Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore สื่อรามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทก

สื่อรามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทก

Published by kanokrada050241, 2021-11-11 12:30:21

Description: สื่อรามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทก

Search

Read the Text Version

รามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบ นนทก โดย กนกรดา ช่วยธรรม

รามเกียรติ์ มาจากคำว่า ราม+เกียรติ์ หมายถึง เกียรติของพระราม ตามคติฮินดูมีความเชื่อว่า พระราม คือ นารายณ์อวตานลงมายังโลก มนุษย์เพื่อปราบยุคเข็ญ

ประวัติความเป็นมา “รามเกียรติ์” มาจากวรรณคดีอินเดีย เรื่อง มหา กาพย์รามายณะ ซึ่งเป็นวรรณคดีสำคัญและมีมานาน กว่า ๒000 ปี ถือว่าเป็นมหาภารตะที่ยิ่งใหญ่และมีชื่อ เสียง ที่ ฤาษีวาลมีกิ ชาวอินเดียแต่งขึ้นเป็นภาษา สันสกฤต

ประวัติผู้แต่ง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชมีพระนาม เดิมว่า ด้วง พระชนกคือหลวงพินิจอักษร กับพระชนนีคือ ดาวเรือง ทรงขึ้นครองราชย์หลังจากสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จสวรรคต เป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ตลอดรัชกาลพระองค์ทรงทำ สงครามทั้งกับพม่าและปราบหัวเมืองต่าง ๆ ทรงสร้างระเบียบการปกครอง ฟื้นฟูพระพุทธศาสนา ศิลปะศาสตร์ และ อักษรศาสตร์ รวบรวมชำระกฎหมายตราสามดวงจนสมบูรณ์ และพระองค์ยัง เป็นกวีโดยทรงพระราชนิพนธ์วรรณคดีไว้หลายเรื่อง ได้แก่ รามเกียรติ์ ดาหลัง อุณรุท และกลอนนิราศ เรื่องรบพม่าที่ท่าดินแดง

ลักษณะคำประพันธ์ กลอนบทละคร เป็นคำประพันธ์ชนิดหนึ่ง ซึ่งแต่งขึ้นเพื่อ ใช้ในการเล่นละคร ต้องอาศัยทำนองขับร้องและเครื่องดนตรี ประกอบ แต่งเสร็จต้องนำไปซักซ้อมปรับปรุง ดังนั้น จำนวน คำของแต่ละวรรคจึงไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับจังหวะขับร้องเป็น สำคัญ ว่าโดยหลักมีแต่ ๖ คำ ถึง ๙ คำ แต่ที่ปรากฏว่าใช้ มากสุด คือ ๖ คำ เช่นเรื่องรามเกียรติ์ เฉพาะวรรคแรกขึ้นต้น ใช้ ๒ คำ ถึง ๔-๕ คำ บางคราวก็ส่งสัมผัสไปยังวรรคที่ ๒ บางคราวก็ไม่ส่ง

การใช้คำขึ้นต้น มาจะกล่าวบทไป ใช้สำหรับขึ้นต้นเรื่อ หรือกล่าวถึงเรื่องที่แทรกเข้ามา เมื่อนั้น ใช้สำหรับขึ้นต้นเมื่อกล่าวถึงผู้มียศศักดิ์ เช่น เทวดา กษัตริย์ บัดนั้น ใช้สำหรับขึ้นต้นเมื่อกล่าวถึงผู้น้อย หรือ ผู้ใต้บังคับบัณชา เช่น เสนา อำมาตย์ ทหรา สามัญชน สามัญชน ทหาร

เนื้อเรื่องย่อ นนทกมีหน้าที่ล้างท้าเทวดาอยู่ที่เชิงเขาไกรลาส เมื่อเทวดาพากันไปเฝ้าพระ อิศวร พวกเทวดาชอบข่มเหงนนทกอยู่เป็นประจำด้วยการลูบหัวบ้าง ตบหัวบ้าง จน กระทั่งผมร่วงหมดนนทกแค้นใจเป็นอันมาก จึงไปเฝ้าพระอิศวร กราบทูลว่าตนได้ รับใช้มานาน ยังไม่เคยได้รับสิ่งตอบแทนเลย จึงทูลขอให้นิ้วเป็นเพชร มีฤทธิ์ชี้ผู้ใดก็ ให้ผู้นั้นตายได้ พระอิศวรก็ประทานให้ตามขอ เมื่อเทวดามาลูบศีรษะเล่นเช่นเคย น นทกก็ชี้ให้ตายลงเป็นจำนวนมาก พระอิศวรทรงทราบก็กริ้ว โปรดให้พระนารายณ์ ไปปราบ พระนารายณ์แปลงเป็นนางฟ้ามายั่วยวน นนทกนักรักจึงเกี้ยวนาง นาง แปลงจึงชวนให้นนทกรำตามนางก่อนจึงจะรับรัก

เนื้อเรื่องย่อ (ต่อ) นนทกตกลงรำตามไปจนถึงท่ารำที่ใช้นิ้งเพชรชี้เข่าตนเอง นนทกล้ มลง ก่อนตายนนทกเห็นนางแปลงปรากฏร่างเป็นพระนารายณ์ จึงต่อว่า พระนารายณ์มีอำนาจ มีถึง ๔ กร เหตุใดจึงต้องทำอุบายมาหลอกลวงตน พระนารายณ์จึงให้นนทกไปเกิดใหม่ให้มีถึง ๒๐ มือ แล้วพระองค์จะตาม ไปเกิดเป็นมนุษย์มีเพียง ๒ มือลงไปสู้ด้วย นนทกจึงไปเกิดเป็นทศกัณฐ์ ส่วนพระนารายณ์ก็อวตารลงมาเป็นพระราม

คุณค่าทางวรรณศิลป์ คือ ความงามด้านภาษาในการเลือกสรรใช้คำ เพื่อก่อให้เกิด ความไพเราะ เกิดจินตนาการ และให้ความหมายที่ลึกซึ้ง กินความ ได้มาก ทำให้ผู้อ่านมีความรู้สึกประทับใจ และซึบซับกับบทประพันธ์ ตัวอย่างคุณค่าทางด้านวรรณศิลป์จากวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก ดังนี้

1.1. การดำเนินเรื่องได้รวดเร็ว อย่างกระชับ แต่สามารถทำให้ผู้อ่านได้เข้าใจถึง ลักษณะของตัวละครได้อย่าง ชัดเจน ดังตัวอย่าง ตอนที่เปิดเรื่องกล่าวถึงนนทกเพียง ๓ คำกลอน สามารถทำให้ ผู้อ่านรู้จักนนทกว่าทำหน้าที่อะไร อยู่ที่ไหน ดังบทกลอนที่ว่า “มาจะกล่าวบทไป ถึงนนทกน้ำใจกล้าหาญ ตั้งแต่พระสยมภูวญาณ ประทานให้ล้างเท้าเทวา อยู่บันไดไกรลาสเป็นนิจ สุราฤทธิ์ตบหัวแล้วลูบหน้า

ตอนที่นนทกดีใจที่ได้นิ้วเพชร เมื่อกลับมาทำหน้าที่ตรงบันไดไกรลาส ดังบทกลอนที่ว่า “...ขัดสมาธินั่งยิ้มริมอ่างใหญ่...” 1.2. การใช้คำหลากเพื่อให้เห็นถึงความรุ่มรวยของศัพท์ในวรรณคดีไทย ตัวอย่างเช่น การเรียกชื่อพระอิศวรว่า พระสยมภูวญาณ พระอิศราธิบดี พระศุลี เป็นต้น หรือเมื่อจะกล่าว ถึงเหล่าเทวดา ก็ใช้คำต่างๆ เช่น สุราฤทธิ์ สุรารักษ์ สุราลัย เป็นต้น

1.3. การใช้คำซ้ำ ซึ่งก่อให้เกิดจินตนาการ และภาพพจน์ ในบทชมโฉมความงามของนางเทพอัปสรที่พระนารายณ์ได้แปลง กายมา โดยกวี(ผู้แต่ง) ใช้คำว่า “ งาม ” ซ้ำๆกัน เพื่อย้ำให้เห็น ความงามอย่างยิ่ง ของนางเทพอัปสร และยังท้ายด้วยความว่า “... งามอ่อนทั้งกายา ” เพื่อบ่งบอกว่าเป็นความงามของสตรีเพศที่ สมบูรณ์ปราศจากที่ติ จนทำให้นนทกนั้นมีความหลงใหล และยอม ทำตามทุกอย่าง

1.4. การเปรียบเทียบ เพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นภาพพจน์และเข้าใจ ถึงความรู้สึกของตัวละคร กวีก็ได้ใช้ภาพพจน์ง่ายๆเช่น เปรียบเทียบอาการโกรธของนนทกว่า “ตาแดงดั่งแสงไฟฟ้า” เปรียบฤทธิ์ของนิ้วเพชร “ดั่งพิษอสุนีไม่ทนได้” เปรียบความงามของนางรำที่เป็นนารายณ์แปลงว่า “งาม องค์ยิ่งเทพอัปสร”

คุณค่าทางสังคม 2.1. การให้ความรู้เกี่ยวกับท่ารำ โดยสอดแทรกกับเนื้อเรื่องอย่าง กลมกลืน ใช้ตัวละครในเรื่อง อธิบาย ลักษณะของท่ารำต่างๆ ที่เรียกว่า “ รำแม่บท ” หมายถึง ท่าที่เป็นหลักของการรำหรือแม่ท่าเป็นตำราท่ารำ ไทย 2.2. ความสัมพันธ์ระหว่างคนต่างฐานะ โดยให้ยึดหลักที่ว่าสังคม จะสงบสุขอยู่ได้ หากคนเรามีน้ำใจต่อกัน ช่วยเหลือเกื้อกูล ไม่ข่มเหงน้ำใจ กัน เรื่องระหว่างนนทกกับเหล่าก็จะไม่เกิดขึ้น

2.3. ความโกรธและความอาฆาตรุนแรง ทำให้นนทกขอนิ้ว เพชร แล้วนำมาใช้สังหารผู้ที่กลั่นแกล้งตน เป็นเหตุให้เทวดาล้มตาย เป็นจำนวนมาก สร้างความปั่นป่วนให้เทวสังคม พระอิศวรจึงต้อง จัดการเรื่องราวให้คืนสู่สันติโดยเร็ว และนนทกต้องถูกสังหารเพราะ ความอาฆาตแค้นของตน ซึ่งทำให้ผู้อ่านเห็นว่า ความโกรธและความ อาฆาตแค้นไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ใดเลย แต่สุดท้ายแล้วก็กลับ มาทำร้ายตนเอง

2.4. สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อในเรื่องการกลับชาติมาเกิด ซึ่งเป็นความ เชื่อของคนไทยตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน 2.5. พฤติกรรมของการจองเวร ก่อให้เกิดการล้างแค้นที่ไม่สิ้นสุด 2.6. คติธรรมจากเรื่องนี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิตประจำ วันได้ เช่น การถูกรังแกจากผู้อำนาจทำให้เกิดการแก้แค้น เมื่อผู้นั้นหมดความ อดทนหรือแก้แค้นเมื่อมีโอกาส ทั้งยังสะท้อนให้เห็นว่าการลุ่มหลงในสตรีเพศอาจ ทำให้ขาดสติได้

ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง 1. เมื่ออํานาจตกอยูในมือของคนที่ลืมตัว ก็จะเกิดผลรา ยตามมา 2. การใชอ ํานาจระรานผูอื่นนั้นยอ มกลับมาลงโทษตัวเอง แตถ าใชอ ํา นาจใหถูกทางและถูกทํานองคลอง ธรรม ทําใหเ กิดบารมี ผูคนรอบขางชื่น ชมอยางจริงใจ 3. คนที่ทําความดีความชอบมานานและสม่ําเสมอ สมควรไดร ับรางวัล ตอบแทน 4. การอานวรรณคดีทําใหเ ขาใจชีวิตมนุษย

รามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบ นนทก โดย นางสาวกนกรดา ช่วยธรรม 6206510037


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook