Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore หนังสือมรดกธรรม เล่ม ๕

หนังสือมรดกธรรม เล่ม ๕

Published by koranis9, 2020-11-10 20:07:23

Description: หนังสือมรดกธรรม เล่ม ๕

Search

Read the Text Version

มรดกธรรมศาลาพระราชศรัทธา วัดปทมุ วนารามราชวรวิหาร ปี ๒๕๖๒ เล่มท่ี ๕ คำนำธรรม “คนต่ำงจังหวัด มคี วำมทกุ ข์กำย แต่มคี วำมสุขใจ ในขณะที่คน กรงุ เทพฯ มีควำมสขุ กำย แตก่ ลับมคี วำมทุกขใ์ จกนั มำก ดงั นั้น จึงควรสร้ำงที่พักทำงใจขึ้นในกลำงกรุง” พระราชดารัสส่วนหนึ่งของพระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช พระบรมนาถบพิตร ผู้ทรงพระคุณอัน ประเสรฐิ เมอื่ คร้ังเสดจ็ พระราชดาเนินพร้อมดว้ ยสมเดจ็ พระนางเจ้า สิริกิต์ิ พระบรมราชินีนาถ ในงานพระราชพิธีทอดผ้าพระกฐิน พระราชทานแด่พระสงฆ์วดั ปทมุ วนาราม ปีพุทธศกั ราช ๒๕๓๕ ในปีพุทธศักราช ๒๕๖๑ คณะสงฆ์วัดปทุมวนารามได้ทา สัญญาเช่าพ้ืนท่ีศาลาพระราชศรัทธาและสวนป่าจากสานักงาน ทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ และได้ปรับปรุงสิ่งปลูกสร้างบางส่วน พร้อมทั้งพ้ืนที่โดยรอบเพ่ือให้สอดคล้องและรองรับกับกิจกรรม ต่างๆ ตามนโยบายของคณะสงฆ์วัดปทุมวนาราม โดยยึดหลักการ และแนวทางกิจกรรมทุกอย่าง เพ่ือสืบสานพระราชปณิธานธรรม อันมีค่าแห่งหิตานุหิตประโยชน์ แก่พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย และ เพื่อราลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ของพระองค์ท่านผู้ เสดจ็ สูส่ วรรคาลัย ดังน้ัน คณะสงฆ์พร้อมด้วยอุบาสก และอุบาสิกาวัดปทุม วนาราม จึงได้จัดกิจกรรมสานต่อปฏิปทาพระกรรมฐาน สืบสาน พระราชศรัทธา พระราชปณิธานธรรมเพื่อน้อมถวายเป็นพระราช กุศล ด้วยการกราบนิมนต์พระเถราจารย์ฝ่ายอรัญวาสี มาบรรยาย ธรรมทุกเดือน ที่ศาลาพระราชศรัทธา เพ่ือเป็นการฟื้นฟูและดารง ๑

มรดกธรรมศาลาพระราชศรัทธา วดั ปทมุ วนารามราชวรวิหาร ปี ๒๕๖๒ เล่มท่ี ๕ รักษาไว้ซึ่งปฏิปทาจริยาวัตรอันดีงาม ที่บูรพาจารย์วัดปทุมวนาราม ได้นาพาประพฤติปฏิบัตมิ า ในแต่ละเดือนก็ได้รับความเมตตาจากพระเถรานุเถระ ผู้ ปฏบิ ัติตามปฏิปทาพระกรรมฐานสาย หลวงปู่มน่ั ภรู ทิ ัตตมหาเถระ, หลวงปู่ชา สุภัททมหาเถระ ฯลฯ ดังมีรายนามและคาสอนท่ีปรากฏ ในหนังสือเล่มน้ี ท้ังองค์ความรู้ แนวทางการปฏิบัติ รวมทั้งข้อวัตร ในการดาเนนิ ชวี ติ ของความเปน็ พระที่ไดร้ ับการพรา่ สอนมาจากพระ อุปัชฌาย์และพระอาจารย์ พร้อมกับประสบการณ์ตรงที่ได้ลงมือ ปฏิบัติตามหลักคาสอนของพระพุทธชินสีห์สัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ ถ่ายทอดเป็นคาพดู และบนั ทกึ รวบรวมไวใ้ นหนังสอื มรดกธรรมเลม่ นี้ ผู้อ่านสามารถปลูกศรัทธา ทาความเข้าใจ สร้างกาลังใจ และน้อมนาไปปฏิบัติในชีวิตประจาวันได้ก็จักสาเร็จประโยชน์แห่ง ตนตามสมควรแก่ธรรมท่ีตนได้ประพฤติปฏิบัติ ขออนุโมทนาใน ความวิริยะอุตสาหะของท่านผู้มีจิตศรัทธาในการรวบรวมและ จัดพิมพ์หนังสือมรดกธรรม ศาลาพระราชศรัทธาในครั้งนี้ และขอ ความสขุ ความเจริญจงมแี ก่ทกุ ทา่ นเทอญฯ พระธรรมธชั มนุ ี ประธานบรหิ ารศาลาพระราชศรัทธา เจ้าอาวาสวัดปทมุ วนาราม ๒

มรดกธรรมศาลาพระราชศรทั ธา วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร ปี ๒๕๖๒ เล่มที่ ๕ สำรบญั หน้า คานาธรรม ๑-๒ ๑. พระอาจารย์สธุ รรม สุธมโ̣ ม ๔ – ๔๐ ๒. พระครบู ริหารสมาธคิ ุณ (คาสด อรโุ ณ) ๔๑ – ๖๘ ๓. พระครูกติ ตปิ ญั ญาคุณ (สวาท ปญั ญาธะโร) ๖๙ – ๘๖ ๔. หลวงปู่สงวน ยุตตะธัมโม ๘๗ – ๙๙ ๕. พระครูปญั ญาวรคุณ (ทองแดง วรปัญโญ) ๑๐๐ – ๑๑๕ ๓

มรดกธรรมศาลาพระราชศรัทธา วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร ปี ๒๕๖๒ เลม่ ที่ ๕ พระอำจำรย์สุธรรม สธุ มฺโม วัดปำ่ หนองไผ่ ต.ดงมะไฟ อ.เมอื ง จ.สกลนคร แสดงเมือ่ วนั เสำร์ ท่ี ๒๒ มิถุนำยน พ.ศ. ๒๕๖๒ ณ ศำลำพระรำชศรัทธำ วดั ปทมุ วนำรำม รำชวรวหิ ำร อาราธนาธรรม พร๎ หั ม๎ า จะ โลกาธิปะติ สะหัมปะติ กตั อัญชะลี อนั ธิวะรัง อะยาจาถะ สันตธี ะ สัตตาปปะระชกั ขะชาตกิ า เทเสตุ ธัมมัง อะนกุ ัมปิมงั ประชัง ฯ นะโม ตสั สะ ภะคะวะโต อะระหะโต สมั มาสมั พุทธสั สะ นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสมั พุทธัสสะ นะโม ตสั สะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพทุ ธัสสะ ปชู า จะ ปูชะนยี านงั เอตัมมังคะละมตุ ตะมงั ติ ฯ ๔

มรดกธรรมศาลาพระราชศรทั ธา วดั ปทุมวนารามราชวรวิหาร ปี ๒๕๖๒ เลม่ ท่ี ๕ วันน้ี นับว่าเป็นมงคลต่อชีวิตของพวกเราท้ังหลายอย่างยิ่ง เพราะพวกเราได้ปรารภกันมาร่วมงานวิถีธรรมแห่งบูรพาจารย์อ งค์ หลวงปู่มั่น ภูริฑัตโต ซ่ึงท่านเป็นบูรพาจารย์ในหมู่พระกรรมฐาน สายวัดป่ามาอย่างแท้จริง องค์หลวงปู่มั่นน้ัน เดิมทีนับตั้งแต่ท่านได้ บวชขึ้นมาแล้ว ท่านมุ่งม่ันต่อการศึกษาในทางฝ่ายปริยัติอย่าง สดุ กาลังของท่าน จนกระท่ังท่านรอบรู้ มคี วามเฉลียวฉลาดในปริยัติ ธรรม แต่เมื่อท่านมาพิจารณาในปริยัติธรรมท่ีท่านได้มาศึกษาแล้ว น้ันว่า หากแม้นท่านเพียงศึกษาจดจาเอาไว้เท่านั้น จะไม่ก่อเกิด ประโยชน์อะไรให้แก่ท่านเลย แต่ปริยัติธรรมท่ีท่านได้ศึกษาจดจาไว้ นับต้ังแต่เบื้องต้น ท่ามกลาง และถึงที่สุดน้ัน จะก่อเกิดเป็น ประโยชน์แก่นสารให้แก่ท่านได้อย่างแท้จริงนั้น ก็เพราะท่านนามา ประพฤตปิ ฏิบตั ิ เม่อื ทา่ นลงใจว่าต้องนามาประพฤติปฏิบัตเิ ท่านั้น ท่านก็มา พิจารณาอีกว่า แล้วสถานท่ีใดเล่าท่ีเหมาะต่อการประพฤติปฏิบัติ ท่านก็ลงใจว่า “ป่ำ” นั้น คือชัยภูมิหรือสถำนท่ีท่ีประเสริฐ เหมำะ ต่อกำรประพฤติปฏิบัติอย่ำงยิ่ง นับต้ังแต่องค์ศาสดาท่านได้ ประกาศสอนศาสนามาน้ัน ท่านก็ได้ประกาศสอนมาในป่ามาตลอด แม้บทบัญญัติท่ีท่านทรงบัญญัติเป็นหลักธรรมคาสอนแน่วแน่ต่อ พระทีบ่ วชข้นึ มาในพระศาสนานี้ ในเรอ่ื งการขวนขวายแสวงหาที่อยู่ ที่อาศัย ท่านก็ได้กล่าวคาว่า “รุกขะมูละเสนำสนัง นิสสำยะ ปัพ พัชชำ” เป็นต้น ท่านบอกว่าเธอบวชเข้ามาแล้ว ให้หารุกขมูล โคน ไม้ ชายปา่ เชิงเขา เงอ้ื มถ้า ปา่ รกชัฏ เรอื นรา้ ง เรือนว่าง เปน็ ทอี่ ยู่ที่ อาศยั ของเธอตลอดชีวติ เถดิ เพราะสถานทเ่ี ชน่ นน้ั เปน็ สถานที่เงียบ สงบ ไม่คลุกคลี ไม่พลุกพล่านไปด้วยผู้คน หรือกิจการงานทั้งหลาย ๕

มรดกธรรมศาลาพระราชศรทั ธา วัดปทมุ วนารามราชวรวหิ าร ปี ๒๕๖๒ เลม่ ท่ี ๕ และคนโดยท่ัวไปเขาไม่ค่อยปรารถนา ไม่ตอ้ งการ แต่เหมาะสาหรับ เธอจะแสวงหาเป็นท่ีอยู่ท่ีอาศัย เพ่ือประพฤติปฏิบัติชาระจิตใจของ เธอได้ในสถานท่เี ช่นน้ัน องค์หลวงปู่ม่ันท่านได้พิจารณาอย่างรอบคอบแล้ว เม่ือ ท่านลงใจแล้วว่าป่านั้นคือชัยภูมิอันเหมาะต่อการประพฤติปฏิบัติ หลวงปู่ม่ันท่านจึงได้ทุ่มเทในการประพฤติปฏิบัติของท่านเองอยู่แต่ ตามป่าเขาลาเนาไพร ในสถานท่ีต่าง ๆ อันเป็นสถานที่ทุรกันดาร ทุกข์ยากลาบากแสนเข็ญ ท่านบอกว่าสถานท่ีอย่างนั้นแหละ เป็น สถานที่บ่อเกิดแห่งธรรมะอย่างแท้จริง นับต้ังแต่องค์ศาสดาของ พวกเราท่านทั้งหลาย พระองค์ก็ตรัสรู้ได้ในสถานที่ทุรกันดาร ทุกข์ ยากลาบากอย่างนั้น แม้ท่านได้ประกาศสอนแก่สาวกท้ังหลาย สาวกทั้งหลายท่ีได้ยินได้ฟังแล้วก็ล้วนแต่ปฏิบัติในสถานที่ที่เป็นป่า เขาลาเนาไพร มีความทุกข์ยากขาดแคลน อดจนทุกส่ิงทุกประการ น้ัน สถานท่ีเช่นนั้นได้ก่อเกิดให้เป็น “สังฆัง สะระณัง คัจฉำมิ” ให้ พวกเราได้กราบไหว้มามากมายก่ายกองมาจนกระท่งั ถึงทกุ วันน้ี นี่แหละ คือเส้นทางเดินขององค์หลวงปู่มั่น และเมื่อองค์ หลวงปู่ม่ันท่านได้ประพฤติปฏิบัติจนกระทั่งว่า ท่านได้รู้แจ้งแทง ตลอดในธรรม หายสงสัยในธรรมท้ังหลายแล้ว ท่านจึงได้นาธรรม ท้ังหลายเหล่าน้ัน มาสอนสานุศิษย์ รับมาเป็นสานุศิษย์ของท่าน ท่านก็เน้นอยู่ในป่าในเขาลาเนาไพร ท่ีทุรกันดาร ท่ียากลาบากอีก เช่นกัน เพราะฉะน้ัน ตลอดชวี ิตขององค์หลวงปู่มน่ั น้ัน ทา่ นไม่ได้ไป อยู่ในสถานที่สะดวกสบายเลย ท่านมีแต่อยู่ในป่าในเขา ในสถานท่ี ทุกข์ยากลาบากขาดแคลน แม้ท่านจะเป็นผู้เชี่ยวชาญรอบรู้ใน ๖

มรดกธรรมศาลาพระราชศรทั ธา วดั ปทมุ วนารามราชวรวหิ าร ปี ๒๕๖๒ เล่มท่ี ๕ ธรรมะ จนกระทั่งถึงที่สุดแห่งธรรมแล้ว ท่านก็ไม่มาอยู่ในสถานที่ สะดวกสบายทีร่ ่ารวย เพราะท่านมุง่ เนน้ ที่จะสรา้ งสานศุ ษิ ยข์ องทา่ น องค์ท่านบอกว่า “กำลเวลำในชีวิตของท่ำน ท่ำนเหลือ อีกไม่มำก ท่ำนมีไม่มำก” เพราะฉะนั้น การที่ท่านไม่มีเวลามาก ท่านจึงต้องเน้นลงไปท่ีจะใช้เวลาของท่านนั้นให้ก่อเกิดเป็น ประโยชน์ สรรสาระอย่างแท้จริงต่อผู้คน เพราะฉะน้ัน ในสถานที่ที่ ท่านไปอยู่ด้วยความทุกข์ยากลาบากแสนเข็ญต่าง ๆ ท้ังหลาย เหล่านั้น จึงเปรียบประหน่ึงเหมือนการคัดเลือกศิษยานุศิษย์ เพราะ ศิษยานุศิษย์คนใดท่ีจะเข้าไปประพฤติปฏิบัติกับท่านแล้ว ถ้าหาก แม้นไม่เอาจริงเอาจัง ไม่สละเป็นสละตายแล้ว บุคคลต่าง ๆ ทั้งหลายเหล่าน้ันย่อมไม่มีความสามารถหรือไม่กล้าท่ีจะเข้าไปอยู่ ในสถานท่ีทุกข์ยาก ขาดแคลน อดจนลาบากแสนลาบากทุกสิ่งทุก ประการ แต่บุคคลที่สามารถเข้าไปอยู่ เข้าไปศึกษาประพฤติปฏิบัติ กับท่านหลวงปู่ม่ันได้แล้วนั้น ก็แสดงว่าบุคคลต่าง ๆ ทั้งหลาย เหล่าน้ัน ยอมสละเป็นสละตาย ทุ่มเทมุ่งม่ันปรารถนา เอาจริงเอา จัง ไม่ครั่นคร้ามต่อความทุกข์ยากลาบากต่าง ๆ ท้ังหลาย ท่าน ทง้ั หลายเหลา่ น้ันเข้าไปหาองค์หลวงปู่มั่น ประดจุ เหมือนกบั ภาชนะ ทีม่ นั หงายไว้ ภาชนะท่ีหงายไว้เป็นอย่างไร ฝนตกมากน้อยขนาดไหนก็ สามารถไหลเข้าสู่ภาชนะนั้นได้ บุคคลท่ีเข้าไปหาท่านองค์หลวงปู่ มั่น ประเภทน้ันก็เช่นกัน เป็นประเภทท่ีมุ่งมั่นเอาจริงเอาจัง สละ เปน็ สละตายแลว้ ทา่ นไดห้ งายจติ ของทา่ น ทา่ นได้เปิดจติ เปดิ ใจของ ท่าน เพ่ือจะเข้าไปศึกษาประพฤติปฏิบัติต่อองค์หลวงปู่ม่ันอย่าง แท้จรงิ บคุ คลต่าง ๆ ท้ังหลายเหลา่ นั้น เมื่อเขา้ ไปหาองค์หลวงปู่มั่น ๗

มรดกธรรมศาลาพระราชศรัทธา วดั ปทุมวนารามราชวรวิหาร ปี ๒๕๖๒ เลม่ ท่ี ๕ หลวงปู่มั่นท่านสอนอย่างไร ท่านแนะนาอย่างไร บอกกล่าวอย่างไร ก็ตาม ธรรมท้ังหลายที่ท่านแสดงแล้ว ย่อมร่ัวไหลเข้าไปสู่จิตสู่ใจ ของคนต่าง ๆ ท้ังหลายเหล่านั้นได้อย่างเต็มร้อยอย่างแน่นอน เพราะฉะนั้น เราจงึ ไดย้ นิ ครูบาอาจารยต์ ่าง ๆ ทง้ั หลายมากมายก่าย กองท่ีมีชื่อเสียงเล่ืองลือ เป็นท่ีเคารพกราบไหว้ ยอมรับในคุณธรรม ของท่าน ครูบาอาจารย์ต่าง ๆ ทั้งหลายเหล่านั้น ล้วนแต่เป็นลูก ศิษยข์ ององคห์ ลวงปมู่ น่ั มาท้ังนนั้ ทาไมเป็นอย่างน้ันเล่า ก็เพราะบุคคลท่ีเข้าไปหาองค์หลวง ปู่มั่นน้ัน ล้วนแต่เป็นบุคคลที่สละเป็นสละตาย เป็นบุคคลท่ีเอาจริง เอาจังทุกส่ิงทุกประการ เม่ือเป็นบุคคลท่ีสละเป็นสละตาย เอาจริง เอาจังแล้ว ธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ทรงประกาศสอนโลกไว้ และองค์ หลวงปู่ม่ันได้นามาประพฤติปฏิบัติ และได้นามาสอนต่อมาน้ัน ก็ ล้วนแต่เป็น “ธรรมจริง” เป็นธรรมท่ีเป็นของจริงแท้ เรียกว่า “สัจ ธรรม” อย่างแท้จริง เพราะฉะน้ัน สัจธรรมท่ีแท้จริงย่อมเข้ากับคน จริงได้อย่างแน่นอน เมื่อบุคคลต่าง ๆ ท้ังหลายเหล่าน้ันเข้าไปหา องค์หลวงปู่มนั่ ลว้ นแตเ่ ปน็ คนจริง ก็ยอ่ มเขา้ กับของจรงิ ได้ นีแ่ หละ จงึ บคุ คลใดก็ตามทเี่ ข้าไปศึกษาประพฤติปฏิบัติกับ องค์หลวงปู่มั่นแล้ว บุคคลต่าง ๆ ทั้งหลายเหล่าน้ันจงึ เป็นบุคคลผ้ทู ่ี ก้าวไปสู่ความเจริญก้าวหน้ามั่นคง ก้าวไปสู่ความสาเร็จแห่งการ ประพฤติปฏิบัติธรรม จนกระทั่งเป็นท่ียอมรับเคารพกราบไหว้ ของศิษยานุศิษย์ท่ัวทุกหนทุกแห่ง และบุคคลต่าง ๆ ทั้งหลาย เหล่านั้น ที่เราได้ยกย่องท่านว่าเป็นครูบาอาจารย์ ท่านต่าง ๆ ทั้งหลายเหล่านั้น เมื่อท่านได้ประพฤติปฏิบัติจนรู้จริงเห็นจริงแล้ว ท่านก็ไม่เพียงแค่เสวยต่อความสุขในธรรมของท่านแต่เพียงผู้เดียว ๘

มรดกธรรมศาลาพระราชศรทั ธา วัดปทมุ วนารามราชวรวหิ าร ปี ๒๕๖๒ เลม่ ท่ี ๕ เท่านั้น แต่ท่านทั้งหลายเหล่าน้ันก็ได้มาทาหน้าท่ีสืบต่อจากองค์ หลวงปู่ม่ัน ได้นาธรรมท้ังหลายเหล่านั้นมาประกาศสอนโลก สอน ผู้สอนคน เป็นครูบาอาจารย์ข้ึนมา จนก่อเกิดเป็นสายวัดป่าเรา มากมายก่ายกอง ดังท่ีพวกเราท่านท้ังหลายกไ็ ดเ้ ห็นได้ทราบกันดีอยู่ แล้ว เพราะฉะน้ัน ในวันนี้ที่พวกเราได้มาถึงสถานที่น้ี ได้ปรารภ ถึงองค์หลวงปู่มั่น ส่ิงที่จะประเสริฐท่ีสุดก็คือการน้อมนาเอา หลกั ธรรมท่ีพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ และองค์หลวงปมู่ ่ันได้นามา ประพฤติปฏิบัติ และได้แสดงสืบต่อมานั้น นามาประพฤติปฏิบัติ ด้วยตัวของเราเอง เพราะศาสนธรรมของพระพุทธเจ้าน้ัน จะให้ ประโยชน์แก่พวกเราได้อย่างแท้จริง ไม่ได้ให้แค่พวกเราด้วยการ กราบไหว้ อ้อนวอนขอร้อง หรือมาให้เสก ให้เป่า ให้ดลบันดาล ให้ พวกเราเป็นอะไรตามท่ีพวกเราปรารถนาต้องการน้ัน ย่อมเป็นไป ไม่ได้ แต่ศาสนธรรมของพระพุทธเจ้านั้น หากแม้นผู้ใดก็ตามน้อม นาไปประพฤติปฏิบัติแล้ว บุคคลผู้ประพฤติปฏิบัตินั้นย่อมได้รับผล จากการประพฤติปฏิบัติธรรมน้ันอย่างแน่นอน เพราะธรรมของ พระพุทธเจ้าน้ันเป็นสากล ไม่มีท่านใดผูกขาดไว้เป็นของบุคคลผู้นน้ั เพียงผู้เดียวได้ แต่จะวางไว้เป็นสาธารณะ เป็นสมบัติของบุคคลผู้ท่ี จะน้อมนามาประพฤติปฏิบัติด้วยกันท้ังน้ัน และเม่ือเราน้อมนามา ประพฤติปฏิบัติแล้ว ไม่ได้อะไรจากการประพฤติปฏิบัติน้ันย่อม เป็นไปไม่ได้ เปรียบประดุจเหมือนอาหาร อาหารถ้าพวกเรานามา รับประทาน แล้วไม่ได้อะไรเลยจากการรับประทานน้ันย่อมเป็นไป ไม่ได้ แม้การรับประทานของเราไม่ถึงกับอิ่ม ยังไม่สามารถไปดับ ๙

มรดกธรรมศาลาพระราชศรัทธา วดั ปทุมวนารามราชวรวหิ าร ปี ๒๕๖๒ เล่มท่ี ๕ ความหิวกระหายให้หมดสนิ้ ไปจากเราได้ก็ตาม แต่อย่างน้อย ๆ เรา ก็ได้รับความเอร็ดอร่อยชุ่มฉ่า จากอาหารท่ีเรารับประทานเข้าไป บ้างแล้ว แต่ถ้าหากแม้นพวกเรารับประทานต่อเน่ืองเข้าไป ไม่หยุด ไม่ท้ิงไม่ขว้างแล้ว เราก็สามารถก้าวไปถึงจุดหมายปลายทาง คือ ความอ่ิม ระงบั ดับความหวิ กระหายของเราเองได้อย่างแนน่ อน ธรรมท่ีเราน้อมนามาประพฤติปฏิบัติก็เช่นกัน แม้การ ประพฤติปฏิบัติของเรายังไม่สามารถไประงับดับกิเลสอาสวะ ทั้งหลายน้ัน ที่เป็นตัว สมุทัย เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ที่ครอบงาจิตใจ ของเราไว้ให้หมดสิ้นออกไปจากจิตจากใจของเราได้ก็ตาม แต่อย่าง น้อย ๆ เราก็ได้รับความร่มเย็น เบิกบาน อบอุ่น จากการหล่อเล้ียง ของธรรมะที่เราประพฤติปฏิบัติเข้าสู่จิตสู่ใจของเราแล้วนั้น ชีวิต ของพวกเราท่านท้ังหลาย หากแม้นเราดาเนินชีวิตไป จะยาวไกล ขนาดไหนก็ตาม ถา้ หากดาเนินชีวิตไปด้วยความอบอุ่น ความร่มเย็น ความเบิกบาน ผ่องใสแล้ว ชีวิตน้ันก็มีคุณค่า ชีวิตนั้นก็น่าอยู่น่า อาศยั เพราะฉะนั้น การทีพ่ วกเราได้มาถึงโอกาสน้ี เราจงึ ไม่ควรที่ จะนิ่งนอนใจ ควรรีบเร่งขวนขวาย น้อมนาเอาหลักธรรมทั้งหลาย เหล่าน้ันมาประพฤติปฏิบัติเข้าสู่จิตสู่ใจของเราต้ังแต่บัดน้ี เพราะ ธรรมที่องค์หลวงปู่มั่นได้ประพฤติปฏิบัติ และได้นามาเปิดเผยต่อ สานุศิษย์ต่าง ๆ ทั้งหลาย จนกระทั่งสานุศิษย์ต่าง ๆ ทั้งหลาย เหล่าน้ัน อันมีครูบาอาจารย์ต่าง ๆ ทั้งหลาย ได้นามาประพฤติ ปฏิบตั จิ นเป็นสายปฏิบัติ เป็นสายวดั ป่าเรานัน้ ทา่ นล้วนเนน้ ลงไปท่ี การปฏิบัติดว้ ยกนั ท้ังนั้น ไม่ว่าจะภายนอกหรอื ภายในกต็ าม ลว้ นแต่ เป็นผลเข้ามาสจู่ ติ สูใ่ จของพวกเราเองท้งั นนั้ ๑๐

มรดกธรรมศาลาพระราชศรทั ธา วดั ปทมุ วนารามราชวรวหิ าร ปี ๒๕๖๒ เล่มที่ ๕ เพราะว่าชีวิตของพวกเราน้ัน เราปฏิเสธไม่ได้ว่า พวกเรา ท่านท้ังหลายเกิดมาบนโลกน้ีแล้ว ล้วนแต่ปรารถนาความสุข ไม่มี ท่านใดปรารถนาความทุกข์เลย แล้วความสุขที่จะเกิดขึ้นต่อชีวิต ของพวกเราน้ัน มันจะเกิดข้ึนท่ีไหนเล่า มนั จะเกดิ ข้ึนที่ใจเท่านั้น ไม่ มีท่ีอ่ืนเลยท่ีจะเป็นภาชนะรองรับสุข ส่วนธาตุขันธ์ร่างกายของเรา น้ัน เราจะไปหาสุขจากร่างกายน้ันย่อมเป็นไปไม่ได้ แต่เราสามารถ เอาร่างกายนี้มาเป็นเครื่องมือ ท่ีจะสร้างสุขขึ้นมาท่ีจิตท่ีใจของพวก เราได้ สว่ นรา่ งกายของเราเองน้นั มันกต็ อ้ งเปน็ ภาระให้พวกเราต้อง มาเยียวยาบริหารมันนับต้ังแต่วันที่เราเกิดขึ้นมาแล้ว ดั่งที่ พระพุทธเจ้าได้ทรงกล่าวไว้ว่า ภำรำหะเว ปัญจักขันธำ ขันธ์ ๕ น้ัน เป็นภำระให้พวกเรำต้องเยียวยำ บริหำรมันอยู่ตลอดมำ เพราะถ้าพวกเราไม่เยียวยาบริหารมัน มันก็อยู่ไม่ได้ มันถึงกับ แตกดับไดอ้ ยา่ งแนน่ อน นบั ต้งั แต่วันเราเกิดมาแล้ว เห็นไหม เราทน ต่อความหิวกระหายไม่ได้ เราก็ต้องบริหารมัน เยียวยามันด้วยการ รบั ประทาน แมร้ ับประทานไปมนั ก็ไปบรรเทาความทุกขท์ ี่บีบคั้นเรา ด้วยความหิวกระหายได้เพียงชั่วระยะส้ัน ๆ เพียงแค่ ๓ - ๔ ชั่วโมง มันก็หิวกระหายมาอีก เราก็ต้องไปบรรเทามันด้วยการรับประทาน อกี น่ีแหละ ชวี ิตของพวกเรา ในส่วนของเรือนกายนั้น ก็มีแต่การบริหารมัน เยียวยามัน ให้พออยู่ได้เท่านั้น แต่ในขณะเดียวกัน ถ้าหากท่านใดก็ตามมีความ เฉลยี วฉลาด ก็ไมค่ วรทจี่ ะนอนใจอยู่เพียงแค่การเยยี วยาการบริหาร ร่างกายเท่านั้น ถ้าหากมีเพียงแค่การบริหารร่างกายการเยยี วยามัน เทา่ นนั้ ชีวิตของพวกเราจะสญู เปลา่ อย่างยงิ่ เราจะไมไ่ ดร้ ับแก่นสาร สาระอะไรเลย เพราะการท่ีเราจะเยียวยาบริหารร่างกายของเรา ๑๑

มรดกธรรมศาลาพระราชศรทั ธา วัดปทมุ วนารามราชวรวิหาร ปี ๒๕๖๒ เลม่ ที่ ๕ ด้วยความประณีตวิจิตรอย่างไร ด้วยของดิบของดีขนาดไหนก็ตาม จะให้ร่างกายของเราเป็นไปเพ่ือความเจริญน้ันย่อมเป็นไปไม่ได้ มัน มีแต่เสื่อมไป ๆ เพียงแค่มันเส่ือมช้าหน่อยก็เท่าน้ันเอง แต่ถึงที่สุด แล้วกค็ อื “เสอื่ มส้ิน” ไปถงึ ความแตกดับไดอ้ ย่างแนน่ อน แต่ในขณะน้ี แม้นเราจะต้องเยียวยาบริหารมันอยู่ก็ตาม แต่ถ้าเราไม่นอนใจแล้ว เรารีบเร่งเอาเรือนกายนี้มาเป็นเครื่องมือที่ จะมาสร้างสุขที่ใจของเรา พระพุทธเจ้าเองพระองค์ก็ได้อาศัยเรือน กายนี่แหละ มาเป็นเครื่องมือในการที่จะสร้างสุขขึ้นมาท่ีใจของ พระองค์ แม้พระสงฆ์สาวกอรหันต์ท้ังหลายก็เช่นกัน เรือนกายของ ทา่ นก็ไม่ไดแ้ ตกต่างจากพวกเรา ล้วนแตเ่ ป็นกองทกุ ข์ทงั้ นัน้ แตท่ า่ น ท้ังหลายเหล่าน้ันไม่นอนใจท่ีจะมาเพียงแค่บริหารเยียวยาดูแล ร่างกายเท่านั้น แต่ท่านทั้งหลายเหล่านั้นได้ตื่นตัวที่จะน้อมนาเอา กายมาเป็นเคร่ืองมือ ท่ีจะมาอบรมจิตอบรมใจของท่าน สร้างสุข ขน้ึ มาทใ่ี จของท่าน แล้วท่านจะ “สร้างสุข” ขึ้นมาได้อย่างไรเล่า เราก็มา พิจารณาดูว่าตัวของเราเอง ชีวิตของพวกเราเอง แม้เราเกิดขึ้นมา เพียงคนเดียวบนโลกน้ีก็จริงอยู่ แต่เราไม่สามารถดารงชีวิตอยู่เพียง คนเดียวได้ เราตอ้ งอยกู่ ันเปน็ หมูเ่ ป็นคณะ แตก่ ารอย่รู วมกนั เป็นหมู่ เป็นคณะของพวกเราน้ัน ก็อาศัยว่าพวกเรามาจากหลายเชื้อชาติ หลายวรรณะแตกต่างกัน เพราะฉะน้ัน ความคุ้นเคยหรือความเคย ชินในการประพฤติปฏิบัติของพวกเรานั้น มันก็มีความหยาบ ละเอียดแตกต่างกัน ตามความเคยชินของแตล่ ะท่านแต่ละคน ไมว่ า่ จะเป็นเชื้อชาติวรรณะไหน ไม่ว่าจะอยู่ในตระกูลใดก็ตาม ความ หยาบ ความละเอียด หรือ ความปานกลางนน้ั ย่อมมีความแตกตา่ ง ๑๒

มรดกธรรมศาลาพระราชศรัทธา วดั ปทมุ วนารามราชวรวหิ าร ปี ๒๕๖๒ เลม่ ที่ ๕ กนั แตเ่ มอื่ การมาอยรู่ วมกนั เปน็ หมเู่ ปน็ คณะ ถา้ แต่ละทา่ นแต่ละคน ไม่มีขอบเขตของการกระทาหรือการพูดจาแล้ว การกระทาหรือการ พูดจาของตนก็เป็นไปตามความเคยชินของตนเอง ในความหยาบ บา้ ง ความละเอยี ดบา้ ง หรอื ความปานกลางบา้ ง การอยู่รวมกันเป็นหมู่เป็นคณะก็ย่อมเกิดการปีนเกลียวกัน เกิดการเบียดเบียนกัน แล้วการอยู่รวมกันของพวกเราจะมีความ อบอุ่นมีความร่มเย็นไปได้อย่างไร ย่อมเป็นไปไม่ได้ นอกจากมีแต่ ความเดือดร้อน มแี ต่ความกงั วล มีแตค่ วามเรา่ ร้อนทุรนทรุ ายในการ อยู่ร่วมกันเท่าน้ัน แล้วเมื่อการอยู่ร่วมกันของพวกเรามีแต่ความเร่า ร้อน มีแต่ความทุรนทุราย มีแต่ความกังวล ปีนเกลียวกันตลอดแลว้ เราจะไปขวนขวายแสวงหาอรรถแสวงหาธรรม หรือแสวงหา ความก้าวหน้า ความเจริญย่ิงขึ้นในชีวิตของพวกเรา มันจะไป แสวงหาได้อย่างไร ย่อมเป็นไปไม่ได้ เพราะฉะนั้น ในเบ้ืองต้นนั้น พวกเราต้องปูพื้นฐานของการอยู่ร่วมกัน ให้มีความอบอุ่นความ ร่มเย็นกนั ใหเ้ กดิ ขึน้ มาในหมู่ในคณะเสียก่อน ควำมร่มเย็น หรือ ควำมอบอุ่น ท่ีจะเกิดข้ึนมำในหมู่ใน คณะได้น้ัน ก็เพรำะแต่ละท่ำนแต่ละคนต้องมีขอบเขต ของกำร พูดจำ ของกำรกระทำ ขอบเขตของกำรพูดจำและของกำร กระทำน่ีแหละ ที่เรำเรียกกันว่ำ “ศีล” เพราะฉะน้ัน “ศีล” ล้วน แต่มีอยู่แล้วในพวกเราทุกท่านทุกคน ศีลน้ันไม่ได้มีหรือเกิดข้ึนมา จากการที่พวกเราไปสมาทานหรืออาราธนา กล่าวคาปาณาติปาตา อทินนาฯ ต่าง ๆ นานา ท้ังหลายเหล่านั้น ส่ิงเหล่านั้น เราก็ไม่ ปฏิเสธ เพราะเป็นศาสนพิธีอันหนึ่ง แต่ศีลท่ีแท้จริงน้ันมันเกิด ขึ้นมำจำก “เจตนำ” ของพวกเรำเอง ในสภาพฐานะของปถุ ชุ นคน ๑๓

มรดกธรรมศาลาพระราชศรทั ธา วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร ปี ๒๕๖๒ เลม่ ที่ ๕ มีกเิ ลส ถ้าหากพวกเรามีเจตนาท่ีจะควบคุมกิเลสให้มันอยู่ในขอบใน เขตแล้ว เราตั้ง “เจตนา” ข้ึนมา ณ สถานที่ใดก็ตาม เราจะเป็น บุคคลท่ีมีศีลในสถานท่ีเช่นนั้น ไม่ว่าจะอยู่ในป่า อยู่ในเมือง อยู่ใน วัด อย่ใู นบ้านกต็ าม เราจะเปน็ บคุ คลทม่ี ีศลี ขน้ึ มาทันที ส่วนศีลของพวกเราจะมีความบริสุทธิ์ข้ึนมา ก็เพราะพวก เรามีความอดกล้ันกิเลส ไม่ปล่อยให้กิเลสมันล้นขอบล้นเขตออกมา จนกระทัง่ นา กาย วาจา ของเราไปเปน็ เครอ่ื งมือของมนั เพยี งเท่านี้ เราก็มีศีลอันบรสิ ุทธิ์แล้ว เช่นว่า ถ้ำหำกพวกเรำมีควำมอดกลัน้ ตอ่ กิเลส “ควำมโกรธ” แม้กิเลสความโกรธมันจะลุกโพลงข้ึนมาใน หัวใจของพวกเราก็ตาม แต่เม่ือพวกเรามีความอดกล้ันต่อกิเลส ความโกรธ ไม่ปล่อยให้มันล้นขอบล้นเขตออกมำ จนกระท่ังนำ กำย วำจำ ของเรำเป็นเคร่ืองมือของมัน ทำงด่ำบ้ำง ทำงฆ่ำบ้ำง ทำงตบี ้ำง ศีลข้อที่ ๑ ของเรำก็ยงั คงมีควำมบริสุทธ์ิ ทั้ง ๆ ทีเ่ รายงั มีความโกรธอย่นู นั้ เอง ส่วนศีลข้อท่ี ๒ แม้พวกเรามีความโลภอยู่ แต่หำกพวกเรำ มีควำมอดกลัน้ ตอ่ ควำมโลภ ไม่ปล่อยให้ควำมโลภมนั ล้นขอบล้น เขตออกมำจนกระทั่งไป ลัก ฉกชิงวิ่งรำว คดโกงของคนอื่นเขำ แม้การได้มาของเรา กไ็ ดม้ าด้วยความสุจริต อาชพี ของเราได้มาด้วย ความสามารถของพวกเราเองนัน้ แมจ้ ะไดม้ าน้อยกวา่ การได้มาด้วย อานาจแห่ง “ความโลภ”ก็ตาม แต่กำรได้มำของพวกเรำ ก็ได้มำ ด้วยควำมสบำยอกสบำยใจ มำกินอยู่ใช้จ่ำย ก็กินอยู่ใช้จ่ำยด้วย ควำมสบำยอกสบำยใจ น่ีศลี ข้อท่ี ๒ ของพวกเรำกบ็ รสิ ทุ ธิ์ ส่วนศีลข้อที่ ๓ เมือ่ เราตั้งครอบครวั ขน้ึ มา แตล่ ะท่านแตล่ ะ คนก็ปรารถนาครอบครัวท่ีมีความสุข ความอบอุ่น ครอบครัวจะมี ๑๔

มรดกธรรมศาลาพระราชศรทั ธา วัดปทุมวนารามราชวรวหิ าร ปี ๒๕๖๒ เล่มที่ ๕ ความสุขความอบอุ่นขึ้นมาได้ ก็ข้ึนอยู่กับสามีภรรยา สามีภรรยา ต้องมีขอบเขตของ “ราคะ” สำมีก็ต้องมี “รำคะ” อยู่ในขอบเขต ของภรรยำตน ไม่ปล่อยให้ล้นขอบล้นเขตไปสู่หญิงอื่น ส่วน ภรรยำก็ต้องมี “รำคะ” อยู่ในขอบเขตของสำมีของตน ไม่ปล่อย ให้ล้นขอบล้นเขตไปสู่ชำยอื่น สามีก็มีขอบเขตที่ภรรยาตน ภรรยา กม็ ีขอบเขตท่สี ามตี น ต่างคนตา่ งมีขอบมีเขต ไมล่ น้ ไปสู่หญงิ อื่นชาย อ่ืน สำมีก็ไว้ใจในภรรยำ ภรรยำก็ไว้ใจในสำมี ต่ำงคนต่ำงไว้เนื้อ เช่ือใจ มีควำมสมัครสมำนสำมัคคีกลมเกลียวเป็นอันหน่ึงอัน เดียวกันแล้ว แม้มีลูกมีหลานออกมา ลูกหลานท่ีมีพ่อแม่ท่ีมีความ ซ่ือสัตย์สุจริตต่อกัน มีความซื่อสัตย์สมัครสมานสามัคคีกลมเกลียว เป็นอันหน่ึงอันเดียวกันแล้ว ครอบครัวนั้นก็มีความสุขความอบอุ่น เมื่อพ้ืนฐานของครอบครัวมีความสุขความอบอุ่นอยู่แล้ว เขาจะไป ขวนขวายแสวงหาเงินทองลาภยศตา่ ง ๆ ท้ังหลายด้วยการประกอบ กิจการงานอาชีพต่าง ๆ ทั้งหลาย เขาก็มีกาลังจิตกาลังใจไป ขวนขวายแสวงหามาสู่ครอบครัว ผลที่สุด ครอบครัวน้ันก็เป็น ครอบครัวท่ีมั่นคงย่ังยื น มีความสุขความอบอุ่น มีความ เจรญิ ก้าวหนา้ หาความมนั่ คงไปสวู่ งศ์ตระกลู ได้อยา่ งแน่นอน แต่ถ้าหากครอบครัวใดก็ตาม ต่อให้เป็นครอบครัวท่ีมี ยศถาบรรดาศักดิ์เต็มบ่าไหล่ เป็นครอบครัวของมหาเศรษฐีขนาด ไหนก็ตาม ถ้าหากไม่มีขอบเขตของราคะแล้ว สามีก็ปล่อยให้ราคะ ล้นขอบล้นเขตไปสู่หญิงอ่ืน ภรรยาก็ปล่อยให้ล้นขอบล้นเขตไปสู่ ชายอ่ืน ต่างคนต่างล้นขอบล้นเขตไปสู่หญิงอ่ืนชายอ่ืน สามีก็ระแวง ในภรรยา ภรรยาก็ระแวงในสามี ต่างคนต่างระแวงต่อกันแล้ว แม้ ประกอบกิจการงานอาชีพได้มามากน้อยขนาดไหน ก็มีแต่ความ ๑๕

มรดกธรรมศาลาพระราชศรัทธา วดั ปทมุ วนารามราชวรวิหาร ปี ๒๕๖๒ เลม่ ท่ี ๕ ระแวงว่าเงินจะรั่วไหลออกไปทางนู้น จะร่ัวไหลออกไปทางนี้ ผล ท่ีสุด ก็มีแต่การปีนเกลียวทะเลาะเบาะแว้ง ถึงข้ันตบตีกัน แล้วจะมี ความสุขความอบอุ่นไปได้อย่างไร แม้นมีลูกมีหลานออกมา ลูกหลานท่ีมีแต่พ่อแม่ที่มีแต่การปีนเกลียว การระแวงกันอยู่ ตลอดเวลา แล้วจะหาความสุขกันได้อย่างไร ย่อมเป็นไปไม่ได้ นอกจากพังทลายแตกแยกไปในทส่ี ดุ อย่างแนน่ อน ไมเ่ ปน็ อย่างอื่น เปรียบประดุจเหมือนต้นไม้ที่มีกาฝากมาเกาะกินอยู่แล้ว แม้นเราจะไปรดน้าพรวนดินดูแลมันอย่างประณีตดิบดีอย่างไร จะ ให้ตน้ ไมน้ ัน้ เจริญงอกงามขึ้นนน้ั ยอ่ มเป็นไปไมไ่ ด้ นอกจากเหย่ี วเฉา ถึงตายจากไปเท่านั้น แต่ถ้าหากพวกเราพากันระมัดระวังไม่ให้มี กาฝากมาเกาะกินต้นไม้น้ันแล้ว พยายามรดน้าพรวนดินดูแลอย่าง ดิบดีแล้ว ต้นไม้นั้นก็มีความเจริญงอกงามจนกระท่ังถึงเจรญิ ใหญ่โต ให้ร่มเงา แก่ผู้คนได้อย่างมากมายก่ายกองอย่างแน่นอน ไม่เป็นท่ี สงสัยเลย ครอบครัวก็เช่นกนั ถ้ำครอบครัวทส่ี ำมภี รรยำมีขอบเขต หนักแน่นมั่นคงอยู่ในศีลข้อที่ ๓ แล้ว ครอบครัวนั้นก็มีควำมสุข ควำมอบอุ่นย่ิง ๆ ข้ึนไปอย่ำงแน่นอน ศีลข้อท่ี ๓ ก็เป็น หลกั ประกันในครอบครวั อย่ำงแน่นอนอยำ่ งแทจ้ รงิ ส่วนศีลข้อท่ี ๔ การส่ือความหมายให้ได้ ให้ก่อเกิดเป็น ประโยชน์ ก็ส่ือกันได้ด้วยคาพูดคาจา แต่ถ้าหากปล่อยความคะนอง มาครอบงาวาจาเอาไว้เสียแล้ว พูดด้วยความคะนอง พูดด้วยความ โป้ปดมดเท็จ พูดด้วยความเพ้อเจ้อ พูดด้วยไร้เหตุไร้ผล พูดด้วย โกหกพกลม ต่าง ๆ นานา ผลท่ีสุดคาพูดคาจาของเราก็เป็นที่ รังเกียจของบุคคลอื่นที่เขาได้ยินได้ฟัง แล้วจะพูดให้ก่อเกิดเป็น ประโยชน์ มันจะก่อเกิดเป็นประโยชน์ไปได้อย่างไรเล่า มันย่อม ๑๖

มรดกธรรมศาลาพระราชศรัทธา วดั ปทุมวนารามราชวรวหิ าร ปี ๒๕๖๒ เล่มท่ี ๕ เป็นไปไม่ได้อย่างแน่นอน แต่ถ้ำหำกพวกเรำรู้จักควบคุมควำม คะนองไม่ให้มำครอบงำวำจำของเรำ พูดด้วยคำสัตย์คำจริง พูด ด้วยเหตุด้วยผล พูดด้วยอรรถด้วยธรรม พูดด้วยปิยวำจำอัน ไพเรำะแลว้ คาพดู คาจาของเราก็เป็นท่ียกย่องเชิดชู ของบคุ คลอ่ืนที่ เขาได้ยินได้ฟัง แม้เราจะพูดให้เกิดประโยชน์ มันก็เกิดประโยชน์ ข้ึนมาได้ นี่ศีลข้อที่ ๔ ของเรำก็บริสุทธิ์ มันก็เป็นหลักประกัน ช่อื เสยี ง เกียรตยิ ศ หน้ำตำของพวกเรำแล้ว ส่วนศีลข้อท่ี ๕ การท่ีเราจะมารักษาสติก็รักษาได้โดยยาก อยู่แลว้ แต่การมาเสพสุรา ส่ิงมึนเมายาเมาตา่ ง ๆ เป็นตน้ มาทาลาย สติของตัวเองให้เสียไปเสีย คนเราถ้าไม่มีสติมารักษากาย วาจา ใจ ของตนเองแล้ว มนั กลบั กลายมาเปน็ คนชวั่ ไดเ้ พยี งชัว่ พรบิ ตา คนเรา ท่ียังเป็นคนดี ๆ อยู่ได้ ก็เพราะยังมี “สติ” กากับไว้นั่นเอง แต่ถ้า หากขาดสติกากับไว้แล้ว จะกลับกลายมาเป็นคนชั่วได้เพียงช่ัว พรบิ ตาอย่างคาดไม่ถึงเลย เพราะฉะนนั้ การที่พวกเรามาทาลายสติ ของตนเองด้วยการเสพส่ิงมึนเมาต่าง ๆ ท้ังหลาย มีท้ังการเสียซึ่ง ทรัพย์ เสียท้ังสุขภาพ และทาลายสติของตนเองให้เสียหายลงไป กลายเป็นคนช่ัวขึ้นมาแค่เพียงชั่วพริบตา แล้วไม่มีคุณค่าอะไรกับ การไปเสพสิ่งมึนเมาทั้งหลายเหล่าน้ัน ก็มาพิจารณาให้ดี คนเรำถ้ำ ไม่มีสติแล้ว มันไม่ได้แตกต่ำงจำกบ้ำนเรือนที่ไม่มีหลังคำเลย บ้านเรือน แมจ้ ะเป็นบ้านเรือนใหญโ่ ตมโหฬารขนาดไหน ถำ้ หำกไม่ มีหลังคำปกปิดไว้แล้ว แม้นฝนตกแดดออก ก็สำมำรถซัดซ่ำน บ้ำนเรือนน้ันได้ ให้สกปรกโสโครก ให้เศร้ำหมองขุ่นมัว ไปด้วย ฝนด้วยแดดด้วยลมต่ำง ๆ ท้ังหลายเหล่านั้นได้อย่างแน่นอน เพราะฉะน้ัน ถ้าหากบ้านเรือนประเภทใดก็ตาม ถ้ามีหลังคาคุมไว้ ๑๗

มรดกธรรมศาลาพระราชศรทั ธา วดั ปทุมวนารามราชวรวหิ าร ปี ๒๕๖๒ เลม่ ที่ ๕ อย่างมิดชิดหนาแน่นแล้ว มันก็สามารถป้องกันภัยจากแดดลมฝน คุม้ ครองบา้ นเรอื นนน้ั อยูไ่ ด้ ชีวิตของคนเรำนั้นก็เช่นกัน มี “สติ” เป็นตัวคุ้มครอง ปกปักรักษำพวกเรำให้แคล้วคลำดปลอดภัยจำกภัยอันตรำย ทั้งหลำย จำกควำมช่ัวต่ำง ๆ ทั้งหลำยได้อย่ำงแท้จริง แต่การไป ทาลาย “สติ” ของตน ด้วยการเสพส่ิงมึนเมานั้น จึงเป็นความโง่ หรือเป็นความเลวร้ายที่สุด ที่แสดงออกถึงความไม่มีคุณค่าของ บุคคลผู้น้ันเลย เพราะลักษณะอาการของคนเมา เรามาพิจารณาให้ ดีวา่ ลกั ษณะของคนเมานัน้ มันมีอะไรแตกต่างจากคนบา้ ก็คอื คนบ้า ดี ๆ น่ันเอง แต่คนบ้านั้นเขายังมีคุณค่าเหนือยิ่งกว่าคนเมาเสียอีก เพราะใครไปพบเห็นคนบ้า เรายังพอจะมีความเมตตาสงสาร หาก พอจะสงเคราะห์ช่วยเหลือคนบ้าได้ เราก็จะยินดีพอใจท่ีจะเอื้อเฟื้อ สงเคราะห์เขา แต่แล้วใครไปพบคนเมา มีใครเขาเมตตาสงสารบ้าง มันหาไม่มีเลย มีแต่เขาหม่ันไส้เท่านั้น แล้วพวกเราเป็นคนเมาเสีย เอง พ่อแม่ลูกหลานเราเป็นคนเมาเสียเองจะเอาหน้าตาไปไว้ท่ีไหน น่ีแหละ ลักษณะของโทษภัยของบุคคลผู้ไม่มีศีล มันล้วนแต่สร้าง ความเศร้าหมอง สร้างความเดือดร้อนมาให้แก่ตนเอง และต่อ ครอบครวั อย่างแท้จรงิ ไม่เปน็ ทส่ี งสัยเลย เพราะฉะน้ัน ถ้าหากพวกเราพากันพิจารณาโดยดี ให้เห็น โทษของความทุศีลแล้ว เราจะกลับมารักษาศีลได้ไม่ยากเลย เพียง แค่เรามีเจตนาที่จะอด ควบคุมกิเลสอยใู่ นขอบในเขต แล้วเมื่อกิเลส มันแสดงตัวตนออกมา เราก็มีความอดกลั้นไว้ อย่าให้กิเลสล้นขอบ ล้นเขตออกมาเท่านั้น ถ้าหากพวกเราสามารถควบคุมกิเลสให้อยู่ใน ขอบในเขตได้แล้ว แม้เราจะเป็นปุถุชน เราก็เป็นกัลยาณปุถุชน คือ ๑๘

มรดกธรรมศาลาพระราชศรทั ธา วดั ปทมุ วนารามราชวรวหิ าร ปี ๒๕๖๒ เล่มที่ ๕ ปุถชุ นคนดนี น่ั เอง คนดไี ปอยูท่ ่ีไหน กล็ ว้ นแต่นาความร่มเยน็ เป็นสุข ไปสู่สถานที่นั้น เพราะฉะนั้น “คนดี” ไปอยู่ท่ีไหนก็ไม่มีใครเขำ รังเกียจ มีแต่เขำยินดีต้อนรบั คนดที ้ังน้ัน แล้วเรำเป็นคนดีเสียเอง เป็น “คนมีศีล” เป็น “คนดี” เสียเองแล้ว ย่อมเป็นบุคคลที่ ทรงคุณค่ำอย่ำงแท้จริง น่ีแหละ “ศีล” จึงเป็นตัวยกเชิดชูให้ตัว ของเรำเองเป็นผู้มีคุณค่ำต่อสังคมอย่ำงแท้จริง เพราะฉะนั้น เรา ท่านทั้งหลาย ถ้าหากแม้นพวกเราเป็นคน “มีศีล” แล้ว จะอยู่กัน มากน้อยขนาดไหน ก็ล้วนแต่มีความอบอุ่น มีความร่มเย็น มีความ สวยงามเท่านนั้ ไม่มีความปลโิ พธิ ความกงั วลในการอย่รู ว่ มกนั เลย เม่ือการอยู่ร่วมกันของพวกเรามีความสุขความอบอุ่น ไม่ มีปลิโพธิ ความกังวลในการอยู่ร่วมกันแล้ว การท่ีพวกเราไป ขวนขวายแสวงหาความเจริญก้าวหน้า แม้ในทางโลกก็ตาม เราก็มี กาลังจิตกาลังใจทีจ่ ะขวนขวายแสวงหาความเจริญทางโลกมาสู่ชวี ิต ของพวกเรา หรือมาสู่ครอบครัวของพวกเรา หรือมาสู่หมู่คณะของ เราได้อย่างแท้จริง หรือถ้าหากเราจะไปขวนขวายหาความเจริญ ด้านอรรถด้านธรรมในการท่ีจะประพฤติปฏิบัติอบรมเข้าสู่จิตสู่ใจ ของเราเอง เราก็ไม่มีความปลโิ พธิ ความกังวลในการอยู่ร่วมกันท่ีจะ มาบรรเทา หรือจะมาครอบงาจิตใจของเราให้เศร้าหมองขุ่นมัวไป ดว้ ย การอยู่ร่วมกันแลว้ เราก็มาอบรมจิตอบรมใจของเราเองได้ด้วย ความสะดวกได้ดว้ ยความสบายนนั่ เอง การอบรมจิตอบรมใจของเราในเบ้ืองต้นนั้น จาเปน็ อย่างไร ถึงเราจะต้องมาอบรมจิตอบรมใจของเราเองเล่า ก็เพราะจิตใจของ เรา มันหาความสงบโดยตวั ของมนั เองไม่ได้ เรามาพจิ ารณาดวู ่าชีวิต กาลเวลาที่ผ่านมาน้ัน ท่ีพวกเราพากันทุกข์เดือดร้อน มีความ ๑๙

มรดกธรรมศาลาพระราชศรัทธา วัดปทมุ วนารามราชวรวหิ าร ปี ๒๕๖๒ เล่มที่ ๕ กลุ้มอกกลุ้มใจ คับแค้นใจ ฟุ้งซ่าน หงุดหงิด ราคาญใจต่าง ๆ ท้ังหลายมากมายก่ายกอง จนกระทั่งจะเอาชีวิตตัวเองไม่รอดนั้น ความทุกข์ต่าง ๆ ทั้งหลายเหล่าน้ันมันอยู่ที่ไหนเล่า มันก็ล้วนแต่อยู่ ภายในจิตในใจของพวกเราท้ังน้ัน ส่วนร่างกายของพวกเราไม่มี แตกต่างกนั เลย กำรเกดิ ขึ้นมำของแต่ละท่ำนแต่ละคน กล็ ้วนแต่มี จุดหมำยปลำยทำงอย่ำงเดียวกัน คือ มีควำมแก่ มีควำมเจ็บ มี ควำมตำย เสมอเหมือนกันหมด ที่ไม่เสมอเหมือนกัน ก็อยู่ท่ีจิตใจ ของแตล่ ะท่ำนแต่ละคน ใจดวงใดที่มีแต่เพลิงของกิเลสแผดเผาอยู่ มันก็มีแต่ความ เร่าร้อนทุรนทุรายอยู่ตลอด แต่ถ้าหากใจใดที่มีความผ่อนคลายจาก เพลิงของกิเลสแผดเผาบ้าง ใจดวงน้ันก็พอมีเวลาพักจากความทุกข์ บ้าง เป็นคร้ังเป็นคราวไป แต่รวมแล้วก็ล้วนจมอยู่ในกองทุกข์อยู่ ตลอดมาท้ังน้ัน ถ้าไม่มีธรรมเป็นเคร่ืองชาระภายในจิตในใจของ ตนเองแล้ว จะเป็นอย่างนั้นด้วยกันทุกท่านทุกคน ส่วนการจะมา ชาระจิตใจของตนเองให้เบาบางจางออกไปจากส่ิงท่ีเข้ามาครอบงา จิตใจของเรา คือ ตัวสมุทัยน้ัน ให้มันเบาบางลงไปได้ ไม่มีวิธีอื่นใด นอกจากการอบรมจิตอบรมใจของเราเองด้วย “จิตตภาวนา” เพราะฉะนั้น ในหมู่ครูบาอาจารย์สายวัดป่า นับต้ังแต่องค์หลวงปู่ มั่นผู้เป็นบูรพาจารย์นั้น ท่านจึงเน้นลงไปในหมู่สานุศิษย์ว่า ให้ รีบเร่งขวนขวำยในกำรอบรมจิตอบรมใจด้วย “จิตตภำวนำ” ท่ำนเน้นลงไปท่ีกำรภำวนำอย่ำงจริงจัง ท่านไม่ได้ปล่อยปละ ละเลยหรือยอมให้ศิษยานุศิษย์ของท่านให้เหลวไหล เหลาะแหละ โลเลจากการภาวนา หรือขี้เกียจข้ีคร้านในการภาวนาเลย ท่านมีแต่ เค่ียวเข็ญเอาจรงิ เอาจังลงไปในการภาวนา เพรำะจุดสำคัญอยำ่ งย่ิง ๒๐

มรดกธรรมศาลาพระราชศรัทธา วดั ปทุมวนารามราชวรวิหาร ปี ๒๕๖๒ เลม่ ท่ี ๕ ก็อยู่ที่จิตที่ใจของแต่ละท่ำนแต่ละคน และกำรภำวนำนั้นก็เป็น เส้นทำงท่ีมุ่งตรงสู่จิตสู่ใจของพวกเรำ แม้จะมีภายนอกท่ีเรา ประพฤติปฏิบัติคุณงามความดีต่าง ๆ ท้ังหลายมากมายก่ายกอง ก็ ลว้ นแตม่ ารวมลงเข้าสู่ “จิตตภาวนา” น้ีท้ังน้นั เปรียบประดุจเหมือนแม่น้า แม่นา้ มมี ากมายก่ายกองหลาย สาย แต่สายต่าง ๆ ท้ังหลายก็ล้วนไหลรวมลงไปสู่ท้องทะเล มหาสมุทรท้ังนัน้ ไม่ได้ไหลปลีกแวะออกไปท่ีอ่ืนเลย คุณงามความดี ที่พวกเราได้กระทาบาเพ็ญทั้งหลายก็เช่นกัน จะภายนอกมากมาย ก่ายกองจนเหลือคณานับ ก็ล้วนแต่เป็นเส้นทางตรงแน่วสู่จิตสู่ใจ ของเรา เพราะฉะน้ัน ใจของเราจึงเป็นตัวสาคัญอย่างย่ิงท่ีจะรวมใจ ของเราด้วย “จิตตภาวนา” เพราะฉะนั้น กำรภำวนำจึงเป็นกำร อบรมจติ อบรมใจของเรำอย่ำงแท้จรงิ การจะอบรมจิตอบรมใจของเราเพ่ืออะไร และด้วยวิธีใด เล่า เราก็มาพิจารณาดูใจเราของแต่ละท่าน แต่ละคนว่านับต้ังแต่ เรารู้เดียงสามาจนกระทั่งถึงบัดนี้ ใจของเราเคยมีความสงบหรือไม่ ก็เม่ือใจของเราไม่เคยมีความสงบเลย แล้วเราจะไปสัมผัสกับ ความสุขอย่างแท้จริงได้อย่างไรเล่า เพราะว่าใจท่ีไม่เคยมีความสงบ น้ัน ก็ล้วนมีแต่อารมณ์เรื่องราวต่าง ๆ ทั้งหลายครอบงาอยู่ ตลอดเวลา ซึ่งอารมณ์เรอื่ งราวตา่ ง ๆ ทัง้ หลายเหลา่ นัน้ กล็ ้วนแต่มา จากความนึกคิดปรุงแต่งของเราเอง เพราะฉะนั้น ความทุกข์ท่ีเข้า มาบีบคั้นชีวิตของพวกเรานั้น ล้วนแต่ตัวของเราเอง ล้วนแต่จิตดวง นที้ เี่ ขา้ ไปไขวค่ วา้ เอาเขา้ มา ทบั ถมจิตใจของเราดว้ ยความนึกคิดปรุง แต่ง แล้วก็ปล่อยให้อารมณ์เร่ืองราวต่าง ๆ ท้ังหลายเหล่านั้น ครอบงาจิตใจของเราไว้ด้วยความกลุ้มอกกลุ้มใจ ด้วยความคับแค้น ๒๑

มรดกธรรมศาลาพระราชศรัทธา วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร ปี ๒๕๖๒ เลม่ ที่ ๕ ใจ ด้วยความเศร้าโศก ด้วยความฟุ้งซ่าน หงุดหงิด ราคาญมากมาย ก่ายกอง จนกระทัง่ บางท่านบางคนปล่อยปละละเลย จนกระท่ังเป็น บ้าไปก็มี หรือเกินกว่านั้นไปก็ทา อัตวินิบาต ทาลายชีวิตตนเองก็มี น่ีแหละ บุคคลต่าง ๆ ท้ังหลายเหล่าน้ัน ล้วนแต่ทนต่อการบีบค้ันท่ี อยู่ภายในจิตในใจของเขาเองไม่ได้ แต่แทนที่จะมาชาระจิตใจของ ตนเอง กลับไปชาระที่ร่างกายเสียส้ิน มันก็เลยไปผิดหนทางใหญ่อีก ไปสร้างทุกข์ข้ึนมาอีก เพราะว่าทุกข์มันไม่ได้อยู่ท่ีร่างกาย มันอยู่ที่ จิต แล้วการท่ีมาชาระท่ีจิตก็ต้องอาศัยร่างกายนี้มาเป็นเครื่องมือ แล้วกลับกลายมาทาลายเคร่ืองมือ แล้วทุกข์นั้นมันจะดับไปได้ อย่างไร ใหพ้ จิ ารณาให้แยบคาย ทุกข์ท่ีจะดับไป ทุกข์ในอยู่ที่จิต มันก็ต้องดับลงไปที่จิต ดับ ได้อยา่ งไร ดับดว้ ยการอบรมจิตอบรมใจของเรา เรากท็ ราบดีอยแู่ ล้ว ว่า จิตของเรามันอยู่โดยเฉพาะของมันเองไม่ได้ นับตั้งแต่ตื่นนอน แล้ว มันมีแต่คิดแซ่ส่ายไปในอดีตบ้าง อนาคตบ้าง ก็ล้วนแต่ก่อเกิด มาเป็นอารมณ์เร่ืองราวต่าง ๆ ท้ังหลาย ทั้งกุศล และอกุศล หรือ น่ายนิ ดบี ้าง น่ายนิ ร้ายบา้ ง อารมณเ์ รอื่ งราวตา่ ง ๆ ทัง้ หลายเหล่านนั้ ที่เข้ามาครอบงาจิตครอบงาใจของพวกเรา ก็เม่ือเราไม่ปรารถนาให้ จิตมันออกไปเร่ร่อนกับความนึกคิดปรุงแต่ง เท่ียวคว้าเอาอารมณ์ เข้ามาครอบงาจิตใจของเราเองแล้ว เราก็ทราบดีอยู่ว่า จิตของเรา มันอยู่เฉพาะตวั ของมนั เองไม่ได้ มนั ต้องแซ่สา่ ยออกไปเกาะเกี่ยวกับ ความนึกคดิ ปรงุ แต่งอยู่ตลอด เมอื่ เราทราบดีอยู่อย่างน้ีแลว้ เราก็ยก เอาบทธรรมใดบทธรรมหนงึ่ มาให้จติ นัน้ ยึดไว้เพ่ือไม่ใหจ้ ิตมันแซ่ส่าย ๒๒

มรดกธรรมศาลาพระราชศรทั ธา วดั ปทมุ วนารามราชวรวหิ าร ปี ๒๕๖๒ เลม่ ท่ี ๕ ออกไปเกาะเกี่ยวกับความนึกคิดปรุงแต่ง อดีต อนาคตต่าง ๆ ทั้งหลาย ดังทเี่ คยชินมานน้ั เราก็เดินตามร่องรอยของศาสดาของพวกเรา ศาสดาของ พวกเราท่านอบรมจิตอบรมใจของท่านอย่างไร ท่านก็เอาส่ิงที่มีอยู่ แล้วในชีวิตของท่านมาเป็นเคร่ืองมือในการอบรมจิตอบรมใจของ ท่าน จากท่ีพวกเราได้เคยศึกษาในพุทธประวัติมาบ้างแล้วว่า เจ้าชายสิทธัตถะ ตอนเม่ือท่านออกมาแสวงหาโมกขธรรม ท่ีท่าน ประทับนั่งอยู่โคนต้นโพธ์ิในวันเพ็ญเดือน ๖ น้ัน ท่ำนได้กำหนด “อำนำปำนสติ” ขึ้นมำเป็น “อำรมณ์ของใจ” อำนำปำนสติก็คือ ลมหำยใจเข้ำออก ซ่ึงทุกคนท่ีเกิดขึ้นมาบนโลกน้ีนั้นล้วนแต่มีลม หายใจเข้าออกด้วยกนั ทุกคน แต่ต้ังแต่ไหน ยคุ กาลไหน ๆ มา แมจ้ ะ มีลมหายใจเข้าออกทุกท่านทุกคน เว้นแต่คนตายเท่าน้ันที่ไม่มีลม หายใจเข้าออก แต่ไม่มีใครจะเห็นคุณค่ำของลมหำยใจเข้ำออกน้ี เลย ก็ปล่อยปละละเลยให้ลมหายใจเข้าออกนี้เป็นเพียงเครื่องหล่อ เลี้ยงร่างกายชวี ิตของตนเองใหอ้ ยู่ไดไ้ ปวนั หนง่ึ ๆ จนกระทั่ง วันใดที่ไม่สามารถหายใจเข้าได้หรือไม่สามารถ หายใจออกได้ เมอื่ วันนั้นมาถงึ ก็จาเปน็ จะต้องปล่อยรา่ งกายอันน้ีให้ ลงสู่ผืนแผ่นดินประดุจด่ังท่อนไม้ท่อนฟืน กลายคืนสู่สภาพเดิมของ มนั คือ ดิน นา้ ลม ไฟ น่แี หละ ทุกท่านทกุ คนเปน็ มาตั้งแต่กาลไหน แลว้ มแี ต่เจา้ ชายสิทธัตถะพระองค์แรก ท่ีพระองคไ์ ด้เหน็ คณุ ค่าของ ลมหายใจเขา้ ออก โดยยกเอำลมหำยใจเข้ำออกมำเป็นหลกั ยึดของ จิต ด้วยกำรหำยใจเข้ำก็มีสติกำกับจิตให้แนบสนิทอยู่กับลม หำยใจเข้ำ หำยใจออกก็มีสติกำกับจิตให้แนบสนิทอยู่กับลม หำยใจออก คือเม่ือหายใจเข้าก็รู้อยู่ว่าลมหายใจเข้า หายใจออกก็ ๒๓

มรดกธรรมศาลาพระราชศรทั ธา วดั ปทุมวนารามราชวรวหิ าร ปี ๒๕๖๒ เลม่ ท่ี ๕ รู้อยู่ว่าลมหายใจออก กาหนดแน่วแน่อยู่ในความรู้สกึ ของลมหายใจ เข้าหายใจออกอยู่อย่างน้ัน น่ีแหละ จนกระทั่งในวันน้ันก่อนรุ่งแจ้ง พระองค์ก็สามารถตรัสรู้ข้ึนมาเป็นพระพุทธเจ้า มาเป็นศาสดาเอก ของเราจนกระทั่งถึงทุกวันนี้ องค์หลวงปู่มั่นซึ่งเป็นบูรพาจารย์ของ พวกเราท่านท้ังหลายด้วยเช่นกัน ท่านก็ได้ดาเนินตามรอยของพระ ศาสดา ได้กาหนดอานาปานาสติข้ึนมาเป็นอารมณ์ของใจ คือ กาหนดจิตด้วยความมีสติกากับจิต ให้แนบสนิทอยู่กับลมหายใจเขา้ หายใจออกน้ัน แต่องค์หลวงปู่มั่นท่านมีแนวคิดอันหนึ่งข้ึนมาอีก เป็นกุศโลบายเฉพาะองค์ท่าน ท่านว่าเม่ือกาหนดลมหายใจเข้า หายใจออก เพียงแค่ลมหายใจเขา้ ลมหายใจออกนน้ั มันมีความรู้สึก บาง ๆ รู้สึกเย็นเบาบางเข้าไป ความเบาบางของลมหายใจเข้า หายใจออกนี่แหละ จิตมันจะหลุดออกไปจากลมหายใจเข้าหายใจ ออกได้ง่าย องค์หลวงปู่มั่นท่านก็มีกุศโลบายขึ้นมาอันหนึ่งเพ่ือ สาทับกากับไปพร้อมกับลมหายใจเข้าหายใจออกด้วยคาบริกรรมว่า “พุทโธ” หำยใจเข้ำ นึกบริกรรมไปด้วยคำว่ำ “พุท” หำยใจออก พร้อมบริกรรมด้วยคำว่ำ “โธ” หำยใจเข้ำ “พุท” หำยใจออก “โธ” เพ่ือให้มีควำมรู้สึกชัดเจน แน่น หนำแน่น ม่ันคง อยู่ในลม เข้ำ “พุท” ลมออก “โธ” มำกขึ้น เมื่อท่ำนกำหนดลงไปอย่ำงน้ี แลว้ จิตจะมีควำมรู้สึกเดน่ ชัดอยู่กับลมหำยใจเขำ้ ลมหำยใจออก มำกข้ึน จิตท่ีจะปลีกแวะหลุดออกไปจากลมหายใจเข้าหายใจออก น้นั ก็ยากขึน้ เมื่อจิตอย่กู บั ลมหายใจเขา้ “พุท” ลมหายใจออก “โธ” ได้อย่างแนบแน่น ต่อเนื่อง ไม่ขาดวรรคขาดตอนแล้ว จิตน้ันก็มี ความละเอียดเข้าไป ละเอียดเข้าไป เมื่อจิตมีความละเอียดเข้าไป ๒๔

มรดกธรรมศาลาพระราชศรทั ธา วัดปทมุ วนารามราชวรวิหาร ปี ๒๕๖๒ เล่มที่ ๕ อารมณ์เร่ืองราวที่มันเคยครอบงาจิต มันก็ค่อย ๆ จางออกไป จาง ออกไป เมื่ออารมณ์เรื่องราวท่ีมันครอบงาจิตมันจางออกไปแล้ว มันก็มีความร่มเย็น อบอุ่น เบิกบาน ผ่องใส ที่จะไหลเข้ามาหล่อ เลี้ยงจิตหลอ่ เลี้ยงใจ แทนท่ีอารมณ์เรื่องราวที่เคยครอบงาจิตใจของ เรามาแต่ไหนแต่ไร เม่ือเรามาภาวนาอย่างนี้แล้ว มาถึงความ ละเอียดของจิต เราจะสัมผัสความสบายอกสบายใจ ซ่ึงชีวิตของ พวกเราท่านท้ังหลาย เราไม่เคยสัมผัส เราไม่เคยพบไม่เคยเจอ ทั้ง ท่ีพวกเราปรารถนาความสุข ที่พวกเราพากันดิ้นรนทะเยอทะยาน ขวนขวายแสวงหามาน้ัน เราล้วนแต่ด้ินรนทะเยอทะยานแสวงหา ความสุขในชีวิตของพวกเราท่านทั้งหลายด้วยกันทั้งน้ัน แล้วเราเคย มาพิจารณาหรือไม่ว่า การด้ินรนทะเยอทะยานแสวงหาของเรา ตลอดมานัน้ ตั้งแตร่ เู้ ดยี งสา มาจนกระทั่งถึงทุกวันนี้นัน้ ในชีวิตของ พวกเรา เราได้ความสุขมามากน้อยขนาดไหนเล่า ถ้าเราย้อนขึ้นมาดู ตรวจตราดูชีวิตของพวกเราแล้ว เราจะ เห็นชัดเจนว่าชีวิตของพวกเรา กาลเวลาที่ผ่านมาจนกระทั่งถึงทุก วันน้ีนั้น ล้วนแต่เพิ่มพูนในส่ิงที่เราไม่ปรารถนา ไม่ต้องการ ส่ิง ทั้งหลายเหล่าน้ัน คืออะไรเล่า คือภำระ นับวันชีวิตของเราจะมี ภาระมากข้ึน มีความพะรุงพะรังมากขึ้น มีความยุ่งเหยิงวุ่นวายมาก ขึ้น มีปัญหามากขึ้น ส่วนธาตุขันธุ์ร่างกายของเราก็แก่เฒ่าลงไป แก่ เฒ่าลงไป ความแก่เฒ่าของเรือนกายก็นามาพร้อมกับโรคภัยไข้เจ็บ นาเอาความยุ่งยากมาสู่เรือนกายของเรามากขึน้ มากขึน้ แลว้ สักวัน หน่ึงความแตกดับก็มาเยือน นั่นแหละ ชีวิตของพวกเราท่าน ท้ังหลายในการดิ้นรน ทะเยอทะยาน แสวงหาส่ิงภายนอก ล้วนแต่ ๒๕

มรดกธรรมศาลาพระราชศรทั ธา วดั ปทุมวนารามราชวรวิหาร ปี ๒๕๖๒ เล่มท่ี ๕ เป็นอย่างนี้ด้วยกันทุกท่านทุกคน มีแต่วิ่งไล่ความสุข วิ่งไล่ความสุข อยู่ตลอดเวลา แล้วนับวันความสุขนั้นก็ห่างเราออกไป ห่างเรา ออกไป จนกระทั่งถึงวันสุดท้ายของชีวิต เป็นวันสูญเปล่าอย่างย่ิง เป็นวันโมฆะอย่างยิ่ง ในสิ่งท่ีเราคาดหมายต้องการน้ัน ล้วนแต่สูญ เปล่าหมดสิ้นไปจากชีวิตของพวกเราด้วยกันท้ังน้ัน นี่คือการวิ่ง ดิ้น รน ทะเยอทะยาน ไปในกระแสของโลก จะเป็นอย่างนี้ด้วยกันทุก ท่านทุกคน แต่พระพุทธเจ้าก็ไม่ได้ปฏิเสธในการขวนขวายแสวงหา ดั่งท่ีพวกเราพากันขวนขวายแสวงหากันมาแล้วนั้น แต่สิ่งที่พวกเรา ขวนขวายแสวงหามานัน้ มนั ล้วนแตเ่ ปน็ เคร่ืองหล่อเลี้ยง หรือเป็นท่ี พ่ึงอาศยั ของปากท้องร่างกายของเรา ส่งิ เหลา่ นั้นไมส่ ามารถมาหล่อ เล้ียงจิตหล่อเลี้ยงใจของเราได้ด้วย เพราะฉะน้ัน แม้ภายนอกเราจะ มีอย่างมากมายก่ายกองขนาดไหนก็ตาม แต่หากจิตใจขาดสิ่งที่จะ มาหล่อเล้ยี งแลว้ แมน้ ภายนอกเราจะมีความสะดวกสบายก็ตาม แต่ ภายในจิตในใจก็มีแต่ความเร่ารอ้ น มีแต่ความดิ้นรน ทะเยอทะยาน หิวกระหายอยู่ตลอดเวลา เพราะภายในจิตใจของเรานั้นมันขาด อาหารเป็นเครื่องหล่อเล้ียง แลว้ สิ่งใดเล่าจะมาเป็นอาหารหล่อเลี้ยง จิตหล่อเล้ียงใจของเราเองแล้ว สิ่งท่ีจะมาเป็นอาหารหล่อเล้ียงใจ ของเรากม็ ี “ธรรมะ” เทา่ น้นั “ธรรมะ” ที่เกิดข้ึนมำจำกกำรประพฤติปฏิบัติของเรำ เอง นับต้ังแต่ “ควำมสงบธรรม” จนกระทั่งถึง “ควำมรู้แจ้งใน ธรรม” เป็นเครื่องหล่อเล้ียงจิตใจของเรำอย่ำงแท้จริง เพราะใน เมื่อเรามีการอบรมจิตอบรมใจของเราด้วย “จิตตภาวนา” โดยการ ยกเอา “อานาปานสติ” ยกเอาลมหายใจเข้า หายใจออกมาเป็น อารมณ์ของใจ เม่ือใจอยู่กับลมหายใจเข้า “พุท” ลมหายใจออก ๒๖

มรดกธรรมศาลาพระราชศรัทธา วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร ปี ๒๕๖๒ เล่มที่ ๕ “โธ” ไม่ปลีกแวะออกไปเกาะเกี่ยวกับความคิดปรุงแต่งท้ังหลาย เหลา่ น้นั แลว้ จิตน้กี ม็ คี วามละเอียดเขา้ ไป ละเอียดเขา้ ไป ยิง่ มีความ ละเอียดมากข้ึนเท่าไร ย่ิงมีความสบาย มีความร่มเย็น เบิกบาน อบอุ่น เปน็ เคร่ืองหล่อเลยี้ งจิตหลอ่ เล้ียงใจมากข้ึน ๆ แลว้ สักวนั หนึง่ ไม่เนิ่นช้า เมื่อจิตมันละเอียดถึงที่สุดแล้วจิตน้ันจะรวมตัวเข้าสู่ความ สงบได้อย่างแท้จริง เม่ือจิตรวมตัวอยู่ในความสงบ สัมผัสกับความ สงบโดยตัวของมันเองอย่างแท้จริงแล้ว ภาษิตที่พระพุทธเจ้าได้ทรง กล่าวไว้ว่า “นัตถิ สันติ ปะรัง สุขัง” ควำมสุขอื่นเสมอด้วยควำม สงบไมม่ นี ัน้ จะสวา่ งจ้าข้ึนมาภายในจิตในใจของเรานัน้ อย่างปฏิเสธ ไม่ได้เลย เพราะชีวิตแต่เก่าก่อนของพวกเรานั้น เรามีแต่สัมผัสกับ แต่ภายนอกด้วยรูป ด้วยเสียง ด้วยกลิ่น ด้วยรส ด้วยสัมผัสท่ีต่าง ท่านต่างดิ้นรนด้วยความทะเยอทะยาน อยากได้อยากมี เลยพากัน ขวนขวายแสวงหาใน รูป เสียง กล่ิน รส คาดหมายว่าใน รูป เสียง กล่ิน รส ต่าง ๆ ทั้งหลายเหล่านั้นที่จะเป็นความประเสริฐ หรือให้ ความสุขแก่ชีวิตของเราอย่างแท้จริง เราก็เลยจมอยู่ใน รูป เสียง กลิน่ รส รวมลงเรยี กว่า “กามคุณ” ท้งั หลายเหลา่ น้ัน ชวี ติ ของพวก เราจมอยู่ในกามคุณท้ังหลายอยู่ตลอดเวลา แล้วกามคุณทั้งหลาย เหลา่ น้นั ใหค้ วามสุขแก่พวกเรามากน้อยขนาดไหน เราทา่ นท้ังหลาย ก็ล้วนแต่ได้สัมผัสสัมพันธ์กันมาแล้วทาง ตา หู จมูก ล้ิน กาย อย่าง ปฏเิ สธมไิ ด้เลย แต่ความสงบเรายังไม่เคยสัมผัส เรายังไม่เคยพบเจอ เม่ือ จิตของเราหย่ังเข้าสู่ความสงบเท่าน้ัน มันมีสิ่งที่มาเปรียบเทียบแล้ว ก็คือ ความสงบ สามารถเอามาเปรียบเทยี บกบั กามคุณ ทัง้ หลาย ท่ี เราพากนั ดิ้นรน ทะเยอทะยานแสวงหากันมาตลอดชีวติ ของพวกเรา ๒๗

มรดกธรรมศาลาพระราชศรัทธา วัดปทุมวนารามราชวรวหิ าร ปี ๒๕๖๒ เลม่ ท่ี ๕ และพวกเราก็ได้สัมผัส ได้เป็น ได้มี มาแล้ว เอามาเปรียบเทียบกับ ความสงบ เราจะเห็นชัดเจนเลยว่า ไม่มีสิ่งใดท่ีมีคุณค่าเหนือยิ่งกว่า ความสงบอีก ยกให้สามโลกธาตุน้ีมาด้วย เพราะส่ิงที่เราแสวงหามา นน้ั ด้วยกามคณุ ตา่ ง ๆ ท้ังหลายเหล่าน้นั มนั กย็ ังของเกา่ มนั ยังไม่มี ของใหม่ แม้เราจะสัมผัสสัมพันธต์ ่อไปในภายภาคหน้า มันก็ล้วนแต่ เปน็ สิ่งท่ีเราเคยสัมผัสสัมพนั ธม์ าแลว้ คือมาทาง ตา หู จมูก ลนิ้ กาย จิตเป็นผู้รบั ทราบทงั้ นัน้ มนั ไม่มีอน่ื นอกจากน้ี แต่ส่ิงเหล่าน้ีจะมาเปรียบเทียบกับความสงบภายในจิต ภายในใจของเราไม่ไดเ้ ลย เราจะเห็นคณุ คา่ อยา่ งแทจ้ ริงวา่ ความสุข ที่เกิดข้ึนมาจากความสงบภายในจิตในใจของพวกเรานั้นเป็น ความสุขอันประเสริฐ เป็นความสุขอันแท้จริง แล้วน่ี ความสุขที่เกิด ขึ้นมาต่อจิตต่อใจของเรานี้มันเป็นความสุขที่สงบระงับด้วยอานาจ ของสมาธิ คือ ไประงับกิเลสที่เป็นเครื่องก่อกวน หรือตัวสมุทัยท่ี แผดเผาภายในจติ ในใจของเราให้นอนตัวลง ไม่สามารถแสดงตัวตน ออกมาได้ เรายังมีความสุขด้วยความประเสริฐพิเศษด้วยความสงบ ขนาดน้ีแล้ว แล้วถ้าหากความสงบระงับดับไปจากกิเลส สามารถ ชาระกิเลสตัวสมุทัยให้มันพังทลาย หลุดออกไปจากจิตจากใจของ เราอย่างสิน้ เชงิ แล้ว ความสุขนน้ั จะย่ิงประเสริฐเลิศโลกอกี เท่าไร ด่งั ท่พี ระพทุ ธเจ้าท่านไดท้ รงกลา่ วไวว้ า่ ปะระมัง สขุ ัง เปน็ สุขอย่ำงย่ิง น้ัน แม้นจิตของเราจะยังไม่ได้สัมผัสก็ตาม แต่เราก็มี ความเชื่อม่ันในคากล่าวของพระพุทธเจ้า เพราะฉะน้ัน เม่ือจิตท่ี หยั่งเข้ำสู่ควำมสงบแล้ว บุคคลผู้นั้นจึงมีควำมมุ่งมั่นต่อกำร ประพฤติปฏิบัติ อบรมจิตอบรมใจของตนเองเพ่ือก้ำวไปสู่ จุดหมำยปลำยทำง คือควำมพ้นทกุ ข์อย่ำงแท้จรงิ โดยเฉพาะจิตที่ ๒๘

มรดกธรรมศาลาพระราชศรทั ธา วดั ปทุมวนารามราชวรวิหาร ปี ๒๕๖๒ เลม่ ท่ี ๕ มีความสงบอยู่ รวมตัวอยู่ในความสงบจนอ่ิมพอของจิตที่ถอนแล้ว พอจิตถอนออกมาจากความรวมตัวอยู่ในความสงบน้ันแล้ว จิตท่ี ถอนออกมารับทราบในกองสังขารท้ังหลายได้ ไม่วา่ จะเปน็ ความนึก คิดปรุงแต่ง หรือไม่ว่าจะเป็นเวทนาที่ในครอบงาทางกายของเราได้ ก็ตาม แต่จิตนน้ั จะไม่หวั่นไหวเอนเอียงกับสิ่งที่มาสัมผัสรับทราบข้ึน ท่ีจิตอีกต่อไป เพราะจิตน้ันมีแต่ควำมตั้งมั่น หนักแน่น ม่ันคง ท่ี เรำเรียกกันว่ำ “สมำธิ” ซ่ึงจิตท่ีมีสมำธิเป็นพื้นฐำนแล้ว จิตน้ัน จะมีควำมต้ังมั่น หนกั แน่น มน่ั คง ไมเ่ อนเอยี งหวั่นไหวกับส่ิงที่มำ สมั ผสั ไม่วา่ จะไหลเข้ามาสัมผัสทาง ตา หู จมกู ลนิ้ กาย จิตจะเป็น ผู้รับทราบกับส่ิงท่ีมาสัมผัสด้วย รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสต่าง ๆ ท้ังหลายเหล่าน้ัน ก็ไม่สามารถท่ีจะเข้ามาผลักหรือครอบงาจิตใจ ของเราให้เอนเอียงกับส่ิงที่เขา้ มาสัมผัสรบั ทราบขึ้นมาที่จติ อีกต่อไป จิตนั้นจะมีแต่ความหนักแน่น ต้ังม่ัน หนักแน่น ม่ันคง เป็นปกติของ จิต เมื่อจิตไม่เอนเอียงหว่ันไหวไปกับส่ิงเหล่านั้นแล้ว จิตที่เข้าไป พิจารณาในสงิ่ ทั้งหลายเหลา่ นนั้ ย่อมพิจารณาได้ด้วยความแยบคาย รอบคอบ ควำมแยบคำยรอบคอบในกำรคิดพิจำรณำเรำเรียกกัน ว่ำ “ปัญญำ” เพราะฉะนั้น เม่ือปัญญาเข้าไปคุ้ยเขี่ยพิจารณาลงไป สิ่งใดก็ตามที่เคยครอบงาจิตใจของเราให้จมลงไปในกองทุกข์น้ันมัน ย่อมทนอยู่ไม่ได้ ย่อมถูกปัญญาที่มีสมาธิเป็นตัวหนุนไว้ ท่ีคลายเบิก เปน็ ตวั ชาระให้หลดุ รอดออกไปจากการครอบงาทางจิตใจของเราได้ อย่างแท้จริง แล้วเราจะพิจารณาสิ่งใดเล่า ก็มาพิจารณาดูว่าทุกข์ที่ มันครอบงาเรามากี่ภพก่ีชาติน้ันให้เดือดร้อนจมอยู่ในกองทุกข์ นบั ตัง้ แต่ “ชาตปิ ิ ทกุ ขา ชะราปิ ทกุ ขา มะระณมั ปิ ทุกขงั โสกะปะ- ๒๙

มรดกธรรมศาลาพระราชศรัทธา วดั ปทุมวนารามราชวรวิหาร ปี ๒๕๖๒ เลม่ ท่ี ๕ ริเทวะ ทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุก- โข ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง” พระพุทธเจ้าพระองค์ทรงกล่าวไว้ว่า ควำมเกิดก็เป็นทุกข์ ชรำ ควำมแก่ก็เป็นทุกข์ มรณะ ควำมตำยก็เป็นทุกข์ ควำมคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์ ควำมไม่สบำยกำย ไม่สบำยใจก็เป็นทุกข์ ควำม ฟุ้งซ่ำนหงุดหงิด กลุ้มอกกลุ้มใจก็เป็นทุกข์ ควำมปรำรถนำสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ ควำมพลัดพรำกจำกส่ิงอันเป็นท่ีรักก็เป็น ทุกข์ ควำมได้ในส่ิงอันไม่เป็นที่ปรำรถนำก็เป็นทุกข์ นี่แหละชีวิต ของพวกเราวนเวยี นอยู่ในกองทุกข์ทั้งหลายเหล่านี้มานับภพนับชาติ ไม่ได้แล้ว ตายเกิด เกิดตาย ตายเกิด เกิดตาย ก็จมอยู่ในกองทุกข์ ทั้งหลายด่ังที่ได้กล่าวมาแล้ว แล้วกองทุกข์ทั้งหลำยเหล่ำนมี้ ันแตก แขนงออกมำจำกไหน มันล้วนแต่แตกแขนงออกมำจำกอุปทำน ควำมยดึ มั่นถือม่ันในอตั ตำทั้งนน้ั อัตตาตัวตน คือตัวสาคัญอย่างยิ่ง พอมายึดในอัตตาตัวตน แลว้ มันกแ็ ตกแขนงออกไปมากมายกา่ ยกองเหมือนกบั ต้นไม้ ตน้ ไม้ ตน้ หนึง่ มันมกี ่ิงกา้ น ดอกใบ สาขามากมายก่ายกองเหลอื จะคณานับ แต่สิ่งท่ีมันแตกแขนงออกไปมากมายก่ายกองล้วนแตกออกไปจาก ลาต้นนี้ท้ังน้ัน จากรากแก้วน้ีทั้งนั้น เพราะฉะนั้น เม่ือเราปรารถนา ที่จะฆ่าต้นไม้น้ี เราก็มัวแต่ตัดกิ่งนั้น ตัดใบนั้น ตัดก่ิงนี้ มันก็แตกก่ิง นู้น ตัดใบน้ี มันก็แตกใบนู้นมา ผลที่สุด เราจะตัดมันมากมายก่าย กอง ตัดมันก่ีวันก่ีเดือนก่ีปี มันก็ไม่สามารถทาลายต้นไม้น้ีให้ตาย จากไปได้ ถ้าพวกเราลองฟันมันไปที่โคนต้น ตัดมันลงไปท่ีรากแก้ว เท่าน้ัน ต้นไม้ต้นนี้มันล้มตูมลงมาท้ังนั้น ดอกใบก่ิงก้านสาขาต่าง ๆ ๓๐

มรดกธรรมศาลาพระราชศรทั ธา วดั ปทุมวนารามราชวรวหิ าร ปี ๒๕๖๒ เล่มที่ ๕ ท้ังหลาย เราไม่ต้องตามตัดมันเลย ตามฆ่ามันเลย มันจะเหี่ยวเฉา จนกระทั่งถึงตายจากไปเองอย่างแน่นอน จิตของเราก็เช่นกัน ที่มา ครอบงาเปน็ ความทกุ ข์ในชีวิตของพวกเรามามากมายกา่ ยกอง ไมว่ ่า จะกเิ ลสตัวไหนก็ตาม ความโกรธ ความโลภ ความหลง ราคะ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ แตกกระจายออกไป เรามาทาลายตัวทุกข์ท่ีเป็นต้นเค้า ท่ีมาครอบงาจิตใจของเรา ให้มันพังทลายออกไป เราก็มัวแต่ไปตัด ตรงนั้น ไปแก้ตรงน้ัน ไปชาระตรงน้ัน ไปเรื่อย ๆ มันก็ไม่จบไม่สิ้น สักทีหน่ึง ลองทุ่มลงมา ตัดลงมาที่ตัวอัตตา เพราะมันต่างแตก ออกไปจากอัตตาตัวตน ยึดมั่นถือม่ันในอัตตาตัวตน พอมันมีตัวเรา มันก็มีของเรา ของเรา ของเรา เม่ือไม่มีตัวเรา ไม่มีของเรา เราก็ต้ัง ความปรารถนาต้องการใหม้ ันเปน็ อย่างน้นั ต้องการให้มันเป็นอย่าง นี้ หรือไม่ต้องการให้มันเป็นอย่างนั้น ไม่ต้องการให้มันเป็นอย่างน้ี เมื่อมันไม่เป็นไปตามท่ีเราต้องการปรารถนา หรือเม่ือมันเป็นไป ไม่ใช่ที่เราปรารถนา มันก็ไปเสริมความโกรธ ความโลภ ความหลง ราคะ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ ให้มาครอบงาจิตใจดวงน้ีให้มากมายก่าย กองเหลอื จะคณานบั น่ีแหละ มันออกไปจาก “อัตตา” ตัวนี้ เพรำะฉะนั้น เม่ือ เรำต้องกำรฟำดฟันทำลำยส่ิงต่ำง ๆ ทั้งหลำยเหล่ำน้ีอันเป็นตัว สมุทัย เรำก็ฟำดลงไปที่ต้นตอของมัน ก็คือตัวอัตตำ ที่เรำพำกัน ยึดม่ันถือมั่นว่ำอัตตำตัวตน ก็พิจารณาดู เอาปัญญาเข้าไปคุ้ยเข่ีย พิจารณาดู ก็เพราะความยึดมั่น ถือมั่นในอัตตาตัวตน มันมาจาก ไหน มันก็มาจากอุปทาน ควำมยึดม่ันถือมั่นที่มำจำก “โมหะ” ควำมลุ่มหลง นั่นเอง ควำมลุ่มหลงมันก็เกิดมำจำก “อวิชชำ” คอื ควำมไม่รู้ เพรำะฉะน้ัน อวชิ ชำหรือควำมไม่รู้ หรอื โมหะความ ๓๑

มรดกธรรมศาลาพระราชศรัทธา วดั ปทุมวนารามราชวรวหิ าร ปี ๒๕๖๒ เล่มที่ ๕ ล่มุ หลง มันจะจางออกไป พังทลายออกไป กเ็ พราะปัญญาของเราที่ เข้าไปคุย้ เข่ยี จนกระทง่ั เหน็ สภาพความเป็นจรงิ ของมัน เม่ือวิปัสสนำ คือควำมรู้แจ้งเกิดขึ้นแล้ว อวิชชำมันอยู่ ไม่ได้หรือ เม่ืออวิชชำอยู่ไม่ได้ มันพังทลำยออกไปแล้ว อุปำทำน ควำมยึดมั่นถือม่ัน ท่ียึดม่ันถือมั่นด้วยอำนำจของโมหะ ควำมลุ่ม หลง มนั จะอยู่ได้อย่ำงไร เม่ือความลมุ่ หลงมนั หลุด พังทลายออกไป แลว้ อุปาทานความยึดมั่นถือมัน่ มันกว็ างลงเอง เพราะฉะน้ัน เราจะ ทาลายโมหะ ความลุ่มหลงไปได้อย่างไร เราก็ต้องทาลายมันด้วย ปัญญา คือ ความรอบรู้ ความเฉลียวฉลาด ที่จะมาทาลายตัวสมุทัย ใหห้ ลุดรว่ งออกไป เราก็มาพิจารณาดู มาพิจารณาดูคาว่า “อัตตา” คือ ตัวตน นับตั้งแต่ศีรษะลง ไปถึงปลายเท้า ปลายเท้าข้ึนมาถึงศีรษะ มีส่วนใดท่ีเป็นตัวตนเป็น ตัวเรา พิจารณาดูแยกแยะออกไป ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เน้ือ เอ็น กระดูก ตับ ไต ไส้พุง ต่าง ๆ ทั้งหลายเหล่าน้ี ด่ังเช่นอุปัชฌาย์ อาจารย์ทั้งหลายที่ท่านสอนศิษยานุศิษย์ทั้งหลาย ในกรรมฐำนทั้ง ๕ ว่ำ เกสำ โลมำ นะขำ ทันตำ ตะโจ เป็นต้นนั้น เราพิจารณาลง ไปโดยทีส่ ุดแลว้ มหี นังหุ้มอยเู่ ป็นท่ีสุดรอบ มนั ประกอบไปด้วยอะไร เมื่อพิจารณาแยกแยะ คล่ีคลายออกไปแล้ว ส่วนท่ีให้ความอบอุ่น มี ไฟธาตุต่าง ๆ ทั้งหลาย คอยย่อยอาหาร คอยแผดเผาธาตุต่าง ๆ ทั้งหลาย อันมีความอบอุ่นภายในร่างกายนี้ เราแยกออกมาได้แล้ว ว่ามันเป็นธาตุไฟ ส่วนที่มันพัดวีอยู่ท่ัวทุกซอกทุกมุมในร่างกายของ เรา มลี มหายใจเข้า ลมหายใจออก เป็นต้นนั้น เรามาแยกออกมาได้ เป็นธาตุลม ส่วนสิง่ ที่เอบิ อาบอยู่ท่ัวสรรพางคก์ ายของเรา มีนา้ เลือด น้าเหลือง น้าหนอง น้าเหงื่อ น้าไคล เป็นต้น เราก็แยกแยะออกมัน ๓๒

มรดกธรรมศาลาพระราชศรทั ธา วดั ปทุมวนารามราชวรวิหาร ปี ๒๕๖๒ เล่มที่ ๕ ไปได้แล้วว่า มันเป็นธาตุน้า ส่วนท่ีเป็นก้อน เป็นกอง มีลักษณะ อาการแข็ง เป็นก้อนเป็นกองแล้ว เรากแ็ ยกออกไปได้ ว่าเป็นธาตุดนิ ผลท่ีสุด พิจารณาลงไปแยกแยะแต่ละส่วน แต่ละส่วน แยกแยะ ออกไป มนั ก็รวมอยูก่ ันได้ธาตุ ๔ ดิน น้า ลม ไฟ ธาตุ ๔ ดิน น้า ลม ไฟ มารวมกันอยู่ช่ัวระยะหนึ่ง ด้วยเหตุ ดว้ ยปัจจัยก็อาศัย “จติ ” ดวงน้ี มาอาศัยอยู่ในธาตุ ๔ ดนิ น้า ลม ไฟ น้ี เพียงชั่วระยะสั้น ๆ อย่างเก่งก็ไม่เกินร้อยปี แต่ในขณะที่จิตมา อาศัยอย่ใู นกองธาตุ ๔ น้ี ด้วยอานาจของอวชิ ชาที่ครอบงาจติ ใจดวง นี้มาแต่ไหนแต่ไร เม่ือ “จิต” มาอาศัยธาตุ ๔ ดิน น้า ลม ไฟ เป็นที่ อย่แู ลว้ จิตก็มาหลงยึดเอากาย เอาธาตุ ๔ ดนิ น้า ลม ไฟ เป็นตัวตน เป็นอัตตา แต่ส่ิงทั้งหลายเหล่าน้ี แม้จิตจะยึดขนาดไหนก็ตาม มันก็ ไม่รูต้ ัวของมันเองเลยว่า จติ จะยึดมัน ตอ้ งการใหมันเป็นอยา่ งไร แต่ มันเปน็ อย่างไรกจ็ ะเปน็ อยา่ งนั้น มนั เคยเกดิ มนั กเ็ กดิ มนั พอดับมันก็ ดับ พอแปรเปล่ียนไปก็แปรเปลี่ยนไปตามสภาพของมัน จึงเรียกว่า มันเป็น “เช่นนั้นเอง” มันไม่ได้เป็นไปตามที่ใครปรารถนา ไม่ได้ เป็นไปดั่งท่ใี ครตอ้ งการเลย เพราะฉะน้ัน ท่านจึงว่า “อนัตตา” มันไม่ได้เป็นไปตาม ความปรารถนาของสัตว์โลก แต่มันเป็นอย่างไรมันก็เป็นอย่างน้ัน พิจารณาลงไป พิจารณาให้เห็นตามสภาพความเป็นจริงของมันว่า จริง ๆ แลว้ มันคอื ธาตุ ๔ ดนิ นา้ ลม ไฟ นีเ่ อง “จิต” ดวงนีม้ าอาศัย เขาอยู่เพียงช่ัวระยะหนึ่งเท่าน้ันเอง แล้วก็ต้ังความปรารถนา ต้องการให้เป็นอย่างนั้น ไม่ต้องการให้เป็นอย่างนี้ หรือต้องการให้ เป็นอยา่ งนี้ ไมต่ ้องการให้เปน็ อยา่ งนัน้ แตส่ ง่ิ ทง้ั หลายทเี่ ราพากันยึด ไว้น้ี เขาไมร่ ตู้ วั ตนของเขาเองวา่ เราต้องการอย่างไร หรอื ไมต่ ้องการ ๓๓

มรดกธรรมศาลาพระราชศรัทธา วัดปทุมวนารามราชวรวหิ าร ปี ๒๕๖๒ เลม่ ที่ ๕ อย่างไร แต่เขาเป็นอย่างไรเขาเป็นอย่างน้ัน นี่คือ สภาพความเป็น จริงของเขา คือเขาเป็นเช่นนั้นเองมาแต่ไหนแต่ไรมา เมื่อจิต พิจารณาเข้าไปโดยแยบคาย เห็นชัดเจนตามสภาพความเป็นจริง ของมนั แล้ว วิปัสสนำ คือควำมรู้แจ้งที่เกิดข้ึนมำจำกปัญญำ ก็ไปคุ้ย เข่ียพิจำรณำลงไปแล้ว “โมหะ”ควำมลุ่มหลงท่ีครอบงำภำยใน จิตในใจของเรำน้ันมันหลุดออกไป ควำมจริงเปิดเผยออกมำแล้ว โมหะที่มนั ครอบงำแลว้ มันทนอยู่ไม่ไดอ้ ย่ำงแนน่ อน เหมือนสถาน ท่ีนี้มันมืดอยู่ นี่ถ้าเราเปิดไฟสว่างขึ้นมา ความสว่างเกิดข้ึนมาแล้ว ความมืดมันทนอยู่ไม่ได้ มันดับไปเองโดยที่เราไม่ต้องไปไล่มันเลย น่ี ก็เช่นกัน เมื่อเราพิจารณาลงไป วิปัสสนา ความรู้แจ้งมันเกิดขึ้นมา จาก “ปญั ญา” ทเี่ ราเขา้ ไปคยุ้ เข่ยี พิจารณาแลว้ โมหะ ความลมุ่ หลง มันทนอยู่ไม่ได้ มันหลุดพังทลายออกไปเอง เม่ือโมหะความลุ่มหลง มนั หลดุ พงั ทลายออกไปแลว้ อุปาทาน ความยดึ ม่นั ถือมนั่ ซ่งึ เป็นผล มาจาก โมหะ ความลุ่มหลง มันจะอยู่ได้อย่างไร มันย่อมอยู่ไม่ได้ อยา่ งแนน่ อน เม่ือมันหลุดออกไปจากจิตจากใจของเรา ใจของเราก็เป็น อิสระ ดีดตัวของเราขึ้นมา ดีดตัวข้ึนมาเป็นอิสระจากการแบกหาม อปุ าทาน ความยดึ มนั่ ถอื มั่นมาตลอดเวลาน้นั เม่อื ดดี ตวั ออกมาแล้ว มนั จะเป็นอย่างไร มันก็เป็นอิสระ เปรยี บประดจุ เหมอื นรา่ งกายของ เราแต่เก่าก่อน เราเคยแบกเคยหามเคยหอบห้ิวมามากมายก่ายกอง ด้วยการคาดหมายว่า ส่ิงท่ีเราแบกหามหอบห้ิวมันมีแก่นสารสาระ เป็นส่ิงท่ีน่ายินดีน่าพอใจ แต่พอเรามาพิจารณา มาเห็นชัดเจนแล้ว ว่า มันล้วนแต่เป็นมูตร เป็นคูถ เป็นของสกปรกโสโครก เป็นของไร้ ๓๔

มรดกธรรมศาลาพระราชศรัทธา วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร ปี ๒๕๖๒ เล่มท่ี ๕ สาระส้ินดี และท่ีเราแบกมาเพราะความมัวเมาลุ่มหลง พอเรามา เห็นตามสภาพความเป็นจริงว่ามันเป็นสิ่งท่ีไร้สาระ เป็นสิ่งท่ีไม่มี คณุ ค่าเลย เม่ือเห็นชดั เจนอย่างนี้แลว้ มนั วางเอง มันปลงเอง มันทิ้ง เอง เมื่อทิ้งเองแล้ว ความทเ่ี คยหนักมาจากการแบกการหามมา แต่ไหนแต่ไรมา มันก็หลุดพ้น เบาสบาย ของมันเองทางร่างกาย จิตใจของเราก็เช่นกัน เมอ่ื มันทอดธุระปลงวางอุปาทานความยึดมั่น ถือมั่นแล้ว จิตนี้ดีดตัวออกมาเป็นอิสระจากอัตตาตัวตน แม้จะอยู่ กับอัตตาเรือนกายนี้ไปอีกยาวนานขนาดไหนก็ตาม จะเป็นทุกข์ เพราะเรือนกายน้ีอีกเป็นไปไม่ได้เลย นับต้ังแต่วันท่ีทอดถอนจิต ออกมาจากอุปาทาน จากความยึดมั่นถือมั่นในอัตตาแล้ว นับต้ังแต่ บัดนั้นเป็นตน้ มา เราจะไม่มีความทุกขจ์ ากเรือนกายนี้อีกต่อไปเลย เรือนกายนี้จะเป็นอย่างไรก็ตาม เราก็เป็นเพียงบริหารเขา ไป เยียวยาเขาไปเท่านั้น ตามสภาพหนา้ ที่ของเราเอง เขาพอแก่เรา เยยี วยา เราดูแลเกย่ี วข้องกับความแก่ได้อย่างไร เรากด็ แู ลเก่ียวข้อง กับความแก่ไปตามเหตุตามผล แม้นมันเจ็บ เราเก่ียวข้องกับความ เจ็บได้อย่างไร ด้วยเหตุด้วยผลอย่างไร เราก็เกี่ยวข้องไปบรรเทา ความเจ็บนั้น จนกระท่ังถึงความตายเข้ามาครอบงา เราจะมา เกยี่ วขอ้ งกับความตายน้ีได้อย่างไร เรากเ็ ก่ียวขอ้ งไปตามเหตุตามผล แต่ความแก่ ความเจ็บ ความตาย นี้ไม่ใช่กองทุกข์ ไม่สามารถมา สร้างความทุกข์ข้ึนมาสู่จิตสู่ใจของเราได้อีกต่อไป ความแก่ ความ เจ็บ ความตาย เขาก็ไม่ได้เป็นทุกข์ เขาเป็นเช่นน้ันเอง พอจะเกิด เขากเ็ กดิ พอจะดบั เขาก็ดับ การพจิ ารณาถอดถอนลงไปดว้ ยปัญญา ถึงที่สุดแล้วจิตดวงนี้จะเป็นอิสระข้ึนมาจากการแบกหามใน ๓๕

มรดกธรรมศาลาพระราชศรทั ธา วัดปทุมวนารามราชวรวหิ าร ปี ๒๕๖๒ เล่มท่ี ๕ อุปาทานต่าง ๆ ท้ังหลายเหล่าน้ันมาแต่ไหนแต่ไร ออกไปหมดส้ิน ออกจากจิตจากใจของเรา พอมันหลุดจากอัตตา จากตัวตนนี้แล้ว มันเหลือแต่ในส่วน นามธรรม ก็ไม่พน้ จากปัญญาดวงที่เราได้คลี่คลายพิจารณาในอัตตา แล้วนั้น ในส่วนนามธรรมมีส่ิงใดเล่า มี เวทนำ สัญญำ สังขำร วิญญำณ ซึ่งเป็นอำกำรอันหนึ่ง อำกำรอันหน่ึง ซึ่งอำกำรต่ำง ๆ ทงั้ หลำยเหลำ่ น้ัน กล็ ว้ นมแี ตค่ วำมเกดิ มแี ต่ควำมดับ เป็นอนจิ จงั ของมันอยู่ตลอดเวลำ ไม่มีอำกำรใดเลยท่ีเท่ียง เพราะฉะน้ัน ปัญญาที่ได้ผ่านการพิจารณากายนี้แล้ว จะเป็นปัญญาที่แหลมคม อย่างยิง่ ไมว่ ่าสิง่ ใดกต็ ามที่ยังลึกลบั ซับซ้อนซ่อนเงื่อนอยู่ใต้จิตดวงน้ี อยู่แล้ว ปัญญาดวงนี้จะไม่หยุดน่ิง มันจะซึมซับเข้าไปคุ้ยเขี่ย พิจารณา แยกแยะ จนกระทั่งปลดเปล้ืองอุปาทาน ความยึดม่ันถือ ม่ันในส่ิงทั้งหลายเหลา่ น้ันพังทลายหลุดออกไป จิตถึงซ่ึงความอิสระ อย่างแท้จรงิ เมื่อจิตถึงซ่ึงความอิสระด้วยปัญญาความรู้แจ้งมาแล้ว โมหะ คือความลุ่มหลง จนกระทั่งตัวพ่อของมัน คืออวิชชา มันทน อยู่ต่อการครอบงาจิตไม่ได้ เมื่อตัวอวิชชาพังทลายหลุดออกไปจาก จิตเมื่อไรแล้ว น่ันแหละ ความบริสุทธิ์หลุดพ้นจากความครอบงา ของกิเลสท้ังหลายมาก่ีภพกี่ชาติ มันหลุดพังทลายออกไป ไม่ว่าจะ หลุดพังทลายออกไปอิริยาบถใด ณ สถานท่ีใดก็ตาม ในสถานท่ีน้ัน เวลาน้นั อริ ิยาบถนั้น ประตมู รรคผลนิพพานเปดิ ต้อนรับบุคคลผู้นั้น ทันที โดยไม่เลือกชนชั้นวรรณะ ไม่เลือกเพศหญิงเพศชาย ไม่เลือก นักบวชหรือฆราวาส ถ้ากา้ วไปถึงจุดนั้นแล้ว ประตูมรรคผลนิพพาน ลว้ นแต่ยนิ ดเี ปดิ ตอ้ นรบั บุคคลผนู้ นั้ โดยทนั ที ๓๖

มรดกธรรมศาลาพระราชศรทั ธา วัดปทุมวนารามราชวรวหิ าร ปี ๒๕๖๒ เลม่ ที่ ๕ ธรรมท้ังหลายท่ีพระพุทธเจ้าได้ทรงประกาศสอนโลกไว้ และองคห์ ลวงปูม่ ่ันได้นามาประพฤตปิ ฏิบตั ิจนกระทั่งไปถึงจุดหมาย ปลายทาง และพระองค์ท่านได้น้อมนามาประกาศส่ังสอนสานุศิษย์ ท้ังหลาย ท่านก็ล้วนแต่ปรารถนาให้สานุศิษย์ทั้งหลายก้าวไปถึง จุดหมายปลายทางอนั น้ี เมอื่ สานุศษิ ย์ใดก็ตามทป่ี ระพฤติปฏิบัติตาม ก้าวไปถึงจุดหมายปลายทางอันนั้น นั่นแหละ เป็นความช่ืนชมยินดี เป็นความภาคภูมิใจท่ีองค์ท่านจะมี และที่เราจะมีต่อองค์ท่านอย่าง แท้จริง ประดุจด่ังพ่อแม่ พ่อแม่ทุกคนท่ีมีลูกมีหลาน ก็ล้วนแต่ ปรารถนาให้ลกู หลานของตนมีความเจริญก้าวหน้า มีความสุขความ เจริญ เมื่อลูกหลานของตนมีความสุขความเจริญ มีความสาเร็จใน ชีวิตของตัวเองแล้ว น่ันแหละ คือความภูมิใจที่สุดของผู้เป็นพ่อแม่ อย่างแท้จริง ครูบาอาจารย์หรือพระพุทธเจ้าก็ไม่ได้แตกต่างจากพ่อ แมข่ องพวกเราเลย ลว้ นแต่มคี วามปรารถนาอันเดยี วกนั เพราะฉะน้ัน อันนี้จึงสมกับภาษิตที่ยกข้ึนมากล่าวไว้ใน เบอ้ื งตน้ วา่ ปูชำ จะ ปชู ะนยี ำนัง เอตัมมงั คะละมุตตะมัง กำรบชู ำ บุคคลที่ควรบูชำนั้นเป็นมงคลอันสูงสุด แล้วบุคคลที่ควรต่อการ บูชามีท่านใดเล่า ก็มีศาสดาของเรา จนตลอดถึงสงฆ์สาวก อรหันต์ มาถึงครูบาอาจารย์ของพวกเรา มีองค์หลวงปู่มั่น เป็นต้นนั้น เป็น บุคคลที่ควรต่อการบูชาอย่างย่ิง และการบูชาด้วยการปฏิบัติบูชาน้ี พระพุทธเจ้าทรงยกย่องว่า เป็นการบูชาเหนือยิ่งกว่าการบูชาทุกสิ่ง ทุกประการ เพราะการปฏิบัติบูชานี้สามารถยังบุคคลผู้ปฏิบัตินั้นให้ พ้นจากกองทุกข์อย่างสิ้นเชิง เม่ือพวกเราเป็นผู้ที่หนักแน่นมั่นคงใน การน้อมนามาประพฤติปฏิบัติด้วยการบูชาในองค์ศาสดา ตลอดถึง ๓๗

มรดกธรรมศาลาพระราชศรทั ธา วัดปทมุ วนารามราชวรวิหาร ปี ๒๕๖๒ เล่มท่ี ๕ ครูบาอาจารย์ มีองค์หลวงปู่มั่น เป็นต้นแล้วน้ี จึงขึ้นชื่อว่าเป็นการ บชู าอนั ประเสริฐเลิศย่งิ เป็นมงคลอนั สูงสุด เมื่อพวกเราท่านท้ังหลาย ได้สร้างมงคลข้ึนมาในชีวิตของ พวกเราเองแล้ว ชีวิตของพวกเราก็มีแต่จะก้าวไปสู่ความสุขความ เจริญ จนกระทั่งถึงซึ่งความพ้นทุกข์ได้ดั่งเช่น สงฆ์สาวก อรหันต์ หรือดั่งเช่น ศาสดาของเราถึงจุดหมายปลายทางอันน้ันได้แล้วอย่าง ไม่เป็นที่สงสัยเลย เพราะฉะน้ัน เม่ือพวกเราท่านท้ังหลายได้ยินได้ ฟังแล้วในอรรถธรรมทั้งหลายที่แสดงมา ให้พากันน้อมนาไป ประพฤติปฏิบัติ นับต้ังแต่ศีลเป็นเบ้ืองต้น ให้พากันมีความอดกลั้น ต่อกิเลส อย่าปล่อยปละละเลยกิเลสให้สาดกระจายออกมา เปรอะเปร้ือนออกไปภายนอก มันเป็นการสร้างความเศร้าหมอง สร้างความเดือดร้อน สร้างความทุกข์ให้เกิดขึ้นแก่ตนเอง และแก่ ครอบครัว ตลอดจนสังคมทั่วไปอย่างไม่มีขอบไม่มีเขต ถ้าพวกเรามี ความอดกลั้นต่อกิเลสแล้ว เราจะอยู่ท่ีไหนไปท่ีใด เราก็เป็นบุคคลผู้ มีศีล ล้วนแต่นาความร่มเย็นเป็นสุขมาสู่ตนเอง และสู่ครอบครัว ตลอดจนสังคมวงกว้าง ไม่มีขอบ ไม่มีเขต ไม่มีประมาณอย่าง แนน่ อน จากนั้นมา จิตใจของเราอย่าปล่อยปละละเลย การปล่อย ปละละเลยจิตใจแล้วจะให้มันมีความสุขโดยตัวของมันเองนั้น ย่อม เป็นไปไม่ได้ มันมีแต่จะจมลงไปในกองทุกข์ จมลงไปในกองเศร้า โศก คับแค้นใจ ฟุ้งซา่ นหงดุ หงิดราคาญใจ กลุ้มอกกลุม้ ใจรา่ ไป และ นับวันก็จะหนักข้ึนไป นับวันจะหนาลงไป หนาลงไป เพราะฉะน้ัน จิตใจของพวกเรานั้น จะมีความปลอดโปร่งโล่งเป็นอิสระจากกอง ทุกข์ ถึงซึ่งความสุขอย่างแท้จริง ก็เพราะการอบรมจิตอบรมใจ ๓๘

มรดกธรรมศาลาพระราชศรัทธา วัดปทมุ วนารามราชวรวิหาร ปี ๒๕๖๒ เล่มท่ี ๕ นับต้ังแต่เบ้ืองต้น สร้างความสงบ อบรมจิตอบรมใจของเราให้มี ความสงบ ด้วยการหม่ันกาหนดลงไปอยู่ในอานาปานสติ คือ มีสติ กากับจิตใหอ้ ยู่กบั ลมหายใจเข้า “พทุ ” ลมหายใจออก “โธ” เมอ่ื เรา ทาบ่อยเข้า บ่อยเข้า เราก็จะมีความคุ้นเคยในการภาวนานี้ เมื่อมี การคุ้นเคยมากข้ึน การภาวนาด้วยอานาปานสติ ก็จะแนบสนิทอยู่ ภายในจิตในใจของเรา จิตใจของเราก็จะไม่ปลีกแวะออกไปจากลม หายใจเข้าออกไปเกาะเกี่ยวกับความนึกคิดปรุงแต่งต่าง ๆ ท้ังหลาย อนั เปน็ ความเคยชนิ ของจติ เมื่อจิตอยู่กับลมหายใจเข้าออก ได้อย่างแนบแน่นมีความ ต่อเน่ือง จิตน้ันจะละเอียดเข้าไป จนถึงที่สุดแล้วก็รวมตัวสู่ความ สงบ เม่ือจิตท่ีรวมตัวอยู่ในความสงบจนอ่ิมพอของจิต จิตถอน ออกมาจากความสงบรวมตัวนั้น จิตนั้นจะมีความต้ังม่ัน หนักแน่น มั่นคง ท่ีเราเรียกกันว่า “สมาธิ” เป็นการสร้างสมาธิขึ้นมาให้เป็น พื้นฐานของจิต เมื่อจิตมีสมาธิเป็นพื้นฐานแล้ว ออกเดินทางด้าน ปัญญา คือการคิดค้น คลี่คลาย พิจารณา แยกแยะส่ิงใดก็ตาม มัน จะมีความแยบคายรอบคอบในการคิดพิจารณา การคิดนี้ เราจึง เรียกว่า “ปัญญา” เมื่อปัญญาคุ้ยเข่ียลงไปในซอกมุมใด ล้วนแต่มี ความชัดเจนแยบคายในการพิจารณาอย่างย่ิง จะพิจารณากายก็ ตาม จะพิจารณาเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณก็ตาม จะมีความ ชดั เจนแยบคายในการคิดพิจารณาอยา่ งยง่ิ เพราะฉะนั้น เม่ือมีความแยบคาย มีความชัดเจน ในการ คิดพิจารณาแล้ว ความจริงย่อมเปิดเผยออกมาต่อปัญญาดวงนี้ แน่นอน เมื่อความจริงเปิดเผยออกมา คือวิปัสสนา ความรู้แจ้ง เกิดขึ้นแล้ว อุปาทานความยึดมั่นถือมั่น อันเป็นตัวสมุทัยอย่าง ๓๙

มรดกธรรมศาลาพระราชศรทั ธา วดั ปทุมวนารามราชวรวิหาร ปี ๒๕๖๒ เล่มท่ี ๕ แท้จริงที่ครอบงาจิตใจของเรามากี่ภพ ก่ีชาติ ทนอยู่ไม่ได้ ต้องหลุด พังทลายออกไปจากการครอบงาจิตใจของเราอย่างแท้จริง เมื่อสิ่ง ทั้งหลายเหล่าน้ันพังทลายออกไปจากจิตจากใจของเรา ใจของเรา ดีดออกมาจากการครอบงาของสิ่งท้ังหลายเหล่าน้ัน นับตั้งแต่ อวิชชำเป็นต้นเค้ำหลุดออกไป จิตดีดออกมำเป็นอิสระจำก อวิชชำแล้ว นั่นแหละ ควำมบริสุทธิ์ปรำกฏข้ึนมำเป็น “สมบัติ ของใจ” อย่ำงแท้จริง อยู่ที่ไหนก็เป็นสุขอย่ำงแท้จริง ดังท่ีพระเร วตะ ท่านออกอุทานไว้ว่า ไม่ว่าท่านจะอยู่อิริยาบถใด อยู่สถานท่ีใด น้ัน ท่านล้วนแต่อุทานออกมาว่า สุขัง วะตะ สุขัง วะตะ สุขหนอ สุขหนอ สุขหนอ อยู่ตลอดเวลา ก็เพราะว่าสุขมันเกิดข้ึนภายในจิต ในใจนีแ่ หละ เม่อื พวกเราท่านทัง้ หลายได้น้อมนามาประพฤติปฏิบัติ แล้ว เช่ือเถอะว่า ชีวิตของพวกเราท่านท้ังหลายก็จะก้าวไปสู่ ความสุขได้อย่างแท้จริง ไม่เป็นท่ีสงสัยเลย ก็ขอให้พวกท่าน ท้ังหลาย จงน้อมนาไปประพฤติปฏิบัติเพื่อความสิริมงคล หรือ ความสุขอย่างแท้จริง ท่ีจะเกิดข้ึนต่อชีวิตของพวกเราท่านทั้งหลาย อย่างแนน่ อน ไม่เป็นท่สี งสัย การแสดงธรรมมาน้ี กเ็ ห็นวา่ พอสมควร แก่เวลา จึงขอยุติ เอว ก็มดี ว้ ยประการฉะนี้ สาธุ ๔๐

มรดกธรรมศาลาพระราชศรัทธา วดั ปทุมวนารามราชวรวิหาร ปี ๒๕๖๒ เล่มที่ ๕ พระครบู รหิ ำรสมำธิคณุ (หลวงปู่คำสด อรุโณ) วัดปำ่ บ้ำนเพ่มิ ต.นำแค อ.นำยงู จ.อุดรธำนี แสดงเมื่อวนั อำทิตย์ ท่ี ๒๑ กรกฎำคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ณ ศำลำพระรำชศรัทธำ วัดปทมุ วนำรำม รำชวรวิหำร ตั้งใจรับศีลตั้งใจสมาทานศีล ท่ีพวกเรามาด้วยความต้ังใจ ทาดว้ ยความตัง้ ใจ ตัง้ ใจรกั ษาดว้ ย ทาอะไรถา้ ทาดว้ ยความตงั้ ใจก็ได้ ดังใจ ได้สมความปรารถนาดั่งใจ ไม่สักแต่ว่าเป็นพิธี ทาอะไรถ้า ตั้งใจทา แล้วก็สมาทานด้วยความตั้งใจสมาทาน ต้ังใจสมาทาน คือ ว่ามีเจตนาวิรัติงดเว้น จึงกล้าเปล่งวาจาออกมาจากใจ แสดงออก ทางวาจา น้อมรับนับถือศีล เพ่ือไปประพฤติปฏิบัติด้วยความต้ังใจ อานิสงสก์ จ็ ะได้เต็มทีเ่ ตม็ ใจของพวกเรา ๔๑

มรดกธรรมศาลาพระราชศรัทธา วดั ปทุมวนารามราชวรวหิ าร ปี ๒๕๖๒ เลม่ ท่ี ๕ ฉะนั้น ได้ชีวิตขึ้นมาเป็นมนุษย์ ต้องมีศีลเป็นหลัก ถ้ามีศีล เป็นหลัก การให้ทานก็ได้อานิสงส์มาก ที่ท่านว่าทากับผู้มีศีลมีธรรม ก็ไดอ้ านิสงสม์ าก เหมือนกับเราปลกู ตน้ ไม้ ปลกู ในทีม่ ดี ินมนี า้ ใช่ไหม ชุ่มฉ่า พืชท่ีเราปลูกลงไปก็ได้ผลเต็มที่งอกงาม พอถึงกาลเวลาท่ีเขา ให้ผลให้ดอก ให้เราได้รับได้สัมผัสเต็มที่ เพราะเราตั้งใจปลูกต้ังใจ ดแู ล ศลี นเ้ี ป็นศีลของพระพุทธเจ้า ทท่ี า่ นค้นพบเป็นศีลธรรมชาติ ที่ มีอยู่แล้วในโลกที่อยู่ร่วมกัน แบบสันติสุขก็ต้องมีศีลใช่ไหม ศีลน้ัน เป็นศีลของท่านผู้รู้ท่านผู้ฉลาด เป็นศีลท่ีท่านเลือกเฟ้นเห็นว่าเป็น ประโยชน์ สาหรับมนุษยอ์ ย่รู ่วมโลกนี้ด้วยกัน มีสนั ตสิ ขุ ก็เพราะมีศีล ต่างคนต่างมีศีล เริ่มจากตัวของเราปฏิบัติเร่ิมจากตัวของเรา ครอบครัวของเราบ้านของเรา ตาบล อาเภอ จังหวัด ประเทศชาติ ของเรา เขา้ ไปสู่ชมุ ชนท้ังหลาย หรือสังคมโลกกเ็ พราะศีลเป็นเคร่ือง บรหิ ารจัดการ คนมีศีลเหมือนดินมีน้ำ ท่านว่าอย่างน้ัน คนขาดศีล เหมือนกับดินขาดน้า น้ากาย น้าใจ น้าพัก น้าแรง ถ้ามีศีลมีธรรม แล้ว พูดออกมาก็น่าฟัง แสดงออกมาก็น่าดู แม้ในชุมชนใด ถ้ามีศีล เข้ากันได้อย่างสนิทเลย ถ้าไม่มีศีลแม้จะเป็นหัวหน้าบ้าน เป็น หัวหน้าครอบครัว เป็นหัวหน้าวัด เป็นหัวหน้าประเทศอย่างน้ี ต้องการคนมีศีลไหม ทุกวันนี้ เรียกร้องแต่คนมีศีลมีธรรม เรียกร้อง จากคนผู้นาพาประเทศชาติบ้านเมืองผู้มีศีลมีธรรมใช่ไหม ฉะนั้น ศีลธรรมจึงเป็นส่ิงท่ีนาพาให้โลกมีความสุขความเจริญ เป็น ธรรมชาติของโลกทตี่ ้องการความสุขความเจริญ ไม่ว่าจะยุคไหน ไม่ ว่าจะชาติช้ันวรรณะ ศาสนาภาษาใด สรุปแล้วคือต้องการอยู่กับคน มีศลี มีธรรม ๔๒

มรดกธรรมศาลาพระราชศรทั ธา วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร ปี ๒๕๖๒ เลม่ ท่ี ๕ คาว่าศีลคือคนมีปกติ คนไม่มีปกติคือคนขาดปกติ แปลว่า ไมม่ ศี ลี คนมศี ีลคือคนปกติ ปกติศีล ฉะน้นั มนุษยน์ ั้นสาคัญอย่างย่ิง อยู่กับศลี กบั ธรรม ก็ไม่เหลือวิสัย ตอ้ งเหน็ วา่ เป็นโทษเปน็ พษิ เป็นภัย ไหม คนไม่มีศลี เราไม่มีศลี เราจะเข้ากับสงั คม ชุมชนใดได้สนิทไหม ไม่เลย แต่ถ้าเรามีศีลมีธรรม ไปที่ไหนสงั คมกย็ อมรับนับถือ ไม่ว่าพ่อ แม่ครูบาอาจารย์ ผู้นาพาศาสนา ผู้นาพาประเทศชาติบ้านเมือง ไป ที่ไหนยอมรับนับถือ ยอมรับนับถือด้วยการยกมือไหว้ ต้อนรับดูแล อย่างดีเลย หายากมากคนมีศีลมีธรรม จึงควรศึกษาและนามา ประพฤตปิ ฏิบตั ิ อยา่ เป็นเพยี งพิธี พระเณร พาลกู พาหลานมาบวชกับอุปชั ฌาย์ครูบาอาจารย์ ก็ขอศลี กับอุปัชฌาย์ครบู าอาจารย์ แล้วกต็ ้งั ใจรักษา มีเจตนาวิรัติงด เว้นเป็นนิจศีลอยู่ตลอด ขาดตกบกพร่องบ้างบางสิกขาบท ก็รักษา เยียวยาเพ่ืออยู่ร่วมกันแบบสันติสุข เข้าสังฆกรรมทาประโยชน์ใน พระพุทธศาสนา หรอื ประโยชน์ทางโลกก็กลมกลืนกนั ได้ ยอมรับนับ ถือกันได้ ถ้าพระเถรเณรชี ครูบาอาจารย์ มีศีลมีธรรม ถ้าตรงกัน ข้ามเป็นอย่างไร พวกเรายอมรับนับถือไหม แม้จะนิมนต์ไปทาบุญสุนทานที่ บ้านก็ไม่อยากนิมนต์ใช่ไหม ฉะน้ัน มันเริ่มต้นจากท่ีไหนก็เร่ิมต้นท่ี ตัวของเรา ฉะน้ัน ศีลของพระพุทธศาสนา ศีลของพระพุทธเจ้าเป็น ศีลอันประเสริฐ เป็นศาสนาสากล ทุกคนยอมรับนับถือ ถ้าเป็นผู้ ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบแล้ว ก็เพราะมีศีลเป็นเหตุ คนมีศีลเป็นปกติก็ไม่ ตอ้ งไปขอศีล ถา้ เขา้ ใจแลว้ คือตา่ งคนต่างก็มีเจตนาวิรัติงดเวน้ ให้มี หิริ คือควำมอำยต่อบำปอยู่กับตัวเอง โอตตัปปะ สะดุ้งกลัวต่อ บำปที่จะเกิดข้ึนเพรำะควำมไม่มีศีล พล้ังเผลอพลั้งพลาดไป ก็ ๔๓

มรดกธรรมศาลาพระราชศรทั ธา วัดปทุมวนารามราชวรวหิ าร ปี ๒๕๖๒ เล่มที่ ๕ ซอ่ มแซมรักษาเยียวยา ก็ถอื ว่าต้งั ตัวได้คนเรา คนตั้งตัวไม่ได้กเ็ พราะ เหตุที่หนึ่งไม่มีหิริ ความละอาย ทาไปพูดไปคิดไป แต่พวกเขาได้ยิน ได้สัมผสั ตรงกันข้าม ผู้ไม่มีศีลอยู่ที่ไหนก็ไม่อบอุ่น ถึงอยู่ในท่ีลับ สลับซับซ้อน ไม่มีใครรู้ใครเห็น ก็ไม่มีความสุขความสบาย เพราะ ตนเองไม่มีศลี ถ้ามศี ีลอยทู่ ่ไี หนมนั อบอนุ่ ท่านถึงว่า “ให้มีทำนก่อน กิน มีศีลก่อนไป สอนใจตนเอง” มีทานก่อนกิน มีศีลก่อนไปดีไหม คนเราอยู่ด้วยกันต้องมีการดูแลเยียวยากัน มีศีลก่อนไป อยู่ท่ีไหนก็ อยู่กับศีลกับธรรม สมาทานแล้วอย่าให้เล็ดลอดหลุดไม้หลุดมือไป เราได้เปล่งวาจาจะรักษาศีลด้วยเจตนาวิรัติงดเว้น มีหิริ ความ ละอาย ต้องไม่กล้าที่จะทาลายศีลท่ีตนเองสมาทานไปแล้วนั้น โอตตัปปะ ย้าซ้าเข้าไปอีกว่าเกรงกลัวต่อบาปกรรมท่ีตนเองได้ล่วง ไปแล้ว จะให้ผลอยา่ งไร ใครต้องการความชวั่ ใครต้องการความไม่ดี ที่จะเกิดข้ึนกับตัวของเรา หรือในครอบครัวของเรา หรือในชุมชน ของเรา แต่ในชุมชนของเรา ในตัวของเรา ต่างคนต่างมีศีลแล้ว ไม่ ต้องคิดว่าจะมีอะไรไม่ดี เลวร้ายเกดิ ขนึ้ กบั ตัวของเรา และครอบครัว ของเรา นอกจากกรรมเก่า วบิ ากกรรมเกา่ ที่จะสร้างไวเ้ ท่านั้น ปัจจุบัน ถ้ำเรำตั้งตนไว้ดีด้วยดี ผู้มีหิริ - ควำมละอำย มี โอตตปั ปะ - สะดงุ้ กลัวต่อบำป อย่เู ปน็ ประจำ มนั ก็สบำยหำยห่วง หลักการของพระพุทธศาสนา แนวทางของท่านผู้รู้ พุทธศำสนำ แปลว่ำศำสนำของท่ำนผู้รู้ รู้แล้วจึงมำสอน รู้ว่าส่ิงนี้มันผิด ส่ิงน้ี มนั เพ้ยี น ส่ิงน้ีมันไมด่ ี เม่อื ประพฤติปฏิบัติไปแลว้ มนั ไม่ดีตอ่ ตนของ ตน แล้วก็มองเห็นชุมชน สังคมทั้งหลายว่า เขาอยากจะดีอยากจะ เจริญ อยากจะอยู่ด้วยความสุขความสบาย ก็เพราะขาดอะไร ๔๔

มรดกธรรมศาลาพระราชศรทั ธา วัดปทมุ วนารามราชวรวหิ าร ปี ๒๕๖๒ เลม่ ที่ ๕ เพราะต้องการอะไร ก็เรื่องของทาน ศีล และเร่ืองภาวนา ก็ไม่ยาก เหมือนกนั “ศีลนำพำ ภำวนำนำไป” นาไปที่ไหน เมื่อต้องการ ความสุขความสงบ มีศีลพร้อมแล้วก็ไม่วุ่นวาย จะกระทาบาเพ็ญ อะไรก็ไม่มีปลิโพธิกังวล น่ังภาวนาอยู่ที่บ้าน น่ังภาวนาหลับตา หรือไม่หลับตาก็สบายหายห่วง เพราะเราไม่ได้สร้างเวรสร้างกรรม หรือเป็นผู้ทุศีลไว้ สัตว์เขาก็ต้องการอย่างนั้น เห็นไหม เขารักรูป ขนาดไหน มนุษย์ผู้สูงกว่าสัตว์แล้ว ถ้าไม่มีศีลแล้ว เราก็เลวร้ายยิ่ง กว่าสัตว์ทั้งหลายทุกประเภทด้วยซ้า ไม่เป็นมนุษย์สมบัติด้วยซ้า สมบัติของผู้เป็นมนุษย์ ก็คือเป็นผู้มีศีล ถ้าคนไม่มีศีลเป็นผู้วิบัติ ขาดจากสมบัติความเป็นมนุษย์โดยแท้แล้ว ขอฝากพวกเราเอาไว้ จะนาพาสมาทานศลี นะโม ตสั สะ ภะคะวะโต อะระหะโต สมั มาสัมพุทธัสสะ นะโม ตสั สะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ นะโม ตสั สะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ พุทธัง สะระณงั คจั ฉามิ ธมั มงั สะระณัง คัจฉามิ สังฆงั สะระณัง คจั ฉามิ ทุตยิ มั ปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ทตุ ิยมั ปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ ทตุ ยิ ัมปิ สงั ฆัง สะระณัง คจั ฉามิ ตะติยมั ปิ พทุ ธงั สะระณัง คัจฉามิ ตะตยิ ัมปิ ธัมมัง สะระณงั คัจฉามิ ตะตยิ มั ปิ สังฆัง สะระณงั คจั ฉามิ ๔๕

มรดกธรรมศาลาพระราชศรทั ธา วดั ปทมุ วนารามราชวรวิหาร ปี ๒๕๖๒ เลม่ ท่ี ๕ สะระณะคะมะนงั นฏิ ฐติ ัง (อามะ ภันเต) ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทยิ ามิ อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทงั สะมาทิยามิ กาเมสุ มจิ ฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทยิ ามิ มุสาวาทา เวระมะณี สกิ ขาปะทัง สะมาทยิ ามิ สรุ าเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ อมิ านิ ปัญจะ สกิ ขาปะทานิ สีเลนะ สุคะติง ยันติ สเี ลนะ โภคะสัมปะทา สเี ลนะ นิพพุติง ยันติ ตัสมา สีลงั วโิ สธะเย สาธุ อาราธนาธรรม พรัหมา จะ โลกาธิปะติ สะหัมปะติ กัตอญั ชะลี อันธิวะรัง อะยาจะถะ สนั ตธี ะสัตตาปปะรักชกั ขะชาตกิ า เทเสตุ ธัมมงั อะนุกัมปมิ ัง ปะชัง ฯ พร้อมแล้วนะ ถ้าพร้อมแล้วก็ตั้งใจปฏิบัติ พร้อมกับการได้ ยินได้ฟังไป จะน่ังขัดสมาธิ ทากายให้ตรง ต้ังใจเฉพาะต่อหน้า มี ความรูอ้ ยู่เฉพาะต่อหนา้ เปน็ ปจั จบุ ัน กายพร้อมวาจาพร้อม ทาอะไร ไมใ่ หก้ ระทบ ไม่ให้ยวั่ ยวนรบกวนสมาธคิ นอืน่ อยู่ดว้ ยความสงบกาย เรามีศีลแล้วทุกคน สงบกายสงบวาจา มีสติสังวร สารวมระวัง เพื่อให้มีสมาธิเฉพาะเป็นปัจจุบัน เพ่อื ใหเ้ กดิ ประโยชน์อันสูงสุดหรือ ๔๖

มรดกธรรมศาลาพระราชศรัทธา วัดปทุมวนารามราชวรวหิ าร ปี ๒๕๖๒ เลม่ ที่ ๕ ให้ประโยชนใ์ นการเปน็ อยูจ่ ากขณะนี้ เป็นต้น เพือ่ จะให้เป็นคนดีอยู่ กับศีลกับธรรมคาสอน อยู่กับข้อวัตรปฏิบัติขัดเกลาตนเอง เพื่อจะ ยกฐานะความเป็นอยู่ของเราให้สูงส่ง สูงเด่นเป็นสง่าราศี เป็นคนดี ในสังคม เป็นคนดีของชาติ เป็นคนดีของพระศาสนา เป็นคนดีใน ครอบครัวของเรา หรือว่าเป็นคนดีหรือเป็นศิษย์ที่ดีของครูบา อาจารย์ มันต้องดีเรม่ิ ดีจากการปฏิบัติของเรา ถ้าเราไม่ดี อยากให้คนอื่นสรรเสริญเยินยอมันก็แค่น้ัน คน จะดีก็เพรำะมีศีล คนจะดีก็เพรำะรู้จักกำรให้กำรแบ่งปัน คนจะดี ละเอียดข้ึนไป ดีท่ีสุดหลุดพ้นก็เพรำะประพฤติปฏิบัติจิตตภำวนำ “ศีลเป็นเหตุ สมำธิเป็นผล สมำธิเป็นเหตุ ปัญญำเป็นผล” เมื่อ ปัญญาเกิดข้ึนแล้วจากการอบรม มาอบรมอะไรก็อบรมจิตของเราก็ บริสุทธิ์หลุดพ้น นี่คือคาสอนของพระพุทธศาสนา เป็นคาสอนที่ รวบรวมรู้ง่าย เข้าใจง่าย แต่ว่าถ้าคนไม่รู้จักไม่ได้ยินได้ฟัง ประหน่ึง วา่ มันอยตู่ รงนัน้ อยูต่ รงน้ี อยกู่ บั คนนนั้ คนนี้ สง่ จิตสง่ ใจคิดไป นกึ ไป นอกไปจากปัจจุบัน จากการปฏิบัติของตน จิตใจเลยไปห้อยไป แขวนไปวิ่งอยู่กับส่ิงนอกกายนอกจิตของตนเอง แปลว่าว่ิงตะครุบ เงา ถ้าเราตั้งอกตั้งใจอย่างน้ัน ถึงจะไม่ฉลาดเป็นนักเทศน์ อาตมาไม่ใช่เปน็ นกั เทศน์ เปน็ นักปฏิบตั ิเหมือนพวกเรา พูดไปฟังไป สอนตนเองไปพร้อม ได้ยินธรรมะก็เอามาย้อนจิตคิดสอนตนเองไป ด้วยเหมือนกับพวกเราอาศัยการได้ยินได้ฟังเหมือนกับคนเรา ถ้าได้ ยินได้ฟัง การปฏิบัติจะเพ้ียนบ้างค้นหาเอาเอง บางทีก็ถูก ๆ ผิด ๆ ถ้าได้ยินได้ฟัง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ได้ศึกษาตามแน วทาง พระพุทธศาสนาเป็นสิ่งที่ปักใจลงใจได้เลยว่า พระพุทธเจ้าตรัสรู้ ๔๗

มรดกธรรมศาลาพระราชศรทั ธา วดั ปทมุ วนารามราชวรวหิ าร ปี ๒๕๖๒ เล่มท่ี ๕ อะไร ท่านรู้อะไร ท่านจึงมาประกาศศาสนธรรมคาส่ังสอน คาสอน ของพระพุทธองค์คือสอนอะไร สอนเพ่ืออะไร ให้เราศึกษำหำ ควำมรู้ควบคู่คุณธรรม คนเรายังไม่ถึงจุดหมายปลายทาง หรือยัง ไม่ไดพ้ น้ ทุกขก์ ็ศกึ ษาไปเร่อื ยร่าไป แม้คดีโลกก็ต้องศึกษา เพ่ือทามาหาเลี้ยงชีพ เพ่ือความอยู่ รอดทางกิจทางใจภายใน ไม่ศึกษาจะปล่อยความคิดร่ัวไหลไปกับ อารมณ์อย่างที่เคยคิด เคยนึกเคยปรุงเพ่ิมแต่ง ก็ถือว่าเราปล่อยตัว หลงระเริงเกินไป ไม่สมกับท่ีว่าต้องการความสุขความเจริญ คน ต้องการความสุขความเจริญก็ต้องระมัดระวัง แม้จะยืนเดินน่ังนอน ก็ต้องระมัดระวัง เดินก็ต้องระมัดระวังตามเส้นทางที่ปลอดภัย การ เดินกค็ ือความคิดของจิต ความนกึ ของใจเหมอื นกนั แต่เราตอ้ งเลอื ก อารมณ์ที่ควรคิดควรนึก ควรตรึกควรตรองเหมือนกัน หรือว่ามีการ เลือกเฟ้น อย่างที่เรามีศีล เวระมะณี แปลว่าให้เว้น ศีลข้อห้ามมา ประพฤติปฏิบัติ แต่เราห้ามอย่างนั้นห้ามอย่างนแ้ี ล้ว ก็ต้องคิดอย่าง น้ตี อ้ งทาอยา่ งนี้ ต้องพดู อยา่ งนน้ั หา้ มไม่ได้ ไม่ใชจ่ ะใหห้ ้ามทุกอย่าง แม้ความคดิ กห็ ้ามไม่ใหค้ ิด ก็ไมไ่ ด้ นสิ ัยของมนุษย์ทงั โลก มี ความคิดเป็นพนื้ ฐาน กแ็ คจ่ ติ ตสงั ขาร ถ้าไมค่ ิดก็ไม่รู้ ใครจะคดิ อะไร ให้ใจเรารู้ ควำมคิดคือจิต ควำมรู้คือใจ ก็อยู่ด้วยกัน ต้องอาศัยกัน และกัน มีอะไรก็จะพูดให้พวกเราฟัง เพราะความต้ังใจ ต่อมาถึง โอกาสอันสมควรแก่เวลา ให้พวกเราปฏิบัติ ใครกาหนดอะไร ระลึก นกึ อะไรเปน็ อารมณ์ เคยประพฤติปฏบิ ตั มิ า เคยไดย้ นิ ได้ฟังมา อะไร เป็นหลักให้จิตของเรามีความสงบ มีความตั้งม่ันไม่หวั่นไหว หรือว่า ได้อุบายจากแนวความคิด หรือได้อุบายจากท่ีเราได้ยินได้ฟัง ก็จับ ๔๘

มรดกธรรมศาลาพระราชศรัทธา วดั ปทมุ วนารามราชวรวิหาร ปี ๒๕๖๒ เลม่ ท่ี ๕ จุดนั้นเลย ก็จับอารมณ์นั้นเลย เป็นประเด็นเด่นของเรา เพื่ออะไร เพื่อจิตใจของเราเข้าส่คู วามรู้ เมื่อพร้อมกับเข้าสู่ความสงบ ความสงบก็มีหลายอย่าง หลายมาตรฐานเหมอื นกนั ตงั้ แตก่ ายสงบ วาจาสงบ แต่ใจยังไม่สงบ หรือว่าสงบไปชั่วระยะสัน้ ยาว แต่ถ้าใจสงบด้วยวธิ ีใด บริกรรมอะไร พิจารณาอะไร ตั้งจิตเข้าสู่ความสงบเปน็ สมาธิไดแ้ ล้ว ก็เปน็ เรือ่ งของ เราแต่ละท่าน ถ้าใจไม่สงบ พูดเรื่องปัญญาก็ล้มเหลวเหมือนกัน ปัญญาก็เหมือนกับน้าล้นฝ่ังเหมือนกัน คิดไปมากก็ทาให้หลงมาก เหมือนกัน ถ้าเรามีสมาธิ หมายถึงว่า “ศีลเป็นเหตุ สมำธิเป็นผล สมำธิเป็นเหตุ ปัญญำเป็นผล ปัญญำเป็นเหตุสอนจิต อบรมจิต อบรมใจ ใช้พระบริสุทธ์ิ ถึงอยู่กับเท่ำควำมเอำทัน” หมายถึง ความรู้ด้วยบริสุทธิ์ คิดได้นึกได้ ทาได้พูดได้ แต่ว่าไม่หลง เข้าใจถึง ความบริสทุ ธิ์ หลดุ จากความหลง ความลมุ่ หลงสงสยั มนั มที ุกคน แม้บวชมาแล้ว อุปัชฌาย์ครูบาอาจารย์สอนอย่างดี สวด อย่างดีสวดญัตติอย่างดีแล้ว ก็ต้องมาอบรมบ่มนิสัย ปรับปรุงแก้ไข ตนเองด้วยศีลด้วยภาวนาเหมือนกัน เพื่อไม่ให้เข้าสู่ความหลงพ้น จากความหลง เพ่ือหลุดจากความมืด เพราะทุกคนเกิดมาจากความ มืด คือการไม่รู้ตามความเป็นจริง ความหมายของความมืด อบรม จากการได้ยิน อบรมจากการอ่านตารับตารา ศึกษามาแล้วยังไม่ เข้าใจ ปฏิบัติแล้วยังวนไปไม่ได้ เพราะจิตใจยังมีความหลงเป็น พ้ืนฐานอยู่ ฉะนั้น ทุกคนเกิดข้ึนมาในโลก มนุษย์สัตว์เกิดข้ึนมาจาก ความหลง ท่านให้ช่ือว่า อวิชชำ แปลว่ำไม่รู้ วิชชาก็มีคู่กันอยู่แล้ว เป็นเครอื่ งแก้ วชิ ชำแปลว่ำควำมรคู้ วำมฉลำด ๔๙


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook