Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore หนังสือวิทยาศาสตร์ (1)

หนังสือวิทยาศาสตร์ (1)

Published by aunnum6, 2021-09-12 14:04:24

Description: หนังสือวิทยาศาสตร์ (1)

Search

Read the Text Version

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เล่ม ๑ หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน โดย เด็กหญิงอัญชสา บุญเกื้อ โรงเรียนสภาราชินี จังหวัดตรัง

คำนำ รายงานเรื่องนี้เป็นส่วนหนึ่งในรายวิชา ว32101 ดวงดาวและโลก ของเรา ส่งเสริมให้นักเรียนหาความรู้ข้อมูลเพิ่มเติมและทำให้การ เรียนรู้ดูน่าสนใจ ให้ผู้เรียนมีความสนใจกับการเรียนรู้ ด้วยตัวเองมากขึ้น เพื่อเป็นสื่อการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียน โดยจะทำเสนอรายงานเล่มนี้ควบคู่ไปกับสื่อการเรียนการสอนแบบ พาวเวอร์พ้อย (Power Point) เพื่อให้ผู้เรียนสามารถ เรียนรู้และศึกษาค้นคว้าได้ด้วยตนเองและได้นำเสนอความรู้ที่ตนเอง ศึกษาให้ผู้อื่นสามารถเรียนรู้และทำความเข้าใจกับเนื้อหาได้ เปรียบ เสมือนร่วมกันแบ่งปันความรู้ให้กันและกันระหว่างผู้เรียน และ สามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ในชีวิตประจำวัน

สารบัญ หน่วยที่ 1 เรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไร 2 4 ความสำคํญและความหมายของวิทยาศาสตร์ 8 กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนทางวิทยาศาสตร์ หนห่วนย่วทีย่ ที่2 / สารบริสุทธิ์ บทที่ 1 สมบัติของสารบริสุทธิ์ 10 เรื่องที่ 1 จุดเดือดและจุดหลอมเหลว 12 เรื่องที่ 2 ความหนาแน่น 15

หน่วยที่่ 3 หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต บทที่ 1 เซลล์ 16 เรื่องที่ 1 การศึกษาเซลล์ด้วยกล้องจุลทรรศน์ เรื่องที่ 2 โครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์ 20 เกร็ดน่ารู้ 24

1หน่วยที่่ เรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไร 1.5 ล้านปีก่อนพุทธศักราช มนุษย์ยุคโบราณเริ่มรู้จักการใช้ไฟ 1,500 ก่อนพุทธศักราช ล้อเกวียนถ ูกพัฒนาเพื่อใช้งานกับรถลากของอียิปต์

พ.ศ. 1336 ชาวจีนเริ่มผลิตกระดาษขึ้นใช้งาน พ.ศ. 2533 กำเนิดเวิลด์ ไวด์ เว็บ พ.ศ. 2550 กำเนิดสมาร์ตโฟนแบบสัมผัสจอ

2 ความสำคัญและความหมายของวิทยาศาสตร์ ภาพ 1.1 สุริยุปราคาบางส่วน และแนวคิดกบอมดวงอาทิตย์ ความสำคัญของวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งในสังคมโลกปัจจุบันและ อนาคต เพราะวิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกับชีวิตของทุกคนทั้งใน การดำรงชีวิตประจำวันและในงานอาชีพต่างๆเครื่องมือเครื่องใช้ ตลอดจนผลผลิตต่างเพื่อใช้อำนวยความสะดวกในชีวิตและการ ทำงานล้วนเป็นผลของความรู้วิทยาศาสตร์ผสมผสานกับความ คิดสร้างสรรค์และศาสตร์อื่นๆความรู้วิทยาศาสตร์ช่วยให้เกิด การพัฒนาเทคโนโลยีอย่างมากพร้อมกันนั้นเทคโนโลยีก็มีส่วน สำคัญมากที่จะให้การศึกษาค้นคว้าความรู้ทางวิทยาศาสตร์เพิ่ม ขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง

3 วิทยาศาสตร์ทำให้คนได้พัฒนาวิธีคิดทั้งความคิดเป็น เหตุเป็นผลคิดสร้างสรรค์คิดวิเคราะห์มีทักษะสำคัญในการ ค้นคว้าหาความรู้มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างเป็น ระบบ สามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลหลากหลายและประจักษ์ พยานที่ตรวจสอบได้วิทยาศาสตร์เป็นวัฒนธรรมของโลกสมัย ใหม่ซึ่งเป็นสังคมแห่งความรู้ทุกคนจึงจำเป็นต้องได้รับการ พัฒนาให้รู้วิทยาศาสตร์เพื่อที่จะมีความรู้ความเข้าใจโลกธรรม ชาติและเทคโนโลยีที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นและนำความรู้ไปใช้ อย่างมีเหตุผล สร้างสรรค์ มีคุณธรรม ความรู้วิทยาศาสตร์ ไม่เพียงแต่นำมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี แต่ยังช่วยให้ คนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์การ ดูแลรักษา ตลอดจนการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและ ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและยั่งยืนและที่สำคัญยิ่งคือ ความรู้วิทยาศาสตร์ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนา เศรษฐกิจ สามารถแข่งขันกับนานาประเทศและดำเนินชีวิต ร่วมกันในสังคมโลกได้อย่างมีความสุข

4 กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ปัจจุบันมีนักวิทยาศาสตร์หลายท่านได้จำแนกวิธีการทาง วิทยาศาสตร์ไว้แตกต่างกัน ในที่นี้ขอนำเสนอวิธีการทาง วิทยาศาสตร์ 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นที่ 1 ตั้งปัญหา ขั้นที่ 2 เก็บรวบรวมข้อมูล ขั้นที่ 3 สร้างสมมติฐาน ขั้นที่ 4 ทดลองพิสูจน์ ขั้นที่ 5 สรุปผล

5 กิจกรรมที่ 1.1 นักวิทยาศาสตร์ทำงานอย่างไร? จุดประสงค์ อ่านและวิเคราะห์สรุปกระบวนการทำงานของนักวิทยาศาสตร์ วิธีการดำเนินกิจกรรม อ่านข้อมูลเกี่ยวกับการทำงานของ กาลิเลโฮ กาลิเลอี เพอร์ซี สเปนเซอร์ และศาสตราจารย์ ดร.พิมพ์ใจ ใจเย็น กาลิเลโฮ กาลิเลอี เป็นชาวทัสกันหรือชาวอิตาลี ผู้มี บทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการปฏิวัติ วิทยาศาสตร์ ผลงานของกาลิเลโอมี มากมาย งานที่โดดเด่นเช่นการ พัฒนา เทคนิคของกล้องโทรทรรศน์และผลสังเกตการณ์ทาง ดาราศาสตร์ที่สำคัญจากกล้องโทรทรรศน์ที่พัฒนามากขึ้น งาน ของเขาช่วยสนับสนุนแนวคิด

56 เพอร์ซี สเปนเซอร์ เพอร์ซี่สเปนเซอร์ (1894-1970) เป็น วิศวกรชาวอเมริกันที่สำคัญและนัก ประดิษฐ์ของศตวรรษที่ยี่สิบมีชื่อเสียงใน การเป็นนักประดิษฐ์ของเตาอบไมโครเวฟ นอกจากนี้ยังทำให้การผลิต magnetrons มีประสิทธิภาพมากขึ้นซึ่ง เป็นกลไกหลักของเรดาร์ โดยรวมแล้วเขา ได้รับสิทธิบัตรมากกว่า 300 รายการและ ได้รับรางวัลมากมายตลอดชีวิตของเขา. สำหรับงานของเขาเพื่อเพิ่มการผลิตแมกนิตรอนในช่วง สงครามโลกครั้งที่สองและการค้นพบเตาอบไมโครเวฟโดยไม่ ตั้งใจและประวัติศาสตร์ของเขานั้น Spencer ได้รับรางวัล มากมาย. ในปี 1945 ขณะทำงานทดสอบแมกนีตรอนที่ใช้งานได้เขา สังเกตว่าช็อคโกแลตในกระเป๋าของเขาละลาย จากนั้นเขาก็ ลองข้าวโพดคั่วและจากการสังเกตเหล่านี้เขาได้พัฒนา ไมโครเวฟตัวแรก.

7 ศาสตราจารย์ ดร.พิมพ์ใจ ใจเย็น สถาบันวิทยสิริเมธี ศ.ดร. พิมพ์ใจ สนใจศึกษาความรู้พื้นฐานในด้านกลไกการเกิด ปฏิกิริยาของเอนไซม์ โดยเฉพาะเอนไซม์ในกลุ่มที่มีสารประกอบ ประเภทวิตามินบีสอง (Flavin) เป็นตัวช่วยในการเร่งปฏิกิริยา นอกจากใช้วิธีการทดลองทางด้านชีวเคมีทั่วไปในการศึกษาแล้ว มีการใช้ข้อมูลทางจลนศาสตร์และอุณหภูมิพลศาสตร์ ซึ่งได้มา จากการทำการทดลองกับเครื่องมือ stopped-flow spectrometer ควบคู่ไปกับการวัดสมบัติทางด้านสเปคโตรสโก ปีชนิดต่างๆ เพื่อเป็นตัวบ่งชี้ถึงกลไกการเกิดปฏิกิริยาด้วย รวม ทั้งการศึกษาโครงสร้างทางสามมิติของเอนไซม์ต่างๆ เอนไซม์

8 ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ได้แก่ การสังเกตและระบุปัญหา การสังเกตนำไปสู่การสงสัยและการระบุปัญหา และนำไปสู่การหาคำอธิบายของสิ่งที่สงสัย การตั้งสมมติฐาน การสร้างคำอธิบายไว้ล่วงหน้าหรือคำตอบของ ปัญหาไว้ล่วงหน้า การเก็บรวบรวมข้อมูลหรือการทดลอง การสำรวจหรือการทดลองเพื่อหาคำตอบหรือคำ อธิบายต้องมีการวางแผนการสำรวจหรือการ ทดลองรวมทั้งการเก็บข้อมูลเพื่อนำไปใช้วิเคราะห์ การวิเคราะห์ข้อมูลและสร้างคำอธิบาย เมื่อได้ข้อมูลแล้วจากการสำรวจหรือทดลองจึง มีการนำข้อมูลมาวิเคราห์ แปลความหมาย และ สร้างคำอธิบายข้อมูลเหล่านั้น

9 การสรุปผล หากได้คำอธิบายเกี่ยวกับข้อมูล สมมติฐาน และปัญหา ที่ เป็นเหตุเป็นผลและเชื่อถือได้ โดยการสัำรวจหรือการทดลอง คำถามท้ายกิจกรรม นักเรียนได้ฝึ กทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ใดบ้าง ในชีวิตประจำวัน ตรวจสอบตนเอง เขียนแผนผังมโนทัศน์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากบทนี้

2หน่วยที่ สารบริสุทธิ์ ภาพทั้งสามเป็นโลหะที่มีลักษณะบางอย่างคล้ายกัน ซึ่ง อาจจะเป็นโลหะชนิดเดียวกันหรือเป็นโลหะต่างชนิดกัน หาก นักเรียนต้องทราบว่าโลหะเหล่านี้เป็นโลหะชนิดใดสามารถ พิจารณาได้จากสมบัติและองค์ประกอบใดของโลหะนั้น องประกอบของหน่วย บทที่ 1 สมบัติของสารบริสุทธิ์ เรื่องที่ 1 การจำแนกสารบริสุทธิ์ เรื่องที่ 2 ความหนาแน่น

บทที่ 1 11 สมบัติของสารบริสุทธิ์ สารบริสุทธิ์และสารผสม มีจุดเดือด จุดหลอมเหลว และความหนาแน่นแตก ต่างกันอย่างไร ทองคำใช้เป็นทุนสำรองทางการเงินของ หลายประเทศใช้ประโยชน์เป็นเครื่องประดับ งานทันตกรรม และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ มีความแวววาวอยู่เสมอทองคำไม่ทำปฏิกิริยา กับออกซิเจนดังนั้นเมื่อสัมผัสถูกอากาศสีของ ทองจะไม่หมองและไม่เกิดสนิมมีความอ่อนตัว ทองคำเป็นโลหะที่มีความอ่อนตัวมาก

12 เรื่องที่ 1 จุดเดือดและจุดหลอมเหลว คำสำคัญ จุดเดือด จุดหลอมเหลว สารบริสุทธิ์ สารผสม ภาพเครื่องยนต์ชำรุดเนื่องจากความร้อน รถยนต์ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ความร้อนเกิดขึ้นขณะที่เครื่องยนต์ กำลังทำงาน จึงต้องมีระบบระบายความร้อนเพื่อไม่ให้ชิ้นส่วน ต่างของเครื่องยนต์ชำรุด เสียหาย หม้อน้ำเป็นอุปกรณ์หนึ่งที่ ช่วยระบายความร้อนด้วยของเหลวขณะที่เครื่องยนต์ทำงาน ความร้อนที่เกิดขึ้งมีอุณหภูมิสูงพอที่จะทำให้น้ำในหม้อเดือดจึง มีการเติมสารบางชนิดลงในหม้อน้ำ เรียกว่า สารหล่อเย็น สารนี้ จะส่งผลให้จุดเดือดของน้ำเปลี่ยนไป นักเรียนคิดว่าจุดเดือดของ น้ำบริสุทธิ์และน้ำที่ผสมสารอื่นต่างกันอย่างไร เพราะเหตุใด

13 กิจกรรมที่ 1.1 จุดเดือดของสารบริสุทธิ์และสารผสม เป็นอย่างไร จุดประสงค์ วัดอุณหภูมิและเขียนกราฟการเปลี่ยนแปลง อุณหภูมิของน้ำกลั่นและสารละลายโซเดียม คลอไรด์เมื่อได้รับความร้อน ตีความหมายข้อมูลจากกราฟ เพื่อเปรียบเทียบ จุดเดือดของน้ำกลั่นและสารละลายโซเดียม คลอไรด์

14 น้ำกลั่นและสารละลายโซเดียมคลอไรด์เมื่อได้รับความ ร้อนมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิต่างกันโดยน้ำกลั่นจะมี อุณหภูมิเพิ่มขึ้นจนกระทั่งเดือดและอุณหภูมิขณะเดือดอ ยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆไม่คงที่ น้ำกลั่นเป็นสารบริสุทธิ์มีองค์ประกอบเพียงชนิดเดียวจึง มีจุดเดือดคงทีส่วนสารละลายโซเดียมคลอไรด์เป็นสาร ผสมมีองค์หผฟไผประกอบมากกว่า1ชนิดคือโซเดียม คลอไรด์กับน้ำในสารละลายเปลี่ยนแปลงไป อุณหภูมิ ขณะเดือดจึงไม่คงที่่ สารบริสุทธิ์อื่นๆ ก็มีจุดเดือดคงที่่เช่นเดียวกับน้ำ กลั่น เช่น ปรอทมีจุดเดือด 356.7 องศาเซียส กลีเซอรอ ลมีจุดเดือด 290 องศาเซลเซียสส่วนสารผสมอื่นๆก็มี จุดเดือดไม่คงที่เช่นเดียวไม่คงที่เช่นเดียวกับสารละลาย โซเดียมคลอไรด์

เรื่องที่ 2 ความหนาแน่น 15 คำสำคัญ มวล ปริมาตร ความหนาแน่น ความหนาแน่นของสารขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและความดัน โดยทั่วไป การเปลี่ยนแปลงปัจจัยเหล่านี้ส่งผลต่อสารที่เป็นสถานะของแข็งและ ของเหลวเพียงเล็กน้อย แต่มีผลกับสารสถานะแก๊สเป็นอย่างมาก โดยที่การเพิ่มความดันของสารจะทำให้ปริมาตรของสารลดลง แต่ จะเพิ่มความหนาแน่นแทน และการเพิ่มอุณหภูมิของสาร (ซึ่งมีข้อยกเว้นเล็กน้อย) จะทำให้ ปริมาตรของสารเพิ่มขึ้น แต่จะทำให้ความหนาแน่นลดลง ซึ่งสารส่วนใหญ่เช่นของเหลวและแก๊ส เมื่อได้รับความร้อนจากด้าน ล่าง ความร้อนจะถูกส่งผ่านจากด้านล่างไปยังด้านบน อันเนื่องมา จากการลดของความหนาแน่นในของเหลวที่ได้รับความร้อนนั้น ด้วย เหตุนี้จึงทำให้สารที่มีความร้อนต่ำกว่า มีความหนาแน่นสูงกว่า

3หน่วยที่ หหนน่่ววยยพพืื้้นนฐฐาานนขขอองงสสิิ่่งงมมีีชชีีววิิตต สิ่งมีชีวิต จะมีคุณลักษณะที่ไม่พบในสิ่งไม่มีชีวิตอัน ได้แก่ความสามารถในการใช้สสารและพลังงานเป็ น สำคัญซึ่งได้รับถ่ายทอดจาก บรรพบุรุษ ของสิ่งมีชีวิต แรกเริ่มชีวิตซึ่งวิวัฒนาการ และการปรับตัวให้เข้ากับ สิ่งแวดล้อมแต่ละช่วงเวลา ก่อให้เกิด ความหลาก หลายทางชีวภาพ

1165 บทที่ 1 เซลล์ การศึกษาเซลล์ใช้ กล้องจุลทรรศน์ทำได้อย่างไร เซลล์พืชและเซลล์สัตว์มีส่วนประกอบ เหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร ภาพเม็ดเลือดแดง เลือดเป็นของเหลว ประกอบด้วยเม็ดเลือดล่องลอยอยู่ใน น้ำเหลืองหรือพลาสมา เลือดมีสีแดงเพราะมีปริมาณเม็ดเลือดแดง เป็นองค์ประกอบจำนวนมาก เลือดไหลเวียนอยู่ทั่วร่างกายทำ หน้ าที่ตัวกลางติดต่อระหว่างเซลล์ของร่างกาย ขนส่งออกซิเจน และอาหารไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายและนำคาร์บอนไดออก ไซค์ไปขับออกทางปอด และนำของเสียต่างๆเพื่อขับออกทางไต นอกจากนี้เลือดยังเป็นระบบป้ องกันด้วยระบบภูมิคุ้มกันของ ร่างกายและช่วยในการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย

1156 เรื่องที่่ 1 การศึกษาเซลล์ด้วยกล้องจุลทรรศน์ คำสำคัญ เซลล์ เซลล์ กล้องจุลทรรศน์ กล้องจุลทรรศน์ใช้แสง นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษได้เสนอแนวคิดว่า สสาร ประกอบด้วยหน่วยย่อยที่สุด โดยแต่ละหน่วยยังคงสมบัติเดิมของ สสารเอาไว้ เรียกหน่วยย่อยที่เล็กที่สุดนี้ว่า อะตอม (Atom) โดยทั่วไปอะตอมมักจะไม่อยู่ตามลำพัง แต่จะรวมกันอย่างมีระบบ ถ้าอะตอมของสสารที่มารวมกันเป็นชนิดเดียวกัน เรียกว่า ธาตุ แต่ ถ้าอะตอมของสสารที่มารวมกันต่างชนิดกันเรียกว่า สารประกอบ

1157 การค้นพบเซลล์ รอเบิร์ต ฮุก เป็นนักวิทยาเศซาสลตลร์์ชาวอังกฤษเจ้าของคำพูดที่ว่า “ความจริงเท่านั้นที่รู้” เป็นผู้ได้ใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องพบเซลล์ในจุก ไม้คอร์ก และอีกไม่นานก็พบในเนื้อเยื่อพืชที่ยังมีชีวิต เขาเป็นผู้ บัญญัติคำว่า \"เซลล์\" ขึ้นเป็นครั้งแรก ฮุกได้ค้นพบกฎของฮุกว่าด้วยเรื่อง ความยืดหยุ่นและแรงเครียดใน สปริง เขาได้พัฒนาสปริงสมดุล (hairspring) ขึ้น ซึ่งต่อมานำไปใช้ ในการประดิษฐ์นาฬิกา เพื่อให้ได้ความเที่ยงตรงดีพอจะ ยอมรับได้ ปี ค.ศ. 1665 ฮุกได้ตี พิมพ์ผลงานเรื่อง Micrographia ซึ่งมีภาพวาดจากการสังเกตการณ์ ผ่านกล้องจุลทรรศน์มากมาย รวม ถึงผลสังเกตการณ์ทางด้านชีววิทยา เบื้องต้น ฮุกเรียกชื่อหน่วยย่อยที่สุด ของสิ่งมีชีวิตว่า \"เซลล์\"

111857 ส่วนประกอบของกล้องจุลทรรศน์ 1 ส่วนฐาน (base) คือส่วนฐานที่วางติดกับโต๊ะ มีหลอดไฟฟ้าติด อยู่ที่ฐานกล้องพร้อมสวิทช์ปิดเปิด 2 ส่วนแขน (arm) คือส่วนที่ยึดติดระหว่างลำกล้องกับส่วนฐาน 3 ลำกล้อง (body tube) มีเลนส์ใกล้ตาติดอยู่ด้านบน ส่วนด้าน ล่างติดกับแผ่นหมุน ซึ่งมีเลนส์ใกล้วัตถุติดอยู่ บางกล้องมีปริซึมติด อยู่เพื่อหักเหแสงจากเลนส์ใกล้วัตถุให้ผ่านเลนส์ใกล้ตา

111957 4 แผ่นหมุน (revolving nosepiece) คือแผ่นกลมหมุนได้ มี เลนส์ใกล้วัตถุติดอยู่เพื่อหมุนเปลี่ยนกาลังขยายของเลนส์ตามความ ต้องการ 5 แลนส์ใกล้วัตถุ (objective lens) คือเลนส์ที่ติดอยู่บนแผ่น หมุน ตามปกติจะมี 3 หรือ 4 อัน แต่ละอันจะมีตัวเลขแสดงกำลัง ขยายกำกับไว้ เช่น x4, x10, x40 หรือ x100 เป็นต้น ในกรณีที่ ใช้เลนส์ใกล้วัตถุกาลังขยาย x100 ต้องใช้น้ำมันเป็นตัวกลาง ระหว่างเลนส์และวัตถุจึงจะเห็นภาพ นอกจากนี้ ด้านข้างของเลนส์ ใกล้วัตถุมีตัวเลขแสดงค่า N.A. (numerical aperture) กำกับ อยู่ (ภาพที่ 2) ค่า N.A. (ความสามารถของเลนส์ที่รวบรวมแสงที่ หักเหผ่านวัตถุเข้ากล้องมากที่สุด) มีความสัมพันธ์กับ resolving power ดังนี้ กำลังขยายของกล้อง = กำลังขยายของเลนส์ใกล้ตา x กำลังขยาย ของเลนส์ใกล้วัตถุ

121057 เรื่องที่ 2 โครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์ คำสำคัญ เยื่อหุ้มเซลลล์ ไซโทพลาซึม นิวเคลียส ออร์แกเนลล์ เซลล์ (อังกฤษ: cell จากภาษาละติน cella แปลว่าห้องเล็ก ๆ[1]) เป็นโครงสร้างและหน่วยการทำงานพื้นฐานที่สุดของสิ่งมีชีวิตทุก ชนิดที่ทราบกัน เซลล์เป็นหน่วยย่อยที่สุดที่จะเรียกว่า \"ชีวิต\" ได้ ใน บางครั้งอาจเรียกว่า\"หน่วยโครงสร้างของชีวิต\"

ส่วนประกอบของเซลล์พืช 21 ส่วนประกอบของเซลล์สัตว์

22 ร่างกายของเราประกอบด้วยเซลล์หลายชนิด แต่ละชนิดมีรูป ร่างและหน้าที่แตกต่างกัน เมื่อเซลล์เสียหายหรือหดอายุ จะมี การสร้างเซลล์ให่าทดแทนโดยสเต็มเซลล์หรือเซลล์ต้นกำเนิด ซึ่งเป็นเซลล์ที่สาามรถเพิ่มจำนวนและเปลี่ยนแปลงไปเป็น เซลล์เม็ดเลือดเเดง เซลล์เม็ดเลือดขาว และเกร็ดเม็ดเลือดได้ ปัจจุบันมีการวิจัยเพื่อนำสเต็มเซลล์มาใช้ในการรักษาโรค เช่น โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว โรคธาลัสซีเมีย นอกจากนี้ยังมีสเต็มเซลล์ของตัวอ่อนของมนุษย์ ซึ่งสามารถพัฒนาเป็นเซลล์ของอวัยวะทุกชนิดในร่างกายแต่ งานวิจัยกับการใช้สเต็มเซลล์จากตัวอ่อนยังคงเป็นที่ถกเถียง ในด้านจริยธรรม

พืชและสัตว์แต่ละชนิดประกอบด้วยเซลล์หลายชนิด เซลล์แต่ละชนิด จะมีรูปร่างลักษณะที่มีความเหมาะสมกับหน้าที่ของเซลล์นั้น เซลล์ประสาท เซลล์เม็ดเลือดแดง เซลล์อสุจิ

เกร็ดน่ารู้ มะเร็งคืออะไร? การศึกษาเซลล์ทำให้เข้าใจโครงสร้างและการทำงานของ ร่างกายมากขึ้น สามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้มากมายทั้ง ด้านวิทยาศาสตร์และด้านการแพทย์ เช่น การศึกษาโรคมะเร็ง โรคมะเร็งนับเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตลำดับต้นๆ ของ คนทั่วโลก เช่น โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก มะเร็งปอด มะเร็งตับ มะเร็งเต้านม มะเร็งเกิดจากเซลล์ที่มีความผิดปกติ โดยมีการแบ่งตัวเพื่อเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วและมากกว่าปกติ ส่งผลให้เกิดก้อนเนื้อและมีการตายของเซลล์ในก้อนเนื้อนั้น โรค มะเร็งเกิดจากหลายสาเหตุทั้งสภาวะแวดล้อมและพันธุกรรม ทั้งนี้ปัจจัยเสี่ยงบางอย่างสามารถหลีกเลี่ยงได้ เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มสุราและการรับประทานอาหารที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค มะเร็ง

สถาบันส่งเสริมกาสอนวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีกระทรวงศึกษาธิการ


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook