Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore คำแถลงนโยบาย-ราชการ-ตรีนุช-เทียนทอง

คำแถลงนโยบาย-ราชการ-ตรีนุช-เทียนทอง

Published by Teerawat Senasew, 2021-09-26 03:10:27

Description: คำแถลงนโยบาย-ราชการ-ตรีนุช-เทียนทอง

Keywords: คำแถลงนโยบาย-ราชการ-ตรีนุช-เทียนทอง

Search

Read the Text Version

1 คำแถลงนโยบายการจัดการศกึ ษา ของ นางสาวตรีนชุ เทยี นทอง รฐั มนตรวี า่ การกระทรวงศึกษาธกิ าร ณ หอ้ งประชมุ ราชวัลลภ อาคารราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธกิ าร เรียน ท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ รองปลัดกระทรวง ศึกษาธิการ เลขาธิการสภาการศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการอาชีวศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้บริหารระดับสงู หัวหน้าสว่ นราชการ พี่น้องข้าราชการ พนักงาน เจ้าหน้าที่ และ ทา่ นผูม้ ีเกยี รติทกุ ท่านคะ (อาจเปลี่ยนแปลงไดต้ ามความเหมาะสม) ดิฉันรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้มาเข้ารับหน้าที่เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในครั้งนี้ ดังที่ดิฉันและทุกท่านทราบดีว่า ภารกิจด้านการศกึ ษานั้นเป็น ภารกจิ ทมี่ ีความสำคัญอย่างยง่ิ กบั ประเทศชาติ ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๔๓๕ ซึ่งเป็นวันก่อตั้งกระทรวงศึกษาธิการของเรา ที่แต่เดิมมีชื่อว่า “กระทรวงธรรมการ” นับจนถึงวันนี้ ซึ่งในอีกสามวันข้างหน้าก็จะครบรอบ ๑๒๙ ปีแห่งการสถาปนาพอดี องค์กรของเรามที ั้งเรื่องราวและผู้คนมากมายผ่านเข้ามาเป็นส่วนหนึง่ ของการหมุนเวียนเปลี่ยนผ่าน มีวิกฤต และโอกาสเกดิ ขนึ้ นบั ครงั้ ไมถ่ ้วน อีกทัง้ ในปจั จุบันนี้ สถานการณ์โลกเปลี่ยนแปลงไปอยา่ งรวดเร็ว ดังที่มีคำกล่าวว่าเปน็ “โลกไร้พรมแดน” จึง นับเป็นอีกหนึ่งความท้าทายของผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาอย่างย่ิง ที่จะต้องปฏิบัติหนา้ ท่บี น ความคาดหวังของสังคม ดฉิ นั มีความคิดเหน็ ว่า พวกเราจะตอ้ งสร้าง “ความเช่ือมนั่ ไว้วางใจ” หรือ “TRUST” ให้กบั สังคม โดยเฉพาะ อยา่ งยง่ิ เด็กและผู้ปกครอง วา่ เราสามารถทจ่ี ะเป็นหลกั หรอื ทีพ่ ง่ึ ใหก้ ับพวกเขาได้ “TRUST” หมายถึง “ความไว้วางใจ” เปน็ รูปแบบการทำงานทจี่ ะทำใหค้ รู บคุ ลากรทางการศกึ ษา ผปู้ กครอง ผู้เรยี น และประชาชน กลบั มาให้ ความไวว้ างใจในการทำงานของกระทรวงศึกษาธกิ ารอกี คร้ัง โดย T ย่อมาจาก Transparency (ความโปรง่ ใส)

2 R ย่อมาจาก Responsibility (ความรบั ผดิ ชอบ) U ยอ่ มาจาก Unity (ความเปน็ อนั หน่งึ อนั เดยี ว) S ยอ่ มาจาก Student-Centricity (ผู้เรียนเปน็ เปา้ หมายแห่งการพฒั นา) T ยอ่ มาจาก Technology (เทคโนโลย)ี รูปแบบการทำงาน “TRUST” คือการพัฒนาต่อยอดจากรูปแบบการทำงาน “MOE ONE TEAM” หรือ “การทำงานร่วมกันเป็นหนึ่งเดียวของกระทรวงศึกษาธิการ” ที่กระทรวงศึกษาธิการได้ดำเนินการมาโดย ตลอด ซึ่ง “TRUST” จะเข้ามาเป็นส่วนเสริมในเรื่องความโปร่งใส ทั้งในเชิงกระบวนการทำงานและ กระบวนการตรวจสอบจากภาคส่วนตา่ ง ๆ การสนับสนุนให้ผู้ปฏบิ ัติงานทุกคนดำเนินการตามภารกิจของตน ด้วยความรับผิดชอบต่อตัวเอง องค์กร ประชาชน และประเทศชาติ ให้ความสำคัญกับการประสานความ รว่ มมือจากทกุ ภาคสว่ น (Participation) ผา่ นกลไกการรบั ฟงั ความคดิ เหน็ มาประกอบการดำเนินงานต่าง ๆ ท่ี เปน็ ประโยชน์ต่อการยกระดับคุณภาพการศกึ ษา ทั้งนี้ กระทรวงศกึ ษาธิการเปน็ พ้ืนท่ีของทกุ คน มีความเป็น อันหนึ่งอันเดียวระหวา่ งครู บุคลากรทางการศกึ ษา ผู้ปกครอง ผู้เรียน และประชาชน ซึ่งมีเป้าหมายร่วมกนั คือ การมีผู้เรยี นเป็นเปา้ หมายแหง่ การพฒั นา โดยการทำให้ผเู้ รยี นมีวธิ คี ดิ และทกั ษะที่เป็นสากลสอดคล้องกับ พลวัตในศตวรรษที่ ๒๑ ควบคู่ไปกับสำนึกและความเข้าใจในความเป็นไทย ผ่านการมีความพร้อมด้าน เทคโนโลยี ทั้งในเชิงโครงสร้าง (Infrastructure) คือ การเข้าถึงสิ่งจำเป็นและสิ่งอำนวยความสะดวกด้าน การศึกษาอย่างทั่วถึง เพื่อลดความเหลื่อมล้ำของโอกาสในการศึกษา และในเชิงการเรียนรู้ (Learning) คือ แหล่งข้อมูล แหล่งเรียนรู้รปู แบบตา่ ง ๆ ที่ทันสมัย และจะช่วยให้ผู้เรียนทุกคนถึงพร้อมซ่ึงคุณลักษณะอันพึง ประสงค์ทกุ ประการ เพื่อเป็นการตระหนักถึงความสำคัญของยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากร มนุษย์ โดยเฉพาะแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๘๐) ประเดน็ การพัฒนาศักยภาพคน ตลอดชว่ งชวี ิต การสร้างสภาพแวดล้อมท่เี อ้ือตอ่ การพฒั นาและเสรมิ สร้างศกั ยภาพมนุษย์ การพัฒนาเด็กต้ังแต่ ช่วงตงั้ ครรภ์จนถงึ ปฐมวัย การพฒั นาชว่ งวัยเรียน/วัยรุน่ การพัฒนาและยกระดับศกั ยภาพวัยแรงงาน รวมถึง การส่งเสริมศกั ยภาพวัยผู้สงู อายุ ประเด็นการพฒั นาการเรียนรูท้ ีต่ อบสนองตอ่ การเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ ๒๑ และพหปุ ัญญาของมนุษยท์ ี่หลากหลาย และประเด็นอ่ืนทเ่ี กยี่ วขอ้ ง ดิฉันจึงขออนญุ าตนำเสนอนโยบายการจดั การศึกษาท้ัง ๑๒ ขอ้ ดังน้ี ข้อ ๑ การปรับปรุงหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ให้ทันสมัย และทันการเปลี่ยนแปลงของโลกใน ศตวรรษที่ ๒๑ โดยมุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกระดับการศึกษาให้มีความรู้ ทักษะและคุณลักษณะที่เหมาะสมกับ บรบิ ทสังคมไทย

3 ข้อ ๒ การพัฒนาคุณภาพและประสทิ ธิภาพครแู ละอาจารย์ในระดับการศึกษาขั้นพ้ืนฐานและอาชีวศกึ ษา ให้มีสมรรถนะทางภาษาและดิจิทัล เพื่อให้ครแู ละอาจารย์ได้รับการพัฒนาให้มีสมรรถนะทั้งด้านการจดั การ เรยี นรู้ ด้วยภาษาและดจิ ิทลั สามารถปรบั วิธีการเรยี นการสอนและการใชส้ ือ่ ทนั สมัย และมคี วามรบั ผิดชอบต่อ ผลลัพธท์ างการศึกษาทีเ่ กิดกับผเู้ รยี น ข้อ ๓ การปฏิรูปการเรียนรู้ด้วยดิจิทัลผ่านแพลตฟอร์มการเรียนรู้ด้วยดิจิทัลแห่งชาติ (NDLP) และการ ส่งเสรมิ การฝกึ ทักษะดิจทิ ัลในชวี ิตประจำวัน เพอื่ ให้มีหนว่ ยงานรบั ผิดชอบพฒั นาแพลตฟอร์มการเรียนรู้ด้วย ดิจิทัลแห่งชาติ ที่สามารถนำไปใช้ในกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ทันสมัยและเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ได้อย่าง กว้างขวางผ่านระบบออนไลน์ และการนำฐานข้อมูลกลางทางการศึกษามาใช้ประโยชน์ในการพัฒนา ประสิทธิภาพการบรหิ ารและการจัดการศึกษา ข้อ ๔ การพฒั นาประสิทธภิ าพการบรหิ ารและการจดั การศกึ ษา โดยการสง่ เสริมสนับสนนุ สถานศึกษาให้มี ความเป็นอิสระและคล่องตวั การกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาโดยใชจ้ ังหวัดเปน็ ฐาน โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายการศึกษาแห่งชาติที่ได้รับการปรับปรุงเพื่อกำหนดให้มีระบบบริหารและการ จัดการ รวมถึงการจัดโครงสร้างหน่วยงานให้เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนให้มีคุณภาพ สถานศึกษาให้มี ความเป็นอิสระและคล่องตวั การบริหารและการจัดการศึกษาโดยใช้จังหวัดเปน็ ฐาน มีระบบการบริหารงาน บุคคลโดยยดึ หลกั ธรรมาภิบาล ข้อ ๕ การปรับระบบการประเมินผลการศกึ ษาและการประกันคณุ ภาพ พร้อมจัดทดสอบวัดความรู้ และ ทักษะท่ีจำเป็นในการศกึ ษาต่อระดบั อุดมศึกษาทงั้ สายวชิ าการและสายวชิ าชีพ เพือ่ ให้ระบบการประเมินผล การศึกษาทกุ ระดบั และระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ได้รับการปรับปรงุ ให้ทนั สมยั ตอบสนองผลลพั ธ์ ทางการศึกษาได้อย่างเหมาะสม ข้อ ๖ การจัดสรรและการกระจายทรัพยากรให้ทั่วถึงทุกกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงการระดมทรัพยากรทาง การศกึ ษาจากความร่วมมอื ทกุ ภาคส่วน เพ่ือใหก้ ารจัดสรรทรพั ยากรทางการศกึ ษามคี วามเปน็ ธรรมและสร้าง โอกาสใหก้ ลมุ่ เป้าหมายได้เข้าถึงการศึกษาทีม่ คี ุณภาพทัดเทียมกลุ่มอื่น ๆ กระจายทรพั ยากรท้ังบุคลากรทาง การศึกษา งบประมาณและสื่อเทคโนโลยีไดอ้ ยา่ งทั่วถงึ ข้อ ๗ การนำกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ (NQF) และกรอบคุณวุฒิอ้างอิงอาเซียน (AQRF) สู่การปฏิบัติ เป็น การผลิตและการพัฒนากำลงั คนเพ่ือการพฒั นาประเทศโดยใชก้ รอบคณุ วุฒแิ ห่งชาติ เชอื่ มโยงระบบการศึกษา และการอาชีพโดยใช้กลไกการเทียบโอนประสบการณ์ด้วยธนาคารหน่วยกิตและการจัดทำมาตรฐานอาชีพใน สาขาที่สามารถอา้ งอิงอาเซียนได้

4 ข้อ ๘ การพัฒนาเด็กปฐมวัยให้ได้รับการดูแลและพัฒนาก่อนเข้ารับการศึกษาเพื่อพัฒนาร่างกาย จิตใจ วนิ ยั อารมณ์ สงั คม และสติปญั ญาใหส้ มกบั วัย เพอื่ เป็นการขบั เคลอื่ นแผนบรู ณาการการพฒั นาเด็กปฐมวัย ตามพระราชบัญญัติการพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. ๒๕๖๒ สู่การปฏิบัติเป็นรูปธรรม โดยหน่วยงานที่เกีย่ วข้อง นำไปเปน็ กรอบในการจัดทำแผนปฏบิ ัตกิ ารเพ่อื พฒั นาเด็กปฐมวัย และมกี ารตดิ ตามความกา้ วหน้าเปน็ ระยะ ข้อ ๙ การศึกษาเพื่ออาขีพและสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เพื่อให้ผู้จบการศึกษา ระดับปริญญาและอาชีวศกึ ษามีอาชีพและรายได้ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพและคุณภาพชีวติ ทีด่ ี มีส่วนช่วย เพ่ิมขีดความสามารถในการแขง่ ขนั ในเวทโี ลกได้ ข้อ ๑๐ การพลิกโฉมระบบการศึกษาไทยด้วยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการจัด การศึกษาทกุ ระดับการศึกษา เพื่อให้สถาบนั การศกึ ษาทุกแห่งนำนวัตกรรมและเทคโนโลยที ที่ ันสมัยมาใช้ใน การจดั การศกึ ษาผ่านระบบดิจทิ ัล ข้อ ๑๑ การเพิ่มโอกาสและการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพของกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษา และ ผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสและการเข้าถึงการศึกษาท่ีมีคุณภาพของกลุ่ม ผู้ดอ้ ยโอกาสทางการศึกษา และผเู้ รียนท่ีมคี วามตอ้ งการจำเปน็ พเิ ศษ ขอ้ ๑๒ การจัดการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอธั ยาศัย โดยยดึ หลกั การเรียนรู้ตลอดชวี ติ และการมี สว่ นร่วมของผู้มสี ว่ นเกี่ยวข้อง เพ่อื เพิม่ โอกาสและการเขา้ ถงึ การศกึ ษาทมี่ ีคุณภาพของกลมุ่ ผู้ด้อยโอกาสทาง การศึกษาและผ้เู รยี นที่มีความต้องการจำเปน็ พเิ ศษ เนือ่ งดว้ ยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคตดิ เช้อื ไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) ในปจั จบุ นั ได้กอ่ ใหเ้ กิด ความนิยมในรูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์ (Online) มากยิ่งขึ้น ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการ เตรียมผูเ้ รียนไทยให้มีทกั ษะทจ่ี ำเป็นในศตวรรษที่ ๒๑ ซง่ึ มงุ่ เนน้ ความเปน็ ผู้ประกอบการ (Entrepreneurship) และความสามารถในการปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ต่าง ๆ (Resilience) รวมถึงปัญหาความปลอดภัยของ สถานศึกษาและปัญหาความเหลื่อมล้ำของโอกาสในการศึกษาที่นับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ดิฉันจึง เสนอให้มีวาระเรง่ ด่วน (Quick Win) ของกระทรวงศึกษาธิการ ดังต่อไปน้ี วาระที่ ๑ เรอ่ื งความปลอดภยั ของผูเ้ รียน โดยจัดให้มีรูปแบบ วิธีการ หรือกระบวนการในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการ เรียนรู้อย่างมีคุณภาพ มีความสุข และได้รับการปกปอ้ งคุ้มครองความปลอดภัยทั้งด้านร่างกายและ จิตใจ รวมถึงการสร้างทักษะให้ผู้เรียนมีความสามารถในการดูแลตนเองจากภัยอันตรายต่าง ๆ ท่ามกลางสภาพแวดล้อมทางสังคม

5 วาระท่ี ๒ หลักสตู รฐานสมรรถนะ มุ่งเน้นการจัดการเรียนรทู้ ่ีหลากหลายโดยยดึ ความสามารถของผู้เรียนเป็นหลัก และพัฒนาผู้เรียนให้ เกิดสมรรถนะทีต่ อ้ งการ วาระที่ ๓ Big Data พัฒนาการจัดเก็บขอ้ มูลอยา่ งเปน็ ระบบและไมซ่ ้ำซอ้ น เพ่ือใหไ้ ดข้ อ้ มูลภาพรวมการศกึ ษาของประเทศ ท่ีมีความครบถ้วน สมบรู ณ์ ถูกตอ้ งเปน็ ปจั จุบัน และสามารถนำมาใชป้ ระโยชนไ์ ดอ้ ย่างแท้จรงิ วาระที่ ๔ ขบั เคล่อื นศนู ย์ความเปน็ เลิศทางการอาชวี ศึกษา (Excellent Center) สนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์ความเป็นเลิศทางการอาชวี ศึกษา (Excellent Center) ตามความ เป็นเลิศของแต่ละสถานศึกษาและตามบริบทของพน้ื ท่ี สอดคลอ้ งกบั ความต้องการของประเทศทั้งใน ปัจจุบันและอนาคต ตลอดจนมีการจัดการเรียนการสอนด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย สอดคล้องกับ เทคโนโลยีปจั จุบัน วาระท่ี ๕ พัฒนาทกั ษะทางอาชีพ สง่ เสริมการจดั การศกึ ษาท่ีเนน้ พัฒนาทกั ษะอาชีพของผูเ้ รียน เพือ่ พัฒนาคณุ ภาพชวี ิต สร้างอาชีพและ รายได้ทีเ่ หมาะสม และเพมิ่ ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ วาระที่ ๖ การศึกษาตลอดชวี ติ การจดั เรยี นรู้ตลอดชีวิตสำหรบั ประชาชนทกุ ช่วงวยั ให้มคี ุณภาพและมาตรฐาน ประชาชนในแตล่ ะช่วง วัยได้รับการศกึ ษาตามความต้องการอย่างมีมาตรฐาน เหมาะสมและเต็มตามศกั ยภาพต้ังแต่วัยเด็ก จนถงึ วยั ชรา และพัฒนาหลักสตู รท่ีเหมาะสมเพ่ือเตรยี มความพร้อมในการเขา้ สสู่ งั คมผู้สูงวัย วาระท่ี ๗ การจัดการศกึ ษาสำหรับผู้ทมี่ คี วามต้องการจำเป็นพเิ ศษ ส่งเสริมการจัดการศึกษาให้ผู้ที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ สามารถดำรงชวี ิตในสังคมอย่างมีเกียรติ ศักดิ์ศรีเท่าเทียมกับผูอ้ ื่นในสังคม สามารถช่วยเหลอื ตนเอง และมสี ่วนรว่ มในการพัฒนาประเทศ ขอขอบพระคุณท่านรฐั มนตรชี ่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ รองปลัดกระทรวง ศกึ ษาธิการ เลขาธิการสภาการศกึ ษา เลขาธิการคณะกรรมการอาชีวศึกษา เลขาธกิ ารคณะกรรมการการศกึ ษา ขัน้ พ้นื ฐาน ผบู้ ริหารระดับสงู หวั หนา้ ส่วนราชการ พนี่ ้องข้าราชการ พนกั งาน เจ้าหน้าท่ี และท่านผู้มีเกียรติทุก ท่าน ท่ีให้ความกรุณาสละเวลาอันมีค่า มาให้การต้อนรับดิฉันและเข้าร่วมรับฟังการมอบนโยบายและ

6 ยทุ ธศาสตร์ในการปฏบิ ัติงาน ดิฉนั ตระหนักดวี า่ ภารกิจของกระทรวงศึกษาธิการน้ีมีอยู่มากมาย ทง้ั ทย่ี ังรอการ ดำเนินงานและที่จะริเริ่มโครงการขึ้นใหม่ จำต้องอาศัยความมุมานะ พยายามอย่างยิ่งยวด ที่จะให้เกิด ผลสมั ฤทธิ์อยา่ งเป็นรปู ธรรม และนน่ั คอื สงิ่ ที่ยากทสี่ ุด เพราะผลสัมฤทธิ์ของภารกิจด้านการศึกษานั้นไม่อาจระบุได้ว่า เท่าไร เมื่อไร จึงจะถือว่าประสบความสำเรจ็ ดจุ ดังเรอ่ื งราวของ “พระมหาชนก” พระราชนิพนธใ์ นพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลย เดชมหาราช บรมนาถบพติ ร ที่ทรงเป็นแบบอยา่ งแหง่ พระโพธสิ ตั ว์ผู้ถงึ พรอ้ มดว้ ยวริ ิยะบารมี ทรงแหวกว่ายอยู่ ในมหาสมุทรท่ามกลางวาตภัยแลสัตว์รา้ ยทีพ่ ร้อมจะแผว้ พาน กระนั้นก็ทรงแน่วในพระราชปณิธานที่จะวา่ ย ต่อไปให้ “ถงึ ฝั่ง” เพ่ือยงั ประโยชน์แก่อาณาราษฎร โดยการข้ึนครองสริ ิราชสมบัตปิ กครองมถิ ิลานครสบื ไป ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยและส่ิงศกั ดิส์ ิทธิ์ท้ังหลายในสากล ตลอดจนพระบารมแี หง่ พระบาทสมเด็จพระ เจา้ อยู่หวั สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี แลพระบรมราชจกั รีวงศท์ ุกพระองค์ จงดลบนั ดาลประทานพร ให้ท่านผู้มีเกียรติทั้งหลาย ประสบแต่ความสุข ความเจริญ เข้าถึงความเพียรท่ีบริสุทธิ์ ปัญญาที่เฉียบแหลม กำลงั กายทีส่ มบูรณ์ พร้อมท่ีจะปฏิบัติภารกิจด้วยความไวว้ างใจ เพอ่ื ร่วมไปให้ “ถงึ ฝ่งั ” ด้วยกนั นะคะ ขอขอบพระคุณคะ่


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook