Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore รูปแบบ การบริหารงานโรงเรียนบ้านหนองปากดง

รูปแบบ การบริหารงานโรงเรียนบ้านหนองปากดง

Published by ไปรยา เย็นสรง, 2021-09-02 03:35:37

Description: รูปแบบ การบริหารงานโรงเรียนบ้านหนองปากดง

Search

Read the Text Version

1

ก คำนำ การบริหารงานแบบมีส่วนร่วมภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรสั โคโรนา 2019 (COVID-19) โดยใช้รูปแบบ SMILE MODEL เป็นการปฏิบตั ิหน้าทีผ่ ู้อำนวยการสถานศึกษา เพื่ออำนวยความ สะดวกในการปฏิบัติงานให้กับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา บริหารกิจการ ของสถานศึกษา การวางแผนการปฏิบัติ การควบคุม กำกับ ดูแลเกี่ยวกับการบรหิ ารงานวิชาการ งบประมาณ การบริหารงานบุคคล การบริหารงานทั่วไป ความสัมพันธ์กับชุมชนและงานอื่นท่ีเกี่ยวข้องหรือที่ได้รับ มอบหมาย ซ่งึ นับว่าเป็นภารกจิ ทีย่ ่งิ ใหญแ่ ละมีความรบั ผิดชอบสูง ในการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยใช้รูปแบบ SMILE MODEL เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติงาน ข้าพเจ้าได้ดำเนินการ ตามหลกั การทท่ี ฤษฎที างการบรหิ ารสถานศึกษาท่ีมีความเป็นไปได้และมีความเหมาะสมกับบรบิ ทของโรงเรียน บ้านหนองปากดง ซึ่งเปน็ โรงเรียนขนาดเลก็ สังกดั สำนักงานเขตพ้นื ทก่ี ารศึกษาประถมศึกษากาญจนบรุ ี เขต 1 โดยข้าพเจ้าได้ศึกษามูลทางด้านสังคม เศรษฐกิจและชุมชนในท้องถิ่นโดยใช้หลักของการมีส่วนร่วม คือ “โรงเรียนเป็นของชุมชนโดยชุมชนเพื่อชุมชน” ตามหลักการทรงงาน เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา เพื่อให้โรงเรียน ประสบผลสำเร็จในการจดั การศกึ ษาอย่างมีคุณภาพและประสิทธภิ าพ ขอขอบคุณ คณะครูและนักเรียนที่ร่วมแรง ร่วมใจกันพัฒนาและทำโรงเรียนบ้านหนองปากดง ให้มีความเจริญก้าวหน้า และที่สำคัญคือความร่วมมือของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง และชุมชน รวมไปถึงทุกภาคส่วนที่ร่วมกันสนับสนุน ส่งเสริมในด้านต่างๆ และมีความปรารถนาดีที่จะให้ โรงเรียนพัฒนาก้าวทันตามความเปลี่ยนแปลงของโลกและสามารถอยู่ได้อย่างมีความสุข ภายใต้สถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคตดิ เชือ้ ไวรสั โคโรนา 2019 (COVID-19) การเรยี นรคู้ วบคู่กบั ความปลอดภัยเสมอ นางสาวสรุ ยี ์พร พณิ พาทย์ ผูอ้ ำนวยการโรงเรียนบา้ นหนองปากดง

ข สารบัญ เรอ่ื ง หน้า คำนำ .............................................................................................................................................................. ก สารบัญ ........................................................................................................................................................... ข ข้อมลู พนื้ ฐาน ..................................................................................................................................................1 ข้อมูลผ้บู ริหาร.................................................................................................................................................1 ข้อมลู ครแู ละบุคลากรสนบั สนุนการสอน.........................................................................................................3 การบริหารงานแบบมีสว่ นรว่ มภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยใช้รูปแบบ SMILE MODEL .................................................................................................5 ข้นั ตอนท่ี 1 ปจั จยั นำเขา้ (INPUTS) ...............................................................................................................5 ขั้นตอนท่ี 2 กระบวนการ (PROCESSES) .................................................................................................... 12 ขน้ั ตอนท่ี 3 ผลผลติ Product (output/outcome) ................................................................................. 13 ขน้ั ตอนที่ 4 ข้อเสนอแนะ/ปรบั ปรงุ (FEEDBACK)...................................................................................... 13 ผลสำเรจ็ การบรหิ ารงานแบบมสี ว่ นร่วมภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคตดิ เชื้อไวรสั โคโรนา 2019 (COVID-19) โดยใชร้ ูปแบบ SMILE MODEL .............................................................................................. 13 การมีสว่ นร่วมของหน่วยงานภาครฐั เอกชน ชุมชน และผสู้ นับสนุนการจดั การศึกษา................................... 15 ภาคผนวก ..........................................................................................................................................................

1 การบรหิ ารงานแบบมีส่วนรว่ มภายใต้สถานการณก์ ารแพร่ระบาดของโรคตดิ เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยใช้รปู แบบ SMILE MODEL โรงเรียนบา้ นหนองปากดง ตำบลหนองไผ่ อำเภอดา่ นมะขามเต้ยี สงั กดั สำนักงานเขตพ้ืนท่ีการศกึ ษาประถมศกึ ษากาญจนบุรี เขต 1 ชื่อรูปแบบ : การบริหารงานแบบมีส่วนร่วมภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยใชร้ ปู แบบ SMILE MODEL ผเู้ สนอผลงาน : นางสาวสรุ ยี พ์ ร พณิ พาทย์ ผ้อู ำนวยการโรงเรียนบา้ นหนองปากดง ข้อมูลพ้ืนฐาน โรงเรียนบ้านหนองปากดง ตั้งอยู่ เลขที่ 154 หมู่ที่ 2 ตำบลหนองไผ่ อำเภอด่านมะขามเต้ีย จงั หวดั กาญจนบุรี ข้ึนกบั ศูนย์เครือข่ายพฒั นาคุณภาพการศึกษาพ่อขุนด่าน สังกัดสำนักงานเขตพื้นท่ีการศึกษา กาญจนบรุ ี เขต 1 ปจั จบุ ันมีข้าราชการครแู ละบคุ ลากรทางการศกึ ษา 9 คน จำนวนนักเรียน 89 คน โรงเรียนบ้านหนองปากดงตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2517 สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอจอมบึง สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดราชบุรี (ขึ้นกับกลุ่มโรงเรียนมหาราช) และได้โอนมาขึ้นกับสำนักงาน การประถมศึกษาอำเภอเมืองกาญจนบุรี สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดกาญจนบุรีเนื่องจากแบ่งเขต การปกครองใหม่ เมอื่ วันท่ี 8 มิถุนายน พ.ศ. 2531 ประชาชนสว่ นใหญ่ในเขตพื้นท่บี ริการของโรงเรียนประกอบอาชพี เกษตรกรรมเป็นหลักอาชีพรองลงมา คือรับจ้าและค้าขาย ระยะทางจากโรงเรียนถึงอำเภอด่านมะขามเตี้ยประมาณ 12 กิโลเมตร (เป็นถนนลาดยาง) การเดินทางส่วนใหญ่ใช้พาหนะส่วนตัวและจักยานยนต์รับจ้าง สำหรับการเดินทางมา โรงเรยี นของนักเรยี น ใช้จักรยานเป็นพาหนะ บางส่วนเดนิ เท้า และบางส่วนผ้ปู กครองรบั -ส่งเอง ข้อมูลผบู้ ริหาร นางสาวสุรีย์พร พิณพาทย์ ปริญญาโทศึกษาศาสตรมหาบัณทิต การบริหารการศึกษา วิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษ โทรศัพท์ 081-199-7754 E-mail : [email protected] ปจั จุบนั ดำรง ตำแหนง่ ผอู้ ำนวยการโรงเรยี นบ้านหนองปากดง วสิ ยั ทัศน์ โรงเรียนบา้ นหนองปากดงจัดกระบวนการเรียนรู้ท่ีเน้นผ้เู รียนเปน็ สำคัญ มคี ุณธรรมนำความรู้ มุ่งสู่ยุค 4.0 โดยน้อมนำศาสตร์พระราชามาใชใ้ นการบริหารจัดการสถานศกึ ษาเพ่ือพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับส่งิ แวดล้อม

2 พันธกิจ (Mission) 1. มุ่งพฒั นาผเู้ รยี นอยา่ งรอบด้าน 2. จัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ 3. สืบสานคณุ ธรรม จรยิ ธรรม 4. นอ้ มนำศาสตร์พระราชาส่กู ารพฒั นาสถานศึกษาและผเู้ รียนใหม้ คี ุณภาพ เป้าประสงค์ (Goals) 1. ผเู้ รยี นมคี ุณภาพและศักยภาพ 2. ผเู้ รยี นมีองค์ความรู้ที่หลากหลาย 3. ผู้เรียนมคี ุณธรรมจรยิ ธรรมในการดำเนนิ ชีวิต 4. ผู้เรียนน้อมนำศาสตร์พระราชาส่กู ารพฒั นาอย่างมีคุณภาพ กลยุทธ์ (Strategy) 1 จดั การศกึ ษาเพ่อื ความมน่ั คง 2 พัฒนาคณุ ภาพผู้เรยี นและส่งเสริมการจัดการศึกษา เพ่ือสร้างขดี ความสามารถในการแขง่ ขนั 3 พัฒนาครแู ละบคุ ลากรทางการศึกษา 4. ขยายโอกาสใหเ้ ข้าถงึ บรกิ ารทางการศึกษาและการเรียนรอู้ ยา่ งมีคณุ ภาพ 5. จดั การศกึ ษาเพือ่ เสรมิ สร้างคณุ ภาพชวี ิตท่เี ปน็ มิตร กับสงิ่ แวดลอ้ ม 6. พฒั นาระบบบรหิ ารจดั การและส่งเสริมการมสี ว่ นร่วมในการจดั การศกึ ษา ปรัชญาโรงเรียน “สสุ ฺสสู ํ ลภเต ปญฺญํ (สสุ สูสัง ละภะเต ปัญญัง) ผูต้ งั้ ใจศึกษา ย่อมได้ปัญญา ” อัตลกั ษณข์ องสถานศกึ ษา “นำ้ ใจงาม สบื สานคณุ ธรรม นอ้ มนำศาสตร์พระราชา พฒั นาดว้ ยเทคโนโลยี เป็นมติ รท่ีดีกบั ส่งิ แวดล้อม ” เอกลกั ษณ์ของสถานศึกษา “สะอาด รม่ รื่น สดชื่นงามตา นำพาสู่การเรยี นรู้” คำขวญั ประจำโรงเรียน “เด็กดี มีนำ้ ใจ ใฝเ่ รียนรู้ คคู่ ุณธรรม” สปี ระจำโรงเรยี น สีม่วง – สีเหลือง หมายถงึ ความฉลาดหลกั แหลมและความเจริญรุ่งเรือง

ขอ้ มูลครแู ละบคุ ลากรสนบั สนนุ การสอน ข้าราชการครู / พนกั งานราชการ ที่ ชือ่ – สกลุ อายุ อายุ ตำแหน่ง/วทิ ยฐานะ วุฒ (ป)ี ราชการ ปริญญ (ปี) ปริญญ ปรญิ ญ 1. นางสาวสรุ ยี ์พร พณิ พาทย์ 44 17 ผอู้ ำนวยการ ปริญญ ปรญิ ญ 2. นางจดิ าภา สงวนจิตต์ 55 27 ครูชำนาญการพิเศษ 3. นางนุสรา บญุ มา 56 30 ครูชำนาญการพเิ ศษ 4. นางสุพัตรา แสงอรุณ 49 24 ครชู ำนาญการพเิ ศษ 5. นางสาวอรทัย บญุ เส็ง 42 8 ครูชำนาญการ ครูอตั ราจ้าง / อน่ื ๆ ( ปฏิบตั ิหนา้ ที่สอน ) ท่ี ชอ่ื – สกลุ อายุ *อายุ ตำแหนง่ /วิทยฐานะ (ป)ี ราชการ 1. นางสาวรัชชนก ศรจี นั ทร์ 2. นางรตั ตินนั ท์ วฒั นสิทธาโรจน์ (ป)ี 40 7 ครูอตั ราจ้าง ปร วิทย์-คณิต 62 - ครูผู้ทรงคณุ คา่ ปร

3 ฒิ สาขา สอนวชิ า /ช้นั ภาระการสอน จำนวนชวั่ โมง (ช.ม. / สปั ดาห์ ) ทเ่ี ขา้ รับ การพัฒนา / ปี ญาโท บริหารการศึกษา ผู้อำนวยการ - 20 ญาตรี อนุบาล ระดบั ปฐมวยั 30 20 ญาตรี คหกรรมศาสตร์ ชนั้ ป. 5 30 20 ญาตรี การประถมศึกษา ชัน้ ป. 6 30 50 ญาโท บรหิ ารการศึกษา ชนั้ ป. 2 30 50 วุฒิ สาขา สอนวิชา/ชัน้ ภาระการสอน จำนวนช่วั โมง (ช.ม. / สปั ดาห์ ) ท่ีเข้ารบั การ พัฒนา / ปี รญิ ญาตรี คหกรรมศาสตร์ ป.3-4 30 40 ริญญาตรี การประถมศึกษา ป.1 30 -

ขา้ ราชการ / พนกั งานราชการ / ลกู จ้าง / อืน่ ๆ (สนบั สนนุ การสอน) ท่ี ชอ่ื - สกลุ อายุ ( ปี ) ตำแหน่ง ป 1. นางสาวจฑุ ามาศ บตุ รพุ่ม 27 ธรุ การโรงเรยี น อน 2. นายพนาวลั ย์ ทบั ย้อย 51 ลกู จ้างประจำ

4 วฒุ ิ สาขา ปฏบิ ตั หิ น้าที่ จ้างดว้ ยเงิน ปริญญาตรี เทคโนโลยกี ารศกึ ษาและ เจา้ หน้าท่ี รฐั บาล นปุ ริญญา ธรุ การ ฯ รฐั บาล คอมพิวเตอร์ศกึ ษา นกั การ ฯ เกษตรกรรม

5 การบรหิ ารงานแบบมีส่วนรว่ มภายใตส้ ถานการณ์การแพรร่ ะบาดของโรคติดเช้ือไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยใช้รูปแบบ SMILE MODEL การบริหารงานแบบมีส่วนรว่ มภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรสั โคโรนา 2019 (COVID-19) โดยใช้รูปแบบ SMILE MODEL นั้นเป็นรูปแบบการบริหารโรงเรียนคุณภาพที่มุ่งสู่การพัฒนา คุณภาพของโรงเรียนอย่างสมดุลรอบด้าน เพื่อให้นักเรียนที่เป็นผลผลิตเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นคนดี มีความสามารถ และมีความสุข เป็นรูปแบบการบริหารที่มีความสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน และเหมาะสมตามห้วงเวลาน้นั ๆ จากการศกึ ษาแนวคิด ทฤษฎี และประสบการณ์ในการบริหารโรงเรียน ทำให้ ไดน้ วตั กรรมรูปแบบการบรหิ ารโรงเรียนท่สี อดคล้องกบั การพฒั นาคุณภาพของโรงเรยี นบ้านหนองปากกดง ทำ ให้การดำเนินการบริหารจัดการศึกษาบรรลุตามเป้าหมาย มีรายละเอียดของการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยใช้รูปแบบ SMILE MODEL ดังนี้ ขัน้ ตอนท่ี 1 ปัจจัยนำเข้า (INPUTS) ประกอบด้วย 5 กิจกรรม ได้แก่ S : Sufficiency Economy หมายถึง หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระ ปรมนิ ทรมหาภมู ิพล อดุลยเดชบรมนาถบพติ ร รัชกาลที่ 9 อันเปน็ องคค์ วามรแู้ ละภูมปิ ัญญาท่ีได้พระราชทาน ผ่านวิธีการต่างๆ ด้วยความมุ่งหมายที่จะพัฒนา ป้องกันหรือแก้ไขปัญหาเพื่อประโยชน์แก่เหล่าพสกนิกรให้ สามารถดำรงชวี ติ ได้อยา่ งมน่ั คง สันตสิ ขุ และย่งั ยนื ประกอบด้วย 3 หลักการ 2 เงอ่ื นไข 1. หลักความพอประมาณ หมายถึง พอประมาณในทุกอย่าง ความพอดีไม่มากหรือว่าน้อยจนเกินไป โดยต้องไม่เบียดเบียนตนเอง หรือผอู้ ื่นใหเ้ ดือดรอ้ น 2. หลักความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่าง รอบคอบ 3. หลักภูมิคุ้มกัน หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านการต่าง ๆ ทจี่ ะเกิดขน้ึ โดยคำนงึ ถึงความเปน็ ไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ทคี่ าดวา่ จะเกดิ ขึน้ ในอนาคต 4. เงื่อนไขความรู้ หมายถึง มีความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบท่ีจะนำความรู้เหลา่ นัน้ มาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพ่ือประกอบการวางแผนและข้นั ตอนปฏบิ ตั ิ 5. เงื่อนไขคุณธรรม หมายถึง มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มคี วามเพียร ใชส้ ติปัญญาในการดำเนินชวี ติ หลกั การทรงงาน ได้แก่ 1. เข้าใจ 2. เขา้ ถึง 3. พัฒนา พระบรมราโชบายด้านการศึกษา ของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ทใ่ี ห้ม่งุ สรา้ งพน้ื ฐานให้แก่ผเู้ รยี น 4 ด้าน คือ

6 1. มีทศั นคตทิ ถี่ กู ต้องตอ่ บา้ นเมอื ง 2. มีพื้นฐานชวี ิตทม่ี นั่ คง มีคุณธรรม 3. มงี านทำ มีอาชีพ 4. เปน็ พลเมอื งที่ดี M : Motivation แรงจงู ในในการพัฒนารว่ มกัน หมายถงึ การจัดการการทำงานภายในองค์กร จึงใหค้ วามสำคัญแก่ บุคลากรทีป่ ฏบิ ัติงานในองค์กรและคำนึงถึง ขวัญและกำลังใจประกอบกัน เนื่องจากว่า ความสำเร็จขององค์กรส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับความมากน้อยของ แรงจูงใจในการปฏิบัติงานเป็นหลักที่จะทำให้บุคลากรปฏิบัติงานตามภาระหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายได้เกิด ประสิทธิผลตาม วัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กร นอกจากนี้การที่องค์กรจะผลักดันและกระตุ้นให้ พนักงานในองค์กรทำงานกนั อยา่ งขยนั ขันแข็ง รวมถึงทมุ่ เทแรงกายและแรงใจให้กับองค์กรอยา่ งเต็มที่เพ่ือจะมี ส่วนผลักดนั ให้องค์กรเจริญกา้ วหน้า จะต้องทำให้บุคลากรรู้สึกว่าเขาเป็นผู้มีสว่ นร่วม และองค์กรจะต้องอาศัย การสร้างแรงจงู ใจ แรงจูงใจเป็นองค์ประกอบสำคัญของพฤติกรรมของบุคคลเพราะเป็นองค์ประกอบที่กระตุ้ นผลักดัน ชักจูง ให้บุคคลทำพฤติกรรมหรือไม่ทำพฤติกรรมไปในแนวทางใดแนวทางหนึ่งธรรมชาติของบุคคลในการ ดำรงชีวติ ประกอบธรุ กจิ ส่วนตวั หรือปฏบิ ัตหิ น้าทก่ี ารงานจำเป็นตอ้ งมแี รงจงู ใจเป็นสาเหตุของพฤติกรรมเสมอ แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร เป็นปัจจัยที่สำคัญที่มีส่วนช่วยเสริมสร้างให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความ ปรารถนาทุ่มเทให้กับการปฏิบัติงาน การจูงใจเป็นเรื่องที่มีความสำคัญและ สร้างความสับสนต่อผู้บริหารอยู่ เสมอ เพราะวา่ แรงจูงใจไมส่ ามารถสังเกตหรือวัดได้โดยตรง แรงจูงใจจะถกู อ้างอิงจากพฤติกรรมของบุคคลเป็น จำนวนมากทั้งทฤษฎีเก่าและทฤษฎีใหม่ทฤษฎีเหล่านั้นแตกต่างกันทางด้านข้อเสนอแนะที่ผู้บริหารควรจะ กระทำเองให้ได้ผลการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพมีปัจจัยมาจากแรงจูงใจของบุคคลเป็นสำคัญการเข้าใจการ เกิดแรงจูงใจ เข้าใจผลของแรงจูงใจท่ีมีต่อปัจเจกบุคคลจะช่วยให้มีความสามารถในการจัดการสภาพแวดล้อม และเงื่อนไขในการทำงานให้เปน็ ไปในแนวทางท่ีส่งเสริมให้บุคคลมีแรงจูงใจท่ีพึงปรารถนาและมีแรงจูงใจที่ดีใน การปฏิบัติงานจะเห็นได้ว่าในองค์กรใดๆก็ตามการจะประสบความสำเร็จหรือเจริญก้าวหน้าได้ต้อง ประกอบด้วยเงื่อนไขและองค์ประกอบ 2 ประการ คือ ระบบการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพและบุคลากรใน องค์กรน้นั มคี วามพงึ พอใจสงู แนวคดิ ทฤษฎีทเี่ กี่ยวขอ้ งกบั แรงจูงใจในการทำงาน ทฤษฎีสองปัจจัยของ Herzberg (Two-Factor Theory)Frederick Herzberg และคณะ เมื่อปี ค.ศ. 1959 เป็นผู้คิดค้นทฤษฎีนี้ ทฤษฎีแรงจูงใจของHerzberg (The Motivation Hygience Theory เพื่อเสนอ ทฤษฎีปัจจัยกระตุ้น-ปัจจัยค้ำจุน หรือเรียกอีกแบบหนึ่งว่าทฤษฎีสองปัจจัย (Two-Factor Theory) ในการ ทำงานนั้นจะต้องมีสิ่งที่ทำให้เกิดความพึงพอใจ ซึ่งเรียกว่าปัจจัยกระตุ้น และสิ่งที่ทำให้ไม่พอใจหรือ ส่วนประกอบทีเ่ สริมให้คนเกิดความพึงพอใจอยู่เสมอจึงเรียกว่าปัจจัยค้ำจุนหรอื ปัจจัยสุขอนามัย โดยความพึง พอใจ หรือความไม่ พอใจในงานที่ทำน้ันไม่ได้มาจากกลุ่มเดียวกัน แตม่ สี าเหตมุ าจากปัจจัยสองกลุม่ คือ ปัจจัย จูงใจ (Motivation Factors) และปจั จัยคำ้ จุนหรอื ปัจจยั อนามยั (Hygience Factors) ดังน้ี

7 1. ปัจจัยจูงใจ หรือปัจจัยกระตุ้น (Motivation Factors) เป็นปัจจัยที่กระตุ้นจูงใจที่มีประสิทธิภาพ อนั จะทำใหพ้ นกั งานใช้ความพยายามเพื่อ ได้ผลงาน ปจั จยั จงู ใจจึงเปน็ ปัจจยั ท่ีเก่ยี วขอ้ งสัมพันธก์ ับงานโดยตรง และสร้างความร้สู กึ ทด่ี กี บั งาน ประกอบด้วย 1.1 ความสำเร็จในงาน (Achievement การท่ีบุคคลสามารถทำงานไดล้ ุล่วงและ ประสบ ความสำเร็จเป็นอย่างดี มีความสามารถในการแก้ไขและรูจ้ ักป้องกันปัญหาทีเ่ กดิ ขึน้ ไปได้ เสมอรวมถึงการแสดง ส่ิงหนึ่งสิ่งใดท่สี ่งผลให้เห็นถงึ ผลงานของบุคคลย่อมจะรู้สึกมีความพึงพอใจ และปลม้ื ใจในผลสำเร็จของงานนั้น อย่างยง่ิ ทำให้มีกำลังใจจะทำงานอื่นตอ่ ไป 1.2 ลกั ษณะของงาน (Work Itself) ความรู้สกึ ของบุคคลที่มตี ่อลกั ษณะงาน เช่น งานประจำ งานที่ต้องอาศัยความรู้ ความสามารถ คุณลักษณะของงานที่ยากหรือง่าย รวมทั้งปริมาณงานที่มากหรือน้อย เกินไป ถ้าเป็นงานที่น่าสนใจและท้าทายในความสามารถ เป็นงานสำคัญที่มีคุณค่าเป็นงาน ที่ต้องใช้ความคิด งานประดิษฐค์ ดิ คันส่ิงใหม่ ๆ แบบใหม่ ๆ พนกั งานจะรูส้ ึกพอใจที่จะทำงานในลกั ษณะนี้ 1.3 การไดร้ ับการยอมรบั (Recognition) การที่ผ้บู ังคบั บญั ชาเพอ่ื นร่วมงานและ บคุ คลทว่ั ๆ ไปในสังคมให้ความสำคัญ ยกย่อง ชมเชย แสดงความชื่นชมยินดีในผลงานและความสามารถ เมื่อทำงาน บรรลุผลอันเป็นสิ่งที่สร้างความประทับใจ ทำให้พนักงานนั้นเกิดความรู้สึกภาคภูมิใจ มีกำลังใจมีผลในการ กระตุ้นจูงใจให้ทำงานได้ดยี ง่ิ ขึ้น 1.4 ความกา้ วหนา้ ในงาน (Advancement) ความพงึ พอใจของบคุ คลที่ไดร้ บั การพจิ ารณา เลอื่ นขน้ั เล่ือนตำแหน่ง หน้าท่ใี นการทำงาน ข้ึนเงนิ เดือนคา่ จา้ งให้สูงขนึ้ อันจะเป็นสง่ิ ท่ีช่วยส่งเสริมกระตุ้นให้ พนกั งานตงั้ ใจทำงานให้มากย่ิงขึ้น 1.5 ความรบั ผดิ ชอบในงาน (Responsibility) การทบี่ คุ คลได้รับเกยี รตแิ ละความไว้วางใจ มอบหมายให้รับผิดชอบทำงานอย่างมีอิสรเสรีให้โอกาสทำงานได้อย่างเต็มที่ โดยผู้บังคับบัญชา ไม่ตรวจตรา ควบคุมมากเกนิ ไป พนกั งานจะมคี วามพงึ พอใจเป็นอย่างมาก 2. ปัจจยั ค้ำจนุ หรอื อาจเรียกไดว้ ่า ปัจจัยอนามัย (Hygience Factors) เป็นปัจจยั ท่ีเปน็ ข้อกำหนดให้ บุคลากรไม่มีความไม่พึงพอใจในงานที่ทำแต่ปัจจัยค้ำจุนนี้ ไม่ได้เป็นสิ่งจูงใจให้คนทำงานเพิ่มขึ้น ดังนั้น หาก พนักงานได้รับการตอบสนองความต้องการแล้ว จะทำให้ไม่มีความไม่พึงพอใจในงาน ตรงกันข้ามในงานที่ทำ ถ้าหากพนักงานไม่ได้รับการตอบสนอง จากปัจจัยเหล่านี้ ย่อมทำให้เกิดความไม่พึงพอใจและไม่มีความสุขใน การทำงานประกอบดว้ ย 2.1 นโยบายและการบริหารงาน (Company Policy and Administration) หมายถึง นโยบายและวิธีการจัดการขององค์กรที่มีผลต่อความเจริญเติบโตขององค์กรและของตัวพนักงานการดำรง รักษาและให้ความมัน่ คงกบั บุคลากร ระบบการบริหารงาน เช่น การใช้อำนาจอิทธิพลระหว่างบุคคลในองค์กร ความขดั แย้งความรว่ มมือ และความเป็นธรรมในองคก์ ร 2.2 เงินเดือนและผลตอบแทน (Salary) หมายถึง ค่าจา้ ง เงินเดอื นหรือคา่ ตอบแทนที่ ได้รับ จากการปฏิบตั งิ าน ซึง่ พจิ ารณาได้จากความเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมกบั งานที่ทำ พนักงานเกา่ หรือพนักงาน

8 ใหมไ่ ด้เงนิ ไม่แตกต่างกันพอเหมาะพอควร การเลอ่ื นชน้ั การขึ้นเงินเดอื นและตำแหน่ง ช้าเกินไป เปน็ ผลให้เกิด ความไม่พอใจในองคก์ ร 2.3 ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (Interpersonal Relation) หมายถึง ท่าที ความรู้สึก ในการติดต่อส่อื สารกนั ท่แี สดงถงึ ความสมั พนั ธ์อันดีระหวา่ งผูบ้ งั คบั บญั ชา ผู้ใต้บงั คับบญั ชาและ เพ่ือนร่วมงาน 2.4 สภาพแวดล้อมในการทำงาน (Working Condition) สภาพแวดล้อมต่าง ๆ เกี่ยวกับ การทำงาน บรรยากาศ ทำเลทต่ี ้งั ของที่ทำงาน วสั ดุครภุ ัณฑอ์ ำนวยความสะดวกในการทำงาน 2.5 ความมั่นคงในงาน (Job Security) หมายถึง ความรู้สึกของบุคคลที่มีต่อความมั่นคง ของความยัง่ ยืนของอาชพี หรอื ความมน่ั คงขององคก์ ร 2.6 เทคนิคการควบคุมดูแล (Technical Supervision) หมายถึง ความรู้ ความสามารถ และวธิ กี ารต่าง ๆ ทีผ่ บู้ ังคบั บญั ชาใช้ในการบริหารงานตลอดจนความเช่ยี วชาญในเทคนิควิทยาการใหม่ ๆด้าน องค์กรและการจัดการ ปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้นนี้ถ้าเมื่อใดปัจจัยจูงใจลดต่ำลงกว่าระดับที่ควรประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ของการทำงานก็จะตกต่ำไปด้วย ในทางตรงกันข้ามถ้าเมื่อใดปัจจัยค้ำจุนลดต่ำลงกว่าระดับที่ควรจะเป็นหรือ ขาดไป ก็จะทำให้บุคลากรเกิดความไม่พอใจในการทำงานเกิดความเบื่อหน่ายท้อถอยหมดกำลังใจในการ ทำงาน จนอาจเป็นสาเหตุทำให้บุคลากรต้องมีการโยกย้ายงาน ลาออก ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ ผู้บริหารจะต้องจัดหาปัจจัยควบคู่นี้ ขึ้นมาตอบสนองความต้องการของบุคลากร เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจ และขจัดความไม่พอใจให้หมดไป อันทำให้ บุคลากรในองค์กรร่วมมือร่วมใจกันทำงานเพิ่มประสิทธิภาพให้กับ องค์กรไดม้ าก I : Information การประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร หมายถึง การจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบ กำหนดขอบเขตและวิธีการเข้าถึงข้อมูลและระบบการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารอย่างชัดเจนและต่อเนื่อง พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ จัดระบบข้อมูลสารสนเทศอย่างเป็นระบบ ครอบคลุมภาระงาน และเป็น ระบบงานที่ถูกต้องเป็นปัจจุบัน ทง้ั ทางด้านเอกสาร และระบบอเิ ลก็ ทรอนิกส์ นำขอ้ มูลสารสนเทศไปใช้ในการ พัฒนาคุณภาพการศึกษา และการวางแผนงานในการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาในปีการศึกษาต่อไปอย่าง ตอ่ เนือ่ ง L : Learning หมายถึง การเรยี นรู้ในรูปแบบต่างๆ Learning by doing หมายถึง การเรียนรูจ้ ากการปฏิบัตจิ ริงโดยกระบวนการ Active Learning Learning by Technology หมายถึง การเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีเพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะแห่ง ศตวรรษที่ 21 ผู้เรียนควรมีลักษณะที่มีชีวีต มีพลวัต มีปฏิสัมพันธ์ การเชื่อมต่อและการมีส่วนร่วม ใช้สื่อผสม อย่างหลากหลายปรับตามความสามารถและระดับของผู้เรียน มีเนื้อหาที่ไม่ยึดติดตัวกับสื่อ เลือกประกอบ เน้ือหาได้เอง ค้นหา-แก้ไข-จดบันทึกได้ เก็บประวัติการเรียนรู้อย่างเปน็ ระบบ และมีระบบการประเมินผลการ เรียนรู้ที่รวดเร็วและต่อเน่อื ง

9 Learning Community หมายถึง การเรียนร้จู ากชมุ ชน สร้างชมุ ชนแห่งการเรียนรู้ ความหมายของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ชุมชนการเรียนรูท้ างวชิ าชีพหรือ PLC มีวรรณกรรมทาง การศึกษาจากการวิจัยหรือโครงการศึกษาต่างๆ สามารถเรียบเรียงสรุปเป็นความหมายของ PLC คือ การรวมตัว รวมใจ รวมพลัง ร่วมมือกันของครู ผู้บริหาร และนักการศึกษาในโรงเรียน เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ของผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังท่ี Sergiovanni (1994) ได้กล่าวว่า PLC เป็นสถานที่สำหรับ “ปฏิสัมพันธ์” ลด “ความโดดเดี่ยว” ของมวลสมาชิกวิชาชีพครูของโรงเรียนในการทำงาน เพื่อปรับปรุงผลการเรียนของ นักเรียนหรืองานวิชาการโรงเรียน ซึ่ง Hord (1997) มองในมุมมองเดียวกัน โดยมองการรวมตัวกันดังกล่าว มีนยั ยะแสดงถึงการเป็นผูน้ ำร่วมกนั ของครู หรือเปิดโอกาสให้ครูเปน็ “ประธาน” ในการเปลีย่ นแปลง (วิจารณ์ พานิช, 2555) การมีคุณค่าร่วมและวิสัยทัศน์ร่วมกันไปถึงการเรียนรู้ร่วมกันและการนำสิ่งที่เรียนรู้ไป ประยุกต์ใช้ อย่างสร้างสรรค์ร่วมกัน การรวมตัวในรูปแบบนี้เป็นเหมือนแรงผลักดัน โดยอาศัยความต้องการ และความสนใจของ สมาชิกใน PLC เพื่อการเรียนรู้และพัฒนาวิชาชีพ สู่มาตรฐานการเรียนรู้ของนักเรียนเป็น หลัก (Senge, 1990) การพัฒนาวิชาชีพให้เป็น “ครูเพื่อศิษย์” (วิจารณ์ พานิช, 2555) โดยมองว่าเป็น “ศษิ ย์ของเรา” มากกวา่ มองวา่ “ศษิ ยข์ องฉัน”และการ เปล่ียนแปลงคุณภาพการจดั การเรียนรทู้ ี่เร่ิมจาก “การ เรียนรู้ ของครู” เป็นตัวตั้งต้น เรียนรู้ที่จะมองเห็นการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง พัฒนาการจัดการเรียนรู้ของ ตนเอง เพื่อผู้เรยี น เปน็ สำคญั อย่างไรก็ตาม การรวมตัวการเรยี นรู้ การเปล่ียนแปลงใดๆ เป็นไปได้ยากทจ่ี ะทำเพยี งลำพังหรือเพียง นโยบายเพื่อให้เกิด การขับเคลื่อนทั้งระบบโรงเรียน จึงจำเป็นต้องสร้างความเป็น PLC ที่สอดคล้องกับ ธรรมชาติทางวิชาชีพร่วมในโรงเรียน ย่อมมีความเป็นชุมชนที่สัมพันธ์กันอย่างแน่นแฟ้น (Senge, 1990) ชุมชน ทีส่ ามารถขบั เคล่ือนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวชิ าชีพได้นั้น จึงจำเป็นตอ้ งมีอย่รู ว่ มกันอย่างมีความสุข ทางวิชาชีพ มีฉันทะ และศรัทธาในการทำงาน “ครูเพื่อศิษย์ร่วมกัน” บรรยากาศการอยู่ร่วมกันจึงเป็น บรรยากาศ “ชุมชนกัลยาณมิตร ทางวิชาการ” (สุรพล ธรรมร่มดี, ทัศนีย์ จันอินทร์, และ คงกฤช ไตรยวงศ์, 2553) ท่มี ลี กั ษณะความเปน็ ชมุ ชน แห่งความเอือ้ อาทรอยบู่ นพื้นฐาน “อำนาจเชิงวชิ าชพี ” และ “อำนาจเชิง คุณธรรม” (Sergiovanni, 1994) เป็นอำนาจที่การสร้างพลังมวลชนเริ่มจากภาวะผู้นำร่วมของครูเพื่อ ขับเคลอ่ื นการ ปรับปรงุ และพัฒนาสถานศึกษา (Fullan, 2005) กล่าวโดยสรปุ PLC หมายถึง การรวมตัว ร่วมใจ ร่วมพลัง ร่วมทำ และร่วมเรียนรู้ร่วมกันของครู ผู้บริหาร และนักการศึกษา บนพื้นฐานวัฒนธรรมความสัมพันธ์แบบกัลยาณมิตร ที่มีวิสัยทัศน์ คุณค่า เป้าหมาย และภารกิจร่วมกัน โดยทำงานร่วมกันแบบทีมเรียนรู้ที่ครูเป็นผู้นำร่วมกัน และผู้บริหารแบบผู้ดูแล สนับสนุน สู่การเรียนรู้และพัฒนาวิชาชีพเปลี่ยนแปลงคุณภาพตนเอง สู่คุณภาพการจัดการเรียนรู้ที่เน้น ความสำเรจ็ หรอื ประสิทธิผลของ ผเู้ รียนเป็นสำคญั และความสุขของการทำงานรว่ มกันของสมาชกิ ในชุมชน ประเด็นที่ 1 ผลดีต่อครูผู้สอน พบวา่ PLC ส่งผลตอ่ ครผู ู้สอน กลา่ วคือ ลดความรู้สกึ โดดเด่ียวงานสอน ของครูเพิ่มความรู้สึกผูกพันต่อพันธะกิจและเป้าหมายของโรงเรียนมากขึ้นโดยเพิ่มความกระตือรือร้นที่จะ ปฏิบัติให้บรรลุพันธะกิจอย่างแข็งขันจนเกิดความรู้สึกว่าต้องการร่วมกันเรียนรู้และรับผิดชอบต่อพัฒนาการ โดยรวมของนักเรียน ถือเป็น “พลังการเรียนรู้” ซึ่งส่งผลให้การปฏิบัติการสอนในชั้นเรียนให้มีผลดียิ่งข้ึน

10 กล่าวคือ มีการค้นพบความรู้และความเชื่อที่เกี่ยวกับวิธีการสอน และตัวผู้เรียนซึ่งที่เกิดจากการคอยสังเกต อย่างสนใจ รวมถึงความเข้าใจในด้านเนื้อหาสาระที่ต้องจัดการเรียนรู้ได้แตกฉานย่ิงขึ้นจนตระหนักถึงบทบาท และพฤติกรรมการสอนที่จะช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ไดด้ ีที่สุด อีกทั้งการรับทราบข้อมูลสารสนเทศต่างๆ ที่จำเป็นต่อวิชาชีพได้อย่างกว้างขวางและรวดเร็วขึ้นส่งผลดีต่อการปรับปรุงพัฒนางานวิชาชีพได้ตลอดเวลา เป็นผลให้เกิดแรงบันดาลใจที่จะพัฒนาและอุทิศตนทางวิชาชีพเพื่อศิษย์ซึ่งเป็นทั้งคุณค่าและขวัญกำลังใจต่อ การปฏิบัติงานให้ดียิ่งขึ้นที่สำคัญ คือยังสามารถลดอัตราการลาหยุดงานน้อยลงเมื่อเปรียบเทียบกับโรงเรียน แบบเก่ายังพบว่ามีความก้าวหน้าในการปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการเรียนรู้ ให้สอดคล้องกับ ลักษณะผู้เรียนได้ อย่างเด่นชดั และรวดเร็วกวา่ ทพ่ี บในโรงเรยี นแบบเกา่ มคี วามผกู พันทจ่ี ะสรา้ งการเปล่ียนแปลงใหมๆ่ ให้ปรากฏ อยา่ งเดน่ ชัดและย่ังยืน ประเด็นที่ 2 ผลดีต่อผู้เรียน พบว่า PLC ส่งผลต่อผู้เรียน กล่าวคือ สามารถลดอัตราการตกซ้ำช้ัน และจำนวนชั้นเรียนที่ต้อง เลื่อนหรือชะลอการจัดการเรียนรู้ให้น้อยลง อัตราการขาดเรียนลดลง มีผลสัมฤทธ์ิ ทางการเรียนในวิชาวิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และวิชาการอ่านที่สูงขึ้นอย่างเด่นชัด เมื่อเทียบกับโรงเรียน แบบเก่า สุดทา้ ย คอื มคี วามแตกตา่ งด้านผลสมั ฤทธิ์ทางการเรียน ระหวา่ งกลมุ่ นกั เรียนทม่ี ภี มู ิหลงั ไม่เหมือนกัน และลดลงชดั เจน กล่าวโดยสรุปคือ PLC มีพัฒนาการมาจากกลยุทธ์ระดับ องค์กรที่มุ่งเน้นให้องค์กรมีการปรับตัวต่อ กระแสการเปล่ยี นแปลง ของสงั คมทีเ่ กิดขน้ึ อยา่ งรวดเรว็ โดยเรม่ิ พฒั นาจากแนวคดิ องค์กรแหง่ การเรียนรู้ และ ปรบั ประยุกต์ใหม้ คี วามสอดคลอ้ งกับบรบิ ทของโรงเรยี นและการเรยี นรู้ร่วมกนั ในทางวชิ าชีพท่ีมีหน้างานสำคัญ คือ ความรับผิดชอบการเรียนรู้ของผู้เรียนร่วมกันเป็นสำคัญ จากการศึกษาหลายโรงเรียนในประเทศ สหรัฐอเมริกาดำเนินการ ในรูปแบบ PLC พบว่าเกิดผลดีทั้งวิชาชีพครูและผู้เรียน ที่มุ่งพัฒนาการของผู้เรียน เปน็ สำคญั E : Environment หมายถึง สิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยเอื้อต่อการเรียนรู้ ตามนโยบายของ กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ปกครอง นักเรียนและชุมชน เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยคำนึงถึงความปลอดภยั ของนักเรียน คณะครูและชุมชน สามารถจัดการเรียนการสอนที่หลากหลายและมีคุณภาพโดยมีเป้าหมายการเรียนรู้ควบคู่กับความปลอดภัย เสมอ

11

12 ขนั้ ตอนที่ 2 กระบวนการ (PROCESSES) ประกอบดว้ ย 4 กิจกรรม ได้แก่ วงจรคุณภาพ 1. การวางแผน (Plan) 2. การปฏบิ ัติ (Do) 3. การตรวจสอบ การนเิ ทศ (Check) 4. การประเมนิ ผลและการปรับปรงุ (Act) 1. การวางแผน (Plan) ผู้บริหาร คณะครู คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้เกี่ยวข้องร่วมวางแผนค้นควา้ สํารวจข้อมูลสภาพปัจจุบันสภาพการดําเนินงาน การศึกษาของโรงเรียน ร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาร่วมกัน กำหนดสภาพความต้องการ ร่วมมือกันกำหนดยุทธศาสตร์ในการ พัฒนา กำหนดกิจกรรมนําไปทำแผนพฒั นา สภาพปัจจุบันการดำเนินการและปัญหาศึกษาสภาพ ปัจจุบันการดําเนินงานของโรงเรียน งบประมาณ บุคลากรที่รับผิดชอบ สำหรับการวางแผน โรงเรียนได้นํารูปแบบการบริหารที่ยึดโรงเรียนเป็นฐานในประเด็น หลักการกระจายอำนาจหลักการมีส่วนร่วมและหลักการคืนอำนาจมาใช้ในการวางแผน 2. การปฏบิ ตั ิ (Do) ผทู้ เ่ี กีย่ วข้องได้นาํ แผนปฏิบัตริ าชการประจำปลี งสู่การปฏบิ ตั ิ ตามโครงการทีไ่ ด้รับ อนุมัติจากคณะกรรมการสถานศึกษา อย่างเป็นระบบตลอดปีการศกึ ษานําเครือข่าย การเรียนรู้มาเป็นตัวชว่ ย เสริมในการจัดการศกึ ษา ท้งั ทางดา้ นงบประมาณ บุคลากรและแหล่งเรียนรู้ สำหรับดา้ นการปฏิบตั ิ โรงเรียนได้ นํารูปแบบการบริหารที่ยดึ โรงเรียนเป็นฐานในประเด็น หลักการบริหารจดั การตนเองหลักการมีส่วนร่วมมาใช้ เสรมิ ในการปฏิบัติ 3. การตรวจสอบการนิเทศ (check) เมื่อคณะครูนําแผนงานโครงการต่าง ๆ สู่การปฏิบัติ ผู้เกี่ยวขอ้ ง ทั้งผู้บริหารและผู้รับผิดชอบ คอยนิเทศกำกับ ติดตาม ประเมินผลระหว่างการปฏบิ ัติ แก้ไขปรับปรุงให้ทันทว่ ง ทีอ่ ย่เู สมอโรงเรยี นได้นํารูปแบบการบริหารท่ียึดโรงเรยี นเปน็ ฐานในประเด็น หลักการกระจายอำนาจหลกั การมี ส่วนรว่ มมาใช้เสริมแรงทางบวกในการปฏบิ ตั ิ 4. การประเมินผลและการปรับปรุง (Act) เป็นการประเมินผลหลังเสร็จสิ้นการดำเนินโครงการ หรือ เป็นการประเมินหลงั สนิ้ แต่ละภาคเรยี น ซ่ึงโรงเรยี นมกี ารประเมินอย่างน้อยปี การศึกษาละ 2 คร้งั โรงเรียนได้ นํารูปแบบการบรหิ ารทีย่ ึดโรงเรยี นเป็นฐานในประเด็น หลกั การกระจายอำนาจหลักการมีสว่ นรว่ มหลักการคืน อำนาจและหลักการตรวจสอบถ่วงดุลมาใชเ้ สริมในการปฏิบัติ ดังแผนภาพ

13 ขนั้ ตอนท่ี 3 ผลผลติ Product (output/outcome) คอื คุณภาพผเู้ รียน การบริหารงานแบบมีส่วนรว่ มภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยใช้รูปแบบ SMILE MODEL ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลตอ่ การพัฒนาคณุ ภาพผ้เู รยี นในด้านต่างๆอยา่ งเตม็ ศกั ยภาพ ขนั้ ตอนท่ี 4 ข้อเสนอแนะ/ปรับปรุง (FEEDBACK) ข้นั ตอนนีเ้ ปน็ ขัน้ ตอนสุดทา้ ยรูปแบบการบริหารงานแบบมีสว่ นร่วมภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยใช้รูปแบบ SMILE MODEL ที่จะรับรู้ถึงปัญหาทั้งหมด จากข้อเสนอแนะ ข้อคิดเห็นต่างๆ และคำติชม ซึ่งจะเป็นข้อมูลย้อนกลับให้เห็นจุดเด่นจุดด้อยของแผนงาน ขั้นตอนการปฏิบัติงานและกระบวนการการดำเนินงาน โดยใช้หลัการวิจัยมาศึกษาแนวทางแก้ปัญหาและ ปรบั ปรงุ พฒั นางานต่อไป ผลสำเร็จการบรหิ ารงานแบบมสี ่วนร่วมภายใตส้ ถานการณ์การแพรร่ ะบาดของโรคตดิ เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยใช้รูปแบบ SMILE MODEL รางวลั ท่สี ถานศกึ ษาไดร้ บั ปกี ารศกึ ษา 2563 ประเภท ชอื่ รางวัล ระดบั หนว่ ยงาน ที่มอบรางวัล สถานศกึ ษา - เปน็ โรงเรยี นทีม่ ผี ลการประเมินการ  เขตพน้ื ที่ / จังหวดั สำนักงานเขตพน้ื ที่ โรงเรยี น จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต  ภาค / ประเทศ การศึกษาประถมศกึ ษา บา้ นหนองปากดง ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อยู่ใน  นานาชาติ กาญจนบรุ ี เขต 1 ระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม ให้ไว้ ณ วนั ท่ี ๒๔ กนั ยายน ๒๕๖๓ - โรงเรียนคุณธรรม ระดับ ๒ ดาว ก ิ จ ก ร ร ม โ ร ง เ ร ี ย น ด ี ต ้ อ ง ม ี ท ี ่ ยื น โครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ปีการศึกษา ๒๕๖๓ ให้ไว้ ณ วันท่ี ๒๕ พฤศจกิ ายน ๒๕๖๓ ผบู้ ริหาร - ครูดีไมม่ ีอบายมุข  เขตพื้นที่ / จงั หวดั - สำนกั งานเครือขา่ ยองค์กร นางสาวสรุ ีย์พร พณิ พาทย์ ประจำปีการศกึ ษา ๒๕๖๓  ภาค / ประเทศ งดเหล้า  นานาชาติ - สำนกั งานคณะกรรม การการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน - มหาวิทยาลัยมหา จุฬาลงกรณร์ าชวิทยาลยั

14 ผ้บู รหิ าร - โรงเรียนที่มีวิธีปฏิบัติเป็นเลศิ (Best  เขตพ้นื ที่ / จังหวดั สำนักงานเขตพ้ืนที่ นางสาวสุรียพ์ ร พณิ พาทย์ Practice) การจดั การศกึ ษาทางไกล  ภาค / ประเทศ การศึกษาประถมศกึ ษา ผา่ นดาวเทยี ม DLTV รางวัลเหรียญ  นานาชาติ กาญจนบุรี เขต 1 ทอง ระดับดเี ย่ียม ครู - ได้รับรางวัล ครูผู้สอนกลุ่มสาระ  เขตพน้ื ที่ / จังหวัด - สำนักงานเครือขา่ ยองค์กร นางสพุ ัตรา แสงอรณุ การเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และ  ภาค / ประเทศ งดเหลา้ วัฒนธรรม ดเี ด่น ประจำปีการศึกษา  นานาชาติ - สำนกั งานคณะกรรม ๒๕๖๓ การการศึกษาขน้ั พน้ื ฐาน - ครดู ีไมม่ ีอบายมขุ - มหาวทิ ยาลัยมหา ประจำปีการศกึ ษา ๒๕๖๓ จฬุ าลงกรณ์ราชวิทยาลัย ครู - ครดู ไี มม่ ีอบายมุข  เขตพื้นท่ี / จงั หวดั - สำนกั งานเครอื ข่ายองค์กร นางจดิ าภา สงวนจิตต์ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๓  ภาค / ประเทศ งดเหล้า  นานาชาติ - สำนกั งานคณะกรรม การการศึกษาขน้ั พนื้ ฐาน - มหาวิทยาลัยมหา จุฬาลงกรณร์ าชวทิ ยาลยั ครู - ครูดไี ม่มีอบายมุข  เขตพื้นท่ี / จังหวัด - สำนกั งานเครือขา่ ยองค์กร นางสาวรชั ชนก ศรจั ันทร์ ประจำปกี ารศกึ ษา ๒๕๖๓  ภาค / ประเทศ งดเหลา้  นานาชาติ - สำนกั งานคณะกรรม การการศึกษาขั้นพน้ื ฐาน - มหาวทิ ยาลัยมหา จฬุ าลงกรณร์ าชวทิ ยาลัย

15 การมสี ว่ นรว่ มของหนว่ ยงานภาครฐั เอกชน ชุมชน และผู้สนับสนุนการจัดการศึกษา โรงเรียนบ้านหนองปากดง ดา้ นการบรหิ ารจดั การท่วั ไปของสถานศกึ ษา 1. จัดทำระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเป็นรูปธรรม เช่น ออกเยี่ยมบ้านนักเรียนร่วมกับคณะครูทุกคน ครบทุกบ้าน 100% พร้อมทั้งเก็บข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนเพื่อหาแนวทางการช่วยเหลืออย่างเป็น ระบบ เช่น จัดโครงการทุนปัญญา มอบทุนการศึกษาแก่ผู้เรียน ทุน กคศ. ปัจจัยพื้นฐานนักเรียนยากจน เปน็ ตน้ 2. ได้รับงบประมาณโครงการส่งเสริมสนับสนุนการบริหารจัดการอาหารนักเรียนในโรงเรียน กิจกรรมการพฒั นาระบบสุขาภิบาลที่ดีในโรงเรยี น งบประมาณ 72,000 บาท 3. จัดทำโครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19) โดยได้รับการ สนบั สนนุ งบประมาณจากกองทุนหลกั ประกนั สุขภาพองค์การบริหารสว่ นตำบลหนองไผ่ 78,880 บาท 4. จัดทำคำของบประมาณจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรีเขต 1 เพื่อปรับปรุง ซ่อมแซมอาคารเรียนและอาคารประกอบ งบประมาณ 300,000 บาท 5. ไดร้ บั การสนับสนุนรองเทา้ นักเรียนจากบรษิ ัท S.C.S จำกดั จำนวน 92 คู่ มูลคา่ 23,000 บาท 7.จัดทำโครงการพัฒนาทักษะชีวิตเพาะเห็ดนางฟ้า โดยได้รับการสนับสนุนโรงเรือนและก้อนเชื้อเห็ด 2,000 ก้อน จากบริษทั น้ำตาลไทยเพมิ่ พนู อตุ สาหกรรมจำกดั งบประมาณ 70,000 บาท 6. ดูแลปรับปรุงอาคารสถานที่ให้มีความสะอาด ความปลอดภัย และเอื้อต่อการเรียนรู้ ตามมาตรการความ ปลอดภัยในสถานศึกษา และทาสีปรับปรุงอาคารเรียน โดยได้รับการสนับสนุนสีจากรายการไมค์ทองคำ มลู ค่า 42,000 บาท 7. การระดมทรัพยากรเพื่อการบริหารจัดการด้านการศึกษา ได้ระดมทรัพยากรจ ากทุกภาคส่วน เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษา เช่น การระดมทุนในระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์( e-Donation) งบประมาณในการปรับปรุงพัฒนาโรงเรียน และการขอความร่วมมือผู้ปกครองชุมชนในการจัดกิจกรรมต่างๆ อยา่ งต่อเนอื่ ง 8. ได้รับการสนับสนุนครุภัณฑ์ทางการศึกษา ได้แก่ โต๊ะ-เก้าอี้ สำนักงาน ตู้เก็บเอกสาร เคร่ืองคอมพิวเตอร์ เครอื่ งปรับอากาศ 25,000 BTU ฉากกั้นสำนกั งาน เตยี งหอ้ งพยาบาล จากศาลจงั หวัดกาญจนบุรี 9. ได้รับคอมพิวเตอร์จาก ครอบครัวเหล่าธรรมทัศน์ จำนวน 15 เครื่อง เพ่ือสนับสนุนการจัดการเรียนการ สอน

16 10. ไ ด ้ ร ั บ ค อ ม พ ิ ว เ ต อ ร ์ จ ำ น ว น 5 ช ุ ด Switch Hub 4 8 Port แ ล ะ Access point 4 Port จากบริษัท แมรีกอท จิวเวลรี่ ประเทศไทย จำกัด และ Access point 4 Port ภายใต้โครงการแมรีกอท เพื่อการพัฒนาชุมชนและสังคมเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนและหาความรู้จากสื่อและเทคโนโลยีให้กับ นักเรยี นโรงเรียนบา้ นหนองปากดง จากที่ทางโรงเรียนบ้านหนองปากดงได้นำการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมภายใต้สถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยใช้รูปแบบ SMILE MODEL ทำให้ คณะครู ผู้ปกครอง และชุมชนร่วมใจกันพัฒนาส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านต่างๆ และทำโรงเรียน บ้านหนองปากดง ให้มีความเจริญก้าวหน้า และที่สำคัญคือความร่วมมือของคณะกรรมการสถานศึกษาข้ัน พื้นฐาน ผู้ปกครอง และชุมชน รวมไปถึงทุกภาคส่วนที่ร่วมกันสนับสนุน ส่งเสริมในด้านต่างๆ และมีความ ปรารถนาดีที่จะให้โรงเรียนพัฒนาก้าวทันตามความเปลี่ยนแปลงของโลกและสามารถอยู่ได้อย่างมีความสุข ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรสั โคโรนา 2019 (COVID-19) การเรียนรู้ควบคู่กับความ ปลอดภยั เสมอ

ภาคผนวก


























Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook