Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore สรุปบทเรียน หลักการส่งเสริมการเกษตร

สรุปบทเรียน หลักการส่งเสริมการเกษตร

Published by อัจฉราภรณ์ ภู่ขวัญ, 2021-07-04 02:37:37

Description: สรุปบทเรียน หลักการส่งเสริมการเกษตร

Search

Read the Text Version

1 สรุปบทเรยี น หลกั การสง่ เสรมิ การเกษตร การส่งเสริม (Extension) หมายถึง ต่อยืด ยาวยืด ยืดนาน แผ่กว้าง ขึง กาง อ้า กว้างขวาง ขยาย สว่ นทตี่ อ่ ออกไป ส่วนขยาย ส่วนเพม่ิ เติม สว่ นประกอบ การส่งเสริม (Extension) เป็นการขยายและถ่ายทอดความรู้ตามระบบวิทยาการแผนใหม่ (Innovation System) ซึ่งก่อประโยชน์ทางการศึกษา (Education Advantages) และมีคุณค่าทางการ ปฏิบัติ (Practical Values) แก่บุคคลผู้พึงได้รับความช่วยเหลือในการเรียนรู้หรือผู้รับการส่งเสริม (People Intended, Clientele, Audience) ใหส้ ามารถพัฒนาตนเอง โดยการเรียนรทู้ ่ีสามารถนาความรู้ ไปปรับใชใ้ นการประกอบอาชีพเพอ่ื ความเปน็ อยทู่ ีด่ ีขนึ้ (Better Living) เป็นสาคญั (พจน์, 2522) การส่งเสริม (Extension) หมายถึง การวางแผนโครงการใดโครงการหน่ึง ในการนาเอา ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีและการวิจัยต่างๆ นาออกไปสู่ประชาชนในชนบท โดยความรู้ท่ีนา ออกไปน้ัน ประชาชนสามารถรับรู้และนาไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย โดยประยุกต์ เข้ากับสภาพแวดล้อมและความเป็นอยู่ของประชาชนในแต่ละท้องท่ี ซึ่งการถ่ายทอดความรู้ ต้องคานึงถึงการใช้เทคโนโลยีท่ีเหมาะสม (Appropriate Technology) เพ่ือให้ประชาชนมีความ เปน็ อยทู่ ด่ี ขี นึ้ และเป็นประโยชน์ต่อชมุ ชน อีกทั้งมีการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและจริยธรรมควบคู่ กันไป (วรทัศน์, 2546) การสง่ เสรมิ การเกษตร (Agricultural Extension) คือ การให้บริการหรือระบบที่ช่วยเหลือ ประชาชนโดยวิธีการให้การศึกษา (Education Procedure) เพื่อปรับปรุงวิธีการและเทคนิคทางการ เกษตร เพ่ือเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและรายได้ รวมท้ังการปรับปรุงระดับความเป็นอยู่ (Level of Living) ระดบั มาตรฐานทางการศึกษา และสังคมของชีวติ ชนบทให้ดีขึน้ กล่าวโดยสรุป การส่งเสริมการเกษตร คือ เป็นกระบวนการในการปรับปรุงประสิทธิภาพ การผลิตของเกษตรกรในชนบท รวมท้ังวิถีชีวิตให้มีความเป็นอยู่ท่ีดีขึ้น อีกท้ังเป็นการให้บริการแก่ ประชาชนด้านการเกษตร โดยให้คาปรึกษา แลกเปล่ียนความคิดเห็น ตลอดจนแก้ไขปัญหาต่างๆ เพอ่ื ให้เขาไดร้ ับความรู้นาไปปฏิบตั ิ ดว้ ยตวั ของเขาเอง จนสามารถชว่ ยเหลอื ตัวเองได้ เป้าหมายสุดท้าย (Ultimate goal) ของการส่งเสริมก็คือ “การพัฒนาคน” (Development of people) อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการปกครองตนเองของเกษตรกร อนั เปน็ ผลให้เกดิ ภาวะความเป็นอยู่ท่ีดขี ึน้ นอกจากนี้ การพฒั นาปรับปรุงผลผลติ การเกษตรยังทาให้ เกิดผลกาไรสูงสุดแก่เกษตรกรอีกด้วย ส่ิงเหล่านี้เปรียบเสมือนดัชนี (index) หรือวิธีการ (means) ในการทจี่ ะบรรลเุ ปา้ หมายท่ีวางไว้

2 การส่งเสริมการเกษตรเป็นงานท่ีเก่ียวกับการให้การศึกษา ให้ความรู้ทางการเกษตร แก่เกษตรกรและประชาชนท่ัวไปท่ีสนใจในเรื่องการเกษตร แต่มิได้จากัดเฉพาะเพียงการสอนเท่านั้น แต่ยังเกีย่ วขอ้ งกับกิจกรรมและบรกิ ารต่างๆ ของรฐั และเอกชนอยา่ งกว้างขวาง งานส่งเสริมการเกษตรที่นักส่งเสริมการเกษตรต้องมีความรู้ความเข้าใจถึงปัญหาท่ีแท้จริง ของกล่มุ เป้าหมาย เพอื่ ทช่ี ่วยให้เขาไดช้ ่วยเหลือตัวเอง โดยการเพมิ่ ความรู้ ประสบการณ์ และทักษะ ในด้านอาชพี ทางการเกษตร ดงั นัน้ โดยทว่ั ไปแล้ว 1. เพ่ือกระตุ้นและสนับสนุนให้เกษตรกรมีความสามารถในการผลิตทางการเกษตร เพ่ือใช้ บรโิ ภคในครวั เรือนและทาเป็นอาชีพได้อยา่ งมีประสิทธภิ าพ 2. เพ่ือแนะนาส่งเสริมให้เกษตรกรเข้าใจถึงกระบวนการพัฒนาการผลิตที่สมบูรณ์แบบ โดยมีการจัดให้มีการร่วมมือและประสานกับสถาบันของรัฐและเอกชนท่ีเก่ียวข้องและเก้ื อกูลกัน อันจะอานวยประโยชนต์ อ่ การพฒั นาการผลติ และรายได้ 3. เพื่อช่วยเหลือให้เกษตรกรได้เข้าในสภาวะต่างๆ เก่ียวกับตนเอง รู้จักปัญหา ความต้องการที่ แท้จริง อันจะยังผลใหม้ กี ารพฒั นาการผลิตไดผ้ ลตรงความตอ้ งการ 4.เพ่ือจัดสร้างบรรยากาศให้เกษตรกรมีโอกาสในทางพัฒนาปัญญา หรือความรอบรู้ ความสามารถเพื่อรู้จักปฏิบัติตนให้มีค่าทางเศรษฐกิจและสังคม มีวิธีการทางาน ศิลปะปฏิบัติตน ในการครองชพี และสงั คม 5. เพื่อช่วยให้สมาชิกในครอบครัวเกษตรกรมีส่วนร่วมในการพัฒนามากขึ้น โดยรู้จัก จดั การใช้แรงงานและทรพั ย์สินใหไ้ ดผ้ ลสงู สุด เพอ่ื ความเป็นอยูท่ ด่ี ขี ้ึน 6. เพ่ือสร้างความภาคภูมิใจ ความเป็นอยู่ และอาชีพ ความมีอิสระและพ่ึงตนเอง มีความรัก ต่อถ่นิ ท่อี ยู่และประเทศชาติ อันจะสรา้ งความเชือ่ มนั่ ใหก้ ับตนเอง การสง่ เสรมิ การเกษตรมไิ ด้มุ่งบคุ คลเป้าหมาย คือ เกษตรกรเพยี งอย่างเดียว แต่ยังรวมไปถึง สมาชิกในครอบครัว อันได้แก่ แม่บ้านเกษตรกร และยุวเกษตรกรด้วย จึงได้มีการกาหนดวัตถุประสงค์ ของการสง่ เสรมิ ดา้ นเคหะกิจ และด้านยวุ เกษตรกร ไว้ดังนี้ วัตถุประสงค์ของการส่งเสริมด้านเคหะกิจ การส่งเสริมด้านเคหกิจพิจารณาจากความต้องการ ของชาวชนบท มีวัตถุประสงค์ดงั น้ี 1. เพื่อพัฒนาให้ได้มาตรฐานตามเกณฑ์ (Criteria) ที่ต้ังไว้ในเรื่องของบ้านเรือน ที่อยู่อาศัย ชุมชนท่อี ยู่ 2. เพ่ือให้เข้าใจ พึงพอใจในชีวิตหน้าที่และความสัมพันธ์ของครอบครัว ซึ่งเป็นหน่วยที่ สาคัญของชุมชน สังคมทีอ่ าศยั หรือมสี ว่ นเก่ียวขอ้ งอยู่ 3. เพื่อให้การหารายได้ การจับจ่ายใช้สอย ให้พอเพียงเหมาะท้ังรายได้ท่ีเป็นเงินและท่ีไม่ใช่ เปน็ เงนิ ทอง เชน่ ผลิตผลเกษตร อนั จะช่วยใหค้ วามเป็นอย่ขู องครอบครวั ดีข้ึน

3 4. เพอ่ื เปน็ การวางแผนและจดั การใหไ้ ด้ทั้งงานและมีการพักผอ่ นไปในตวั การใช้แรงงาน และทรพั ยส์ นิ ในการทางานได้ผลสูงสุด เกิดความพึงพอใจและได้ผลกาไร 5. เพือ่ เปน็ การสง่ เสรมิ บารุงรักษาสุขภาพแขง็ แรงมีพลานามัยท่ีดี 6. เพ่ือเป็นการค้นหา พัฒนา การใช้ลักษณะการเป็นผู้นาให้เกิดประโยชน์ โดยเฉพาะในหมู่ สตรใี นชนบทดว้ ยกัน 7. เพื่อให้การปรับปรุงตัวบุคคล และครอบครัวดังกล่าว เป็นส่วนสาคัญในการก่อให้เกิด ความมั่นคงปลอดภยั แกช่ ีวิตและครอบครวั 8. เพ่ือพัฒนาให้เกิดความสานึกในหน้าท่ีพลเมืองดี ความกระตือรือร้น ความรับผิดชอบ ในการมสี ว่ นช่วยเหลอื ในเรื่องสวัสดิการสังคม วัตถุประสงค์ของการส่งเสริมด้านยุวเกษตรกร เพ่ือเป็นการเตรียมให้เยาวชนไปเป็น ประชาชนที่ดีในอนาคต ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ น้าใจ และสติปัญญา จึงได้วางวัตถุประสงค์ของ ยวุ เกษตรกร ไว้ดังนี้ 1. เพ่ือช่วยให้ยุวเกษตรกรพัฒนาความคิด ความต้องการท่ีเหมาะสม รวมทั้งการยกมาตรฐาน การประกอบกิจการฟาร์ม งานเคหกิจ ชีวิตในชุมชน เป็นพลเมืองดี ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ท่ีเขา ตอ้ งการ 2. เพื่ออุปถัมภ์ สนับสนุนยุวเกษตรกรในเร่ืองการให้ความรู้ เทคนิคในเรื่องการทาฟาร์ม เคหกิจ ซ่ึงเขาจะแสวงหาทักษะ รวมท้ังทรรศนะของอุตสาหกรรมเกษตรท่ีแจ่มชัด อันจะเป็น พ้ืนฐานเบอ้ื งตน้ ของการอุตสาหกรรมที่มีประโยชน์ตอ่ การประกอบอาชีพในอนาคต 3. เพื่อให้ยุวเกษตรกร ได้มีโอกาสเรียนโดยการปฏิบัติหรือกระทาจริง โดยการควบคุม ดูแลอยา่ งใกลช้ ิดในเรือ่ งการประกอบการฟาร์มหรอื เคหกิจ โดยการสาธิตและอืน่ ๆ ทีเ่ ขาไดเ้ รียนอยู่ 4. เพื่อปลูกฝังความเฉลียวฉลาดและเข้าใจในเร่ืองรักธรรมชาติและส่ิงแวดล้อมในชีวิต แก่ยุวเกษตรกร 5. เพื่อสอนยุวเกษตรกรให้เห็นคุณค่าของวิชาการ การวิจัย และพัฒนาเขาเหล่าน้ันเกี่ยวกับ ทรรศนะในการใชว้ ธิ กี ารทางวทิ ยาศาสตร์ในการแก้ปญั หาของฟาร์ม และเคหกจิ 6. เพ่ือฝึกหัดให้ยุวเกษตรกรรู้จักการให้ความร่วมมือ หรือร่วมกันทางาน เพื่อให้เกิดผล สาเร็จของงาน โดยวิธีการพยายามให้เกิดความร่วมมือกัน มีการช่วยเหลือกันมากขึ้นในการ แก้ปญั หาชนบท 7. เพ่ือพัฒนายุวเกษตรกรให้มีชีวิตและนิสัยท่ีจะอยู่อย่างมีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง โดยการ ให้ความรู้ ข่าวสาร การใช้เวลาว่างและพักผ่อนให้เกิดประโยชน์ เพื่อเป็นการปลุกเร้าให้เกิดความ ทะเยอทะยานในการที่จะศึกษาเล่าเรียนต่อ ด้วยความหวังว่าเขาจะได้มีชีวิตอยู่อย่างม่ังค่ังสมบูรณ์ ในอนาคต

4 8. เพ่ือเป็นการสอนและสาธิต แก่ยุวเกษตรกรในเรื่องวิธีการออกแบบ ปรับปรุงวิธีการ ทาฟาร์มและเคหกิจ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดผลในการเพ่ิมรายได้สูงขึ้น มาตรฐานของชีวิตสูงข้ึน มีความ พงึ พอใจในอาชีพเกษตรกร รูจ้ ักพัฒนาอาชีพและชีวติ ให้ดีขนึ้ Chang (1963) ได้กล่าวว่า การส่งเสริมไม่ได้เป็นแค่เพียงการแจกจ่ายปัจจัยการผลิต เช่น เมล็ดพันธ์พุ ืช ปยุ๋ ยาฆา่ แมลง เท่าน้ัน แต่มีเป้าหมายคือ “การพัฒนาคน” ถ้าคนไม่ได้รับการเปลี่ยนแปลง การพัฒนาที่ถาวรจะไม่เกิดขึ้น การพัฒนาทางกายภาพและเศรษฐกิจจะไม่ประสบความสาเร็จ หากไม่มี การพฒั นาคน ทกุ สงิ่ ทุกอย่างจะสาเร็จไดโ้ ดยการพฒั นาคนและไดส้ รุปการสง่ เสริม ไวด้ งั นี้ 1. การส่งเสริมเป็นกระบวนการทางการศึกษา (An Education Process) ความก้าวหน้าของมนุษย์ขึ้นอยู่กับความสามารถด้านจิตใจและร่างกาย อันอาจจะเป็น ตัวถ่วงหรือตัวกระตุ้นก็ได้ ท่านประธานาธิบดีลินคอล์น ได้กล่าวสุนทรพจน์อันมีข้อความตอนหนึ่งว่า “all men are created equal” กล่าวคือ มนุษย์ทุกคนมีความคล้ายคลึงกันโดยพื้นฐานมาต้ังแต่กาเนิดแล้ว ไม่ว่าจะเป็นใครมาจากไหน จะมีจิตใจและร่างกายเหมือนกันหมด (heart and body are the same) แต่เขาเหล่านนั้ ได้รับการอบรมมาไม่เท่ากัน บางคนอาจร่ารวยมหาศาล ในขณะที่อีกคนหน่ึงยากจน อย่างน่าสงสาร บางคนมีความก้าวหน้าท้ังในด้านสังคมและวัฒนธรรม ในขณะที่อีกหลายคน ยังล้าหลังอยู่ สิ่งเหล่าน้ีสืบเน่ืองมาจากความแตกต่างในสิ่งแวดล้อมท่ีได้รับการอบรมมา ดังนั้น จึงเกิดมีประเทศด้อยพัฒนาและประเทศท่ีพัฒนาแล้ว ชนบทแตกต่างกับในเมือง อย่างไรก็ตาม แต่ละคนสามารถแขง่ ขันในความสาเรจ็ ในชวี ติ ไดเ้ ป็นอยา่ งดี การศึกษาเป็นกระบวนการเปล่ียนแปลงพฤติกรรมในตัวบุคคล การเปลี่ยนแปลง เหล่าน้ี คือ 1) ในสง่ิ ท่เี ขารู้ – ความรู้ (เปลยี่ นแปลงในความร้)ู (In what people know – knowledge) 2) ในส่ิงท่เี ขาคิด (In what people think – attitude) 3) ในสิ่งทเี่ ขาทาได้ – ทกั ษะ (In what people can do – skill) 4) สงิ่ ทเี่ ขาทาไดจ้ ริงๆ (In what they actually do – motivation) 2. การสง่ เสริมเป็นกระบวนการประชาธปิ ไตย (A Democratic Process) 3. การส่งเสรมิ เป็นกระบวนการต่อเนอ่ื ง (A Continuous Process) การส่งเสริมการเกษตรสามารถสรุปเป็นปรัชญาได้ว่า “เป็นการบริการของรัฐบาลที่จะบริการ ระบบการศึกษาแบบนอกโรงเรียน (Out of School Education) แก่ประชาชนท่ีอยู่ในชนบท เมื่อประชาชน ได้รับการฝึกอบรมให้สามารถช่วยตัวเองได้แล้ว จึงจะเรียกได้ว่าประชาชนได้เปลี่ยนแปลง โดยกระบวนการศกึ ษาอย่างแท้จรงิ (Changed Educationally)

5 ความมีอานาจของประเทศกับการศึกษาน้ัน ต้องพัฒนาควบคู่กันไป ดังนั้น เจ้าหน้าท่ี ส่งเสริมซึ่งได้รับการฝึกอบรมเก่ียวกับการเกษตรแผนใหม่และวิธีการส่งเสริมจึงเป็นบุคคลท่ี เหมาะสมที่สดุ ที่จะทางานในชนบท” Adams (1982) ได้ให้ความหมายการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษา ตามอัธยาศัย ไว้ดงั นี้ Formal Education (การศึกษาในระบบ) หมายถึง การเรียนการสอนในสถานศึกษาตามระบบ และตามระยะเวลาที่กาหนด บางคร้ังอาจเรียกว่า In – school Education ตัวอย่างเช่น การเรียนการสอน ในช้ันประถม มธั ยม วทิ ยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี หรือในมหาวิทยาลัย เป็นต้น Non – formal Education (การศึกษานอกระบบ) หมายถึง การสอนนอกระบบปกติ แต่จัดขึ้น อย่างมีระบบเฉพาะคนที่มีความสนใจเฉพาะทาง อาจหมายรวมถึง งานส่งเสริมการเกษตร บางคร้ัง เรียกว่า Out – of school Education การสอนแบบนี้ต้องใช้วิธีการต่างๆ ที่มีประสิทธิภาพมาใช้ เช่น เทคโนโลยใี หม่ และเปน็ การสอนจดั ให้ตามความเหมาะสม เช่น การศึกษาผใู้ หญ่ เปน็ ตน้ Informal Education (การศึกษาตามอัธยาศัย) หมายถึง การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Process) ซ่ึงทุกคนสามารถเรียนรู้สะสมไว้ในทุกด้าน เช่น ทักษะ (Skill) ทัศนคติ (Attitude) การหยั่งรู้ (Insight) โดยจากประสบการณ์ การสัมผัส และการพบปะกับส่ิงต่างๆ ในชีวิตประจาวัน การศึกษา แบบน้ียังไม่มีหลักสูตรท่ีตายตัว ไม่ยึดกับสถานท่ีเรียน จะเน้นการเรียนรู้จากธรรมชาติและ สงิ่ แวดล้อมเป็นส่วนใหญ่ งานทางด้านส่งเสริมการเกษตร มีส่วนคล้ายคลึงกับการศึกษานอกระบบโรงเรียน เพราะเป็น การสง่ เสรมิ การเรยี นรูท้ ม่ี งุ่ เนน้ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม (Behavior) ของบุคคลเป้าหมาย ให้เขามี ความเป็นอยู่และได้รับการพัฒนาที่ดีข้ึนจากเดิม โดยเน้นการให้ความรู้ในสิ่งที่ตรงตามความต้องการ ของเขา และให้เขาสามารถเรียนรู้ในเรื่องน้ันได้ เพ่ือใช้ประโยชน์ในชีวิตประจาวัน ซ่ึงเรียกว่า ช่วยให้เขาได้ช่วยเหลือตัวเอง ส่วนการศึกษาในระบบเป็นการให้ความรู้ที่เป็นปกติเป็นระบบใน สถานศึกษา และมีระยะเวลาที่แน่นอน ซึ่งมีข้อจากัดในเรื่องระยะเวลาในการให้ความรู้ และการศึกษา ตามอัธยาศัย เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ต่อเน่ืองตลอดชีวิตของแต่ละบุคคล ซึ่งขึ้นอยู่กับประสบการณ์ แตล่ ะบุคคล ในการส่งเสริมการเกษตร เจ้าหน้าที่ส่งเสริมเป็นตัวจักรสาคัญ เน่ืองจากเป็นผู้นาความ เปลี่ยนแปลง (Change Agent) ของบคุ คลเป้าหมายให้เกิดการยอมรับนวัตกรรม (Innovation) ใหม่ๆ และเป็นการนาไปสู่การเปล่ียนแปลงพฤติกรรม (Behavior) ของบุคคลเป้าหมายในที่สุด เจริญ (2534) ไดก้ ล่าวถงึ หลกั การของงานส่งเสรมิ ทีเ่ จา้ หน้าที่สง่ เสรมิ ควรยึดถอื เป็นแนวปฏบิ ตั ิ ดังนี้ 1. ควรช้ีนาให้บคุ คลเป้าหมายพยายามช่วยตัวเองในการสอนหรือให้คาแนะนา เจ้าหน้าที่ ส่งเสริมควรตอกย้าให้บุคคลเป้าหมาย พยายามอาศัยตนเองเป็นหลัก อย่ารอคอยให้คนอ่ืนมาช่วย การชว่ ยตัวเองไดน้ น้ั จะทาให้มีอิสระในการตดั สินใจ และภูมใิ จในผลงานของตนเอง

6 2. คอยชักจูงให้บุคคลเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ด้วยความสมัครใจ ซึ่งมีผลให้การ ทางานมีประสิทธิภาพสูง และทาให้เกิดความรู้สึกร่วมเป็นเจ้าของผลงานนั้นๆ หากผลงานนั้นๆ เปน็ ของชุมชนจะมีผลตามมาในด้านการประสานผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน และช่วยเหลือเก้ือกูล ซึ่งกนั และกนั ดว้ ย 3. ควรให้มีการปฏิบัติด้วยตนเอง ในการส่งเสริมเจ้าหน้าที่ส่งเสริมควรให้โอกาสบุคคล เปา้ หมายได้ปฏิบตั ิให้เกิดความชานาญ จะไดม้ ีความมัน่ ใจเม่ือเวลาจะนาไปปฏิบัตจิ ริง 4. กจิ กรรมทส่ี ง่ เสรมิ ใหด้ าเนินการ ควรสอดคลอ้ งกับความตอ้ งการและเป็นประโยชน์แก่ กลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่ หากงานส่งเสริมได้กระทาไปในระดับหมู่บ้านหรือตาบล งานส่งเสริมท่ีลงไป ในท้องถนิ่ นั้น ก็ต้องสอดคล้องกับความต้องการของชนสว่ นใหญใ่ นชุมชนด้วย หลกั การข้อน้ชี ่วยใหก้ ารสง่ เสริมบรรลเุ ปา้ หมายได้เร็ว เพราะตรงกับความต้องการและ เกิดผลประโยชน์แก่ส่วนใหญ่ของกลุ่มเป้าหมายอยู่แล้ว ซึ่งเมื่อบุคคลส่วนใหญ่เปล่ียนแปลง พฤตกิ รรมหรอื ยอมรับไปปฏบิ ัติแลว้ กม็ ีผลสาเรจ็ ตามเป้าหมายทตี่ ้ังไว้เร็ว 5. ควรใช้ทรัพยากรท่ีมีอยู่หรือหาได้ในท้องถ่ินมาใช้ประโยชน์ในงานส่งเสริมให้มากท่ีสุด ทรัพยากรดังกล่าวน้ีรวมท้ังทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรท่ีมนุษย์ผลิตและสร้างข้ึน เช่น แหล่งน้า ธรรมชาติ สิ่งสาธารณูปโภคท่ีเอ้ืออานวยแก่การส่งเสริม รวมท้ังสถาบันต่างๆ ที่มีอยู่ในท้องถิ่น หากทรพั ยากรไม่สามารถหาไดใ้ นทอ้ งถน่ิ จงึ ค่อยนาจากภายนอก หลกั การขอ้ น้ี ทาให้เกิดประโยชน์ แก่ท้องถ่ินเองในแง่การประหยัดทั้งเวลาและงบประมาณค่าใช้จ่าย เพราะหากจัดหาจากภายนอก ย่อมเสยี คา่ ใชจ้ ่ายสูงกวา่ และนา่ จะเสียเวลามากกว่า 6. ควรสร้างทัศนคติของบุคคลเป้าหมายให้เกิดความรู้สึกอยากเปลี่ยนแปลง และเมื่อ เปลี่ยนแปลงและนาไปปฏิบัติแล้ว ก็ให้คงรักษาพฤติกรรมนั้นไว้ต่อเน่ืองจนกว่ามีพฤติกรรมใหม่ ที่ดีกว่ามาแทนที่ เพราะแม้ว่าบุคคลเป้าหมายจะเปลี่ยนแปลงทัศนคติและยอมรับไปปฏิบัติแล้วก็ตาม ผู้เปล่ียนแปลงพฤติกรรมนั้นอาจกลับไปใช้พฤติกรรมอย่างเก่าได้ หากเจ้าหน้าท่ีส่งเสริมไม่คอย กระตุน้ ใหร้ ักษา 7. ควรใหบ้ คุ คลเป้าหมายรวมเปน็ กล่มุ หรือเป็นสถาบัน หลักการข้อนี้เกิดข้ึนเพราะเชื่อว่า กลุ่มมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านมีพลังต่อรองในแง่เศรษฐกิจและสังคม เป็นช่องทางในการ รับบรกิ ารการสง่ เสรมิ ได้ดขี ้นึ 8. ควรสร้างผู้นาชุมชนและใช้ความเป็นผู้นาชุมชนให้เป็นประโยชน์ในการส่งเสริม การส่งเสริมจะเขา้ ไปถงึ บคุ คลเป้าหมายทุกคนนน้ั เป็นไปได้ยากมาก แต่ผู้นาชุมชนไม่ว่าจะเป็นผู้นา แบบทางการหรือไม่เป็นทางการ ก็มักเป็นผู้มีอิทธิพลต่อความนึกคิดของชาวบ้านธรรมดา และชาวบ้าน ชอบเอาอย่างผู้นาอยู่แล้ว ฉะนั้นหากเจ้าหน้าท่ีส่งเสริมรู้จักคัดเลือกและใช้ผู้นาให้ถูกกาลเทศะ จะช่วยให้งานส่งเสรมิ บรรลุเปา้ หมายไดด้ ีขน้ึ

7 9. ควรดาเนินกจิ กรรมส่งเสรมิ แบบผสมผสาน หลักการข้อนีไ้ ด้รบั ความนิยมมากขึ้นทุกที ในปัจจุบัน เพราะบคุ คลเป้าหมายมักต้องกระทาการต่างๆ เพื่อประกอบอาชีพและดารงชีวิตพร้อมกันไป หลายๆ อย่าง ฉะนั้นกิจกรรมท่ีส่งเสริมท่ีต้องการถ่ายทอด ควรต้องมีลักษณะผสมผสาน โดยประสานงานกับผู้เกี่ยวข้อง เพื่อประสานกิจกรรมส่งเสริมให้สอดคล้องกันและทางานร่วมกัน กจ็ ะชว่ ยใหง้ านส่งเสริมสาเรจ็ ลุลว่ งไปได้ และบุคคลเป้าหมายพอใจ การยอมรับ (Adoption) เป็นเร่ืองที่มีความสาคัญเป็นอย่างย่ิงในกระบวนการส่งเสริม การเกษตร เพราะเจ้าหน้าที่ส่งเสริมต้องทาให้บุคคลเป้าหมายเปล่ียนแปลงพฤติกรรมของเขา หลังจากได้เรียนรู้ในส่ิงท่ีเจ้าหน้าที่ส่งเสริมนาไปถ่ายทอดให้เขาได้รับรู้ ทาให้เกิดความเข้าใจ มีทักษะ และความชานาญ จนสามารถนามาใช้ในการปฏิบัติ เช่น บุคคลเป้าหมายได้เรียนรู้เก่ียวกับการใช้ สารเคมี จนเกิดการเรียนรู้ว่าสารเคมีมีผลดี ผลเสียอย่างไร จะมีการปฏิบัติอย่างไรในการใช้สารเคมี ทถี่ กู ต้อง เมอื่ เรยี นรูจ้ นเกิดความชานาญแล้ว ก็นามาใชป้ ฏิบัติในชีวิตประจาวันสาหรับการประกอบ อาชพี ของตนเองไดเ้ ปน็ อย่างดี วธิ ีการสง่ เสรมิ การเกษตร การท่ีเจ้าหน้าท่ีส่งเสริมการเกษตรจะช่วยให้บุคคลเป้าหมายยอมรับความรู้ใหม่หรือ วิทยาการใหม่ๆ จาเป็นอย่างยิ่งท่ีเจ้าหน้าที่ส่งเสริมจะต้องพิจารณาเลือกใช้วิธีการส่งเสริมหรือ วิธีการถา่ ยทอดความรไู้ ปสู่บคุ คลเปา้ หมายอย่างเหมาะสม Bradfield (1966) ไดแ้ บ่งวิธีการสง่ เสริมออกเป็น 3 ลกั ษณะด้วยกนั ดงั น้ี 1. วธิ กี ารสง่ เสริมรายบคุ คล (Individual Methods) เปน็ การส่งเสริมบุคคลเป้าหมายในครั้งหน่ึงเพียงคนเดียว เป็นวิธีการส่งเสริมที่ช่วยให้ บุคคลเป้าหมายยอมรับได้มาก และจะได้รับประโยชน์มากหากบุคคลเป้าหมายเป็นผู้นาท้องถิ่น ประธานกล่มุ ตา่ งๆ การสง่ เสรมิ รายบคุ คล อาจใช้วิธกี ารดังต่อไปนี้ 1.1 การเย่ียมเยือนทบ่ี ้านหรอื ไร่นา (Farm Visits) เป็นการที่เจ้าหน้าที่ส่งเสริมออกไปเยี่ยมเยือนบุคคลเป้าหมายถึงบ้าน หรือที่ไร่นา เกษตรกร Mosher (1978) กล่าวว่า การเย่ียมเยือนท่ีบ้านหรือไร่นา เป็นวิธีการส่งเสริมท่ีได้ผลมากที่สุด และใช้อย่างแพร่หลายในประเทศท่ีด้อยพัฒนา หรือกาลังพัฒนา วิธีการส่งเสริมวิธีนี้ มีข้อเสียคือ ต้องใช้เวลามากและลงทนุ สงู และไดบ้ คุ คลเปา้ หมายนอ้ ย 1.2 การติดต่อที่สานกั งาน (Office Calls) โดยเจา้ หนา้ ทีส่ ่งเสริมนัดหมายบุคคลเป้าหมายไปติดต่อท่ีสานักงานของเจ้าหน้าที่ ส่งเสริม เพื่อขอคาแนะนาหรือเอกสารเผยแพร่ต่างๆ การติดต่อแบบนี้บุคคลเป้าหมายต้องมีความ กระตือรือร้นและมีความสนใจในการใฝ่หาความรู้ เพราะบุคคลเป้าหมายท้ิงกิจกรรมท่ีไร่นาและ ต้องเสยี เวลาจากการเดนิ ทางไปท่สี านกั งานดว้ ยตนเอง

8 1.3 การตดิ ต่อทางจดหมาย (Letters) การเขียนจดหมายติดต่อกัน เป็นอีกวิธีหน่ึงของการส่งเสริมรายบุคคล เกษตรกร อาจเขยี นจดหมายไปยงั เจา้ หน้าทสี่ ่งเสรมิ หรือนักวชิ าการเกษตร ณ สานกั งาน เพื่อขอคาแนะนาหรือ ถามปัญหาเก่ียวกับการเกษตร อาจเป็นด้านการปลูกพืช การเล้ียงสัตว์ การประมง หรือด้านอ่ืน นอกจากกรมส่งเสริมการเกษตรแล้ว ยังมีหน่วยราชการอีกหลายหน่วยงาน ซ่ึงจัดบริการทางด้านน้ี แต่วิธีนี้จะช้าไปบ้างเพราะต้องผ่านขั้นตอนการดาเนินงานและการจัดส่ง ไม่รวดเร็วเหมือนการพบ ดว้ ยตนเอง 1.4 การตดิ ตอ่ ทางโทรศพั ท์ (Telephone Calls) การใช้โทรศัพท์ติดต่อสอบถามปัญหาหรือขอความช่วยเหลือต่างๆ นับว่าเป็นวิธีการ ที่สะดวกรวดเร็วและใช้กันมากในประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่สาหรับประเทศเรายังมีขีดจากัดอยู่มาก ในด้านความสะดวกและการขอติดตั้ง และราคาท่ียังสูงอยู่ มีการใช้กันในเขตเมือง ซึ่งรวมถึงตาบล ท่ีพฒั นาแลว้ เป็นสว่ นใหญ่ สาหรับชนบทที่หา่ งไกลในบางตาบลนัน้ โทรศพั ท์ยงั เข้าไปไมถ่ งึ 2. วธิ กี ารส่งเสริมแบบกลุ่ม (Group Methods) วิธีการส่งเสรมิ แบบกลุม่ จะแตกตา่ งกับการส่งเสริมแบบรายบุคคล เน่ืองจากต้องกระทากับ บุคคลเป้าหมายตั้งแต่ 2 คนข้ึนไป ซึ่งเจ้าหน้าท่ีส่งเสริมต้องใช้เทคนิคการส่งเสริม เพ่ือทาความเข้าใจ และถ่ายทอดความรู้ให้กับบุคคลเป้าหมายเป็นจานวนมากมีความเข้าใจ อาจจะทากับกลุ่มแม่บ้าน ผู้นาท้องถิ่น กลุ่มเยาวชน เป็นต้น การส่งเสริมแบบกลุ่ม มีข้อดีคือ เข้าถึงบุคคลเป้าหมาย ได้เป็นจานวนมาก ประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลา ส่วนข้อเสียคือ นักส่งเสริมอาจไม่สามารถจูงใจให้ บุคคลเป้าหมายทั้งหมดนาความรู้ไปปฏิบัติได้ และไม่สามารถเข้าไปแก้ไขปัญหาของบุคคล เปา้ หมายได้ทุกคน วิธีการส่งเสริมการเกษตรแบบกลุ่ม มีหลายวิธี เช่น 2.1 การประชมุ (Meeting) เปน็ วิธีที่เจ้าหน้าท่ีส่งเสริมปฏิบัติเพ่ือแนะแนวทางในการประกอบอาชีพ และเพ่ือ รับทราบปัญหาของบุคคลเป้าหมาย เพ่ือจะหาแนวทางในการแก้ปัญหาและติดตามผล ส่วนใหญ่ จะจัดข้ึนเฉพาะกลุ่มอาชีพ เช่น กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มผู้นาหมู่บ้าน หรือกลุ่มผู้ทานา เป็นต้น ซ่ึงรูปแบบ การประชุมอาจจะใช้การบรรยาย (Lecture) การอภิปรายกลุ่ม (Group Discussion) การอภิปราย เป็นคณะ (Panel Discussion) หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) ก็ได้ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ ของการประชุมนนั้ ๆ 2.2 การสาธิต (Demonstration) เป็นวิธีท่ีเจ้าหน้าที่ส่งเสริมให้เพื่อถ่ายทอดความรู้โดยการแสดงให้แก่กลุ่มบุคคล ได้ชมพร้อมกับบรรยายประกอบ ทาให้บุคคลเป้าหมายได้เข้าใจเรื่องที่จะส่งเสริม ตลอดจนทราบ ข้นั ตอนต่างๆ ได้ชดั เจนยิง่ ขึ้น

9 การสาธิตอาจแบ่งได้เป็น 2 วิธี คือ การสาธิตวิธี (Methods Demonstration) และ การสาธติ ผล (Result Demonstration) ซ่งึ มีความแตกตา่ ง ดังนี้ หัวขอ้ การสาธิตวธิ ี การสาธิตผล (Methods Demonstration) (Result Demonstration) วตั ถุประสงค์ เพอื่ สอนวธิ กี ารหรอื ทกั ษะในการ - เพ่ือเป็นการพิสูจน์โดยการ ปฏิบตั งิ านอย่างใดอยา่ งหนึ่ง แสดงให้เห็นจริงหรือเห็นผลว่า เป็นขน้ั ๆ ไป ตามลาดับ วิธีการท่ีได้แนะนาไป สามารถ กระทาได้ในท้องถ่ินหรือเห็นผล ทด่ี ีกว่าเทคนิคใหมๆ่ - เพ่ือสร้างความเช่ือถือในตัว เจ้าหนา้ ที่ส่งเสริมการเกษตร ทาให้ บุคคลเป้าหมายสนใจ เสาะหา ความรูเ้ พิม่ เติมและปฏบิ ัติตาม ผดู้ าเนนิ การสาธิต เจา้ หน้าท่สี ง่ เสริม วทิ ยากร หรอื ผู้นา เกษตรกร หัวหนา้ เกษตรกร ทม่ี ปี ระสบการณ์ แมบ่ ้าน ยุวเกษตรกร ผู้ชมการแสดง ผมู้ าประชมุ อบรม เชน่ เกษตรกร เกษตรกร แม่บา้ น ยวุ เกษตรกร หรอื บุคคลเป้าหมาย แม่บา้ น ยวุ เกษตรกร นักเรียน หรือผู้สนใจ สถานท่ี อาจเป็นห้องประชุม บรเิ วณบา้ น ไร่นาหรือฟาร์มของเกษตรกร สถานีโทรทัศน์ หรอื ท่ีอน่ื ๆ บรเิ วณสานักงานสง่ เสรมิ สถานีทดลองทางการเกษตร ระยะเวลา อาจเปน็ 20 นาที 30 นาที หลายสปั ดาห์ หรอื หลายเดือน หรือมากกว่า แต่โดยทัว่ ไป มกั ไม่เกิน 1 ช่วั โมง 2.3 การจดั ทศั นศึกษา (Field Trip) เป็นวิธีที่เจ้าหน้าที่ส่งเสริมจัดบุคคลเป้าหมาย อาจจะเป็นกลุ่มอาชีพ ไปดูกิจกรรม หรอื เหตุการณ์ทีม่ ีอยูจ่ ริง ทอี่ ย่ตู ่างสถานที่ เพื่อให้บุคคลเปา้ หมายไดเ้ กิดความรู้และนามาประยุกต์ใช้ ในไร่นาของตนเอง เชน่ การนาเกษตรกรแกนนาผู้ปลูกข้าว ตาบลศรีถ้อย อาเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา ไปดูงานการใช้ปุ๋ยชีวภาพในไร่นาของเกษตรกรตัวอย่างท่ีอาเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น ข้อดีของการส่งเสริมวิธีน้ีคือ บุคคลเป้าหมายสามารถเห็นในสภาพความเป็นจริง ซ่ึงจะเป็นปัจจัย สาคัญในการทท่ี าให้เกิดการยอมรับนาไปปฏิบัติ สว่ นข้อเสียคอื ตอ้ งเสียคา่ ใชจ้ า่ ยในการเดินทางมาก

10 2.4 การจัดฝกึ อบรมพิเศษ (Special Training Course) การจัดหาหลักสูตรระยะส้ัน เพื่อฝึกอบรมเกษตรกร แม่บ้าน หรือกลุ่มท่ีสนใจ เฉพาะเร่ือง ก็เป็นวิธีหนึ่งของการส่งเสริมแบบกลุ่ม อาจใช้เวลา 1 วัน หรือ 2 – 3 วัน หัวข้อท่ีนามาพูด หรือบรรยายต้องเหมาะสม เป็นที่สนใจ ตรงกับความต้องการของกลุ่ม อาจมีการฝึกภาคปฏิบัติในเรื่อง ท่ไี ด้แนะนา เพอ่ื ใหเ้ กดิ ความเข้าใจและเช่อื มน่ั วา่ สามารถกระทาได้ 2.5 การทดสอบในท้องถน่ิ (Verification Trials) การทดสอบในท้องถ่ินเป็นกระบวนการวิจัยที่ทดลองทาส่ิงหน่ึงส่ิงใดหลายๆ วิธี ในไร่นาของเกษตรกรท้องถิ่น เพื่อจะหาว่าวิธีไหนจะดีที่สุดหรือได้ผลดีที่สุด เช่น ทดลองปลูกพืช โดยใชเ้ มล็ดพนั ธ์ตุ ่างกัน การใช้ปยุ๋ ต่างกนั หรอื การเลือกวันหวา่ นพืชต่างกนั 2.6 การจดั งานวนั เกษตร (Field Days) การจัดงานวันเกษตร โดยปกติอาจจัดในบริเวณไร่นาของเกษตรกรท่ีประสบ ความสาเร็จ ตามคาแนะนาของเจ้าหน้าท่ีส่งเสริม ที่สถานีทดลองเกษตร หรือบริเวณศูนย์ที่ทาการ ของทางราชการในท้องถ่นิ โดยหวงั จะเผยแพร่ผลแหง่ ความสาเร็จไปยังบคุ คลอนื่ การจัดงานวันเกษตรข้ึน ก็เพ่ือเป็นจุดเริ่มต้นของการสาธิต เพ่ือตรวจสอบดูผล ความก้าวหน้า หรือเพ่ือให้ประชาชนสังเกตการสาธิตผล (Result Demonstration) เรามักจัดงานวันเกษตร สาหรับกลุ่มเป้าหมายไม่ใหญ่โตนัก ทั้งน้ีเพื่อให้มีเวลาสาหรับการอภิปราย ซักถาม และชมกิจการ ด้านเกษตรของฟารม์ หรอื สถานที ดลองโดยทว่ั ถึง 3. วธิ ีการสง่ เสรมิ มวลชน (Mass Methods) วิธีการส่งเสริมแบบน้ี เป็นวิธีที่เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสามารถเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารไปสู่ บุคคลเป้าหมายได้คร้ังละมากๆ โดยไม่จากัดจานวนและไม่จาเพาะเจาะจงว่าเป็นบุคคลใด เราสามารถ แยกวิธีการสง่ เสรมิ มวลชนโดยผา่ นสือ่ ตา่ งๆ ไดด้ ังนี้ 3.1 ส่ิงพมิ พ์ (Publications) ซึง่ สามารถแยกออกเป็น - หนงั สือพมิ พ์ (Newspaper), บทความในหนงั สอื พิมพ์ - แผน่ ปลิวหรือใบปลิว (Leaflets) - เอกสารเผยแพร่แบบเล่ม (Pamphlets), โบรชัวร์ (Brochure) หรือบุ๊คเลท็ (Booklet) - หนังสอื เวยี น จดหมายเวยี น (Circular Letters) - หนงั สอื พิมพ์ตดิ ผนงั (Wall Newspapers) 3.2 นทิ รรศการ (Exhibits) นิทรรศการ หมายถงึ การจัดแสดงสง่ิ ของ อาจจะเปน็ ของจรงิ ของจาลอง เช่น วัสดุ อุปกรณ์ต่างๆ สัตว์ พืช ฯลฯ หรือแสดงแนวความคิด ความเห็น มีความมุ่งหมายท่ีจะสร้างความสนใจ

11 ให้ความรู้ ความเข้าใจ อาจเป็นการประชาสัมพันธ์กิจกรรมของหน่วยงานหรือโฆษณาขายสินค้า อย่างใดอย่างหน่ึง 1.3 วทิ ยุกระจายเสียง (Radio Programs) วิทยุกระจายเสียงทาหน้าที่คือเป็นแหล่งเผยแพร่ข่าวสารและเป็นเครื่องกระตุ้น ความสนใจใหเ้ กิดความเปลี่ยนแปลง การจัดทารายการวิทยุกระจายเสียงท่ีนิยมกัน ได้แก่ จัดทาข่าว ที่ให้ความรู้ทางด้านเกษตร ในปัจจุบันมักจัดทารายการให้ความรู้ทางด้านการเกษตรกับเปิดเพลง ลูกทุ่ง ซ่ึงได้รับความนิยมอย่างสูงจากบุคคลเป้าหมาย ข้อเสียของการใช้วิทยุกระจายเสียงคือ ผู้ฟัง ไม่สามารถซักถามปัญหาได้ในขณะนั้น ข้อควรระวังในการใช้สื่อประเภทน้ีคือ หากมีการสัมภาษณ์สด และถา่ ยทอดความรู้ ผู้ทที่ าหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ต้องมีข้อมูลที่ถูกต้อง เพราะหากให้ความรู้ที่ไม่ถูกต้อง แก่บุคคลเป้าหมาย อาจทาให้บุคคลเป้าหมายจดจาส่ิงท่ีผิดๆ ไปปฏิบัติได้ จะทาให้เกิดผลเสียหาย ในการสง่ เสรมิ การเกษตรเปน็ อยา่ งมาก 1.4 รายการโทรทศั น์ (Television Programs) การจดั ทารายการโทรทัศน์ คลา้ ยกับวิทยุกระจายเสยี ง เพียงแต่เพิ่มส่วนรับรู้ในการ มองเห็นเขา้ ไปดว้ ย ทาใหเ้ กดิ ความเขา้ ใจมากขึน้ 1.5 ภาพยนต์ (Films) มีใช้กันแพร่หลายในอดีต ส่วนปัจจุบันมักนิยมใช้เทปโทรทัศน์หรือวีดีทัศน์ (Video Tape) เนอื่ งจากการผลติ ภาพยนตต์ ้องใชต้ ้นทุนสูง 1.6 การประกวด (Contest) การประกวดหรือการแข่งขันในด้านใดด้านหนึ่ง เป็นกิจกรรมท่ีสร้างความสนใจ และความต่ืนเต้นให้กับผู้มาร่วมงานตลอดท้ังผู้ชมด้วย ส่วนใหญ่จะเกิดข้ึนในการจัดนิทรรศการ ท่ีเก่ียวข้องกับการเกษตร เช่น การประกวดพืช ประกวดสัตว์ หรือการประกวดแข่งขันอื่นๆ เป็นวิธีการ ส่งเสริมและเผยแพรค่ วามร้ทู ีน่ ยิ มใช้กนั มากในปัจจุบนั 1.7 การรณรงค์ (Campaigns) การรณรงค์ เป็นการประสานการใช้วิธีการส่งเสริมหลายๆ อย่างรวมกัน ตามแผน และกาหนดทว่ี างไว้ มคี วามมุ่งหมายทจ่ี ะดึงความสนใจของเกษตรกรหรือประชาชนมายังปัญหาใด ปัญหาหน่ึงโดยเฉพาะท่ีกระทบคนหมู่มาก และวิธีที่จะแก้ปัญหาโดยปกติจะมีการวางแผนการ รณรงคแ์ ละการสัง่ การจากระดับชาติ ระดบั ภาค หรอื จังหวดั วิธีการรณรงค์จะถูกนามาใช้เม่ือมีปัญหาสาคัญเกิดข้ึนกับประชาชนส่วนมากและ เป็นปัญหาที่สามารถแก้ไขได้โดยท่ีเกษตรกรไม่ต้องไปคิดปรับแก้กันตามลาพัง ด้วยวิธีการท่ีต้อง ลงทนุ ลงแรงมาก การรณรงค์ต้องอาศัยคนจานวนมาก เนื่องจากวัตถุประสงค์ของการรณรงค์ มเี ฉพาะงานชว่ั ระยะเวลาหนึ่งเท่าน้ัน ตัวอย่างการรณรงค์ด้านส่งเสริมการเกษตร ได้แก่ การรณรงค์

12 การปราบต๊ักแตกปาทังก้า การปราบหนูนาที่ระบาดอย่างชุกชุม การส่งเสริมการใช้ปุ๋ย การปลูกป่า เปน็ ตน้ Chang (1974) ได้กล่าวไว้ว่า การส่งเสริมแต่ละวิธีจะทาให้เกษตรกรยอมรับในข้ันที่ แตกต่างกัน กล่าวคือ ถ้าใช้วิธีส่งเสริมแบบมวลชน จะทาให้เกษตรกรยอมรับในขั้นตื่นตนและสนใจ แต่ถ้าใช้วิธีส่งเสริมแบบรายบุคคลนั้น สามารถทาให้เกษตรกรยอมรับถึงขั้นการยอมรับหรือ นาไปใช้ในการปฏิบตั ิ มาก ความเขม้ ขน้ วิธกี าร การนาไปใช้ (Adoption) ความหนาแน่น ส่งเสริม แบบรายบคุ คล ปฏบิ ตั ิและเกดิ ความพอใจ (Individual Method) (Action and Satisfaction) วิธีการส่งเสริมแบบกลมุ่ ลองทา (Trial) (Group Method) ไตร่ตรอง (Evaluation) วิธีการสง่ เสริมแบบมวลชน สนใจ (Interest) น้อย (Mass Method) ตนื่ ตน (Awareness) แสดงความสัมพันธร์ ะหวา่ งวิธีการสง่ เสริมกับการยอมรับของเกษตรกร ปรับปรุงจาก Chang (1974) วิธีการส่งเสริมมวลชน มุ่งท่ีจะเผยแพร่สร้างการรับรู้ (Awareness) ความสนใจ (Interest) ในเร่ืองใหม่ๆ แนวความคิดใหม่ๆ ให้บุคคลเป้าหมายรู้ว่าเร่ืองน้ีเกิดข้ึนแล้ว หากสนใจก็จะหา รายละเอียดตอ่ ไป วิธีการส่งเสริมแบบกลุ่ม จะช่วยบุคคลเป้าหมายให้ได้รายละเอียดในเร่ืองท่ีเขาสนใจมากข้ึน และนาไปสู่การไตร่ตรอง (Evaluation) ว่าจะลองทาดู (Trial) หรือไม่ หากทดลองทาก็เป็นการ พิสูจน์ดว้ ยตนเองวา่ ผลจะออกมาดีหรอื ไมด่ ีอย่างไร วิธีการส่งเสริมรายบุคคล มุ่งส่งเสริม ช่วยเหลือ แนะนาเฉพาะบุคคลแต่ละรายในด้านเทคนิค และรายละเอยี ดเฉพาะอยา่ ง เมอ่ื เกษตรกรตัดสินใจรับวิธีการใหม่ๆ ไปปฏิบัติ (Adoption) เจ้าหน้าที่ ส่งเสริมก็ต้องช่วยเหลือติดตามแนะนา เพื่อให้งานเป็นไปอย่างถูกวิธีและแก้ปัญหาต่างๆ ท่ีอาจ เกิดขึ้น ท้งั นเี้ พอ่ื ให้เขาบรรลผุ ลสาเรจ็ และเกดิ ความพอใจเมือ่ งานสาเร็จตามท่คี าดหวัง ทุกวิธีการของการส่งเสริม ไม่มีวิธีการใดที่ดีที่สุด การส่งเสริมที่ประสบผลสาเร็จได้ดีข้ึน มีปัจจัยและองค์ประกอบหลายอย่างด้วยกัน ซ่ึงปัจจัยและองค์ประกอบเหล่านั้น อาจข้ึนอยู่กับตัว เกษตรกรหรือกลุ่มเป้าหมาย หรืออาจข้ึนอยู่กับเจ้าหน้าท่ีส่งเสริมหรืออาจจะเป็นส่ือในการถ่ายทอด ความรู้ไปยังกลุ่มเป้าหมายก็ได้ ดังน้ันจึงจาเป็นอย่างย่ิงท่ีนักส่งเสริมจะต้องเตรียมพร้อมในเรื่อง

13 ข้อมูลต่างๆ เก่ียวกับบุคคลเป้าหมาย เตรียมพร้อมในการเลือกวิธีในการส่งเสริม ตลอดจนเตรียม ความพรอ้ มเก่ยี วกับตวั ของเจา้ หน้าที่ส่งเสริมเองในการทาหน้าที่เป็นผู้นาการเปล่ียนแปลง (Change Agent) อยา่ งดที สี่ ดุ กอ่ นลงมอื ปฏบิ ัตงิ าน ความหมายของการสง่ เสริมการเกษตร เปน็ กระบวนการถา่ ยทอดวชิ าความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ และการบรกิ ารอนื่ ๆ ท่จี าเป็นตอ่ การผลติ ทางการเกษตรโดยอาศัยการใหก้ ารศึกษาแบบนอกโรงเรยี น ( Non-Formal Education ) แก่เกษตรกร ครอบครัวเกษตรกร ( Farmer and Farm Family ) และบุคคลอ่ืนทส่ี นใจ โดย วธิ กี ารฝึกปฏบิ ัตจิ รงิ ( Learning by doing )และเนน้ ถึงการให้ความชว่ ยเหลือเพ่ือใหเ้ กษตรกร สามารถชว่ ยเหลือตนเองได้ ( Help them for they can help them selves )ในการปรับปรุงพัฒนา ประสทิ ธิภาพในการผลติ และความเปน็ อยูด่ ขี ึ้นอย่างยง่ั ยนื ทัง้ ทางเศรษฐกิจ สังคม และวฒั นธรรม ( For sustainable better living condition both socio-economic and cultural pactices ) มผี ูเ้ ขียนอีกหลายคนใหค้ วามหมายไว้ ดเิ รก ฤกษ์หรา่ ย, 2524, วิจติ ร อาวกะ ลุ , 2535 , นาชัย ทนผุ ล, 2530 , Mounder Addison H. 1972 ความสาคญั ของการสง่ เสริมการเกษตร 1. การส่งเสริมการเกษตร เปน็ การให้การศึกษาท่มี ่งุ เน้นในการเพ่มิ ประสิทธภิ าพในการ ผลิต การเกษตร พร้อมท้งั มีการอนุรกั ษ์ พัฒนาและใช้ทรพั ยากรธรรมชาตทิ ี่เปน็ ปัจจัยการผลิตอยา่ ง ฉลาด ท่ีสอดคล้องกับสภาวะและความตอ้ งการของตลาด การอุตสาหกรรม อันจะเปน็ การสรา้ งและ พฒั นาคณุ ภาพชีวิตของประชาชนและพน้ื ฐานทางเศรษฐกิจ สังคมและความมน่ั คงประเทศ 2. การส่งเสรมิ การเกษตร เป็นการสนบั สนนุ ช่วยเหลอื ผปู้ ระกอบอาชีพเกษตรกรรมที่เปน็ ชาวไร่ ชาวนาผู้เลย้ี งปศสุ ัตว์และประมง ยุวเกษตรกร และแม่บ้านเกษตรกร ที่ทาการผลติ โดยใช้ ทรัพยากรธรรมชาติท่มี อี ยทู่ ้ังในชมุ ชน ทอ้ งถนิ่ ชนบท ให้เกิดประโยชนส์ งู สุดอยา่ งยัง่ ยืนในการ แก้ปัญหาตา่ งๆ ที่เกิดข้นึ ในสังคม เพอ่ื เป็นการเพิ่มรายได้ เพมิ่ ประสิทธิภาพในการทางาน และ เป็น การปรบั ปรงุ ของสงั คมและเศรษฐกิจของประชาชนและของประเทศให้ดขี ้ึน

14 3. การสง่ เสริมการเกษตรทม่ี ีคณุ ภาพ จะชว่ ยปรับปรงุ และเสริมสรา้ งประสิทธิภาพ และ สมรรถภาพของเกษตรกรในการประกอบอาชีพและการดารงชีพ การสง่ เสรมิ ท่ีดสี ามารถชว่ ยให้ เกษตรกรเกิดความรู้ ความเข้าใจ มที ศั นคติที่ดีต่ออาชพี เพ่ิมทกั ษะสมรรถภาพ และความสามารถ และประสทิ ธภิ าพในการผลิตของเกษตรกร เป็นการสร้างแรงเสรมิ กระตุ้นเตือนให้เกดิ ความ ปรารถนาอยา่ งแรงกล้าทีจ่ ะเรียนรู้เพ่ือการพฒั นาอาชีพและคุณภาพชีวติ ของตนเองและครอบครัว ตลอดไป ความจาเปน็ ทีต่ อ้ งมีการสง่ เสริมการเกษตร ประเทศไทยจาเป็นตอ้ งมกี ารสง่ เสรมิ การเกษตรดว้ ยเหตุผลดงั ตอ่ ไปนี้ 1 ประเทศไทยมพี ื้นฐานเศรษฐกิจทีพ่ งึ่ พงิ ระบบเกษตรกรรม และประชากรส่วนใหญข่ องประเทศ ประกอบอาชีพการเกษตรหรือเกี่ยวขอ้ งกับกจิ กรรมดา้ นการเกษตร 2 จานวนประชากรเพ่ิมข้ึนทงั้ ของประเทศและของโลก ยอ่ มตอ้ งการอาหารเพ่ิมขึ้นทง้ั ปริมาณและ คณุ ภาพ ขณะเดียวกนั ความต้องการในด้านปรมิ าณและคุณภาพอาหารของผู้บริโภคมีการ เปลย่ี นแปลงอยเู่ สมอ 3 การผลิตมกี ารแขง่ ขัน ในด้านชนิด ปรมิ าณ คณุ ภาพและราคาผลผลติ ในตลาดโลกและผลผลิต สามารถทดแทนกันสงู 4 เกษตรกรมีพ้ืนฐานการศกึ ษาตา่ ซึ่งสว่ นใหญ่สาเร็จการศกึ ษาภาคบงั คับคือชัน้ ประถมศึกษาจึงทา ให้มีขอ้ จากดั ในการรบั ร้แู ละ เข้าใจในวชิ าการเทคโนโลยีสมยั ใหมท่ เี่ ก่ียวข้องกบั การผลิต 5 เกษตรกรยังขาดการรวมกลุ่ม เพื่อร่วมกันดาเนินการผลิต การแปรรปู และการจาหนา่ ย ทาให้ขาด พลังต่อรองในการจาหน่าย 6 ทรพั ยากรธรรมชาติเสื่อมโทรมโดยเฉพาะทรพั ยากรดิน ทรพั ยากรน้า และทรัพยากรป่าไม้ทีม่ กี าร ใชเ้ พื่อการผลิตทีไ่ มฉ่ ลาด ปราศจากการอนุรกั ษแ์ ละพัฒนา 7 การผลติ ทางการเกษตรมปี ระสทิ ธิภาพตา่ ท้งั พืช สตั ว์ และประมง 8 เทคโนโลยกี ารเกษตรได้รับการพฒั นาให้กา้ วหน้าอยา่ งรวดเรว็ ทาให้ต้องส่งเสรมิ เผยแพรเ่ พื่อให้ เกษตรกรสามารถนาไปใช้ประโยชนใ์ นการผลติ อยา่ งเตม็ ศักยภาพและตรงตามความจาเป็น

15 วัตถปุ ระสงคข์ องการส่งเสริมการเกษตร การสง่ เสริมการเกษตรมีวัตถุประสงคห์ ลกั ดงั ต่อไปน้ี 1. เพ่อื ใหบ้ ริการเผยแพรค่ วามรทู้ างวิชาการและเทคโนโลยีที่จาเป็นในการพัฒนา พฤตกิ รรมของบุคคลเป้าหมายที่เปน็ ตวั เกษตรกร แมบ่ า้ นเกษตรกร เยาวชนเกษตร และผสู้ นใจ ท่วั ไปในการพัฒนาดว้ ยตนเอง เพื่อตนเองในดา้ น - ความรู้ ความเข้าใจ - ทักษะการปฏิบตั ิ - ทศั นคติท่นี ยิ มชมชอบ - นิสยั ทด่ี ใี นการเพิ่มประสิทธภิ าพการผลติ - คุณภาพชีวติ ท่ีดี 2. เพอ่ื พัฒนามาตรฐานความเปน็ อยู่ของครอบครวั ของบคุ คลเป้าหมายและของประเทศชาติ ในดา้ น - อาหาร - เคหกิจใน ครัวเรือน - รายได้ - ความสมั พนั ธใ์ นครวั เรือน - ประสิทธิภาพในการผลติ 3. เพื่อพฒั นาชมุ ชนเกษตรให้เจริญกา้ วหน้าในดา้ น - ดา้ นจิตใจ สังคม วฒั นธรรม สันทนาการและชวี ิตชุมชนชนบท - ความสัมพันธร์ ะหวา่ งคนในชุมชน - การมีอานาจต่อรอง - การเขา้ ถึงการบริการจากรัฐ - สภาพแวดลอ้ มของชุมชนที่สามารถพ่ึงตนเองได้ 4. เพอ่ื เพ่ิมประสิทธภิ าพการผลติ และกาไรสทุ ธิด้านการเกษตรอยา่ งยง่ั ยนื โดยใช้เทคนคิ วธิ ีการผลิตทเี่ หมาะสมในด้าน

16 - พนั ธุพ์ ชื / สตั ว์ - การเตรียมดิน การเพาะปลูก - การบารงุ ดแู ลรักษา - การเก็บเกี่ยวและการจัดการผลผลิต - การตลาด ปจั จัยการผลติ และผลผลติ - การใช้ปัจจยั การผลิต 5. เพ่อื ให้เกษตรกรไดร้ ับขา่ วสารขอ้ มูลและการบรกิ ารสนับสนุนที่จาเป็นและเพยี งพอต่อ การผลติ ดา้ นการเกษตรในด้าน - ด้านวิชาการเทคโนโลยี - ดา้ นการตลาด - ดา้ นการแปรรูป - แหลง่ สนิ เช่อื เงินทุน - โรค / แมลงศตั รูพืช - ดา้ นอื่นๆ 6. เพอื่ ให้เกษตรกรรจู้ ักการอนรุ ักษ์และการใชป้ ระโยชนท์ รพั ยากรธรรมชาตแิ ละ ส่ิงแวดลอ้ มอยา่ งชาญฉลาดในดา้ น - ทรัพยากรดิน - ทรัพยากรน้า - ทรพั ยากรป่าไม้ - ทรัพยากรสัตวป์ า่ ลกั ษณะสาคัญของการสง่ เสริมการเกษตร 1. เปน็ กระบวนการใหก้ ารศึกษาแบบนอกระบบโรงเรียนท่ียึดบุคคลเป้าหมายเปน็ ศูนย์กลางให้สามารถนาไปใชป้ ระโยชนไ์ ด้ทันที จาแนกเป็น 1.1 แบบอย่างไมเ่ ปน็ ทางการ ( non – formal education ) 1.2 แบบตามอธั ยาศัย ( informal education ) 1.3 แบบต่อเน่ือง ( Continuing education )

17 2. กลมุ่ เป้าหมายมหี ลายกลมุ่ หลายอาชีพหลายระดบั ท้ังในระดับกลมุ่ ชมุ ชน สังคม ประกอบด้วย 2.1 เกษตรกร 2.2 แมบ่ ้านเกษตรกร 2.3 เยาวชนเกษตร 2.4 ชมุ ชน 2.5 บคุ คลผู้สนใจท่ไี มเ่ ป็นเกษตรกร 3. ดาเนนิ การอยา่ งเป็นกระบวนการเป็นขนั้ ตอนท่ีมกี ารวางแผนมีความต่อเน่อื งและมีความยดื หย่นุ 4. ม่งุ ให้เกิดการเปลีย่ นแปลงพฤติกรรมของบุคคลเป้าหมายทั้งจิตใจและร่างกายด้วยความสมัครใจ ในการพัฒนาตนเอง เนน้ พัฒนาปัจเจกบุคคล (individual human development) ในด้าน KASHA 4.1 ความร้(ู Knowledge) 4.2 ทัศนคต(ิ Attitude) 4.3 ทกั ษะ ประสบการณก์ ารปฏบิ ตั (ิ Skill) 4.4 นิสยั (Habit) 4.5 คุณภาพชวี ิต(Aspiration) 5. มุ่งปรับปรงุ และพฒั นาบุคคลเป้าหมาย ในดา้ น 5.1 การเกษตร 5.2 เคหกิจเกษตร 5.3 เศรษฐกิจ 5.4 สงั คม / กลมุ่ 5.5 ทรัพยากรธรรมชาตทิ เี่ ป็นปจั จัยการผลิต 6. เป็นส่อื กลางระหว่างสถาบันศกึ ษาวิจยั ทเ่ี ปน็ แหล่งความรแู้ ละชมุ ชนเปา้ หมายด้วยวธิ ีการ ตดิ ต่อสอ่ื สารแบบยคุ ลวถิ ี (two-way communication) ท่ีมลี ักษณะ 6.1 เสนอปัญหา / ความต้องการ / ความจาเปน็ จากชมุ ชนเป้าหมาย สถาบันศกึ ษาวจิ ัย 6.2 นาความรู้ / เทคโนโลยี / แนวทางแกไ้ ขปัญหาจากสถาบนั ศกึ ษาวจิ ยั ชุมชน

18 เป้าหมาย โดยอาศัยวิธีการสาธติ เน้นการปฏบิ ัติจรงิ และใช้ผนู้ าท้องถิ่นเป็นกลไกสาคัญใน การพัฒนาคน หลักการส่งเสริมการเกษตร เพือ่ ให้การส่งเสรมิ การเกษตรสามารถดาเนนิ งานบรรลุเป้าหมายอย่างมปี ระสทิ ธภิ าพในกา เปล่ยี นแปลงพฤตกิ รรมของบุคลเป้าหมาย อาศยั หลกั การดังตอ่ ไปนี้ 1. ให้บริการความรทู้ ักษะ ประสบการณท์ ีจ่ าเป็นต่อการผลติ ดว้ ยการศึกษานอกระบบ โรงเรยี นแก่เกษตรกรบคุ คลเปา้ หมาย 2. เรมิ่ ต้นจากภาวะความเปน็ จริงทีม่ ีอยูข่ องเกษตรกร ได้แก่ สภาพปัญหา ความจาเป็น ทักษะประสบการณ์ ทรัพยากร ภมู ิปญั ญา ระบบนิเวศวัฒนธรรมและความพร้อมในด้านอืน่ ๆ 3. ให้เกษตรกรกล่มุ เป้าหมายเป็นแกนหลกั ในการคิดคน้ ตัดสินใจวางแผน การปฏิบตั ิ รับ ประโยชน์ ประเมินผล และดาเนนิ การต่อเนื่องเพื่อการพฒั นาตนเองด้วยตนเอง 4. ยดึ หลักประชาธิปไตยในการพัฒนาตนเองของบุคคลเป้าหมาย 5. เน้นการแกไ้ ขปัญหาและสนองความจาเปน็ ของเกษตรกรบคุ คลเปา้ หมาย 6. จดั ทาแผนงานโครงการและแผนปฏิบัตทิ ่ีมคี วามชดั เจนแน่นอน สามารถปฏบิ ัติได้ จนกระทงั่ บรรลุเป้าหมายด้วยความประหยดั และมปี ระสทิ ธิภาพ 7. ใชท้ รพั ยากรท่มี อี ยเู่ ดิมในท้องถ่นิ หมายรวมถงึ วัฒนธรรม ปราชญช์ าวบ้าน ภูมปิ ัญญา ทอ้ งถน่ิ และทรัพยากรทางกายภาพและทรัพยากรอ่นื ๆท่ีมีอยใู่ นพืน้ ที่ 8. ดาเนนิ การพัฒนาดว้ ยการชกั จูงใหผ้ ู้นาทอ้ งถนิ่ เป็นจุดเรม่ิ ตน้ 9. มีการปฏิบตั ิต่อเนื่อง จริงจังและมุ่งผลสมั ฤทธ์ิ 10. ปฏบิ ตั กิ บั สมาชกิ ในครอบครวั เกษตรกรทุกคน 11. เกษตรกรเป็นผู้ดาเนินกิจกรรมการพัฒนาตนเอง เจา้ หน้าทสี่ ่งเสริมเป็นผ้ใู ห้คาปรกึ ษา แนะนา

19 12. วางแผนส่งเสรมิ แตกต่างกันเปน็ พนื้ ทีย่ อ่ ยๆ เนือ่ งจากกลุ่มบุคคลเปา้ หมายท่มี คี วาม จาเปน็ แตกต่างกนั 13. ใช้คณะทางานสง่ เสริมทปี่ ระกอบด้วยผเู้ ชี่ยวชาญเฉพาะอยา่ งท่ปี ฏิบตั งิ านร่วมกัน 14. สรา้ งศรัทธาและทัศนคติท่ดี ตี อ่ การพฒั นาเองและการสง่ เสริมการเกษตรให้เกดิ ข้ึนกับ บุคคลเป้าหมาย 15. มกี ารติดตาม นิเทศให้คาปรึกษาแนะนาและประเมินผลอยา่ งตอ่ เน่อื งจรงิ จงั และ สม่าเสมอ 16. วางแผนและดาเนินงานท่ีสอดคลอ้ งกับสถานการณ์ทเี่ ปลี่ยนแปลงไปตามความตอ้ งการ ของผูบ้ ริโภค 17. รบั ทราบ เขา้ ใจและสอดคล้องในนโยบายยุทธศาสตร์และแผนพฒั นาประเทศ (คน้ คว้าเพมิ่ เติมใน บุญธรรม จิตตอ์ นันต์ 2540 บญุ สม วราเอกศิริ 2539 ปรสะ ิทธิ์ ปรคะ องศรี 2529 Mounder, A.H. (Editor and Author) 1972 ขอบเขตและความรับผิดชอบของงานสง่ เสรมิ การเกษตร โดยท่ัวไปงานส่งเสรมิ การเกษตรมภี ารกจิ ท่เี ป็นขอบเขตและความรับผิดชอบดังน้ี 1. การเพม่ิ ประสิทธิภาพในการผลติ ทางการเกษตรและพัฒนาคุณภาพของผลผลิต 2. การตลาดและการใชป้ ระโยชน์จากผลผลติ การแปรรปู เพ่อื เป็นการเพมิ่ มลู ค่าของผลิตผล 3. จัดการใหบ้ รกิ ารความรู้ ข้อมลู ข่าวสารและปจั จัยการผลิตอื่นๆ ทจ่ี าเป็นต้องใช้ในการผลิต การตลาดผลิตผลและปจั จยั การผลิต การแปรรูปผลผลติ 4. การอนุรกั ษ์ พฒั นาและประยุกตใ์ ช้ทรพั ยากรธรรมชาติท่ีเปน็ ปัจจัยการผลติ อย่างฉลาด เพ่ือให้ สามารถนาทรพั ยากรเหล่าน้ันไปใชส้ นองความต้องการอยา่ งไดผ้ ลดีตอ่ เนือ่ งและยง่ั ยืน 5. การจัดการไร่นาและบ้านเรอื นโดยเฉพาะการวางแผนการผลิต ทอ่ี ยทู่ ่ีอาศัย เคหกิจ รวมถึงการ แปรรูปถนอมอาหาร สขุ อนามยั ในครอบครวั 6. การพัฒนาและสนับสนุนกิจกรรมตา่ งๆ ของเยาวชน เช่น บุคลกิ ภาพ ความเปน็ ผูน้ า การรวมกลุ่ม การผลิต การบาเพ็ญประโยชน์สาธารณะ เป็นต้น 7. การพัฒนาความเปน็ ผู้นาของเกษตรกรทงั้ ด้านความคิดและการปฏิบตั ิ

20 8. การปรบั ปรุงสภาพชุมชนและพัฒนาทรพั ยากรให้เป็นสถานทท่ี ีน่ า่ อยู่อาศัยอยา่ งสงบสุข 9. การดาเนินกิจกรรมสาธารณะประโยชนแ์ ละการช่วยเหลอื เพือ่ การพัฒนาสังคม (ศึกษาเพิ่มเติมใน พจน์ บุญเรือง 2522 , ดิเรก ฤกษ์หรา่ ย 2526 , บุญธรรม จติ ต์อนันต์ 2540 และ Mounder, A.H. 1972) สภาพปัญหาดา้ นการส่งเสรมิ การเกษตรของประเทศ การส่งเสรมิ การเกษตรประสบปัญหาอุปสรรคสาคัญในดา้ นต่างๆ ดังต่อไปนี้ 1. ครอบครัวเกษตรกร 1.1 มีความรู้ตา่ ซง่ึ หวั หนา้ ครัวเรือนสว่ นใหญจ่ บชั้นศกึ ษาภาคบังคบั 1.2 มีภาวะหนสี้ นิ 1.3 บางสว่ นตดิ อบายมขุ และการพนนั 1.4 รายได้น้อยแตม่ คี า่ ใชจ้ า่ ยสงู 1.5 มกี ารอพยพยา้ ยถิ่นมาก 1.6 สภาพการตลาดและราคาผลผลติ ไมจ่ งู ใจในการผลิต 2. ผ้นู าชุมชน 2.1 ผู้นาบางสว่ นมคี วามรูว้ ิสยั ทัศน์แคบเพราะมีระดับการศึกษาตา่ และสว่ นใหญม่ อี ายุมาก 2.2 ขาดภาวะการเป็นผนู้ าที่ดีและไม่เข้าถึงแหล่งความรู้ 2.3 มีภาระงานมาก - ท้งั งานทางราชการจากทกุ กระทรวง - ไม่พฒั นาสมาชิกและครอบครวั ของตนเอง 2.4 บางสว่ นไมเ่ สยี สละแต่ทางานเพือ่ ตนเอง ครอบครวั และวงษาคณาญาติ 2.5 ไมม่ วี าระ หรือหมนุ เวยี นการทางาน ใหค้ วามนับถือกันตามระบบอาวุโส และมีความเกรง ใจกนั 3. เจ้าหนา้ ที่ส่งเสริมการเกษตร 3.1 มีภาระงานมาก กลา่ วคอื ในระดบั ตาบล เกษตรตาบล 1 ราย มพี ้ืนทร่ี ับผิดชอบ 1-2 ตาบล มี ท้งั งานในภาระหน้าทป่ี กติ ประมาณร้อยละ 40 และงานจรเสริม จากนโยบายรฐั มนตรี ผวู้ ่า CEO อบต. ประมาณร้อยละ 60 3.2 ขาดทักษะการสอนและการถา่ ยทอดความรู้ เพราะไม่ได้รบั การฝกึ อบรมอย่างจรงิ จังเรื่อง การเรียนการสอน 3.3 ขาดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน เพราะเจ้าหนา้ ทไี่ ม่ไดร้ ับการฝึกฝนอบรมเพ่ือการ

21 เพ่ิมพนู ความรู้ทักษะประสบการณ์ที่จาเป็นอยา่ งต่อเนอื่ ง 3.4 มภี าวะหนสี้ ินทเ่ี กดิ จากคา่ ตอบแทนทไ่ี ดร้ ับต่าแต่มคี า่ ใชจ้ ่ายสูง 4. ระบบงานส่งเสริมการเกษตร 4.1 วางแผนและดาเนนิ การพัฒนาการเกษตร มกั เป็นไปตามกรอบนโยบายของหนว่ ยงานและ เปน็ บทบาทหน้าทข่ี องเจา้ หน้าที่สง่ เสรมิ โดยทเ่ี กษตรกรไม่คอ่ ยมีส่วนรว่ มในการตัดสินใจและ การดาเนินงาน 4.2 ระบบการฝกึ อบรมและเยี่ยมเยยี น (T & V Systems) ผูน้ าการถ่ายทอดเม่ือได้รับการ ฝึกอบรมไปแล้วไม่ชว่ ยแพร่กระจายความรูท้ ี่ได้รบั การฝึกอบรม 4.3 มกี ารตดิ ตามประเมินผลไม่พอเพยี ง และไมเ่ ปน็ ไปตามแผนการประเมินทก่ี าหนดไว้ 4.4 จัดสง่ วัสดอุ ุปกรณ์และปจั จยั สนับสนนุ การผลิตล่าช้าไมต่ รงตามฤดูกาลทเี่ กษตรกร จาเปน็ ตอ้ งใช้ 4.5 งบประมาณดาเนินการมีไมพ่ อเพยี ง หมายรวมถึงคา่ เบย้ี เลีย้ ง คา่ นา้ มนั คา่ วัสดุ คา่ เอกสาร 5. การวจิ ัยทางส่งเสรมิ การเกษตร 5.1 ขาดการวจิ ัย เพราะนักวจิ ัยทางส่งเสรมิ การเกษตรมนี ้อย ขาดแรงจูงใจ และผลงานวจิ ัย ไม่ไดน้ าไปใช้ประโยชน์ 5.2 นกั วิจยั ไม่เข้าใจสภาพแวดล้อมและความตอ้ งการท่แี ท้จริงของเกษตรกร 5.3 ขาดการศึกษาคน้ คว้าวิจัยค้นหาแนวทาง / วธิ ีการสง่ เสริม / เน้ือหา / รูปแบบ ทด่ี ีและ เหมาะสมกบั แต่ละทอ้ งถ่นิ และเกษตรกรทีส่ ภาพทางเศรษฐกิจและสังคมวฒั นธรรมท่ีแตกต่าง กนั โดยเฉพาะในเขตชนบทท่ียากจนเปน็ ความรทู้ ่ตี ้องมกี ารลงทุนสงู aaaaaaaaaaaaaaaaaaaaaaaaaaaaaaaaaaaaaaaaaaaaaaaaaaaaaaaaaaaaaaaaaaaaaaaa


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook