Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore หน่วยที่-5-การเขียนเพื่อติดต่อกิจธุระ

หน่วยที่-5-การเขียนเพื่อติดต่อกิจธุระ

Published by nsdv, 2019-09-01 21:18:18

Description: หน่วยที่-5-การเขียนเพื่อติดต่อกิจธุระ

Search

Read the Text Version

ชุดการเรยน หลกัสูตรประกาศนยีบตัรวชาชพีชัน้สูงพทธศักราช๒๕๖๒ óðððð-ññðñ ทักษะภาษาไทยเชิงวชิาชีพ (OccupationalThaiLanguageSkill) ˹‹Ç·Õè õ ¡ÒÃà¢Õ¹à¾×èÍ¡Ô¨¸ØÃÐ http://www.nsdv.go.th/ ศูนยอาชีวศึกษาทวภาคี ศูนยสงเสรมและพฒันาอาชีวศกึษาภาคเหนือ สำนกังานคณะกรรมการการอาชีวศึกษากระทรวงศึกษาธิการ

ชดุ การเรียน หลักสตู รประกาศนยี บตั รวิชาชีพชั้นสูง พุทธศกั ราช ๒๕๖๒ ๓๐๐๐๐-๑๑๐๑ ทักษะภาษาไทยเชิงวชิ าชพี หนว่ ยที่ ๕ สำนักงานคณะกรรมการการอาชวี ศึกษา กระทรวงศกึ ษาธกิ าร

คำนำ ชดุ การเรยี น วชิ าทกั ษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชพี ชุดการเรียนโดยใช้สื่อดิจิทัลเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาไทยระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นสูงน้ี จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการศึกษาเรียนรู้รายวิชา ๓๐๐๐-๑๑๐๑ ภาษาไทยเพื่อสื่อสารในงาน อาชีพ หลักสตู รประกาศนียบัตรวิชาชพี ช้นั สงู พุทธศักราช ๒๕๕๗ และรายวิชา ๓๐๐๐๐-๑๑๐๑ ทักษะ ภาษาไทยเชิงวิชาชีพ ๓-๐-๓ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช ๒๕๖๒ โดยมี จุดประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษาเรียนรู้และฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง แล้วเกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ หลักการใช้ภาษาไทย สามารถนำภาษาไทยไปใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารในงานอาชีพ โดยชุดการเรียนน้ี ประกอบด้วย ๗ หน่วยการเรียน และแต่ละหน่วยประกอบด้วยแบบประเมินตนเองก่อนและหลังเรียน แผนการเรียนประจำหน่วย เนื้อหาสาระและกิจกรรม ซึ่งผู้เรียนอาชีวศึกษาทั้งในระบบปกติและระบบ ทวิภาคีสามารถศึกษาเรียนรู้ ฝึกปฏิบัติและทบทวนความรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา ผ่านระบบเครือข่าย คอมพิวเตอร์และสมาร์ทโฟน (Smart Phone) ตลอดจนสามารถดาวน์โหลด (Download) ชุดการเรียน นี้เพื่อศึกษาเรียนรู้ในระบบออฟไลน์ (Offline) ได้ด้วย นอกจากนี้ ครูผู้สอนรายวิชาดังกล่าวยังสามารถ นำไปใชใ้ นการจดั การเรียนการสอนในสถานศกึ ษาได้ เป็นการสนองตอบนโยบายไทยแลนด์ ๔.๐ และการ พัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ แก่ผู้เรียนอาชีวศึกษาด้วย ทั้งนี้ ชุดการเรียนนี้จะนำไปใช้ใน สถานศึกษานำร่อง ในปีการศึกษา ๒๕๖๒ เพื่อพัฒนาให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นและขยายผลแก่สถานศึกษา อาชีวศกึ ษาทกุ แหง่ ต่อไป สำนกั งานคณะกรรมการการอาชีวศกึ ษาขอขอบคณุ ศนู ย์อาชีวศกึ ษาทวิภาคี ศนู ย์ส่งเสรมิ และ พัฒนาอาชีวศึกษาภาคเหนือ คณะศึกษานิเทศก์ คณะครูผู้สอน คณะกรรมการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทกุ ท่าน ท่ีมีส่วนช่วยให้การดำเนินการจัดทำชุดการเรียนโดยใช้สื่อดิจิทัลเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสาร ภาษาไทยครั้งนี้บรรลุผลสำเร็จตามที่มุ่งหวัง และหวังว่าผู้เรียนจะได้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการ พฒั นาตนเองและประยุกต์ใชใ้ นงานอาชพี ได้เป็นอย่างดี ศูนย์สง่ เสริมและพัฒนาอาชวี ศกึ ษาภาคเหนือ ศูนย์อาชวี ศึกษาทวภิ าคี พฤษภาคม ๒๕๖๒

สารบญั ชดุ การเรยี น ปวส. ๒๕๖๒ วชิ าทกั ษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชพี รายละเอียดรายวิชา หน้า วธิ กี ารศึกษา (ก) • ข้นั ตอนการเรยี นชดุ การเรยี น • ขน้ั ตอนการเรียนระดับหน่วย (ข) (จ) หน่วยท่ี ๕ การเขียนเพอ่ื ตดิ ตอ่ กจิ ธุระ (ฉ) • แบบประเมนิ ตนเองกอ่ นเรยี น หนว่ ยท่ี ๕ ๑ • แผนการเรยี น หนว่ ยท่ี ๕ การเขยี นเพอ่ื ตดิ ตอ่ กจิ ธุระ ๑ - แผนการเรยี น มอดลู ท่ี ๕.๑ การเขียนรายงานการประชุม ๒ - แผนการเรียน มอดลู ที่ ๕.๒ การเขยี นรายงานการปฏิบตั งิ าน ๔ - แผนการเรียน มอดลู ท่ี ๕.๓ การเขยี นบันทึกภายในหนว่ ยงาน ๑๒ - แผนการเรยี น มอดูลท่ี ๕.๔ การเขียนโครงการ ๒๔ • แบบประเมนิ ตนเองหลังเรยี น หนว่ ยที่ ๕ ๓๔ • ภาคผนวก ๔๐ ๔๑

รายละเอยี ดรายวชิ า ชดุ การเรยี น ปวส. ๒๕๖๒ วชิ าทกั ษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชพี ๓๐๐๐๐-๑๑๐๑ ทักษะภาษาไทยเชงิ วิชาชพี ๓-๐-๓ (Occupational Thai Language Skills) จดุ ประสงค์รายวชิ า เพ่ือให้ ๑. เข้าใจหลกั การใช้ภาษาไทยเชงิ วชิ าชพี ๒. สามารถวเิ คราะห์ สงั เคราะห์ ประเมนิ ค่าสารและใช้ภาษาไทยเปน็ เคร่ืองมอื สอ่ื สารใน วชิ าชพี ตามหลักภาษา เหมาะสมกับกาลเทศะ บุคคลและสถานการณ์ ๓. เหน็ คุณค่าและความสาคญั ของการใชภ้ าษาไทยในวชิ าชีพอยา่ งมจี รรยาบรรณ สมรรถนะรายวชิ า ๑. แสดงความรู้เกี่ยวกับหลักการฟัง การดู การพูด การอ่าน การเขียน การวิเคราะห์ การ สังเคราะห์และการประเมินคา่ สารภาษาไทยเชิงวิชาชีพอย่างมีจรรยาบรรณ ๒. วิเคราะห์ สังเคราะห์และประเมินค่าสารท่ีได้จากการฟัง การดูและการอ่านส่ือประเภท ต่าง ๆ ๓. พดู นาเสนอขอ้ มูลเพือ่ สือ่ สารในงานอาชพี และในโอกาสตา่ ง ๆ ตามหลักภาษา กาลเทศะ บคุ คลและสถานการณ์ ๔. เขียนเพ่ือติดต่อกิจธุระ บันทึกข้อมูลและรายงานการปฏิบตั ิงานเชิงวชิ าชพี ตามหลักการ ใช้ภาษาไทย คาอธบิ ายรายวชิ า ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับหลักการฟัง การดู การพูด การอ่านและการเขียนภาษาไทย การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และประเมินค่าสารในงานอาชีพจากส่ือประเภทต่าง ๆ การพูด นาเสนอข้อมูลเพื่อส่ือสารในงานอาชีพและในโอกาสต่าง ๆ การเขียนเพ่ือกิจธุระ การจดบันทึก ขอ้ มลู และเขยี นรายงานการปฏบิ ตั ิงานเชงิ วิชาชีพ และจรรยาบรรณในการใชภ้ าษาไทยเชิงวชิ าชีพ (ก)

วธิ กี ารศกึ ษา ชดุ การเรยี น ปวส. ๒๕๖๒ วชิ าทกั ษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชพี ในการศึกษาชุดการเรียนรายวิชา ๓๐๐๐๐-๑๑๐๑ วิชาทักษะภาษาไทยเชิงวชิ าชีพ ผู้เรยี นจะต้องทาความเขา้ ใจเกีย่ วกบั ๑. โครงสรา้ งเน้อื หาสาระ ๒. โครงสรา้ งสื่อการเรียนรู้ ๓. วิธกี ารเรียน โครงสร้างเนือ้ หาสาระ ชุดการเรียนรายวิชา ๓๐๐๐๐-๑๑๐๑ วิชาทักษะภาษาไทยเชิงวิชาชีพได้แบ่ง โครงสรา้ งเน้ือหาสาระ ดงั น้ี หนว่ ยท่ี ๑ การใชภ้ าษาไทยในการสอื่ สารอยา่ งมีประสิทธภิ าพ หน่วยท่ี ๒ การวเิ คราะห์สารจาการฟงั การดู การอา่ น หนว่ ยท่ี ๓ การพดู ในงานอาชีพ หนว่ ยที่ ๔ การพดู ในโอกาสต่าง ๆ ของสังคม หนว่ ยท่ี ๕ การเขยี นเพ่ือตดิ ตอ่ ธรุ ะ หน่วยท่ี ๖ การเขียนในงานอาชพี หนว่ ยท่ี ๗ การเขยี นรายงานการวจิ ยั โครงสร้างสอ่ื การเรยี นรู้ ชุดการเรียนรายวิชา ๓๐๐๐๐-๑๑๐๑ วิชาทักษะภาษาไทยเชิงวชิ าชพี ประกอบด้วย ส่ือ ๒ ประเภท คือ (๑) สือ่ ส่งิ พิมพ์ ได้แก่ แผนการเรยี นและใบกิจกรรม และ (๒) ส่ือออนไลน์ วิธีการเรยี น เพ่ือให้การเรียนในชุดการเรียนรายวิชาน้ีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุผล ตามจดุ ประสงค์รายวิชาและสมรรถนะรายวชิ า ผเู้ รยี นควรดาเนินการตามข้ันตอน ดงั น้ี ๑. เตรียมตัวเพื่อการศึกษาด้วยตนเอง ผู้เรียนต้องจัดตัวเองให้อยู่ในสภาพการณ์ ที่เออื้ ต่อการเรียนรู้ ๔ ประการ คือ ๑.๑ มสี ว่ นร่วมในกจิ กรรมการเรยี นรู้อย่างกระฉับกระเฉง โดยการคิด เขียนและ ทากิจกรรมการเรียนรู้ทก่ี าหนดอย่างสม่าเสมอตลอดเวลา ๑.๒ ติดตาม ตรวจสอบผลการเรยี นรูห้ ลงั ทากิจกรรมแตล่ ะกิจกรรมจากแนวการ ตอบหรอื เฉลย ๑.๓ ซือ่ สตั ย์ต่อตนเอง โดยไม่ดูแนวการตอบหรอื เฉลยกอ่ น (ข)

๑.๔ ศึกษาเรยี นรู้ไปตามลาดับขน้ั ตอน เพ่อื ให้ไดค้ วามรู้ครบถว้ นตามท่กี าหนด ๒. ประเมนิ ผลตนเองกอ่ นเรยี นและหลงั เรยี น ๒.๑ ก่อนท่ีจะเรียนหน่วยการเรียนใด ผู้เรียนควรจะตรวจสอบความรู้ด้วยการ ประเมินผลตนเองก่อนเรียนจากแบบประเมินของหน่วยนั้น ตรวจคาตอบจากเฉลย แล้วรวม คะแนนไว้ หากทาไดค้ ะแนนเกนิ กวา่ รอ้ ยละ ๖๐ ผเู้ รยี นอาจจะไม่ต้องศกึ ษาหน่วยนั้น ๒.๒ เม่ือศึกษาหน่วยนนั้ เสร็จแล้ว ขอให้ผู้เรียนประเมินผลตนเองหลังเรียน โดย ทาแบบประเมินทก่ี าหนดไวต้ อนท้าย ตรวจคาตอบจากเฉลย แล้วรวมคะแนนไว้ หากทาได้ต่ากว่า รอ้ ยละ ๘๕ ผ้เู รยี นควรศกึ ษาทบทวนหนว่ ยนั้นแล้วประเมินซา้ อกี จนกว่าจะได้คะแนนเพม่ิ ข้ึนตาม เกณฑท์ ก่ี าหนด ๓. ศึกษาเอกสารชดุ การเรียนและส่ือท่ีกาหนด โดย ๓.๑ ศกึ ษารายละเอยี ดชุดวิชา ๓.๒ ศึกษาแผนหนว่ ยการเรยี นทุกหนว่ ย ๓.๓ ศกึ ษารายละเอียดของแต่ละหนว่ ยการเรียน ดงั นี้ ๓.๓.๑ แผนการเรียนประจาหน่วย ๓.๓.๒ แบบประเมินผลตนเองก่อนเรียน ๓.๓.๓ แนวคดิ ๓.๓.๔ เนอื้ หาสาระในแตล่ ะหน่วย และแต่ละมอดูล ๓.๓.๕ กจิ กรรมและแนวการปฏบิ ตั หิ รอื แนวการตอบ ๓.๓.๗ แบบประเมินตนเองหลงั เรียน ๔. ทากจิ กรรมตามทีก่ าหนดในหน่วยการเรยี น “กิจกรรม” เป็นส่วนที่ผู้เรียนจะต้องบันทึกสาระสาคัญและทากิจกรรมทุกอย่าง ตามทีไ่ ดร้ บั มอบหมาย ใหเ้ ขียนกิจกรรมลงในแบบฝึกปฏบิ ัติที่กาหนด บางกจิ กรรมอาจให้ผู้เรียน ไปศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมและเขียนรายงาน ขอให้ผู้เรียนจัดทาและจัดส่งครูผู้สอนหรือครูเจ้าของ วิชาตามวนั เวลาและสถานทท่ี ก่ี าหนด (ค)

๕. การศึกษาสอื่ ประกอบการเรยี นรู้ บางหน่วยการเรียน อาจกาหนดให้ผู้เรียนศึกษาเพิ่มเติมจากสื่อท่ีกาหนดหรือ ศึกษาส่ือควบคู่ไปกับการอ่านเอกสารชุดการเรียนเพื่อเสริมสร้างความรู้ ขอให้ผู้เรียนศึกษา รายละเอียดตา่ ง ๆ ตามทกี่ าหนด และจดบนั ทึกสาระสาคัญของสิ่งทไี่ ด้เรยี นรู้ไว้ในกจิ กรรมปฏิบัติ ด้วย ๖. การเข้ารับการสอนเสรมิ หรือรบั บรกิ าร ณ สถานศกึ ษา ผู้เรียนต้องนาบัตรประจาตัวนักศึกษาและบัตรลงทะเบียนเรียนรายวิชาไปแสดง ดว้ ย และเมอ่ื เขา้ รับการสอนเสรมิ รับฟังและรบั ชมส่อื ต่าง ๆ ใหบ้ ันทกึ รายละเอยี ดการเขา้ รับการ สอนเสรมิ หรือรบั บริการในแบบฝกึ ปฏบิ ัตติ อนทา้ ยหน่วยดว้ ย ๗. การร่วมกจิ กรรมภาคปฏิบตั เิ สริมประสบการณ์ ผู้เรียนชุดการเรียนรายวิชา ๓๐๐๐๐-๑๑๐๑ วิชาทักษะภาษาไทยเชิงวิชาชีพ อาจจะตอ้ งเขา้ ร่วมกิจกรรมอย่างใดอยา่ งหน่ึงตอ่ ไปนี้ ๗.๑ เข้าห้องปฏิบัติการในสถานศึกษา เพื่อฝึกทักษะปฏิบัติตามที่กาหนดไว้ใน แตล่ ะหน่วยการเรียน ๗.๒ เข้าสงั เกตการณ์การสอนในหนว่ ยการเรียนทก่ี าหนด ๗.๓ เข้าฝกึ ปฏบิ ตั ใิ นสถานประกอบการหรือหน่วยงาน ๗.๔ ประดิษฐค์ ิดคน้ หรอื ศึกษาสารวจข้อมูลตามท่กี าหนด หลังจากทากิจกรรมข้างต้นแล้ว ให้มีการสรุปรายงานให้แก่ครูผู้สอนหรือครู เจ้าของวิชาทราบเพ่ือตรวจสอบผลการปฏิบัติ และเก็บผลการประเมินเป็นคะแนนเก็บของ รายวิชา ๘. เขา้ รบั การสอบ เม่ือส้ินภาคการศึกษา ผู้เรียนต้องเข้ารับการประเมินผลสัมฤทธิ์รายวิชาหรือ สอบไล่ ตามวนั เวลาและสถานทท่ี ีส่ ถานศกึ ษากาหนด เพอื่ การตัดสินผลการเรยี น (ง)

(จ)

(ฉ)

แบบประเมินตนเองก่อนเรยี น หนว่ ยที่ ๕ http://bit.ly/thai-test5 ชดุ การเรยี น วชิ าทกั ษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชีพ ๑

แผนการเรยี น หนว่ ยท่ี ๕ การเขยี นเพ่ือติดตอ่ กจิ ธรุ ะ มอดลู ๕.๑ การเขียนรายงานการประชมุ ๕.๒ การเขียนรายงานการปฏบิ ัตงิ าน ๕.๓ การเขยี นบนั ทกึ ภายในหนว่ ยงาน ๕.๔ การเขียนโครงการ แนวคิด สังคมปัจจุบันการติดต่อสื่อสารในแต่ละช่องทางเป็นสิ่งสำคัญ และเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้การ ดำเนินงานเป็นไปด้วยความราบรื่น ประสบความสำเร็จ ผู้ใดที่มีศิลปะในการใช้ภาษาทั้งภาษาพูดและ ภาษาเขียนย่อมได้เปรียบ ผู้เรียนจึงควรศึกษาเรื่องราวการติดต่อเพื่อกิจธุระด้วยวิธีการเขียนซึ่งมี หลากหลายเช่น การเขียนบันทึก การเขียนโครงการ การเขียนรายงานการปฏบิ ัติงาน ฯลฯ เพื่อเตรียม ความพร้อมสู่การประกอบอาชพี จดุ ประสงค์การเรยี น ๑. เมื่อศึกษามอดูลท่ี ๕.๑ เร่ืองการเขียนรายงานการประชุม แล้ว ผู้เรียนสามารถเขยี นรายงานการ ประชมุ ได้ ๒. เม่ือศึกษามอดูลที่ ๕.๒ เรื่องการเขียนรายงานการปฏิบัตงิ าน แลว้ ผู้เรยี นสามารถเขียนรายงาน การปฏิบัตงิ าน ได้ ๓. เมื่อศึกษามอดูลที่ ๕.๓ เรื่อง การเขียนบันทึกภายในหน่วยงาน แล้ว ผู้เรียนสามารถเขียน บนั ทกึ ภายในหน่วยงานได้ ๔. เมือ่ ศึกษามอดูลที่ ๕.๔ เร่อื งการเขียนโครงการ แล้ว ผู้เรยี นสามารถเขยี นโครงการได้ ๒ ชุดการเรียน วชิ าทกั ษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชพี

กิจกรรมการเรยี น ๑. ทำแบบประเมินก่อนเรียนมอดลู ๒. ศึกษามอดูลท่ี ๕.๑- ๕.๔ แล้วปฏิบตั กิ ิจกรรมตามมอดลู ๓. ทำแบบประเมินหลงั เรยี น ส่ือและแหล่งการเรียน ๑. มอดูล ๕.๑ - ๕.๔ ๒. ใบงาน ๓. หนังสือคน้ คว้าเพิ่มเติม การประเมนิ ผลการเรียน ๑. ประเมินความก้าวหนา้ ระหว่างการประเมนิ ตนเองก่อนและหลงั เรยี น (ไม่มีคะแนน) ๒. ประเมินกิจกรรมภาคปฏิบัติ (........คะแนน) ๓. คุณธรรม จริยธรรม ( ๒๐ คะแนน) ๔. การสอบปลายภาค (….….คะแนน) ชุดการเรียน วิชาทักษะภาษาไทยเชิงวชิ าชพี ๓

แผนการเรยี น มอดลู ที่ ๕.๑ การเขยี นรายงานการประชมุ มอดูลที่ ๕.๑ โปรดอ่านหัวข้อเรื่อง แนวคิดและจุดประสงค์การเรียนของมอดูลที่ ๕.๑ แล้วจึงศึกษา รายละเอียดตอ่ ไป หวั ข้อเรอ่ื ง ๕.๑.๑ ความหมายของรายงานการประชมุ ๕.๑.๒ คำศัพทท์ ใ่ี ชใ้ นการเขยี นรายงานการประชมุ ๕.๑.๓ จดุ มงุ่ หมายในการจดรายงานการประชมุ ๕.๑.๔ หลักการเขยี นรายงานการประชมุ แนวคิด ในทกุ องคก์ รไม่วา่ จะเปน็ หนว่ ยราชการหรือองค์กรทางธุรกิจ หากมกี ารประชุมปรกึ ษาหารือเพ่ือ การดำเนินงานให้สำเร็จ ย่อมมีการจดบันทึกการประชุมไว้เป็นหลักฐาน ผู้ที่จะดำเนินการน้ี คือ ผู้ที่ทำ หน้าที่เลขานุการในที่ประชุม ดังนั้นนักศึกษาจึงควรเรียนรู้หลักและวิธีการเขียนเพื่อสามารถนำไปใช้ใน อาชพี ในอนาคตข้างหน้าได้ จุดประสงคก์ ารเรียน ๑. เมื่อศึกษาหัวข้อเรือ่ งท่ี ๕.๑.๑ “ความหมายของรายงานการประชมุ ” แล้วนักศกึ ษาบอก ความหมายได้ ๒. เมื่อศึกษาหัวข้อเรื่องท่ี ๕.๑.๒ “คำศัพท์ที่ใช้ในการประชุม” แล้ว สามารถนำไปใช้เขียน รายงานการประชุมไดถ้ ูกตอ้ ง ๓. เมื่อศึกษาหัวข้อเรื่องท่ี ๕.๑.๓ “จุดมุ่งหมายในการจดรายงานการประชุม” แล้ว สามารถ บอกจดุ มงุ่ หมายของการจดรายงานการประชุมได้ ๔. เมือ่ ศกึ ษาหวั ข้อเร่ืองที่ ๕.๑.๔ “หลักการเขยี นรายงานการประชมุ ” แลว้ สามารถเขียนได้ ๔ ชุดการเรยี น วิชาทกั ษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชีพ

เนือ้ หา ๑. ความหมายของรายงานการประชมุ รายงานการประชมุ คือ การบันทึกความคิดเห็นของผู้มาประชุม ผู้เข้าร่วมประชุมและมติของท่ี ประชุมไวเ้ ป็นหลกั ฐาน ๒. คำศัพท์เกี่ยวกบั การประชุม ๑. องค์ประชุม หมายถงึ คณะกรรมการหรือสมาชิก ผู้มีหน้าทต่ี อ้ งเข้าประชมุ ได้แก่ ประธาน รองประธาน (ถ้ามี) กรรมการหรือสมาชิก เลขานกุ าร ๒. ครบองค์ประชุม หมายความวา่ ครบจำนวนผู้เขา้ ประชมุ ตามทร่ี ะบไุ ว้ในระเบยี บหรือจำนวน กรรมการเกนิ คร่งึ หน่ึงของคณะกรรมการหรอื สมาชิกทงั้ หมด ถ้ามาน้อยถอื วา่ ไม่ครบ องค์ประชุมตามท่ี กำหนด ประธานต้องยกเลกิ การประชุม เพราะมติทีไ่ ดจ้ ากที่ประชุมจะเป็นโมฆะเนื่องจากไมเ่ ป็นคะแนน เสยี งข้างมาก ๓. ญตั ติ หมายถึง ข้อเสนอท่ีสมาชกิ เสนอต่อที่ประชมุ เพ่ือพิจารณาลงมติ การเสนอโดยปกติจะ ทำเป็นหนงั สือต่อประธาน เพื่อบรรจุเข้าในระเบยี บวาระการประชุม แต่ถ้าเป็นการเร่งด่วนสมาชิกอาจ เสนอในทปี่ ระชมุ เลยกไ็ ด้ ๔. การแปรญัตติ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงญัตติดว้ ยการเพิ่ม ตัดออก หรือเสนอซ้อน ทั้งด้าน ถ้อยคำและข้อแมต้ ่าง ๆ คำศัพท์ญัตติและแปรญตั ติน้ีใช้เฉพาะการประชุมบางประเภท เช่น การประชุม สภาผู้แทนราษฎร การประชุมสภาองค์การบริหารสว่ นจังหวัด เป็นตน้ ๕. มติ คือ ขอ้ ตกลงของทป่ี ระชมุ การออกเสียงลงมตินถี้ ือเสยี งขา้ งมาก ซ่งึ ทุกคนต้องยอมรับแม้ บางคนจะไม่เหน็ ดว้ ย การออกเสยี งลงมตอิ าจทำโดยเปิดเผย คอื การยกมอื หรือลงมตแิ บบลบั คอื เขยี นใส่ ซองปดิ ผนกึ และตรวจนบั ภายหลังก็ได้ ๖. ทีป่ ระชมุ หมายถึง บรรดาผเู้ ขา้ ประชุมทัง้ หมด (ไม่รวมผู้จัดการประชุม) ๗. สมัยการประชุม หมายถึง ช่วงเวลาที่จัดประชุม ซึ่งแบ่ง ๒ สมัย คือ การประชุมสมัยสามัญ หมายถึง การประชุมตามที่ได้มีการกำหนดเวลาไว้อย่างแน่นอน และการประชุมสมัยวิสามัญ หมายถึง การประชมุ ที่จัดเป็นพิเศษ เพราะมีเรอื่ งสำคัญเรง่ ดว่ นท่ีต้องการปรึกษากนั หรอื ต้องการพจิ ารณา รวมท้ัง มีเร่ืองสำคญั ที่ต้องการให้คณะกรรมการทราบโดยดว่ น ชดุ การเรยี น วชิ าทกั ษะภาษาไทยเชิงวิชาชีพ ๕

๘. ระเบียบวาระการประชุม หมายถึง เรื่องที่จะนำเข้าปรึกษากันในที่ประชุมตามลำดับก่อน- หลัง ซึ่งการประชุมส่วนมากมักมีกำหนดระเบียบวาระการประชุม ดังน้ี (เป็นการกำหนดตามระเบียบ งานสารบรรณ ๒๕๒๖ คำอธบิ ายที่ ๑๐ เรือ่ งรายงานการประชมุ ) ระเบยี บวาระที่ ๑ เร่ืองท่ีประธานแจง้ ให้ท่ีประชุมทราบ ระเบียบวาระที่ ๒ เรอ่ื งรับรองรายงานการประชุม ระเบียบวาระที่ ๓ เร่ืองเสนอใหท้ ป่ี ระชุมทราบ ระเบียบวาระท่ี ๔ เรอ่ื งเสนอให้ทป่ี ระชุมพจิ ารณา ระเบียบวาระท่ี ๕ เรอื่ งอ่ืน ๆ ๙. จดหมายเชิญประชุม คือ จดหมายแจ้งสถานที่ วัน เวลาการประชุม พร้อมทั้งระเบียบวาระ การประชมุ ตามท่ปี ระธานกำหนด ๑๐. รายงานการประชมุ คือ การบนั ทกึ ความคิดเหน็ ของผู้เขา้ ประชมุ ผ้เู ข้าร่วมประชมุ และมติ ของทปี่ ระชุมไว้เป็นหลกั ฐาน ทบทวนความรูร้ ายงานการประชุม https://h5p.org/node/452423 ๓. จดุ ม่งุ หมายในการจดรายงานการประชมุ ๑. เพอ่ื เกบ็ ไวเ้ ปน็ หลักฐานอ้างองิ ๒. เพื่อยืนยันการปฏบิ ตั ิงาน ๓. เพือ่ แสดงกจิ การที่ดำเนินมาแลว้ ๔. เพ่ือแจง้ ผลการประชมุ ใหบ้ ุคคลที่เกีย่ วข้องทราบและปฏิบตั ติ อ่ ไป ๔. หลักในการเขียนรายงานการประชุม การเขียนรายงานการประชุม เป็นการนำบันทึกการประชุมที่เลขานุการจดข้อความหรือ บนั ทกึ เสียงในขณะประชุม ซงึ่ การจดบนั ทึกการประชมุ อาจทำได้ ๓ วิธี คือ วธิ ีท่ี ๑ จดรายละเอียดทุกคำพดู ของกรรมการ หรือผ้เู ขา้ รว่ มประชมุ ทกุ คน พร้อมด้วยมติ วิธีที่ ๒ จดย่อคำพูดที่เป็นประเด็นสำคัญของกรรมการหรือผู้เข้าร่วมประชุม อันเป็นเหตุผล นำไปสู่มติของทป่ี ระชุม พร้อมดว้ ยมติ ๖ ชุดการเรียน วิชาทกั ษะภาษาไทยเชงิ วิชาชีพ

วิธีที่ ๓ จดแต่เหตุผลกับมติของที่ประชุม การจดรายงานการประชุมโดยวิธีใดนั้น ให้ที่ประชุม นน้ั เองเป็นผู้กำหนด หรือใหป้ ระธานและเลขานกุ ารของทปี่ ระชมุ ปรึกษาหารอื กนั และกำหนด เมื่อบันทึกการประชุมเรียบร้อยแล้ว ให้นำมาเขียนเป็นรายงานการประชุมตามลำดับหัวข้อ ดงั น้ี ๑. รายงานการประชุม ให้ลงชื่อคณะที่ประชุม หรือชื่อการประชุมนั้น เช่น “รายงานการ ประชมุ คณะกรรมการ……………..” ๒. ครงั้ ท่ี การลงครัง้ ทีท่ ป่ี ระชุม มี ๒ วธิ ี ที่สามารถเลือกปฏิบัตไิ ด้ คอื ๒.๑. ลงครั้งที่ที่ประชุมเป็นรายปี โดยเริ่มครั้งแรกจากเลข ๑ เรียงเป็นลำดับไปจนสิ้นปี ปฏิทิน ทับเลขปีพุทธศักราชที่ประชุมเมื่อขึ้นปีปฏิทินใหม่ให้ เริ่มครั้งที่ ๑ ใหม่ เรียงไปตามลำดับ เช่น คร้งั ท่ี ๑/๒๕๔๔ ๒.๒ ลงจำนวนคร้ังที่ประชมุ ทงั้ หมดของคณะทป่ี ระชุม หรือการประชุมนั้นประกอบกบั ครง้ั ที่ ทีป่ ระชมุ เปน็ รายปี เช่น ครั้งท่ี ๓๖-๑/๒๕๔๔ ๓. เมื่อ ให้ลงวัน เดือน ปี ที่ประชุม โดยลงวันที่ พร้อมตัวเลขของวันที่ ชื่อเต็มของเดือนและ ตัวเลขของปพี ทุ ธศักราช เช่น เมือ่ วนั ที่ ๑ พฤศจกิ ายน ๒๕๔๔ ๔. ณ ใหล้ งช่อื สถานที่ ทใี่ ชเ้ ปน็ ทปี่ ระชุม ๕. ผูม้ าประชุม ใหล้ งชื่อและหรือตำแหนง่ ของผ้ไู ด้รับแต่งต้ังเป็นคณะทปี่ ระชุมซึ่งมาประชุม ใน กรณีทเ่ี ปน็ ผไู้ ดร้ บั การแตง่ ตงั้ เปน็ ผแู้ ทนหน่วยงาน ใหร้ ะบุวา่ เป็นผู้แทนของหนว่ ยงานใด พรอ้ มตำแหน่งในคณะทป่ี ระชุม ในกรณที ่ีเป็นผู้มาประชุม แทนให้ลงชอ่ื ผ้มู าประชมุ แทนและลงดว้ ยวา่ มาประชุมแทนผใู้ ด หรอื ตำแหน่งใด หรือแทนผแู้ ทน หนว่ ยงานใด ๖. ผู้ไมม่ าประชมุ ใหล้ งชื่อหรือตำแหน่งของผู้ทไี่ ดร้ บั การแต่งตง้ั เปน็ คณะทป่ี ระชมุ ซ่ึงมไิ ด้มา ประชุม โดยระบุใหท้ ราบวา่ เปน็ ผู้แทนจากหน่วยงานใด พร้อมทงั้ เหตผุ ลท่ไี ม่สามารถมาประชุม ถา้ หาก ทราบด้วยกไ็ ด้ ๗. ผเู้ ขา้ ร่วมประชมุ ใหล้ งชอื่ หรือตำแหนง่ ของผูท้ ม่ี ิไดร้ บั การแตง่ ตง้ั เป็นคณะที่ประชมุ ซงึ่ ไดเ้ ขา้ มาร่วมประชมุ และหนว่ ยงานทส่ี งั กัด (ถ้าม)ี ๘. เร่ิมประชมุ ใหล้ งเวลาที่เริ่มประชมุ ๙. ขอ้ ความ ให้บันทกึ ข้อความท่ปี ระชุม โดยปกติให้เริ่มดว้ ยประธานกลา่ วเปิดประชมุ และเรือ่ ง ทป่ี ระชุมกบั มติหรือข้อสรุปของทีป่ ระชุมในแตล่ ะเรื่อง ประกอบด้วยหัวขอ้ ดังนี้ วาระที่ ๑ เรอื่ งท่ีประธานแจง้ ใหท้ ่ปี ระชุมทราบ ชุดการเรยี น วิชาทกั ษะภาษาไทยเชิงวิชาชพี ๗

วาระที่ ๒ เร่ืองรบั รองรายงานการประชุม (กรณเี ป็นการประชุมท่ีไมใ่ ช่การประชุม ครัง้ แรก) วาระท่ี ๓ เรอ่ื งท่ีเสนอให้ท่ปี ระชุมทราบ วาระท่ี ๔ เรื่องทเ่ี สนอให้ทป่ี ระชุมพจิ ารณา วาระที่ ๕ เรือ่ งอน่ื ๆ (ถ้าม)ี ๑๐. เลกิ ประชุมเวลา ใหล้ งเวลาที่เลกิ ประชมุ ผู้จดรายงานการประชุม ให้เลขานกุ ารหรอื ผู้ซึ่งไดร้ ับมอบหมายให้จดรายงานการประชุม ลง ลายมอื ช่อื พรอ้ มทั้งพมิ พ์ชอ่ื เต็มและนามสกุล ไวใ้ ตล้ ายมือช่อื ในรายงานการประชุมคร้งั นน้ั ดว้ ย การบันทกึ มติทปี่ ระชุม - กรณปี ระชุมตามระเบียบวาระท่ีเสนอ ไมม่ ีผขู้ ัดแย้ง ควรบนั ทกึ เปน็ มตทิ ปี่ ระชุมรับทราบ หรือ เหน็ ชอบ - กรณมี ีผเู้ สนอขดั แย้งและไม่เหน็ ดว้ ยตอ้ งบนั ทึกว่าเหน็ ดว้ ย จำนวนกี่เสยี ง ไมเ่ ห็นด้วย จำนวนก่ี เสยี ง - กรณีที่ประชมุ มคี ะแนนเสยี งเปน็ เอกฉันท์ หรอื ดว้ ยเสยี งข้างมากจำนวน........เสียง การบันทึกรายงานการประชุม ผู้บันทึกต้องให้ผู้เข้าประชุมลงลายมือชื่อ พร้อมบันทึกเรื่องท่ี พิจารณาและลงมติไว้ทุกเรื่อง และให้ประธานในที่ประชุม กับเลขานุการหรือกรรมการอื่นอีกคนหนึ่งที่ เขา้ ประชมุ ลงลายมอื ชอ่ื ด้วย ๘ ชุดการเรยี น วชิ าทกั ษะภาษาไทยเชิงวิชาชีพ

รปู แบบรายงานการประชมุ รายงานการประชมุ …………………………………………………… ครงั้ ที่………………….. เมื่อ……………………………. ณ………………………………………………………………… ————————————- ผมู้ าประชุม …………………………………………………. ผู้ไมม่ าประชุม (ถ้ามี) ผเู้ ข้าร่วมประชุม (ถา้ มี) เริ่มประชุมเวลา (ข้อความ) ………………………………………………………………………………………………………….………………………………… …………………………………………………………………………………….……………………………………………………… ……………………………………………………………….…………………………………………………… เลิกประชุมเวลา..................... ผู้จดรายงานการประชมุ กิจกรรมรูปแบบรายงานการประชุม ๙ https://h5p.org/node/452464 กจิ กรรมการเรียนการสอน 1. ศกึ ษาเอกสารมอดูลที่ ๕.๑ 2. ฝกึ เขียนรายงานการประชมุ ตามใบงานที่ ๑ ชดุ การเรียน วิชาทกั ษะภาษาไทยเชงิ วิชาชพี

เอกสารอ้างองิ สำนกั นายกรฐั มนตร.ี (๒๕๔๐). ระเบยี บสำนักนายกรัฐมนตรีวา่ ด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. ๒๕๒๖. พมิ พ์ ครั้งท่ี ๑๒. กรุงเทพฯ : สวัสดิการสำนักงาน ก.พ. สายใจ มองเนยี ม. (๒๕๔๒). ภาษาไทย ๓. กรุงเทพฯ : เอมพันธ์. ๑๐ ชุดการเรียน วิชาทกั ษะภาษาไทยเชิงวชิ าชพี

ใบงานที่ ๑ คำส่ัง จากโจทย์ท่ีกำหนดให้ จงเขียนรายงานการประชุมใหถ้ กู ต้องตามรปู แบบการเขยี นรายงานการ ประชุม สมมุติให้นกั ศกึ ษาเปน็ กรรมการและเลขานุการของคณะกรรมการการจัดงาน “เทดิ พระคุณ อาจารย”์ วิทยาลัยอาชวี ศกึ ษาอตุ รดติ ถ์ ได้มีการประชุมคณะกรรมการไปเมื่อวนั ที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๗ เวลา ๑๐.๓๐ น. มคี ณะกรรมการดังน้ี นายจีรพฒั น์ เจยี้ มกล่นิ เปน็ ประธาน นายพิเชษฐ์ สุวรรณชน่ื นางบศุ รา คงศกั ด์ิ นางรตั นา เหรียญทอง นางมาลยั วลั ย์ วงศ์ใหญ่ นางผกามาศ พกุ อนิ ทร์ นางสุภาวกุล ไชโย เป็นกรรมการท่ีมาประชุม นางเบญจพร อ่ำแจ้ง เป็นกรรมการท่ไี มม่ า ประชุมเพราะตดิ ราชการ เมือ่ กรรมการมาพร้อมกนั ทห่ี อ้ งลลี าวดี อาคารอำนวยการ เรยี บร้อยแล้ว ประธานเร่มิ ประชมุ ดว้ ยการแจ้งวา่ ขณะนที้ ราบจำนวนของอาจารย์ทจ่ี ะเกษยี ณอายุในปี ๒๕๕๗ แล้วว่า มีท้ังหมด ๔ ทา่ น เปน็ อาจารย์คณะบรหิ ารธรุ กิจ ๒ ทา่ น และคหกรรมศาสตร์ ๒ ท่าน แจง้ แลว้ ใหด้ ู รายงานการประชุมครงั้ ที่แลว้ (๒/๒๕๕๗) นางสภุ าวกุล ไชโย ขอให้แกไ้ ขเรื่องสะกดคำผิดในหน้า ๓ จากคำว่า การศกึ ษาบณั ฑติ เปน็ การศึกษามหาบณั ฑิต ไมม่ ีกรรมการท่านใดคัดคา้ น เรอ่ื งตอ่ ไปพิจารณา คือ คัดเลือกแบบโล่ ทป่ี ระชมุ ไดพ้ ิจารณาโลท่ ปี่ ระธานนำมาใหด้ เู ปน็ ตวั อยา่ ง ๒ แบบคือ รูปสเ่ี หล่ยี ม จัตรุ ัส และสี่เหลย่ี มผนื ผา้ เสียงส่วนใหญ่เลอื กสี่เหลีย่ มผืนผา้ สว่ นวสั ดขุ อใหเ้ ปลยี่ นจากไมม้ ะคา่ เปน็ ไม้สกั ทอง ตอ่ ไปพิจารณาเรือ่ งการจัดเลยี้ ง นายพเิ ชษฐเ์ สนอให้ส่งั อาหารรา้ นครัวตากะยาย เพราะอาหาร อรอ่ ยและสามารถสัง่ ได้ในราคาพิเศษ แต่นางบุศราแยง้ วา่ วทิ ยาลยั มสี าขาคหกรรมศาสตร์ สมควรให้ นักศกึ ษาไดฝ้ ึกฝนวชิ าชีพของตนเอง ประกอบมีอาจารย์ในสาขาคหกรรมศาสตร์ ๒ ท่านท่เี กษยี ณอายุ นางรตั นา เหรยี ญทองเสนอว่า เกรงจะเป็นการรบกวนอาจารยใ์ นสาขาคหกรรมศาสตร์ และนกั ศกึ ษาอยู่ ในระหวา่ งการสอบปลายภาค เกรงว่าจะรบกวนการอ่านหนังสอื ของนกั ศึกษา ในท่สี ดุ เสียงสว่ นใหญ่ เลือกรา้ นครวั ตากะยาย และมอบหมายให้นายพิเชษฐเ์ ปน็ ผตู้ ดิ ตอ่ รา้ น เรือ่ งการสัง่ อาหาร วาระสดุ ท้ายสดุ พจิ ารณาเรื่องการตกแตง่ เวที กรรมการส่วนใหญเ่ ห็นว่า ควรติดต่อนักศึกษาสาขาศลิ ปกรรมให้ ชว่ ยเรื่องน้ี โดยมอบให้เลขาเปน็ ผ้ตู ิดตอ่ กบั สาขาศลิ ปกรรม กอ่ นปิดการประชมุ ประธานไดข้ อนัด ประชมุ อกี ในวันพฤหัสบดหี น้า เวลาและสถานทเ่ี ดมิ ประธานปดิ การประชมุ เวลา ๑๓.๐๐ น. ชดุ การเรยี น วิชาทักษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชีพ ๑๑

แผนการเรยี น มอดลู ที่ ๕.๒ การเขียนรายงานการปฏบิ ัตงิ าน มอดลู ที่ ๕.๒ โปรดอ่านหัวข้อเรื่อง แนวคิดและจุดประสงค์การเรียนของมอดูลที่ ๕.๒ แล้วจึงศึกษา รายละเอียดตอ่ ไป หวั ข้อเร่ือง ๕.๒.๑ ความหมาย ๕.๒.๒ ประโยชน์ของรายงานการปฏิบัตงิ าน ๕.๒.๓ ประเภทของรายงานการปฏิบตั งิ าน ๕.๒.๔ ลักษณะของรายงานการปฏบิ ตั งิ าน ๕.๒.๕ วธิ เี ขียนรายงานการปฏบิ ัตงิ าน ๕.๒.๖ การใช้ภาษาในการเขยี นรายงานการปฏิบัตงิ าน แนวคิด รายงานการปฏิบัติงานเป็นการแสดงขอ้ มูลต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานเพื่อให้ผู้รับสารได้รับทราบ ข้อเท็จจริงและเกิดความรู้ความเข้าใจอย่างชัดเจน ผู้เขียนตอ้ งพิจารณาเลือกรูปแบบในการรายงานและ ใชภ้ าษาใหเ้ หมาะสมกับงานทีป่ ฏิบัติ จงึ จะสามารถสือ่ สารได้อย่างมีประสิทธภิ าพ จุดประสงคก์ ารเรยี น ๑. เมื่อศึกษาหัวข้อเรื่องท่ี ๕.๒.๑ “ความหมายของการเขียนรายงานการปฏิบัติงาน” แล้ว นกั ศึกษาบอกความหมายได้ ๒. เมื่อศึกษาหัวข้อเรื่องที่ ๕.๒.๒ “ประโยชน์ของรายงานการปฏิบัติงาน” แล้ว สามารถบอก ประโยชนข์ องการเขียนรายงานการปฏบิ ัตงิ านได้ ๓. เมื่อศึกษาหัวข้อเรื่องท่ี ๕.๒.๓ “ประเภทของรายงานการปฏิบัตงิ าน” แล้ว สามารถอธิบาย ประเภทของรายงานการปฏิบัติงานได้ ๑๒ ชดุ การเรียน วชิ าทกั ษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชพี

๔. เมื่อศึกษาหัวข้อเรื่องที่ ๕.๒.๔ “ลักษณะของรายงานการปฏิบัติงาน” แล้ว สามารถบอก ลกั ษณะของรายงานการปฏิบตั งิ านได้ ๕. เมือ่ ศึกษาหวั ขอ้ เรือ่ งท่ี ๕.๒.๕ “วธิ ีเขียนรายงานการปฏบิ ตั ิงาน” แลว้ สามารถเขียนรายงาน การปฏบิ ัติงานได้ ๖. เมื่อศึกษาหัวข้อเรื่องที่ ๕.๒.๖ “การใช้ภาษาในการเขียนรายงานการปฏิบัติงาน” แล้ว สามารถใช้ภาษาในการเขียนรายงานการปฏิบตั งิ านไดถ้ กู ตอ้ ง เนื้อหา ๑. ความหมาย นวภรณ์ อุ่นเรือน (๒๕๔๖ : ๑๓๖) ให้ความหมายของรายงานการปฏิบัติงานว่า เป็นการชี้แจงด้วย การแสดงข้อมูลต่าง ๆ ที่ตนได้ปฏิบัติหรือรับผิดชอบอยู่ให้บุคคลอื่นได้ทราบข้อเท็จจริง เพื่อประโยชน์ในการ ปฏิบัตงิ าน หรอื ประกอบการตดั สินใจอยา่ งใดอย่างหนงึ่ ซงึ่ ข้อมลู นนั้ อาจเปน็ ขอ้ มลู ดบิ หรอื ข้อมูลเชงิ สถิติท่ีแปล ความหมายออกมาเปน็ ตาราง แผนภมู ิ แผนภาพ หรอื อนื่ ๆ นันทภรณ์ ธิวงค์เวยี ง (๒๕๕๒) ให้ความหมายว่ารายงาน คือ การเสนอรายละเอยี ดต่าง ๆ เก่ยี วกบั การ ดำเนินงานของบุคคลของหน่วยงาน เป็นส่ิงจำเป็นและสำคญั ในการบริหารงานทัง้ ในหน่วยงานราชการและธุรกจิ เอกชน เพราะรายงานจะบรรจุข้อมูลพื้นฐานที่ช่วยให้บุคลากรของหน่วยงานทราบนโยบาย เป้าหมาย ผลการ ปฏิบตั ิงาน ปญั หาอุปสรรคต่าง ๆ ในการดำเนนิ งาน สรุป รายงานการปฏิบัติงานเป็นการเขยี นชี้แจงรายละเอียดการทำงานเพื่อให้ผู้บรหิ ารหรือบุคคลอ่ืน ได้รับทราบขอ้ มูล เพือ่ นำไปใชป้ ระโยชน์ในด้านอ่ืน ๆ ตอ่ ไป ๒. ประโยชนข์ องรายงานการปฏิบตั ิงาน นวภรณ์ อนุ่ เรือน (๒๕๔๖ : ๑๓๖-๑๓๗) กลา่ วถงึ ประโยชนข์ องการเขียนรายงานการ ปฏิบตั งิ านไว้ดงั น้ี 1. ทำใหท้ ราบผลการดำเนนิ งานทั้งในอดตี และปัจจบุ ัน รวมทง้ั ปัญหาและอปุ สรรคในการ ปฏบิ ตั งิ าน 2. เป็นการประเมินผลการปฏบิ ตั งิ านทที่ ำมาแล้ว 3. เป็นแนวทางในการกำหนดโครงการหรอื แผนการปฏิบัตงิ านในอนาคต ชดุ การเรียน วิชาทกั ษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชพี ๑๓

4. เปน็ สือ่ กลางในการติดตอ่ ระหวา่ งผู้ร่วมงาน 5. เป็นเอกสารอ้างอิงในการศึกษาและปฏบิ ตั ิงานครงั้ ต่อไป 6. เป็นเครื่องมอื ประกอบการตัดสนิ ใจเพอื่ ทำการสิ่งใดส่ิงหนง่ึ ทง้ั โดยฉบั พลนั และในระยะยาว ๓. ประเภทของรายงานการปฏบิ ตั งิ าน นวภรณ์ อนุ่ เรือน (๒๕๔๖ : ๑๓๗) ได้แบ่งประเภทของรายงานการปฏบิ ตั งิ านไว้ดงั น้ี 1. รายงานแบบธรรมดา เปน็ รายงานตามระยะเวลาทีก่ ำหนดอยา่ งสม่ำเสมอ เพือ่ แสดงความก้าวหนา้ หรือความสำเรจ็ ในการปฏิบัติงาน ได้แก่ รายงานการปฏิบัติงานรายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือนและ รายปี เช่น รายงานความก้าวหน้าของโครงการ รายงานประจำปีของธนาคาร ฯลฯ 2. รายงานแบบพิเศษ เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นเป็นครั้งคราวในโอกาสต่าง ๆ ตามความต้องการและ ความจำเป็น เพื่อแสดงรายละเอยี ดของการวิเคราะห์อดตี และปัจจบุ ันเพอื่ กำหนดวิธีการปฏิบัติในอนาคต ๔. ลกั ษณะของรายงานการปฏิบตั งิ าน รายงานการปฏบิ ัตงิ านแบง่ ไดเ้ ปน็ หลายลกั ษณะตามงานทไ่ี ดร้ บั มอบหมาย ซงึ่ นวภรณ์ อุ่นเรือน กลา่ วไวด้ งั น้ี (๒๕๔๖ : ๑๓๗-๑๓๘) ๑. รายงานเหตกุ ารณ์ เปน็ รายงานทใ่ี ชเ้ สนอขอ้ เท็จจรงิ ที่เกดิ ขนึ้ อนั เปน็ ผลทำใหเ้ กดิ ความเสียหาย เช่น อุบัติเหตุในโรงงาน เครื่องจักรเสีย การทำงานล่าช้า ค่าใช้จ่ายสูง ผลผลิตต่ำ ปัญหาเกี่ยวกับบุคลากร เปน็ ต้น รายงานชนดิ นม้ี ุง่ ให้ขอ้ มลู ท่ีครบถว้ นและเสนอข้อมูลอย่างตรงไปตรงมา ไม่ใช้ภาษาที่เนน้ ความรู้สึกหรือ อารมณ์ ซึ่งจะทำให้รายงานนั้นไม่เที่ยงตรง ข้อมูลที่ได้จากการรายงานจะเป็นพื้นฐานสำหรับการตีความเพ่ือ ตัดสินใจ เพื่อใช้เป็นหลักฐานตามกฎหมาย หรือเพื่อใช้เป็นส่วนประกอบในการเขียนรายงานอื่น ซึ่งจะเป็น ประโยชนแ์ ก่การพฒั นาองคก์ รต่อไป ๒. รายงานความกา้ วหนา้ เป็นรายงานทีผ่ จู้ ดั ทำใชอ้ ธิบายแก่บคุ คลหรือบรษิ ัทเก่ียวกับงานที่ได้ทำ ไปแล้ว ปญั หาและอปุ สรรคท่ีทำใหเ้ กิดความล่าชา้ และงานทจ่ี ะดำเนนิ การต่อไป รายงานแบบนี้ชว่ ยใหผ้ ู้รว่ มงาน ท่ที ำงานในส่วนอื่น ๆ สามารถปรบั แผนงาน วธิ ที ำงานและกำลงั คนได้ ๓. รายงานความเป็นไปได้ เมื่อหน่วยงานมอบหมายให้บุคคลในหน่วยงานพิจารณาโครงการใหม่ ผลิตภณั ฑใ์ หมห่ รือซอ้ื เคร่ืองจักรใหม่ บุคคลนน้ั จะต้องพจิ ารณาความเปน็ ไปได้ในการจดั การสง่ิ เหล่าน้ี การเขยี น รายงานดงั กล่าวจะต้องแสดงหลักฐานการตรวจสอบ วิเคราะห์ ข้อสรุปหรือข้อเสนอแนะแกห่ น่วยงาน ๑๔ ชุดการเรียน วิชาทกั ษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชพี

๔. รายงานการทดลอง ในการทดลองวิทยาศาสตร์ ผู้ทดลองจะต้องเขียนรายงานโดยบอก จุดประสงค์ วิธีการหรือกระบวนการทดลอง ระบุผลการทดลอง สรุปผลและข้อเสนอแนะแต่ในการปฏิบัติงาน ภาคอุตสาหกรรมหรือภาคธุรกิจ นอกจากการทดลองแล้วอาจมีการทดสอบและเขียนรายงาน แต่มักไม่ใช้แบบ แผนที่เข้มงวดเหมือนรายงานทางวิทยาศาสตร์ แต่ใช้ขั้นตอนการรายงานอย่างเดียวกันได้ การรายงานแบบน้ี มักจะเขียนในรูปบันทกึ ขอ้ ความมากกว่าจะกำหนดแบบฟอร์มตายตวั ๕. รายงานการทำภาคสนาม เป็นการเขียนรายงานในกรณที ่ีออกไปทำงานนอกสถานท่ีเชน่ วศิ วกร ออกสำรวจพื้นที่ นักธุรกิจที่ต้องไปดูงานหรือตรวจงาน หาที่ตั้งโรงงาน นักการตลาดออกสำรวจข้อมูลการวาง สินคา้ เปน็ ตน้ จบั ค่คู วามสมั พนั ธ์รายงานการปฏบิ ัติงาน https://h5p.org/node/452346 ๕. วธิ เี ขยี นรายงานการปฏบิ ตั งิ าน การเขียนรายงานสามารถทำได้ ๒ วิธี คอื เขยี นรายงานอย่างส้ัน และรายงานอย่างยาว ๑. การเขียนรายงานอย่างสั้น เป็นรายงานสั้นๆ ความยาว ๑-๒ หน้ากระดาษ เพื่อเสนอข้อเท็จจริง ความคิดเหน็ ช้ีแจงเร่ืองราว ขออนญุ าตดำเนนิ การหรือเพ่ือส่ังการรายงานทมี่ ขี นาดส้ันมาก ๆ มกั เปน็ รายงานแบบ ไม่เปน็ ทางการ โดยอาจเขียนในรปู แบบของบนั ทึกข้อความ จดหมาย บทความหรือกรอกขอ้ ความในแบบฟอรม์ ตามท่หี นว่ ยงานกำหนด การเขยี นรายงานอยา่ งสน้ั มอี งคป์ ระกอบ คือ 1.1 ส่วนนำ เป็นการกล่าวถึงสาเหตุและจุดประสงค์ในการเขียนว่า เขียนขึ้นเพือ่ อะไรหรือเพราะ เหตุใด 1.2 สว่ นเน้ือหา กลา่ วถงึ เน้อื เรื่อง รายละเอียด สาระสำคัญของเรอื่ งทีร่ ายงาน โดยระบุขอบเขต ของเรื่อง ข้อมูลประกอบ ข้อเสนอแนะและความคิดเห็นส่วนตัวของผู้รายงาน การเขียนส่วนเนื้อหาให้ ครอบคลุม ควรตั้งคำถามแบบเดียวกันกับที่นักหนังสือพิมพ์ใช้ในการเขียนข่าว คือ ใครทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร และทำไม 1.3 ส่วนสรุป อาจลงท้ายลักษณะเดียวกับจดหมาย เช่น จึงเรียนมาเพื่อทราบ จึงเรียนมาเพ่ือ โปรดพจิ ารณาสงั่ การ ฯลฯ แล้วลงชื่อผู้เสนอรายงาน ชดุ การเรยี น วชิ าทักษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชีพ ๑๕

๒. การเขียนรายงานอย่างยาว หมายถึง รายงานอย่างเป็นทางการแบบวเิ คราะห์ มีความยาวเกิน ๑๐ หน้าขึ้นไป นำเสนอเพ่อื ใหเ้ กิดความเขา้ ใจ หรอื ยดึ ถือเปน็ แนวปฏบิ ตั ิและเก็บเปน็ หลักฐาน มกี ารจดั ทำรูปเล่มที่ สะดวกแกก่ ารเกบ็ และค้นคว้า ภายในเล่มประกอบด้วย ๒.๑ ส่วนประกอบตอนต้น ได้แก่ ปกนอก ปกใน คำนำ สารบญั เร่อื ง สารบญั ภาพ (ถา้ ม)ี สารบญั ตาราง (ถ้าม)ี ๒.๒ ส่วนเนื้อหา ไดแ้ ก่ บทนำ รายละเอยี ดของเรอื่ ง ข้อสรปุ ผลลพั ธ์ ตาราง เชิงอรรถ เป็นตน้ ๒.๓ สว่ นประกอบตอนท้าย ไดแ้ ก่ ภาคผนวก บรรณานุกรม ดชั นี เป็นตน้ ๖. การใชภ้ าษาในการเขียนรายงานการปฏบิ ตั ิงาน ภาษาท่ใี ชใ้ นการเขยี นรายงานควรมลี กั ษณะดงั นี้ ๑. ใช้ภาษาทางการ เปน็ ภาษาเขียนมากกวา่ ภาษาพดู ๒. เขียนอยา่ งรวบรัดตรงประเดน็ นำเสนอเฉพาะขอ้ มลู ทเี่ กย่ี วขอ้ ง ๓. กระชับ กะทัดรัด ไดใ้ จความชัดเจน อาจใชต้ วั เลข ตาราง กราฟหรอื แผนภาพ ประกอบ ๔. ใชภ้ าษาและถอ้ ยคำสำนวนคงเสน้ คงวา ไม่เปลย่ี นไปเปล่ียนมา กิจกรรมการเรียนการสอน 3. ศกึ ษาเอกสารมอดลู ที่ ๕.๒ 4. ปฏบิ ตั ิใบงานท่ี ๒ จบั คคู่ วามสมั พันธร์ ายงานการปฏบิ ตั ิงาน https://h5p.org/node/452339 ๑๖ ชุดการเรยี น วิชาทกั ษะภาษาไทยเชิงวิชาชีพ

เอกสารอา้ งอิง นวภรณ์ อุ่นเรือน. (๒๕๔๖). ภาษาไทยเพือ่ อาชพี ๑. กรุงเทพ ฯ : จริ วัฒน.์ นันทภรณ์ ธวิ งคเ์ วียง . (๒๕๕๒). รายงานในงานอาชพี . เขา้ ถึงไดจ้ าก http://www.tice.ac.th/Online/Online2-2549/bussiness/nantapon/index.htm เมื่อวนั ที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๕๘. ชุดการเรยี น วชิ าทักษะภาษาไทยเชิงวิชาชีพ ๑๗

ตวั อย่างรปู แบบรายงานในแตล่ ะหน่วยงาน แบบฟอร์มรายงานผลการปฏิบัตงิ านรายวนั ตามภาระงานรายบคุ คล สำนักวิทยบรกิ ารและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลยั ราชภัฏราชนครนิ ทร์ ชอื่ ผูร้ บั ผิดชอบ ..................................................................ตำแหน่งบริหาร ....................................... ตำแหนง่ งาน ................................................................................ ...................................... กลุ่มงาน ...................... ............................................................ งาน ....... .......................................... ผลงานที่ดำเนินการ วันท.ี่ ........ เดอื น.......................พ.ศ.............. เวลา งานท่ีปฏบิ ัติ ปัญหาทพ่ี บ แนวทางการแกไ้ ข ๐๗.๓๐ – ๘.๐๐ น. ๐๘.๐๐ – ๙.๐๐ น. ๐๙.๐๐ – ๑๐.๐๐ น. ๑๐.๐๐ – ๑๑.๐๐ น. ๑๑.๐๐ – ๑๒.๐๐ น. ๑๒.๐๐ – ๑๓.๐๐ น. ๑๓.๐๐ – ๑๔.๐๐ น. ๑๔.๐๐ – ๑๕.๐๐ น. ๑๕.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. ๑๖.๐๐ – ๑๗.๐๐ น. ๑๗.๐๐ – ๑๘.๐๐ น. ...................................................ผ้รู บั ผดิ ชอบภาระงาน (.....................................................) ขอ้ เสนอแนะ................................................................................................................................................................... .............................................................. หวั หนา้ กล่มุ งาน (...............................................................) ข้อเสนอแนะ ................................................................................................................................................................. .............................................................. ผอู้ ำนวยการ (..............................................................) หมายเหตุ รวบรวมสง่ หวั หนา้ กลมุ่ งานเปน็ รายสัปดาห์ กอ่ นเวลา ๑๕.๐๐ น. ของวันสดุ ทา้ ยของการปฏบิ ตั ิงาน ในแต่ละสัปดาห์ ท่มี า : www.rit.rru.ac.th/index.php/en/component ๑๘ ชดุ การเรียน วชิ าทกั ษะภาษาไทยเชิงวชิ าชพี

แบบฟอรม์ แผนปฏิบตั ิงาน รายสัปดาห์ ตามภาระงานรายบคุ คล สำนกั วทิ ยบรกิ ารและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลยั ราชภัฏราชนครนิ ทร์ ชอ่ื ผูร้ ับผดิ ชอบ ...................................................................................ตำแหน่งบริหาร ........................................... ตำแหนง่ งาน .............................................. .............. .............. .............. .............. .............. .............. .............. กลุ่มงาน .................................................................................. งาน .................................................................................. แผนปฏิบตั งิ าน ระหว่าง วันท่.ี ........ เดือน.......................พ.ศ.............. ถึง วันท่ี......... เดอื น.......................พ.ศ.............. งานทป่ี ฏิบตั ิ วัตถุประสงค์ ระยะเวลา ข้นั ตอนการทำงาน หมายเหตุ ...................................................................................................................................................................... .............................................. ผ้รู บั ผดิ ชอบภาระงาน (............................................) ข้อเสนอแนะ ................................................................................................. .................................................... .............................................. หวั หน้ากล่มุ งาน (............................................) ขอ้ เสนอแนะ ................................................................................................. .................................................... .............................................. ผ้อู ำนวยการ (............................................) หมายเหตุ ส่งท่หี วั หนา้ กลุ่มงาน ภายในเวลา ๑๕.๐๐ น. ทกุ วันสดุ ทา้ ยของแต่ละสัปดาห์ (สัปดาหก์ ่อนถงึ สปั ดาห์ ปฏิบตั งิ าน) เชน่ แผนปฏบิ ัติงานวนั จนั ทรท์ ี่ ๕ – ศกุ ร์ท่ี ๙ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ตอ้ งส่งในวันศุกร์ท่ี ๒ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ก่อนเวลา ๑๕.๐๐ น. ที่มา : www.rit.rru.ac.th/index.php/en/component ชดุ การเรียน วชิ าทกั ษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชีพ ๑๙

ตัวอยา่ งการเขียนรายงาน (รายงานจากคณะกรรมการตรวจสอบธนาคารแห่งประเทศไทย) เรียน ประธานคณะกรรมการ ธปท. คณะกรรมการตรวจสอบของ ธปท. อันประกอบด้วย นายเกยี รติศกั ดิ์ จีรเธยี รนาถ เปน็ ประธาน คณะกรรมการ นางสาวชศู รี แดงประไพ และศาสตราจารย์ ดร. บวรศกั ด์ิ อุวรรณโณ เป็นกรรมการ และ คณะกรรมการน้เี ป็นอสิ ระจากคณะกรรมการบรหิ ารที่ รับผดิ ชอบการบรหิ ารงานประจำ วนั ของ ธปท. คณะกรรมการตรวจสอบ เปน็ ผ้กู ำหนดทศิ ทาง และนโยบาย ในดา้ นการควบคมุ การบริหารและ การตรวจสอบ โดยเนน้ ให้เกิดโครงสร้าง กรอบการปฏบิ ตั ิงาน แบบแผน แนวทางการปฏบิ ัติและวฒั นธรรม ในด้านบรรษัทภิบาล การควบคุมภายใน การบริหารความเสี่ยง และการตรวจสอบภายใน โดยให้ หลักประกันด้านความเป็นอิสระ การพัฒนาขีดความสามารถ และงบประมาณของสายงานตรวจสอบ ภายในของ ธปท. ให้มีความเพียงพอ และเกิดประสิทธิผลในการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบตาม กำหนดการปกติปีละ ๔ ครั้ง คือ การประชุมในเดือนพฤษภาคม สิงหาคม ตุลาคม และมีนาคม (ของปี ถัดไป) และในรอบปี พ.ศ. ๒๕๔๓ มีการประชมุ วาระพิเศษเพม่ิ อกี ๔ คร้งั จากการปฏิบัติงานของคณะกรรมการตรวจสอบในรอบปีที่ผ่านมา คณะกรรมการได้สอบทาน ความเหมาะสม และความเพียงพอในระบบงานหลักทั้ง ๔ คือ บรรษัทภิบาลการควบคุมภายใน การ บริหารความเส่ยี ง และการตรวจสอบภายใน คณะกรรมการตรวจสอบจึงเห็นวา่ ธปท. ควรทจี่ ะเร่งรัดการ ปรับเปลี่ยนโครงสร้าง กระบวนการ และวิธีการของระบบหลักทั้ง ๔ ให้เกิดการปฏิบัติจนกลายเป็น วัฒนธรรม อันเปน็ วิถกี ารนำ ธปท. ไปสวู่ ัตถปุ ระสงค์ของ ธปท. ต่อไป ในการสอบทานความเชื่อถือได้ของรายงานทางการเงินร่วมกับผู้สอบบัญชีพบว่านโยบายการ บญั ชี หลักการบญั ชีทใี่ ช้ และมาตรฐานการตรวจสอบยังคงเป็นไปตามมาตรฐานเดยี วกันกับของปกี อ่ น ๆ เกียรตศิ ักด์ิ จรี เธยี รนาถ (นายเกยี รติศกั ดิ์ จีรเธียรนาถ) ประธานคณะกรรมการตรวจสอบ ธปท. ๗ กมุ ภาพันธ์ ๒๕๔๔ (คดั จาก รายงานประจำ ปี ๒๕๔๓ ธนาคารแหง่ ประเทศไทย, หนา้ ๗๙) ๒๐ ชุดการเรยี น วชิ าทกั ษะภาษาไทยเชิงวิชาชพี

ตวั อย่างแบบฟอร์มรายงานในรปู แบบบันทึก บนั ทึกรายงานชแี้ จง เขยี นท่ี มหาวทิ ยาลัยอุบลราชธานี วันที่.............เดือน.....................................พ.ศ.................... เร่ือง รายงานชี้แจงการ..................................................................... เรยี น หัวหน้าโครงการรักษาความปลอดภัยมหาวิทยาลยั อบุ ลราชธานี ข้าพเจา้ .............................................................ปฏบิ ัตหิ นา้ ทปี่ ระจำ ........................................ระหว่างเวลา.......................ถึงเวลา.......................ของวันท.ี่ ............เดือน ........................พ.ศ..................... ขณะปฏบิ ัตหิ นา้ ท่ี ................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................ .................................................................................. จึงเรยี นมาเพื่อโปรดพิจารณา ลงชอื่ ........................................................ (......................................................) รปภ. ม.อุบลราชธานี ทม่ี า : www.ubu.ac.th ชดุ การเรยี น วิชาทกั ษะภาษาไทยเชงิ วิชาชพี ๒๑

บนั ทึกรายงาน สว่ นราชการของรฐั /เอกชน ท.่ี ........................... วนั ท่ี.......เดอื น....................พ.ศ. ......... เร่ือง การดำเนินการค้มุ ครองผ้ถู กู กระทำด้วยความรนุ แรงในครอบครัว เรยี น ผ้อู ำนวยการสำนักงานกจิ การสตรแี ละสถาบนั ครอบครัว ดว้ ยเมื่อวันท.ี่ ....เดือน....................พ.ศ. .........ข้าพเจ้า(นาย/นาง/นางสาว) ..............................ในฐานะเปน็ พนกั งานเจา้ หน้าที่ในการคุ้มครองผถู้ กู กระทำดว้ ยความรุนแรงในครอบครวั หมายเลขทะเบียน...........................ออกโดย ..........................ได้ดำเนนิ การเขา้ ไปในเคหสถาน/สถานท่เี กดิ เหตเุ พอื่ ระงับเหตุความรุนแรงในครอบครวั ที่ บา้ นเลขที่..............หมู่ท…่ี ........ ตรอก/ซอย..................ถนน.............................ตำบล/แขวง........................อำเภอ/เขต ....................จงั หวดั ................................โดยมนี าย/นาง/นางสาว/เดก็ ชาย/เด็กหญงิ ......................................อาย.ุ ............ปี เป็นผูถ้ กู กระทำด้วยความรุนแรงและมีนาย/นาง/นางสาว/เดก็ ชาย/เดก็ หญิง.............................................อาย.ุ ....................ปี เป็นผ้กู ระทำความรุนแรงซงึ่ พนกั งานเจ้าหนา้ ท่ีได้ดำเนนิ การคมุ้ ครองผถู้ ูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวตามมาตรา ๖ วรรคสองแหง่ พระราชบัญญตั คิ มุ้ ครองผู้ถกู กระทำด้วยความรุนแรงในครอบครวั พ.ศ. ๒๕๕๐ ดงั ตอ่ ไปน้ี เข้าไประงบั เหตคุ วามรนุ แรงในครอบครวั ให้ผู้ถกู กระทำด้วยความรนุ แรงในครอบครวั เข้ารับการตรวจรักษาจากแพทย์ ให้ผถู้ กู กระทำด้วยความรุนแรงในครอบครวั เข้ารับคำปรึกษาจากจติ แพทย์ นกั จิตวิทยา หรือนกั สังคมสงเคราะห์ จดั ใหผ้ ถู้ ูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครวั ดำเนินการรอ้ งทกุ ข์ จงึ เรยี นมาเพือ่ โปรดทราบ ลงนาม........................................... (…….……………………………..) พนักงานเจา้ หน้าท่ี หมายเหตุ : • ความสัมพันธร์ ะหว่างผู้ถกู กระทำและผู้กระทำ ผ้ถู กู กระทำเปน็ ................................................................................ของผู้กระทำ ผู้กระทำเปน็ .................................................................................... ของผ้ถู ูกกระทำ • สาเหตุของการกระทำความรนุ แรง.................................. ทีม่ า : www.nan.m-society.go.th/download/4.pdf ๒๒ ชุดการเรียน วิชาทกั ษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชีพ

ใบงานที่ ๒ คำสั่ง ให้นักศึกษารายงานโดยใชร้ ปู แบบการบันทึกข้อความ สมมตุ นิ กั ศึกษาไดร้ ับมอบหมายให้อยู่เวรยามเวลา ๑๘.๐๐ น. – ๐๖.๐๐ น. ขณะเดินตรวจเวร ยามเวลาโดยประมาณ ๒๒.๐๐ น. นักศึกษาพบชายผู้หน่ึงกำลังงัดห้องทำงาน เพื่อเข้าไปขโมยของมีคา่ ภายในหอ้ งนนั้ นกั ศึกษาจงึ ได้ตามยาม และคนอน่ื ๆ อีก ๓ คนมาชว่ ย(สมมตุ ิชอ่ื ได้ตามอสิ ระเสรี) ขณะ มาถึงชายคนนั้นกำลังเปิดตู้เซฟในห้องผู้จัดการ นักศึกษาพร้อมยามและผู้ช่วยเหลือช่วยกันจับกุม จน ทราบชือ่ ว่า นายสมชาย ห่านคำ นักศึกษาสง่ ตัวใหต้ ำรวจดำเนินการตามกฎหมายต่อไป (รายละเอียด อืน่ ๆ กำหนดได้เองตามความเหมาะสมเช่น วนั เดือน ป)ี ชดุ การเรยี น วชิ าทกั ษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชีพ ๒๓

แผนการเรียน มอดลู ที่ ๕.๓ การเขยี นบันทกึ ภายในหน่วยงาน มอดูลที่ ๕.๓ โปรดอ่านหัวข้อเรื่อง แนวคิดและจุดประสงค์การเรียนของมอดูลที่ ๕ .๓ แล้วจึงศึกษา รายละเอยี ดต่อไป หัวข้อเรื่อง ๕.๓.๑ ความสำคัญของบนั ทกึ ในหนว่ ยงาน ๕.๓.๒ สว่ นประกอบของบนั ทกึ ๕.๓.๓ แบบของบันทึก ๕.๓.๔ ประเภทของบันทึก ๕.๓.๕ วธิ ีเขยี นและการใชภ้ าษา แนวคดิ ในแต่ละหน่วยงาน แต่ละองค์กรจะมีการติดต่อภายใน ซึ่งการติดต่อสื่อสารภายในองค์กร เดียวกันนิยมใช้การเขียนแบบบันทึกข้อความ ซึ่งหากเป็นหน่วยงานทางราชการจะใช้กระดาษบันทึก ข้อความตามระเบียบว่าด้วยงานสารบรรณ ส่วนหน่วยงานอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ข้าราชการอาจคิดแบบฟอร์ม ขึ้นมาเองเพื่อใช้ในหนว่ ยงานของตนเอง ซึ่งหากผู้เรียนศึกษาส่วนประกอบของบันทกึ รูปแบบต่าง ๆ ที่ ใชใ้ นการเขียนบนั ทึก การจัดแบง่ ประเภท และวธิ ีเขยี นแลว้ ยอ่ มทำให้ความม่ันใจในการทำงานเกิดขึ้น จุดประสงค์การเรยี น ๑. เมื่อศึกษาหัวข้อเรื่องที่ ๕.๓.๑ “ความสำคัญของบันทึกในหน่วยงาน” แล้ว ผู้เรียนสามารถ บอกความสำคญั ของบนั ทึกภายในได้ ๒๔ ชดุ การเรยี น วชิ าทกั ษะภาษาไทยเชิงวชิ าชพี

๒. เมื่อศึกษาหัวข้อเรื่องที่ ๕.๓.๒ “ส่วนประกอบของบันทึก” แล้ว ผู้เรียนสามารถบอก สว่ นประกอบต่าง ๆ ของบนั ทกึ ภายในได้ ๓. เมือ่ ศึกษาหวั ข้อเรื่องที่ ๕.๓.๓ “แบบของบันทกึ ข้อความ” แลว้ ผู้เรยี นสามารถบอกรูปแบบ ของบนั ทกึ ภายในได้ ๔. เม่ือศกึ ษาหวั ข้อเร่ืองท่ี ๕.๓.๔ “ประเภทของบันทึก” แลว้ ผู้เรยี นสามารถบอกประเภทของ บนั ทกึ ภายในได้ ๕. เมื่อศกึ ษาหัวขอ้ เร่ืองท่ี ๕.๓.๕ “วธิ เี ขียนและการใช้ภาษา” แล้ว ผ้เู รยี นสามารถเขียนบันทึก ภายในได้ เน้ือหา ๑. ความสำคญั ของบนั ทึกในหน่วยงาน จฑุ ามาศ เรอื งทพั (๒๕๕๘) กลา่ ววา่ การเขียนบันทกึ ในหน่วยงานมีความสำคัญสรุปได้ดังนี้ ๑. เป็นการช่วยเหลือผู้บังคับบัญชา ด้วยการช่วยสรุปย่อเรื่องให้เข้าใจได้ง่าย ถูกต้อง ตรง ประเดน็ ช่วยให้ข้อเทจ็ จรงิ ท่เี ปน็ สาเหตุ เรือ่ งราวเหตุการณ์ ระเบยี บ ชว่ ยแสดงข้อคดิ เหน็ ท่ีเปน็ ประโยชน์ หรือความเสียหายที่เกิดขึ้น และช่วยให้ข้อเสนอในการดำเนินการ ซึ่งจะสะดวกและประหยัดเวลาแก่ ผู้บงั คับบญั ชาในการศกึ ษาเรอื่ งและตกลงใจ ๒. เป็นโอกาสดีในการปฏิบัติงาน การเขียนบนั ทึกเป็นส่ิงที่ผูป้ ฏิบัติงานต้องใช้ตลอดระยะเวลา ทำงานจนเกษียณอายุ อย่างหลีกหนีไมพ่ น้ หากผู้ใดสามารถเขียนบันทึกได้ดี ตอบสนองผูบ้ ังคบั บัญชาได้ กจ็ ะเปน็ โอกาสดีในอาชีพการงาน ๓. เป็นหน้าตาของผู้เขียน ผู้ตรวจ ผู้ลงนาม และหน่วยงาน หนังสือหรือบันทึกแต่ละฉบับ เกิดขึ้นจากผลพวงของการปฏิบัติงาน ตั้งแต่การหาข้อมูล การประสานงาน การคิดพิจารณา การหา ข้อสรุปแนวทางปฏิบัติ ซึ่งการเขียนหนังสือจะบ่งบอกประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้เขียน ผู้ตรวจ ผู้ ลงนาม และหน่วยงาน ว่ามีความรู้ความเข้าใจมากน้อยเพียงใด อันส่งผลต่อภาพลักษณ์ที่เกี่ยวข้องทั้งดี และไมด่ ดี ้วย ๔. เป็นแนวทางในการเขียนบันทึกต่อไป ผปู้ ฏิบตั งิ านรนุ่ หลงั จะสามารถใชต้ ัวอย่างการเขยี น บนั ทึกทด่ี เี ปน็ แนวทางในการปฏบิ ัติงาน ซ่ึงจะชว่ ยใหง้ ่ายตอ่ การปฏบิ ตั ิและประหยัดเวลา ชุดการเรียน วิชาทกั ษะภาษาไทยเชงิ วิชาชพี ๒๕

๒. สว่ นประกอบของบันทึก บันทกึ ขอ้ ความท้ังของข้าราชการและนกั ธรุ กิจเมอ่ื แยกส่วนประกอบแลว้ จะประกอบด้วย ๑. ส่วนนำ จะบอกให้รวู้ า่ เปน็ บันทกึ ของหน่วยงานใด เรอื่ งอะไร จากใครถึงใคร เขยี นเมอ่ื ไร ๒. ส่วนเนื้อหา หรอื สว่ นท่ีเปน็ ใจความท่ีตอ้ งการสอื่ สาร ๓. ส่วนท้าย จะบอกให้รู้ว่า ใครเขียน โดยไม่ต้องมีคำลงท้ายเช่นเดียวกับหนังสือราชการ ภายใน ๓. แบบของบันทกึ สายใจ ทองเนียม (๒๕๔๐ : ๑๙๑-๑๙๒) กล่าวถึงแบบบันทึกว่า มี ๒ รปู แบบคอื ๑. บนั ทึกขอ้ ความตามระเบียบงานสารบรรณ กำหนดขนาดและแบบไว้ดังน้ี ขนาดใหญ่ ๒๐ ซม. × ๓๓ ซม. ขนาดกลาง ๒๐ ซม. × ๒๖ ซม. ขนาดเล็ก ๒๐ ซม. × ๒๐ ซม. การเขยี นขอ้ ความนยิ มเขยี นหนา้ เดียว ตามปกติจะใชก้ ระดาษสขี าวและมรี ปู แบบ ดงั น้ี ทีม่ าของภาพ : www.forest.go.th ๒๖ ชุดการเรียน วิชาทกั ษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชพี

๒. บนั ทกึ ข้อความของหนว่ ยราชการ เปน็ แบบบนั ทกึ ทหี่ นว่ ยราชการแตล่ ะแหง่ ทำขึน้ โดยมากมกั ทำเปน็ เล่ม ๆ ขนาดเลก็ เช่นเดียวกบั สมุดฉีก ใชส้ ำหรับเขียนขอ้ ความตดิ ต่อกันไม่เปน็ ทางการ หรอื ใช้บนั ทึกความจำ บนั ทกึ ความเหน็ เชน่ เดียวกบั บันทึกขอ้ ความแบบที่ ๑ ทดสอบความรู้การเขยี นบนั ทึกในหน่วยงาน https://h5p.org/node/452500 ๔. ประเภทของบนั ทกึ โดยทัว่ ไปจะแบง่ การเขยี นบันทกึ ออกเป็น ๔ ประเภทดังน้ี ๑. บนั ทึกย่อเรอ่ื ง คอื ข้อความทีผ่ ู้ใต้บงั คบั บัญชาเขียนเสนอตอ่ ผ้บู งั คับบญั ชาโดยยอ่ ความจาก ต้นเรื่องที่มีมา เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาอ่านเข้าใจได้ง่าย ๆ สั้น ๆ ทราบสาระสำคัญสมบูรณ์โดยไม่ต้อง เสียเวลาศึกษาเรื่อง หรือไม่ต้องอา่ นโดยละเอียดตลอดเรื่อง การทำบันทึกยอ่ เรือ่ งเสนอตอ่ ผ้บู ังคับบัญชา นั้น โดยปกติจะเปน็ เรอื่ งท่ียาวหรือสบั สนเจ้าหน้าทีผ่ ู้บนั ทึก โดยมวี ธิ ีการเขยี นดังน้ี ๑.๑ อา่ นใหล้ ะเอียด แลว้ จับประเดน็ สำคญั ของเร่อื ง เขยี นให้สนั้ ๆ เข้าใจง่าย ๑.๒ ไม่จำเปน็ ต้องเรยี บเรยี งตามต้นฉบับเดิม ๑.๓ ขดี เสน้ ใตใ้ จความท่สี ำคญั เพื่อให้สงั เกตง่าย ๑.๔ จัดเรื่องที่เสนอให้เรียบร้อย มีกระดาษคั่นหน้าหรือเขียนหมายเลขที่กระดาษเพื่อให้ ผบู้ ังคบั บญั ชาพลกิ อา่ นได้สะดวก ๒. บันทึกรายงาน คือ การเขียนรายงานการปฏิบัติงานหรือเรื่องที่ประสบพบเห็นมาเสนอ ผู้บังคับบัญชาตามหน้าที่ หรือตามที่ได้รับมอบหมาย ต้องรายงานทุกหัวข้อที่ผู้บังคับบัญชาต้องการ ทราบหรอื สนใจ การบันทึกมีวธิ ีปฏิบตั ิดังน้ี ๒.๑ เขยี นรายงานอยา่ งสัน้ ๆ เฉพาะข้อความท่จี ำเปน็ ๒.๒ ถ้าเป็นเรื่องที่ไดร้ ับมอบหมาย ต้องรายงานทุกข้อที่ผูบ้ ังคับบัญชาต้องการทราบหรือ สนใจ โดยอ้างคำสั่งมอบหมายนั้น ถ้าเป็นเรื่องที่ประสบมาเองและรายงานขึ้นไปก็อาจอ้างเหตุการณ์ที่ เกดิ ข้นึ โดยขนึ้ ตน้ วา่ “ด้วย...........(ไดท้ ราบวา่ ปรากฏว่า ได้พบวา่ ฯลฯ)” แล้วเลา่ เหตุการณ์ ๓. บันทกึ ความเห็น เป็นขอ้ ความทผ่ี ู้ใตบ้ งั คบั บัญชาเพอ่ื แสดงความคิดเห็นและให้ข้อเสนอใน การแก้ปัญหา พัฒนางาน ตอบข้อหารือ ชี้แจงข้อเท็จจริง เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาสั่งการ การทำ บันทึกความเห็น เจ้าหน้าที่ผู้ทำบันทึกจะต้องเขียนให้ผู้บังคับบัญชาเข้าใจถึงประเด็นที่เป็นปัญหาของ ชุดการเรยี น วชิ าทกั ษะภาษาไทยเชิงวชิ าชีพ ๒๗

เร่ืองทต่ี ้องพจิ ารณา ให้ข้อมูลประกอบการพจิ ารณาทถ่ี ูกต้องครบถ้วน แสดงข้อคิดเห็นอย่างมีหลักเกณฑ์ เหตุผล พร้อมทั้งให้ข้อเสนอที่มีความเป็นไปได้ บรรลุวัตถุประสงค์ ไม่กระทบกระเทือนและมีความเสี่ยง น้อยที่สุด การเขียนบันทึกความเห็นจงึ ควรมีลกั ษณะดงั นี้ ๓.๑ บนั ทึกใดมขี อ้ ความยาวมาก ควรสรปุ ประเด็นท่ีเปน็ เหตุ แล้วเขยี นขอ้ ความที่เป็นผล ๓.๒ ถ้าเป็นเรือ่ งที่สัง่ การได้หลายทาง อาจเขยี นบนั ทึกความเห็นด้วยว่า ถา้ ส่งั การทางใด แลว้ จะเกิดผลอย่างไร ตา่ งกันอย่างไร ๓.๓ ถ้าความเหน็ นน้ั ต้องอ้างบทกฎหมาย กฎข้อบังคับ ระเบียบ คำสงั่ กค็ วรจัดทำ ประกอบเรื่องท่เี สนอเสยี ด้วย ๔. บนั ทกึ ตดิ ต่อสั่งการ เปน็ บนั ทึกท่ีเขียนเพอื่ ใชต้ ิดตอ่ ในหน่วยงานเดยี วกนั แบบฟอร์มในการเขียนบันทึกของนักธุรกิจ ไม่มีแบบฟอร์มตายตัวแน่นอน ขึ้นอยู่กับแต่ละ หน่วยงานจะคิดขึ้นเอง แต่ภายใต้การคิดแบบฟอร์มนั้นต้องมีองค์ประกอบครบถ้วนตามส่วนประกอบ ของบันทกึ ขอ้ ความ ตัวอย่างแบบบันทึกขอ้ ความของนกั ธุรกิจ ๒๘ ชุดการเรยี น วชิ าทกั ษะภาษาไทยเชิงวิชาชีพ

บนั ทึกของนกั ธุรกิจถอื ว่ามคี วามสำคญั เพราะจะช่วยให้รูว้ า่ งานทีป่ ฏิบตั ิอยดู่ ำเนินก้าวหน้าไป อย่างไร โดยเฉพาะเกี่ยวกับสินค้า ส่วนใดที่จัดเก็บไว้อย่างไร อยู่ที่ไหน ยังคงเหลือเท่าไร หากมีการ ทำงานเปน็ รอบ ผู้มารบั ช่วงตอ่ จะไดเ้ ข้าใจงานและทำต่อไดถ้ กู ต้อง ในต่างประเทศใชข้ นาด ๘.๕ x ๖.๕ น้ิว เป็นสว่ นมาก แตใ่ นประเทศไทยจะเล็กกว่า และ อาจมหี ลายขนาด ในบนั ทกึ จะมีขอ้ ความมาตรฐานดงั นี้ ๑. ชื่อบรษิ ทั หรอื สถานที่ ๒. มคี ำว่า “บนั ทึก” หรือใช้ “memo” เขียนเต็มวา่ “memorandum” ๓. มีคำว่า “วนั ที่” (date) ถงึ (to) จากใคร (from) เร่อื ง (subject) ๕. หลักการเขียนบันทึกทว่ั ๆ ไป การเขยี นบันทกึ แตล่ ะประเภทนนั้ อาจเปน็ เพียงข้อความสน้ั ๆ หน่ึงประโยค หรือเป็นเน้ือหาที่มี รายละเอียดในรปู แบบของรายงานก็ได้ ท้งั นขี้ นึ้ อยูก่ บั วตั ถุประสงค์ของผเู้ ขยี นบนั ทกึ แตล่ ะคร้ัง แต่หลัก สำคญั ที่ควรพิจารณาในการเขียนบันทกึ คอื ชดุ การเรยี น วชิ าทักษะภาษาไทยเชิงวชิ าชีพ ๒๙

๑. จดเฉพาะใจความสำคัญ หรือประเด็นสำคัญเท่านั้นว่าต้องการทำอะไร เมื่อไร อย่างไร หรอื ต้องการจะสง่ั การใหใ้ คร ทำอะไร ท่ีไหน เม่อื ไร อย่างไร โดยลำดับข้อความตามลำดับขอ้ เท็จจริง ไมแ่ ต่งเตมิ เสริมตอ่ ๒. ใช้ภาษาที่สุภาพ สามารถอ่านเข้าใจได้ง่าย ไม่สับสน วกวน ผู้เขียนบันทึกสามารถ ตรวจสอบได้โดยอา่ นข้อความทต่ี นจดบันทึกวา่ ถ้าตนในฐานะผรู้ ับสารเมอื่ อา่ นแลว้ สามารถเขา้ ใจขอ้ ความ น้ันเพียงใด ๓. หลีกเลี่ยงการใช้คำศัพท์เฉพาะ หรือศัพท์วิชาการ เพราะอาจจะทำให้ผู้รับสารไม่สามารถ เขา้ ใจได้ ยกเวน้ แตเ่ มอ่ื แนใ่ จวา่ ผ้อู า่ นสามารถจะทำความเขา้ ใจตรงกันได้ ๔. การแสดงความคิดเห็นของตนเสริมในการเขียนบันทึกนั้นอาจทำได้ ถ้าเป็นการเขียน บันทึกเสนอความคดิ เห็นในเรอื่ งใดเรอ่ื งหนึง่ ๕. การเขียนบนั ทกึ ข้อความทีย่ าว ๆ ควรแยกเปน็ เรือ่ ง ๆ หรือเขยี นเปน็ ประเด็น ๆ เป็นข้อ ๆ ใหช้ ดั เจน เพ่ือสะดวกในการอ่านและตดิ ต่อเรอื่ งราว ๖. การเขยี นบนั ทกึ ทเ่ี ปน็ ตัวเลข ช่ือบุคคล หรอื ชื่อสถานท่ี ต้องเขียนให้ชัดเจน ถูกต้องเพ่ือมิ ให้เกิดความเขา้ ใจผิดหรอื สับสนได้ ๗. ควรระบวุ นั เวลาทไ่ี ดส้ ัง่ ฝากข้อความ หรือจดบันทกึ ด้วย ๘. ควรจดชื่อ ตำแหน่งของผู้เขียนบันทึกด้วย เพื่อสามารถติดต่อหรือสอบถามเรื่องได้เมื่อไม่ เข้าใจ ๙. ควรตรวจสอบข้อความที่บันทึกอีกครั้งหนึ่งก่อนที่จะเสนอบันทึกนั้นต่อไป หากมีอะไร ผดิ พลาดจะไดแ้ ก้ไขได้ทันการณ์ วธิ เี ขียนและการใช้ภาษา บันทึกภายในขององค์กรที่ไม่เป็นราชการมักเขียนโดยกรอกข้อความไปตามแบบฟอร์มของแต่ ละหน่วยงานทีค่ ิดแบบขึ้นมาเอง เขียนเฉพาะใจความสำคัญ และเขียนตรงไปตรงมา ใช้ภาษามาตรฐาน คำนึงถึงผู้รับว่าเป็นใคร อาจใช้ภาษาทีเ่ ป็นกันเอง (กึ่งทางการ) มากกว่าจดหมายทั่วไป ไม่ต้องเขียนคำ ขนึ้ ต้น คำลงทา้ ย แตล่ งชอ่ื ผ้เู ขียน ๓๐ ชุดการเรยี น วิชาทกั ษะภาษาไทยเชิงวชิ าชีพ

ภาษาและสำนวนในการเขียนบันทึก จุดสำคัญในการเขียนบันทึก คือ การเน้นที่ความเข้าใจซึ่งกันและกันเป็นหลัก ส่วนภาษาที่ใช้ และสำนวนในการเขียนถือว่าเป็นเรือ่ งรองลงมา การติดต่อต้องการความถูกตอ้ ง รวดเร็วของการปฏบิ ัติ จึงไม่อาจขัดเกลาสำนวนภาษาให้สละสลวย ข้อความที่ควรเขียนให้ชัดเจนคือ “ข้อความปิดท้าย” หลกั การใช้ภาษามีดงั นี้ ๑. ส้ันและงา่ ย ๒. เป็นที่เขา้ ใจ ๓. ตรงไปตรงมา ๔. ถูกต้องและครบถ้วน ข้อควรคำนงึ ถึงในการเขียนบนั ทกึ ๑. ควรคำนงึ ถึงข้นั ตอนในการเขียนบันทึก ๑.๑ นึกเสียก่อนว่าจะเขียนกับใคร เร่ืองอะไร ตอ้ งการใหผ้ ู้รับดำเนินการอยา่ งไร ๑.๒ ลงมอื เขียนขอ้ มลู ใหถ้ ูกต้อง ชัดเจน สมบรู ณ์ ๑.๓ ตรวจทานบนั ทึกทเ่ี ขียนวา่ ครบถ้วนตามทนี่ กึ ไวห้ รอื ไม่ ๒. คำนงึ เกย่ี วกบั วิธีการเขียนบนั ทกึ ๒.๑ อยา่ เขยี นยาวเกินไป ถา้ จำเปน็ ให้แบ่งเปน็ ข้อ ๆ หรือทำเปน็ เอกสารแนบ ๒.๒ อย่าเขียนหลายเร่อื งทไี่ ม่เก่ียวขอ้ งกันลงในบนั ทกึ เดยี วกนั ๒.๓ อยา่ เขียนยอ่ เกนิ ไปโดยคดิ ว่าผ้รู ับเขา้ ใจอย่แู ล้ว เชน่ ย่อตำแหนง่ ย่อช่ือหน่วยงาน กิจกรรมการเรียนการสอน 1. ศึกษาเอกสารมอดลู ที่ ๕.๓ 2. ทำใบงานท่ี ๓ ชดุ การเรียน วชิ าทกั ษะภาษาไทยเชิงวชิ าชพี ๓๑

เอกสารอ้างองิ จุฑามาศ เรอื งทัพ. (๒๕๕๘). ความสำคัญและปญั หาในการเขยี นบันทึก. เม่อื วนั ท่ี ๑๑ มนี าคม ๒๕๕๘. เขา้ ถงึ ได้จาก www. kmcenter.rid.go.th/kmc14/general/general10.pdf สายใจ ทองเนียม. (๒๕๔๐). ภาษาไทยเพ่ืออาชพี ๑. กรุงเทพฯ : เอมพันธ.์ อษุ ณีย์ ศุขสทุ ธิ. (๒๕๔๗). การใชภ้ าษาไทยเชงิ ปฏบิ ตั กิ าร. กรงุ เทพฯ : ศูนยส์ ง่ เสรมิ วชิ าการ. ๓๒ ชดุ การเรียน วชิ าทกั ษะภาษาไทยเชิงวชิ าชีพ

ใบงานที่ ๓ คำส่งั ใหน้ ักศกึ ษาเลือกทำเพียงข้อใดขอ้ หน่ึง ๑. สมมุตินักศึกษาเป็นประธานชมรมพัฒนาชุมชน วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุตรดิตถ์จัดทำ โครงการพฒั นาวัดธรรมมาธปิ ไตย โดยเข้าไปทำความสะอาดและทาสรี ้วั วดั ใหม่ วนั ที่ ๑๖ -๑๗ มีนาคม ๒๕๕๖ นักศึกษาเขียนบันทึกติดต่อขอใช้รถหกล้อของวิทยาลัยฯ เพื่อใช้รับ-ส่ง นักศึกษาชมรมพัฒนา ชมุ ชนจำนวน ๒๘ คน ตามวันดงั กลา่ ว เวลา ๐๘.๐๐ – ๑๗.๐๐ น. ๒. สมมุตินักศึกษาเป็นพนักงานคนหนึ่งในบริษัท (ตั้งชื่อเอง) เขียนบันทึกถึงผู้จัดการฝ่ายซื้อ ขอความเห็นเรื่องการขายสินค้าที่ค้างอยูใ่ นคลังสินคา้ รายละเอียดอื่น ๆ นักศึกษาสามารถสมมุติได้ตาม ความเหมาะสม เช่น สินค้าทีเ่ หลือเป็นสินค้าอะไร จำนวนเท่าไร เป็นต้น และความเห็นของนักศึกษาจะ ทำอย่างไรกับสินค้าเหล่านี้ กระดาษบันทึกภายในบริษัทนักศึกษาสามารถออกแบบได้ตามความ เหมาะสม ชดุ การเรียน วิชาทกั ษะภาษาไทยเชิงวิชาชพี ๓๓

แผนการเรียน มอดลู ที่ ๕.๔ การเขียนโครงการ มอดูลที่ ๕.๔ โปรดอ่านหัวข้อเรื่อง แนวคิดและจุดประสงค์การเรียนของมอดูลที่ ๕.๔ แล้วจึงศึกษา รายละเอยี ดตอ่ ไป หัวข้อเรื่อง ๕.๔.๑ ความหมายและความสำคญั ๕.๔.๒ ประเภทของโครงการ ๕.๔.๓ ลกั ษณะของโครงการท่ีดี ๕.๔.๔ สว่ นประกอบของโครงการ ๕.๔.๕ วธิ ีเขยี นโครงการ แนวคดิ การเขียนโครงการเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายและไม่ยากเกินความสามารถของนักวางแผน หรือ ผู้ที่มี หน้าที่รับผิดชอบในการจัดทำแผนและโครงการของหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งนี้จะต้องมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับความสมั พนั ธร์ ะหว่าง นโยบาย แผนงาน และโครงการ เพ่อื ที่จะได้เขยี นโครงการไดส้ อดคล้องกับ วัตถุประสงค์ของแผนงาน และนโยบายตอ่ ไป นอกจากนั้นการจะเป็นผู้เขียนโครงการได้ดีทา่ นก็จะต้อง หมั่นฝึกฝน และเขียนโครงการบ่อย ๆ มีข้อมูลมาก ข้อมูลถูกต้อง เพียงพอ และทันส มัยวิเคราะห์ สถานการณอ์ ยา่ งถ่องแท้ กอ่ นเขียนโครงการ และหลงั จากนัน้ กน็ ำข้อมลู ทผ่ี า่ นการวิเคราะห์แล้วมาเขียน ตามแบบฟอร์มการเขยี นโครงการของแต่ละหนว่ ยงาน จดุ ประสงค์การเรยี น ๑. เมื่อศึกษาหัวข้อเร่ืองท่ี ๕.๔.๑ “ความหมายและความสำคัญของโครงการ” แล้ว นักศึกษา บอกความหมายและความสำคญั ได้ ๒. เมื่อศึกษาหัวข้อเรื่องที่ ๕.๔.๒ “ประเภทของโครงการ” แล้ว สามารถบอกประเภทของ โครงการไดถ้ ูกต้อง ๓๔ ชดุ การเรยี น วชิ าทกั ษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชพี

๓. เมอ่ื ศึกษาหัวข้อเรื่องท่ี ๕.๔.๓ “ลกั ษณะของโครงการทดี่ ี” แล้ว สามารถอธบิ ายโครงการที่ ดีเป็นอย่างไรได้ ๔. เมื่อศึกษาหัวข้อเรื่องที่ ๕.๔.๔ “ส่วนประกอบของโครงการ” แล้ว สามารถอธิบาย ส่วนประกอบของโครงการได้ ๕. เมื่อศึกษาหัวข้อเร่ืองที่ ๕.๔.๕ “วิธีการเขยี นโครงการ” แลว้ สามารถเขยี นโครงการได้ เนอื้ หา ๑. ความหมายและความสำคัญของโครงการ ราชบัณฑิตยสถาน (๒๕๔๖ : ๒๗๐) ให้ความหมายของโครงการว่า หมายถึง แผนหรือเค้าโครง ท่กี ำหนดไว้ กิจจา บานชื่นและเจษฎ์ ประกอบทรัพย์ (๒๕๕๓ : ๑๒) ให้ความหมายว่า การเขียนโครงการ หมายถงึ การกำหนดแนวทางในการทำงาน มีการวเิ คราะห์ปญั หาหรือความต้องการว่ามีการดำเนินงาน ทไ่ี หน เม่ือไร ใชร้ ะยะเวลาเทา่ ไร โดยมีผ้รู บั ผิดชอบในการดำเนินงานและเสนอตอ่ หัวหนา้ หน่วยงานเพื่อ ขออนมุ ัตใิ นการทำโครงการ กล่าวโดยสรุป โครงการ เป็นการวางแผนดำเนินงานในรูปแบบต่าง ๆ อย่างมีระบบ โดย วางเป้าหมายและวัตถปุ ระสงค์ในการทำงาน มขี ้นั ตอนการดำเนนิ งาน และระยะเวลาในการทำงาน ๒. ประเภทของโครงการ ๑. โครงการท่เี สนอโดยตวั บคุ คล หมายถึง โครงการที่รเิ รม่ิ ขึ้นโดยบคุ คลใดบคุ คลหน่งึ ทง้ั นี้อาจ เป็นความคดิ รเิ ริ่มของตัวผู้เขยี นโครงการเอง หรือได้รับการมอบหมายจากผูอ้ ื่น ให้เป็นผู้เขยี นโครงการก็ ได้ ๒. โครงการท่ีเสนอโดยกลมุ่ บคุ คล หมายถงึ โครงการทร่ี เิ รม่ิ ขน้ึ โดยบุคคลมากกวา่ ๒ คนขน้ึ ไป ที่มีความเห็นพ้องต้องกันในวตั ถุประสงค์ วิธีการ และมีเจตนาที่จะทำงานร่วมกนั ซึ่งส่วนประกอบของ โครงการจะต้องได้รับการอภิปรายจนเป็นที่พอใจของกลุ่ม การเขียนโครงการโดยกลุ่มบุคคล มีผลดี เพราะนอกจากจะได้รับประสบการณ์จากการเขียนโครงการแล้ว ยังได้มีการประชุม อภิปราย แสดง ความคิดเห็น และการใช้เหตุผลพร้อมกับการเรียนรู้วิธีการทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะ ดังนั้น โครงการ นำเสนอโดยกลมุ่ บุคคลจึงมีความสมบูรณ์ และรัดกุมมากกวา่ การเขียนโครงการโดยตัวบคุ คล ชดุ การเรยี น วิชาทักษะภาษาไทยเชงิ วิชาชพี ๓๕

๓. โครงการท่เี สนอโดยหนว่ ยงาน หมายถงึ โครงการทอ่ี าจจะเริม่ โดยตวั บุคคล หรือกลุ่มบุคคล ก็ได้ แต่เป็นโครงการที่ดำเนินการในนามของหน่วยงาน ซึ่งหมายความว่าทุกคนในหน่วยงานนั้นจะต้อง เห็นด้วย และร่วมกันรับผิดชอบ โครงการที่เสนอโดยหน่วยงานจึงจัดเป็นโครงการใหญ่ที่ต้อง ประสานงาน และร่วมมือกันทุกฝ่าย นับว่าเป็นโครงการท่ีมคี วามสมบูรณ์มากกว่าโครงการประเภทอ่ืน กจิ กรรมสว่ นประกอบของโครงการ https://h5p.org/node/453714 ๔. ส่วนประกอบของโครงการ ในการเขียนโครงการ ผู้เขียนจำเป็นต้องเข้าใจส่วนประกอบต่างๆ ทั้งนี้ เพื่อให้การเขียน โครงการเป็นไปตามลำดับขัน้ ตอน มเี หตผุ ลน่าเช่ือถอื และการเขียนสว่ นประกอบของโครงการครบถ้วน ช่วยให้การลงมือปฏิบัติตามโครงการเป็นไปโดยราบร่ืน รวดเร็ว และสมบูรณ์ ส่วนประกอบของโครงการ จำแนกได้ ๓ ส่วน ดงั ต่อไปน้ี ๑. ส่วนนำ หมายถึง ส่วนที่ให้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับโครงการนั้น ๆ ส่วนนำของโครงการมุง่ ตอบคำถามต่อไปนี้ คือ โครงการนั้นคือโครงการอะไร เกี่ยวข้องกับใคร ใครเป็นผู้เสนอหรือดำเนิน โครงการ โครงการนั้นมีความเป็นมา หรือความสำคัญอย่างไร ทำไมจึงจัดโครงการนั้นขึ้นมา และมี วัตถุประสงค์อย่างไรจะเห็นได้ว่า ความในส่วนนำต้องมีรายละเอียดเพียงพอที่จะให้ผู้อ่าน และ ผู้เกี่ยวข้องได้เข้าใจข้อมูลพื้นฐาน ก่อนจะอ่านรายละเอียดในโครงการต่อไป ส่วนนำของโครงการ ประกอบด้วยหวั ข้อตอ่ ไปน้ี ๑.๑ ช่ือโครงการ ซ่ึงโครงการตอ้ งมีความชัดเจน รัดกมุ และเฉพาะเจาะจง ทำให้เกิดความ เข้าใจง่ายแก่ผูเ้ ก่ยี วข้อง หรือผนู้ ำโครงการไปปฏบิ ตั ิ ช่อื โครงการจะบอกให้ทราบวา่ จะทำสงิ่ ใด หรือเสนอ ขนึ้ เพ่ือทำอะไร โดยปกตชิ ื่อโครงการจะแสดงลกั ษณะของงานท่ตี อ้ งปฏิบัติ ๑.๒ ผู้รับผิดชอบโครงการ เป็นการบอกให้ทราบว่า กลุ่มบุคคลใด หรือหน่วยงานใดเป็น ผู้รับผิดชอบในการเสนอและดำเนินงานตามโครงการ ทั้งนี้เพื่อสะดวกแก่การประสานงานและการ ตรวจสอบ ๑.๓ หลักการและเหตุผล หรืออาจจะเรียกว่าความเป็นมา หรือภูมิหลังของโครงการ หลักการและเหตุผล เป็นส่วนที่แสดงถึงปัญหาความจำเป็นหรือความจำเป็นที่ต้องจัดโครงการขึ้นโดย ผู้เขยี นหรอื ผ้เู สนอโครงการจะตอ้ งระบเุ กดิ ปญั หาอะไร กบั ใคร ทไ่ี หน เมอ่ื ใด มีสาเหตุมาจากอะไร โดยมี ๓๖ ชดุ การเรียน วิชาทกั ษะภาษาไทยเชิงวิชาชีพ

ข้อมูลสนับสนนุ ใหป้ รากฏชัดเจน นอกจากนี้จะต้องบอกถึงความจำเป็นที่ต้องจัดทำโครงการว่า ถ้าไม่ทำ จะเกิดผลเสยี หายอย่างไร ถ้าทำคาดวา่ จะช่วยแก้ปัญหาหรอื พัฒนาไดอ้ ย่างไร ๑.๔ วัตถุประสงค์ ควรเขียนให้อยู่ในรูปการลดหรือขจัดปัญหาหรือพัฒนาสิ่งที่ต้องการ เพม่ิ ขน้ึ ไม่จำเปน็ ต้องเขยี นวัตถปุ ระสงคห์ ลายข้อ เพราะจำนวนขอ้ ของวตั ถุประสงค์ไม่ได้แสดงถึงความมี คุณภาพของโครงการแต่อย่างใด บางครงั้ เขียนเกินจรงิ ซึ่งเมื่อประเมนิ โครงการก็ไม่มที างสำเร็จได้ ฉะน้ัน ต้องระบุให้ชดั เจน รัดกมุ และสามารถปฏบิ ตั ไิ ดจ้ ริง การเขียนวัตถปุ ระสงค์ต้องครอบคลุมเหตุผลท่ีจะทำ โครงการ โดยจดั ลำดับแยกเป็นขอ้ ๆ เพอื่ ความเขา้ ใจงา่ ย และชัดเจน ๒. ส่วนเนื้อความ หมายถึง ส่วนที่เป็นสาระสำคัญของโครงการ ได้แก่ วิธีดำเนินการซึ่ง กล่าวถึงลำดับขั้นตอนต่าง ๆ ในการปฏิบัติงาน รวมทั้งพื้นที่การปฏิบัติงาน ซึ่งครอบคลุมปริมาณ และ คุณภาพ ตลอดจนการดำเนินงานตาม วัน เวลา และสถานที่ ส่วนเนื้อความของโครงการประกอบด้วย หวั ข้อต่อไปนี้ ๒.๑ เป้าหมาย เป็นการบอกถึงความต้องการหรือทิศทางในการปฏิบัติงานที่ระบุในเชิง ปริมาณ เชิงคุณภาพ เวลาและพื้นที่ในการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และกิจกรรมของ โครงการ ๒.๒. ขั้นตอนและระยะเวลา เป็นการกล่าวถึงลำดับขั้นตอนการทำงาน เพื่อให้บรรลุ วัตถุประสงค์ ตามที่กำหนดในโครงการ วิธีดำเนินการมักจำแนกเป็นกิจกรรมย่อย ๆ โดยแสดงให้เห็น ชัดเจน ตั้งแตเ่ ร่ิมตน้ จนจบกระบวนการว่ามีกิจกรรมใดทตี่ ้องทำ ทำเม่อื ใด ผใู้ ดเปน็ ผู้รับผิดชอบ และจะ ทำอย่างไร อาจจะจัดทำเปน็ ปฏิทินปฏิบตั งิ านประกอบ รวมทั้งแสดงระยะเวลาดำเนินการควบคู่ไปด้วย การระบุระยะเวลาตั้งแต่เริ่มต้นโครงการจนกระทั่งสิ้นสุดโครงการโดยระบุเวลาที่ใช้เริ่มต้นตั้งแต่ วัน เดอื น ปี และสิน้ สดุ หรือแลว้ เสรจ็ ใน วัน เดือน ปอี ะไร ๒.๓ วิธดี ำเนนิ การจัดเปน็ หวั ใจสำคัญของโครงการ ผู้เขียนตอ้ งพยายามอยา่ งย่ิงที่จะไม่ทำ ใหผ้ ้อู า่ นเกดิ ความสับสน วิธีดำเนินการควรแยกอธบิ ายเปน็ ขอ้ ๆ ให้ชดั เจนตามลำดบั ขั้นตอนการทำงาน อาจทำแผนผังสรุปวธิ ดี ำเนนิ การตาม วัน เวลา เพื่อความชัดเจนด้วยกไ็ ด้ ๒.๔ สถานทีด่ ำเนินการ คอื สถานที่ บรเิ วณ พื้นท่ี อาคาร ที่ใช้จดั กิจกรรมตามโครงการ ๓. ส่วนขยายความ หมายถึง ส่วนประกอบที่ให้รายละเอียดอื่น ๆ เกี่ยวกับโครงการได้แก่ ประโยชน์ หรือผลที่คาดว่าจะได้รับงบประมาณดำเนินการ หรือแหล่งเงินทุนสนับสนุนตลอดจนการ ตดิ ตามและประเมินผล ส่วนขยายเนื้อความของโครงการ ประกอบดว้ ยหัวข้อตอ่ ไปน้ี ๓.๑ งบประมาณที่ใช้ คือ ค่าใช้จ่ายการดำเนินงานตามโครงการต้องใช้งบประมาณหรือ ค่าใช้จ่ายที่ระบุถึงจำนวนเงิน จำนวนวัสดุ ครุภัณฑ์ หรือจำนวนบุคคล และปัจจัยอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อ การดำเนินการ สำหรับงบประมาณ ควรระบใุ ห้ชดั เจนว่ามีคา่ ใช้จา่ ยอะไรบ้างเป็นข้อ ๆ ชุดการเรียน วชิ าทักษะภาษาไทยเชิงวิชาชีพ ๓๗

๓.๒ การประเมินโครงการ เป็นการประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการ ซึ่งต้องระบุ วธิ ีการประเมนิ ผลให้ชัดเจนวา่ จะประเมินโดยวิธใี ดอาจเขยี นเป็นข้อ ๆ หรือเขียนรวม ๆ กันก็ได้ เชน่ จาก การสังเกตจากการตอบแบบสอบถาม (ควรระบวุ ่าใครเป็นผปู้ ระเมิน) เป็นตน้ ๓.๓ ผลทค่ี าดว่าจะได้รบั เป็นการกล่าวถึงผลประโยชนท์ พี่ งึ จะได้รบั จากความสำเร็จของ โครงการ เป็นการคาดคะเนผลที่จะได้รับเมอ่ื สิ้นสุดการปฏบิ ตั ิโครงการซง่ึ ผลทไ่ี ดร้ บั ต้องเป็นไปในทางทีด่ ี ทัง้ เชงิ ปริมาณ และคณุ ภาพ ในส่วนขยายความ อาจจะเพิ่มเติมผู้เสนอโครงการไว้ในตอนท้ายของโครงการ ในกรณีที่เป็น โครงการทตี่ ้องเสนอผ่านตามลำดับขนั้ ตอน และผู้อนมุ ตั โิ ครงการลงนามในตอนท้ายสุดของโครงการ กิจกรรมการเรยี นการสอน ศกึ ษาเอกสารมอดลู ที่ ๕.๔ แบบทดสอบการเขียนโครงการ http://bit.ly/thaiact5-5 ๓๘ ชดุ การเรียน วชิ าทกั ษะภาษาไทยเชิงวชิ าชพี

เอกสารอ้างองิ กิจจา บานชน่ื และเจษฎ์ ประกอบทรัพย์. (๒๕๕๓). โครงการ. กรุงเทพฯ : แม็ค. ประดิษฐ์ จนั ทร์แก้ว. (๒๕๔๙). ทกั ษะภาษาไทยเพอ่ื อาชีพ. นนทบุรี : ศูนย์หนงั สือ เมอื งไทย. ราชบัณฑิตยสถาน. (๒๕๔๖). พจนานุกรมฉบบั ราชบณั ฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๔๒. กรุงเทพฯ : นานมบี คุ๊ . ชดุ การเรยี น วิชาทกั ษะภาษาไทยเชิงวิชาชพี ๓๙

แบบประเมินตนเองหลงั เรียน หน่วยท่ี ๕ http://bit.ly/thai-test5 ๔๐ ชดุ การเรยี น วชิ าทกั ษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชีพ


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook