ความสาคญั ของชมุ ชนทางศาสนาของสตรี: ความเป็ นตวั ตนและศกั ยภาพดา้ นการสง่ เสริมการรพู้ ทุ ธศาสนา และการขบั เคลื่อนการทางานทางศาสนาของชมุ ชนสตรใี นสงั คมไทย The significance of female monasticism in Thailand: a historical and ethnographic investigation of Thai mae chis’ socio-religious roles and statuses and their importance in the creation of Buddhist knowledge and community building
ความสาคญั ของชมุ ชนทางศาสนาของสตร:ี ความเป็ นตัวตนและศักยภาพด้านการส่งเสริมการร้พู ทุ ธศาสนา และการขับเคล่ือนการทางานทางศาส นาของชมุ ชนสตรีในสังคมไทย ไดร้ บั ทนุ อดุ หนนุ การวิจยั ปี พ.ศ. 2566 จาก กองทุนส่งเสรมิ วทิ ยาศาสตร์ วิจัย และนวตั กรรม (ววน.) สถาบันวิจัยพทุ ธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวทิ ยาลัย บณั ฑติ วทิ ยาลัย มหาวทิ ยาลยั มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ชดุ โครงการวิจัยเร่ือง... ความสาคญั ของชมุ ชนทางศาสนาของสตรี: ความเป็ นตวั ตนและ ศกั ยภาพดา้ นการส่งเสริมการรพู้ ทุ ธศาสนา และการขบั เคลื่อนการ ทางานทางศาสนาของชมุ ชนสตรใี นสงั คมไทย The significance of female monasticism in Thailand: a historical and ethnographic investigation of Thai mae chis’ socio-religious roles and statuses and their importance in the creation of Buddhist knowledge and community building ท่ีปรึกษาโครงการวจิ ัย: พระสธุ ีรตั นบณั ฑติ , รศ. ดร. คณบดบี ัณฑติ วทิ ยาลยั มหาวิทยาลยั มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลยั คณะผู้จัดทำ: พระมหาสมบูรณ์ วฑุ ฒฺ ิกโร, รศ. ดร. รองอธิการบดฝี า่ ยวชิ การ มหาวิทยาลยั มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลยั พระมหานกุ ลู อภิปุณฺโณ, ดร. อาจารย์พเิ ศษ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลยั มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ผศ.ดร.แม่ชีกฤษณา รักษาโฉม ผู้อำนวยการหลักสตู รพุทธศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑติ วิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวทิ ยาลัย ศ. ดร.มาร์ติน เซเกอร์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาไทยศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มนษุ ยศาสตร์ และวัฒนธรรม มหาวิทยาลยั ลีดส์ ประเทศอังกฤษ ผศ.พิเศษ ดร.อรชร ไกรจักร์ อาจารย์พิเศษ บัณฑิตวทิ ยาลัย มหาวิทยาลยั มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ดร.กรรณิการ์ ขาวเงนิ อาจารย์ประจำหลักสูตรฯ บณั ฑติ วิทยาลยั มหาวิทยาลยั มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย นางกนกอร ก้านน้อย นิสติ ปริญญาโท บัณฑติ วิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ปกและรูปเล่ม ดร.กรรณกิ าร์ ขาวเงิน ปีทีพ่ มิ พ์ พ.ศ. 2566 จำนวนทีพ่ มิ พ์ พิมพ์ครงั้ ที่ 1 จํานวน 20 เลม่ พิมพ์ท่ี: ร้านเจพริ้นท์ 20 ตรอกมหาธาตุ ถ.มหาราช แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทร. 0898951339
ไดร้ บั ทนุ อดุ หนนุ การวิจยั ปี พ.ศ. 2566 จาก กองทุนสง่ เสริมวทิ ยาศาสตร์ วิจัย และนวตั กรรม (ววน.) สถาบันวจิ ัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลยั มหาจฬุ าลงกรณราชวิทยาลัย บณั ฑิตวิทยาลยั มหาวิทยาลยั มหาจุฬาลงกรณราชวทิ ยาลัย
คานา สถาบันแม่ชีไทยเปรียบเสมือนองค์กรกลางในการรวมแม่ชีทั่วประเทศ มีความหมาย วา่ สถาบนั แห่งน้ีเป็นองค์กรแห่งเดียวท่ไี ดร้ บั การยอมรับอยา่ งเป็นทางการและเป็นที่คาดหวัง ในการรวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับแม่ชีในประเทศไทย โดยมูลนิธิสถาบันแม่ชีไทยในพระบรม ราชินูปถัมภ์ จะดำเนินการเพื่อส่งเสริมกิจการของคณะแม่ชีไทยให้มีศักยภาพในด้านสถานะ ทางสังคม การศึกษาอย่างกว้างขวาง ส่งเสริมให้มีการตั้งโรงเรียน วิทยาลัยและสถานศึกษา เพื่อเป็นสถานที่แหล่งเรียนรู้ ทั้งวิชาการทางโลกและการพระพุทธศาสนา ให้การสนับสนุน และส่งเสริมการเผยแผ่พระศาสนาทั้งในและต่างประเทศ ดังปรากฎในกลอนสุภาพโดยคุณ ท้าวอินทร์สุริยาทูลเกล้าฯ ถวาย ณ ศาลาหน้าพระอุโบสถ ในการถวายเครื่องไทยธรรม สถาบันฯ ครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชการที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินบำเพ็ญพระราชกุศลถวายพระกฐินต้น ณ วัดเขา วัง จังหวดั ราชบรุ ี ในวนั ที่ 18 ตลุ าคม พ.ศ. 2514 สถาบันแมช่ ีไทยได้ถวายทูลเกลา้ องค์พระ กฐิน มีผู้ไตร อัฏฐบริขาร ดอกไม้ธูปเทียน จตุปัจจัยไทยธรรม สำหรับถวายพระสงฆ์ 40 รูป สามเณร 18 รปู ดังคำกลอนทว่ี า่ มูลนิธิแมช่ ีไทยใจผ่องผดุ บริสทุ ธดิ์ ุจดาราเวหาหัน ร่วมรกั ษาประเพณีดีครบครัน เพ่อื ชาตนิ ้ันรุ่งเรอื งเฟอ่ื งไมตรี วตั ถุประสงคข์ องสถาบันอนั ยิ่งใหญ่ รวมชีไทยท้งั ผองปองสขุ ศรี พทุ ธศาสนท์ อแสงแหง่ ความดี ชือ่ เสียงมีเกียรตยิ ศล้วนงดงาม เปน็ ต้น เบื้องหลังความสำเร็จในการก่อตั้งสถาบันแม่ชีไทยกล่าวได้ว่ามีพระสงฆ์เป็น ผู้สนับสนุนอยู่เบื้องหลัง ดังมีร่องรอยหลักฐานการเปิดประชุมครั้งแรกของสถาบันแม่ชีไทย โดยมีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณสมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฺฐายี) สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 16 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เสด็จเปิดการประชุมใหญ่สถาบันแม่ชีไทยครั้งที่ 1 ที่สภา
มหามกุฏราชวิทยาลัยวัดบวรนิเวศวิหาร พ.ศ. 2513 รายละเอียดของพระดำรัสเปิดการ ประชุมใหญ่คือให้แม่ชีไทยยึดหลักสาราณิยธรรม (ธรรมที่เป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน) หลักอปริหานิยธรรม (ธรรมท่ีทำให้ไม่เส่ือม) หลักพรหมวิหาร หลักทาน ศีล ภาวนา หลักศีล สมาธิ ปัญญาการเจริญอานาปานสติ ให้กำลังใจแมช่ ใี นการประพฤตธิ รรม หนังสือเล่มนี้ ให้ความรู้เกี่ยวกับสำนัก/สถาบันแม่ชีไทย 10 แห่ง แบ่งเนื้อหาเป็น 8 บท ประกอบด้วย บทที่ 1 บันทึกเหตุการณ์: ความเป็นมาของสถาบันแม่ชีของไทย บทที่ 2 การสร้างชุมชนและความมีตัวตนของแม่ชี บทที่ 3 บทบาทหลักของแม่ชีไทยในด้านต่าง ๆ บทที่ 4 พลังของสตรี: แม่ชีผู้สร้างประโยชน์ บทที่ 5 ศักยภาพแม่ชีไทย: หากมองหา จึง มองเห็นคุณคา่ ทั้ง 5 บทข้างต้นเป็นการสังเคราะห์ข้อมูลที่คณะผู้วิจัยได้ลงพื้นที่และเก็บ รวบรวมข้อมูลจากสำนกั /สถาบันทั้ง 10 แห่ง บทที่ 6 ก้าวต่อไปในการทำงานของแม่ชี เป็นการสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อเป็นกรอบ แนวทางและแนวปฏิบัติที่ดีสำหรับการทำงานในก้าวต่อๆ ไปของแม่ชีไทย ข้อมูลลดังกล่าว จะเป็นแรงขับเคลื่อนโดยอาศัยการทำงานของแมช่ ีเป็นฐานในการสรา้ งความเปล่ียนแปลงท้ัง ด้านตนเองและสังคมไทยไปพร้อมๆ กัน ส่วน บทที่ 7 การพัฒนาศักยภาพด้านการส่งเสริม การรู้พระพุทธศาสนา เป็นกิจกรรมการเรียนบาลีในชีวิตประจำวัน และกรรมฐานใน ชีวิตประจำวนั ของแมช่ ี และตอ่ ดว้ ย บทที่ 8 กอ่ นจบ: บทสรปุ ท้ายเล่ม คณะผ้วู ิจยั 1 มีนาคม 2566
สารบญั เร่ือง หน้า สารบญั ก บทท่ี 1 บนั ทึกเหตกุ ารณ:์ ความเป็ นมาของสถาบนั แม่ชีของไทย 1 1.1 สำนกั แมช่ ีวัดมหาธาตยุ วุ ราชรังสฤษฏิ์ 4 1.2 สำนกั แม่ชเี นกขมั มาภริ มณ์สถาน วัดบรมนิวาสราชวรวหิ าร 7 1.3 สำนักแม่ชีรตั นไพบูลย์ 9 1.4 สำนกั แม่ชสี งบจติ ต์ 10 1.5 สำนักแม่ชีศาลาสันติสุข 13 1.6 สำนักแม่ชีวัดเสนหา 16 1.7 สำนกั แมช่ ีประชุมนารีสามัคคธี รรม วดั มหาธาตุวรวิหาร 18 1.8 สถาบันแม่ชีไทยสาขาปากท่อ 21 1.9 สำนกั แม่ชสี นามชวี ัดสนามพราหมณ์ 23 1.10 สำนักแม่ชวี ดั บุญทวี (ถำ้ แกลบ) 25 บทที่ 2 การสรา้ งชมุ ชนและความมตี วั ตนของแม่ชี 31 บทที่ 3 บทบาทหลกั ของแม่ชีไทยในดา้ นต่างๆ 47 บทที่ 4 พลงั ของสตร:ี แม่ชีผสู้ รา้ งประโยชน์ 55 บทที่ 5 ศกั ยภาพแมช่ ีไทย: หากมองหา จึงมองเห็นคณุ ค่า 63 บทที่ 6 พลงั ของสตรี: กา้ วตอ่ ไปในการทางานของแมช่ ีไทย 71 1. กา้ วแรก: การทางานดา้ นการศกึ ษา เพอื่ พฒั นาตน้ ทนุ มนษุ ยอ์ ยา่ งยัง่ ยืน 71 2. กา้ วที่สอง: การทางานดา้ นการสรา้ งสัมมาชพี เพอื่ หารายไดเ้ ลี้ยงดตู นเอง 78 ชมุ ชน และแบ่งปันใหก้ บั สงั คม 81 85 3. กา้ วท่ีสาม: การทางานดา้ นสขุ ภาวะ เพื่อดแู ลสขุ ภาพ “สงู วัยหา่ งไกลโรค ดว้ ยตารับยาไทย” บทที่ 7 การพฒั นาศกั ยภาพดา้ นการสง่ เสริมการรพู้ ระพทุ ธศาสนา บทที่ 8 ก่อนจบ: บทสรปุ ทา้ ยเลม่ 95 ก
บทที่ 1 บนั ทึกเหตกุ ารณ:์ ความเป็ นมาของสถาบนั แม่ชีของไทย หากย้อนกลับไป ประเทศไทยพบคำว่า “แม่ชี” ปรากฏขึ้นในสมัยอยุธยา ตาม หลักฐานของชาวตะวันตกที่ได้บันทึกในจดหมายเหตุของนิโคลาส์ แชร์แวส์ นักเดินทางชาว ฝรั่งเศสที่ติดตามคณะสอนศาสนาคริสต์เข้ามาในสมัยอยุธยา พ.ศ. 2224 โดยมีการบันทึก เรือ่ งราวของแมช่ ีในลักษณะผิวเผินในรูปจดหมายเหตุ1 และหลักฐานของมองซิเออร์ เดอ ลา ลูแบร์ อัครราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ได้ทำการบันทึกจดหมายเหตุ เกี่ยวกับแม่ชีในสมัยอยุธยา พ.ศ. 22322 ไว้ว่า แม่ชีในสมัยอดีตรวมตัวกันตามธรรมชาติ ช่วยงานพระสงฆ์อาศัยแบบกระจัดกระจายตามวัดต่าง ๆ หรืออยใู่ นวดั รา้ งแลว้ จึงพัฒนาเป็น สำนักแม่ชีด้วยการซื้อที่ดินก่อสร้าง ซึ่งสำนักแม่ชีเป็นเอกเทศไม่ได้อยู่ในความปกครองของ พระสงฆ์ นอกจากนี้ยังมีเรื่องเล่าอื่น ๆ เล่าไว้ว่า “เมื่อ พ.ศ. 2508 คณะแม่ชีคณะหนึ่งมา เรียนบาลีและวิชาการต่าง ๆ ที่มหามกุฎราชวิทยาลัย แม่ชีคณะนี้ได้เดินผ่านจากบางลำพู เพื่อจะไปเรียนที่มหามกุฏราชวิทยาลัยเป็นประจำประชาชนแถวบางลำพูเห็นแม่ชีมีศีลและ วัตรปฏิบัติที่ดีงามก็บังเกิดความศรัทธาภาพลักษณ์ของแม่ชีในสายตาของประชาชนคือผู้ ศึกษาธรรมะและมีคณะแม่ชีผู้ใหญ่ให้การสนับสนุนคณะแม่ชีนักเรียนทำให้คณะแม่ชีสอง กล่มุ น้ีรวมตวั กันไดแ้ ละในขณะนั้นมีพระผใู้ หญ่มาใหค้ วามร้ไู ด้แนะนำส่ังสอนใหข้ อ้ คิดตา่ ง ๆ ในการก่อตั้งสถาบันของแม่ชีเพื่อที่จะรวมแม่ชีทั่วประเทศมาทำกิจกรรมร่วมกัน แลกเปลี่ยนทัศนะต่าง ๆ ร่วมกันคณะแม่ชีคณะนี้จึงได้มีการติดต่อประสานงานกับแม่ชที ี่อยู่ ในสถานที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศไทยให้มาร่วมประชุมกัน”3 จากคำบอกเล่าของแม่ชีสุภาพ อาสน์สุวรรณ,สำนักแม่ชีสนามชี วัดสนามพราหม์ จังหวัดเพชรบุรี ท่านเล่าว่า คณะแม่ชี นักเรียนบาลศี ึกษารนุ่ แรกประกอบดว้ ย (1) แมช่ สี มุ น อยยู่ อด (2) แม่ชเี พ็ญศรี คำชู (3) แม่ชี
แม่ชีไทย ทองเจอื พลับทอง (4) แมช่ ที องเพียร กลน่ิ พ่วง (5) แมช่ ีสอน บัวงาม (6) แมช่ ีอ่มิ จิตร คำมณี (7) แม่ชีสงบ สุวรรณมณี (8) แม่ชีสุภาพ อาสน์สุวรรณ (9) แม่ชีสมบูรณ์ นิลมณี (10) แม่ชี ทองหล่อ ชืน่ อารมณ์ ปีถัดมาการศึกษาของแม่ชีที่เป็นรูปธรรมเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อมีคณะสงฆ์สนับสนุน เรื่องสถานที่และจัดครูอาจารย์มาให้ความรู้แมช่ ีจากการที่แม่ชกี ลุ่มแรกที่มาเรียนจึงร่วมกบั แม่ชีผู้ใหญ่ในวัดต่าง ๆ ร่วมกันก่อตั้งสถาบันแม่ชีไทย ในวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2512 โดย มูลนิธิให้ชื่อว่า “มูลนิธิสถาบันแม่ชีไทย” อยู่ในพระบรมราชินูปถัมถ์ มีหน้าที่เกี่ยวกับการ จัดการเรื่องเงินทุน หลังจากน้ันได้ตั้งสถาบันแม่ชีไทยขึ้นมาเพื่อทำงานเกี่ยวกับการบริหาร ช่วงวันท่ี 7 เดือนเมษายนของทุกปีจะมีการประชุมรวมตวั กันเพื่อแลกเปล่ียนความคิดเห็นใน การประกาศศาสนาด้วยระลึกถึงคุณของพระศาสนา ทุกปีจัดที่สภาการศึกษามหามกุฏราช ราชวทิ ยาลยั วัดบวรนิเวศวิหาร บางลำพู กรุงเทพมหานคร หลักจากนั้นในปี พ.ศ. 2555 การ ประชมุ ใหญข่ องแม่ชีไทยได้เปลีย่ นเป็นวันที่ 2 เมษายนจัดงานประชุมท่ีสถาบันแม่ชีไทยปาก ท่อ อำเภอปากทอ่ จงั หวัดราชบรุ ี สถาบันแม่ชีไทย เปรียบเสมือนองค์กรกลางในการรวมแม่ชีทั่วประเทศมีความหมาย วา่ สถาบนั แห่งน้ีเป็นองค์กรแห่งเดียวท่ีไดร้ ับการยอมรบั อย่างเปน็ ทางการและเป็นท่ีคาดหวัง ในการรวบรวมเร่ืองราวเกีย่ วกับแม่ชีในประเทศไทย4 โดยมลู นธิ ิสถาบันแมช่ ีไทย ในพระบรม ราชินูปถัมภ์ จะดำเนินการ เพื่อส่งเสริมกิจการของคณะแม่ชีไทย ให้มีศักยภาพในด้าน สถานะทางสังคม การศึกษาอย่างกว้างขวาง ส่งเสริมให้มีการตั้งโรงเรียน วิทยาลัยและ สถานศกึ ษาเพอ่ื เปน็ สถานที่แหล่งเรยี นรู้ ท้งั วชิ าการทางโลกและการพระพุทธศาสนา ให้การ สนบั สนุนและส่งเสริมการเผยแผ่พระศาสนาทั้งในและตา่ งประเทศ ดังปรากฎในกลอนสุภาพ โดยคุณท้าวอินทร์สุริยาทูลเกล้าฯ ถวาย ณ ศาลาหน้าพระอุโบสถ ในการถวายเครื่องไทย ธรรมสถาบันฯ ครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าฯ 2
แม่ชีไทย พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินบำเพ็ญพระราชกุศลถวายพระกฐินต้น ณ วัดเขา วงั จังหวดั ราชบรุ ี ในวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2514 สถาบนั แมช่ ไี ทยได้ถวายทลู เกลา้ องค์พระ กฐิน มีผู้ไตร อัฏฐบริขาร ดอกไม้ธูปเทียน จตุปัจจัยไทยธรรม สำหรับถวายพระสงฆ์ 40 รูป สามเณร 18 รูป ดงั คำกลอนท่วี า่ มูลนธิ แิ ม่ชไี ทยใจผอ่ งผดุ บรสิ ุทธิด์ ุจดาราเวหาหัน รว่ มรกั ษาประเพณดี คี รบครัน เพอ่ื ชาตนิ ้ันรุ่งเรืองเฟือ่ งไมตรี วัตถุประสงค์ของสถาบันอนั ยง่ิ ใหญ่ รวมชไี ทยทั้งผองปองสุขศรี พทุ ธศาสนท์ อแสงแห่งความดี ช่อื เสยี งมเี กยี รตยิ ศลว้ นงดงาม เป็นตน้ เบื้องหลังความสำเร็จในการก่อตั้งสถาบันแม่ชีไทยกล่าวได้ว่ามีพระสงฆ์เป็น ผ้สู นบั สนนุ อย่เู บอ้ื งหลังมีรอ่ งรอยหลักฐานการเปิดประชุมคร้ังแรกของสถาบันแม่ชีไทยโดยมี สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณสมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฺฐายี) สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 16 แห่งกรงุ รัตนโกสินทร์ เสด็จเปิดการประชุมใหญ่สถาบันแมช่ ไี ทยครั้งท่ี 1 ท่ีสภามหามกุฏ ราชวิทยาลัยวัดบวรนิเวศวิหาร พ.ศ. 2513 รายละเอียดของพระดำรัสเปิดการประชุมใหญ่ คอื ให้แมช่ ไี ทยยึดหลักสาราณิยธรรม (ธรรมทเ่ี ป็นท่ตี ้ังแห่งความระลึกถงึ กัน) หลักอปริหานิย ธรรม (ธรรมที่ทำให้ไม่เสื่อม) หลักพรหมวิหาร หลักทาน ศีล ภาวนา หลักศีล สมาธิ ปัญญา การเจรญิ อานาปานสติ ใหก้ ำลังใจแมช่ ีในการประพฤติธรรม5 จากอดีตจวบจนถึงปัจจุบันหากย้อนกลับไปศึกษาเรื่องราว ประวัติศาสตร์ของ สถาบันแม่ชีในประเทศไทย สามารถสรุปภูมิหลังชุมชนทางศาสนาของแม่ชีและสตรีไทยที่ สำคญั ไวพ้ อสังเขปได้ 10 สถานทีด่ ังต่อไปนี้ 3
แมช่ ไี ทย 1.1 สำนักแมช่ ีวดั มหาธาตยุ ุวราชรังสฤษฏ์ิ การกำเนิดสำนักแม่ชีวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ ได้เริ่มต้นจากแม่ชีจันทมาลา สุทธิ แพทย์ บ้านขามเบี้ย ตำบลขามเบี้ย อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี ได้รับการ พิจารณาจากพระอาจารย์บุญเรือง ปิยธมฺโม ให้เข้าร่วมปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานที่สำนักวัด มหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพมหานคร พร้อมกับ แม่ชีผกา แม่ชีสะอิ้ง แม่ชีบัวผัน และ แม่ชีสายทอง ซึ่งมีพระพิมลธรรม สังฆมนตรีองค์การปกครอง สมัยนั้นเป็นประธานผูอ้ ำนวย อุปถัมภ์ มีพระอุดมวิชาญาณ (โชดก ป.9) เป็นพระอาจารย์ใหญ่สายวิปัสสนากรรมฐาน แรกเริ่มเดิมทีที่จะได้เข้ามาอยู่วัดมหาธาตุเพราะพระอาจารย์บุญเรือง ได้ติดต่อพระครูสร วิชัย อาจารย์สอนวิปัสสนากรรมฐานให้รับกรรมฐานเข้าปฏิบัติ ในเดือน 8 ปีมะเมีย พ.ศ. 2497 ต้องพกั รอห้องอยู่ประมาณ 7 วัน เน่ืองจากสมยั นัน้ มีผู้เขา้ ปฏิบตั ิกรรมฐานเป็นจำนวน มากห้องพักไม่เพียงพอ ในระหว่างการรอเข้าปฏิบัติธรรมก็ได้ช่วยส่งอาหารให้แก่ผู้ที่เข้า 4
แม่ชไี ทย ปฏิบัติธรรมในวัด จนกระทั่งมีห้องว่างจึงได้เข้ากรรมฐานและ ในระหว่างการปฏิบัติ กรรมฐานเป็นเวลา 3 เดือนนั้น ได้รับความเมตตาจากพระครูสรวิชัยแบ่งอาหารบิณฑบาต ของท่านให้รับประทานมาโดยตลอด เมื่อว่างจากกิจส่วนตัวได้เข้าไปช่วยงานส่วนรวมของ ทางวัดเปน็ ประจำมไิ ดข้ าด ต่อมาพระธรรมปัญญาบดี ได้เมตตาให้เป็นผู้จำหน่ายดอกไม้ ธูปเทียน เพื่อรวบรวม ปัจจัยบรู ณะและซ่อมแซมวัดในระหว่างปี พ.ศ. 2503 จนถึง 2507 จากนั้นพระธรรมปัญญา บดีได้มอบหมายให้ทำงานดูแลในพระอุโบสถซึ่งในสมัยนั้นมีพุทธศาสนิกชนมาปฏิบัติ กรรมฐานและฟังเทศน์ที่วัดมหาธาตุเป็นจำนวนมาก กิจกรรมของวัดจัดขึ้นในวันธัมมสวนะ (วนั พระ) และวันอาทิตย์ หนึง่ เดือนมวี ันพระ 4 วัน คอื วนั ขน้ึ 8 ค่ำ วนั ขน้ึ 15 ค่ำ วันแรม 8 คำ่ วนั แรม 15 ค่ำ หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2511 คุณนายวงศ์ศิริ เสนียวงศ์ ณ อยุธยา มีความศรัทธาใน แม่ชีจันทมาลา ที่ได้เห็นข้อวัตรปฏิบัติและช่วยงานวดั อยา่ งอุทิศตน จึงมีจิตศรัทธาประกอบ กับความเมตตากรุณาได้สร้างหอสวดมนต์ให้แม่ชีไว้ที่เขตครัว คณะ 3 ในวัดมหาธาตุฯ ซ่ึง เป็นบริเวณที่ใช้ในการสร้างหอสวดมนต์นี้เป็นที่ว่างและมีสระน้ำ ผักบุ้ง ต้นกล้วยที่ขอบสระ น้ำและเป็นที่ทิ้งขยะ บริเวณนี้อยู่ระหว่างคณะ 3 และผนังเขตพุทธาวาสตรงข้ามหอระฆัง เนื้อที่ประมาณ 100 ตารางวา การสร้างนี้ถือได้ว่าเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมและคณะแม่ชี อย่างมหาศาล หอสวดมนต์แห่งนี้ใช้เป็นสถานที่ประชุมและทำวัตรสวดมนต์เช้า-เย็นของ คณะแม่ชีซง่ึ สวดมนต์เช้า-เย็นแยกจากพระสงฆ์ พระธรรมปญั ญาบดไี ด้แต่งต้ังแมช่ ีจันทมาลา เป็นหัวหน้าแม่ชีปกครองดูแลแม่ชีในสำนัก พระสงฆ์ แม่ชี คฤหัสถ์ในวัดมหาธาตุฯ จะ เรียกว่า แม่ชจี นั ทมาลา ว่า “แมใ่ หญ”่ ใชส้ ำหรบั เรยี กหวั หน้าแมช่ ี6 การพัฒนาสำนักแม่ชีวัดมหาธาตุยวราชรังสฤษฏิ์ ดำเนินต่อมา จนกระทั่ง ปี พ.ศ. 2520 แม่ชีจันทมาลาและญาติโยมผู้มีจิตศรัทธาได้ร่วมสมทบทุนสร้างบ่อเก็บน้ำฝนและ 5
แม่ชไี ทย น้ำประปา เป็นจำนวนเงิน 102,000 บาท เพื่อให้เพียงพอต่อการใช้และรองรับผู้ที่มาทำบุญ ในวัด ต่อจากนั้นจากได้ปรบั ปรงุ และขยายหอสวดมนต์ โดยมีผู้ช่วยเหลือสมทบทนุ คือ แม่ชี บุญมา รอดครุฑ แม่ชีเชื้อ คงแจ๋วและแม่ชีปุ่น คำหอม เพื่อให้มีพื้นที่เพียงพอกับผู้ที่มา ทำบุญ และเพอ่ื การอยู่อาศยั การทำวัตรสวดมนต์และการนั่งสมาธขิ องคณะแมช่ ี ในลักษณะ ของการเป็นอยู่ร่วมกันอย่างพี่น้องหรือลูกหลาน เพื่อการปฏิบัติในศีลธรรม การศึกษาหา ความรูท้ างพระพทุ ธศาสนา จนกระท่งั ในปี พ.ศ. 2543 คณุ แม่ชจี ันทมาลา สุทธิแพทย์ มีอายุมากประกอบกบั การ เตรียมมอบภาระงานและหน้าที่ความรับผิดชอบให้กับแม่ชีท่านต่อไป จึงได้มีการประชุม คณะแม่ชีในเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2543 มีคณะแม่ชีเข้าร่วมประชุมจำนวน 33 คน เพื่อ พิจารณาตำแหน่งหัวหน้าแม่ชี ที่ประชุมได้มีมติเป็นเอกฉันท์ แต่งตั้งให้แม่ชีบุญเรือง บุญ ปัญญา ทำหน้าที่หัวหน้าแม่ชี7 อีกทั้งยังเป็นการเตรียมความพร้อมเข้ามาเรียนรู้ในการ บริหารงานในคณะแมช่ ี ด้วยการทำพนิ ัยกรรม ดงั ความตอนหนงึ่ ในพินยั กรรมไดร้ ะบุไว้วา่ “พินัยกรรมแต่งต้ังหัวหน้าแมช่ ี หอสวดมนต์วงศศ์ ิริ เสนวี งศ์ ณ อยุธยา วดั มหาธาตุฯ คณะ 3 กรุงเทพมหานคร 21 มกราคม 2540 ข้าพเจา้ แม่ชีจนั ทมาลา สุทธแิ พทย์ โดยเหตุป รารถถึงผู้จะเป็นหัวหน้าประจำสำนักแม่ชีคณะ 3 ข้าพเจ้าเห็นสมควรที่จะแต่งตั้งแม่ชีบุญ เรือง บุญปัญญา ในด้านความประพฤติ เธอก็เป็นผู้มีศีลา จรรวัตรที่ดีงาม เป็นที่รักของแม่ชี ทุกรุ่น ไม่เคยมีเรื่องทะเลาะกับแม่ชีคนใดเลย ขอกราบนมัสการท่านอธิบดีสงฆ์ วัดมหาธาตุ และท่านเจ้าคณะ 3 โปรดพิจารณาเมตตาแต่งตั้งแม่ชีบุญเรือง บุญปัญญา เป็นหัวหน้าแม่ชี สืบไป” หลังจากแม่ชีจันทมาลา สุทธิแพทย์ ได้เสียชีวิต 12 ตุลาคม 2544 จากนั้น แม่ชีบุญ เรือง บุญปัญญา ได้เข้ามาปฏิบัติหน้าที่ดำรงตำแหน่งหัวหนา้ คณะแม่ชรี ุ่นที่ 2 ของสำนักแม่ ชีวัดมหาธาตยุ วราชรงั สฤษฏิ์ ต้ังแต่บดั น้ันจนถึงปัจจบุ นั 6
แม่ชไี ทย 1.2 สำนักแมช่ เี นกขมั มาภริ มณ์สถาน วดั บรมนิวาสราชวรวหิ าร ด้วยความศรัทธาของพลเรือเอก กรมหลวงสิงห์วิกรมเกรียงไกร เป็นผู้ซื้อที่ดินถวาย พระอุบาลี คุณูปมาจารย์ เพื่อสร้างสำนักเนกขัมมาภิรมณ์สถาน และมีสมเด็จพระเจ้าบรม วงศเ์ ธอ กรมพระสวัสดิ วดั นวศิ ิษฏ์ พร้อมทง้ั พระประยรู ญาติเป็นผ้สู รา้ งศาลาสวดมนต์สำนัก เนกขมั มาภิรมณส์ ถาน สมัยก่อนจงึ มีผูห้ ญงิ จากวังเจา้ จอมหม่อมหา้ มมารักษาศลี อุโบสถ ฟัง 7
แม่ชีไทย เทศน์ จากเจ้าคุณอุบาลี คุณูปมาจารย์ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต หลวงปู่ฝั่น อาจารโร และท่าน พอ่ ลี ธมั มธโร เปน็ ต้น เนอ่ื งจากสถานท่ีพกั อาศัยไม่สะดวกสำหรบั ผู้หญิงในวัง ทง้ั สองท่ีกล่าว ข้างต้น เป็นผู้จัดซื้อและสร้างบนเนื้อที่ 3 ไร่ ถวายแด่เจ้าคุณพระอุบาลีและท่านได้ตั้งช่ือ สถานที่น้วี ่า “สำนกั เนกขมั มาภริ มณส์ ถาน” คุณท้าวสัตยานุรักษ์และอีกหลายท่าน ในสมัยรัชกาลที่ 5-7 เป็นผู้มั่นคงใน พระพุทธศาสนา ท่านมักจะไปรับศีล ฟังเทศน์ในวันธรรมสวนะ ที่วัดราชประดิษฐ์ วัดพระ แก้ว และวัดบรมนิวาสเป็นนิจศีล เมื่อท่านอายุ 60 ได้ลาออกจากราชการและไปพักอยู่ใน คณะอุบาสิกาแล้วออกบวชเป็นแมช่ ี เปน็ ผู้ปกครองทา่ นแรกของสำนักและได้ปลูกเรือนไว้ใน ที่แห่งนั้น ต่อมาเมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2499 คุณท้าวสัตยานุรักษ์ถึงแก่กรรม จากนั้นมี หัวหน้าแม่ชีปกครอง คือ แม่ชีเป๋า แม่ชีลุ้ย อารมณ์ดี และแม่ชีสมหวัง อิ่มนาค ตามลำดับ8 นอกจากนี้ จากคำบอกเล่าของพระครูกิตติคุณสาทร (มั่น กิตติธโร) ได้แสดงให้เห็นถึงความ เป็นมาของแม่ชีอรุณ สำนักเนกขัมมาภิรมณ์สถาน วัดบรมนิวาส จากการที่แม่ชีอรุณได้เข้า มาช่วยงานด้านศาสนาของวัด โดยการมอบหมายจากกรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ ผู้มีความ เลื่อมใสศรัทธาต่อท่านเจ้าคุณพระอุบาลี เนื่องจากแม่ชีอรุณเป็นผู้ที่มีความรู้เรื่องชวเลขจึง ทำหน้าที่ในการจดบันทึกการแสดงธรรมของท่านเจ้าคณุ พระอุบาลีจากนั้นจึงนำมาเรียงเปน็ ภาษาไทยโดยผ่านการตรวจแก้ไขและรับรองจากท่านเจ้าคุณพระอุบาลีก่อนพิมพ์เผยแพร่ เดิมทีแม่ชีอรุณท่านเป็นคนในวังกรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ เป็นผู้ที่มีความรู้และเก่งชวเลข และมีความสามารถในการแต่งโคลงกลอน จึงได้รับความไว้วางใจให้อยู่ในวัดและพักที่สำนกั เนกขมั มาภิรมณ์ ซ่ึงกุฏแิ ม่ชีอรณุ ในขณะน้นั เป็นเรือนไม้ชนั้ เดียว ตอ่ มาทา่ นได้เสียชีวติ ในช่วง ปี พ.ศ. 2504-25059 แม่ชีวัลลภา จันทร์อยู่ ได้เล่าเพิ่มเติมว่า แม่ชีอรุณเป็นผู้ที่อยู่ในการ ดแู ลของท้าวสัตยานรุ ักษ์ (สาย โรจนดษิ ) ท่านน้ีมีความนบั ถอื และศรัทธาในพระอุบาลี จึงได้ ชกั ชวนให้แม่ชีอรุณมาอยทู่ สี่ ำนกั เนกขัมมาภริ มณส์ ถานและได้บวชท่วี ดั น้ี10 8
แมช่ ีไทย 1.3 สำนักแม่ชีรตั นไพบูลย์ สำนักแม่ชีรัตนไพบูลย์ ตั้งอยู่บนพื้นที่ของมูลนิธรสถาบันแม่ชีไทย ในพระบรม ราชินูปถัมภ์ ตอ่ มา พ.ศ. 2517 คุณอมั ภา เกิดไพบรู ณ์ ไดซ้ ้ือทดี่ นิ เพม่ิ เตมิ เร่ิมก่อสร้างสำนัก ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2519 ต่อมา พ.ศ. 2548 แม่ชีชูใจ ปทุมนันท์ ได้เข้ามาเป็นผู้บริหาร โครงการต่าง ๆ ในสำนัก เน้นการพัฒนาบุคลากรในชุมชน ได้แก่ การจัดอบรมปฏิบัติธรรม แกแ่ ม่ชี สตรี และโครงการศนู ย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน ปัจจบุ ันสำนักไดป้ รบั เปล่ียนบทบาท ในการรับใช้สังคมตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป โดยเป็นศูนย์ประสานงานเพื่อการพัฒนา เยาวชนและสตรีของเครือข่ายแม่ชีไทยพัฒน์ฯ และเป็นที่ตั้งของสำนักสถาบันแม่ชีไทยและ มูลนิธิสถาบันแม่ชีไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ นอกจากนี้ยังดำเนินงานที่ครอบคลุมในมิติ ต่าง ๆ ของสตรีและประชาชนทัว่ ไป 9
แมช่ ไี ทย 1.4 สำนักแม่ชสี งบจติ ต์ สำนักชีสงบจิตต์และมูลนิธิสำนักชีสงบจิตต์ ตัง้ อยูเ่ ลขท่ี 9 ซอยอ่อนนุช ถนนสุขุมวิท เขตพระโขนง กทม. 10110 ตั้งขึ้นเมื่อพ.ศ. 2501 โดยแม่ชีประพศิ หงสกุล ด้วยการซื้อท่ดี ิน ไว้ 1 ไร่ เริ่มต้นด้วยการสร้างศาลา 1 หลัง เป็นที่สวดมนต์และสถานที่พักคณะชี ประกอบด้วยกุฏิ 6 หลัง ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2508 อาจารย์ผู้ปกครอง แม่ชีวัดปทุมวนารามถึง แก่กรรมลง ที่สำนักแม่ชีไม่มีผู้ปกครอง ข้าพเจ้าจึงได้เชิญแม่ชีบุญเลี้ยง แออ่วม ซึ่งเวลาน้ัน ไปปฏิบัติกรรมฐานอยู่ที่เขาสวนหลวง จังหวัดราชบุรี มาเป็นผู้ปกครองแทนข้าพเจ้า เพราะ ข้าพเจ้าต้องกลับไปปกครองที่คณะชีวัดปทุมวนาราม ในสถานที่ตั้งสำนักชีและมูลนิธิแห่งน้ี เริ่มต้นที่มาอยู่หนทางไปมาไม่สะดวก ในช่วงฤดูฝนน้ำดินโคลนตลอดทาง เพราะที่ดินเป็น ท้องนา ถนนยังเป็นดิน ถ้ามีธุระต้องเดินไปลงเรือที่คลองพระโขนง ซึ่งทำให้ได้รับความ 10
แม่ชไี ทย ยากลำบาก พ.ศ. 2509 นางสาวบุญชื่น รามโกมุท มีศรัทธาสร้างศาลาใหญ่ ครึ่งตึกครึ่งไม้ สองชั้น 1 หลัง พร้อมยกที่ดินที่ปลูกศาลาประมาณ 40 ตารางวาเศษ ให้เป็นที่สวดมนต์ พร้อมทง้ั ยกกรรมสิทธ์ทิ ่ดี นิ ใหเ้ ป็นสมบตั ขิ องมูลนิธิ ต่อมา พ.ศ. 2519 ทางสำนกั ชไี ดเ้ ปดิ สอน วชิ า ศีลธรรม จรยิ ธรรม วัฒนธรรม เคหศลิ ปแ์ ละกิจกรรมหลายสาขาเป็นครั้งแรก กิจกรรมนี้ เป็นที่สนใจของคณะแม่ชีและผู้ที่ได้รับอบรมจากแม่ชีมาก จึงได้ดำเนินกิจกรรมอบรมมาทุก ปี โดยสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยเป็นผูอ้ ปุ ถัมภ์ ในเรื่องปัจจัยการอบรม คุณหญิง ดิฐการภักดี เป็นผู้ประสานงาน ท่านผู้นี้มบี ทบาทอันสำคัญในการหาทนุ อบรมออกไปเผยแผ่ ในการอบรมนั้นจัดเป็น 2 รุ่น ๆ ละ 20 รูป ใน 1 ปีประมาณ 40 รูป จนสถานที่พักอาศัยไม่ เพยี งพอ ต่อมา แม่ชีช้อย มณีขาว ได้เห็นถึงความจำเป็นในเรื่องที่พัก เกิดจิตศรัทธา จึงได้ บริจาคเงินจำนวน 282,660 สร้างตึก 2 ชั้น หนึ่งหลัง ชื่อ “ตึกช้อย มณีขาว” ชั้นบนเป็นที่ พักของแมช่ ี ช้ันล่างเป็นสถานทีฝ่ ึกอบรม ศีลธรรมและกจิ กรรมเคหศิลป์ ไดเ้ ปิดอบรมไปแล้ว 12 ร่นุ ๆ ละ 20 รูป สามารถออกไปเปน็ วทิ ยากรแนะแนวทางใหแ้ ก่เยาวสตรี ในส่วนภมู ิภาค หลายจังหวัด และเมื่อปี พ.ศ. 2526 กรุงเทพมหานคร ได้ประสบอุทกภัยอย่างร้ายแรง ย่าน ออ่ นนุชถูกน้ำท่วมมากท่ีสุด ในสำนกั ชสี งบจิตต์ กุฏทิ ุกหลังจมน้ำต้องอพยพย้ายสิ่งของไปไว้ ช้นั บนของตึกช้อย มณีขาว นำ้ ทว่ มอยู่ประมาณ 3 เดือน เมือ่ นำ้ ลดจงึ ไดซ้ ่อมแซมบูรณะที่อยู่ และสิ่งของต่าง ๆ เสียหายเป็นจำนวนมาก สถานที่อยู่คับแคบไม่เป็นระเบียบ แม่ชีมีจำนวน 40-50 รปู โรงครวั กช็ ำรุดประจวบกับโรงเรียนวาสุกรีจะเลิกกิจการ อาจารยท์ ิพวัลย์ จึงบอก ขายโรงเรียน 110,000 บาท ก็นึกว่าหากได้โรงเรียนนี้มาก่อสร้างก็คงจะดีมาก แต่ข้อท่ี หนักใจที่สุด ก็คือ ทางสำนักขาดปัจจัยอันเป็นกำลงั สำคัญ ในขณะนั้น คุณสุวพนั ธ์ ได้มาพกั อยู่ด้วย เป็นผู้สนับสนุนรับยินดีจะชว่ ยหาผู้บริจาคสมทบ ในราคาห้องละ 20,000 บาท เม่ือ ตกลงก็ได้ทำสัญญาซื้อและชำระเงินในวันที่ 16 เมษายน 2527 และได้รื้อถอนและขนไม้เข้า 11
แมช่ ีไทย มาไว้ในสำนัก พร้อมทั้งได้รื้อกุฏิและโรงครัวในสำนักออก 4 หลัง ในส่วนที่ไม่รื้อ คือ ศาลา บุญชื่น รามโกมุท ตึกช้อย มณีขาว และยังเหลือกุฏิไว้อีก 2 หลัง เพื่อเป็นที่พักแม่ชี อีกหลัง หนึ่งสำหรับเป็นที่รับรองแขก ซึ่งอยู่ติดกับห้องสมุดสุวพันธ์ ตันเกียรติกุล เป็นผู้สร้างได้นำ นาฬกิ า พดั ลม และหนังสอื ตา่ ง ๆ มาไว้เพอื่ ใหค้ ณะแม่ชไี ดศ้ กึ ษาหาความรเู้ พิ่มเติม สำหรับ “อาคารสามัคคีเอกประสงค์” ปลูกเป็นแนวหักมุมยาว 38 เมตร กว้าง 12 เมตร สร้างเสร็จเมื่อวนั ที่ 20 ธันวาคม 2527 จำนวนเงินก่อสร้าง 600,000 บาท เป็นอาคาร 2 ชั้น มี 19 ห้อง เป็นที่พักของแม่ชี สำหรับชั้นล่างเป็นที่พักสำหรับแม่ชีสูงอายุ จำนวน 8 ห้อง ที่เหลือเป็นห้องโถงใหญ่สำหรับอบรมแม่ชีที่เป็นวิทยากร และแบ่งเป็นห้องครัว ห้อง เก็บพัสดุ และห้องควั่นธูปหอม ซึ่งในมูลนิธินี้ มีกิจกรรมอีกอย่างหนึ่งของแม่ชีที่สูงอายุ คือ ทำธปู ใช้เวลาก่อสรา้ ง 7 เดอื น 20 วนั ถัดไปทางทิศเหนอื ของอาคารหลังน้ี มเี นอื้ ที่ประมาณ 1 ไร่ 84 ตารางวา ได้กั้นบริเวณมิดชิดสำหรับเป็นที่เจริญภาวนา ในบริเวณนี้มีกุฏิ 6-7 หลัง รวมกบั ศาลาพักร้อนด้วย และมีผู้ปฏิบัติกรรมฐานอยู่ทุกหลัง สถานทแ่ี ห่งนี้ข้าพเจ้าเป็นผู้ซ้ือ ท่ีดินและได้ถวายกรมศาสนา ยกให้เป็นของวัดปทุมวนารามและเสียค่าธรณีสงฆ์ปีละ 2,000 บาท11 12
แมช่ ีไทย 1.5 สำนักแมช่ ศี าลาสันตสิ ุข นางแก้ว อุชุวัฒน์ เดิมเป็นคหบดีฐานะดีภูมิลำเนาอยู่ที่อำเภอบางพลีน้อย จังหวัด สมุทรปราการ สามีของคุณนายแก้วมีบรรดาศักดิ์เป็นคุณพระเป็นผู้กำกับการตำรวจจังหวดั นนทบุรี ไม่มีบุตรธิดา ญาติพี่น้องเป็นผู้มีฐานะดี คุณนายแก้ว อุชุวัฒน์ เดินทางมาปฏิบัติ ธรรมที่วัดบุญทวีถ้ำแกลบ จังหวัดเพชรบุรี ในสมัยนั้นหลวงพ่อเภา พุทฺธสโร ถ้ำตะโกพุทธ โสภา จังหวัดลพบุรี เป็นพระที่เชี่ยวชาญและมีชื่อเสียงในการสอนกรรมฐานได้มาสอน กรรมฐานแสดงธรรมอยู่ทีว่ ัดบุญทวีเปน็ ประจำ คุณนายแก้ว ได้ฟังธรรมจากจากหลวงพ่อทำ ให้คุณนายแก้วเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา จากการเดินทางไปศึกษาธรรมที่วัดถ้ำแกลบบุญ ทวีจึงทำให้คุณนายแก้วมีความคุ้นเคยกับแม่ชีวารี จีระพันธ์ ผู้ซึ่งคุณนายแก้วสนทนาธรรม ด้วยแล้วสบายใจจึงมีความศรัทธาในตัวแม่ชีวารีโดยมีความศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็น 13
แม่ชไี ทย ทุนเดิมอยู่แลว้ จงึ นำมาสู่การสร้างสำนักศาลาสนั ตสิ ุขให้คณะแม่ชีกลุ่มหนึ่งได้อยู่จำศีลเพราะ มคี วามสงสารตอ่ ลูกผู้หญิงที่บวชแลว้ ไมม่ ีสำนักอยู่เปน็ สัดส่วนเอกเทศต้องไปอาศัยวัด ความ ประสงค์ของผู้สร้างคือต้องการให้เป็นสถานที่ของลูกผู้หญิงที่ใคร่ต่อการศึกษาและปฏิบัติ ธรรมของพระพทุ ธเจา้ 12 คณุ นายแกว้ อชุ วุ ัฒน์ ได้ซอื้ ท่ีดินหน้าสวนลุมพนิ ศี าลาแดง ตำบลสลี ม อำเภอบางรัก ถนนพระราม 4 เนื้อที่ 1 ไร่ 2 งาน 85 ตารางวา กรุงเทพมหานคร ดงั นัน้ สำนักอุบาสิกาสันติ สุขจงึ ถูกสร้างข้นึ ใน พ.ศ. 2486 ในปีเดยี วกันได้ทำพินยั กรรมยกใหเ้ ปน็ สิทธขิ องมหามกุฏราช วิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ วัตถุประสงค์ให้จัดการบำรุงส่งเสริมอุบาสิกา แม่ชีที่อยู่ใน สำนักมีทั้งหมด 3 รูป คือ 1. แม่ชีวารี จิระพันธ์ 2. แม่ชีชม 3. แม่ชีถมยา จิระพันธ์ เดินทาง ไปมาระหวา่ งเพชรบรุ ีกับศาลาสันตสิ ุข และคุณนายแกว้ ได้พักอาศัยอยู่ในสำนักโดยมีแม่ชีวา รี จิระพันธ์เป็นหัวหน้าสำนัก คุณนายแก้วมีความปรารถนาที่จะขยายสำนักให้กว้างและ สวยงามมีสวนดอกไม้ที่น่ารื่นรมย์ทำให้ผู้คนที่เข้ามาในสำนักเห็นแล้วไม่อยากออกไปจาก สำนกั ต่อมาเมื่อปลายปี พ.ศ. 2509 คณะแม่ชีได้เข้าไปหาได้ทูล ม.จ. ชัชวลิต เกษมสันต์ ผจู้ ัดการมหามกฏุ ราชวทิ ยาลยั บอกความประสงคจ์ ะย้ายทอ่ี ยู่ เมือ่ ผู้จดั การไมข่ ดั ข้องคณะแม่ ชีได้ขายที่ดินสำนกั แห่งนี้ได้ยา้ ยไปสร้างสำนกั อยู่ที่ตำบลท่าตำหนักอำเภอนครชัยศรจี ังหวดั นครปฐมบนเนื้อที่ 12 ไร่ 6 ตารางวา ย้ายจากสวนลุมพีนีในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2510 ร้ือ ขนย้ายและลงมือสร้างวันที่ 24 เมษายน พ.ศ.2510 สร้างแล้วเสร็จในปลายปี พ.ศ. 2511 วันที่ 14 มิถุนายน 2513 เป็นวันฉลองสำนักใหม่ สาเหตุในการย้ายคือสิ่งปลูกสร้างใน บริเวณรอบ ๆ สำนักมีมากขึ้นข้างสำนักมโี รงงานปล่อยน้ำเสียทำให้ไม่สงบและมียุงชมุ แม่ชี ถมยา จีรพันธ์ เป็นผูด้ ำเนินการก่อสรา้ ง แม่ชีที่ทำการขนย้ายมีทั้งหมด 23 รูป หลังจากย้าย มาตง้ั อยทู่ ี่อำเภอนครชัยศรีแลว้ ชุมชนหมู่บ้านละแวกน้ันไดม้ าทำบญุ เป็นข้าวสารอาหารแห้ง 14
แมช่ ไี ทย เปน็ ประจำ สำนักมีความปลอดภยั สูงเพราะมรี ว้ั รอบขอบชิดมปี ระตูปิดตลอดเวลา ประชาชน ประสงค์ทำบุญ ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 คุณนายแก้วได้ป่วยและเข้าโรงพยาบาลคณะแม่ชี คอยดูแลเฝ้าไข้ตลอดผลัดเวรกันดูแล ต่อมาคุณนายได้ถึงแก่กรรมตั้งศพไว้ 3 วัน เพราะ บ้านเมืองยังอยู่ในช่วงสงคราม เมื่อสงครามสงบผู้คนกลับเข้าสู่ถิ่นเดิม หลังจากท่านถึงแก่ กรรม พบขอ้ ความพนิ ัยกรรมฉบับสดุ ทา้ ยและฉบับเพม่ิ เตมิ 13 ระบไุ ว้วา่ “ฉันถึงแก่กรรมตัวเงินที่ยังเหลืออยู่มากน้อยเท่าไร ให้ทางเจ้าหน้าที่มหามกุฏฯ จัดการทำศพและบำรุงสันติสุข เหลือจากนั้นให้เจ้าหน้าที่กระทรวงศึกษาธิการจัดหา ผลประโยชน์ สร้างโรงเรียนตามวัด 1 ส่วน ไว้บำรุงศาสนสมบัติใช้จ่ายในกิจศาสนา 1 ส่วน และให้นำอัฐิไปรวมไว้กับบิดามารดาที่ฐานดอกบัว ที่ได้สร้างไว้ในวัดบุญทวี ถ้ำแกลบ ให้ เจ้าหน้าที่ทางมหามกุฏฯ หักเงินรายได้ของฉันมอบให้หัวหน้าอุบาสิกาสันติสุขเพื่อทำบุญ อทุ ิศใหฉ้ นั ทุกปี”14 15
แม่ชไี ทย 1.6 สำนักแม่ชวี ดั เสนหา ประวัติอุบาสิกาเก๊า แซ่ตั้น วัดเสนหา ตามที่ปรากฏในหนังสือที่ระลึกในงาน ฌาปนกิจศพ ณ เมรุวัดเสนหา จังหวัดนครปฐม เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2511 ความว่า เมื่อ พ.ศ. 2453 คุณเพิ่มเสนหา บุญนาค ได้สละที่ดินแปลงหนึ่งที่ตำบลสวนตะไคร้สร้างวัด เห็น 16
แมช่ ีไทย ว่าที่นั้นสงบเงียบและมีอาจารย์นักกรรมฐานสอนวิปัสสนากรรมฐาน เนื้อที่ที่สร้างวัดเสนหา หาตั้งอยูท่ างทศิ ตะวนั ออก เมื่อคณะสงฆ์ลงฟังพระกรรมฐานกม็ ีคณะอุบาสิกามาร่วมฟังดว้ ย เปน็ ประจำ ตอ่ มาเม่ือภิกษสุ ามเณรมีมากข้นั โดยลำดับ การบิณฑบาตกฝ็ ืดเคอื งเพราะรอบ ๆ วัดสมัยนั้น ยังไม่ค่อยมีบ้านคนและเป็นที่เปลี่ยว ส่วนมากพระภิกษุที่ไปบิณฑบาตที่ตลาด ใกล้ๆ องค์พระ การบิณฑบาตฝืดเคือง ไม่นานอุบาสิกาเก๊าก็คิดว่าในภายหน้าหากความ เป็นอยู่ของพระภิกษุและสามเณรเป็นอย่างนี้ตลอดไปจะลำบากกว่านี้ สมควรจะตั้งโรงครัว ขึ้นสำหรับทำอาหารถวายพระเณรเพล จึงได้ชักชวนผู้มีจิตศรัทธาที่รักใคร่นับถือกันและ บุคคลทั่วไป ปลูกเป็นโรงครัวและจัดหาข้าวสุก ข้าวสารและเครื่องครัวมาไว้ตามแต่จะได้ ตอนเพลก็จัดถวายไปที่ครัวใหญ่ คือในสำนักอุบาสิกา เพื่อความสะดวกไม่ต้องยกมาถวาย ตามกุฏิจนถึง พ.ศ. 2498 จึงได้นำมาฉันที่กุฏิ ด้วยความเป็นผู้เสียสละ เสียงดังก้องกังวาน เหมือนผู้ชาย พูดจาคล่องแคล่ว จงึ สามารถปกครองคณะชีถึงประมาณ 80 คนเศษเรียบร้อย เสมอมา จึงเป็นที่รู้จักกันทั่วไปของพระและใคร ๆ เขามักเรียกกันว่า “ยายเก๊า หัวหน้า อุบาสิกา วัดเสนหา” พระครูสังวรวินัย ได้มอบหมายให้อุบาสิกาเก๊าเป็นผู้ดูแลสำนักชี ที่วัด เสนหานี้ 17
แมช่ ไี ทย 1.7 สำนักแมช่ ปี ระชมุ นารีสามัคคธี รรม วดั มหาธาตวุ รวิหาร พื้นที่ของสำนักแม่ชีประชุมนารีสามัคคีธรรมมีหลักฐานบันทึกว่าเคยเป็นวัดมาก่อน กาลต่อมาไดม้ ีสภาพเป็นวัดร้างเนื่องจากสงครามสู้รบกับพมา่ และถูกทิ้งให้เป็นวดั ร้างมาเป็น กาลชา้ นานวดั รา้ งแห่งนี้ช่ือวา่ วัดอทุ ัยและมพี ระพุทธรูปศิลาแลงเป็นสัญลกั ษณ์ตั้งอยูก่ ับฐาน 18
แม่ชีไทย ซึ่งมีพื้นที่สูงขึ้นจากดินด้านหลังพระมีต้นโพธิ์ขึ้น รากต้นโพธิ์พันองค์พระพุทธรูปจนชำรุด พื้นล่างของฐานพระมีอิฐกองอยู่ รกไปด้วยต้นไม้นานาชนิดและเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ร้าย และสัตว์เลื้อยคลาน เป็นต้น สถานที่วัดร้างแห่งนี้อยู่ในความดูแลของวัดมหาธาตุวรวิหาร (เดิมคือวัดหน้าพระธาตุ) ในปี พ.ศ.2445 อุบาสกเยี้ยวได้เห็นปฏิปทาของแม่ชีกลุ่มนี้นำโดย แมช่ ีทองพนิ สนุ ทรางชุน ซ่ึงเป็นชาวกรงุ เทพมหานครได้มาปักกรดปฏบิ ัตธิ รรมอยู่ท่ีวัดเขาวัง อันเป็นป่ารกชัฏอุบาสกเยี้ยว แซ่โซ้ว ได้เห็นแม่ชีกลุ่มนี้มีปฏิปทาน่าเลื่อมปฏิบัติธรรม เคร่งครัดมาก มีความเข้าใจในหลักธรรมในศาสนาพุทธจากการสนทนาธรรมกันจึงนำไปสู่ การขออนุญาตจากหลวงพ่อตัน๋ ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุในขณะน้ันสนับสนุนใหค้ ณะแม่ ชกี ลมุ่ นไี้ ด้อยู่อาศัยทวี่ ัดอุทยั ที่เป็นวัดรา้ งอย่างถาวรในเดือนเมษายน 2445 หลังจากนั้นนาย อากร ตก๊ิ เซ้งได้ร้ือบ้านท่ี กรุงเทพมหานครนำมาถวายสร้างเป็นวิหาร เม่ือเดอื นเมษายน พ.ศ. 2545 สำนกั แม่ชีแหง่ นีจ้ งึ ได้สร้างขึ้นตั้งอยู่ทางทิศใต้ของกำแพงวัดหรอื ทศิ ใต้ของพระปรางค์ วัดมหาธาตวุ รวหิ าร ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรุ15 อุบาสกเยี้ยวพาครอบครวั ทั้งหมดพร้อมด้วยภรรยาและบุตรมาสร้างกุฏิปฏิบัติธรรมอาศัยอาศัยอยู่สำนักแม่ชีแห่งนี้ พร้อมกับช่วยแม่ชีทองพินพัฒนาสำนักด้วยการซื้อที่ดินอันเป็นที่ทำนาของนายโตซึ่งมีพื้นท่ี ติดกบั สำนกั ขยายสำนักทางดา้ นทศิ ตะวันตกเพมิ่ เติมให้ยาวไปทางด้านหลังสำนักแห่งน้ี แม่ชี ทองพินพิจารณาเห็นว่าสถานที่แห่งนี้เหมาะในการเจริญสมถะและวิปัสสนากรรมฐาน แม่ชี ทองพินเป็นผู้เคร่งครัดในเรื่องศีล กรรมบถ เจริญจิตภาวนาทั้งแม่ชีทองพินและอุบาสกเยี้ยว ได้ช่วยกันสอนธรรมแก่ผู้หญิงท่ีเข้ามาปฏิบัตธิ รรมสบื มา แม่ชีทองพินตัง้ ชื่อสำนักว่า “สำนัก ประชุมนารีสามัคคีธรรมสามัคคีธรรม” ต่อมาในปี พ.ศ. 2452 อุบาสกเยี้ยว ซึ่งมีอายุได้ 52 ปี ได้ป่วยและเสียชีวิต แม่ชีพินต้องอยู่ในฐานะเป็นผู้นำได้พยายามสร้างสำนักประชุมนารี สามคั คีธรรมใหเ้ ป็นปึกแผ่นต่อไป 19
แม่ชีไทย ในระยะเวลาต่อมา แม่ชีพิน ก็ถึงแก่กรรมไปอีกท่านหนึ่ง แต่ถึงระยะนี้สำนักประชุม นารีสามัคคีธรรมมีสถานะม่ันคงพอสมควรแล้ว จึงควรนับได้ว่า อุบาสกเยี้ยวและ แม่ชี ทองพินทั้งสองท่านนีเ้ ป็นผู้บกุ เบิกและวางรากฐานให้แก่สำนักประชุมนารีสามัคคีธรรม ด้วย การอุทศิ ชีวติ ให้แก่สำนกั และแก่พระศาสนาอยา่ งถึงที่สุด หลังจากแมช่ ที องพนิ เสยี ชีวติ แลว้ อุบาสิกาฮวด ซึ่งเป็นภรรยาของอุบาสกเยี้ยว พร้อมด้วยคณะอุบาสิกา (แม่ชี) ประกอบด้วย อุบาสิกาเลียม อุบาสิกาเนียม อุบาสิกามัค และอุบาสิกาพ่วงแห่งสำนักประชุมนารีสามัคคี ธรรมได้มีความเห็นร่วมกันว่า คุณจอมทรัพย์ วัฒนะ (เจ้าจอมในรัชกาลที่5) ซึ่งเป็นหลาน ของแมช่ ที องพนิ และมาถอื เพศเป็นแม่ชีอยู่ในสำนักประชุมนารสี ามัคคีธรรมในเวลานั้น เป็น ผู้มีความเหมาะสมที่จะเป็นหัวหน้าของสำนัก คุณจอมทรัพย์จึงได้เป็นหัวหน้าสำนักประชุม นารสี ามัคคธี รรม ต้ังแต่ปี พ.ศ. 2452 เปน็ ต้นมา ในวันแรม 12 คำ่ วันท่ี 13 มนี าคม 2504 เวลา 15.30 นาฬกิ า แม่ชคี ุณจอมทรพั ย์ วัฒนะไดเ้ สียชวี ิตลง 20
แม่ชไี ทย 1.8 สถาบันแมช่ ีไทยสาขาปากทอ่ เมื่อปี พ.ศ. 2519 คุณนายเนื่อง อิ่มสมบัติ คุณแม่บุญสม และคุณทุเรียน สรรวิริยะ ร่วมบริจาคที่ดินเพื่อสร้างสถาบันแม่ชีไทย อำเภอปากท่อ จากผืนแผ่นดินเป็นที่ลุ่มเป็นท้อง นาแต่ปลูกข้าวไม่ผลเนื่องจากบริเวณนั้นน้ำท่วมทุกปี ชาวนาจึงปล่อยเป็นที่รกร้าง การ ก่อสร้างสถาบันแม่ชีไทยสาขาอำเภอปากท่อได้เริ่มขึ้นโดยมี ดร.แม่ชีสุมน อยู่ยอด และแม่ชี ประทิน ขวัญอ่อน เป็นแกนนำในการสร้างหอสวดมนต์ อาคารที่พักและอาคารเรียน ดังน้ัน การพัฒนาจึงเริ่มต้นด้วยการขุดคลองล้อมรอบ ยกคันดินให้สูง จากคำบอกเล่าของแม่ ชี ประทิน ขวญั ออ่ น กล่าวว่า ความเปน็ อย่ขู องแม่ชีในสมัยน้ัน ค่อนข้างลำบาก ต้องเก็บผักบุ้ง ตามท้องนาเพื่อทำเป็นอาหาร ต่อมาได้มีญาติธรรมใส่บาตรอาหารแห้งและอาหารสดให้กับ 21
แมช่ ีไทย แม่ชีเพื่อการดำรงชีพ การสร้างถาวรวัตถุส่วนใหญ่เกิดจากศรัทธาของญาติมิตรและสาธุชน ท่วั ไปที่ศรทั ธาในแมช่ รี ว่ มบริจาคทรพั ยส์ นิ ช่วยสรา้ ง พ.ศ. 2525 ผลกระทบจากการบุกเบิกและทำงานหนักในการสร้างสถาบันแม่ชีสาขา ปากท่อสง่ ผลให้แมช่ สี ุมน อยู่ยอด ได้ป่วยหนักและในท่สี ุดก็เสียชวี ิต แม่ชีประทิน ขวัญอ่อน จึงเป็นผู้บริหารและดำเนินการพัฒนาสำนักตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา หลังจากที่ได้สร้างศาลา หอสวดมนตแ์ ละอาคารทพี่ กั เสรจ็ พ.ศ. 2533 พระสงฆ์ แม่ชี และฆราวาสกลมุ่ หน่งึ ได้ประชุม และปรารภถึงเรื่องเด็กหญิงด้อยโอกาสในสังคมไทยที่ไม่ได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิต ไม่มี สถานที่ทางศาสนาให้การยอมรับและช่วยเหลอื ด้านการศึกษาเม่ือเทียบกับเด็กชาย คณะแม่ ชจี ึงได้ประชมุ เพอื่ หาแนวทางการจัดการศึกษาที่เออ้ื ประโยชน์ต่อเด็กหญงิ จงึ จัดทำโครงการ และสถานศึกษาธรรมจารนิ ตี ัง้ แตป่ ี พ.ศ. 2533 จึงเป็นทม่ี าของโรงเรียนธรรมจารนิ ี การก่อตั้งโรงเรียนธรรมจารินีวิทยา ในสมัยนั้นผู้บริหารคือแม่ชียุพิน ดวงจันทร์ ร่วมกับแม่ชีศรีสลับ อุปมัย เป็นผู้ช่วย เวลาผ่านไปได้ระยะหนึ่งได้ก่อสร้างมหาปชาบดีเถรี วิทยาลัย แล้วมอบหมายให้แม่ชีอรรณอัมไพ ภาสศักดิ์ชัย เป็นผู้บริหารและได้จดทะเบียน มูลนิธิธรรมจารินีวิทยา เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2536 โดยมูลนิธิธรรมจารินีวิทยามี วัตถุประสงค์ เพ่อื การส่งเคราะห์แม่ชแี ละเยาวชนในด้านต่าง ๆ 22
แมช่ ไี ทย 1.9 สำนักแม่ชีสนามชีวัดสนามพราหมณ์ เมื่อถึงปี พ.ศ. 2453 ตรงกับปีที่พระพุทธเจ้าหลวงรัชกาลที่ 5 สวรรคต ยังเป็นสมัย ท่านพระอาจารย์รอด เป็นเจ้าอาวาสวัดสนามพราหมณ์ นายเทียนเส็ง แซ่จ๋อง พ่อค้าตลาด เพชรบุรี ซึ่งคุ้นเคยกับนายเอมได้ปรารภและชักชวนนายเอมให้สร้างสถานที่อยู่ประพฤติ พรหมจรรย์สำหรับสตรีขึ้นโดยเฉพาะ นายเอมก็เห็นดีด้วยจึงพร้อมด้วยคนอื่น ๆ คิดสร้าง สถานที่ดังกล่าว สืบเนื่องมาแต่ปกตินายเอมเป็นผู้สนใจฝักใฝ่ในธรรมปฏิบัติและจัดให้มีการ ประชุมสนทนาธรรม (สากจั ฉา) ที่บา้ นของตนเสมอ ๆ มาก่อน นอกจากนี้ที่บ้านของนายเอม ยังมีโรงเรียนภาษาไทย รับสอนกุลบุตรกุลธิดาโดยไม่คิดมูลค่าและได้ท่านจางวางอยู่เป็น ครูใหญ่ เรียกว่า โรงเรียนเพชรสตรี การก่อสร้างดังกล่าวนี้ ได้ดำเนินการในสมยั ท่านพระครู สนุ ทรธรรมวงศ์ (เดช สุนทฺ โร) เป็นเจ้าอาวาส จากนนั้ พระเจา้ น้องยาเธอกรมหม่ืนวิวิธวรรณ 23
แม่ชีไทย ปรีชา ทรงพระกรุณาประทานตั้งนามสำนักให้ชื่อว่า “สถานที่สนามชี” ในขณะนั้นเริ่มมี อุบาสิกามาพักในสำนักประมาณ 7-8 คน นายเอมและนางเปลี่ยน เณราธึก สามีภรรยาก็ได้ อยู่ประจำสำนัก เพื่ออุปการะอุบาสิกาที่มาพัก โดยใช้ทุนส่วนตัวจัดทำอาหารเช้า เพล เป็น ประจำตลอดประมาณ 1 ปี หลังจากที่ได้สร้างสำนักสนามชีแล้วเสร็จ นายเอมได้นำเงินที่ เหลือจากการก่อสรา้ งมาตัง้ กองทุนสำหรับบำรุงอุปถัมภ์สำนกั แม่ชี นายเปรม ธรรมารกั ษ์ซง่ึ เป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อสร้างสำนักแม่ชีได้นำกองทุนที่นายเอมได้รวบรวมไว้มาจัดตั้งเป็นมูลนิธิ ในปี พ.ศ. 2476 มีชอื่ ว่า “มูลนธิ ิสนามชี” ภายในสำนักแมช่ ีสนามชี มีศาลาสวดมนต์ ในช่วง แรกในการก่อสร้าง นายเอม เณราธึกเปน็ ผู้สรา้ งกุฏิ ระยะหลงั แมช่ สี ร้างกันเอง สระน้ำขนาด ใหญ่ 1 สระ บรจิ าคเงินก่อสร้างโดยเจา้ จอมอาบ เจา้ จอมในรชั กาลท่ี 516 24
แมช่ ไี ทย 1.10 สำนักแมช่ ีวัดบญุ ทวี (ถ้ำแกลบ) จากหนงั สือท่ีระลึกงานพระราชทานเพลิง พระครโู ศภรวชิรธรรม (ฉาบ โสมสิริ) อดีต เจ้าอาวาสวัดบุญทวี (ถ้ำแกลบ) เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2522 รองเจ้าคณะจังหวัดเพชรบุรี ได้ กล่าวถึงความเจริญของวัดบุญทวี (ถ้ำแกลบ) ไว้ความตอนหนึ่งว่า วัดได้รับการก่อสร้าง เสนาสนะอย่างมีระเบียบเรียบร้อย สะดวกแก่การปกครอง จัดเป็นสัดส่วนมีฝา่ ยปริยัติธรรม นักธรรม ธรรมศึกษา สร้างเสนาสนะอยู่ในส่วนภาคพื้นดิน ประกอบด้วยหมู่กุฏิ ศาลาการ เปรียญ อุโบสถ โรงเรียนปริยัติธรรม และโรงเรียนประชาบาล ฝ่ายปฏิบัติได้จัดสร้าง เสนาสนะเฉพาะหลังบนเชิงเขา แบ่งเป็นส่วนพระภิกษุและแม่ชี วัดนี้มีแม่ชีเป็นร้อย ๆ มาก ท่ีสดุ ในจงั หวดั เพชรบรุ ี มเี งนิ กองทุนต่าง ๆ อปุ ถมั ภ์บำรุงวดั และพระสงฆ์ สามเณร และแม่ชี วัดนี้สุภาพสตรีมาบวชชีเพราะวัดมีสปายะอันอุดม17 ดังนั้น คุณหญิงบุญมี ปุรุราช และ 25
แม่ชีไทย คุณนายบญุ เล่ยี ม เพชรเกษตรนิวาส ได้อาราธนาเชิญพระครูโศภนวชริ ธรรมเปน็ เจ้าอาวาส ปี แรกมพี ระภิกษุ 4 รูป แม่ชี 30 คน อบุ าสก 2 คน อบุ าสิกา 3 คน วัดมีเน้ือท่ีประมาณ 35 ไร่ มกี ุฏพิ ระ กฏุ ชิ ี จำนวน 30 หลงั ส่วนพ้นื ดินมีเน้ือท่ีประมาณ 33 ไร่ กฏุ ิพระ 5 หลัง กุฏิแม่ชี 15 หลังและอุบาสก 1 หลัง และยังพบว่าเมือ่ ปีพทุ ธศักราช 2490 ได้มีการสร้างหอสวดมนต์ สำหรับคณะแมช่ ี ยาว 18 เมตร กวา้ ง 9 เมตร ชัน้ ลา่ งเปน็ ถังเก็บน้ำ เป็นจำนวนการก่อสร้าง 20,857 บาทต่อมาได้มีการก่อสร้างกุฏิแม่ชีเพิ่มเติมรวมกุฏิชี 45 หลัง และปรับปรุงหอสวด มนตส์ ำหรับอุบาสิกาและแมช่ ี18 จากหลักฐานปรากฏวัดน้ีมีอายุกวา่ 100 ปี เหตุที่เปล่ียนช่ือ วดั เพราะในอดีตมคี หปตานี 2 ทา่ น คือ คณุ นายบญุ เล่ียม เพชรเกษตรนิวาสน์ เพชรบุรี และ คุณหญงิ บุญมี ปุรรุ าชรงั สรรค์ กรุงเทพมหานคร ใหค้ วามอุปถมั ภแ์ ละเปน็ กำลังสำคัญในการ พัฒนาศาสนวัตถุในวัดนี้ ทางคณะสงฆ์จึงเปลี่ยนชื่อจาก “วัดถ้ำแกลบ” เป็น “วัดบุญทวี” โดยนำคำว่า “บุญ” ตน้ ช่อื ของทง้ั 2 ทา่ น มาไวห้ น้าคำวา่ “ทวี” แปลว่า 2 เพราะมคี ำข้ึนต้น ว่า “บญุ ” เหมอื นกนั 26
แมช่ ไี ทย 27
แม่ชีไทย บรรณานกุ รมทา้ ยบทท่ี 1 1. นิโคลาส์ แชร์แวส,ประวัติศาสตร์ธรรมชาติและการเมืองแห่งราชอาณาจักรสยาม) นิโคลาส์ แชร์แวส, ประวัติศาสตร์ธรรมชาติและการเมืองแห่งราชอาณาจักรสยาม แปลโดย สันต์ ท.โกมลบุตร อ้างในยุพิน ดวงจนั ทร์, สตรีกับการบวชในพระพุทธศาสนา: ศึกษาเปรียญเทียบสถานภาพและทัศนะของแมช่ วี ัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพมหานครและสำนักปฏิบัติธรรมแดนมหามงคลกาญจนบุรี, วิทยานิพนธ์อักษรศาสตร์ มหาบณั ฑิต, หนา้ 54. 2. ซีมง เดอ ลา ลแู บร์ (Simon de La Loubère), จดหมายเหตุ ลา ลแู บร์ ราชอาณาจักรสยาม)แปลโดย สันต์ ท.โกมลบุต, (กรงุ เทพมหานคร:สำนักพิมพ์ศรปี ัญญา, 2548), หนา้ 507. 3. มูลนิธิสถาบันแมช่ ีไทย, เอกสารอดั สำเนา. 4. กาญจน์ สัจจพันธุ์, อภิปรายเรื่องบทบาทของแม่ชีไทยเกี่ยวกบั พระพุทธศาสนาและสังคม, วารสารแม่ชี สาร, ปที ี่ 3 ฉบบั ที่ 13, (กมุ ภาพนั ธ์-เมษายน 2516):17. 5. สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณสมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฺฐายี), พระดำรัสเปิดการประชุมครั้งที่ 1, วารสารแม่ชีสาร, ปีท่ี 1 ฉบับท่ี 4 (สิงหาคม-ตลุ าคม 2513): 1-8. 6. คำว่า แม่ใหญ่ ในบริบทภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นคำเรียกขานผู้หญิงอาวุโสหรือเป็นที่เคารพแบบให้ เกียรติ หรือ แม่ใหญ่ หมายถึงแม่ของแม่ สอดคล้องกับบริบทของแม่ชีจันทมาลา สุทธิแพทย์ ที่มีภูมิลำเนา มาจากอุบลราชธานี 7. แม่ชีจันทมาลา สุทธิแพทย์, ใบแต่งตั้ง ที่ 1/2543 เรื่อง แต่งตั้งหน้าที่ของคณะแม่ชีวัดมหาธาตุ, 15 กรกฎาคม 2543, เอกสารอัดสำเนา. 8. สถาบนั แมช่ ีไทย, 50 ปี สถาบันแมช่ ไี ทย, 2562, หนา้ 105. 9. พระครูกิตติคุณสาทร (มนั่ กติ ติธโร), ใครคอื ผู้จดบันทึกการแสดงธรรมคร้ังต่าง ๆ โดยพระอุบาลีคุณูป มาจารย์ (จนั ทร์ สิรจิ นโฺ ท, เล่าเมอ่ื วนั ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2564 ทว่ี ัดบรมนวิ าส. 28
แมช่ ีไทย 10. ภูธร ภูมะธน, กฐินพระราชทาน วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร, ( กรุงเทพมหานคร: บริษทั อมรินทรพ์ ร้ินต้ิงแอนด์พับลชิ ชิ่ง จำกดั (มหาชน), 2564), หนา้ 64. 11. แม่ชปี ระพิศ หงสกุล, มหาสตปิ ฏั ฐานสูตร สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ญาณวรมหาเถระ) วัดเทพศิ รินทราวาส, เนื่องในวาระอายุครบ 91 ปี และฉลองอาคารสามัคคีเอนกประสงค์ ห้องสมุดสุวพันธ์ ตัน เกยี รตกิ ุล, (กรุงเทพมหานคร: โรงพมิ พ์ทวีรชั ต,์ 2528), หนา้ ค-ช. 12. ศาลาสันติสุข (แม่ชีถมยา จิรพันธ์), ศาลาสันติสุข, สำนักอุบาสิกาในความอุปถัมภ์ของมหามกุฏราช วทิ ยาลัย ทา่ ตำหนกั นครชยั ศรี จังหวัดนครปฐม อนุสรณ์ 25 กรกฎาคม 2513, (กรงุ เทพมหานคร: โรงพิมพ์ มหามกฏุ ราชวทิ ยาลยั , 2513) หน้า 69. 13. มหามกุฏราชวิทยาลัย, ศาลาสันติสุข คณะอุบาสิกาในความอุปถัมภ์ของมหามกุฏราชวิทยาลัย, อนสุ รณ์ในการฉลองสำนักใหม่ ทา่ ตำหนัก นครไชยศรี นครปฐม, (พระนคร, 2513), หนา้ 63-64. 14. มหามกุฏราชวิทยาลัย, ศาลาสันติสุข คณะอุบาสิกาในความอุปถัมภ์ของมหามกุฏราชวิทยาลัย, อนุสรณใ์ นการฉลองสำนักใหม่ ท่าตำหนัก นครไชยศรี นครปฐม, (พระนคร, 2513), หน้า 64-65. 15. ประวตั ิสำนกั ประชมุ นารี, เอกสารอดั สำเนา, หนา้ 1-4. 16. สัมภาษณ์ แม่ชีสำนักสนามชี วัดสนามพราหมณ์,จังหวัดเพชรบุรี, 10 สิงหาคม 2558. อ้างใน กฤษณา รกั ษาโฉม, Seeger Martin “ประวตั ิศาสตร์ท้องถ่ินของชุมชนนักบวชหญิงในสังคมไทย”, รายงานการวิจัย, (บัณฑติ วิทยาลัย มหาวิทยาลยั มหาจฬุ าลงกรณราชวิทยาลัย, 2557), หนา้ 43. 17. รองเจ้าคณะจังหวัดเพชรบุรี, ที่ระลึกงานพระราชทานเพลิง พระครูโศภรวชิรธรรม (ฉาบ โสมสิริ), (เพชรบรุ ี: เพชรภูมกิ ารพมิ พ,์ 2522), ระลึกถึงพระดี. 18. ส.ฉนฺทธมฺโมภิกฺขุ, ที่ระลึกงานพระราชทานเพลิง พระครูโศภรวชิรธรรม (ฉาบ โสมสิริ), (เพชรบุรี: เพชรภมู กิ ารพมิ พ,์ 2522), ประวัติพระครูโสภนวิชรธรรม. 29
แมช่ ไี ทย 30
บทที่ 2 การสรา้ งชมุ ชนและความมีตวั ตนของแม่ชี บันทึกเหตุการณ์ความเป็นมาของสถาบันแม่ชีของไทยในบทที่ผ่านมา ทำให้เข้าใจ ที่มาและประวัติความเป็นมาของต้นกำเนิดของสถาบันแม่ชี ต่อจากนี้ ผู้เขียนจะทำความ เข้าใจเกี่ยวกับการสร้างชุมชนและการแสดงออกถึงตัวตนสามารถเรียนรู้ผ่านอัตลักษณ์ที่ได้ จากการวิจัยในรูปแบบเชิงคุณภาพ ซึ่งจากการสัมภาษณ์ พบมุมมองการสร้างชุมชนและ ความมีตวั ตนของแม่ชี โดยมีแนวคิด ทศั นคตทิ คี่ ล้ายคลึงกัน ด้วยการแสดงบทบาทที่เหมาสม ซึ่งช่วยทำให้แม่ชีเกิดความมีตัวตน ถึงแม้ว่าการอยู่รวมกันจะมีความแตกต่างด้วย บุคลิกลักษณะส่วนบุคคล แต่ในทุกสำนักแม่ชีจะใช้กฎเกณฑ์ ระเบียบวินัย ในการสร้าง ชุมชน ซึ่งเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวที่ช่วยจัดการการสร้างชุมชน เป็นภาพสะท้อนทางกายภาพที่ ชัดเจน ในขณะที่ความมีตัวตนมักจะสื่อสารผ่านการกระทำเชิงบวกของแต่ละสำนัก ที่ไม่ได้ เป็นเพียงแค่การรับผิดชอบทำความสะอาดวัด ปรนนิบัติรับใช้พระสงฆ์ ถือศีล ปฏิบัติธรรม แต่ยังมีตัวตนที่ปรากฏในสังคมด้านการช่วยเหลือสังคม โดยแสดงบทบาทตามความ เหมาะสมของตนเอง และสำนักแม่ชี ทำให้เกิดทัศคติที่ดี เกิดความเคารพ นับถือ และเป็น คลื่นน้ำที่กระทบจิตใจของคนในสังคมได้เป็นอย่างดี ดังนั้น นอกจาก โกนศีรษะ นุ่งขาวห่ม ขา่ ว เวน้ จากการครองเรอื นอย่างคฤหัสถ์เว้นจากการทำบาป ประพฤติพรหมจรรย์ มีศลี าจาร วตั รตามแบบนักบวช และรกั ษาศลี 8 เป็นกจิ วัตร ได้แก่ 1) งดเว้นจากการฆ่า สัตวม์ ีชีวติ 2) งดเว้นจากการถอื เอาส่งิ ของท่ีเขามไิ ดใ้ ห้ 3) งดเวน้ จากการประพฤติท่ีเปน็ ขา้ ศกึ แกพ่ รหมจรรย์
แมช่ ีไทย 4) งดเว้นจากการพูดเท็จ 5) งดเว้นจากเหตุอันเปน็ ที่ตั้งแหง่ ความประมาทเพราะสุราและเมรัย 6) งดเว้นจาก การบริโภคอาหารในเวลาวกิ าล 7) งดเว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้องประโคมดนตรี และการแสดงที่เป็นข้าศึกแก่ พรหมจรรย์ งดเว้นการทัดทรงดอกไม้ใช้ของหอมเครื่องประทินผิว เครื่องเสริมทรง เครอื่ งประดับและเคร่อื ง ตกแตง่ 8) งดเว้นจากทีน่ อนทนี่ ั่งสงู ใหญ่มนี นุ่ และสำลี สังคมไทยในยคุ ปัจจุบัน แมช่ ไี ทยทเ่ี ข้า มาบวชในพุทธศาสนา บางส่วนยังขาดความรู้ ความเข้าใจใน เรื่องของการรักษาศีล 8 ซึ่งถือ ว่าเป็นหน้าที่หลักที่สำคัญของแม่ชีตั้งแต่อดีตกาล เป็นต้นมา โดยหลักการปฏิบัติอื่นท่ี สามารถสรุปไดแ้ ก่ (2) มารยาท 5 (3) สังโยค 7 (4) เสขิยวัตร 75 การสัมภาษณ์บุคคลสำคัญจากสำนักแม่ชี 8 สำนักในประเทศไทย สามารถสรุป ข้อสรุป ข้อกติกา ระเบียบ วินัย และจริยวัตรของสำนักแม่ชีแต่ละสำนัก ได้พอสังเขป ดงั ต่อไปน้ี 2.1 ข้อกติกา ระเบียบ วนิ ัย และจริยวตั ร: สำนกั แม่ชีวดั มหาธาตุยุวราชรงั สฤษฏ์ิ อ้างถึง คำสั่งเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุยุวราชรงั สฤษฏิ์ ที่พิเศษ/2526 เรื่อง ให้อุบาสิกา (ช)ี ทีอ่ าศยั อยูว่ ดั มหาธาตยุ ุวราชรังสฤษฏิ์ ลงวันท่ี 10 ธนั วาคม พ.ศ. 2526 ลงนามโดย พระ พมิ ลธรรม2 เพอื่ มคี วามประพฤตปิ ฏบิ ตั ิเสมอเหมือนกัน จงึ ตั้งระเบียบไว้ ดังน้ี 1. อบุ าสกิ าจะเข้ามาสำนกั อาศยั อยู่ ตอ้ งได้รับอนญุ าตจากเจา้ อาวาสกอ่ น 2. อุบาสิกาผู้ใดมีกิจธุระจะออกไปนอกวัด ให้บอกลาหัวหน้า ถ้าหัวหน้าไม่อยู่ก็ให้ บอกลารองหัวหน้าก่อนทกุ ครั้งไป 32
แมช่ ีไทย 3. ถ้าอุบาสิกาผู้ใดมีกิจธุระจะไปพักแรมคืนที่อื่น ให้เขียนใบลาหัวหน้าเป็นหลักฐาน เมื่อกลบั มาแล้วใหแ้ จง้ หัวหนา้ หรอื รองหวั หนา้ ทราบ 4. เมื่อมีญาติหรือเพื่อนฝูง (หญิง) จะมาพักแรมคืนอยู่ด้วยต้องได้รับอนุญาตจาก หัวหน้า แล้วจึงให้พกั แรมคนื ได้ 5. หา้ มไมใ่ ห้รับแขกทีเ่ ปน็ เพศชาย เข้ามาพักแรมคืน 6. ให้ทำวัตรสวดมนต์ เช้า-เย็น เป็นกิจประจำทุกวัน เว้นแต่เจ็บไข้หรือมีกิจธุระ จำเปน็ ตอ้ งบอกลา เปน็ ลายลกั ษณอ์ ักษร ถ้าผใู้ ดฝา่ ฝืนไม่ปฏิบตั ิตามระเบยี บนี้ ให้หัวหน้ารายงานคณะกรรมการ เพ่ือพิจารณา กราบเรยี นเจา้ อาวาสตอ่ ไป สำนักแม่ชีมีแนวปฏิบัติร่วมกันในการพิจารณาบทลงโทษ กรณีแม่ชีที่กระทำผิดหรอื พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมหรือมีผู้มาร้องเรียน สำนักแม่ชีจะนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการ สำนกั แมช่ ีเพอ่ื พจิ ารณา ทั้งนม้ี ีข้ันตอน ดังต่อไปน้ี 1) การสอบสวนเพ่ือหาข้อมูลและข้อเท็จจรงิ 2) หากพจิ ารณาแลว้ พบวา่ มคี วามผดิ จะกลา่ วตักเตอื นดว้ ยวาจา และ 3) หากตักเตือนแล้วยังไม่สามารถปรับปรุงตนเองได้ก็จะพิจารณาให้ออกจากสำนัก แม่ชตี ามมตทิ ปี่ ระชุม 2.2 ข้อกติกา ระเบียบ วินัย และจริยวัตร: สำนักแม่ชีเนกขัมมาภิรมณ์สถาน วัด บรมนิวาสราชวรวหิ าร 33
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124
- 125
- 126