ความนำ หนังสือเล่มน้ีเป็นส่วนหนึ่งของบทความ ขนาดสั้นที่ผมเขียนลงในเฟสบุ๊ค (Facebook) ภาย ใต้หวั ขอ้ ทชี่ อ่ื ว่า “โจทย์วิจยั วนั น้ี” เพื่อแนะนำนสิ ติ นั ก ศึ ก ษ า แ ล ะ ผู้ ส น ใ จ ทั่ ว ไ ป เ ก่ี ย ว กั บ ก า ร เ ขี ย น บทความวิชาการทางปรัชญา รวมถึงด้านวิชาการ สาขาอื่นๆ สาระสำคัญของหนังสือเล่มน้ีเป็นเร่ือง ก า ร แ น ะ น ำ ว่ า จ ะ เ ขี ย น บ ท ค ว า ม วิ ช า ก า ร ห รื อ วิทยานิพนธ์อย่างไรให้เป็นปรัชญา โดยผู้เขียนได้ช้ี ให้เห็นว่าธรรมชาติของงานวิชาการทางปรัชญาเป็น อย่างไร มีลักษณะร่วมและลักษณะที่แตกต่างจาก
2 งานวชิ าการสาขาอนื่ ๆ อยา่ งไร จากนน้ั ไดน้ ำเอาองคป์ ระกอบ ส่วนต่างๆ ของบทความวิชาการทางปรัชญามาแนะนำตาม ลำดับ ไล่ไปตั้งแต่การเขียนส่วนนำ (Introduction) การ เขยี นสว่ นเนอื้ หา (Body) การเขยี นสว่ นสรปุ (Conclusion) และการเขียนบทคดั ย่อ (Abstract) อย่างไรกต็ าม แมห้ นังสอื เล่มนจี้ ะมจี ุดเรม่ิ ตน้ จากการ แนะนำการเขียนงานวิชาการทางปรัชญา แต่ก็สามารถนำ ไปปรับประยุกตใ์ ช้กบั การเขยี นงานวิชาการสาขาอื่นๆ ไดไ้ ม่ จำกัด เพราะข้ึนช่ือว่างานวิชาการแล้ว ไม่ว่าจะเป็นสาขาใด ก็ตาม ล้วนมีหลักการพ้ืนฐานอย่างเดียวกัน น่ันคือต้องเป็น งานวิชาการท่ีมีเหตุผลและมีอำนาจในการโน้มน้าวให้ผู้อ่าน คลอ้ ยตาม งานวชิ าการทไี่ รเ้ หตผุ ลและไรอ้ ำนาจการโนม้ นา้ ว หากพดู อยา่ งไมเ่ กรงใจ กค็ ืองานวชิ าการทลี่ ้มเหลวน่นั เอง
การเขียนส่วนนำ Introduction การเขียนส่วนนำ (๑) นานมาแล้ว ผู้เขียนได้รับคำร้องขอจากนิสิต ปริญญาเอกสาขาวิชาปรัชญา บอกว่าอยากให้เขียน แนะนำหน่อยว่าจะเขียนอย่างไรให้เป็นปรัชญา ผู้เขียนเผลอตัวไปตกปากรับคำว่าจะเขียนให้ใน โอกาสหน้า โดยลืมนึกไปว่าตัวเองไม่ใช่นักปรัชญา สักหน่อย แถมไม่เคยเรียนจบทางสายนี้ดว้ ย บงั อาจ ไปรับปากเขาได้อย่างไร
4 เอาเถอะ ไหนๆ ก็รับปากไปแล้ว ก็คงต้องเขียน แนะนำให้ตามสัญญาและตามประสาของคนไม่ค่อยรู้เร่ือง ปรัชญาก็แล้วกัน ขอออกตัวก่อนว่าสิ่งที่ผู้เขียนจะเอามา แนะนำต่อไปนี้ไม่ใช่ความคิดเห็นส่วนตัว หากแต่เป็นการ เก็บเล็กประสมน้อยที่อาจารย์สายปรัชญาบางท่านจาก มหาวิทยาลัยในต่างประเทศได้เขียนแนะนำไว้ หากสิ่งท่ีเอา มาแนะนำจะมีประโยชน์อยู่บ้างก็ขอยกให้เป็นความดีความ ชอบของทา่ นเหล่านั้นกแ็ ล้วกนั จากประสบการณ์ท่ีมีโอกาสเป็นกรรมการสอบ วิทยานิพนธ์สาขาวิชาปรัชญาของนิสิตอยู่บ้าง คำถามของ กรรมการสอบที่นิสิตมักเจออยู่เสมอเช่นว่า “งานของท่าน/ ของคุณมันเป็นปรัชญาตรงไหน?” เจอคำถามน้ีหลายคนได้ แต่หน้าเหลอหลา พูดไม่ออกบอกไม่ถูก ไม่นึกว่าจะเจอ คำถามแบบนี้ หากให้เดาใจกรรมการที่ถามคำถามนี้ ท่าน คงอ่านแล้วแต่ค้นหาลักษณะของความเป็นปรัชญาในงาน เรื่องน้ันไม่เจอ หรืออาจจะเจอแต่คลังข้อมูลที่นำร้อยเรียง ต่อๆ กันเหมือนการรายงานข่าว (report) แสดงว่างาน เขียนทางปรัชญาจะต้องมีอะไรบางอย่างเป็นลักษณะพิเศษ เฉพาะตน คำถามคอื แลว้ จะเขยี นอย่างไรละ่ ถงึ จะทำให้งาน
5 ของเราเป็นงานทางปรัชญา ต่อไปน้ีคือวิธีการเขียนที่ อาจารยท์ างปรชั ญาทา่ นแนะนำไว้: เร่ิมต้นด้วยการเสนอจุดยืนของตัวเอง: เม่ือท่าน ตกลงปลงใจว่าจะเขียนบทความหรือวิทยานิพนธ์ทาง ปรัชญาเร่ืองอะไรก็ตาม เช่น ช่ือเรื่องว่า “การลงโทษ ประหารชีวิตในมุมมองของพุทธจริยศาสตร์” แน่นอนว่า เวลาเขียนงานวิชาการเราจะต้องเร่ิมต้นด้วยการเขียนส่วน นำหรือบทนำ (Introduction) ตรงส่วนน้ีท่านอาจจะต้อง ปูพื้นข้อมูลให้ผู้อ่านสักหน่อยว่าประเด็นเร่ืองการลงโทษ ประหารชีวิตได้มีการถกเถียงในวงการปรัชญามาอย่างไร บ้าง โดยเฉพาะอย่างย่ิงการถกเถียงบนฐานของพุทธ- จริยศาสตร์ การเขยี นแบบน้ีเรยี กว่าเขยี นใหเ้ ห็นภมู ิหลังหรือ ความเป็นมา (background) จากน้ัน ให้เขียนส่วนสำคัญ ท่ีสุด คือการเขียนข้อความแสดงจุดยืน (thesis /position statement) ว่าจุดยืนของผู้เขียนเกี่ยวกับการลงโทษ ประหารชีวิตในมุมมองของพุทธจริยศาสตร์เป็นอย่างไร จดุ ยืนของท่านอาจสนบั สนนุ หรอื คัดคา้ นกไ็ ดส้ ุดแทแ้ ต่ การแสดงจุดยืนน้ันต้องทำอย่างรอบคอบบนฐานของ การมีข้อมูลอย่างครบถ้วน สมมติว่าท่านม่ันใจว่าการลงโทษ
6 ประการชีวิตน่าจะเป็นส่ิงที่ยอมรับได้ในทางพุทธจริยศาสตร์ ให้ท่านเขียนแสดงจุดยืนออกไปให้ชัดเลย เช่นเขียนว่า “ในบทความน้ีผู้จะพยายามอภิปรายให้เห็นว่าการลงโทษ ประหารชีวิตในสังคมพุทธเป็นส่ิงที่สามารถยอมรับได้ตาม หลักพุทธจริยศาสตร์...” เม่ือเสนอจุดยืนอย่างนี้แล้ว ถือว่า ท่านมีทิศทางท่ีจะเดินหน้าต่อไปในการเขียนบทความได้ แล้ว เนื้อหาของบทความต่อจากนี้ไปทั้งหมดเป็นเร่ืองของ การหาเหตุผลและหลักฐาน (arguments/evidences) มา สนับสนุนจุดยืนของท่านให้มีเหตุผลหนักแน่นน่ารับฟังมาก ที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ถึงขนาดว่าสามารถโน้มน้าว (convince) ผู้อา่ นให้เหน็ คลอ้ ยตามจดุ ยนื ของท่านได้ อยา่ ง ลืมว่าการเขียนงานทางปรัชญาไม่ใช่การบอกคนอ่านว่าให้ พวกเขาเชื่อเร่ืองอะไร (what to believe) แต่เป็นการให้ เหตผุ ลวา่ ทำไมพวกเขาจงึ ควรเรอื่ งนนั้ (reasons to believe)
7 การเขยี นสว่ นนำ (๒) ดังได้กล่าวมาแล้วว่า ในการเขียนงานทางปรัชญาไม่ ว่าจะเป็นบทความทางวิชาการหรืองานวิจัยก็ตาม นิยมเร่ิม ต้นจากการเขียนส่ิงที่เรียกว่า “บทนำ/ความนำ” (Introduction) เพื่อให้ข้อมูลแก่ผู้อ่านว่าเรามีเหตุผลอะไร ทำไมถึงต้องเขียนเรื่องนี้ ประเด็นที่เขียนมีภูมิหลังการถก เถียงทางวิชาการอย่างไร (background) ซึ่งก็คือการช้ีให้ เห็นสภาพท่ีเป็นมาและเป็นอยู่ในทางวิชาการของเร่ืองท่ี เขียนน่ันเอง และส่วนสำคัญท่ีขาดไม่ได้คือการเขียน ข้อความท่เี รียกว่า “thesis statement” คอื ข้อความทแ่ี สดง ให้เห็นว่าผู้เขียนมีจุดยืน (position) ในเรื่องท่ีกำลังเขียน อยา่ งไร เมอื่ มจี ุดยืนชดั เจนแลว้ ก็ถือวา่ เรามที ศิ ทางท่ีจะเดิน หน้าต่อไปในการเขียนบทความทางปรชั ญาไดแ้ ลว้ การสร้างจุดยืนของตนเองในการเขียนบทความทาง ปรัชญาเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญมาก ดังน้ัน ต่อไปนี้ ผู้เขียน ขอนำเสนอตัวอย่างคำแนะนำของอาจารย์ทางปรัชญาบาง ทา่ น ขอเรม่ิ จากคำแนะนำของโรเบริ ์ต พอล โวลฟ์ (Robert
8 Paul Wolff) ศาสตราจารย์ทางปรัชญาแห่งมหาวิทยาลัย แมสชาซูเซตต์ ในการเขียนจุดยืนของบทความทางปรัชญา ดังน:ี้ บทความทางปรัชญาก็คือการปกป้องจุดยืน (thesis) ดังน้ัน ก้าวแรกจะต้องชัดเจนก่อนว่าจุดยืน คืออะไร จุดยืนคือข้อความที่ทำให้ข้อยืนยันแน่นอน ชัดเจน ในเร่ืองท่ีกำลังอภิปรายถกเถียง ตัวอย่าง เช่น ถ้าหัวข้อของท่านหรือเรื่องท่ีกำลังอภิปรายถก เถียงคือ “ศีลธรรมแห่งการทำแท้ง” (morality of abortion) ท่านอาจจะต้องเลือกจุดยืนอย่างใดอย่าง หน่ึงดังต่อไปน้ี - การทำแท้งเป็นเร่ืองที่ผิดศีลธรรมในทุก สถานการณ์ - ผู้หญิงมีสิทธิอย่างสมบูรณ์แบบในการตัดสิน ใจว่าจะทำแท้งหรอื ไม่ - การทำแท้งเป็นเรื่องถูกต้องทางศีลธรรมก็ ตอ่ เมื่อทำเพอ่ื รกั ษาชวี ิตของมารดา
9 นี้คือข้อความท่ีแสดงจุดยืนเก่ียวกับศีลธรรมแห่งการ ทำแท้งที่แน่นอนชัดเจน เน้ือหาส่วนที่เหลือทั้งหมดของ บทความกค็ ือความพยายามท่ีจะปกตอ้ งจดุ ยนื อันน้ี อีกท่านหน่ึง ดักลาส พอร์ตมอร์ (Douglas W. Portmore) นักวิชาการทางปรัชญา มหาวิทยาลัยแห่งรัฐอริ โซนา ให้คำแนะนำการเขยี นบทความทางปรัชญาว่า: เป็นเรื่องสำคัญย่ิงที่ท่านจะต้องกำหนดจุดยืน ให้ชัดเจนก่อนเขียนบทความ เพราะจุดยืนจะช่วย นำทางท่านไปตลอดกระบวนการเขียนบทความ ทุก ส่ิงทุกอย่างที่ท่านเขียนควรเกื้อกูลต่อการปกป้อง จุดยืนของท่าน ถ้าท่านไม่กำหนดจุดยืนไว้ตั้งแต่เร่ิม ต้น ท่านก็จะไม่รู้ว่าจะเขียนอะไร เพราะท่านไม่รู้ว่า ท่านกำลังถกเพือ่ เรื่องอะไร จากขอ้ แนะนำดังกลา่ วขา้ งตน้ จะเหน็ ว่า ท่านท้งั สอง พูดตรงกันว่า การเขียนบทความทางปรัชญาจะต้องเริ่มต้น ด้วยการแสดงจุดยืนในประเด็นหรือเรื่องท่ีกำลังจะเขียนให้ ชัดเจนก่อน จากนั้น ให้ใช้พ้ืนที่กระดาษท่ีเหลือท้ังหมดเพื่อ ปกป้อง (defend) หรือหาเหตุผลและหลักฐานมาสนับสนุน
10 จดุ ยืนของตนให้มนี ำ้ หนักเพียงพอทจ่ี ะโน้มน้าว (convince) ผ้อู า่ นให้เช่ือตามทา่ นได้ เม่ือพูดถึงการแสดงจุดยืนทำให้นึกถึงการต่อสู้คดีเขา พระวิหารระหว่างทนายฝ่ายไทย กับ ทนายฝ่ายกัมพูชา ถือว่าเป็นตัวอย่างที่สามารถนำมาเทียบเคียงกันได้กับการ เขียนบทความทางปรัชญา ลองคิดดูว่า ถ้าท้ังสองฝ่ายต่อสู้ คดีกันโดยไม่มีจุดยืนของตนเอง สถานการณ์จะสับสนอล หม่านอย่างไร ท่านคงทราบว่า จุดยืนในการต่อสู้ของฝ่าย กมั พูชากค็ ือ ฝ่ายกัมพูชา: “ศาลสถิตยุติธรรมระหว่าง ประเทศควรรับคำฟ้องของฝ่ายกัมพูชา เพ่ือตีความ เกี่ยวกับความหมายและขอบเขตของคำพิพากษาปี ๒๕๐๕...” ฝ่ายไทย: “ศาลสถิตยุติธรรมระหว่างประเทศ ไม่มีอำนาจที่จะตีความและไม่สามารถรับคดีไว้ พิจารณา หรือหากศาลฯ เห็นว่าศาลฯ มีอำนาจและ สามารถรบั คดไี ว้พจิ ารณาได้ กไ็ มม่ เี หตุผลใดท่ศี าลฯ จะตีความคำพพิ ากษา ปี ๒๕๐๕...”
11 นี้คือจุดยืนที่ตรงข้ามกันระหว่าง “ศาลฯมีอำนาจรับ ตีความ” กับ “ศาลไม่มีอำนาจรับตีความ” ท่ีท้ังสองฝ่าย กำหนดไว้อย่างชัดเจนก่อนต่อสู้กันในศาล หลังจากกำหนด จดุ ยนื แลว้ กระบวนการทเี่ หลือท้งั หมดคอื การหาเหตผุ ลและ หลักฐานมาปกป้องจุดยืนของตนเพื่อโน้มน้าว (convince) ให้ศาลเช่ือว่าจุดยืนของฝ่ายตนถูกต้อง หากท่านดูการ ถ่ายทอดสดทางทีวีจะเห็นว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่ทนายท้ังสอง ฝ่ายพยายามงัดออกมาต่อสู้กันในศาล ไม่มีอะไรมากไปกว่า การหาเหตุผลและหลักฐานมาสนับสนุนจดุ ยืนของฝา่ ยตน
12 การเขยี นสว่ นนำ (๓) ครั้งท่ีแล้วผู้เขียนได้นำข้อมูลมาแสดงให้เห็นว่า การ แสดงจุดยืน (thesis/position/claim) ของผู้เขียนไว้ให้ ชัดเจนในส่วนนำของบทความมีความสำคัญมาก ในแง่ท่ี ทำให้เรามีเป้าหรือมีทิศทางท่ีจะเดินไปข้างหน้าเพื่อเอา เหตุผลและหลักฐาน (arguments + evidences) มาปก ป้อง (defend) หรือสนับสนุน (support) จุดยืนของเรา สำหรับคร้ังนี้ขอเสนอลักษณะของการเขียนจุดยืนท่ีดีดังต่อ ไปน้ี 1. จุดยืนที่ดีต้องสามารถเถียงได้ (debatable/ arguable) เร่ืองที่ไม่สามารถเถียงได้ (non-arguable) ไม่ สมควรนำมาตั้งเป็นจุดยืน หมายความว่าจุดยืนน้ันต้อง สามารถเถียงได้ท้ังในมุมที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย เช่น จุดยนื วา่ “ในบทความน้ี ผเู้ ขยี นจะอภิปรายให้เห็นว่า ครไู ม่ ควรได้รับอนุญาตให้ห้ามนักศึกษานำคอมพิวเตอร์เข้า ห้องเรียน” จุดยืนแบบนี้ถือว่าดี ถามว่าดีอย่างไร ดีเพราะ เปิดโอกาสให้คนท่ีไม่เห็นด้วยกับจุดยืนนี้สามารถเถียงได้
13 เช่นเถียงว่า การอนุญาตให้ครูห้ามนักศึกษานำคอมพิวเตอร์ เข้าชั้นเรียนถือว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะจะทำให้นักศึกษามี สมาธิจดจ่อกับเร่ืองท่ีครูสอน ไม่เสียเวลาไปกับการแอบเล่น เฟสบ๊คุ ในช้ันเรียน เปน็ ตน้ สว่ นจดุ ยืนทเี่ ถียงไมไ่ ด้ เชน่ “ใน บทความน้ี ผู้เขียนจะอภิปรายให้เห็นว่า คนท่ีมีชีวิตอยู่ใน โลกขณะน้ีจะต้องตายในอนาคตอย่างแน่นอน” หรือ “ผู้ เขียนจะอภิปรายให้เห็นว่า คนท่ีเสียชีวิตไปแล้วจะไม่ สามารถลุกขึ้นมาเดินได้อีกอย่างแน่นอน” จุดยืนแบบนี้ เถียงไม่ได้ เพราะพูดอีกก็ถูกอีก ถ้าจะเถียงแบบข้างๆคูๆ หรือเถียงเพื่อหาเรื่องก็พอเถียงได้ เช่นเถียงว่า “ไม่จริง หรอกท่ีว่า คนที่เสียชีวิตไปแล้วไม่สามารถลุกขึ้นมาเดินได้ อีก เพราะถา้ อัญเชญิ ผแี ม่นาคมาเข้าสงิ ศพเขา เขากส็ ามารถ ลุกข้ึนมาเดินได้อีก” ท่ีว่าเถียงไม่ได้นั้นหมายถึงการเถียง ตามวิถีทางของนักปรัชญาหรือนักวิชาการ กล่าวคือเราไม่ สามารถหาเหตุผลและหลักฐานมาสนับสนุนการเถียงได้ อย่างน่ารับฟัง 2. จุดยืนท่ีดีต้องแคบและชี้เฉพาะเจาะจง (specific/focused) กล่าวคือเป็นจุดยืนท่ีเราสามารถ หาเหตุผลและหลักฐานมาปกป้องได้อย่างครอบคลุมภายใน
14 พ้ืนที่กระดาษท่ีมีอยู่ จุดยืนที่กว้างเกินไปจะเปิดช่องโหว่ หรือจุดอ่อนให้ฝ่ายตรงข้ามโต้แย้งได้ง่าย เหมือนนักมวยที่ ตงั้ การด์ หละหลวม คตู่ อ่ สู้โจมตตี รงไหนก็เขา้ เปา้ หมด และ 3. จุดยืนท่ีดีต้องบอกทิศทาง (roadmap) แก่ผู้ เขียนเองและผู้อ่านว่าบทความจะเดินทางไปในทิศทางไหน เช่นจุดยืนที่ยกมาข้างต้นที่ว่า “ครูไม่ควรได้รับอนุญาตให้ ห้ามนักเรียนนำคอมพิวเตอร์เข้าห้องเรียน” จุดยืนนี้เราพอ จะมองเห็นทิศทางว่า ผู้เขียนน่าจะเดินไปในทิศทางของยก เอาเหตุผลและหลักฐานเกี่ยวกับข้อดีต่างๆของการอนุญาต ให้นักเรยี นนำคอมพวิ เตอร์เข้าชนั้ เรยี น เพ่ือให้เห็นภาพอย่างเป็นรูปธรรม ขอยกตัวอย่าง การเขียนบทนำท่ีดี ซ่ึงประกอบด้วยการกล่าวถึงภูมิหลังค วามเป็นมาของเรื่องทเี่ ขียน (background) ประเดน็ คำถาม และจดุ ยืน (thesis) ของผเู้ ขียน ดงั น้:ี
15 Introduction It is increasingly common to see students using laptops in college classrooms. Many students use laptops for taking notes, and others use the internet to help research points of interest that are relevant to class lectures. However, it is also common for students to spend time in class casually browsing the net, instant-messaging and reading Facebook pages, or playing games. Some college teachers have found laptops so distracting to students in their classes that they have banned their use. This policy invites the question, should college teachers be allowed to ban laptops from the classroom? In this essay I will argue that teachers should not be allowed to ban the use of
16 laptops in classrooms. The essay will attempt to defend two claims: first, that a ban on laptop use unfairly discriminates against students who will be disadvantaged by not using a laptop for note-taking in the classroom; and second, that a ban on laptop use is an unjustifiable infringement on the rights of students to make and take responsibility for their own educational choices.
17 บทนำ เ ป็ น เ ร่ื อ ง ธ ร ร ม ด า ส า มั ญ ไ ป แ ล้ ว ท่ี จ ะ เ ห็ น นักศึกษาใช้คอมพิวเตอร์ในห้องเรียนของวิทยาลัยเพ่ิม มากข้ึนเรื่อยๆ นักศึกษาจำนวนมากใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับบันทึกข้อมูล บ้างก็ใช้เพื่อช่วยค้นหาข้อมูล ประกอบการบรรยายในช้ันเรียน อย่างไรก็ตาม ก็เป็น เรื่องธรรมดาสามัญอีกเช่นกัน ท่ีนักศึกษาใช้ คอมพิวเตอร์ในห้องเรียนเพ่ือท่องโลกอินเตอร์เนต เพ่ือส่งข้อความ เพ่ืออ่านเฟสบู๊ค หรือเพื่อเล่นเกม อาจารย์วิทยาลัยบางท่านพบว่าคอมพิวเตอร์รบกวน จิตใจของนักศึกษาในห้องเรียนมาก จึงได้ห้ามไม่ให้ใช้ คอมพิวเตอรใ์ นหอ้ งเรยี น คำถามคอื อาจารย์วิทยาลัย ควรได้รับอนุญาตให้ห้ามนักเรียนเอาคอมพิวเตอร์เข้า ห้องเรียนหรอื ไม่ ในบทความน้ี ข้าพเจ้าจะอภิปราย (ถก) ให้ เห็นว่า อาจารย์ไม่ควรได้รับอนุญาตให้ห้ามนำ คอมพิวเตอร์เข้าไปใช้ในชั้นเรียน โดยจะพยายาม
18 ปกปอ้ งในสองประเด็น คอื ประเด็นแรก การหา้ มไม่ให้ ใช้คอมพิวเตอร์ในห้องเรียนถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติ ต่อนักศึกษาอย่างไม่เป็นธรรม เพราะจะทำใหน้ กั เรยี น เสียประโยชน์ในแง่ที่ไม่สามารถใช้คอมพิวเตอร์บันทึก ข้อมูลในห้องเรียนได้ และประเด็นที่สอง การห้ามไม่ ให้ใช้คอมพิวเตอร์ในห้องเรียนเป็นการระเบิดสิทธิของ นักศึกษาในการสร้างความรับผิดชอบต่อทางเลือก ด้านการศกึ ษาของตนอย่างไม่มีเหตผุ ล จากตัวอยา่ งการเขยี นบทนำทีย่ กมาจะเห็นว่า บทนำ นี้แม้จะเขียนส้ันๆเพียงสองย่อหน้า แต่ก็ได้ใจความและครบ องค์ประกอบของการเขียนบทนำท่ีดี นั่นคือมีการกล่าวภูมิ หลังของเรื่องท่ีเขียน (background) การกล่าวถึงประเด็น ปัญหาท่ีจะหาคำตอบ (question) และที่สำคัญคือมีการ แสดงจุดยืน (thesis) ของเขียนไว้อย่างชัดเจนในย่อหน้าท่ี สอง
19 ก่อนจบตอนนี้ขอฝากไว้ว่า การเขียนบทนำของ บทความหรือวิทยานิพนธ์ท่ีดีน้ัน ไม่จำเป็นต้องยาวก็ได้ เหมือนที่ยกมาเป็นตัวอย่าง ควรเขียนให้สั้น กระชับ ตรง ประเด็น และครบองค์ประกอบของการเขียนบทนำ ดีกว่า เขียนยาวเป็นห้าหน้าสิบหน้า แต่อ่านแล้วหาภูมิหลัง ประเดน็ คำถาม และจดุ ยืนของผูเ้ ขยี นแทบไมเ่ จอเลย
การเขียนสว่ นเน้ือหา Body การเขียนส่วนเนือ้ หา (๑) ต่ อ ไ ป ข อ น ำ สู่ ก า ร เ ขี ย น ส่ ว น ท่ี เ รี ย ก ว่ า “เน้ือหา” (Body) ของบทความ ส่วนน้ีเป็นส่วนท่ี เราต้องทำงานหนักมากท่ีสุด จุดยืน (thesis) ท่ีเรา ต้ังไว้ในบทนำจะได้รับการปกป้องให้เข้มแข็งและน่า เชื่อถือมากน้อยแค่ไหน ก็อยู่ท่ีการทำงานของเราใน สว่ นเน้อื หานีเ้ อง หากจะกลา่ วอย่างรวบรดั ทส่ี ดุ ทุก สิ่งทุกอย่างท่ีเราทำในส่วนเนื้อหาก็คือภารกิจแห่ง การปกป้องจุดยืนของเราในส่วนบทนำ ดังคำกล่าว
2๑ ของนักวิชาการท่ียกมาในคร้ังท่ีสองที่ว่า “บทความทาง ปรัชญาคือการปกป้องจุดยืน” (Philosophy paper is to defend thesis) ดงั นนั้ ไมว่ ่าอะไรก็ตามทเ่ี ราใส่ลงไปในสว่ น เนื้อหา ควรไตร่ตรองให้ดีก่อนว่ามันจำเป็นต่อการปกป้อง หรือชว่ ยคำ้ ยนั จุดยืนเราให้นา่ เชื่อถือมากขนึ้ หรอื ไม่ อธิบายให้เห็นภาพง่ายๆ อุปมาเหมือนการที่เรา สร้างเด็กน้อยให้ลืมตาดูโลก เด็กคนนี้จะอยู่รอดปลอดภัย หรือไม่ จะเจริญเตบิ โตแข็งแรงหรอื ไม่ กอ็ ยทู่ ่ีวา่ เราดูแลเลีย้ ง ดูเขาอย่างไร การสร้างจุดยืนในบทความก็ฉันนั้น เมื่อสร้าง มันขึ้นมาแล้วเราก็ต้องหาวิธีปกป้องคุ้มครองให้มันดำรงอยู่ ได้อย่างมั่นคง สำหรับเด็กน้อยเราเล้ียงดูด้วยอาหาร แต่ จุดยืนของบทความเราเล้ียงดูด้วยเหตุผลและหลักฐาน (arguments & evidences) เด็กจะแข็งแรงดีถ้าได้อาหาร ถูกหลักโภชนาการ จุดยืนจะเข้มแข็งดีถ้าได้เหตุผลและหลัก ฐานทน่ี า่ เช่ือถอื มาค้ำยัน บทความทางปรัชญานั้นจัดอยู่ในประเภทบทความ แบบใช้เหตุผลหรือแบบโน้มน้าวให้คนคล้อยตามด้วยพลัง ของเหตุผล (argumentative/persuasive essay) ด้วยเหตุ นี้บางคร้ังเราจึงเรียกนักปรัชญาว่าเป็นนักเหตุผลนิยม
22 (rationalist) เพราะอาวุธหลักของนักปรัชญาในการโน้ม น้าวคนให้เชื่อคือเหตุผล ต่างจากนักวิทยาศาสตร์ท่ีมีอาวุธ หลักในการโน้มน้าวคนคือหลักฐานข้อมูลเชิงประจักษ์ ท่ี สามารถพิสูจน์ทดสอบได้ ด้วยเหตุน้ี เราจึงเรียกนัก วทิ ยาศาสตรว์ า่ เปน็ พวกนกั ประจกั ษน์ ยิ ม/ประสบการณ์นิยม (empiricist) เม่ือนักปรัชญามีเหตุผลเป็นอาวุธคู่กาย เวลา ที่นักปรัชญาเขียนบทความวิชาการ สิ่งพวกเขาจะปล่อย ออกมาให้ว่ิงเพ่นพล่านในเนื้อหาบทความคงไม่มีอะไรอื่น มากไปกว่าเหตุผล ดังนั้น ถ้าจะถามว่าเขียนอย่างไรให้เป็น ปรัชญา ตอบแบบกำป้ันทุบดินว่าเขียนแบบใช้เหตุผล (argumentative) ถัาเขียนแบบอ่ืนที่ไม่ใช่แบบเหตุผล ถือว่าไม่ใช่งานทางปรัชญา ทุกท่านคงรู้จักวิชาหนึ่งท่ีเราถูก บังคับให้เรียนในระดับปริญญาตรี นั่นคือวิชาตรรกวิทยา (Logic) วิชานี้นักเรียนสายปรัชญาจะได้เรียนอย่างเข้มข้น ตอนเราเรียนในห้องเรียนอาจยังมองไม่เห็นประโยชน์ของ มันเท่าไร จะได้เห็นประโยชน์ของมันจริงๆก็ตอนลงมือเขียน บทความทางปรัชญานี่แหละ ดังน้ัน จึงขอฝากนักเรียน ปรัชญาทั้งหลายว่า จงปลดปล่อยวิชาตรรกวิทยาให้แสดง บทบาทอย่างเต็มที่ในงานวิชาการของท่าน เพราะมันคือ อาวธุ ค่กู ายของท่าน
23 การเขียนสว่ นเนอ้ื หา/โครงสร้างบทความ (๒) มีบางท่านถามมาว่า งานวิชาการสายอื่นเช่นสาย พุทธจะเขียนอย่างไร ขอแนะนำว่าข้ึนชื่อว่างานวิชาการไม่ ว่าสาขาใดก็ตาม กล็ ว้ นต้องการเสนอองค์ความรูใ้ หม่หรือมุม มองใหม่ๆ ดว้ ยกันท้ังนน้ั การท่จี ะบอกใครต่อใครวา่ สิง่ ท่ีเรา นำเสนอเป็นความรู้ใหม่โดยไม่เอาเหตุผลและหลักฐานมา โน้มน้าว คงเป็นไปได้ยากท่ีใครเขาจะเชื่อ โดยเฉพาะนัก วิชาการในแวดวงเดียวกับเราซึ่งล้วนแต่เช่ียวชาญทั้งน้ัน ส่ิง ท่ีผู้เขียนนำเสนอมาแม้อาจจะมุ่งไปทางปรัชญา แต่ความ จริงแล้วทุกสาขาวิชาก็มีหลักการทำงานไม่แตกต่างกันมาก นัก มีต่างบ้างก็ตรงที่งานทางปรัชญาเน้นเร่ืองของเหตุผล มากเป็นพิเศษ เชื่อว่าถ้าท่านเข้าใจวิธีการทำงานทาง ปรชั ญาดีแล้ว กไ็ มใ่ ชเ่ รอื่ งยากท่ีจะทำงานในสาขาของทา่ น ก่อนท่ีจะเข้าไปคล่ีดูรายละเอียดในส่วนเน้ือหา (Body) ของบทความทางปรัชญา เราควรมองภาพรวมของ มันให้ออกก่อน เหมือนการจะสร้างตึกเราควรดูพิมพ์เขียว หรือโครงสร้างของตึกท้ังหลังให้ออกก่อนว่ามีอะไรอยู่ตรง
24 ส่วนไหนบ้าง แต่ละอย่างเช่ือมสัมพันธ์กันอย่างไร เสร็จแล้ว ค่อยเข้าไปคลี่ดูรายละเอียดทีละอย่าง โดยทั่วไปแล้ว บทความทางวิชาการจะต้องมีโครงสร้างหลัก 3 ส่วน คือ สว่ นนำ (Introduction) สว่ นเน้อื หา (Body) และสว่ นสรปุ (Conclusion) คิดว่าทุกท่านทราบดีอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม บางคร้ังก็นิยมเอาส่วนเนื้อหามาขยายออกเป็นสามส่วน ทำให้ไดโ้ ครงสร้าง ๕ สว่ น เรยี กว่า “โครงสรา้ งบทความท่มี ี องค์ประกอบอย่างน้อย ๕ ส่วน” (Minimal five-part structure) ดังตอ่ ไปน:ี้ ๑. สว่ นนำ (Introduction) 2. ส่ ว น เ ห ตุ ผ ล ส นั บ ส นุ น จุ ด ยื น ข อ ง ผู้ เขี ย น (Supporting Argument) 3. ส่วนเหตุผลตรงกันข้ามกับเหตุผลของผู้เขียน (Counter-argument) 4. ส่วนปฏิเสธเหตุผลตรงกันข้าม (Reputation/ Response) ๕. ส่วนสรปุ (Conclusion)
2๕ ขอย้ำว่าโครงสร้างท้ังห้าส่วนนี้เป็นเพียงแนวทาง หน่ึงเท่าน้ัน ท่านสามารถเอาส่วนเนื้อหามาขยายเพ่ิมให้ มากกว่าน้ีก็ย่อมได้ การเรียงลำดับของส่วนเน้ือหาท่านอาจ ไม่จำเป็นต้องเดินตามนี้ก็ได้ แต่โดยรวมแล้วส่ิงท่ีท่านจะ ต้องบรรลุลงในส่วนเน้ือหาจะต้องมีส่วนเหตุผลสนับสนุน จุดยืนของท่าน ส่วนเหตุผลที่อยู่ตรงกันข้ามกับเหตุผลของ ท่าน และส่วนปฏิเสธหรือโต้แย้งเหตุผลที่อยู่ตรงกันข้ามกับ เหตุผลของทา่ น ท่ีผ่านได้อธิบายแล้วว่า ส่วนนำหรือบทนำควรเขียน อย่างไร สำหรับอีกส่ีส่วนที่เหลือขออธิบายรายละเอียดใน คร้งั ต่อๆไป ในทนี่ ี้ขออธิบายพอเปน็ แนวทางคร่าวๆ ดังนว้ี ่า การท่ีจะโน้มน้าวให้ผู้อ่านเช่ือว่าจุดยืน (thesis) ของเราถูก ตอ้ งนน้ั เราตอ้ งหาเหตผุ ลทเี่ ราคดิ วา่ ดที ส่ี ดุ (best argument) มีน้ำหนักมากที่สุด มาปกป้องหรือคำยันจุดยืนน้ัน เพียงแค่ น้ียังไม่พอ เราจะต้องนำเอาเหตุผลตรงกันข้ามกับเราที่ดี ท่ีสุด (best counter-argument) มานำเสนอควบคู่กนั ด้วย โดยนำเสนออย่างครบถ้วนและเป็นกลาง ไม่ใช่เลือกนำ เสนอเฉพาะจุดอ่อนของเขา อุปมาเหมือนเราฝึกซ้อมนัก มวยของเราอย่างดีแล้ว ถ้าอยากรู้ว่าเขาดีจริงหรือเปล่า ให้
26 ลองหาคู่ชกฝีมือดีมาทดสอบดูแล้วจะรู้ว่าเขาแกร่งจริงหรือ เปล่า จากนั้น ให้หาเหตุผลมาปฏิเสธหรือโต้แย้งเหตุผลตรง กันข้ามนั้น (reputation) และส่วนสรุปสุดท้ายให้เราย้อน กลับไปเอาจุดยืนในส่วนนำมากล่าวซ้ำอีกครั้ง (restate) พร้อมนำเหตุผลต่างๆที่เราใช้ปกป้องหรือสนับสนุนมากล่าว สรุปโดยรวมอกี ครงั้ หนง่ึ
27 การเขียนสว่ นเนือ้ หา/อาร์กิวเมนตค์ ำ้ ยัน (๓) ผู้ที่อยู่ในวงการศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญา เอกคงเคยเจอเหตุการณ์ที่ว่า เม่ือเราเขียนงานวิชาการส่งครู อาจารย์หรือเขียนวิทยานิพนธ์เพ่ือเสนอสอบจบการศึกษา แล้วมักถูกวิจารณ์ว่างานของเราไม่เป็นวิชาการเพราะไม่มี “อาร์กิวเมนต์” (argument) เราได้ยินคำน้ีบ่อยจนชินหู แสดงว่าไอ้เจ้า “อาร์กิวเมนต์” น้ีมันเป็นหัวใจของงานทาง วิชาการท่ีครูอาจารย์เขาคาดหวังจากลูกศิษย์เหลือเกิน หาก ท่านท้ังหลายสังเกตโครงสร้างบทความในส่วนเน้ือหาท่ีนำ เสนอในคร้ังที่แล้ว จะเห็นว่าล้วนเป็นเรื่องเกี่ยวกับ “อาร์กิวเมนต์” ทั้งน้ันเลย แต่ไม่แน่ใจว่าพวกเราเข้าใจตรง กันหรือไม่ว่ามันคืออะไร ผู้เขียนคิดว่า ตราบใดท่ีเรายัง เข้าใจเรื่องน้ีไม่ตรงกันหรือเข้าใจแบบคลุมๆเครือๆ ก็เป็น เรื่องยากท่ีจะเข้าใจการเข้าใจการเขียนบทความวิชาการใน สว่ นของเนื้อหา คำว่า “อาร์กิวเมนต์” (argument) เป็นคำที่ นักเรียนทางปรัชญาคุ้นเคยกันดีท่ีสุด ในหนังสือที่เก่ียวกับ
28 การใชเ้ หตุผลหรอื ตรรกวิทยา แทบไม่มีเล่มใดเลยทไ่ี ม่พูดถงึ เร่ือง “อาร์กิวเมนต์” เพราะนี้คือหัวใจสำคัญของความเป็น นักปรชั ญา (หรือนกั วชิ าการสายอ่นื ๆ ก็ตาม) คำนี้ในภาษา ฝร่ังมีความหมายหลายอย่าง ข้ึนอยู่กับว่าเราใช้ในวงการ อะไร ถ้าเป็นภาษาชาวบ้านทั่วไปคำน้ีอาจหมายถึงการส่ง เสียงทะเลาะเบาะแว้งกันหรือการขึ้นเสียงเอะอะโวยวายใส่ กัน แต่ในวงวิชาการเราไม่ได้ใช้ในความหมายอย่างท่ีชาว บ้านเขาใช้กัน ก่อนที่จะอธิบายว่าคำน้ีหมายถึงอะไร ขอนำ ฉากเหตุการณ์ในวรรณกรรมแนวสืบสวนสอบสวนเร่ือง “เชอร์ล๊อค โฮล์มส”์ มาให้ดเู ป็นตวั อย่างดงั น้ี ในเรื่องทับทิมสีฟ้า (The Blue Carbuncle) มีฉาก เหตุการณ์ตอนหน่ึงท่ีนักสืบเชอร์ล๊อค โฮล์มส์ ได้รับหมวก ใบใหญ่จากตำรวจให้ช่วยสืบหาคนเป็นเจ้าของหมวก ตำรวจให้ข้อมูลแค่ว่าหมวกใบนี้เป็นของผู้ถูกทำร้ายใน เหตกุ ารณท์ ะเลาะวิวาทกัน แต่หาเจา้ ของไมเ่ จอ เพราะขณะ ที่ตำรวจไปถึงที่เกิดเหตุ เจ้าของหมวกได้วิ่งหนีไปเสียแล้ว แม้โฮล์มส์จะไม่มีข้อมูลอะไรเลยเกี่ยวกับเจ้าของหมวก นอกจากหมวกใบเดียวเท่าน้ัน แต่เขาได้พูดคุยกับคุณหมอ วัตสันว่า หมวกใบน้ีบอกข้อมูลของชายผู้เป็นเจ้าของหมวก
29 ได้หลายอย่าง หน่ึงในนั้นก็คือเขาเป็นเฉลียวฉลาดมาก (highly intellectual) คุณหมอวัตสันงงวา่ แค่หมวกใบเดยี ว จะบอกได้อย่างไรว่าเจ้าของหมวกเป็นคนฉลาดมาก จึงขอ ให้โฮล์มส์เอาหลักฐานมายืนยัน โฮล์มส์จึงเอาหมวกมาสวม ให้คุณหมอดู ปรากฏว่าใหญ่กว่าศีรษะมาก หลวมปิดลงมา จนถึงด้ังจมูกเลยทีเดียว แล้วเขาก็พูดว่า “ชายท่ีมีสมอง ใหญ่อย่างนี้จะต้องมีอะไรบางอย่างบรรจุอยู่ในน้ัน” (a man with so large a brain must have something in it) พูด ง่ายๆ ว่าหมวกใบใหญ่แสดงว่าเจ้าของหมวกมีศีรษะใหญ่ คนมีศีรษะใหญ่แสดงว่ามีก้อนสมองใหญ่ คนมีก้อนสมอง ใหญ่แสดงว่าเป็นคนฉลาดมาก ถ้าเราเอาวิธีการของโฮล์มส์ ในการยืนยันความฉลาดของเจ้าของหมวกมาสร้างประโยค ใหม่จะไดด้ ังนี้ : ๑. นค้ี ือหมวกใบใหญ่ 2. ใครสักคนเป็นเจา้ ของหมวกในน้ี 3. เจา้ ของหมวกใบใหญ่เป็นคนมีศรี ษะใหญ่ 4. คนท่มี ีศรี ษะใหญ่เปน็ คนมีก้อนสมองใหญ่ ๕. คนท่ีมกี ้อนสมองใหญ่เป็นคนฉลาดมาก 6. ดังนั้น เจา้ ของหมวกใบนต้ี อ้ งเป็นคนฉลาดมาก
30 วิธีการของเชอร์ล๊อค โฮล์มส์ ท่ียกมาเป็นตัวอย่างน้ี จะสมเหตุสมผลหรือฟังข้ึนหรือไม่เป็นอีกเร่ืองหนึ่ง แต่ที่ยก มาเป็นตัวอย่างเพ่ือจะอธิบายเรื่องการใช้ “อาร์กิวเมนต์” ทา่ นทัง้ หลายจะเหน็ วา่ ก่อนท่ีจะหาหลักฐานและเหตุผลมาส นับสนุนว่าเจ้าของหมวกเป็นคนฉลาดมาก โฮล์มส์เร่ิมต้น ด้วยการแสดงจุดยืนของตนขึ้นมาก่อน จุดยืนที่ว่านี้ก็คือ “เจ้าของหมวกเป็นคนฉลาดมาก” ถ้าพูดเพียงแค่น้ีคุณหมอ วตั สนั คงไม่เชื่อแน่นอน วิธีท่จี ะโน้มน้าว (convince) ให้คณุ หมอเช่ือว่าจุดยืนของตนถูกต้อง โฮล์มส์ต้องหาเหตุผลและ หลักฐานมาสนับสนุน วิธีการของโฮล์มส์คือสาธิตการสวม หมวกใหด้ เู ลยวา่ มนั ใหญจ่ รงิ เสรจ็ แลว้ กอ็ นมุ าน (inference) เชื่อมโยงไปหาศีรษะของเจ้าหมวกว่าจะต้องใหญ่เหมือนกัน จากนั้น ก็อนมุ านต่อไปอกี วา่ ศรี ษะท่ใี หญจ่ ะตอ้ งมีสมองกอ้ น ใหญ่บรรจุอยู่ในน้ัน แล้วอนุมานต่อไปอีกว่าคนมีสมองก้อน ใหญ่จะต้องเป็นคนที่ฉลาดมาก สุดท้ายก็ได้ข้อสรุป (conclusion) วา่ เจ้าของหมวกเป็นคนฉลาดมาก เราสามารถเอาวิธีการของโฮล์มส์มาเทียบกับการ เขยี นบทความทางปรชั ญาได้ การสร้างจดุ ยืน (thesis) ของ โฮล์มส์ท่ีว่า “เจ้าของหมวกเป็นคนฉลาดมาก” อันนี้เทียบ
3๑ ได้กับการแสดงจุดยืนของเราในส่วนนำของบทความ การท่ี โฮล์มส์หาเหตุผลและหลักฐานมาโน้มน้าวให้คุณหมอวัตสัน เช่ือว่าของเจ้าของหมวกเป็นคนฉลาดจริง เทียบได้กับการ เขียนบทความของเราในส่วนเนื้อหา และการสรุปของโฮล์ม ท่ียืนยันจุดยืนซ้ำอีกครั้งว่าเจ้าของหมวกเป็นคนฉลาดมาก เทยี บไดก้ บั การเขียนบทความของเราในสว่ นสรปุ จากเรื่องท่ียกมาคงพอเดาออกว่า “อาร์กิวเมนต์” คืออะไร ถ้าสรุปง่ายๆ แบบกำปั้นทุบดิน “อาร์กิวเมนต์” ก็ คือการทำจุดยืนหรือข้อสรุปของเราให้น่าเชื่อถือด้วยการหา ข้อมูลหลักฐานมายืนยันน่ันเอง ดังที่ศาสตราจารย์แอนโทน่ี เวสตนั (Anthony Weston) ภาควชิ าปรชั ญา มหาวทิ ยาลัย อีลอน สหรฐั อเมริกา กลา่ วไวใ้ นหนงั สือ “A Rulebook for Arguments” ว่า “อาร์กิวเมนต์ คือ การเสนอชุดเหตุผล หรือหลักฐานสนับสนุนข้อสรุป” (Argument means to offer a set of reasons or evidence in support of a conclusion) หรือ “อาร์กิวเมนต์ คือ ความพยายามท่ีจะ สนับสนุนทัศนะบางอย่างด้วยเหตุผล” (Arguments are attempts to support certain views with reasons)
32 ความจริงแล้ว “อาร์กิวเมนต์” ก็คือการใช้เหตุผล ตามหลักตรรกวิทยาท่ีเราเรียนกันมาแล้วในมหาวิทยาลัย นั่นเอง หลักตรรกวิทยาบอกว่าการใช้ “อาร์กิวเมนต์” จะมี องค์ประกอบหลักอยู่ 2 ส่วน คือ ส่วนเหตุผลที่ใช้ค้ำยัน (support) หรือเรียกอกี อย่างวา่ “ขอ้ อา้ ง” (premises) กบั สว่ นทถี่ กู คำ้ ยนั หรอื เรยี กอกี อยา่ งวา่ “ขอ้ สรปุ ” (conclusion) ถ้าเทียบกับบ้านหลังหนึ่ง ส่วนเหตุผลที่ใช้ค้ำยันเทียบได้กับ เสาเข็มของบ้าน ส่วนท่ีถูกค้ำยันเทียบได้กับตัวบ้านท่ีต้ังอยู่ บนเสาเข็มน้ัน ทั้งสองส่วนนี้จะต้องสัมพันธ์กันอย่างแน่น หนา บ้านจึงจะดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง การใช้เหตุผลแบบ ตรรกวิทยาท่เี ราค้นุ เคยกนั ดี เชน่ ๑. มนุษยท์ ุกคนเป็นสตั ว์ทตี่ อ้ งตาย 2. โสกราตสิ เปน็ มนษุ ย์ 3. ดังน้ัน โสกราติสจักตอ้ งตายแน่ๆ การใช้เหตุผลชุดนี้ถ้าเทียบกับการเขียนบทความ ก็ได้ว่า สมมติว่าตอนน้ีผู้ชายคนหน่ึงนามว่า “โสกราติส” ยงั มชี วี ติ เป็นคนเป็นๆ ยงั ไม่ตายจากโลกน้ี มีชายสองคนถก กันว่าในอนาคตวันหน่ึงนายโสกราติสคนนี้จะตายไหม ชาย คนหนึ่งเสนอจุดยืน (thesis) ของตนว่า “โสกราติสจะต้อง
33 ตายแน่ๆ ในอนาคต” วิธีที่ชายคนนี้จะโน้มน้าวให้เพื่อนเชื่อ ว่าจุดยืนของตนถูกต้อง แกต้องหาเหตุผลและหลักฐานมาส นับสนุน ไม่ใช่เสนอจุดยืนลอยๆ เขาเริ่มต้นด้วยเหตุผลและ หลักฐานที่ว่า ในอดีตที่ผ่านมาต้ังแต่มีมนุษย์เกิดขึ้นในโลกน้ี ไม่เคยปรากฏว่ามีมนุษย์คนใดอยู่ค้ำฟ้า แม้ปัจจุบันนี้ญาติ ของเราและมิตรสหายของเราหลายคนก็ตายให้เห็นอยู่ เรื่อยๆ อันนี้คือหลักการสากลที่ทุกคนยอมรับกันอยู่แล้ว ถามต่อไปว่านายโสกราติสเป็นมนุษย์คนหน่ึงในจำนวน มนุษย์ที่ตายๆ กันอยู่น้ันไหม ตอบว่าใช่ เขาเป็นมนุษย์ แน่นอน เพราะรูปพรรณสัณฐานและอะไรอีกหลายอย่างบ่ง บอกว่าเขาเป็นมนุษย์ ถ้าเป็นเช่นน้ันจริง เขาจักต้องตายอ ยา่ งแน่นอนในอนาคต ไมม่ ีทางทจ่ี ะสรุปเป็นอย่างอ่นื ไปได้ หากเทียบกับการเขียนบทความทางปรัชญาก็จะได้ ว่า การแสดงจุดยืนว่า “โสกราติสจะต้องตายแน่ๆ ใน อนาคต” (ความจริงจุดยืนแบบนี้ไม่ควรตั้งในการเขียน บทความ เพราะเถียงไม่ได้ เพียงยกมาเป็นตัวอย่างเทา่ นั้น) เทียบได้กับการแสดงจุดยืนของเราในส่วนบทนำ การ เหตุผลและหลักฐานมาค้ำยันที่ว่า “มนุษย์ทุกคนเป็นสัตว์ท่ี ต้องตาย” ก็ดี “โสกราติสเป็นมนุษย์” ก็ดี เทียบได้กับการ
34 เขียนบทความในส่วนเน้ือหา และการสรุปว่า “ดังน้ัน โสกราติสจักต้องตายแน่ๆ” ซึ่งเป็นตอกย้ำจุดอีกครั้งหน่ึง เทยี บได้กบั การเขยี นบทความใสส่วนสรุปของเรา
3๕ การเขียนส่วนเนอ้ื หา/อาร์กวิ เมนตค์ ้ำยนั (๔) ครงั้ ทแี่ ลว้ ผเู้ ขยี นไดน้ ำเสนอไปวา่ การใช้ “อารก์ วิ เมนต”์ (argument) หมายถึงการหาเหตุผลและหลักฐานมาค้ำยัน จุดยืน (thesis) หรือข้อสรุปของเราให้เข้มแข็งหนักแน่นน่า เช่ือถือ เป็นคุณสมบัติท่ีบ่งบอกถึงความเป็นบทความทาง ปรชั ญา หรอื แมบ้ ทความวิชาการในสายอ่นื ๆ กค็ วรจะมสี ง่ิ น้ี เพราะถ้าไม่มีสิ่งที่เรียกว่า “อาร์กิวเมนต์” น้ีนึกไม่ออกว่า เราจะเอาอะไรไปโน้มน้าวให้ผู้อ่านหรือผู้คงแก่เรียนท่ัวไป เชือ่ ว่าจุดยนื เราของถูกต้อง คิดว่าทุกท่านคงพอเข้าใจอาร์กิวเมนต์ดีพอสมควร แลว้ ต่อไปขอนำเขา้ ส่กู ารเขยี นสว่ นเน้ือหา (Body) หวั ขอ้ ที่ 2 ว่าด้วย “เหตุผลสนับสนุนจุดยืนของผู้เขียน” (supporting arguments) ในท่ีนี้ขอเรียกส้ันๆว่า “อาร์กิวเมนต์ค้ำยัน” ก็แล้วกัน ในการเขียนอาร์กิวเมนต์ค้ำ ยันน้ัน ศาสตราจารย์โรเบิร์ต พอล โวล์ฟ (Robert Paul Wolff) ภาควิชาปรชั ญา มหาวิทยาลยั แมสชาซูเซตต์ ให้คำ แนะนำไว้ว่า:
36 จงจำไวเ้ สมอวา่ เมอื่ ทา่ นใชอ้ ารก์ วิ เมนตส์ นบั สนนุ จุดยืนของท่าน ให้ถามตัวท่านเองว่า ถ้าเราไม่เคย เชือ่ จุดยนื ของเรามาก่อนเลย เหตผุ ลอันน้จี ะโนม้ น้าว ให้เราเชื่อจุดยืนน้ันได้ไหม? อย่างน้อยมันทำให้เรา โนม้ เอยี งไปทางท่จี ะเชอื่ วา่ จดุ ยนื นนั้ เป็นจรงิ ไดไ้ หม? มันโน้มไปทางที่จะทำให้คนอ่านผู้มีเหตุผล มีใจเปิด กว้าง พอท่ีจะรับฟังเหตุผลของเราได้ไหม? ถ้าตอบ ว่าได้ แสดงว่าท่านมีอาร์กิวเมนต์ที่ดีอยู่ในมือแล้ว ถ้าตอบว่าไม่ได้ ให้เอามันออกไปจากบทความเรา แลว้ หาอารก์ วิ เมนตท์ ด่ี กี วา่ มาใสแ่ ทน ข้อแนะนำนี้เป็นลักษณะให้นึกถึงหัวอกของผู้อ่าน หรือให้เอาใจเขามาใส่ใจเรา สมมติว่าเราเป็นคนอ่านที่ไม่ เคยเช่ือจุดยืนแบบน้ีมาก่อนหรือเชื่อในมุมท่ีแตกต่างออกไป ถ้าได้อ่านอาร์กิวเมนต์ที่เราเสนอไว้ในงาน มันสามารถโน้ม น้าวให้เราคล้อยตามหรือเปลี่ยนความเช่ือเดิมของเราได้หรือ ไม่ หรือถึงแม้เราอาจจะไม่เห็นด้วยท้ังหมด แต่มันมีเหตุผล มากพอจนแย้งได้ยากหรือไม่ ถ้าคิดว่าอ่านแล้วก็งั้นๆ หรืออ่านแล้วมีจุดอ่อนให้โต้แย้งได้มากมาย ก็ให้โยน อารก์ วิ เมนตท์ ้ิงไปเสยี แล้วหาอาร์กิวเมนตท์ ดี่ กี ว่ามาใส่แทน
37 ขอยกตัวอย่างเร่ือง “ศีลธรรมแห่งการทำแท้ง” (Morality of Abortion) สมมติว่าเราเสนอจุดยนื ไวใ้ นส่วน นำของบทความว่า “ในบทความนี้ผู้เขียนจะอภิปรายให้เห็น ว่า การทำแท้งเป็นเร่ืองที่ผิดศีลธรรมในทุกกรณี” ถามว่า เมื่อเขียนบทความในส่วนเน้ือหาเราจะเอาอาร์กิวเมนต์อะไร มาปกป้องหรือคำยันจุดให้นี้ให้น่าเช่ือถือ หรือมาโน้มน้าว คนทีเ่ ขาอาจจะมจี ุดยนื ทต่ี ่างออกไปเชน่ “ผู้หญงิ มีสิทธิอยา่ ง สมบูรณ์แบบในการตัดสินใจว่าจะทำแท้งหรือไม่” การท่ีจะ เลือกว่าควรใช้อาร์กิวเมนต์แบบใดนั้นอยู่ท่ีดุลพินิจของเราว่า อะไรน่าจะมีน้ำหนักค้ำยันได้มากที่สุด อย่างกรณีตัวอย่าง จุดยืนที่ยกมาข้างต้น อาร์กิวมนต์อย่างหน่ึงท่ีนิยมนำมาค้ำ ยนั จดุ ยืนแบบนค้ี ือ: ก า ร ท ำ ใ ห้ เ ป็ น ตั ว อ ย่ า ง ห น่ึ ง ข อ ง ก ฎ ทั่ ว ไ ป (Instantiation): หมายถึงการเร่ิมต้นด้วยการแสดงให้เห็น ว่า “การทำลายชีวิตผู้บริสุทธิ์เป็นเรื่องผิดศีลธรรม” อันน้ี เรียกว่า กฎทว่ั ไป (general rule) ท่ีทุกคนนา่ จะยอมรับกัน อยแู่ ล้ว จากนนั้ แสดงใหเ้ หน็ วา่ “การทำแท้งเปน็ การทำลาย ชีวิตผู้บริสุทธิ์” อันน้ีเรียกว่าการทำให้เป็นตัวอย่างอันหน่ึง ของกฎท่ัวไป (instantiation) จากนั้นนำไปสู่การสรุปว่า
38 “ดังนั้น การทำแท้งจึงเป็นเรื่องผิดศีลธรรม” (conclusion) นี้คือการใช้อาร์กิวเมนต์แบบทำให้ประเด็นท่ีกำลังถกเถียง เป็นตัวอย่างอันหน่ึงของกฎท่ัวไป (general rule) คือการ แสดงให้เห็นว่า เด็กในครรภ์เป็นผู้ไม่รู้อีโหน่อีเหน่ เขาเกิด มาอย่างบริสุทธ์ิ ไม่มีส่วนรู้เห็นในการกระทำของผู้ใหญ่อัน เป็นท่ีมาของการต้ังครรภ์ เม่ือเด็กเขาเป็นผู้บริสุทธ์ิ การ ทำแท้งจงึ เป็นการทำลาชวี ติ ของผู้บรสิ ุทธิ์ เราอาจเขยี นเปน็ ประโยคตรรกวิทยา (syllogism) ใหเ้ ข้าใจงา่ ยๆ ไดด้ ังน:้ี - การทำลายชีวิตของผู้บริสุทธิ์เป็นเรื่องผิดศีลธรรม (กฎท่ัวไป/general rule) - การทำแท้งเป็นการทำลายชีวิตผู้บริสุทธิ์ (ตัวอย่างหนง่ึ ของกฎทวั่ ไป/instantiation) - ดังน้ัน การทำแท้งจึงเป็นเร่ืองผิดศีลธรรม (ข้อ สรุป/Conclusion) การใช้อาร์กิวเมนต์แบบท่ีเรียกว่า “การทำให้เป็น ตัวอย่างหนึ่งของกฎท่ัวไป” น้ี เป็นตัวอย่างหนึ่งที่สามารถ นำไปใช้ได้หลากหลายสถานการณ์ ขอเน้นย้ำว่าการท่ีจะ โน้มน้าวให้อ่านคล้อยตามอาร์กิวเมนต์ของเรานั้น ต้องเร่ิม
39 น้าวโน้มตั้งแต่กฎท่ัวไปท่ีเรายกมา ถ้ากฎทั่วไปไม่โน้มน้าว เสยี แล้ว แม้เราจะบอกวา่ “การทำแท้งเปน็ การทำลายชีวิตผู้ บรสิ ุทธิ์” ก็ยากทีจ่ ะโน้มน้าวผู้อา่ นใหค้ ลอ้ ยตามได้
40 การเขยี นสว่ นเน้อื หา/อารก์ ิวเมนตค์ ำ้ ยัน (๕) ครง้ั ทแ่ี ลว้ ผเู้ ขยี นไดเ้ สนอไปวา่ การใช้ “อารก์ วิ เมนต”์ เพื่อค้ำยันหรือสนับสนุนจุดยืนของเรา (supporting argument) ในส่วนเน้ือหาบทความน้ันสามารถทำได้หลาย รูปแบบ ข้ึนอยู่กับดุลพินิจผู้เขียนว่าจะใช้แบบใดถึงจะมีน้ำ หนักมากที่สุด หรืออาจจะใช้ผสมผสานกันหลายแบบก็ได้ จากตวั อยา่ งท่ียกมาให้ดใู นครง้ั ที่แล้ว ถ้าพูดตามภาษาตรรก วิทยาก็คือการใช้อาร์กิวเมนต์แบบนิรนัยนั่นเอง (deductive argument) ทุกท่านทราบดีว่า อาร์กิวเมนต์แบบนิรนัย หมายถึง อาร์กิวเมนต์ที่เร่ิมจากเรื่องใหญ่ไปหาเร่ืองย่อยหรือหลัก ทั่วไปไปหาหลักเฉพาะ (from the general to the particular) กล่าวคือจากหลักทั่วไปท่ีว่า “การทำลายชีวิต ของผู้บริสุทธิ์เป็นเร่ืองผิดศีลธรรม” (เทียบกับ “มนุษย์ทุก คนเป็นสัตว์ท่ีต้องตาย”) ไปหาหลักเฉพาะท่ีว่า “การ ทำแทง้ เปน็ การทำลายชวี ติ ผ้บู ริสุทธิ์” (เทยี บกบั “โสกราติส เป็นมนุษย์”) แล้วได้ข้อสรุปว่า “ดังน้ัน การทำแท้งจึงเป็น
4๑ เร่ืองผิดศีลธรรม” (เทียบกับ “ดังนั้น โสกราติสจึงต้อง ตาย”) กาใช้อาร์กิวเมนต์แบบน้ีถ้าหลักท่ัวไปและหลัก เฉพาะเป็นจรงิ (true) ขอ้ สรปุ จะต้องจริงอยา่ งแนน่ อน ไมม่ ี ทางท่ีเราจะสรุปเป็นอย่างอ่ืนได้ หากใครไม่เห็นด้วยกับ อาร์กิวเมนต์ของเรา ต้องหาเหตุผลท่ีดีกว่ามาแย้งให้ได้ ว่าการทำลายชีวิตผู้บริสุทธ์ิไม่ผิดศีลธรรมอย่างไร การ ทำแท้งไมถ่ ือว่าเป็นทำลายชีวติ ผู้บรสิ ุทธอิ์ ยา่ งไร ถา้ แย้งตรง นี้ได้ข้อสรุปของเราก็จะหมดความน่าเช่ือถือทันที พูดง่ายๆ ว่าถ้าทำลายสิ่งที่ใช้เป็นเสาค้ำยันได้แล้ว สิ่งท่ีถูกค้ำยันก็จะ พังครนื ลงมาทนั ที อาร์กิวเมนต์อีกแบบหน่ึงที่สามารถนำใช้ค้ำยันจุดยืน ของเราได้ คือ อาร์กิวเมนต์แบบอุปนัย (inductive argument) หมายถึงอาร์กิวเมนต์ท่ีเร่ิมจากเร่ืองย่อยไปหา เร่ืองใหญ่หรือจากเร่ืองเฉพาะไปหาหลักท่ัวไป (from the particular to the general) เช่น ตะกร้าใบหนงึ่ มีส้มจำนวน ๑00 ลูก เราอยากรู้ว่าส้มเหล่าน้ีหวานหรือเปรี้ยวจึงสุ่มหยิบ ส้มข้ึนมาชมิ ทลี ะลกู ไปเรื่อยๆ จนครบ ๑0 ลกู ปรากฏวา่ สม้ สิบลูกที่เราชิมหวานท้ังหมด เราจึงอนุมาน (inference) จากข้อมูลส้มสิบลูกที่เรามีอยู่ไปหาส้มอีกเก้าสิบลูกท่ียังไม่
42 ได้ชิมว่ามันมีรสหวานท้ังหมด การใช้เหตุผลแบบอุปนัยนี้ไม่ จำเป็นต้องถูกต้องร้อยเปอร์เซ็นต์เหมือนแบบนิรนัย เป็น เพยี งความน่าจะเปน็ เทา่ นน้ั (probability) เพราะเปน็ เพียง การสรุปจากข้อมูลจำนวนน้อยให้ครอบคลุมข้อมูลจำนวน มากที่ยังไม่มี ความถูกต้องจะมากหรือน้อยน้ันข้ึนอยู่กับว่า ข้อมูลจำนวนน้อยท่ีเรามีอยู่เป็นตัวแทนของข้อมูลท่ีเรายัง ไม่มีได้มากน้อยแคไ่ หน อย่างโพลล์เลือกตั้งที่เราได้ยินกันบ่อยๆ ความจริง แล้วก็คือการใช้อาร์กิวเมนต์แบบอุปนัยน่ันเอง จำนวนกลุ่ม ตวั อยา่ งผูม้ ีสิทธิเลอื กตงั้ ที่เขาแจกแบบสอบถามนน้ั กไ็ ม่ตา่ ง จากการชิมส้มสิบลูกแล้วพบว่ามีรสหวาน ผลโพลล์ท่ีบอกว่า ผู้มีสิทธิเลือกต้ังทั้งประเทศจะเลือกพรรคใดมากท่ีสุด ก็ไม่ ต่างจากการสรุปว่าส้มในตะกร้าอีกเก้าสอบลูกท่ีไม่ได้ชิมมี รสหวานนั่นเอง ผลโพลล์จะถูกหรือผิดก็อยู่ที่ว่าผู้ตอบ แบบสอบถามเป็นตัวแทนของผู้มีสิทธิเลือกต้ังท่ัวประเทศได้ มากนอ้ ยแค่ไหน ตัวอย่างการใช้อาร์กิวเมนต์แบบอุปนัยเพื่อค้ำยัน จุดยนื ของเรา เชน่ เราเขียนจุดยืนไว้ในสว่ นนำของบทความ ว่า “ในบทความน้ีผู้เขียนจะอภิปรายให้เห็นว่า การสืบบุหร่ี
43 เป็นประจำจะทำให้เป็นมะเร็งปอด” ถามว่าเราจะใช้ อารก์ ิวเมนต์แบบอุปนัยมาค้ำยันจะทำอยา่ งไร เราต้องไปหา ตัวอย่างบุคคลมายืนยันให้ได้ว่ามีใครบ้างท่ีสูบบุหร่ีเป็น ประจำแล้วทำให้เป็นมะเร็งปอด อาจเขียนเป็นประโยคให้ เข้าใจงา่ ยๆ ดังนี้ - นายแดงสบู บหุ รเ่ี ป็นประจำแลว้ เปน็ มะเรง็ ปอด - นายดำสบู บหุ รี่เปน็ ประจำแลว้ เป็นมะเรง็ ปอด - นายเขยี วสบู บุหรเี่ ป็นประจำแลว้ เปน็ มะเรง็ ปอด - ดงนั้น คนทส่ี ูบบหุ รเ่ี ปน็ ประจำจะเป็นมะเรง็ ปอด จะเห็นว่า ข้อสรุปที่ว่า “ดังนั้น คนที่สูบบุหรี่เป็น ประจำจะเป็นมะเรง็ ปอด” เป็นสรปุ บนพื้นฐานข้อมูลการเป็น มะเร็งปอดของบุคคลจำนวนหน่ึงที่เรามีอยู่ในมือ แล้ว อนุมาน (infer) ไปหาคนที่กำลังสูบบุหร่ีเป็นประจำอื่นๆ ที่ เราไม่มีข้อมูลในมือว่าจะเป็นมะเร็งปอดเหมือนกัน อย่างท่ี กล่าวมาแล้วว่า ข้อสรุปของอาร์กิวเมนต์แบบนี้เป็นเพียง ความน่าจะเป็นเท่านั้น (probability) ข้อสรุปจะมีน้ำหนัก มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับข้อมูลท่ีเรามีอยู่ว่าเป็นตัวแทนของ ข้อมูลทย่ี ังไม่มีไดม้ ากนอ้ ยแค่ไหน
44 นอกจากน้ัน ยังมีอาร์กิวเมนต์อีกแบบหนึ่งที่สามารถ นำมาใช้ค้ำยันจุดยืนของเราได้ คือ “อาร์กิวเมนต์แบบ เปรียบเทยี บ” (argument by analogy) เชน่ เรายดึ จุดยืน ทวี่ ่า “ในบทความนี้ผู้เขยี นจะอภปิ รายใหเ้ ห็นวา่ การทำแท้ง เป็นเรื่องที่ผิดศีลธรรมทุกกรณี” ให้เราลองหาตัวอย่างการ กระทำในกรณีอื่นๆ ท่ีคล้ายคลึงกับจุดยืนของเรามาเปรียบ เทยี บกัน อาจเขียนเป็นประโยคได้ดงั น:ี้ - การลงโทษประหารชีวิตผู้ไม่มีความผิดเป็นเร่ือง ผดิ ศลี ธรรม - การเอาปืนไปฆ่าคนท่ีเดินตามท้องถนนเป็นเร่ือง ผิดศลี ธรรม - การทิ้งระเบิดฆ่าประชาชนในท่ีใกล้เขตสงคราม เป็นเร่ืองผดิ ศลี ธรรม - การทำลายชีวิตเด็กทารกในครรภ์เป็นเร่ืองผิด ศีลธรรม การใช้อาร์กิวเมนต์แบบนี้จะมีน้ำหนักน่ารับฟังก็ต่อ เมื่อเหตุการณ์ที่เรายกมาเปรียบเทียบมีจุดร่วม (common) บางอยา่ งท่เี หมือนกนั มาก (similarity) การท่เี ราถือวา่ การ ลงโทษประหารชีวิตผู้ไม่มีความผิดก็ดี เอาปืนฆ่าคนเดินบน
4๕ ถนนก็ดี การทิ้งระเบิดฆ่าประชาชนในเขตใกล้สงครามก็ดี เป็นเรื่องผิดศีลธรรมนั้น เพราะเป็นการฆ่าผู้บริสุทธ์ิ (innocent) เหมอื นกัน ดงั นั้น ประเดน็ เรือ่ ง “ผบู้ ริสุทธิ์” จงึ ถือว่าเป็นจุดร่วมที่ทำให้การกระทำในสามกรณีนี้ผิดศีล ธรรม เม่ือเอาสามกรณีน้ีมาเทียบกับการทำแท้งจะทำให้ เห็นจุดร่วมท่ีเหมือนกัน คือ เด็กทารกที่อยู่ในครรภ์ก็เป็นผู้ บริสุทธ์ิเหมือนกัน ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า การทำแท้งเป็นเร่ือง ทีผ่ ดิ ศีลธรรม
46 การเขียนสว่ นเน้อื หา/อาร์กิวเมนตแ์ ยง้ (๖) ในครั้งที่ผ่านมาผู้เขียนได้นำเสนอเร่ืองการเขียน อาร์กิวเมนต์ค้ำยันจุดยืนของเรา ซึ่งเป็นองค์ประกอบแรก ของการเขียนส่วนเน้ือหาของบทความทางปรัชญา คิดว่าน่า จะทำให้ท่านท้ังหลายมองเห็นภาพได้พอสมควรแล้ว สำหรับคร้ังนี้ขอนำเข้าสู่การเขียนส่วนเน้ือหาที่เรียกว่า “เหตุผลตรงกันข้ามกับเหตุผลของผู้เขียน” (counter- argument) ขอเรียกส้ันๆว่า “อาร์กิวเมนต์แย้ง” และส่วน การปฏิเสธ (refutation) อารก์ วิ เมนตแ์ ย้งนั้น ดังกล่าวมาแล้วว่า อาร์กิวเมนต์ท่ีนำใช้ค้ำยันจุดยืน ของเราแม้จะดูดีมีเหตุผลน่ารับฟังอย่างไร ถ้าจะให้ดีย่ิงข้ึน ควรหาอะไรมาท้าทายเพื่อทดสอบความแข็งแกร่งของมัน เหมือนนักมวยที่ซุ่มซ้อมอยู่คนเดียวถ้ายังไม่เคยต่อยอุ่น เคร่ืองกับคู่ชกฝีมือดีก็อย่าเพิ่งลำพองตนว่าเก่งกาจไร้เทียม ทานแล้ว ถ้าพูดแบบสำนวนไทยก็ว่า “มารไม่มี บารมีไม่ เกิด” จึงขอแนะนำว่าก่อนที่จะปล่อยบทความของท่านออก สสู่ ายตาของผอู้ ่าน ควรเสริมสรา้ งบารมีใหแ้ กม่ นั ด้วยการหา
47 มารทีเ่ ข้มแขง็ มากๆมาทดสอบกอ่ น ถ้าได้ระดับ “พญามาร” เลยกย็ ่ิงดี ในการเขียนอารก์ ิวเมนต์แยง้ นั้น ครูอาจารยผ์ ้แู นะนำ การเขียนบทความทางปรัชญานิยมใช้สำนวนว่า “turn against and turn back” ขอแปลดว้ ยสำนวนของผู้เขียนว่า “ยกมาแย้งแล้วย้อนมาย้ำ” หมายถึงการยกอาร์กิวเมนต์ ของคนอ่ืนที่มีจุดยืนแตกต่างจากเราในประเด็นท่ีกำลัง อภิปราย หรือถ้าหาอาร์กิวเมนต์ของคนอ่ืนไม่ได้ก็อาจสม มติสถานการณ์ขึ้นมาเองก็ได้ ในการนำเสนออาร์กิวเมนต์ แย้งน้ันมีหลักว่า ต้องนำเสนออย่างเป็นธรรม อย่างเป็น เหตุผลตรงตามท่ีเจ้าตัวเขาเสนอไว้จริงๆ ไม่ควรเลือกนำ เสนอเฉพาะบางส่วนท่ีเห็นว่าเราได้เปรียบ เพราะถือว่าเล่น นอกกติกาหรือเล่นไม่แฟร์กับคนอื่น ถ้าเทียบกับนักมวยก็ เหมอื นการกดั หหู รอื ชกใต้เขม็ ขัดเขา จากน้ัน ให้หาเหตผุ ลที่ ดีกว่ามาแย้งหรือปฏิเสธอาร์กิวเมนต์ท่ียกมาน้ัน เพื่อยืนยัน ในจุดยืนของเรา ขอยกตัวอย่างอาร์กิวเมนต์แย้งท่ีนักวิชา การตา่ งประเทศเขียนไว้ดงั น้ี: สมมติว่าเรากำลังเขียนบทความเก่ียวกับเรื่อง “การุณยฆาต” (Mercy-Killing/การช่วยผู้ป่วยระยะ
48 สุดท้ายให้ตายด้วยความสงสาร) จุดยืนของเราอยู่ข้างฝ่ายที่ สนับสนุนให้ผู้ป่วยระยะสุดท้าย (terminally ill patients) สามารถเลือกทำอัตวินิบาตกรรมแบบให้หมอช่วยเหลือ (doctor-assisted suicide) ด้วยเหตุผลเช่นว่าผู้ป่วยระยะ สุดท้ายท่ีรู้ว่าตัวเองเป็นโรคร้ายแรงที่ไม่มีทางรักษาหายแล้ว ส่วนใหญ่เลือกท่ีจะจบชีวิตของตัวเองด้วยการตัดสินใจอย่าง มเี หตุผล เราอาจยกอารก์ ิวเมนตแ์ ยง้ ดังต่อไปน้ีมาท้าทาย: นักวิจารณ์บางท่านโต้แย้งว่า เหตุผลที่ผู้ป่วย ระยะสุดท้ายบางคนปรารถนาที่จะจบชีวิตตัวเองไม่มี อะไรมากไปกวา่ โรคภาวะซึมเศร้ารนุ แรง ผู้ป่วยระยะ สุดทา้ ยอาจมีแนวโนม้ ทจ่ี ะคิดเชิงลบ สนิ้ หวัง และซมึ เศร้า ในงานเร่ือง “เม่ือผู้ป่วยขอร้องให้ช่วยทำอัตวิ นิบาตกรรม” (When Patients Request Assistance with Suicide” คุณหมอไมเคิล มาส กิน (Michael Maskin) แห่งศูนย์แพทย์เพรส ไบทีเรี่ยนโคลัมเบีย นิวยอร์ก ให้เหตุผลว่า ในหลาย กรณีท่ีความคิดของผู้ป่วยใกล้ตายถูกครอบงำด้วย ปฏิกิริยาเชิงลบต่ออาการป่วยรุนแรงของตน อีก อย่างหน่ึง เหตุผลท่ีว่าทำไมผู้ป่วยระยะสุดท้าย
Search