Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore เมืองรอง

เมืองรอง

Published by kannikar[กรรณิการ์] khaw-ngern, 2021-12-22 00:33:19

Description: เมืองรอง

Search

Read the Text Version

ท่องเทย่ี ววถิ ีพทุ ธในเมอื งรอง 55 จงั หวัดของประเทศไทย Buddhist Tourism Thailand’s Emerging Cities 55 provinces



หนงั สอื อเิ ล็กทรอนกิ สเ์ ลม่ นผ้ี ลติ ขึน้ ภายใต้ชดุ โครงการวิจัย เรอื่ ง นวัตกรรมขอ้ มลู กลางเพอื่ ส่งเสรมิ การทอ่ งเทยี่ ววิถพี ทุ ธในระดับนานาชาติ Innovation of Central Information for Enhancing Smart Buddhist Tourism at International Level บณั ฑิตวิทยาลัย มหาวทิ ยาลัยมหาจฬุ าลงกรณราชวิทยาลัย พุทธศกั ราช 2564 ได้รบั ทนุ อุดหนุนการวิจยั จากมหาวิทยาลัยมหาจฬุ าลงกรณราชวทิ ยาลัย

MCU RS 800764009

บทสรุปผบู้ ริหาร งานวิจัยน้ีมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพ่ือสำรวจและออกแบบฐานข้อมูลเกี่ยวกับการ ส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีพุทธในเมืองรอง 55 จังหวัด 2) เพ่ือรวบรวมข้อมูลภาคสนามเกี่ยวกับแหล่งท่องเท่ียว วถิ ีพุทธในเมืองรอง 55 จังหวัด และ 3) เพื่อพัฒนาฐานข้อมูลสำหรับส่งเสริมการท่องเท่ียววิถีพุทธในเมืองรอง 55 จงั หวดั การวิจัยครั้งนี้มุ่งเน้นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) โดยการเชื่อมโยงความรู้ของบุคลากรเกี่ยวกับการท่องเที่ยวกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเก่ียวกับวัด ท่องเท่ียวและสำนักปฏิบัติธรรมทั้ง 55 จังหวัด โดยมีวิธีการศึกษาใน 4 ลักษณะได้แก่ 1) การศึกษาในเชิง เอกสาร 2) การศึกษาภาคสนามจากการ 3) ประชุมสัมมนาในเชิงปฏิบัติการ และ 4) การสังเกตแบบไม่มีส่วน รว่ ม กลมุ่ เป้าหมายในการวจิ ัย ได้แก่ บุคลากรเก่ยี วกบั การท่องเท่ียวกับผู้ทม่ี สี ่วนเก่ียวข้องเกี่ยวกบั วัดทอ่ งเทย่ี ว และสำนักปฏิบัติธรรม จำนวน 79 คน จากเมืองรอง 55 จังหวัด ประกอบด้วย วัดท่องเที่ยว 55 แห่ง และ สถานปฏิบัติธรรม 24 แห่ง รวมทั้งผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานต่าง ๆ เช่น ผู้อำนวยการสำนักงาน พระพุทธศาสนาแห่งชาติ, นักวิเคราะห์นโยบายและแผน กรมศิลปากร, หัวหน้ากลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน,การ ท่องเที่ยว กองพัฒนาแหล่งท่องเท่ียว กรมการท่องเท่ียว, ผู้เช่ียวชาญเฉพาะด้านพัฒนาแหล่งท่องเท่ียว กรมการท่องเที่ยว, ผู้อำนวยการภูมิภาคภาคกลาง การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, ผู้อำนวยการภูมิภาคภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ การท่องเท่ียวแห่งประเทศไทย, ผู้อำนวยการภูมิภาคภาคเหนือ การท่องเท่ียวแห่ง ประเทศไทย, ผู้อำนวยการภูมิภาคภาคตะวันออก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, ผอู้ ำนวยการภูมิภาคภาคใต้ การท่องเท่ียวแห่งประเทศไทย, นายกสมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย ตลอดถึงนักวิชาการด้านการ ท่องเท่ยี ว ผลการศึกษาพบว่า วัดท่องเที่ยว 55 แห่ง และสถานปฏิบัติธรรม 24 แห่ง รวมท้ังสิ้น 79 แห่ง ใน เมืองรอง 55 จังหวัด เป็นวัดที่มีประวัติศาสตรท์ ี่เก่าแก่และมีคุณค่า มีสงิ่ ที่น่าสนใจภายในวัด เช่น โบสถ์ วิหาร เจดีย์ พระพุทธรูป ศาลาการเปรียญ หอไตร เป็นต้น มีธรรมชาติแวดล้อมที่สวยงาม มีความเหมาะสมด้าน สภาพแวดล้อม เป็นศูนยก์ ลางของกิจกรรมท้ังในแง่ของกิจกรรมทางศาสนา เช่น สวดมนต์ ไหว้พระ ทำบุญตัก บาตร วันบูรพาจารย์ หรือวันสำคัญทางศาสนา หรือเป็นศูนย์กลางการท่องเท่ียวโดยมีจุดเด่นที่ส่ิงดึงดูดใจท้ัง ภายในวัดเอง หรือชุมชนโดยรอบวัด เช่น วัฒนธรรมหรือประเพณีท้องถิ่น หรือสถาปัตยกรรมโบราณสถาน เฉพาะถิ่น แหล่งศักด์ิสิทธิ์ บ่อน้ำศักด์ิสิทธ์ิ เป็นต้น ในขณะท่ีวัดหลายแห่งมีความเหมาะสมด้านสถานท่ีปฏิบัติ ธรรม ซึ่งเหล่านนี้เป็นวัดที่มีศักยภาพด้านการเป็นแหล่งท่องเที่ยว ประกอบกับวัดเหล่าน้ันส่วนใหญ่จะมี คุณสมบัติที่เข้ากับองค์ประกอบการท่องเที่ยวท้ัง 5 องค์ประกอบ คือ ความสามารถในการเข้าถึ ง (Accessibility) ส่ิงดึงดูดใจ (Attraction) สิ่งอำนวยความสะดวก (Amenities) กิจกรรม (Activities) การ ให้บริการของแหล่งท่องเที่ยว (Ancillary Service) วัดท่องเท่ียว 55 แห่ง และสถานปฏิบัติธรรม 24 แห่ง

รวมท้ังส้ิน 79 แห่ง ในเมืองรอง 55 จังหวัด แบ่งเป็นเส้นทางท่องเท่ียว ได้ 5 เส้นทาง คือ 1. เส้นทางสาย โบราณสถาน/วัตถุ (หรือพุทธศิลป์) 2. เส้นทางสายศิลปกรรมร่วมสมัย 3. เส้นทางสายศาสนสถาน /ศาสน ธรรม 4. เส้นทางสายศาสนวัตถุ/ศาสนบุคคล 5. เส้นทางสายประเพณีวัฒนธรรมและอนุรักณ์ธรรมชาติ การ ท่องเท่ียวตามเส้นทางเหลานั้นจะทำให้นักท่องเที่ยวได้รับคุณค่าทั้งท่ีเป็นรูปธรรมและนามธรรม คือ คุณค่าที่ เป็นรูปธรรม (มิติเชิงสันทนาการ) เช่น ชมหรือสัมผัสสถาปัตยกรรม หรือศิลปกรรมด้านศาสนา วัดวาอาราม ศาสนสถาน และสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา หรือความสนุกสนาน เพลิดเพลิน ไหว้พระ ขอพร คุณ คา่ ท่ีเป็นนามธรรม (มิติเชิงการเรียนรู้และการปฏิบัติธรรม) ได้แก่ การท่องเที่ยวควบคู่ไปกับการเรยี นรู้โดยเกิด การบูรณาการการเรียนรู้ทั้งในด้านประเพณี วัฒนธรรม กิจกรรม และความเชื่อและหลักคำสอนทาง พระพทุ ธศาสนาเพ่อื การรูจ้ กั ทกุ ขแ์ ละวิธีการดบั ทกุ ข์ ตลอดจนการพฒั นาจิตใจมนุษย์ใหส้ ูงขน้ึ ฐานข้อมูลวัดท่องเท่ียว 55 แห่ง และสถานปฏิบัติธรรม 24 แห่ง รวมทั้งสิ้น 79 แห่ง ในเมืองรอง 55 จังหวัด จะเปน็ แหล่งขอ้ มลู ท่อี ำนวยประโยชน์แก่หนว่ ยงานต่าง ๆ เช่น ประโยชนด์ ้านเศรษฐกิจ: หน่วยงาน ด้านการท่องเท่ียวทั้งภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงชุมชนในพื้นที่ ประโยชน์ด้านสังคม: หน่วยงานที่ทำหน้าที่ ส่งเสริมพระพุทธศาสนา และผู้สนใจท่ัวไป สามารถเข้าถึงระบบข้อมูลกลางฯ ได้อย่างสะดวกและประหยัด ต้นทุน ประโยชน์ด้านส่ิงแวดล้อม: หน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงชุมชนในพ้ืนที่เป้าหมาย สามารถเข้าถึงระบบข้อมูลกลางแบบออนไลน์ ได้อย่างสะดวกและประหยัดต้นทุน และเป็นเป็นแหล่งข้อมูล หลักที่จะใช้เปน็ แนวทางการปรับปรุง พัฒนา และประชาสัมพันธ์วัดอื่น ๆ ให้เป็นแหล่งท่องเท่ียววิถีพุทธต่อไป ในอนาคต คณะนักวิจยั มหาวทิ ยาลัยมหาจฬุ าลงกรณราชวทิ ยาลัย ๑๘ สิงหาคม ๒๕๖๔

สารบญั จ บทสรปุ ผูบ้ รหิ าร ช สารบัญ 1 วัดท่องเที่ยว ในเมอื งรอง 55 จังหวัด 2 2 1.1 เส้นทางสายโบราณสถาน/โบราณวัตถุ 8 1.1.N0 เสน้ ทางสายโบราณสถาน/โบราณวัตถุ ภาคเหนือ 13 1.1.N2 วัดพระธาตหุ รภิ ญุ ชยั วรมหาวหิ าร จังหวดั ลำพูน 17 1.1.N3 วดั พระบรมธาตุ (ทุ่งย้ัง) จงั หวัดอตุ รดติ ถ์ 21 1.1.N4 วดั พระบรมธาตุ (วัดหลวงพ่อทันใจ) จังหวัดตาก 26 1.1.N5 วดั พระบรมธาตุ จังหวดั กำแพงเพชร 1.1.A0 เสน้ ทางสายโบราณสถาน/โบราณวัตถุ ภาคตะวันออกเฉยี งเหนอื 60 คณะนกั วิจัย

1 วดั ทอ่ งเทีย่ ว ในเมอื งรอง 55 จังหวดั

2 1.1 เสน้ ทางสายโบราณสถาน/โบราณวตั ถุ สถานท่ีสำคัญในเส้นทางสายน้ีได้แก่ พระเจดีย์ (พระธาตุ) โบสถ์ วิหาร ปราสาท พระ ปรางค์ พระพทุ ธรูป หอไตร 1.1.N0 เส้นทางสายโบราณสถาน/โบราณวตั ถุ ภาคเหนือ วัดพระธาตุดอยตงุ พระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุส่วน อ.แม่สาย จ.เชียงราย พระรากขวัญเบื้องซ้ายหรือกระดูกไหปลา รา้ วั ด พ ร ะ ธ า ตุ ห ริ ภุ ญ ชั ย พระบรมธาตุหริภุญชัย เจดีย์แบบล้านนา วรมหาวหิ าร ไทยแท้ ภายในบรรจุพระเกศบรมธาตุ อ.เมือง จ.ลำพูน บรรจุในโกศทองคำ ประดิษฐานในพระ เจดีย์ วดั พระบรมธาตุ ต.ทุง่ ย้ัง อ.ลบั แล จ.อุตรดิตถ์ เจดีย์พระบรมธาตุ หรือพระบรมธาตุทุ่ง ยั้ง เป็นเจดีย์เก่าแก่แบบลังกาทรงกลม ฐานเป็นรู(ปส่ีเหลี่ยม 3 ชัน้ วัดพระบรมธาตุ (วัดหลวงพ่อ พระบรมธาตุ เป็นพระธาตุประจำปีเกิด ทนั ใจ ของปีมะเมยี อ.บา้ นตาก จ.ตาก วัดพระบรมธาตุ ต.นครชมุ พระบรมธาตุเจดีย์ เป็นองค์เจดีย์ขนาด อ.เมอื ง จ.กำแพงเพชร ให ญ่ ที่ มี ค ว า ม ส ว ย ง า ม อี ก แ ห่ ง ห นึ่ ง ข อ ง เมืองไทย ภายในบรรจุพระบรมสารรี ิกธาตุ 9 องค์

3 1.1.N1 วัดพระธาตุดอยตงุ จังหวัดเชยี งราย ทตี่ ั้ง: ตำบลหว้ ยไคร้ อำเภอแมส่ าย จังหวดั เชยี งราย 57220 ขอ้ มลู ตดิ ตอ่ โทร. : 053-767-015-7, 080-954-5113, 081-960-2758 เฟสบคุ๊ : วดั พระธาตดุ อยตุงจังหวดั เชียงราย, ตดิ ต่อท่พี ักได้ที่คุณเก๋ 088-291-5879 ประวัติความเป็นมา วัดพระธาตุดอยตุง หรือ วัดพระมหาชินธาตุเจ้าต้ังอยู่บริเวณส่วนที่เรียกว่าหน้าอกของ ดอยนางนอน ตำบลห้วยไคร้ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ซ่ึงเป็นถ่ินท่ีอยู่ของชาวเขา ซ่ึงดอยตุงมี ระยะทางห่างจากอำเภอเมืองเชียงรายประมาณ 46 กม. เป็นท่ีบรรจุพระรากขวัญเบื้องซ้าย (กระดูก ไหปลาร้า) ของพระพุทธเจ้า นำมาจากประเทศอินเดีย นับเป็นคร้ังแรกท่ีพระพุทธศาสนาได้มา ประดิษฐานท่ีล้านนาไทย เมื่อก่อสร้างพระสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุน้ี ได้ทำธงตะขาบ (ภาษา พน้ื เมืองเรียกว่า ตงุ ) ใหญ่ยาวถงึ พันวา ปักไว้บนยอดดอย จึงปรากฏนามว่า๑ ดอยตุง พระธาตุดอยตุง เป็นปูชนียสถานที่สำคัญ เมื่อถึงเทศกาลนมัสการพระธาตุดอยตุงในวันเพ็ญเดือน 4๒ จะมี พุทธศาสนิกชนทั้งชาวไทยและเพื่อนบ้านจากประเทศใกล้เคียง เช่น ชาวไทยใหญ่ ชาวพม่า ชาวลาว เดินทางเข้ามานมัสการทุกปีพระธาตุดอยตุงถือเป็นพระธาตุประจำปีเกิดของคนเกิดปีกุน ท่ีนิยมมา สกั การะเพื่อความเป็นสิรมิ งคล นกั ทอ่ งเทยี่ วสามารถมองเหน็ พระธาตุดอยตุงได้ในระยะไกลเนื่องจาก พระธาตุดอยตุงตั้งอยสู่ งู กว่าระดบั นำ้ ทะเลประมาณ 2,000 เมตร สิง่ ท่ีนา่ สนใจภายในวดั ๑ สัมภาษณ์ พระพุทธิวงศ์วิวัฒน์ (บุญมา มานิโต), เจ้าอาวาส วัดพระธาตุดอยตุง และวัดพระสิงห์, ท่ีปรกึ ษาเจา้ คณะจงั หวดั เชียงราย, 9 กุมภาพันธ์ 2564. ๒ สัมภาษณ์ พระพุทธิวงศ์วิวัฒน์ (บุญมา มานิโต), เจ้าอาวาส วัดพระธาตุดอยตุง และวัดพระสิงห์, ทปี่ รกึ ษาเจ้าคณะจังหวดั เชยี งราย, 9 กุมภาพนั ธ์ 2564.

4 พระธาตุ สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอชุตราช กษัตริย์ผู้ครองเมืองโยนกนาคพันธุ์ พระ มหากัสสปะเถระอรหันต์ ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุส่วนพระรากขวัญเบ้ืองซ้าย (กระดูกไหปลา ร้า) แล้วมอบให้แก่พระเจ้าอชุตราช จึงได้สร้างเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุน้ันไว้บนดอยแห่งนี้ พระมหากัสสะเถระจึงได้ให้ทำตุง (ธง) มีความยาวเป็นพันวาปักบนยอดเขา มองเห็นแต่ไกลจึงเรียก ดอยน้ีว่า ดอยตุง ท้ังน้ีพระเจา้ อชตุ ราชไดพ้ ระราชทานทองคำให้ปู่เจ้าย่าเจ้าลาวจกผเู้ ป็นใหญ่ในอาณา เขตน้ี พร้อมบรวิ าร 500 ครอบครัวดูแลรักษาพระธาตุ ดังท่ีพระพุทธเจ้าทรงตรัสและมีพุทธฎีกาไว้กับ พระอานนท์ ต่อมา พระมหาวชิระโพธิเถระอรหันต์ ได้อาราธนาพระบรมสารีริกธาตุหลาย พระองค์ มาถวายเจ้ามังรายนราช จงึ ใหส้ รา้ งพระเจดีย์อีกองค์ใกล้กับเจดียอ์ งค์เดมิ นับจากนนั้ เป็นต้น มาพระธาตุดอยตุงจงึ มีเจดีย์สององค์มาจนถึงทุกวันน้ี๓ ในตำนานกล่าวว่า พระธาตุท่ีนำมาคร้ังแรกทำ อภนิ หิ ารจมลงในดินลกึ 8 ศอก สว่ นคร้งั ท่ีสองจมลงในดินลึก 7 ศอก ตุง เป็นสญั ลักษณ์สำคัญของชาวล้านนา๔ หมายถึงความเจรญิ รุ่งเรือง และชัยชนะ ในวัด จะมี รอยปักตุง เป็นรอยแตกบนผืนดิน เป็นรอยที่ใช้ปักฐานตุงบูชาพระธาตุ เม่ือประมาณ 1,000 ปีท่ี แล้ว ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2470 องค์พระธาตุทรุดโทรมมาก ครูบาเจ้าศรีวิชัย กับประชาชนชาวเมือง เชียงรายได้บูรณะขึ้นใหม่ โดยสร้างเป็นเจดีย์องค์ระฆังขนาดเล็กสององค์บนฐานแปดเหล่ียม ตาม ศิลปะแบบล้านนา ๓ สัมภาษณ์ พระพุทธิวงศ์วิวัฒน์ (บุญมา มานิโต), เจ้าอาวาส วัดพระธาตุดอยตุง และวัดพระสิงห์, ที่ปรกึ ษาเจ้าคณะจงั หวดั เชยี งราย, 9 กมุ ภาพนั ธ์ 2564. ๔ สัมภาษณ์ พระพุทธิวงศ์วิวัฒน์ (บุญมา มานิโต), เจ้าอาวาส วัดพระธาตุดอยตุง และวัดพระสิงห์, ที่ปรกึ ษาเจ้าคณะจงั หวดั เชียงราย, 9 กุมภาพันธ์ 2564.

5 การบูรณะครั้งหลังสุด มีขึ้นเม่ือปี พ.ศ. 2516 โดยกระทรวงมหาดไทย ได้สร้างพระธาตุ องค์ใหม่ขึ้นครอบพระเจดีย์เดิมไว้องค์พระธาตุเป็นสีทองขนาดเล็กสององค์ สูงประมาณ 5 เมตร บน ฐานสี่เหลี่ยมย่อมุม มีซุ้มจระนำส่ีทิศ องค์ระฆังและปลียอดมีขนาดเล็ก ออกแบบโดยนายประกิต (จิตร) บัวบุศย์ การสร้างพระธาตุองค์ใหม่นั้นใช้วิธีหล่อคอนกรีตมาประกอบครอบเจดีย์คู่ทั้งสององค์ เพ่ือให้การเปล่ียนแปลงแบบขององค์พระธาตุดังกล่าวสามารถอนุรักษ์สถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิมไว้ ภายในได้ ๕ และมีการบรู ณะครั้งหลังสดุ เมื่อพ.ศ 2550 โดยคณะศิษยานุศิษย์ของพระราชพรหมญาณ ในปี พ.ศ. 2549 กรมศิลปากรมีโครงการรื้อถอนรูปแบบศิลปกรรมของพระธาตุดอยตุงที่ กระทรวงมหาดไทยได้ก่อครอบพระธาตุองค์เดิมไว้ โดยให้เหตุผลว่า เพื่อเป็นไปตามร้องขอของคน ทอ้ งถ่นิ ไปทางจงั หวัด และสง่ ต่อมายังสำนักโบราณคดเี ชียงใหม่ ให้ชว่ ยฟื้นฟูพระสถูปในสมัยครูบาศรี วิชัย นักบุญแห่งล้านนา ได้บูรณะไว้ตามภาพถ่ายที่ปรากฏอยู่ในวิหารพระธาตุดอยตุง ซึ่งคณะทำงาน ไดม้ กี ารหารือทางเจา้ คณะอำเภอเรียบรอ้ ยแล้ว และได้ ใหน้ ำพระสถูปครอบที่ถอดออกมาไปตั้งไว้ท่ีวัด น้อยพระธาตุดอยตุง ซึ่งอยู่ด้านล่างก่อนขึ้นดอยพระธาตุ จากนั้นทำการบูรณะพระสถูปเจดีย์สมัยครู บาศรีวิชัยให้คืนกลับมาสภาพดังเดิมให้แล้วเสร็จก่อนเดือนธันวาคม พ.ศ. 2550 ใช้งบประมาณท้ังส้ิน 21 ล้านบาท โดยรวมค่าปรับปรุงภูมิทัศน์ อาทิ ปรับปรุงพ้ืนท่ีลานพระธาตุให้กว้างข้ึน ร้ือโรงเก็บวัสดุ อุปกรณ์ เคลื่อนยา้ ยพระสงั กจั จายน์และพระพทุ ธรูปองค์ใหญ่ปางต่าง ๆ ไปตั้งประดิษฐานในสถานทที่ ี่ เหมาะสม ปรับปรุงภูมิทัศน์ฐานบันไดนาคทางขึ้น เพ่ือความสะดวกต่อพุทธศาสนิกชนซึ่งไปนมัสการ พระธาตุเป็นจำนวนมากของทกุ ปี ปัจจุบันพระธาตเุ ป็นสีทองขนาดเล็กสององค์ สูงประมาณ 5 เมตร บนฐานส่ีเหลี่ยมย่อมุม มซี ุ้มจระนำสี่ทิศ องค์ระฆังและปลียอดมีขนาดเล็ก พระธาตดุ อยตุง อยบู่ นดอย สงู แวดลอ้ มดว้ ยป่ารกคร้มึ เรียกวา่ สวนเทพารักษ์ เช่อื กนั ว่า เปน็ ท่สี ถติ ของเทพารกั ษ์และสิง่ ศักด์ิสทิ ธ์ิ ๕ สัมภาษณ์ พระพุทธิวงศ์วิวัฒน์ (บุญมา มานิโต), เจ้าอาวาส วัดพระธาตุดอยตุง และวัดพระสิงห์, ท่ีปรกึ ษาเจา้ คณะจังหวัดเชียงราย, 9 กุมภาพันธ์ 2564.

6 พระอุโบสถ สร้างเมื่อ พ.ศ 2500 โดยองค์สรภาณมธุรส (บ๋าวเอิง) เจ้าอาวาสวัดสมานัมบริหาร กรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยอุบาสิกาทองคำ ฮ้ันตระกูล เป็นชาวจังหวัดพะเยา พร้อมท้ังสร้างพระ ประธานซึง่ พระพกั ตรค์ ลา้ ยพระพุทธเจา้ ตามนมิ ติ ของท่านบ๋าวเอิง และพระสาวก หมอชีวกโกมารภัจ จุดชมววิ เป็นจุดชมวิว และเป็นลานธรรม ต้องเดินลงไปด้านข้างเนินพระธาตุประมาณ 400 เมตร ทางเดินค่อนข้างสะดวกสบาย ววิ สวย ถ่ายภาพตอนเชา้ หรอื ตอนเย็นจะไดภ้ าพท่สี วยงาม บ่อน้ำทิพย์ เป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ บริเวณห่างออกมาจากพระธาตุเจ้าดอยตุง ใกล้ม่อนฤาษี อยู่ในแอ่งเขา จะถูกตักมาใช้ในพิธีการศักด์ิสิทธต์ิ ามโอกาสสำคัญ และในพิธีสรงน้ำพระธาตุดอยตุง ที่ จัดในวนั ขนึ้ 15 คำ่ เดือน 4 คณุ ค่าทั้งรปู ธรรมและนามธรรม รปู ธรรม: พระมหาชินธาตุเจ้าดอยตุง มีคุณค่าเป็นปูชนียสถานและศาสนสถานศักดิ์สิทธิ์ คู่ชาวล้านนา ชาวเชียงรายรวมทั้งประเทศเพ่ือนบ้านใกล้เคียง เช่น ชาวเชียงตุงในรัฐฉาน พม่า ชาว ลาว ที่มีความศรัทธาความเชื่อมั่นต่อองค์พระธาตุดอยตุงได้มานมัสการทั้งปี เมื่อถึงเทศกาลนมัสการ

7 พระธาตุดอยตุงจะมีพุทธศาสนิกชนท้ังชาวไทยและเพื่อนบ้านมาในงาน “หกเป็งล่องฟ้า ไหว้สาพระ ธาตุดอยตุง” ได้เห็นคุณค่าด้านศาสนพิธีอีกประการหน่ึง และเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงพุทธ ของไทย นามธรรม: ด้วยความศรทั ธามั่นคงในพระพุทธศาสนาของผกู้ ่อต้ังสรา้ งพระเจดีย์พระธาตุ เจ้าและวัดพระธาตุดอยตุง พร้อมทั้งความศรัทธาของผู้มากราบไหว้บูชา และผู้เสียสละทรัพย์ จาคะ เพ่ือบูรณะปฏิสังขรณ์ หลายรุ่นต่อหลายรุ่น เห็นถึงความเป็นอนิจจัง เสื่อมสลาย เปล่ียนแปลง ตลอดเวลาเม่ือถึงเวลาของกฎธรรมชาติ ตามยุคตามสมัยที่ปรากฏในตำนาน หลักฐานทาง ประวัติศาสตร์ แต่ความศรัทธาน้ันอยู่ในจิตในใจของผู้มากราบไหว้หลายยุค หลายสมัยเช่นกัน ยังให้ เหน็ ความเจริญรุ่งเรอื งของพระพทุ ธศาสนาต่อไป กจิ กรรม กิจกรรมพเิ ศษประจำปี: - งานประเพณีพระธาตุเจ้าดอยตุง “หกเป็งล่องฟ้า ไหว้สาพระธาตุดอยตุง” ตรงกับขึ้น 14 - 15 ค่ำ เดือน 4 (เดือน 6 ทางเหนือ) เช้าวันขึ้น 14 ค่ำ พร้อมกันเวลา 6.00 น. ถวายอาหาร พระภิกษุ-สามเณร เวลา 7.00 น. ทำพิธีเปิดโดยผู้ว่าราชการจังหวัด แล้วจะเดินขึ้นตามรอยครูบาศรี วิชัย ประมาณ 9 กิโลเมตร เดินมาตามทางลัดตามรอยครูบาศรีวิชัย (ถ้ารถยนต์จะไปคนละเส้นทาง) ประมาณบ่าย 15.00 น. ตักน้ำบ่อทิพย์ มาอบรมสมโภชน์พร้อมกับน้ำสรงพระราชทานจากสมเด็จ พระเทพรตั นราชสดุ า เพ่ือสรงองคพ์ ระธาตุ - งานทำบุญสลากภัตรประจำปี ตรงกับวันข้ึน 15 ค่ำ เดือน 10 (เดือน 12 ทางเหนือ) จะ นิมนต์มาทั้งหมดประมาณ 199 รูปทุกปี ศรัทธาญาติโยมจะนำต้นกัณฑ์สลากมาถวาย ทางเหนือ เรียกว่า “ทานก๋วยสลาก” หรือ “กินข้าวสลาก” เป็นการถวายสังฆทานโดยแท้ โดยไม่เจาะจงภิกษุ สงฆร์ ูปใดรูปหนง่ึ โดยการจับสลาก กิจกรรมประจำวัน: ทุกวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ ของทุกต้นเดือน ปฏิบัติธรรม 3 วัน 3 คืน ปิดอบรมในวนั จันทร์ เวลา 8.00 น. ให้โอกาสคนที่ทำงานหยุดเสาร์-อาทิตย์ หรืออาจจะรวมกลุ่มกัน มาเพอ่ื ปฏิบตั ิธรรมหรอื มาเที่ยวก็ได้ ส่ิงอำนวยความสะดวก: บริเวณพระธาตุเจดีย์เป็นเขตพุทธาวาส จึงต้องเข้าห้องน้ำ บริเวณม่อนฤาษี มีห้องน้ำที่สะอาดทันสมัยจำนวนหลายห้อง ก่อนข้ึนบันไดพญานาคไปกราบ สักการะบูชาพระธาตุ และมีห้องพัก สามารถพักได้ประมาณ 100 คน อยู่ในเขตสังฆาวาสท่ีวัดน้อย ดอยตุงดา้ นล่าง เป็นสถานปฏิบตั ธิ รรม สถานท่ที ่องเที่ยวใกลเ้ คียง สถานท่ีท่องเที่ยวใกล้เคียงวัดพระธาตุดอยตุง เช่น บ้านอาข่าผาฮ้ี (ห่างจากวัดพระธาตุ ดอยตุงประมาณ 7.4 กม.), บา้ นผาหมี (ห่างจากวัดพระธาตุดอยตุงประมาณ 13.5 กม.), พระตำหนัก

8 ดอยตุง (ห่างจากวัดพระธาตุดอยตุงไปประมาณ 15 กม.), ขุนน้ำนางนอน (ห่างจากวัดพระธาตุดอย ตุงไปประมาณ 18.5 กม.), วัดถ้ำเสาหินพญานาค (ห่างจากวัดพระธาตุดอยตุงประมาณ 23.8 กม.), วดั พระธาตุดอยเวา (หา่ งจากวดั พระธาตดุ อยตงุ ประมาณ 25.7 กม.) เส้นทาง/การเดินทาง การเดินทาง : ใช้เส้นทางเชียงราย-แม่สาย - พระตำหนักดอยตุง ก่อนจะถึงทางแยกเข้า พระตำหนักดอยตุงให้ตรงไปทางสวนรุกขชาติดดอยช้างมูบ จะมีป้ายบอกทางขึ้นวัดพระธาตุดอยตุง ระยะทางจากแยกพระตำหนักถึงวดั ประมาณ 7 กิโลเมตร และระยะทางจากเชียงรายถึงพระธาตุดอย ตงุ ประมาณ 60 กิโลเมตร 1.1.N2 วดั พระธาตุหรภิ ุญชัยวรมหาวหิ าร จังหวดั ลำพูน ทต่ี งั้ : ถนนรอบเมอื งใน ตำบลในเมอื ง อำเภอเมอื งลำพูน จงั หวัดลำพนู 51000 ขอ้ มลู การติดต่อ : โทร.: 081 7962466 (เลขานุการเจ้าอาวาส) เวบ็ ไซด์: https://www.facebook.com/watpratadhariphunchai/ ประวัตคิ วามเปน็ มา วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร สร้างข้ึนในพุทธศตวรรษที่ 17 ในรัชสมัยของพญาอา ทิตยราช พระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จามเทวีวงศ์๖ ที่แห่งน้ีเคยเป็นพระราชฐานของพระองค์ซึ่ง พระราชทานอุทิศถวายให้เป็นวดั พระธาตฯุ เพ่ือเป็นพุทธบูชาหลงั จากทพี่ ระบรมสารรี ิกธาตไุ ดป้ รากฏ ให้พระองค์ได้ทอดพระเนตร โดยมีประวัตกิ ล่าวว่า๗ เมื่อครั้งพระเจ้าอาทิตยราชทรงพระสบุ ินและทรง ทราบว่า บริเวณหอจัณฑาคารเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของพระบรมศาสดา พระเจ้าอา ทติ ยราชทรงเล่อื มใสศรทั ธาในพระบรมศาสดาเป็นอันมาก จึงโปรดใหร้ ื้อหอจัณฑาคาร และขดุ ดนิ ไมด่ ี ออกไปทิ้งนอกพระนคร แล้วนำดินดีมาถมปราบพื้นให้เรียบ แล้วโรยด้วยทราย ตั้งพิธีมณฑลปักราช วัตรฉัตรธง แต่งด้วยดอกไม้หอม และจุดเทียนทำการสักการะบูชาพระบรมสารีริกธาตุ ท้ังยังป่าว ประกาศชาวเมือง ให้มาสักการะบูชาด้วย เมื่อประกอบพิธีสักการะบูชาแล้ว ผอบแวขนาดเท่าปลี กล้วย ซึ่งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ก็ผุดขึ้นมาจากพื้นดิน ให้เห็นเป็นปาฏิหาริย์ทั่วกัน ทุกคนท่ีอยู่ ณ ท่ีนั้น ต่างปีติยินดีอย่างย่ิง พระเจ้าอาทิตยราช โปรดให้สร้างพระธาตุ สูง 3 วา เป็นแบบเจดีย์มอญ แล้วสร้างพระวิหารการเปรียญ มีซุ้มท้ัง 4 ด้าน ครอบโกศทองคำสูง 3 ศอก ซ่ึงบรรจุพระบรม สารีริกธาตุ แล้วสร้างพระวิหารการเปรียญ ศาลาน้อยใหญ่ข้ึนประกอบ จึงกลายเป็นวัดสำคัญประจำ ๖ สมั ภาษณ์ พระเทพรัตนนายก, เจ้าอาวาสวัดพระธาตุหริภุญชยั , 14 กุมภาพันธ์ 2564. ๗ สมั ภาษณ์ พระเทพรัตนนายก, เจา้ อาวาสวดั พระธาตุหริภุญชัย, 14 กมุ ภาพนั ธ์ 2564.

9 พระนคร เสรจ็ แลว้ โปรดให้จัดงานฉลองใหญ่๘ ในรัชกาลพระเจ้าสพั พสิทธิ โปรดให้สรา้ งโกศทองเสริม ต่ออีก 1 ศอก และสร้างมณฑปเสริมต่อพระธาตุข้ึนไปอีก 2 วา กษัตริย์รัชกาลหลัง ๆ ทรงทะนุบำรุง จนกระท่ังเมืองหริภุญชัย ตกอยู่ในอำนาจของพ่อขุนเม็งรายมหาราช พระองค์โปรดให้สร้างมณฑป เสริมต่อพระบรมธาตุข้ึนอีก 10 วา และเอาทองสักโก (ทองที่ตีเป็นแผ่นๆ) หุ้มพระธาตุ ต้ังแต่ชาน จนถึงยอดแลดูเหลอื งอร่ามงดงาม๙ ต่อมามกี ารบรู ณะปฏิสงั ขรณพ์ ระบรมธาตุนอ้ี ีกหลายครั้งในรัชกาล พระเจ้าตโิ ลกราช เม่ือ พ.ศ. 1986 ได้โปรดให้เสริมพระธาตุเป็น 23 วา ฐานกว้าง 12 วา 2 ศอก ยอด มีฉัตร 7 ช้ัน ต่อมาพระเมืองแก้ว ได้ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์ และสร้างระเบียงหอก ซึ่งเป็นร้ัวล้อมเมือง แก้ว 500 เล่ม แล้วทรงสร้างวิหารหลวง ปี พ.ศ. 2329 ซ่ึงพระเจ้ากาวิละ ทรงทำการบูรณะพระบรม ธาตุ และทรงสร้างฉัตรหลวงขึ้น 4 มุม พร้อมกับสร้างฉัตรยอดเจดีย์ด้วยทองคำเป็น 9 ชั้น ฐานพระ ธาตุเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรสั กว้างด้านละ 10 วา และสร้างร้ัวทองเหลอื งล้อมรอบองค์เจดีย์ ด้านในองค์ พระธาตเุ ป็นสที องอรา่ ม สงิ่ ทน่ี ่าสนใจภายในวัด พระบรมธาตุหริภุญชัย เป็นเจดีย์แบบล้านนาไทยแท้ ๆ ท่ีลงตัวสวยงาม ภายในบรรจุ พระเกศบรมธาตุบรรจุในโกศทองคำ ประดิษฐานในพระเจดีย์ ประกอบด้วยฐานปัทม์ แบบฐานบัว ลกู แก้ว ย่อเกจ็ ต่อจากฐานบวั ลูกแก้วเป็นฐานเขยี งกลมสามชนั้ ต้งั รบั องคร์ ะฆังกลม บัลลังก์ย่อเหลย่ี ม เจดีย์มีลักษณะใกล้เคียงกับ พระธาตุดอยสุเทพที่จังหวัดเชียงใหม่ สูง 25 วา 2 ศอก ฐานกว้าง 12 วา 2 ศอก 1 คืบ มีสัตติบัญชร (ร้ัวเหล็กและทองเหลือง) 2 ช้ัน สำเภาทอง ประดิษฐานอยู่ประจำรั้ว ๘ สัมภาษณ์ พระเทพรตั นนายก, เจา้ อาวาสวัดพระธาตุหริภญุ ชยั , 14 กุมภาพันธ์ 2564. ๙ สมั ภาษณ์ พระเทพรัตนนายก, เจา้ อาวาสวัดพระธาตหุ รภิ ญุ ชัย, 14 กุมภาพนั ธ์ 2564.

10 ช้ันนอกท้ังทิศเหนือ และทิศใต้ มีซุ้มกุมภัณฑ์ และฉัตรประจำสี่มุม และหอคอยประจำทุกด้านรวม 4 หอ บรรจุพระพุทธรูป น่ังทุกหอ นอกจากน้ียังมีโคมประทีป และแท่นบูชาก่อประจำไว้เพื่อเป็นที่ สักการะบชู า เจดีย์เชียงยัน ตั้งอยู่นอกกำแพงทางทิศเหนือของพระธาตุหริภุญชัย สร้างข้ึนในสมัยของ พญาอาทิตยราช ได้รับการปฏิสังขรณ์ในสมัยพระเจ้าติโลกราช และกรมศิลปากรก็ได้ทำการบูรณะ องคพ์ ระเจดยี ์ใหม่ด้วยลักษณะสถาปตั ยกรรมตรงสว่ นของฐานล่างเจดียเ์ ป็นส่ีเหล่ียมจตุรสั ซอ้ นขึ้นไปส่ี ช้ัน เหนือข้ึนไปทำเป็นบัวคว่ำและบัวถลาเป็นส่วนรองรับฐานสูง เหนือขึ้นไปเป็นเรือนธาตุ ตัวเรือน ธาตุท้ังส่ีด้านทำเป็นซุ้มจระนำ เหนือเรือนธาตุทำเป็นเจดีย์จำลองทรงส่ีเหลี่ยมตรงมุมท้ังส่ี เหนือองค์ ระฆังไม่มีบัลลังก์แต่ทำเป็นยอดบัวกลุ่มสลับกับบัวลูกแก้วลดหลั่นกันไปถึงส่วนยอดลวดลายท่ีประดับ และประกอบซุ้มจระนำ หอระฆัง ต้ังอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือขององค์พระธาตุหริภุญชัย เป็นหอสำหรับ แขวนระฆังและกังสดาลขนาดใหญ่ สร้างขึ้นโดย พระครูพิทักษ์เจติยานุกิจ (ครูบาคำฟู) เมื่อปี พ.ศ.

11 2481 ด้านบนแขวนระฆังขนาดใหญ่ซง่ึ หล่อขึ้นในสมยั เจ้าหลวงดาราดเิ รกรัตนไพโรจน์ เจา้ ผู้ครองนคร ลำพูน องค์ท่ี 7 และชัน้ ล่างห้อยกังสดาลขนาดใหญซ่ ่งึ หล่อข้นึ เมือ่ พ.ศ. 2403 หอไตร หรอื หอธรรม ตงั้ อยู่ทางทศิ ตะวันออกเฉียงใต้ขององคพ์ ระธาตุหริภุญชัย สร้างเป็นอาคารสองช้ัน ชั้นลา่ ง ก่ออิฐถือปูน ชั้นบนเป็นอาคารเคร่ืองไม้ ตัวอาคารหอไตรตั้งอยู่บนฐานขนาดใหญ่ซึ่งมีบันไดขึ้น ทางด้านหน้า สองข้างบันไดมีสิงห์โตหินประดับท่ีหัวเสา ตัวอาคารหอไตรชั้นล่างที่ก่อด้วยอิฐถือปูนมี ประตูทางเข้าทางเดียว ส่วนช้ันบนเป็นเครื่องไม้ทำเป็นบันไดนาคเล็ก ๆ ต้ังอยู่ด้านหน้าบนประตู ทางเข้าชั้นล่าง ตัวอาคารมีการประดับด้วยไม้แกะสลักปิดทองประดับกระจกอย่างสวยงาม มีมุขท้ัง ด้านหน้าและด้านหลงั หลังคาลดช้นั ประดบั ดว้ ยช่อฟา้ ใบระกาหางหงสห์ ลงั คามุงดว้ ยแผน่ ดีบุก วิหารหลวง ต้ังอยู่ทางทิศตะวันออกขององค์พระธาตุ สร้างขึ้นในสมัยพระเมืองแก้ว กษัตริย์ผู้ครองนครเชียงใหม่ ในปีพ.ศ. 2057 เป็นแบบพื้นเมืองทรงล้านนาสวยงามมาก ตอ่ มาวิหารได้ ถูกลมพายุใหญ่พัดปรักหักพังอย่างยับเยิน ในปี พ.ศ. 2458 และถูกบูรณะขึ้นมาใหม่ ภายในวิหาร หลวงเป็นที่ประดิษฐาน ของพระแก้วขาว พระเสตังคมณี ศรีเมืองหริภุญชัย ประทับน่ังอยู่เหนือ บษุ บกทแ่ี กะสลักลงรกั ปดิ ทอง คณุ ค่าทั้งรูปธรรมและนามธรรม

12 รูปธรรม: วัดพระบรมธาตุหริภุญชัย เป็นพระอารามหลวงสำคัญช้ันเอกของเมือง ลำพูน ภายในบริเวณวัดมีพระบรมธาตุหริภุญไชย เป็นเจดีย์แบบล้านนาไทยดั้งเดิมแท้ๆ ภายในเจดีย์ จะมีพระเกศบรมธาตุ ท่ีบรรจุอยู่ในโกศทองคำ มีฐานปัทม์แบบฐานบัวลูกแก้ว ย่อเก็จ ต่อจากฐานบัว ลูกแก้วก็เป็นฐานเขียงกลมสามช้ัน บัลลังก์ย่อเหล่ียม เจดีย์น้ีมีลักษณะคล้ายกับพระธาตุดอยสุเทพ ของเชียงใหม่ และมีหอคอยประจำทุกด้านรวม 4 หอ บรรจุพระพุทธรูป มีโคมประทีปและแท่นบูชา เพื่อไว้เป็นท่ีสักการะบูชาของนักท่องเที่ยว นอกจากน้ันภายในวัดยังมีโบราณสถานท่ีสำคัญอีกหลาย แห่ง เช่น วิหารหลวง สุวรรณเจดีย์ หรือปทุมวดีเจดีย์ หอระฆัง และ ซุ้มประตู เป็นต้น ด้วย รูปลักษณะทางศิลปกรรมทง่ี ดงาม โดยเฉพาะองค์พระธาตซุ ่ึงเป็นเจดีย์ทรงระฆงั คว่ำ จึงทำใหอ้ งค์พระ ธาตุกลายเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าทางด้านศิลปกรรมของล้านนา ดังน้ัน นักท่องเที่ยวจะได้ชม ศิลปกรรมทีง่ ดงามหาดูยากยง่ิ นามธรรม: สถาปัตยกรรม หมายถึง ผลงานทางศิลปะที่แสดงออกถึงสิ่งก่อสร้าง สถาปัตยกรรมของวัดในพระพุทธศาสนา มีลักษณะเด่นในด้านคตินิยมเก่ียวกับการก่อสร้าง ได้แก่ พระสถูป/เจดีย์ พระอุโบสถ พระวิหาร ศาลาการเปรียญ หอไตรหรือหอพระธรรม หอระฆัง/หอกลอง และกุฏิ เป็นต้น ความเป็นมาของสถาปัตยกรรม ในแต่ละยุคสมัยมคี วามแตกต่างกัน พระบรมธาตุหริ ภุญชัย เป็นสถาปัตยกรรมของวัดในพระพุทธศาสนาอีกแห่งหน่ึง เป็นปูชนียสถานอันสำคัญยิ่งของ จังหวัดลำพูน เป็นจอมเจดีย์องค์หนึ่งในจำนวน 8 แห่งของประเทศไทย เป็นเจดีย์ที่เก่าแก่ที่สร้างใน สมัยพระเจ้าอาทิตยราชพระบรมธาตุหริภุญชัย เป็นศูนย์รวมความศรัทธาของประชาชนโดยท่ัวไป มี คติธรรมที่แฝงอยู่ในสถาปัตยกรรม เช่น บูชา 2 เจดีย์ 4 อริยสัจ 4 โพชฌงค์ 7 บารมี 10 และภูมิ 31 หรือไตรภูมิ บารมี 10 เป็นต้น ดังน้ัน นักท่องเท่ียวท่ีเดินทางมาเท่ียวชมปูชนยี วัตถุภายในวดั พระบรม ธาตุหริภุญชัยน้ีจะได้สักการะบู ชา ชมความงามของสถาปัตยกรรม และได้คติธรรมทาง พระพทุ ธศาสนาท่ีแฝงอยใู่ นสถาปตั ยกรรมของวัดเพ่ือประยุกต์ใช้ในการดำเนนิ ชีวติ ได้อยา่ งประสบสขุ กจิ กรรม กจิ กรรมพิเศษประจำปี: งานสรงนำ้ พระธาตุหริภุญชัย ในวนั เพ็ญ เดือน 6 (วันวิสาขบูชา) ของทุกปี, ประเพณีสลากย้อม ในวันเพ็ญ เดือน 10 ของทุกปี, เทศกาลโคมแสนดวง ในวันเพ็ญเดือน 10 ของทุกปี กิจกรรมประจำวัน: สวดมนต์ ไหวพ้ ระ ปฏบิ ตั ธิ รรม กิจกรรมการท่องเท่ียว: สกั การะ ขอพรพระบรมธาตุ ชมสถาปตั ยกรรม ส่ิงอำนวยความสะดวก: ลานจอดรถ ห้องน้ำ ป้ายสัญลักษณ์บอกทาง สถานท่ีทอ่ งเทยี่ วใกล้เคียง สถานท่ีท่องเท่ยี วใกล้เคียงวัดพระบรมธาตุหรภิ ุญชัย เชน่ วัดสนั ป่ายางหลวง (หา่ งจากวัด พระบรมธาตุหริภุญชัย 1 กม.), วิหารพระเขียวโขง (ห่างจากวัดพระบรมธาตุหริภุญชัย 1 กม.), วัด

13 จามเทวี (ห่างจากวัดพระบรมธาตุหริภญุ ชัย 1.8 กม.), วัดมหาวัน (ห่างจากวัดพระบรมธาตุหริภุญชัย 1 กม.) เป็นต้น เส้นทาง/การเดนิ ทาง โดยรถยนต์สว่ นตวั ถงึ ตวั เมืองให้ใช้เสน้ ทาง ถนนเจรญิ ราษฎร์ วัดตัง้ อยตู่ ิดริมถนน 1.1.N3 วัดพระบรมธาตุ (ทุ่งย้งั ) จังหวัดอตุ รดิตถ์ ท่ตี ้งั : ตำบลทุง่ ย้ัง อำเภอลบั แล จังหวัดอตุ รดิตถ์ 53210 ข้อมูลการตดิ ตอ่ : โทร. 094-716-3194 ประวตั ิความเป็นมา วัดพระบรมธาตุ (ทุ่งยั้ง) อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ไม่ปรากฏหลักฐานทาง ประวัติศาสตร์ว่าสร้างขึ้นเมื่อใด ชาวบ้านเรียกชื่อวัดนี้ไปต่าง ๆ กัน คือ วัดหน้าพระธาตุ วัดบรมธาตุ วัดทุ่งย้ัง วัดชัยบุรี วัดชัยปราการ วัดกัมโพชนคร วัดอุตรคามนคร๑๐ สำหรับชื่อ “วัดกัมโพชนคร” เนื่องจากปรากฏหลักฐานการเรียกช่ือเมืองทุ่งยั้งในพงศาวดารเหนือว่า “กัมโพชนคร” ชาวบ้านแถบ นั้นคงจะนำช่ือนี้มาเรียกวัดสำคัญประจำเมืองด้วยเช่นกัน วัดพระบรมธาตุ (ทุ่งยั้ง) หรือ วัดพระบรม ธาตุ ตั้งอยู่ท่ีกลางเทศบาลตำบลทุ่งย้ัง ตำบลทุ่งย้ัง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นวัดโบราณ ประดิษฐานพระมหาธาตุประจำเมืองทุ่งย้ัง เมืองโบราณต้ังแต่สมัยก่อนสุโขทัย ถึงแม้ไม่ปรากฏ หลกั ฐานทางประวัติศาสตร์ว่าสรา้ งขึ้นเมื่อใด แต่ตามตำนานการสรา้ งพระบรมธาตุกล่าวว่า๑๑ สมเด็จ พระมหาธรรมราชาลิไท ผู้ครองเมืองสุโขทัย ได้เชิญพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธ เจ้า มาบรรจุไว้ในถ้ำใต้ดินโดยขุดลงไปเป็นถ้ำแล้วก่อพระธาตุไว้ โดยลักษณะเดิมของพระบรมธาตุ เมืองทุ่งย้ังคงเป็นรูปเจดีย์พุ่มข้าวบิณฑ์ แต่ต่อมามีการบูรณะเพิ่มเติมโดยพญาตะก่าพ่อค้าไม้ชาวพม่า ในสมัยรัตนโกสินทร์ ช่วงก่อนปี พ.ศ. 2444 เป็นลักษณะเจดีย์อย่างพม่า จนในปี พ.ศ. 2451 ได้เกิด แผ่นดินไหวคร้ังใหญ่ทำให้ยอดพระบรมธาตุเจดีย์หักพังลงมา หลวงพ่อแก้วสมภารวัดพระบรมธาตุใน ขณะนั้นและขุนวาทีสุนทร (คลัง กอนวงษ์) ได้เป็นหัวหน้าปฏิสังขรณ์ซ่อมเพ่ิมเติมดังรปู แบบท่ีปรากฏ ในปัจจุบนั ซ่ึงมีแผน่ หินจารึกเก็บรักษาไว้ในวหิ าร วดั พระบรมธาตุ (ทุ่งย้ัง) ในปัจจุบันไดร้ ับการบูรณะ ซ่อมแซมบำรงุ อยู่เสมอในฐานะวัดสำคญั ประจำเมืองทงุ่ ยั้ง๑๒ ซงึ่ เมืองทงุ่ ยั้งในปจั จุบนั ถอื ได้วา่ เป็นเมือง ท่ีมีผู้คนอาศัยติดต่อกันมาอย่างยาวนานต้ังแต่สมัยก่อนการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย ซึ่งพิจารณาได้ จากสำเนยี งการพูดของคนทุ่งย้ังเทียบกบั กล่มุ คนในชมุ ชนชาวสุโขทยั เดิม ที่อาศัยอยู่ในเขตตำบลท่งุ ยั้ง ๑๐ สัมภาษณ์ พระครบู วรธรรมทนิ , เจ้าอาวาส วดั พระบรมธาตุ (ทงุ่ ยง้ั ), 11 กมุ ภาพันธ์ 2564. ๑๑ สัมภาษณ์ พระครบู วรธรรมทิน, เจา้ อาวาส วัดพระบรมธาตุ (ท่งุ ยั้ง), 11 กุมภาพันธ์ 2564. ๑๒ สัมภาษณ์ พระครูบวรธรรมทนิ , เจ้าอาวาส วดั พระบรมธาตุ (ทงุ่ ย้ัง), 11 กุมภาพนั ธ์ 2564.

14 กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนให้วัดน้ีเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ เม่ือวันท่ี 8 มีนาคม 2478๑๓ วัดพระบรมธาตทุ งุ่ ยัง้ มีประเพณีประจำปีที่สำคัญคอื ประเพณีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ทุก วันแรม 8 ค่ำ เดือน 6 ของทุกปี โดยเป็นวันงานสลากภัตรของวัดและจะมีการจัดแสดงพุทธประวัติ ตอนถวายพระเพลงิ พระบรมศพด้วย สง่ิ ท่ีน่าสนใจภายในวัด เจดีย์พระบรมธาตุ ชาวบ้านนิยมเรียกว่า พระบรมธาตุทุ่งย้ัง เป็นเจดีย์เก่าแก่แบบลังกา ทรงกลมฐานเป็นรูปส่ีเหลี่ยม 3 ช้ัน ฐานล่างมีเจดีย์องค์เล็กๆ เป็นบริวารอยู่ 4 มุม ฐานชั้นที่ 3 มีซุ้ม คูหา 4 ดา้ น สนั นิษฐานวา่ ได้บรู ณะข้ึนภายหลัง เชื่อกันว่าบรรจุพระพระบรมสารีริกธาตุสว่ นที่เรียกว่า อรุ งั คธาตุ คอื อฐั ิส่วนหนา้ อก ๑๓ สมั ภาษณ์ พระครูบวรธรรมทนิ , เจา้ อาวาส วัดพระบรมธาตุ (ทงุ่ ยัง้ ), 11 กุมภาพนั ธ์ 2564.

15 วิหารหลวง มีอายุเก่าแก่สมัยกรุงศรีอยุธยาก่อด้วยศิลาแลงและอิฐ หลังคาลดหลั่น 3 ช้ัน หน้าบันแกะสลักลงรักปิดทองสวยงามมาก ภายในวิหารเป็นที่ประดิษฐานหลวงหลวงพ่อหลักเมือง หรือหลวงพ่อโต องค์พระประธานประดิษฐานในพระวิหารหลวง ชาวบ้านนิยมเรียกช่ือหลวงพ่อหลัก เมืองว่าหลวงพ่อประธานเฒ่า หลวงพ่อหลักเมือง เป็นพระพุทธรูปศักด์ิสิทธิ์เป็นที่เคารพสักการะของ ประชาชน เพราะไดร้ บั สิ่งพงึ ปรารถนาตามอธิษฐาน พระพุทธรูปปางปรินิพพาน ต้ังอยู่ด้านข้างของพระวิหารหลวง ปกติเวลาสร้าง พระพุทธรูปปางน้ีมักจะสร้างเฉพาะองค์พระพุทธรูป สำหรับที่วัดพระบรมธาตุ (ทุ่งยั้ง) สร้างเหล่า สาวกที่มาชุมนุมกนั ในวันท่ีพระพุทธเจ้าเสด็จดบั ขนั ธป์ รนิ ิพพานดว้ ย คณุ คา่ ท้งั รูปธรรมและนามธรรม รปู ธรรม: วัดพระบรมธาตุ (ทุ่งย้ัง) หรือ วัดพระบรมธาตุ เป็นวัดโบราณ ประดิษฐานพระ มหาธาตุประจำเมืองทุ่งยั้ง เมืองโบราณต้ังแตส่ มัยกอ่ นสุโขทยั มีศิลปะโบราณสถานให้นักท่องเที่ยวได้ ชมและสักการะบูชา เช่น พระวิหารหลวง ก่ออิฐถือปูน ลักษณะพระวิหารมีทรงหลังคาซ้อนสามช้ัน ลาดต่ำ และด้านในพระวิหารหลวง มีภาพวาดตำนานเรื่องพระสังข์ทอง ซ่ึงเก่ียวโยงไปถึงสถานที่ ศักด์ิสิทธิ์ คือ เวียงเจ้าเงาะ และบ่อน้ำทิพย์ ที่อยู่เยื้องไปทางใต้ตรงกันข้ามกับตัววัด ท่ีตัวพระวิหาร หลวงมีประตูด้านหลังสามารถเดินทะลุออกไปที่ องค์พระบรมธาตุเจดีย์ พระอุโบสถ ประดิษฐานอยู่ ด้านซ้ายของพระวิหารหลวง เป็นศิลปะการก่อสร้างแบบสุโขทัย คือ มีทรงหลังคาซ้อนสามช้ัน ลาด ตำ่ ลงมา และไม่มีประตูออกด้านหลงั ของพระอโุ บสถ หลวงพ่อประธานเฒา่ พระพุทธรูปศักดสิ์ ิทธิ์ปาง มารวิชัย เป็นที่เคารพและศรัทธา ชาวอุตรดิตถ์นับถือกันมาก ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารหลวง เป็น ต้น และวัดพระบรมธาตุทุ่งย้ังยังมีประเพณีประจำปีท่ีสำคัญให้นักท่องเท่ียวได้ร่วมกิจกรรม คือ ประเพณีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ทกุ วันแรม 8 คำ่ เดือน 6 ของทุกปี โดยเป็นวนั งานสลากภัตของ

16 วัดและจะมีการจัดแสดงพุทธประวัตติ อนถวายพระเพลิงพระบรมศพดว้ ย ดังน้ัน นกั ท่องเทีย่ วจะได้ชม โบราณสถานและโบราณวัตถุที่สำคัญ และที่สำคัญนักท่องเที่ยวสามารถเข้าร่วมประเพณีท้องถิ่นท่ีมี คุณค่าทางประวตั ศิ าสตร์และวัฒนธรรม ทถ่ี กู สบื อายมุ านานจากรุน่ สรู่ ุน่ นามธรรม: เจดีย์คือส่ิงก่อสร้างทรงสูงเหมือนลอมฟางที่มีพัฒนาการมาจากการ สร้างสถูปสําหรับบรรจุอัฐิของบรรพบรุ ุษใชห้ ินและดินเหนียวก่อเปน็ รปู วงกลมล้อมรอบเนนิ ดินแลว้ ปัก ร่มหรือฉัตรเพ่ือใช้เป็นเครื่องหมายแสดงฐานันดรศักด์ิ ในทางพระพุทธศาสนาน้ันเจดีย์ไม่ได้หมายถึง เฉพาะสิ่งก่อสร้างทรงสูงปลายยอดแหลมเท่าน้ันแต่ยังหมายถึงสถานที่สําคัญทางพระพุทธศาสนาอื่น ๆ ด้วย คำว่า \"เจดีย์\" ในพระพุทธศาสนา ตามความหมายเดิมหมายถึง ส่ิงก่อสร้างสำหรับการ ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ หรือหมายถึง สถานที่สำคัญอันศักด์ิสิทธิ์ทางพระพุทธศาสนา ส่งิ ก่อสร้างหรอื ส่ิงของที่สร้างขึน้ เพ่ือเป็นท่ีระลึกถึงและเคารพบชู า เจดีย์จึงเปรียบดังองค์พระพุทธเจ้า วัตถุประสงค์การสร้างเจดีย์นอกจากเพ่อื ใชท้ ี่บูชา เป็นท่ีบรรจุศาสนวัตถุท่ีสำคัญ และเป็นเคร่ืองระลึก ถึงพระบรมศาสดาแล้ว ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการศึกษาปฏิบัติธรรมด้วย วดั พระบรมธาตุ (ทุ่ง ยั้ง) เปน็ โบราณสถานทสี่ ำคญั แห่งหน่งึ ของเมอื งไทย มีโบราณสถานและโบราณวัตถทุ ่สี ำคญั คือ มีเจดีย์ พระบรมธาตุ ชาวบ้านนิยมเรียกว่า “พระบรมธาตุทุ่งย้ัง” เป็นเจดีย์เก่าแกแ่ บบลังกาทรงกลมฐานเป็น รูปสี่เหล่ียม 3 ชั้น ฐานล่างมีเจดีย์องค์เล็ก ๆ เป็นบริวารอยู่ 4 มุม ฐานช้ันท่ี 3 มีซุ้มคูหา 4 ด้าน สนั นิษฐานว่าได้บูรณะข้ึนภายหลัง คติธรรมท่ีแฝงอยู่ในสถาปัตยกรรมพระเจดีย์ เชน่ ตัวฐานพระธาตุ เจดีย์ ส่ือความหมายถึงศูนย์กลางในการประกาศพระพุทธศาสนา หรือ ศูนย์กลางของสรรพสิ่ง หลัก อริยสัจส่ี และปฏจิ จสมุปบาท ฐานพระธาตุเจดีย์สี่เหลี่ยมสื่อความหมายถึงหลักธรรมอทิ ธิบาท 4 ฐาน พระธาตุเจดีย์แปดเหลย่ี ม ส่อื ความหมายถึงหลักธรรมอริยมรรคมอี งค์ 8 เรอื นพระธาตเุ จดีย์สื่อถงึ หลัก สติปัฏฐาน 4 มรรค 4 ผล 4 อิทธิบาท 4 พรหมวิหาร 4 ฌาน 4 ยอดพระธาตุเจดีย์ส่ือถึงการอยู่เหนือ ภพภูมิต่าง ๆ เปน็ ต้น ดงั นั้น นกั ท่องเทีย่ วที่เดินทางมาสกั การะพระเจดีย์ทว่ี ัดพระบรมธาตุ (ทุ่งยัง้ ) จะ ได้ช่ือว่าเป็นผู้สักกาะบูชาพระเจดีย์ และได้คติธรรมจากสถาปัตยกรรมพระเจดีย์เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ ในการดำเนินชีวิตให้ประสบสุข ย่อมจะอำนวยผลานิสงส์ท่ีพึงประสงค์ให้ได้ตามสมควรแก่การปฏิบัติ และจดั เป็นการทำหนา้ ท่ีธำรงสืบตอ่ อายพุ ระพุทธศาสนาใหม้ ่นั คงต่อไป กิจกรรม กิจกรรมพิเศษประจำปี: ประเพณีการแสดงสมมุติ แสง สี เสียง การถวายพระเพลิงพุทธ สรีระจำลองของพระพุทธเจ้า ในวันอัฐมีบชู า วนั เพ็ญเดือน 6 ข้นึ 15 ค่ำ เดอื น 6 วนั วิสาขะ ไปถึงแรม 8 คำ่ (8 วัน) ของทกุ ปี กจิ กรรมประจำวัน: สวดมนต์ ไหวพ้ ระ ปฏบิ ัตธิ รรม กิจกรรมทอ่ งเทยี่ ว: สกั การะ ขอพรพระบรมธาตุ ชมประติมากรรมสมยั รตั นโกสนิ ทร์ สง่ิ อำนวยความสะดวก: ลานจอดรถ หอ้ งน้ำ ปา้ ยสญั ลกั ษณ์ช้ที าง

17 สถานทท่ี ่องเท่ยี วใกล้เคยี ง สถานท่ีท่องเท่ียวใกล้เคียงวัดพระบรมธาตุ (ทุ่งย้ัง) เช่น วัดดอนสัก (ห่างจากวัดพระบรม ธาตุ (ทุ่งย้ัง) 9 กม.), วัดใหญ่ท่าเสา (ห่างจากวัดพระบรมธาตุ (ทุ่งย้ัง) 9.4 กม.), วัดธรรมาธิปไตย (ห่างจากวัดพระบรมธาตุ (ทุ่งย้ัง) 7.2 กม.), วัดท่าถนน (ห่างจากวัดพระบรมธาตุ (ทุ่งย้ัง) 5.3 กม.) เป็นตน้ เสน้ ทาง/การเดินทาง วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง ตั้งอยู่ท่ีหมู่ 3 บ้านทุ่งย้ัง ตำบลทุ่งยั้ง จากตัวเมืออุตรดิตถ์ไปตาม ทางหลวงหมายเลข 102 ประมาณ 3 กม. จะมองเห็นวดั อยู่ทางซา้ ยมือ 1.1.N4 วัดพระบรมธาตุ (วดั หลวงพ่อทนั ใจ) จงั หวดั ตาก ท่ีตั้ง: หมู่ท่ี 3 บ้านท่าพระธาตุ ถ.บ้านตาก–แม่ระมาด ตำบลเกาะตะเภา อำเภอบ้านตาก จังหวดั ตาก 63120 ขอ้ มลู ติดตอ่ โทร : พระครเู ชาว์ 080-842-4659 ประวตั ิความเปน็ มา วัดพระบรมธาตุ ต้ังอยู่บนเนินเขา ห่างจากหมู่บ้าน 1 กิโลเมตร อยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำ ปิง เดิมวัดแห่งนี้เป็นเมืองตากเก่า๑๔ ก่อนท่ีจะมีการย้ายตัวเมือง ไปอยู่ท่ี ต.ระแหง ตัวเมืองตากใน ปัจจุบัน ห่างไปทางทศิ ใต้ประมาณ 30 กิโลเมตร บริเวณวดั แห่งน้ีมปี ระวัตยิ าวนานตั้งแตส่ มยั พระนาง จามเทวี ล่องเรือเสด็จไปเมืองลำพูน หยุดพักบริเวณแห่งนี้ พบว่าเป็นเมืองร้าง จึงได้สั่งให้มีการฟ้ืนฟู บูรณะเมืองแห่งน้ี จนกลายเป็นชุมชนเมืองตาก ซ่ึงเริ่มเก็บหลักฐานเม่ือปี พ.ศ. 2440 ได้รับการ บูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาวันท่ี 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2492 ปัจจุบัน เปน็ วดั ราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์โบราณคดี นักวิชาการบางท่านเสนอว่าวัดพระบรมธาตุ อาจสร้างข้ึนตั้งแต่พุทธศตวรรษท่ี 18 ตรงกับสมัยสุโขทัย เพราะมีโบราณสถานสมัยสุโขทัยต้ังอยู่ใน พ้ืนที่ใกล้เคียงคือ เจดีย์ยุทธหัตถี๑๕ ตั้งอยู่บนดอยช้างทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของวัด ซ่ึงเป็น เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ท่ีสร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ที่ระลึกเหตุการณ์ชนช้างระหว่างพ่อขุนศรีอินทรา ทติ ยก์ ับขนุ สามชนเจา้ เมืองฉอด ๑๔ สัมภาษณ์ พระครพู ิทักษบ์ รมธาตุ (พาน คงปาน), เจา้ อาวาส วัดพระบรมธาตุ, 6 กมุ ภาพนั ธ์ 2564. ๑๕ สัมภาษณ์ พระครูพิทักษ์บรมธาตุ (พาน คงปาน), เจา้ อาวาส วัดพระบรมธาตุ, 6 กุมภาพนั ธ์ 2564.

18 วัดพระบรมธาตุ เจริญรุ่งเรืองถาวรในสมัยพระครูพิทักษ์บรมธาตุ (พระอาจารย์ทองอยู่ สุริโย) เป็นเจ้าอาวาส๑๖ ท่านได้บำรุงพัฒนาวัดมาโดยตลอด ด้วยความอุตสาหะวิริยะอย่างแรงกล้า ดว้ ยจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา ท่านได้มรณภาพเม่ืออายุได้ 87 พรรษา พรรษาได้ 67 พรรษา เจ้า อาวาสองค์ปัจจุบัน คือ พระครูพิทักษ์บรมธาตุ (พาน คงปาน) ปัจจุบันอายุได้ 83 พรรษา จำพรรษา อยทู่ ่ีวัดพระบรมธาตุ เปน็ เวลา 59 ปีแลว้ (ขณะสัมภาษณ์ พ.ศ. 2564) สิง่ ท่นี า่ สนใจภายในวัด พระบรมธาตุ เป็นพระธาตปุ ระจำปเี กิด ของปีมะเมีย ตามตำนานพระเจ้าเลียบโลก๑๗ ซึ่งเขียนเป็นภาษาล้านนา ซึ่งครูบัว (ข้าราชการครู)ไม่ ทราบนามสกุล คัดลอกมาจากใบลาน ภาษาลา้ นนา กล่าวไวว้ ่า วัดพระบรมธาตุสร้างข้ึนภายหลงั จาก สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพานประมาณ 50 พรรษา พระอรหันต์ท้ัง 4 ได้นำพระบรม สารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า อัฎฐิธาตุภะนะลาตะพร้อมด้วยพระเกศาอีก 4 องค์ มาประดิษฐานยังท่า ไทร ดอยมะหิยังกะ ขุดหลุมลึกประมาณ 22 เมตร เอาไหวางแล้วนำพระบรมสารีริกธาตุอัฎฐธิ าตุและ พระเกศา บรรจุพร้อมแก้วแหวนเงินทอง แล้วนำหินศิลาแลงก้อนใหญ่ปิดทับไว้ แล้วก่ออิฐเป็นเจดีย์ รูปทรงสีเ่ หลี่ยมเพื่อเปน็ ท่สี ักการะบูชาของมนุษย์และเทวดาท้งั หลาย ต่อมา ระหว่าง พ.ศ.2475-2512 ภายหลัง พระครูพิทักษ์พระบร มธาตุ (ทองอยู่) หรือ พระทองอยู่ สุริโย (มั่นเมือง) ๑๘ ได้จาริกไปนมัสการพระธาตุชเวดากอง ณ กรุงย่างกุ้ง ประเทศพม่า ๑๖ สัมภาษณ์ พระครพู ิทกั ษบ์ รมธาตุ (พาน คงปาน), เจา้ อาวาส วดั พระบรมธาตุ, 6 กมุ ภาพนั ธ์ 2564. ๑๗ สัมภาษณ์ พระครพู ิทักษบ์ รมธาตุ (พาน คงปาน), เจ้าอาวาส วัดพระบรมธาตุ, 6 กุมภาพันธ์ 2564. ๑๘ สัมภาษณ์ พระครพู ิทกั ษ์บรมธาตุ (พาน คงปาน), เจา้ อาวาส วดั พระบรมธาตุ, 6 กมุ ภาพันธ์ 2564.

19 ท่านจึงได้จำและนำศิลปะจากประเทศพม่า มาบูรณะองค์พระเจดีย์ ก่อสร้างเป็นรูปทรงแปดเหล่ียม โดยสร้างครอบพระเจดีย์องค์เดิม พระธาตุเจดีย์องค์ใหญ่ สูง 23 เมตร ฐานกว้าง 63 เมตร พระธาตุ องค์เล็ก 16 องค์ สูงองค์ละ 7.16 เมตร ฐานกว้างองค์ละ 7.40 เมตร ซุ้มบรรจุพระ (ซุ้มใหญ่ 12 ซุ้ม เหมือนเจดีย์ชเวดากองล้อมคลุมองค์เก่าไว้ ปิดทองสวยงาม สูงซุ้มละ 8.30 เมตร กว้าง 1.60 เมตร ซุ้มปักเทียน (ซุ้มเล็ก) 6 ซุ้ม สูงซุ้มละ 3.30 เมตร กว้าง 1 เมตร ลักษณะทป่ี รากฏในปัจจุบันเป็นเจดีย์ ทรงแปดเหล่ียมศิลปะล้านนา บุภายนอกด้วยทองดอกบวบ (ทองเหลืองผสมทองแดง) กรมศิลปากร ประกาศข้ึนทะเบียนโบราณสถานและกำหนดเขตท่ีดินโบราณสถานวัดพระบรมธาตุ จ.ตาก โดย ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เลม่ 114 ตอนพเิ ศษ 87ง วันท่ี 29 กนั ยายน พ.ศ.2540 หลวงพ่อทันใจ เป็นพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูน ปางมารวิชัย หน้าตัก 32 น้ิว ลงรักปิด ทองคำเปลว เน่ืองจากพระครูบาตา อดีตเจ้าอาวาส ได้ปรึกษากับญาติโยมว่า มีความประสงค์จะ สร้างพระพุทธรูปขึ้นสัก 1 องค์ และคณะญาติโยมได้พร้อมใจร่วมกันนุ่งขาว ห่มขาว เริ่มก่อ พระพุทธรูปก่ออิฐถือปูน ปางมารวิชัย หน้าตัก 32 นิ้ว และลงรักปิดทองคำเปลว ก่อนประกอบพิธี พุทธาภิเษก ใช้เวลา 1 วัน กับ 1 คืน ก็เสร็จพอดี คณะศรทั ธาญาติโยมจึงได้ต้ังชอ่ื วา่ “พระเจ้าทันใจ” เพราะทำเสร็จเร็วทันใจ ต่อมามีญาติโยมได้มาตั้งจติ อธษิ ฐาน ขออะไรก็ไดส้ มความปรารถนา ทุกส่งิ ทุก ประการ นับเป็นสิ่งศักดิ์สิทธ์ิคู่เมืองตาก มีผู้มาขอพรท่ีมักได้รับตามคำขอในเวลาอันรวดเร็ว จึงเป็น ทมี่ าของชอื่ หลวงพ่อทันใจ อกี ประการหนึ่ง

20 เจดีย์ยุทธหัตถี เจดีย์เฉลิมพระเกียรติพระเจ้ารามคำแหงมหาราช ชาวบ้านเรียกอีกชื่อ หนึ่งว่า เจดีย์ชนช้าง ต้ังอยู่บนดอยช้าง เป็นเนินดินเล็ก ๆ หรือเรียกว่า เนินยุทธหัตถี ตรงข้ามวัด คน ละฝั่งถนนทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของวัด ห่างจากวัดพระบรมธาตุ ประมาณ 300 เมตร เป็น เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบณิ ฑ์ สร้างข้ึนเพ่ือเป็นอนุสรณ์ท่ีระลึกเหตุการณ์ชนชา้ งระหว่างพอ่ ขนุ ศรีอนิ ทราทิตย์ กับขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด ปรากฏในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงที่ทรงกระทำยุทธหัตถีชนะศึก เจา้ เมืองฉอด เจดีย์น้เี ป็นโบราณสถาน สร้างในสมัยสโุ ขทัยมอี ายุราว 700 ปเี ศษ คณุ คา่ ท้ังรูปธรรมและนามธรรม รปู ธรรม: วัดพระบรมธาตุ เป็นวัดเก่าแก่ ได้รับการปฏิสังขรณ์หลายครัง้ แล้ว ตัวอุโบสถมี ประตูเป็นไม้แกะสลักสวยงาม หน้าบันและจั่วเป็นไม้ และองค์พระเจดีย์พระบรมธาตุ มีคุณค่า ทางด้านศาสนสถาน ศาสนวัตถุ และยงั มปี ระเพณบี ุญต่าง ที่ทางวดั จัดขน้ึ เป็นศาสนพิธีที่ควรค่าแก่การ อนรุ กั ษ์ เพอ่ื สืบตอ่ พระพุทธศาสนาใหเ้ จริญรุง่ เรอื งสบื ไป นามธรรม: วัดพระบรมธาตุ เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองวัดหน่ึงของจังหวัดตาก สิ่งศักดิ์สิทธ์ิ ภายในวัดเป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนชาวตากและพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป โดยเฉพาะ องค์พระบรมธาตุและพระเจ้าทันใจ ได้มากราบไหว้แล้วทำให้สบายใจสุขใจ มีความศรัทธาใน พระพุทธศาสนา กจิ กรรม กจิ กรรมประจำปี ในช่วงวันข้ึน 14 ค่ำ และ 15 ค่ำ เดือน 9 ของชาวเหนือ แต่จะตรงกับ เดือน 7 ไทยของทุกปี จะจัดงานบุญที่ย่ิงใหญ่ เรียกว่าประเพณี “ขึ้นธาตุเดือนเก้า” เพ่ือเป็นการบูชา พระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยวันขึ้น 14 ค่ำเป็นวันแห่ ชาวบ้านและ คณะศรัทธาจะจัดขบวนแห่บั้งไฟพญานาค(ปัจจุบันไม่มีเพราะอันตราย) ตุงไชยหลากสี ต้นเงินผ้าป่า สามคั คี เครอื่ งบริขารไทยธรรม หลายคณะหลายกลมุ่ มรี ่างทรงเทพเจา้ จำนวนมาก ขบวนแหจ่ ะแห่ไป ยงั ศาลหลกั เมือง ไปบวงสรวงองค์พระเจดีย์ยทุ ธหตั ถี และวดั พระบรมธาตุ หลังเสรจ็ พธิ ีแห่และพิธขี อง ร่างทรง ก็นำตุงไชย ต้นเงินผ้าป่าสามัคคี พร้อมเคร่ืองไทยธรรม ไปถวายพระสงฆ์ขออนุโมทนา แผ่ ส่วนบุญส่วนกุศลอทุ ิศให้กับเทพทั้งหลาย ขอใหห้ มูบ่ ้านอยู่เย็นเป็นสุขปลอดภัย เช้าวนั ขึ้น 15 คำ่ เป็น วันใส่บาตรทำบุญซึ่งตรงกับวันวิสาขบูชา หลังจากน้ันเป็นการข้ึนพระธาตุเดือนเก้า ด้วยการจุดบ้ังไฟ ขึ้นสฟู่ า้ เพื่อนำคณะศรทั ธาไปบูชาพระบรมสารรี กิ ธาตุ และปวงเทพเทวาบนสรวงสวรรค์ สิ่งอำนวยความสะดวก: ทางวัดมที ่พี ักให้ เปน็ ศาลาใหญ่ พกั ได้ประมาณ 1,000 คน

21 สถานท่ีทอ่ งเท่ียวใกล้เคยี ง สถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียงวัดพระบรมธาตุ (วัดหลวงพ่อทันใจ) เช่น อุทยานแห่งชาติไม้ กลายเป็นหิน (ห่างจากวัดพระบรมธาตุ 9.1 กม.), วัดพระพุทธบาทดอยโล้น (ห่างจากวัดพระบรม ธาตุ 10.4 กม.), ศาลสมเดจ็ พระเจ้าตากสนิ มหาราช (หา่ งจากวดั พระบรมธาตุ 27.5 กม.) เป็นต้น เสน้ ทาง/การเดนิ ทาง โดยรถยนต์ จากตัวเมืองตากไปตามทางหลวงหมายเลข 1107 ประมาณ 35 กิโลเมตร เล้ียวซ้ายเขา้ สู่ทางหลวงหมายเลข 1175 ประมาณ 1 กิโลเมตร จะเห็นวัดพระบรมธาตุอยูท่ างซ้ายมือ หรือหากใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 ตรงกิโลเมตรที่ 442 เข้าอำเภอบ้านตากผ่านสะพานข้ามแม่น้ำ ปิง แล้วเลี้ยวขวาผ่านวัดท่านา จนถึงสามแยกแล้วเล้ียวซ้าย 200 เมตร ถึงวัดพระบรมธาตุอยู่ทาง ซ้ายมือ และเจดยี ย์ ุทธหตั ถีอยู่ฝัง่ ตรงขา้ มกัน 1.1.N5 วัดพระบรมธาตุ จงั หวัดกำแพงเพชร ที่ตั้ง: 15/1 ปากคลองสวนหมาก บ้านนครชุม หมู่ที่ 3 ตำบลนครชุม อำเภอเมือง กำแพงเพชร จงั หวัดกำแพงเพชร ขอ้ มูลติดต่อ - โทรศัพท์ : 062-498-2632 คุณเอกภพ บุญยะกา หัวหน้าศูนย์วัฒนธรรม เฉลิมราช - เฟสบุ๊ค: หลวงตาเอกแห่งวดั พระบรมธาตุ : วัดพระบรมธาตุ กำแพงเพชร ประวัตคิ วามเป็นมา วัดพระบรมธาตุ เป็นวัดโบราณ๑๙สร้างขึ้นมาพร้อมกับเมืองนครชุม เป็นวัดประจำเมือง เดิมมีพระบรมธาตุเจดีย์ทรงพุ่มข้าว 3 องค์ (เป็นรูปพระเจดีย์ไทย) ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน โดยองค์ กลางของพระเจดีย์น้ันประดิษฐาน พระบรมสารีริกธาตุ 9 องค์อยู่ภายในภาชนะเงินรูปสำเภา สันนิษฐานวา่ สร้างขึ้นในสมัยกรุงสโุ ขทัยเป็นราชธานี ตามทะเบียนเป็นวัด พ.ศ. 1858 โดยสมยั พ่อขุน ศรีอินทราทิตย์ พ่อขุนรามคำแหง และสมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไทยองค์ ซึ่งพระยาลิไท แห่ง ราชวงศ์สุโขทัย โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระบรมธาตุเจดีย์ เพ่ือประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ และ ปลูกพระศรมี หาโพธ์จิ ากประเทศศรีลังกา เมื่อปี พ.ศ. 1900 ปรากฏตามศิลาจารกึ หลักที่ 3 จารึกนคร ๑๙ กองพุทธศาสนสถาน กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ, “ประวัติวัดท่ัวราชอาณาจักร เล่ม 6”, (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา, 2530), หน้า 519, สัมภาษณ์ นายเอกภพ บุญยะกา, หัวหน้าศูนย์ วัฒนธรรมเฉลิมราชวัดพระบรมธาตุ พระอารามหลวง, 7 กุมภาพันธ์ 2564.

22 ชุม๒๐ และยังเคยเป็นเส้นทางเสด็จประพาสต้นของพระพุทธเจ้าหลวงอีกด้วย๒๑ แต่ปัจจุบันพระบรม ธาตุเจดีย์เป็นรูปพระเจดีย์พม่า เพราะรัฐบาลได้อนุญาตให้คนพม่า ชื่อพญาตะก่า บูรณะพระเจดีย์ข้ึน ใหม่ เป็นพระเจดีย์ขนาดใหญ่ทรงมอญองค์เดียว ครอบแทนพระเจดีย์เดิมทั้งสามองค์ ในศิลาจารึก หลักท่ี 8 เรียกวา่ นครพระชุม ไดร้ ับพระราชทานวสิ ุงคามสีมาครั้งหลังวนั ท่ี 2 กนั ยายน พ.ศ. 2497 ประวตั ิการบูรณะของวัดพระบรมธาตเุ จดีย์ พ.ศ.2329 สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) แห่งวัดระฆังโฆษิตาราม ได้เสด็จมาเยี่ยมญาติที่เมือง กำแพงเพชร ๒๒ พกั ทวี่ ัดเสด็จได้อ่านจารึกนครชุมท่ีประดษิ ฐาน ณ อุโบสถวัดเสด็จ ตำบลเมอื ง อำเภอ เมืองกำแพงเพชร ทางจังหวัดกำแพงเพชรได้ทราบว่ามีเจดีย์โบราณบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ อยู่ ริมน้ำปิง ฝ่ังตะวันตกตรงข้ามเมืองเก่า 3 องค์ เจ้าเมืองกำแพงเพชรพระยารามณรงค์สงคราม (น้อย) ได้ป่าวร้องให้ประชาชนแผว้ ถางพบเจดยี ต์ ามจารึกและปฏสิ ังขรณข์ นึ้ พ.ศ.2414 มีคหบดชี าวพม่า ซึ่งมอี าชีพคา้ ไมช้ ่อื พระยาตะก่า(ซงพอ) ๒๓ มีความเลื่อมใสใน พระพุทธศาสนา ได้ขอราชานุญาตในการปฏิสังขรณ์วัดพระบรมธาตุนครชุม ซึง่ มีสภาพทรุดโทรมจาก การถูกท้ิงร้างมานาน พระยากำแพงเพชร (อ่อง) เจ้าเมืองได้ทำหนังสือขออนุญาตลงมาท่ี กรุงเทพมหานคร ทางกรุงเทพฯจึงตอบอนุโมทนา และอนุญาตให้ซ่อมแซมได้ โดยได้บูรณะพระเจดีย์ ข้ึนใหม่ เป็นพระเจดีย์ขนาดใหญ่ทรงมอญองค์เดียว ครอบแทนพระเจดีย์เดิมท้ังสามองค์ แต่ไม่แล้ว เสรจ็ พ.ศ.2418 ซงพอ ถึงแก่กรรม การปฏสิ ังขรณ์ชะงกั ไป พ.ศ.2447-2448 พะโป้ น้องชาย (หลาน) พระยาตะก่า ได้ทำการบูรณะต่อ และได้นำ ยอดฉัตรมาจากพม่าขึ้นประดิษฐานบนยอดพระเจดีย์พระบรมธาตุ ในเดือน 6 พ.ศ.2449 ก่อนท่ี ๒๐ ยอร์ช เซเดส์, “จารึกนครชุม,” ใน จารึกสมัยสุโขทัย (กรุงเทพมหานคร: กรมศิลปากร, 2526), หน้า26-39, ยอร์ช เซเดส์, “หลักท่ี 3 ศิลาจารึกนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 1: เป็น จารึกกรุงสุโขทัยท่ีได้พบก่อน พ.ศ. 2467, (กรุงเทพมหานคร: คณะกรรมการพิจารณาและจัดพิมพ์เอกสารทาง ประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2521), หน้า 59-73. อ้างใน จารึกในประเทศไทยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ( อ ง ค์ ก า ร ม ห า ช น ) , จ า รึ ก น ค ร ชุ ม , [อ อ น ไ ล น์ ], แ ห ล่ ง ที่ ม า : https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/183 [7 มกราคม 2564]. ๒๑ สัมภาษณ์ นายเอกภพ บุญยะกา, หัวหน้าศนู ย์วัฒนธรรมเฉลิมราช วดั พระบรมธาตุ, 7 กุมภาพันธ์ 2564. ๒๒ สัมภาษณ์ นายเอกภพ บุญยะกา, หัวหน้าศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช วดั พระบรมธาตุ, 7 กุมภาพันธ์ 2564. ๒๓ สัมภาษณ์ นายเอกภพ บุญยะกา, หัวหน้าศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช วัดพระบรมธาตุ, 7 กุมภาพันธ์ 2564.

23 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะเสด็จประพาสต้นเมืองกำแพงเพียง 3 เดือน และได้ บรู ณะใหม่อีกคร้ัง ในปี 2533 โดยทำเป็นสที องท้ังองค์ มีซุ้มจรท้ังส่ีทิศประดิษฐานพระพทุ ธรูปประจำ ซมุ้ ตง้ั อยู่บนฐานสูงประมาณ 1 เมตร มกี ำแพงลอ้ มรอบ ส่ิงทน่ี ่าสนใจภายในวัด พระบรมธาตุเจดีย์ เป็นองค์เจดีย์ขนาดใหญ่ที่มีความสวยงามอีกแห่งหนึ่งของเมืองไทย และเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อย่างย่ิง เพราะภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ 9 องค์ ซึ่งเป็นที่เคารพ ศรัทธาของประชาชนมาเป็นเวลาช้านาน บริเวณด้านหน้าพระบรมธาตุ เป็นศาลาเล็ก ๆ ใช้เป็นจุดที่ บูชาพระบรมธาตุ และมีบริการดอกไม้ธูปเทียน มีองค์พระธาตุจำลองสำหรับให้ปิดทองและมี พระพุทธรูปอีกหลายองค์ให้กราบไหว้บูชา พิพิธภัณฑ์พระพุทธรูป ในวิหารทางทิศใต้ของพระบรม ธาตุ

24 หอคัมภีร์โบราณ มีเอกสารโบราณ เช่น สมุดข่อย แผ่นใบจาน อภิธรรม 7 บท ตำรายา ตำราหมอดู ขณะนีก้ รมศิลปก์ ำลังจดั หมวดหมใู่ ห้ กจิ กรรม กิจกรรมพิเศษประจำปี: งานไหว้พระธาตุ หรืองานบุญวันมาฆบูชา และงานสารทไทย กล้วยไข่ ตรงกับเดือน 8 กิจกรรมประจำวัน: ไหวพ้ ระ สวดมนต์ ทกุ เย็นเวลา 18.00 น พระภิกษสุ ามเณรจะตีกลอง ฆ้อง ระฆังทุกวันเป็นการรักษาธรรมเนียมวัฒนธรรมโบราณของวัดเอาไว้ และทุกวันอาทิตย์เวลา 18.00 น.สวดธมั มจกั กัปปวัตตนสตู ร บริเวณลานธรรมจักรด้านหนา้ ทางเข้า กจิ กรรมส่งเสริมการท่องเทยี่ ว: งานประเพณี “นบพระเล่นเพลง” ซง่ึ เป็นการทำบญุ ในวัน เพ็ญเดือนสาม วันมาฆบูชา หรือมาฆปูรมี ประเพณีนบพระเล่นเพลงของชาวกำแพงเพชร นำคำใน ศิลาจารึกนครชุม หลักท่ี 3 มาเป็นชื่องาน เป็นงานเฉลิมฉลองพระบรมธาตุ เรียกกันว่างานไหว้พระ ธาตุ หรืองานบุญวันมาฆบูชา เพ่ือรำลึกถึงพระมหาธรรมราชากระทำบูชาพระศรีรัตนมหาธาตุและ พระศรีมหาโพธิ ณ เมอื งนครชุม กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้: ศูนย์วัฒนธรรมไทยสายใยชุมชนตำบลนครชุม โดยจัดแสดง เป็นอาคารทรงไทยสวยงาม ทำด้วยไม้สักทองท้ังหลัง ภายในจัดแสดงวัตถุโบราณและข้าวของ เครื่องใช้ในอดีตมากมาย และแสดงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์อีกหลายอย่าง แสดงวิถีชีวิตของ ชาวเมือง เป็นศูนย์รวบรวมวัตถุโบราณและเรอื่ งราวต่าง ๆ ของเมืองนครชมุ เอาไว้มากมาย เพ่ือให้เป็น แหล่งความรู้แก่ชุมชนทั้งทางด้านศาสนา ศิลปะวัฒนธรรม ประเพณี วถิ ีชีวิต เพ่ือนำมาประยุกต์ใช้ใน การพฒั นาคุณภาพชีวติ กิจกรรมด้านส่งเสริมวัฒนธรรม: จากข้อความในจารึกนครชุม คือ หลักฐานสำคัญว่า กำแพงเพชรมีประเพณีนบพระเล่นเพลง สืบมาแต่พุทธศักราช 1900 คือเกือบ 700 ปีนับได้ว่า ประเพณีนบพระเล่นเพลง เป็นทั้งพระราชพิธี และประเพณีโบราณของประชาชน ที่สืบต่อกันมา ยาวนานของเมืองกำแพงเพชร เป็นการอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของบรรพ บุรุษไทยในอดีต ให้อนุชนรุ่นหลังไดย้ ึดถอื ปฏบิ ัติเป็นแบบอย่าง ตลอดจนสง่ เสรมิ การท่องเท่ียวภายใน จงั หวดั กำแพงเพชรอกี ทางหน่งึ ดว้ ย คุณค่าท้ังรปู ธรรมและนามธรรม

25 รูปธรรม: วัดพระบรมธาตุเจดีย์นครชุม มีมหาเจดีย์ทรงสูงใหญ่ สวยงามด้วย สถาปัตยกรรม มีสีทองอร่ามทั้งองค์ เสมือนดั่งเจดีย์ชเวดากองในเมืองพม่า มีคุณค่าเป็นศาสนสถาน ศักด์ิสทิ ธิ์คู่เมืองกำแพงเพชร รวมทั้งพิพธิ ภณั ฑ์พระพทุ ธรูป และศาสนวตั ถโุ บราณท่ีมีคุณค่าอีกจำนวน มาก นามธรรม: ประชาชนชาวกำแพงเพชรมีความศรัทธาความเช่ือต่อองค์พระธาตุ ดังจารึก ที่ว่า “ผิผู้ใดได้ไหว้นบกระทำบูชาพระศรีรัตนมหาธาตุและพระศรีมหาโพธิ์น้ีว่าไซร้ มีอานิสงส์พร่ำ เสมอดังได้นบพระผู้เป็นเจ้า” (ผู้ที่ได้มาไหว้บูชาพระบรมธาตุเจดีย์และพระศรีมหาโพธ์ิ เหมือนด่ังได้ ไหว้บูชาพระพุทธเจ้าโดยตรง)ด้วยความศรัทธาความเช่อื เป็นตำนานที่มาของงานประเพณี “นบพระ เล่นเพลง” ในวันมาฆบูชาของจังหวัดกำแพงเพชร มคี ุณคา่ ดา้ นศาสนพธิ อี ีกประการหน่งึ และเป็นการ ส่งเสริมการทอ่ งเทย่ี วเชิงพุทธ สิ่งอำนวยความสะดวก: ลานจอดรถกว้างขวาง ห้องน้ำ ร้านค้าเคร่ืองด่ืมเบ็ตเตล็ด ทาง วดั เปิดให้เข้าชมและกราบสกั การะพระบรมธาตไุ ดท้ กุ วัน ตลอด 24 ช่วั โมง สถานที่ทอ่ งเที่ยวใกลเ้ คียง สถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียงวัดพระบรมธาตุ เช่น แหล่งเรียนรู้การทำพระเครื่องนครชุม (ห่างจากวัดพระบรมธาตุ 400 เมตร), ศาลหลักเมืองกำแพงเพชร (ห่างจากวัดพระบรมธาตุ 3.8 กม.), อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ต้ังอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง (ห่างจากวัดพระบรม ธาตุ 5.9 กม.) เส้นทาง/การเดินทาง จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 32 ผ่าน จังหวัดอยุธยา อ่างทอง สิงหบุรี และ นครสวรรค์ จากน้ันเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 1 ถึง จังหวัดกำแพงเพชร รวมระยะทาง 358 กิโลเมตร หรือ ตาม Google Maps

26 1.1.A0 เส้นทางสายโบราณสถาน/โบราณวตั ถุ ภาคตะวนั ออกเฉียงเหนอื เส้นทาง สายโบราณสถาน/โบราณวัตถุ คือเส้นทางที่ประกอบด้วยพระเจดีย์ (พระธาตุ) โบสถ์ วิหาร ปราสาท พระปรางค์ พระพุทธรูป หอไตร มีปรากฏในวัดท่องเท่ียวเมืองรองภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ ดังนี้ 1.เจดีย์ วัดพุทธนิมิตภูค่าว อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์ 2. พระปรางค์ / พระพทุ ธรปู วัดศิลาอาสน์ อ.เมอื ง จ.ชัยภมู ิ 3. หอไตรโบราณ วดั มหาธาตุ อ.เมือง จ.ยโสธร วัดพทุ ธนิมิตภูคา่ ว พระมหาธาตุเจดีย์พทุ ธนมิ ติ อ .ส หั ส ขั น ธ์ จ . เป็นท่ีประดิษฐานพระบรม กาฬสนิ ธ์ุ สารีริกธาตุ และพระอรหันตธาตุ เป็น ศิลปะประยุกต์ร่วมสมัยกับศิลปะขอม โบราณ วดั ศิลาอาสน์ พระเจ้าองค์ต้อื อ.เมือง จ.ชยั ภมู ิ พระพุทธรูปองค์ใหญ่ประทับ น่ังขัดสมาธิเพชร หน้าตักกว้าง 5 ฟุต สูง 7 ฟุตพระหัตถ์ขวาวางอยู่ที่พระเพลา พระหตั ถซ์ ้ายพาดอยูท่ ี่พระชงฆ์ วัดมหาธาตุ หอไตร อ.เมอื ง จ.ยโสธร เป็นท่ีเก็บคัมภีร์ใบลานของ วั ด ต้ั ง อ ยู่ ต ร ง ก ล า ง ส ร ะ ท า ง ทิ ศ ตะวันออกเฉยี งเหนือของพระธาตุ วดั พุทธนมิ ิตภูคา่ ว จังหวัดกาฬสินธ์ุ ชนั้ /ท่ีต้ัง ชัน้ : วัดพทุ ธนมิ ิตภูคา่ ว เป็นวดั ราษฎร์ สังกดั คณะสงฆธ์ รรมยุติกนกิ าย

27 ทต่ี งั้ : บา้ นนาสมบรู ณ์ ตำบลสหัสขนั ธ์ อำเภอสหสั ขนั ธ์ จงั หวัดกาฬสินธุ์ 46140 ข้อมูลติดต่อ: โทรศัพท์ : 043- 811- 620, 080-749-3450, 098-845-5657, 064-317- 3888 ประวัตคิ วามเปน็ มา ประมาณปี พ.ศ. 2235๒๔ พระยาศรีโคตรบูร หรือพระยาศรีโคตรบอง กษัตริย์อาณาจักรโคตรบูร ได้จัดให้มีการสมโภชองค์พระธาตุพนมอย่างย่ิงใหญ่ ได้มีสารบอกไปยังหัว เมืองขอม เขมรต่ำที่เป็นเมืองข้ึนให้รวบรวมทรัพย์สมบัติอันมีค่าขึ้นมาทำการสมโภชพระธาตุพนม ด้วยกัน เขมรต่ำได้แต่งต้ังนายสาเป็นหัวหน้าคณะนำทรัพย์สมบัติเดินทางผ่านมาทางเมืองร้อยเอ็ด การเดินทางของนายสาและคณะเป็นไปดว้ ยความยากลำบาก จดุ มงุ่ หมายคือมุง่ สอู่ งค์พระธาตพุ นมให้ จงได้ คร้ันเดินทางมาถึงบ่อน้ำวับคำม่วง (บ่อคำม่วง) ท่ีอยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของภูค่าว ไม่ไกลนัก ขณะท่ีหยุดพักแรมก็ได้ทราบข่าวว่า การสมโภชองค์พระธาตุพนมได้เสร็จส้ินลงแล้ว เม่ือ เปน็ เช่นน้ันนายสากับคณะจึงปรึกษากันว่าทรัพย์สมบตั ิทีข่ นกันมาด้วยความยากลำบากและระยะทาง ท่ียาวไกล หากจะขนกลับคืนไปดูจะลำบากนัก ลงความเห็นว่าน่าจะฝังสมบัติเหล่าน้ันไว้ ดังน้ัน นาย สาและคณะจึงลงมือแกะสลักรูปพระอรหันต์พระมหาโมคคัลลานะเถรเจ้าอัครสาวกเบ้ืองซา้ ย โดยให้มี ลกั ษณะในอิริยาบถไสยาสนต์ ะแคงซ้าย หันเศียรไปทางท่ีพระธาตุพนมตั้งอยู่๒๕ คอื ด้านทิศตะวันออก เฉยี งใต้ โดยถือวา่ พระธาตพุ นมเป็นองค์แทนพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ประทับอยู่ทางดา้ นทิศท่ีเศียรพระ พทุ ธไสยาสน์หันไป ในปี พ.ศ.2531 พระอาจารย์ณรงค์ ชยมงฺคโล ได้ธุดงค์มาบรเิ วณนี้ และชาวบ้าน ไดน้ มิ นต์ให้จำพรรษาประจำทีว่ ัดเนอ่ื งจากวดั ได้รา้ งมานานหลายสิบปี๒๖ ตอ่ มาทา่ นได้ชักชวนญาตโิ ยม ท่วั สารทิศเพอื่ ร่วมกันพัฒนาวัด ซ่ึงนำมาซึ่งการพัฒนาวัดจนมีความเจริญรุ่งเรอื งตามลำดับ และเม่ือปี พ.ศ. 2484 เจ้าพระคุณสมเด็จพระมหาวีระวงศ์ได้ขึ้นไปตรวจสังฆมณฑลภาคอีสาน และแวะจำวัดใน เมืองสหัสขันธ์ ซ่ึงอยู่ห่างจากภูค่าวไปทางตะวันตกราว 8 กิโลเมตร ในคร้ังน้ันท่านได้ไปนมัสการพระ พุทธไสยาสน์ท่ีเพิงผาน้ีด้วย เม่ือเสร็จสังฆกิจเสด็จกลับกรุงเทพฯ จึงบัญชาให้อธิบดีกรมศิลปากรขึ้น ทะเบียนเป็นปูชนียวัตถุโบราณแห่งแรกในจังหวัดกาฬสินธุ์๒๗ ปัจจุบัน วัดพุทธนิมิตภูค่าวเป็นพุทธ สถานที่สำคัญของจังหวัดกาฬสินธ์ุ โดยพระอาจารย์ณรงค์ ชยมงฺคโล ได้สร้างมหาเจดีย์พุทธนิมิตซ่ึงมี ความสูงกว่า 80 เมตร รปู ทรงแปดเหล่ยี ม มูลค่าการกอ่ สรา้ งกวา่ 300 ลา้ นบาท พระใหญ่ 4 อิริยาบท ท่ีจำหลักจากหินศิลาแลง ในลักษณ์ น่ัง ยืน เดินและนอน เป็นพระ 4 อิริยาบทขนาดใหญ่ หันพระ ๒๔ สมั ภาษณ์ พระอธกิ ารณรงค์ ชยมงฺคโล, เจา้ อาวาส วัดพุทธนมิ ิตภูคา่ ว, วันที่ 10 กมุ ภาพันธ์ 2564. ๒๕ สัมภาษณ์ พระอธิการณรงค์ ชยมงฺคโล, เจ้าอาวาส วัดพทุ ธนมิ ติ ภคู ่าว, วนั ที่ 10 กมุ ภาพันธ์ 2564. ๒๖ สมั ภาษณ์ พระอธกิ ารณรงค์ ชยมงคฺ โล, เจ้าอาวาส วดั พทุ ธนิมิตภคู ่าว, วันที่ 10 กมุ ภาพนั ธ์ 2564. ๒๗ สมั ภาษณ์ พระอธิการณรงค์ ชยมงคฺ โล, เจ้าอาวาส วดั พทุ ธนมิ ิตภูค่าว, วนั ท่ี 10 กุมภาพนั ธ์ 2564.

28 พกั ตร์ไป 4 ทิศ องค์นั่งมีหน้าตัก 10 เมตร สูง 15 เมตร องคย์ ืนและเดินมีความสงู 14 เมตร และองค์ นอนมีขนาดยาวตลอดองค์ ประมาณ 12 เมตร เป็นตน้ สงิ่ ที่นา่ สนใจภายในวดั พระพุทธไสยาสน์ภูค่าวภาพ สลั ก นู น ต่ ำสู งขึ้น ม าจาก แ ผ่ น ดิ น 1 5 เซนติเมตรอยู่ใต้เพิงหินท่ีย่ืนออกมา 2.50 เมตรปกปอ้ งภาพสลกั จากฝน แดด ลม เป็น ภาพสลักรูปพระนอนมีขนาดยาวนับจาก ปลายพระบาทถึงปภาวะลี 2.09 เมตร ส่วนกว้างท่ีสุดนับจากช่วงกว้างบริเวณพระ โสณี (ตะโพก) ถึงพระหัตถ์ (มือ) ท่ีพาดทับ อยู่ 54 ซม. ภาพสลักแสดงภาพพระนอนใน ทา่ นอนตะแคงข้างซ้าย ไม่ใช่ตะแคงขวาตามแบบท่ีเรยี กว่าสีหไสยาสน์ (ท่านอนดจุ ดั่งพญาราชสีห)์ อัน เป็นท่านอนเฉพาะหรือท่านอนเม่ือคราวเสด็จปรินิพพานของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตามเรื่องราวใน พระไตรปิฎก พระเศียรหนั ไปทางทศิ ตะวนั ออกเฉียงเหนอื พระพักตร์หันไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ แสดงการครองผ้าแบบเฉียงแนบพระองค์ สลักลายเส้นให้เป็นริ้วอุตราสงค์ (จีวร-ผ้าห่มของสงฆ์) ร้ิว ชายอันตรวาสก (สบง-ผ้านุ่งของสงฆ์) และริ้วสังฆาฎิ (ผ้าพาดบ่าของสงฆ์) ซ้อนทับอยู่บนริ้วชาย อุตราสงค์ พระพักตร์ค่อนข้างกลม รายละเอียดพระพักตร์ชัดเจน ไม่มีขมวดพระเกศาหรือพระ อุษณีษะ (ส่วนท่ีนูนข่้ึนกลางศีรษะเป็นสัญญลักษณ์มหาบุรุษ) เช่นภาพพระพุทธเจ้าที่นิยมสร้างทั่วไป เวน้ แตป่ ระภาวลเี ปน็ วงกลมชดั เจนอยู่รอบพระเศียร พระมหาธาตุเจดีย์พุทธนิมิต สร้างด้วยหิน แกะสลักท้ังองค์ฐานเจดีย์แกะสลักเป็นรูปลิงแบกฐาน พระพุทธรูป เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ และ พระอรหันตธาตุจำนวนมาก เป็นศิลปะประยุกต์ร่วมสมัย กบั ศิลปะขอมโบราณ ตัวมหาธาตุเจดียม์ ีความสงู 80 เมตร มีซุ้มประตู 4 องค์พระธาตุสร้างเป็นรูป 8 เหล่ียม เป็น เจดีย์ท่ีไม่มีบริวาร ภายในองค์เจดีย์เป็นโถงขนาดใหญ่ ประกอบด้วยเสาใหญ่ 32 ต้น ด้านผนังมีระเบียง ด้านบน ประดิษฐานพระพุทธรูปโบราณต่างยุคต่างสมัย ส่วนด้านล่างประดิษฐานพระพุทธรูปหินสลัก 129 องค์ ใจกลางห้องโถงเป็นมณฑปสรา้ งดว้ ยไม้โลงเลงจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซง่ึ ถือ เป็นไม้หอมศักด์ิสิทธ์ิที่หายาก ยอดเจดีย์เป็นทองคำแท้บริสุทธ์ิ หนัก 30 กิโลกรัม ประดับด้วยอัญมณี

29 เพชร พลอย ยอดมหาธาตุเจดีย์ ทำดว้ ยทองคำหนัก 30 กิโลกรมั ภายในจะบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ทไี่ ด้รับจากหลายประเทศ เชน่ จากวัดศรีวชิ ัยโสคตวิทยาลัย เมืองวาลานะปานาธุระ ประเทศศรีลังกา จากวัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ เมืองกุสินารา รัฐอุตรประเทศ ประเทศอินเดีย จากสมเด็จพระญาณ สงั วร สมเดจ็ พระสังฆราช สกลมหาสงั ฆปรินายก วัดบวรนิเวศวิหาร จากวดั ไทยลุมพนิ ี ประเทศเนปาล จากวดั บารมี ประเทศพมา่ พระอุโบสถไม้ ก่อสร้าง เม่ือวันท่ี 10 มกราคม พ.ศ. 2540 เป็นพระอุโบสถไม้แกะสลักท้ังหลัง ลักษณะพิเศษคือเป็นพระอุโบสถแบบ เปิด ผสมผสานสถาปัตยกรรมแบบ ภาคกลางและภาคเหนือประยุกต์ เสา ทำด้วยไม้ ได้นำน้ำที่ชักลากขึ้นมาจาก เขื่อนลำปาว รอบพระอุโบสถแกะสลัก ด้วยลวดลายไทยเป็นภาพ 3 มิติ และ แ ก ะ เป็ น ภ า พ นู น ต่ ำ เก่ี ย ว กั บ พุ ท ธ ประวัติ ทศชาติ และพระเวสสนั ดรชาดก บนเพดานพระอุโบสถแกะเป็นภาพนูนต่ำในพุทธประวตั ิ ปิด ทองเหลืองอร่าม พระประธานในพระอุโบสถคือ พระพุทธรูปปางเชียงแสนสิงห์หน่ึง หล่อด้วยโลหะ ปดิ ทอง หน้าตัก 109 น้วิ วิหารสังฆนิมิต เป็นวิหาร ประดับพระพิมพ์และพระพุทธรปู ทั้งหลัง ที่ มี ม า ก ก ว่ า 2 แ ส น อ งค์ ซ่ึ งเป็ น พ ระพุ ท ธรูป และพ ระพิ มพ์ ห ายาก พระพุทธรูปและพระพิมพ์ท่ีนำมาประดับ ประดาภายในวิหารแห่งน้ีน้ัน เช่น พระ สมเด็จรุ่นท่ี 1, พระหลวงพ่อโต, พระ สมเด็จรัชกาลที่ 5, พระกริ่ง, พระรอด เป็ น ต้น ภ ายใน วิห ารไม่เพี ยงมี แค่ พระพุทธรูปและพระพิมพ์ ยังมีพระบรมสารีริกธาตุ พระธาตุ นอกจากน้ีบริเวณลานโล่งนอกตัววิหาร ยังมีหอพระธาตุซ่ึงประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุท่ีทางวัดได้มาจากท่ีต่าง ๆ ในภาชนะแก้วใส และ รอยพระพทุ ธบาทจำลองเก่าแกส่ ลักบนหนิ ก็อยใู่ นบริเวณเดยี วกนั

30 พระใหญ่ 4 อิริยาบถ ที่ประกอบด้วย อิริยาบ ถ ยืน น อน เดิน และน่ั ง ซ่ึงเป็ น พ ระ พระพุทธรูปขนาดใหญ่แกะสลกั จากหินทราย จำลอง แบบลักษณะแบบประเทศอินเดียและประเทศศรี ลังกา โดยใช้ช่างพื้นถิ่น พระใหญ่ 4 อิริยาบถจะอยู่ ในลักษณะหันหลังเข้าหากัน หันพระพักตร์ไป 4 ทิศ โดยองค์น่ังมีหน้าตัก 10 เมตร สูง 15 เมตร องค์ยืน และเดินมีความสูง 14 เมตร และองค์นอนมีขนาด ยาวตลอดองค์ ประมาณ 12 เมตร คุณคา่ ทัง้ รูปธรรมและนามธรรม รูปธรรม: วัดพุทธนิมิตภู่ค่าว เป็นวัดที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น นักท่องเที่ยวจะได้สักการะ พระพุทธไสยาสน์ภูค่าวแกะสลักบนแผ่นผา ซ่ึงเป็นปูชนียวัตถุท่ีเคารพสักการะของพุทธศาสนิกชน นอกจากน้ันจะได้สัมผัสปูชนียวัตถุภายในวัด เช่น อุโบสถที่ก่อสร้างจากไม้ขนาดใหญ่นำข้ึนมาจากใต้ เขื่อนลำปาว พระมหาเจดีย์ท่ีสร้างจากหินทรายแกะสลักทั้งองค์ ยอดมหาธาตุเจดีย์นั้นทำด้วยทองคำ หนัก 30 กิโลกรัม บริเวณด้านในเจดีย์มีมณฑปเป็นไม้เน้ือหอม วิหารสังฆนิมิต ซึ่งเป็นวิหารประดับ พระพิมพ์และพระพุทธรูปจำนวนมาก และพระใหญ่ 4 อิริยาบถ ที่ประกอบด้วยอิริยาบถยืน นอน เดิน และน่ัง ซ่งึ เป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่แกะสลักจากหินทราย ซ่ึงปูชนียวัตถุเหล่านี้ถูกสร้างข้ึนเพ่ือ เป็นการรับใช้พระพุทธศาสนาด้วยผลงานศิลปะน้อมนำชักจูงให้คนในสังคมเลื่อมใสศรัทธาใน พระพุทธศาสนาให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ทำให้สามารถรับรู้เข้าใจในหลักธรรมคำสอนของพระพุทธองค์มากข้ึน เพื่อเป็นสิ่งแทนหรือสิ่งพรรณนาความรู้สึกนึกคิดความเช่ือออกมาเป็นรูปธรรม เพื่อใช้เป็นอุปกรณ์ อย่างหน่ึงที่ถ่ายทอดคติความเช่ือแนวคิดทางพระพุทธศาสนาให้เป็นรูปธรรมสัมผัสได้ด้วยตา ก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเก่ียวกับเรื่องราวในพระพุทธศาสนาตลอดจนความประทับใจอันน ำไปสู่ ความเลือ่ มใสศรัทธาเหมอื นเปน็ ตัวแทนพระพุทธองค์ทเ่ี คารพนบั ถือของพุทธศาสนกิ ชน นามธรรม: นักท่องเท่ียวท่ีสักการะปูชนียวัตถุภายในวัด จะเข้าใจสัญลักษณ์ท่ีปรากฏใน องค์มหาธาตุเจดีย์ มีความหมายเป็นปริศนาธรรมซึ่งเกี่ยวกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซ่ึงเป็น การสื่อความหมายหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาแก่ผู้เยี่ยมชม คือ • หนึ่งเดียว คือ ใจ พระมหาธาตุ เจดีย์องค์นี้ไม่มบี ริวาร หมายถึงพระพุทธเจ้าขณะท่ีทรงตรัสร้พู ระสมั มาสัมโพธิญาณ ไดท้ รงประทับอยู่ เพียงพระองค์เดียวโดยไม่มีบริวาร • พระมหาธาตุเจดีย์สูง 80 เมตร หมายถึง พระพุทธเจ้าเสด็จดับ ขนั ธปรินิพพาน เม่ือพระชนมายุ 80 พรรษา • ความกวา้ งของมหาธาตเุ จดยี ์ จากเหนือ-ใต้ ตะวันออก- ตะวันตก ขนาด 45 x 45 เมตร หมายถึงจำนวนปีท่ีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าออกโปรดเวไนยสัตว์ รวม ทง้ั ส้นิ 45 ปี • รูปทรงพระมหาธาตเุ จดียเ์ ป็นทรง 8 เหล่ียม หมายถึง มรรคมอี งค์ 8 • ทางเขา้ ทัง้ 4 ทิศ

31 หมายถึงธาตุท้ัง 4 อันเป็นส่วนประกอบของรูปขันธ์ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ • ซุ้มดา้ นบนของมหาธาตุเจดีย์ มี 4 ซ้มุ หมายถึง อริยสจั 4 ความจรงิ อันประเสริฐ 4 ประการ คือ ทกุ ข์ สมุทัย นโิ รธ มรรค • หน้าบัน 3 ช้ัน หมายถึง พระไตรลักษณ์ คือ บทธรรมท่ีพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ไว้ 3 ประการ คือ อนิจจัง (ความ ไม่เที่ยงไม่ยั่งยืน) ทุกขัง (ความทุกข์) และอนัตตา (ความไม่มีตัวตนท่ีแท้จริง) • บันไดทางขึ้นมี 5 ข้ัน หมายถึงขันธ์ท้ัง 5 ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ • ประตูทางเข้าพระมหาธาตุเจดีย์ เป็นไม้แกะสลัก แต่ละด้านสูง 7 เมตร หมายถึง โพชฌงค์ 7 ซ่ึงเป็นธรรมแห่งการตรัสรู้ 7 ประการ ไดแ้ ก่ สติ ธมั มวจิ ยะ วิริยะ ปีติ ปสั สัทธิ สมาธิ และอเุ บกขา • พญานาคที่ประตทู างเข้ามหาธาตุเจดยี ์มี ความยาว 6 เมตร หมายถึง อายตนะ 6 ประกอบดว้ ย ตา หู จมูก ล้ิน กาย ใจ แสดงใหเ้ ห็นถึงการรับรู้ ของมนุษย์ ในรูป รส กล่ิน เสียง สัมผัส จิตใจ อารมณ์ และความรู้สึกภายในพระมหาธาตุเจดีย์ • ความกว้างของแต่ละด้านมีขนาด 35 x 35 คือ พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เม่ือพระชนมายุ 35 พรรษา • เสาใหญ่ 32 ต้น หมายถึง อาการ 32 อันเป็นส่วนประกอบของกาย • พระพุทธรูปหินสลัก 129 องค์ หมายถึง องค์พระสมั มาสมั พทุ ธเจา้ ทรงออกผนวชเม่ือพระชนมายุ 29 พรรษา กจิ กรรม กจิ กรรมพเิ ศษประจำปี: งานสรงนำ้ พระพทุ ธไสยาสนใ์ นวนั ที่ 19 เมษายน ของทกุ ปี กจิ กรรมประจำวนั : สวดมนต์ ไหวพ้ ระ ฟงั ธรรม ปฏบิ ตั ธิ รรม กิจกรรมการทอ่ งเทีย่ ว: กราบสักการะพระพุทธไสยาสน์ภูค่าว, ชมอุโบสถไม้อนั วจิ ติ ร งดงามท่ีสร้างจากไม้ขนาดใหญ่ที่นำข้ึนมาจากใต้เข่ือนลำปาว, ชมหอพระเครื่องที่ประดิษฐานพระ เคร่ืองจำนวนหลายแสนองค์, และสักการะพระบรมสารีริกธาตุและรอยพระพุทธบาทจำลอง กราบ สักการะพระใหญ่ 4 อิริยาบถ สง่ิ อำนวยความสะดวก: ลานจอดรถ หอ้ งน้ำ ป้ายสญั ลักษณ์ช้ีทาง มัคคุเทศก์จติ อาสา ภายในวดั สถานทีท่ อ่ งเท่ยี วท่ใี กล้เคียง สถานที่ท่องเที่ยวท่ีใกล้เคียงวัดพุทธนิมิตภูค่าว เช่น วัดพุทธาวาสภูสิงห์ (ห่างจาก วดั พุทธนิมติ ภูคา่ ว 5.9 กม.), สะพานเทพสุดา-เขื่อนลำปาว (ห่างจากวดั พุทธนิมติ ภูคา่ ว 13.กม.), วัด สักกะวัน (ภกู ุ้มขา้ ว) (ห่างจากวัดพุทธนมิ ิตภูค่าว 5.9 กม.), พิพิธภัณฑส์ ริ นิ ธร (หา่ งจากวัดพุทธนมิ ติ ภู ค่าว 6.1 กม.) เปน็ ตน้ เส้นทาง/การเดินทาง วดั พุทธนิมิตนมิ ิตภูค่าว ตั้งอยู่หา่ งจากอำเภอสมเด็จประมาณ 30 กม. และต้ังอยู่ห่าง จาก อำเภอ สหัสขันธ์ ประมาณ 10 กม. วดั ภูค่าว จะตั้งอยู่ระหวา่ งทางไปอำเภอสหัสขันธ์ กบั อำเภอ สมเด็จ เดินทางไปตามแนวทางหลวงหมายเลข 227 ระหว่างหลักกม. ท่ี 37 ถึง 38 หากมาโดยผ่าน อำเภอสหสั ขันธ์ จะอยูห่ ่างจากตัวอำเภอประมาณ 7 กิโลเมตร จดุ สังเกตคอื เมื่อผ่านบ้านโนนสมบูรณ์

32 แล้วจะมองเห็นยอดมหาธาตุเจดีย์อยู่ทางซ้ายมือ หากเดินทางมาจากอำเภอสมเด็จ ก่อนจะเข้าสู่บ้าน คำลือชา ซ่งึ เปน็ ปากทางเล้ยี วเขา้ สู่ทต่ี ั้งวดั จะมองเหน็ ยอดมหาธาตุเจดียอ์ ยู่ก่อนจะถึงหมู่บ้านดังกล่าว เมื่อผา่ นปา้ ยบอกทางเขา้ วัด ขึ้นเนนิ อกี ประมาณ 100 เมตร จะถงึ ประตูเขา้ วดั อยูท่ างซ้าย ************************ วัดศิลาอาสน์ จังหวัดชยั ภมู ิ ช้นั /ท่ีตั้ง: ชัน้ : วัดศิลาอาสน์ เปน็ วัดราษฎร์ สงั กัดคณะสงฆม์ หานกิ าย ทต่ี ง้ั : บ้านนาไกเ่ สา ตำบลนาเสยี ว อำเภอเมอื ง จังหวัดชยั ภมู ิ 36000 ข้อมลู การติดต่อ: - โทรศัพท์ : 082-299-0825, 084-411-8919 - เฟสบคุ๊ : วัดศิลาอาสนเ์ ขาภพู ระ ประวัตคิ วามเป็นมา วัดศิลาอาสน์ ต้ังอยู่ท่ีบ้านนาไก่เซา ตำบลนาเสียว อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ห่าง จากตัวเมืองชัยภูมิ ประมาณ 12 กิโลเมตร เมื่อปี พ.ศ. 2483 พระวิบูลนิโรธกิจ อดีตเจ้าคณะจังหวัด ชยั ภูมิ ไดข้ อต้ังเปน็ สำนักสงฆ์ชอ่ื ศิลาอาสน์๒๘ และแผ้วถางบรเิ วณให้เตียน ในปีถัดไปไดส้ รา้ งเปน็ กุฏิมี พระภิกษุอยู่ประจำ ต่อมาพระครูวิบูลเขมวัตร เป็นเจ้าอาวาสประมาณปี พ.ศ. 2498 - 2505 ได้ทำ กำแพงฉาบหินกับซีเมนต์ไม่มีโครงเหล็กท้ัง 4 ด้าน ๆ ละ 13 เมตร๒๙ ล้อมองค์พระอยู่ตรงกลางซึ่งมี ระดับหินต่ำกว่ากำแพงที่ทำ ปี พ.ศ. 2505 พระวชิรญาณ (วิเชียร สาคะริชานนท์) เดินทางมาจำ พรรษา และจัดผ้าป่า มีญาติโยมมาทอดผ้าป่าได้เงิน 10,000 บาทเศษ จึงได้ล้อมร้ัววัดซึ่งเดิมไม่มี อาณาเขตอันเป็นเหตุให้ชาวบ้านทำไร่รุกเข้าไปจนถึงเชิงเขา และไดข้ ยายอาณาเขตออกไปถึง 196 ไร่ ได้ล้อมเสร็จเมื่อวันท่ี 30 กันยายน พ.ศ. 2506๓๐ ลักษณะเด่นของวัดศิลาอาสน์ คือ ต้ังอยู่ในป่าที่เขา แห่งหน่ึงมีช่ือว่า \"เขาภูพระ\" ภูเขามีลักษณะเป็นช่ือภูเขาเตี้ย ๆ สูงจากระดับน้ำทะเล 210 เมตร ลักษณะทั่วไปเป็นแท่งผาหิน ลานหินขนาดกว้าง ที่ผนังหินภูพระจำหลักพระพุทธรูปหลายองค์ รวม ท้ังหมด 9 องค์ มีองค์หน่ึงท่ีมีขนาดใหญ่มาก ชาวบ้านเรียก \"พระเจ้าองค์ต้ือ” ประทับนั่งขัดสมาธิ หน้าตักกว้าง 5 ฟุต สูง 7 ฟุต พระหตั ถ์ขวาวางอยู่ท่ีพระเพลา พระหัตถ์ซา้ ยวางอยู่ท่ีพระชงฆ์๓๑ (พระ หัตถ์อยู่ในท่าตรงข้ามกับปางมารวิชัย) มีพระพุทธรปู หินทรายขนาดเล็กสูง 7 น้ิว ลักษณะเดียวกันอยู่ ข้างหน้า 1 องค์ ใกล้กันมีพระพุทธรูปอีก 7 องค์ จำหลักรอบเสาหินทราย ประทับนั่งเรียงแถวปาง ๒๘ สัมภาษณ์ พระอธิการอภิรักษ์ ธมฺมรกขฺ ิตโต, เจ้าอาวาส วัดศิลาอาสน์, 8 กมุ ภาพนั ธ์ 2564. ๒๙ สัมภาษณ์ พระอธิการอภิรกั ษ์ ธมมฺ รกขฺ ิตโต, เจ้าอาวาส วดั ศิลาอาสน์, 8 กมุ ภาพันธ์ 2564. ๓๐ สมั ภาษณ์ พระอธกิ ารอภิรักษ์ ธมฺมรกฺขติ โต, เจา้ อาวาส วัดศลิ าอาสน์, 8 กุมภาพนั ธ์ 2564. ๓๑ สัมภาษณ์ พระอธกิ ารอภริ ักษ์ ธมฺมรกฺขิตโต, เจา้ อาวาส วดั ศิลาอาสน์, 8 กมุ ภาพันธ์ 2564.

33 สมาธิ 5 องค์ ปรางเดียวกับพระเจ้าองค์ตื้อ 2 องค์ พระพุทธรูปเหล่านี้มีอายุราวศตวรรษท่ี 18-19 กรมศิลปากรได้ประกาศข้ึนทะเบียนเป็นโบราณสถาน-โบราณวัตถุ เม่ือวันท่ี 8 มีนาคม 2478๓๒ เป็น สถานท่ีปฏิบัติธรรมของเกจิอาจารย์สายปฏิบัติหลายรูป อาทิ พระอาจารย์ฝ่ัน หลวงปู่แหวน สภาพแวดล้อมทั่วไปเป็นลานหินกว้าง เหมาะในการปฏิบัติธรรม สถานท่ีแห่งนี้ยังมีต้นลีลาวดีพันปี จำนวนมาก นอกจากน้ันใกล้บริเวณลานหินยังพบเป็นรอยพระบาท ขนาด 1.20 x 0.80 เมตร และมี บอ่ นำ้ ศักดสิ์ ทิ ธ์ิ มีน้ำตลอดท้ังปี และนำนำ้ มาประกอบพธิ ีสำคญั ในโอกาสสำคัญ ๆ ของประเทศ สิ่งทีน่ ่าสนใจภายในวดั พระเจ้าองค์ตื้อ พระพุทธรูปองค์ใหญ่ ประทับนง่ั ขดั สมาธเิ พชร หนา้ ตกั กวา้ ง 5 ฟุต สงู 7 ฟุตพระหัตถ์ขวาวางอยู่ท่ีพระเพลา พระหัตถ์ซ้าย พาดอยู่ท่ีพระชงฆ์ (พระหัตถ์อยู่ในท่าตรงข้ามกับ ปางมารวิชัย) เรียกกันว่า พระเจ้าตื้อ (ตื้อ แปลว่า สิบ ซ่ึงสันนิษฐานว่าเป็นพระชาติหนึ่งของ พระพุทธเจ้า) มีความเชื่อกันว่า พระเจ้าองค์ต้ือ มี ความศักดิ์สิทธ์ิ และสามารถดลบันดาลให้ประสบ ผลสำเร็จในส่ิงท่ีปรารถนาได้ ด้านหน้ามี พระพุทธรูปหินทรายสีดำขนาดเล็กสูง 7 น้ิว ลักษณะเดียวกันอยู่ข้างหน้า 1 องค์ ใกล้กันมี พระพุทธรูปอีก 7 องค์จำหลักรอบเสาหินทราย ประทับน่ังเรียงแถว ปางสมาธิ 5 องค์ ปาง เดียวกับพระเจ้าต้ือ 2 องค์ พระพุทธรูปเหล่าน้ีมี พทุ ธลักษณะเป็นแบบพระพุทธรูปอูท่ อง มอี ายุอยู่ ระหว่างพทุ ธศตวรรษท่ี 18-19 ร่วมสมัยอยธุ ยาตอนต้น ๓๒ สมั ภาษณ์ พระอธกิ ารอภิรักษ์ ธมมฺ รกฺขติ โต, เจา้ อาวาส วัดศิลาอาสน์, 8 กุมภาพันธ์ 2564.

34 พ ระพุ ท ธรูป องค์เล็ก อีก 7 องค์ จำหลักรอบเสาหินทราย ประทับนั่งเรียงแถวปาง สมาธิ 5 องค์ ปางเดยี วกบั พระเจา้ องคต์ อื้ 2 องค์ บอ่ นำ้ ศักด์สิ ิทธิ์ ต้ังอยู่ด้านหลังพระพุทธรูป มีน้ำ ตลอดทั้งปี และนำน้ำมาประกอบพิธีสำคัญ ในโอกาสสำคญั ๆ ของประเทศ คณุ คา่ ทั้งรปู ธรรมและนามธรรม รปู ธรรม: ภายในวดั มีพระพุทธรูปองค์ใหญ่ประทับน่ังขดั สมาธิเพชร หน้าตักกว้าง 5 ฟุต สูง 7 ฟุตพระหัตถ์ขวาวางอยู่ท่ีพระเพลา พระหัตถ์ซ้ายพาดอยู่ที่พระชงฆ์ (พระหัตถ์อยู่ในท่าตรง ข้ามกับปางมารวิชัย) และพระพุทธรูปองค์เล็ก อีก 7 องค์ จำหลักรอบเสาหินทราย ประทับน่ังเรียง แถวปางสมาธิ พระพุทธรูปดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงคติความเชื่อเกี่ยวกับพระพุทธรูปหลายประการ เช่น 1) พระพุทธรูปเป็นส่ิงแทนพระพุทธเจ้า มีบทบาทรักษาความศรัทธา เพื่อสืบต่ออายุ พระพุทธศาสนา และ 2) และเชื่อว่าพระพุทธรูปเป็นสิ่งมีพลังอำนาจศักด์ิสิทธิ์ สามารถปกปักรักษา คุ้มครอง และอำนวยพรให้ชุมชนและผู้สักการบูชาอยู่ดีมีสุข ปราศจากโรคภัยอันตรายต่าง ๆ เป็นต้น ดังน้ัน นักท่องเที่ยวจะได้ชมศิลปกรรมตามความเชื่อ คือ องค์พระพุทธรูปท่ีสะท้อนให้เห็นถึงพลวัต ของพระพุทธศาสนาจากการตีความตามคัมภีร์มาสู่การปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ซ่ึงมีความสัมพันธ์กับ บรบิ ททางสงั คม คือ คน ธรรมชาติ และอำนาจเหนอื ธรรมชาติ นามธรรม: พระพุทธรูปถือเป็นเจดีย์ (ส่ิงอันเป็นที่ต้ังแห่งการเคารพบูชา) ประเภท หน่ึงในจำนวนเจดีย์ 4 ประเภทคือ 1. ธาตุเจดีย์ 2. บริโภคเจดีย์ 3. ธรรมเจดีย์และ 4. อุเทสิกเจดีย์ การสร้างพระพุทธรูป เป็นฝีมือของช่างแคว้นคันธารราฐเม่ือราว พ.ศ.370 ชาวกรีกหรือโยนกได้ถือ รูปแบบเคารพเดิมที่เป็นเทพเจ้าของตนที่เคยนำมาประดิษฐ์สร้างพระพุทธรูปขึ้นเม่ือพวกเขาได้หันมา นบั ถือศาสนาพุทธ ภายหลังต่อมาได้มีการสร้างพระพุทธรปู อย่างแพร่หลายกระจายท่ัวไป จนเกิดการ เรียนแบบพระพุทธรูปตามพุทธจริยาวัตรตอนต่าง ๆ ซึ่งในพุทธประวัติเรียกว่า “ปาง” มากมายใน ดินแดนที่นับถือพุทธศาสนา พระเจ้าองค์ตื้อ พระพุทธรูปองค์ใหญ่ประทับน่ังขัดสมาธิเพชรท่ีวัดศิลา อาสน์ เป็นพทุ ธศลิ ป์สูงคา่ ถูกสรา้ งข้ึนเพ่ือเป็นสัญลักษณ์ขององค์พระสมั มาสัมพทุ ธเจ้า นักท่องเทีย่ วท่ี ได้กราบไหว้บูชา ย่อมได้ท่ีพุทธานุสติเพื่อพัฒนาตนตามหลักไตรสิกขา ได้พ่ึงทางใจในการดำเนิน

35 ชีวติ ประจำวัน ในขณะเดียวกันก็เปน็ เสมือนเคร่ืองเตอื นใจให้ต้ังม่ันอยู่ในศีลธรรมอันดงี าม จิตใจม่ันคง ในพระพุทธศาสนา ปฏบิ ัตดิ ีปฏิบตั ิชอบ กอ่ ให้เกิดสนั ติสขุ แกต่ นเองย่งิ ๆ ข้นึ ไป กิจกรรม กิจกรรมพิเศษประจำปี: พิธีรำผีฟ้า เพ่ือบวงสรวง เช่ือว่ารักษาผู้ป่วยหาย หรือบน บานขอพรได้สำเร็จ ซึ่งประกอบพธิ ีในวนั ข้นึ 1 ค่ำ เดือน 3 และวันข้ึน 13-15 คำ่ เดือน 5 ของทกุ ปี กิจกรรมประจำวัน: สวดมนต์ ไหวพ้ ระ ปฏิบัตธิ รรม กิจกรรมการท่องเท่ียว: นมสั การ - ขอพรพระเจ้าองคต์ ือ้ สิง่ อำนวยความสะดวก: ลานจอดรถ ห้องน้ำ ป้ายสัญลักษณช์ ้ที าง สถานทีท่ ่องเท่ยี วท่ีใกลเ้ คียง สถานที่ท่องเท่ียวท่ีใกล้เคียงวัดศิลาอาสน์ เช่น ภูแฝด (ห่างจากวัดศิลาอาสน์ 13 กม.), มอหินขาว (หา่ งจากวัดศิลาอาสน์ 37 กม.), สระหงษ์ (หา่ งจากวดั ศิลาอาสน์ 16 กม.), ปรางคก์ ู่ (ห่างจากวัดศิลาอาสน์ 16 กม.), น้ำตกตาดโตน (ห่างจากวัดศิลาอาสน์ 15 กม.), ใบเสมาบ้านกุดโง้ง (ห่างจากวัดศิลาอาสน์ 27 กม.) เปน็ ต้น เส้นทาง/การเดินทาง การเดินทางจากตัวเมืองชัยภูมิไปตามทางหลวงหมายเลข 201 (ชัยภูมิ-ภูมิเขียว) ประมาณ 12 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายตามเส้นทางนาเสียว-ห้วยชัน ประมาณ 5 กิโลเมตร และเลี้ยวซ้าย เข้าวดั 1 กโิ ลเมตร ***************************** วัดมหาธาตุ จังหวัดยโสธร ชั้น/ที่ตัง้ : ช้ัน: วัดมหาธาตุ เป็นพระอารามหลวงช้ันตรี ชนิดสามัญ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ตัง้ : ถนนวารีราชเดช ตำบลในเมอื ง อำเภอเมอื งยโสธร จังหวัดยโสธร 35000 ข้อมลู การติดต่อ: - โทรศพั ท์ : 045-712-164 - เฟ ส บุ๊ ค : วั ด ม ห า ธ า ตุ - พ ร ะ อ า ร า ม ห ล ว ง จ .ย โ ส ธ ร @WatMahathatuyaso ประวตั คิ วามเปน็ มา

36 วัดมหาธาตุ ถือเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองยโสธรมาตั้งแต่แรกสร้างเมือง ต้ังอยู่ภายในเขต เทศบาลเมือง ประวตั ิความเป็นมาของวัดอ้างอิงข้อมูลจากเอกสารตำนานพ้ืนถ่ินกล่าวว่า๓๓ ประมาณ ปี พ.ศ. 2313-2319 เจ้าพระวรราชภักดี (เจ้าพระวอ) เจ้าฝ่ายหน้า เจ้าคำผง เจ้าก่ำ เจ้าทิดพรหม ซึ่ง อพยพหนีภัยสงครามมาจากเมืองหนองบัวลำภู พระองค์ได้สร้างเมือง ณ ท่ีแห่งน้ี และสร้างวัดข้ึนใน บริเวณดงผีสิง เรียกว่า “วัดทุ่งสว่าง” ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2321 เจ้าฝ่ายหน้า (ต่อมาได้รับพระ กรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็นเจ้าพระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราช ครองนครจำปาศักด์ิ) จึงได้ บูรณปฏิสงั ขรณ์เจดีย์ขนาดใหญ่ที่วัดทุ่งสว่าง ปัจจุบันคือ พระธาตุอานนท์ และต้ังแต่น้ันมาได้เรยี กวัด ทุง่ สว่างว่า “วัดมหาธาตุ”๓๔ ปัจจบุ ัน วัดมหาธาตุถอื เปน็ วัดคูบ่ ้านค่เู มืองยโสธรมาตั้งแต่แรกสร้างเมือง ต้ังอยู่ภายในเขตเทศบาลเมือง โบราณสถานที่สำคัญในวัดคือพระพุทธบุษยรัตน์ หรือพระแก้วหยด น้ำค้าง เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ศิลปะสมัยเชียงแสน เป็นพระบูชาคู่บ้านคู่เมืองของยโสธรที่ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้า ฯ พระราชทานให้พระสุนทรราชวงศา เจ้าเมืองยโสธรคนแรก พระธาตุยโสธร หรือ พระธาตุอานนท์ ต้ังอยู่หน้าอุโบสถ เป็นพระธาตุรุ่นเก่าท่ี สำคัญองค์หน่ึงในภาคอีสาน เจดีย์ทรงส่ีเหลี่ยมส่วนยอดคล้ายพระธาตุพนม ภายในพระธาตุบรรจุอัฐิ ธาตุของพระอานนท์ การก่อสร้างได้รับอิทธิพลศิลปะลาวท่ีนิยมสร้างข้ึนเมื่อปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ถงึ ตน้ รัตนโกสินทร์ เปน็ ตน้ สิ่งที่น่าสนใจภายในวดั พระธาตุยโสธร หรือ พระธาตุ อานนท์ ตั้งอยู่หน้าอุโบสถ เป็นพระธาตุรุ่น เ ก่ า ที่ ส ำ คั ญ อ ง ค์ ห น่ึ ง ใ น ภ า ค ตะวันออกเฉียงเหนือ เจดีย์ทรงส่ีเหล่ียม ๓๓ สัมภาษณ์ พระเทพวงศาจารย์ (สำลี คุตฺตสีโล ป.ธ.6), เจ้าอาวาส วัดมหาธาตุ พระอารามหลวง, 6 กมุ ภาพนั ธ์ 2564. ๓๔ สัมภาษณ์ พระเทพวงศาจารย์ (สำลี คุตฺตสีโล ป.ธ.6), เจ้าอาวาส วัดมหาธาตุ พระอารามหลวง, 6 กมุ ภาพันธ์ 2564.

37 ส่วนยอดคล้ายพระธาตุพนม ภายในพระธาตุบรรจุอัฐิธาตุของพระอานนท์ การก่อสร้างได้รับอิทธิพล ศลิ ปะลาวที่นิยมสร้างข้ึนเม่อื ปลายสมัยกรุงศรีอยธุ ยาถึงตน้ รัตนโกสินทร์ สร้างข้ึนราว พ.ศ. 2321 โดย ทา้ วหน้า ท้าวคำสงิ ห์ ท้าวคำผา ซ่ึงเดิมเป็นเสนาบดเี ก่าของกรุงศรีสัตนาคนหุต (เวียงจันทน์) ต่อมาได้ อพยพผู้คนภายใต้การนำของพระวอ พระตา ราว พ.ศ. 2313-2319 มาต้ังถิ่นฐาน ณ ท่ีน่ี ลักษณะ พระธาตุ ฐานรูปส่เี หล่ียมจัตรุ ัส ยาวด้านละ 81 เมตร ก่ออิฐถือปูนเอวฐานคอดเปน็ รปู บัวควำ่ บัวหงาย เหนือข้ึนไปเป็นเรือนธาตุ มีซุ้ม 4 ทิศ ประดิษฐานพระพุทธรูปประทับยืน ส่วนยอดธาตุมียอดปลีเล็ก แซมทั้ง 4 ด้าน ยอดกลางทรงสเี่ หล่ียมสอบ มี 2 ชัน้ รปู แบบการก่อสรา้ งคลา้ ยกบั พระธาตุก่องขา้ ว หอไตร เป็นท่ีเก็บคัมภีร์ใบลานข อ ง วั ด ตั้ ง อ ยู่ ต ร ง ก ล า ง ส ร ะ ท า ง ทิ ศ ตะวันออกเฉียงเหนือของพระธาตุ แผนผังเป็น รูปส่ีเหลี่ยมผืนผ้า ลักษณะแบบหอไตรภาค ตะวันออกเฉียงเหนือทั่วไป มีทางเดินโดยรอบ ตดิ กันใตช้ ายคา บริเวณน้ีเป็นท่ีเกบ็ รักษาตพู้ ระ ธรรม หีบพระธรรม เสลี่ยงช้ันวางคัมภีร์ซ่ึง นำมาจาก เวียงจันทน์ มีซุ้มประตู และบาน ประตูไม้สลักลวดลายเครือเถาลงรักปิดทองอย่างสวยงาม มีลวดลายการตกแต่ง ฝาผนัง ซ่ึงเป็น ลักษณะผสมแบบภาคกลางทำให้กล่าวได้ว่า หอไตรน่าจะสร้างขึ้นประมาณสมัยรัชกาลที่ 4-5 แห่งกรุง รัตนโกสนิ ทร์ พระพุทธปฏิมาบุษยรัตน์ หรือพระแก้วหยด น้ำค้าง เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิศิลปะสมัยเชียงแสน ในอดีตน้ันเคยประดิษฐานอยู่คู่กับพระแก้วมรกตในหอ พระแก้วเมืองเชียงใหม่เป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2011 และประทบั อยเู่ ป็นสริ มิ งคลนานถงึ 78 ปี พระพุทธโลกนาถมหาธาตุยโสธร พระพุทธรูปปางมารวิชัยเก่าแก่ที่สำคัญของวัด ประดิษฐานเป็นพระประธานแต่ครั้งพระอุโบสถยังเป็นสิมหลังเก่า ประทับน่ังขัดสมาธิราบบนฐานสูง มีฉัตรทอง 5 ชั้นห้อยลงมาจากเพดาน ฐานพระชั้นบนเป็นฐานกลีบบัว ประดับชายผ้าทิพย์ห้อยลงมา

38 ด้านหน้า สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร ได้ประทานนามพระพุทธรูปดังกล่าวว่า \"พระพุทธโลกนาถมหาธาตยุ โสธร\" เม่ือวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2556 คุณค่าทั้งรูปธรรมและนามธรรม รูปธรรม: วัดมหาธาตุ ถือเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองยโสธรมาต้ังแต่แรกสร้างเมือง ภายใน วัดมีโบราณสถานและโบราณวัตถุท่ีสำคัญ เช่น พระพุทธปฏิมาบุษยรัตน์ หรือพระแก้วหยดน้ำค้าง พระพุทธรูปบูชาประจำเมืองที่มีขนาดเล็กที่สุดในประเทศไทย พระธาตุอานนท์ พระเจดีย์ที่บรรจุอัฐิ ธาตุของพระอานนท์แห่งเดียวในประเทศไทย หอไตรกลางน้ำที่มีศิลปะงดงาม พระพุทธโลกนาถ มหาธาตุยโสธร พระพุทธรูปปางมารวิชัยเก่าแก่ที่สำคัญของวัด เป็นต้น วัดมหาธาตุจึงนับเป็นแหล่ง ท่องเที่ยวการท่องเท่ียวในมิติของการพักผ่อนหย่อนใจ หาความสำราญให้แก่ชีวิต แหล่งท่องเท่ียวใน มิติของศาสนาเพื่อสักการะเยี่ยมชมโบราณสถานและโบราณวัตถุ ตลอดจนแหล่งศิลปวัฒนธรรมอันดี ของท้องถ่ิน ดังน้ัน นักท่องเที่ยวจะได้ประสบการณ์การชมโบราณสถานและโบราณวัตถุท่ีสวยงาม ทรงคุณค่า นามธรรม: ภายในวัดมหาธาตุ มีโบราณสถานและโบราณวัตถุท่ีสำคัญเหล่านี้ คือ พระธาตุอานนท์ พระพุทธโลกนาถมหาธาตุยโสธร พระพทุ ธปฏิมาบุษยรัตน์หรือ พระแก้วหยดน้ำค้าง หอไตรกลางน้ำ ซึ่งนอกจากจะถูกใช้เพ่ือประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เป็นต้นแล้ว ยังถูกใช้เป็น สัญลักษณ์ทางศาสนา เพื่อเป็นเคร่ืองมือส่ือสารให้ผู้เย่ียมชมได้สัมผัสสถาปัตยกรรม หรือศิลปกรรม ด้านศาสนา ก่อให้เกิดการเรียนรู้ท้ังในด้านประเพณี วัฒนธรรม กิจกรรม และความเชื่อทาง พระพุทธศาสนา ตลอดจนหลักธรรมในการพัฒนาจิตใจมนุษย์ รวมท้ังเป็นท่ีรวมพลังศรัทธา รวมพลัง จิตใจ รวมพลังศักด์ิสิทธ์ิ เป็นศูนย์รวมแห่งคุณความดีทั้งปวง ทำให้นักท่องเท่ียวได้ช่ือว่ายึดถือปฏิบัติ ตามหลักธรรมคำส่ังสอนของพระพุทธเจ้า โดยการละเว้นจากความช่ัว และทำความดี ทำจิตใจให้ผ่อง ใส ยอ่ มจะนำความสุข และความเจรญิ ให้เกิดแกต่ วั เองและสงั คม กจิ กรรม กิจกรรมพิเศษประจำปี: งานนมัสการพระธาตุอานนท์ (จัดในวันขึ้น 11-15 ค่ำ เดือน 3 ของทกุ ป)ี , กจิ กรรมตกั บาตรในวนั สำคญั ทางพระพุทธศาสนา กจิ กรรมประจำวนั : สวดมนต์ ไหวพ้ ระ ปฏิบัติธรรม กิจกรรมการท่องเที่ยว: กราบสกั การะพระธาตอุ านนท์, พระพุทธโลกนาถมหาธาตุยโสธร, พระพทุ ธปฏมิ าบษุ ยรัตน์หรือ พระแกว้ หยดน้ำค้าง, เย่ยี มชมหอไตรกลางน้ำ สง่ิ อำนวยความสะดวก: ลานจอดรถ หอ้ งน้ำ ป้ายสญั ลักษณ์ช้ีทาง สถานที่ท่องเท่ยี วที่ใกล้เคยี ง

39 สถานที่ท่องเท่ียวท่ีใกล้เคียงวัดมหาธาตุ เช่น พิพิธภัณฑ์พญาคันคาก หรือ พิพิธภัณฑ์คางคก (ห่างจากวัดมหาธาตุ 1.7 กม.), วัดทุ่งสว่างชัยภูมิ (ห่างจากวัดมหาธาตุ 1.1 กม.), วัดศรีธรรมมาราม (ห่างจากวัดมหาธาตุ 1.2 กม.), ธาตุกล่องข้าวน้อย (ห่างจากวัดมหาธาตุ 8.1 กม.), วดั พระธาตุฝุ่น (หา่ งจากวัดมหาธาตุ 19.7 กม.) ย่านเมืองเก่าบา้ นสิงห์ท่า (หา่ งจากวัดมหาธาตุ 500 ม.), พระธาตุกู่จาน (ห่างจากวัดมหาธาตุ 33 กม.), แหล่งโบราณสถานบ้านสงเปือย (ห่างจาก วัดมหาธาตุ 16 กม.), หอไตรวัดสระไตรนุรักษ์ (ห่างจากวัดมหาธาตุ 41 กม.), พระพุทธบาทยโสธร (ห่างจากวัดมหาธาตุ 43 กม.), โบสถ์คริสต์บา้ นซง่ แย้ (หา่ งจากวัดมหาธาตุ 44 กม.) เป็นตน้ เสน้ ทาง/การเดนิ ทาง วดั มหาธาตุ ต้ังอยู่ภายในซอยวารยี ์ราชเดช ถนนแจ้งสนิท จังหวัดยโสธร มาทางเส้น ธนาคารทหารไทย สาขายโสธร แล้วเลี้ยวเขา้ ซอยวารีย์ราชเดช ถนนแจ้งสนิท จงั หวัดยโสธรจากนั้นก็ ถึงจดุ หมายคือวดั มหาธาตุ (พระอารามหลวง) *************************************** เสน้ ทางสายโบราณสถาน/โบราณวตั ถุ ในเมอื งรอง (ภาคกลาง) เส้นทางสายโบราณสถาน/โบราณวัตถุ คือเส้นทางท่ีประกอบด้วยพระเจดีย์ (พระ ธาตุ) โบสถ์ วิหาร ปราสาท พระปรางค์ พระพุทธรูป หอไตร มีปรากฏในวัดท่องเที่ยวเมืองรองภาค กลาง ดงั น้ี (1)วดั บางกงุ้ อ.บางคนที จ.สมทุ รสงคราม 2) วัดอรัญญกิ าวาส อ.เมอื ง จ.ราชบรุ ี วัดบางกุ้ง อ.บาง โบสถ์ปรกโพธิ์ และ คนที จ.สมุทรสงคราม หลวงพ่อนลิ มณี

40 วดั อรัญญิกาวาส อ. เมือง จ.ราชบรุ ี พระพระพทุ ธไสยาสนแ์ ละพระพุทธบาทจำลอง วดั บางกงุ้ จงั หวัดสมุทรสงคราม ชน้ั /ท่ีตงั้ : ช้นั : วัดบางกุง้ เป็นวัดราษฎร์ สงั กดั คณะสงฆ์มหานกิ าย ทตี่ ั้ง: หม่ทู ่ี 4 ตำบลบางกงุ้ อำเภอบางคนที จงั หวดั สมุทรสงคราม ข้อมลู ติดต่อ: โทร 034–7022-812, 089-2019-684 ประวตั คิ วามเปน็ มา วดั บางกุง้ สรา้ งข้นึ ต้ังแตส่ มัยกรุงศรีอยุธยา เป็นวัดสำคญั วัดหน่ึงทางประวตั ิศาสตร์๓๕ เน่ืองจากในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย พ.ศ. 2308 กองทัพพม่ายกเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา สมเด็จ พระเจ้าเอกทัศรับสั่งให้หัวเมืองปากใต้ยกกองทัพเรือมาต้ังค่ายสร้างกำแพงล้อมวัดบางกุ้งที่ตำบลบาง กุ้ง เมืองสมุทรสงคราม เรียกว่า “ค่ายบางกุ้ง” กองทัพพม่าซึ่งยกทัพเขา้ มาตามลำน้ำแมก่ ลองและบุก ลงมาจนถึงค่ายบางกุ้ง โดยท่ีกองทัพของกรุงศรีอยุธยาไม่สามารถต้านทานไว้ได้ค่ายบางกุ้งจึงแตก หลังจากพม่าตีกรุงศรีอยุธยาแตกในปี พ.ศ. 2310 ค่ายบางกุง้ กต็ กอยู่ในสภาพคา่ ยร้าง เม่ือสมเด็จพระ เจ้าตากสินมหาราชสถาปนากรุงธนบุรีแล้ว โปรดให้ชาวจีนรวบรวมสมัครพรรคพวกมาต้ังเป็นกอง ทหารรักษาค่ายเก่าท่ีบางกุ้ง จึงเรียกกนั อีกช่ือหน่ึงว่า “ค่ายจีนบางกุ้ง” ในปี พ.ศ. 2311 หลังจากเสีย กรุงศรีอยุธยาไปประมาณ 8 เดือน กองทัพพม่านำโดยเจ้าเมืองทวายยกทัพบกและทัพเรือลงมาล้อม ค่ายจีนบางกุ้งไว้ ทหารจีนที่รักษาค่ายบางกุ้งสู้รบอย่างเต็มท่ีแต่มีกำลังน้อยกว่าเกือบจะเสียค่ายแก่ ๓๕ สมั ภาษณ์ อ.ส.สมศกั ด์ิ แซโ่ คว้ , ไวยาวจั กรณ์ วัดบางกุ้ง, 7 กมุ ภาพันธ์ 2564.

41 พมา่ กรมการเมอื งสมทุ รสงครามจึงมหี นังสอื กราบทูลไปยงั กรงุ ธนบุรี สมเดจ็ พระเจา้ ตากสนิ ทรงทราบ จึงยกกองทัพมาตีทัพพม่าแตกพ่ายไป และต่อมาในปี พ.ศ. 2317 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชยก กองทัพเรือนำทหารไปออกศึกท่ีบางแก้ว เมืองราชบุรี ในระหว่างการเดินทางได้หยุดกองทัพพักพล เสวยพระกระยาหารทวี่ ัดกลางค่ายบางกุง้ หลักฐานโบราณสถานท่ีปรากฏอยใู่ นปัจจุบัน ไดแ้ ก่๓๖ พระ อุโบสถก่ออิฐถือปูน ปัจจุบันถูกต้นไทรขึ้นปกคลุมทั้งหลังหน้าบันของพระอุโบสถ มีปูนป้ันลวดลาย พันธพุ์ ฤกษาประดบั ดว้ ยเคร่อื งถ้วยซง่ึ เป็นลกั ษณะเฉพาะของสมัยกรงุ ศรีอยุธยาตอนปลาย ภายในพระ อโุ บสถประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่สมยั อยุธยาตอนปลาย สลักจากหินทรายแดง แสดงปางมาร วิชัย ชาวบ้านเรียกว่า “หลวงพ่อโบสถ์น้อย”๓๗ ที่ฝาผนังของพระอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนังรูป อดีตพระพุทธเจ้า และภาพพุทธประวัติ นอกจากน้ียังมีสระน้ำโบราณรูปส่ีเหลี่ยมผืนผ้าขนาดความ กว้างประมาณ 5 เมตร ความยาว 7 เมตร ท่ีขอบสระมีกำแพงเตี้ยกั้น และกรุด้วยอิฐถือปูนลักษณะ สอบลงไป ตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของพระอุโบสถ กรมศิลปากรได้ประกาศข้ึนทะเบียนวัดบางกุ้งเป็น โบราณสถานของชาติในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 113 ตอนพเิ ศษ 50 เม่ือวนั ท่ี 18 ธนั วาคม พ.ศ. 2539 ท่วี ัดบางกุ้งน้ีเองมีศาลอยู่ทางด้านหลัง โดยมีชื่อว่า \"ศาลนางไม้เจ้าจอม\" หรือศาลขององค์หญิงมณฑา ทพิ ย์ (จันทร์เจ้า) ซ่ึงมีความศกั ดส์ิ ทิ ธ์ิ มีคนใหค้ วามเคารพนับถอื กันมาก สิง่ ทน่ี า่ สนใจภายในวัด โบสถ์ปรกโพธ์ิ ถูกปกคลุมด้วย ต้นไม้ใหญ่ 4 ชนิด ได้แก่ ต้นโพธ์ิ ต้นไทร ต้นไกร และตน้ กร่าง ถือเป็นโบสถ์ต้นไม้แห่ง เดียวในประเทศไทย จากหลักฐานน่าจะมี อายุราว 200 กว่าปี ภายในโบสถ์ปรกโพธิ์ ยั ง มี ภ า พ จิ ต ร ก ร ร ม ฝ า ผ นั ง ที่ ง ด ง า ม แ ล ะ เก่าแก่มาก แสดงเร่ืองราวพุทธประวัติ เป็น ภาพพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม และภาพ พระพุทธเจ้าประทับน่ังอยู่ในซุ้มท่ีมีการ ซ่อมแซมใหม่ ขนาบข้างด้วยอัครสาวกนั่ง พนมมอื ความแปลกอีกอย่างหนงึ่ ของโบสถ์น้ีคอื ไม่มีช่อฟ้า ใบระกา ตามแบบวดั ไทยทั่ว ๆ ไป ตรงหน้า บันของโบสถ์มีลวดลายพันธุ์พฤกษา ประดับด้วยเคร่ืองถ้วยซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของศิลปะสมัยกรุง ศรีอยุธยาตอนปลาย ๓๖ สมั ภาษณ์ อ.ส.สมศักด์ิ แซโ่ คว้ , ไวยาวจั กรณ์ วดั บางกุ้ง, 7 กมุ ภาพันธ์ 2564. ๓๗ สมั ภาษณ์ อ.ส.สมศกั ด์ิ แซ่โค้ว, ไวยาวจั กรณ์ วดั บางกุ้ง, 7 กุมภาพันธ์ 2564.

42 หลวงพ่ อพุ ทธมณี นิล หรือ หลวงพ่อโบสถ์น้อย หรือ หลวงพ่อดำ พระพุทธรูปปางมารวิชัย สมัยอยุธยาตอน ปลาย เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์อันเป็นท่ี เคารพบูชาของชาวบ้านที่มากราบไหว้ บูชา ด้วยความเชื่อท่ีว่าบารมีของหลวงพ่อจะช่วย ปกปักรักษาคุ้มครองให้ผู้ท่ีมากราบไหว้มี ค ว า ม ร่ ม เย็ น เห มื อ น อ ยู่ ใ ต้ ร่ ม โ พ ธิ์ ร่ ม ไท ร แคล้วคลาด ปราศจากอันตราย และมีชัยใน อปุ สรรคท้งั ปวง ส่ิงท่ีน่าสนใจอ่ืน ๆ เช่น ศาลนางไม้เจ้าจอม ตั้งอยู่ด้านหลังของโบสถ์ปรกโพธิ์ของ หลวงพ่อพุทธมณีนิล, กำแพงการจำลอง ของค่ายบางกุ้ง มีรูปป้ันแม่ไม้มวยไทย โดยรปู ปัน้ แตล่ ะคู่จะ เป็นท่ามวยไทยต่าง ๆ, ค่ายบางกุ้ง เป็นค่ายทหารเรือไทยท่ีมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ สมเด็จ พระเจ้าเอกทัศน์ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ยกกองทัพเรือมาตั้งค่ายท่ีค่ายบางกุ้ง เรียกว่า \"ค่ายบางกุ้ง\" โดย สร้างกำแพงล้อมวัดบางกุ้งให้อยู่กลางค่าย เพื่อเป็นท่ียึดเหนี่ยวจิตใจและเป็นท่ีเคารพบูชาของทหาร ภายหลังเสียกรุงครั้งที่ 2 ค่ายบางกุ้งก็ร้างไปจนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรง สถาปนากรุงธนบุรี เป็นราชธานีจึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้ชาวจีนจากระยอง ชลบุรี ราชบุรี และ กาญจนบุรีรวบรวมผู้คนมาตั้งกองทหารรักษาค่าย จึงมีช่ือเรียกอีกหน่ึงว่า \"ค่ายจีนบางกุ้ง\" ในปี พ.ศ. 2311 พระเจ้ากรุงอังวะทรงยกทัพผ่านกาญจนบุรีมาล้อมค่ายจีนบางกุ้ง สมเด็จพระเจ้าตากสิน มหาราชทรงโปรดเกล้าฯ ให้พระมหามนตรี (บุญมา) เปน็ แม่ทัพยกไปช่วยเหลือทหารจีนขบั ไล่กองทัพ พม่าทำให้ข้าศึกแตกพ่าย หลังจากน้ันค่ายบางกุ้งแห่งน้ีก็ถูกปล่อยให้รกร้างเกือบ 200 ปี จนมาถึง พ.ศ. 2510 กระทรวงศึกษาธิการจึงได้ต้ังเป็นค่ายลูกเสือขึ้น (ปัจจุบันได้ยกเลิกไปแล้ว) และได้สร้าง ศาลพระเจา้ ตากสนิ ไวเ้ ป็นอนสุ รณ์ คุณคา่ ทง้ั รปู ธรรมและนามธรรม รปู ธรรม: วดั บางกุ้งมีโบราณสถานที่สำคัญหลายอย่าง เชน่ พระอุโบสถก่ออิฐถือปูน ปจั จุบันถกู ต้นไทรข้นึ ปกคลุมทง้ั หลงั หน้าบันของพระอุโบสถ มปี ูนปั้นลวดลายพันธุ์พฤกษาประดับด้วย เคร่ืองถ้วยซ่ึงเป็นลักษณะเฉพาะของสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ภายในพระอุโบสถประดิษฐาน พระพุทธรูปขนาดใหญ่สมัยอยุธยาตอนปลาย สลักจากหินทรายแดง ที่ฝาผนังของพระอุโบสถมีภาพ

43 จิตรกรรมฝาผนังรูปอดีตพระพุทธเจ้า และภาพพุทธประวัติ นอกจากนี้ยังมีสระน้ำโบราณรูป ส่ีเหลี่ยมผืนผ้าขนาดความกว้างประมาณ 5 เมตร ความยาว 7 เมตร ที่ขอบสระมีกำแพงเต้ียก้ัน และ กรุด้วยอิฐถอื ปูนลักษณะสอบลงเข้าสักการะส่ิงศกั ด์ิสทิ ธ์ิขอพรพระพุทธรูปเกา่ แก่สมัยอยุธยา หลวงพ่อ พทุ ธมณนี ิล หรือ หลวงพอ่ โบสถ์นอ้ ยหรอื หลวงพอ่ ดำ พระพุทธรูปปางมารวิชยั สมัยอยุธยาตอนปลาย นักท่องเที่ยวจะได้ชมโบราณสถานเหล่าน้ีท่ีถือสัญลักษณ์ของความรุ่งเรืองของพระพุท ธศาสนาต้ังแต่ สมัยอยธุ ยาจนถึงปัจจุบัน และเรยี นรูป้ ระวตั ิศาสตรท์ ่ีสำคญั ค่ายบางกุ้งสมยั อยุธยา นามธรรม: ความเชื่อมโยงระหว่างวัดบางกุ้งกับประวัติศาสตร์สมัยอยุธยา เป็นคติ เตือนใจแก่นักท่องเที่ยวว่าการสร้างสรรค์ชาติ จะมีได้ก็ด้วยความสามัคคีปรองดองเท่านั้น ส่วนความ แตกแยกจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของบ้านเมือง ต่อความสงบสุขของประชาชน สังคมไทยจึงควร จะรว่ มใจกันสร้างความสามัคคีปรองดองให้เกิดข้ึน มีความเคารพในความแตกต่างทางวัฒนธรรม เชื้อ ชาติ ศาสนา โดยใชห้ ลักคุณธรรมในการทำ พดู และคิด เพื่อประสานความสามัคคีปรองดอง เพราะถ้า สังคมไทยมคี นดี คิดดี พูดดี ทำดี พัฒนาสร้างสรรค์ชาติไทยให้เจริญรุ่งเรอื ง อย่างมีความสุขแบบพุทธ วิถี นอกจากนั้น นักท่องเท่ียวที่ได้สักการะหลวงพ่อพุทธมณีนิล หรือ หลวงพ่อโบสถ์น้อย หรือ หลวง พ่อดำ จะเกิดด้วยความเชื่อในบารมีของหลวงพ่อว่าจะช่วยปกปักรักษาคุ้มครองให้มีความร่มเย็น เหมอื นอย่ใู ตร้ ่มโพธร์ิ ่มไทร แคลว้ คลาด ปราศจากอันตราย และมีชยั ในอปุ สรรคทงั้ ปวง เกิดพุทธานสุ ติ แลว้ เจรญิ ในธรรมขอ้ อ่นื ๆ ยิ่งข้ึน กิจกรรม กิจกรรมพิเศษประจำปี: พิธีการบวงสรวงดวงวิญญาณของพระบาทสมเด็จพระเจ้า ตากสนิ มหาราช เดอื นธันวาคมของทกุ ปี กิจกรรมประจำวัน: สวดมนต์ ไหวพ้ ระ ปฏิบตั ธิ รรม กิจกรรมการท่องเที่ยว: สักการะ ขอพรหลวงพ่อพุทธมณีนิล ชมโบสถ์ปรกโพธ์ิ สวนสัตว์ และเรียนรู้ประวัตศิ าสตรท์ ่สี ำคัญค่ายบางกุ้งสมยั อยุธยา สิ่งอำนวยความสะดวก: ประกอบด้วย ลานจอดรถ ห้องสุขาสำหรับคนพิการและ ผ้สู งู อายุ รา้ นคา้ ชมุ ชน ร้านค้าของทร่ี ะลึก ศูนย์บริการนกั ท่องเที่ยว ป้ายประชาสัมพนั ธ์ ป้ายชท้ี างเข้า ถงึ สถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียง สถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียงวัดบางกุ้ง เช่น อุทยานพระบรมราชานุสรณ์ สมเด็จพระพุทธ เลศิ หล้านภาลยั (ห่างจากวดั บางกุ้ง 6.6), วัดบางแคใหญ่ (ห่างจากวัดบางกงุ้ 2.1 กม.), วัดอัมพวนั เจ ติยาราม (ห่างจากวัดบางกุ้ง 6.6 กม.), วัดจุฬามณี (ห่างจากวัดบางกุ้ง 9.2 กม.), วัดเพชรสมุทร วรวหิ าร (ห่างจากวดั บางกุ้ง 10.9 กม.), วัดเจริญสุขารามวรวิหาร (ห่างจากวัดบางกุ้ง 7.7 กม.) เป็น ตน้


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook