Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore 361_รวมเล่ม2

361_รวมเล่ม2

Published by cancer stom, 2021-02-03 10:43:21

Description: 361_รวมเล่ม2

Search

Read the Text Version

แดน (2553 : Online) ได้ศึกษาพบว่า หลักสูตรในความหมายเดิม จะหมายถึง รายวิชาต่าง ๆ ที่นกั เรยี นจะต้องเรยี นสว่ นความหมายใหม่ จะหมายถงึ มวลประสบการณท์ ้ังหมดทน่ี ักเรียนจะได้ภายใต้ คาแนะนา และความรับผิดชอบของโรงเรียน หากจะสรุปความหมายของหลักสูตรจากนักการศึกษา หลายทา่ นพอจะสรปุ ไดด้ ังน้ี 1. หลักสูตรในฐานะที่เป็นวชิ าเน้อื หาสาระทจ่ี ดั ให้แก่ผู้เรยี น 2. หลกั สูตรในฐานะที่เปน็ เอกสารหลกั สตู ร 3. หลักสตู รในฐานะทเ่ี ปน็ กจิ กรรมตา่ ง ๆ ท่จี ะให้แก่นักเรยี น 4. หลักสูตรในฐานะแผนสาหรับจัดโอกาสการเรียนรู้หรือประสบการณ์ท่ีคาดหวังแก่นักเรียน 5. หลกั สูตรในฐานะทมี่ วลประสบการณ์ 6. หลักสตู รในฐานะที่เปน็ จุดหมายปลายทาง 7. หลักสูตรในฐานะทเี่ ปน็ ระบบการเรียนการสอนและกิจกรรมการเรียนการสอน ความสาคญั ของหลักสูตร พิจิตรา ธงพานิช(ทีสุกะ) (2557 : 10) ได้ศึกษาพบว่า หลักสูตรเป็นองค์ประกอบอันสาคัญย่ิง อย่างหน่ึงของการจัดการศึกษา การจัดการศึกษาประเภทและระดับใดก็ดีจะขาดหลักสตู รไปมิได้ เพราะ หลักสูตรจะเป็นโครงร่างกาหนดไว้ว่าจะให้เด็กได้รับประสบการณ์อะไรบ้างจึงจะเป็นประโยชน์ต่อเด็ก และสังคม หลักสูตรเป็นแนวทางที่จะสร้างความเจริญเติบโตให้แก่ผู้เรียน นอกจากนี้หลักสูตรยังเป็น เครือ่ งช้ีใหเ้ ห็นโฉมหนา้ ของสังคมในอนาคตวา่ จะเป็นอย่างไรอีกด้วย นกั การศึกษาชาวอเมริกัน ได้กล่าวเน้นความสาคัญของหลักสูตรว่า “หลักสูตรเสมือนเครื่องนา ทางให้เด็กไปสู่จดุ มุ่งหมาย หลักสูตรไม่ใช่เป็นแตเ่ พียงแนวทางการเรียนเท่าน้ัน ยังรวบรวมรายการและ ปญั หาต่าง ๆ ไวอ้ ีกด้วย หลักสูตรไม่ใช่เนอื้ หาวิชาแต่เป็นกจิ กรรมท้ังหมดท่ีนาเขา้ มาในโรงเรียน” ในการจัดการศกึ ษาท่จี ะบรรลเุ ป้าหมายได้น้ันตอ้ งอาศัยหลกั สตู รเปน็ เครื่องมือนาไปสู่การบรรลุ เป้าหมายดังกล่าว ถ้าปราศจากหลักสูตรเสียแล้ว การจัดการศึกษาจะไม่มีวันสาเร็จลุล่วงไปตาม เป้าหมายของการจัดการศึกษาท่ีกาหนดไว้ได้เลย หลักสูตรจึงเปรียบเสมือนหัวใจสาคัญของการจัด การศกึ ษาทีเดยี ว ใจทิพย์ เชื้อรัตนพงษ์ (2537 : 11) ได้ศึกษาพบว่า การจัดการศึกษาแก่เยาวชนและประชากร ของประเทศนั้น จะต้องมีแนวทางในการจัดการศึกษาที่ให้เยาวชนในแต่ละวัย แต่ละระดับการศึกษา ได้รับการศึกษาทัดเทียมกัน และบรรลุจุดมุ่งหมายท่ีกาหนดไว้ ดังน้ันจึงต้องมีหลักสูตรเพ่ือเป็นแนวทาง และเป็นเกณฑ์มาตรฐานทางการศึกษาสาหรับควบคุมการเรียนการสอนในแต่ละระดับการศกึ ษา การท่ี จะทราบว่าการศึกษาในระดับต่างๆ จะดีหรือไม่ดี สามารถศึกษาได้จากหลักสตู รการศึกษาในระดับน้ันๆ ของประเทศ เพราะหลักสูตรเป็นเคร่ืองมือในการแปลงจุดมุง่ หมายและนโยบายทางการศึกษาของชาติสู่ การปฏิบัติในสถาบันการศึกษาระดับต่างๆ หลักสูตรจะเป็นเสมือนกับหางเสือท่ีคอยกาหนดทิศทางให้ การเรียนการสอนเป็นไปตามความมุ่งหมายของการศึกษา หรือกล่าวอีกนัยหน่ึงคือ หลักสูตรเป็นเคร่ือง ช้ีนาทางในการจัดความรู้และประสบการณ์แก่ผู้เรียนซึ่งครู จะต้องปฏิบัติตามเพื่อให้ผู้เรียนได้รับ การศึกษาที่มุ่งสู่จุดหมายเดียวกัน หลักสูตรจึงเป็นหัวใจสาคัญของการศึกษา และเป็นเคร่ืองชี้ถึงความ เจริญของชาติ ถ้าประเทศใดมหี ลกั สูตรท่เี หมาะสม ทันสมยั และมีประสทิ ธภิ าพ คนในประเทศนน้ั กย็ อ่ ม มีความรู้และศักยภาพในการพัฒนาประเทศได้อยา่ งเต็มท่ี กิตติคม คาวีรัตน์ (2554 : 31) ได้ศึกษาพบว่า หลักสูตรมีความสาคัญอย่างยิ่งต่อการจัด การศึกษา ไม่ว่าจะจัดการศึกษาประเภทใดและระดับใด ก็จะขาดหลักสูตรไม่ได้ เพราะหลักสูตรเป็น 51

โครงร่างท่ีกาหนดไว้ว่าจะให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์อะไรบ้างจึงจะเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนและสังคม หลักสูตรเปน็ แนวทางท่ีจะสร้างความเจริญเติบโตให้แก่ผู้เรียน นอกจากนี้หลักสูตรเป็นเครื่องมือทานาย ลกั ษณะของสังคมในอนาคตว่าจะเป็นอย่างไร นักการศึกษาบางท่านยังได้เน้นความสาคัญของหลักสูตร ว่าหลักสูตรเปรียบเสมือนเคร่ืองนาทางทาให้ผูเ้ รียนได้บรรลุจุดมุ่งหมาย หลักสูตรไม่ใช่เป็นเพียงแต่แนว ทางการเรียนการสอนเท่านั้น ยังรวบรวมรายการและปัญหาต่างๆ ไว้อีกด้วย หลักสูตรไม่ใช่เน้ือหาวิชา แตเ่ ป็นกจิ กรรมทัง้ หมดทน่ี าเข้ามาในโรงเรียน สุนีย์ ชุ่มจิต (2548 : 15) ได้ศึกษาพบว่า หลักสูตรเป็นเครื่องช้ีแนะแนวทางที่สาคัญทาง การศึกษา ท่ีทาให้กุลบุตรกุลธิดาได้รับความรู้ เจตคติ และทักษะ ที่จะทาให้การดาเนินชีวิตอยู่ในสังคม ได้อย่างมีความสุข ถ้าเปรียบความมุ่งหมายทางการศึกษาเป็นอุดมคติแล้ว หลักสูตรก็เหมือนเป็น โครงการของการปฏิบตั ิ เพ่ือให้อุดมคตนิ นั้ บรรลุเปา้ หมายทีก่ าหนดไว้ องคป์ ระกอบของหลักสตู ร (Curriculum Component) แดน (2553 : Online) ได้ศึกษาพบว่า องค์ประกอบของหลักสูตร ทาให้ผู้ใช้หลักสูตรทราบ แนวทางในการนาหลักสูตรไปใช้ได้อย่างสอดคล้องและเหมาะสมกับเจตนารมณ์ของหลักสูตร พอสรุป จากแนวคดิ เกยี่ วกบั องค์ประกอบของหลักสูตร ดังนี้ 1. จุดมุ่งหมายของหลักสูตร (Curriculum Aims) หมายถึง ความต้ังใจหรือความคาดหวังท่ี ต้องการให้เกิดข้ึนในตัวผู้ที่จะผ่านหลักสูตรจุดมุ่งหมายของหลักสูตรมีความสาคัญเพราะเป็นตัวกาหนด ทิศทางและขอบเขตในการให้การศกึ ษาแก่ผ้เู รยี น 2. เน้อื หา (Content) หมายถึง เนื้อหาประสบการณ์การเรยี นรู้ตา่ ง ๆ ทค่ี าดว่าจะช่วยให้ผู้เรยี น พัฒนาไปสู่จุดมุ่งหมายที่กาหนดไว้ โดยดาเนินการตั้งแต่การเลือกเน้ือหาและประสบการณ์การ เรียงลาดบั เนือ้ หาสาระ พร้อมทัง้ การกาหนดเวลาเรยี นท่เี หมะสม 3. การนาหลักสูตรไปใช้ (Curriculum Implementation) หมายถึง การนาหลักสูตรไปสู่การ ปฏวิ ัติ ซ่ึงประกอบด้วยกจิ กรรมตา่ ง ๆ(การจัดทาวัสดหุ ลักสตู ร ไดแ้ ก่ คู่มือครู เอกสารหลกั สูตร แผนการ สอน และแบบเรียน ฯลฯ) การจัดเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรและส่ิงแวดล้อม (การจัดโต๊ะเก้าอี้ ห้องเรียนวัสดุอุปกรณ์ในการเรียน จานวนครูและสิ่งอานวยความสะดวกต่างๆ), การดาเนินการสอน 4. การประเมินผลหลักสูตร (Evaluation) หมายถึง การหาคาตอบว่า หลักสูตรสัมฤทธิผล ตามท่กี าหนดไวใ้ นจดุ มงุ่ หมายหรือไม่มากน้อยเพยี งใดและอะไรเปน็ สาเหตุ พิจิตรา ธงพานิช(ทีสุกะ) (2557 : 11-14) ได้ศึกษาพบว่า องค์ประกอบตามหลักสูตรอาจจะ แตกต่างกนั บ้างในรายละเอียด แต่สว่ นใหญ่มีประเดน็ หรือองคป์ ระกอบที่สาคัญเหมอื นกันอย่างครบถว้ น ซงึ่ จะชว่ ยใหผ้ ้ใู ชห้ ลักสตู รสามารถไปใช้หลกั สตู รไดอ้ ยา่ งมปี ระสิทธิภาพ องคป์ ระกอบทีส่ าคญั คือ จดุ มุ่งหมายของหลกั สตู ร (Curriculum Aims) จุดมุ่งหมายของหลักสูตร หมายถึง ความต้ังใจหรือความคาดหวังท่ีต้องการให้เกิดข้ัน ในตัวผู้ที่จะผ่านหลักสูตรจุดมุ่งหมายของหลักสูตรมีความสาคัญเพราะเป็นตัวกาหนดทิศทางและ ขอบเขตในการศึกษาแก่เด็กช่วยในการเลือกเน้ือหาและกิจกรรม ตลอดจนใช้เป็นมาตรการอย่างหน่ึงใน การประเมินผล จุดมุง่ หมายของการศึกษามีหลายของระดับ ได้แก่ จุดมงุ่ หมายหลายระดับหลกั สูตรซ่ึง เป็นจุดมุ่งหมายที่บอกให้ผทู้ ่ีเกี่ยวข้องรู้เปา้ หมายของหลักสูตรนน้ั ๆ จดุ มงุ่ หมายของกลุ่มวิชา วิชาแต่ละ กลุ่มจะสร้างคุณลักษณะท่ีแตกต่างกันให้กับผู้เรียนดังนั้นแต่ละกลุ่มวิชาจึงมีจุดมุ่งหมายไว้ต่างกัน จุดมุ่งหมายรายวิชาเป็นจุดหมายท่ีละเอียดจาเพาะเจาะจงกว่าจุดมุ่งหมายกลุ่มวิชา ผู้สอนกลุ่มรายวิชา 52

จะกาหนดจุดมุ่งหมายในการสอนเนื้อหาแต่ละบทแต่ละตอนขึ้นในรูปของจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม แม้ว่าจุดมุ่งหมายทางการศึกษาจะมีระดับดังกล่าวแล้วจุดมุ่งมุ่งหมายหลายระดับย่อมสอดคล้องกันและ นาไปสจู่ ุดหมายปลายทางเดียวกนั เนอ้ื หา (content) เม่ือกาหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตรแล้ว กิจกรรมขึ้นต่อไปนี้ การเลือกเน้ือหา ประสบการณ์การเรียนรู้ต่าง ๆ ท่ีคาดว่าจะช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาไปสู่จุดมุ่งหมายท่ีกาหนดไว้ โดย ดาเนินการต้ังแต่การเลือกเนื้อหาสาระและประสบการณ์ การเรียงลาดับเนื้อหาสาระ พร้อมทั้งการ กาหนดเวลาเรียนท่ีเหมาะสม การนาหลกั สูตรไปใช้ (Curriculum implementation) เป็นการนาหลักสูตรไปสูก่ ารปฏิบัติ ซง่ึ ประกอบดว้ ยกิจกรรมต่าง ๆ เช่นการจัดทาวัสดุ หลกั สูตร ได้ คู่มือครู เอกสารหลกั สูตร แผนการสอน แนวการสอน และแบบเรียน เป็นตน้ การประเมนิ ผลหลักสตู ร (Evaluation) การประเมินผลหลักสูตร คือ การหาคาตอบว่า หลักสูตรสัมฤทธ์ิผลตามท่ีกาหนดใน จุดมุ่งหมายหรือไม่ มากน้อยเพียงใด และอะไรเป็นสาเหตุ การประเมินผลกลักสูตรเป็นงานใหญ่และมี ขอบเขตกว้างขวาง ผปู้ ระเมินจาเป็นตอ้ งวางโครงการประเมินผลไว้ล่วงหนา้ ลกั ษณะของหลกั สูตรทดี่ ี หลักสตู รเป็นแนวทางสาคัญในการจดั การเรยี นการสอน ลักษณะของหลักสูตรท่ดี จี ะนาไปสู่การ เรียนการสอนที่มปี ระสทิ ธิภาพ และเกดิ สมั ฤทธิ์ผลทางการศกึ ษา หลกั สตู รทดี่ ีควรมีดงั นี้ 1. ตรงตามความมุ่งหมายของการศกึ ษา 2. ตรงตามลักษณะของการพฒั นาการของเด็กในวัยตา่ ง ๆ 3. ตรงตามลักษณะวฒั นธรรม ขนบธรรมเนยี มประเพณเี อกลกั ษณ์ของชาติ 4. มีเน้ือหาสาระเรื่องที่สอนเพียงพอที่จะช่วยให้นักเรียนคิดเป็นและมีพัฒนาการในทุกด้าน 5.สอดคล้องกับชีวิตประจาวันของผู้เรียน คือ จัดวิชาทักษะ และวชิ าเนื้อหาให้เหมาะสมกัน ใน ที่จะส่งเสริมให้ผูเ้ รียนเจริญงอกงามทกุ ดา้ น 6. หลักสูตรท่ีดีควรสาเร็จข้ึนด้วยความร่วมมือของทุกฝ่าย เพื่อจะให้ผลดีควรจัดให้เป็น คณะกรรมการ 7. หลักสูตรที่ดีจะต้องให้นักเรียนได้เรียนรู้ต่อไป และจะต้องเรยี งลาดับความยากง่ายไม่ให้ขาด ตอนจากกัน 8. หลักสูตรท่ีดีจะต้องเป็นประสบการณ์ท่ีเก่ียวกับชีวิตประจาวันของเด็กเพ่ือให้เด็กได้มีโอกาส แกป้ ัญหาต่าง ๆ ในชีวิต เพ่อื ให้เป็นอยูอ่ ย่างผาสกุ 9. หลักสูตรที่ดีจะตอ้ งเพิม่ พนู และสง่ เสรมิ ทกั ษะเบื้องต้นที่จาเป็นของเด็ก 10 หลกั สูตรท่ีดยี อ่ มส่งเสริมใหเ้ ด็กเดความรู้ ทกั ษะ เจตคติ ความคดิ รเิ รม่ิ มคี วามคิดสร้างสรรค์ ในการดาเนนิ ชวี ติ 11 หลักสูตรท่ีดียอ่ มส่งเสริมให้เด็กทางานเป็นอิสระ และทางานร่วมกันเป็นหมู่คณะเพื่อพัฒนา ให้รจู้ ักการอยู่ร่วมกันในสังคมประชาธิปไตย 12 หลักสูตรท่ีดีย่อมบอกแนวทาง วิธีสอน และส่ืออุปกรณ์ประกอบเน้ือหาสาระที่สอนไว้อย่าง เหมาะสม 13 หลักสูตรที่ดีย่อมมีการประเมินผลอยู่ตลอดเวลา เพ่ือทราบข้อบกพร่องในการที่จะนาไป 53

ปรบั ปรงุ ให้ดียง่ิ ๆ ข้ึนไป 14 หลักสูตรท่ีดีจะต้องจัดประสบการณ์ให้เด็กเกิดความรู้ ความเข้าใจ และมีโอกาสแก้ปัญหา ตา่ ง ๆ โดยเฉพาะปัญหาครอบครัว ชุมชน ประเทศชาติ 15 หลักสูตรทดี่ ีตอ้ งสง่ เสริมใหเ้ ดก็ รูจ้ ักแกป้ ญั หา 16 หลกั สตู รที่ดตี ้องจัดประสบการณท์ มี่ คี วามหมายต่อชีวติ ของเด็ก 17 หลักสตู รทด่ี ีต้องจัดประสบการณ์และกจิ กรรมหลาย ๆ อย่าง เพ่อื เปิดโอกาสให้เดก็ ไดเ้ ลือก อยา่ งเหมาะสมตามความสนใจ ความต้องการ และความสามารถของแตล่ ะบุคคล 18 หลักสูตรท่ีดีจะต้องวางกฎเกณฑ์ไวอ้ ย่างเหมาะสมแก่การนาไปปฏิบัติและสะดวกแก่การวัด และประเมินผล ทฤษฎีการพัฒนาหลักสตู ร พิจติ รา ธงพานิช(ทีสุกะ) (2557 : 15-18) ได้ศึกษาพบว่า การศกึ ษาเป็นนากฐานของการพฒั นา ระบบสังคม การพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนท่ีเหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียน สามารถนา ความรู้ที่ได้ไปใช้ได้ในชีวิตของผู้เรียนและสามารถนาความรู้ที่ได้รับนั้นไปทาประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ได้ เป็นอย่างดี ซ่ึงหลักสูตรจัดเป็นหัวใจหลักของการพัฒนาศึกษา มีการผสมผสานมโนทัศน์ความคิดรวบ ยอดเกี่ยวกับแนวทางและความเป็นไปได้ของการจัดการศึกษาที่มีระบบ และได้นาทฤษฎีทางการศึกษา มาปรับประยุกต์ใช้ให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับการจัดการศึกษา ซ่ึงจะสะท้อนคุณค่าของการ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในแต่ละสังคมด้วยทฤษฎีหลักสูตร เน้ือหาสาระในบทนี้กล่าวถึงทฤษฎีหลักสูตร การสร้างทฤษฎีหลักสูตร การพัฒนาหลักสูตร หลักการพัฒนาหลักสูตร การวางแผนพัฒนาหลักสูตร และกระบวนการพฒั นาหลกั สตู ร ทฤษฎหี ลกั สตู ร ทฤษฎีต่าง ๆ เกิดจากข้อเท็จจริงซึ่งค้นพบได้จากการใช้การพิสูจน์ และการใช้สรุปจากกฎที่ต้ัง ไว้จากการสังเกต มิใช่อาศัยเหตุและผลและนามาสรุปไว้เป็นกฎและหลักการ ทฤษฎีเก่ียวกับการ สังเคราะห์และนาไปสู่การสร้างกฎท่ีใช้ได้ทั่วไป มีความเป็นสากล (Universal) สามารถพสิ ูจน์ทดลองได้ (Testable) และมีส่วนประกอบ (Element) ที่เหมือนกัน ทฤษฎีทาหน้าท่ี อธิบาย และความหมายเพื่อ เป็นแนวทางในการดาเนินงานที่มีระเบียบแบบแผน นาไปสู่การคาดคะเนข้อมูลได้โดยอิงหลักฐานเชิง ประจักษ์ และนาไปสู่การยืนยันว่าทฤษฎีที่ต้ังข้ึนมีความถูกต้องและน่าจะเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด ทฤษฎีหลักสูตรเป็นคาอธิบายสิ่งต่าง ๆ เกี่ยวกับการใช้หลักสูตร การสร้างหลักสูตร การพัฒนาหลกั สูตร การประเมนิ ผลหลักสูตร และการนาผลทีไ่ ด้รับจากการประเมนิ ผลมาปรับปรงุ แก้ไข หลักสูตร (Kelly.2009) โดยเน้นการบรรยายถึงสิ่งต่าง ๆ ท่ีแสดงความสัมพันธ์ซ่ึงกันและกันระหว่าง จุดมุ่งหมายกับเน้ือหาวิชา ระหว่างเน้ือหาวิชาและโครงสร้างของหลักสูตรท้ังหมด ปรัชญาต่าง ๆ ท่ีมี อิทธิพลต่อการวางจุดมุ่งหมาย สภาพความจริงในสังคม แบะบทบาทของการศึกษาในสังคม (Gardner and others.2000) โดยสภาพความจริงแล้วทฤษฎีและปฏิบัติมีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กันอย่าง ใกล้ชิดทฤษฎีจะอธิบายให้เข้าใจถึงความสัมพันธ์ของเหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งการปฏิบัติจะดาเนินการอยู่ ภายในขอบเขตของทฤษฎีท่ีกล่าวไว้ กล่าวอีกนัยหน่ึงก็คือทฤษฎีจะเป็นส่ิงกาหนดแนวทางของการ ปฏิบัตินั่นเอง โดยเหตุน้ีทฤษฎีจึงเป็นของคู่กันและจะต้องไปด้วยกันในการสนับสนุนการปฏิบัติงานให้ บรรลุความสาเรจ็ ตามเปา้ หมาย การศึกษาเก่ียวกับทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตร พบว่า มีคาหลายคาท่ีมีความหมายคล้ายคลึงกัน 54

และสามารถใช้แทนกันได้ ได้แก่ Curriculum – Planning, Curriculum Development, Curriculum Construction, Curriculum – Improvement, และ Curriculum Revision มคี วามหมายแตกต่างกนั ดังน้ี Curriculum – Planning หมายถึง กระบวนการในการสร้างหลกั สูตร กล่าวถึงหลกั สูตรในรูปสิ่งท่ี คาดหวัง หรือท่ีเป็นแผนอย่างหน่ึง Curriculum Development หมายถึง การสร้าง Curriculum Materials รวมท้ังสื่อการเรียนที่นักเรียนใช้ไม่ใช่การวางแผนหลักสูตรแต่จะเป็นผลที่เกิดจากการ วางแผนหลักสูตร Curriculum Construction และ Curriculum Revision เป็นคาที่ใช้มาแต่ดั้งเดิม หมายถึง การเขียนและการปรับปรุงรายวิชาที่ศึกษา Curriculum – Improvement หมายถึง การ ปรับปรุงหรือการวางแผนหลักสูตรในส่วนท่ีเป็นเป้าประสงค์มากกว่า ท่ีหมายถึงกระบวนการในการ วางแผนหรือพฒั นาหลกั สูตร ทฤษฎีเกย่ี วกบั วชิ าและเนื้อหาวชิ าที่จะ นาไปสอน โบแชมพ์ (Beauchamp 1981:77) (อ้างใน พิจิตรา ธงพานิช(ทีสุกะ) 2557 : 18) ได้นาเสนอ แนวคิดทฤษฎีการออกแบบหลักสูตรเป็น 2 ลักษณะ คือ ทฤษฎีการออกแบบหลักสูตร (Design Theories) และทฤษฎีวิศวกรรมหลักสูตร (Engineering theories) 1. ทฤษฎีการออกแบบหลักสูตร ( Design Theories) การออกแบบหลักสูตร (Curriculum Design) หมายถึง การจัดแบ่งองค์ประกอบของหลักสูตรได้แก่ จุดมุ่งหมาย เนื้อหาสาระ วิธีการจัดกิจกรรม จุดมุ่งหมายทั่วไปและจุดมุ่งหมายเฉพาะ แนวทางการนาหลักสูตรไปใช้สู่การจัดการ เรยี นการสอนและการวดั ผลประเมินผล 2. ทฤษฎีวิศวกรรมหลักสูตร (Engineering theories) ทฤษฎีวิศวกรรมหลักสูตร (Engineering theories) หมายถึง กระบวนการทุกอย่างท่ีทาให้ระบบหลักสูตรเกดิ ขน้ึ ในโรงเรียน ได้แก่ การสร้างหรอื จดั ทาหลกั สูตร การใชห้ ลักสูตร และการประเมิน ประสทิ ธิภาพหลักสูตร และการประเมิน ระบบหลักสูตร รูปแบบหลักสูตรที่มีคุณภาพท่ีสามารถสร้างประสบการณ์แก่ผู้เรียนได้มีหลายรูปแบบ ได้แก่ รูปแบบการบริหาร รูปแบบการปฏิบัติการ รูปแบบ การสาธิต รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติ และ รูปแบบการใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานสาหรับการกาหนดหลักสูตร ทฤษฎีหลักสูตรจะช่วยในการ บริหารงานเกี่ยวกบั หลักสูตรให้มหี ลักเกณฑ์ หลักการ และระบบมากยิ่งข้นึ เช่น การสร้างหลักสูตร การ พฒั นาหลักสูตร และการประเมินหลักสูตรการจัดบคุ ลากรเกี่ยวกับหลักสูตร การทาใหอ้ งค์ประกอบของ หลกั สตู รทจ่ี ะนาไปใช้ใหเ้ กิดประสทิ ธิภาพมากขน้ึ บทสรปุ หลักสูตรเป็นกระบวนการท่ีจะสร้างหรือพัฒนาเด็กให้มีคุณสมบัติตามที่ผู้จัดต้องการ ประเด็น คาถามอยู่ที่ว่า แท้ที่จริงแล้วคนไทยที่เราต้องการเป็นอย่างไรและสังคมต้องการอะไรจึงเป็นประเด็น พื้นฐานที่สาคัญ ในการวิเคราะห์ประเด็นการตอบสนองต่อสังคมนี้ โดยทัว่ ไปจะมีผู้นาทางความคิดหลัก ๆ อยู่เสมอ ในเร่ืองหลักสูตรก็เชน่ เดียวกัน เมอ่ื สังคมมีแนวทางแล้ว คนท่ีจะมีบทบาทมากก็คือครู เพราะ เป็นผูท้ ่ีอยู่ใกล้ชดิ กบั ผู้เรียนมากท่สี ุด ครเู ปน็ ทัง้ ปัจจัยสนบั สนนุ และปัจจัยปญั หา รวมท้ังอุปสรรคต่าง ๆ โดยเฉพาะข้อมูลท่ีเกิดจากการวิจัยค้นคว้าซึ่งล้วนเป็นความเข้าใจพ้ืนฐานท่ีผู้บริหารควรศึกษาเพื่อการ บรหิ ารหลกั สูตรท่ดี ี หลักสูตรมีความสาคัญอย่างยิ่งต่อการจัดการศึกษา ไม่ว่าจะจัดการศึกษาประเภทใดและระดับ ใด ก็จะขาดหลักสูตรไม่ได้ เพราะหลักสูตรเป็นโครงร่างที่กาหนดไว้ว่าจะให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ อะไรบา้ งจงึ จะเป็นประโยชนต์ อ่ ผูเ้ รยี นและสงั คม หลกั สูตรเป็นแนวทางท่จี ะสรา้ งความเจริญเตบิ โตใหแ้ ก่ 55

ผู้เรียน นอกจากน้ีหลักสูตรเป็นเคร่ืองมือทานายลักษณะของสังคมในอนาคตว่าจะเป็นอย่างไร นัก การศกึ ษาบางทา่ นยังได้เน้นความสาคัญของหลกั สตู รว่าหลกั สูตรเปรียบเสมือนเครื่องนาทางทาให้ผเู้ รยี น ได้บรรลุจุดมุ่งหมาย หลักสูตรไม่ใช่เป็นเพียงแต่แนวทางการเรียนการสอนเท่านั้น ยังรวบรวมรายการ และปญั หาตา่ ง ๆ ไวอ้ ีกด้วย หลักสูตร ประกอบด้วยจุดมุ่งหมาย เน้ือหาสาระ การเรียนการสอน และการวัดผลประเมินผล ทฤษฎีหลักสูตรก็คือแนวคิดในการพัฒนาหลักสูตร แบ่งออกเป็นทฤษฎีการออกแบบ องค์ประกอบของหลักสูตร ได้แก่ จุดมุ่งหมาย เนื้อหาสาระ วิธีการจัดกิจกรรม จุดมุ่งหมาย ทั่วไปและ จุดมุ่งหมายเฉพาะแนวทางการนาหลักสูตรไปใช้สู่การจัดการเรียนการสอนและการวัดผล ประเมินผล และทฤษฎวี ิศวกรรมหลกั สตู รโรงเรียน ไดแ้ ก่ การสรา้ งหรือจดั ทาหลักสูตร โครงสรา้ ง ของหลักสตู ร การ ใช้หลักสตู ร และการประเมินประสิทธภิ าพหลักสูตรและการประเมินระบบหลกั สูตร คาถามทบทวน 1. การพัฒนาหลักสตู ร มคี วามหมายวา่ อย่างไร จงอธบิ าย 2. ทฤษฎหี ลกั สูตร มีความสาคญั อย่างไร จงอธิบาย 3. ถา้ หลักสูตรระดบั ชาติมกี ารเปลี่ยนแปลง หลักสตู รระดับท้องถิ่นจะต้องมีการเปล่ยี นแปลงด้วยหรอื ไม่ เพราะเหตใุ ด จงอธบิ าย 4. เพราะเหตุใดจึงมีข้อกาหนดว่า การพัฒนาหลักสูตร จาเป็นต้องศึกษาข้อมูลพื้นฐานด้านข้อมูลที่ เก่ยี วกับตวั ผ้เู รยี น จงอธิบาย 5. เพราะเหตุใดจงึ ต้องศกึ ษาแนวคดิ การพัฒนาหลกั สูตรสู่มาตรฐานสากล จงอธบิ าย เอกสารอ้างองิ กติ ตคิ ม คาวีรตั น์. (2554). การพฒั นาหลกั สูตร : ทฤษฎีเพื่อการปฏิบตั ิ. ม.ป.ท. แดน. 2553. องค์ประกอบของหลักสูตร. [Online] ค้นจาก http://course-4.blogspot. com/2010/07/curriculum-component.html ใจทิพย์ เช้ือรัตนพงษ์. (2539). การพัฒนาหลักสตู ร: หลักการและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: อลีน เพรส. ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2561). หลักคิดการจัดหลักสูตรและการสอน. (พิมพ์คร้ังท่ี 4). กรุงเทพฯ: สานักพมิ พแ์ ห่งจุฬาลงกรณม์ หาวิทยาลยั . พิจิตรา ธงพานิช(ทีสุกะ). (2557). การพัฒนาหลักสูตร ทฤษฎี หลักการ แนวคิด ทิศทาง แนวโนม้ . ม.ป.ท. ราชบัณฑิตยสถาน. 2556. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2556. [Online] ค้นจาก http://www.royin.go.th/?page_id=130 สุนีย์ ชุ่มจิต. (2548). หลักสูตรและการจดั การศึกษาข้นั พน้ื ฐาน. ม.ป.ท. 56

แผนบริหารการสอนประจาบทท่ี 4 หวั ข้อเนื้อหา เน้ือหาสาระในบทน้ีประกอบด้วย รปู แบบของหลกั สตู ร หลักสตู รบูรณาการ หลักสูตรกว้าง หลกั สูตรประสบการณ์ หลกั สูตรรายวิชา หลกั สูตรแกน หลักสตู รแฝง หลักสูตรสมั พนั ธว์ ิชา หลักสตู รเกลยี วสวา่ น หลกั สูตรสูญ วตั ถปุ ระสงคเ์ ชงิ พฤตกิ รรม เม่ือเรยี นบทเรยี นนจี้ บแลว้ นักศึกษามีความสามารถ ดงั นี้ 1. บอกลักษณะเฉพาะของหลักสตู รได้ 2. เลือกใชห้ ลกั สูตรไดเ้ หมาะสมกับผเู้ รียน วิธสี อนและกจิ กรรมการเรยี นการสอน 1. วธิ สี อน 1.1 บรรยาย 1.2 การอธิบาย 1.3 การประชุมกลมุ่ ย่อย 1.4 การวิเคราะหเ์ นื้อหา ทฤษฎี 1.5 การถาม-ตอบ 1.6 การอภปิ ราย แลกเปลีย่ นเรยี นรู้ 2. กิจกรรมการเรียนการสอน กิจกรรมการเรยี นการสอนเร่ืองความรู้พน้ื ฐานเกย่ี วกบั หลกั สูตร มีดงั นี้ 2.1 ผู้สอนทบทวนแนวคิดเก่ียวกับหลักสูตร โดยใช้กระบวนการ ถาม-ตอบและ อภิปราย 57

2.2 ผ้สู อนบรรยายเรอื่ งรูปแบบของหลกั สตู ร 2.3 ผสู้ อนให้ผ้เู รียนแบง่ กลุ่มอภิปรายเร่ืองรูปแบบของหลักสตู ร 2.4 ผู้สอนใหผ้ ู้เรยี นแต่ละกลุ่มนาเสนอผลของการเรียนรู้ สื่อการเรียนการสอน ส่ือการเรียนการสอนที่ใชป้ ระกอบกจิ กรรมการเรียนการสอน มีดงั นี้ 1. เอกสารประกอบการเรยี นการสอน “การพฒั นาหลกั สูตร” 2. ตารา หนังสือเรียนเกีย่ วกับการพัฒนาหลักสตู ร 3. Power point ความรูต้ า่ ง ๆ 4. เครอื ขา่ ยการเรียนรทู้ างอินเทอรเ์ น็ตเกย่ี วกบั การพัฒนาหลักสตู ร การวัดและการประเมินผล การวัดผลและประเมินผลการเรยี นรู้ มดี งั นี้ 1. สังเกตพฤติกรรมการตอบคาถาม 2. สังเกตพฤติกรรมการแสดงความคิดเห็น ขอ้ เสนอท่ใี ช้ในการอภปิ ราย 3. การทาแบบฝึกหัด 58

บทที่ 4 รูปแบบของหลกั สูตร หลักสูตรแต่ละหลักสูตรจะมีรูปแบบ หรือลักษณะเฉพาะท่ีแตกต่างกันออกไป ปัจจัยสาคัญท่ี ส่งผลให้หลักสูตรมีความแตกต่างกัน คือจุดมุ่งหมายของหลักสูตร จึงจาเป็นอย่างยิ่งท่ีผู้สอนต้องให้ ความรู้เกี่ยวกับหลักสูตร หลักสูตรบูรณาการ หลักสูตรกว้าง หลักสูตรประสบการณ์ หลักสูตรรายวิชา หลกั สตู รแกน หลักสตู รแฝง หลกั สตู รสัมพันธว์ ชิ า หลกั สตู รเกลยี วสว่าน หลักสตู รสญู แก่ผูเ้ รยี น รปู แบบของหลกั สตู ร กิตติคม คาวีรัตน์ (2554 : 62) ได้ศึกษาพบว่า รูปแบบของหลักสูตร เป็นลักษณะเฉพาะและ แสดงความเป็นเอกลักษณ์ของหลักสูตรประเภทน้ันๆ รูปแบบของหลักสูตรได้มาจากแนวคิด และ ปรัชญาการศึกษาท่ียึดถือในการจัดทาแต่ละรูปแบบต่างมีช่ือที่แสดงลักษณะเฉพาะของ หลักสูตรน้ันๆ อย่างชัดเจน รูปแบบของหลักสตู รได้เปลี่ยนแปลงมาตามลาดับการวิวัฒนาการของแนวคดิ และปรัชญา การศึกษาที่ประยุกต์ไปตามกาลเวลาและสถานการณ์ท่ีเกิดข้ึน รูปแบบของหลักสูตรแต่ละรูปแบบ มี ขอ้ ดแี ละข้อเสีย ไม่สามารถชี้ชัดได้วา่ รปู แบบของหลักสูตรใดดีท่สี ุด การจะนารปู แบบของหลักสูตรใดไป ใชต้ ้องขึ้นอยู่กับจุดมงุ่ หมายของการจัดการศึกษาวา่ จะให้เปน็ ไปในรูปแบบใด แต่เราสามารถนาข้อดีของ รปู แบบของหลักสตู รมาประยกุ ต์ใช้ใหเ้ หมาะสมกับการจัดการศึกษาในปัจจบุ ัน และควรได้รบั การพฒั นา อยู่ตลอดเวลา ทั้งน้ีเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพทางสังคม ส่ิงแวดล้อม และสภาพการณ์ที่เปล่ียนแปลงไป พิจิตรา ธงพานิช(ทีสุกะ) (2556 : 27-54) ได้ศึกษาพบว่า หลักสูตรแต่ละหลักสูตรจะได้รับ อิทธพิ ลจากพ้ืนฐานในด้านตา่ ง ๆ ที่แตกต่างกันออกไป ท้งั ในด้านปรชั ญาการศึกษา จิตวิทยาพฒั นาการ จิตวิทยาการเรียนรู้ สภาพสังคมและการเมือง วัฒนธรรม เทคโนโลยีและประวัติศาสตร์ จึงส่งผลให้ หลกั สูตรในแต่ละรปู แบบมีความแตกตา่ งกนั ออกไป 1. หลกั สูตรบูรณาการ หลักสูตรบูรณาการ (The Integrated Curriculum) เป็นหลักสูตรที่พัฒนามาจากหลักสูตร กว้างโดยนาเอาเนื้อหาของวิชาต่าง ๆ มาหลอมรวม ทาให้เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละวิชาหมดไป การ ผสมผสานเน้ือหาของวิชาต่าง ๆ เข้าเป็นเน้ือเดียวกันทาได้หลายวิธี ซ่ึงจะได้ช้ีให้เห็นต่อไปอย่างไรก็ ตามที่มีการจัดทาหลักสูตรบูรณาการขึ้นไม่ใช่เพียงเพือ่ แกไ้ ขข้อบกพร่องของหลักสูตรหลายวชิ าเท่านั้นมี เหตผุ ลและความคดิ พืน้ ฐานซ่ึงสนับสนนุ อยดู่ ้วยจะขออธิบายใหท้ ราบโดยสังเขปดังต่อไปน้ี เหตผุ ลและพืน้ ฐานความคิด เหตุผลทางจติ วทิ ยาและวิชาการ โดยธรรมชาติเด็กหรือผู้เรียนจะมีความสนใจ ฉงนสนเท่ห์และมีความกระตือรือร้นใน การที่จะแสวงหาความรู้และสร้างความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ อยู่เสมอสมองของเด็กจะไม่จากัดอยู่กับการ เรียนรู้วิชาใดวิชาหนึ่งเป็นส่วน ๆ โดยเฉพาะเมื่อมีการแสวงหาความรู้ก็จะเรียนรู้หลาย ๆ อยา่ งพร้อม ๆ 59

กัน ด้วยเหตุน้ีหลักสูตรบูรณาการจึงเป็นหลักสูตรท่ีเหมาะสมเพราะจะสามารถสนองความต้องการของ เด็กหรอื ผเู้ รยี นได้ จากผลการวิจัยเร่ืองพัฒนาการทางปัญญาของเด็กในชั้นประถมศึกษา แสดงว่า พฒั นาการทางปญั ญาจะดาเนินไปเป็นข้นั ๆ แตล่ ะขน้ั จะแตกต่างกันไปและพัฒนาการของแต่ละคนทจ่ี ะ มีอัตราความเจริญต่างกัน แต่ท่ีสาคัญคือพัฒนาการนั้นจะดาเนินไปด้วยดีในเม่ือเด็กหรือผู้เรียนได้มี ประสบการณ์ด้วยตนเอง ยง่ิ ประสบการณ์มคี วามหลากหลายเพียงใด โอกาสในการพัฒนาการกย็ ิ่งมีมาก เพียงนั้น เม่ือมาพิจารณาดูหลักสูตรบูรณาการที่มีลักษณะครอบคลุมวิชาหลายวิชาก็จะเห็นว่าเป็น หลกั สตู รที่ส่งเสรมิ ใหผ้ ู้เรียนได้มีประสบการณห์ ลายดา้ น หลักสูตรบูรณาการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้สัมผัสกับสื่อการเรียนการสอนหลาย ๆ อย่าง และให้ได้มีโอกาสแก้ปัญหาด้วยตนเอง ซึ่งเป็นการสนับสนุนการเรียนรู้ อน่ึงแบบฉบับของหลักสูตรยัง กระตุ้นและสนองความต้องการทางปญั ญาและอารมณ์ของผเู้ รยี นได้ ชว่ ยให้เกดิ การเรียนรตู้ ่อเน่ืองกนั ไป การเรียนการสอนจะต้องดาเนินไปอย่างมีชีวิตชวี า โดยเฉพาะในด้านการส่งเสริมความคิดริเริ่มหลกั สูตร แบบน้ีทาได้ดีมากส่วนดีอีกประการหน่ึงของหลักสูตรคือช่วยลดภาวะที่จะต้องท่องจาลงไปอย่างมาก เหตุผลทางสงั คมวิทยา เป็นท่ียอมรับกันแล้วว่า การศึกษาจะเกิดผลดีท่ีสุดก็ต่อเม่ือให้ผู้เรียนสามารถตอบปัญหาใน ชีวิตประจาวันได้ ด้วยเหตุน้ีหลักสูตรจึงต้องเป็นหลักสูตรสนับสนุนส่ิงดังกล่าวซึ่งคุณสมบัติน้ีมีอยู่ใน หลักสูตรบูรณาการกล่าวคือ ประสานสัมพันธ์ระหว่างสาขาวิชาต่าง ๆ ใช้ปัญหาหรือกิจกรรมเป็น ศนู ยก์ ลางของหลักสูตรอนั จะมผี ลให้ผเู้ รียนไดร้ ับความรทู้ กั ษะและเจตคติความต้องการของชีวติ เหตุผลทางการบรหิ าร หลักสูตรบูรณาการช่วยให้ลดตาราเรียนได้ คือแทนท่ีจะแยกเป็นตาราสาหรับแต่ละวิชา ซึ่งทา ใหต้ ้องใช้ตาราหลายเลม่ ก็อาจรวมเนอื้ หาของหลายวิชาไวใ้ นตาราเล่มเดยี วกนั และยังสามารถทาให้เป็น ท่ีน่าสนใจมากข้ึนด้วย นอกจากน้ีในกรณีท่ีขาดแคลนครู หลักสูตรบูรณาการซึ่งอาศัยการสอนโดยใช้ กิจกรรมเปน็ หลกั จะช่วยใหค้ รหู น่งึ คนสามารถได้มากกวา่ หนึ่งชน้ั ในเวลาเดยี วกัน การผสมผสานวิชาเพื่อให้ได้หลักสูตรบูรณาการ ทาได้หลายวิธีหลายรูปแบบ ดังนั้น การ ตีความหมายของหลักสูตรจึงทาได้อยาก อย่างไรก็ตามสิ่งที่เห็นเด่นชัดประการหนึ่งก็คือหลักสูตรน้ีก้าว ข้ามข้ันจากวิธีการที่รวมวิชาเข้าด้วยกันแบบธรรมดา ที่ยังท้ิงร่องรอยของวิชาเดิมไว้ แต่เป็นการหลอม รวมในลักษณะที่เอกลักษณ์ของวิชาเดิมไม่คงเหลืออยู่เลย ดังนั้นความรู้หรือทักษะท่ีผู้เรียนได้รับจึงเกิด จากการเรยี นรหู้ ลายวชิ าในขณะเดยี วกัน ตามแนวความคิดข้างบนนี้อาจกล่าวได้ว่า หลักสูตรบูรณาการคือหลักสูตรที่โครงสร้างของ เน้ือหาวิชามีลักษณะเป็นสหวิทยาการ (Inter-disciplinary) คือมีการผสมผสานอยา่ งกลมกลนื แนบแน่น ระหว่างองค์ประกอบการเรียนรู้ทุกด้านอันได้แก่ พุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัยและมีกระบวนการ เรยี นรูท้ ีเ่ ป็นสหวิทยาการ (Inter-disciplinary Learning) ด้วย ในบางตารากล่าวว่าหลักสูตรบูรณาการ คือหลักสูตรท่ีโครงสร้างของเน้ือหาวิชามีลักษณะเป็น 60

หัวขอ้ หรอื กจิ กรรม หรอื ปัญหา ซ่ึงจาเป็นตอ้ งอาศยั การเรียนร้แู บบสหวิทยาการ หลักสูตรบูรณาการที่มีใช้อยู่ในประเทศต่าง ๆ ในเอเชีย มีทั้งที่เป็นหลักสูตรบูรณาการเต็มรูป และไมเ่ ตม็ รูป มีหลายประเทศทีเ่ หน็ ว่าวิชาประเภททักษะเช่น คณิตศาสตร์ และภาษาถ้าจะจัดการเรียน การสอนใหเ้ กิดผลดี ควรจัดหลกั สูตรเปน็ แบบรายวชิ าหรอื หลกั สูตรกว้าง ลักษณะของหลกั สูตรบรู ณาการทดี่ ี ในการผสมผสานวิชาหรือสาขาวิชาต่าง ๆ เพื่อให้ได้หลักสูตรบูรณาการนั้น ถ้าจะให้ดีจริง ๆ นักพัฒนาหลักสูตรจะต้องพยายามใหเ้ กิดบรู ณาการในลักษณะตอ่ ไปนโี้ ดยครบถว้ นคอื บูรณาการระหว่างความรู้และกระบวนการเรียนรู้ แต่เดิมเมื่อสภาพและปัญหาสังคมยังไม่ สลับซับซ้อน และปริมาณเน้ือหาก็ยังไม่มีมากนัก การเรียนรู้ซ่ึงวิธีการถ่ายทอดความรู้อย่างง่าย ๆ เช่น การบอกเล่า การบรรยาย และการท่องจา อาจทาได้โดยไม่มปี ัญหาอะไรในกรณีนี้ความสัมพันธ์ระหว่าง ความรู้กับกระบวนการเรียนรู้เกือบไม่มีอยู่เลยและการเรียนรู้ก็นบว่ามีประสิทธิภาพพอสมควร แต่ใน ปัจจุบันปริมาณความรู้มีมาก สภาพและปัญหาสังคมสลับซับซ้อน การเรียนรู้จะกระทาอย่างเดิมย่อม ไม่ได้ผลดี ถ้าจะให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพเราจาเป็นต้องให้กระบวนการการเรียนรู้มีความสัมพันธ์ อย่างใกล้ชิดกับความรู้ ทั้งนี้หมายความว่าผู้เรียนจะต้องทราบว่าตนจะแสวงหาความรู้ได้อย่างไรและ ด้วยกระบวนการอยา่ งไร บูรณาการระหว่างพัฒนาการทางความรู้และพัฒนาการทางจิตใจ มีผู้กล่าวตาหนิว่าการศึกษา มักจะให้ความเอาใจใส่ต่อการพัฒนาจิตใจน้อยไป คอื มุ่งในด้านพุทธิพิสัยอันได้แก่ความรู้ ความคิด และ การแกป้ ัญหา มากกวา่ ด้านจิตพสิ ัย คือ เจตคติ ค่านิยม ความสนใจ และความสุนทรียภาพ ซงึ่ ตามความ เป็นจริงแล้วท้ังพุทธิพิสัยและจิตพิสัยก็มีความสาคัญไม่ย่ิงหย่อนไปกว่ากัน และเป็นสิ่งท่ีแยกกันไม่ออก เพราะการเรียนรู้วิชาการหรือทักษะในด้านหน่ึงด้านใดโดยปราศจากความรู้สึกในคุณค่าของส่ิงท่ีเรียน ย่อมเป็นไปไม่ได้ ในทางกลับกันถ้าผู้เรียนได้รับประสบการณ์ที่สร้างความรู้สึกพึงพอใจและประทับใจ ก็ จะมงุ่ มน่ั ในการเรยี นและเรียนรไู้ ด้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยเหตุน้ีการสร้างบูรณาการระหว่างความรูแ้ ละ จิตใจจึงเป็นสงิ่ จาเป็น บูรณาการระหว่างความรู้และการกระทา การสร้างสหสัมพันธ์ระหว่างความรแู้ ละการกระทามี ความสาคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าระหว่างความรู้และจิตใจ โดยเฉพาะในด้านจริยศึกษา การเรียนรู้เรื่อง ค่านิยมและการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสามารถในการเลือกค่านิยมท่ีเหมาะสมจะปรากฏผลดีหรือไม่ ย่อมข้ึนอยู่กับพฤติกรรมหรือการแสดงออกของผู้เรียน การแยกความรู้ออกจาการกระทาก็เหมือนกับ การแยกหลักสูตรออกเป็นส่วน ๆ ซึ่งเป็นไปไมไ่ ด้ ดังน้ันการบูรณาการความรู้และการกระทาเขา้ ด้วยกัน จงึ เป็นสิ่งทจ่ี าเป็น บูรณาการระหว่างสิ่งที่เรียนในโรงเรียนกับส่ิงที่เป็นอยู่ในชีวิตประจาวันของผู้เรียนสิ่งหนึ่งที่จะ พสิ ูจน์ว่าหลกั สูตรดีหรอื ไม่ดี คือผลที่เกิดแก่คุณภาพของชีวิตผู้เรียน ด้วยเหตุน้ีการบูรณาการวิชาต่าง ๆ ในหลักสูตรเราจึงต้องแน่ใจว่าส่ิงที่สอนในห้องเรยี นนนั้ มคี วามหมายและมคี ุณค่าต่อชีวิตของผู้เรียนไม่ว่า ผู้เรียนจะอยู่ที่ใด การที่ให้เกิดผลดังกล่าวได้ หลักสูตรจะต้องกาหนดให้ความสนใจและความต้องการมี 61

ความเกยี่ วขอ้ งกับชีวิตประจาวันของผูเ้ รียน และใหเ้ ปน็ ศูนยก์ ลางของกระบวนการเรยี นการสอน บูรณาการระหว่างวิชาต่าง ๆ ถ้าเรายอมรับว่าบูรณาการระหว่างความรู้กับจิตใจ และระหว่าง ความรู้กับการกระทาเป็นส่ิงที่จาเป็นและสาคัญ และเป็นส่ิงที่สามารถทาได้ เราก็ย่อมจะมองเห็นความ จาเป็นและความสาคัญของการที่จะบูรณาการวิชาต่าง ๆ เข้าด้วยกันซึ่งอาจทาได้โดยนาเอาเน้ือหาของ วิชาหน่ึงมาเสริมอีกวิชาหน่ึง เพื่อให้ผู้เรียนได้รับความรู้และเกิดเจตคติตามที่ต้องการหรือโดยกาหนด ปัญหาหรือความต้องการของผู้เรียนเป็นหัวข้อแล้วกาหนดหลักสูตรหรือโปรแกรมการเรียนการสอนขึ้น โดยอาศยั เนอื้ หาของหลาย ๆ วชิ ามาชว่ ยในการแกป้ ญั หานั้น รูปแบบของบูรณาการ หลักสูตรบุรณาการเท่าท่ีมีอยู่ในเวลาน้ีมี 3 รูปแบบ แต่ในการปฏิบัติจริงมักจะมีการ ผสมกันระหว่างรูปแบบต่าง ๆ ที่นามาจาแนกให้เห็นก็เพื่อความเข้าใจว่าพ้ืนฐานท่ีแท้จริงของแต่ละ รปู แบบนน้ั เปน็ อยา่ งไร บูรณาการภายในหมวดวิชา เราได้ทราบแล้วว่าหลักสูตรกว้างน้ันเป็นหลักสูตรที่ได้มี การนาเอาวิชาหลาย ๆ วิชามารวมกันในลักษณะที่ผสมกลมกลืน แทนท่ีจะนาเอาเน้ือหาวิชามา เรียงลาดับกันเฉย ๆ ตัวอย่างเช่น ในวิทยาศาสตร์ท่ัวไป ได้มีการนาเอาเน้ือหาวิชาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา มารวมกันและต่อมาก็นาเอาวิชาโภชนาการ สุขศึกษา และสิ่งแวดล้อมมาผสมผสานด้วย หรือในวิชา สังคมศึกษาก็นาเอาประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ หน้าท่ีพลเมือง จริยศึกษา ซึ่งเป็นการสอดคล้องกับ แนวความคิดของหลกั สตู รทีว่ า่ การเรียนรู้ต้องมีลักษณะเป็นสหวิทยาการ บูรณาการ ภายในหัวข้อ และโครงการ หลายประเทศในเอเชียนิยมใช้วิธีการแบบน้ี คือการนาเอาความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ ของวิชาหรือหมวดวิชาต้ังแต่สองวิชาหรือหมวดวิชาขึ้น ไป มาผสมผสานกันในลักษณะท่ีเป็นหัวขอ้ หรอื โครงการ ซ่ึงมีส่วนเกี่ยวข้องกับชวี ิตของผู้เรียนและในแต่ ละหัวข้อจะมีการแบ่งเป็นหน่วยการเรียน (Units of Learning) ด้วยทาให้เกิดหลักสูตรบูรณาการที่เรา เรยี กวา่ หลักสูตรเพอื่ ชีวติ และสังคม (The Social Process and Life Function Curriculum) บูรณาการโดยการผสมผสานปัญหาและความต้องการของผู้เรียนและของสังคม หลักสูตรท่ีใช้การผสมผสานแบบน้ี ความจริงก็มีรูปแบบเหมือนอย่างสองแบบแรกที่ได้กล่าวมาแล้ว คือ อาจผสมผสานภายในหมวดวิชาหรือภายในหัวข้อและโครงการก็ได้ สิ่งที่แตกต่างออกไปคือหัวข้อหรือ หน่วยการเรียน หรือโครงการจะเน้นการแก้ปัญหาชีวิตประจาวันของผู้เรียนไม่ว่าปัญหาส่วนตัว ปัญหา ชุมชน ปัญหางานอาชีพ ปัญหาสังคม ฯลฯ ตัวอย่างของหัวข้อหรือหน่วยการเรียนได้แก่ “มลภาวะจาก อากาศ น้าและเสียง” “การตกต่าของผลผลิตทางเกษตรกรรม” “การตัดไม้ทาลายป่าและการทาลาย ทรพั ยากรธรรมชาตอิ ืน่ ๆ” “สภาวะท่ีไม่ถูกสุขลกั ษณะ” “โรคที่สาคัญ” ฯลฯ ในการศึกษาเพ่ือแก้ปัญหาข้างต้นนี้ ผู้เรียนจาเป็นต้องศึกษาหาความรู้จากวิทยาการต่าง ๆ หลายสาขา รวมท้ังต้องมีทักษะท่ีจาเป็นในการแก้ปัญหาด้วย การเรียนรู้จึงมีลักษณะเป็นบูรณาการ เน่ืองจากต้องผสมผสานวชิ าต่าง ๆ ในการแกป้ ัญหาสิง่ ทปี่ รากฏชัดในการเรียนรู้ 62

2. หลักสูตรกวา้ ง หลักสูตรกว้าง (The Broad-Field Curriculum) เป็นหลักสูตรอีกแบบหนึ่งท่ีพยายามแก้ไข จุดอ่อนของหลักสตู รรายวชิ า โดยมจี ดุ ม่งุ หมายท่จี ะส่งเสรมิ การเรยี นการสอนใหเ้ ปน็ ทีน่ า่ สนใจและเรา้ ใจ ช่วยให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและสามารถปรับตนให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมได้เป็นอย่างดี รวมทั้งให้มี พฒั นาการในด้านต่าง ๆ ทุกด้าน กล่าวอีกนัยหนึ่งกค็ ือพยายามจะหนีจากหลกั สูตรที่ยึดวิชาเป็นพืน้ ฐาน มีครูหรือผู้สอนเป็นผู้ส่ังการแต่เพียงผู้เดียว วิชาต่าง ๆ ท่ีแยกจากกันเป็นเอกเทศจนทาให้ผู้เรียนมองไม่ เห็นความสัมพันธ์ระหว่างวิชาเหล่าน้ัน ผลก็คือนักเรียนไม่สามารถนาเอาความรู้มาประยุกต์ใช้ใน ชวี ิตประจาวนั ววิ ฒั นาการของหลักสูตร หลักสูตรกว้างเกิดขึ้นคร้ังแรกในประเทศอังกฤษ จากวิชาท่ีโทมัส ฮุกซเลย์ (Thomas Huxicy) สอนเด็กท่ีเรียนอยู่ในโรงเรียนในราชสานัก (The Royal Insutunon) ท่ีนครลอนดอน วิชาที่สอนนี้ กล่าวถึงแผ่นดินแถบลุ่มแม่น้าเทมส์และกิจกรรมต่าง ๆ ของประชาชนท่ีอาศัยอยู่ในพ้ืนแผ่นดินน้ัน เป็น การนาเอาเนื้อหาของวิชาตา่ ง ๆ หลายวิชามาศกึ ษาในเวลาเดยี วกัน สหรัฐอเมริกาเริ่มนาเอาหลักสูตรน้ีมาใช้แรกเมื่อปี ค.ศ. 1914 โดยวิทยาลัยแอมเฮิรส (Amherst College) จัดเป็นวชิ ากวา้ ง ๆ เรียกว่า สถาบันสังคมและเศรษฐกิจ (Social and Economic Institute) ตอ่ มาในปี ค.ศ. 1923 มหาวิทยาลัยชิคาโก (University of Chicago) ก็ได้จัดหลักสูตรกว้าง มีการสอนวิชาที่รวมวิชาหลาย ๆ วิชาเข้าด้วยกัน ได้แก่ วิชาการคิดแบบแก้ปัญหาข้ันนา (Introduction to Reflective Thinking) ธรรมชาติของโลกและมนุษย์ (The Nature of the World and of Man) มนุษย์ในสังคม (Man in Society) และความหมายและค่านิยมของศิลปะ (The Meaning and Value of the Art) ในช่วงเวลาเดยี วกันน้ันโรงเรยี นมัธยมของสหรัฐอเมริกาเริ่มนาเอาหลักสูตรแบบกวา้ งมาใช้ ทาให้เกิดหมวดวิชาต่าง ๆ ข้ึน เช่น สังคมศึกษา วิทยาศาสตร์ทั่วไป พลศึกษา ศิลปะ คณิตศาสตร์ทั่วไป และภาษาในตอนแรก ๆ การจัดเน้ือหาใช้วิธีจัดเรียงกันเฉย ๆ ไม่มีการผสมผสานกันแต่อย่างใด ทาให้ การเรียนการสอนไม่บรรลุจุดประสงค์ เพราะแต่ละเนือ้ หาวิชาต่างก็มีจุดประสงค์ของตน ต่อมาภายหลัง จงึ ได้มีการแก้ไขโดยกาหนดหวั ข้อขนึ้ ก่อน แล้วจึงคดั เลือกเน้อื หาท่สี ามารถสนองจดุ ประสงค์จากวิชาต่าง ๆ นามาเรียงกันอีกต่อหน่ึง วิธีนี้ทาให้การเรียนการสอนบรรลุจุดประสงค์ได้ ขณะเดียวกันก็มีผลพวง ตามมา คือ เอกลักษณ์ของแต่ละวิชาหมดไปเนื้อหาวิชาผสมผสานกันมากข้ึน ซ่ึงในท่ีสุดได้นาไปสู่ หลักสูตรใหมท่ เี่ ราเรยี กว่า หลักสตู รบรู ณาการ (The Integrated Curriculum) ประเทศไทยได้ นาหลกั สูตรมาใชเ้ ป็นครั้งแรกเมือ่ พ.ศ. 2503 โดยเรียงลาดับเน้ือหาต่าง ๆ ท่ีมีความคลา้ ยคลงึ กันเข้าไว้ ในหลักสูตร และให้ชื่อวิชาเสียใหม่หมีความหมายกวางครอบคลุมวิชาที่นามาเรียงลาดับไว้ ตัวอยา่ งเช่น ในหลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ. 2503 ได้มีการนาเอาเน้ือหาบางส่วนของวิชาศีลธรรม หน้าที่พลเมือง ภูมิศาสตร์ ประวัตศิ าสตร์ ฯลฯ มาเรยี งลาดบั เข้าเปน็ หมวดวชิ า เรียกว่า สงั คมศึกษา เป็นตน้ 63

ลักษณะสาคัญของหลกั สตู ร จดุ หมายของหลักสูตรมีขอบข่ายกว้างขวางกว่าหลักสูตรรายวิชา ขอบข่ายอาจครอบคลุมไปถึง สังคมด้วย จะเห็นได้จากการท่ีจุดหมายของหลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ. 2503 ครอบคลุมการฝึกอบรม เพื่อนาไปสู่คุณลักษณะที่เก่ียวกับการตระหนักในตน มนุษย์สัมพันธ์ ความสามารถในการครองชีพ และ ความรบั ผิดชอบตามหนา้ ทพี่ ลเมือง จุดประสงค์ของแต่ละหมวดวิชา เป็นจุดประสงค์ร่วมกันของวิชาต่าง ๆ ท่ีนามารวมกันไว้ ตัวอย่าง เช่น ในหมวดของสังคมศึกษาของประถมศึกษาตอนปลาย พ.ศ. 2503 ซ่ึงประกอบด้วยวิชา ศีลธรรม หน้าท่ีพลเมือง ภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ ได้กาหนดจุดประสงค์ของหมวดวิชาครอบคลุม วิชาท้ังส่ีนี้เพื่อความเข้าใจท่ีชัดเจนขอนาเอาจุดประสงค์ทั้งหมด (ซึ่งในหลักสูตรเรียกว่าความมุ่งหมาย) มาเสนอไว้ในทน่ี ้ดี ว้ ย 1. ให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจในความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับส่ิงแวดล้อมทาง ธรรมชาติและทางสังคม 2. ให้เด็กมีความรู้และความรู้สึกซาบซ้ึงในความเป็นมาในการเมืองของสังคมและทาง วัฒนธรรม ซึ่งแตล่ ะชาตไิ ดส้ ร้างสมกันมาตามประวัตศิ าสตร์ 3. ให้เด็กยอมรับคุณค่าในทางศีลธรรมและวัฒนธรรม และยินดีปฏิบัติตามด้วยความ จรงิ ใจ 4. ให้เด็กมีความเข้าใจว่า สมาชิกของสังคมย่อมมีหน้าท่ีอานวยประโยชน์ให้แก่สังคม ตามวิถีทางของเขา สอนให้เด็กได้รู้จักเคารพสิทธิและความคิดเห็นของผู้อ่ืน โดยไม่คานึงถึง เช้ือชาติ ศาสนา ฐานะทางเศรษฐกิจ และฐานะทางสังคมของบุคคลน้นั 5. ให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจในความสัมพันธ์ ระหว่างบุคคลกับระบอบการปกครอง ในปัจจุบนั 6. ใหเ้ ดก็ ได้ร้จู ักสิทธิและหน้าท่ี ตลอดจนความรับผดิ ชอบซึง่ พลเมอื ง แต่ละคนพึงมตี ่อ สังคมประชาธิปไตย โดยเฉพาะในเรื่องความม่ันคง และความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของประเทศชาติ 7. ให้เด็กมีความรู้ ความเข้าใจในความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับการผลิต การบริโภค และการสงวนทรัพยากรของสงั คม 8. ให้เด็กรู้จักเหตุผล รู้จักประเมินผล ยอมรับหลักการและกระบวนการที่ถูกต้องใน การแก้ปัญหา โครงสร้างหลักสูตรมีลักษณะเป็นการนาเอาเน้ือหาของแต่ละวิชาซ่ึงได้เลือกสรรแล้วมา เรยี งลาดับกันเข้า โดยไม่มกี ารผสมผสานกนั แตอ่ ย่างใด หรือถ้ามีก็นอ้ ยมาก อย่างไรกต็ ามหลักสูตรน้ีเม่ือ ได้รับการดัดแปลงให้เป็นหลักสูตรบูรณาการ วิชาต่าง ๆ จะผสมผสานกันกันจนหมดความเป็น เอกลกั ษณ์ ส่วนดีสว่ นเสียของหลกั สตู ร ก.สว่ นดี 64

1. เป็นหลักสูตรท่ีทาให้วิชาต่าง ๆ ท่ีมีลักษณะคล้ายคลึงกัน มีความสัมพันธ์กันดีขึ้น 2. ในการสอนทั้งผู้เรียนและผู้สอนเกิดความเข้าใจ และมีทัศนะคติเก่ียวกับส่ิงท่ีเรียน กว้างขึ้น 3. เปน็ หลักสูตรท่ีสง่ เสริมใหม้ ีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างกว้างขวางเป็น การเออื้ อานวยต่อการจดั กจิ กรรม ที่มีประโยชน์ในชีวติ ประจาวัน ข.สว่ นเสีย 1. หลักสูตรนี้ถึงแม้ว่าพยายามจะให้เอกลักษณ์ของแต่ละวิชาหมดไป แต่ก็ยังไม่ สามารถทาให้เนื้อหาของวิชาต่าง ๆ เหล่าน้ันผสมผสานกันจนเป็นเน้ือเดียว ดังน้ันในการผู้สอนจึงมี แนวโน้มท่ีจะรกั ษาเอกลักษณข์ องแตล่ ะวชิ าไว้ ทาให้ความสมั พันธร์ ะหวา่ งวิชาขาดหายไป 2. ลักษณะของหลักสูตรทาให้การเรียนการสอนไม่ส่งเสริมให้เกิดความรู้เน้ือหาอย่าง ลกึ ซึง้ เขา้ ทานองรู้รอบมากวา่ รูส้ ึก 3. เนอ่ื งจากหลักสูตรครอบคลมุ วิชาต่าง ๆ หลายวชิ า ผสู้ อนจงึ อาจสอนไม่ดเี พราะขาด ความรู้บางวิชา นอกจากน้ีในการเตรียมการเรียนการสอนจะต้องใช้เวลามาก เพราะเท่ากับต้องเตรียม สอนหลายวชิ า แทนท่จี ะสอนวชิ าเดียวอย่างทสี่ อนหลกั สตู รรายวชิ า 4. การสอนอาจไม่บรรลุจดุ ประสงค์ เพราะตอ้ งสอนหลายวชิ าในขณะเดยี วกัน 3. หลกั สตู รประสบการณ์ หลักสูตรประสบการณ์ (The Experience Curriculum) เกิดขึ้นเพ่ือแก้ปัญหาท่ีว่าหลักสูตร เดิมท่ีใช้อยู่ ไม่ว่าจะเป็นหลักสูตรรายวิชาหรือหลักสูตรกว้าง ล้วนไม่ส่งเสริมให้ผู้เรียนสนใจและ กระตือรือร้นในการเรียนเท่าท่ีควร พ้ืนฐานความคิดของหลักสูตรน้ีมีมาต้ังแต่สมัยรุซโซ (Rousseau) และเพลโต (Plato) แต่ได้นามาปฏิบัติจริงเม่ือต้นศตวรรษท่ี 20 น้ีเองนับเป็นก้าวแรกที่ยึดเด็กหรือ ผูเ้ รียนเป็นศูนย์กลาง แรกทีเดียวหลักสูตรนี้มีช่ือว่าหลักสูตรกิจกรรม (The Activity Curriculum) ที่เปลี่ยนชื่อไปก็ เน่ืองจากได้มีการแปลเจตนารมณ์ของหลักสูตรผิดไปจากเดิม กล่าวคือ มีบุคคลบางกลุ่มคิดว่าถ้าให้ ผ้เู รยี นทากิจกรรมต่าง ๆ ดว้ ยตนเองแล้ว ไม่วา่ จะเปน็ กิจกรรมอะไรผู้เรียนก็จะเรียนรู้สง่ิ ทเ่ี ป็นประโยชน์ เข้าทานองว่าขอให้ทากิจกรรมก็เป็นใช้ได้ (Activity for activity sake) ด้วยเหตุนี้จึงได้มีการคิดว่าควร เปล่ียนช่ือเสียใหม่ ประกอบกันในระยะนั้นทฤษฎีเปลี่ยนช่ือเป็นหลักสูตรประสบการณ์ ต่อมาภายหลัง เมื่อ วิลเล่ียมคิลแพทริก (William Kilpatrick) นาเอาความคิดเร่ืองการจัดประสบการณ์ในรูปการสอน แบบโครงการเข้ามาหลักสูตรนี้ก็ได้ชื่อเพิ่มขึ้นอีกชื่อหน่ึงว่า หลักสูตรโครงการ (The Project Curriculum) อย่างไรก็ตามเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนในที่น้ีเราจะใช้ช่ือหลักสูตรประสบการณ์เพียงช่ือ เดยี ว วิวัฒนาการของหลักสตู ร หลักสูตรประสบการณ์ถูกนามาใช้ครั้งแรกที่โรงเรียนทดลอง (Laboratory School) ของ มหาวิทยาลัยซิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา เม่ือปี ค.ศ. 1986 โดยจอห์นและแมรีดิวอี้ พ้ืนฐานของ 65

หลักสูตรต้ังอยูบ่ นแนวคดิ ท่วี ่า ถา้ จะใหผ้ ู้เรียนสนใจและเกดิ ความกระตอื รอื ร้นในการเรียน จะตอ้ งอาศัย แรงกระต้นุ 4 อยา่ งคอื 1. แรงกระตุ้นทางสังคม (Social Impulse) ซึ่งเห็นได้จากการท่ีผู้เรียนมีความ ปรารถนาท่จี ะคบหาสมาคมกับเพือ่ น 2. แรงกระตุ้นทางสร้างสรรค์ (Constructive Impulse) ซึ่งสังเกตได้จากการที่ผู้เรียน ไมอ่ ย่นู ิง่ ชอบเลน่ ชอบทากจิ กรรม ชอบเลน่ สมมุติ ชอบประดษิ ฐส์ ่งิ ต่าง ๆ ฯลฯ 3. แรงกระตุ้นทางการค้นคว้าทดลอง (Impulse to Investigate and Experiment) หมายถึง ความอยากรู้อยากเห็น รวมทั้งอยากทดลองทาสง่ิ ท่ตี นสงสัย จะเห็นได้จากการที่ผูเ้ รียนชอบรื้อ คน้ สงิ่ ต่าง ๆ และเลน่ กบั สงิ่ ท่อี าจจะเป็นอันตราย เช่น เอามอื ไปแหย่ไฟด้วยความอยากรู้ ว่าจะเกดิ อะไร ขึ้น เปน็ ตน้ 4. แรงกระตุ้นทางการแสดงออกด้วยคาพูด การกระทา และทางศิลปะ (Expressive or Artistic Impulse) ได้แก่ การแสดงออกในด้านการขีดเขียน การพูด การวาดภาพ การเล่นดนตรี ฯลฯ จอห์น ดิวอี้ ถือว่าแรงกระตุ้นท้ัง 4 อย่างน้ี ผู้เรียนมีอยู่พร้อม และจะนาออกมาใช้ตามข้ันตอน ของพฒั นาการของตน ดังนน้ั ถ้าจะให้ผู้เรียนรู้และมีทักษะในด้านหนึ่งด้านใด ก็ควรเร่มิ ต้นจากกิจกรรมท่ี เป็นแรงกระตุ้นอยู่แล้ว และถ้าจะให้เกิดผลดีย่ิงข้ึน กิจกรรมต่าง ๆ เหล่าน้ันควรมีประโยชน์แก่ผู้เรียน ด้วย โดยเฉพาะควรเป็นกิจกรรมประเภทการงานที่มีประโยชน์ต่อชีวิตประจาวัน เช่น งานประกอบ อาหาร งานเย็บปักถักร้อย และงานช่าง เป็นต้น สาหรับทักษะต่าง ๆ เช่น การอ่าน การเขียนและการ คิดเลข ควรเป็นผลท่ีเกิดจากการกระทากิจกรรมต่าง ๆ ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว โดยท่ีเด็กหรือผู้เรียน มองเห็นด้วยตนเองว่า ถ้าจะทากิจกรรมให้เกิดผลดีก็จาเป็นต้องเรียนรู้ทักษะต่าง ๆ ควบคู่ไปด้วย ในปี ค.ศ. 1904 นักการศึกษาอีกท่านหน่ึงชื่อ มิเรียม (J.L Meriam) ได้ทดลองนาหลักสูตร ประสบการณ์ไปใช้ในโรงเรียนประถมของมหาวิทยาลัยมิสซูรี (University of Missouri) โดยกาหนด ขอบเขตของหลักสูตรให้ครอบคลมุ กจิ กรรม 4 อย่างคอื กิจกรรมที่เกี่ยวกับการสงั เกตพจิ ารณา กิจกรรม ที่เกี่ยวกับการเล่น กิจกรรมท่ีเกี่ยวกับนิยายและเรื่องราวต่าง ๆ และกิจกรรมท่ีเกี่ยวกับการทางานด้วย มือ หลักการของหลักสูตรก็เหมือนกันกับของจอห์น ดิวอ้ี คือใช้ทักษะในการอ่าน เขียน คิดเลข เป็น เครอ่ื งสง่ เสริมประสิทธิภาพในการทากิจกรรม ในปี ค.ศ. 1918 นักการศึกษาอเมริกันท่ีมีชื่อเสียงอีกท่านหน่ึงคือ วิลเลียมคิลแพทริก (W.H. Kilpatrick) ได้เขียนบทความชื่อ วิธีสอนแบบโครงการ (The Project Method) เป็นผลให้หลักสูตร ประสบการณ์ในรปู แบบของโครงการถกู นามาใช้อย่างแพร่หลายในชนั้ ประถมศึกษาแต่ในช้ันมธั ยมศกึ ษา หลักสูตรน้ีไม่ประสบผลสาเร็จ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าครูและผู้บริหารยังคงถูกอิทธิพลของหลักสูตร รายวิชาครอบงาอยู่ อย่างไรก็ตาม หลกั สูตรประสบการณ์ไดร้ บั ความนิยมอยไู่ ม่นานก็ซบเซาไป ท้งั น้เี นือ่ งจากปญั หา ของหลกั สตู รน้ีมีมาก และปญั หาบางอยา่ งกย็ ังแก้กนั ไม่ตก ดงั จะได้กลา่ วตอ่ ไป 66

สาหรับประเทศไทยได้มีการศึกษาเก่ียวกับวิธีสอนแบบโครงการในสถานที่ศึกษาฝึกหัดครู ก่อน พ.ศ. 2500 เสียอีก แต่ไม่ได้มีการจัดทาหลักสูตรโครงการขึ้นใช้ ได้มีการนาเอาวิธีสอนแบบโครงการมา ทดลองใชบ้ ้างในบางทบ่ี างแหง่ แต่ก็เปน็ เพียงการทดลองเทา่ นน้ั ลกั ษณะสาคญั ของหลกั สูตร ความสนใจของผู้เรียน เป็นตัวกาหนดเน้ือหา และเค้าโครงหลักสูตร ลักษณะข้อนี้ หมายความ ว่า จะสอนอะไร เมื่อใด และจะเรียงลาดับการสอนก่อนหลังอย่างไรข้ึนอยู่กับความสนใจและความ ต้องการของผู้เรียน กล่าวอีกนัยหน่ึงก็คือ กิจกรรมท่ีผู้เรียนกระทาเป็นกิจกรรมที่เขามองเห็นความ จาเป็นและประโยชน์อย่างแท้จริงไม่ใช่สนใจเพราะเห็นว่าเป็นเรื่องสนุกสนานและไม่ใช่เป็นกิจกรรมที่ ผใู้ หญค่ ิดเอาเองว่าเป็นสิ่งทผ่ี ู้เรยี นสนใจ แนวความคิดของหลักสูตรน้ีมีว่า เวลาที่ผู้เรียนทากิจกรรมใด ๆ กต็ าม ผู้เรียนย่อมหวังผลอย่าง ใดอย่างหนึ่ง ไม่ใช่ทาขึ้นลอย ๆ โดยปราศจากความมุ่งหมาย ความสนใจของผู้เรียนย่อมมีอยู่และเป็น หน้าท่ีของผู้สอนที่จะต้องค้นหาให้พบ แล้วใช้เป็นบันไดในการสร้างกิจกรรมท่ีเป็นประโยชน์ทาง การศึกษาแก่ผเู้ รยี น แนวความคิดน้ีชี้ให้เหน็ ว่าหลักสูตรประสบการณป์ ระกอบด้วยกิจกรรมอันจะนาไปสู่ ความสนใจใหมแ่ ละกจิ กรรมใหมต่ ่อเนื่องกันไป อย่างไรกต็ ามปัญหาสาคัญทคี่ วรเอาใจใส่ก็คอื ความสนใจ ของผู้เรียน ในเรื่องนี้เราจะต้องระวังอย่างเอาไปปะปนกับส่ิงท่ีเขาเห่อหรือนิยมชมชอบเพียงช่ัวครั้ง ชว่ั คราว พงึ เขา้ ใจว่าความสนใจท่ีแท้จรงิ น้ันจะต้องประกอบดว้ ยจุดมุ่งหมายท่แี น่นอน และเมื่อได้ทราบ ความสนใจทแี่ ท้จรงิ แล้ว จงึ ใช้เปน็ พ้นื ฐานในการวางแผนการสอนตอ่ ไป หลักที่วา่ แผนการสอนขึ้นอยกู่ ับความสนใจและความต้องการของผู้เรียน ชี้ให้เห็นว่าเนื้อหาวชิ า เปรียบเสมือนเคร่ืองมือที่จะสนองความมุ่งหมายหรือความใฝ่ฝันของแต่ละบุคคลและของหมู่คณะ เป็น การตรงกันข้ามกับทัศนะดั้งเดิมที่ว่า ความมุ่งหมายและความสนใจของผู้เรียนเปรียบเสมือนเคร่ืองช่วย ให้ผู้เรียนสามารถเป็นวิชาที่ผู้ใหญ่กาหนดให้เรียนได้ดีขึ้น ในที่นี้เน้ือวิชามีประโยชน์ในการกาหนด ลักษณะของกิจกรรมที่จะตอบสนองต่อความต้องการและความสนใจของผู้เรียน ซึ่งหมายความว่า ความรู้เกิดข้ึนจากผลของการกระทาของผู้เรียน เป็นการกระทาเพ่ือให้บรรลุความมุ่งหมายของตน กล่าวคือ ในระหว่างที่ทากิจกรรมนั้นผู้เรียนจะเกิดความต้องการความรู้ และเมื่อได้ศึกษาเนื้อหาวิชาที่ เก่ียวขอ้ ง กท็ าใหเ้ รยี นส่งิ ที่ต้องการ อย่างไรก็ตามปัญหาท่ีผู้สอนยังต้องเผชิญอยู่ก็คือ จะทาอย่างไรกับความต้องการของผู้เรียนแต่ ละคนและทั้งหมดในช้ัน เป็นหน้าท่ีของผู้สอนที่จะต้องค้นหาความสนใจทั้งสองประเภทนี้เสียก่อนแล้ว ชว่ ยใหผ้ ู้เรียนเลือกว่าอะไรคือความสนใจทแี่ ทจ้ ริง อะไรท่ีมีคุณค่าสาหรบั ส่วนรวมและแตล่ ะคนท้ังน้ีเพื่อ จะไดส้ ามารถสนองความตอ้ งการและความสนใจของผเู้ รียนได้อย่างเต็มท่ี วิชาท่ีผู้เรียนทุกคนต้องเรียน คือวิชาท่ีผู้เรียนมีความสนใจรวมกัน ความสนในรวมกันจะต้อง อาศัยความรู้เรื่องพัฒนาการของเด็ก รวมทั้งพ้ืนฐานครอบครัว ซึ่งจะช้ีถึงค่านิยมและความสนใจของ ผู้เรียนด้วย เมื่อทราบว่าผู้เรียนส่วนใหญ่สนใจอะไรก็นาเอามาจัดเป็นโปรแกรมการเรียนการสอนข้ึน 67

การท่ีต้องอาศัยความสนใจของผู้เรียนเป็นหลัก ทาให้เห็นความแตกต่างระหว่างหลักสูตร ประสบการณ์กับหลักสูตรรายวิชา และหลกั สูตรแกน โดยท่ีเนื้อของหลักสูตรแบบหลังทง้ั สองแบบจะถูก กาหนดไว้ล่วงหน้า แต่หลักสูตรประสบการณ์กาหนดเน้ือหาจากความสนใจของผู้เรียนเป็นคราว ๆ ไป นอกจากน้ีหลักสูตรรายวิชายังอาศัยความรู้เป็นกรอบ และหลักสูตรแกนก็อาศัยปัญหาสังคมเป็นกรอบ ซง่ึ ตา่ งกบั หลักสตู รประสบการณโ์ ดยสน้ิ เชงิ โปรแกรมการสอนไม่ได้กาหนดไว้ลว่ งหนา้ ที่กลา่ วเช่นน้ีหมายความว่า ในหลกั สูตรแบบนี้ผสู้ อน ไม่สามารถกาหนดกิจกรรมการเรียนไว้ล่วงหน้า แต่ท้ังน้ีมิได้หมายความว่าผู้สอนไม่เตรียมตัวการสอน เลย อย่างน้อยท่ีสดุ ส่ิงที่ผู้เรียนต้องกระทาก่อนการสอนก็คือ การสารวจความสนใจของผู้เรียนแต่ละคน และท้งั ชั้น และช่วยผู้เรยี นในการตัดสนิ ใจว่าความสนใจเรอ่ื งใดมีคุณคา่ ควรแก่การศึกษา อนึ่ง เม่ือลงมือ สอนหน้าท่ีของผู้สอนก็คือ การช่วยผู้เรียนวางแผนกิจกรรมต่าง ๆ และช่วยในการประเมินผลกิจกรรมท่ี ทาไปแล้ว ใช้วิธีแก้ปัญหาเป็นหลักใหญ่ในการเรียนการสอน ดังได้กล่าวแล้วว่าในหลักสูตรประสบการณ์ ผู้สอนและผู้เรียนรวมกันพิจารณาตัดสินว่าควรจะทากิจกรรมอะไร จึงเห็นได้ว่านับต้ังแต่เร่ิมแรกก็มี ปญั หาต้องขบคิดกนั แลว้ คอื ปัญหาที่ว่าจะทาอะไร อย่างไร และเมอื่ ใด จะตอ้ งอาศัยอะไรเป็นเครือ่ งชว่ ย เพ่ือให้การกระทาสาเร็จผล ปัญหาและอุปสรรคท่ีจาเป็นต้องแก้ไขเป็นการล่วงหน้ามีอะไรบ้าง ฯลฯ สิ่ง ดังกล่าวนี้ช้ีให้เห็นว่าการสอนตามหลักสูตรประสบการณ์ไม่ใช่เป็นเรื่องง่าย ไม่ใช่เป็นการบอกวิชาแก่ ผู้เรียนโดยตรง จริงอยู่การบอกวิชาอาจมีบ้างเป็นครั้งคราวแต่ไม่ใช่เป็นหัวใจของการเรียนการสอน ถ้า ผู้เรียนจะได้รับความรู้อะไรจากการบอกเล่าก็ควรเป็นในแง่ท่ีความรู้น้ันจะช่วยกระตุ้นหรือส่งเสริมการ แก้ปัญหาที่กาลังทาอยู่ คุณค่าของหลักสูตรไมไ่ ดอ้ ยู่ทีค่ าตอบที่ได้จากการแก้ปัญหา แต่อยู่ท่ีผลซ่ึงผู้เรียน ได้รับจากการที่มีประสบการณ์ในการแก้ปัญหานั้น โดยในดังกล่าววิชาจึงเป็นเคร่ืองมือสาหรับใช้ แก้ปัญหา และด้วยเหตุผลนี้หลักสูตรประสบการณ์จึงใช้วิชาเกือบทุกวิชาเข้าช่วย สุดแท้แต่ว่าปัญหาจะ พาดพิงหรือต้องอาศัยวิชาใด ขณะเดียวกันผู้เรียนก็จะได้เรียนรู้วิชาต่าง ๆ และฝึกทักษะไปด้วยใน ระหว่างท่ที าการแก้ปัญหา เปน็ การเรียนร้แู ละฝึกทักษะในเมอื่ ความสนใจได้เกดิ ขน้ึ แลว้ ปัญหาของหลักสตู รประสบการณ์ ดังได้กลา่ วแล้วว่าหลักสูตรประสบการณ์อาศัยความสนใจของผู้เรียนเป็นหลกั ในการจัดเน้อื หา และกิจกรรมการเรยี นการสอน ดังนัน้ จงึ สรา้ งปญั หาแกผ่ ูใ้ ช้หลักสูตรอยา่ งกมาก ท่สี าคัญคอื 1. ปัญหาการกาหนดวิชาในหลักสูตร หลักสูตรประสบการณ์นาเอาแนวความคิดใหม่มาใช้คือ แทนท่ีจะคิดในรูปแบบของวิชาอย่างหลักสูตรรายวิชา กลับมองความสนใจปัจจุบันของผู้เรียนเป็นหลัก เมื่อเป็นดังน้ีจึงเกิดปัญหาว่าผูเ้ รยี นจะได้เรียนอะไร การกาหนดเนือ้ หาย่อมทาไดย้ าก ประสบการณท์ ี่จัด ให้ตามความสนใจอาจไมใ่ ช่ประสบการณ์ขน้ั พื้นฐานท่ีจาเป็นก็ได้นอกจากน้กี ารท่ียึดความสนใจเป็นหลัก อาจเกิดปัญหาเรื่องความต่อเนื่องของประสบการณ์รวมท้ังความต่อเน่ืองของเน้ือหาวิชาที่เรียนด้วย ปัญหาท่ีสาคัญอีกปัญหาหน่ึงก็คือ ครูหรือผู้สอนอาจเผลอนาเอาความสนใจของตนมาสรุปว่า เป็นความ สนใจของผเู้ รียน ถา้ หากเปน็ ดังว่ากเ็ ท่ากบั ไดท้ าลายหลักการของหลักสตู รนี้โดยส้นิ เชิง 68

2. ปัญหาการจัดแบ่งวิชาเรียนในชั้นต่าง ๆ ในการจัดแบ่งเนื้อหาในช้ันต่าง ๆ หลักสูตร ประสบการณ์ใช้หลักเดียวกันกับหลักสูตรรายวิชา คือพิจารณาจากวุฒิภาวะ ประสบการณ์เดิม เน้ือหาวิชาที่เรียนมาแล้ว ความสมใจประโยชน์และความยากง่ายของเนื้อหา ข้อแตกต่างมีว่าหลักสูตร ประสบการณ์ไม่ได้คิดเพียงการนาเอาเนื้อหาวิชามาเรียงลาดับกันเท่าน้ัน แต่จะพิจารณาด้วยว่าเน้ือหา อะไรท่ีผู้เรยี นจะเรยี นไดด้ ที ส่ี ดุ และรวดเร็วท่สี ดุ ปัญหาน้ียังหาคาตอบทพ่ี อใจไม่ได้ แรกทีเดียวก็เข้าใจกันว่า การจัดแบ่งวิชาในช้ันต่าง ๆ ตามแนวคิดของคิดของหลักสูตร ประสบการณไ์ ม่น่าจะมีปัญหาอะไร เพราะตราบใดท่ผี สู้ อนและผเู้ รียนมีอสิ รเสรีในการเลือกกจิ กรรมด้วย ตัวเองแล้วปัญหาก็ไม่น่าจะเกิดข้ึน คร้ันเม่ือลงมือปฏิบัติจริงกลับปรากฏว่ามีปัญหามาก เป็นต้นว่าไม่ สามารถสร้างความต่อเน่ืองของเนื้อหาวิชาระหว่างชั้นเรียนได้และบางทีกม็ ีการจัดกิจกรรมซ้า ๆ กันทุก ปี ไดม้ ีการแก้ไขโยการจัดทาตารางสอนของแตล่ ะปขี ึ้นแตก่ ็ไมไ่ ด้ผล เพราะตารางสอนเหล่านั้น เป็นเรื่อง ของเกา่ ไม่ได้ชช้ี ัดลงไปวา่ ในปีใหมค่ วรทาอะไรกัน 4. หลักสูตรรายวิชา หลักสูตรรายวิชา (The Subject Curriculum) เป็นหลักสูตรท่ีใช้กันมาแต่ดั้งเดิมไม่เฉพาะแต่ ในยุโรปหรือสหรัฐอเมริกาเท่าน้ัน ประเทศในเอเชียรวมท้ังประเทศไทยก็ได้ใช้หลักสูตรแบบน้ีมาแต่ต้น การท่ีเรียกว่าหลักสูตรรายวิชาก็เน่ืองจากโครงสร้างของเนื้อหาวิชาในหลักสูตร จะถูกแยกออกจากกัน เป็นรายวิชาโดยไม่จาเป็นตอ้ งมสี ว่ นเก่ยี วขอ้ งกัน ไมว่ า่ ในด้านเน้อื หาหรอื การสอน ลักษณะของหลักสูตร 1. จุดมุ่งหมายของหลักสูตร มุ่งส่งเสริมพัฒนาการของผู้เรียนโดยใช้วิชาต่าง ๆ เป็นเคร่ืองมือ ดังนั้นโครงสร้างของหลักสูตรจึงประกอบด้วยวิชาต่าง ๆ หลายวิชา ซึ่งนักพัฒนาหลักสูตรคิดว่าจะ สามารถสง่ เสรมิ พฒั นาการตามทดี่ ั่งจดุ หมายไว้ 2. จุดมุ่งหมายของหลักสูตร อาจมีส่วนสัมพันธ์กับสังคมหรือไม่ก็ได้ และโดยทั่วไป หลักสูตรน้ี ไม่คานงึ ถงึ ผลที่เกดิ แก่สงั คมเทา่ ใดนัก 3. จดุ ประสงคข์ องแต่ละวิชาในหลกั สตู ร เนน้ การถา่ ยทอดเน้อื หาวิชาเพอ่ื ให้ผู้เรยี นมคี วามร้แู ละ ลกั ษณะในวิชานนั้ ๆ เป็นสาคัญ 4. โครงสร้างของเน้ือหาวิชา ประกอบด้วยเนื้อหาของแต่ละวิชาที่เป็นเอกเทศไม่เก่ียวข้องกับ วชิ าอนื่ และจะถกู จัดไว้อยา่ งมีระบบ เปน็ ข้นั ตอน เพอื่ สะดวกแก่การเรยี นการสอน 5. กิจกรรมการเรียนการสอน เน้นเรื่องการถ่ายทอดความรู้ ด้วยการมุ่งให้ผู้เรียนจาเนอ้ื หาวิชา การส่งเสริมพัฒนาการในด้านอ่ืน ๆ ถือว่าเป็นเร่ืองกิจกรรมนอกหลักสูตร หรือไม่ก็เป็นผลพวงจากการ เรยี นรเู้ นอ้ื หาวิชา 6. การประเมนิ ผลการเรยี นรู้ มุง่ ในเร่อื งความรูแ้ ละทกั ษะในวิชาตา่ ง ๆ ที่ได้เรียนมา ส่วนดสี ่วนเสียของหลกั สูตร ก. ส่วนดี 1. จุดมุง่ หมายของหลักสตู รซงึ่ เนน้ เนอื้ หาวิชา ช่วยใหเ้ น้ือหาวชิ าเปน็ ไปโดยงา่ ย 69

2. เน้ือหาวิชาจะถูกจัดไว้ตามลาดับขั้นอย่างมีระบบ เป็นการง่ายและทุ่มเวลาในการ เรียนการสอน 3. การจัดเน้ือหาวิชาอย่างมีระบบ ทาให้การเรียนรู้เน้ือหาวิชาดาเนินไปอย่างต่อเนื่อง 4. การประเมินผลการเรียนทาได้ง่ายเพราะมุ่งประเมินความรู้ท่ีได้รับเป็นสาคัญ ข.สว่ นเสยี 1. เนื่องจากจุดมุ่งหมายของหลักสูตรเน้นการถ่ายทอดความรู้ตามเนื้อหาท่ีกาหนดไว้ ดังน้ันจึงมักละเลยต่อสภาพและปัญหาของสังคมและท้องถ่ิน ทาให้เกิดการเรียนรู้ที่ไม่สามารถนาไป ประยกุ ต์ใชใ้ นสังคมได้ 2. การเน้นเนื้อหา ทาให้ผ้เู รยี นไมไ่ ดร้ ับการสง่ เสริมพัฒนาการในด้านอารมณ์และสงั คม เท่าท่ีควร นอกจากนี้การที่มุ่งให้จาเนื้อหา ทาให้ผู้เรียนไม่ได้รับการฝึกฝนเร่ืองการคิดทักษะในการ แก้ปัญหาและความคิดริเริม่ สรา้ งสรรค์จะหย่อนไป 3. หลักสูตรแบบนี้ทาให้ผู้สอนละเลยการเรียนรู้อ่ืน ๆ ท่ีเกิดข้ึนในระหว่างท่ีเรียน เน้ือหาการเรียนดังกล่าวเรียกว่า การเรียนที่เป็นผลพวง (Concomitant Learning) ซึ่งอาจเป็น ประโยชนห์ รอื เป็นโทษแกผ่ ูเ้ รียนก็ได้ 4. การท่ีหลักสูตรจัดแยกวิชาต่าง ๆ ออกเป็นเอกเทศโดยไม่สัมพันธ์กันทาให้ทั้งผู้สอน และผู้เรียนมองไม่เห็นภาพรวมของส่ิงที่เรียน อันจะนาจะไปสู่จุดหมายของหลักสูตรสิ่งที่มองเห็นก็คือ จุดประสงค์ของแต่ละวิชา ซึ่งกระจัดกระจายแยกกันเป็นอิสระ เป็นการสร้างทัศนะแคบ ๆ ในด้านการ เรยี นรู้ซึง่ เท่ากับบ่ันทอนความอยากรูไ้ ปในตวั 5. ถึงแม้วา่ หลกั สตู รแบบนี้จะมกี ารจดั โครงสร้างและลาดบั ของเนื้อหาอย่างมรี ะบบ แต่ ก็มักจะละเลยความสนใจของผู้เรียน ท้ังนี้ด้วยเหตุผลท่ีว่า การจัดเนื้อหาน้ันจะยึดหลักเหตุผลในด้าน เนื้อหาสาระของวิชาเกณฑ์โดยไม่คานึงถึงหลักจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับพัฒ นาการและความต้องการของ ผู้เรียนแต่อย่างใด ซ่ึงเท่ากับการแยกความรู้และความสนใจออกจากกัน ดังนั้นการเรียนจึงไม่เกิดผล สงู สุด เพราะผ้เู รยี นขาดความสนใจในสิ่งทีผ่ เู้ รียนต้ังแตต่ น้ แลว้ 6. กิจกรรมการเรียนการสอนตามหลักสูตรแบบนี้ จะจากัดอยู่ในลักษณะท่ีผู้สอนเป็น ผู้ให้และผู้เรียนเปน็ ผรู้ ับ ดังน้ันความสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผเู้ รียนมีแนวโน้มที่จะเบ่ียงเบนจากความ เป็นประชาธิปไตยได้ง่าย บรรยากาศในห้องเรยี นมักจะมีความเคร่งเครียดและประสบการณ์ท่ผี ู้เรียนจะ ไดร้ บั จะถูกจากดั ให้อยใู่ นวงแคบ ทาใหผ้ เู้ รียนเกดิ ความเบือ่ หน่ายต่อการเรียน การปรับปรุงหลักสตู ร เนื่องจากหลักสูตรรายวิชามีข้อบกพร่องหลายประการดังกล่าวแล้วจึงได้มีการปรับปรุงแก้ไข วิธกี ารทท่ี ามี 2 วธิ ี คือ 1. จัดเรียงลาดับเนื้อหาได้ต่อเน่ืองกัน (Articulation) คือ จัดเน้ือหาท่ีอยู่ในช้ันเดียวกัน หรือ ระหวา่ งช้ัน ให้ตอ่ เนื่องกัน โดยรกั ษาความเปน็ วิชาของแตล่ ะวชิ าไว้ การจดั มอี ยู่ 2 แบบ คือ ก. จัดให้ต่อเน่ืองตามแนวนอน (Horizontal Articulation) หมายถึง การจัดเน้ือหา 70

ของวิชาหนึ่งให้สัมพันธ์หรือต่อเนื่องกับของอีกวิชาหนึ่ง ซึ่งอยู่ในช้ันเดียวกัน เช่น กาหนดเนื้อหาเร่ือง ปฏิภาคไว้ในวิชาคณิตศาสตร์เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนาเอาความรู้ไปใช้ในการคานวณในเรื่องกฎของกาซ ซึ่งจัดไว้คู่ขนานกันในวิชาวิทยาศาสตร์ หรือจัดเน้ือหารายวิชาวรรณคดีไทยในกรุงศรีอยุธยา ไว้คู่ขนาน กับประวัติศาสตรส์ มยั กรุงศรอี ยธุ ยาในช้นั เดยี วกนั และใหเ้ รยี นในเวลาใกลเ้ คียงกันด้วย ข. จัดให้ต่อเน่ืองในแนวตั้ง (Vertical Articulation) หมายถึง การจัดเนื้อหาที่อยู่ต่าง ชั้นกัน คือ ระหว่างช้ันต่ากับช้ันสูงโดยทาให้เกิดความต่อเน่ืองของวิชา ตั้งแต่ช้ันประถมไปจนถึงช้ัน มัธยมศึกษาตามแบบนี้จะจัดภายในหลักสูตรเดียวกัน ระหว่างชั้น ป.1 ถึง ป.6 ในระดับประถมศึกษา หรือระหว่างช้ัน ป.6 ถึงชั้น ม.1 ของระดับมัธยมาศึกษาหรือระหว่างมัธยมศึกษากับมหาวิทยาลัยก็ได้ หลักในการจัดทานองเดียวกันกับการจัดลาดับเนื้อหาของแต่ละรายวิชา คือ อาศัยหลักความจาเป็น ก่อนหลงั ความยากง่ายของเนื้อหาแต่ละรายวิชา คือ อาศัยหลักความจาเป็นกอ่ นหลัง ความยากง่ายของ เนื้อหา และหลักอื่น ๆ ทีเ่ หน็ ว่าสาคัญ 2. จัดโดยการเชื่อมโยงเนื้อหาเข้าดว้ ยกัน (Coherence) คือจดั เนอื้ หาของแตล่ ะวิชาให้เชือ่ มโยง กันในลักษณะทสี่ ่งเสริมซึง่ กนั และกนั ทาใหผ้ ู้เรยี นมีพฒั นาการท่ผี สมกลมกลืนไมม่ ีอะไรท่ีขัดแย้งกัน การ เชื่อมโยงโดยวิธกี ารดงั กลา่ วนที้ าได้ 2 ระดบั คือ ก. ระดับความคิด (Cognitive level) จุดมุ่งหมายของหลักสูตรข้อหนึ่งท่ีเราต่างก็ ยอมรบั กนั คอื การพัฒนาความสามารถทางปัญญา อันได้แก่ความรู้ความเข้าใจ ทกั ษะ เจตคติ ความพึง พอใจ ฯลฯ ส่ิงต่าง ๆ เหล่าน้ีต่างมีความสัมพันธ์กัน กล่าวคือความสามารถอย่างหน่ึงจะส่งเสริม ความสามารถอีกอย่างหนึ่ง และผลสัมฤทธ์ิทางปัญญาทั้งหมดทุกด้านย่อมมีผลต่อการพัฒนาการทาง บุคลิกภาพของบุคคลสวนรวม การจดั หลกั สตู รตามหลกั การเชอ่ื มโยงในระดับความคิดหมายถึงการจดั โย ให้เนื้อหาส่งผลให้ผู้เรียนมีความสามารถในด้านต่าง ๆ ในลักษณะที่ผสมกลมกลืนกัน เป็นการจัดที่ เช่ือมดยงการเรียนรู้กับการพัฒนาการของบุคคลเข้าด้วยกัน เช่น จัดวิชาวรรณคดี ไม่เพียงแต่ให้ผู้เรียน ได้เรียนรู้เท่านั้นแต่ให้เกิดเจตคติท่ีดีต่อวิชานั้นด้วยหรือให้การเรียนวิทยาศาสตร์ไม่เพียงแต่จะพัฒนา ทกั ษะในการทดลองเทา่ นั้น แตใ่ หผ้ ู้เรียนเกดิ ความพึงพอใจในประโยชน์ท่วี ทิ ยาศาสตรม์ ีต่อมนษุ ย์ชาติอีก ด้วย ข. ระดับโครงสร้าง (Organizational Level) หมายถึง การจัดให้เน้ือหาในแต่ละวิชา เอื้อประโยชน์ต่อกันและกัน และเกิดประโยชน์ต่อวิชาอื่น ๆ ด้วย เป็นการจัดท่ีเพ่งเล็งท่ีเนื้อหาไม่ใช่ตัว บุคคลเหมือนกับระดับความคิด ดังน้ันผู้จัดจะดูว่า เน้ือหาของแต่ละวิชานั้นจะเช่ือมโยงและอานวย ประโยชน์แก่วิชาอ่ืนอย่างไร ตัวอย่างเช่น การอ่านในวิชาภาษาไทยแจะกาหนดเน้อื หาให้มีเรอ่ื งเกย่ี วกับ วทิ ยาศาสตร์ และสังคมศึกษาอยดู่ ว้ ย เป็นต้น วิธีการจัดโดยโยงใยเน้ือหาเข้าด้วยกันนี้ ทาให้เกิดหลักสูตรสัมพันธ์วิชา (The Correlated Curriculum) 71

5. หลกั สูตรแกน หลักสูตรแกน (The Core Curriculum) ถือกาเนิดข้ึนท่ีสหรัฐอเมริกาเมื่อประมาณปี ค.ศ. 1900 ด้วยเหตุผลสองประการ คือ ความพยายามท่ีจะปลีกตัวออกจากการเรียนที่ต้องแบ่งแยกวิชา ออกเป็นรายวิชาย่อย ๆ หรือพูดง่าย ๆ ก็คือความพยายามที่จะให้หลดุ พ้นจากการเป็นหลักสูตรรายวิชา ประการหน่ึง และความพยายามท่ีจะดึงเอาความต้องการและปัญหาของสังคมมาเป็นศูนย์กลางของ หลักสูตร อกี ประการหนึ่ง แรกทเี ดียวได้มีการนาเอาเนื้อหาของวิชาตา่ ง ๆ มารวมกนั เขา้ เป็นวิชากวา้ ง ๆ เรียกว่าหมวดวิชา ทาให้เกิดหลักสูตรแบบกว้างข้ึน แตห่ ลักสูตรน้ีมิได้มีส่วนสัมพันธ์กับปัญหาและความ ต้องการของสงั คมมากนกั ดังน้นั จึงมผี คู้ ิดหลกั สตู รแกนเพอื่ สนองจุดหมายทีต่ ้องการ วิวัฒนาการของหลักสูตร วิวัฒนาการของแนวความคิดเร่ืองหลักสูตรแกน เริ่มจากการใช้วิชาเป็นแกนกลางโดยเชื่อม เน้ือหาของวิชาที่สามารถนามาสัมพันธ์กันได้ เข้าด้วยกัน แล้วกาหนดหัวข้อข้ึนให้มีลักษณะเหมือนเป็น วิชาใหม่ เช่น นาเอาเน้ือหาของวิชาชีววิทยา สังคมศึกษาและสุขศึกษามาเช่ือมโยงกันภายใต้หัวข้อ “สุขภาพและอนามัยของท้องถ่ิน” เป็นต้น ต่อมาภายหลังมีผู้คิดปรับปรุง การเช่ือมโยงอีก โดยยึดเอา วิชาใดวิชาหน่ึงเป็นแกน แล้วกาหนดหัวข้อการเรียนการสอนให้ครอบคลุมวิชาอ่ืน ๆ อย่างกว้างขวาง เป็นต้นว่า เอาวิชาประวัติศาสตร์เป็นแกนแล้วขยายขอบเขตของเน้ือหาให้ครอบคลุมวิชาศิลปะ ดนตรี วรรณคดี วิทยาศาสตร์ เศรษฐกิจและวัฒนธรรม อย่างไรก็ตามการใช้วิชาเป็นแกนท้ังสองรูปแบบนี้ยังมี ข้อบกพร่องอย่โู ดยเฉพาะในแงข่ องความสมั พนั ธก์ ับปญั หาสังคมปจั จบุ ัน เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าว ได้มีการปรับปรุงแนวความคิดเสียใหม่โดยถือเอาความต้องการ และความสนใจของผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของหลักสูตร แต่ก็ปรากฏว่ายังมีข้อบกพร่องอยู่อีก เพราะ ความต้องการของผู้เรียนกับของสังคมอาจไม่ตรงกันก็ได้ นอกจากน้ันความต้องการนั้นอาจไม่ใช่ความ ต้องการของผู้เรียนโดยส่วนร่วม อาจเป็นความต้องการของผู้ท่ีมาจากครอบครัวชนช้ันกลางทาให้พวก ทมี่ าจากชนชั้นสูงและชนั้ ต่า ถกู ทอดท้งิ อยา่ งไมเ่ ป็นธรรมก็ได้ ในเวลาต่อมาได้มีการปรับปรุงแนวคารมคิดอีก 2 รูปแบบ แบบแรกคือเอาหน้าท่ีของบุคคลใน สังคมเป็นแกน เช่น การรักษาสุขภาพ การเป็นสมาชิกท่ีดีของครอบครัวและสังคม การประกอบอาชีพ การปฏิบัติกิจทางศาสนา การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์และการร่วมในกิจกรรมของท้องถิ่น เป็นต้น สาหรับแบบที่สองใช้ปัญหาสังคมเป็นแกน วิธีการที่เลือกว่าปัญหาใดสาคัญอาศัยหลักว่าปัญหานั้น จะต้องมีผลพาดพิงต่อความเป็นอยู่ของบุคคลหรือสังคมส่วนรวมมีผู้ตาหนิว่าหลักสูตรแกนมุ่งศึกษา ปัญหาสังคมและการศึกษาเรื่องของผู้ใหญ่มากเกินไปจนอาจลืมความสนในของเด็ก ข้อตาหนิน้ีมีผู้แก้ ตา่ งว่าตามความเปน็ จริงและไมไ่ ด้ละเลยความสนใจของเด็กแต่อย่างใด เป็นแต่เพียงเบนความสนใจเข้า หาส่ิงท่ีเป็นประโยชน์ต่อสังคมเท่าน้ัน นอกจากนี้เด็กเองยังมีโอกาสได้ร่วมในการวางแผนและลงมือ แก้ปัญหาด้วยตนเองอีกด้วย อนึ่ง การศึกษาปัญหาสังคมเป็นส่วนรวมจะช่วยให้เด็กหรือผู้เรียนมองเห็น สภาพและแนวโนม้ ของสงั คมท่ตี นอาศยั อยไู่ ดด้ ขี นึ้ จากวิวัฒนาการของหลักสูตรในสหรัฐอเมริกาทาให้เราพอจะอนุมานได้ว่า หลักสูตรแกนคือ 72

หลักสูตรที่ผู้เรียนทุกคนต้องเรียน และเป็นหลักสูตรท่ีเน้นใหเ้ ร่ืองปัญหาสงั คมและค่านิยมของสังคมโดย กาหนดเค้าโครงของส่งิ ทจ่ี ะสอนไว้อยา่ งชดั เจน หลกั สตู รแกนในเอเชยี ประเทศในภูมิภาคเอเชียท่ีใช้หลักสูตรแกนอยู่ในปัจจุบันน้ีมีหลายประเทศ เช่น จีน อินเดีย อินโดนีเซีย เนปาล ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา ไทย เวียดนาม ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และนิวซีแลนด์ แต่การ ตีความหมายของหลักสูตรมีอยู่ 3 ความหมาย คอื หลักสูตรแกน หมายถึง หลักสูตรที่นาเอาวิชาต่าง ๆ มาผสมผสานกัน โดยใช้หัวข้อท่ีเกี่ยวข้อง กับปัญหาสังคมปจั จบุ ัน ปัญหาของผู้เรยี น หรือปัญหาทางประวัติศาสตร์มาผสมผสานกนั หลักสูตรแกน หมายถึง หลักสูตรที่ประกอบด้วยความรู้ ทักษะ และเจตคติที่ได้เลือกสรรแล้ว เห็นว่ามีความจาเป็นสาหรับผู้เรียนทุกคน โดยนาเอาส่ิงที่ได้เลือกไว้แล้วนี้ มาจัดในลักษณะหลักสูตร กวา้ ง ไมแ่ ยกรายวิชา หลักสูตรแกน หมายถึง หลักสูตร ประกอบด้วยวิชาต่าง ๆ ซ่ึงได้รับการพิจารณาว่าสาคัญและ จาเป็นสาหรบั ผูเ้ รียนทกุ ๆ คน อย่างไรกต็ ามมขี อ้ สังเกตเพ่ิมเติมดังต่อไปนี้ ก. ไม่ว่าจะตีความหมายอย่างใด หลักสูตรแกนเป็นหลักสูตรท่ีผู้เรียนทุกคนต้องเรียนเหมือนกัน ท้งั หมด ข. ความแตกต่างของเน้ือหาของหลักสูตรขึ้นอยู่กับนโยบายและจุดมุ่งหมายของการศึกษาซึ่ง ผู้รบั ผิดชอบเป็นผกู้ าหนด ค. ทุกหลักสูตรต่างมีจุดเน้นท่ีวัฒนธรรม ค่านิยมและปัญหาสังคม แต่จะเน้นมากหรือน้อยกว่า กนั เพียงใด ยอ่ มข้ึนอยู่กบั นโยบายประเทศน้ัน ๆ ง. ตามปกติหลักสูตรแกนจะเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรแม่บท และมีลักษณะเป็นหลักสูตร บรู ณาการ เพื่อช่วยให้มองเห็นภาพของหลักสูตรแกนของประเทศต่าง ๆ ในเอเชียชัดเจนยิ่งขึ้น ขอนาเอ สาระสาคญั ท่ีเก่ียวข้องมาสรุปเปรียบเทยี บให้เห็นดังต่อไปนี้ ความหมายของหลกั สูตร ประเทศทีด่ ี 1. คือ จนี ญี่ปุ่น 2. คือ อินเดีย มาเลเซีย ฟิลปิ ปนิ ส์ ศรีลังกา ไทย เวยี ดนาม นิวซีแลนด์ 3. คือ อนิ โดนีเซีย เนปาล ออสเตรเลีย ผู้รับชอบในการกาหนดหลักสูตร ประเทศที่รัฐบาลกลางมีหน้าท่ีรับผิดชอบท้ังหมดคือ จีน อนิ โดนีเซีย มาเลเซยี เนปาล ฟลิ ิปปินส์ ศรีลังกา ไทย และเวยี ดนาม สาหรับญีป่ ่นุ และนวิ ซแี ลนด์ รัฐบาล กลางเป็นผู้กาหนดแนวทางกลางให้ และโรงเรียนเป็นผู้จัดทาโปรแกรมการเรียนการสอนเอง มีอยู่ ประเทศท่ีรัฐบาลกลางไม่มีส่วนเก่ียวข้อง ได้แก่ อินเดีย ซ่ึงแต่ละรัฐจะดาเนินการเองโดยรัฐบาลกลาง เพียงเสนอข้อคิดเห็น และออสเตรเลียซึ่งทุกสิ่งทุกอย่างเป็นเร่ืองของแต่ละรัฐ ในบางรัฐยังถือว่าการ 73

กาหนดหลักสตู รเปน็ เรื่องของโรงเรียน ระดับการผสมผสานวิชาในหลักสูตร ท่ีมีการผสมผสานกันอย่างมากมายได้แก่หลักสูตรของ ประเทศศรีลังกา ไทย เวียดนามและนิวซีแลนด์ ผสมผสานระดับปานกลาง ได้แก่ของจีน อินเดีย อินโดนเี ซีย มาเลเซีย ฟิลปิ ปินส์ ออสเตรเลยี และญ่ีปุ่น ส่วนหลกั สูตรของเนปาลน้นั มีการผสมผสานกัน น้อยมาก ระดับการเน้นหลักเรื่องชาตินิยมและความสามัคคีในชาติ ประเทศที่เน้นหนักมาก คือ จีน อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย เนปาล ไทย เวียดนาม ท่ีเน้นปานกลางคือ ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา ส่วนท่ีเห็น วา่ จาเป็นแต่ไมได้เน้น คือ ออสเตรเลยี ญป่ี ุ่น และนิวซแี ลนด์ ระดับการเน้นหนักด้านศีลธรรมและจริยธรรม ประเทศท่ีเน้นหนักมากคือ จีน อินเดีย อนิ โดนีเซีย มาเลเซีย ไทย เวียดนาม ที่เน้นในระดับปานกลางคือ เนปาล ฟิลิปปินส์ ศรีลงั กา และญี่ปุ่น สว่ นประเทศทเ่ี หน็ ว่าจาเป็นแตไ่ มไ่ ดเ้ น้นคือ ออสเตรเลยี และนิวซแี ลนด์ สัดส่วนของหลักสูตรแกนในระดับประถมศึกษา ประเทศท่ีถือว่าหลักสูตรประถมศึกษาท้ังหมด คือ หลักสูตรแกน คือ จีน มาเลเซีย เนปาล ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา ไทย เวียดนาม ออสเตรเลีย ญ่ีปุ่นและ นิวซีแลนด์ มีอินเดียและอินโดนีเซียเพียงสองประเทศที่หลักสูตรแกนไม่เป็นหลักสูตรประถมศึกษาทั้ง ทงั้ นีเ้ นอื่ งจากมวี ชิ าเลอื กปะปนอยดู่ ว้ ย ความสัมพันธ์กับเศรษฐกิจและการเมอื งของประเทศ ประเทศที่เน้นความสัมพันธ์อย่างมาก คือ จีน อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย เนปาล ไทยและเวียดนาม ที่เน้นในระดับปานกลาง ได้แก่ ฟิลิปปินส์ ศรลี ังกา ออสเตรเลยี ญ่ปี ุ่นและนวิ ซีแลนด์ วิชาที่จดั สอนให้ระดับประถมศึกษา ปรากฏว่าประเทศต่าง ๆ ท่กี ลา่ วมาแล้วได้กาหนดวชิ าของ หลักสูตรไว้ใกล้เคียงกันมาก เป็นต้นว่าทุกประเทศมีการสอนภาษาประจาชาติและจัดให้มีการเช่ือมโยง ระหวา่ งการเรียนภาษากับทักษะในการเขียน และในการส่ือความหมาย นอกจากนี้ยงั ถอื ว่าภาษาเป็นส่ิง ท่สี รา้ งเอกลักษณ์ของชาติ และสรา้ งความเปน็ ปึกแผน่ ทางวัฒนธรรม วิชาอื่นท่ีมีอยู่ในหลักสูตรในประเทศ ได้แก่ คณิตศาสตร์ หรือเลขคณิต สังคมศึกษาและ วิทยาศาสตร์ สองวิชาหลังบางทีสอนรวมกันเป็นวิชาการศึกษาส่ิงแวดล้อม สาหรับประเทศไทย เรียกว่า กลุ่มประสบการณ์ชวี ิต วิชาที่จัดไว้ในหลักสูตรของทุกประเทศอีกวิชาหน่ึงคือ จริยศึกษา วิชาน้ีถึงแม้ว่าในอินเดีย ออสเตรเลีย และนวิ ซแี ลนด์ จะไมแ่ ยกเป็นวชิ าต่างหาก แต่ก็มีสอดแทรกอยู่ในวิชาอ่ืน นอกจากนี้ก็มวี ิชา พลศึกษาและศิลปะ ซึ่งมีอยู่ในหลักสูตรของประเทศ สาหรับวิชาการงานก็มีอยู่ในหลักสูตรของเกือบทุก ประเทศเชน่ เดียวกัน ประเทศท่ีเน้นเรอ่ื งนมี้ ากคอื อนิ เดยี และจนี ขอ้ สรปุ เกยี่ วกบั หลักสูตรแกน จากข้อมูลว่าดว้ ยหลักสูตรแกนในสหรัฐอเมริกาก็ดี และในประเทศต่าง ๆ ในเอเชยี ก็ดีทาให้เรา พอมีข้อมูลสรุปได้ว่า หลักสูตรแกนเป็นหลักสูตรท่ีบังคับให้ทุกคนต้องเรียน อาจเป็นหน่ึงของหลักสูตร แม่บท หรือเป็นตัวหลักสูตรแม่บทก็ได้ จุดเน้นของหลักสูตรจะอยู่ที่วิชาหรือสังคมก็ได้ ส่วนใหญ่จะเน้น 74

สงั คม โดยยึดหนา้ ที่ของบุคคลในสงั คม หรอื ปญั หาสงั คม หรือการสรา้ งเสริมสงั คมเปน็ หลกั ในแง่ของการเน้นวิชาก็ได้แก่การบังคับให้เรียนวิชาต่าง ๆ ในหลักสูตร เช่น วิชาสามัญ ได้แก่ ภาษาไทย สังคมศึกษา วิทยาศาสตร์ เป็นต้น ส่วนในด้านสังคมก็อาจกาหนดหลักสูตรโดยใช้หัวข้อ ตอ่ ไปน้ี 1. ทย่ี ดึ หน้าทข่ี องบุคคล ได้แก่ การสงวนรกั ษาทรพั ยากร การผลิตสินคา้ และบรกิ ารเฉลี่ยรายได้ การใช้สนิ คา้ และบรกิ ารการพกั ผ่อนหย่อนใจ 2. ทีย่ ดึ ปัญหาสังคมไดแ้ ก ปญั หาท่อี ยูอ่ าศัย อาหาร การจราจร มลภาวะ สุขภาพ ศลี ธรรม และ การมีงานทา 3. ทย่ี ึดการสรา้ งเสริมสังคม ได้แก่ ความรับผิดชอบตามหน้าทพ่ี ลเมือง การเปน็ ผู้บรโิ ภคที่ฉลาด ความเข้าใจระบบเศรษฐกิจความสัมพนั ธ์อันดภี ายในครอบครวั การส่งเสรมิ อนามยั ชุมชนและงานพัฒนา ชมุ ชน 6. หลกั สตู รแฝง (Hidden Curriculum) โรงเรียนโดยทั่วไปจะมีความสามารถและประสบความสาเร็จอย่างมากในการสอนให้นักเรียน อา่ นออก เขียนได้ คิดเลขเป็น และมคี วามรู้อย่างดยี งิ่ ในสาขาวิชาต่าง ๆ แต่สิ่งหนึง่ ที่โรงเรยี นไดต้ ระหนัก และพยายามอย่างมาก แต่ไม่ค่อยประสบความสาเร็จหรืออาจจะเรียกได้ว่าล้มเหลวมาตลอดก็คือ การ สอนคุณธรรม จริยธรรม และความเป็นพลเมอื งดีใหแ้ ก่นักเรียน เด็กเหล่าน้ีได้รับการปลูกฝัง และอบรม สั่งสอนจากครูอย่างจริงจัง แต่พวกเขาก็ไม่ค่อยปฏิบัติตามส่ิงท่ีครูสอนมากนักแม้จะมีนักเรียนบางคน ประพฤติตนตามคาสอนของครูอย่างเคร่งครัด แต่เม่ือเขาออกจากโรงเรียนไปแล้วก็เปลี่ยนพฤติกรรม และค่านิยมไปตามสังคมที่เรามองกันวา่ ไม่เหมาะสม คนทั่ว ๆ ไปในสังคมทราบว่าเหตุใดการสอนให้คน ทาความดี และประพฤติดีจึงไม่ประสบความสาเร็จ เขาทราบกันดีว่ามีผู้สอนและผู้อบรมไม่น้อยท่ีมี ลักษณะพดู อย่างทาอย่าง หรอื สอนอย่างหนึ่งแต่ตนเองทาอีกอย่างหนึ่ง จงึ มีคาพูดหรือคาเปรยี บเทียบท่ี แสดงข้อเท็จจริงนอี้ อกมา เช่น “แม่ปสู อนลูกปู” “วา่ แต่เขาอิเหนาเป็นเอง” และ “จงทาตาม่ีครูสอนแต่ อย่าทาตามที่ครูทา” เป็นตน้ ข้อความแสดงให้เห็นถึงความเขา้ ใจของคนไทยที่มตี ่อการสอนค่านิยมและ จริยธรรมได้เป็นอย่างดี เพราะโดยธรรมชาติมนุษย์เราจะเรียนรู้พฤติกรรม บุคลิกลักษณะ ค่านิยมและ จริยธรรมโดยการเลียนแบบ นักการศึกษาและนักสังคมศาสตร์ชาวตะวันตกได้ให้ความสนใจในการ เรียนรู้ประเภทน้ี และเชื่อว่านักเรียนเรียนรู้ค่านิยม คุณธรรม จริยธรรม และพฤติกรรมต่าง ๆ จากการ กระทาของครูเอง และจากสิ่งท่ีโรงเรียนจัดให้รวมทั้งสิ่งแวดล้อมของโรงเรียน มากกว่าการสอนส่ิง เหล่านี้ตามที่ได้กาหนดไว้ในตัวหลักสูตร และได้บัญญัติคาเพ่ือเรียกการเรียนรู้ที่แท้จริงที่ไม่ได้เกิดจาก หลักสูตรปกติวา่ หลักสูตรแฝง (Hidden Curriculum) ความหมาย หลักสูตรแฝง เป็นคาที่แปลมาจากภาษาอังกฤษว่า Hidden curriculum แต่มีนักพัฒนา หลักสูตรบางท่านพอใจที่จะใช้คาอื่นที่มีความหมายใกล้เคียงกัน เช่น กู๊ดแลด (Goodlad, 1094) ใช้คา ว่า implicit curriculum และเซย์เลอร์กับอเล็กซานเดอร์ (Saylor & Alexander, 1974) ใช้คาว่า 75

unstudied curriculum ถึงแม้จะใช้คาที่แตกต่างกันไปบ้าง แต่ต่างก็มีความหมายใกล้เคียง หรือถือได้ วา่ เป็นความหมายท่ีมีนัยเดียวกัน คือเป็นหลักสูตรท่ีแฝงซ่อนเร้น ไม่เปิดเผย และไม่ได้มุ่งศึกษาโดยตรง เพราะถอื ว่าเป็นหลักสูตรทไ่ี มเ่ ปน็ ทางการ (unofficial curriculum) หลักสูตรแฝง เป็นหลักสูตรที่ไม่ได้กาหนดแผนการเรียนรู้เอาไว้ล่วงหน้าและเป็นประสบการณ์ การเรียนรู้ที่โรงเรียนไม่ได้ต้ังใจจะจัดให้ จากนิยามนี้สามารถอธิบายเพิ่มเติมเพื่อให้เข้าใจดีข้ึน โดย ตัวอย่างท่ีเป็นรูปธรรมดังน้ี ในทางเปิดเผยโรงเรียนสอนคณิตศาสตร์และจัดให้เด็กชายเรียนรู้ การอ่าน การเขยี น การสะกดคาและอ่ืน ๆ แต่โรงเรียนและครไู ด้สอนหลายสิ่งหลายอย่างโดยไมต่ ั้งใจจากการสอน ตามหลกั สตู รปกติในรูปของกฎเกณฑ์ท่กี าหนดขึ้นมา และเรียนรจู้ ากสภาพการณ์และเงื่อนไขเชิงสังคมลิ ชงกายภาพที่โรงเรียนจัดให้ เป็นต้นว่าสอนนักเรียนให้ทางานตามลาพังในเชิงของการแข่งขัน หรือให้ นักเรียนทางานด้วยกันเป็นกลุ่ม สอนให้นักเรียนเป็นผู้กระทาหรือเป็นถูกกระทา ให้รู้จักพอใจเก่ียวกับ ข้อเท็จจริงพื้น ๆ หรือให้เกิดความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งและอื่น ๆ สรุปส้ัน ๆ และตรงประเด็นก็คือ ครู หรือโรงเรียนสอนคา่ นิยมใหแ้ ก่เดก็ อยา่ งแอบแฝง หรือโดยไม่ตง้ั ใจ แม้จะไม่มีใครกล่าว และให้ความสนใจให้กับหลักสูตรแฝงมากนัก แต่ต้องยอมรับว่าหลักสูตร แฝงมีอยู่ในทุกโรงเรียน สไนเดอร์ (Snyder, 1970) ได้ยืนยันความจริงข้อนี้ว่าไม่มีสถานศึกษาใดเลย ไม่ ว่าจะเป็นโรงเรียนอนุบาล โรงเรียนมัธยมศึกษาหรือมหาวิทยาลัยท่ีไม่มีหลักสูตรแฝงปรากฏอยู่และเขา ได้แสดงความเช่ือต่อไปว่าหลักสูตรแฝงมีอิทธิพลต่อการปรับตัวของนักเรียนและอาจารย์มากกว่า หลักสตู รปกติ หลักสูตรแฝงกบั พฤติกรรมการเรยี นรู้ด้านจิตพิสัย โดยทั่วไปโรงเรียนจะประสบความสาเร็จมากในการสอนให้เกิดการเรียนรู้ทางด้านพุทธิพิสัย และทักษะพิสัย ซึ่งเป็นเรื่องเก่ียวกับผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนมีการสอนและการประเมินผลท่ีจัดให้เกิด ความสอดคล้องกันได้ง่ายและกระทาได้งา่ ย แต่โรงเรยี นจะมีปัญหาในการสอนนักเรยี นให้เกิดการเรียนรู้ ทางด้านจิตพิสัยซ่ึงเป็นเร่ืองที่เก่ียวกับจิต อารมณ์และการกระทาที่สอดคล้องกัน กล่าวอีกนัยหน่ึงก็คือ เป็นเรื่องของการสอน เจตคติ ค่านิยม และความประพฤติที่พึงประสงค์เพราะสิ่งเหล่าน้ีไม่สามารถ ดาเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้โดยการบรรยาย หรือการใช้คาพูดส่ังสอน เพราโดยธรรมชาติและ หลักข้อเท็จจริง เด็กจะเรียนรู้สิ่งเหล่าน้ีใช้คาพูดสั่งสอน เพราะโดยธรรมชาตแิ ละหลักขอ้ เท็จจรงิ เดก็ จะ เรียนรสู้ ง่ิ เหลา่ น้จี ากตัวอยา่ งและการกระทาของผู้ใหญ่และผอู้ ยูใ่ กล้ชดิ มากกว่า จากข้อเท็จจริง ความคิด และมุมมอง เกี่ยวกับหลักสูตรแฝงน้ีจะช่วยให้ครูและนักการศึกษาได้ แง่คิด และเข้าใจสัจธรรมเกี่ยวกับการเรียนรู้ในเร่ืองเจตคติ ค่านิยม พฤติกรรม คุณธรรมและจริยธรรม ของนักเรียน ความจริงในเร่ืองนี้ช่วยให้ผู้เก่ียวข้องเกิดความตระหนักว่า การสอนให้นักเรียนเกิดการ เรียนรู้ทางด้านจิตพิสัยโดยเน้นการส่ังสอนอบรมในลักษณะการบรรยาย และการจัดกิจกรรมการเรียน การสอนปกติตามหลักสูตร แต่เพียงอย่างเดียวย่อมจะไม่เพียงพอ แตจ่ ะต้องการขอความร่วมมือจากครู และบุคลากรทุกคนของโรงเรียนได้ช่วยกันสร้างบรรยากาศ จัดกิจกรรม และประพฤติปฏิบัติตนให้เอื้อ ต่อการเรียนรใู้ นดา้ นค่านิยมและจริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนจึงไม่ควรเน้นและทุ่มเทในกา้ นการสอน 76

สงิ่ เหล่าน้ีตามตัวหลกั สูตรปกติมากจนเกนิ ไปหรือเกินความจาเป็น แต่ใหเ้ พิม่ ความสนใจแก่หลักสูตรแฝง มากข้ึน โดยการนาหลักสูตรแฝงออกมาสู่ท่ีสว่าง หรือนาความจริงเก่ียวกับหลักสูตรแฝงมาเป็นยุทธวิธี หรืออุบายในการสอนจริยธรรมและสิ่งท่ีดีงามได้แก่เยาวชน นั่นคือ นอกจากการจัดบรรยากาศใน โรงเรียนให้ส่งเสริมการเรียนรู้ทางคุณธรรมและจริยธรรมแล้ว จาเป็นจะต้องมีการควบคุมหรือกาหนด สง่ิ แวดล้อมในสังคมระดับชุมชน และระดับประเทศใหเ้ อื้อและสนองตอบไปในทิศทางเดียวกันด้วย เพื่อ เยาวชนจะได้เรียนรู้และเลียนแบบความประพฤติและส่ิงดี ๆ จากผู้ใหญ่ในครอบครัวในโรงเรียนและใน สงั คม 7. หลักสตู รสัมพนั ธว์ ชิ า หลักสูตรสัมพันธ์วิชา (The Correlated Curriculum) เป็นหลักสูตรรายวิชาท่ีได้รับการ ปรับปรุงเพ่อื แก้ไขข้อบกพรอ่ งต่าง ๆ แรกทีเดยี วการแก้ไขข้อบกพร่องทาโดยการนาเอาเทคนิคการสอน ใหม่ ๆ มาใช้ เช่น ให้ผู้เรียนร่วมในการวางแผนการเรยี น และใหผ้ ู้เรียนทากิจกรรมตา่ ง ๆ นอกเหนอื จาก การท่องจา เพ่อื ให้ผู้เรยี นรู้เนอ้ื หาท่ีต้องการ ท้ังน้เี พ่ือแก้ข้อบกพร่องของหลักสูตรท่ีเน้นเรื่องผู้สอนเป็นผู้ สั่งการหรือจุดศูนย์กลางของการเรียนการสอน แต่การปรับปรุงด้านเทคนิคการสอนไม่ได้ช่วยแก้ไข ข้อบกพร่องที่ว่า หลักสูตรรายวิชามีขอบเขตแคบเฉพาะวิชา และยังมีลักษณะแบ่งแยกเป็นส่วนย่อย ๆ อีกดว้ ย ในระยะต่อมาไดม้ ีการปรับปรุงแก้ไขอีกโดยจัดให้มีความเช่ือมโยงระหว่างวิชาต่าง ๆ ทาให้เกิด หลักสูตรสัมพันธ์วชิ าขึ้น วิธกี ารเชื่อมโยงก็ทาท้ังในระดบั ความคิดและระดับโครงสร้างดงั ได้กลา่ วมาแล้ว อย่างไรก็ตามหลักสูตรสัมพันธ์วิชากค็ ือหลักสูตรรายวิชาอกี รูปแบบหน่ึงน่ันเอง แต่เป็นหลักสูตรทนี่ าเอา เนื้อหาของวิชาต่าง ๆ ท่ีสอดคล้องหรือส่งเสริมซ่ึงกันและกัน มาเช่ือมโยงกันเข้าแล้วจัดสอนเน้ือหา เหล่าน้ันในคราวเดียวกัน วิธีการน้ีอาศัยหลักความคิดของแฮร์บารตที่ว่าการที่จะเรียนรู้สิ่งใดได้ดีผู้เรียน จะต้องมีความสนใจเข้าใจความหมายของส่ิงท่ีเรียนและมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่เรียนและสิ่ง อื่นท่ีเกี่ยวขอ้ ง ดังนั้นการนาเอาเนือ้ หาของวชิ าหนึ่งมาเช่ือมโยงกับประวตั ศิ าสตร์ของชาตไิ ทย เขมร ลาว และเวียดนาม หรือนาเอาหลักเกณฑ์ของวิชาคณิตศาสตร์มาเชื่อมโยงเป็นเครื่องมือในการสอน วทิ ยาศาสตร์ เปน็ ตน้ สาหรับวธิ กี ารที่ใชใ้ นการสมั พนั ธว์ ิชา เท่าทป่ี ฏิบตั กิ นั มามอี ยู่ 3 วธิ คี ือ 1. สัมพันธ์ในข้อเท็จจริง กล่าวคือใช้ข้อเท็จจริงของวิชาส่วนหน่ึงมาช่วยประกอบการสอนอีก วิชาหนึ่ง เช่น เม่ือมีการศึกษาประวัติศาสตร์ตอนใดตอนหนึ่งถ้าปรากฏว่ามีวรรณคดีเก่ียวกับ ประวตั ิศาสตรต์ อนนั้นอยดู่ ้วย ก็นาเอาวรรณคดีนนั้ มาศึกษาด้วยในขณะเดียวกันเป็นการเพิ่มความเขา้ ใจ แก่ผู้เรียนมากข้ึน ในทานองเดียวกันอาจนาเอาข้อเท็จจริงของวิชาภูมิศาสตร์มาสอนให้ทราบถึงสาเหตุ ของสงคราม หรือแสดงเส้นทางของกองทัพ หรือแสดงลักษณะทางภมู ิศาสตร์ของประเทศคู่สงครามกไ็ ด้ 2. สมั พันธ์ในหลกั เกณฑ์ การสร้างความสัมพันธ์วธิ ีน้ีเปน็ การนาเอาหลกั เกณฑห์ รอื แนวความคิด ของวชิ าหนึ่งไปใช้อธิบายเรื่องราวหรือแนวคามคดิ ของอีกวชิ าหนึง่ เช่น สร้างความสัมพนั ธห์ รือเช่ือมโยง วิชาจิตวิทยากับสังคมวิทยาเข้าด้วยกัน โดยใช้หลักจิตวิทยาอธิบายเหตุการณ์ในสังคมในวิชา 77

ประวัติศาสตร์ เป็นต้นว่าใช้กฎการขาดความม่ันคงและการถดถอย (Frustration and Regression) แสดงให้เห็นว่าการท่ีประเทศใดประเทศหน่ึงมีพฤติกรรมก้าวร้าวและใช้อาวุธเข้าทาร้า ยประเทศเพ่ือน บ้าน ก็เนื่องจากประชาชนในประเทศถูกกดดันมาเป็นเวลานาน ในทานองเดียวกันกฎเกณฑ์ของวิชา วิทยาศาสตรแ์ ขนงตา่ ง ๆ ไดแ้ ก่ ฟสิ ิกส์ เคมี ชวี วิทยา ฯลฯ ก็อาจนามาเชือ่ มโยงกันได้ การนาเอากฎเกณฑ์ของวิชาหนึ่งไปใช้กับอีกวิชาหนึ่ง ดังได้กล่าวมานี้ เป็นผลให้เกิดการหลอม วิชา (Fusion) และเกิดหลักสูตรอีกแบบหน่ึงเรียกว่า หลักสูตรบูรณาการ (The Integrated Curriculum) 3. สัมพันธ์ในแง่ศีลธรรมและหลักปฏิบัติในสังคม วิธีน้ีคล้ายวิธีที่ 2 แค่แตกต่างกันตรงท่ีว่า แทนที่จะใช้หลักเกณฑ์หรือแนวความคิดเป็นตัวเชื่อมโยง กลับใช้ศีลธรรมและหลักปฏบิ ัติของสังคมเป็น เครื่องอ้างอิง ตัวอย่างเช่น อาจเชื่อมดยงแนวคามคิดของผู้ประพันธ์วรรณคดี ยุคหนึ่ง เข้ากับระบบการ ปกครองในยุคน้ันก็ได้ คือใช้วรรณคดีสะท้อนความคิดด้านการปกครอง ทาให้มองเห็นแนวคามคิดได้ เดน่ ชัดยงิ่ ขึ้น หลกั สูตรสมั พันธ์วิชาทปี่ รับปรุงข้นึ มาจากหลกั สูตรรายวชิ าน้ี มปี ระโยชนห์ ลายอย่างท่ีสาคัญคือ ช่วยให้ผู้เรียนมีความสนใจในสิ่งที่เรียนมากขึ้น ทาให้ผู้เรียนมองเห็นโปรแกรมการเรียนการสอนเป็น ส่วนรวมชัดเจนข้ึน ทาให้กิจกรรมการเรียนการสอนมีมากข้ึนและกว้างขวางกว่าเดิมและเปิดทางให้ สามารถขยายงานดา้ นตาราเรยี นได้กว้างขวางข้ึน แต่อยา่ งไรก็ตามข้อบกพร่องที่ยงั แกไ้ ม่ได้ก็คือ รูปแบบ ของหลกั สูตรยังคงเป็นหลักสตู รรายวิชาอยู่น่นั เอง ในปจั จบุ ันหลักสตู รสมั พันธ์วิชายงั มีใช้ อยเู่ พยี งในบาง ประเทศท่ียงั คงใชห้ ลกั สูตรรายวิชาเปน็ หลัก 8. หลักสูตรเกลียวสวา่ น (Spiral Curriculum) ปัญหาหน่ึงที่เกิดขึ้นเสมอในระหว่างผู้จัดทาหลักสูตรด้วยกันเอง ได้แก่ ข้อสงสัยที่ว่าทาไมจึง ต้องจัดหัวข้อเน้ือหาในเรื่องเดียวกันซ้า ๆ กันอยู่เสมอในเกือบทุกระดับชั้น แม้จะได้มีผู้พยายามกระทา ตามความคิดท่ีจะจัดสรรเนื้อหาในแต่ละเรื่องหรือแต่ละหัวข้อให้จบในแต่ละระดับช้ัน แต่ในทางปฏิบัติ และในข้อเท็จจริงยังกระทาไม่ได้ เน่ืองจากว่าเน้ือหาหรือหัวข้อต่าง ๆ จะประกอบด้วยความกว้างและ ความลึก ซึ่งมีความยากง่ายไปตามเรื่องรายละเอียดของเน้ือหา นักพัฒนาหลักสูตรยอมรับใน ปรากฏการณ์นี้และเรียกการจัดเนื้อหาเรื่องเดียวกันไว้ในทุกระดับช้ันหรือหลาย ๆ ระดับชั้นแต่มี รายละเอียดและความยากงา่ ยแตกตา่ งกันไปตามวยั ของผเู้ รียนวา่ หลักสตู รเกลียวสวา่ น ความหมาย หลักสูตรเกลียวสว่าน หรือบันไดวน (Spiral Curriculum) หมายถึง การจัดเน้ือหาหรือหัวข้อ เน้ือหาเดียวกันในทุกระดับชั้น แต่มีความยากง่ายและความลึกซ้ึงแตกต่างกัน กล่าวคือ ในชั้นต้น ๆ จะ สอนในเร่ืองง่าย ๆ ตื้น ๆ แล้วค่อย ๆ เพิ่มความยากและความลึกลงไปเร่ือย ๆ ตามระดับชั้นท่ีสูงขึ้นไป เรื่อย ๆ ขอ้ เท็จจรงิ ในเรื่องนี้ มีใหพ้ บเห็นไดใ้ นหลกั สตู รทวั่ ๆ ไป เช่นหลักสูตรประถมศกึ ษา พทุ ธศักราช 2521 ของกระทรวงศึกษาธิการ ในวิชาคณติ ศาสตร์กาหนดให้เรียนเร่ือง การคณู ทั้งในระดับชั้น ป.1 ป. 78

2 ป.3-4 และ ป.5-6 แต่จะมีความยากและความซับซ้อนเพ่ิมข้ึนเร่ือย ๆ หรืออีกตัวอย่างหนึ่ง ในกลุ่ม สร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต จะกาหนดให้นักเรียนเรียนเร่ือง พืช ในทุกระดับชั้นจาก ป.1-6 โดยจะมี รายละเอยี ดมากขน้ึ และลกึ ลงเรื่อย ๆ ทม่ี าของแนวความคิดเร่อื งหลักสูตรเกลยี วสวา่ น บรูเนอร์ (Bruner, 1960) เป็นนักการศึกษาท่านหนึ่งที่มีบทบาทมากในการเผยแพร่ความคิด เรื่องหลักสูตรเกลียวสว่าน บรูเนอร์มีความเชื่อว่า ในเนอ้ื หาของแต่ละเนื้อหาวิชาจะมีโครงสร้างและการ จัดระบบท่ีแน่นอน จึงควรนาความจริงในข้อนี้มาใช้กับการจัดหลักสูตร โดยการจัดลาดับเนื้อหาให้ ก้าวหน้าไปเร่ือย ๆ อย่างมีระบบ จากง่ายไปหายาก จากแนวความคิดน้ีจึงมีการพัฒนาหลักสูตรใน ลักษณะบันไดวน หรือเกลียวสว่าน คือให้ลึกและกว้างออกไปเรื่อย ๆ ตามอายุและพัฒนาการของเด็ก การพัฒนาหลกั สตู รควรเปิดโอกาสให้ผเู้ รยี นไดเ้ รียนรู้ความคดิ หรอื หัวขอ้ เน้ือหาพ้ืนฐานซา้ แล้ว ซ้าอีก จนกว่านักเรียนได้เรียนรู้ความคิดรวมของเร่ืองน้ัน ๆ บรูเนอร์เชื่อว่า เราสามารถสอนเรื่องใด ๆ ให้แก่นักเรียนท่ีมีอายุเท่าใดก็ได้โดยไม่จาเป็นต้องรอจนกว่าเด็กจะมีความพร้อมเต็มท่ี และเขาได้ย้าใน ประเด็นนวี้ ่า เปน็ ไปได้ท่ีจะสอนความคิดและตัวแปรต่าง ๆ ให้แก่เด็กได้ตั้งแตเ่ ยาว์วัย และไม่จาเป็นต้อง รอจนถงึ เวลานั้น ๆ จากการนาแนวคามคิดของหลักสูตรเกลียวสว่านไปใช้กับการสอนวิชาวทิ ยาศาสตร์ ฟรอสทแ์ ละ โรแลนด์ (Frost and Roland, 1969) ได้ยืนยันว่า หลกั สตู รเกลียวสวา่ นช่วยในการอานวยความสะดวก ในการเรียนการสอนอย่างมีลาดับข้ันตอนของโครงสร้างวิชาวิทยาศาสตร์บูรณาการเข้ากับกระบวนการ ทางานของนักวิทยาศาสตร์ได้อย่างดี ได้ยืนยันเพิ่มเติมว่า ไม่เพียงแต่มีการนาหัวข้อเนื้อหาเดียวกันมา ศึกษาในระดับชั้นทีต่อเนื่องกันเท่านั้น แต่ยังมีการนากระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้มีความ สลับซับซ้อนเพ่ิมขั้นไปเรื่อย ๆ ให้เหมาะสมกับเน้ือหาและวัยอีกด้วย จึงสรุปได้ว่า เน้ือหาสาระและ กระบวนการเรียนรู้ของเด็กกับนักวิชาการระดับสูงแตกต่างกันเพียงปริมาณหรือความเข้มเท่าน้ัน ไม่ใช่ ประเภทหรือชนดิ หลกั สูตรเกลยี วสว่านตามแนวคิดของดิวอี้ ดิวอี้ (Dewey, 1938) (อ้างใน พิจิตรา ธงพานิช(ทีสุกะ). (2557 : 51) มีแนวคิดเรื่องหลักสูตร สว่านแตกต่างไปจากบรูเนอร์ กล่าวคือ ดิวอ้ี มีความเช่ือว่า การเจริญงอกงามขึ้นอยู่กับการฝึกใช้ สติปัญญาในการแก้ปัญหาที่ได้มาจากประสบการณ์การเรียนรขู้ องผู้เรียนมากกวา่ จากปัญหาทก่ี าหนดให้ จากภายนอก และในขณะท่ีผู้เรียนฝึกใช้สติปัญญากับการแก้ปัญหาเหล่าน้ี เขาจะได้รับความคิดใหม่ ๆ และพลังในการทางาน ซ่ึงจะเป็นฐานสาหรับแก้ปัญหาอ่ืน ๆ อีกต่อไป ในการปฏิบัติเช่นน้ันผู้เรียนจะ เข้าใจถึงความสาคัญระหว่างกันของความรู้ในสาขาต่าง ๆ และการประยุกต์ความรู้ไปใช้ในเชิงสังคมได้ กว้างขวางข้ึน กระบวนการจงึ เปน็ เสมอื นเกลยี วสว่านที่มลี ักษณะตอ่ เน่ืองและรบั ชว่ งกันไป ดังน้ัน เกลียวสว่านของดิวอ้ีจึงไม่ได้เร่ิมที่ประสบการณ์ของผู้เรียนแต่เพียงประการเดียวซึ่ง นอกเหนือไปจากเน้ือหาวิชาที่จัดไว้สาหรับการเรียนรู้ของผู้ใหญ่แต่มองประสบการณ์ทางการศึกษาว่า เป็นการขยายความสนใจและสมรรถภาพของผู้เรียนไปสู่ประสบการณ์การเรียนรู้ท่ีสูงขึ้นและกว้างข้ึน 79

ดังนั้น การเลือกเน้ือหาสาระที่จะต้องก้าวไปเร่ือย ๆ จาเป็นจะต้องสอดคล้องกับการเจริญงอกงาม ประสบการณ์ ยกตัวอย่างเช่น การศึกษาวิชาวทิ ยาศาสตร์ทั่วนั้น ดิวอี้ได้ยืนยันว่าไมแ่ ต่การนาไปสู่ความ เข้าใจวทิ ยาศาสตรท์ ี่ดขี ึน้ เทา่ นนั้ แตจ่ ะต้องนาไปสู่ความเขา้ ใจปญั หาของสังคมในขอบขา่ ยทีก่ ว้างขน้ึ และ ที่ดีข้ึนด้วย ในประเด็นน้ี จาเป็นต้องมีการสังเคราะห์หลักสูตรให้สมบูรณ์ทั้งในแนวต้ังและแนวนอน ใน แนวต้ัง หมายถึง การขยายความรู้ไปสู่ระดับท่ีสูงขึ้นไป ส่วนแนวนอน หมายถึง ความจาเป็นที่จะต้องมี ความสัมพันธ์ระหว่างกันของความรู้ 9. หลักสตู รสูญ (Null Curriculum) หลักสูตรสูญหรือ Null Curriculum เป็นความคิดและคาท่ีบัญญัติข้ึนโดยไอส์เนอร์ (Eisner, 1979) (อ้างใน พิจิตรา ธงพานิช(ทีสุกะ). (2557 : 51) แห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด สหรัฐอเมริกา หลักสูตรสูญ เปน็ ชอ่ื ประเภทของสูตรที่ไม่แพรห่ ลายและไม่เป็นที่รู้จักกนั มากนักในระหว่างนักการศึกษา และนกั พัฒนาหลักสูตรดว้ ยกนั เขาได้นยิ ามหลักสูตรสญู ว่า เป็นหลักสูตรทีไ่ ม่ได้มปี รากฏอย่ใู หเ้ หน็ ในแผนการเรยี นรู้และเป็นส่ิง ทโี่ รงเรียนไมไ่ ดส้ อน เขาได้อธิบายถึงความเชื่อของเขาในเร่ืองน้ีว่า ส่ิงที่ไม่ปรากฏอยู่ในตัวหลักสูตรและส่ิงท่ีครูไม่ได้ โดยใหเ้ หตุผลวา่ ความร้หู รือการขาดส่ิงท่ีควรจากรู้ไม่ได้เป็นแตเ่ พยี งความว่างเปล่าท่ีหลายคนอาจคิดว่า ไม่ได้สรา้ งความเดือดร้อนให้แก่ผู้ใด แตโ่ ดยความเปน็ จริงแล้ว การขาดความรู้ดังกล่าวย่อมมผี ลกระทบที่ สาคัญมาก ในแง่ที่ทาให้ผู้เรยี นขาดทางเลือกที่เขาอาจนาไปใช้แก้ปัญหาและพัฒนาชวี ิตของเขาได้ น้ันก็ คอื การขาดความรู้บางอยา่ งไปอาจทาให้ชวี ิตของคน ๆ หนึ่งขาดความสมบูรณ์ได้ นอกจากน้ียังอธิบายเพิ่มเติมได้ว่า หลักสูตรสูญได้แก่ ทางเลือกท่ีไมได้จัดเตรียมไว้ให้ผู้เรียน ความคิดและทรรศนะท่ีผู้เรียนไม่เคยสัมผัสและเรียนรู้ส่ิงที่ผู้เรียนจะนาไปประยุกต์ใช้ได้แต่มีไว้ไม่พอ รวมทง้ั ความคดิ และทกั ษะทีไ่ ม่ไดรวมไว้ในกิจกรรมทางปญั ญา ประเดน็ ที่ควรพิจารณา ในการกาหนดหลกั สูตรสูญข้ึนมาน้นั มีสิ่งท่ีต้องนามาพิจารณาอยู่ 2 ประเด็น ประเดน็ แรกได้แก่ กระบวนการทางปัญญา (Cognitive process) ท่ีโรงเรียนเน้นและละเลย ประเด็นท่ีสองได้แก่เน้ือหา สาระทมี่ ีอยู่และทีข่ าดหายไปจากหลกั สูตร ในประเด็นของกระบวนการทางปัญญานั้น ไอสเ์ นอร์ หมายถงึ กระบวนการท้งั หลายทเ่ี กย่ี วข้อง กับการรู้ โดยเร่ิมจากการรับรู้สิ่งเร้าต่าง ๆ ไปจนถึงการคิดหาเหตุผลทุกรูปแบบ เขาได้มองลึกลงไปว่า แนวความคิดทางด้านศึกษาศาสตร์ได้จากัดความหมายของกระบวนการทางปัญญาให้แคบลงไป และ โรงเรียนก็พยายามเน้นและพัฒนาความคิดของนักเรียนให้อยู่ภายในขอบเขตที่จากัด โดยเขาเช่ือว่ายังมี รูปแบบการคิดที่เป็นประโยชน์อีกมาก แต่ไม่เปิดเผยออกมาทางวาจา รวมท้ังการคิดที่ขาดเหตุผลเชิง ตรรกะ รูปแบบเหล่านี้จะทาหน้าท่ีของมันผ่านกิจกรรมท่ีเก่ียวกับการเห็น การฟังการเปรียบเทียบ และ การสังเคราะห์ กระบวนการคิดแนวนี้ทางโรงเรียนให้ความสนใจน้อยมาก ทั้ง ๆ ที่การตดิ ตามรูปแบบนี้ จะตอ้ งเกิดข้นึ และพัฒนาตัวมนั เองขึน้ มาแน่ ๆ นอกโรงเรียน 80

จากข้อเท็จจริงตามประเด็นแรกน้ี สรุปได้วา่ โรงเรียนสร้างผลกระทบให้เกดิ แก่ผู้เรียนได้โดยไม่ เพียงแต่จากสง่ิ ท่ีสอนเท่าน้ัน แตจ่ ากส่ิงท่ีควรสอนแตไ่ มน่ ามาสอนอีกด้วย เพราะสง่ิ ทน่ี กั เรียนไม่มโี อกาส พิจารณาสิ่งที่เขาไม่มีโอกาสรู้และกระบวนการที่เขาไม่มีโอกาสใช้ จะมีผลต่อการดารงชีวิตของนักเรียน ประเด็นที่สองท่ีเกี่ยวกับเนื้อหานั้น ไอส์เนอร์ ช้ีแจงว่า โรงเรียนส่วนใหญ่ไม่ว่าในสหรัฐอเมริกา หรือท่ไี หน ๆ ในโลกน้ี มักจะสอนเนอื้ หาเก่า ๆ เดิม ๆ ซ้าแล้วซ้าอีก เช่น ในระดบั ประถมศึกษากจ็ ะสอน เกี่ยวกับการสอนเกี่ยวกับการอ่าน การเขียน และการคิดเลขเป็นหลัก แล้วมีสังคมศึกษา วิทยาศาสตร์ ทว่ั ไป สุขศึกษา พลศึกษา และอน่ื ๆ ในเม่ือโลกเปลีย่ นแปลงอย่างรวดเร็วในด้านเทคโนโลยีและรูปแบบ การดารงชีวติ ทาไมจึงไม่นาวิชาหรือเนื้อหาอ่นื ๆ ใหม่ ๆ ที่จาเป็นมาสอนบ้าง เขาได้ให้ความเหน็ ในจดุ น้ี วา่ เน้ือหาวิชาท่ีสอนกันเร่ือยมาจนเป็นประเพณีของโรงเรียนน้ันไม่ใช่เป็นเพราะขาดการวเิ คราะห์อย่าง ลึกซ้ึงถึงความเป็นไปได้ของการนาเน้ือหาอ่ืน ๆ ใหม่ ๆ มาสอน แต่มักจะเป็นเพราะพวกเขาถูกสอนมา อย่างนั้น ครูโดยท่ัวไปจะสอนนิส่งท่ีเคยสอนกันมาตามนิสัยและความเคยชิน และโดยกระบวนการนี้ทา ให้เกิดการละเลยสาขาวิชาใหม่ ๆ ท่ีพิสูจน์แล้วว่า มีคุณประโยชน์ต่อนักเรียนเป็นอย่างมาก เช่น วิชา เศรษฐศาสตร์ เป็นต้น จากเหตุผลและแนวคิดดังกล่าวน้ี ถือได้ว่า วิชาเศรษฐศาสตร์ กฎหมาย จิตวิทยาและ มานุษยวิทยา เปน็ หลกั สตู รสญู ของหลกั สตู รประถมศกึ ษา การพิจารณาหลักสูตรสญู ในเชิงเนื้อหาน้ัน มีการมองตั้งแต่การขาดเน้ือหาในระดับวชิ าไปจนถึง ระดับรายละเอียดหรือหัวข้อย่อย ๆ ของวิชานั้น ๆ ในกรณีของหลักสูตรสูญในระดับประถมและ มัธยมศึกษา สามารถอธิบายใหเ้ ห็นได้ว่าการขาดเนือ้ หาในระดับวิชา จะปรากฏออกมาในรูปของเนื้อหา ทข่ี าดหายไป จากรายวิชาของวิชาหลัก เช่น วิชาประวัติศาสตร์ท่ีสอนกันอยู่โดยท่ัวไป มักจะละเลยการ สอน “ประวัติของวิทยาศาสตร์” ซึ่งถือว่าเป็นรายวิชาหนึ่ง หรือเป็นส่วนหนึ่งของวิชาประวัติศาสตร์ นอกจากนี้การที่รายวิชาหนึ่ง ๆ ขาดหรือละเลยหัวข้อเนื้อหาหน่ึงเนื้อหาใดไปก็ถือว่าเป็น หลักสูตรสูญเช่นเดียวกัน ตัวอย่างของการขาดเน้ือหาในระดับนี้ได้แก่การท่ีย่อยลงไปกว่าน้ีได้แก่การที่ หลักสูตรสูญชีววิทยาขาดการบรรจุเร่ือง “ความคิดเก่ียวกับวิวัฒนาการ” เอาไว้ระดับย่อยลงไปกว่าน้ี ได้แก่ การละเลยรายละเอียดเฉพาะของเน้ือหา เช่น หัวข้อเนื้อหาเรื่อง “ผัก” อาจจะครอบคลุมไม่ถึง “ผักกวางตงุ้ ” หรอื “ผักชี” เปน็ ต้น ท้ังสองประเด็นที่กล่าวมาน้ี เป็นมิติที่ไอส์เนอร์ซึ่งเป็นเจ้าของความคิดเร่ืองหลักสูญได้กาหนด เอาไว้เป็นหลักในการพิจารณาสิ่งท่ีขาดหายไปจากหลักสูตร ต่อมามาฟลินเดอร์และคณะ (Finders, et.al, 1986) ผซู้ ึ่งเป็นอาจารย์สอนอย่ใู นสถาบันเดียวกันกับไอส์เนอร์ ไดเ้ สนอประเดน็ การพิจารณาเพ่ิม ข้ึนมาอีกประเด็นหน่ึงอันเป็นประเด็นที่เกี่ยวกับการศึกษาทางด้านอารมณ์และความรู้สึก (affect) อัน ประกอบด้วยค่านิยม เจตคติ และอารมณ์ โดยนัยเดียวกัน หลักสูตรสูญตามประเด็นที่สามน้ี ได้แก่ การ ที่หลักสตู รไม่ไดค้ านงึ หรือบรรจุความรู้สึก เจตคติ และค่านิยมในบางด้านและบางเรอ่ื งอาไว้ 81

การนาความคดิ ของหลกั สูตรไปใช้ในการพัฒนาหลกั สูตร ถึงจุดน้ี ผู้เรียนเข้าใจแล้วว่า หลักสูตรสูญได้แก่ส่ิงท่ีโรงเรียนไมได้สอนหรือสิ่งท่ีไม่ได้บรรจุไว้ใน หลักสูตร และสิ่งที่ขาดหายไปจากหลักสูตรจาแนกออกได้เป็น 3 ด้านคือ สิ่งท่ีขาดหายไปในรูปของ กระบวนการทางปญั ญา เนอ้ื หา และดา้ นความรู้-คา่ นยิ ม คงไม่ยากที่จะทาความเข้าใจแนวคิดของเร่ืองน้ี แต่ปัญญาที่อยู่ในใจของเราก็คือว่า เราจะใช้ อะไรเป็นตัวกาหนดหรือเป็นกรอบในการพิจารณาว่าสิ่งใดเป็นส่วนท่ีขาดหายไปจากหลักสูตร (หรือ หลักสูตรสูญ) เช่น ในกรณีท่ีเราไม่ได้เปิดสอนวิชาตรรกวิทยาในระดับชั้นอนุบาล จะถือว่าวิช า ตรรกวิทยาเปน็ หลกั สูตรสูญของหลกั สูตรอนุบาลหรอื ไม่ คาตอบก็คือ ไมใ่ ช่ ทตี่ อบเช่นน้กี โ็ ดยเหตุผลท่ีว่า ตามปกติเวลานักพัฒนาหลักสูตรจะกาหนดเน้ือหาลงไปในหลักสูตรน้ัน เขาจะคานึงถึงความจาเป็น ความเหมาะสมและความสอดคล้องของเน้ือหาที่มีต่อผู้เรียน ดังน้ัน เม่ือจะพิจารณาว่ามีกระบวนการใด หรือเนื้อหาใดขาดไปจากหลักสูตรก็จะต้องมีการกาหนดกรอบ (frame of reference) ท่ีเป็นกลาง ๆ เอาไว้อ้างอิง ถ้าหากหลักสูตรไมได้ครอบคลุมถึงส่ิงที่เป็นเน้ือหากลาง ๆ ที่มีความสาคัญและจาเป็นต่อ การเรียนรู้ของผู้เรียนแล้ว หลักสูตรเหล่าน้ันก็จะด้อยคุณค่าทันที จากตัวอย่างการพิจารณานาวิชา ตรรกวิทยามาบรรจุในหลักสูตรอนุบาลน้ัน ต้องถือว่าหลักสูตรสากลของอนุบาลศึกษาจะต้องไม่มีการ เรยี นวชิ าตรรกวิทยา บทสรุป หลักสูตรแต่ละหลักสูตรจะมีรูปแบบ ลักษณะเฉพาะ หรือจุดเน้นสาคัญที่แตกต่างกันออกไป หลักสูตรบูรณาการ ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้สัมผสั กับส่ือการเรียนการสอนหลาย ๆ อย่างและให้ได้ มโี อกาสแก้ปัญหาด้วยตนเอง ซึง่ เปน็ การสนบั สนุนการเรียนรู้ อน่ึงแบบฉบับของหลักสูตรยังกระตุ้นและ สนองความต้องการทางปัญญาและอารมณ์ของผู้เรียนได้ ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ต่อเน่ืองกันไปการเรียน การสอนจะต้องดาเนนิ ไปอย่างมชี ีวิตชีวา โดยเฉพาะในด้านการส่งเสรมิ ความคดิ ริเริ่มหลักสูตรแบบนี้ทา ไดด้ ีมากส่วนดีอกี ประการหนงึ่ ของหลักสตู รคือชว่ ยลดภาวะทีจ่ ะต้องท่องจาลงไปอย่างมาก หลกั สตู รกว้าง สง่ เสริมการเรียนการสอนใหเ้ ปน็ ท่นี ่าสนใจและเร้าใจ ช่วยใหผ้ เู้ รียนมีความเข้าใจ และสามารถปรับตนให้เขา้ กบั สภาวะแวดล้อมได้เปน็ อย่างดี รวมทงั้ ใหม้ พี ัฒนาการในดา้ นตา่ ง ๆ ทกุ ดา้ น หลักสตู รประสบการณ์ พนื้ ฐานของหลักสูตรตั้งอยู่บนแนวคดิ ที่วา่ ถ้าจะให้ผู้เรยี นสนใจและเกิด ความกระตือรือร้นในการเรียน จะต้องอาศัยแรงกระตุ้น 4 อย่างคือ 1. แรงกระตุ้นทางสังคม 2. แรง กระตุ้นทางสร้างสรรค์ 3. แรงกระตุ้นทางการค้นคว้า 4. แรงกระตุ้นทางการแสดงออกด้วยคาพูด การ กระทา และทางศลิ ปะ หลักสูตรรายวิชา โครงสรา้ งของเนื้อหาวิชาในหลักสูตร จะถูกแยกออกจากกันเป็นรายวิชาโดย ไมจ่ าเป็นต้องมีส่วนเกย่ี วขอ้ งกนั ไม่วา่ ในดา้ นเน้ือหาหรอื การสอน หลกั สูตรแกน คือหลักสูตรทผ่ี ู้เรียนทกุ คนต้องเรียน และเปน็ หลักสูตรท่ีเน้นใหเ้ ร่อื งปัญหาสังคม และคา่ นิยมของสังคมโดยกาหนดเคา้ โครงของสง่ิ ที่จะสอนไว้อยา่ งชดั เจน 82

หลักสูตรแฝง เป็นหลักสูตรที่ไม่ได้กาหนดแผนการเรียนรู้เอาไว้ล่วงหน้าและเป็นประสบการณ์ การเรยี นรูท้ ่โี รงเรยี นไมไ่ ด้ต้งั ใจจะจัดให้ หลกั สูตรสมั พันธว์ ชิ า เป็นหลกั สตู รท่ีนาเอาเนื้อหาของวิชาต่าง ๆ ทส่ี อดคล้องหรอื ส่งเสริมซ่งึ กัน และกัน มาเชอ่ื มโยงกันเขา้ แล้วจัดสอนเนื้อหาเหล่าน้ันในคราวเดียวกนั หลักสูตรเกลียวสว่าน การจัดลาดับเน้ือหาให้ก้าวหน้าไปเรื่อย ๆ อย่างมีระบบ จากง่ายไปหา ยาก หลักสูตรสูญ เป็นหลักสูตรท่ีไม่ได้มีปรากฏอยู่ให้เห็นในแผนการเรียนรู้และเป็นส่ิงที่โรงเรียน ไม่ไดส้ อน คาถามทบทวน 1. หลักสตู รบูรณาการ มลี ักษณะอย่างไร จงอธบิ ายโดยละเอียด 2. หลกั สตู รกวา้ ง มีลักษณะอยา่ งไร จงอธิบายโดยละเอียด 3. หลักสตู รประสบการณ์ มลี กั ษณะอยา่ งไร จงอธบิ ายโดยละเอยี ด 4. หลักสูตรรายวิชา มลี ักษณะอยา่ งไร จงอธิบายโดยละเอยี ด 5. หลักสูตรแกน มีลักษณะอยา่ งไร จงอธิบายโดยละเอยี ด 6. หลกั สูตรแฝง มีลักษณะอยา่ งไร จงอธิบายโดยละเอยี ด 7. หลกั สตู รสมั พันธว์ ชิ า มลี กั ษณะอย่างไร จงอธบิ ายโดยละเอยี ด 8. หลักสูตรเกลียวสว่าน มลี ักษณะอย่างไร จงอธิบายโดยละเอยี ด 9. หลกั สูตรสญู มลี ักษณะอยา่ งไร จงอธบิ ายโดยละเอยี ด เอกสารอา้ งองิ กติ ตคิ ม คาวรี ัตน์. (2554). การพัฒนาหลกั สูตร : ทฤษฎีเพ่ือการปฏบิ ตั ิ. ม.ป.ท. พจิ ติ รา ธงพานิช(ทสี ุกะ). (2557). การพัฒนาหลักสูตร ทฤษฎี หลกั การ แนวคิด ทศิ ทาง แนวโน้ม. ม.ป.ท. 83

แผนบริหารการสอนประจาบทที่ 5 หวั ข้อเน้ือหา เน้ือหาสาระในบทนี้ประกอบด้วย 1. การวเิ คราะห์หลักสตู ร 2. การพฒั นาหลักสตู ร 3. การพฒั นาหลักสูตรสถานศึกษา วัตถปุ ระสงคเ์ ชงิ พฤติกรรม เมอ่ื เรียนบทเรียนน้จี บแลว้ นักศึกษามีความสามารถ ดังนี้ 1. บอกหลกั การวิเคราะห์หลักสูตรได้ 2. ออกแบบพฒั นาหลักสูตรได้ 3. ออกแบบพฒั นาหลักสูตรสถานศึกษา ได้ วิธีสอนและกจิ กรรมการเรียนการสอน 1. วิธสี อน 1.1 บรรยาย 1.2 การอธบิ าย 1.3 การประชุมกลมุ่ ย่อย 1.4 การวิเคราะหเ์ นื้อหา ทฤษฎี 1.5 การถาม-ตอบ 1.6 การอภิปราย แลกเปลย่ี นเรียนรู้ 2. กิจกรรมการเรียนการสอน กิจกรรมการเรียนการสอนเร่ืองความรู้พ้ืนฐานเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตร มีดังนี้ 2.1 ผู้สอนทบทวนแนวคิดเก่ียวกับทฤษฎีหลักสูตร โดยใช้กระบวนการ ถาม-ตอบและ อภิปราย 2.2 ผู้สอนให้ผู้เรียนแบ่งกลุ่มอภิปรายหลักการวิเคราะห์หลักสูตร พร้อมให้เหตุผล ประกอบ เสร็จแล้วใหแ้ ตล่ ะกลุ่มนาเสนอผลของการเรยี นรู้ 2.3 ผู้สอนบรรยายเร่อื งการพฒั นาหลกั สูตร 2.4 ผู้สอนให้ผู้เรียนแบ่งกลุ่มอภิปรายการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา เสร็จแล้วให้แต่ ละกลุ่มนาเสนอผลของการเรียนรู้ 84

ส่อื การเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอนท่ีใชป้ ระกอบกิจกรรมการเรียนการสอน มดี ังน้ี 1. เอกสารประกอบการเรยี นการสอน “การพัฒนาหลักสตู ร” 2. ตารา หนงั สือเรยี นเกี่ยวกบั การพฒั นาหลักสูตร 3. Power point ความรู้ตา่ ง ๆ 4. เครือขา่ ยการเรยี นร้ทู างอินเทอร์เนต็ เก่ียวกบั การพฒั นาหลักสตู ร การวัดและการประเมินผล การวดั ผลและประเมนิ ผลการเรยี นรู้ มีดงั นี้ 1. สังเกตพฤติกรรมการตอบคาถาม 2. สงั เกตพฤติกรรมการแสดงความคิดเหน็ ข้อเสนอที่ใชใ้ นการอภิปราย 3. การทาแบบฝึกหดั 85

บทที่ 5 การพฒั นาหลกั สตู ร การวิเคราะห์หลักสูตร เป็นแนวทางในการปฏิบัติที่เก่ียวข้องกับหลักสูตร เพื่อให้ผู้พัฒนา หลักสูตรได้มีข้อมูลเบ้ืองต้น เช่นการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ สังคม การเมืองการปกครอง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาหรับการสร้างและพัฒนาหลักสูตรอย่างมีประสิทธิภาพ เพ่ือให้ได้ แนวทางท่ีชัดเจนในการพฒั นาหลกั สตู ร การพัฒนาหลักสูตรเป็นภาพรวมของหลักสูตรใหญ่ หรือหลักสูตรแกนกลาง ซึ่งมีแนวทางการ ปฏิบัติเดียวกันท่ัวประเทศ และต่างจากการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาตรงท่ีหลักสูตรสถานศึกษา ถูก สร้างโดยผู้บริหารโรงเรียน ครู ผู้ปกครอง และคนในชุมชน ทาให้ได้หลักสูตรท่ีสอดคล้องกับท้องถิ่น พัฒนาผู้เรยี นไดต้ รงจดุ และเหมาะสมกบั บริบทชุมชนน้ัน ๆ การวเิ คราะห์หลกั สตู ร กิตติคม คาวีรัตน์ (2554 : 41) ได้ศึกษาพบว่า ในปัจจุบันการพัฒนาหลักสูตรมีความ จาเป็นต้องอาศัยข้อมูลพื้นฐานมาศึกษา วิเคราะห์ เพื่อใช้ในการพิจารณาสร้างและพัฒนาหลักสูตรในทุก ระดับ ข้อมูลพ้ืนฐานท่ีจาเป็นควรนามาพิจารณา คือ ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ รวมทั้งงานวิจัยที่ เก่ียวข้อง และการติดตามผลการใชห้ ลักสตู รท้ังเชิงปรมิ าณและเชิงคุณภาพจากผู้ใช้หลักสูตร การศึกษา ข้อมูลพ้นื ฐานเปน็ ขนั้ ตอนแรกของกระบวนการพัฒนาหลักสูตร ผลจากการศกึ ษาวิเคราะห์ขอ้ มูลพ้ืนฐาน จะนามากาหนดเป็นวิสัยทัศน์ของหลักสูตร หลักการ จุดมุ่งหมายของหลักสูตร คุณลักษณะอันพึง ประสงค์ของผู้เรียน การจัดสาระการเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และการ ประเมินผลการเรียนรู้ เพ่ือให้ได้หลักสูตรท่ีมีความสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนและสังคม อีก ทั้งเหมาะสมกับลักษณะโครงสร้างของความเป็นเอกลักษณ์ของชาติและเป็นหลักสูตรที่สามารถใช้เป็น เครอื่ งมือในการพัฒนาคนในประเทศให้เป็นไปในทิศทางท่ตี ้องการได้ การพัฒนาหลักสูตรจึงเป็นงานที่มี ขอบข่ายกว้างขวางมาก การท่ีจะพัฒนาหลักสูตรให้มีคุณภาพน้ัน นักพัฒนาหลักสูตรต้องศึกษาข้อมูล พนื้ ฐานหลาย ๆ ด้าน ไม่วา่ จะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับตัวผู้เรียน ข้อมูลเก่ียวกับการเปล่ียนแปลงสังคมในด้าน ต่างๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่จริงที่สุดเพราะข้อมูลเหล่าน้ีจะช่วยให้นักพัฒนาหลักสูตรได้เห็นภาพรวมว่า ใน การจัดหลักสูตร จาเป็นต้องคานึงถึงส่ิงใดบ้าง และส่ิงต่าง ๆ เหล่านี้มีอิทธิพลต่อหลักสูตรอย่างไรบ้าง ชว่ ยให้สามารถกาหนดองคป์ ระกอบของหลักสตู รได้อย่างเหมาะสม การพฒั นาหลักสตู ร ไพฑูรย์ สินลารัตน์ (2561 : 23-37) ได้ศึกษาพบว่า ฐานความคิดของการพัฒนาหลักสูตรอยู่ที่ ความเช่ือ ปรัชญา และโลกทัศน์ของผู้รับผิดชอบในการพัฒนาหลักสูตร ปัญหาส่วนใหญ่เกิดข้ึนจาก ผู้พัฒนาหลักสูตร พัฒนาไปโดยไม่มีปรัชญาพื้นฐานเป็นตัวกากับ เป็นผลให้หลักสูตรขาดจุดเด่น ขาด ลักษณะเฉพาะ และขาดแนวทางท่ผี สมกลมกลนื กนั ทง้ั ระบบ ในการพัฒนาหลักสูตรนั้นมี 3 ข้ันตอนใหญ่คือ 1) การพัฒนาหรือการสร้างหลักสูตร เม่ือสร้าง แล้วก็นาไปใช้ 2) เป็นขั้นตอนการใช้หลักสูตร ซึ่งมีข้ันตอนอยู่มาก พอนาไปใช้แล้วเราทาได้ดีหรือไม่ดี 86

เพียงใด ส่วนไม่ดีต้องแก้ไข ส่วนดีต้องพัฒนา ซึ่งเป็นข้ันตอนท่ี 3) คือการประเมินในบทน้ีจะกล่าวถึง รูปแบบและแนวทางการพัฒนาหลกั สตู รเปน็ หลัก ในการพัฒนาหลกั สตู รมีประเดน็ สาคญั อยู่ 7 ประเด็น คอื 1. การเตรียมความพร้อม (Prepare) 2. กระบวนการหลักในการพัฒนาหลกั สูตร (Process) 3. กาหนดวัตถุประสงค์ (Objectives) 4. สาระของหลักสูตร (Contents) 5. กระบวนการจัดการเรียนการสอน (Methodologies) 6. การบูรณาการ (Integration) 7. การสรา้ งรปู แบบในการศกึ ษา (Models) ปญั หาใหญ่ของการพัฒนาหลักสูตรของไทยคือวธิ ีปฏิบัติ เพราะวิธีปฏิบัติเป็นการสะท้อนความ เช่ือพ้ืนฐานของผู้พัฒนาหลักสูตร เช่น การพยายามพัฒนาหลักสูตรขั้นพ้ืนฐานให้ผู้เรียนเป็นสาคัญตาม แนวคิดการศึกษาแบบพิพัฒนาการ (Progressive Education) ซ่ึงพื้นฐานคือการที่ผู้สอนต้องลดท่าที การมีอานาจของตนเองลง หากผู้สอนยังแสดงท่าทีว่ามีอานาจ แม้จะให้ผู้เรียนมีความสาคัญอย่างไร นักเรียนก็จะรู้สึกสงสัยว่าผู้สอนมีใจกว้างจริงหรือไม่ เพราะท่าทีของผู้สอนจะแสดงให้เห็นว่าผู้เรียน สามารถแสดงความคิดเหน็ โต้แย้งได้หรอื ไม่ หากท่าทีเชิงอานาจของผูส้ อนยังมสี ูง ก็จะไม่สามารถพฒั นา หลักสูตรแบบประชาธิปไตยได้ ซ่ึงทาให้เห็นได้ว่า การพัฒนาหลักสูตรเป็นลายลักษณ์อักษรสามารถทา ได้ แต่การปฏิบัติตามหลักสูตรท่ีเขียนขึ้นนั้นเป็นเร่ืองลาบาก หากแนวคิด ปรัชญายังไม่ชัดเจน การ นาไปสู่การปฏิบัตกิ เ็ ป็นเรอ่ื งยากมากขึน้ ไปอกี ดังน้ัน ในการพัฒนาหลักสูตร ผู้สร้างต้องศึกษาวิเคราะห์ ทาความเข้าใจเรื่องแนวคิดพ้ืนฐาน ของกลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับสถานศึกษานั้นเป็นเบ้ืองต้น และต้องทาให้เกิดความเข้าใจตรงกัน และ หาทางให้เห็นความสาคัญเป็นไปในแนวทางเดียวกันก่อนเป็นหลักสาคัญ เพราะถ้าไม่มีหลักการน้ีการ พฒั นาหลักสตู รกจ็ ะดาเนนิ ไปแบบเสร็จเป็นรูปรา่ ง แต่ยากท่ีจะประสบความสาเรจ็ ในแนวทางการปฏบิ ัติ ผ้พู ฒั นาหลกั สตู รจะต้องมคี วามรู้ ความเข้าใจประเด็นหลกั ๆของการพัฒนาหลักสูตร 7 ประการ คือ 1. การเตรยี มความพร้อม (Prepare) เมื่อเริ่มต้นจะพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตร ควรถามตัวเองในฐานะผู้บริหารหรือผู้นาในการ ประเมินโดยตรวจสอบตัวเองว่ามีความพร้อมแค่ไหน เพราะเพียงแต่มาน่ังเสนอความเห็นแล้วก็เสร็จส้ิน ไป แตไ่ ม่มโี อกาส ไม่มีเวลาดู ชนั้ เรยี นของครู ดูวา่ ครูเขาจะทาอย่างไร ไมส่ นใจที่จะดูรายละเอียดต่อก็จะ ไม่เพียงพอสาหรับผู้นาหลักสูตร จุดเร่ิมต้นแรกของการพัฒนาหลักสูตรจึงเป็นความพร้อม การเตรียมหรือทดสอบความพร้อมของผู้บริหารจึงเป็นเร่ืองสาคัญ ความพร้อมในที่น้ีหมายถึง 1. ความพร้อมด้านหลักคิด คือ ความตระหนัก ความสานึก ความมุ่งม่ัน ความต้ังใจจริงทจ่ี ะทา ใหห้ ลักสตู รมคี ุณค่ากับการศกึ ษา รวมท้ังตัวเองมหี ลักคดิ อย่างไรดว้ ย 2. ความพร้อมด้านวิชาการ คือ ความรู้ความเข้าใจด้านหลักสูตรดังท่ีได้กล่าวมาแล้วว่าต้อง ครอบคลุมตวั ผูส้ อน ขอ้ มูลและกระบวนการตา่ งๆในการพฒั นาหลักสูตร 87

3. ความพร้อมด้านบุคคล คือ การมีบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจอย่างเพียงพอ และพร้อมที่ จะร่วมมอื ในการพัฒนาหลักสูตร 4. ความพร้อมด้านระบบ/ขัน้ ตอน มีการวางแผนในเชิงระบบการพัฒนาหลกั สูตรจะต้องมีแผน มรี ะบบที่วางไวอ้ ยา่ งชดั เจน 5. ความพร้อมในเชิงเครือข่ายความร่วมมือท่ีพร้อมจะสนับสนุนซึ่งกันและกัน เครือข่ายในท่ีน้ี คอื ความพรอ้ มของกลุ่มบุคคลตา่ ง ๆ ท่ีจะมาให้ความรว่ มมอื ความพร้อมทั้ง 5 ประการน้ันขึ้นอยู่กับการพัฒนาหลักสูตรในระดับไหนด้วย ถ้าเป็นหลักสูตร ระดับชาติคือ มีหลกั คิด มีวิชาการ มีบุคคล มีระบบ และมีเครือข่ายระดับชาติเพียงพอ ถ้าเป็นหลักสูตร ระดับสถานศกึ ษาความพรอ้ มก็จะลดลงไป 2. กระบวนการหลักในการพัฒนาหลกั สูตร (Process) การพัฒนาหลักสูตรทุกระดับมีกระบวนการหลัก 4 ขั้นตอน คือ การเริ่มต้นด้วยการกาหนด วัตถุประสงค์ (Objectives) เป็นจุดเร่ิมต้นก่อน เม่ือกาหนดวัตถุประสงค์แล้ว จึงกาหนดเน้ือหาสาระ (Contents) โดยพิจารณาว่าสาระที่จะจัดนัน้ ทาได้ตามวัตถุประสงค์มากน้อยเพียงไรจากนัน้ จึงเป็นการ นาสาระไปจัดให้เกิดการเรียนรู้ (Methods) หรือการสอนที่ต้องเน้นให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายและ เน้อื หาสาระควบคกู่ ันไปเพ่ือกาหนดวตั ถุประสงค์ สาระและจัดระบบการสอน และประเมนิ ภาพรวมของ หลักสูตร (Evaluation) ว่าสัมพันธ์สอดคล้องกันเพียงไรเมอ่ื พิจารณาทั้งระบบแล้ว จึงจะนาหลักสูตรไป ใช้ โดยการประเมินผลจะมี 2 ข้ันตอน คือ การประเมินความพร้อมให้ชัดเจนก่อนนาไปใช้ เม่ือใช้แล้ว ตอ้ งมกี ารประเมินอีกคร้งั เพ่ือการปรับปรุงและพัฒนาท้งั ระบบ เน้อื หาสาระ วตั ถปุ ระสงค์ กระบวนการพฒั นาหลกั สตู ร วธิ กี ารสอน 1. กาหนดวตั ถุประสงค์ (Objectives) 2. กาหนดเนอื้ หาสาระ (Contents) การประเมนิ 3. กาหนดระเบียบวธิ ีการสอน (Methods) 4. กาหนดแนวการประเมินผล (Evaluation) ภาพประกอบที่ 1 แนวทางและกระบวนการของการพัฒนาหลกั สตู ร กรอบความคิด จากตารางข้างต้น แสดงให้เห็นว่ามีการจัดกลุ่มที่ต่อเน่ืองกัน แต่แนวทางการ จัดทาหลักสูตรของบางสถาบันหรือบางแนวคิดจะแตกรายละเอียดในแต่ละส่วนออกมาให้เห็นเป็นแนว ในการปฏิบตั ิมากขน้ึ ท้ัง 4 กระบวนการคือ การพัฒนาหลักสูตรท่ีสมบูรณ์ในตัวของมันเองและเป็นกระบวนการทั้ง ระบบแต่ถ้าเราจะดาเนินการเพยี งบางขน้ั ตอนเชน่ ดูหลกั สูตรเพียงเน้ือหาสาระหรอื เพยี งวธิ ีการสอนหรือ ระเบยี บวิธกี ารสอน การดาเนนิ การกจ็ ะซบั ซ้อนน้อยลง 88

3. การกาหนดวตั ถุประสงค์ (Objectives) ขนั้ ตอนแรกของการพัฒนาหลักสูตรคือ กาหนดวัตถุประสงค์การต้ัง วัตถุประสงค์ท่ีดีควรแสดง คุณลักษณะที่เป็นเป้าหมายของบุคคลที่พึงประสงค์ไว้ให้ชัดเจน โดยถ้าเป็นหลักสูตรระดับชาติการ กาหนดคณุ ลักษณะต้องกาหนดให้กวา้ งไว้หน่อยเพราะจะต้องครอบคลุมการศกึ ษากลุ่มต่างๆ แต่ถ้าเป็น หลักสูตรระดบั สถานศกึ ษาวัตถุประสงค์ก็จะต้องแคบปละชัดเจนพอให้ปฏิบัตไิ ด้ การกาหนดคณุ ลักษณะ ของผู้เรียนในระดับการศึกษาขั้นพ้ืนฐานควรจะให้มีการสอบถามสังคมในวงกว้างและหลากหลายด้วย เพราะผู้เรียนในระดับพื้นฐานมีผู้เก่ียวข้องหลายกลุ่มส่วนใหญ่ ปัญหาที่พบในการพัฒนาหลักสูตรส่วน ใหญท่ เ่ี กี่ยวกับวตั ถุประสงค์ คอื 1. วัตถุประสงค์ขาดจดุ เด่นทที่ าใหผ้ ปู้ ฏบิ ัตทิ าได้ หรอื ปฏิบตั ิตาม 2. วัตถุประสงค์มีความหลากหลายและมจี านวนมากเกินไป 3. วตั ถปุ ระสงค์มลี กั ษณะกลางๆไม่แสดงเอกลกั ษณเ์ ฉพาะของสถานศึกษาน้นั ๆ 4. มีบคุ ลากรบางสว่ นไม่เห็นด้วยกบั วัตถปุ ระสงค์บางประการ 5. บคุ ลากรไม่สามารถปฏบิ ตั ไิ ดต้ ามวตั ถุประสงค์ทีต่ ัง้ ไว้ ดังนั้น ในการกาหนดวตั ถปุ ระสงค์ใหช้ ัดเจน ควรกาหนดวสิ ัยทศั น์ใหช้ ดั เจนกอ่ นดว้ ย วสิ ยั ทัศน์คอื แนวคิด ความคิด ความเชอ่ื ทม่ี องไปในอนาคตที่ไม่ไกลนัก สะทอ้ นให้เห็นส่งิ ท่ีดขี ้ึน กว่าเดิม สามารถเป็นไปได้จริง และมีขั้นตอนการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม สะท้อนเอกลักษณ์เฉพาะของ สถานศึกษา การกาหนดวิสัยทัศน์ขึ้นอยู่กับปรัชญาและความเชื่อพื้นฐาน ซึ่งเป็นอุดมคติของโรงเรียน หรือ ของหลักสูตรนั้น ปรัชญาจะสะท้อนความเช่ือ วัฒนธรรม การปฏิบัติท่ีผ่านมา รวมทั้งเอกลักษณ์เฉพาะ ตนของสถานศึกษานั้นๆ ต้ังแต่อดีต ปัจจุบัน และอาจนาไปสู่อนาคต อย่างไรก็ดี โรงเรียนบางแห่งไม่มี จดุ เดน่ หรือเอกลักษณ์ที่จะสามารถสร้างเป็นวิสัยทัศนไ์ ด้ จงึ ไม่จาเปน็ ต้องบงั คบั ให้ทกุ โรงเรียนมีวิสัยทัศน์ แต่ควรมเี ป้าหมายทช่ี ดั เจน สาหรับทิศทางในอนาคตนั้นเป้าหมายจะต้องสร้างคนให้อยู่ในสังคมยุคใหม่ได้อย่างมีความสุข ในขณะเดียวกันบุคคลในสังคมใหม่ควรต้องเป็นผู้ที่มีผลผลิตท่ีสร้างสรรค์ (Creative and Productive) ด้วย ผู้มีส่วนเก่ียวข้องทางการศึกษาต้องสามารถผลักดันให้เกิดการเปล่ียนแปลงในทุกระดับ การศึกษา จึงจะส่งผลต่อสังคม โดยคุณลักษณะท่ีพึงประสงค์ของผู้เรียนในแต่ละระดับอาจมีระดับความเข้มข้นที่ แตกต่างกันออกไป เช่น ผู้เรียนในระดับประถมศึกษาหรือมัธยมศึกษา ควรได้รับการพัฒนาให้เป็นผู้ที่มี ความสร้างสรรค์ มีผลิตภาพ และรู้จักความเป็นผู้นา รู้จักการเปลี่ยนแปลง ในแต่ละระดับและ สถาบันการศึกษาควรต้องกาหนดคุณลักษณะที่พึงประสงคใ์ ห้ชัดเจนว่าจะพัฒนาให้ผ้เู รียนมีคุณลักษณะ ใดเด่นชัด เพอื่ นาไปสู่การพฒั นาคณุ ลักษณะใดต่อไป ดังนั้น โรงเรียนจึงต้องกาหนดวัตถุประสงค์ให้เด่นชัด เป็นรูปธรรม และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทาง การศกึ ษาต้องตระหนักถึงวตั ถุประสงค์ดงั กลา่ ว หากผู้ม่สี ว่ นเกย่ี วขอ้ งทางการศึกษายงั ไม่ตระหนักถงึ สงิ่ ดังกลา่ ว การศกึ ษาก็มโี อกาสจะลม้ เหลว ได้ง่าย เนื่องจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องยังไม่มีจิตวิญญาณในการปฏิบัติ โดยท่ัวไปครูมักเน้นการจัดการเรียน การสอนให้ได้เนื้อหาให้ได้ตามที่หลักสูตรกาหนด เป็นการปฏิบัติการสอนจึงเป็นเร่ืองยากที่จะให้ครู 89

กาหนดปรัชญาเอง เพราะนอกจากครูไมม่ ีเวลาแล้ว ครยู ังรู้สึกวา่ ไม่ใช่งานในหน้าที่ หน้าทขี่ องครูคือตอ้ ง อยู่ในหอ้ งเรียน พยายามทาให้ผู้เรยี นบรรลวุ ัตถุประสงค์การเรียนรูต้ ามหลักสตู ร โดยภาพรวมแล้วการกาหนดจุดมุ่งหมายนั้นน่าจะครอบคลุมคุณลักษณะดังนี้ 1) แสดงความ ม่งุ ม่ัน 2) แสดงให้เห็นความเปลีย่ นแปลงในตัวผเู้ รยี น 3) ชัดเจน 4) ตรงประเด็น 5) มคี วามสมบรู ณ์ และ 6) ไดร้ ับการยอมรับ และมคี วามเป็นเลศิ 4. สาระของหลักสูตร (Contents) ในพัฒนาเนื้อหาสาระของหลักสูตร ประการแรกคือ สาระต้องสอดคล้องกับเป้าหมาย คุณลักษณะ และวิสัยทัศน์ หากเป้าหมายไม่ชัดเจน สาระก็จะไม่ชัดเจนตามไปด้วย ประการที่สอง คือ การให้ในส่ิงท่ีผู้เรียนสนใจและต้องการอย่างเหมาะสม โดยจัดให้สอดคล้องกับพัฒนาการของผู้เรียน และประการท่ีสาม คือ ต้องให้สาระตรงตามหลักเกณฑ์ (Discipline) ของแต่ละวิชา ดังนั้น ข้อเท็จจริง ตามหลักวชิ า (Discipline-Oriented) จึงเป็นสงิ่ จาเปน็ โดยทั่วไปการพัฒนาหลักสูตรจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ หลักสูตรแกนกลาง และหลักสูตร สถานศึกษา การพัฒนาหลักสูตรแกนกลาง คือ การกาหนดให้สาระมีความถูกต้อง เหมาะสมสอดคล้อง กับหลักเกณฑ์ของแต่ละวิชา แล้วเสริมด้วยเนื้อหาสาระใหม่ ๆ ท่ีสอดคล้องกับความจาเป็นของสังคม ความต้องการของท้องถ่ิน และความคาดหวังของสังคม ตัวอย่างเช่น หลักสูตรของไทยจะแทรกปรัชญา พุทธศาสนา เนน้ คุณธรรมจรยิ ธรรม เพราะสงิ่ เหล่าน้ีคือความคาดหวังของสงั คม เป็นการสืบต่อชาติพันธุ์ ฉะน้ันเม่ือมองถึงการเลือกเน้ือหาที่สอดคล้องกับความต้องการต่าง ๆ ดังกล่าว ในปัจจุบัน หลักสูตร แกนกลางจึงจัดสาระต่าง ๆ เป็น 8 หมวดสาระ โดยโรงเรียนสามารถเพ่ิมเติมสาระอ่ืน ๆ ได้ตามความ เหมาะสม และเป็นไปตามเป้าหมายท่ีวางไว้ ทาให้ผู้เรียนแต่ละช่วงวัยมีพัฒนาการที่สอดคล้องกับชีวิต ของเขา ดังนั้น ความรู้คือสะพานเพ่ือให้ผู้เรียนได้เดินทางไปสู่ความเป็นคนที่สมบูรณ์ เพื่อความสมบูรณ์ ของเนื้อหา ผู้พัฒนาหลักสูตรจึงให้วางกรอบของหลักสูตรเพ่ือให้เห็นภาพรวมก่อน แล้วจึงแตกยอด ออกไป โดยมีครูเป็นผู้เลือกเนื้อหาในส่วนท่ีเป็นรายละเอียด ตามสาระของแต่ละรายวิชา ส่วนหลักสูตร สถานศึกษานั้นบางทีเรียกว่าหลักสูตรท้องถิ่น เช่น การเปิดโอกาสให้โรงเรียนพัฒนาหลักสูตรเองได้บ้าง ปัจจุบันสังคมและวิธีการสังคมเปลี่ยนเร็วมาก การใหเ้ น้ือหากับผู้เรียน จึงควรให้เนื้อหาหลัก ๆ ที่จะเปน็ พืน้ ฐานใหผ้ ู้เรียนไปหาความรู้ดว้ ยตนเองต่อไป 5. กระบวนการจดั การเรยี นการสอน (Methodologies) การเลือกวิธีการจัดการเรียนการสอนเป็นบทบาทหลักของครูและผู้เรียนพร้อมกันไป โดยครู จะต้องเป็นผู้จัดการหลักในห้องเรียน ดังน้ัน ครูจึงจาเป็นต้องพร้อมท่ีจะจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนได้ อย่างเหมาะสมกบั ธรรมชาตแิ ละวัตถุประสงคข์ องรายวชิ า และธรรมชาติผู้เรยี นสอดคลอ้ งกบั คากลา่ วใน ภาษาอังกฤษที่ว่า “The best teacher is the best manager.” เพราะฉะน้ัน การสอนจึงไม่มีวิธีการ สอนใดดีที่สุด แต่เป็นวิธีการท่ีครูจะจัดการให้ผู้เรียนเรียนอย่างไร ท่ีสอดคล้องกับสภาพการณ์ต่าง ๆ เพือ่ ใหเ้ กดิ ผลลพั ธ์ต่อผู้เรียนอยา่ งดที ่สี ุด ดงั น้นั ในการจัดการเรียนการสอนเม่อื มีเปา้ หมายที่ชัดเจนแลว้ ควรเปิดโอกาสใหค้ รูเปน็ ผู้จัดการ และดาเนินการเรียนการสอนเอง แม้กระท่ังหลักสูตรสถานศึกษาก็เช่นเดียวกัน เมื่อกาหนดเป้าหมายที่ ชัดเจนเป็นกรอบใหญ่ ๆ แล้ว ก็ควรให้ครูเป็นผู้ดาเนินการ เพราะเม่ือครูมีเป้าหมายที่ชัดเจน เขาก็จะมี 90

แนวทางและสามารถจดั การเรียนการสอนได้ ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนหรือออกแบบในชั้นเรียน ครูต้องเป็นผู้สร้างเองให้ สอดคล้องกับเป้าหมาย การท่ีครูจะสร้างกระบวนการเรียนการสอนได้ต้องมีเคร่ืองมือต่าง ๆ ซ่ึง ครอบคลุมความรู้ด้วยเข้าใจในตัวผู้เรียน กระบวนการเรียนรู้ของมนุษย์ กิจกรรมต่าง ๆ เพ่ือสร้างให้ผู้ เรียนรู้ได้ดีที่สุด เทคโนโลยีต่าง ๆ เป็นต้น เพ่ือครูนาไปสร้างรูปแบบหรือออกแบบการเรียนการสอน (Instruction Design) เพื่อสร้างรูปแบบการจัดการเรียนการสอน (Instruction Pattern) โดยมี เทคโนโลยตี า่ ง ๆ เป็นเคร่อื งมอื เสรมิ ประสทิ ธภิ าพ ในแง่ของการสอนน้ัน ส่วนมากจะรวมเร่ืองการวัดผลไว้ด้วย เพราะการวัดผลจะต้องควบคู่ไป กบั การสอนอยู่เสมอ 6. การบูรณาการ (Integration) ในการจัดทาหลักสูตรมีแนวคิดเรื่องของการบูรณาการเสมอ โดยเฉพาะหลักสูตรใหม่นี้ จะเน้น การบรู ณาการค่อนข้างมาก การบูรณาการท่ีกาหนดในหลกั สตู รการศึกษาขัน้ พน้ื ฐานอาจดาเนนิ การได้ 4 รปู แบบ คอื 6.1. การบูรณาการโดยผู้สอนคนเดียว เป็นการจัดการเรียนรู้โดยเช่ือมโยงสาระการ เรียนรู้ต่างๆ เข้ากับหัวขอ้ เรอ่ื งที่สอดคล้องกับชีวิตจริง หรือหาระท่ีกาหนดขึ้นมาเปน็ การบูรณาการเร่ือง ที่สอนเข้ากับกลุ่มสาระ เช่น การกาหนดให้นักเรียนไปอ่านเรื่องทางด้านวิทยาศาสตร์ เคมี ฟิสิกส์ เป็น การพัฒนาทักษะการอ่าน จุดสาคัญของการบูรณาการโดยผู้สอนคนเดียว คือ คนสอนจะมีลักษณะเป็น บูรณาการ (Integrated Person) คือ มีลักษณะบูรณาการอยู่ในตัวเองอยู่แล้ว สามารถเชื่อมโยงการ สอนให้สัมผัสสัมพันธ์กันได้ เช่น สอนวิชาภาษาไทยสามารถเช่ือมโยงเข้ากับสังคม เศรษฐกิจ การศึกษา ได้ วิธีการนี้อาจจะยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับชั้นมัธยมจะบูรณาการได้ยากแต่ถ้าผู้สอนสามารถ บรู ณาการไดเ้ องคนเดยี วจะเปน็ ประโยชน์มาก 6.2. การบูรณาการแบบโครงการ การบูรณาการแบบโครงการค่อนข้างจะมีลักษณะ เป็นการเฉพาะเรื่อง เช่น โครงการค่ายวิทยาศาสตร์ โครงการค่ายดนตรี มีลักษณะเป็นธรรมชาติเฉพาะ หลักวิชา (Discipline-Oriented) โดยผู้สอนวิชาที่เกี่ยวข้องจะมาดาเนินการร่วมกันแล้วจัดกิจกรรม ร่วมกันจะทาให้เด็กมีความสนใจกว้างขวางขึ้นและไม่น่าเบ่ือ ปัจจุบันนี้การบูรณาการแบบโครงการ มี การดาเนนิ การโดยกว้างขวางมากขึ้นเพราะโครงการจะเป็นกิจกรรมที่นาไปสกู่ ารพฒั นาเด็กไดอ้ ยา่ งรอบ ดา้ นและลกึ ซ้ึงกว่าเรยี นวิชาเดียว 6.3. การบูรณาการแบบค่ขู นาน การบูรณาการแบบคขู่ นานโดยผู้สอน 2 คน ช่วยกัน สอนเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซ่ึงทาได้ยาก และในทางปฏิบัติก็ยังไม่ค่อยได้ทา วิธีการคือ ผู้สอน 2 คน มา วางแผนร่วมกัน เช่น ครูภาษาไทยกับครูภาษาอังกฤษมาวางแผนร่วมกัน และจัดเนื้อหาให้ตรงกัน หรือ ครูภาษาไทยกับวิทยาศาสตร์มาวางแผนร่วมกันว่าจะทาอย่างไร แค่ไหน การบูรณาการต้องเป็นการ กระทาทั้งระบบ ตัวหลักสูตรในปัจจุบันยังมีปัญหาคือยังไม่มีบูรณาการ ยังแยกเป็นสาระ ๆ ทาให้ ยากลาบากในการบูรณาการและในทางการปฏิบัติ ก็ยังมีบูรณาการน้อยมาก นอกจากน้ันในแต่ละ สาขาวิชาเองก็ยังมีเนื้อหาเฉพาะของแต่ละสาขาซ่ึงทาให้ยากแก้การดาเนินงานในแนวน้ี แต่บางสาระ วิชาท่ีใกล้เคียงกันก็อาจดาเนินการได้ เช่น ภาษาไทยกับสังคมศึกษา ศาสนากับการใช้ชีวิตประจาวัน 91

6.4. การบูรณาการแบบสหวิทยาการ การบูรณาหารแบบสหวิชาการ เป็นการบรู ณา วิชาการที่มากกว่า 2 วิชาข้ึนไป ซึ้งทาให้ย่ิงยากมากขึ้น หากทาได้ควรเป็นลักษณะการแยกกิจกรรม ออกมาต่างหาก หรือในลักษณะของกิจกรรมเสริมท่ีสอดคล้องกับสาระ เช่น การจัดสัปดาห์ส่ิงแวดล้อม สัปดาหส์ นั ติภา สัปดาหย์ าเสพติด สปั ดาหข์ องการท่องอวกาศ แตล่ ะวิชายังอยู่เป็นปกติแตม่ ีการรวมกัน โดยให้เน้ือหาเป็นกลาง ให้ผู้สอนวางแผนว่าสัปดาห์น้ัน ๆ จะไปเชื่อมโยงกนั ในแตล่ ะวชิ าได้อย่างไร วิชา ภาษาไทยจะเชอ่ื มโยงกบั วิชาภาษาองั กฤษและวิทยาศาสตรไ์ ดอ้ ยา่ งไร ใหน้ ักเรยี นไปค้นและมาพดู คุยกัน ในลกั ษณะของหัวเร่ืองหรือประเดน็ สาคัญ นอกจากการบูรณาการทั้ง 4 รูปแบบดังกล่าวแล้วยังมีการบูรณาการอีกรูปแบบหน่ึง ซ่ึงอาจ จัดเป็นรูปแบบท่ี 5 คือ การบูรณาการเต็มรูปแบบ (Full Integrated) ซึ่งจะไม่มีการแบ่งเป็นรายวิชา การบูรณาการในทางปฏิบัติทาได้ค่อนข้างยาก แต่ก็อาจทาได้ในลักษณะของการจัดให้เป็นกลุ่ม เป็น กิจกรรม เป็นเรื่องการบูรณาการโดยหลักแล้วน่าเป็นกระบวนการ ที่จักเป็นภาพรวมในชิงแนวคิด (Conceptual Integrated) ซึ่งถ้ามองในภาพรวม จะทาให้สามารถสร้างรูปแบบ (Model) ของการบูร ณาการทแี่ สดงใหเ้ ห็นถึงฐานความเช่ือในการพฒั นาหลักสูตรอีกดว้ ย 7. การสรา้ งรปู แบบในการศึกษา (Models) ในวงการการศกึ ษา หากตอ้ งพฒั นาความคดิ ในเร่ืองต่างๆ จะสามารถสร้างรปู แบบ (Model) ได้ มาก ในการสร้างรูปแบบ (Model) เราอาจเชื่อมโยงเร่ืองต่าง ๆ ให้มาสัมพันธ์กันหรือหาความสัมพันธ์ ระหว่างเรื่องต่าง ๆ ซ่ึงอาจกาหนดเป็นมาตรวัด (Scale) ในระดับต่าง ๆ ตัวอย่างในแผนภาพถัดไปเป็น รปู แบบ 3 Ps (3 Ps Model) ซ่งึ ผเู้ ขยี นพัฒนาไว้ในบทความเรอ่ื ง Needs to Enhance Creativity and Productivity in Teacher Education Throughout Asia โดยกาหนดให้รูปแบบน้ีมีองค์ประกอบ 3 ประการคือ People, Process และ Product ดงั นี้ 1. People หรือผู้มีส่วนเก่ียวข้องทางการศึกษา หมายถึง ผู้สอน ผู้เรียน และชุมชน 2. Process หรือกระบวนการ ประกอบด้วย การวิจัย การเรียน และการบริการ 3. Product ซ่งึ หมายถงึ ความรู้ บณั ฑิต และสังคมทด่ี ขี ึ้น ภาพความเช่ือมโยงดังกล่าวคือ เม่ือครูทาการวิจัย ก็จะได้ความรู้สาหรับการจัดการเรียนการ สอน หรือเมื่อนกั เรียนรู้ส่ิงใดสิ่งหน่ึงก็จะไดข้ ้อความรู้และทักษะ สาเร็จการศึกษาเป็นบัณฑิต หรือสังคม และประชาชนได้รบั บริการทางการศึกษา สงั คมก็จะดีข้นึ การพฒั นาหลักสตู รสถานศกึ ษา พิจิตรา ธงพานิช(ทีสุกะ) (2557 : 152-177) ได้ศึกษาพบว่า ข้ันตอนการพัฒนาหลักสูตร สถานศึกษาท่ีกาหนดขึ้นเป็นการพัฒนาหลักสูตรครบวงจรคือ เร่ิมตั้งแต่การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูล พื้นฐาน การร่างหลักสูตร การตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตร การนาหลักสูตรไปใช้ในสถานการณ์จริง รวมท้ังการประเมนิ ผลหลกั สูตร โดยหวังว่าขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรทส่ี มบูรณท์ ่ีจะทาให้ได้หลักสูตรมี ประสิทธิภาพ ซ่ึงข้ันตอนในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ประกอบด้วยขั้นตอนสาคัญ 5 ข้ันตอนที่ สาคัญ คือ 1.การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในด้านต่าง ๆ 2.การร่างหลักสูตร 3. การตรวจสอบ คุณภาพของหลกั สูตร 4.การนาหลกั สูตรไปใช้ 5.การประเมนิ ผลหลักสูตร 92

การจดั การศึกษาเทา่ ที่ผ่านมา โรงเรียนส่วนใหญท่ ี่ใช้ตารา เอกสาร รวมท้ังสื่อตา่ ง ๆ ที่จัดพิมพ์ จากหน่วยงานกลางเปน็ หลักในการเรยี นการสอน ถึงแมว้ ่าสภาพบริบทและแวดล้อมโรงเรยี นจะแตกตา่ ง กัน แต่เนื้อหาสาระในการจัดการเรียนการสอนกลับเหมือนกันท่ัวประเทศ อย่างไรก็ตามได้มีความ พยายามใหโ้ รงเรยี นพัฒนาหลักสตู รดังท่ีกาหนดไว้ในคู่มอื เปดิ โอกาสให้โรงเรียนสามารถพัฒนาหลกั สตู ร ให้สอดคล้องกับสภาพของท้องถ่ินได้ ทั้งนี้เน่ืองจากครูขาดความรู้ความเข้าใจ รวมทั้งทักษะในการ พัฒนาหลักสูตร ขาดการสนับสนุนจากผู้บริหารและขาดการมีส่วนร่วมของคนในท้องถิ่น การจัดการ เรียนการสอนส่วนใหญ่เน้นครูเป็นศูนย์กลาง เน้นการท่องจามากกว่าปฏิบัติจริง ดังน้ันการเปลี่ยน บทบาทของโรงเรียนจากการเป็นผู้ใช้หลักสูตรที่มีผู้จัดทาให้มาเป็นการพัฒนาหลักสูตรด้วยตนเอง จาเป็นต้องมีการฝึกอบรมให้บุคลากรในโรงเรียน โดยเฉพาะอย่างย่ิงครูให้มีความรู้ความเข้าใจเก่ียวกับ ขั้นตอนหรือรู้แบบการพัฒนาหลักสูตรและมีความสามารถเพียงพอที่จะนาความรู้ไปใช้พัฒนาหลักสูตร ด้วยตนเองได้ ทั้งนี้โดยหวังวา่ หลักสูตรท่ีโรงเรียนพฒั นาข้นึ จะทาใหน้ ักเรียนได้เรียนรู้เร่ืองราวทเ่ี ปน็ จริง สามารถนาความรู้ท่ีได้รับจากโรงเรียนมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจาวัน เล็งเห็นความเชื่อมโยงระหว่าง การเรียนรู้กับการนาไปใช้ กอ่ ให้เกิดความรัก ผู้พันกบั ชุมชนที่อยู่อาศยั นอกจากนั้นยังเป็นจุดเริ่มต้นท่ีดี ของความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนกับโรงเรียน เนื่องจากหลักสาคัญของการพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนก็คือ การให้บุคลากรในโรงเรียนและชุมชนร่วมกันตัดสินใจเกี่ยวกับการดาเนินทางหลักสูตร ซึ่งมีทั้งการร่วม คิด รว่ มทา ร่วมประเมินผล เพ่อื ให้การศกึ ษาของเยาวชนเป็นไปตามความต้องการของครอบครวั ชุมชน สังคมและประเทศชาติ สมดังเจตนารมณ์ของการจัดการศึกษาดังที่กาหนดไว้ในพระราชบัญญัติ การศกึ ษาแหง่ ชาติ พ.ศ. 2542 1. ความจาเปน็ ของการพัฒนาหลักสตู รสถานศกึ ษา ข้อกฎหมายทสี่ ถานศกึ ษาตอ้ งไปดาเนินการให้สถานศึกษาหรอื โรงเรียนสามารถพฒั นาหลักสูตร ได้เองภายใต้กรอบของหลักสูตรแกนกลางเป็นเรื่องที่จะต้องมี การเตรียมการให้พร้อมเพื่อตอบสนอง การประกาศใช้พระราชบัญญัตกิ ารศึกษาแหง่ ชาติ พ.ศ. 2542 ได้กาหนดแนวการจดั การศึกษาในมาตรา 22 ว่าการจดั การศึกษาต้องยดึ หลกั วา่ ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรยี นรแู้ ละพัฒนาตนเองได้และถือว่า ผู้เรียนมีความสาคัญที่สุดกระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติ และเต็มตามศักยภาพ และในมาตรา 23 กาหนดการจัดการศกึ ษา ทั้งการศกึ ษาในระบบ การศึกษานอก ระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ต้องเน้นความสามารถทง้ั ความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้ และ บรู ณาการตามความเหมาะสมแต่ละระดับการศึกษาในเร่ืองต่อไปน้ี 1. ความรู้เรื่องเก่ียวกับตนเอง และความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคม ได้แก่ ครอบครัว ชุมชน ชาติ และสังคมโลก รวมถึงความรู้เก่ียวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของสังคมไทยและระบบ การเมอื งการปกครองในระบบประชาธปิ ไตยอนั มีพระมหากษตั ริย์ทรงเปน็ ประมุข 2. ความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งความรู้ความเข้าใจและ ประสบการณ์เร่ืองการจัดการ การบารุงรกั ษา การใชป้ ระโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม อยา่ งสมดลุ ย่ังยนื 3. ความรู้เกี่ยวกับศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทย และการ ประยุกตใ์ ชภ้ มู ิปัญญา 93

4. ความรู้และทักษะด้านคณิตศาสตร์และด้านภาษา เน้นการใช้ภาษาไทยได้อย่าง ถูกตอ้ ง 5. ส่งเสริมการสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อม ส่ือการเรียน และอานวยความสะดวกเพื่อให้ผเู้ รียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้ในการวจิ ัยเป็น ส่วนหน่ึงของกระบวนการเรียนรู้ ท้ังนี้ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมพันจากสื่อการเรียนการอ สอนและแหล่งวทิ ยาการประเภทต่าง ๆ 6. จัดการเรียนรู้ให้เกิดข้ึนได้ทุกเวลาทุกสถานท่ี มีการประสานความร่วมมือกับบิดา มารดา ผ้ปู กครองและบุคคลในชุมชนทกุ ฝา่ ย เพ่อื ร่วมกันพฒั นาผเู้ รียนตามอตั ภาพ 2. ความหมายของการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา สกิลเบ็ก (Skilbeck, 1984: 2) (อ้างใน พิจิตรา ธงพานิช(ทีสุกะ). (2557 : 154) ได้ให้ ความหมายของการพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนไว้ว่า หมายถึง การวางแผน การออกแบบ การนไปใช้และ การประเมินผล การกาหนดการเรียนรู้ของนักเรียนดาเนินการโดยสถานศึกษา เนน้ การตัดสินใจร่วมกัน ระหวา่ งบุคลากรภายในสถานศกึ ษา ไมใ่ ชก่ าหนดจากบุคคลภายนอก แฮร์ริสัน (Marsh and other.1990: 48) (อ้างใน พิจิตรา ธงพานิช(ทีสุกะ). (2557 : 154) ให้ ความหมายของการพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนว่า 1. เป็นแผนงานที่สามารถปรับเปล่ียนได้ 2. เป็นส่ิงท่ี นาไปปฏิบัติได้จริงและมีผลเกิดข้ึนกับบุคคลท่เี กี่ยวข้องจริง 3. เป็นประสบการณ์ที่เก่ียวข้องได้รับทราบ ท้ัง 3 ข้อมีความเก่ียวข้องกัน เพื่อให้หลักสูตรได้รับการพัฒนาให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการ ของผู้เรยี นมากขน้ึ เอ็กเกิลสตัน (Eggleston, 1980: 7) (อ้างใน พิจิตรา ธงพานิช(ทีสุกะ). (2557 : 155) ได้ให้ ความหมายการพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนว่าเป็นการพัฒนาหลักสูตรให้มีความสอดคล้องกับสภาพและ ความต้องการของนักเรียนในแต่ละโรงเรียนโดยมีการวางแผนนาไปใช้ และประเมินร่วมกัน มีการใช้ ประโยชน์จากทรพั ยากรและชุมชน เชน่ บคุ ลากร อาคารสถานที่ วสั ดอุ ุปกรณต์ า่ ง ๆ เปน็ พนั ธกจิ รว่ มกัน ระหว่างโรงเรียนและชุมชน ครูได้แสดงศักยภาพอย่างเต็มที่ เป็นหลักสูตรที่โรงเรียนได้รับประโยชน์ โรงเรียนเปน็ ผทู้ าใหเ้ กดิ สัมฤทธ์ิผลมากกวา่ เปน็ เพยี งเจ้าของหลักสตู ร กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ (2544:28-29) (อ้างใน พิจิตรา ธงพานิช(ทีสุกะ). (2557 : 155) ได้กล่าวถึงการพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนว่าคือพันธกิจหรือภาระหน้าที่ท่ีสถานศึกษาและชุมชน ร่วมกันในการพัฒนาผู้เรียนให้เหมาะสมกับยุคสมัย โดยกาหนดเป็นวิสัยทัศน์ เป้าหมาย มาตรฐานการ เรียนรู้ สาระการเรียนรู้และผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง เพ่ือให้ครูทุกคนนาไปออกแบบการเรียนการสอนมี การวางแผนร่วมกันทั้งสถานศึกษาเป็นหลักสูตรที่ครอบคลุมภาระงานการจัดการศึกษาทุกด้านของ สถานศกึ ษา การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาในความหมายต่าง ๆ ดังที่กล่าวมาข้างต้นสรุปว่า การพัฒนา หลักสูตรคอื แผนประสบการณ์หรือแผนการจดั การเรียนการสอนที่เกิดจากการตัดสินใจร่วมกันระหว่าง บุคลากรทั้งภายในและภายนอกของโรงเรียน เพ่ือกาหนดการเรียนรู้ของนักเรียน มีการวางแผนการ นาไปใช้และประเมนิ ผลรว่ มกัน 94

3. แนวคดิ การพัฒนาหลกั สูตรสถานศกึ ษา สาหรับประเทศไทยเอง แนวคิดในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาคือ ต้องการกระจายอานาจ ให้กับโรงเรียนสามารถตัดสินใจเกี่ยวกับหลักสูตรได้เอง เพราะเท่าท่ีผ่านมามีปัญหาเกิดขึ้นจากการรวม อานาจการบริหารการศึกษาไว้ที่ส่วนกลางคือท่ีกระทรวงศึกษา ดังที่คณะกรรมการปฏิบัติระบบบริหาร การศกึ ษาในกระทรวงศกึ ษาธิการกลา่ วไวว้ า่ ลกั ษณะเชน่ น้กี ่อให้เกดิ ปญั หาดังนี้ 1. ปญั หาการรวมอานาจไว้ท่ีส่วนกลางทาใหเ้ กิดปญั หาคอื 1.1 กอ่ ใหเ้ กิดความลา่ ช้าในการอนมุ ัติ อนุญาต 1.2 ขาดความเปน็ อิสระในการคิด การตัดสนิ ใจในระดบั ล่าง และระดับปฏิบัติ ของหน่วยงานในพ้นื ทแี่ ละสถานศกึ ษา 1.3 การบริหารและการตัดสินใจของหน่วยงานระดับล่างไม่อาจทาได้ ไม่ สอดคล้องกับความจาเป็นและความเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหา และตอบสนองตามความต้องการของ นกั เรยี นและประชาชน หรอื ชมุ ชนในพ้ืนทไี่ ดอ้ ย่างเหมาะสม 1.4 ทาให้ส้ินเปลืองงบประมาณและทรัพยากร เนื่องจากการจัดสรรท่ีไม่ สอดคลอ้ งกับปัญหาและความตอ้ งการท่ีแทจ้ ริง การมอบอานาจหรือแบ่งอานาจส่วนใหญเ่ ปน็ เรื่องของการบริหารงานตามระเบียบแบบแผนการ บรหิ ารการเงนิ และการบรหิ ารงานบุคคล ส่วนการมอบอานาจในเรอ่ื งของนโยบายแผนงานและวชิ าการ มเี ปน็ ส่วนนอ้ ยคอื เพียงร้อยละ 0.4 ของลกั ษณะงานท่ีมอบอานาจไปทัง้ หมด 2. ปัญหาด้านหลักสูตรและการเรียนการสอน ก็มีการกาหนดและควบคุมจากส่วนการสูงมาก แม้มีความพยายามให้สถานศึกษาและหนว่ ยงานในพน้ื ท่ีพัฒนาหลักสูตรในทอ้ งถ่ิน ก็ไม่เกิดผลเท่าที่ควร ทัง้ น้เี นอื่ งจาก 2.1 กรอบหลักสูตรและการประเมินผล เป็นสาเหตุสาคัญในการสกัดก้ันการตัดสินใจ เก่ยี วกับหลักสตู ร 2.2 ความวติ กกงั วลของสถานศึกษาและครผู สู้ อน ที่เกรงว่าจะไม่สามารถดาเนนิ การได้ ครบตามระเบียบและกฎเกณฑด์ ังกลา่ ว 2.3 รูปแบบการจัดการเรียนการสอนของครูที่ยังยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง ไม่ส่งเสริม ศักยภาพ และความแตกตา่ งระหว่างบุคคลของนักเรยี น 2.4 ระบบรวมศูนย์ในเรื่องการจัดสรรทรัพยากรเพ่ือการเรียนการสอน รวมทั้งการ ควบคุม จัดสรรและกาหนดคุณลกั ษณะจากสว่ นกลางกเ็ ป็นส่วนหนึ่งที่ทาให้สถานศกึ ษามอิ าจจัดรายวชิ า ที่สนองความตอ้ งการของนกั เรียนและความต้องการของชมุ ชนได้ 3. ปัญหาจากการใชห้ ลักสตู รเดียวกนั ทวั่ ประเทศ ก่อให้เกิดผลตอ่ ผ้ปู ฏบิ ัติตามหลกั สูตร 3.1 ผู้บริหารโรงเรยี นบางสว่ นขาดความรู้ ความเขา้ ใจในหลกั สูตร 3.2 ครูไม่เข้าหลกั การ จุดม่งุ หมายของหลักสตู ร 3.3 เนือ้ หาวิชามคี วามยาก ไม่สอดคล้องกับสภาพทอ้ งถิน่ 3.4 ครูไม่เข้าใจวิธีการจัดการเรียนการสอน จึงจัดการเรียนการสอนท่ียึดครูเป็น ศนู ยก์ ลาง 95

3.5 การจัดส่งเอกสารประกอบหลักสูตรไปยังโรงเรียนมีความล่าช้า ไม่ทันเปิดภาค การศึกษา จานวนท่ีจัดสง่ ไปใหไ้ มเ่ พียงพอ 4. ปัญหาการพฒั นาหลักสตู รทอ้ งถิ่นกค็ อื 4.1 การขาดบุคลากร 4.2 ขาดความรว่ มมอื และสนับสนนุ 4.3 ขาดวทิ ยากร 4.4 ขาดความรู้ 4.5 ขาดการเก็บรวบรวมข้อมลู ให้เปน็ ปัจจบุ ัน 4.6 ครไู มป่ รบั หลักสูตรสอนตามหลักสูตรแกนกลาง 4.7 ไม่ปรบั ปรงุ ส่อื เอกสาร 4.8 ครูไมม่ ีความรแู้ ละขาดทกั ษะในการดาเนินการ จากรายงานการวิจัยและพัฒนาระบบการประเมินผลภายในของสถานศึกษาพบว่าสถานศึกษา ทมี่ หี ลักสตู รและเนื้อหาสาระทีเ่ หมาะสมกับทอ้ งถ่นิ และผ้เู รียน มเี พียงร้อยละ 27 เท่านน้ั ผลท่เี กิดข้นึ กับ นกั เรยี นคือ 1. นักเรียนได้เรียนรู้ในส่ิงที่เก่ียวข้องกับตัวเองและชุมชนและตัวเองอาศัยอยู่น้อยหรือาจไม่ เก่ยี วข้อง 2. ทาให้การเรียนรู้เป็นเรื่องไม่สนุก เพราะประโยชน์ในการนาไปใช้ในชีวิตประจาวันมีไม่มาก ไม่สอดคล้องกับทฤษฎีการเรียนรู้ เช่น ทฤษฎีการเรียนรู้ปัญญานิยม ที่เชื่อว่าการเรียนรู้เกิดจากการที่ ผูเ้ รยี นเป็นผูร้ ิเร่มิ เป็นผู้กระทาท่ีมีปฏิสมั พนั ธก์ ับสิ่งเร้าผูเ้ รียนต้องเปน็ ผู้ลงมือกระทา 4. ขนั้ ตอนการพัฒนาหลกั สตู รสถานศกึ ษา ข้นั ตอนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาท่ีจะนามาใช้ดาเนินการการนาแนวคิดและรูปแบบจาก พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ในมาตรา 27 วรรคสองท่ีกาหนดให้สถานศึกษาข้ัน พน้ื ฐานมีหนา้ ทจ่ี ัดทาสาระของหลักสูตรทสี่ อดคลอ้ งกับหลักสตู รแกนกลางในส่วนท่ีเก่ียวกบั สภาพปญั หา ในชุมชนและสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพ่ือเป็นสมาชิกท่ีดีของครองครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ รวมทั้งแนวคิดและรูปแบบของนักพัฒนาหลักสูตร เช่น ไทเลอร์ ทาบา เซย์เลอรอ์ เล็กซานเดอรแ์ ละเลวิส โอลวา สกิลเบ็กมารช์ และคณะ เอ็กเกลิ สตนั วอลค์ เกอร์ และรูปแบบ การพัฒนาหลักสูตรของไทย กรมวิชาการ และกรมการศึกษานอกโรงเรียนมากาหนดเป็นแนวทางในการ พฒั นาหลักสูตรสถานศึกษา ขั้นตอนการพัฒนาหลักสตู นสถานศกึ ษาที่กาหนดขึ้น เป็นการพัฒนาหลักสูตรครบวงจรคือ เร่ิม ตั้งแต่การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพ้ืนฐาน การร่างหลักสูตร การตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตร การ นาหลักสูตรไปใช้ในสถานการณ์จริง รวมทั้งการประเมินผลหลักสูตร โดยหวังว่าข้ันตอนการพัฒนา หลักสูตรท่ีสมบูรณ์ทาให้ได้หลักสูตรที่มีประสิทธิภาพ กล่าวโดยสรุปขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตร สถานศึกษา ประกอบด้วยขนั้ ตอนทส่ี าคัญ 5 ขนั้ ตอน ดงั นค้ี อื ขั้นที่ 1 การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ในการพัฒนาหลักสูตรจาเป็นต้องศึกษาและ วิเคราะห์ข้อมูลพ้ืนฐานในด้านต่าง ๆ เพ่ือใช้ในการกาหนดองค์ประกอบต่าง ๆ ของหลักสูตรซ่ึงได้แก่ 96

วัตถุประสงค์ของหลักสตู ร เนื้อหาสาระ กิจกรรมในการจัดการเรียนการสอน/สื่อ การวัดและประเมินผล ผู้เรียนซ่ึงข้อมูลพื้นฐานท่ีได้จากการศึกษาช่วยในการกาหนดวัตถุประสงค์หรือการกาหนดสิ่งท่ีต้องการ ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ วัตถุประสงค์จะเป็นตัวกาหนดเนื้อหาสาระที่ควรจัดให้ผู้เรียน ซ่ึงอยู่ในลักษณะ รายวิชา หลังจากน้ันจึงนามากาหนดกิจกรรมในการจัดการเรียนการสอน ส่ือการเรียนรู้ต่าง ๆ รวมทั้ง การกาหนดวธิ ีการการวัดและประเมนิ ผลผู้เรยี นวา่ จะใชว้ ิธีการอย่างไร ซึ่งการศึกษาและวิเคราะห์ขอ้ มูล พื้นฐานในการพัฒนาหลกั สูตรควรประกอบด้วย 1.1 การศึกษาสภาพและความตอ้ งการของชุมชน เนอื่ งจากโรงเรียนท่ีมีหน้าที่ถา่ ยทอด ความรู้ ทกั ษะ และวฒั นธรรมของชมุ ชน ชว่ ยเตรียมคนใหก้ บั ชุมชนและสงั คม ดังนนั้ การพฒั นาหลกั สตู ร เพื่อให้ผู้เรียนเป็นผู้มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ คิดเป็นทาเป็น และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม จาเป็นต้องทราบข้อมูลเกี่ยวกับสภาพและความต้องการของชุมชนหรือ สังคมท่ีโรงเรียนต้ังอยู่ เพ่ือให้หลักสูตรท่ีพัฒนาข้ึนมีความทันสมัยเหมาะสมกับการเปล่ียนแปลงของ ชุมชน การศึกษาสภาพและความต้องการของชุมชนมีการศึกษาในหลายด้าน เช่น การศึกษา สาธารณูปโภค ส่ิงแวดล้อม การประกอบอาชีพ ในปัจจุบันและแนวโน้มของอาชีพในอนาคต สุขภาพ อนามัย ขนบธรรมเนียมประเพณี วฒั นธรรม ค่านิยม ทรพั ยากรต่าง ๆ ปัญหาของชุมชน ขอ้ มลู เกี่ยวกับ ชมุ นอาจศึกษาจากการสารวจสอบถามสัมภาษณ์บุคคลในชุมชน และศึกษาจากเอกสาร รายงานต่าง ๆ ทีเ่ กีย่ วขอ้ ง เพ่ือกาหนดแนวทางในการตอบสนองความต้องการของชมุ ชนในพนื้ ท่ีได้ ขอ้ มลู ของชมุ ชนท่ีสาคัญมีดังตอ่ ไปนี้ 1. ข้อมูลสภาพท่ัวไปของชุมชน แผนท่ีชุมชน แสดงที่ตั้งของสถานท่ีต่าง ๆ เชน่ ส่งิ สาคญั ในชมุ ชน เช่น วดั โรงเรียน เทศบาล ธนาคาร ฯลฯ รวมทงั้ ลักษณะการต้ังบ้านเรือนภายใน ชุมชน ประวัติความเป็นมาและสภาพของชุมชน จานวนประชากร แยกตามเพศ อายุ จานวนครัวเรือน ศาสนา สถานท่ที อ่ งเท่ียว เป็นต้น 2. ข้อมูลด้านการศึกษา จานวนผู้เรียนจบการศึกษาในระดับต่าง ๆ จานวน นักเรียนในระดับต่าง ๆ เช่น ประถม มัธยม ฯลฯ จานวนครูท่ีสอนในระดับต่าง ๆ จานวนผู้ท่ีมีส่ว น เกย่ี วขอ้ งกับการศึกษา เช่น ศกึ ษานเิ ทศก์ ฯลฯ 3. ข้อมูลศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของชุมชน ภาษาท้องถิ่น โบราณสถาน โบราณวัตถุภายในชุมชน ดนตรี เพลง การแสดงพื้นบ้านของชุมชน วรรณกรรม ตานาน พ้ืนบ้านของชุมชน 4. ข้อมูลพื้นฐานทางเศรษฐกิจ อาชีพ/รายได้ของคนในชุมชน ปฏิทิน การ ปฏิบัตงิ านของชุมชน เชน่ ช่วงเดือนการเก็บเกย่ี วข้าว ช่วงเวลาการเก็บเงาะ การตัดยาง เป็นต้น รวมทั้ง ทรัพยากรทมี่ ใี นชุมชน เชน่ ปา่ ไม้ แร่ธาตุ แหล่งนา้ และพืชเศรษฐกิจหลักของชมุ ชน 5. ภูมิปัญญาท้องถ่ิน ทาเนียบช่ือ ที่อยู่ ความรู้ความสามารถ ความชานาญ ของแตล่ ะบคุ คลปัญหาชุมชน 6. ปัญหาท่ีเกิดข้ึนภายในชุมชน เช่น ยาเสพติด พืชผลราคาดก โจรผู้ร้ายชุก ชุม นอกจาการศึกษาและสารวจสภาพความต้องการของชุมชน รวมท้ังข้อมูลที่สาคัญของ 97

ชมุ ชนแล้ว ต้องมีการสารวจสภาพและความต้องการของผเู้ รยี น ท้ังด้านร่างกาย อารมณ์ สงั คม ซงึ่ ขอ้ มูล เหลา่ นส้ี ามารถได้จากครูในโรงเรยี น ผูป้ กครอง และตวั นกั เรยี นเอง วิธกี ารศึกษาชมุ ชน สามารถดาเนนิ การไดด้ ังนี้ 1. ศกึ ษาจากเอกสารต่าง ๆ จดั เปน็ ขอ้ มลู ทุตยิ ภมู ิ (Secondary Data) ซง่ึ เป็น ข้อมูลท่ีมีผู้จัดพิมพ์หรือรวบรวมไว้อยู่ในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ เอกสารเหล่านี้สามารถค้นคว้าศึกษา ไดจ้ ากห้องสมดุ จากหน่วยงานตา่ ง ๆ ทร่ี วบรวมจัดเก็บไว้ 2. ศึกษาจากการสารวจชุมชน จัดเป็นข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) ซึ่งผู้ ต้องการใช้ข้อมูลเป็นผู้เก็บรวบรวมข้อมูลโดยตรงจากชุมชน ทาให้ได้เห็นสภาพที่แท้จริง และสร้าง ความสัมพันธ์อันดีกับชุมชนด้วย ซ่ึงการสารวจชุมชนต้องใช้วิธีการต่าง ๆ กัน เพ่ือให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง ตรงกับความเปน็ จริง วิธกี ารตา่ ง ๆ ได้แก่ การสมั ภาษณ์ การสอบถาม และการสังเกตเป็นต้น จากการศึกษาสภาพและความต้องการของชุมชน นาข้อมูลท่ีได้ท้ังหมดมา จัดลาดับความสาคัญ โดยกาหนดเป็นหัวเร่ืองท่ีต้องการให้นักเรียนได้เรียนรู้ เช่น ในชุมชนมีปัญหายา เสพติด ส่ิงแวดล้อมเป็นพษิ ภาวะโลกร้อน มีการทาลายทรพั ยากรธรรมชาติ เหลา่ น้ีเปน็ ตน้ หรอื อาจเป็น เรื่องท่ีชุมชนต้องการถ่ายทอดวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนให้กับนักเรียนได้เรียนรู้สิ่งเหล่านี้ จดั แยกเป็นหมวดหมู่ให้ชัดเจนว่า อะไรเป็นปัญหาเร่งด่วนท่ีต้องการแก้ไข หรืออะไรเป็นสิ่งท่ีต้องการให้ นักเรียนรู้เพื่อสืบทอดวัฒนธรรมของชมชนในการดาเนินงานขั้นตอนน้ีมีความสาคัญที่ต้องให้ผู้มีส่วน เกยี่ วข้องกบั ชมุ ชน เชน่ ผู้ปกครอง กรรมการโรงเรียน คนในชุมชน รวมทง้ั นกั เรยี นได้เข้ามามสี ่วนร่วมใน การแสดงความคิดเหน็ ร่วมกับครู ผู้บริหารโรงเรียน เพื่อนาไปส่ขู ้อสรปุ ของการจัดลาดับความสาคัญของ ปญั ญา หรือเรื่องราวท่ใี หน้ กั เรยี นได้เรยี นรู้ 1.2 การวิเคราะห์ศักยภาพของโรงเรียน การวิเคราะห์ศักยภาพของโรงเรียนเป็น การศึกษาสภาพทั่วไปของโรงเรียนในด้านต่าง ๆ เช่น บุคลากร งบประมาณ อุปกรณ์ และสื่อต่าง ๆ อาคารสถานที่ ห้องเรียน ปัญหาที่เกิดจากการใช้หลกั สูตรและกระบวนการเรียนการสอน ความร่วมมือ ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ข้อมูลเหล่าน้ีจะช่วยในการพิจารณาว่าโรงเรียนมคี วามพรอ้ มหรือไม่ มีผลต่อ การตัดสินใจวาจะเลอื กแนวทางการพัฒนาหลักสูตรอย่างไรจึงจะเหมาะสมกับศกั ยภาพของโรงเรยี นมาก ท่ีสุด ข้อมูลต่าง ๆ เหล่าน้ีได้จากเอกสาร รายงานต่าง ๆ เช่น สถิติของโรงเรียน รายงานการประเมิน คณุ ภาพของโรงเรียน การสารวจภายในโรงเรียน เป็นตน้ 1.3 การวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลาง เน่ืองจากปัจจุบันเป็นระยะเวลาที่เราผา่ นการใช้ หลักสูตรมาหลายคร้ังจนปัจจุบันกาลังจะนาหลักสูตรการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน พุทธศักราช 2551 มาใช้กับ โรงเรียนนาร่องจานวน 555 แห่ง ในปีการศึกษา 2552 และคาดว่าจะนามาใช้ครบทกุ ช้ันในปีการศึกษา 2553 ข้ันที่ 2 การร่างหลักสูตร เป็นการกาหนดแผนการจัดประสบการณ์ หรือการกาหนดแนว ทางการจัดการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียน ซง่ึ ประกอบดว้ ยจดุ ประสงค์ เน้อื หาสาระ กิจกรรม และวิธีวัด และประเมินผลผูเ้ รยี น เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถ ทักษะ และทัศนคติตามเป้าหมายทีก่ าหนด ไว้ ในการร่างหลักสูตรสถานศึกษาจะต้องนาข้อมูลที่ได้จากการศึกษาในขั้นที่ 1 คือ ข้อมูลพ้ืนฐาน 98

ทีจ่ าเป็น ได้แก่ สภาพและความต้องการของชุมชน ศักยภาพของโรงเรียน หลักสูตรแกนกลางท่ีกาหนด จุดประสงคก์ ารเรยี นร้วู ชิ าทีต่ อ้ งการพัฒนา ประกอบดว้ ยข้นั ตอนต่าง ๆ คอื 2.1 การกาหนดจดุ ประสงค์ของหลักสตู ร ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ 1. จุดประสงค์ทั่วไป เป้าหมายหรือส่ิงที่มุ่งหวังให้เกิดกับผู้เรียนหลังจากที่ ผู้เรียนได้เรียนรู้สิ่งนั้น ๆ แล้ว ต้องนาข้อมูลท่ีได้จากการเก็บรวบรวมในขั้นที่ 1 มากาหนดเป็น จดุ ประสงค์ท่ัวไปต้องพจิ ารณาใหส้ อดคลอ้ งกับหลักสูตรแกนกลาง การกาหนดจุดประสงค์ตอ้ งเขียนด้วย ภาษาท่ีชัดเจน เข้าใจง่ายและสามารถนาไปปฏิบัติได้จริงภายใต้ศักยภาพของแต่ละสถานศึกษา ตวั อยา่ ง การกาหนดจุดประสงค์ท่วั ไปของหลักสูตร “การทาผลไม้แปรรูป ให้ นักเรียนมีความรแู้ ละทกั ษะในการทาผลไม้แปรรูป” 2. จุดประสงคก์ ารเรียนรู้ - บอกความหมายของ “ผลไมแ้ ปรรปู ” ได้ - สามารถทาผลไมแ้ ปรรปู ได้ - มเี จตคตทิ ดี่ ตี อ่ อาชีพการทาผลไมแ้ ปรรปู - สามารถบรรจหุ ีบห่อท่สี วยงามได้ - สามารถตงั้ ราคาขายท่เี หมาะสมได้ ฯลฯ 2.2 การกาหนดเนอ้ื หาสาระ เนอื้ หาสาระเป็นองคป์ ระกอบทส่ี าคญั การพัฒนาหลกั สูตร ท้ังน้ีเนื่องจากเนื้อหาสาระเป็นเคร่ืองมือหรือส่ือกลางท่ีจะพาผู้เรียนไปยังวัตถุประสงค์ท่ีวางไว้ การ พฒั นาหลักสตู รสถานศึกษาใช้เน้ือหาสาระทเี่ กี่ยวข้องกบั ชมชนท่ีเปน็ บรบิ ทของโรงเรยี นให้สอดคล้องกับ จุดประสงค์ท่ีวางไว้ มีความยากง่ายสอดคล้องเหมาะสมกับวัยหรือลาดับขั้นของการพัฒนาการท้ังทาง ร่างกายและจิตใจ รวมทั้งประสบการณ์เดิมของผู้เรียน มีประโยชน์ต่อผู้เรียนท่ีจะนาไปใช้ใน ชีวิตประจาวันเนื้อหาที่เลือกสามารถจัดให้ผู้เรียนได้โดยพิจารณาถึงความพร้อมศักยภา พของโรงเรียน บุคลากรท่ีเป็นผู้สอน วัสดุ อุปกรณ์ต่าง ๆ ตัวอย่างการพัฒนาหลักสูตร “การทาผลไม้แปรรูป” ประกอบด้วยเน้ือหาสาระดังนี้ - ลักษณะและชนดิ ของผลไมท้ ่นี ามาแปรรูป - ขั้นตอนการทาผลไมแ้ ปรรูป - การทาความสะอาดเครื่องใช้ - การบรรจุหบี หอ่ - การตง้ั ราคาขาย ฯลฯ 2.3 การจัดการเรียนการสอน กิจกรรมและส่ือการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนการอสน คือ กิจกรรมท่ีทั้งผู้เรียนเป็นผู้กระทา และกิจกรรมท่ีผู้สอนเป็นผู้กระทา มีการใช้สื่อการเรียนการสอน ตา่ ง ๆ เพ่อื ให้ผเู้ รียนเกิดการเรียนรกู้ ิจกรรมในการจัดการเรยี นการสอน การบรรยาย การสาธติ ผู้เรียนมี การซักถามโต้ตอบ การลงมือปฏิบัติ ซ่ึงสอดคล้องกับจุดประสงค์และเน้ือหาสาระที่กาหนดขึ้น ครูต้อง คานึงถึงพ้ืนฐานและประสบการณ์เดิมของผู้เรียน การกาหนดกิจกรรมการเรียนการสอนต้องสอดคล้อง 99

กับประสบการณ์เดิมของผู้เรียน ซ่ึงอาจมีการนาส่ือท้ังในด้านวัสดุอุปกรณ์ และบุคคลสถานที่ท่ีอยู่ใน ชมุ ชน เขา้ มากาหนดเปน็ กจิ กรรมทีเ่ ป็นรูปธรรม เพือ่ ใหก้ ารเรยี นรู้เช่อื มโยงกับชุมชนส่งผลต่อการเปล่ยี น พฤตกิ รรมของผู้เรยี นอันเน่อื งมาจากการเรียนรูต้ ามจุดประสงค์ท่กี าหนดไว้ได้ กจิ กรรมการเรียนการสอน ได้แก่ กิจกรรมในลกั ษณะตอ่ ไปนค้ี ือ ศึกษา ทดลอง สารวจ ฝึกปฏิบัติ วิเคราะห์ อภิปราย สัมมนา ระดมความคิด ฯลฯ ตัวอย่างกิจกรรม “ศึกษา” ได้แก่ (กรม วชิ าการกระทรวงศึกษาธกิ าร, 2539: 9) - ฟงั คาอธบิ ายจากครู - ค้นควา้ จากหอ้ งสมุดของโรงเรียน - ค้นควา้ จากแหล่งวิทยาการอื่น ๆ - เชญิ ผ้ทู รงคุณวุฒใิ นทอ้ งถิน่ มาบรรยาย - ออกไปสัมภาษณ์ผทู้ รงคุณวฒุ หิ รือผู้เกยี่ วข้องในท้องถิน่ - ออกไปสารวจดสู ภาพจริงในพื้นท่ี - สงั เกตส่ิงแวดล้อมรอบขา้ ง - ออกไปทศั นศกึ ษา - รวบรวมข้อมูลจากแหล่งตา่ ง ๆ - นาหรือพัฒนาภมู ปิ ัญญาทอ้ งถ่นิ มาใช้ ฯลฯ นอกจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแล้ว ครูยังสามารถจัดทาส่ือการเรียนการ สอนเพ่ือให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ที่กาหนดไว้โดยการจัดสื่อต่าง ๆ เพ่ือใช้ประกอบการจัดการเรียน การสอนไดด้ ังนี้ (กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ, 2539: 17-18) 1. หนังสือเรียน เป็นหนังสือที่กระทรวงศึกษาธิการกาหนดให้ใช้สาหรับการเรียน มี สาระตรงตามท่รี ะบุไวใ้ นหลกั สตู รอยา่ งถูกต้อง อาจมลี กั ษณะเป็นเล่ม เป็นแผน่ หรือเปน็ ชุดก็ได้ 2. คู่มือครู แผนการสอนแนวการสอนหรือเอกสารอื่น ๆ ท่ีจัดทาข้ึนเพ่ือช่วยครูในการ จดั กจิ กรรมการเรียนการสอนแตล่ ะรายวิชาให้เป็นไปตามจุดประสงค์ของหลักสูตร 3. หนังสือเสริมประสบการณ์ เป็นหนังสือท่ีจัดทาข้ึนโดยคานึงถึงประโยชน์ในด้าน การศึกษาหาความรู้ของตนเอง ความสนุกสนานเพลิดเพลิน ความซาบซึ้งในคุณค่าของภาษา การ เสริมสร้างทักษะและนิสัยรักการอ่าน การเพ่ิมพูนความรู้ ความเข้าใจในสิ่งท่ีเรียนรู้ตามหลักสูตร กว้างขวางข้ึน หนังสือประเภทน้ีโรงเรียนควรจัดหาไว้บริการครูและนักเรียนในโรงเรียน หนังสือเสริม ประสบการณ์จาแนกออกเป็น 4 ประเภท คือ 3.1 หนังสืออ่านนอกเวลา เป็นหนังสือที่กระทรวงศึกษาธิการกาหนดให้ใช้ใน การเรียนวิชาใดวิชาหน่ึงตามหลักสูตรนอกเหนือจากหนังสือเรียนสาหรับให้นักเรียนอ่านนอกเวลาเรียน โดยถอื ว่าเปน็ กิจกรรมการเรยี นเกย่ี วกับหนงั สือนเี้ ปน็ ส่วนหน่ึงของการเรียนตามหลักสตู ร 3.2 หนังสืออ่านเพ่ิมเติม เป็นหนังสือที่มีสาระ สาหรับให้นักเรียนอ่านเพ่ือ ศึกษาหาความรู้เพ่ิมเติมด้วยตนเอง ตามความเหมาะสมกับวัยและความสามารถในการอ่านของแต่ละ บุคคล หนงั สอื ประเภทนี้เคยเรยี กวา่ หนังสอื อ่านประกอบ 100


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook