขนั้ พ้นื ฐานกลุม่ สาระการเรียนรภู้ าษาตา่ งประเทศ พทุ ธศักราช 2551 5 2. เอกสารเกี่ยวกับทกั ษะการฟงั 6 6 2.1 ความหมายของการฟัง 7 2.2 ความสำคญั ของการฟงั 7 2.3 ประเภทของการฟัง 8 2.4 ลำดบั ข้นั ตอนการฟัง 9 2.5 การสอนทักษะการฟัง 11 2.6 การวดั และประเมินผลทักษะการฟัง 13 3. การนำภาพยนตรม์ าใชใ้ นการเรียนการสอน 13 3.1 ความหมายของภาพยนตร์ 13 3.2 ความสำคญั ของภาพยนตร์ที่มตี อ่ การเรยี นการสอน 14 3.3 ประเภทของภาพยนตร์ 15 3.4 การคดั เลอื กภาพยนตร์มาใชใ้ นการจดั การเรยี นการสอน 16 3.5 ประโยชนแ์ ละคุณค่าของภาพยนตร์การศกึ ษา 16 3.6 ทฤษฎีที่เก่ียวข้องกบั การนำภาพยนตรม์ าใช้ในการเรียนการสอน 16 3.7 การนำภาพยนตร์มาใชก้ ารเรยี นการสอนภาษาอังกฤษ 19 4. การสร้างแบบฝกึ 19 4.1 ความหมายของแบบฝึก 20 4.2 หลกั การและขัน้ ตอนสรา้ งแบบฝกึ 21 4.3 ประโยชน์ของแบบฝึก 23 บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย 23 กลุ่มเปา้ หมาย

ขัน้ ตอนการดำเนนิ การวิจยั ง เครอ่ื งมอื ที่ใชใ้ นการวิจัย การสรา้ งเครื่องมือทใี่ ชใ้ นการวจิ ยั 23 การรวบรวมข้อมูล 23 การวิเคราะหข์ อ้ มลู 24 สถติ ทิ ใี่ ชใ้ นกำรวเิ คราะหข์ ้อมูล 24 บทท่ี 4 ผลการวิเคราะหข์ ้อมูล 24 ผลการวิเคราะหข์ ้อมูล 24 บทท่ี 5 สรปุ อภปิ รายผล และขอ้ เสนอแนะ 25 สรุปผลการวจิ ยั 25 อภิปรายผล 27 ข้อเสนอแนะ 27 บรรณานุกรม 27 ภาคผนวก 28 29 31

สารบญั ตาราง จ ตารางท่ี 4.1 แสดงผลคะแนนจากการประเมินทักษะการพูดท้ัง 2 ครงั้ หน้า 25

1 บทที่ 1 บทนำ ความเปน็ มาและความสำคัญ ในปัจจุบันโลกของเรามีความเป็นพลวัต มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มนุษย์ที่อยู่ร่วมกันในสังคม จึงจำเป็นต้องมีการแลกเปลีย่ นเรียนรู้ เพื่อเท่าทันกับเหตกุ ารณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวนั มนุษย์อยู่รวมกันเป็น สังคมที่มีปฏิสัมพนั ธ์ต่อกนั และไมส่ ามารถอยู่เพียงลำพงั ไดส้ งิ่ หน่ึงท่ีเช่ือมมนษุ ย์เขา้ ด้วยกนั คือ การสือ่ สาร และ เครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสารระหว่างบุคคลนั่นคือ ภาษา แต่ด้วยความแตกต่างทางเชื้อชาติ วัฒนธรรมและ ภูมิภาค ภาษาอังกฤษจึงถือได้ว่าเป็นสื่อกลางที่มีความเป็นสากลสามารถใช้ในการสื่อสารกับผู้อื่นทั้งใน ระดับชาติและระดับสากลได้(อัจฉรีย์ คงอมรสายชล, 2552: 1) อีกทั้งภาษาอังกฤษยังมีบทบาทสำคัญทั้งด้าน การเมือง เศรษฐกจิ การศึกษา และดา้ นอื่นๆ ของสังคมปจั จบุ นั อาทเิ ช่น ความกา้ วไกลทางเทคโนโลยีและการ สื่อสารส่งผลให้ภาษาอังกฤษมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น เพราะเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร การศึกษา ค้นควา้ หาความรู้จากแหล่งเรียนรทู้ ห่ี ลากหลายรวมถึงการประกอบอาชพี ซึ่งการสอ่ื สารท้ังการส่งขอ้ มูลหรือรับ ข้อมูลจะเกิดประสิทธิผลต่อเมื่อบุคคลมีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษในการติดต่อสื่อสารได้อย่างมี ประสิทธภิ าพ (ฟาฏนิ า วงศเ์ ลขา, 2553) การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ ตามที่สำนักงานการศึกษาข้ัน พื้นฐานได้กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้กำหนดนโยบายการปฏิรูปแนว ทางการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในยุทธศาสตร์ การปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พ.ศ. 2558-2563) และ แนวทางการสอนภาษาองั กฤษแนวใหม่ ตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ โดยกำหนดคุณภาพผู้เรียนตาม กรอบอ้างอิงความสามารถทางภาษาของสภายุโรป The Common European Framework of Reference for Languages (CEFR) ซึ่งมีการปรับการเรียนการสอน จากการเน้นไวยากรณ์มาเป็นเน้นการสอนภาษาเพื่อ การสื่อสาร ที่เริ่มจากการฟัง ตามด้วยการพูด การอ่าน และการเขียนตามลำดับ เพื่อมุ่งเน้นการจัดการเรียน การสอนให้ผู้เรียนมีความสามารถทางทักษะภาษาตา่ งประเทศ ทั้งด้านการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน และสามารถใช้ภาษาสื่อสารในสถานการณ์จริง (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551) และทักษะการฟังนับว่าเป็น ทักษะรับสารที่สำคัญทักษะหนึ่งที่ใช้กันมาก ดังนั้นในการเรียนการสอนนักเรียนจึงควรได้รับการฝึกฝนทักษะ การฟังอย่างเพียงพอและจริงจัง การฟังมีผลต่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพราะเป็นกุญแจสำคัญของ ความสำเร็จที่จะนำไปสู่ความสามารถทางภาษา ความสามารถในการฟังทำให้ผู้ฟังสามารถเรียนรู้ทั้งทักษะ ทางด้านภาษาและทักษะในด้านอื่นๆ ได้ (Peterson, 2001: 106) ทักษะการฟัง เป็นทักษะที่มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นทักษะการรับรู้ (Receptive skill) เป็นพื้นฐานเริ่มแรกในการเรียนรู้ภาษา โดยเริ่มจากการรับรู้ ภาษา นำ้ เสียง นำไปสู่การแปลความและเกิดความเขา้ ใจ จนสามารถตอบโตก้ ลับได้ดว้ ยวิธีใดวิธหี นง่ึ ซึ่งการฟัง เป็นทักษะรับสารที่สำคัญและเป็นทักษะแรกที่ต้องทำการสอน ผู้พูดจะต้องฟังให้เข้าใจเสียก่อนจึงจะสามารถ พดู โตต้ อบ รวมทง้ั อ่านหรอื เขียนได้ จงึ เป็นทักษะพนื้ ฐานท่สี ำคัญในการเรียนร้ทู ักษะอนื่ ๆ (สมุ ิตรา อังวัฒนกุล, 2540: 159) การฟังเป็นกระบวนการที่ผู้ฟังต้องใช้ความสามารถในการเรียบเรยี ง ตีความ เพื่อที่จะได้เข้าใจว่า สงิ่ ทผ่ี พู้ ดู พูดมานัน้ มคี วามหมายว่าอยา่ งไร การฟังตอ้ งสมั พนั ธก์ ับความเข้าใจในสำเนียงหรือการออกเสียงของผู้ พูด รวมถึงไวยากรณ์ คำศัพท์และความเขา้ ใจด้านความหมาย (Howatt and Dakin, 1974) ดังน้ัน การฟงั จงึ มี ความสำคัญต่อการเรยี นรู้ภาษา เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ทักษะอื่นๆ ต่อไปตามลำดับอีกทัง้ มนุษย์เราใช้การฟังใน การสื่อสารในชีวิตประจำวันมากถึงร้อยละ50 และใช้ทักษะการฟังอย่างมากในการเรียนในชั้นเรียน (Goh,

2 2002: 46-48) การฟงั จึงเปน็ ทักษะทีจ่ ำเปน็ ในการทำงานและการดำเนนิ ชีวิต ดว้ ยเหตุนนี้ กั เรียนจึงจำเป็นต้อง ได้รับการพัฒนาการฟงั เพื่อความเข้าใจอย่างมีประสิทธภิ าพ ในปัจจุบันการสอนทักษะการฟังภาษาอังกฤษ มีการนำสื่อการสอนที่มคี วามทนั สมัยมาประยกุ ต์ใช้ใน การจัดการเรียนการสอน และส่ือประเภทหนึ่งที่นำมาใช้อย่างแพร่หลาย คือ ภาพยนตรด์ ้วยความก้าวหน้าทาง เทคโนโลยีในการรับส่งข้อมูลผ่านระบบอินเตอร์เน็ตมีประ สิทธิภาพมากขึ้นทำให้เราเข้าถึงแหล่งข้อมูล ภาพยนตร์ประเภทต่างๆ ได้สะดวกขึ้นภาพยนตร์ซึ่งจัดว่าเป็นสื่อการศึกษาที่มีประสิทธิภาพและช่วยกระตุ้น การเรยี นรไู้ ด้อย่างมีประสิทธภิ าพได้รับความนยิ มเพิ่มขน้ึ ตามลำดับ (สทุ ธิพงษ์ พงษว์ ร, 2552) มหี ลายเหตุผลท่ี สนับสนุนการนำภาพยนตร์มาใช้เปน็ สื่อการจัดการเรียนการสอน เนอ่ื งจากภาพยนตรส์ ามารถกระตุ้นแรงจูงใจ ของผู้เรียนได้และให้ความสนุกสนานภาพยนตร์นำเสนอภาษาที่ใช้จริง (Authentic language) และมีความ หลากหลายของภาษาเป็นภาษาที่ใช้ในสถานการณ์จริงในชีวิตประจำวัน แม้ว่านักเรียนจะไม่ได้อยู่ ในบริบท แวดล้อมทใ่ี ชภ้ าษาองั กฤษสอ่ื สารเป็นปกติ แต่นักเรยี นสามารถเรยี นรู้ผ่านภาษาอังกฤษทใ่ี ช้ในบทสนทนาต่างๆ จากภาพยนตร์ภาษาอังกฤษได้(Donaghy, 2014) ซึ่งมีผลต่อการเข้าใจเรื่องราวที่ได้รับฟังและรับชมซึ่ง สอดคล้องกับทฤษฎีรหัสคู่ (Dual Coding Theory) ที่กล่าวถึงการได้ยินคำพูด (Verbal) และการเห็นภาพ (Visual) ในขณะเดียวกัน จะทำให้ประสิทธิภาพในการเรียนรู้ดีกว่าการได้รับสารเพียงทางใดทางหนึ่งเท่านั้น เพราะข้อมูลที่ได้รับจะถูกประมวลผลในช่องทางสื่อสารที่ต่างกัน โดยข้อมูลจะถูกใส่รหัสหรือแปลงเป็น สัญลักษณ์ก่อนที่จะนำไปประมวลผลต่อ ทั้งรหัสภาพและรหัสคำพูดจะถูกนำไปจัดระเบียบเป็นความรู้ เพื่อให้ สามารถนำความรู้เหลา่ นน้ั ไปใชจ้ ดั เก็บและนำกลับมาใช้ได้อีก (Paivio, 1971) จากที่กล่าวมาข้างตน้ ทำใหท้ ราบวา่ การพฒั นาทักษะการฟังภาษาอังกฤษจำเป็นตอ้ งไดร้ ับการฝึกฝนที่ ประกอบด้วยวิธีการสอนและสื่อการสอนที่เหมาะสมและมีความทันสมัยมาใช้ในการสอนเพื่อลดปัจจัยหลักท่ี เป็นอุปสรรคในการฝึกฟังภาษาอังกฤษเพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับนักเรียนมากยิ่งขึ้นการใช้เพียงเทปบันทึกเสียง (audio) ที่มาพร้อมกับบทเรียนยังพบข้อจำกัดที่ส่งผลต่อการทำความเข้าใจของนักเรียน (สุนันทา เมฆสุทัศน์, 2548) เนื้อหาที่นำมาใช้ในการสอนทักษะการฟังควรเป็นเนื้อหาที่ใช้สื่อสารจริงในชีวิตประจำวัน (Authentic text) เรียงลำดับจากเรื่องใกล้ตัวไปสู่ไกลตัวและมีความหลากหลาย เช่น การฟังข่าว การฟังสื่อต่างๆ จาก โทรทัศน์ เช่น โฆษณา ละครและภาพยนตร์ เป็นตน้ (ชายุดา จนั ทะปดิ ตา, 2555) นอกจากน้ีการสร้างแบบฝึก ทักษะการฟังควรประกอบด้วยกิจกรรมที่มีความหลากหลาย สอดคล้องกับความต้องการและระดับ ความสามารถของผ้เู รยี น (ฤทยั รัตน์ ปานจรนิ ทร์, 2555) จากความสำคัญที่กล่าวมาข้างต้น ผู้วิจัยจึงมีความสนใจในการพัฒนาแบบฝกึ ประกอบภาพยนตร์เพื่อ มุ่งหวังให้นักเรียนมีพัฒนาการและมีผลสัมฤทธิ์ทักษะการฟังภาษาอังกฤษในระดับที่สูงขึ้น อีกทั้งเพื่อสร้าง แรงจูงใจในการเรียนรทู้ ักษะทางภาษาอังกฤษโดยเฉพาะทักษะการฟังภาษาอังกฤษ ซ่งึ เปน็ พนื้ ฐานท่ีจำเป็นต่อ การเรียนรู้ทักษะการพูดการอ่าน และการเขียนตามลำดับของการเรียนรู้ภาษา ผลที่ได้จากการวิจัยจะเป็น แนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษในระดับอื่นๆ ของนักเรียนให้มี ประสทิ ธภิ าพยิ่งขนึ้ ต่อไป วตั ถปุ ระสงค์ของการวจิ ัย 1. เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกประกอบภาพยนตร์สำหรับนักเรียนระดับช้ัน มธั ยมศกึ ษาปีท่ี 1/2 ตามเกณฑ์ 75/75 2. เพือ่ เปรียบเทียบทักษะการฟังภาษาองั กฤษของนักเรียนระดับชั้นมธั ยมศกึ ษาปีที่ 1/2 ก่อนและหลัง เรียนด้วยเแบบฝึกประกอบภาพยนตร์

3 สมมตฐิ านการวจิ ยั 1. แบบฝึกประกอบภาพยนตรส์ ำหรับนักเรียนระดบั ช้นั มัธยมศึกษาปีท่ี 1/2 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ทก่ี ำหนดไว้ คอื 75/75 2. ทักษะการฟังภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 หลังเรียนด้วยแบบฝึก ประกอบภาพยนตรส์ ูงกว่ากอ่ นเรียน ขอบเขตของการวจิ ัย 1. ประชากร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนที่เรียนรายวิชาภาษาอังกฤษฟัง-พูด 2 รหัสวิชา อ 20213 จำนวน 42 คน ภาคเรยี นที่ 2 ปกี ารศกึ ษา 2563 โรงเรียนพนุ พินพิทยาคม 2. ตวั แปรทศ่ี ึกษา ตัวแปรต้น ได้แก่ แบบฝกึ ประกอบภาพยนตร์ ตัวแปรตาม ไดแ้ ก่ ทกั ษะการฟงั ภาษาองั กฤษ 3. ระยะเวลาในการทดลอง ดำเนินการทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง โดยชั่วโมงแรกและชั่วโมงสุดท้าย ทำการทดสอบก่อนเรียน (Pre-test) และหลังเรียน (Post-test) รวมทงั้ สน้ิ 8 ชวั่ โมง นยิ ามศัพท์เฉพาะ 1. แบบฝึกประกอบภาพยนตร์ หมายถึง สื่อการสอนที่เป็นเอกสารและคลปิ ภาพยนตร์ แบบฝึกแต่ละ หน่วยประกอบด้วย คำชี้แจง สำคัญ ได้แก่ จุดประสงค์ของแบบฝึก ขั้นตอนการฝึกทักษะและกิจกรรมการฟัง ซงึ่ การสอนการฟังและชมภาพยนตรม์ ขี ัน้ ตอนเร่ิมจาก 1) ข้ันกอ่ นฟงั และชมภาพยนตร์ (Pre-listening and viewing) 2) ขน้ั ขณะฟงั และชมภาพยนตร์ (While-listening and viewing) 3) ข้ันหลงั การฟงั และชมภาพยนตร์ (Post-listening and viewing) ซึ่งเป็นการผสมผสาน การสอนทักษะการฟังภาษาอังกฤษและการสอนโดยใช้ภาพยนตร์เข้าด้วยกัน โดยมีรายละเอยี ดแต่ละข้นั ตอนดังต่อไปนี้ 1) ขั้นก่อนฟังและชมภาพยนตร์ (Pre-listening & viewing) ครูกระตุ้น ให้ผู้เรียนเกิดความ สนใจโดยใช้รูปภาพ/ภาพนิ่ง เพื่อให้นักเรียนคาดเดาเรื่องราวที่เกิดขึ้นและใช้คำถามนำ (guided questions) เพือ่ ระดมสมอง ดงึ ความรู้ หรือประสบการณเ์ ดมิ ของนักเรียนที่เกี่ยวกบั เร่อื งราวออกมา ผ่านกิจกรรมการถาม- ตอบแบบไม่เป็นทางการ เน้นการแบ่งปนั ขอ้ มลู รวมถึงการแนะนำคำศัพท์สำคญั (key vocabulary) 2) ขั้นขณะฟังและชมภาพยนตร์ (While-listening & viewing) เป็นขั้นรับฟังข้อมูลตีความ และทำความเข้าใจเรื่องราว แบ่งออกเป็น 3 รอบ โดยมีกิจกรรมระหว่างการฟังเพื่อให้นักเรียนฟังอย่างมี จุดมุ่งหมาย ดังนี้ รอบที่ 1 นักเรียนฟังเนื้อเรื่องโดยรวมและทำแบบฝึกบางส่วน รอบที่ 2 นักเรียนฟังและทำ แบบฝึกจนเสร็จและรอบที่ 3 นักเรียนฟังเนื้อเรื่องอีกครั้งพร้อมดูคำบรรยายครูและนักเรียนร่วมกันตรวจสอบ ความถูกต้องของแบบฝึก ตัวอย่างกิจกรรมในแบบฝึก เช่น การตอบคำถามแบบถูกผิด (True/False) คำตอบ แบบตัวเลือก (Multiple choices) หรือการเติมคำ (Gap Filling) เป็นต้น และการหยุดภาพหรือหยุดเสียง

4 (Pause/ Freeze-frame control) หรือให้ดูภาพยนตร์ทั้งเรื่อง (View a whole segment) ซึ่งแต่ละเทคนิค จะทำให้นักเรียนเกิดทักษะย่อย เช่น การคาดเดาเหตุการณ์ การเรียงลำดับเหตุการณ์ ตลอดจนการเข้าใจ ประเด็นสำคัญของเร่ือง เป็นตน้ 3) ขั้นหลังการฟังและชมภาพยนตร์ (Post-listening &viewing) เป็นขั้นนำภาษาที่ได้จาก การฟังไปใช้ในสถานการณ์จริง หลังจากที่มีการสรุปโครงสร้างทางภาษาระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนหลังการดู ภาพยนตร์เสร็จสิ้น โดยให้นักเรียนได้มีโอกาสในการผลิตภาษาของตนเองผ่านกิจกรรมที่ครูมอบหมายท้ัง กิจกรรมเดี่ยว กิจกรรมคู่หรือกิจกรรมกลุ่มตามเหมาะสมเช่น การแสดงบทบาทสมมติ (Role play) การ นำเสนอ (Presentation) หรอื การทำผงั ความคิด(Mind Mapping) เปน็ ต้น 2. แบบทดสอบความสามารถในการฟังภาษาอังกฤษ หมายถึง แบบทดสอบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเป็น แบบทดสอบทมี่ ีหวั ข้อของเร่ืองสอดคล้องกบั ท่ีนักเรยี นได้เรียนมาแล้วเป็นข้อสอบท่ีมแี บบ 4 ตัวเลอื ก มีจำนวน ทัง้ หมด 20 ขอ้ 20 คะแนน ใชเ้ วลา ในการทำแบบทดสอบ 60 นาที 3. ทักษะการฟังภาษาอังกฤษ หมายถึง ความสามารถในการฟังภาษาอังกฤษของนักเรียนที่พิจารณา คะแนนที่ได้จากแบบทดสอบวัดทักษะการฟัง จำนวน 20 ข้อ ก่อนและหลังการใช้แบบฝึกประกอบภาพยนตร์ ซึง่ ครอบคลุมทักษะย่อยการฟงั (Listening sub-skills) ไดแ้ ก่ 1) การฟังเพ่ือจบั ใจความสำคัญ หมายถงึ การฟงั เพ่อื จบั ใจความโดยรวมถึงเรื่องราวท่ีได้ฟังว่า เกย่ี วกบั ส่งิ ใดแบบครา่ วๆ 2) การฟังเพื่อระบุรายละเอียด หมายถึง การฟังเพื่อระบุรายละเอียดของข้อมูลที่มีความ เฉพาะเจาะจง 3) การฟังเพื่อระบุความหมายของคำศัพท์ หมายถึง การเข้าใจความหมายของคำศัพท์จาก การฟังและคาดเดาจากบริบทท่ีเกดิ ข้นึ 4) การฟังเพื่อระบุเหตุผล หมายถึงการฟังเพื่อเข้าใจและสามารถระบุเหตุผลของเรื่องราวท่ี เกิดข้ึนได้ และ 5) การฟังเพื่ออนุมานหรือตีความจากเรื่องที่ฟัง หมายถึง การเข้าใจเรื่องราวอย่างลึกซ้ึง มากกว่าการฟังจากคำพูดทไี่ ดย้ ินเพยี งเท่านั้น 4. นักเรยี น หมายถึง นกั เรยี นชน้ั มัธยมศึกษาปีท่ี 1/2 ทกี่ ำลังศึกษารายวิชาภาษาอังกฤษฟัง-พูด รหัส วชิ า อ 20213 ภาคเรยี นที่ 2 ปกี ารศึกษา 2563 โรงเรียนพนุ พินพิทยาคม ประโยชนท์ ีค่ าดวา่ จะไดร้ ับ 1. ได้ทราบสภาพปัญหา ความต้องการ และความสามารถการฟังภาษาอังกฤษ เพื่อใช้พัฒนาการ จดั การเรียนการสอนได้อยา่ งเหมาะสม 2. ไดแ้ บบฝกึ ประกอบภาพยนตรท์ ี่มีคณุ ภาพผา่ นการหาประสิทธิภาพแลว้ เพอ่ื พฒั นาความสามารถใน การฟังภาษาอังกฤษให้มปี ระสิทธภิ าพมากย่ิงข้ึน ซึ่งผ้สู อนสามารถนำกจิ กรรมไปใช้ในการจดั การเรียนการสอน ได้ 3. สามารถนำกระบวนการวิจัยไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนสำหรับผู้สอนใน รายวิชาอน่ื ๆ ได้

5 บทที่ 2 เอกสารและงานวิจยั ที่เก่ียวข้อง การวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยได้ศึกษาค้นคว้าเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ พัฒนาทักษะการฟัง ภาษาอังกฤษโดยใชแ้ บบฝึกหดั ประกอบภาพยนตร์ ผวู้ จิ ยั ไดศ้ ึกษาเอกสารและงานวจิ ัยที่เกีย่ วข้องกับ หลักการ แนวคิด ทฤษฎี ผลการศึกษาค้นคว้าและงานวิจัยต่าง ๆ สรุปสาระสำคัญโดยน้าเสนอจ้าแนกตามหัวข้อ ดังตอ่ ไปนี้ 1. หลกั สูตรการศึกษาขัน้ พ้ืนฐานกลุม่ สาระการเรียนรูภ้ าษาตา่ งประเทศ พทุ ธศักราช 2551 1.1 หลกั สตู รการศึกษาขั้นพน้ื ฐานกลุ่มสาระการเรยี นร้ภู าษาต่างประเทศ พุทธศกั ราช 2551 2. ทักษะการฟัง 2.1 ความหมายของการฟงั 2.2 ความสา้ คญั ของการฟงั 2.3 ประเภทของการฟัง 2.4 ล้าดบั ข้ันของการฟัง 2.5 การสอนทกั ษะการฟงั 2.6 การวดั และประเมินผลทักษะการฟงั 3. การนำภาพยนตร์มาใชใ้ นการเรยี นการสอน 3.1 ความหมายของภาพยนตร์ 3.2 ความสำคญั ของภาพยนตร์ที่มตี อ่ การเรียนการสอน 3.3 ประเภทของภาพยนตร์ 3.4 การคัดเลอื กภาพยนตรม์ าใช้ในการจดั การเรียนการสอน 3.5 ประโยชน์และคุณคา่ ของภาพยนตรก์ ารศึกษา 3.6 ทฤษฎีทเ่ี กีย่ วข้องกับการนำภาพยนตร์มาใช้ในการเรียนการสอน 3.7 การนำภาพยนตรม์ าใชก้ ารเรยี นการสอนภาษาองั กฤษ 4. การสร้างแบบฝึก 4.1 ความหมายของแบบฝึก 4.2 หลกั การและขัน้ ตอนสร้างแบบฝึก 4.3 ประโยชนข์ องแบบฝึก 1. หลักสตู รการศึกษาข้ันพืน้ ฐานกล่มุ สาระการเรยี นรูภ้ าษาต่างประเทศ พทุ ธศักราช 2551 1.1 หลักสตู รการศึกษาขน้ั พนื้ ฐานกลมุ่ สาระการเรยี นรู้ภาษาต่างประเทศ พุทธศกั ราช 2551 สาระท่ี 1 ภาษาเพอ่ื การสือ่ สาร มาตรฐาน ต 1.1 เข้าใจและตคี วามเรื่องทฟ่ี งั และอา่ นจากสื่อประเภทตา่ ง ๆ พรอ้ มทง้ั แสดง ความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล มาตรฐาน ต 1.2 มีทักษะในการสื่อสารทางภาษาเพื่อการแลกเปลี่ยน ข้อมูลข่าวสาร แสดง ความรู้สึก และความคิดเห็น อย่างมีประสทิ ธภิ าพ มาตรฐาน ต 1.3 น้าเสนอข้อมูลข่าวสาร ความคิดรวบยอด และความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ โดยการพดู และการเขียน

6 สาระท่ี 2 ภาษาและวฒั นธรรม มาตรฐาน ต 2.1 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างภาษาที่ทีผลกับวัฒนธรรมของ เจ้าของภาษา และนำไปใช้ ได้อย่างเหมาะสมกับกาลเทศะ มาตรฐาน ต 2.2 เข้าใจความเหมือนและความแตกต่างระหว่างภาษาและวัฒนธรรมของ เจ้าของภาษาทีม่ คี วามสัมพนั ธ์กับภาษาและวฒั นธรรมไทย และนำมาใชอ้ ยา่ งถูกตอ้ งและเหมาะสม สาระท่ี 3 ภาษากับความสมั พันธก์ บั กลมุ่ สาระการเรยี นรูอ้ ่ืน มาตรฐาน ต 3.1 ใชภ้ าษาต่างประเทศในการเชือ่ มโยงความรู้กบั กลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น และ เปน็ พนื้ ฐานในการพฒั นา แสวงหาความรู้ และเปิดโลกทัศนข์ องตน สาระที่ 4 ภาษากับความสัมพันธก์ บั ชุมชนและโลก มาตรฐาน ต 4.1 ใช้ภาษาต่างประเทศที่มีความสัมพันธ์ในสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งใน สถานศึกษา ชุมชน และสงั คม มาตรฐาน ต 4.2 ใช้ภาษาต่างประเทศเพื่อเป็นเครื่องมือพื้นฐานใน การศึกษาต่อ การ ประกอบอาชีพ และการแลกเปลี่ยนเรียนรกู้ ับสังคมโลก 2. ทกั ษะการฟัง การฟังเป็นทักษะแรกที่เราใช้ในชีวิตประจำวันมากที่สุด การฟังไม่ใช่แค่การได้ยินเสียงหรือคำเท่านั้น แตต่ อ้ งทำความเขา้ ใจในสง่ิ ทไี่ ดร้ ับฟังดว้ ย ดังทน่ี ักวิชาการศกึ ษาได้กลา่ วไวห้ ลายคน ดังนี้ 2.1 ความหมายของการฟงั Vandergrift (2016) กล่าวไวว้ า่ การฟงั เป็นกระบวนการทำงานของจิตใจ ผูฟ้ งั ท่ีไมเ่ ข้าใจจะทำให้ยาก แก่การอธิบาย ผู้ฟังต้องแยกแยะเสียง ทำความเข้าใจคำศัพท์และโครงสร้างทางไวยากรณ์ แปลความการเน้น เสียงและเสียงสูงต่ำ ซึ่งการแปลความหมายนั้นต้องท้าภายใต้บริบททางสังคมวัฒนธรรมอย่างทันทีทันใด น่ัน คือ การฟังเป็นกระบวนการแปลความหมายที่ซับซ้อนและไม่หยุดนิ่งที่ผู้ฟังทำการจับคู่ สิ่งที่ได้ยินกับสิ่งที่รู้อยู่ แล้ว เตือนใจ อัฐวงศ์ (2557) ได้ให้ความหมายของการฟังว่า การฟัง หมายถึงการรับรู้เรือ่ งราวต่าง ๆ จาก แหล่งของเสียง ซึ่งอาจจะรับรู้ผ่านผู้พูดโดยตรงหรือรับรู้ผ่านอุปกรณ์บันทึกเสียงต่าง ๆ โดยแหล่งเสียงจะ ส่งผ่านประสาทสัมผัสทางหูเข้ามา แล้วผู้ฟังเกิดการรับรู้ความหมายของเสียงที่ได้ยิน จากนั้นนำความหมายที่ ไดร้ ับรไู้ ปพจิ ารณาทำความเขา้ ใจวัตถุประสงค์ของผูพ้ ดู ประเมินค่าสารทีไ่ ดฟ้ ัง และสามารถนำสารทไี่ ด้จากการ ฟงั ไปปฏิบัติใหเ้ กิดประโยชน์ในชีวติ ประจำวนั ของตนได้ ปิยนุช เพ็งลี (2557, น. 23) กล่าวสรุปไว้ว่า การฟังเป็นการรับหรือนำเข้ามาซึ่งข้อมูลและผ่าน กระบวนการประมวลสิ่งที่ได้ยนิ โดยนำมาตีความ ประมวลความหมาย โดยอาศัยความรู้ด้านสำเนียงการออก เสียงไวยากรณ์ คำศัพทแ์ ละการจบั ใจความ ณัฐวดี ธรรมเดชะ (2559) กล่าวสรุปไว้ว่า การฟังนั้น หมายถึงกระบวนการในการรับสารและผู้ฟัง สามารถเขา้ ใจเรื่องที่ได้ฟังว่าผู้พูดนัน้ พูดเกย่ี วกับเรื่องอะไรและสามารถตีความเร่ืองที่ได้ฟังได้ ซึ่งการตีความใน เรื่องท่ไี ด้ฟงั นัน้ ตอ้ งใชป้ ระสบการณ์ ความรูเ้ ดมิ ตลอดจนความสามารทางภาษานั้น ๆ รุ่งพนอ รกั อยู่ (2559, น. 10) กลา่ วไวว้ า่ การฟงั เป็นกระบวนการรับข้อมูลและแปลความหมายข้อมูล ของผู้ฟังที่ซับซ้อนและไม่หยุดนิ่ง ผู้ฟังใช้ความรู้ทางภาษา ความรู้เดิมและประสบการณ์ที่มีอยู่ทำความเข้าใจ ขอ้ มูล ขา่ วสาร ท่ีผู้พูดสง่ สารมา และหากผ้ฟู ังไม่มคี วามรใู้ นภาษาท่ีฟังหรอื มคี วามรู้ในภาษานั้นน้อยก็อาจส่งผล ให้ไมส่ ามารถเข้าใจสง่ิ ที่ผพู้ ูดส่อื ออกมาด้วยการฟังได้

7 จากแนวคิดและทฤษฎีการฟังท่ีได้กลา่ วมาแลว้ นน้ั สรุปได้วา่ การฟัง คือการไดย้ ินเรอ่ื งราวตา่ ง ๆ หรือ รับสารผ่านทางหู จากผู้พูดโดยตรงหรือผ่านทางสื่ออุปกรณ์ทางเสียงต่าง ๆ ซึ่งต้องอาศัยกระบวนการคิด ตีความ วิเคราะหค์ วามหมายจากการได้ฟังให้เข้าใจเพ่ือจับใจความสา้ คญั ของสารและสามารถน้าสารที่ได้ฟังไป ปฏบิ ตั ติ ามจดุ มุ่งหมายของการฟังไดถ้ ูกต้อง 2.2 ความสำคัญของการฟัง การฟังเป็นทักษะทางภาษาท่ีสำคัญมากต่อชีวิตประจำวันของมนุษย์ เป็นทักษะที่เรียนรู้ยอมรับฟัง ความคิดเหน็ ของผู้อ่ืนและอย่รู ว่ มกับผอู้ ่ืนในสงั คมได้ Wilson (2008) มนษุ ยฟ์ ังเพื่อกระตุ้นจินตนาการและได้รบั ประสบการณ์ท่ีมีคุณค่าใหแ้ ก่ชีวติ สามารถ ตีค่า ประเมินค่า วิพากษ์ วิจารณ์ และเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น เพราะได้รับการเรียนรู้จากการฟังและใน ขณะเดียวกัน ได้รับฟังจากการเรียนร้เู ชน่ กัน Nation (2009) กล่าวถึง ความสำคัญของการฟังว่า การฟังเป็นทักษะที่สำคัญของการเรียนภาษา ผู้เรียนจะไดร้ ับข้อมูล ความรู้ที่จำเปน็ ต่อการเรียนภาษา เมื่อผู้เรียนได้รับข้อมูลจากการฟังแล้วผู้เรียนสามารถ เรมิ่ ต้นทักษะการพูดได้ รุ่งพนอ รักอยู่ (2559, น. 11) กล่าวไว้ว่าการฟังมีความสำคัญอย่างยิ่ง เป็นทักษะที่เกิดขึน้ ก่อนทักษะ การพูด หากไม่มีทักษะการฟัง เราจะไม่สามารพัฒนาทักษะการพูดได้ การสนทนาจะประสบผลและครบ กระบวนการสื่อสารได้นั้น ผู้ฟังต้องเข้าใจสิ่งที่ผู้พูดออกมา เมื่อสะสมตัวป้อนทางภาษามากพอและพร้อมที่จะ พดู การพูดจงึ เกดิ ขึ้น จากทฤษฎีและแนวคิดเกี่ยวกับความสำคัญของการฟังที่กล่าวมาข้างต้น สรุปได้ว่าความสำคัญของ การฟงั คอื การฟังชว่ ยพัฒนาทักษะการเรยี นภาษาหลายด้าน โดยเฉพาะเรื่องการออกเสียง การจะเป็นผู้พูดท่ีดี ควรจะเป็นผู้ฟังที่ดีด้วย การเป็นผู้ฟังที่ดีจะได้รับความเคารพและยอมรับจากผู้อื่น ได้รับฟังเรื่องที่ไม่เคยรู้มา ก่อนและเขา้ ใจความร้สู ึกของผู้อนื่ จากประสบการณ์ท่ีได้รับจากการฟังการรบั ฟังเร่ืองที่มีประโยชน์ นอกจากจะ ได้รับความบันเทิงและข้อคิดต่าง ๆ แล้ว สามารถนำเรื่องที่ฟงั มาปรับใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันของ ตนเองด้วย 2.3 ประเภทของการฟัง การฟงั ในชวี ติ ประจำวัน สามารถแบ่งออกไดห้ ลายประเภทตามความเหมาะสมของสถานการณ์การฟัง ต่าง ๆ ซงึ่ ได้มนี ักการศึกษาแบง่ ประเภทของการฟังไวห้ ลายคน ดังนี้ Rost (1991, p. 182) แบ่งประเภทของการฟังไว้ 6 ประเภท คือ 1. การฟังอยา่ งมีประสิทธภิ าพ (Intensive Listening) 2. การฟงั แบบเลอื กฟงั (Selective Listening) 3. การฟังอย่างมปี ฏิสัมพันธ์ (Interactive Listening) 4. การฟังอยา่ งกว้างขวาง (Extensive Listening) 5. การฟังแบบโตต้ อบ (Responsive Listening) 6. การฟงั อย่างมีอิสระ (Autonomous Listening) Harmer (2007, p. 134) แบง่ ประเภทของการฟังไว้ 2 ประเภท คือ 1. การฟังอยา่ งมีประสิทธภิ าพ (Intensive listening) ซ่งึ เป็นกระบวนการฟังที่ผู้สอนกำหนด เรื่องให้ผู้เรียนฟังในห้องเรียนหรือห้องปฏิบัติการทางภาษา ซึ่งระหว่างกิจกรรมการฟังผู้สอน จะคอยดูแลให้ ความชว่ ยเหลอื ผเู้ รยี น

8 2. การฟังอย่างกว้างขวาง (Extensive listening) เป็นกระบวนการฟังที่ผู้เรียนฟังนอก หอ้ งเรยี นเพ่อื ความเพลินเพลดิ ใจหรือด้วยเหตุผลอื่น ๆ โดยใช้สือ่ ท่เี ป็นเครือ่ งเล่น MP3 ดีวีดี ซีดี วิดีโอ หรือฟัง ทางอินเตอร์เน็ต โดยผู้เรียนจะเกิดความสนใจและเพลินเพลิดใจในการฟังด้วยตนเองมากกว่าเวลาที่มีผู้สอน คอยชว่ ยเหลอื Wilson (2008) ไดแ้ บ่งประเภทของการฟังไว้ 4 ประเภท คือ 1. การฟังเพอ่ื จบั ใจความหลกั ของเรอ่ื งที่ฟงั (Listening for gist) 2. การฟงั เฉพาะเรอื่ งที่สนใจ (Listening for specific information) 3. การฟงั เพื่อระบุรายละเอียด (Listening in detail) 4. การฟังเพอ่ื ตคี วาม (Inferential listening) Nation (2009, p. 40) แบง่ ประเภทการฟังไว้ 2 ประเภท คือ การฟังเพอื่ การสอื่ สารเน้นการให้ข้อมูล ต่าง ๆ (Transactional listening) และการฟังเพื่อการสื่อสารที่เน้นตัวบุคคลมากกว่าการให้ข้อมูล (Interactional listening) จากทฤษฎีและแนวคิดเกี่ยวกับประเภทของการฟังจากนักการศึกษาหลายท่าน สรุปได้ว่าประเภท ของการฟังแบ่งออกได้หลายประเภท ตามที่นักการศึกษา Rost (1991) และ Harmer (2007) ได้แบ่งประเภท ของการฟังสอดคล้องกัน คือ การฟังอย่างมีประสิทธิภาพ (Intensive Listening) และการฟังอย่างกว้างขวาง (Extensive listening) การฟังเพื่อความเพลิดเพลินและซาบซึ้ง (Appreciative Listening) และนอกจากน้ี การฟังยังแบ่งออกเปน็ การฟังระหว่างบุคคล ฟังภายในกลุ่ม ฟังในที่สาธารณะ ฟังจากสื่ออิเลก็ ทรอนิกส์ต่าง ๆ ฟังเพื่อจับใจความหลักของเรื่องที่ฟัง ฟังเฉพาะเรื่องที่สนใจ ฟังเพื่อระบุรายละเอียด และฟังเพื่อตีความ ซึ่ง ประเภทของการฟังที่กล่าวมาข้างต้น ล้วนเป็นการฟังที่ใช้ในห้องเรียนและสามารถนำไปปรับใช้ให้เป็น ประโยชน์ในชีวิตประจา้ วนั ไดม้ ากทีส่ ดุ 2.4 ลำดับขนั้ ของการฟงั การฟังเป็นทักษะที่ใช้ในชีวิตประจำวันมากที่สุด เพราะเป็นทักษะที่สำคัญในการพัฒนาการส่ือสาร ขั้นตอนในการรับสารหรือการรับฟังถือเป็นกระบวนการที่จ ำเป็นและมีประโยชน์เพื่อช่วยให้การ ฟังมี ประสทิ ธิภาพ นักการศกึ ษาไดเ้ สนอแนวคิดสำหรับลำดับข้ันตอนของการฟังไว้ ดงั นี้ อวยพร พานิช (2010, น. 32) ได้กล่าวถึงลำดับขั้นของการฟังไว้ ดังนี้ การฟังเป็นกระบวนการที่ เกดิ ข้นึ ต่อเน่ือง 5 ระดับ ได้แก่ 1. การได้ยินเสียงที่มากระทบโสตประสาท (Hearing) เสียงพูดหรือเสียงใด ๆ จะผ่านหูไป กระทบโสตประสาท ในขั้นนี้เรายงั ไม่เรียกว่า การฟัง (Listening) เพราะการฟังนั้นกินความไปถึงการรับรู้และ เกดิ ความเข้าใจตอ่ ไปดว้ ย 2. การมีสมาธติ อ่ สง่ิ ที่เราได้ยิน (Concentration) เมอื่ เสยี งมากระทบโสตประสาทและเราพุ่ง ความสนใจทีจ่ ะฟงั เราก็สามารถรบั รเู้ ร่ืองราวหรอื สาระจากส่ิงท่เี ราไดย้ นิ ทเี่ กิดจากเสียงนน้ั ได้ 3. การเขา้ ใจสิ่งท่ไี ดย้ ิน (Comprehension) 4. การตีความสง่ิ ทีไ่ ด้ยินตามความคิด ความรู้ และประสบการณข์ องผฟู้ งั (Interpretation) 5. การตอบสนองต่อสารท่ไี ดย้ ิน (Reaction) ชายุดา จันทะปิดตา (2555, น. 22) กล่าวสรุป ระดับของการฟังไว้ ดังนี้เริ่มต้ังแต่การแยกแยะเสียงที่ ได้ยิน เข้าใจความหมาย ตีความหมายและวิเคราะห์ความหมาย โดยอาศัยความรู้และประสบการณ์ และ สุดท้ายสามารถถ่ายทอดความรู้ทั้งหลายทั้งมวลซึ่งกันและกันได้ ดังนั้นในการสอนทักษะการฟังภาษาอังกฤษ เพอื่ การส่ือสาร ครผู ูส้ อนควรคำนึงถึงระดบั ต่าง ๆ ของการฟังส้าหรับผู้เรยี น การที่ผู้ฟังจะเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ ที่

9 ได้รับฟัง ต้องมีความสามารถในการฟังระดับพ้ืนฐานก่อน โดยเฉพาะการฟังแล้วสามารถท้าความเข้าใจในสิ่งท่ี ไดร้ บั ฟงั เพอ่ื จะนำไปวเิ คราะห์ในขนั้ ทีส่ ูงขน้ึ ต่อไป จากแนวคดิ ขา้ งต้นจะเหน็ ได้ว่า กระบวนการฟังท่ีเกดิ ประโยชน์สูงสุดและได้รบั คณุ ค่าจากการฟัง ตาม แนวคิดของการลำดับขน้ั การฟังของนกั การศึกษามีความสอดคล้องกนั วา่ ข้ันตอนแรกของการฟัง คือการได้ยิน หรอื รบั สาร จากนัน้ ทำความเข้าใจตอบสนองในสิง่ ท่ีได้ฟัง วเิ คราะห์ ตคี วามสง่ิ ทไ่ี ด้ฟังใหเ้ ขา้ ใจ และประเมินว่า สิ่งที่ได้ฟังเชื่อถือได้ มีความเหมาะสม และเกิดประโยชน์ต่อตนเองหรือไม่ และทำให้กระบวนการฟังเกิด ประโยชนแ์ ละได้รบั คณุ ค่า 2.5 การสอนทกั ษะการฟัง การสอนทักษะการฟัง เป็นสิ่งที่ผู้สอนจะต้องตระหนักถึงการจัดสถานการณ์เพื่อให้ผู้เรียนเกิดเรียนรู้ โดยการกำหนดกจิ กรรมให้สอดคล้องกบั วัตถุประสงค์ Underwood (1989: 30) ได้เสนอแนะไว้ว่า ผู้สอนจำเป็นที่จะต้องแจ้งให้ผู้เรียนได้ทราบเบื้องต้น เกี่ยวกับสิ่งที่จะได้รับฟังว่าจะได้ฟังอะไรและต้องเตรียมข้อมูลใดบ้างในการฟัง เพื่อนำไปสู่กระบวนการฟัง ใน ขั้นต่อไปตามลำดบั Rixon (1986: 63-73) ได้เสนอข้นั ตอนการสอนทักษะการฟงั ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ดังน้ี 1. ขั้นก่อนการฟัง (Pre-listening) เป็นขั้นเตรียมความพร้อมให้กับผู้เรียน ให้ความรู้พื้นฐาน เก่ยี วกับเร่ืองท่ีกำหนดให้นักเรียนฟงั ทงั้ ด้านคำศพั ท์และโครงสร้างทางภาษาทเ่ี กีย่ วข้องกับแบบฝึกโดยกระตุ้น ให้ผ้เู รยี นเกิดความสนใจและเกดิ ความกระตือรือร้นท่ีจะฟงั ผา่ นกจิ กรรมที่มคี วามทา้ ทายตวั อย่างกิจกรรมท่ีควร นำมาใช้ เช่น การระดมสมอง การคาดการณ์ล่วงหน้า จากหัวข้อเรื่องภาพประกอบ เป็นต้น เพื่อให้แนวคิด กว้างๆในการวางเป้าหมายการฟังให้กับผู้เรียน นอกจากนี้ครูอาจเตรียมให้ผู้เรียนได้รู้ความหมายของคำศัพท์ บางคำท่สี ำคัญและโครงสร้างทางภาษาท่ีจำเปน็ ตอ่ การทำความเขา้ ใจเนื้อเร่ือง 2. ขั้นระหว่างการฟัง (While-listening) เป็นขั้นที่ให้นักเรียนฟังในสิ่งหรือเรื่องที่กำหนดให้ หลงั จากที่ไดร้ บั ขอ้ มลู พน้ื ฐานมาบ้างแล้ว โดยในช้ันเรยี นจะให้นักเรียนฝึกฟังส่ิงหรือเร่ืองที่กำหนดให้อย่างน้อย 2 ครงั้ โดยกิจกรรมจะแตกต่างกนั ไปตามจดุ ประสงค์การเรยี นรู้ และลกั ษณะเนอ้ื หาท่ีกำหนดให้ ซึง่ สว่ นใหญจ่ ะ เป็นกิจกรรมที่มีสื่อประกอบและง่ายต่อการทำกิจกรรม ตัวอย่างกิจกรรมเช่น ฟังเพื่อเลือกภาพตามโครงเรื่อง ฟังเพื่อเติมคำลงในช่องว่าง ฟังเพ่อื ตรวจสอบข้อความถูกหรือผิดตามบทท่ีฟงั หรอื ฟงั เพ่ือปฏิบัติตามคำแนะนำ หรือขั้นตอนต่างๆ เป็นต้น ซึ่งครูควรให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อให้นักเรียนได้ประเมินตนเองว่ามีความเข้าใจต่อ เนอ้ื หาทีฟ่ ังมากน้อยเพียงใด โดยใชว้ ิธีอภปิ รายข้อผดิ พลาดที่เกิดขน้ึ 3. ข้นั หลงั การฟงั (Post-listening) เป็นขน้ั การฟงั คร้งั สุดท้ายซึ่งกจิ กรรมอาจเปน็ การทบทวน หรือตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนว่ามีความถูกต้องมากน้ อยเพียงใดหรืออาจเป็นกิจกรรมต่อเนื่องท่ี นกั เรยี นนำขอ้ มูลทไี่ ด้จากการฟังมาผสานกับความรู้ของตนเพื่อประยุกต์ความรูท้ ี่ได้จากการฟังไปใช้ในกิจกรรม ทกั ษะอ่ืนๆ หรือนำไปใช้ในชวี ิตประจำวนั ได้ Field (2010) ได้เสนอแนวทางการจดั กิจกรรมการสอนฟัง ดงั น้ี 1. ขั้นกอ่ นฟงั (Pre-listening) เป็นการสอนคำศัพทแ์ ละส่ือทางภาษามีการกระต้นุ ความต้ังใจ ในการฟงั เพ่ือช่วยลดปัญหาการออกเสียงคำบางประเภท เชน่ ชือ่ เฉพาะของสถานทเ่ี ป็นต้น และให้นักเรยี นทำ ความเขา้ ใจรปู แบบของใบกิจกรรมหรือคำส่ังของแบบทดสอบ 2. ขั้นฟัง (Listening) ครูควรเปิดให้นักเรียนฟัง 2 ครั้ง เว้นระยะครั้ง 15 วินาที ระหว่างฟัง ครูควรแนะนำให้นักเรียนจดบันทึก (taking note) หรือจดแบบย่อจากสิ่งที่ได้ฟัง เมื่อพักหยุด 15 วินาที นักเรยี นสามารถเตมิ คำตอบในใบกจิ กรรมได้ และการฟังรอบสอง นักเรยี นตรวจคำตอบอีกคร้งั ให้สมบรู ณ์

10 3. ขั้นตรวจคำตอบ (Checking) การตรวจคำตอบเป็นคู่ หลังจากทำกิจกรรมเสร็จแล้ว จากนน้ั อภิปรายเกย่ี วกบั ความเข้าใจในเน้ือเร่ือง เพอ่ื ตรวจสอบความเขา้ ใจของนักเรยี นให้เข้าใจตรงกัน หากมี ขอ้ สงสัยให้เปดิ เสียงอกี ครง้ั แลว้ ชีแ้ จงให้ชัดเจน 4. ขั้นกิจกรรมติดตามผล (Follow-up exercise) เป็นการให้กิจกรรมเพิ่มเติมเพื่อพัฒนา ทักษะการฟัง เช่น การฟังเพื่อที่จับใจความ การฟังเพื่อจำแนกเสียงที่คล้ายกัน คำหรือวลีที่คล้ายคลึงกัน และ สร้างใหน้ กั เรยี นเกดิ ความต้ังใจและมีจุดมุ่งหมายในการฟงั 5. ขั้นสอนคำศัพท์ (Vocabulary) เป็นการนำคำศัพท์ที่ได้ยินจากเนื้อเรื่องท่ีฟังมาขยาย เพิ่มเติมคำศัพท์ที่อยู่ในขอบเขตเดียวกัน หรือมีความหมายเชื่อมโยงกัน โดยครูช่วยนักเรียนในการเพิ่มเติม ข้อมูล พรสวรรค์ สปี ้อ (2550) ได้แบ่งขั้นตอนการจัดการเรยี นรกู้ ารฟังไว3้ ขั้นตอน ดังนี้ 1. ขั้นก่อนฟัง กิจกรรมก่อนการฟังควรจัดเพื่อกระตุ้นความสนใจในการฟังของผู้เรียนให้ง่าย ข้ึน ซ่ึงแบง่ เปน็ 3 กล่มุ คือ 1) การเตรียมคำศัพท์ ได้แก่ การสอนศัพท์หรือสำนวนภาษาที่จำเป็นในการฟัง โดย จุดประสงค์ในการสอนคำศัพท์ คือ ตอ้ งการใหผ้ ู้เรียนรคู้ วามหมายของคำศพั ท์ เพ่ือท่จี ะฟงั ได้เข้าใจมากขึ้น 2) ทบทวนความรู้เดิมเกี่ยวกับเรื่องที่จะฟัง ผู้สอนควรจัดกิจกรรมทบทวนความรู้เดิม เช่น ให้ทำแบบทดสอบหรือการตอบคำถามส้ันๆ 3) ให้ผู้เรียนทายว่าเนื้อหาที่ผู้เรียนจะได้ฟังเกี่ยวกับอะไร กิจกรรมที่จัดในขั้นน้ี เหมือนกบั ในขั้นทบทวนความรู้ คือให้ทำแบบทดสอบสนั้ ๆ 2. ขั้นระหว่างฟัง กิจกรรมระหว่างการฟังเป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนทำระหว่างฟังหรือทันทีที่ฟัง จบการจัดกิจกรรมระหวา่ งฟงั ผ้สู อนต้องระลึกถงึ สงิ่ ตอ่ ไปนี้ 1) ควรจัดให้ผู้เรียนได้ฟัง 3 ครั้ง โดยครั้งแรกให้ผู้เรียนได้มีการปรับตัวให้คุ้นเคยกับ สำเนียงและความเรว็ ของผู้พูด โดยผูส้ อนสามารถต้งั คำถามเพื่อตรวจสอบความเข้าใจแบบกว้างๆ การฟังครั้งท่ี สอง ควรให้ผู้เรียนฟังเพื่อระบุรายละเอียด และการฟังครั้งที่สาม ควรให้ผู้เรียนได้ฟังเพื่อตรวจคำตอบของ ตนเอง 2) การฟงั สามารถแบง่ เป็น 2 ระดบั ไดแ้ ก่ ระดับแรก คอื การฟงั แบบคร่าวๆ เพ่ือจับ ใจความสำคัญ (Extensive listening) และระดับสอง คือ การฟังเพื่อหาหรือระบุรายละเอียด (Intensive listening) 3) ควรแบ่งออกเป็นตอนสั้นๆ หากต้องการให้นักเรียนฟังข้อความที่ยาวและควร ตรวจสอบความเข้าใจทลี ะตอน 4) ควรให้นักเรียนอ่านและทำความเข้าใจกับคำสั่งก่อน ถ้านักเรียนต้องเขียนตอบใน ระหว่างที่ฟังหรือเมื่อฟังจบ 5) แบบฝึกหัดสำหรับการฟงั ควรมงี านเขียนน้อยท่ีสุด 6) ใหผ้ ลปอ้ นกลบั ทันที 3. ข้นั หลงั ฟัง กิจกรรมหลังการฟงั มี 2 แบบ คือ กจิ กรรมเกยี่ วกับปฏิกิริยาตอบสนองต่อข้อความที่ฟัง และการคิดวิเคราะห์ลักษณะทางภาษาท่ปี รากฏในข้อความ สำหรบั กจิ กรรมที่เก่ียวกบั ปฏิกิริยาการตอบสนอง ต่อข้อความที่ได้ฟังนั้น อาจจะให้ผู้เรียนได้อภิปรายเกี่ยวกับเรื่องที่ได้ฟัง ทำผังความรู้ เขียนสรุป ตอบคำถาม เกย่ี วกับเรอ่ื งทฟ่ี ัง แสดงบทบาทสมมติ แสดงละครเปน็ ต้น ในดา้ นภาษา ผ้สู อนอาจจะให้ทำแบบฝกึ หัดเกี่ยวกับ คำศพั ทท์ ่ไี ด้ฟัง เช่น นำคำมาแต่งประโยคแต่งเรอื่ ง เป็นต้น

11 จากแนวคิดขอ้ เสนอแนะในการสอนทักษะการฟังภาษาองั กฤษ สรปุ ได้วา่ การสอนทกั ษะการฟังควรมี การเลือกใช้กิจกรรมที่หลากหลายเหมาะสมกับจุดประสงค์ในแต่ละขั้นตอนการสอนฟังซึ่งประกอบด้วย 3 ขน้ั ตอนหลัก ดังนี้ 1. ขั้นก่อนฟัง (Pre-listening) ครูกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในเเรื่องที่จะฟัง โดยใช้ รปู ภาพหรือภาพนงิ่ เพอ่ื ใหน้ ักเรยี นคาดเดาเรือ่ งราวทีเ่ กิดขนึ้ และใช้คำถามนำ (guided questions) เพื่อระดม สมองดึงความรู้หรือประสบการณ์เดิมของนักเรียนที่เกี่ยวกบั เรื่องราวออกมา รวมถึงการแนะนำคำศัพท์สำคญั (key vocabulary) ที่จะเป็นประโยชน์ในการฟัง เพื่อเป็นแนวทางให้นักเรียนรับรู้ถึงจุดมุ่งหมายของการฟัง เรื่องราวทน่ี กั เรียนจะได้ฟังในข้ันตอ่ ไป 2. ขั้นฟัง (While-listening) เป็นขั้นรับฟังข้อมูล ตีความและทำความเข้าใจเรื่องราวซึ่งการ ฟังแบ่งออกเป็น 3 รอบ โดยมีกิจกรรมระหว่างการฟังเพื่อให้นักเรียนฟังอย่างมีจุดมุ่งหมาย ดังนี้รอบที่ 1 นักเรยี นฟงั เนือ้ เรื่องโดยรวมและทำแบบฝึกบางสว่ น รอบท่ี 2 นกั เรียนฟังและทำแบบฝึกจนเสร็จ และรอบที่ 3 นักเรียนฟังเนื้อเรื่องอีกครั้งพร้อมดูคำบรรยาย ครูและนักเรียนร่วมกันตรวจสอบความถูกต้องของแบบฝึก ตัวอย่างกิจกรรมในแบบฝึก เช่น การตอบคำถามแบบถูกผิด (True/False) คำตอบแบบตัวเลือก (Multiple choices) หรือการเติมคำ (Gap Filling) เป็นตน้ 3. ขน้ั หลงั การฟงั (Post-listening) เป็นขนั้ นำภาษาทีไ่ ด้จากการฟังไปใช้ในสถานการณจ์ รงิ โดยให้นกั เรยี นไดม้ โี อกาสในการผลิตภาษาของตนเอง ผ่านกจิ กรรมท่ีครมู อบหมาย ทงั้ กจิ กรรมเดี่ยวกิจกรรมคู่ หรอื กจิ กรรมกลุ่มตามความเหมาะสม เชน่ การอภิปรายกลุ่ม (Discussion) การสรุปความ(Summarize) หรือ การทำผังความคิด (Mind Mapping) เปน็ ตน้ การประเมินการฟังภาษาอังกฤษของนักเรียน ควรมีองค์ประกอบ ดังนี้ เนื้อหา รูปแบบ และเกณฑ์ การประเมิน ซึ่งต้องสอดคล้องกับการเรียนการสอนทั้งเชิงเนื้อหาและเชิงโครงสร้างจากการศึกษาเรื่องการวดั และการประเมนิ การฟงั ภาษาองั กฤษ ดังน้ี Flowerdew and Miller (2005: 202-203) ได้กล่าวถงึ การทดสอบการฟังว่ามีรูปแบบที่แตกต่างกัน ออกไป เช่น แบบทดสอบวัดความสามารถและจัดระดับความรู้ (Proficiency and Placement Test) เป็น การทดสอบเพื่อวัดและประเมินความสามารถทาง ด้านภาษาของผู้เรียนในวิชาเฉพาะเจาะจง ผู้สอนจึงต้อง ออกแบบแบบทดสอบทเ่ี หมาะสมกับการฟังแตล่ ะรูปแบบ มคี ำถามทห่ี ลากหลายเพ่ือใหผ้ ู้เรียนได้ฝึกทักษะการ ฟังหลากหลายรปู แบบ ยกตวั อยา่ งดงั ตอ่ ไปน้ี 1. การเขียนตามคำบอก (Dictation) คือ วิธีการทดสอบที่ผู้สอนอ่านเรื่องที่มีความยาว ประมาณ 150 คำให้ผเู้ รยี นฟงั ทลี ะประโยคหรือวลี ผเู้ รียนเขียนประโยคหรือวลีที่ได้ยนิ ซ่ึงการทดสอบประเภท นน้ี ยิ มใช้เป็นการทดสอบความสามารถทางภาษาของผ้เู รยี น 2. การเขียนตามคำบอกแบบเติมคำ (Partial Dictation) คือ วิธีการทดสอบที่ผู้เรียนได้รับ แบบทดสอบที่ละเว้นข้อความส่วนใหญ่ไว้ แล้วฟังเรื่องหรือเนื้อหาฉบับเต็มเพื่อให้ผู้เรียนเติมคำหรือวลี ลงใน ช่องว่างให้ไดเ้ นื้อเรื่องท่ีสมบรู ณ์ 3. การฟงั เร่อื งแล้วตอบคำถาม (Text with Questions) คอื วิธกี ารทดสอบโดยผู้เรียนฟังบท สนทนาที่ผู้สอนอ่านหรือการฟังจากแถบบันทึกเสียงแล้วทำแบบทดสอบแบบเลือกตอบ (Multiple-choices test) 4. การตอบสนองต่อประโยคที่ได้ยิน (Responding to Statement) คือ วิธีการทดสอบที่ ผู้เรียนฟังประโยคหรือคำถามแล้วตอบสนองต่อสิ่งที่ได้ยิน โดยการเลือกคำหรือรูปภาพระบุว่าประโยคหรือ คำถามทไี่ ดฟ้ งั น้ันถูกหรอื ผิด หรอื ตอบดว้ ยคำตอบแบบสัน้ ๆ

12 5. การตอบคำถามถูก-ผิดแบบสามตัวเลือก (Three Choices True-False) คือ วิธีการ ทดสอบทพ่ี ัฒนามาจากแบบทดสอบประเภทเลือกคำตอบแบบถูก-ผดิ (True or false test) โดยเพม่ิ การแสดง ความคดิ เห็น หรอื การเพ่มิ ตัวเลอื ก “ไม่ได้ระบไุ ว้” 6. การเติมคำจากการฟังแถบบันทึกเสียง (Recorded Cloze) คือวิธีการทดสอบที่ให้ผู้เรียน ฟังเทปหรือแถบบันทึกเสียง ซึ่งในทุกๆ คำที่ 15 จะถูกแทนที่ด้วยเสียงสัญญาณอื่น ๆ ที่ไม่ใช่คำ หรือวลีจาก เรอื่ งและมีการหยุดระหว่างประโยค เพือ่ ให้ผู้เรยี นเติมคำหรอื วลีใหเ้ นื้อเรื่องสมบูรณ์ 7. การส่งผ่านข้อมูล (Information Transfer) คือ วิธีการทดสอบที่ให้ผู้เรียนฟังการบรรยาย หรอื บทสนทนาแล้วสรา้ งแผนผัง จากนน้ั เตมิ แผนผังหรือตารางในขณะท่ีฟัง Hubbard (2017) จาํ แนกการทดสอบการฟังภาษาองั กฤษไว้ 2 ประเภท ได้แก่ 1. การทดสอบการฟังท่แี ทจ้ ริง (Pure listening test) เป็นการทดสอบการฟังและการจําแนก เสียงของคําท่ไี ดย้ ิน เช่น 1.1) การทดสอบจําแนกเสยี งโดยใช้การเทียบเสียง 1.2) การทดสอบจําแนกเสียงโดยวัดการฟังเสียงเน้นหลกั (Stress) ในคำและประโยค 1.3) การทดสอบการฟงั ระดับเสียงสูงตำ่ ในประโยค 2. การทดสอบความเข้าใจในการฟัง (Listening comprehension test) เป็นการทดสอบ ความเข้าใจในสิ่งทีฟ่ ัง ดังน้ี 2.1) ฟังข้อความทั้งหมด 1 ครั้ง จบแล้วให้ฟังประโยคที่อ่านครั้งเดียวแล้วให้ผู้เรียน เลอื กวา่ ถกู หรือผดิ จากข้อความที่ฟงั 2.2) ฟังขอ้ ความ 1 ครงั้ จบแลว้ มคี ำถามและคำตอบทเ่ี ป็นตัวเลือก 2.3) ฟังคำถามแล้วตอบคำถามเกี่ยวกับข้อความนั้นๆ สำหรับผู้เริ่มเรียนคำถามอาจ เป็นภาษาแม่ 2.4) แจกแผนที่ของสถานที่ เช่น ถนน เมือง หรือรถไฟ พร้อมทั้งบอกจุดเริ่มต้นให้กับ ผเู้ รยี น จากนัน้ ผู้เรียนฟังการบอกวิธเี ดนิ ทางแลว้ ไปให้ถึงจดุ หมายปลายทาง แล้วระบตุ ำแหน่งของจดุ หมายไว้ 2.5) ฟังข้อมูลเกี่ยวกับเร่ืองราวตา่ งๆ เช่น อุณหภูมิ สภาพอากาศ หรือหมายเลขผ้เู ล่น นักกฬี า แลว้ กรอกข้อมูลหรอื ทำเคร่ืองหมายลงในตารางข้อมูล 2.6) สมมติให้ผู้เรียนอยู่ในสถานการณ์นั้นๆ แล้วสรุปข้อความจากที่ได้ยินเช่น รถไฟ ขบวนใดท่ีจะออกจากสถานหี รือขบวนใดทีเ่ ราจะพลาด เป็นตน้ 2.7) การจดโนต้ ใช้กับผเู้ รยี นในระดบั สงู 2.8) การเขียนตามคำบอก เพื่อดูว่าสามารถสะกดและใช้เครื่องหมายวรรคตอนได้ ถูกต้องหรอื ไม่ สรุปได้ว่า การทดสอบความสามารถทางภาษาในการฟังของนักเรียน ควรวัดทั้งความรู้ใน ระดบั คำศพั ท์ ตลอดจนถึงระดับความเข้าใจ โดยใช้กิจกรรมในการทดสอบทห่ี ลากหลาย เชน่ แบบทดสอบด้วย การตอบคำถามแบบถูกผิด (True/False) การเลือกคำตอบแบบหลายตัวเลือก(Multiple choices) หรือการ เติมคำ (Gap Filling) ซงึ่ แบบทดสอบควรสอดคลอ้ งกับสงิ่ ทีเ่ รยี นและเหมาะสมกบั ความสามารถของผู้เรียน 3. การนำภาพยนตรม์ าใช้ในการเรียนการสอน ในปัจจุบันมีสื่อประกอบการจัดการเรียนการสอนหลากหลายรูปแบบที่อำนวยความสะดวกในการ จัดการเรียนการสอนมากยิ่งขึ้น และช่วยสร้างแรงจูงใจให้กับผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ซึ่งภาพยนตร์เป็นส่ือ

13 ประเภทหนึ่งท่ีสามารถนำมาประยกุ ต์ใช้ในการเรียนการสอนได้ เนื่องจากมีทั้งเสยี งภาพเคลือ่ นไหว และความ บันเทิง อีกทั้งในปัจจุบันมีการผลิตภาพยนตร์หลากหลายประเภทตามวัตถุประสงค์ในการใช้งาน เช่น ภาพยนตร์เพื่อการศึกษาที่มุ่งเน้นเนื้อหาสาระให้กับผู้ชมหรือผู้ฟังภาพยนตร์เพื่อการโฆษณา ภาพยนตร์เพ่ือ ความบันเทงิ เปน็ ตน้ 3.1 ความหมายของภาพยนตร์ การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ จำเป็นต้องมีการคัดเลือกสื่อการสอนที่มีความหลากหลาย น่าสนใจ สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน ทั้งนี้เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจให้กับผู้เรียน และสื่อที่มีการ นำมาประยุกต์ใช้ในการสอนภาษาอังกฤษ ได้แก่ ภาพยนตร์ ท่มี เี นื้อหาเหมาะสมกับวยั และสอดคล้องกับความ สนใจของผู้เรยี น ซง่ึ มกี ารบัญญตั คิ วามหมายและคำจำกัดความของภาพยนตร์ ดังนี้ พจนานุกรมศัพท์เทคโนโลยที างภาพ (ราชบัณฑิตยสถาน, 2556) ระบุว่า ภาพยนตร์ เป็นคำที่ใช้เรียก รวมสำหรับการถ่ายภาพทำและฉายภาพเคลื่อนไหวใดๆ ไม่ว่าจะทำเพื่อความบันเทิง สารคดีการศึกษา ภาพยนตรท์ ดลอง และภาพยนตร์ชีวลักษณ์ เปน็ ตน้ พรสิทธ์ิ พัฒนธนานุรักษ์และคณะ (2558: 31) กล่าววา่ ภาพยนตรเ์ ป็นมหรสพท่ีนำฉายใหส้ าธารณชน ได้เห็นภาพหรือเหตุการณ์เคลื่อนไหวได้บนจอ เป็นการสร้างความบันเทิง ภาพยนตร์จึงมีบทบาทหน้าทีใ่ นการ เป็นสื่อมวลชนที่ให้ความบันเทิง เนื่องจากเป็นสื่อผสมที่รับรู้ได้จากการเห็นภาพที่เคลื่อนไหว มีการแสดงตาม ลีลานาฏศิลป์แบบต่างๆ ให้สมจริง โดยมีเสียงต่างๆ เช่น เสียงสนทนาเสียงบรรยายเสียงดนตรีและเพลง การ เล่าเร่ืองหรือการผูกเรอ่ื งราวทน่ี ำมาสรา้ งนนั้ มนั เป็นเนอื้ หาที่สามารถรับรู้ได้ง่าย สรุปได้ว่า ภาพยนตร์ หมายถงึ การบันทกึ ภาพเคล่ือนไหว ท่มี ีลักษะเปน็ การเล่าเร่ืองอาจเป็นเรื่องราว ทเ่ี กดิ ข้ึนจริงหรือการแสดงตามบริบทต่างๆ ในชว่ งเวลาที่กำหนด เพ่อื สอ่ื ถึงสาระความรู้ ความหมาย ความคิด รวมทั้งอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ ไปยังผู้ชม อีกทั้งภาพยนตร์สามารถสื่อสารและเข้าถึงได้ทุกเพศทุกวัย ทุกชาติ ทุกภาษาและทุกวัฒนธรรมได้ เนื่องจากภาพยนตร์นั้นสื่อความหมายที่เป็นภาษาสากล โดยใช้ภาพ (Image) และเสียง (Sound) 3.2 ความสำคญั ของภาพยนตร์ท่มี ีต่อการเรยี นการสอน ในปัจจุบันสื่อการสอนมีความหลากหลายมากขึ้น นอกเหนือจากสื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบหนังสือหรือ แบบเรียนเท่านัน้ ภาพยนตร์ ถือได้ว่าเป็นสื่อหนึง่ ท่ีเข้ามามีบทบาทในการเรียนการสอนมากขึ้นโดยเฉพาะการ เรยี นร้ภู าษาตา่ งประเทศ ท่ีผู้เรียนตอ้ งเรียนรู้ทักษะทางภาษา น้ำเสียง ทา่ ทาง รวมไปถึงวฒั นธรรมของเจ้าของ ภาษาน้นั ๆ เพอื่ ให้เกิดการเรยี นรภู้ าษาอย่างมปี ระสิทธภิ าพ จากการศึกษาเก่ียวกับการใช้ภาพยนตรใ์ นการสอน ภาษาอังกฤษนักการศึกษาได้กล่าวถึงความสำคัญของภาพยนตร์ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ดังนี้ Heffernan (2005: 7) กล่าวว่า ภาพยนตร์ เป็นสื่อการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความน่าสนใจและเสริมสร้าง ประสบการณ์ทีเ่ ป็นประโยชน์มากกว่าสือ่ ส่ิงพมิ พ์ เช่น หนังสือ หรืออุปกรณ์เทปบันทึกเสียงและในมุมมองการ รับรขู้ องนักเรียน ภาพยนตรม์ ีส่วนช่วยในการกระตุน้ การเรียนรู้ การปลูกฝงั ความสนใจในการฟงั และการบรรลุ เป้าหมายของการเรียนรูภ้ าษาองั กฤษ Florence (2009) กล่าวว่า ภาพยนตร์ เป็นสอื่ ท่นี ำเขา้ ภาษาท่ีเป็นจริงและเป็นการจำลองสถานการณ์ ที่สามารถนำมาจัดกจิ กรรมอภิปรายในชั้นเรียนได้ นอกจากนย้ี ังนำเสนอมุมมองทเ่ี ป็นจรงิ ของการใช้ภาษาและ วฒั นธรรมในแงข่ องการดำเนินชวี ิตตามความเป็นจริงของเจา้ ของภาษา

14 Khan et al. (2015) เช่อื วา่ การเหน็ ภาพ จากการชมภาพยนตร์จะเอื้อให้นักเรียนทำความเข้าใจผ่าน บริบทที่ได้เห็น ทำให้ภาพยนตร์กลายเป็นสื่อการสอนที่มีประสิทธิภาพมีการนำเสนอที่หลากหลายและเป็น แหลง่ การเรียนรู้ภาษาเป้าหมาย ชว่ ยให้นกั เรยี นพัฒนาทักษะการฟังและทักษะการส่ือสารได้ สรุปได้ว่า ภาพยนตร์ เป็นสื่อทีม่ ีความสำคัญในการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นสือ่ ที่สามารถนำเสนอ ทั้งภาพและเสียง ซึ่งสนับสนุนให้นักเรียนเกิดความเข้าใจในสาระสำคัญของเรื่องราวผ่านเสียงภาพเคลื่อนไหว บริบทแวดล้อมในสถานการณ์ต่างๆ นอกจากนี้นักเรียนยังสามารถเรียนรู้วัฒนธรรมของเจ้าของภาษาจาก เหตกุ ารณต์ า่ งๆ ของเรอื่ งราวได้ในขณะเดียวกนั 3.3 ประเภทของภาพยนตร์ ประเภทของภาพยนตร์ แบ่งตามวตั ถุประสงค์ในการสรา้ งทง้ั เพ่ือการศกึ ษาและเพ่ือความบนั เทงิ โดย จำแนกเปน็ ประเภท ดังน้ี รติ หอมลา (2553) ได้แบง่ ประเภทของภาพยนตรท์ ่ีนำมาใช้ทางการศึกษาเป็น 3 ประเภท คอื 1. ภาพยนตร์สารคดี (Documentary film) เป็นภาพยนตร์ที่นำเสนอเร่ืองราวเกี่ยวกับความ เป็นจริงในสังคม ทั้งในการให้การศึกษาทางตรงและทางอ้อมแต่เป็นคนละประเภทกับภาพยนตร์ประเภทการ สอน (Instructional film) ภาพยนตร์สารคดีมิได้เน้นให้เกิดการเรียนรู้จากการเรียนการสอนโดยตรง แต่เป็น การนำเสนอสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่ในธรรมชาติตามความเป็นจริง เช่น ภาพยนตร์สารคดีมักจะสร้างให้ชวนติดตาม ด้วยการสอดแทรกความบันเทิงเอาไว้ด้วย สร้างความประทับใจให้กับคนดูมุ่งเปลี่ยนแปลงทัศนคติบางอย่าง โดยไม่ได้เน้นเนื้อหาวชิ าการเป็นหลักใหญ่ ภาพยนตรป์ ระเภทนีจ้ ึงเหมาะกบั กลุ่มผ้ดู ทู วั่ ไป มีความยาวประมาณ 10-30 นาที 2. ภาพยนตร์ทางการสอน (Instructional film) เป็นภาพยนตร์ที่สร้างขึ้นเพื่อจุดประสงค์ พิเศษ เพื่อใช้ทางด้านการเรียนการสอนโดยตรง เสนอเนื้อหาสาระที่เป็นจริงกับผู้ดูมุ่งให้เกิดการเรียนรู้เพ่ือ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมกับกลุ่มผูด้ ูภาพยนตร์ประเภทนีจ้ ึงต้องกำหนดกลุ่มเปา้ หมายที่แน่นอนว่าจะใช้สอนกบั กลุ่มคนระดับใด ผู้สร้างจะอาศัยเทคนิคนำเสนอภาพที่เข้าใจยากๆ ให้ผู้ดูสามารถเข้าใจได้ง่ายขึ้น ช่วยอธิบาย เนื้อหาที่เป็นนามธรรมซึ่งยากต่อการเข้าใจ การใช้เทคนิคการถ่ายภาพเคลื่อนไหวช้า (Slow motion) หรือ ภาพเคลื่อนไหวเร็ว (Speed up action) เพื่อความชัดเจนให้มากที่สุด ตัวอย่างภาพยนตร์ทางการสอน ได้แก่ การแสดงลำดับพัฒนาการการงอกของเมลด็ 3. ภาพยนตร์เรื่อง (Fiction film) เป็นภาพยนตร์เรือ่ งที่ให้ความบันเทิงในการแสดงเป็นหลกั แต่สอดแทรกความรู้ ความคิดบางอย่างเอาไว้ในเรื่อง วัตถุประสงค์ของภาพยนตร์ประเภทนี้เพื่อดึงดูดความ สนใจของกล่มุ คนผดู้ ูไม่ให้เกิดความเบื่อหน่าย ขณะทด่ี กู ไ็ ดร้ ับความเพลิดเพลินและไดค้ วามรูต้ ามไปด้วยแต่เป็น ภาพยนตร์ทีต่ ้องใชเ้ งนิ ทุนสงู วันชนะ บญุ ชม (2555) ไดเ้ สนอการแบ่งประเภทภาพยนตร์ตามการนำไปใชไ้ ด้เปน็ 2 ประเภท คอื 1. ภาพยนตร์สำหรับการสอนโดยตรง (Basic Teaching Film) สร้างขึ้นตามเนื้อหาวิชาใน หลกั สูตรตรงตามตำราเรียนเพ่ือต้องการให้เห็นกระบวนการการเคลื่อนไหว 2. ภาพยนตร์ประกอบการสอน (Supplementary Teaching Film) ผลิตเพื่อเสนอเรื่องราว และประสบการณ์ตา่ งๆ ตามความต้องการขององคก์ ารตา่ งๆ มหี ลายประเภท คอื 2.1) ภาพยนตรบ์ ันทึกเหตกุ ารณ์ (Documentary Film) 2.2) ภาพยนตรเ์ กีย่ วกับความกา้ วหน้าทางเทคโนโลยี (Technology Film) 2.3) ภาพยนตร์สารคดีเพ่อื ความบันเทิงโดยสรา้ งใหเ้ หมาะกับวิชาต่าง ๆ

15 สรุปได้วา่ ภาพยนตร์ที่นำมาใช้ในการเรยี นการสอนตัง้ แตอ่ ดีตจนถึงปัจจบุ นั แบ่งออกเป็น3 ประเภท หลัก ได้แก่ 1. ภาพยนตร์สารคดี ที่นำเสนอเรื่องราวของชีวิตที่อาจเกิดขึ้นได้จริงในการดำเนินชีวิตและ สอดแทรกแงค่ ิด เป็นภาพยนตรท์ ่เี หมาะสำหรบั บุคคลท่วั ไป 2. ภาพยนตร์ทางการสอน เป็นภาพยนตร์ที่เนื้อหาสาระความรู้ ซึ่งมีกลุ่ม เป้าหมายเฉพาะ และวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน คือ การให้ผู้ฟงั ผู้ชมเกิดการเรยี นรู้และเข้าใจง่ายขึ้นเป็นอันดับแรกและได้รับความ บนั เทิงตามลำดับ 3. ภาพยนตร์เรื่อง เป็นภาพยนตร์ที่มุ่งเน้นให้ความบันเทิงเป็นหลักและสอดแทรกแง่คิดใน เรอ่ื งราวที่นำเสนอ เพ่อื ให้ผ้ฟู ังผู้ชมได้รบั ความเพลิดเพลิน 3.4 การคดั เลือกภาพยนตรม์ าใช้ในการจดั การเรยี นการสอน การคัดเลือกภาพยนตร์เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนเป็นสิ่งสำคัญที่จำเป็นต้องมี หลักเกณฑ์ในการพจิ ารณาความเหมาะสมในด้านต่างๆ เพื่อใช้เป็นสื่อในการจดั กิจกรรมการเรียนการสอนให้มี ประสทิ ธภิ าพ โดยศกึ ษาแนวทางจากคำแนะนำของนกั การศกึ ษา ดงั น้ี ฉลองชยั สุรวัฒนบรู ณ์ (2528: 23-24 อา้ งถึงใน วนั ชนะ บญุ ชม 2555) ได้แนะนำแนวทางในการเลือก ภาพยนตรม์ าใชใ้ นการสอน ดังน้ี 1. การเลือกภาพยนตร์ มีหลักในการพิจารณาเลือกใช้ภาพยนตร์สําหรับการเรียนการสอน ดงั นี้ คือ 1.1) ผู้สอนจะต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมกับการประยุกต์ใช้ทําการเลือกเรื่องที่ เหมาะสมกบเน้อื หาวชิ าและความสามารถของผูเ้ รียน 1.2) การทดลองฉาย เป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการพิจารณาเลือกใช้ภาพยนตร์ขณะท่ี ทดลองฉายดูนั้น ผู้สอนควรจดบันทึกเนื้อหา ความคิดรวบยอดที่สําคัญ ตัวอย่างคําศัพท์ที่สําคัญเทคนิคการ เสนอเนอื้ หา จดุ ออ่ นหรอื ขีดจํากัดต่างๆ เป็นส่งิ จําเปน็ สําหรับในขัน้ วางแผนการใชภ้ าพยนตรท์ ี่จะได้มีการแก้ไข ขดี จาํ กดั หรือละเวน้ สว่ นท่ีบกพร่อง สุทธิพงษ์ พงษ์วร (2552) ได้เสนอแนะแนวทางการคัดเลือกภาพยนตร์มาใช้เพื่อทำการจัดการเรียน การสอน ดงั น้ี 1. ภาพยนตร์ควรมีเนื้อหาที่สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่ตั้งไว้หรือทำให้นักเรียนสามารถ เขา้ ใจหรือปฏบิ ัตเิ ปา้ หมายที่วางไว้ 2. ภาพยนตรค์ วรมีเนื้อหา ระยะเวลา และรูปแบบในการนำเสนอทีเ่ หมาะกบั ช่วงอายุและวยั ของผู้เรียน เช่น เด็กเล็กควรเป็นสื่อที่มีความสวยงาม ระยะเวลาในการนำเสนอไม่ยาวเกินไป นำเสนอภาพท่ี ชดั เจน ใช้ภาพท่ีง่ายและเหมาะสมต่อความเขา้ ใจของเดก็ เปน็ ตน้ 3. ภาพยนตร์ที่นำมาใช้ไมค่ วรนำมาใชเ้ พื่อเน้นไปที่การท่องจำเนื้อหา4. ภาพยนตร์ที่นำมาใช้ ควรหลีกเล่ยี งการใสต่ ัวหนังสือหรอื ภาพประกอบเชงิ วิชาการที่มากเกินความจำเป็น สรุปได้ว่า การนำภาพยนตร์มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ครูผู้สอนจะต้องพิจารณาถึงความ เหมาะสมในหลายด้าน ไดแ้ ก่ ความสอดคลอ้ งกับบทเรียน ความเหมาะสมของภาพยนตร์กับความสามารถของ ผเู้ รยี น ประเภทและความยาวของภาพยนตร์ที่เหมาะสมกบั การจัดกิจกรรม เป็นตน้ ซงึ่ ครผู สู้ อนต้องใช้เวลาใน การศึกษาข้อมูลเหล่านี้รวมถึงการทดลองฉาย เพื่อคัดเลือกภาพยนตร์ที่เหมาะสมกับการจัดการเรียนการสอน ภาษามากทสี่ ุด

16 3.5 ประโยชน์และคุณคา่ ของภาพยนตร์การศกึ ษา ปจั จบุ ันมกี ารนำภาพยนตร์มาใชร้ ว่ มในการจดั การเรยี นการสอนในหลากหลายสาขาวิชาเน่ืองด้วยเป็น สื่อท่ีเขา้ ถงึ ไดง้ า่ ย มีการนำเสนอบริบททีช่ ดั เจน สามารถนำมาใชไ้ ดส้ ะดวกและง่ายขนึ้ เนอื่ งจากความพร้อมของ เทคโนโลยใี นปัจจุบนั ซ่ึงภาพยนตร์มีประโยชนแ์ ละคณุ คา่ ในการเรียนการสอนมากมาย ดังนี้ อรพรรณ สุธาพันธ์ (2551: 22) กล่าวว่า ภาพยนตร์เป็นสื่อที่สามารถนำมาใช้ในการสอน ภาษาตา่ งประเทศไดด้ ี เหมาะสมกบั การเรยี นรภู้ าษา เพราะนกั เรียนสามารถมองเห็นภาพไปพร้อมกับการฟังได้ และภาพยนตร์นำเสนอภาษาท่ีใช้ในสถานการณ์ทีส่ มจริงและเป็นธรรมชาติ ทำให้นักเรียนเกิดความสนใจและ ช่วยกระตุ้นให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ สามารถจดจำข้อมูลที่เป็นเนื้อหาหรือข้อมูลทางภาษาได้ดี สิ่งสำคัญคือ ครูผู้สอนควรเลือกภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาน่าสนใจ เหมาะสมกับวัย ความรู้ความสามารถของนักเรียน และ นำไปใช้รว่ มกบั วิธีการสอนท่ีถกู ตอ้ งและเหมาะสม การเรยี นการสอนจึงมีประสิทธิภาพ Donaghy (2014) ได้กล่าวถึงประโยชนข์ องภาพยนตร์ที่นำมาใช้เปน็ ส่อื การจดั การเรยี นการสอน ดังน้ี 1. ภาพยนตร์ช่วยกระตุ้นแรงจูงใจผู้เรียนและให้ความบันเทิง ซึ่งการกระตุ้นแรงจูงใจเป็น ปัจจัยสำคัญในการรับรู้ภาษาที่สอง และหากเรื่องราวที่นำมาใช้สอนเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับนักเรียนเรือ่ งใกล้ตัว นักเรยี น จะทำให้นักเรียนมีความบนั เทิงและสนุกสนานมากขึ้นในกระบวนการจัดการเรยี นรู้ 2. ภาพยนตร์นำเสนอภาษาที่เป็นจริง (Authentic) และมีความหลากหลายของภาษาเป็น ภาษาที่ใช้ในสถานการณ์จริงในชีวิตประจำวัน แม้ว่านักเรียนจะไม่ได้อยู่ใบริบทแวดล้อมที่ใช้ภาษาอังกฤษ สื่อสารเป็นปกติ แต่นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านภาษาอังกฤษที่ใช้ในบทสนทนาต่าง ๆ จากภาพยนตร์ ภาษาองั กฤษได้ 3. ภาพยนตร์ประกอบด้วยบริบทที่สามารถเห็นภาพได้ทำให้นักเรียนสามารถเข้าใจและ ตีความเรื่องราวได้ อีกทั้งการเห็นบริบทต่างๆ เช่น การแสดงสีหน้าอารมณ์ การแสดงท่าทางสิ่งเหล่าน้ีล้วนส่ือ ความหมายและส่งผลตอ่ การทำความเข้าใจของเน้ือเร่ืองทง้ั ส้นิ 4. ภาพยนตร์มีความหลากหลายและความยืดหยุ่น เพราะภาษาที่ใช้ในภาพยนตร์มีความ หลากหลายมากกว่าภาษาที่ใช้ในห้องเรียนเท่านั้น ซึ่งมีส่วนช่วยในการพัฒนาทั้ง 4 ทักษะของนักเรียน ท้ัง ทกั ษะการฟังและการอา่ น การใช้เป็นแบบอย่างในการพดู และการเขียน เป็นตน้ สรุปได้ว่า ภาพยนตร์เป็นสื่อที่มีประโยชน์ต่อการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นสื่อที่แสดงให้เห็นถึง สถานการณ์ที่เกิดข้ึน ลักษณะตัวละคร การแสดงออกทางพฤติกรรม ภาษา ทำให้ผู้เรียนเข้าใจในเรื่องได้ง่าย และชัดเจนขึ้น อีกทั้งยังเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ ประสบการณ์ร่วม และให้ความบันเทิง เกิดเป็น แรงจงู ใจแกผู้เรียนอีกด้วย 3.6 ทฤษฎที ่ีเกย่ี วข้องกับการนำภาพยนตร์มาใชใ้ นการเรียนการสอน การนำภาพยนตร์มาใช้ประกอบการสอน เป็นการนำเข้าข้อมูลทั้งภาพที่เห็นด้วยตาและเสียงที่ได้ฟัง ด้วยหูในขณะเดียวกัน จากนั้นผ่านกระบวนการในการตีความและทำความเข้าใจตามลำดับซึ่งสอดคล้องกับ ทฤษฎรี หัสคู่ ทพ่ี ัฒนาข้ึนโดย Paivio (1971) โดยได้อธบิ ายไว้ ดงั นี้ ทฤษฎีรหัสคู่ หรือ Dual Coding Theory คือทฤษฎีที่ว่าด้วยเรื่องกระบวนการรับรู้ที่พัฒนาขึ้นโดย Paivio (1971) มีสมมติฐานที่ว่าข้อมูลภาพ (Visual) และข้อมูลประกอบด้วย คำพูด (Verbal) จะถูก ประมวลผลในช่องทางสื่อสารที่ต่างกัน โดยข้อมูลจะถูกใส่รหัสหรือแปลงเป็นสัญลักษณ์ก่อนที่จะนำไป ประมวลผลตอ่ ท้ังรหสั ภาพและรหัสคำพดู คือสง่ิ แทนข้อมลู ที่จะถูกนำไปจัดระเบียบเปน็ ความรู้ เพือ่ ให้สามารถ นำความรู้เหลา่ น้นั ไปใช้ จดั เกบ็ และนำกลบั มาใชไ้ ด้อกี

17 การศึกษาวิจัยของ Paivio (1971) มีความสำคัญต่อวงการศึกษาในหลายๆแง่มุม อาทิเช่น ความสามารถในการอ่านการเขียน เทคนิคที่ช่วยในการจดจำสิ่งที่มองเห็นได้ การถ่ายทอดความคิดการ ออกแบบอนิ เตอร์เฟส รวมไปถงึ การพัฒนาสือ่ ทางการศกึ ษา Rieber (1996: 5-22) อธิบายงานวิจัยที่เกี่ยวกับทฤษฎี Dual Coding Theory ว่าโดยทั่วไปงานวิจัย ให้ข้อสรุปว่า ภาพ (Graphic) จะช่วยในการจดจำแนวคิดที่เป็นรูปธรรมได้ดีกว่า คำ (Words) ซึ่งในทฤษฎี Dual Coding Theory ได้ให้คำอธบิ าย 2 ประการเกี่ยวกบั เร่อื งน้ี คอื 1. ข้อมูลที่ถูกใส่รหัสที่ประกอบด้วยคำพูด (Verbal) หรือประกอบด้วยลักษณะที่มองเห็นได้ (Visual) อย่างใดอย่างหนึ่ง สามารถทำให้เกิดผลลัพธ์ในเชิงบวกของการจำได้ หรือถ้าข้อมูลถูกใส่รหัสท่ี ประกอบด้วยคำพดู และขอ้ มูลทีม่ องเหน็ ได้ จะทำใหโ้ อกาสในการเรียกคนื ความทรงจำเพ่มิ ขน้ึ เปน็ เทา่ ตวั 2. ภาพ (Visual) และคำ (Verbal) สามารถไปกระตุ้น การประมวลผลทางจิตใจหลายรปู แบบ จากสมมติฐานตามทฤษฎีนี้อาจสรุปได้ว่า การใช้ภาพและคำทั้ง 2 อย่างในลักษณะที่สอดคล้องกัน จะช่วยให้ เกิดผลทางบวกมากขน้ึ และยงั ช่วยใหเ้ รียกคืนความทรงจำได้ดีขน้ึ จากทฤษฎีดังกล่าวสรุปได้ว่า การที่นักเรียนเรียนรู้ภาษาผ่านการฟังและการดูภาพเคลื่อนไหวไป พรอ้ มๆ กนั จากการดภู าพยนตร์สั้น สนบั สนนุ ให้นกั เรียนเข้าใจกับบริบทและเรื่องราวทเ่ี กิดข้ึนได้ง่าย อีกทั้งคำ บรรยายประกอบ ช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ทางภาษา จากการได้ฟังและได้เห็นคำศัพท์ นักเรียนจะเกิ ด การเรียนรูก้ ารใช้ภาษาไดด้ ีย่งิ ข้นึ การศกึ ษาการใชภ้ าษาในสถานการณ์ทีใ่ กล้เคยี งกบั สถานการณจ์ รงิ ทำใหก้ าร เรียนรกู้ ารใช้ภาษาเพอ่ื การสื่อสารทม่ี ีประสิทธิภาพยงิ่ ข้ึน 3.7 การนำภาพยนตรม์ าใช้การเรยี นการสอนภาษาองั กฤษ จากการกล่าวข้างต้นเกี่ยวกับประโยชน์ของการนำภาพยนตร์มาใช้เป็นสื่อประกอบการสอนสำหรับ การนำมาใชใ้ นการสอนภาษาองั กฤษ มีนักการศกึ ษาได้เสนอแนะแนวทาง ขนั้ ตอน และวิธจี ดั การเรียนการสอน ภาษาโดยใช้ภาพยนตร์ ดังน้ี Hemei (1997: 45-46) เสนอแนะกิจกรรมไว้สําหรับการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้ภาพยนตร์ในช้ัน เรียน ดังน้ี 1. การดูอย่างจริงจังเพื่อให้เกิดความเข้าใจโดยรวม ( Active viewing and global comprehension) โดยเน้นให้ผู้เรียนสนใจใจความสําคัญของการนําเสนอภาพยนตร์ให้ผู้เรียนได้รับแนวคิด ทั่วไปเกยี่ วกบั การนําเสนอเนื้อหาภาพยนตร์โดยให้ผเู้ รียนตอบคาํ ถามปากเปล่าเกี่ยวกับการนําเสนอภาพยนตร์ ที่ผู้สอนกำหนดไว้ก่อน จากนั้นให้ผู้เรียนศึกษาใบงานเกี่ยวกับตัวแนะหรือตัวแนะในการชม ผู้เรียนชม ภาพยนตร์ทีละตอนอีกครั้งเพื่อให้ผู้เรียนดูและฟังรายละเอียดเฉพาะหรือลักษณะเฉพาะทางภาษาทีป่ รากฏใน เน้อื หา 2. การหยุดภาพโดยการกดปุ่มนิ่งหรือปุ่มหยุดชั่วคราว (Freeze framing) และการคาดเดา เหตุการณ์ การหยุดภาพเพื่อให้ข้อมูลเพิ่มเติมด้านภาษา ท่าทาง การแสดงอารมณ์ การแสดงออกทางสีหน้า ปฏิกิริยาการตอบสนองของตัวละครเพื่อสอนคําศัพท์และสํานวนต่างๆ หรือเน้นความสนใจของผู้เรียนบาง ประเด็น เพือ่ ให้ผู้เรียนไดค้ าดเดาเหตุการณ์ทจี่ ะเกิดข้นึ ต่อไปจากฉากหรือตอนทด่ี ูคร้ังแรกเพ่ือสรุปความหมาย ของขอ้ มลู เพม่ิ เติมเกย่ี วกบั ตัวละคร โดยอาศยั ชอื่ ของแต่ละฉาก 3. การดูแบบเงียบ (Silent viewing) โดยให้ผู้เรียนดูแต่ภาพเป็นการกระตุ้นความสนใจและ ความคดิ ตลอดจนพฒั นาทักษะการเดาในการดูครง้ั แรกโดยผู้เรยี นใช้ศกั ยภาพของตนเอง สรปุ เน้อื หาท่ีชม โดย ผสู้ อนหยุดภาพชั่วคราว ใหผ้ ู้เรยี นเดาพฤตกิ รรมของตวั ละครหรอื สง่ิ ท่ตี ัวละครจะพดู หลงั จากนั้นเปดิ ให้ผู้เรียนดู ทงั้ ภาพและเสยี ง เพ่อื เปรยี บเทยี บขอ้ มูลทเ่ี ดาและเหตกุ ารณ์จริงในภาพยนตร์

18 4. การเปิดเสียงและปิดภาพ (Sound on and vision off) ให้ผู้เรยี นไดย้ ินแตเ่ สียงเพื่อให้เดา หรอื จนิ ตนาการภาพ หรือเหตกุ ารณ์จากสง่ิ ทไี่ ดย้ ิน 5. การพูดซ้ำและการแสดงบทบาทสมมติ (Repetition and role-play) มีการหยุดฉาย ภาพยนตร์ชั่วคราวเพื่อให้ผู้เรียนพูดซ้ำารายบุคคลหรือรายกลุ่ม คําศัพท์ สํานวน ประโยคและโครงสร้างทาง ภาษาที่ยากหรือสําคัญในฉากนั้น ให้ผู้เรียนแสดงบทบาทเลียนแบบต้นฉบับในภาพยนตร์นั้น เมื่อผู้เรียนจําได้ หรอื เกดิ ความเข้าใจและมันใจเก่ยี วกับศัพท์และโครงสรา้ งทางภาษาแล้ว อาจใหผ้ ้เู รียนแสดงบทบาทสมมติโดย ไม่มีบทพูดของฉากน้ัน ทดลองประยุกต์จากสิ่งท่ีเรียนรู้และปรับให้เหมาะสม ตามความรู้สึกนึกคิดความเข้าใจ ของตนเอง 6. การผลิตคําพูดใหม่ (Reproduction) หลังจากผู้เรียนดูภาพยนตร์ตอนนั้นให้ผู้เรียนสร้าง อธิบาย เล่า หรือสรุปสิง่ ที่ได้ชมใหม่อีกครั้งเป็นคู่ๆ จากนั้นอาจใหผ้ ู้เรยี นชมภาพยนตร์ตอนนั้นอีกสองหรอื สาม ครั้ง แล้วให้ผูเ้ รยี นเล่าเรื่องยอของเนื้อภาพยนตร์เป็นรายบุคคลโดยผูส้ อนให้คําแนะนํา ช่วยเหลือ โดยเขียนคํา สาํ คัญหรอื ตวั แนะใหก้ อ่ น 7. การทําสําเนาแถบบันทึกเสียงหรือแถบบันทึกภาพและเสียง หรือการใส่คําลงในร่องเสียง ภาพยนตร์ต่างประเทศ (Dubbing) โดยให้ผู้เรียนเติมฉากภาพยนตร์ให้สมบูรณ์แทนที่ต้นฉบับหลังจากการ ทบทวนเนื้อหาภาพยนตร์ หรือเมื่อผู้เรียนมีความสามารถเพียงพอ แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ การเปิดฉาก หรือตอนของเรื่องในภาพยนตร์อีกครั้ง ลดเสียงลงให้ผู้เรียนเติมข้อมูลบทสนทนาที่ขาดหายไปหรือการเลือก ฉากสําคัญ น่าสนใจ แล้วปิดเสียงให้ผู้เรียนดูภาพเติมคําหรือบทสนทนาลงในสําเนาต้นฉบับ โดยอาศัยตัวแนะ คือ ภาพท่ีได้เห็น 8. กิจกรรมการติดตามประเมินผล (Follow-up activity) โดยการจัดให้ผู้เรียนพูดอภิปราย เหตุการณ์ บุคลิกภาพของตัวละคร ฯลฯ ตลอดจนหัวข้อเรือ่ งเพื่อพัฒนาทักษะ ความร่วมมือเป็นกลุ่มและการ สื่อสาร นอกจากนี้มผี ู้วิจัยหลายทา่ นได้แนะนำข้นั ตอนวธิ กี ารสอนภาษาองั กฤษโดยใชว้ ดี ิทัศนห์ รือภาพยนตร์ อาทHิ emei (1997: 45-46) โดยแบ่งเปน็ 3 ขน้ั ตอนดงั นี้ 1. ขั้นก่อนชม (Pre-viewing) เป็นขั้นการเตรียมความพร้อมเพื่อให้คุ้นเคยกับหัวข้อวีดิทัศน์ บริบท เรียนคำศัพท์ สำนวน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนแสดงความคิดโดยใช้ความรู้เดิมและประสบการณ์มา ปฏสิ มั พันธก์ บั วดี ิทศั นแ์ ละผสู้ อน โดยไมเ่ นน้ ความถูกตอ้ งของคำตอบ 2. ขนั้ ชม (Acting-viewing) เป็นขัน้ ท่ผี ้เู รียนเรียนเน้อื หาทางภาษาจากวดี ทิ ัศน์และกิจกรรมท่ี ปฏิบัติระหวา่ งชม เช่น วิธีการปิดเสียงเปิดภาพหรือดูแบบเงียบ (Sound off/ Vision on or Silent viewing) เพ่อื ใหผ้ ้เู รยี นเดา คำศพั ท์ สำนวน และประโยค จากกริยาทา่ ทางการเคล่ือนไหวของริมฝีปากของนักแสดงหรือ ตัวละครในบางตอน การเปิดเสียงปิดภาพ (Sound on /Vision off) เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนคิดจินตนาการและ พูดบรรยายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ระบุชนิดของบุคคล ท่าทางบทบาท ตลอดจนสถานที่แล้วประมวลความคิด ภาพรวม หรือโครงเรื่อง ตลอดจนให้ผู้เรียนดูทั้งเรื่อง (View a whole segment) เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจเรื่อง โดยรวมและเรยี นรภู้ าษาและวฒั นธรรม เป็นต้น นอกจากนี้ยังใช้วิธีการหยุดภาพหรือหยุดเสียง (Pause/Freeze-frame control) เพื่อเน้น สถานการณ์โครงสร้างภาษาวัฒนธรรม ประเพณี สำนวน ภาษา โดยให้ผู้เรียนพูดตาม หรือเลียนแบบจาก เจา้ ของภาษาพดู อภปิ ราย หรอื เรียงประโยคบทสนทนาตามลำดับเหตกุ ารณใ์ นเนอื้ เรอ่ื ง 3. ข้ันหลังชม (Post-viewing) เปน็ การพฒั นาระบบความจำของผ้เู รยี น และกระตนุ้ ให้ผู้เรียน ได้ฝึกและมีทักษะในการพูดเล่าเรื่อง ผู้สอนและผู้เรียนสรุปรูปแบบโครงสร้างและหน้าที่ของภาษาวัฒนธรรม

19 บทบาท ของนักแสดงในเรื่อง กระตุ้นให้ผู้เรียน ฝึกแสดงความคิดเห็น ความชอบ ไม่ชอบเกี่ยวกับเรื่องที่ชม การแต่งเรื่องใหม่โดยอาศัยเค้าโครงเรื่อง บทบาท เนื้อหาที่ใกล้เคียงกับเรื่องที่ชมแล้วนำเสนอในลักษณะ บทบาทสมมติ เปน็ ตน้ จากการศึกษาเกี่ยวกับขั้นตอนการนำภาพยนตร์มาใช้ในการสอนภาษาอังกฤษ สรุปได้ 3 ขั้นตอน หลกั ดงั นี้ 1. ขั้นก่อนฟังและชมภาพยนตร์ (Pre-listening & viewing) ครูกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความ สนใจโดยใช้รูปภาพ/ภาพนิ่ง เพื่อให้นักเรียนคาดเดาเรื่องราวที่เกิดขึ้น และใช้คำถามนำ (guided questions) เพอ่ื ระดมสมอง ดึงความรู้ หรือประสบการณเ์ ดิมของนักเรียนที่เกี่ยวกบั เร่ืองราวออกมาผ่านกิจกรรมการถาม- ตอบแบบไม่เป็นทางการ เน้นการแบง่ ปันข้อมลู รวมถงึ การแนะนำคำศพั ท์สำคญั (key vocabulary) 2. ขั้นขณะฟังและชมภาพยนตร์ (While-listening & viewing) เป็นขั้น รับฟังข้อมูล ตีความ และทำความเข้าใจเรื่องราว แบ่งออกเป็น3 รอบ โดยมีกิจกรรมระหว่างการฟังเพื่อให้นักเรียนฟังอย่างมี จุดมุ่งหมาย ดังนี้ รอบที่ 1 นักเรียนฟังเนื้อเรื่องโดยรวมและทำแบบฝึกบางส่วน รอบที่ 2 นักเรียนฟังและทำ แบบฝึกจนเสร็จและรอบที่ 3 นักเรียนฟังเน้ือเร่ืองอีกครั้งพรอ้ มดูคำบรรยาย ครูและนักเรียนร่วมกันตรวจสอบ ความถูกต้องของแบบฝึก ตัวอย่างกิจกรรมในแบบฝึก เช่น การตอบคำถามแบบถูกผิด (True/False) คำตอบ แบบตัวเลือก (Multiple choices) หรือการเติมคำ (Gap Filling) เป็นต้น และการหยุดภาพหรือหยุดเสียง (Pause/Freeze-frame control) หรอื ใหด้ ภู าพยนตรท์ งั้ เรอื่ ง (View a whole segment) ซง่ึ แตล่ ะเทคนคิ จะ ทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะย่อยต่างๆ เช่น การคาดเดาเหตุการณ์ การเรียงลำดับเหตุการณ์ ตลอดจนการเข้าใจ ประเด็นสำคัญของเรื่อง เปน็ ต้น 3. ขั้นหลังการฟังและชมภาพยนตร์ (Post-listening &viewing) เป็นขั้นนำภาษาที่ได้จาก การฟังไปใช้ในสถานการณ์จริง หลังจากที่มีการสรุปโครงสร้างทางภาษาระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนหลังการดู ภาพยนตร์เสร็จสิ้น โดยให้นักเรียนได้มีโอกาสในการผลิตภาษาของตนเองผ่านกิจกรรมที่ครูมอบหมายทั้ง กจิ กรรมเด่ียว กจิ กรรมคหู่ รอื กิจกรรมกลุ่มตามความเหมาะสม เชน่ การแสดงบทบาทสมมติ (Role play) การ นำเสนอ (Presentation) หรอื การทำผังความคดิ (Mind Mapping) เปน็ ต้น 4. การสรา้ งแบบฝึก 4.1 ความหมายของแบบฝึก ในการพัฒนาการสอนทักษะการฟังให้กับผู้เรียน จำเป็นที่จะต้องใชส้ ื่อการสอนและกิจกรรมที่ความ หลากหลาย เพ่ือกระต้นุ ให้ผู้เรียนเกิดความสนใจและจดจ่อกับการเรยี นรูน้ ั้น แบบฝึกการฟังภาษาอังกฤษ เป็น สอ่ื การสอนทีม่ ีความสำคัญ เพราะจะทำให้ผ้เู รียนเกดิ การเรียนรู้ทักษะการฟังอย่างมีเป้าหมาย และสามารถนำ ทักษะทางภาษาที่เรยี นรู้มาใช้ทำแบบฝึกให้สมบรู ณ์ อีกทั้งเป็นแนวทางให้ครูผู้สอนประเมินความก้าวหน้าของ ผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งมีนักการศึกษาด้านการพัฒนาแบบฝึกการฟังภาษาอังกฤษได้แนะนำ เกี่ยวกับความหมายของแบบฝกึ และแนวทางในการสรา้ งแบบฝกึ ไว้ ดังน้ี ถวลั ย์ มาศจรัส (2550) กล่าวว่า แบบฝึก หมายถงึ นวตั กรรมทใ่ี ชใ้ นการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ โดย มีความหลากหลายและปรมิ าณเพียงพอ เพื่อใหน้ ักเรียนเกิดการเรียนรู้อย่างเหมาะสมทีส่ ามารถตรวจสอบและ พัฒนาทกั ษะกระบวนการคิด กระบวนการเรยี นรู้ สามารถนำนักเรียนไปสู่การสรุปความคิดรวบยอด และหลัก สำคญั ของสาระการเรียนรู้ อกี ทงั้ นกั เรยี นสามารถตรวจสอบความเขา้ ใจในบทเรียนดว้ ยตนเองได้

20 สุนันทา สุนทรประเสริฐ (2553) ได้อธิบายความหมายของแบบฝึกทักษะไว้ดังนี้แบบฝึกทักษะหรือ แบบฝึกหัด คือ สื่อการเรียนการสอนอย่างหนึ่งที่ใชฝ้ ึกทักษะให้กับผู้เรยี นหลงั จากเรยี นจบเนือ้ หาในชว่ งหน่งึ ๆ เพอ่ื ฝกึ ฝนให้เกิดความรู้ความเข้าใจ รวมท้ังเกดิ ความชำนาญในเรอื่ งน้ัน ๆ อยา่ งกว้างขวางมากขึน้ รัชดาวัลย์ ศรีวรกุล (2558) กล่าวว่า แบบฝึกทักษะหรือแบบฝึก คอื สอ่ื การเรียนการสอนชนิดหนึ่งท่ี ใช้ฝึกทักษะใหก้ ับผู้เรียนหลังจากเรียนจบเนื้อหาในช่วงหนึง่ ๆ เพื่อฝึกฝนให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ รวมทั้งเกดิ ความชำนาญในเรื่องนั้นๆ อย่างกว้างขวาง แบบฝึกหัดจึงสำคัญต่อผู้เรียนไม่น้อยในการทีช่ ว่ ยเสริมสรา้ งทกั ษะ ให้กับผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้และเข้าใจเร็วขึ้นชัดเจน กว้างขวางขึ้น ทำให้การสอนของครูและการเรียนของ นักเรียนประสบผลสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพจึงนับว่าเป็นเคร่ืองมือที่สำคัญที่ครูสามารถนำไปใช้ในกิจกรรม การเรยี นการสอนเพื่อนำไปสูจ่ ดุ หมายได้ จากข้อมูลข้างต้น สรุปได้ว่า แบบฝึกนั้นมีความสำคัญในการจัดการเรียนรู้ เพื่อมุ่งหวังให้ผู้เรียนได้ ฝึกฝนทักษะทางภาษาจนเกิดความชำนาญและนำความรู้ที่ได้จากการเรียนมาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ การ เรยี นรูภ้ าษาและการปฏิบตั กิ จิ กรรมทีห่ ลากหลายในแบบฝึกควบคู่กัน ทำให้นักเรียนเขา้ ใจภาษาทเ่ี รยี นรู้ได้มาก ขึ้น รวมถึงรู้หลักการนำภาษาไปใช้ในสถานการณ์ต่างๆ ได้จึงทำให้การเรียนบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในการวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนาแบบฝึกประกอบภาพยนตร์ เพื่อนำมาเป็นสื่อในการ พัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษของนักเรยี น 4.2 หลักการและข้นั ตอนสรา้ งแบบฝึก การสร้างแบบฝึก เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกฝนจนเกิดความชำนาญ จำเป็นต้องคำนึงถึงองค์ประกอบท่ี สำคัญต่างๆ ทั้งด้านเนื้อหา ความสามารถของผู้เรียน ความพร้อมด้านสื่ออุปกรณ์การนำไปใช้รวมถึงการ ประเมินผลจากการทำแบบฝึกของผ้เู รียน ซึ่งมนี กั การศกึ ษาและผู้เช่ียวชาญได้เสนอหลักการและขนั้ ตอนในการ สรา้ งแบบฝกึ ดังนี้ Seel and Glasgow (1990) ได้เสนอแนะไว้ว่า ในการจัดสถานการณ์ทางการเรียนการสอนนั้น สามารถกำหนดขอบเขตเนื้อหาจากหลักสูตร โดยกำหนดจากหน่วยการเรียนยอ่ ยไปสู่หน่วยการเรียนใหญ่ แต่ อยา่ งไรกต็ ามในการออกแบบการสอนหรือการสรา้ งแบบฝึกควรคำนึงถงึ องค์ประกอบดังต่อไปน้ี 1. เนอื้ หาทีค่ ดั เลอื กมาสร้างแบบฝึกต้องอิงจุดประสงคร์ ายวชิ า 2. กลวธิ ที ่ีใชใ้ นการสอนตอ้ งองิ ทฤษฎีและผลการวจิ ยั ท่ีมีผู้ทำไวแ้ ลว้ 3. การวดั ต้องอิงพฤติกรรมการเรียนรู้ 4. รู้จกั นำเทคโนโลยมี าใชป้ ระกอบเพ่อื ให้แบบฝกึ มปี ระสทิ ธภิ าพและคุ้มคา่ นอกจากน้ี Seels and Glasgow (1990) ยงั ไดเ้ สนอแนะข้ันตอนในการสร้างแบบฝึกไว้ดงั น้ี 1. การวิเคราะห์ปัญหา กำหนดปัญหาที่ชัดเจน โดยรวบรวมปัญหาที่เกิดขึ้นในการสอนและ จากการประเมนิ ความต้องการของผ้เู รยี น 2. วิเคราะห์ภาระงาน โดยการรวบรวมข้อมูลที่ไดจ้ ากทักษะความรู้และ พฤติกรรมของผู้เรียน ตลอดจนทัศนคตขิ องผเู้ รียน เพื่อหาแนวทางวิธกี ารสอน 3. กำหนดจดุ ประสงค์เชิงพฤตกิ รรมพรอ้ มทงั้ เกณฑ์การประเมนิ ท่ี สอดคลอ้ งตามจดุ ประสงค์ 4. กำหนดกลวิธใี นการสอนในแตล่ ะข้ันตอนของการสอน 5. กำหนดรูปแบบการสอนและเลอื กส่อื ท่จี ะนำมาสร้าง 6. วางแผนในการพฒั นาสอ่ื ให้สอดคล้องกบั โครงการสอน 7. วางแผนและกำหนดการประเมินจุดประสงคย์ ่อยระหวา่ งการสอนเพ่ือนำข้อมลู ทไี่ ด้ไปใช้ใน การพิจารณาปรบั ปรงุ

21 8. วางแผนขนั้ ตอนในการใชส้ ่ือทส่ี รา้ งขึน้ 9. ดำเนินการประเมนิ ผลข้ันสุดท้าย 10. นำแบบฝึกท่สี รา้ งข้ึนสมบูรณ์ออกเผยแพร่ Butts (1974: 85) เสนอหลกั การสรา้ งแบบฝึกเสรมิ ทักษะไว้ ดงั นี้ 1. กำหนดโครงร่าง เกี่ยวกับเนือ้ หาและวตั ถปุ ระสงค์ 2. ศกึ ษางานและเอกสารทีเ่ กีย่ วขอ้ ง 3. เขยี นวตั ถุประสงค์เชิงพฤตกิ รรมและเนอ้ื หาทสี่ อดคลอ้ ง 4. แจ้งวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมออกเป็นกิจกรรมย่อยๆ โดยคำนึงถึงความเหมาะสมของ ผ้เู รยี น 5. กำหนดอุปกรณท์ จ่ี ะใช้ในกจิ กรรมแต่ละตอนให้เหมาะสมกบั แบบฝึก 6. กำหนดเวลาทใ่ี ชใ้ นแบบฝกึ แต่ละตอนให้เหมาะสม 7. กำหนดการประเมินผลวา่ จะประเมนิ ผลกอ่ นเรยี นหรือหลังเรียน สนุ ันทา สนุ ทรประเสริฐ (2553) ได้กลา่ วถึงขน้ั ตอนการสร้างแบบฝกึ ทกั ษะ ดงั นี้ 1. วิเคราะห์ปญั หาและสาเหตุจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเร่ิมจากการวิเคราะห์ ปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะทำการสอน การผ่านจุดประสงค์ของนักเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรวมทั้งการ สงั เกตพฤตกิ รรมทไี่ ม่พึงประสงค์ของผูเ้ รยี น 2. ศึกษารายละเอียดในหลักสูตร เพอ่ื วิเคราะห์เนื้อหาและจุดประสงค์แต่ละกจิ กรรม 3. พิจารณาแนวทางการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น โดยการสร้างแบบฝึกทักษะและเลือกเนื้อหาใน สว่ นทจ่ี ะสรา้ งแบบฝึกทกั ษะนน้ั กำหนดเป็นโครงเรอ่ื ง 4. ศึกษารปู แบบการฝกึ ทักษะ 5. ออกแบบชดุ ฝึกทักษะแตล่ ะชุดให้มีรปู แบบท่ีหลากหลายน่าสนใจ 6. ลงมือสร้างแบบฝึกทักษะในแต่ละชุดพร้อมทั้งข้อทดสอบก่อนและหลังเรียนให้สอดคล้อง กบั เน้อื หาและจดุ ประสงค์การเรียนรู้ 7. ส่งใหผ้ ้เู ชี่ยวชาญตรวจสอบ 8. นำไปทดลองใชบ้ นั ทกึ เพอ่ื นำปรบั ปรงุ แกไ้ ขสว่ นท่บี กพร่อง 9. ปรับปรงุ จนมปี ระสทิ ธิภาพตามเกณฑท์ ่ีกำหนด 10. นำไปใช้จริงและเผยแพร่ กล่าวโดยสรุป คือ ขั้นตอนการสร้างแบบฝึก ควรมีการวางโครงร่างของแบบฝึก ได้แก่ การกำหนด หวั ขอ้ เรื่อง จดุ ประสงค์ของแบบฝึก เนือ้ หาสาระ กระบวนการสอนท่ีมีกิจกรรมย่อยทห่ี ลากหลาย เพื่อนำมาใช้ สร้างโครงร่างเนอ้ื หา จากน้นั เลอื กใช้อปุ กรณห์ รอื ส่ือท่ีน่าสนใจมาใชร้ ่วมกับการปฏิบตั ิกิจกรรมในแบบฝึก สร้าง แบบฝึกเสริมให้สมบูรณ์และนำเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญประเมินด้านความสอดคล้องของเนื้อหากิจกรรมและ จุดประสงค์การเรยี นรูท้ ี่กำหนดเพอ่ื หาประสทิ ธิภาพของแบบฝึก กอ่ นการนำไปใชจ้ ริง 4.3 ประโยชนข์ องแบบฝึก Patty (1968: 469-472) ได้กล่าวถึงประโยชนข์ องแบบฝึกต่อการเรยี นรไู้ ว้ 10 ประการ คอื 1. เป็นส่วนเพิ่มเติมหรือเสริมสร้างในการเรียน เป็นอุปกรณ์การสอนที่ช่วยลดภาระของครู เพราะ แบบฝึกเป็นสิ่งที่จัดทำข้นึ อยา่ งเปน็ ระบบ 2. ช่วยเสริมทักษะการใช้ภาษาเปน็ เครือ่ งมือที่ช่วยนักเรียนในการฝึกทักษะทางการใช้ภาษาใหด้ ีขึ้น แต่ทั้งนจ้ี ะต้องอาศัยการสง่ เสริมและเอาใจใส่จากครผู สู้ อนด้วย

22 3. ช่วยในเรอื่ งความแตกต่างระหวา่ งบคุ คล เนือ่ งจากนกั เรียนท่มี คี วามสามารถทางภาษาแตกต่างกัน การใหน้ ักเรียนทำแบบฝกึ ท่ีเหมาะสมกบั ความสามารถจะชว่ ยนักเรียนประสบผลสำเรจ็ มากขน้ึ 4. แบบฝึกช่วยเสริมให้ทักษะทางภาษาคงทน ลักษณะการฝึกเพื่อช่วยให้เกิดผลดังกล่าวได้แก่ ฝึก ทนั ทีหลังจากทน่ี ักเรยี นได้เรียนรู้เรื่องนั้นๆ ฝึกซ้ำหลายๆ ครงั้ เนน้ เฉพาะเรื่องท่ีตอ้ งการฝกึ 5. แบบฝึกที่ใช้จะเป็นเครื่องวัดผลการเรียนหลังจากบทเรียนในแต่ละครั้ง6. แบบฝึกที่จัดขึ้นเป็น รูปเล่ม นกั เรียนสามารถเกบ็ รกั ษาไว้ใชเ้ ปน็ แนวทางเพือ่ ทบทวนดว้ ยตนเองไดต้ ่อไป 7. การให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดช่วยใหค้ รูมองจุดเดน่ หรือปัญหาต่างๆ ของนักเรียนได้ชัดเจนซ่ึงจะ ชว่ ยให้ครดู ำเนนิ การปรับปรุงแกไ้ ขปญั หาน้นั ๆ ไดท้ ันทว่ งที 8. แบบฝกึ ท่จี ัดข้นึ นอกจากท่มี ีในหนงั สอื เรียนแลว้ จะช่วยใหน้ ักเรยี นได้ฝึกฝนอยา่ งเตม็ ที่ 9. แบบฝึกที่จัดพิมพ์เรียบร้อยแล้ว จะช่วยให้ครูประหยัดแรงงานและเวลาในการที่จะต้องเตรียม แบบฝึกอยู่เสมอ ในด้านผู้เรียนไม่ต้องเสียเวลาในการลอกแบบฝึกจากตำราเรียนหรือกระดานดำทำให้มีเวลา และโอกาสไดฝ้ กึ ฝนทักษะตา่ งๆ ไดม้ ากข้นึ 10. แบบฝึกช่วยประหยัดคา่ ใช้จา่ ย เพราะการจัดพิมพ์เป็นรูปเล่มท่ีแน่นอนลงทุนต่ำกว่าการที่จะใช้ พิมพ์ลงกระดาษไขทุกครั้งไป นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ในการที่ผู้เรียนสามารถบันทึกและมองเห็น ความกา้ วหนา้ ของตนเองไดอ้ ยา่ งมีระบบและมรี ะเบียบ วิมลรัตน์สุนทรโรจน์ (2547: 83-84) ได้สรุปเกี่ยวกับประโยชน์ของแบบฝึกว่า แบบฝึกช่วยให้ นักเรียนเข้าใจบทเรียนได้ดียิ่งขึ้น เนื่องจากนักเรียนได้ฝึกทำงานด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องและสามารถ ประเมินผลงานของตนเองได้ จึงทำให้มีความเชื่อมั่นในตนเองมากขึ้น นอกจากนี้ แบบฝึกช่วยเสริมให้ทักษะ ทางภาษาอยู่คงทน ซึ่งการฝึกที่ช่วยให้เกิดผลดังกล่าว คือ การฝึกทันทีหลังจากเรียน และครูสามารถทราบ ความเขา้ ใจของนักเรียนท่ีมีต่อบทเรียนได้อีกท้งั ยังสามารถนำไปเป็นแนวทางในการพฒั นาการจัดการเรียนการ สอนตามความสามารถของนกั เรยี นได้ โดยคำนงึ ถงึ ความแตกต่างระหวา่ งบุคคล ศักรินทร์ คนหม่ัน (2558) กล่าวว่า ประโยชน์ของแบบฝึก คือ ช่วยเสริมทักษะและเป็นเครื่องมือใน การฝึกทักษะทางภาษาให้ดีขึ้น ทำให้ครูมองเห็นจุดเด่นและปัญหาต่างๆ ของนักเรียนได้ตลอดจนเห็นความ แตกต่างระหวา่ งบุคคลและความก้าวหน้าของนักเรียนอีกทง้ั ยังทำให้ครูและนักเรียนประหยัดเวลา ท่ีสำคัญ คือ ช่วยให้นักเรียนเข้าใจยิ่งขึ้นและสามารถทบทวนด้วยตนเองกล่าวโดยสรุป แบบฝึกมีประโยชน์ต่อครูผู้สอน ใน ด้านการสร้างสือ่ ที่จำเป็นในการสอนและการพัฒนาการสอนให้เหมาะกับความสามารถของผู้เรียน รวมถึงการ ประเมินผลหลังการเรียนรู้ของนักเรียนจากแบบฝึก สำหรับนักเรียน แบบฝึกช่วยให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติ กิจกรรมและเกิดความรู้ทางภาษาที่คงทน อีกทั้งให้นักเรียนได้มีโอกาสประเมินความสามารถของตนเองจาก การทำแบบฝึก

23 บทที่ 3 วธิ ีดำเนนิ การวจิ ัย ในการดำเนินการวิจัยเรื่อง การศึกษาพัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษโดยใช้แบบฝึกหัดประกอบ ภาพยนตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนพุนพินพิทยาคม เป็นการวิจัยก่อนการทดลอง (Pre experimental Research) โดยใช้การวิจัยรูปแบบ One-Group-Pretest- Posttest Design มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกประกอบภาพยนตร์ 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการฟังภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 ก่อนและหลังเรียนด้วย เแบบฝึกประกอบภาพยนตร์ การวิจัยครั้งน้ี ผวู้ ิจยั ได้ด้าเนินการวจิ ยั โดยมรี ายละเอียด ดงั นี้ 1. กล่มุ เป้าหมาย กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 42 คน ได้มาโดยการส่มุ แบบเจาะจง 2. ขัน้ ตอนการดำเนินการวิจัย 1. ศกึ ษาเอกสารและงานวิจัยทเ่ี กีย่ วขอ้ ง 2. ออกแบบเคร่อื งมอื 3. สรา้ งเครือ่ งมือในการวจิ ยั 4. ตรวจสอบความถกู ตอ้ ง เหมาะสม 5. เกบ็ รวบรวมขอ้ มลู 6. วเิ คราะหข์ อ้ มูล 3. แบบแผนการวิจยั การวจิ ยั กงึ่ ทดลองแบบกลุม่ เดียว วัดก่อน-หลงั 4. เคร่ืองมอื ทใี่ ชใ้ นการวิจยั ในการวจิ ยั เรอ่ื ง ผลการใช้แบบฝึกประกอบภาพยนตร์ทม่ี ีต่อการพัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษของ นกั เรียนระดับชั้นมธั ยมศึกษาปีท่ี 1/2 ผู้วจิ ยั ได้ใชเ้ ครอื่ งมอื ในการเก็บรวบรวมข้อมลู ดงั ต่อไปน้ี 1. แบบฝกึ ประกอบภาพยนตรไ์ ด้มาจากการวเิ คราะหร์ ายวชิ าภาษาอังกฤษฟัง-พดู รหสั อ 20213 เพอ่ื ศกึ ษาเน้อื หาสาระของหลกั สูตร เก่ียวกับจุดประสงค์การเรยี นรู้ รปู แบบภาษาและหน้าทข่ี องภาษา เพือ่ นำมาใช้ ในการสร้างแบบฝึกประกอบภาพยนตร์ สำหรับนกั เรียนชั้นมัธยมศึกษาปที ่ี 1/2 จำนวน 4 หนว่ ยการเรียน 2. แบบทดสอบทักษะการฟงั ภาษาอังกฤษ เป็นแบบทดสอบซง่ึ มเี นือ้ หาและทกั ษะทางภาษาสอดคล้อง กับส่ิงท่เี รียน เปน็ แบบชนดิ 4 ตัวเลือก (Multiple choices) จำนวน 20 ขอ้ เพ่ือใช้วัดความสามารถในการฟัง กอ่ นและหลงั การใชก้ ารสร้างแบบฝึกประกอบภาพยนตร์ 3. ภาพยนตร์ตา่ งประเทศ คัดเลือกภาพยนตร์ ได้แก่ Rio

24 5. การสร้างเครื่องมอื การวจิ ัย 1. การคัดเลือกคดั เลอื กภาพยนตร์ ได้แก่ Rio 2. การสร้างแบบแบบทดสอบทกั ษะการฟังภาษาองั กฤษ 2.1 ศึกษาเอกสารเกย่ี วกับแบบทดสอบทกั ษะการฟังภาษาอังกฤษ 2.2 สร้างแบบสังเกตพฤติกรรมการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ซึ่งมีลักษณะเป็น เป็น แบบทดสอบซึ่งมีเนื้อหาและทักษะทางภาษาสอดคล้องกับสิ่งที่เรียน เป็นแบบชนิด 4 ตัวเลือก (Multiple choices) จำนวน 20 ข้อ เพื่อใช้วัดความสามารถในการฟังก่อนและหลังการใช้การสร้างแบบฝึกประกอบ ภาพยนตร์ 6. การรวบรวมข้อมูล ขัน้ ตอนในการเก็บรวบรวมข้อมลู มดี งั น้ี 1. นำเนื้อหาจากภาพยนตร์ ได้แก่ Rio ให้นักเรียนฝึกทักษะการฟังเพื่อประเมินการฟังภาษาอังกฤษ ก่อนการเรยี น โดยผู้สอนทำการบันทึกคะแนนทักษะการฟังในแบบบนั ทึกคะแนนทักษะการฟัง 2. หลังจากที่นักเรียนได้เรียนรู้เนื้อหาจากภาพยนตร์ ได้แก่ Rio แล้ว ครูผู้สอนทำการวัดผลการฝึก ทักษะหลังเรียน เพื่อนำผลที่ได้มาหาผลต่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนจากแบบประเมินก่อนเรียน และหลงั เรียน 7. การวเิ คราะห์ขอ้ มูล 1. คำนวณหาค่าเฉลี่ยจากแบบฝึกทักษะการฟังภาษาอังกฤษ ทั้งก่อนและหลังการทดลองเพื่อ เปรียบเทียบคะแนนความสามารถในการพัฒนาการฟังภาษาอังกฤษของนักเรียนก่อนและหลังการทดลองจาก แบบฝึกทักษะการฟงั ภาษาอังกฤษโดยใชก้ ารทดสอบ 2. นำข้อมูลทีไ่ ด้จากการประเมินการพัฒนาการฟงั ภาษาอังกฤษของนกั เรียนมาวิเคราะห์โดยสรปุ เปน็ ความเรียง 8. สถติ ทิ ่ีใช้ในกำรวเิ คราะหข์ ้อมลู สถิตทิ ใี่ ช้ในการวเิ คราะหข์ อ้ มลู ในการวจิ ัยครงั้ น้ี ประกอบด้วย 1. การหารคา่ เฉล่ีย (Mean) = X N เมอ่ื X = คะแนนทไี่ ด้ N = จำนวนนกั เรยี นทัง้ หมด = ผลรวมของคะแนนทั้งหมด

25 บทท่ี 4 ผลการวเิ คราะหข์ อ้ มลู การนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลของงานวิจัยในครั้งนี้ เป็นการนำเสนอผลการใช้กิจกรรมการฟัง ภาษาอังกฤษ เพื่อการพัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษโดยใชแ้ บบฝึกหัดประกอบภาพยนตร์ ของนักเรียนชัน้ มัธยมศกึ ษาปที ี่ 1/2 ภาคเรยี นที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โดยทดลองจากกลมุ่ ตวั อยา่ งจำนวน 42 คน สัญลกั ษณ์ท่ีใชใ้ นการวิเคราะห์ หมายถงึ คะแนนท่ีได้ เม่อื X = จำนวนนกั เรียนทั้งหมด N = ผลรวมของคะแนนทง้ั หมด 4.1 ผลการวเิ คราะหข์ ้อมูลคะแนนของนกั เรยี นก่อนและหลงั การทดลอง ข้อมลู คะแนนนักศึกษาแตล่ ะคนก่อนและหลงั การทดลองไดน้ าเสนอในตารางท่ี 4.1 ดังนี้ ตารางที่ 4.1 แสดงผลคะแนนจากการประเมินทักษะการฟังท้ัง 2 คร้งั คะแนนเต็มครัง้ ละ 20 ลำดบั ชัน้ ช่ือ-นามสกุล ทดสอบ ทดสอบ ผลตา่ ง ก่อนเรียน หลังเรียน 1 27585 เดก็ ชายกวิน ทองอ่อน 4 2 27586 เด็กชายเกรียงศกั ด์ิ เดชมณี 11 15 6 3 27587 เด็กชายชลธาร แสงอ่อน 10 16 4 4 27588 เด็กชายชิษณุพงศ์ จินาเหงียบ 15 19 8 5 27589 เด็กชายซีโยน อดุ มนธิ ิกลุ 7 15 8 6 27590 เดก็ ชายณภัทร เพ็งผอม 8 16 3 7 27591 เดก็ ชายธาดา ใสใจดี 14 17 6 8 27592 เด็กชายนนทพัทธ์ ทองเทพ 12 18 6 9 27593 เดก็ ชายพรี ภทั ร วานิช 9 15 7 10 27594 เดก็ ชายภูสิทธิ อินทสวุ รรณ 8 15 5 11 27595 เด็กชายสมบรู ณ์ ทองปรอน 13 18 5 12 27596 เดก็ หญงิ กนกเนตร ไชยทิพย์ 10 15 7 13 27597 เด็กหญงิ จณิ ณพัต พัฒนเดช 11 18 7 14 27598 เด็กหญิงจริ าภรณ์ จนั ทรม์ ล 9 16 4 15 27599 เดก็ หญงิ เฉลมิ ขวญั เอี่ยมแยม้ 12 16 4 16 27600 เด็กหญงิ ชญานศิ ชนะอักษร 15 19 5 17 27601 เด็กหญิงญาณิศา แกว้ มงคล 12 17 4 18 27602 เดก็ หญิงณัฎฐวติ รา เขม็ มะลวน 14 18 4 19 27603 เด็กหญงิ ณัฏฐณชิ า ศรีสวัสดิ์ 13 17 6 12 18

26 ลำดบั ชั้น ช่อื -นามสกุล ทดสอบ ทดสอบ ผลต่าง กอ่ นเรียน หลงั เรียน 20 27604 เด็กหญิงณิชนันทน์ คงชนะ 9 14 5 21 27605 เด็กหญิงธมนวรรณ เก้ือสกลุ 13 19 6 22 27606 เดก็ หญงิ ธัญชนก โชคอำนวย 14 18 4 23 27607 เดก็ หญิงธญั ทิพย์ เจริญภกั ดี 15 20 5 24 27608 เดก็ หญงิ ธารณิ ี จนั ทรแ์ จ่มใส 13 18 5 25 27609 เด็กหญิงนนทิพร ทองคำ 16 18 2 26 27610 เดก็ หญงิ นฤมล สนิ ตุ้น 17 20 3 27 27611 เดก็ หญิงนฐั สินี อนิ ทร์เทพ 8 14 6 28 27612 เดก็ หญงิ นนั ทน์ ภัส วชิระปกรณ์ 13 18 5 29 27613 เดก็ หญิงนจิ วิภา กจิ วิจิตร 12 16 4 30 27614 เดก็ หญิงปวีณ์สดุ า เพชรทอง 14 20 6 31 27615 เดก็ หญงิ ปัทมพร จำนงกลุ 12 16 4 32 27616 เดก็ หญงิ ปาลิตา นุ้ยย่อง 15 20 5 33 27617 เด็กหญิงพทั ธธ์ รี า จ่ายวานชิ ย์ 11 17 6 34 27618 เด็กหญงิ พิชญภา นาคเสนา 16 20 4 35 27619 เด็กหญิงมณรี กั ษ์ พรหมเพชรนลิ 15 18 3 36 27620 เดก็ หญงิ วณิชยา ขุนพรหม 15 19 4 37 27621 เดก็ หญงิ ศศิกานต์ จลุ จงกล 13 18 5 38 27622 เดก็ หญิงศิริญญา แก้วพิชัย 17 20 3 39 27623 เด็กหญิงสิรกิ ร ขนุ บรรเทงิ 16 20 4 40 27624 เด็กหญงิ สริ ิอาภา กาญจนถิ่น 13 17 4 41 27625 เด็กหญิงสุภาพร รกั ษศ์ รเี มอื ง 15 20 5 42 27626 เด็กหญงิ อญั ฐมิ า ปานจนิ ดา 14 19 5 ค่าเฉล่ยี 12.64 17.55 4.90 จากตารางที่ 4.1 พบว่า คะแนนค่าเฉลี่ยก่อนเรียนของจำนวนนักเรียนทั้งหมด คือ 12.64 คะแนน ค่าเฉลี่ยหลังเรียนของจำนวนนักเรียนทั้งหมดคือ 17.55 มีผลต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน อยทู่ ี่ 4.90

27 บทที่ 5 สรุป อภปิ รายผล และข้อเสนอแนะ การวิจยั ครัง้ นเ้ี ป็นวิจัยเพื่อการพัฒนาทักษะการฟังภาษาองั กฤษโดยใช้แบบฝึกหัดประกอบภาพยนตร์ ของนกั เรยี นชนั้ มธั ยมศึกษาปีที่ 1/2 ภาคเรยี นท่ี 2 ปีการศกึ ษา 2563 โดยมีรายละเอยี ดดงั นี้ 1. สรุปผลการวจิ ยั 1.1 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 เรียนรายวิชาภาษาอังกฤษฟัง-พูด รหัสวิชา อ 20213 จำนวนทั้งสิ้น 42 คน พบว่ามีภาพรวมผลการประเมินการฟังภาษาอังกฤษก่อนเรียนมีระดับคะแนน เฉลี่ยอยู่ที่ 12.46 โดยมีนักเรียนที่ได้คะแนนสูงที่สุดก่อนเรียนจำนวน 2 คน คือ เด็กหญิงนฤมล สินตุ้น และ เด็กหญงิ ศริ ญิ ญา แก้วพชิ ัย ซ่ึงได้คะแนน 17 เต็ม 20 คา่ เฉล่ียคะแนนหลงั เรยี นมีระดบั คะแนนเฉลีย่ อยู่ท่ี 17.55 โดยมีนักเรยี นที่ได้คะแนนสูงที่สดุ หลงั เรียนจำนวน 8 คน คือ 1. เด็กหญิงธญั ทพิ ย์ เจริญภกั ดี 2. เดก็ หญิงนฤมล สินตุ้น 3. เด็กหญิงปวีณ์สุดา เพชรทอง 4. เด็กหญิงปาลิตา นุ้ยย่อง 5. เด็กหญิงพิชญภา นาคเสนา 6. เด็กหญิงศิริญญา แก้วพิชัย 7. เด็กหญิงสิรกิ ร ขุนบันเทิง และ 8. เด็กหญิงสุภาพร รักษ์ศรีเมือง ซึ่งได้คะแนน 20 เตม็ 20 ผลต่างของคา่ คะแนนเฉล่ยี ท้ัง 2 ครั้ง คอื 4.90 1.2 ผลการทดสอบสมมุติฐาน ปรากฏว่า การพัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษโดยใช้แบบฝึกหัด ประกอบภาพยนตร์ ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าความสามารถดงั กลา่ วกอ่ นเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถติ ิท่ี 4.90 ดงั นนั้ จึงสรุปไดว้ า่ นกั เรียนมีพัฒนาการความสามารถด้านการฟังภาษาอังกฤษการใชก้ ิจกรรมการพัฒนา ทักษะการฟังภาษาอังกฤษโดยใช้แบบฝึกหัดประกอบภาพยนตร์ สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทาง สถติ ทิ ่ี 4.90 2. การอภิปรายผล นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 เรียนรายวิชาภาษาอังกฤษฟัง-พูด รหัสวิชา อ20213 จำนวนทั้งส้ิน 42 คน ที่ใช้กิจกรรมการพัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษโดยใช้แบบฝึกหัดประกอบภาพยนตร์ มี ความสามารถหลงั การเรียนสูงกว่ากอ่ นการทดลองอย่างมีนัยสำคญั ทางสถิติทีร่ ะดับ 4.90 ซึ่งผลวิจัยดงั กลา่ วมี ประเด็นทสี่ ามารถนามาอภปิ รายไดด้ งั น้ี 2.1 กิจกรรมการการพัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษโดยใช้แบบฝกึ หัดประกอบภาพยนตร์ จากการ ทดสอบของนักเรียนพบว่า ก่อนเรียนนักเรียนสามารถฟังภาษาอังกฤษ ที่ระดับคะแนนค่าเฉลี่ย 12.46 หลัง เรียนพบว่า นกั เรียนสามารถส่ือสารในกิจกรรมการฟงั ภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคลว่ ข้ึน ผลการศึกษาพบว่า นกั เรียนมีพฒั นาการสูงขึน้ อยู่ในระดบั คา่ เฉล่ยี 17.55 ซึง่ มคี วามแตกต่างกันอยู่ท่ีค่าเฉล่ียอยู่ที่ 4.90 สอดคล้อง กับ Harmer (1983 : 44-45) ที่กล่าวว่า ในการจัดกิจกรรมเพื่อการสื่อสาร ครูผู้สอนควรจัดกิจกรรมที่ทำให้ นักเรยี นเห็นความสำคัญในการใช้ภาษานอกจากนีผ้ ลงานวิจัยของ กุสมุ า ล่านุย้ (2532 : 22) ไดก้ ล่าวสนบั สนุน ว่า กิจกรรมที่ดีจะต้องน่าสนใจและเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน โดยไม่ง่ายและยากเกินไป เพราะจะ ทำให้ไม่ ประสบผลสำเร็จเกิดความเบื่อและความท้อแท้ดังนั้นกิจกรรมทีใ่ ช้จึงควรเป็นกิจกรรมทีเ่ ปดิ โอกาสให้ผู้เรียนได้ ใชภ้ าษาในการสื่อสารมากท่สี ุด ซึ่งจะชว่ ยใหเ้ ขา้ ใจ และสง่ ผลใหผ้ ู้เรียนกลา้ คิด กลา้ ทำ ตลอดจนกลา้ แสดงออก 2.2 กจิ กรรมการพัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษโดยใช้แบบฝึกหัดประกอบภาพยนตร์ เป็นกิจกรรม ที่น่าสนใจ เนื่องจากการใชส้ ื่อจากภาพยนตร์ ทำให้นักเรียนไดเ้ ห็นลักษณะ ท่าทางการออกเสียง ประโยคและ วลตี ่าง ๆ เพ่อื ช่วยในการฟัง อีกทง้ั ภายยนตรย์ งั สนุกตนื่ เต้น ทำให้ผู้เรียนมคี วามกระตือรือร้น ตัง้ ใจทำกิจกรรม

28 ส่งผลให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างมปี ระสิทธิภาพ อีกทั้งก่อให้เกิดความเชื่อมั่นในขณะปฏิบัติกิจกรรม โดยพบว่า ผลหลังการทดลองนักเรียนสามารถฟังได้อย่างเข้าใจ และสอดคล้องกับ Nolasco and Arthur. (1987 : 15- 21) ทกี่ ลา่ วว่า การจดั กิจกรรมควรเปิดโอกาสให้นักเรียนไดแ้ สดงออกด้านทัศนคติ ความรสู้ ึก และอารมณ์ด้วย ตนเอง มใิ ชถ่ กู บังคบั ให้ทำ นอกจากน้ยี งั มผี ลจากงานวิจัยของอุมาพร ภูพานเพชร (2547 : 54) ไดส้ นับสนุนว่า บรรยากาศที่เป็นกันเองทำให้นักเรียนไม่รู้สึกกดดัน หรือ เครียด ไม่กลัวครูการปฏิสัมพันธ์ภายในห้องเรียน เป็นไปด้วยดีการที่นักเรียนร่วมกันทำกิจกรรมทำให้รู้สึกว่าตนเองไม่รู้สึกว่าถูกสอน จึงทำให้เกิดบรรยากาศที่ เปน็ กนั เองสนุกสนานและไมเ่ ครยี ด 2.3 กจิ กรรมการพัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษโดยใชแ้ บบฝึกหดั ประกอบภาพยนตร์ มีการกำหนด เปา้ หมายในพฒั นาทักษะการฟงั ภาษาอังกฤษอย่างชัดเจน รวมทง้ั มีการทบทวนโครงสร้างของหน้าที่ทางภาษา ก่อนทำกิจกรรม โดยก่อนทำกิจกรรมผู้วิจัยได้อธิบายขั้นตอนการทำกิจกรรม กำหนดเป้าหมายการพัฒนา ทักษะการฟัง รวมทั้งซักถามในแต่ละครั้งเพื่อให้แน่ใจว่า นักเรียนเข้าใจขั้นตอนและเป้าหมายของการทำ กจิ กรรม ทำให้นกั เรียนสามารถปฏิบัตกิ ิจกรรมไดอ้ ยา่ งถกู ต้องบรรลเุ ป้าหมายของแตล่ ะแบบฝึกการสนทนา 3. ข้อเสนอแนะ 3.1 ข้อเสนอแนะทว่ั ไป 3.1.1 ครูผู้สอนควรอธิบายขั้นตอนการทำกิจกรรมอย่างละเอียด และสอบถามความเข้าใจ ของนักเรียนก่อนดำเนนิ กิจกรรม เพือ่ ให้การปฏบิ ตั ิกจิ กรรมเป็นไปด้วยความราบรื่น 3.1.2 ครูผู้สอนควรเลือกหัวข้อการสอนที่อยู่ในความสนใจของเรียน ซึ่งสามารถได้มาจาก แบบสอบถาม การสัมภาษณ์หรอื การพูดคยุ 3.1.3 ครูผู้สอนควรเตรียมสื่อการสอนที่หลากหลาย ที่จำเป็นต้องใช้ในการทำกิจกรรมการ พัฒนาทกั ษะการฟังเพื่อการสื่อสารให้เหมาะสมกับกิจกรรมนั้นๆ เพ่ือให้นกั เรียนจะทำความเข้าใจโดยง่ายและ รวดเรว็ 3.1.4 สำหรับนักเรียนที่พูดไม่คล่อง ครูอาจต้องใช้การสอนเสริมหรือให้นักเรียนฝึกเพิ่มเติม นอกเวลาเรียนก่อนการทำกิจกรรมการพัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร จะทำให้นักเรียนไม่ เครียด และสนกุ กบั การพัฒนาตนเอง 3.2 ข้อเสนอแนะในการทำวจิ ยั คร้ังต่อไป 3.2.1 ควรมีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้กิจกรรมเพื่อการสื่อสาร เพื่อศึกษา ความสามารถทางภาษาอังกฤษในทกั ษะการฟังในรปู แบบอื่น ๆ

29 บรรณานุกรม Anderson, A. and Lynch, T. (1988). Listening. Oxford [Press release] Bowen, J. D., Madsen, H. and Hilferty, A. (1985). TESOL Techniques and Procedures. Boston, MA: Heinle & Heinle Publishers. Doff, A. (1991). Teaching English: A Training Course for Teacher. Great Britain [Press release] Field, J. (2010). \"Listening in the Language Classroom.\" ELT journal, 64, 3: 331-333. Finocchiaro, M. (1 9 8 9 ). English as a Second / Foreign Language: From Theory to Practice. New Jersey: Prentice Hall. Flowerdew, J. and Miller, L. (2 0 0 5 ). Second language listening: Theory and practice [Press release] Hadfield, J.Hadfield, C. and Hadfield, C. (1999). Simple listening activities [Press release] Hamouda, A. (2013). An investigation of listening comprehension problems encountered by Saudi students in the EL listening classroom. 2(2), 113-155. Harmer, J. (2 0 0 7 ). How to Teach English.new edition. Harlow: Pearson Education Limited. Hubbard, P. (2017). Technologies for teaching and learning L2 listening. John Wiley & Sons, Inc. Madsen, H. S. (1983). Techniques in Testing [Press release] Mc Donell, W. (1992). Language and Cognitive Development through Cooperative Group Work, In Cooperative Language Learning. Prentive Hall Regents. Rivers, W. M. (1 9 6 8 ). \"Teaching foreign language skills.\" Chicago: The University of Chicago. Rivers, W. M. (2018). Teaching Foreign Language Skills [Press release] Rixon, S. (1986). Developing listening skills. London: Macmillan Publishers, Ltd. Rokni, S. & Ataee, A. (2014). Movies in EFL classrooms: With or without subtitles. 3(1), 715-726. Rost, M. (1991). Listening in action. New Jersey: Prentice Hall. Solak, E. (2016). Teaching Listening Skills For Prospective English Teachers. Accessed April 5. Available from https://scholar.google.com/scholar?hl=en&as_sdt=0,5 &q=Teaching+Listening+Skills+For+Prospective+English+teacher#d=gs_qabs&u=%23 p%3DcGoOaNQkZBEJ Tutolo, D. J. (1977). \"A Cognitive Approach to Teaching Listening.\" Language Arts, 54, 3: 262- 265. Underwood, M. (1989). Teaching listening. Addison-Wesley Longman Ltd. Valette, R. M. and Disick, R. S. (1972). Modern language performance objectives and individualization: A handbook. New York: Harcourt Brace Javanovich, Inc. Widdowson, H. G. (1978). Teaching language as communication [Press release] Willis, J. (1981). Teaching English through English. London: Longman. Harmer, J. (1 9 9 1 ). The Practice of English Language Teaching. 6th ed. Hong Kong: Longman. Yagang, F. (1993). Listening: Problems and Solutions. English Teaching Forum, 31(1),16-19.

30 ประถม ภักดี. (2559). กลวิธีการฟังภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5.(ปริญญา ศิลปศาสตรมหาบณั ฑิต), มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรมั ย์, บณั ฑติ วทิ ยาลยั . พรสวรรค์ สปี อ้ . (2550). สุดยอดวิธีสอนภาษาองั กฤษ. กรุงเทพมหานคร: อักษรเจรญิ ทศั น.์ Cohen, A. D. (1994). Assessing language ability in the classroom. Accessed May 30. Available from http://www.tesl-ej.org/wordpress/issues/volume1 / ej0 3 / ej03r12/?wscr=&fbclid=IwAR1U4zEKBshQkNW0cRDsEafoPlhAX0gu3P2O_Hy6XwrARqL U2-x-1Js5W มยุเรศ ใยบัวเทศ. (2558). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนด้วยคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนรู้ภาษาตาม กระบวนการฟังแบบเมตาคอกนิทีฟเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการฟังภาษาอังกฤษเพื่อความ เข้าใจของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. (thesis), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, Thailand, Australia. Retrieved from http://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=edsbas&AN=edsbas.49D20D 47&site=eds-live&authtype=ip,uid Available from EBSCOhost edsbas database. สุภัทรา อักษรานุเคราะห์. (2534). การสอนทักษะทางภาษาและวัฒนธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพมิ พ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สุมิตรา อังวัฒนกุล. (2540). แนวคิดและวิธีการสอนภาษาอังกฤษ ระดับมัธยมศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรงุ เทพมหานคร: จุฬาลงกรณม์ หาวิทยาลยั . อิศราวุฒิ กิจเจริญ. (2559). กลยุทธ์การสื่อสารช่อง Gutumdai เพื่อสร้างรายได้ผ่านเว็บไซต์ YouTube ใน รปู แบบรายการโทรทศั น.์ วารสารนิเทศศาสตรแ์ ละนวัตกรรมนิดา้ , 2(2), 56-77. อไุ รพร ชลสิริรงุ่ สกลุ . (2555). Digital Commerce: Turn buyers to buyers. กรงุ เทพฯ: ดับพลวิ บีเอส.

31 ภาคผนวก

32 ภาพยนตร์ เร่อื ง Rio

33 ซนี ตัวอย่างในภาพยนตร์ เรอื่ ง Rio

34

35

36

37 แผนการจดั การเรยี นรู้ แผนการจัดการเรียนรูเ้ พือ่ พัฒนาทกั ษะการฟังภาษาอังกฤษ Listening Skill วิชาภาษาองั กฤษฟัง-พูด 2 อ 20213 ชนั้ มัธยมศึกษาปีท่ี 1/2 กล่มุ สาระการเรยี นรภู่ าษาตา่ งประเทศ จำนวน 8 ชั่วโมง Unit: Rio ครูผู้สอน นางสาวฑิฆัมพร เกตุเพชร 1. สาระสำคญั ฟัง การใช้โครงสร้างไวยกรณ์จากภาพยนตร์ Rio ในประโยคคำถาม คำขอร้อง คำแนะนำ คำชี้แจง คำอธิบาย ข้อความ ข่าว ประกาศ นิทานและบทร้อยกรองสั้นๆ อ่านออกเสียงและจับใจความสำคัญ ข้อความ ข่าว ประกาศ บทร้อยกรอง บทสนทนา นิทาน เรื่องสั้น และเรื่องจากสื่อประเภทต่าง ๆ พร้อมทั้งให้เหตุผล สนั้ ๆประกอบ พดู และเขียนสรปุ ใจความสำคญั แก่นสาระ หัวข้อเร่ืองทีไ่ ด้จากการวเิ คราะห์เร่อื ง 2. มาตรฐานการเรียนรู/้ ตวั ชี้วัด ต.1.1 ม.1/1 ปฏิบตั ิตามคำสัง่ คำขอร้อง คำแนะนำ และคำชี้แจงง่ายๆ ที่ฟังและอา่ น ต.1.1 ม.1/4 ระบุหัวข้อเรื่อง (topic) ใจความสำคัญ(main idea) และตอบคำถาม จากการฟังและ อ่านบทสนทนา นทิ าน และเรอื่ งสัน้ ต.1.2 ม.1/4 พูดและเขียนเพื่อขอและให้ข้อมูล และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ฟังหรืออ่าน อย่างเหมาะสม ต 1.3 ม.1/1 พูดและเขียนบรรยายเกี่ยวกับตนเอง กิจวัตรประจำวัน ประสบการณ์ และสิ่งแวดล้อม ใกล้ตัว ต 2.1 ม.1/1 ใช้ภาษาน้ำเสียง และกิริยาท่าทางเหมาะสม ตามมารยาทสังคม และวัฒนธรรมของ เจา้ ของภาษา ต 4.1 ม.1/1 ใช้ภาษาสื่อสารในสถานการณ์จริง/สถานการณ์จำลองที่เกิดขึ้นในห้องเรียนและสถาน สถาน ศกึ ษา 3. จุดประสงค์การเรยี นรู้ 1. นักเรยี นมผี ลสมั ฤทธ์ิพฒั นาทกั ษะการฟงั ภาษาอังกฤษโดยใช้แบบฝกึ หัดประกอบภาพยนตร์ หลัง เรียนสงู กวา่ กอ่ นเรยี น 2. นกั เรียนฟังภาษาองั กฤษ จากภาพยนตร์ เรอ่ื ง Rio แลว้ สามารถตอบคำถามไดอ้ ย่างถูกต้อง 4. สาระการเรยี นรู้ 1. หน้าท่ีภาษา ภาพยนตร์ เรือ่ ง Rio

38 5. สมรรถนะสำคัญของผู้เรยี น 1. ความสามารถในการส่ือสาร การใช้ทกั ษะชวี ติ 6. คณุ ลกั ษณะอันพงึ ประสงค์ 1. ใฝเ่ รียนรู:้ นักเรียนมเี จตคติทีด่ ีตอ่ ภาษาองั กฤษ 7. การเรยี นรู้ส่กู ารบูรณาการ การเรยี นบรู ณาการตามหลกั ปรชั ญาเศรษฐกจิ พอเพยี ง การเรียนรบู้ ูรณาการสวนพฤษศาสตร์โรงเรียน การเรยี นรู้สู่ ASEAN การเรียน STEM การสง่ เสรมิ สุขภาพ กลุ่มสาระการเรยี นรคู้ ณติ ศาสตร์; ศิลปะ; สังคมศกึ ษา ศาสนา และวัฒนธรรม อนื่ ๆ(ระบุ)………………………………………………………………………………. 8. ชน้ิ งาน/ภาระงาน 1. แบบทดสอบกอ่ นเรียน Pre-test 2. แบบฝึกทักษะการฟงั ระหวา่ งเรยี น 3. แบบทดสอบหลงั เรยี น Post-test 9. กิจกรรมการเรยี นรู้ ชั่วโมงท่ี 1 1. ครูแจ้งจุดประสงค์ให้นักเรียนได้ทราบเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษโดยใช้ แบบฝึกหัดประกอบภาพยนตร์ ซึ่งการทดลองนับจากนี้จะใช้เวลาทั้งหมด 8 ชั่วโมง รวมทั้งหมด 6 หน่วยการ เรียนรู้ โดยภาพยนตร์ที่เลอื กใช้คือ เรอื่ ง Rio 2. ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน โดยการเปิด cut scene จากภาพยนตร์เรื่อง Rio ให้ นักเรียนดูและฟงั สนั้ ๆ หลงั จากนั้นใหน้ ักเรียนตอบคำถามจากเน้อื เร่อื ง 3. เมื่อนักเรียนทำแบบทดสอบจนครบทุกข้อแล้ว ครูให้นักเรียนดู cut scene จากภาพยนตร์เรื่อง Rio พร้อมอธิบาย cut scene นน้ั ชั่วโมงท่ี 2 1. ครูให้นักเรียนทำกิจกรรมพัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษโดยใช้แบบฝึกหัดประกอบภาพยนตร์ เรอ่ื ง Rio 2. ครูเปิดภาพยนตร์ เรื่อง Rio (ให้ดู 30 นาทีแรก) ให้นักเรียนดูโดยมีคำบรรยายภาษาอังกฤษใต้ ภาพยนตร์ และให้นักเรียนพยายามลสิ คำศัพท์ที่นักเรยี นเข้าใจขณะไดด้ ูภาพยนตร์ 3. เมื่อ 30 นาทีแรกจบแล้ว ครูพูดคุยกับนักเรียนเกี่ยวกับคำศัพท์หรือสิ่งที่นักเรียนได้ยินในขณะที่ดู ภาพยนตร์ 4. ครูให้นักเรียนทำแบบฝึกเกี่ยวกับคำศัพท์เพื่อพัฒนาทักษะการฟัง หลังจากการดูภาพยนตร์เรื่อง Rio ช่วง 30 นาทีแรก และตรวจคำตอบ

39 5. ครใู ห้นกั เรียนรายงานผลคะแนนของตนเองเพ่ือเกบ็ ไว้เป็นสถิตใิ นพฒั นาทักษะการฟังภาษาอังกฤษ โดยใช้แบบฝึกหดั ประกอบภาพยนตร์ ครงั้ ที่ 1 6. ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อหาของภาพยนตร์ และให้นักเรียนหาความหมายของคำศัพท์ท่ี นกั เรียนจดไดข้ ณะฟังเพอ่ื นำมาเสนอในช้ันเรียนในคร้งั ต่อไป ช่วั โมงท่ี 3 1. ครูใหน้ กั เรยี นแต่ละคนนำเสนอคำศพั ทท์ ่ีนักเรียนหาความหมายคนละ 1 คำไมซ่ ำ้ กนั 2. ครูเปิดภาพยนตร์ เรื่อง Rio (ให้ดู 30 นาทีต่อมา) ให้นักเรียนดูโดยมีคำบรรยายภาษาอังกฤษใต้ ภาพยนตร์ และใหน้ กั เรียนพยายามลิสคำศพั ทท์ นี่ กั เรยี นเข้าใจขณะได้ดูภาพยนตร์ 3. เมื่อ 30 นาทีจบแล้ว ครูพูดคุยกับนักเรียนเกี่ยวกับคำศัพท์หรือสิ่งที่นักเรียนได้ยินในขณะที่ดู ภาพยนตร์ 4. ครูให้นักเรียนทำแบบฝึกเกี่ยวกับคำศัพท์เพื่อพัฒนาทักษะการฟัง หลังจากการดูภาพยนตร์เรื่อง Rio ช่วง 30 นาทที ี่ได้ดู และตรวจคำตอบ 5. ครใู ห้นกั เรียนรายงานผลคะแนนของตนเองเพ่ือเก็บไวเ้ ป็นสถิติในพฒั นาทักษะการฟังภาษาอังกฤษ โดยใช้แบบฝึกหดั ประกอบภาพยนตร์คร้งั ที่ 2 6. ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อหาของภาพยนตร์ และให้นักเรียนหาความหมายของคำศัพท์ท่ี นักเรียนจดไดข้ ณะฟงั เพอ่ื นำมาเสนอในช้ันเรยี นในครงั้ ต่อไป ชั่วโมงท่ี 4 1. ครูให้นกั เรยี นแต่ละคนนำเสนอคำศพั ทท์ ่ีนกั เรียนหาความหมายคนละ 1 คำไม่ซ้ำกัน 2. ครูเปิดภาพยนตร์ เรื่อง Rio (ให้ดู 30 สุดท้าย) ให้นักเรียนดูโดยมีคำบรรยายภาษาอังกฤษใต้ ภาพยนตร์ และใหน้ กั เรียนพยายามลสิ คำศพั ท์ทนี่ กั เรยี นเข้าใจขณะได้ดภู าพยนตร์ 3. เมอื่ 30 นาทสี ุดทา้ ยจบแลว้ ครพู ดู คยุ กบั นกั เรียนเกีย่ วกบั คำศัพทห์ รอื ส่งิ ทน่ี กั เรยี นได้ยนิ ในขณะที่ดู ภาพยนตร์ 4. ครูให้นักเรียนทำแบบฝึกเกี่ยวกับคำศัพท์เพื่อพัฒนาทักษะการฟัง หลังจากการดูภาพยนตร์เรื่อง Rio ชว่ ง 30 นาทสี ุดท้ายที่ได้ดู และตรวจคำตอบ 5. ครใู ห้นกั เรยี นรายงานผลคะแนนของตนเองเพื่อเก็บไวเ้ ป็นสถติ ิในพัฒนาทักษะการฟงั ภาษาอังกฤษ โดยใชแ้ บบฝกึ หัดประกอบภาพยนตรค์ รั้งที่ 3 6. ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อหาของภาพยนตร์ และให้นักเรียนหาความหมายของคำศัพท์ท่ี นักเรียนจดไดข้ ณะฟงั เพ่อื นำมาเสนอในช้ันเรียนในคร้งั ต่อไป ชว่ั โมงที่ 5 1. ครูให้นกั เรียนแต่ละคนนำเสนอคำศัพทท์ ีน่ ักเรยี นหาความหมายคนละ 1 คำไม่ซ้ำกัน 2. ครูเปิดภาพยนตร์ เรื่อง Rio (ให้ดู 30 แรก) ให้นักเรียนดูแต่ครั้งนนี้ครูให้นักเรียนดูโดยไม่มีคำ บรรยายภาษาองั กฤษใต้ภาพยนตร์ 3. เมื่อ 30 นาทีแรกจบแล้ว ครูพูดคุยกับนักเรียนเกี่ยวกับเนื้อเรื่องที่นักเรียนได้ยินในขณะที่ดู ภาพยนตร์ 4. ครูใหน้ กั เรียนทำแบบฝึกเก่ียวกบั เนอื้ เรื่องของภาพยนตร์เพ่ือพฒั นาทักษะการฟัง และตรวจคำตอบ 5. ครูให้นกั เรยี นรายงานผลคะแนนของตนเองเพื่อเก็บไวเ้ ป็นสถิติในพัฒนาทักษะการฟงั ภาษาอังกฤษ โดยใช้แบบฝึกหัดประกอบภาพยนตร์ครั้งท่ี 4

40 ชวั่ โมงท่ี 6 1. ครใู หน้ ักเรยี นช่วยกนั เทา้ ความเนอื้ เรือ่ งของภาพยนตร์ทด่ี ูในคร้งั ทแี่ ลว้ 2. จากนัน้ ครูเปิดภาพยนตร์ เร่ือง Rio (ใหด้ ู 30 ต่อมา) ใหน้ กั เรียนดูแตค่ รั้งนนคี้ รใู ห้นักเรียนดูโดยไม่มี คำบรรยายภาษาองั กฤษใต้ภาพยนตร์ 3. เมื่อ 30 นาทีต่อมาจบแล้ว ครูพูดคุยกับนักเรียนเกี่ยวกับเนื้อเรื่องที่นักเรียนได้ยินในขณะที่ดู ภาพยนตร์ 4. ครูให้นักเรยี นทำแบบฝึกเกย่ี วกบั เนอ้ื เรอ่ื งของภาพยนตร์เพ่ือพัฒนาทักษะการฟัง และตรวจคำตอบ 5. ครใู หน้ ักเรียนรายงานผลคะแนนของตนเองเพื่อเก็บไว้เป็นสถิติในพัฒนาทักษะการฟงั ภาษาอังกฤษ โดยใช้แบบฝกึ หดั ประกอบภาพยนตรค์ รั้งท่ี 5 ชว่ั โมงท่ี 7 1. ครใู ห้นกั เรยี นชว่ ยกันเท้าความเนื้อเรอื่ งของภาพยนตร์ทด่ี ูในคร้ังทแ่ี ล้ว 2. จากนนั้ ครูเปดิ ภาพยนตร์ เรื่อง Rio (ให้ดู 30 สดุ ทา้ ย) ให้นกั เรียนดแู ตค่ รัง้ นนคี้ รใู หน้ ักเรียนดูโดยไม่ มีคำบรรยายภาษาอังกฤษใตภ้ าพยนตร์ 3. เมื่อ 30 นาทีสุดท้ายจบแล้ว ครูพูดคุยกับนักเรียนเกี่ยวกับเนื้อเรื่องที่นักเรียนได้ยินในขณะที่ดู ภาพยนตร์ 4. ครูใหน้ กั เรียนทำแบบฝกึ เกีย่ วกับเน้ือเร่อื งของภาพยนตร์เพ่ือพัฒนาทกั ษะการฟัง และตรวจคำตอบ 5. ครใู หน้ ักเรยี นรายงานผลคะแนนของตนเองเพื่อเก็บไวเ้ ป็นสถิติในพัฒนาทักษะการฟงั ภาษาอังกฤษ โดยใชแ้ บบฝกึ หัดประกอบภาพยนตร์คร้ังที่ 6 ชว่ั โมงที่ 8 1. ในชว่ั โมงสุดท้ายของการพฒั นาทักษะการฟงั ภาษาอังกฤษโดยใช้แบบฝึกหัดประกอบภาพยนตร์ ซึ่ง การทดลองมาแล้วจนถึงตอนนท้ี ้งั หมด 8 ช่ัวโมง โดยภาพยนตร์ทเี่ ลือกใชค้ อื Rio 2. ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน โดยการเปิด cut scene จากภาพยนตร์เรื่อง Rio ให้ นักเรียนดแู ละฟังสน้ั ๆ หลังจากน้นั ใหน้ ักเรียนตอบคำถามจากเนือ้ เรื่อง 3. เมื่อนักเรียนทำแบบทดสอบจนครบทุกข้อแล้ว ครูให้นักเรียนดู cut scene จากภาพยนตร์เรื่อง Rio พร้อมอธบิ าย cut scene น้ัน 4. จากนั้นครูนำผลการเปรียบเทียบก่อนเรียนและหลังเรียนไปทำการวเิ คราะห์ข้อมูลเชิงเปรยี บเทียบ ผลก่อนหลงั ในข้นั ตอนการวเิ คราะห์ขอ้ มลู ต่อไป 10. สอ่ื /แหลง่ เรียนรู้ 1. ภาพยนตร์ เรอ่ื ง Rio 2. แบบทดสอบกอ่ นเรียน - หลังเรียน 3. แบบฝึดทักษะระหวา่ งเรยี น

41 11. แบบบนั ทึกเปรยี บเทียบคะแนนกอ่ นเรยี นและหลงั เรียน ลำดบั ชั้น ชื่อ-นามสกุล ทดสอบ ทดสอบ ผลต่าง กอ่ นเรียน หลงั เรยี น 1 27585 เด็กชายกวิน ทองอ่อน 4 2 27586 เด็กชายเกรยี งศกั ด์ิ เดชมณี 11 15 6 3 27587 เดก็ ชายชลธาร แสงอ่อน 10 16 4 4 27588 เดก็ ชายชษิ ณุพงศ์ จนิ าเหงียบ 15 19 8 5 27589 เดก็ ชายซโี ยน อุดมนธิ กิ ุล 7 15 8 6 27590 เด็กชายณภัทร เพ็งผอม 8 16 3 7 27591 เดก็ ชายธาดา ใสใจดี 14 17 6 8 27592 เด็กชายนนทพัทธ์ ทองเทพ 12 18 6 9 27593 เด็กชายพีรภทั ร วานิช 9 15 7 10 27594 เด็กชายภูสิทธิ อินทสุวรรณ 8 15 5 11 27595 เดก็ ชายสมบูรณ์ ทองปรอน 13 18 5 12 27596 เด็กหญงิ กนกเนตร ไชยทิพย์ 10 15 7 13 27597 เดก็ หญิงจณิ ณพัต พฒั นเดช 11 18 7 14 27598 เด็กหญงิ จิราภรณ์ จนั ทร์มล 9 16 4 15 27599 เดก็ หญงิ เฉลิมขวญั เอ่ยี มแย้ม 12 16 4 16 27600 เดก็ หญงิ ชญานศิ ชนะอักษร 15 19 5 17 27601 เด็กหญิงญาณศิ า แก้วมงคล 12 17 4 18 27602 เดก็ หญงิ ณฎั ฐวิตรา เข็มมะลวน 14 18 4 19 27603 เดก็ หญิงณฏั ฐณิชา ศรสี วัสด์ิ 13 17 6 20 27604 เด็กหญิงณชิ นันทน์ คงชนะ 12 18 5 21 27605 เด็กหญิงธมนวรรณ เกื้อสกลุ 9 14 6 22 27606 เด็กหญงิ ธัญชนก โชคอำนวย 13 19 4 23 27607 เดก็ หญิงธญั ทิพย์ เจริญภกั ดี 14 18 5 24 27608 เดก็ หญงิ ธาริณี จนั ทรแ์ จ่มใส 15 20 5 25 27609 เด็กหญงิ นนทิพร ทองคำ 13 18 2 26 27610 เด็กหญงิ นฤมล สินตนุ้ 16 18 3 27 27611 เด็กหญิงนฐั สินี อนิ ทร์เทพ 17 20 6 28 27612 เด็กหญงิ นนั ทน์ ภัส วชริ ะปกรณ์ 8 14 5 29 27613 เดก็ หญงิ นิจวิภา กิจวจิ ติ ร 13 18 4 30 27614 เด็กหญิงปวณี ์สดุ า เพชรทอง 12 16 6 31 27615 เด็กหญิงปทั มพร จำนงกลุ 14 20 4 32 27616 เดก็ หญิงปาลติ า นุ้ยย่อง 12 16 5 33 27617 เด็กหญิงพัทธธ์ ีรา จ่ายวานิชย์ 15 20 6 34 27618 เดก็ หญงิ พชิ ญภา นาคเสนา 11 17 4 16 20

42 ลำดบั ชนั้ ช่ือ-นามสกุล ทดสอบ ทดสอบ ผลตา่ ง ก่อนเรียน หลังเรยี น 35 เดก็ หญิงมณรี กั ษ์ พรหมเพชร 27619 นลิ 15 18 3 15 19 4 36 27620 เด็กหญิงวณิชยา ขนุ พรหม 13 18 5 37 27621 เดก็ หญิงศศกิ านต์ จุลจงกล 17 20 3 38 27622 เด็กหญิงศิริญญา แกว้ พชิ ยั 16 20 4 39 27623 เด็กหญงิ สริ กิ ร ขุนบรรเทิง 13 17 4 40 27624 เดก็ หญงิ สริ ิอาภา กาญจนถน่ิ 15 20 5 41 27625 เด็กหญงิ สุภาพร รักษศ์ รเี มอื ง 14 19 5 42 27626 เด็กหญิงอัญฐิมา ปานจนิ ดา 12.64 17.55 4.90 คา่ เฉลย่ี

43 12. บนั ทกึ ผลหลังการสอน 12.1 ผลการจดั กจิ กรรมการเรยี นรู้ 12.2 ปัญหาและอุปสรรค 1.2.3 ขอ้ เสนอแนะ/แนวทางแกไ้ ข ลงชือ่ (นางสาวฑฆิ ัมพร เกตเุ พชร) ตำแหน่ง ครู คศ.1 ความคิดเห็นหวั หนา้ กลมุ่ สาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ลงชื่อ (นางสาวอรุณี ชูนาวา) ตำแหน่ง หวั หน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาตา่ งประเทศ ความคิดเห็นรองผู้อำนวยการกลุ่มบรหิ ารงานวิชาการ ลงชอ่ื (นางเกศสุนยี ์ งานไพโรจน์) ตำแหน่ง รองผ้อู ำนวยการกลุ่มบริหารงานวชิ าการ ความคดิ เห็นผอู้ ำนวยการโรงเรยี นพุนพินพิทยาคม ลงชื่อ (นายภาณุศักดิ์ พรหมแชม่ ) ตำแหนง่ ผู้อำนวยการโรงเรียนพุนพนิ พิทยาคม