Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore การใช้กระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning ในการเสริมสร้างทักษะภาษาอังกฤษและพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้ Blooket 64

การใช้กระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning ในการเสริมสร้างทักษะภาษาอังกฤษและพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้ Blooket 64

Published by Teacher.Orawan Pudmon, 2022-06-21 15:07:13

Description: รายงานวิจัย การใช้กระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning ในการเสริมสร้างทักษะภาษาอังกฤษและพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้ Blooket ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/2

Search

Read the Text Version

รายงานวจิ ัย การใช้กระบวนการเรยี นรู้แบบ Active Learning ในการเสริมสรา้ ง ทักษะภาษาองั กฤษและพัฒนาผลสัมฤทธท์ิ างการเรยี น โดยใช้ Blooket ของนกั เรียนช้ันประถมศกึ ษาปีท่ี 6/2 ผวู้ จิ ยั นางสาวอรวรรณ พุดมอญ โรงเรยี นวดั พชื นมิ ิต (คำสวัสด์ิราษฎร์บำรุง) อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี สำนักงานเขตพืน้ ท่กี ารศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 สำนกั งานคณะกรรมการการศึกษาขน้ั พน้ื ฐาน กระทรวงศกึ ษาธิการ



(ก) ชอื่ เรอ่ื ง การใชก้ ระบวนการเรยี นร้แู บบ Active Learning ในการเสรมิ สร้างทกั ษะภาษาองั กฤษและ พัฒนาผลสมั ฤทธท์ิ างการเรยี น โดยใช้ Blooket ของนกั เรียนช้นั ประถมศึกษาปีที่ 6/2 โรงเรยี นวัดพืช นิมติ (คำสวัสดริ์ าษฎร์บำรงุ ) ช่อื ผวู้ จิ ยั นางสาวอรวรรณ พุดมอญ ปี 2564 บทคดั ย่อ การศึกษาคร้ังน้ีมจี ุดมุ่งหมาย เพือ่ ศึกษาการใช้ Booket เกมคำศัพทภ์ าษาองั กฤษเพ่ือพัฒนาการ เรียนรู้คำศพั ท์ ภาษาองั กฤษของนักเรยี นช้นั ประถมศกึ ษาปีที่ 6/2 โรงเรียนวดั พืชนมิ ติ (คำสวสั ด์ริ าษฎร์ บำรงุ )กลุ่มตวั อย่าง คือ นักเรียนชัน้ ชั้นประถมศึกษาปีท่ี 6/2 ภาคเรียนท่ี 2 ปกี ารศึกษา 2564 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 23 คน ใชว้ ิธสี ุ่มอยา่ งงา่ ย (Simple Random Sampling) การดำเนินการ มีการทดสอบวัดผลการเรียนรู้คำศัพท์ ภาษาองั กฤษเครอื่ งมือทีใ่ ช้ในการศึกษา คือ แผนการสอนการใช้ เกมคำศัพท์ประกอบการสอน แบบทดสอบวดั ผลการเรยี นรู้ คำศพั ท์ และแบบสอบถามความคดิ เห็น ของนักเรียนสถิตทิ ี่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ คา่ เฉลีย่ (Mean) คา่ ความ เบ่ยี งเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และ T-Test ผลการศกึ ษาพบวา่ 1. แผนการจดั กิจกรรมการเรยี นรู้วิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง On Holiday ของนักเรยี นชน้ั ประถมศึกษาปที ่ี 6 โดยใชก้ ารจดั การเรยี นรู้โดยใช้ Blooket เกมคำศัพท์ภาษาอังกฤษมปี ระสิทธิภาพ E1/ E2 เทา่ กบั 80.28 / 82.60 เปน็ ไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่ตงั้ ไว้ 2. นักเรียนทเี่ รียนดว้ ยแผนการจัดกจิ กรรมการเรยี นรู้วชิ าภาษาองั กฤษ เรื่อง On Holiday ของ นักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การจัดการเรียนรู้โดยใช้ Blooket เกมคำศัพท์ภาษาอังกฤษ มี คะแนนเฉลี่ยหลงั เรยี นสงู กวา่ กอ่ นเรียนอย่างมนี ัยสำคญั ทางสถติ ิท่ี ระดับ .01 3. นกั เรยี นชัน้ ประถมศึกษาปีท่ี 6 มคี วามพงึ พอใจความพึงพอใจตอ่ การเรยี นรวู้ ิชาภาษาองั กฤษ เรอื่ ง On Holiday ดว้ ยการจดั การเรยี นรู้โดยใช้ Blooket เกมคำศัพท์ภาษาอังกฤษ เท่ากบั 4.86 อยู่ใน ระดบั มากท่สี ดุ และมีความพึงพอใจอยูใ่ นระดบั มากทส่ี ุด 12 ขอ้

(ข) กติ ตกิ รรมประกาศ การศึกษาวิจัยครั้งนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ด้วยความอนุเคราะห์จากบุคลากรในโรงเรียน ขอขอบพระคุณที่ให้ข้อมูล คำแนะนำ ตรวจสอบแก้ไขข้อบกพร่อง ตลอดจนให้กำลังใจในการศึกษา ผู้วจิ ยั ขอกราบขอบพระคุณด้วยความเคารพอย่างสูง ขอขอบคุณนักเรียนโรงเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนวัดพืชนิมิต (คำสวัสดิ์ราษฎร์บำรุง) จำนวน 23 คน และคณะครูโรงเรยี นวัดพืชนิมิต (คำสวัสด์ิ ราษฎร์บำรุง) ที่ให้ความร่วมมือ ช่วยให้การศึกษา การรวบรวมข้อมูล และการดำเนินตามกระบวนการ ทางวิจยั สำเรจ็ ลลุ ว่ งไปได้ดว้ ยดี ขอกราบขอบพระคุณ บิดา มารดา อนั เป็นทรี่ ักและเคารพสูงสุดในชวี ติ ที่ได้มอบความรัก ความ เมตตา ความห่วงใย ใหก้ ารสนบั สนุน และเป็นกำลังใจอย่างดียิ่งเสมอมา ผู้วจิ ัย นางสาวอรวรรณ พุดมอญ

สารบญั (ค) บทคัดยอ่ หนา้ กิตตกิ รรมประกาศ สารบัญ 1 1 บทท่ี ๑ บทนำ 1 ทม่ี ำและควำมสำคญั ของปัญหำ 2 วัตถุประสงคก์ ำรวิจยั ขอบเขตกำรวิจัย 5 นยิ ำมศัพท์เฉพำะ 5 41 บทที่ ๒ เอกสำรและงำนวิจัยท่เี กยี่ วขอ้ ง 44 แนวคิด หลกั กำร ทฤษฎี 44 45 บทท่ี ๓ วธิ ีดำเนนิ กำรวจิ ัย กำรเกบ็ รวบรวมข้อมลู 49 กำรวเิ ครำะห์ขอ้ มูล 49 บทที่ ๔ ผลกำรวิเครำะห์ขอ้ มูล 52 ผลกำรศึกษำ 54 บทที่ ๕ สรปุ อภิปรำยผลและข้อเสนอแนะ กำรอภปิ รำยผล บรรณานุกรม ภาคผนวก

1 บทที่ 1 บทนำ ความเป็นมาและความสำคญั ของปญั หา หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้กำหนดสมรรถนะสำคัญของ นักเรียน ไว้5 ประการ คือ ความสามารถในการสื่อสาร ความสามารถในการคิด ความสามารถในการ แก้ปัญหา ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต และความสามารถในการใช้เทคโนโลยี ซึง่ ความสามารถใน การคิดวิเคราะห์ การคดิ สงั เคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ การคดิ อย่างมวี จิ ารณญาณ การคิดอยา่ งเป็นระบบ เพื่อน าไปสู่การสร้าง องค์ ความรู้หรือสารสนเทศ เพื่อการตัดสินใจของตนเองได้อย่างเหมาะสม โดย มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบน พน้ื ฐานความเชือ่ วา่ ทุกคนสามารถเรยี นร้แู ละพัฒนาตนเองได้เต็มตาม ศกั ยภาพ (หลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขนั้ พนื้ ฐาน พทุ ธศักราช 2551: 6) ซ่ึงค่อนข้างสอดคล้องกับ แนวทางของวชิ าภาษาอังกฤษทีต่ ้องการจะพัฒนา ทักษะการสื่อสารทง้ั 4 ทักษะ ไม่ว่าจะเปน็ การฟงั การ พูด การอา่ น และการเขียน ในโลกยคุ ปจั จุบันคงปฏิเสธ ไม่ได้จริงๆว่าภาษาอังกฤษนั้นสำคัญกับพวกเราทุก คนมากเพียงใด ด้วยการศึกษาภาษาอังกฤษในปัจจุบันที่ มุ่งเน้นพัฒนาผ้เู รยี นให้มที ักษะในดา้ นการส่ือสาร ภาษาองั กฤษในชวี ติ ประจำวนั กรรมวิธีการสอนต่างๆจึงมีการ ประยุกตใ์ หม้ ีการเรียนรู้ที่ก่อให้เกิดการเรยี นรู้ ที่เรียกว่า Active learning ทีเ่ นน้ ผเู้ รียนเป็นสำคัญ ให้ผู้เรียนได้ เรียนรู้และค้นคว้าหวั ข้อที่กำหนดได้ด้วย ตนเอง นอกจากนี้ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ทำให้นักเรียนต้องพบ เจอกับประสบการณ์ทคี่ าดไม่ถึงอย่าง การเรียนออนไลน์ทำให้การจัดการเรียนรูแ้ บบ Active learning จำเป็น จะต้องประยุกต์และปรับเปลี่ยน รูปแบบให้เข้ากับสถานการณ์ในปัจจุบัน โดยปฏิเสธไม่ได้จริงๆว่า โควิด-19 นั้นส่งผลกระทบกบั ประเทศ ไทยอยา่ งเลย่ี งไม่ได้ไม่วา่ จะเป็นปริมาณผูต้ ดิ เช้ือสะสม รายวัน และความเสี่ยงของ โรคโควิด-19 ดังนั้นการ จัดการเรียนการสอนด้วยวิธีการออนไลน์จึงเป็นการแก้ไขปัญหาในการไม่จำเป็น จะต้องให้นักเรียนมา รวมตัวกันเพื่อเรียนอีกต่อไปโดยให้นักเรียนเรียนด้วยแพลตฟอร์มที่มีอยู่แล้วในโลก ออนไลน์ จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ผู้สอนจึงนำกิจกรรมเกม มาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน วิชา ภาษาอังกฤษ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โดยใช้ Blooket ในการพัฒนาการเรียนการสอนวิชา ภาษาองั กฤษ ดว้ ยกระบวนการเรียนรแู้ บบ Active Learning วตั ถุประสงคก์ ารวิจยั 1.เพ่อื สร้างกิจกรรมการเรียนรู้ท่มี คี ณุ ภาพโดยใช้ Blooket เกมคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ระดับชน้ั ประถมศึกษาปีที่ 6/2 ภาคเรียนท่ี 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรยี นวัดพืชนิมิต (คำสวสั ด์ิราษฎรบ์ ำรงุ )

2 2.เพอื่ เปรยี บเทยี บผลสมั ฤทธิ์ทางการเรียนกอ่ นเรียนและหลงั เรยี นของนักเรียนทเ่ี รียนรู้ด้วย กระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning โดยใช้ Blooket เกมคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ชน้ั ประถมศึกษาปที ่ี 6 โรงเรยี นวดั พืชนมิ ติ (คำสวสั ดิร์ าษฎร์บำรุง) 3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจนักเรยี นระดบั ชั้นประถมศึกษาปีท่ี 6/2 ภาคเรยี นที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรยี นวัดพืชนิมิต (คำสวสั ด์ริ าษฎรบ์ ำรงุ ) ภาคเรียนท่ี 2 ปกี ารศึกษา 2564 โดยผ่านกิจกรรมการออนไลน์ และเกมประกอบการสอน สมมตฐิ านการวิจยั 1. กิจกรรมการเรียนรู้ท่ีมีคุณภาพโดยใช้ Blooket เกมคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ระดับชั้นประถมศึกษาปี ที่ 6/2 ภาคเรยี นที่ 2 ปีการศกึ ษา 2564 โรงเรียนวดั พืชนิมติ (คำสวสั ดิร์ าษฎร์บำรุง) ประสิทธิภาพเท่ากับหรือ สูงกกวา่ เกณฑ์ที่กำหนด 80/80 2. ผลสมั ฤทธิท์ างการเรยี นกอ่ นเรยี นและหลงั เรยี นของนักเรยี นท่เี รียนรู้ด้วยกระบวนการเรียนรแู้ บบ Active Learning โดยใช้ Booket เกมคำศัพทภ์ าษาอังกฤษ ชนั้ ประถมศกึ ษาปีท่ี 6/2 โรงเรียนวดั พืชนมิ ติ (คำ สวัสด์ริ าษฎรบ์ ำรงุ ) 3. ความพึงพอใจนักเรียนระดับชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 6/2 ภาคเรียนท่ี 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนวดั พืชนมิ ติ (คำสวัสด์ิราษฎรบ์ ำรุง) ในระดับมาก ขอบเขตของการวิจัย ผู้วจิ ยั กำหนดขอบเขตของการวิจัย เพือ่ ใหก้ ารวิจยั เป็นไปตามวัตถุประสงคท์ ก่ี ำหนด ดงั น้ี 1.ขอบเขตดา้ นประชากรและกล่มุ ตัวอย่าง นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนวัดพืชนิมิต (คำ สวัสดิร์ าษฎร์บำรุง) 2.ตัวแปรทใ่ี ชศ้ กึ ษา 2.1 ตัวแปรตน้ คือ กระบวนการเรียนร้แู บบ Active Learning โดยใช้ Blooket เกม คำศัพทภ์ าษาอังกฤษ 2.2 ตัวแปรตาม ไดแ้ ก่ 2.2.1 ความรู้ด้านคำศพั ทภ์ าษาองั กฤษ 2.2.2 ผลสมั ฤทธิก์ ารเรียนรู้ 2.2.3 ความพงึ พอใจทมี่ ตี ่อการเรียนรู้กระบวนการเรียนรแู้ บบ Active Learning โดยใช้ Blooket เกมคำศัพท์ภาษาองั กฤษ

3 3. เน้ือหาท่ีใชใ้ นการทดลอง เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัย ผู้วิจัยเลือกคำศัพท์ในสาระการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับชั้น ประถมศึกษาปีท่ี 6/2 เรอื่ ง On Holiday ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขน้ั พ้ืนฐาน พทุ ธศักราช 2551 4. ระยะเวลา การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โดยผู้วิจัยเป็น ผู้จดั การเรยี นการสอน โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ท่ีผวู้ ิจยั พัฒนาขน้ึ จำนวน 5 แผน รวมทงั้ หมด 14 ชว่ั โมง นิยามศพั ท์เฉพาะ 1. Blooket คอื เวบ็ ไซต์สรา้ งเกมเพ่ิมความสนกุ เพียงสร้างข้อคำถามแค่คร้ังเดียว สามารถ เลือกโหมดในการเล่นเกมได้ เชน่ Gold Quest / Cafe / factory / Battle royale / Racing เมือ่ ออกแบบ เกมเสรจ็ เปน็ ทเ่ี รยี บร้อย สามารถเริ่มเกมได้ โดยระบบของ Blooket ให้นักเรียนกรอก Access Code หรอื Game ID ลงในสมาร์ตโฟน 2. การจัดกจิ กรรมการเรียนรูต้ ามแนวคดิ ภาษาเพื่อการสือ่ สาร หมายถงึ การออกแบบ กจิ กรรมการเรียนรภู้ าษาอังกฤษสำหรับนักเรียน เพ่อื พฒั นาความสามารถในการส่ือสารภาษาองั กฤษ โดยองิ หลักการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร ซง่ึ ผู้สอนเปน็ ผูค้ อยใหค้ ำแนะนำและอำนวยความสะดวกในการจัดกิจกรรม ประกอบดว้ ย 5 ข้ันตอน คอื 1. การเตรียมความพรอ้ ม (Warm up) 2. การนำเสนอเนื้อหา (Presentation) 3. การฝึกปฏบิ ตั ิ (Practice) 4. การใช้ภาษา (Production) 5. การสรปุ บทเรียน (Wrap up) 2. ผลสมั ฤทธกิ์ ารเรยี นรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ หมายถึง คะแนนสอบวชิ าภาษาองั กฤษของ นกั เรียน ชนั้ ประถมศึกษาปที ี่ 6 จากแบบทดสอบวัดผลสมั ฤทธ์ิทางการเรียน เปน็ ขอ้ สอบแบบปรนัย ด้วยการ วัดความรู้ความหมายของคำศัพท์ จำนวน 20 ข้อ เปน็ แบบเลอื กตอบ (Multiple Choice) 4 ตวั เลอื ก ซง่ึ มี คำตอบทีถ่ ูกตอ้ งเพียงคำตอบเดยี ว โดยการเลอื กรปู ภาพทีเ่ หมาะสมกับคำศพั ทแ์ ละมีความหมายของคำศัพทท์ ่ี ตรงกบั รปู ภาพ 4.ความพงึ พอใจ หมายถงึ ความรสู้ ึกท่แี สดงถงึ ความชอบ ความพอใจ ความยนิ ดีท่ีผเู้ รยี นแสดงออก ของนักเรยี นท่ีมีตอ่ การจดั การเรียนการสอนด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning โดยใช้ Booket เกมคำศพั ท์ภาษาองั กฤษ

4 ประโยชน์ทีไ่ ด้รบั 1. ไดแ้ ผนการจดั การเรยี นการสอนไปใช้ในการพฒั นาความรู้ด้านคำศัพท์ โดยใช้ เกมคำศัพท์ ภาษาองั กฤษ สื่อการสอนออนไลน์ 2. ไดก้ ระบวนการจัดการเรียนการสอน สำหรบั ครูผู้สอนกลุ่มสาระภาษาต่างประเทศนำไปประยุกต์ใน การพฒั นาความรดู้ า้ นคำศพั ท์ภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียน กรอบแนวคดิ ในการวิจัย ตัวแปรตาม ตัวแปรต้น 1. ความรดู้ า้ นคำศพั ท์ภาษาอังกฤษ 2. ผลสมั ฤทธกิ์ ารเรยี นรู้ กระบวนการเรยี นรู้แบบ Active 3.ความพงึ พอใจทมี่ ีต่อการเรียนรู้ Learning โดยใช้ Blooket เกม กระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning โดย คำศัพท์ภาษาองั กฤษ ใช้ Blooket เกมคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ภาพท่ี 1 กรอบแนวคิดการวิจัย

5 บทท่ี 2 เอกสารและงานวิจัยทเ่ี ก่ียวข้อง การศกึ ษาเรื่องการพฒั นาผลสัมฤทธิก์ ารเรียนรู้คำศัพทภ์ าษาองั กฤษโดยใชว้ ธิ ีสอนกิจกรรมเปน็ ฐาน ของนักเรยี นชั้นประถมศึกษาปีท่ี 6/2 โรงเรยี นวดั พชื นิมติ (คำสวสั ด์ริ าษฎร์บำรงุ ) ผูว้ จิ ัยได้ศึกษาเอกสารและ งานวิจัยท่ีเก่ียวข้อง ดงั น้ี 1. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขนั้ พนื้ ฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรยี นรู้ ภาษาตา่ งประเทศ 2.แนวคิดเกี่ยวกับทฤษฎีการสอนภาษาเพื่อการสือ่ สาร (Communication Language Teaching) 3.การเรียนการสอนแบบ Active Learning 4.แนวคิดเกี่ยวกับแผนการจัดการเรยี นรู้ 5.สื่อประกอบกการจัดการเรียนการสอน 6. งานวจิ ัยท่ีเกี่ยวขอ้ ง 1. หลักสตู รแกนกลางการศกึ ษาขน้ั พนื้ ฐาน พทุ ธศกั ราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาตา่ งประเทศ กระทรวงศึกษาธกิ ารได้กำหนดสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ หลกั สตู รแกนกลางการศึกษาขน้ั พื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา, 2551: 8-48) ไวด้ งั น้ี 1.1 สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ สาระที่ 1 ภาษาเพอ่ื การส่ือสาร มาตรฐาน ต 1.1 เขา้ ใจและตีความเร่ืองท่ีฟังและอ่านจากสื่อประเภทต่าง ๆ และแสดง ความคดิ เหน็ อยา่ งมีเหตผุ ล มาตรฐาน ต 1.2 มที ักษะการสอื่ สารทางภาษาในการแลกเปล่ยี นขอ้ มลู ข่าวสาร แสดง ความรสู้ ึก และความคดิ เหน็ อยา่ งมีประสิทธภิ าพ มาตรฐาน ต 1.3 นำเสนอข้อมูลขา่ วสาร ความคิดรวบยอด และความคิดเหน็ ในเร่อื ง ต่าง ๆ โดยการพดู และการเขียน สาระที่ 2 ภาษาและวฒั นธรรม มาตรฐาน ต 2.1 เขา้ ใจความสมั พันธ์ระหว่างภาษากับวัฒนธรรมของเจา้ ของภาษา และนำไปใช้ ไดอ้ ย่างเหมาะสมกับกาลเทศะ มาตรฐาน ต 2.2 เขา้ ใจความเหมือนและความแตกต่างระหวา่ งภาษาและวฒั นธรรม ของเจา้ ของภาษากับภาษาและวฒั นธรรมไทย และนำมาใช้อยา่ งถูกต้องและเหมาะสม สาระที่ 3 ภาษากับความสัมพันธก์ ับกลุม่ สาระการเรยี นรอู้ ืน่ มาตรฐาน ต 3.1 ใชภ้ าษาต่างประเทศในการเชื่อมโยงความร้กู บั กลมุ่ สาระการเรยี นรู้

6 อื่นและเปน็ พืน้ ฐานในการพฒั นา แสวงหาความรู้ และเปดิ โลกทัศนข์ องตน สาระท่ี 4 ภาษากับความสมั พนั ธก์ บั ชมุ ชนและโลก มาตรฐาน ต 4.1 ใชภ้ าษาต่างประเทศในสถานการณต์ ่าง ๆ ทัง้ ในสถานศึกษาชมุ ชน และสังคม มาตรฐาน ต 4.2 ใชภ้ าษาต่างประเทศเปน็ เครื่องมือพ้นื ฐานในการศึกษาต่อ การ ประกอบอาชีพและการแลกเปลี่ยนเรยี นรกู้ บั สงั คมโลก คุณภาพผ้เู รียน ชว่ งชัน้ ที่ 2 จบชั้นประถมศกึ ษาปีที่ 6  ปฏิบตั ิตามคำสงั่ คำขอร้อง และคำแนะนำที่ฟงั และอ่าน อา่ นออกเสียงประโยค ขอ้ ความ นิทาน และบทกลอนสั้นๆ ถกู ตอ้ งตามหลกั การอ่าน เลือก/ระบปุ ระโยคและข้อความ ตรงตามความหมายของ สัญลักษณ์หรือเครื่องหมายที่อา่ น บอกใจความสำคัญ และตอบคำถามจากการฟังและอา่ นบทสนทนานิทาน ง่ายๆ และเรอ่ื งท่ีเล่า  พดู /เขยี นโตต้ อบในการสอ่ื สารระหวา่ งบคุ คล ใช้คำสง่ั คำขอรอ้ ง คำขออนุญาต และให้ คำแนะนำ พดู /เขยี นแสดงความต้องการ ขอความช่วยเหลอื ตอบรบั และปฏเิ สธการให้ ความช่วยเหลือในสถานการณ์ง่ายๆ พูดและเขียนเพ่ือขอและใหข้ ้อมูลเก่ียวกับตนเอง เพอื่ น ครอบครวั และ เรอ่ื งใกล้ตัว พูด/เขยี นแสดงความรู้เก่ยี วกบั เร่ืองต่างๆ ใกลต้ ัว กิจกรรมตา่ งๆ พรอ้ มท้งั ใหเ้ หตุผลส้นั ๆ ประกอบ  พดู /เขยี นให้ขอ้ มูลเกยี่ วกับตนเอง เพอื่ น และสง่ิ แวดล้อมใกล้ตัว เขยี นแผนภาพ แผนผงั และ ตารางแสดงข้อมูลตา่ งๆ ที่ฟงั และอ่าน พูด/เขยี นแสดงความคดิ เหน็ เก่ยี วกบั เร่อื งต่างๆ ใกล้ตัว  ใช้ถ้อยคำ นำ้ เสียง และกริ ิยาท่าทางอยา่ งสภุ าพ เหมาะสม ตามมารยาทสงั คมและวัฒนธรรม ของเจ้าของภาษา ให้ข้อมลู เกยี่ วกบั เทศกาล/วันสำคัญ/งานฉลอง/ชวี ติ ความเปน็ อยขู่ องเจา้ ของภาษา เข้าร่วม กจิ กรรมทางภาษาและวัฒนธรรมตามความสนใจ  บอกความเหมือน/ความแตกตา่ งระหวา่ งการออกเสียงประโยคชนดิ ตา่ งๆ การใช้เครอื่ งหมาย วรรคตอน และการลำดับคำตามโครงสรา้ งประโยคของภาษาตา่ งประเทศและภาษาไทย เปรียบเทียบความ เหมอื น/ความตา่ งระหว่างเทศกาล งานฉลอง และประเพณขี องเจ้าของภาษากบั ของไทย  คน้ คว้า รวบรวมคำศัพทท์ ี่เกยี่ วข้องกับกลมุ่ สาระการเรยี นรู้อน่ื จากแหลง่ การเรียนรู้และนำเสนอ ดว้ ยการพดู /การเขียน  ใช้ภาษาสือ่ สารในสถานการณ์ตา่ งๆ ที่เกิดขน้ึ ในห้องเรียนและสถานศึกษา  ใชภ้ าษาตา่ งประเทศในการสืบค้นและรวบรวมข้อมลู ต่างๆ  มที ักษะการใชภ้ าษาต่างประเทศ (เน้นการฟัง – พูด – อ่าน – เขยี น) สื่อสารตาม หัวเรื่อง เกี่ยวกบั ตนเอง ครอบครัว โรงเรียน สง่ิ แวดล้อม อาหาร เคร่ืองด่ืม และเวลาวา่ งและนนั ทนาการ สขุ ภาพ

7 และสวัสดิการ การซอื้ – ขาย และลมฟา้ อากาศ ภายในวงคำศพั ทป์ ระมาณ 1,050 – 1,200 คำ (คำศัพท์ ท่เี ปน็ รปู ธรรม) ใชป้ ระโยคเดี่ยวและประโยคผสม(Compound Sentence) สอื่ ความหมายตามบรบิ ทตา่ งๆ สาระและมาตรฐานการเรยี นร้ภู าษาต่างประเทศ ระดบั ชั้นประถมศึกษาปที ่ี 6 ตวั ช้วี ัดและหนว่ ยการเรียนรู้ ชนั้ ประถมศกึ ษาปที ่ี 6 สาระท่ี 1 ภาษาเพอ่ื การสอ่ื สาร มาตรฐาน ต 1.1 เข้าใจและตคี วามเรอ่ื งทฟี่ ังและอา่ นจากส่ือประเภทตา่ งๆ และแสดงความ คดิ เห็นอย่างมเี หตุผล ช้นั ตัวชวี้ ดั สาระการเรียนรู้แกนกลาง ป.6 1. ปฏบิ ัตติ ามคำส่ัง คำขอร้อง และ  คำสงั่ คำขอร้อง ภาษาท่าทาง และ คำแนะนำ คำแนะนำท่ฟี ังและอ่าน ในการเล่นเกม การวาดภาพการทำอาหารและ เครอื่ งด่ืม และ การประดิษฐ์  คำสง่ั เชน่ Look at the…/here/ over there/Say it again./ Read and draw./Put a/an…in/on/ under a/an…/Don’t go over there etc.  คำขอรอ้ ง เช่น Please look up the meaning in a dictionary./Look up the meaning in a dictionary. please./Can/Could you help me. Please? etc.  คำแนะนำ เช่น You should read everyday./Think before you speak./  คำบอกลำดบั ขั้นตอน First,… Second,… Next,… Then,… Finally,… etc.

8 สาระที่ 1 ภาษาเพ่อื การสอ่ื สาร มาตรฐาน ต 1.1 เขา้ ใจและตีความเรื่องที่ฟงั และอา่ นจากสอื่ ประเภทตา่ งๆ และแสดงความ คดิ เหน็ อย่างมีเหตุผล ชนั้ ตัวชวี้ ัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง ป.6 2. อ่านออกเสียงข้อความ นิทาน  ขอ้ ความ นทิ าน และบทกลอน และบทกลอนสนั้ ๆ ถูกตอ้ งตาม  การใช้พจนานุกรม หลักการอ่าน  หลกั การอา่ นออกเสยี ง เชน่  การอ่านออกเสียงพยัญชนะตน้ คำ และ พยญั ชนะท้ายคำ  การออกเสยี งเนน้ หนัก – เบา ในคำและกลุ่มคำ  การออกเสียงตามระดบั เสียงสงู – ต่ำ ใน ประโยค  การออกเสยี งเช่ือมโยง (Linking sound) ใน ข้อความ  การออกเสียงบทกลอนตามจงั หวะ 3. เลอื ก/ระบปุ ระโยค หรอื ข้อความ  ประโยคหรอื ข้อความสัน้ ๆ สัญลักษณ์ ส้นั ๆ ตรงตามภาพ สัญลกั ษณ์ หรือ เครื่องหมายที่อา่ น เครื่องหมายและความหมายเก่ยี วกับตนเอง ครอบครัว โรงเรียน ส่ิงแวดล้อม อาหาร เครือ่ งดื่ม เวลาว่างและนันทนาการ สขุ ภาพและสวัสดกิ าร การซื้อ – ขาย และ ลมฟา้ อากาศ และเปน็ วงคำศัพทส์ ะสมประมาณ 1,050 – 1,200 คำ (คำศัพท์ทเ่ี ปน็ รปู ธรรมและนามธรรม)

9 สาระท่ี 1 ภาษาเพอ่ื การส่ือสาร มาตรฐาน ต 1.1 เข้าใจและตคี วามเรื่องท่ฟี งั และอ่านจากสือ่ ประเภทตา่ งๆ และแสดงความ คดิ เห็นอยา่ งมเี หตุผล ชนั้ ตวั ชี้วดั สาระการเรียนรู้แกนกลาง ป.6 4. บอกใจความสำคญั และตอบคำถาม  ประโยค บทสนทนา นทิ าน หรอื เรือ่ ง จากการฟังและอ่านบทสนทนา เลา่ คำถามเก่ียวกบั ใจความสำคัญของ นิทาน ง่ายๆ และเร่ืองเลา่ เร่อื ง เชน่ ใคร ทำอะไร ที่ไหน เม่อื ไร อย่างไร ทำไม  Yes/No Question เชน่ Is/Are/Can…? Yes,…is/are/can./ No,…isn’t/aren’t/can’t Do/Does/Can/Is/Are… ? Yes/No… etc.  Wh – Question เช่น Who is/are… ? He/She is…/ They are… What… ?/Where… ? It is …/They are… What…doing ? …is/am/are… etc.  Or – Question เช่น Is this/it a/an…or a/an… ? It is a/an… Is/Are/Was/Were/Did…or… ? etc.

10 สาระท่ี 1 ภาษาเพอื่ การสอ่ื สาร มาตรฐาน ต 1.2 มีทักษะการสอ่ื สารทางภาษาในการแลกเปลยี่ นขอ้ มูลขา่ วสาร แสดงความร้สู ึก และความคดิ เห็นอย่างมีประสทิ ธภิ าพ ชน้ั ตวั ชีว้ ัด สาระการเรยี นรู้แกนกลาง ป.6 1. พูด/เขียนโตต้ อบในการส่ือสาร  บทสนทนาท่ใี ช้ในการทักทาย กล่าว ระหวา่ งบุคคล ลา ขอบคณุ ขอโทษ ชมเชย การพดู แทรก อย่างสุภาพ ประโยค/ ข้อความท่ใี ช้แนะนำตนเอง เพอ่ื น และ บคุ คลใกลต้ ัวและสำนวน การตอบรับ เชน่ Hi/Hello/ Good morning/ Good afternoon/ Good evening/I am sorry./ How are you?/I’m fine./Very well./ Thank you. And you?/Hello. I can… Hello, I am… This is my sister. Her name is… Hello,…/ Nice to see you./ Nice to see you, too./Goodbye./Bye./ See you soon/later./Great!/Good./ Very good. Thank you./Thank you very much./You’re welcome./ It’s O.K./That’s O.K./ That’s all right./Not at all./ Don’t worry./Never mind./ Excuse me./ Excuse me, Sir./Madam. etc. 2. ใชค้ ำส่งั คำขอร้อง คำขออนญุ าต  คำส่งั คำขอรอ้ ง คำขออนุญาต และให้ และให้คำแนะนำ คำแนะนำท่มี ี 2 – 3 ขนั้ ตอน

11 สาระที่ 1 ภาษาเพอ่ื การสือ่ สาร มาตรฐาน ต 1.2 มที กั ษะการสือ่ สารทางภาษาในการแลกเปลี่ยนข้อมูลขา่ วสาร แสดงความรสู้ กึ และความคดิ เห็นอยา่ งมีประสิทธภิ าพ ชั้น ตัวชว้ี ดั สาระการเรยี นร้แู กนกลาง ป.6 3. พดู /เขียน แสดงความต้องการ  คำศัพท์ สำนวนภาษา และประโยค ที่ใชบ้ อก ขอความชว่ ยเหลือ ตอบรับ และ ปฏิเสธการใหค้ วามชว่ ยเหลือใน ความตอ้ งการ ขอความชว่ ยเหลือ สถานการณ์ง่ายๆ ตอบรบั และปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือ เชน่ Please…/May…?/I need…/Help me!/ Can/Could… ?/ Yes,…/No,… etc. 4. พดู และเขยี นเพ่ือขอและใหข้ ้อมลู  คำศัพท์ สำนวนภาษา และประโยค ท่ีใชข้ อ เกี่ยวกับตนเอง เพื่อน ครอบครัว และให้ข้อมลู เก่ยี วกับตนเอง เพือ่ น ครอบครวั และเรือ่ งใกล้ตวั และเร่อื งใกลต้ ัว เช่น What do you do? I’m a/an… What is she/he? …is a/an(อาชพี ) How old/tall… ? I am… Is/Are…going to…or… ? … is/are going to… etc.

12 สาระที่ 1 ภาษาเพื่อการสื่อสาร มาตรฐาน ต 1.2 มีทักษะการส่อื สารทางภาษาในการแลกเปลยี่ นขอ้ มลู ข่าวสาร แสดงความร้สู ึก และความคดิ เห็นอย่างมีประสทิ ธิภาพ ชั้น ตวั ชวี้ ัด สาระการเรียนรแู้ กนกลาง ป.6 5. พดู /เขียนแสดงความรู้สกึ ของ  คำและประโยคทใ่ี ช้แสดงความรู้สึกและการให้ ตนเอง เกีย่ วกบั เรื่องต่างๆ ใกล้ เหตุผลประกอบ เชน่ ชอบ ไม่ชอบ ดีใจ ตวั กจิ กรรมต่างๆ พร้อมทง้ั ให้ เสยี ใจ มีความสุข เศร้า หวิ รสชาติ สวย นา่ เหตุผลสัน้ ๆ ประกอบ เกลยี ด เสยี งดงั ดี ไม่ดี เช่น I’m…/He/She/It is…/You/We/ They are… I/You/We/They like…/He/ She likes… because… I/You/We/They love…/ He/ She loves… because… I/You/We/They don’t like…/love/ feel… because… He/She doesn’t like…/love/ feel… because… I/You/We/They feel… because… etc.

13 สาระท่ี 1 ภาษาเพอ่ื การสื่อสาร มาตรฐาน ต 1.3 นำเสนอข้อมลู ข่าวสาร ความคดิ รวบยอด และความคิดเห็นในเรอ่ื งต่างๆ โดย การพดู และการเขยี น ช้ัน ตัวชว้ี ดั สาระการเรยี นรูแ้ กนกลาง ป.6 1. พดู /เขียน ใหข้ ้อมลู เก่ยี วกับตนเอง  ประโยคและขอ้ ความทใ่ี ชใ้ นการใหข้ ้อมูล เพือ่ น และส่ิงแวดลอ้ มใกล้ตัว เกย่ี วกบั ตนเอง กิจวตั รประจำวัน เพอื่ น ส่ิงแวดล้อมใกลต้ ัว เชน่ ข้อมลู ส่วนบคุ คล ส่งิ ตา่ งๆ จำนวน 1-1,000 ลำดบั ที่ วัน เดอื น ปี รปู ทรง ตำแหนง่ ของสิ่งตา่ งๆ ทศิ ทางง่ายๆ สภาพดินฟ้าอากาศ อารมณ์ ความรสู้ ึก  เคร่ืองหมายวรรคตอน 2. เขียนภาพ แผนผงั แผนภมู ิ และ  คำ กลุม่ คำ และประโยคที่มีความหมาย ตารางแสดงข้อมลู ตา่ งๆ ทีฟ่ ังหรือ สมั พันธ์กบั ภาพ แผนผงั แผนภูมิ และตาราง อา่ น 3. พดู /เขยี น แสดงความคิดเห็น  ประโยคทีใ่ ชใ้ นการแสดงความคิดเห็น เกยี่ วกบั เรอื่ งตา่ งๆ ใกลต้ วั

14 สาระที่ 2 ภาษาและวัฒนธรรม มาตรฐาน ต 2.1 เขา้ ใจความสมั พนั ธ์ระหว่างภาษากับวฒั นธรรมของเจา้ ของภาษา และ นำไปใชไ้ ดอ้ ย่างเหมาะสมกับกาลเทศะ ช้ัน ตวั ชีว้ ดั สาระการเรยี นรแู้ กนกลาง ป.6 1. ใช้ถอ้ ยคำ นำ้ เสยี ง และกิริยา  การใชถ้ ้อยคำ น้ำเสยี ง และกริ ยิ าทา่ ทาง ตาม ทา่ ทางอย่างสภุ าพ เหมาะสม ตาม มารยาทสงั คมและวัฒนธรรมของเจา้ ของภาษา มารยาทสังคมและวฒั นธรรมของ เชน่ การขอบคุณ ขอโทษ การใช้สีหนา้ ท่าทาง เจ้าของภาษา ประกอบการพดู ขณะแนะนำตนเอง การแสดง ความร้สู ึกชอบ/ ไมช่ อบ การกล่าวอวยพร การแสดงอาการตอบรบั หรือปฏเิ สธ 2. ให้ขอ้ มูลเกี่ยวกับเทศกาล/วัน  ขอ้ มลู และความสำคัญของเทศกาล/ วันสำคัญ/ สำคัญ/งานฉลอง/ชวี ติ ความเป็นอยู่ งานฉลอง และ ชีวิตความเป็นอยู่ของเจ้าของ ของเจา้ ของภาษา ภาษา เช่น วันครสิ ตม์ าส วันข้ึนปใี หม่ วันวาเลน ไทน์ เครอ่ื งแตง่ กาย ฤดูกาล อาหาร เครือ่ งดื่ม 3. เขา้ รว่ มกิจกรรมทางภาษาและ  กิจกรรมทางภาษาและวฒั นธรรม เชน่ การเล่น วัฒนธรรมตามความสนใจ เกม การร้องเพลง การเลา่ นิทาน บทบาทสมมุติ วนั ขอบคุณพระเจา้ วนั คริสตม์ าส วนั ขึ้นปใี หม่ วนั วาเลนไทน์

15 สาระที่ 2 ภาษาและวฒั นธรรม มาตรฐาน ต 2.2 เข้าใจความเหมอื นและความแตกต่างระหว่างภาษาและวฒั นธรรมของเจา้ ของ ภาษากับภาษาและวฒั นธรรมไทย และนำมาใชอ้ ยา่ งถูกตอ้ งและเหมาะสม ชน้ั ตัวช้ีวดั สาระการเรียนร้แู กนกลาง ป.6 1. บอกความเหมือน/ความแตกตา่ ง  ความเหมือน/ความแตกตา่ งระหว่าง การออก ระหวา่ งการออกเสียงประโยคชนดิ เสียงประโยคชนิดต่างๆ ของเจา้ ของภาษา ตา่ งๆ การใชเ้ คร่ืองหมายวรรคตอน กบั ของไทย และการลำดับคำตามโครงสร้าง ประโยคของภาษาตา่ งประเทศและ  ใชเ้ ครอื่ งหมายวรรคตอน และ การ ภาษาไทย ลำดบั คำตามโครงสร้างประโยคของ ภาษาต่างประเทศและภาษาไทย 2. เปรยี บเทียบความเหมือน/ ความแตกต่างระหวา่ งเทศกาล  การเปรียบเทยี บความเหมือน/ ความ งานฉลองและประเพณขี องเจ้าของ แตกตา่ งระหวา่ งเทศกาล งานฉลองและ ภาษากบั ของไทย ประเพณขี อง เจา้ ของภาษากับของ ไทย สาระท่ี 3 ภาษากบั ความสัมพันธ์กับกลุม่ สาระการเรยี นรอู้ ืน่ มาตรฐาน ต 3.1 ใชภ้ าษาต่างประเทศในการเช่ือมโยงความรู้กบั กลุม่ สาระการเรียนรอู้ ืน่ และ เป็นพื้นฐานในการพฒั นา แสวงหาความรู้ และเปิดโลกทศั นข์ องตน ชัน้ ตวั ช้วี ดั สาระการเรยี นรแู้ กนกลาง ป.6 1. คน้ ควา้ รวบรวมคำศัพท์ท่ีเกย่ี วขอ้ ง  การค้นควา้ การรวบรวมและนำเสนอ กับกลุ่มสาระการเรยี นรู้อน่ื จากแหล่ง คำศัพทท์ ี่เกีย่ วขอ้ งกบั กลุ่มสาระ การ การเรยี นรู้ และนำเสนอด้วยการพดู / เรยี นรูอ้ ื่น การเขยี น

16 สาระที่ 4 ภาษากบั ความสมั พนั ธก์ ับชมุ ชนและโลก มาตรฐาน ต 4.1 ใชภ้ าษาต่างประเทศในสถานการณต์ ่างๆ ท้ังในสถานศกึ ษา ชุมชน และสงั คม ชัน้ ตวั ชี้วดั สาระการเรยี นรู้แกนกลาง ป.6 1. ใช้ภาษาสอื่ สารในสถานการณต์ า่ งๆ ท่ี  การใชภ้ าษาส่ือสารในสถานการณ์ต่างๆ ที่ เกิดขึ้นในห้องเรียนและสถานศึกษา เกดิ ขึน้ ในห้องเรียน และสถานศึกษา มาตรฐาน ต 4.2 ใชภ้ าษาต่างประเทศเป็นเครื่องมือพ้ืนฐานในการศึกษาตอ่ การประกอบอาชพี และการแลกเปลีย่ นเรียนร้กู บั สงั คมโลก ช้นั ตัวชี้วัด สาระการเรยี นรู้แกนกลาง ป.6 1. ใช้ภาษาตา่ งประเทศในการสบื ค้น  การใชภ้ าษาต่างประเทศในการสบื ค้น และ และรวบรวมข้อมูลตา่ งๆ รวบรวมคำศพั ท์ทเี่ กย่ี วข้องใกลต้ ัวจากสอื่ และ แหล่งการเรยี นรตู้ ่างๆ 2. แนวคิดเกี่ยวกับทฤษฎีการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (Communication Language Teaching) 2.1 ความหมายของการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร นักภาษาศาสตรไ์ ด้ใหค้ วามหมายของการสอนภาษาเพ่ือการสื่อสารไว้ ดังน้ี สุมิตรา อังวัฒนกุล (2537 : 107) กล่าวว่า การสอนภาษาเพื่อการสื่อสารเกิดจากแนวคิดที่เชื่อว่า ภาษาไม่ได้เป็นเพียงระบบไวยากรณ์ที่ประกอบด้วยศัพท์ เสียง โครงสร้างเท่านั้น แต่ภาษา คือ ระบบที่ใช้ใน การสื่อความหมาย ดงั นัน้ การสอนภาษาเพ่ือส่ือสารจึงควรให้ผ้เู รียนสามารถนำภาษาไปใช้ในการสือ่ สารหรือส่ือ ความหมายได้และใช้ภาษาไดอ้ ย่างเหมาะสมกบั บริบท กุลยา เบญจกาญจน์ (2530 : 22) กล่าวว่า แนวการสอนเพื่อการสื่อสาร หมายถึง การสอนให้ผู้เรียน เรียนรู้ภาษาโดยใช้ภาษาได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์มากกว่ าเรียนเพื่อสร้างประโยคที่ถูกต้องทาง ไวยากรณเ์ ท่านน้ั Littlewood (1981 : 17) กล่าวว่า การสอนภาษาเพื่อการสื่อสารควรเน้นเรื่อง หน้าที่ของภาษา มากกว่ารูปแบบของภาษา การเรียนภาษาไม่ได้เรียนแต่เฉพาะกฎเกณฑ์ไวยากรณ์เท่านั้น แต่ผู้เรียนจะต้องมี ความสามารถในการสือ่ ความหมายให้ผู้อ่นื เขา้ ใจได้

17 สรุปไดว้ ่า การสอนภาษาเพอื่ การส่ือสาร (Communication Language Teaching) หมายถงึ การส่ือ ความหมายให้ผ้อู ื่นเขา้ ใจ เหมาะสมตามสถานการณ์ และบริบท ไม่ใชเ่ พียงยึดตามหลกั ไวยากรณ์ที่ถูกต้องเพียง เท่าน้ัน 2.2 แนวคดิ พื้นฐานของการสอนภาษาเพ่ือการสอื่ สาร ปัจจุบันการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารมีบทบาทอย่างมาก ในการจัดการเรียนการสอน การสอนภาษา เพื่อการสื่อสารมุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งผู้เรียนต้องมีความรู้ในเรื่อง กฎเกณฑ์ทางภาษา และนอกเหนือจากกฎเกณฑ์ทางภาษา เช่น บทบาททางสังคม เจตคติของ คู่สนทนา โดย สื่อความหมายให้ผ้อู ่ืนเข้าใจ Littlewood (1984 : 22) ใหค้ วามเห็นว่าแนวความคิดของการสอนภาษา เพอื่ การสื่อสารนัน้ เนน้ การ ท่ผี ู้เรยี นสามารถฝกึ ฝนสิ่งทต่ี นเองไดร้ ับกับสถานการณท์ ี่ต้องสื่อสารโต้ตอบจริง ๆ Hymes (1981: 5) กล่าวว่า ผู้เรียนที่เรียนภาษาต่างประเทศเป็นภาษาที่สองนั้น ควรเน้นที่ ประสทิ ธิภาพในการส่อื สารมากกว่า โดยเฉพาะอยา่ งย่งิ การใช้ภาษาไดอ้ ยา่ งเหมาะสมกบั สภาพสังคม สรุปได้ว่า แนวคิดพื้นฐานของการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารนั้นเน้นให้ผู้เรียนฝึกการใช้สื่อสารให้ เหมาะสมตามสถานการณ์ และบริบท 2.3 หลักการสอนและจัดกจิ กรรมตามแนวคิดภาษาเพอื่ การสือ่ สาร หลักการสอนตามแนวคดิ ภาษาเพอื่ การสอ่ื สาร การสอนภาษาเพ่อื การส่ือสารมหี ลกั สำคัญอยหู่ ลายประการ ผู้เชีย่ วชาญทางภาษา ได้กลา่ วถึงหลกั การ จดั กจิ กรรมการเรยี นรทู้ างภาษาเพือ่ การสอื่ สารไว้ ดังน้ี วิจติ รา การกลางและคณะ (2545 : 2) กลา่ วถงึ หลกั การสอนภาษาเพ่อื การส่อื สาร ดังน้ี ด้านการใช้ภาษาเพอ่ื การสอ่ื สารเป็นเป้าหมายสำคญั Finocchiaro and Bonomo(1989 : 65) กล่าวถึงหลักการสอนภาษาเพ่อื การส่ือสาร ดังนี้ 1. วางแผนในการจดั ประสบการณก์ ารเรียนการสอนแกผ่ ้เู รียนอย่างรอบคอบ 2. จดั สถานการณ์และการใชอ้ ปุ กรณเ์ พ่ือช่วยให้ผูเ้ รียนเขา้ ใจความหมายของเร่ืองท่นี ำเสนอ 3. จัดบทเรียนใหม้ กี ารฝกึ ใชก้ จิ กรรมเพ่ือการสอื่ สาร 4. ใช้ภาษาทช่ี ว่ ยใหผ้ เู้ รียนเข้าใจขอ้ มูลไดช้ ัดเจน 5. รวู้ ิธีการฝึกนักเรยี นพรอ้ มกนั ทัง้ ชัน้ เป็นรายกลุ่ม และรายบุคคล 6. มคี วามชำนาญในการสอน 7. จดั หาบทเรยี นทห่ี ลากหลายรูปแบบ เพื่อพัฒนาความสามารถในการส่ือสาร 8. จดั เตรียมอุปกรณ์ เพือ่ ความคล่องตวั ในการจดั กจิ กรรมในห้องเรียน 9. สง่ เสรมิ ให้นกั เรียนเขา้ ใจวฒั นธรรมของเจ้าของภาษาจากการจดั กจิ กรรมและบทสนทนา 10. เลอื กโสตทัศนูปกรณอ์ ยา่ งมีประสิทธภิ าพ 11. จดั ให้มกี ารประเมนิ ผล เพื่อทราบผลสัมฤทธขิ์ องผูเ้ รียน และประสิทธภิ าพในการสอน

18 สรุปได้ว่า หลักการสอนตามแนวคิดภาษาเพื่อการสื่อสารมีหลักการสำคัญ ได้แก่ การสอนภาษาให้ ผู้เรียนต้องเป็นการเรียนรู้อย่างมีความหมาย ให้ความสำคัญกับบริบทและสถานการณ์จริง ใช้วิธีการ หลากหลาย ยืดหยุ่นเหมาะสมกบั ผู้เรยี น และกระตุ้นผเู้ รยี นใหไ้ ด้ใชภ้ าษาในสื่อสาร หลักการจดั กิจกรรมตามแนวคดิ ภาษาเพอื่ การสอื่ สาร สมถวิล ธนโสภณ (2540 : 12) แบง่ กจิ กรรมสอนภาษาเพื่อการสอื่ สารเป็น 2 กิจกรรมหลัก คอื 1. กิจกรรมเพื่อการสื่อสารตามจุดประสงค์และสถานการณ์การใช้ภาษา ( Functional Communication Activities) กิจกรรมนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาเพื่อการสื่อสารที่จำเป็นใน การส่อื สารให้บรรลุตามจดุ ประสงค์ โดยผูส้ อนกำหนดสถานการณ์ให้ผเู้ รยี นใชภ้ าษา 2. กิจกรรมการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารที่เน้นพัฒนาทักษะ หมายถึง กิจกรรมที่ฝึกให้ผู้เรียนมี ความสามารถในการใช้ภาษาในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสมและถูกต้องเป็นที่ยอมรับของสังคมที่ใช้ ภาษาน้นั ๆ ตามจุดหมายหลกั ของการใช้ภาษาเพื่อการสอ่ื สารมงุ่ พัฒนาทักษะทั้ง 4 ดา้ น โดยผเู้ รยี นมีโอกาสได้ ทำกิจกรรมอย่างเสรี ผู้สอนเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือในการใช้ภาษา เช่น การสนทนาอภิปรายโต้วาที การ เลียนแบบ การแสดงบทบาทสมมุติ เปน็ ตน้ สุภัทรา อักษรานุเคราะห์ (2530 : 15) กล่าวว่า หลักการจัดกิจกรรมเพื่อการสื่อสารผู้สอนควรจัด กิจกรรมการสอนภาษาเพอ่ื การส่ือสาร ดว้ ยวิธกี าร ดงั นี้ 1. ผู้สอนนำเหตกุ ารณน์ อกหอ้ งเรียนเข้าไปสู่ช้ันเรียนโดยใช้บทบาทสมมุติ (Role Play) การเลียนแบบ (Simulation) และกิจกรรมการแก้ปัญหา (Problem Solving Activity) 2. ผู้สอนใช้ภาษาที่เป็นสภาพจริง (Authentic Language) ใช้ภาษาที่เป็นธรรมชาติเป็นภาษาที่ใช้ได้ ทงั้ ใน และนอกห้องเรยี นใหม้ เี น้ือหาทเี่ ป็นจรงิ ในชวี ิตประจำวนั 3. ผู้สอนเน้นความหมายของภาษาเพื่อการสื่อสารเพื่อช่วยให้ผู้เรียนคาดเดา ผู้พูดได้ ผู้เรียนเลือก เน้อื หา สอดคล้องกับวิชาที่สอนโดยยึดจุดประสงค์การสอนเปน็ สำคัญ 4. ผูส้ อนใหโ้ อกาสผเู้ รยี นแสดงความรสู้ ึก ความคดิ และทศั นคติ แลกเปลย่ี นขอ้ มูล 5. ผู้สอนกระตุ้น และส่งเสริมให้ผู้เรียนร่วมมือ และทำงานเป็นกลุ่ม เปิดโอกาสให้ผู้เรียนแต่ละคนมี สว่ นร่วมในกิจกรรม โดยการสรา้ งแรงจูงใจ 6. ผู้สอนออกแบบกิจกรรมท่ีเปดิ โอกาสให้ผ้เู รียนไดใ้ ชภ้ าษาในการส่อื สารไดค้ รอบคลมุ สรปุ ไดว้ ่า หลักการจดั กจิ กรรมตามแนวคิดภาษาเพื่อการส่ือสาร คือ การจัดกจิ กรรมทางภาษาท่ีมุ่งให้ ผู้เรยี นใช้ภาษาในสถานการณ์จรงิ เปน็ การเรียนรู้อยา่ งมีความหมาย 2.4 ขั้นตอนการสอนภาษาเพื่อการสอื่ สาร กระบวนการสอนภาษาเพ่อื การสอื่ สาร 1.ขั้นนำเข้าสู่บทเรยี น (Warm up/Lead in) มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้นักเรียนเกิดความพร้อมและอยากรู้ อยากเรียนในบทใหม่ เนื้อหาจะเชื่อมโยงไปสู่สาระสำคัญของบทนั้นๆ เมื่อครูผู้สอนเห็นว่านักเรียนมีความ

19 พร้อม เกิดความสนุก และสนใจอยากเรียนแล้ว ก็เริ่มเรียนเนื้อหาต่อไป กิจกรรมที่กำหนดไว้ในขั้นนี้มี หลากหลาย เช่น เลน่ เกม ปรศิ นาคำทาย เพื่อทบทวนความรทู้ เ่ี รยี นมาแลว้ 2.ขั้นนำเสนอ (Presentation) ในขั้นนี้ครูจะให้ข้อมูลทางภาษาแก่นักเรียน มีการน าเสนอศัพท์ใหม่ เนื้อหาใหม่ให้เข้าใจทั้งรูปแบบและความหมาย กิจกรรมที่กำหนดไว้ประกอบด้วยการให้ฟังเนื้อหาใหม่ ให้ นักเรียนฝึกพูดตาม ในขั้นนี้ครูเป็นผู้ให้ความรู้ทางภาษาที่ถูกต้อง และเป็นแบบอย่างที่ถูกต้องในการออกเสียง คือ Informant (ผูใ้ หค้ วามรู)้ รูปแบบของภาษาจงึ เนน้ ทีค่ วามถูกต้อง (Accuracy) เป็นหลกั 3.ขั้นฝึก (Practice) ในขั้นนี้นักเรียนจะได้ฝึกใช้ภาษาที่เรียนมาแล้วในขั้นน าเสนอ โดยมี วัตถปุ ระสงค์ ใหน้ ักเรยี นใชภ้ าษาได้ถูกต้อง ขณะเดียวกนั ก็เน้นเรื่องการใช้ภาษาให้คล่องแคลว่ (fluency) การ ฝึกอาจจะฝึก ทั้งชั้น เป็นกลุ่ม เป็นคู่ หรือรายบุคคล ขั้นนี้เป็นโอกาสที่ครูจะแก้ไขข้อผิดพลาดของนักเรียนใน การใช้ภาษา ซ่งึ การแก้ไขข้อผดิ พลาดนน้ั ควรท าหลงั การฝกึ หากท าระหวา่ งท่ีนักเรียนก าลังลองผิดลองถูกอยู่ ความมัน่ ใจทจี่ ะใช้ ภาษาให้คลอ่ งแคล่วอาจลดลงได้ กจิ กรรมท่กี าหนดไวใ้ นคู่มือครแู ละแผนการจัดการเรียนรู้ มีท้งั ในลกั ษณะท่ี กล่าวมานี้ และในลกั ษณะท่เี ปดิ โอกาสให้นักเรยี นได้ฝึกอย่างอสิ ระ Learning by Doing 4.ขั้นการใช้ภาษา (Production) มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้นักเรียนนำคำหรือประโยคที่ฝึกมาแล้วมาใช้ใน สถานการณ์ต่างๆ ในรูปแบบกิจกรรมหลากหลาย เพื่อให้เกิดความคล่องแคล่ว (fluency) และเกิดความ สนุกสนาน ในข้ันนเี้ ปน็ ขน้ั ท่เี น้นนักเรยี นเป็นผู้ ทำกจิ กรรม ครคู อยให้ความช่วยเหลือ ถา้ นกั เรยี นผิดพลาด อย่า ขัดจังหวะ ให้ปล่อยไปก่อน เพื่อให้นักเรียนรู้สึกสบายใจกิจกรรมที่กำหนดไว้มีหลากหลาย เช่น การเล่นเกม การทำชน้ิ งาน การทำแบบฝกึ การนำเสนอผลงาน 5.ขั้นสรุป (Wrap up) เป็นขั้นสุดท้ายของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในแต่ละชั่วโมง จุดประสงค์คือ เพื่อสรุปสิ่งที่ได้เรยี นแล้ว กิจกรรมที่เสนอแนะไว้อาจจะเป็นการน าเสนอรายงานของกลุ่ม ทำ แบบฝกึ หดั เพ่ือสรปุ ความรู้ หรือเลน่ เกมเพ่ือทดสอบสง่ิ ทเ่ี รยี นมาแลว้ Scott (1981 : 72) ไดแ้ บ่งขัน้ ตอนในการสอนภาษาเพ่อื การสื่อสารเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1. การต้งั จดุ ประสงค์ (Setting objective) เป็นการตั้งจุดประสงค์ปลายทางและนำทาง 2. การนำเสนอเน้ือหา (Presentation) ผู้สอนตอ้ งให้ความชัดเจน และกระจ่างในเร่ืองท่ีสอน 3. การฝกึ (Practice) ฝึกภาษาทส่ี อนไปแล้วในขนั้ ทสี่ อง อาจฝกึ เป็นรายบคุ คลหรอื กลุ่ม 4. การถ่ายโอน (Transfer) เป็นการเลือกฝึกการใช้ภาษาผู้เรียนอาจมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันโดยใช้ ภาษาที่เรียนมาแล้วอย่างเสรี เช่น การแสดงบทบาทสมมุติ เล่นเกม เป็นต้น เพื่อเปิดโอกาสให้ใช้ภาษาสื่อสาร ไดเ้ ต็มท่ี หรืออาจจดั ให้ผเู้ รียนนำภาษาไปใช้ ในสถานการณต่าง ๆ สรุป ขน้ั ตอนการสอนภาษาเพอื่ การสือ่ สาร ประกอบไปด้วย 5 ข้นั ตอน คือ 1. การเตรียมความพร้อม (Warm up) 2. การนำเสนอเน้ือหา (Presentation) 3. การฝกึ ปฏบิ ัติ (Practice) 4. การใชภ้ าษา (Production) 5. การสรปุ บทเรียน (Wrap up)

20 3.การเรยี นการสอนแบบ Active Learning 3.1 แนวคิดและทฤษฎขี องการจดั การเรยี นร้เู ชงิ รกุ (Active Learning) การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) เป็นกระบวนการเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้ ผู้เรียนมีส่วน ร่วมในชั้นเรียน สร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูผู้สอนกับผู้เรียน มุ่งให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติ โดยมี ครูเป็น ผู้อำนวย ความสะดวก (Facilitator) สร้างแรงบนั ดาลใจ ให้คำปรกึ ษา ดแู ล แนะนำ ทำหน้าที่ เปน็ โคช้ และพีเ่ ลี้ยง (Coach & Mentor) แสวงหาเทคนิควิธีการจัดการเรียนรู้ และแหล่งเรียนรู้ที่ หลากหลายให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมี ความหมาย (Meaningful learning) ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ได้ มี ความข้าใจในตนเอง ใช้สติปัญญา คิด วิเคราะห์ สร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรมที่บ่งบอกถึงการมีสมรรถนะ สำคัญในศตวรรษที่ 21 มีทักษะวิชาการ ทักษะชีวิต และทักษะวิชาชีพ บรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ตาม ระดับช่วงวัย (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ข้นั พืน้ ฐาน, 2562: 4) สุระ บรรจงจิตร (2551: 35 – 37) ได้กล่าวถึงทฤษฎีการเรียนรูกับรูปแบบการเรียนการสอน แบบ Active Learning ไว้ว่า ศาสตร์เกี่ยวกับการเรียนรู้ ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องควบคู่ไปกับการพัฒนา ด้าน วทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี โดยในช่วงแรกของการศึกษาเก่ียวกับพฤติกรรมการเรียนรู้ของมนุษย์ เป็นการศึกษา ในเชิงพฤติกรรมศาสตร์ โดยนักพฤติกรรมศาสตร์ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ได้ให้นิยาม การเรียนรู้ว่าเป็น “กระบวน การ ที่เชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า (Stimuli) กับการตอบสนอง (Responses) โดยแรงจูงใจให้เกิดการ เรยี นรู้มักมีทีม่ าจากความต้องการพ้ืนฐาน” เชน การเรยี นรทู้ จ่ี ะหาอาหารมาจาก ส่งิ เร้าคอื ความหวิ เปน็ ตน้ อย่างไรก็ดีนิยามของการเรียนรู้ในเชิงพฤติกรรมศาสตร์ยังไม่สามารถอธิบาย องค์ประกอบอื่นๆ ที่ เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ได้ เช่น การทำความเข้าใจและการใช้เหตุผล เป็นต้น ต่อมา เมื่อการพัฒนาด้าน วิทยาศาสตร์การรู้คิด (Cognitive Science) ในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 จึงได้มี การศึกษาเกี่ยวกับการเรียนรู้ใน เชิงสหวิทยาการ (Multidisciplinary) มากยิ่งขึ้น โดยรวมเอาความรู้ใน สาขาวิชาต่างๆ เช่น มานุษยวิทยา จิตวิทยา ประสาทวิทยา และวิทยาการคอมพิวเตอร์ มาประยุกต์เพื่อ ศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับ กระบวนการเรียนรู้ของมนุษย์ โดยการเรียนรู้ในมุมมองของิทยาศาสตร์ การรู้คิดมีความหมายที่ครอบคลุม มากกว่านิยามเดิม กล่าวคือ เป็นความสามารถในการ จดจำ การทำความเข้าใจ การจัดโครงสร้างความรู้ และ การถ่ายทอดเพื่อนำความรู้ที่มีไปใชใ้ นการ แก้ปัญหา อย่างไรก็ดีศาสตร์เกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์ยังไม่ได้ข้อ ยุตแิ ละยังคงอยใู่ นระหวา่ ง การศกึ ษาค้นควา้ ของนกั วทิ ยาศาสตร์อยา่ งต่อเนื่อง เพ่ือใหเ้ กิดความเข้าใจทีล่ กึ ซึ้งและ ชัดเจนมากยิง่ ขึ้น จากความก้าวหน้าดา้ นวทิ ยาศาสตรก์ ารร้คู ดิ ในปัจจบุ ัน นักวิทยาศาสตร์ไดแ้ บง่ ประเภทของ ความจำท่ี เกี่ยวข้องกับการเรียนรูอ้ อกเป็นสองประเภทคือ ความจำระยะสั้น (Working Memory) และ ความจำระยะยาว (Long-Term Memory) โดยความจำระยะส้นั คอื ส่วนของความจำทใี่ ช้ในการคดิ ประมวลผล จากการศึกษาของ Peterson and Peterson และ Miller พบวา่ ความจำระยะส้นั สามารถ เก็บขอ้ มูลได้ไมเ่ กนิ 7 ข้อมลู และขอ้ มูล ในความจำระยะสั้นจะถูกลืมไปภายใน 30 วินาทีหากไม่มีการ ทบทวน ส่วนความจำระยะยาวคือ ส่วนของ ความจำที่เก็บข้อมูลจำนวนมาก ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มีอิทธิพล สำคัญต่อการตัดสินใจในชีวิตประจำวันของมนุษย์ การศึกษาเกี่ยวกับการเรียนรู้และประเภทของ ความจำดังที่กล่าวมาข้างต้น ได้นำไปสู่ความเข้าใจในความ

21 แตกต่างระหว่างผู้เริ่มต้น (Novice) กับ ผู้เชี่ยวชาญ (Expert) โดยคณะทำงานเพื่อพัฒนาวิทยาศาสตร์ในการ เรียนรู้ (Committee on Developments in the Science of Learning) ของสภาการวิจัยแห่งชาติของ สหรัฐอเมริกา ได้ให้ นิยามของผูเ้ ชีย่ วชาญว่าเปน็ “ผู้ที่สามารถคดิ ได้อย่างมีประสิทธิผลเกี่ยวกับการแกป้ ญั หาใน สาขาความ ชำนาญนั้น ซึ่งการศึกษาความแตกต่างระหว่างผู้เริ่มต้นกบั ผู้เชี่ยวชาญนัน้ มีวัตถุประสงคเ์ พื่อนำไปสู่ การ พฒั นาความสามารถในการคิดและแกป้ ัญหา ซงึ่ เปน็ หนง่ึ ในองคป์ ระกอบของการเรยี นรู้ โดยจาก การศึกษา พบว่า ผู้เชี่ยวชาญมีความแตกต่างจากผู้เริ่มต้นตรงที่ผู้เชี่ยวชาญมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสาขา ความเชี่ยวชาญอยู่ ภายในความจำระยะยาวมากเพียงพอที่จะสามารถแยกแยะรูปแบบของข้อมูลที่สำคัญ ได้ นอกจากน้ีผู้เชี่ยวชาญ ยังมแี นวโน้มในการจัดเกบ็ ความรู้ทีด่ โี ดยจดั ข้อมูลที่มีลักษณะเป็นข้อมูล ปลีกยอ่ ยไวร้ อบข้อมลู ที่เป็นหัวข้อสำคัญ ซึ่งการจัดเก็บข้อมูลดังกล่าวช่วยให้ผู้เชี่ยวชาญสามารถดึงข้อมูล่ ที่เกี่ยวข้องออกมาจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ใน ความจำระยะยาวเพือ่ นมาใช้งานได้อยา่ งรวดเรว็ ทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้ที่เกี่ยวของกับวิทยาศาสตร์การรู้คิดอีกทฤษฎีหนึ่งคือ ทฤษฎีการจัดหมวดหมู่ วัตถุประสงค์ของการศึกษา (Taxonomy of Educational Objectives) ซึ่งทฤษฎีนี้จัดแบ่ง หมวดหมู่ วัตถุประสงค์ของการศึกษาในด้านการรู้คิด (Cognitive Domain) ไว้ 6 ระดบั โดยวตั ถปุ ระสงค์ ใน 3 ระดับแรก ประกอบด้วยวัตถปุ ระสงคขน้ั ตน ดังน้ี 1. ความรูห้ มายถึง ความสามารถในการจดจําขอ้ เท็จจริง แนวคดิ และหลักการ ด้วยการ ท่องจาํ 2. ความเข้าใจ หมายถึง ความสามารถในการตีความและทําความเข้าใจความหมายของสิ่ง ที่จําได้ใน มมุ มองของผ้เู รียนเอง 3. การนําไปใช้ หมายถึง การนําความรู้และความเขา้ ใจทมี่ ไี ปปรบั ใช้ในชวี ติ ประจาํ วนั จะเห็นได้ว่าวัตถุประสงค์แต่ละระดับเป็นพื้นฐานที่จะนําไปสู่วัตถุประสงค์ในระดับต่อๆ ไป โดย วัตถุประสงค์ขั้นต้น 3 ระดับแรกนี้เป็นพื้นฐานที่จําเป็นสําหรับวัตถุประสงค์ของการศึกษาในขั้น สูงอีก 3 ระดับ ดังนี้ 4. การวิเคราะห์ หมายถึง ความสามารถในการแยกองค์ประกอบย่อยของความรู้ท่ีมี และทาํ ความเข้าใจ แตล่ ะองค์ประกอบน้นั ได้ 5. การประเมนิ ค่า หมายถงึ ความสามารถในการประเมินผลงานท่ีเกี่ยวของกับความรู้ที่มี ดว้ ยเกณฑก์ าร ตดั สนิ ท่เี หมาะสม 6. การสงั เคราะห์ หมายถงึ ความสามารถในการสรางสรรคความรูใ้ หมจ่ ากพืน้ ฐานของความรู้ เดิมที่มีอยู ซงึ่ ในเอกสารตนฉบบั เดิมของ Bloom จัดการสงั เคราะห์ไวท้ รี่ ะดับที่ 5 แต่นกั วิทยาศาสตร์ การรคู้ ิดสมัยใหม่นิยม ทจ่ี ะจัดการสงั เคราะหเ์ ปน็ วตั ถุประสงคร์ ะดบั สูงสดุ เนือ่ งจากในปจั จุบนั เปนท่ี ยอมรบั กันวาการสังเคราะห์สิ่งใหม่ เป็นงานที่ยากกวาการประเมินคาสง่ิ ทีม่ ีอย่แู ล้ว จากความกาวหนาดานวิทยาศาสตรก์ ารรู้คิด ทาํ ให้เกิดแนวความคดิ ในการเรยี นรูแ้ ขนงใหม่ ขน้ึ มา เรยี กว่า Constructivist ซ่ึงเป็นทม่ี าของแนวความคิดการเรียนรแู้ บบ Active Learning โดย แนวคดิ Constructivist มีนยิ ามของการเรียนรูว้ า่ เป็นการสรา้ งข้อมลู ใหม่ในความจาํ ระยะยาวดว้ ยการ นาํ ขอมลู ที่ได้รบั ในความจําระยะส้ันไปผสมผสานกบั ข้อมูลท่มี ีอยู่แล้วในความจาํ ระยะยาว ดังนั้น ผ้เู รยี น จงึ เป็นผ้สู ร้างความรจู้ าก

22 ขอ้ มูลที่ได้รับมาใหมด่ ้วยการนําไปประกอบกับประสบการ์ณสว่ นตวั ท่ผี า่ นมา ในอดตี ซ่ึงตัวผ้เู รยี นเองจะมบี ทบาท สําคัญท่สี ดุ ในการเรยี นรู้และการจดั องค์ความรู้ในความจาํ ระยะยาว ของตนเอง ดว้ ยเหตุนี้ผ้ทู ี่สนับสนุนแนวคดิ น้ี จึงเนนกระบวนการเรียนรูท้ ่เี ปิดโอกาสให้ผู้เรยี นไดม้ ีโอกาส เรียนรจู้ ากประสบการ์ณดว้ ยการลงมอื ปฏิบตั ิ การ แก้ปัญหา และการทํางานเป็นกลมุ่ มากกว่าการนง่ั ฟัง ผู้สอนในหอ้ งเรียน ซงึ่ แนวคิดนี้ไดพ้ ฒั นาต่อมาเป็นรปู แบบ การเรียนรแู้ บบ Active Learning 3.2 ความหมายของการจดั การเรียนรเู้ ชงิ รุก (Active Learning) Active Learning เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสร้างสรรค์ทางปัญญา (Constructivism) ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้มากกว่าเนื้อหาวิชา เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยง ความรู้ หรือสรา้ งความรใู้ ห้เกดิ ขน้ึ ในตนเอง ด้วยการลงมือปฏบิ ตั จิ ริงผา่ นส่อื หรอื กิจกรรมการเรยี นรู้ที่มี ครผู ้สู อนเป็นผู้ แนะนำ กระตุ้น หรืออำนวยความสะดวก ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ขึ้น โดยกระบวนการคิด ขั้นสูง (Higher order thinking) กล่าวคือ ผู้เรียนมีการวิเคราะห์สังเคราะห์ และการประเมินค่าจากสิ่งท่ี ได้รับจากกิจกรรม การเรียนรู้ ทำให้การเรียนรูเ้ ป็นไปอย่างมีความหมาย และนำไปใช้ในสถานการณ์อื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธภิ าพ (สถาพร พฤฑฒิกุล, 2558) นักการศึกษาทั้งในและต่างประเทศได้กล่าวถึง ความหมายของคำว่า Active Learning เอาไว้โดยนักการศึกษาของประเทศไทยใช้คำภาษาไทยคำว่า “การเรียนเชิงรุก” แทน Active Learning ซึ่งมีการนิยามความหมายดังต่อไปน้ี Bonwell (2003) กล่าวว่า Active Learning หมายถึง การ เรียนที่เน้นให้ผู้เรียนไดป้ ฏิบัติ และสร้างความรู้จากการลงมอื ปฏิบัติจรงิ ในระหว่างการเรียนการสอน ส่งผลให้ ผู้เรียนเชื่อมโยงความรู้ ใหม่กับความรู้เดิม Prince (2004) กล่าวว่า การเรียนเชิงรุก หมายถึง กิจกรรมการ เรียนรู้ที่ส่งเสริมพฤติกรรม การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ร่วมแสดงความคิดเห็น ได้ใช้ ทักษะการพูด ฟัง อ่าน เขียน และไตร่ตรองความคิด Felder and Brent (2009) กล่าวว่า Active Learning หมายถึง กิจกรรมใดๆ ก็ตามที่ เกีย่ วข้องกับรายวิชาทผ่ี ู้เรียนทกุ คนได้ถกู เรียกให้ทำสิ่งตา่ งๆ นอกเหนือจากการ นั่งดู ฟงั และจดบันทกึ อย่างเดียว Gifkins (2015) ใหค้ วามหมายไวว้ ่า เป็นการจดั กจิ กรรมการเรียนรู้ที่ผู้เรยี นมีปฏิสัมพันธ์กับ เนื้อหาใน รูปแบบใดๆ ที่สามารถแสดงความคดิ ผ่านกิจกรรมเพ่ือการเรียนรหู้ รอื ผ่านกระบวนการจัดทำ ข้อมลู เพื่อกระตุ้น ความคิดเกี่ยวกับเนื้อหาแทนท่ีจะถ่ายทอดข้อมูลเพียงอยา่ งเดียว แตเ่ ปา้ หมายคือ การ พัฒนาทักษะการมีส่วน รว่ มในกจิ กรรม การอภปิ ราย การประยกุ ต์ใช้หลักการเพื่อสง่ เสรมิ ความคิดขนั้ สงู การคิดเชงิ วเิ คราะห์ กระทรวงศึกษาธิการ (2552) ที่ได้กล่าวโดยสรุปว่า Active Learning หมายถึง กระบวนการเรียนรู้ที่ ใหผ้ เู้ รียนไดเ้ รียนรู้อย่างมคี วามหมาย โดยการรว่ มมือระหวา่ งผู้เรียนด้วยกัน ในการ นค้ี รตู ้องลดบทบาทในการ สอนและการให้ข้อความรู้แก่ผู้เรียนโดยตรง แต่ไปเพิ่มกระบวนการและ กิจกรรมที่จะทำให้ผู้เรียนทำกิจกรรม ต่างๆ มากขึ้น และอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการแลกเปลี่ยน ประสบการณ์โดยการพูด การเขียน การ อภปิ รายกับเพ่ือนๆ เพื่อให้บรรลผุ ลสำเรจ็ ทางดา้ นวชิ าการ เกิด ทักษะทางด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน มี การพัฒนาทักษะ กระบวนการคิดไปสู่ในระดับที่สูงขึ้น เกิด เจตคติที่ดีต่อวิชาที่เรียนและเกิดแรงจูงใจต่อการ เรียน

23 จติ ณรงค์ เอ่ียมสำอาง (2558) ได้กลา่ ววา่ Active Learning คือ แนวทางหรือวิธีการ จดั การเรียนการ สอนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางโดยให้ผู้เรียนได้คิดและมีส่วนร่วมในการปฏิบัติในกิจกรรม การเรียนรู้ใช้ เครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ แสดงความคิดเห็นของตนเองตามความเข้าใจ ตลอดจนร่วม รับผิดชอบในผลของการ ปฏิบัติ โดยมีครูผู้สอนเป็นผู้ดูแลให้คำปรึกษาแนะนำ โดยผสมผสานเทคนิคการ สอนที่หลากหลายที่มุ่งเน้นให้ ผเู้ รยี นนำความรจู้ ากหอ้ งเรียนส่กู ารปฏิบตั ิในสถานการณต์ า่ งๆ ท้ังใน หอ้ งเรียนและในโลกแหง่ ความเป็นจริง ดเิ รก พรสมี า (2559) มคี วามเหน็ ว่า Active Learning คอื การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ท่ีมี ลักษณะทำ ใหผ้ เู้ รียนแต่ละคนกระตือรือร้น คดิ คน้ หาความรู้และคำตอบอยู่ตลอดเวลา (Active Learner) โดยจัดกิจกรรม การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ส่งผลทำให้เกิดคำว่า Work-based Learning หรือ Work-integrated Learning หรือ Site-based Learning จะเป็นผลทำให้นักเรียนและ ครูค้นพบความรู้ใหม่ สร้างสรรค์ความรู้ ใหม่ และสร้างนวัตกรรมใหม่ได้ ผู้เรียนจะต้องมีส่วนร่วมใน กิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นให้ผู้เรียนสร้างองค์ ความรจู้ ากการแก้ปญั หาจากการลงมอื กระทำดว้ ยตนเอง มหาวิทยาลัยทักษิณ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์(2561: 1) ได้ให้ความหมายของ การเรียน เชงิ รุก (Active Learning) คอื การเรียนท่เี น้นให้ผเู้ รยี นมปี ฏิสมั พันธก์ ับการเรียนการสอน กระตนุ้ ให้ผู้เรยี นเกิด กระบวนการคิดขัน้ สูง (Higher-Order Thinking) ด้วยการวเิ คราะห์ สงั เคราะหแ์ ละ ประเมินค่า ไม่เพียงแต่ฟัง ผู้เรียนตอ้ งอ่าน เขียน ถามคำถาม อภปิ รายร่วมกนั และลงมือปฏิบัติจริง โดย ต้องคำนงึ ถงึ ความรู้เดิมและความ ต้องการของผู้เรียนเป็นสำคญั ทั้งนี้ผูเ้ รยี นจะถูกเปลี่ยนบทบาทจาก ผู้รับความรู้ไปสู่การมีส่วนร่วมในการสร้าง ความรู้ วารินท์พร ฟันเฟื่องฟู (2562: 135) สรุปว่า การจัดการเรียนรู้ Active Learning เป็น กระบวนการ จัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเปน็ สำคัญ เน้นบทบาทและการมีส่วนร่วมของผู้เรียน โดยให้ ผู้เรียนได้ลงมือปฏบิ ัติ เรียนรู้และดำเนินกิจกรรมต่างๆ ด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นผู้ให้คำแนะนำ ชี้แนะ กระตุ้น หรืออำนวยความ สะดวก ให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่าง ผเู้ รยี น และการนำเสนอข้อมูล สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2562: 4) ได้ให้ความหมายของการจัดการ เรียนรู้เชิง รุก (Active Learning) คือ การเรียนที่เน้นให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับการเรียนการสอน กระตุ้น ให้ผู้เรียนเกิด กระบวนการคิดข้นั สงู (Higher-Order Thinking) ดว้ ยการวเิ คราะหส์ ังเคราะหแ์ ละ ประเมินคา่ ไมเ่ พยี งแต่เป็น ผู้ฟัง ผู้เรียนต้องอ่าน เขียน ตั้งคำถามและถาม อภิปรายร่วมกัน ผู้เรียนลงมือ ปฏิบัติจริง โดยต้องคำนึงถึง ความรู้เดิมและความต้องการของผู้เรยี นเป็นสำคญั ทั้งน้ผี เู้ รียนจะถูกเปลยี่ น บทบาทจากผู้รับความรู้ไปสู่การมี สว่ นรว่ มในการสรา้ งความรู้ 3.3 ความสำคัญของการจัดการเรียนรเู้ ชิงรกุ (Active Learning) การจัดกิจกรรมการเรยี นรใู้ หส้ ำเร็จน้นั มีหลายวธิ ี แต่ Active Learning สามารถทำใหบ้ รรลุ เป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ของการจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากเหตุผลหลายๆ ประการ ดังนี้ (Stanford Teaching Commons, 2015)

24 1. Active Learning ส่งเสริมการมีอิสระทางด้านความคิดและการกระทำของผู้เรียน การมี วิจารณญาณและการคิดสร้างสรรค์ผู้เรียนจะมีโอกาสในการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติจริงและมีการใช้ วิจารณญาณในการคิดและตัดสินใจในการปฏบิ ัตนิ นั้ โดยครเู ปน็ ผูด้ ูแล ใหค้ ำปรกึ ษาและกระตุ้น ซงึ่ อาจ ใช้การ ถามหรือเทคนิคการสอนต่างๆ ท่ีหลากหลายเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการวิเคราะห์สังเคราะห์ และ ประยุกต์ใช้ อุปกรณต์ ่างๆ ในการปฏิบตั ิงานหรอื ในการเรียนรอู้ ย่างสร้างสรรค์ 2. Active Leaning สนบั สนุนส่งเสรมิ ให้เกดิ ความรว่ มมอื อย่างมีประสิทธภิ าพ ซ่งึ ความ ร่วมมอื ในการ ปฏิบัติงานกลุม่ จะนำไปสู่ความสำเร็จในภาพรวม 3. Active Learning ทำให้ผู้เรียนทุ่มเทในการเรียน จูงใจใน การเรียนและทำให้ผู้เรียน แสดงออกถึงความรู้ความสามารถ เมื่อผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการปฏิบัติอย่าง กระตือรือร้น ใน สภาพแวดล้อมที่เอ้ืออำนวย ผู้เรียนจะมีความทุ่มเทเพ่ือมุ่งสู่ความสำเร็จของงาน และมีความ รับผิดชอบ เช่นเดียวกันถ้าผู้เรียนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเขาก็จะทุ่มเทมุ่งเรียนรู้และใช้ความรู้อย่างเต็ม ความสามารถ ซึ่งสอดคล้องกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2562: 4-5) ได้กล่าวถึง ความสำคัญ ของการจดั การเรยี นรู้เชงิ รกุ (Active Learning) ไว้ดงั นี้ 1. Active Learning ส่งเสริมการมีอิสระทางด้านความคิดและการกระทำของผู้เรียน การมี วิจารณญาณ และการคิดสร้างสรรค์ ผู้เรียนจะมีโอกาส มีส่วนร่วมในการปฏิบัติจริงและมีการใช้ วิจารณญาณ ในการคิดและตัดสินใจในการปฏิบัติกิจกรรมนั้น มุ่งสร้างให้ผู้เรียนเป็นผู้กำกับทิศทางการ เรียนรู้ค้นหาสไตล์ การเรียนรู้ของตนเอง ส่กู ารเปน็ ผ้รู ้คู ิด รู้ตดั สนิ ใจดว้ ยตนเอง (Metacognition) เพราะฉะนน้ั Active Learning จึงเป็นแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาความคิดขั้น สูง (Higher order thinking) ใน การมวี ิจารณญาณ การวิเคราะห์ การคดิ แกป้ ญั หา การประเมิน ตดั สินใจ และการสร้างสรรค์ 2. Active Leaning สนบั สนุนสง่ เสริมให้เกิดความรว่ มมือกนั อย่างมีประสิทธภิ าพ ซ่งึ ความ ร่วมมือใน การปฏบิ ตั งิ านกลุ่มจะนำไปสู่ความสำเรจ็ ในภาพรวม 3. Active Learning ทำให้ผู้เรียนทุ่มเทในการเรียน จูงใจในการเรียน และทำให้ผู้เรียน แสดงออกถึง ความรู้ความสามารถ เมื่อผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรมอย่างกระตือรือร้นในสภาพแวดล้อมท่ี เอื้ออำนวย ผ่านการใช้กิจกรรมที่ครูจัดเตรียมไว้ให้อย่างหลากหลาย ผู้เรียนเลือกเรียนรู้ กิจกรรมต่างๆ ตาม ความสนใจและความถนดั ของตนเอง เกิดความรับผดิ ชอบและทุ่มเทเพือ่ มุ่งสู่ ความสำเรจ็ 4. Active Learning สง่ เสรมิ กระบวนการเรียนรทู้ ่กี อ่ ให้เกดิ การพฒั นาเชงิ บวกทั้งตัวผู้เรียน และตัวครู เป็นการปรบั การเรียนเปล่ยี นการสอน ผเู้ รียนจะมีโอกาสไดเ้ ลือกใช้ความถนัด ความสนใจ ความสามารถท่ีเป็น ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) สอดรับกับแนวคิดพหุปัญญา (Multiple Intelligence) เพื่อแสดงออกถึงตัวตนและศักยภาพของตัวเอง ส่วนครูผู้สอนต้องมีความ ตระหนักที่จะปรับเปลี่ยนบทบาท แสวงหาวิธีการ กิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อช่วยเสริมสร้างศกั ยภาพ ของผู้เรียนแต่ละคน สิ่งเหลา่ น้ีจะทำใหค้ รู เกิดทักษะในการสอนและมีความเชี่ยวชาญในบทบาทหน้าทีท่ ี่ รับผิดชอบ เป็นการพัฒนาตน พัฒนางาน และ พฒั นาผเู้ รียนไปพรอ้ มกัน

25 นอกจากนี้ การจดั การเรยี นรู้Active Learning มีประโยชน์ ดังนี้(Center For Teaching Innovation, 2562) 1. พฒั นาการมสี ว่ นรว่ มของผูเ้ รยี นใหค้ ดิ และทำตลอดจนพัฒนาความคิดและทกั ษะ 2. มีการใหข้ ้อมูลยอ้ นกลบั เพื่อการพฒั นาของผเู้ รียน 3. ใหค้ วามสำคัญกบั ความแตกตา่ งของผเู้ รียน 4. เปดิ โอกาสใหผ้ ้เู รยี นได้คดิ และพูดในสิ่งที่เกี่ยวขอ้ งกบั การเรียนและได้ฝึกปฏบิ ตั ิจริง 5. สร้างเครือข่ายระหว่างบุคคลรวมถึงสื่ออุปกรณ์ในการเรียนรู้ตา่ งๆ ซึ่งทำให้ผู้เรียนเกิด ความสนใจ ในการเรียนรู้ 6. มงุ่ ฝึกฝนทกั ษะสำคัญให้กบั ผเู้ รยี น เชน่ การรว่ มมือรว่ มใจในการทำงาน การทำงาน รว่ มกับผู้อืน่ 7. ทำให้ผเู้ รยี นมีความมัน่ ใจในการนำเสนอผลงานของตนเอง 8. สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ในห้องเรียน โดยการสร้างการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับ นักเรียนและ นกั เรยี นกบั นักเรียนในการแลกเปลี่ยนเรยี นรู้ สำหรับวารินท์พร ฟันเฟื่องฟู (2562: 139) สรุปว่า การจัดการเรียนรู้Active Leaning มีข้อดีคือ ผู้สอนใชว้ ิธใี ดวิธีหนึ่งหรอื หลากหลายในการจัดการเรียนรู้คร้ังหน่ึงๆ ซึ่งเป็นวิธีสอนท่ีให้ผูเ้ รียน มีส่วนรว่ ม โดย ผู้สอนเป็นผู้กำกบั และอำนวยความสะดวก รวมทั้งเป็นผู้สนับสนุนและเสรมิ แรงใหผ้ ู้เรียน เป็นผู้แสดงและตอบ ผู้เรียนถูกกระตุ้นให้มีส่วนรว่ มในการเรยี น รวมทั้งเกดิ สัมพันธภาพที่ดีระหว่าง ผู้เรียนด้วยกัน ผู้เรียนได้รับการ ส่งเสริมในการทำงานกลุ่ม มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น (Interaction) ทำให้ ปรับตัวอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข ผู้เรียนถูกกระตุ้นให้มีความกระตือรือร้น (Active) ผู้เรียนเกิดการ ชอบเรียน ต้องการเรียนรู้และต้องการ แสวงหาความร้เู พ่ิมเติมด้วยตนเอง ผ้เู รียนเกดิ การเรยี นรู้ด้วยความ เขา้ ใจ (Meaningful Learning) นอกจากนี้ การจัดการเรยี นรู้Active Leaning ยังสามารถทำใหผ้ ู้เรียน สามารถคดิ วเิ คราะห์สังเคราะห์และประเมินผลเป็น 3.4 ลกั ษณะของการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) กระบวนการเรยี นรู้Active Learning ทำใหผ้ เู้ รยี นสามารถรักษาผลการเรยี นรู้ให้อยู่คงทน ไดม้ ากและ นานกวา่ กระบวนการเรียนรู้ Passive Learning เพราะกระบวนการเรยี นรู้Active Learning สอดคล้องกบั การ ทำงานของสมองที่เกี่ยวข้องกับความจำ โดยสามารถเก็บและจำสิ่งที่ผู้เรียนเรียนรู้อย่าง มีส่วนร่วม มี ปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน ผู้สอน สิ่งแวดล้อม การเรียนรู้ได้ผ่านการปฏิบัติจริง จะสามารถเก็บจำ ในระบบความจำ ระยะยาว (Long Term Memory) ทำให้ผลการเรียนรู้ ยังคงอยู่ได้ในปริมาณที่มากกว่า ระยะยาวกว่า ซ่ึง อธิบายไวด้ งั แผนภาพท่ี 2

26 แผนภาพที่ 2 กรวยแห่งการเรียนรู้ จากรปู จะเห็นไดว้ า่ กรวยแหง่ การเรยี นรนู้ ไี้ ด้แบ่งเปน็ 2 กระบวนการ คือ กระบวนการเรียนรู้Passive Learning • กระบวนการเรยี นรโู้ ดยการอ่านทอ่ งจำผูเ้ รียนจะจ าไดใ้ นสิ่งทเี่ รียนไดเ้ พียง 10% • การเรียนรู้โดยการฟังบรรยายเพียงอย่างเดียวโดยที่ผู้เรียนไม่มีโอกาสได้มีส่วนร่วมในการ เรยี นรู้ดว้ ย กิจกรรมอ่ืน ในขณะทอ่ี าจารยส์ อนเมื่อเวลาผา่ นไปผ้เู รียนจะจำได้เพียง 20% • หากในการเรียนการสอนผู้เรียนมีโอกาสได้เห็นภาพประกอบด้วยก็จะทำให้ผลการเรียนรู้คง อยไู่ ดเ้ พม่ิ ขน้ึ เป็น 30% • กระบวนการเรียนรู้ทีผ่ ู้สอนจัดประสบการณ์ให้กับผเู้ รียนเพิ่มข้นึ เชน่ การให้ดูภาพยนตร์การ สาธิต จัด นิทรรศการให้ผู้เรียนได้ดูรวมทั้งการนำผู้เรียนไปทัศนศึกษา หรือดูงาน ก็ทำให้ผล การเรยี นรู้เพม่ิ ขึน้ เปน็ 50% กระบวนการเรยี นรู้Active Learning • การให้ผู้เรียนมีบทบาทในการแสวงหาความรู้และเรียนรู้อย่างมีปฏิสัมพันธ์จนเกิดความรู้ความเข้าใจ นำไป ประยกุ ต์ใชส้ ามารถวิเคราะห์ สงั เคราะห์ ประเมินคา่ หรอื สรา้ งสรรค์สง่ิ ต่างๆ และพัฒนาตนเอง

27 เต็มความสามารถ รวมถึงการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เขาได้มีโอกาสร่วมอภิปรายให้มีโอกาสฝึก ทกั ษะการส่ือสาร ทำใหผ้ ลการ เรียนรู้เพ่มิ ข้นึ 70% • การนำเสนองานทางวิชาการ เรียนรู้ในสถานการณ์จำลอง ทั้งมีการฝึกปฏิบัติในสภาพจริง มีการ เชื่อมโยงกับ สถานการณ์ต่างๆ ซึ่งจะทำให้ผลการเรียนรู้เกิดขึ้นถึง 90% ลักษณะของ Active Learning (อ้างองิ จาก :ไชยยศ เรอื งสุวรรณ) • เป็นการเรียนการสอนที่พัฒนาศักยภาพทางสมอง ได้แก่ การคิด การแก้ปัญหา การนำความรู้ไป ประยุกต์ใช้ • เป็นการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ • ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้และ จัดระบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง • ผ้เู รียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน มกี ารสรา้ งองค์ความรู้ การสร้างปฏสิ ัมพนั ธ์ร่วมกัน และร่วมมือ กนั มากกวา่ การแข่งขนั • ผเู้ รยี นได้เรยี นร้คู วามรบั ผดิ ชอบร่วมกัน การมีวนิ ัยในการทำงาน และการแบ่งหนา้ ท่คี วามรับผิดชอบ • เปน็ กระบวนการสรา้ งสถานการณ์ให้ผ้เู รยี นอา่ น พูด ฟัง คิด • เปน็ กิจกรรมการเรยี นการสอนเนน้ ทักษะการคิดขนั้ สงู • เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนบูรณาการข้อมูล, ข่าวสาร, สารสนเทศ, และหลักการสู่การสร้าง ความคิดรวบ ยอดความคิดรวบยอด • ผู้สอนจะเป็นผอู้ ำนวยความสะดวกในการจดั การเรยี นรู้ เพอ่ื ใหผ้ ู้เรยี นเป็นผปู้ ฏบิ ัติด้วยตนเอง • ความรู้เกิดจากประสบการณ์ การสร้างองคค์ วามรู้ และการสรุปทบทวนของผ้เู รียน บทบาทของครกู ับ Active Learning ณัชนัน แก้วชัยเจริญกิจ (2550) ได้กล่าวถึงบทบาทของ ครูผู้สอนในการจัด กิจกรรมการเรียนรู้ตาม แนวทางของ Active Learning ดังนี้ 1. จัดให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนการสอน กิจกรรมต้องสะท้อนความต้องการในการพัฒนา ผูเ้ รยี นและ เนน้ การนำไปใช้ประโยชนใ์ นชีวติ จริงของผูเ้ รียน 2. สร้างบรรยากาศของการมีส่วนร่วม และการเจรจาโต้ตอบที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับ ผู้สอน และ เพือ่ นในช้ันเรยี น 3. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้เป็นพลวัต ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในทุกกิจกรรมรวมท้ัง กระตนุ้ ใหผ้ ้เู รียน ประสบความสำเร็จในการเรยี นรู้ 4. จัดสภาพการเรียนรแู้ บบรว่ มมอื สง่ เสรมิ ใหเ้ กดิ การร่วมมือในกลุ่มผูเ้ รียน 5. จัดกิจกรรมการเรยี นการสอนให้ท้าทาย และใหโ้ อกาสผ้เู รียนได้รับวธิ กี ารสอนท่หี ลากหลาย 6. วางแผนเกย่ี วกบั เวลาในจัดการเรยี นการสอนอยา่ งชดั เจน ท้งั ในสว่ นของเนือ้ หา และกจิ กรรม 7. ครผู ู้สอนตอ้ งใจกวา้ ง ยอมรบั ในความสามารถในการแสดงออก และความคดิ เของทีผ่ ู้เรยี น

28 การจัดการเรียนการสอนในปัจจุบัน ได้ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รู้และเข้าใจได้ด้วยตนเอง โดยเน้นกิจกรรมให้ผู้เรียนมี สว่ นร่วมและเน้นผู้เรียนเป็นศนู ย์กลาง การสอนโดยใชก้ ารแสดงบทบาทสมมติ เป็นอีกวิธสี อนหน่ึงท่ีจะใหผ้ ู้เรียนมี ส่วนร่วมใน การเรียน ให้ผู้เรียนได้แสดงออก ทั้งทางด้านความคิดและท่าทางการแสดง ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนเกิดการ เรียนรู้ ได้เกิดความ สนุกสนานและเพลิดเพลนิ ในสภาวะการณ์ปัจจุบันมีความเป็นไปได้สูงที่สถานการณ์โรคระบาดจะยืดเยื้อไปอีกนาน ความเป็น โลกาภวิ ฒั น์จะ ถูกทำลาย เพราะโรคระบาด โลกที่เคยกว้างก็จะแคบลง การศึกษาท่ีเดมิ จะมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มี ทักษะต่างๆเพ่ือ เพ่มิ ขดี ความสามารถในการแข่งขัน และการเปน็ พลเมืองโลก จะ Narrow Down ลงมา กลาย มาเป็นเพียงการมี ชีวิตอย่างมีความสุข ของผู้เรียนและครอบครัว ฉะนั้น เป้าหมาย ปรัชญา กรอบแนวคิด นโยบาย และกระบวนการ ตา่ งๆกย็ ่อมเปลีย่ นไปเช่นกนั โดยเฉพาะอย่างย่ิงในเร่ืองของทักษะการคิดวิเคราะห์ สร้างสรรค์ที่ยิ่งต้องเข้มข้นมาก กว่าเดิม เพื่อส่งเสริมให้สามารถวิเคราะห์ศักยภาพของตัวเอง อันนำไปสู่การ สร้างอาชีพใหม่ที่เหมาะสมกับตนและ บริบท หรือการคิดค้นธุรกิจ Startup ที่เป็นแบรนด์ท้องถิ่น ที่จะเข้ามา แทนที่ธุรกิจข้ามชาติขนาดใหญ่ รวมถึง ความสามารถในการเรียนรู้ปรับตัวกับสถานการณ์ที่ผกผัน ได้อย่าง รวดเร็ว ล้วนเป็นสมรรถนะใหม่ที่ผู้เรียนใน ปัจจุบันจำเป็นต้องมี และแน่นอนว่าสถานการณ์เช่นนี้ กลไก การศึกษาทั้งหมดจะต้องเป็นลักษณะของการจัด การศึกษาทางไกล ที่มีทั้งในรูปแบบ Analog สำหรับ ผู้ด้อยโอกาส และในรูปแบบของ Digital Platform ซึ่งขณะน้ี ก็เกิดการตื่นตัวอย่างกว้างขวางในการใช้เครือ่ ง ไม้เครือ่ งมือและ Application เพ่อื พฒั นาบทเรียน และรูปแบบการ ถา่ ยทอดความรู้ของผ้สู อนไปสู่ผู้เรียนด้วย วิธีออนไลน์ ซึ่งถือเป็นนิมิตหมายที่ดี แต่อย่างไรก็ตามการกล่าวถึง หรือ การตระหนักในมิติของการจัดการ เรียนรู้ที่ “ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง” บนแพลตฟอร์มออนไลน์ หรือการจัดการ เรียนรู้แบบ Active learning ใน Virtual classroom ยงั ไม่ไดถ้ ูกกลา่ วถงึ มากนกั แตย่ ังคงม่งุ ประเด็นไปท่ีเครื่องไม้ เครอ่ื งมือและเทคโนโลยีท่ี ยังมใิ ชห่ วั ใจสำคัญของการศกึ ษา Covid-19 ตอกย้ำความสำคัญของทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 “การศึกษา” คำนี้อาจจะทำให้ ทุกคนนึกถึงการเรียนการสอนรูปแบบเก่า ที่อยู่ในห้องเรียน หรือการเรียน ในระบบตั้งแต่อนุบาลจนถึง มหาวิทยาลัย ซึ่งปัจจุบันการศึกษาจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อสอดรับกับการเปลี่ยนแปลง ของประเทศและสังคม โลก เราจะพาทุกคนมาสำรวจกันว่า การศึกษารูปแบบใหม่ในยุค New Normal นี้มีทิศ ทางการปรับตัวกัน อย่างไรบา้ ง “ระบบการศึกษาทั่วโลก” ใช้ “Educational Technology” มากขึ้น ปรากฏการณ์หนึ่งที่เห็นได้ ชัดเจนท่ามกลางสถานการณ์ “COVID-19” คอื ด้านการศกึ ษา ทหี่ นั มาใชร้ ะบบ ออนไลน์อย่างเตม็ รูปแบบมาก ขึน้ เช่น DingTalk Tencent Google Hangout Meet Google Classroom เป็น ต้น รวมทั้งยังมีแอปพลิชัน เกย่ี วกับการศกึ ษาต่างๆ มากมาย ซึง่ เทคโนโลยีสามารถเปลีย่ นบทบาทครผู ้สู อน จากที่ เคยเปน็ ผ้ชู น้ี ำ ไปสู่การ เป็นผู้สนับสนุน และให้คำแนะนำแก่นักเรยี น ช่วยให้การนำเสนอเนื้อหาการเรยี นการสอนมี ความน่าสนใจข้ึน และช่วยเสรมิ ทกั ษะการคิดวเิ คราะห์ การแกป้ ัญหา การสร้างความร่วมมือ ความคดิ สรา้ งสรรค์ ออกจากกรอบ ของการเรียนรู้ที่จำกัดเฉพาะในหอ้ งเรียนส่ีเหลีย่ มดังที่เคยเป็นมากล้าทดลอง กล้าเรียนรู้ปรับตวั รับมือเมื่อโลก พลิกผัน

29 3.5 การจดั การเรียนการสอนออนไลน์ กฤษณา สิกขมาน (2554) กล่าวว่า การเรียนการสอนออนไลน์เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่มีการ ออกแบบ การ เรียนการสอนไว้อย่างเป็นระบบ มีการกาหนดวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายการจัดการเรียนการ สอนไว้อย่างชัดเจน จัดการเรียนการสอนตามหลักทฤษฎีทางการศึกษา หลักการเรียนการรู้และจิตวิทยา การศึกษา การถ่ายทอดความรู้ การนาเสนอเนื้อหา การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และถ่ายทอดกลยุทธ์ การสอนใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสารเป็นเครื่องมือ ซึ่งในปัจจุบันเน้นไปที่การใช้ระบบเครือข่าย อินเทอร์เน็ต จึงทาให้ผู้เรยี นสามารถเข้าถึง และเรียนรู้โดยไม่จากัดสถานท่ีและเวลา เนื้อหาบทเรียนของอีเลริ ์ นนิ่งจะอยู่ในรูปแบบสื่อผสมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Multimedia) ซึ่งออกแบบไว้ในลักษณะซอฟต์แวร์ รายวิชา (Courseware) ประกอบด้วยสื่อผสม ได้แก่ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง และที่สาคัญ คือ ผู้เรียนสามารถโต้ตอบกับบทเรียนและผู้สอนได้ การบริหารจัดการอีเลิร์นนิ่งใช้ซอฟต์แวร์ประเภทบริหาร จัดการการเรียนรู้(Learning Management System : LMS) ทาหน้าที่ในการบริหารจัดการอย่างอัตโนมัติ เกือบทุกขั้นตอนแทนการปฏิบัติด้วยมือ ตั้งแต่ขั้นตอนการ ลงทะเบียนเรียนจนถึงขั้นตอนการวัดและ ประเมนิ ผลการเรียนการสอน องค์ประกอบของการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ ฐาปนยี ์ธรรมเมธา (2557 : 11-17) แบ่งองคป์ ระกอบของการจัดการเรียนการสอนออนไลนอ์ อกเป็น 6 องคป์ ระกอบ 1) เน้อื หาและสอ่ื การเรยี น 2) ระบบนาส่งสารสนเทศและการส่อื สาร 3) ระบบการส่ือสารและปฏิสัมพนั ธ์ทางการเรียน 4) ระบบการวัดและการประเมินผล 5) ระบบสนับสนนุ การเรยี น 6) ผสู้ อนและผเู้ รยี น องค์ประกอบของระบบการเรียนการสอนออนไลน์ ท่มี า : ฐาปนยี ธ์ รรมเมธา (2557 : 11-17)

30 Brandes & Ginnis (1986) กลา่ วถงึ การเรยี นรแู้ บบ Active Learning ในฐานะการเรียนรทู้ ่ี เนน้ ผเู้ รียนเปน็ สำคญั และได้สรปุ ถงึ ความแตกต่างระหว่างการเรยี นรู้ท่กี ระตือรอื รน้ กบั การเรยี นรู้ท่ีผสู้ อนเป็น ศนู ยก์ ลาง โดยผเู้ รียนเป็น ฝา่ ยรับความรู้ฝา่ ยเดียว (Passive Learning) ไว้ดงั น้ี Active Learning Passive Learning - เน้นการทำงานเปน็ กลุ่ม - เนน้ การบรรยายจากผสู้ อน - เนน้ การรว่ มมอื กนั ระหว่างผู้เรยี น - เน้นการแข่งขัน - เรียนรจู้ ากแหลง่ เรียนรู้ที่หลากหลาย - เปน็ การสอนรวมทง้ั ชั้น - ผเู้ รยี นรบั ผดิ ชอบตอ่ การเรียนรูข้ องตน - ผ้สู อนรับผิดชอบการเรียนรู้ของผู้เรยี น - ผ้สู อนเป็นเพยี งผู้ช้ีแนะประสบการณ์และ อำนวย - ผู้สอนเปน็ ผ้ชู นี้ ำและจดั เน้อื หาเองทง้ั หมด ความสะดวกในการเรยี นรู้ - ผู้สอนเป็นผู้ใส่ความรู้ลงในสมองผเู้ รยี น - ผเู้ รยี นเปน็ เจ้าของความคดิ และการทำงาน - เน้นความรู้ในเนือ้ หาวชิ า - เนน้ ทักษะการวเิ คราะห์และการแกป้ ัญหา - ผสู้ อนเป็นผู้วางกฎระเบยี บวินยั - ผู้เรยี นมวี นิ ยั ในตนเอง - ผสู้ อนเป็นผู้วางแผนหลักสูตรแต่ผเู้ ดียว - ผเู้ รียนมสี ว่ นร่วมในการวางแผนหลักสูตร - ผู้เรียนเปน็ ฝา่ ยรับความรูท้ ่ีผูส้ อนถา่ ยทอดเพียง - ผเู้ รียนมีส่วนรว่ มในการเรยี นร้ทู ่ีกระตือรือร้น อย่างเดียว - ใชว้ ิธกี ารเรียนรูท้ ่หี ลากหลาย - จำกัดวธิ ีการเรยี นร้แู ละกจิ กรรม ทมี่ า : Bonwell , Charles C. , and James. A. Eison. 1991:19 3.6 กิจกรรมทใ่ี ช้ในการจดั การเรยี นรูแ้ บบ Active Learning จากการสงั เคราะห์การจดั กิจกรรมในการเรียนรู้แบบ Active Learning ของนกั การศึกษา หลายทา่ น ได้แก่ Meyers; & Jones(1993) Silberman(1996) Parkenson; Windale(1998) และ Staff of Center for Teaching; & Learning at Carolina(2001) พบวา่ กจิ กรรมที่ใช้ในการจัดการเรียนรแู้ บบ Active Learning ท่ีได้ มนี ักการศกึ ษาได้นำเสนอไว้ดงั ปรากฏในแผนภาพตอ่ ไปนี้

31 จากแผนภาพข้างต้น จะเหน็ ไดว้ า่ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning น้ัน สามารถทำได้โดยการ ใช้ การอภปิ ราย การแสดงบทบาทสมมติการแสดงละคร การใชส้ ถานการณ์จำลอง การใช้กรณีศกึ ษา การอ่าน อย่างกระตือรือร้น การเขียนอย่างกระตือรือร้น การทำงานกลุ่มเล็กๆ และการใช้เกมในการ ประกอบการ จัดการเรียนรู้ ดังน้นั บทบาทของครผู ู้สอนในการจดั การเรยี นรู้แบบ Active Learning จะต้องคำนงึ ถึงประเด็นสำคัญ ทีจ่ ะเปน็ การ ขับเคลือ่ นให้การจดั การเรียนร้แู บบ Active Learning เกิดประสิทธภิ าพอยา่ งสงู สดุ กล่าวคือ 1. ครูผู้สอนจะต้องลดบทบาทของตนเองให้เป็นเพียงผู้ชี้แนะ คอยแนะนำและอำนวยความสะดวก ให้แกผ่ ้เู รียนให้ เกิดการเรียนร้แู ละสามารถตอบสนองตอ่ วตั ถปุ ระสงค์การเรยี นรู้ได้ด้วยตนเอง 2. ครูผู้สอนจะต้องสร้างบรรยากาศในการมีส่วนร่วมและการปฏิสัมพันธท์ ี่ดีระหว่างผู้เรียนในชัน้ เรยี น และระหว่าง ผู้เรียนกบั ผู้สอน เพื่อผู้เรียนจะได้เกิดพฤติกรรมการกล้าแสดงความคิดเห็น กล้าพูด กล้าคิด กล้า วิพากษว์ จิ ารณเ์ พื่อ เปน็ การสะท้อนคิด 3. ครูผู้สอนจะต้องส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียนกล้าคิด คอยกระตุ้นให้ผู้เรียนค้นคว้าหาคำตอบด้วย ตนเองและมี ความม่นั ใจในตนเองมากขึ้น 4. ครูผู้สอนจะต้องมีใจกว้างยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้เรียนและคอยสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ ให้แกผ่ ูเ้ รยี น 5. ครูผู้สอนจะต้องออกแบบและจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรยี นได้ลงมือคิด ลงมือปฏิบัติลงมือ ทำดว้ ยตนเอง เพ่อื สะทอ้ นความคิดในสิ่งทไ่ี ด้เรยี นรูจ้ ากการลงมือปฏบิ ตั ิจริง 4. แนวคิดเกยี่ วกับแผนการจัดการเรียนรู้ 4.1 ความหมายของแผนการจดั การเรยี นรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ เดิมเรียกว่า แผนการสอน เมื่อระบบการศึกษาไทยให้ความสำคัญกับการ จัดการเรยี นรู้โดยเนน้ ผ้เู รียนเป็นสำคญั แผนการสอนจงึ เปล่ียนคำเรยี กเป็นแผนการจัดการเรยี นรู้ กรมวิชาการ (2545) ได้ให้ความหมายของแผนการจัดการเรียนรู้ คือ การนำวิชาหรือกลุ่ม ประสบการณ์ที่ต้องทำการสอนตลอดภาคเรียน มาสร้างเป็นแผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การใช้สื่อ อุปกรณ์ การวัดประเมินผลสำหรับเนื้อหาสาระและจุดประสงค์การเรียนการสอนย่อย ๆ ให้ตรงกับ วัตถุประสงค์หรือจุดเน้นของหลักสูตร สภาพผู้เรียน ความพร้อมของโรงเรียน ในด้านวัสดุอุปกรณ์และตรงกับ ชีวิตจรงิ ซึ่งถา้ กลา่ วอีกนัยแผนการจัดการเรยี นรู้ คือการเตรียมการสอนเป็นลายลกั ษณอ์ กั ษรไว้ล่วงหน้า สถาบันพัฒนาความก้าวหน้า (2545) ได้ใหค้ วามหมายของแผนการจดั การเรียนรูว้ ่า เป็นแผนงานหรือ โครงการท่ผี ู้สอนได้เตรียมการจัดการเรยี นรู้ไวล้ ่วงหนา้ เป็นลายลักษณ์อกั ษรเพอ่ื ใชป้ ฏิบตั กิ ารเรยี นรูใ้ นรายวิชา ใดวิชาหนึ่งอยา่ งเป็นระบบระเบียบโดยใช้เป็นเครื่องมอื สำหรับจดั การเรยี นรู้เพื่อนำผู้เรียนไปสู่จุดประสงค์การ เรียนรู้และจดุ หมายของหลกั สตู รอยา่ งมปี ระสิทธภิ าพ

32 กฤษดา บุญหมื่น (2555) แผนการจัดการเรียนรู้ หมายถึง แนวการจัดกิจกรรมการเรยี นรู้ท่ีกำหนดให้ ผู้สอนปฏิบัติตามขั้นตอนการจัดกิจกรรม ซึ่งกำหนดรายละเอียดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เป็นลายลักษณ์ อักษร เพอ่ื ใหผ้ ้สู อนสามารถนำไปปฏบิ ตั ไิ ดอ้ ย่างเหมาะสม และมีประสทิ ธิภาพในการจดั การเรียนรู้ สรุปได้ว่า แผนการจัดการเรียนรู้ คือ การวางแผนการจัดกิจกรรมเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ล่วงหน้า อยา่ งละเอียด เพ่อื เปน็ แนวทางในการจัดกจิ กรรมการเรียนการสอน ซง่ึ มเี นือ้ หากิจกรรมการเรยี นการสอน สื่อ การสอน และวิธีวดั ผลประเมนิ ผลกำหนดชดั เจน เป็นเครื่องมือสำคัญทีจ่ ะนำผู้เรียนไปสู่จุดประสงคก์ ารเรยี นรู้ และจดุ หมายตามหลักสูตรอย่างมีประสิทธิภาพ 4.2 องค์ประกอบของแผนการจัดการเรยี นรู้ 1) สว่ นหัวของแผน ประกอบดว้ ย ช่ือแผนการจดั การเรียนรู้ ชอื่ หนว่ ยการเรียนรู้ ช่อื เร่ืองของแผนการ จัดการเรียนรู้ ช้ันที่สอน และจำนวนคาบที่ใช้ในการสอน 2) สาระสำคัญ เป็นการบรรยายกรอบความคิดหลักในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของแผนตาม จุดประสงคก์ ารเรยี นรู้ โดยผู้สอนไดร้ ะบคุ วามคดิ รวบยอด ของเนอ้ื หาท่ีเรียน ทกั ษะหรอื กระบวนการทางภาษา ที่ฝึกและคณุ ลกั ษณะที่พึงประสงค์ท่ีเกดิ ขึ้นจากการปฏบิ ตั ิภาระงานตามตวั ชวี้ ัด 3) ตัวชวี้ ัด การออกแบบกจิ กรรมเปน็ การออกแบบที่องิ มาตรฐานและตัวช้ีวัดตามหลักสูตร 4) สาระการเรียนรู้ เปน็ สาระการเรียนรู้ทีร่ ะบุไว้ในตวั ชว้ี ดั และเปน็ สาระการเรียนรู้ท่ีผู้เรียนต้องเรียน ในแผนการจัดการเรียนรนู้ ้ัน ๆ 5) จุดประสงค์การเรียนรู้ ในแผนการจัดการเรียนรู้ที่อิงมาตรฐานต้องกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ ทมี่ าจากการวิเคราะห์มาตรฐานและตัวชวี้ ัดที่กำหนดตามตารางวิเคราะห์หลักสตู ร 6) ภาระงาน เมื่อมีจุดประสงค์การเรียนรู้ ผู้สอนต้องกำหนดภาระงาน เพื่อใช้เป็นหลักฐานหรือ ร่องรอยการเรียนรู้ของผู้เรียนว่าอยู่ในระดับใด ดังนั้นภาระงานจึงเป็นภาระงาน หรือชิ้นงานที่เกิดจากกา ร เรียนรู้ของผู้เรยี นในแต่ละจดุ ประสงค์การเรียนรู้ 7) การวัดประเมินผล การวัดประเมินผลการเรียนรู้ได้รับการออกแบบให้สอดคล้องและเหมาะสมกับ ภาระงานท่ีกำหนด เช่น ภาระงานดา้ นการอ่าน วัดประเมนิ ผลจากหลักฐานผู้เรียนสร้างไว้จากการอ่านบทอ่าน ประเภทตา่ ง ๆ เปน็ ต้น สำหรบั คุณลกั ษณะทพ่ี ึงประสงคบ์ างประการจำเป็นตอ้ งอาศยั การสังเกตจากพฤติกรรม การเข้าร่วมกิจกรรมในช้ันเรียน ซึ่งแสดงออกให้เห็นถงึ คุณลักษณะนั้น ๆ เช่น คุณลักษณะของการรักการอ่าน ผเู้ รยี นมกั แสดงออกดว้ ยความมุ่งมั่นในการอา่ นเพื่อที่จะเข้าใจ บทอา่ นและเรยี นรทู้ ่ีจะถา่ ยทอดความรทู้ ี่ได้ 8) สื่อและอุปกรณ์การจัดการเรียนรู้ แบบมุ่งเน้นภาระงาน สื่อและอุปกรณ์เป็นสิ่ง สำคัญที่จะช่วยให้ ผเู้ รยี นเรียนรู้ภาษาได้อย่างมีประสทิ ธิภาพ 9) กิจกรรมการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ต้องเป็นไปตามขั้นตอนของเทคนิควิธีการสอนที่เลือกและ ควรเป็นกจิ กรรมทส่ี อดคล้องกบั จดุ ประสงคก์ ารเรียนรู้ และตัวชี้วดั ท่ีกำหนด 10) เกณฑ์การประเมินความก้าวหน้าในการเรียน เป็นเกณฑ์ที่ผู้สอนสร้างขึ้น เพื่อวัดประเมินผลการ เรียนตามจุดประสงค์การเรียนรู้ ดังนั้นจึงควรสร้างให้มีความเหมาะสมกับสิ่งที่ ต้องการวัดและสอดคล้องกับ

33 เรื่องที่สอน ผลการวัดและประเมินผลทั่วไปแบ่งระดับคุณภาพ ออกเป็น 5 ระดับ คือ ระดับ 4 3 2 1 และ 0 การแปลความหมาย คอื ดมี าก ดี ปานกลาง พอใช้ และ ปรบั ปรุง 11) ข้อเสนอแนะ เป็นหัวข้อที่กำหนดไว้สำหรับการเสนอทางเลือกหรือแนวทางอื่น ๆ ในการปฏิบัติ ภาระงาน เช่น ในการปฏิบัติภาระงานเขยี นประโยคต่อเนือ่ งเกี่ยวกับบ้านในฝันของ ตนเอง ผู้เรียนอาจวาดรปู บ้านในฝันของตนเองในกระดาษ A4 หรือสมุดการบ้านก็ได้ หรือผู้เรียนอาจตัดภาพบ้านที่ชอบจากสื่อที่มีอยู่ จริงมาเขียนอธิบายบา้ นในฝนั ของตนเองกไ็ ด้ 12) บันทึกหลังสอน เป็นหัวข้อที่ใช้เป็นข้อมูลสารสนเทศที่สำคัญในการปรับปรุง แผนการจัดการ เรียนรู้ เนอ่ื งจากผสู้ อนตอ้ งบันทึกเหตกุ ารณท์ เ่ี กิดขึ้นในห้องเรียนวา่ เปน็ อย่างไร ผสู้ อนไดใ้ ห้ตัวปอ้ นเขา้ (Input) อะไร และผลออกมาเป็นอยา่ งไร ผ้เู รียนผ่านเกณฑ์ที่กำหนดหรือไม่มีอุปสรรคหรือปัจจัยใดที่สง่ ผลต่อการเรียน ของผู้เรียน สรปุ ได้ว่า องคป์ ระกอบของแผนการจัดการเรียนรู้มสี ่วนประกอบ ไดแ้ ก่ ส่วนหัวของแผน สาระสำคัญ ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้ จุดประสงค์การเรียนรู้ ภาระงาน การวัดประเมินผล สื่ออุปกรณ์ กิจกรรมการเรียนรู้ เกณฑ์การประเมนิ ข้อเสนอแนะ และบนั ทกึ หลังการสอน 4.3 ประโยชน์ของแผนการจดั การเรยี นรู้ หากผสู้ อนจัดทำแผนการสอนและใชแ้ ผนการสอนทีจ่ ดั ทำขนึ้ เพือ่ นำไปใชส้ อนในคราวต่อไป แผนการ สอนดังกลา่ วจะเกิดประโยชน์ ดังน้ี (สำนกั งานคณะกรรมการการประถมศกึ ษาแหง่ ชาต.ิ 2544:134) 1) ผู้สอนรูว้ ตั ถปุ ระสงค์ของการสอน 2) ผสู้ อนจัดกิจกรรมการเรียนการสอนดว้ ยความมน่ั ใจ 3) ผู้สอนจดั กจิ กรรมการเรียนการสอนได้เหมาะสมกับวยั ของผูเ้ รียน 4) ผ้สู อนจัดกิจกรรมการเรียนการสอนไดอ้ ยา่ งมีคุณภาพ 5) กรณผี ู้สอนประจำช้ันไมส่ ามารถมาสอนได้ ผสู้ อนคนอืน่ สามารถสอนแทนได้ กฤษดา บุญหม่นื (2555) ไดร้ ะบปุ ระโยชนข์ อง แผนการจัดการเรยี นรไู้ ว้ ดังนี้ 1) เปน็ คมู่ อื ในการดำเนินการจดั กิจกรรมการเรียนรตู้ ามท่กี ำหนด 2) เปน็ คูม่ อื จดั เตรยี มวัสดุ อุปกรณ์ประกอบการจดั กจิ กรรมการเรยี นรู้ 3) เปน็ คูม่ ืออธบิ ายรายละเอียดแนวคิดและขัน้ ตอนการวัดผลประเมนิ ผล 4) เป็นเครอื่ งช้วี ัดประสทิ ธิภาพ และขอ้ บกพรอ่ งในการจัดการเรียนรู้ 5) เป็นหลักฐานในการปฏิบัติการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบมี ขั้นตอนการจัดการ เรียนร้อู ยา่ งมปี ระสิทธภิ าพ สรุปได้ว่า ประโยชน์ของแผนการจัดการเรียนรู้ ทำให้ทราบว่าจะสอนอะไร เมื่อไหร่ อย่างไร เป็น เคร่ืองชี้ทางในการกำหนดพฤติกรรมแกผ่ ู้เรยี น และเป็นเคร่อื งมือในการเลือกกจิ กรรมและวธิ ีการจัดการเรียนรู้ ช่วยให้ผู้สอนบรหิ ารเวลาในการสอนไดอ้ ย่างมีประสทิ ธิภาพ

34 5. ส่อื การเรยี นการสอน 5.1. ความหมายของสอ่ื การเรียนการสอน (Instructional Media) สอ่ื (Media) หมายถึงตัวกลางท่ีใช้ ถา่ ยทอดหรือนำความรู้ในลักษณะตา่ งๆ จากผสู้ ง่ ไปยังผู้รบั ให้เข้าใจ ความหมายได้ตรงกนั ในการเรียนการสอน สื่อใช้เป็นตัวกลางนำความรู้ในกระบวนการสื่อความหมายระหว่างผู้สอน กับผู้เรียนเรียกว่าสื่อการเรียนการ สอน (Instruction Media) ในทางการศึกษามีคำที่มีความหมายแนวเดียวกนั กับสื่อการเรียนการสอน เช่น ส่ือ การสอน (Instructional Media or Teaching Media) สื่อการศึกษา (Educational media) อุปกรณ์ช่วย สอน(Teaching Aids) เป็นต้น ในปัจจุบันนักการศึกษามักจะเรียกการนำสื่อการเรียนการสอนชนิดต่าง ๆ มา รวมกันว่า เทคโนโลยี ทางการศึกษา (Educational) ซึ่งหมายถึง การการนำเอาวัสดุอุปกรณ์และวิธีการมาใช้ ร่วมกันอยา่ งมรี ะบบในการ เรยี นการสอน เพอื่ เพิ่มประสิทธภิ าพการเรยี นการสอน 5.2 หลักการเลือกและใช้สื่อการสอน การเลือกสื่อการสอนเพื่อใช้ในการเรียนการสอน ทำให้ผู้เรียน เกิดการเรียนรู้มากที่สุด จำเป็น จะต้องมีจุดประสงค์ในการเลือกสื่อการสอนที่เหมาะสม ซึ่งหลักการเลือกสื่อ การสอนมี ดงั น้ี 1. ส่อื น้ันต้องสมั พันธ์กับเนือ้ หาบทเรียนและจดุ มุ่งหมายท่จี ะสอน 2. เลือกสื่อที่มีเนื้อหาถูกต้อง ทันสมัย น่าสนใจ และเป็นสื่อที่จะให้ผลตอ่ การเรียนการ สอนมากที่สุด ชว่ ยใหผ้ เู้ รยี นเข้าใจเนือ้ หาวิชานนั้ ไดด้ ี เปน็ ลำดบั ขน้ั ตอน 3. เป็นส่อื ท่เี หมาะสมกบั วัย ระดบั ชน้ั ความรู้ และประสบการณ์ของผเู้ รียน 4. สอื่ นัน้ ควรสะดวกใน การใช้มวี ธิ ีใช้ไมซ่ บั ซอ้ นยุง่ ยากจนเกินไป 5. ตอ้ งเป็นสือ่ ทีม่ คี ณุ ภาพเทคนิคการผลิตท่ดี ี มีความชดั เจน และเปน็ จรงิ 6. มรี าคาไมแ่ พงจนเกินไป หรือถ้าจะผลติ เองควรคมุ้ กับเวลา และการลงทนุ 5.3 หลักการใช้ส่ือการสอน 1. เตรยี มตัวผูส้ อน เปน็ การเตรียมความพรอ้ มของตัวผ้สู อนในการใชส้ อื่ การสอน โดย การทำ ความเขา้ ใจในเน้ือหาท่ีมีในสื่อ ขนั้ ตอน และวธิ กี ารใช้สอื่ เปน็ ต้น 2. เตรียมจัดสภาพแวดล้อม เช่น สถานท่ี ห้องเรยี น ห้อง Lab วัสดุอปุ กรณ์ เครือ่ งไม้ เครอื่ งมือ และสง่ิ อำนวยความสะดวกต่างๆ 3. เตรียมตัวผู้เรยี น เพื่อให้มีความพร้อมที่จะเรียน อาจมีการทดสอบ มีการอธิบาย วิธีการใช้ ส่ือ อปุ กรณ์ เครื่องมอื ตา่ งๆบอกวตั ถปุ ระสงค์ แนะนำหรือใหค้ วามคดิ รวบยอดของเนื้อหาในสอ่ื นน้ั ๆ เป็นตน้ 4. การใช้สอื่ ใหเ้ หมาะกบั ข้ันตอนและวธิ กี าร ตามทไ่ี ด้เตรียมไวแ้ ลว้ และควบคุมการ นำเสนอ สือ่ เพ่อื ใหก้ ารเรยี นการสอนเป็นไปอยา่ งราบรน่ื 5. การติดตามผล (Follow Up ) หลงั จากการใช้สอ่ื การสอนแลว้ ควรมกี ารติดตามผล เพอื่

35 เป็นการทดสอบว่า ผู้เรียนเข้าใจบทเรียน และเรียนรู้ จากสื่อที่นำเสนอไปนั้นอย่างถูกต้องหรือไม่ เช่น การให้ ผู้เรียนตอบคำถาม อภิปราย ทำรายงาน เป็นต้น เพื่อผู้สอนจะได้ทราบจุดบกพร่อง สามารถ นำมาแก้ไข ปรับปรงุ สำหรบั การสอนในครัง้ ต่อไป 5.4 ส่ือการสอนประเภทสอื่ ประสม (Multi – Media) 1. ความหมายของส่ือประสม คือการนำเอาส่ือการสอนหลาย อยา่ งมาใช้ใหส้ ัมพันธ์กันและมี คุณคา่ สง่ เสรมิ ซ่งึ กนั และกนั เพราะสอ่ื การสอนแต่ละอยา่ งจะมจี ำกดั ในตวั เอง 2. ประโยชน์ของส่ือประสม ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ไดส้ รปุ ประโยชน์ ของส่อื ประสมไว้ ดังน้ี - ผู้เรียนสามารถเรียนได้ด้วยตนเองตามที่ต้องการจากแหล่งความรู้ และสอื่ หลาย - ช่วยประหยดั เวลา ไม่ตอ้ งเรียนสิง่ ทีผ่ ู้เรยี นรูแ้ ล้ว - ชว่ ยลดจำนวนนกั เรยี นสอบตก เพราะว่าท้งั นักเรียนเกง่ หรือออ่ นตา่ ง กเ็ รยี นสำเรจ็ แม้จะใช้ เวลาต่างกันสามารถวดั ไดว้ ่าประสบการณ์ใดในสอื่ การสอนประสบความสำเรจ็ 5.5. ขอ้ ควรคำนงึ ในการเลือกสือ่ ประกอบการเรยี นการสอน 1. จุดมุง่ หมายของการสอนและเน้ือหา 2. การเลือกสือ่ ให้เหมาะสมกับวธิ ีการสอน 4.3. การเลือกสอ่ื ใหเ้ หมาะสมกับประสบการณก์ ารเรยี นของผูเ้ รียน 4.4. คำนึงถึงส่งิ อำนวยความสะดวกตา่ ง ๆ ในการใช้ 4.5. พิจารณาถงึ คณุ สมบัติ หนา้ ท่ี และคณุ ประโยชน์ของส่อื แต่ละชนิด จากวธิ กี ารเรยี นรู้ ทั้งหมดที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า กระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning เป็นการ เรียนรู้ที่ เน้นให้ผู้เรียนลง มอื ทำ คดิ วเิ คราะห์ และร่วมมอื กนั แก้ไขปัญหา ผูว้ จิ ัยได้ตระหนักถึงความสำคญั ของ กระบวนการ เรียนรู้แบบ Active Learning เป็นอย่างมากจึงได้ทำการวิจัยในชั้นเรียนขึ้น เพื่อแสดงให้เห็นว่า ห้องเรียนปาน กลางที่มี ทักษะภาษาอังกฤษปานกลาง สามารถแสดงศักยภาพในกระบวนการเรียนรู้แบบ Active learning โดยใช้ วิธีการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม (Activity-based Learning) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็น การพัฒนากระบวนการ แสวงหา ความรู้ และพฒั นาผลสัมฤทธทิ์ างการเรยี นได้เปน็ อยา่ งดี ในบทเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/2 นั้น ผู้วิจัยได้ใช้กระบวนการ เรยี นรู้ แบบ Active Learning มาใช้ในการเรียนการสอนในทุกคาบ 5.6 Blooket https://www.blooket.com/ เป็นเว็บไซต์หนึ่งที่ช่วยสร้างแบบทดสอบออนไลน์ จะสนุกมากกับ การแข่งขัน ซึ่งรูปแบบการสร้างคำถามจะเหมือนกับ Kahoot หรือ Quizizz สามารถสร้างเองหรือนำมาจาก คนอื่นมาใช้ เมื่อสร้างเสร็จแล้วก็เลือกรูปแบบของเกมได้เลย ซึ่งมีหลายรูปแบบมาก เช่น Gold Quest, Cafe, Factory, Battle Royale, Racing, Crazy Kingdom, Tower of Doom หรอื แบบ Classic โดยแตล่ ะรูปแบบ นั้นเมื่อนักเรียนกรอก Code ของห้องไปแล้วจะตั้งชื่อและเลือกตัวละคร ในเว็บจะมีวิธีการเลน่ บอกไว้ โดยผม จะนำเสนอในรปู แบบ Battle Royale เมื่อคุณครเู ขา้ มาแลว้ จะมใี ห้ตง้ั ค่าชวี ติ ของผูเ้ ลน่

36 6.งานวิจัยท่เี กย่ี วข้อง 1. งานวจิ ยั ภายในประเทศ ริมล โพธิ์ชัยรัตน์ (2559) ศึกษาเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ และความพึงพอใจต่อการเรียน ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้วิธีการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (CLT) กับวิธีการสอน แบบตอบสนองด้วยท่าทาง (TPR) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Sample Random Samplings) เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ห้อง 1 จำนวน 35 คน เป็นกลุ่มทดลอง ใช้วิธีการสอนภาษา เพื่อการสื่อสาร (CLT) และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1 ห้อง 2 จำนวน 35 คน เป็นกลุ่มควบคุม ใช้วิธีการ สอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง (TPR) ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่เรียนโดยวิธีการสอนภาษาเพื่อการ สื่อสาร (CLT) เรื่อง Descriptions มีผลการเรียนรู้ในการเรียนภาษาอังกฤษสูงกว่านักเรียนที่เรียนโดยวิธีการ สอนแบบตอบสนองดว้ ยทา่ ทาง (TPR) อยา่ งมีนยั สำคญั ทางสถิติทร่ี ะดบั 0.05 สวุ ิมล พฒุ ริ ุ่งโรจน์ (2559) ศกึ ษาความสามารถในการฟัง-การพดู ภาษาองั กฤษ และความสนใจต่อการ เรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนวัดพเนินพลู โดยใช้วิธีสอนตามแนวทฤษฎีการ สอนภาษาเพื่อการสื่อสารด้วยกิจกรรมเพลงและเกม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนระดับชั้น อนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนวัดพเนินพลู ที่เรียนวิชาภาษาอังกฤษในระดับเตรียมความพร้อม ภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2559 ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการ ประสบการณ์โดยใช้วิธีสอนตามแนวทฤษฎีการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารด้วยกิจกรรมเพลงและเกม แบบ สังเกตพฤติกรรมความสามารถในการฟัง-การพูดภาษาอังกฤษ และแบบสังเกตพฤติกรรมความสนใจต่อการ เรยี นภาษาอังกฤษ สถิติทใี่ ช้ในการวเิ คราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ผลการวิจยั พบวา่ 1. ความสามารถในการฟัง-การพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีท่ี 2 โรงเรียนวัดพเนินพลู โดย ใช้วิธสี อนตามแนวทฤษฎีการสอนภาษาเพ่ือการส่ือสารด้วยกิจกรรมเพลงและเกมหลังการทดลองอยู่ในระดับดี มาก คอื รอ้ ยละ 82.1 2. ความสนใจต่อการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนระดบั ช้ันอนุบาลปีที่ 2 โรงเรยี นวัดพเนนิ พลู โดยใช้วิธีสอน ตามแนวทฤษฎีการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารด้วยกิจกรรมเพลงและเกมหลังการทดลองอยู่ในระดับมาก คือ ร้อยละ 84.3 วาสนา สิงห์ทองลา (2555) ศึกษาการพัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษของนักเรยี นชัน้ ประถมศึกษา ปีที่ 5 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาเพื่อการสื่อสาร มีกลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้น ป.5/3 โรงเรียน ชุมชนบ้านฝาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 15 แผน แบบสังเกต พฤติกรรมผูเ้ รียน และแบบทดสอบทักษะการฟังภาษาอังกฤษ ผลการวิจัยพบวา่ 1. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรยี นรู้ภาษาเพื่อการสื่อสาร โดย มี 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นนำเสนอเนื้อหา ขั้นฝึกทักษะ และขั้นนำไปใช้ ทำให้ผู้เรียนมีโอกาสได้ใช้ภาษาเพื่อการ

37 สือ่ สารในสถานการณ์จริง ส่งผลให้ผู้เรยี นได้รู้จักการช่วยเหลือซึ่งกันและกนั มีความมนั่ ใจ กล้าแสดงออก รู้จัก คดิ และตัดสนิ ใจไดด้ ้วยตนเอง 2. ผู้เรียนมีทักษะการฟังภาษาอังกฤษเฉลี่ย 24.20 คิดเป็นร้อยละ 80.67 และมีจำนวนนักเรียนผ่าน เกณฑ์ 26 คน คิดเปน็ รอ้ ยละ 86.67 ซ่งึ เปน็ ไปตามเกณฑท์ ่ีกำหนดไว้ 3. ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรูภ้ าษาอังกฤษ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ภาษาเพ่อื การสือ่ สาร โดยภาพรวมอยู่ในระดบั มาก วิไล ตันเสียงสม (2548) ได้ศึกษาการพัฒนาความสามารถด้านการฟังและการอ่านภาษาอังกฤษของ นกั เรยี นชนั้ มัธยมศกึ ษาปีท่ี 1 ดว้ ยวธิ กี ารสอนภาษาเพอ่ื การส่ือสาร กลุ่มตวั อย่างได้แก่ นกั เรยี นชั้นมัธยมศึกษา ปที ่ี 1 จำนวน 27 คน โรงเรยี นวดั บางพระ อำเภอนครชยั ศรี จังหวัดนครปฐม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2548 แผนการทดลอง คือ One Group Pretest – Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร 2) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการฟัง ภาษาอังกฤษ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถด้าน การอ่านภาษาอังกฤษ และ 4) แบบสอบถามความคดิ เหน็ ที่มีต่อวิธีการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ทดสอบสมมตุ ฐิ านดว้ ย t-test แบบ Dependent ผลการวิจัย พบวา่ 1) ความสามารถด้านการฟังภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชน้ั มัธยมศกึ ษาปีที่ 1 ก่อนและหลงั การสอนด้วยวธิ ีการสอนภาษาเพ่ือการสื่อสารแตกต่างกันอย่าง มีนัยสำคญั ทางสถิติท่ีระดับ.05 โดยหลังเรยี นมคี ะแนนเฉล่ียด้านการฟงั สูงกว่าก่อนเรยี น 2) ความสามารถด้าน การอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังการสอนด้วยวิธีการสอนภาษาเพื่อการ สื่อสารแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติท่ีระดับ .05 โดยหลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยด้านการอ่านสงู กว่ากอ่ น เรียน 3) นักเรียนมีความคิดเห็นต่อวิธีการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด โดยมีความ คิดเห็นว่าชว่ ยให้นักเรียนไดพ้ ฒั นาจากการฝกึ ภาษาสามารถฟงั อ่านและนำไปใช้ในชีวติ ประจำวันได้ เดชดนัย จุยชุม, เกษรา บาวแชมชอย และศิริกัญญา แกนทอง (2559: บทคัดยอ่) ได้ศึกษาเรื่อง การ พฒั นาผลสมั ฤทธ์ทิ างการเรยี น เรอื่ ง ทักษะการคิดของนกั ศึกษาในรายวิชาทักษะการคิด(Thinking Skills) ด้วย การเรียนรูแบบมีส่วนร่วม (Active Learning) รหัสวิชา 11-024-112 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาพฤติกรรมทางการเรียน (2)เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ (3) ศึกษา ความพงึ พอใจของนักศึกษาในรายวชิ าทักษะการคดิ (Thinking Skills) รหัสวิชา 11-024-112 ภาคเรยี นท่ี 1 ปี การศึกษา 2558 ด้วยการเรียนรแู บบมีสวนรวม (Active Learning) ผลการวิจัย พบว่า (1) พฤติกรรมทางการ เรียนของนักศึกษา หลังการเรียนรูแบบมีส่วนร่วมดีขึ้นทั้งในด้านการทำงานเป็นกลุ่ม การแสดงความคิดเห็น และการแสดงออกเพื่อสะท้อนความคิดเห็นร่วมกัน (2) คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรยี นของนักศึกษา สูงกว่าก่อนเรียน(3) นักศึกษามีความพึงพอใจตอการเรียนรูแบบมีสวนรวม (Active Learning) โดยรวมอยู่ ระดับมาก จฑุ ามาศ เพิม่ พนู เจริญยศ (2561: 95 – 97) ทำการวจิ ัยเรื่อง การพฒั นาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกผ่าน ห้องเรียนอจั ฉริยะสำหรับนักเรยี นระดับชน้ั ประถมศึกษาปีท่ี 6 โรงเรียนอนุบาลไทรโยคโดยมีวัตถปุ ระสงคเ์ พื่อ

38 (1) พฒั นาการจดั การเรยี นร้เู ชงิ รุกผ่านห้องเรยี นอจั ฉรยิ ะสำหรบั นกั เรียนระดับชน้ั ประถมศกึ ษาปีท่ี 6 โรงเรยี น อนบุ าลไทรโยค (2) เปรยี บเทียบผลสมั ฤทธ์ทิ างการเรยี นของนกั เรียนระหวา่ งการจดั การเรียนร้แู บบเดมิ กับการ จัดการเรียนรเู้ ชิงรุกผา่ นหอ้ งเรยี นอจั ฉรยิ ะ (3) ศึกษาปัจจยั ทสี่ ง่ ผลต่อผลสมั ฤทธท์ิ างการเรียนที่ใชร้ ปู แบบการ จดั การเรยี นรเู้ ชิงรุกผ่านห้องเรียนอจั ฉริยะ และ(4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจทมี่ ตี ่อการจัดการเรยี นรู้เชกิ รุกผ่าน หอ้ งเรยี นอจั ฉริยะของนักเรียนระดับชนั้ มัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนบุ าลไทรโยค ผลการวิจยั พบว่า (1) รปู แบบการจัดการเรียนรเู้ ชงิ รกุ ผ่านห้องเรยี นอจั ฉรยิ ะท่ีไดพ้ ัฒนาขนึ้ มคี วามเหมาะสมมาก มคี ณุ ภาพในเกณฑด์ ี โดยประเดน็ ทีผ่ เู้ ชยี่ วชาญส่วนใหญ่มคี วามเห็นวา่ มีคณุ ภาพดีมาก คือ รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชงิ รุกผ่านหอ้ ง อจั ฉรยิ ะสามารถจูงใจในการเรียนรู้ของผู้เรียน (2) การเปรียบเทยี บผลสมั ฤทธ์ทิ างการเรียนของผู้เรยี นระหว่าง การจัดการเรยี นร้แู บบเดิมกบั การจัดการเรยี นรเู้ ชงิ รกุ ผา่ นห้องเรียนอัจฉริยะ พบว่า ผเู้ รียนท่ีมีการใช้รปู แบบ การจัดการเรียนรู้เชิงรุกผ่านห้องเรยี นอจั ฉริยะมคี ะแนนผลสัมฤทธิ์เฉลีย่ สงู กว่าผูเ้ รียนทมี่ ีการจดั การเรียนรู้ แบบเดมิ อยา่ งมนี ยั สำคัญทางสถติ ทิ ี่ระดับ .05 (3) ปจั จยัท่ีสง่ ผลตอ่ ผลสัมฤทธิท์ างการเรียนทใ่ี ช้รปู แบบการ จดั การเรยี นรูเ้ ชงิ รุกผ่านห้องเรียนอจั ฉริยะในระดบั ชน้ั ประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนบุ าลไทรโยคพบวา่ มี ปจั จัย 3 ปจั จัย คือ ด้านผู้เรยี น ด้านผสู้ อน และดา้ นส่ือการเรียนการสอน เปน็ ปัจจัยทสี่ ่งผลตอ่ ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรยี น อยา่ งมีนยั สำคัญทางสถติ ิทรี่ ะดบั .05 สามารถทำนายการเปลยี่ นแปลงผลสมั ฤทธท์ิ างการเรยี น ของนักเรียนได้ ร้อยละ 70.10 (4) ความพงึ พอใจของผู้เรียนท่มี คี วามคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้เชงิ รุกผ่าน ห้องเรยี นอัจฉริยะ พบวา่ โดยรวมผเู้ รยี นมคี วามคิดเหน็ อยู่ในระดบั พึงพอใจมาก สรปุ ได้ว่า การจัดการเรียนรู้ เชงิ รกุ ผ่านหอ้ งเรียนอจั ฉริยะช่วยกระตุ้นหรือเรา้ ความสนใจให้ เกดิ กระบวนการเรยี นรู้ ทักษะกระบวนการคิดวเิ คราะห์ ได้ลงมือปฏิบตั ิดว้ ยตนเอง อิสระในการคน้ คว้า หาความรู้ มเี ทคโนโลยที ีห่ ลากหลายมาชว่ ยสนบั สนนุ และสามารถนำไปประยุกตใ์ ชใ้ นชวี ิตประจำวันได้ ชรนิ ทร ชะเอมเทส (2561: บทคัดยอ่ ) ได้ทำการวิจยั เร่ือง การใชร้ ปู แบบการสอน Active Learning เพอ่ื พฒั นาผลสัมฤทธท์ิ างการเรียนวิชาการบญั ชีบริหาร สำหรบั ผู้เรียนระดบั ปวส. 2 สาขาการบญั ชี โดยมี วตั ถปุ ระสงค์เพอื่ (1) หาประสทิ ธภิ าพของบทเรียนวิชาการบัญชบี ริหาร ทใี่ ชร้ ปู แบบการสอน Active Learning สำหรบั ผู้เรียนระดบั ปวส. 2 สาขาการบญั ชี (2) พัฒนาผลสัมฤทธ์ิทางการเรยี นวิชาการบัญชบี รหิ าร โดยใชร้ ปู แบบการสอน Active Learning (3) ศึกษาความพงึ พอใจของผู้เรยี นทีม่ ีต่อรปู แบบการสอน Active Learning ในรายวิชาการบัญชีบรหิ าร ผลการวิจยั พบวา่ (1) บทเรียนวชิ าการบญั ชีบรหิ ารทีใ่ ชร้ ูปแบบการสอน Active Learning มีประสิทธภิ าพตามเกณฑ์ 80/80 (2) ผู้เรียนมผี ลสมั ฤทธิ์หลงั การเรียนวชิ าการบัญชีบรหิ าร โดยใช้รปู แบบการสอน Active Learning สูงกว่า ก่อนเรียน และ (3) ผู้เรยี นมีความพึงพอใจต่อการเรยี นการสอนวิชาการบัญชีบรหิ าร โดยใชร้ ปู แบบการ สอน Active Learning อยู่ในระดบั มากทสี่ ุด จันทรา แซ่ล่ิว (2561: 82 – 83) ทำการวิจยั เรอื่ ง การจดั การเรยี นรูแ้ บบเชิงรุก (Active learning) ใน รายวิชาการพัฒนาทักษะการคิดสำหรับเด็กปฐมวัย โดยมีวัตถุประสงค์เพือ่ ศึกษาผลการจดั การเรียนรู้แบบเชงิ รุก Active learning ของนักศกึ ษาช้ันปีท่ี 2 ในรายวชิ าการพัฒนาทักษะการคิดสำหรับเด็กปฐมวยั ในประเด็น (1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในรายวิชาการพัฒนาทักษะการคิดสำหรับเด็กปฐมวัย (2) ทักษะการเรียนรู้ใน

39 ศตวรรษที่ 21 และ (3) ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุกActive learning ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลสัมฤทธ์ทิ างการเรยี นของนักศึกษาช้นั ปที ี่ 2 ในรายวชิ าการพฒั นาทักษะการคิดสำหรับเด็กปฐมวยั ภาคเรียน ท่ี 1 ปีการศกึ ษา 2560 จำนวน 60 คน นักศกึ ษามีผลสมั ฤทธ์ิทางการเรียน ในระดบั A จำนวน 17 คน คิดเป็น ร้อยละ 28.33 ในระดับ B+ จำนวน 21คน คิดเป็นร้อยละ 35 ในระดับ B จำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 26.67 ในระดับ C+ จำนวน 5 คน คิดเป็นรอ้ ยละ 8.33 และอยูใ่ นระดับ C จำนวน 1 คน คดิ เปน็ ร้อยละ 1.67 (2) การประเมินทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษท่ี 21 หลังการจัดการเรยี นรูแ้ บบเชิงรกุ Active Learning ทักษะ ที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ทักษะการเห็นอกเห็นใจและการเป็นพลเมืองดี (Compassion) มีค่าเฉลี่ย 4.67 ใน ระดบั มากท่สี ุดคิดเป็นร้อยละ 92.00 ทักษะการเรียนรใู้ นศตวรรษท่ี 21 ทีม่ คี ่าเฉลยี่ น้อยที่สุดคือ ทักษะการคิด สร้างสรรค์ (Creative Skills) มีค่าเฉลี่ย 4.09 ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 81.80 และทักษะที่มีค่าเฉลีย่ ก่อน และหลังการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning มีค่าเฉลี่ยที่ต่างกันมากที่สุดคือ ทักษะด้าน สื่อ เทคโนโลยี และสารสนเทศ (ICT Literacy skills) มคี า่ เฉลี่ยทีแ่ ตกต่างกนั คอื 0.73 และ(3)ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อ การจัดการเรยี นรู้แบบเชิงรุก Active learning ในรายวิชาการพัฒนาทักษะการคดิ สำหรบั เด็กปฐมวยั รูปแบบ ที่นักศึกษามีความพึงพอใจมากที่สุดคือ รูปแบบการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ (Experiential Learning) มี ค่าเฉลี่ย 4.58 ในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 91.60และการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก Active learning ที่ นกั ศึกษามีความพึงพอใจน้อยท่ีสุดคือ รูปแบบการเรยี นรู้โดยการสืบค้น (Inquiry-Based Learning) มีค่าเฉลี่ย 4.41 ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 88.20และประเด็นที่นักศึกษาแสดงข้อคิดเห็นมากที่สุด คือ นักศึกษาได้ จัดทำโครงการบริการวิชาการในสถานศึกษาและชุมชน การจัดประสบการณ์ในสถานศึกษาเป็นการสร้าง ประสบการณ์การเรียนรู้ที่ดีเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ส่งเสริมความกลา้ แสดงออกและได้แก้ปัญหาเฉพาะหน้า ได้อย่างแท้จริงมีค่าความถี่ 49 คน คิดเป็นร้อยละ 81.67 การเรียนรู้นอกห้องเรียนในสถานศึกษา และชุมชน เปน็ การสรา้ งประสบการณ์ที่มีคุณคา่ ต่อการเรียนรู้และการนำไปใชใ้ นวชิ าชีพครูได้จริง มคี ่าความถ่ี 48 คน คิด เป็นร้อยละ 80.00 และการจัดทำโครงการบริการวิชาการในสถานศึกษาและชุมชน เป็นกิจกรรมที่ดีฝึก กระบวนการทำงานที่เป็นระบบ เป็นขั้นตอน มีการวางแผน การทำงานเป็นทีมที่เข้มแข็งและการแก้ปัญหา เฉพาะหนา้ มีค่าความถี่ 42 คน คดิ เป็นรอ้ ยละ 70.00 2 งานวจิ ยั ตา่ งประเทศ เอลลิส (Ellis, 1984) ศึกษาวิธีการสือ่ สารในการประเมินการใช้ภาษาเพือ่ การส่ือสารของนักเรยี นจาก โรงเรียนแห่งหนึ่งในกรุงลอนดอน ซึ่งมีอายุระหว่าง 10 - 12 ปี กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 เป็นนกั เรยี นทเี่ รยี นภาษาอังกฤษในประเทศองั กฤษมาเป็นเวลา 1 ปี จำนวน 16 คน กลุ่มที่ 2 เป็นนกั เรียนท่ี ใชภ้ าษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ จำนวน 16 คน กลุม่ ตัวอยา่ งต้องบรรยายเร่ืองจากภาพเหตุการณ์ซ่ึงประกอบด้วย ภาพย่อย 3 ภาพให้ครูฟัง ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่สามารถสื่อเนื้อหาสาระ ในภาพได้ดีกว่านักเรียนที่ไม่ใช้เจ้าของภาษา นักเรียนที่ไม่ใช้เจ้าของภาษาใช้กลวิธีการถอดความมากกว่า นักเรียนทีเ่ ปน็ เจา้ ของภาษา และสรปุ ว่านกั เรียนทีส่ ามารถใชภ้ าษาได้ดีที่ใชว้ ิธีการการถอดความมากกวา่ วิธีการ หลกี เล่ยี ง

40 จอห์นสัน (Johnson, 1994) ได้ทำการวิจัยเรื่องปัญหาและการปฏิรูปการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร พบว่าในอนาคตการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารนั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่งเพราะมนุษย์ใช้ภาษาในการ ติดต่อสื่อสารและเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลต่าง ๆ และมีความจำเป็นอย่างมากในการดำเนินชีวิต ฉะนั้นจึงจำเป็น อย่างยิ่งที่จะต้องตระหนักและมองเห็นความสำคัญในการส่งเสริมสนับสนุนให้มีการสอนภาษ าโดยใช้วิธีการ สอนภาษาเพือ่ การสอื่ สาร ฮอล์ดนิก (Haldnig, 1996) ได้ทำการวิจัยเรื่อง การสอนวิชาภาษาอังกฤษในโรงเรียนประถมศึกษา ประเทศออสเตรเลีย พบว่า การพัฒนาการสอนวิชาภาษาอังกฤษในโรงเรียนการประถมศึกษานั้นได้มีการ พัฒนาอย่างเปน็ ระบบและสืบเน่ืองกันมาตลอด โดยเฉพาะหลังสงครามโลกครง้ั ท่ีสอง มกี ารส่งเสริมให้มีการจัด กิจกรรมการเรยี นรู้เป็นอยา่ งมาก เนื่องจากความจำเป็นทางด้านการสื่อสารซึ่งนำไปสูก่ ารสอนภาษาอังกฤษใน รปู แบบการสอนภาษาเพื่อการศึกษาอย่างกวา้ งขวางขึน้ และจำเป็นท่ีจะต้องฝึกครูให้มีความรู้ความมามารถใน การใชภ้ าษาใหม้ าก จากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งงานวิจัยในประเทศและงานวิจัยต่างประเทศที่กล่าวมาข้างต้น แสดงให้เหน็ วา่ การจดั การเรยี นรภู้ าษาองั กฤษดว้ ยวธิ ีการสอนตามแนวคดิ ภาษาเพื่อการสอื่ สารสามารถพัฒนา ทักษะในการสื่อสารภาษาอังกฤษของผู้เรียนให้สูงขึ้น ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่า การจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ด้วยวิธกี ารสอนตามแนวคิดภาษาเพอ่ื การสอ่ื สาร ผูเ้ รียนได้ฝกึ ภาษาอังกฤษการโดยส่อื ความหมายให้ผู้อ่ืนเข้าใจ ตามสถานการณ์ และบริบท ไม่ใชเ่ พียงยึดตามหลักไวยากรณ์ท่ีถกู ต้องเทา่ น้ันซ่ึงไดจ้ ดั การเรียนรู้ ประกอบด้วย 5 ข้ันตอน คอื 1. การเตรียมความพรอ้ ม (Warm up) 2. การนำเสนอเนือ้ หา (Presentation) 3. การฝกึ ปฏบิ ัติ (Practice) 4. การใช้ภาษา (Production) และ5. การสรุปบทเรียน (Wrap up) โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มี ส่วนรว่ มในการปฏบิ ัติกิจกรรมใชภ้ าษา จึงสง่ ผลให้ผเู้ รียนมีทกั ษะในการสื่อสารภาษาอังกฤษสูงขนึ้

41 บทที่ 3 วธิ ีดำเนินการวจิ ัย การใชก้ ระบวนการเรียนร้แู บบ Active Learning ในการเสรมิ สร้างทักษะภาษาอังกฤษและพฒั นา ผลสัมฤทธิท์ างการเรียน โดย ใช้ Blooket ของนกั เรยี นชน้ั ประถมศกึ ษาปีท่ี 6/2 โรงเรยี นวดั พชื นิมติ (คำสวสั ด์ิ ราษฎรบ์ ำรงุ ) เปน็ งานวิจัยและพฒั นา (Research and Development) มีวตั ถปุ ระสงค์ 1.เพือ่ สร้างกจิ กรรมการเรียนรทู้ ม่ี ีคณุ ภาพโดยใช้ Blooket เกมคำศพั ทภ์ าษาองั กฤษ ระดับชนั้ ประถมศกึ ษาปที ่ี 6/2 ภาคเรียนท่ี 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรยี นวดั พืชนิมติ (คำสวสั ด์ริ าษฎร์บำรงุ ) 2.เพอื่ เปรยี บเทียบผลสัมฤทธ์ทิ างการเรียนก่อนเรยี นและหลงั เรียนของนกั เรียนที่เรียนรู้ดว้ ยกระบวนการ เรยี นรูแ้ บบ Active Learning โดยใช้ Blooket เกมคำศพั ท์ภาษาองั กฤษ ช้นั ประถมศกึ ษาปีท่ี 6/2 โรงเรยี นวัด พชื นมิ ิต (คำสวสั ดริ์ าษฎร์บำรุง) 3. เพือ่ ศึกษาความพึงพอใจนักเรยี นระดบั ชัน้ ประถมศกึ ษาปที ่ี 6/2 ภาคเรยี นท่ี 2 ปีการศกึ ษา 2564 โรงเรียนวัดพืชนมิ ิต (คำสวัสดริ์ าษฎร์บำรงุ ) โดยผ่านกิจกรรมการออนไลนแ์ ละเกมประกอบการสอน ซึ่งวธิ ีดำเนนิ การท่จี ะได้กล่าวถงึ ตามลำดับดังต่อไปน้ี 1. การออกแบบวจิ ยั 2. เคร่ืองมือทีใ่ ช้ในการวิจยั 3. การสร้างและพัฒนาเคร่ืองมอื 4. การเกบ็ รวบรวมขอ้ มูล 5. การวเิ คราะหข์ ้อมูล 1.การออกแบบวิจยั กลมุ่ ตวั อยา่ ง กล่มุ ตวั อย่าง คือ นักเรยี นชนั้ ประถมศกึ ษาปที ่ี 6/2 จำนวน 23 คน ที่กำลงั ศึกษาอยู่ในภาค เรียนท่ี 2 ปกี ารศึกษา 2564 โรงเรียนวดั พืชนมิ ติ (คำสวสั ด์ิราษฎร์บำรงุ ) ตัวแปรทีศ่ กึ ษา ตวั แปรทใ่ี ช้ในการวจิ ัยครงั้ น้ี ประกอบดว้ ย 2.1 ตัวแปรต้น คือ กระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning โดยใช้ Blooket เกม คำศัพท์ภาษาอังกฤษ 2.2 ตวั แปรตาม ได้แก่

42 2.2.1 ความรู้ดา้ นคำศัพทภ์ าษาอังกฤษ 2.2.2 ผลสัมฤทธกิ์ ารเรยี นรู้ 2.2.3 ความพงึ พอใจที่มีต่อการเรียนรู้กระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning โดยใช้ Blooket เกมคำศัพท์ภาษาองั กฤษ 2.เครอ่ื งมือที่ใช้ในการวจิ ัย เครือ่ งมือที่ใชใ้ นการวิจยั ครัง้ นี้ คือ 1. แผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ เร่ือง On Holiday 2. แบบวดั ผลสัมฤทธท์ิ างการเรยี นวชิ าภาษาองั กฤษเรื่อง On Holiday เปน็ ชุดทดสอบแบบ เลอื กตอบ 3. แบบสอบถามความพงึ พอใจ 3. การสรา้ งและพัฒนาเครื่องมือ การสรา้ งและพัฒนาเคร่ืองมอื กำหนดข้ันตอนในการดำเนินการสร้างตามลำดบั ขัน้ ดังนี้ 1. แผนการจดั การเรยี นรูว้ ชิ าภาษาองั กฤษ เรอ่ื ง On Holiday สำหรับนักเรยี นชน้ั ประถมศกึ ษาปีที่ 6 มีขัน้ ตอนการสรา้ ง ดงั น้ี 1.1 ศึกษารายละเอียดของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และเลือกคำศัพท์ที่จะนำมาจัดทำ โครงสร้างเน้ือหาในแผนการจดั การเรียนรู้ 1.2 คัดเลือกคำศัพท์จากเรื่องเล่าที่เป็นคำคล้องจองที่สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีท่ี 6ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551เพื่อ นำมาจัดทำโครงสร้างเนอ้ื หา 1.3 กำหนดโครงสร้างเนื้อหาเพอื่ จดั ทำแผนการจดั การเรียนรู้ 1.4 ศกึ ษาเอกสารและงานวิจยั ท่เี กีย่ วข้องกบั การจดั การเรียนการสอน 1.5 ศกึ ษาแนวคดิ เกีย่ วกบั การวดั ประเมินผลความรู้ดา้ นคำศัพท์ เพอื่ กำหนดวธิ กี ารวัดและประเมินผล ในแผนการจัดการเรยี นรู้ 1.6 จัดทำโครงสร้างเน้ือหาแผนการจัดการเรยี นรูข้ องนกั เรียนช้ันประถมศกึ ษาปีที่ 6 จำนวน 5 แผน 1.7 สร้างแผนการจดั การเรยี นรู้ตรวจสอบความถูกตอ้ ง ความเหมาะสมของภาษาและเนื้อหาก่อน เสนอให้ผูเ้ ชี่ยวชาญตรวจสอบ 1.8 นำแผนการจัดการเรียนรูเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน เพื่อพิจารณาความสอดคล้องของ จุดประสงคก์ ารเรยี นรกู้ ับองค์ประกอบของแผนการจดั การเรียนรู้ดว้ ย IOC โดยมีเกณฑ์การพจิ ารณา ดงั น้ี

43 +1 เมอ่ื เหน็ ว่า แผนการจัดการเรียนรู้สอดคลอ้ งกบั จุดประสงค์ 0 เมอ่ื ไม่แน่ใจว่า แผนการจัดการเรยี นรสู้ อดคลอ้ งกับจดุ ประสงค์ -1 เม่ือเหน็ วา่ แผนการจัดการเรียนร้ไู มส่ อดคล้องกับจดุ ประสงค์ เกณฑ์การพจิ ารณาแผนการจัดการเรยี นรู้ 1) แผนการจดั การเรยี นรู้ท่มี ีค่า IOC ต้งั แต่ 0.50 - 1.00 มีค่าความเทย่ี งตรงใช้ได้ 2) แผนการจัดการเรยี นรทู้ ี่มีค่า IOC ต่ำกวา่ 0.50 ต้องปรับปรุง 1.9 นำแผนการจดั การเรยี นรู้ทไี่ ด้รบั การตรวจจากผูเ้ ชีย่ วชาญไปปรบั ปรุงแกไ้ ขตามข้อแนะนำ 2. แบบทดสอบความรูข้ องนักเรยี นชน้ั ประถมศึกษาปีท่ี 6 มีขั้นตอนการสร้าง ดงั น้ี 2.1 ศึกษาเอกสารที่เกย่ี วข้องกบั ความรูด้ า้ นคำศัพท์ รวมถึงการวัดและการประเมนิ ผล 2.2 สร้างผังคำศัพท์สำหรบั ใช้ในการทดสอบความรดู้ ้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษ 2.3 ดำเนนิ การสรา้ งแบบทดสอบความรู้ดา้ นคำศัพท์ภาษาอังกฤษ 2.4 นำแบบทดสอบเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญ 3 คน เพื่อตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาของ แบบทดสอบกับตัวชี้วัดและคุณลักษณะของความรู้ด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษ โดยมีเกณฑ์การพิจารณาลง ความเห็น ดงั นี้ +1 ถ้าแน่ใจวา่ ข้อสอบวัดไดต้ รงตามวตั ถปุ ระสงค์ 0 ถา้ ไม่แน่ใจว่าข้อสอบวัดได้ตรงตามวัตถปุ ระสงค์ -1 ถา้ แน่ใจว่าข้อสอบวดั ไดไ้ มต่ รงตามวัตถุประสงค์ 2.5 นำผลการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญมาหาคา่ IOC และเลือกข้อสอบที่มีค่ามากกว่า 0.5 นำมาสร้าง แบบวัด และปรบั ปรุงแก้ไขตามคำแนะนำของผเู้ ชย่ี วชาญ 2.6 นำแบบทดสอบความรู้ด้านคำศัพทภ์ าษาองั กฤษ ไปใช้ทดสอบก่อนเรียนและหลงั เรยี น 4.การเก็บรวบรวมข้อมลู ผวู้ ิจยั ได้กำหนดขั้นตอนการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมลู ดงั น้ี 1. ชี้แจงทำความเขา้ ใจกบั นกั เรยี นเก่ียวกบั วธิ กี ารจดั การเรยี นการสอน ในดา้ นบทบาทของผู้เรียนและ ผ้สู อน จดุ ประสงคก์ ารเรียนรู้ ขั้นตอนการจัดกจิ กรรมการเรยี นการสอน และวธิ ีการประเมนิ ผลการเรียนรู้ 2. ทดสอบก่อนเรียน โดยใช้แบบทดสอบความรู้ด้านคำศัพท์ คำภาษาอังกฤษที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น แล้ว บันทกึ คะแนนทไ่ี ด้จากการทดสอบครง้ั น้ีเปน็ คะแนนก่อนเรียน 3. ดำเนินการจัดการเรยี นการสอนให้แก่นักเรยี นชั้นประถมศกึ ษาปีที่ 6 จำนวน 14 ช่วั โมง 4. ทดสอบหลงั เรยี นโดยใช้แบบทดสอบความรู้ด้านคำศพั ท์ และแบบทดสอบความสามารถในการอ่าน ออกเสยี งคำภาษาอังกฤษทผ่ี ู้วิจัยสร้างขน้ึ

44 5. นำคะแนนจากแบบทดสอบกอ่ นและหลงั เรยี นมาวิเคราะหด์ ว้ ยวธิ ีการทางสถิติโดยใช้การทดสอบ เพื่อทดสอบสมมติฐานที่ต้งั ไว้ 5.การวิเคราะห์ข้อมลู ในการวจิ ัยคร้งั นี้ ผูว้ ิจัยดำเนินการวเิ คราะหข์ ้อมลู โดยใช้สถติ ใิ นการวเิ คราะหด์ ังน้ี 1.วเิ คราะห์หาประสทิ ธิภาพของแผนการจัดการเรียนรูโ้ ดยใช้สตู ร E1 / E2 2.การวิเคราะห์เปรยี บเทยี บคะแนนการทดสอบระหว่างก่อนและหลังเรียนของนักเรยี นโดย ใช้ t-test 3. วเิ คราะห์ความพงึ พอใจ ของผเู้ รยี นหลังเรยี นครบทุกแบบฝกึ เสริมทกั ษะโดยกำหนดเกณฑใ์ นการ แปลความหมายดังตอ่ ไปน้ี ค่าเฉลยี่ 4.51 - 5.00 แปลความว่า พึงพอใจมากท่ีสดุ คา่ เฉลย่ี 3.51 - 4.50 แปลความว่า พึงพอใจมาก ค่าเฉลี่ย 2.51 - 3.50 แปลความว่า พงึ พอใจปานกลาง ค่าเฉลย่ี 1.51 - 2.50 แปลความว่า พงึ พอใจนอ้ ย ค่าเฉลยี่ 1.00 - 1.50 แปลความว่า พงึ พอใจน้อยทสี่ ดุ

45 บทท่ี 4 ผลการวิเคราะหข์ อ้ มลู การใชก้ ระบวนการเรียนรแู้ บบ Active Learning ในการเสริมสรา้ งทักษะภาษาองั กฤษและพัฒนา ผลสัมฤทธท์ิ างการเรียน โดยใช้ Blooket ของนักเรียนช้ันประถมศึกษาปีท่ี 6/2 โรงเรียนวดั พืชนมิ ติ (คำสวสั ด์ิ ราษฎร์บำรุง) เสนอผลการวจิ ัย ดงั น้ี ผลการวิเคราะหข์ ้อมลู 1. การวิเคราะห์หาประสทิ ธิภาพของแผนการจัดการเรยี นรภู้ าษาองั กฤษเร่อื ง On Holiday ระดับชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 6/2 โดยใช้ Blooket เกมคำศัพทภ์ าษาองั กฤษ ตามเกณฑ์ 80/80 คะแนน คะแนนเต็ม คะแนนรวม คะแนนค่าเฉล่ีย รอ้ ยละ เกฑณ์มาตรฐาน 80/80 คะแนนทดสอบระหว่างเรยี น (E1) 30 554 24.09 80.29 80.28 คะแนนทดสอบหลังเรียน (E2) 10 190 8.26 82.61 82.60 จากตาราง พบวา่ แผนการจัดกิจกรรมการเรยี นรู้วิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง On Holiday ของนักเรยี น ชั้น ประถมศึกษาปีท่ี 6 โดยใชก้ ารจัดการเรยี นรู้โดยใช้ Blooket เกมคำศัพทภ์ าษาอังกฤษมปี ระสิทธิภาพ E1/ E2 เทา่ กับ 80.28 / 82.60 เปน็ ไปตามเกณฑ์ 80/80 ทต่ี ั้งไว้ 2.แสดงความสอดคล้องของแผนการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเรื่อง On Holiday ระดับช้ัน ประถมศกึ ษาปที ่ี 6/2 โดยใช้ Blooket เกมคำศัพทภ์ าษาอังกฤษ จากผเู้ ชยี่ วชาญ ข้ อ รายการประเมนิ ระดับคะแนนจากผู้เชย่ี วชาญ ค่า แปลผล ที่ คนที่ 1 คนท่ี 2 คนท่ี 3 IOC 1 แผนการจัดการเรียนรู้สอดคล้องสมั พันธก์ บั 4 5 4 0.87 ใช้ได้ หน่วยการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ 2 แผนการจัดการเรียนรู้มีองคป์ ระกอบสำคญั 5 4 5 0.93 ใชไ้ ด้ ครบถว้ นสัมพนั ธก์ นั 3 การเขยี นสาระสำคญั ในแผนถูกต้อง 4 4 5 0.87 ใช้ได้ 4 จดุ ประสงค์การเรยี นรมู้ คี วามชดั เจน 4 5 4 0.87 ใชไ้ ด้ ครอบคลุมเน้อื หาสาระ