Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ

เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ

Published by Chalermkiat Deesom, 2016-09-20 09:40:25

Description: buddhist_economics_(thai-eng) เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ

Keywords: เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ

Search

Read the Text Version

เศรษฐศาสตรแนวพุทธ (Buddhist Economics) พระพรหมคณุ าภรณ (ป. อ. ปยุตโฺ ต – P.A. Payutto) เพือ่ สรา งสรรคก ศุ ล  ⌫   ⌫ อนรรฆ เสรีเชษฐพงษ กาวสูพทุ ธศักราช ๒๕๔๘

เศรษฐศาสตรแนวพุทธ(Buddhist Economics) พระพรหมคณุ าภรณ (ป. อ. ปยตุ โฺ ต – P.A. Payutto)ISBN 974-87948-7-3พิมพคร้งั ที่ ๙ - มีนาคม ๒๕๔๘ ๖,๕๐๐ เลม(เปลี่ยนแบบตัวอักษร และปรับปรุงเพม่ิ เตมิ เลก็ นอ ย) ๕,๐๐๐ เลม ๕๐๐ เลม- อนรรฆ เสรเี ชษฐพงษ พมิ พเ ผยแพรเพอ่ื สรา งสรรคกุศล ๕๐๐ เลม ในมงคลวารเรม่ิ วยั ท่ีอายุครบ ๒๐ ป ๕๐๐ เลม- มลู นิธิพทุ ธาภวิ ัทน- มูลนธิ ิบรรจงสนทิ -สหปฏิบตั ฯิ- จากปจ จยั มทุ ติ า แกพ ระพรหมคณุ าภรณ ในพธิ รี บั หริ ญั บฏั (สมทบ)แบบปก: อนรรฆ เสรีเชษฐพงษ ภัชร ชยาสิริพิมพท ่ี

บา นเลขที่ ๘๓ ซอยโชคชยั รวมมติ ร ถนนวภิ าวดีรงั สิต แขวงดินแดง เขตดินแดง กรงุ เทพมหานคร วนั ท่ี ๑๗ ธนั วาคม ๒๕๔๗เรื่อง ขออนุญาตพิมพห นังสอืนมสั การ ทานเจาคณุ พระพรหมคณุ าภรณ ( ป.อ. ปยตุ ฺโต) ทีเ่ คารพอยางสูง จากทีท่ านเจาคุณอาจารย ไดเ คยสอนไววา “เราไมควรประมาทในกศุ ลกรรม” ท้ังคณุ แมและดฉิ นั กไ็ ดพยายามทําในส่งิ ท่คี ิดวาเปน ประโยชนแกผ ูอ่ืนตามกําลังของตัวเอง และในโอกาสสําคญั คณุ แมก จ็ ะขออนุญาตพมิ พหนังสอื ธรรมะของทานเจา คณุ อาจารยไวสําหรบั แจกอยเู สมอ ตามพุทธพจนที่วา “การใหธรรมะ ชนะการใหท ง้ั ปวง” ตอนนี้ ดฉิ ันมีอายุครบ ๒๐ ปแ ลว น่จี งึเปน โอกาสดที ี่ดฉิ ันจะเจริญรอยตามคุณแม ดฉิ ันกาํ ลังศึกษาอยูชนั้ ปท่ี ๒ คณะเศรษฐศาสตร (หลักสูตรภาษาองั กฤษ) จฬุ าลงกรณม หาวิทยาลัย ไดศึกษาแนวคดิ ของนกั เศรษฐศาสตรในสํานกั ตางๆ และขณะน้ี เศรษฐศาสตรแนวพุทธ กําลงั เปนทส่ี นใจในหมูน กัเศรษฐศาสตร เพราะเปนแนวคิดท่ีมีความแตกตางจากเศรษฐศาสตรสายหลัก ดิฉนั จงึ ใครกราบขออนญุ าตจดั พิมพห นังสือ เรอื่ ง “เศรษฐศาสตรแนวพทุ ธ” ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เพ่ือใหนักเศรษฐศาสตร รวมถึงคณาจารยนิสติ นกั ศกึ ษา ทั้งชาวไทยและชาวตางประเทศ ไดค วามรู ความเขาใจในหลักเศรษฐศาสตรแนวพุทธที่ถูกตอง และสามารถนาํ สิ่งท่ีเรยี นรูจากหนังสือเลม น้ีไปประยุกตใชใหเ กดิ ประโยชน ทัง้ แกต นเอง และผอู น่ื ดงั นัน้ ดฉิ ันจึงกราบขอโอกาสจากทา นเจา คุณอาจารย เพ่ือจะไดดําเนนิ การจัดพิมพหนงั สอื ดงั กลาวตอ ไป ดวยความเคารพอยางสูง (นางสาวอนรรฆ เสรีเชษฐพงษ)

นเิ ทศพจน คุณอนรรฆ เสรีเชษฐพงษ หรือตามชอื่ เลน ทบี่ าน คอื “นองปน” ซงึ่เปน ชอื่ ทข่ี อเรยี กตอ ไปในทนี่ ี้ ในฐานะทร่ี จู กั กนั มานานตงั้ แตเ ธอไปวดั เมอื่ ครง้ัยงั เปน เดก็ เลก็ ๆ นอ งปน ไดเ หน็ คณุ แมข องเธอ คอื คณุ จฬุ ารตั น พมิ พห นงั สอืธรรมะแจกไปๆ ในโอกาสสําคัญตางๆ ก็จดจําไว และคิดวาจะทําตาม บดั นี้ นอ งปน มอี ายคุ รบ ๒๐ ป เธอปรารภกาลเวลาสาํ คญั นแี้ ลว เหน็เปนโอกาสเหมาะท่ีจะทําในสิ่งที่คิดไว คือจะพิมพหนังสือธรรมะแจกและเน่ืองจากเธอศึกษาอยูในคณะเศรษฐศาสตร (หลกั สตู รภาษาอังกฤษ)จฬุ าลงกรณม หาวทิ ยาลยั ในยคุ สมยั ทเ่ี กดิ มคี วามสนใจเกยี่ วกบั เศรษฐศาสตรแนวพทุ ธ จึงตกลงใจวา จะพมิ พห นงั สอื “เศรษฐศาสตรแ นวพทุ ธ” ทง้ั พากยไทยและองั กฤษ เพอ่ื แจกมอบเผยแพร เรม่ิ แตภ ายในวงวชิ าการเศรษฐศาสตร เมอ่ื กาลเวลาหมุนเวียนมามอี ายคุ รบรอบปหนึ่งๆ เฉพาะอยา งย่งิเมื่อครบรอบใหญท ่วี ัยมีความเปล่ียนแปลงคร้งั สําคัญ คนทว่ั ไปนยิ มจัดงานทีเ่ รียกกนั วา “ฉลองวนั เกดิ ” การท่ีนองปนพิมพหนงั สอื ธรรมะแจกในวาระท่ีมีอายคุ รบ ๒๐ ปนี้ถา เรียกวา ฉลองวันเกิด ก็พดู ใหเ ตม็ ไดวา เปน การฉลองวนั เกดิ ดวยธรรมวิธีคือฉลองดวยวิธีการที่ชอบธรรมดีงามมีประโยชนเปนสิริมงคลอยางแทจริงไมก อ ความเสยี หายโทษภัยหรอื ความลุมหลงมวั เมาประมาท ทง้ั แกตนเองและผูอ่ืน เปนความคิดในทางสรางสรรคของตน ทที่ ําใหเ กดิ ผลในทางสรางสรรคแกส ังคม เปนความดงี ามท่ีนาํ มาซงึ่ ความเจรญิ งอกงาม พดู ใหส้ันวา ใชว นั เกดิ ของตนเปนโอกาสในทางสรา งสรรค ใหเกิดความเจรญิ งอกงามทางธรรมทางปญ ญาแกส ังคม หรอื ใหสัน้ กวา นนั้ อกี วาทาํ วันเกดิ ของตน ใหเ ปนวันกอ เกดิ แหงกศุ ล ตามสาํ นวนทางธรรมพดู วา ปรารภการณใดที่เกี่ยวขอ งแลว ก็ทาํบญุ คอื ไมว า อะไรจะเกิดจะมี ก็ทาํ ดเี ขาไว

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยุตโฺ ต) ค เศรษฐศาสตรแนวพุทธ นี้ เดิมเปนปาฐกถาธรรม ซ่ึงไดแสดงในมงคลวารอายคุ รบ ๗๒ ป ของ ศาสตราจารย ดร.ปว ย อ๊ึงภากรณ ทม่ี หาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตรเมื่อวนั ท่ี ๙ มนี าคม ๒๕๓๑ มลู นธิ โิ กมลคมี ทองไดข ออนญุ าตตพี ิมพเปนเลม หนังสอืคร้งั แรกในชว งกลางปเ ดยี วกันน้ัน ตอ มา พระภกิ ษุชาวองั กฤษรปู หนง่ึ มคี วามพอใจไดแปลเปนภาษาองั กฤษในชื่อเรอื่ งวา Buddhist Economics โดยขอใชน ามบาลเี ปน ชอ่ื ผแู ปลวา J.B. Dhammavijaya(เจ.บี. ธมั มวชิ ัย) แลวมอบถวายแกผ เู รยี บเรียง และมลู นธิ ิพุทธธรรมไดขออนญุ าตพิมพเผยแพรครงั้ แรกในชวงกลางป ๒๕๓๕ เกิดเปน ฉบบั พากยไ ทย กับฉบบั พากยอังกฤษแยกตา งหากกนั จนกระทัง่ คณะกรรมการเอกลกั ษณแหง ชาติไดขอพิมพท้งั สองพากยรวมเปน เลม เดียวกนั เมือ่ กลางป ๒๕๓๗ ใกลก นั นน้ั Mr. Bruce Evans ชาวออสเตรเลยี และ Mr. Jourdan Arensonชาวอเมริกนั มีฉันทะอยากจะใหเ รือ่ ง Buddhist Economics ครอบคลมุ เนอ้ื หาธรรมดานเศรษฐกิจที่มีในงานเลมอื่นของผูเรียบเรียงดวย จึงไดขออนุญาตขยายหนังสือBuddhist Economics นั้น โดยไดรว มกันเลอื กแปลเน้ือหาบางตอนจากผลงานของผูเรยี บเรยี ง๕ เรอ่ื ง ในหนงั สอื ๔ เลม นาํ มาจดั รอ ยเรยี งใหก ลมกลนื ตอ เนอ่ื งเปน เรอ่ื งเดยี วกนั เรอื่ งบางสวนทรี่ วมจากหนงั สอื ๔ เลมน้นั มาจาก Buddhist Economicsฉบบั เกา หนงั สอื พทุ ธธรรม คาํ บรรยายเรอื่ ง “ทางออกจากระบบเศรษฐกจิ ทคี่ รอบงาํ สงั คมไทย” (ยังตองคน หา พ.ศ. ที่พดู ) และขอเขียนเมอ่ื ครง้ั ไปเปน วิทยากรท่ี HarvardUniversity ซงึ่ ไดบ รรยายในการประชุมทางวชิ าการที่ University of California atBerkeley เม่อื ป 1981 เร่อื ง \"Foundations of Buddhist Social Ethics\" ที่ผูจดัพมิ พในอเมริกาขอนําไปพมิ พเปน Introduction ของหนงั สอื Ethics, Wealth andSalvation (พิมพเ ผยแพรโ ดย University of South Carolina Press ในป 1990) ผลงานใหมนี้ ผูรวบรวมท้ังสองจัดทําเปน 2nd edition ของหนงั สือช่ือเดมิ คอืBuddhist Economics แตเติมช่อื รองลงไปวา A Middle Way for the marketplace และมลู นธิ พิ ทุ ธธรรมไดข ออนญุ าตพมิ พเ ผยแพรใ นชว งกลางป ๒๕๓๗ ถงึ ตอนนีจ้ งึ มี Buddhist Economics ๒ ฉบับ ซ่งึ มเี นื้อหาตรงและเทากับพากยไทยเดมิ เฉพาะฉบับ 1st edition สว นฉบับ 2nd edition มเี นอื้ หาเพ่ิมเติม ตอ มา สํานักพิมพ Fischer Media ในเยอรมนไี ดสง หนงั สือภาษาเยอรมันเลมหน่งึ มาถวาย พมิ พในป 1999 ช่ือวา Buddhistische Ökonomie แปลโดย Dr. Mirko Frýba

ง เศรษฐศาสตรแนวพทุ ธปรากฏวาแปลจาก Buddhist Economics นนั่ เอง (ฉบบั 2nd edition) ทางสาํ นกั พมิ พไมไ ดข ออนญุ าตกอ น คงคดิ วา เจา ของไมห วงลขิ สทิ ธิ์ ทาํ เสรจ็ แลว คอ ยบอกกไ็ ด (ทจี่ รงิ ไมหวงคอื ไมร บั คา ตอบแทน แตก ต็ อ งขอรกั ษาความถกู ตอ งแมน ยาํ ) และตอ มาสง เอกสารมาใหด วู า หนงั สอื นน้ั ไดเ ปน Top Seller(เรยี กตามคาํ เยอรมนั ) แตท างเรายงั จะตอ งตรวจดอู กี ความเปลี่ยนแปลงสาํ คญั คอื เม่อื พ.ศ. ๒๕๔๓ ผูเรยี บเรียงเองไดปรับปรุงและเพม่ิ เติม เศรษฐศาสตรแนวพุทธ ฉบบั เดิมพากยไ ทย พิมพครงั้ ที่ ๗ โดยจัดปรับรูปแบบในเน้อื เลมเดมิ และเขยี นสว นเพ่ิมตอทา ยเปน “บทพิเศษ: หลักการทว่ั ไปบางประการของเศรษฐศาสตรแนวพุทธ (เศรษฐศาสตรมัชฌมิ า)” ทําใหหนังสือพากยไ ทยท่ีพิมพใหมนี้มีเน้ือหามากกวาฉบับแปลภาษาอังกฤษเดิม แตก็ไมเกี่ยวเนื่องกับBuddhist Economics ฉบบั 2nd edition อยางใดเลย ตอมาในป ๒๕๔๖ บรษิ ทั ส่ือเกษตร จํากัด ไดข อพิมพ เศรษฐศาสตรแ นวพุทธรวมในหนงั สือชอื่ สลายความขัดแยง นิตศิ าสตร-รัฐศาสตร- เศรษฐศาสตรแ นวพทุ ธโดยคงเนอ้ื หาตามฉบับพิมพค รงั้ ที่ ๗ นับวาเปนการพิมพค ร้งั ที่ ๘ สว นในการพมิ พค ร้งัใหมน้ี (ท่ี๙/๒๕๔๘) ไดถ อื โอกาสปรบั ปรงุ เพม่ิ เตมิ เลก็ นอ ย โดยเฉพาะในทา ย \"บทพเิ ศษ\" รวมความวา เวลาน้ีหนังสือ เศรษฐศาสตรแนวพุทธ และ BuddhistEconomics ของผูเรยี บเรยี ง มหี ลายฉบบั ซ่ึงมีเนื้อหามากนอ ยไมเทากัน ขอทาํ ความเขา ใจวา เศรษฐศาสตรแ นวพทุ ธ เลม ทท่ี า นผอู า นถอื อยนู ี้ คอื ฉบบั ท่ีปรบั ปรงุ -เพม่ิ เตมิ ในการพมิ พค รงั้ ท่ี ๗ (๒๕๔๓) และครง้ั น้ี (ที่ ๙/๒๕๔๘) สว น BuddhistEconomics เปน ฉบบั เดมิ 1st edition ที่แปลโดย J.B. Dhammavijaya (๒๕๓๕) ในระยะกาลอนั สําคัญที่มอี ายคุ รบ ๒๐ ป ซ่งึ นองปนไดฉลองมงคลวารดว ยธรรมวิธี โดยบาํ เพ็ญธรรมทานใหเ ปนธรรมมงคลดงั นีแ้ ลว ขออาราธนาคุณพระรัตนตรัยอวยชัยใหนองปนเจริญเพิ่มพูนดวยจตุรพิธพร งอกงามในธรรมและความสุข พรอมกับคุณพอคุณแมและมวลญาติมิตร สดช่ืนเบิกบาน ผองใส สมบรู ณดวยพลงั กาย พลังใจ พลงั ปญญา สามารถบําเพญ็กจิ แผขยายประโยชนส ขุ ไดอ ยางพพิ ฒั นไพศาล และยั่งยนื นาน พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยตุ โฺ ต) ๑๔ กมุ ภาพันธ ๒๕๔๘

สารบัญขอ คิดเบ้อื งตน เก่ยี วกบั เศรษฐศาสตรแ นวพทุ ธ ๑ขอ จํากัดของเศรษฐศาสตรแ หง ยุคอตุ สาหกรรม ๗๑. การแยกตวั โดดเด่ียวเปน ความเชีย่ วชาญเฉพาะดาน ๗๒. ไมเปน อิสระจากจรยิ ธรรม แตไ มใสใ จจริยธรรม ๑๐๓. อยากเปน วทิ ยาศาสตร ท้ังทไี่ มอ าจและไมน า จะเปน ๑๖๔. ขาดความชดั เจนเกย่ี วกบั ความเขา ใจในธรรมชาตขิ องมนษุ ย ๒๕ก. ความตอ งการ ๒๖ข. การบริโภค ๓๓ค. งาน และการทํางาน ๓๔ง. การแขงขัน-การรวมมอื ๓๗จ. สนั โดษ-คา นยิ มบริโภค ๓๙ฉ. การผลติ ๔๓ลักษณะสําคัญของเศรษฐศาสตรแ นวพทุ ธ ๔๖๑. เศรษฐศาสตรมชั ฌมิ า: การไดคุณภาพชวี ติ ๔๖๒. เศรษฐศาสตรม ชั ฌมิ า: ไมเ บยี ดเบยี นตน ไมเ บยี ดเบยี นผอู นื่ ๕๓สรุป ๕๗

ฉ เศรษฐศาสตรแ นวพทุ ธบทพเิ ศษ ๖๑หลกั การทัว่ ไปบางประการ ของ เศรษฐศาสตรแนวพทุ ธ ๖๑๑. การบรโิ ภคดว ยปญญา ๖๑๒. ไมเบยี ดเบียนตน-ไมเบียดเบียนผอู นื่ ๖๖๓. เศรษฐกจิ เปน ปจจัย ๖๙๔. สอดคลอ งกบั ธรรมชาตขิ องมนษุ ย ๗๔๕. บูรณาการในระบบสมั พันธของธรรมชาติ ๘๕

เศรษฐศาสตรแนวพทุ ธ (ฉบบั พิมพครั้งท่ี ๙ - ๒๕๔๘)

เศรษฐศาสตรแ นวพุทธ∗ ~E~ ขอ คิดเบ้ืองตน เกย่ี วกับ เศรษฐศาสตรแนวพทุ ธ วนั น้ี ทางคณะผูจดั งานไดต ้งั ช่ือเรอื่ งปาฐกถาใหอ าตมภาพวา เศรษฐศาสตรแนวพทุ ธ เรม่ิ ตน ผฟู งบางทา นกอ็ าจจะสงสยั วา เศรษฐศาสตรแนวพุทธนน้ั มจี รงิ หรอื เปน ไปไดจรงิ หรือ ปจ จุบันนี้ วชิ าเศรษฐศาสตรท เี่ รารูจกั กนั อยู เปน วชิ าเศรษฐ-ศาสตรแ บบตะวนั ตก เม่ือพูดถึงวิชาเศรษฐศาสตรและเรื่องราวเน้ือหาวิชาเศรษฐ-ศาสตร เราก็ใชภ าษาเศรษฐศาสตรแบบตะวันตก เมือ่ คิดถึงเรอื่ งเศรษฐศาสตร เรากค็ ดิ ในกรอบความคดิ ของเศรษฐศาสตรแ บบตะวนั ตกดว ย∗ ปาฐกถาธรรม ในมงคลวารอายุครบ ๗๒ ป ของศาสตราจารย ดร.ปวย อ๊ึงภากรณ ณ หอประชมุ เลก็ มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร ทา พระจนั ทร กทม. วนั พธุ ที่ ๙ มนี าคม ๒๕๓๑

๒ เศรษฐศาสตรแ นวพุทธ ดังนัน้ ถา จะมาพูดถึงเศรษฐศาสตรแ นวพุทธ ก็ยากทจ่ี ะทาํตัวเองใหพนออกไปจากกรอบความคิดของเศรษฐศาสตรและภาษาเศรษฐศาสตรแ บบตะวนั ตกนน้ั เพราะฉะนั้น การพดู ถงึ เศรษฐศาสตรแนวพุทธกอ็ าจจะเปนการพูดถงึ พระพุทธศาสนาดวยภาษาเศรษฐศาสตรตะวันตก ภายในกรอบความคิดของเศรษฐศาสตรตะวันตกนน้ั เอง อยา งไรกต็ าม กถ็ อื วาใหเราลองมาชวยกนั พจิ ารณาเร่อื งนี้บางทอี าจจะไดรับขอ คิดบางอยา ง ถงึ แมจ ะไมไ ดเ ปน เศรษฐศาสตรแนวพุทธจรงิ กอ็ าจจะมีแนวคิดทางพทุ ธบางอยา งท่ีเอามาใชประโยชนใ นทางเศรษฐศาสตรไ ดบาง เมือ่ ประมาณ ๑๕ ปม าแลว นกั เศรษฐศาสตรฝ รัง่ คนหนึง่ ชอ่ืวา นาย อี.เอฟ.ชมู าเกอร (E.F. Schumacher) ไดพิมพห นังสอื ออกมาเลม หน่ึง ชอ่ื วา Small Is Beautiful มผี ูแปลเปนภาษาไทยดูเหมือนจะใชช ือ่ วา จิว๋ แตแจว ในหนังสือเลมนี้ บทหนงึ่ คือบทท่ี ๔ ไดตัง้ ช่อื วา “BuddhistEconomics” แปลวา เศรษฐศาสตรชาวพทุ ธ หนงั สือเลม น้ี และโดยเฉพาะบทความบทน้ี ไดท ําใหคนจํานวนมากท้ังในตะวันออกและตะวันตกเกิดความสนใจในเร่ืองพุทธศาสนาดา นทเี่ กย่ี วขอ งกบั เศรษฐกจิ ขน้ึ มา จงึ นบั วา ทา นชมู าเกอรน้เี ปน ผมู ีอุปการคุณอยางหน่งึ ในการท่ีทาํ ใหเ กดิ ความสนใจพทุ ธ-ศาสนาในแงเศรษฐศาสตรขน้ึ แตถ า พจิ ารณาใหล กึ ลงไปอีก การทีท่ า นชมู าเกอรไ ดเ ขยี น

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยตุ ฺโต) ๓หนังสอื เลม น้ีขึ้นโดยมีบทความเรอื่ งเศรษฐศาสตรชาวพุทธนนั้ และการทฝ่ี รัง่ ในสถานศกึ ษาตางๆ หันมาสนใจเรื่องพุทธเศรษฐศาสตรหรอื เศรษฐศาสตรแนวพทุ ธนี้ ก็มภี ูมิหลังท่วี า มาถงึ ปจ จบุ ันนว้ี ิทยา-การและระบบการตางๆ ของตะวนั ตก ไดม าถึงจุดหนงึ่ ทีเ่ ขาเกิดความรสู ึกกนั วามคี วามตดิ ตนั หรอื ความอบั จนเกิดข้ึน แตส าํ หรบั บางคนอาจจะไมยอมรับภาวะน้ี ก็อาจจะเรียกวามาถงึ จดุ หัวเล้ียวหวั ตอจดุ หน่ึง ทอ่ี าจจะตอ งมีการเปลย่ี นแปลงแนวความคดิ และวธิ ีปฏิบตั ใิ นวิทยาการสาขาตางๆ สรุปก็คือ มคี วามรูสึกกนั วา วชิ าการตางๆ ท่ีไดพ ฒั นากันมาจนถึงปจ จุบันนี้ ไมสามารถแกปญหาของโลกและชีวติ ใหส ําเร็จไดจะตองมีการขยายแนวความคดิ กนั ใหม หรอื หาชอ งทางกนั ใหม เม่ือเกดิ ความรสู ึกอยางน้ีกันข้นึ ก็จึงมีการแสวงหาแนวความคิดทน่ี อกจากวงวชิ าการของตนออกไป อนั เปนสาเหตหุ นึ่งท่ีทําใหมีการสนใจในพุทธศาสนา รวมท้ังปรชั ญาอะไรตอ อะไรเกา ๆ โดยเฉพาะทเี่ ปนของตะวันออกขนึ้ ดว ย อันนี้ก็เปนปรากฏการณท่ีเห็นกันชัดเจนในประเทศตะวันตกปจ จบุ ัน ท่วี า ไดหนั มาสนใจตะวันออก ทีนี้ การท่ีชูมาเกอรจบั หลกั การของพุทธธรรมโดยพดู ถึงBuddhist economics หรอื พุทธเศรษฐศาสตรนน้ั เขากจ็ ับเอาท่ีเรอ่ื งมรรคนัน่ เอง มรรคนน้ั เรารจู กั กันวาเปนขอ หนึ่งในอริยสจั ๔ ประการคอื ทุกข สมุทยั นิโรธ มรรค มรรคนัน้ เปน ขอปฏิบตั ิทั้งหมดในพุทธศาสนา

๔ เศรษฐศาสตรแ นวพทุ ธ ชูมาเกอรกลา ววา มรรคคอื วิถีชวี ิตของชาวพุทธน้ัน มีองคประกอบอยขู อหนึ่ง คือสมั มาอาชีวะ ซ่ึงแปลวา การเลีย้ งชพี ชอบ ในเม่ือสัมมาอาชีวะน้ีเปนองคประกอบขอหน่ึงในมรรคหรือวิถีชีวิตของชาวพทุ ธ กแ็ สดงวาจะตองมสี ิง่ ทีเ่ รียกวา Buddhist economics คอืเศรษฐศาสตรช าวพุทธ อันนค้ี อื จดุ เริ่มตน ของทา นชูมาเกอร แตทา นชมู าเกอรจะมที ศั นะอยา งไร เศรษฐศาสตรชาวพทุ ธเปน อยางไร ตอนน้อี าตมภาพจะยงั ไมพ ูดกอน จะขอเลา เรอ่ื งคลายๆนิทานเรอ่ื งหน่งึ จากคัมภรี พ ทุ ธศาสนาใหฟ ง ที่จรงิ ไมใ ชน ิทาน แตเ ปนเร่อื งราวท่เี กิดขึ้นในสมยั พทุ ธกาลเร่ืองราวนี้จะบอกอะไรหลายอยางที่เกี่ยวกับเศรษฐศาสตรในพุทธ-ศาสนา และผูฟง ก็อาจจะตคี วามของตนเองวา พุทธเศรษฐศาสตรเปนอยา งไร เรือ่ งมอี ยวู า สมยั หน่ึงในพุทธกาล เมือ่ พระพุทธเจา ยงั ทรงพระชนมอยูขณะทีพ่ ระองคเ สด็จประทับ ณ พระเชตวนั ในพระนครสาวัตถี วนัหนึง่ ตอนเชา พระองคไดทรงพจิ ารณาวา มีคนเข็ญใจคนหนึ่งอยูในเมอื งอาฬวหี างไกลออกไป เปนผูมีความพรอม มอี นิ ทรยี แ กกลาพอที่จะฟง ธรรม พระองคส มควรจะเสด็จไปโปรด ดงั นัน้ วนั น้นั ตอนสาย พระองคกเ็ สด็จเดนิ ทางไปยงั เมอื งอาฬวี ซ่งึ อยหู า งไกลออกไป ๓๐ โยชน ตีเสียวา ประมาณ ๔๘๐กิโลเมตร เมอ่ื เสดจ็ ถงึ เมอื งอาฬวี ชาวเมอื งอาฬวมี คี วามนบั ถอื พระองคอยแู ลว ก็ตอนรบั และในที่สดุ กจ็ ดั สถานท่เี ตรียมที่จะฟงธรรมกนั แต

พระพรหมคณุ าภรณ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๕จุดมุงของพระพทุ ธเจา น้ัน เสดจ็ ไปเพ่ือจะโปรดคนคนเดยี วท่เี ปนคนเข็ญใจน้ัน พระองคจงึ ทรงร้ังรอไวก อน รอใหนายคนเข็ญใจคนนีม้ า ฝายนายคนเข็ญใจน้ีไดทราบขาววาพระพุทธเจาเสด็จมาเขามคี วามสนใจอยแู ลวอยากจะฟงธรรม แตพอดีวา ววั ตวั หน่ึงของเขาหายไป เขาจงึ คิดวา เอ! เราจะฟง ธรรมกอ น หรือหาวัวกอนดีนะคิดแลวก็ตดั สินใจวาหาวัวกอน หาวัวเสรจ็ แลวคอ ยไปฟงธรรม ตกลงเขาก็ออกเดินทางเขา ไปในปา ไปหาวัวของเขา ในท่สี ุดก็ไดพ บววั นั้น และตอนกลบั มาเขาฝูงของมนั ได แตกวาเขาจะทาํอยา งนีส้ าํ เรจ็ ก็เหนอื่ ยมาก ครนั้ แลว เขาจงึ คิดวา เอ! เวลาก็ลวงไปมากแลว ถา เราจะกลับไปบานกอนกจ็ ะยิ่งเสยี เวลา เราจะไปฟงธรรมเลยทีเดียว ตกลงนายคนเขญ็ ใจคนนี้ กเ็ ดนิ ทางไปยังที่เขาจดั เพือ่ การแสดงธรรมของพระพุทธเจา เขา ไปฟงธรรม แตมีความเหนอื่ ยและหวิเปน อนั มาก พระพุทธเจา เม่อื ทอดพระเนตรเหน็ นายคนเข็ญใจน้ีมา พระองคท รงทราบดีวา เขาเหนอื่ ยและหิว พระองคจ งึ ไดตรัสบอกใหคนจดัแจงทาน จดั อาหารมาใหนายคนเขญ็ ใจน้ีกินเสยี กอ น เมื่อคนเข็ญใจคนนี้กินอาหารเรียบรอยอ่ิมสบายใจดีแลวพระองคก แ็ สดงธรรมใหฟ ง นายคนเขญ็ ใจนฟ้ี ง ธรรมแลว ไดบ รรลุโสดาปต ตผิ ล ก็เปนอนั วาบรรลุความมงุ หมายในการเดนิ ทางของพระพุทธเจา พระองคแ สดงธรรมคร้ังน้ีเสรจ็ กล็ าชาวเมืองอาฬวีเสด็จกลบั

๖ เศรษฐศาสตรแ นวพทุ ธยังพระเชตวนั แตในระหวา งทางนน้ั พระภิกษุสงฆท เ่ี ดินทางไปดว ยก็วิพากษว ิจารณพระพทุ ธเจา วา เอะ ! วันนี้เรอื่ งอะไรนะ พระพทุ ธเจาถงึ กบั ทรงใหค นจดั อาหารใหค นเขญ็ ใจรบั ประทาน พระพทุ ธเจาไดทรงรับทราบ กไ็ ดท รงหนั มาตรสั ชีแ้ จงแกพ ระภกิ ษเุ หลาน้ัน ตอนหนง่ึ พระองคต รสั วา คนทถี่ กู ความหวิ ครอบงาํ มคี วามทกุ ขจากความหวิ แมจ ะแสดงธรรมใหเ ขาฟง เขากจ็ ะไมส ามารถเขา ใจได แลวพระองคกต็ รสั ตอไปวา ชฆิ จฺฉา ปรมา โรคา เปนตนแปลวา ความหวิ เปน โรครายแรงที่สดุ สังขารทัง้ หลายเปน ทกุ ขท ่ีหนักหนว งทีส่ ุด เม่อื ทราบตามเปนจรงิ อยา งนีแ้ ลว จงึ จะบรรลุนิพพานทีเ่ ปน บรมสุข นี่คือเรือ่ งที่อาตมภาพเลาใหฟ ง ลกั ษณะทวั่ ไปของเศรษฐ-ศาสตรช าวพทุ ธนั้นคดิ วาปรากฏอยใู นเร่อื งที่เลา มานแ้ี ลว แตผ ฟู ง ก็อาจจะตีความไปไดตา งๆ กัน ถา หากมีเวลา เราอาจจะไดหันกลับมาวเิ คราะหเรอ่ื งน้ีอีกครั้งหน่งึ แตต อนนจี้ ะขอผา นไปกอ น ขอใหเปน เรื่องของผูฟ งทจ่ี ะตีความกันเอาเอง

ขอจาํ กัด ของ เศรษฐศาสตรแ หง ยคุ อุตสาหกรรม๑. การแยกตัวโดดเดีย่ วเปนความเชย่ี วชาญเฉพาะดา น ทีนห้ี นั กลบั มาพูดถงึ เศรษฐศาสตรในปจจุบัน เศรษฐศาสตรในปจจบุ นั น้ี ไดแยกเอากิจกรรมทางเศรษฐกิจออกมาพิจารณาตางหาก โดดเดีย่ วจากกจิ กรรมดา นอ่นื ๆ ของชีวิตมนษุ ย และจากวิทยา-การดานอืน่ ๆ เรยี กวา เปนไปตามแนวของ specialization คือ ความชาํ นาญพิเศษในทางวิชาการ หรอื ความเชีย่ วชาญเฉพาะดาน ซ่ึงเปน ลักษณะของความเจรญิ ในยุคอุตสาหกรรม เพราะฉะน้ัน ในการพจิ ารณากจิ กรรมของมนษุ ย เศรษฐ-ศาสตรจึงไดพ ยายามตดั นยั หรอื แงค วามหมายอนื่ ๆ ทีไ่ มใ ชเร่อื งทางเศรษฐกิจออกไปเสีย เมอ่ื จะพิจารณาเร่อื งกจิ กรรมการดาํ เนนิ ชีวิตอะไรก็ตามของมนุษย ก็จะพิจารณาในแงเดยี ว คอื แงท ่ีเกย่ี วกับวชิ าการของตนเองเทานั้น การท่ีเศรษฐศาสตรแยกตัวออกมาโดดเดี่ยวอยางน้ีน่ีแหละนับวาเปน สาเหตุสําคัญที่ไดทาํ ใหเกิดปญ หาขึน้ มา ซึง่ จะตอ งมาพจิ ารณาวา ทศั นะของพทุ ธศาสนาเปนอยา งไร? ถา มองในแงข องพทุ ธศาสนา เศรษฐศาสตรไ มแ ยกโดดเดย่ี วจาก

๘ เศรษฐศาสตรแนวพทุ ธความรแู ละความจดั เจนดา นอนื่ ๆ ของมนษุ ย กจิ กรรมทางเศรษฐกิจไมแยกโดดเด่ียวจากกจิ กรรมดา นอนื่ ๆ ในการแกป ญ หาของมนษุ ย เพราะฉะนน้ั เศรษฐศาสตรไ มเ ปนศาสตรท ีเ่ สร็จส้นิ ในตวั โดยลาํ พงั แตองิ อาศยั กันกับวทิ ยาการดานอืน่ ๆ ในระบบความสมั พันธของชวี ิตและสังคม ถามกี จิ กรรมอนั ใดอันหนึ่งข้ึนมา เรากส็ ามารถมองไดห ลายแง ยกตวั อยางเชน การโฆษณา การโฆษณาเปน กจิ กรรมอยา งหนง่ึ ทปี่ รากฏในสงั คม และเปนกจิ กรรมทเ่ี ปนเรอ่ื งของเศรษฐกจิ ไดแ นนอน ในแงของเศรษฐกจิ นน้ัการโฆษณาเปน การชกั จงู ใจใหค นมาซอื้ ของ ซงึ่ จะทาํ ใหข ายของไดด ขี น้ึแตใ นเวลาเดยี วกนั กเ็ ปน การเพม่ิ ตน ทนุ ทาํ ใหข องนนั้ แพงขนึ้ ไปดว ย ทนี ้ี ถาพจิ ารณาในแงสงั คม การโฆษณากเ็ ปนเร่ืองทเ่ี กยี่ วกบั คานยิ มของสงั คมดว ย โดยทว่ี า คนท่ีจะโฆษณานั้นเขามกั จะอาศยั คา นยิ มของสงั คมนัน้ เอง มาเปนเครอ่ื งชวยในการท่ีจะจัดวิธีการโฆษณาใหด ึงดูดใจคนโดยสมั พันธก ับจติ วิทยา คือใชจ ิตวทิ ยาสงั คมเปน เคร่อื งมอื เอาคานิยมไปใชใ นทางเศรษฐกจิ ในทางจริยธรรม การโฆษณาก็มคี วามหมายเหมือนกนั เชนอาจจะตองคดิ วา วธิ กี ารโฆษณาของบรษิ ัท หรือกิจการ หรือธรุ กิจน้นั เปน การชักจงู ใหค นมวั เมาในวตั ถุมากข้นึ หรือไม อาจจะมีผลไมดีทางจิตใจอะไรบา ง หรอื อาจจะใชภ าพท่ีไมเหมาะไมควร ทําใหเ กิดผลเสยี ทางศีลธรรมอยางไร ทางฝา ยการเมอื งกม็ เี รอื่ งตอ งพจิ ารณาวา จะมนี โยบายอยา งไรเก่ียวกับการโฆษณาน้ี เชนวา จะควรควบคุมหรอื ไมอยา งไร เพ่ือผลดีในทางเศรษฐกิจก็ตาม หรอื ในทางศลี ธรรมกต็ าม แมแ ตใ นทางการศึกษาก็ตอ งเกี่ยวของ เพราะอาจจะตอ ง

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยุตโฺ ต) ๙พยายามหาทางสอนคนใหร ูเทาทนั ใหพิจารณาการโฆษณาอยา งมีวจิ ารณญาณวา ควรจะเชื่อคาํ โฆษณาแคไ หน ซึง่ เมื่อใหก ารศึกษาดีแลว กม็ ผี ลยอ นกลบั มาทางเศรษฐกิจอกี ทําใหค นนน้ั มีการตดั สนิ ใจที่ดีขน้ึ ในการทจี่ ะซอ้ื ขาวของ เปนตน อนั นกี้ ็เปนเรื่องท่ีวา กิจกรรมตา งๆ ในสังคมมนุษยนน้ั มีแงพจิ ารณาหลายแง ซึ่งสัมพนั ธโ ยงกันไปหมด จะพจิ ารณาแงหนึ่งแงเดียวไมไ ด Specialization หรอื ความชาํ นาญพิเศษในวทิ ยาการเฉพาะแงใดแงห น่งึ น้นั ความจรงิ กเ็ ปนสิง่ ท่มี ปี ระโยชนมาก ตราบเทาที่เรายงั ไมล ืมความมงุ หมายเดมิ กลาวคือ การทเี่ รามีกิจกรรมหรอื วทิ ยา-การพเิ ศษตา งๆ ขึน้ มานน้ั กเ็ พ่ือเปน สว นรวมกนั ในการท่จี ะแกปญ หาของมนษุ ย ถา เรากําหนดขอบเขตของตัวเองใหดี กาํ หนดจดุ ที่เปน หนาที่ของตัวเองใหด ี ทาํ หนา ท่ใี หถกู ตอง และกาํ หนดจดุ ทจี่ ะประสานกับวิทยาการสาขาอื่นๆ ใหด แี ลว กจ็ ะเปนการรวมกันทํางานในการแกปญหาของมนษุ ยใหไ ดผ ลดียง่ิ ข้นึ จุดผิดพลาดก็อยูทว่ี า จะเกิดความลืมตัว นกึ วา วทิ ยาการของตวั เองนนั้ แกป ญหาของมนษุ ยไ ดหมด ถา ถงึ อยางน้นั แลว กจ็ ะเกดิ ความผิดพลาดขึน้ และจะแกปญ หาไมส าํ เรจ็ ดว ย เมือ่ ยอมรบั กนั อยา งนีแ้ ลว ขอสําคัญก็อยูที่จะตองจับจดุ ใหไดวา เศรษฐศาสตรนจ้ี ะโยงตอ กบั ศาสตร หรือวิทยาการอ่นื ๆ หรือกิจกรรมอนื่ ๆ ของมนุษยท ่จี ดุ ไหน เชน วา เศรษฐศาสตรจ ะเชอ่ื มโยงกบั การศกึ ษาทจี่ ดุ ไหน จะเชอื่ มโยงกับจรยิ ธรรมท่ีจุดไหน ในการรว มกันแกป ญ หาของมนษุ ย

๑๐ เศรษฐศาสตรแนวพทุ ธ ถา จับอยา งน้ีได ก็มีทางทจ่ี ะทําใหการทต่ี นเปน ศาสตรว ิทยาท่ีชํานาญพิเศษโดยเฉพาะนั้น เกดิ ประโยชนขน้ึ อยา งแทจ ริง การทชี่ มู าเกอรพูดวา ในเมอ่ื สมั มาอาชวี ะเปน องคป ระกอบอยา งหนง่ึ ของมรรคมอี งค ๘ กท็ าํ ใหเ หน็ วา จะตอ งมี Buddhisteconomics คาํ ของชมู าเกอรน ย้ี งั มคี วามหมายแฝงตอ ไปอกี ดว ย คอื ขอที่ ๑ แสดงวา สมั มาอาชีวะน้ันมีความสําคัญมาก หรือวาเศรษฐกจิ นัน้ เปน สง่ิ ทส่ี ําคัญมาก ในทางพุทธศาสนาจงึ ไดจดั เปนองคมรรคขน้ึ มาขอหนึง่ แสดงวาพระพทุ ธศาสนายอมรบั ความสําคัญของเศรษฐกิจ ยกใหเปนองคมรรคขอหนึ่งเลยทเี ดยี ว แต ขอที่ ๒ มองในทางกลับตรงกนั ขา ม กม็ คี วามหมายวาสัมมาอาชวี ะ หรอื เร่ืองราวทางเศรษฐกิจนัน้ เปน เพียงองคป ระกอบอยางหนึ่งในบรรดาองคประกอบหลายอยางของวิถีชีวิตที่ถูกตองท่ีจะแกป ญ หาของชวี ิตได ซ่ึงในทางพุทธศาสนานั้นก็ไดบอกไวว า มีองคประกอบถึง ๘ ประการดว ยกนั๒. ไมเปน อสิ ระจากจรยิ ธรรม แตไมใ สใ จจริยธรรม ในบรรดาองคประกอบที่เก่ียวกับการแกปญหาของมนุษยซ ่ึงมหี ลายอยา งนน้ั ในทนี่ จี้ ะยกขนึ้ มาพดู สกั อยา งหนงึ่ คอื เรอื่ ง จรยิ ธรรมเพราะเปนเร่ืองท่ีเก่ียวกับพระในฐานะที่เปนบุคคลผูทําหนาที่ทางจรยิ ธรรมมากสักหนอย เรามาพจิ ารณาโดยยกเอาจรยิ ธรรมเปน ตวั อยา งวา จรยิ ธรรมซึ่งเปน องคป ระกอบอยา งหน่ึงของการดําเนนิ ชีวติ ของมนษุ ยนน้ั มีผลสมั พนั ธกับเศรษฐกจิ อยา งไร โดยทว่ั ไป เราก็มองเห็นกนั ชัดเจนอยแู ลววา เร่อื งจริยธรรม

พระพรหมคณุ าภรณ (ป. อ. ปยุตโฺ ต) ๑๑นั้น มคี วามหมายสําคัญตอ เรื่องเศรษฐกจิ เปน อยา งมาก แตในท่นี ี้ จะขอใหเรามายอมเสียเวลากนั สกั นดิ หนอ ย ดตู วัอยา งบางอยางทีแ่ สดงใหเ ห็นวา จริยธรรมนั้นมคี วามสมั พนั ธแ ละสาํ คญั ตอเรื่องเศรษฐกิจและเศรษฐศาสตรอยางไร สภาพทางจริยธรรมยอมมีผลตอเศรษฐกิจทั้งโดยตรงและโดยออม ยกตัวอยา ง เชนวา ถา ทองถน่ิ ไมปลอดภยั สังคมไมป ลอดภัย มโี จรผรู ายมาก มีการลักขโมย ปลน ฆา ทาํ รา ยรา งกายกนั มาก ตลอดกระทั่งวา การคมนาคมขนสงไมปลอดภัย ก็เห็นไดชดั วา พอคาหรอื บรษิ ัทหางรานตา งๆ จะไมกลา ไปตงั้ ราน ไมกลา ไปลงทุน คนกอ็ าจจะไมก ลาเดนิทางไปเทยี่ ว ชาวตา งชาตกิ ไ็ มก ลา ทจี่ ะมาทศั นาจร อะไรอยา งนี้ ผลเสียทางเศรษฐกจิ กเ็ กิดขนึ้ อนั นีเ้ ปนเรื่องหน่งึ ทีม่ องเห็นไดงาย ในการโดยสารรถยนตอยางในกรงุ เทพฯ ถา คนโดยสารซอ่ืสตั ย คนเก็บตั๋วซ่อื สตั ย คนรถซือ่ สัตย นอกจากวา รัฐจะไดเ งินเขาเปน ผลประโยชนของรัฐอยางเตม็ เมด็ เตม็ หนว ยแลว กอ็ าจจะทุนเงนิประหยดั ทรัพย ไมต องมาเสยี เงินจา งคนคมุ นายตรวจ ตลอดจนกระท่งั วาบางทไี มตองมคี นเกบ็ ตวั๋ กไ็ ด เพราะใชวธิ ขี องความซื่อสตั ยอาจจะใหจ ายตว๋ั ใสในกลอ งเอง อะไรทาํ นองนี้ ในเร่อื งของบา นเมืองโดยทว่ั ไป ถาพลเมืองเปนคนมีระเบียบวนิ ยั ชวยกนั รกั ษาความสะอาด รัฐก็อาจจะไมต องเสียเงินมาก เพอื่จางคนกวาดขยะจาํ นวนมากมาย และการใชอ ุปกรณก็สน้ิ เปลอื งนอย ทาํ ใหป ระหยัดเงนิ ทีจ่ ะใชจาย ในทางตรงขามหรือในทางลบ พอคา เหน็ แกได ตองการลงทนุ นอ ย แตใ หข ายของไดด ี ใชส วนประกอบท่ไี มไ ดม าตรฐานปรงุ

๑๒ เศรษฐศาสตรแนวพทุ ธอาหาร เชน ใชสียอ มผาใสใ นขนมเด็ก หรือใชน้าํ สมทีไ่ มใชน ้ําสมสายชูจริง แตเ ปน น้าํ กรด หรือใชนา้ํ ยาประสานทอง ใสในลูกชน้ิ เดงอะไรทาํ นองนี้ กอ็ าจจะทาํ ใหเ กดิ อนั ตราย มผี ลเสยี ตอ สขุ ภาพของคน เมอ่ื คนเสียสุขภาพแลว กต็ อ งเสียคาใชจ ายส้นิ เปลืองในการรักษาพยาบาลคนน้ันอีก แลว เราก็จะตองใชจายเงนิ มากมายในการตรวจจบั และดาํ เนินคดี นอกจากนั้น คนท่เี สยี สขุ ภาพแลว กเ็ สยี ประสิทธิภาพในทางแรงงาน ทาํ ใหการผลติ ลดลงหรือเส่ือมเสยี ไปอีก พอ คาท่เี หน็ แกไ ดอ ยา งเดียวนั้น ทาํ การในขอบเขตกวางขวางออกไป โดยปลอมปนสินคา ทส่ี งไปขายตา งประเทศ กอ็ าจจะทาํ ใหส ญู เสยี ความไววางใจ ในที่สุดผลเสียหายทางเศรษฐกิจก็สะทอนกลบั มา คอื อาจจะสูญเสียตลาดการคา ขายในตางประเทศเสยี รายไดที่จะเขาประเทศ พอคาท่ีเหน็ แกไ ดนนั้ เม่ือทาํ ธุรกิจในระบบการแขงขนั เสรี ก็อาจจะทําใหการคาเสรกี ลายเปน ไมเสรีไป ดวยความเหน็ แกไ ดของตวั เอง โดยใชวธิ ีแขงขันนอกแบบ ทาํ ใหก ารแขง ขนั เสรนี าํ ไปสคู วามหมดเสรภี าพ เพราะอาจจะใชอ ทิ ธพิ ล ทาํ ใหเ กดิ การผกู ขาดในทางตลาดขึ้น อาจจะเปน การทาํ ใหหมดเสรใี นแบบ หรือหมดเสรีนอกแบบกไ็ ด หมดเสรีนอกแบบ ก็เชน วา ใชเ งนิ จางมอื ปนรับจา ง ฆา ผูแ ขงขันในทางเศรษฐกจิ เสีย อยา งน้ีเปนตน น่ีก็หมดเสรีเหมอื นกนั แตหมดเสรนี อกแบบ บางทใี นตําราเศรษฐศาสตรก ็ไมไดเ ขียนไวด วยซ้าํ ในทางตางประเทศ บรษิ ทั ตา งประเทศสง ยาทีห่ า มขายในประเทศของตนเขา มาขายในประเทศดอยพัฒนา ก็เกิดเปน อนั ตรายตอ ชวี ิตและสขุ ภาพของประชาชน เสอ่ื มเสียคณุ ภาพและประสทิ ธิ-ภาพของแรงงานในทางเศรษฐกิจ และเสยี คารกั ษาพยาบาลเพ่ิมขึ้น

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๑๓สน้ิ เปลืองงบประมาณของประเทศ ในอกี ดา นหนึ่ง พอ คา โฆษณาเรา ความตองการใหค นอยากซอ้ื สนิ้ คา กส็ ้ินเปลอื งคา โฆษณา เอามาบวกเขา ในตนทุน ทาํ ใหสนิคา แพงข้ึน คนก็พากนั ซือ้ สนิ คา ทั้งที่ไมจ าํ เปน และแพงโดยไมจาํ เปนดว ย มคี วามฟุม เฟอย ใชท ้ิงใชขวาง โดยไมคุมคา บางทีใชเดย๋ี วหนึ่งกเ็ ปลยี่ น เด๋ียวหนึ่งกเ็ ปล่ยี น อันนีก้ ็เปน ความสนิ้ เปลอื งในทางเศรษฐกิจ ซ่ึงมาสัมพนั ธกับคานิยมของคนทีช่ อบอวดโก ชอบอวดฐานะ ทําใหพอ คาไดโ อกาสเอาไปใชประโยชน เอากลับมาหาเงินจากลูกคาอกี คนทม่ี ีคา นิยมชอบอวดโก อวดฐานะ ก็อาจจะซือ้ สินคา ท่ีแพงโดยไมจําเปน โดยไมพ ิจารณาถงึ คุณภาพ เอาความโกเ กนม้ี าเปนเกณฑ ทง้ั ๆ ทแี่ พงกซ็ อ้ื เอามา ยง่ิ กวานั้น คนจํานวนมากในสังคมของเรา ซ่ึงชอบอวดโกแขงฐานะกัน พอมีสนิ คา ใหมเขามา แตเงนิ ยงั ไมพอ ก็รอไมได ตองรบี กูย ืมเงนิ เขามาซือ้ เปนหนเ้ี ขา ทําใหเ กดิ ผลเสียรา ยแรงในทางเศรษฐกิจ เสร็จแลวตวั เองกม็ ฐี านะแย เศรษฐกิจของชาติกแ็ ย ดุลการคาของประเทศก็เสยี เปรยี บเขาไป ฉะนั้น คา นยิ มของคนจงึ เปน ปจ จยั สําคญั ท่ีทําใหเ กิดการเสยี ดลุ การคาระหวางประเทศ คา นยิ มไมใ ชเรื่องของเศรษฐกิจโดยตรง แตม ผี ลตอ เศรษฐกจิมาก คนในวงการธรุ กจิ คนหนงึ่ เคยพดู ใหฟ ง วา ถา เหน็ พนี่ อ งชาวซิกสค นหนง่ึ น่งั รถมอเตอรไ ซค ใหสนั นษิ ฐานไดเลยวามีเงินลาน ถาเหน็ พอ คา ชาวซกิ สน ง่ั รถเกง ใหส นั นษิ ฐานวา มเี งนิ เปน สบิ เปน รอ ยลา น

๑๔ เศรษฐศาสตรแ นวพทุ ธ แตถา เหน็ คนไทยนงั่ รถมอเตอรไ ซค ทานลองไปบานนอกดู๕๐% อาจจะกยู มื เงนิ เขามาซ้ือ น่ีก็เปนเรอื่ งของคา นยิ มเหมอื นกัน ทนี ้ี ถงึ แมน ่ังรถยนตก็เหมอื นกัน บางทมี เี งนิ ไมเ ทาไรหรอกก็ไปกูยมื เขามา หรือใชร ะบบผอ นสง เราก็เลยมรี ถเกงน่ังกันเกรอ ไปหมด แลวกท็ าํ ใหเ กดิ ปญ หาจราจรตดิ ขดั มาก จราจรติดขดั มากกม็ ีผลเสยี ทางเศรษฐกจิ อีก ผลทสี่ ุดมันวุนกนั ไปหมด เรือ่ งทางสังคมกับเศรษฐกิจนหี้ นีกันไมพ น เรื่องคานยิ มอวดเดนอวดโกถ อื หนาถอื ตาน้ี ในสงั คมไทยเรามีเรื่องพดู ไดมาก คนไทยบางคนท้งั ๆ ทีม่ เี งินมฐี านะดีพอสมควร แตจ ะตตี ๋วัเขา ไปดูการแสดงเพียงคา ต๋วั ๒๐ บาท หรอื ๑๐๐ บาท เสยี ไมไดตองการจะแสดงวา ฉนั มีอิทธพิ ล กไ็ ปหาทางเขาดฟู รี ไปเอาบัตรเบงวางโต อวดโกเ ขา ดฟู รี ไมยอมเสยี เงนิ ๒๐ บาท หรือ ๑๐๐ บาท แตค นๆ เดยี วกันน้แี หละ อีกคราวหน่ึง ตอ งการแสดงความมีฐานะมีหนา มีตา จัดงานใหญโตเล้ียงคนจาํ นวนมากมาย เสยี เงนิเปน หมนื่ เปนแสนเสยี ได ลักษณะจติ ใจหรือคุณคาทางจติ ใจแบบน้ี มผี ลตอ เศรษฐกจิเปนอยางมาก ซึง่ บางทนี กั เศรษฐศาสตรต ะวันตกเขา มาเมืองไทยเจอเขาแลว ตอ งขออภยั พดู วา หงายหลงั ไปเลย คือแกป ญหาเศรษฐกิจไมต ก เพราะวา มาเจอลกั ษณะนสิ ัยจติ ใจและพฤตกิ รรมแปลกใหมทไ่ี มเ คยเจอเขา แบบนแ้ี ลว คดิ ไมท ัน ไมร ูจะแกอ ยา งไร เพราะฉะนัน้ ในเรอื่ งเศรษฐกิจน้ี เราจะตองพิจารณาถงึ องคประกอบตา งๆ (ทางสงั คมซง่ึ โยงกบั จติ ใจ) ทเ่ี ขา มาเกยี่ วขอ งเหลา นดี้ ว ย โดยเฉพาะไมควรลมื ทจี่ ะยาํ้ วา เร่อื งศรัทธาความเชือ่ ตา งๆ มี

พระพรหมคณุ าภรณ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๑๕ผลในทางเศรษฐกจิ เปนอันมาก เราตองมีความเช่ือถือตอ ธนาคาร มคี วามเชอ่ื ถือตลาดหนุถา เกดิ ความไมเ ชอื่ ถอื หมดศรทั ธาเมื่อไร บางทีตลาดหนุ แทบจะลมเลย ธนาคารบางทกี ล็ ม ไปไดเ หมือนกัน เพราะฉะน้นั การมีศรทั ธาก็ดี การเช่อื แมแตค ําโฆษณาก็ดีจึงมีผลตอ พฤติกรรมและกิจกรรมทางเศรษฐกิจท้ังสน้ิ แลว ซอ นเขา ไปอกี ความมศี รทั ธากด็ ี ความหมดศรทั ธากด็ ี ในหลายกรณี เปน อาการทปี่ ลกุ เรา กนั ขน้ึ เชน ดว ยการโฆษณา เปน ตน ในวงงานของเรา ถานายงานวางตวั ดี มคี วามสามารถหรอื มีนํา้ ใจ ลกู นองรักใครศ รทั ธา ลกู นอ งมคี วามสามัคคี ขยัน ตั้งใจทาํ งาน กท็ ําใหผ ลผลิตสงู ข้นึ ถานายจา งน้นั มีความดีมาก ลูกนอ งรักใครเ หน็ ใจ บางทีกจิการของบรษิ ทั จะลม ลูกนองกพ็ ากนั เสียสละชวยกันทุมเททาํ งานเตม็ กาํ ลังเพื่อกฐู านะของบรษิ ทั ไมห ลกี หนไี ป แมกระท่ังยอมสละคาแรงงานท่ตี นไดกม็ ี แทนทจ่ี ะเรียกรองเอาอยา งเดียว แตทงั้ นี้ภาว-การณยังขนึ้ ตอเง่ือนไขทางวฒั นธรรมที่ตา งกันในสังคมนนั้ ๆ อกี ดว ย ฉะนนั้ คุณคา ทางจิตใจเหลานีจ้ ึงเปน ตัวแปรในทางเศรษฐกจิไดท ง้ั สน้ิ ซงึ่ เรากเ็ หน็ กนั ชดั ๆ วา ความขยนั ความซอื่ สตั ย ความรกั งานความตรงตอ เวลา มีผลตอ สง่ิ ทเ่ี ราเรียกวา productivity คอื การเพิม่ผลผลิต รวมทง้ั efficiency คือความมีประสทิ ธิภาพเปนอยา งมาก ในทางตรงขาม ความเบือ่ หนาย การคดโกง ทจุ ริต ความรูสกึ แปลกแยก ทอ ถอย ความขัดแยง แมแ ตค วามกลมุ ใจกังวลในเร่ืองสว นตัว กม็ ผี ลลบตอ productivity ทาํ ลายการเพิ่มผลผลิตนั้นได เรอื่ งนี้ไมจ าํ เปน จะตอ งพรรณนา

๑๖ เศรษฐศาสตรแ นวพทุ ธ ในวงกวา งออกไป เก่ียวกับลทั ธิชาตนิ ิยม ความรูส ึกชาตินิยมถา ปลกู ฝงใหม ขี นึ้ ในคนได ก็อาจจะทาํ ใหคนในชาตนิ น้ั ไมย อมซื้อของนอกใช ทัง้ ๆ ทว่ี าของนั้นดี ลอ ใจใหอ ยากจะซื้อ อยากจะบรโิ ภคเขาจะสลดั ความตองการสว นตัวได เพื่อเห็นแกค วามย่งิ ใหญแ หงชาตขิ องตน จะใชแ ตข องที่ผลิตในชาติ และต้งั ใจชวยกนั ผลิต เพ่อื ใหชาตขิ องตนมีความเจริญรงุ เรือง มคี วามเปนเอก มคี วามยง่ิ ใหญ จนกระทงั่ บางทถี งึ กบั วา รฐั บาลตอ งชกั ชวนใหค นในชาตหิ ันไปซื้อของตา งประเทศกม็ ี เชนอยางเร่อื งทเ่ี กิดขึ้นในประเทศญป่ี ุน ชาตนิ ยิ มน้ี กเ็ ปนเร่อื งของอาการทางสังคมที่แสดงออกแหงคณุ คาทางจติ ใจ ซงึ่ มีผลตอเศรษฐกจิ อยา งมาก๓. อยากเปน วิทยาศาสตร ท้งั ทไี่ มอ าจและไมนา จะเปน อาตมภาพไดพ ดู ยกตวั อยา งมานก้ี ม็ ากมายแลว ความมงุ หมายกเ็ พียงเพือ่ ใหเ หน็ วา เรอ่ื งจรยิ ธรรม และคา นิยม หรือคุณคา ทางจติใจนน้ั มีผลเกยี่ วขอ งสมั พันธและสาํ คัญตอ เศรษฐกิจอยา งแนนอน อยางไรกต็ าม เทาท่วี า มาทั้งหมดนั้น ก็เปน ความสมั พันธและความสําคญั ของธรรมในแงค วามดีความชัว่ ทเ่ี รยี กวา จรยิ ธรรมแตธรรมที่สัมพันธก บั เศรษฐกิจ ไมใ ชจ าํ กัดอยูแ คจริยธรรมเทา นัน้นอกจากจรยิ ธรรมแลว ธรรมอกี แงห นงึ่ ทีส่ มั พันธกบั เศรษฐกิจ ก็คอืธรรมในแงสจั ธรรม หรือสภาวธรรม ความจริง ธรรมในแงส ภาวธรรมหรือสจั ธรรมน้ี มคี วามสาํ คญั ตอ เศรษฐกจิ มากยิ่งข้ึนไปอีก เพราะวา มันเปน แกน เปน ตัวเปน เนือ้ ของเศรษฐศาสตรเ อง ธรรมในท่นี ี้ กค็ อื ความจรงิ ในแงของกระบวนการแหงเหตุ

พระพรหมคณุ าภรณ (ป. อ. ปยุตโฺ ต) ๑๗ปจจยั ตามธรรมชาติ ถา เศรษฐศาสตรร ู เขา ใจ และปฏบิ ตั กิ ารไมท วั่ ถงึ ไมต ลอดสายกระบวนการของเหตุปจ จยั แลว วชิ าการเศรษฐศาสตรนน้ั กจ็ ะไมสามารถแกป ญ หาและสรางผลดใี หสาํ เร็จตามวตั ถุประสงค เรียกวา เปนเศรษฐกิจที่ไมถูกธรรมในแงท่ีสอง คือ แงของสัจธรรม ธรรมในแงข องสัจธรรมน้กี ็คือ ธรรมดาของธรรมชาติ หรือสภาวะทีม่ อี ยใู นวชิ าการและกิจกรรมทุกอยา ง มันไมไดเปนสาขาอะไรอยางใดอยางหนึ่งที่แยกออกไปตางหากจากวิชาการอื่นๆ เลย แตเปน แกนแทของวทิ ยาศาสตร หรือเปนสาระท่ีวทิ ยาศาสตรตองการจะเขา ถึง การที่ปจจุบันนี้เรามีแนวโนมทางความคิดท่ีชอบแยกอะไรตอ อะไรออกไปตา งหากจากกัน แมก ระท่งั ในเรอ่ื งธรรม คือสภาวะความเปน จรงิ จงึ เปนอันตรายทที่ ําใหเราอาจจะคลาดเคลอ่ื นจากความเปน จริงทค่ี วรจะเปน ดังนัน้ จะตองมคี วามเขาใจในความเปนจริงทก่ี ลาวแลว นี้ไวดวย เศรษฐศาสตรน้นั ไดกลา วกนั มาวา เปนสงั คมศาสตรท เี่ ปนวิทยาศาสตรม ากทส่ี ดุ และเศรษฐศาสตรก ็มคี วามภูมิใจในเรอื่ งน้ีดว ยวา ตนเปน วทิ ยาการทีเ่ ปน วิทยาศาสตรมากทส่ี ดุ เอาแตสง่ิ ที่วดัได คํานวณได จนกระทั่งมผี กู ลาววา เศรษฐศาสตรนีเ้ ปน ศาสตรแหงตวั เลข มแี ตส มการลวนๆ ในการพยายามที่จะเปน วทิ ยาศาสตรน ้ี เศรษฐศาสตรก เ็ ลยพยายามตัดเร่ืองคุณคา ทเ่ี ปนนามธรรมออกไปใหหมด เพราะคํานวณไมไ ด จะทําใหตนเองเปน value-free คอื เปน ศาสตรท่เี ปน

๑๘ เศรษฐศาสตรแนวพทุ ธอสิ ระ หรอื ปลอดจากคุณคา แตกม็ ีฝายตรงขาม ซง่ึ เปนนกั วจิ ารณเ ศรษฐศาสตร หรอื แมแตน กั เศรษฐศาสตรเองบางคนบอกวา ความจรงิ แลว เศรษฐศาสตรน้เี ปนสงั คมศาสตรท ี่ขึ้นตอ value มากทสี่ ดุ เรียกวาเปน value-dependent มากทีส่ ุดในบรรดาสังคมศาสตรท้งั หลาย จะเปนวิทยาศาสตรไ ดอ ยางไร ในเมอ่ื จุดเร่มิ ของเศรษฐศาสตรน นั้ อยูท ีค่ วามตอ งการของคน ความตอ งการของคนนี้ เปนคณุคาอยูใ นจติ ใจ แลว ในเวลาเดยี วกัน จุดหมายของเศรษฐศาสตร กเ็ พอื่ สนองความตองการ ใหเกิดความพอใจ ความพอใจน้ี กเ็ ปน คุณคา อยใู นจติ ใจของคน เศรษฐศาสตรจ งึ ท้ังขึ้นตน และลงทาย ดวยเร่อื งคณุ คาในจติ ใจ นอกจากนนั้ การตัดสินใจอะไรตา งๆ ในทางเศรษฐกิจ กต็ องอาศยั คณุ คา ตางๆ เปนอนั มาก ฉะนัน้ การท่เี ศรษฐศาสตรจ ะเปนvalue-free หรือเปนอิสระจากคุณคาน้ัน จงึ เปน ไปไมไ ด รวมความวา เศรษฐศาสตรไ มส ามารถจะเปนวิทยาศาสตรท ่ีสมบูรณได เพราะจะตองขน้ึ ตอ คณุ คา บางอยาง เม่ือมองในแงน ี้ จะขอตง้ั ขอสงั เกต ๒ อยาง คอื ในแงท ี่หน่ึง เศรษฐศาสตรไ มส ามารถเปนวทิ ยาศาสตรไดโดยสมบรู ณ หรือไมส ามารถเปน วิทยาศาสตรไ ดแทจ ริง เพราะไมอาจเปน อสิ ระจากคุณคา ตางๆ นอกจากนนั้ ในหลกั การและทฤษฎที างเศรษฐศาสตรจ ะเตม็ไปดวยอสั ซัมชนั่ (assumptions) คอื ขอ ทถี่ ือวา ยุติเปน อยางนน้ั เปนความจรงิ โดยทยี่ งั ไมไ ดพิสจู น เมอื่ ยงั เต็มไปดว ยอัสซัมชน่ั ตางๆ แลว

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยุตโฺ ต) ๑๙จะเปน วทิ ยาศาสตรไดอยา งไร อันนกี้ เ็ ปน ขอ แยงท่ีสําคัญ ในแงทีส่ อง การเปนวิทยาศาสตรน้นั ก็ไมใชเ ร่อื งที่ดี เพราะวาวทิ ยาศาสตรไ มสามารถแกปญหาของมนุษยไดท ุกอยา ง วิทยาศาสตรน้ันมีขีดจํากัดมากในการแกปญหาของมนุษยวทิ ยาศาสตรแ สดงความจริงไดแ งหนึ่งดา นหนง่ึ โดยเฉพาะท่ีเก่ยี วกับวตั ถุเปนสําคญั ถาเศรษฐศาสตรเ ปนวิทยาศาสตร ก็จะพว งตัวเขา ไปอยใู นแนวเดยี วกับวิทยาศาสตร คือสามารถแกปญ หาของมนษุ ยไดเพียงในวงจาํ กัดดวย ทา ทที ด่ี ีของเศรษฐศาสตร กค็ อื การมองและยอมรบั ตามเปน จรงิ การท่ีเศรษฐศาสตรจะเปนวิทยาศาสตรหรือพยายามเปนวทิ ยาศาสตรน น้ั ถา ถอื เปน เพยี งภาระดา นหนงึ่ ทางวชิ าการ กเ็ ปนความดอี ยา งหนงึ่ ของเศรษฐศาสตร ซง่ึ กเ็ ปน คณุ คา ทน่ี า จะรกั ษาไว แตในเวลาเดียวกนั เพอ่ื การแกป ญ หาของมนุษยใหไดผ ลดียงิ่ ข้นึ หรือใหไดผ ลจริง เศรษฐศาสตรโดยเฉพาะในยคุ ปจจบุ นั น้ี ที่ถงึ ยุคหวั เลีย้ วหัวตอ ของสังคมมนษุ ย กน็ า จะเปดตวั กวางออกไปในการทีจ่ ะยอมรบั รว มมอื กับวิทยาการและกจิ กรรมสาขาอื่นๆ ของมนุษย โดยยอมรบั ท่ีจะพิจารณาเรื่องคุณคาตางๆ ในสายตาทม่ี องอยา งทั่วตลอดย่ิงขนึ้ ท้งั นเี้ พราะเหตผุ ลคอื เมื่อเราบอกวา เศรษฐศาสตรไ มเ กยี่ วกับเร่ืองคณุ คา เราก็จะพยายามเลย่ี งหลบและไมศกึ ษาเรอ่ื งคุณคานัน้ ซง่ึ จะทาํ ใหเรามองมันไมช ัดเจน และจัดการมันไมไดด ี แตเ มอื่ เราไมเ ลยี่ งหลบ โดยยอมรบั ความจรงิ แลว เรากม็ องและเหน็ มนั เตม็ ตา ไดศ กึ ษาใหร เู ขา ใจมนั ใหช ดั เจน คณุ คา นน้ั กจ็ ะมาเปน

๒๐ เศรษฐศาสตรแนวพุทธองคป ระกอบของวทิ ยาการตามฐานะทถ่ี กู ตอ งของมนั ทาํ ใหม องเหน็ตลอดกระบวนการของความเปน จรงิ และจดั การมนั ไดอ ยางดี นอกจากนั้น ถา เราไมศ กึ ษาเร่อื งคณุ คา นนั้ ใหต ลอดสายการที่จะเปน วิทยาศาสตรก็เกิดข้นึ ไมไ ด เพราะเราจะไมส ามารถมีความเขาใจเก่ียวกับกระบวนความจริงที่มีคุณคานั้นเปนองคประกอบอยดู วยโดยตลอด หรือโดยสมบูรณ เศรษฐศาสตรนนั้ ตององิ อาศัยคณุ คาทีเ่ ปน นามธรรม แตปจ จบุ ันนีเ้ ศรษฐศาสตรย อมรบั คุณคา นนั้ แตเพียงบางสวน บางแงไมศกึ ษาระบบคุณคาใหตลอดสาย ดงั นั้น เมอื่ มอี งคป ระกอบดา นคุณคาเขามาเกี่ยวของเกินกวาแงหรือเกินกวาระดับที่ตนยอมรับพิจารณา ก็ทําใหเกิดความผิดพลาดในการคาดหมายหรอื คาดคะเนผลเปนตน ขอยกตัวอยา งเชน เรามีหลักทางเศรษฐศาสตรขอหนึง่ วาคนจะยอมเสียสง่ิ หนึง่ สิ่งใด ก็ตอ เมอ่ื ไดส ่ิงอ่นื มาทดแทน จงึ จะไดความพอใจเทากัน อนั น้ีเปน หลกั การทางเศรษฐศาสตรขอหน่ึง เร่ืองนที้ างฝา ยของพวกนามธรรม กอ็ าจจะแยง วาไมจ ริงเสมอไป บางทคี นเราไดค ณุ คา ความพอใจทางจิตใจโดยท่ีเสียสง่ิหนึ่งสิ่งใดไปโดยไมไ ดส งิ่ อ่นื มาทดแทนกม็ ี อยา งเชน พอ แมร กั ลกู พอรกั ลกู มาก กย็ อมเสยี สง่ิ หนง่ึ สงิ่ ใดใหเมอ่ื ลกู ไดส ง่ิ หนงึ่ สง่ิ ใดนน้ั ไป พอ แมไ มจ าํ เปน ตอ งไดอ ะไรตอบแทน แตพอแมก ็มคี วามพึงพอใจ และอาจจะพงึ พอใจมากกวา การไดอ ะไรตอบแทนดว ยซาํ้ ในกรณนี ้ี ทเ่ี ปน อยา งนนั้ กเ็ พราะวา พอ แมม คี วามรกั ทนี ี้ ถามนษุ ยสามารถมคี วามรกั คนอ่นื ไดกวางขวางขึ้น ไมรักเฉพาะลกู ของตัวเอง แตข ยายออกไป รักพร่ี ักนอง รักเพ่ือนรวม

พระพรหมคณุ าภรณ (ป. อ. ปยตุ ฺโต) ๒๑ชาติ รักเพ่ือนมนุษยแลว เขากอ็ าจจะเสียสละสิ่งใดสิง่ หนึ่งไปโดยไมไดอ ะไรตอบแทนมา แตกลบั มีความพึงพอใจมากขึ้น ไมใชว าไมไดร บั ความพึงพอใจหรอื พึงพอใจเทากนั แตพึงพอใจมากขึน้ ดว ยซํา้ ไป อันน้กี ็เปน เร่อื งของคุณคาทีเ่ ขา มาแสดงผลในทางเศรษฐศาสตรเหมือนกัน หลักทางเศรษฐศาสตรอีกขอหน่งึ บอกวา ราคาต่ําลง-คนย่งิซอ้ื มาก ราคาย่ิงแพง-คนยง่ิ ซ้อื นอยลง และตามธรรมดาท่วั ไปกเ็ ปนอยา งนน้ั ถาของราคาตา่ํ ลง ทําใหค นมีอาํ นาจซอื้ มาก กซ็ ้ือไดม าก คนกม็ าซ้ือกันมากข้นึ แตถ า ของน้นั แพงข้ึน อํานาจซ้อื ของคนกน็ อยลงคนก็มาซือ้ นอ ยลง แตไ มใ ชเ ปน อยา งนนั้ เสมอไป ถา เรารวู า คนในสงั คมมคี า นยิ มชอบอวดโกอ วดฐานะกนั มาก เรากเ็ อาคา นยิ มมาใชเ รา ใหค นเกดิ ความรสู กึ วา ของแพงนม่ี นั โกม าก คนไหนซอ้ื ของแพงได คนนน้ั เดน มฐี านะสงู ปรากฏวา ยง่ิ ทาํ ใหร าคาสงู ของยงิ่ แพง คน(ในบางสงั คม)กลบัยิ่งไปซ้ือมาก เพราะอยากจะโก อยากแสดงวา ตวั มีฐานะสงู ฉะนน้ัหลกั เศรษฐศาสตรบ างอยา งจงึ ขน้ึ ตอ เรอ่ื งคณุ คา เปน อยา งมาก วาทจ่ี รงิ ตัวอยา งตา งๆ กม็ ีทั่วๆ ไป ท่แี สดงใหเ หน็ วา คานยิ มหรือคณุ คา ตางๆ ในสังคมนีเ้ ปน ตัวกําหนดราคา ซงึ่ เศรษฐศาสตรก ็เอามาใช ดังจะเหน็ ไดใ นตัวอยางงา ยๆ สมมตุ วิ า มีคนสองคนเรอื แตก ไปติดอยบู นเกาะหน่งึ คนหน่ึงมขี าวตาก ๑ กระสอบ อกี คนหน่งึ มสี ายสรอยทองคาํ ๑๐๐ สาย ตามปกติ ในสงั คมทว่ั ไป คนทมี่ สี ายสรอ ยทองคาํ ๑ สาย อาจจะซอ้ื ขา วตงั หรอื ขา วตากไดห มดทงั้ กระสอบ หรอื วา ขา วตากทง้ั กระสอบ

๒๒ เศรษฐศาสตรแนวพุทธนัน้ อาจจะไมพ อกับราคาคา สายสรอ ยทองคําสายเดยี วดว ยซ้ํา แตตอนนเ้ี ขาไปติดอยบู นเกาะ มองไมเ ห็นทางวา จะรอด ไมเห็นวา จะมเี รอื อะไรมาชวยเหลอื ตอนนมี้ ูลคาจะตางไป ผดิ จากเดมิแลว ตอนน้ีคนท่มี ขี าวตากหนงึ่ กระสอบอาจจะใชข า วตากเพยี ง ๑ชนิ้ แลกเอาสายสรอ ยทองคาํ ทง้ั ๑๐๐ สายก็ได บางทไี มยอมรับดวยซํ้าไป คุณคาจงึ เปนไปตามความตอ งการ แตท ่ีตอ งการชใ้ี นทนี่ ้กี ็คือวา เศรษฐศาสตรจะตองแยกแยะเกี่ยวกับความหมายของความตองการ ตลอดจนคณุ ภาพของความตอ งการดว ย เศรษฐศาสตรบ อกวา เราเกยี่ วขอ งแตค วามตอ งการอยา งเดยี วไมเ กย่ี วขอ งกบั คณุ ภาพของความตอ งการ นเ้ี ปน หลกั การของเศรษฐ-ศาสตร แตคณุ ภาพของความตอ งการน้นั กม็ ีผลตอเศรษฐศาสตร นอกจากน้นั คนสองคนน้อี าจจะไมแ ลกเปล่ยี นกนั ก็ได คนที่มสี ายสรอยทองคาํ อาจจะถอื โอกาสตอนทค่ี นมขี าวตากไมอยู มาลกัเอาขาวตากไปเสียก็ได โดยไมจําเปน ตอ งแลกกบั คนอ่ืน หรอื ดไี มดีแกอาจจะฆานายคนมีขา วตากเสยี เลย เพื่อจะเอาขาวตากไปเสยี ทง้ัหมดกระสอบ ในทางตรงกันขา ม สองคนน้ันอาจจะเกดิ มีความรักกันข้นึ มาก็เลยรว มมอื กนั เลยไมตองซอ้ื ตอ งขาย ไมต อ งแลกเปล่ยี น ก็กนิ ขาวตากดว ยกันจนหมดกระสอบ อันน้กี ็อาจจะเปนไปไดทงั้ ส้ิน เพราะฉะนน้ั นอกจากการแลกเปล่ียน กิจกรรมอาจจะมาในรปู ของการทาํ รา ย การรว มมือกัน ชว ยเหลือกัน หรืออะไรก็ได เพ่ือแสดงใหเหน็ วา เศรษฐศาสตรเ ปนวิทยาศาสตร เศรษฐ-ศาสตรเ ปน objective คือมองอะไรๆ ตามสภาววิสัย ไมเ อาคณุ คา

พระพรหมคณุ าภรณ (ป. อ. ปยตุ โฺ ต) ๒๓ความรสู กึ ทางจติ ใจเขา ไปปะปน นกั เศรษฐศาสตร บางทกี ็จะยกตัวอยางตางๆ มาใหดู เชนบอกวา เหลาหรือสุรา ๑ ขวด กบั กวยเต๋ียว ๑ หมอ อาจจะมคี ณุ คา หรอื มลู คา ทางเศรษฐศาสตรเ ทา กนั การเสยี เงนิ ไปเขาไนตค ลบั ครง้ั หนงึ่ อาจมคี า ทางเศรษฐกจิ สงู กวา การเขา ฟง ปาฐกถาครงั้ หนงึ่ ในเวลาเทา กนั อนั นเี้ ปน ความจรงิ ทางเศรษฐศาสตร เศรษฐศาสตรไมพจิ ารณาคุณคาใดๆ ทัง้ สิ้น เขาจะไมพจิ ารณาวา สินคา นน้ั หรือการกระทาํ นั้น การผลติ การบริโภค หรอืการซื้อขายนั้น จะกอ ใหเ กดิ คุณประโยชนหรอื โทษอะไรขึ้นหรอื ไม เขาไนตคลับแลวจะส้ินเปลืองเงินทําใหหมกมุนมัวเมาเปนอบายมุข หรือจะดีจะชวั่ ในแงห น่ึงแงใ ดก็ตาม เศรษฐศาสตรไมเกย่ี วหรอื วาเขาฟงปาฐกถาแลวจะไดความรเู จรญิ ปญญา เปนประโยชนแกจิตใจ ก็ไมใชเร่อื งของเศรษฐศาสตร เราอาจจะพจิ ารณาคณุ หรือโทษในแงอ ื่นๆ แตเ ศรษฐศาสตรจ ะไมพ จิ ารณาดวย ในกรณตี วั อยา งที่ยกมาน้ี ถาพจิ ารณาใหดจี ะเหน็ วา ความเปนวิทยาศาสตรแ ละความเปน objective ของเศรษฐศาสตรนัน้ออกจะผวิ เผินและคบั แคบมาก คอื มองความจรงิ ชว งเดยี วส้ันๆ แบบตดั ตอนขาดลอยเทา ท่ตี ัวตองการ ไมมองกระบวนการแหง เหตปุ จจยัท่ีเปนจริงใหท ว่ั ถึงตลอดสาย ซ่ึงเปน ลกั ษณะของเศรษฐศาสตรในยุคอตุ สาหกรรม ทําใหเ ศรษฐศาสตรไ มอ าจจะเปนวิทยาศาสตรไ ดจ ริงและไมเปน objective เพียงพอ เศรษฐศาสตรยุคตอไปอาจจะขยายการมองใหทั่วถึงตลอดกระบวนการของเหตุปจ จยั โดยสอดคลอ งกับความจริงมากยิง่ ขน้ึดังท่ีมีแนวโนมขึ้นบางแลว ในปจจบุ นั

๒๔ เศรษฐศาสตรแนวพุทธ ดงั ในตวั อยางท่ยี กขนึ้ มาพูดเรื่องเหลา ๑ ขวด กับกว ยเตย๋ี ว๑ หมอ เรามองไดวา มลู คา ในทางตลาดซื้อขายน้ันเทากนั จรงิ แตม ลูคาแมในทางเศรษฐกจิ นั้นเอง ความจริงกไ็ มเ ทา กนั ถา พิจารณาลึกซึ้งลงไป จะมองเหน็ วา สุรา ๑ ขวดนนั้ มีมลูคาทางเศรษฐกิจอกี มากมาย ๑. มลู คาทางเศรษฐกิจที่มาจากการเสยี คณุ ภาพชวี ติ สุราขวดน้อี าจจะทําลายสขุ ภาพของคน และทาํ ใหต องเสยี เงินรักษาสขุภาพของคนน้ัน อยา งไมร ูวาจะส้นิ เปลอื งเงนิ ไปอกี เทาไร น่เี ปนความสูญเสยี ในดานคุณภาพชีวิต แตมผี ลทางเศรษฐกจิ ดว ย ๒. ในการผลิตสรุ านนั้ โรงงานสุราอาจจะทําใหเกิดควนั ท่มี ีกลน่ิ เหมน็ ควนั ท่เี ปนอันตรายตอสขุ ภาพ ทาํ ใหเ กดิ สา เหลา เปนตนซง่ึ เปน การทาํ ลายสภาพแวดลอมทางธรรมชาติ แลวมลู คา ความเสียหายทางธรรมชาตนิ กี้ ก็ ลบั มามผี ลตอ เศรษฐกจิ อกี อาจจะทาํ ใหร ฐั ตอ งสน้ิ เปลอื งงบประมาณระยะยาวในการแกไ ขปญ หาสภาพแวดลอ ม ๓. คนท่กี นิ สรุ าแลวน้ัน อาจจะขับรถไปแลว เกดิ รถชนกนั ก็ทําใหเ กิดผลเสียหายทางเศรษฐกิจอกี ๔. ผลเสยี หายในทางสังคม เชน ทําใหเ กดิ อาชญากรรม ซง่ึคิดเปนมลู คา ทางเศรษฐกจิ อกี จํานวนมาก ๕. เหลา ๑ ขวดน้ี อาจจะทําใหค นนนั้ เมามาย มสี ตไิ มค อยดี ทาํ ใหส ูญเสียประสิทธภิ าพในการทํางาน ก็กระทบตอproductivity คอื การเพ่มิ ผลผลติ อกี ทั้งหมดนีเ้ ปน เร่อื งของเศรษฐกจิ ท้งั สน้ิ เปนอนั วา เราจะตอ งคดิ เรอื่ งเศรษฐกจิ หรือมูลคาทางเศรษฐกิจกวา งออกไป ไมใ ชเฉพาะราคาทต่ี ใี นตลาดเทา น้ัน

พระพรหมคณุ าภรณ (ป. อ. ปยตุ โฺ ต) ๒๕ ปจจุบันนี้ก็มีความโนมเอียงในการท่ีจะเอามูลคาดานอื่นน้ีเขามารวมดว ย เรยี กวา เปน external costs แตป จจุบนั น้ยี ังมองเฉพาะเรือ่ งมลู คาดา นสภาพแวดลอ ม คือมลภาวะ ดังท่นี ักเศรษฐศาสตรบ างกลมุ ใหน าํ เอามลู คา ในการทาํ ลายสภาพแวดลอ มน้ี รวมเขา ในมูลคา ทางเศรษฐกิจแมแ ตใ นการทจี่ ะตรี าคาสินคา ดวย แตว า ทจี่ รงิ แลว ยงั ไมพ อหรอก กอ็ ยา งสรุ า ๑ ขวดทว่ี า เมอ่ื กี้เราอาจจะคดิ แตคา สภาพแวดลอม แตค า ทางสงั คม ศีลธรรม และสขุ ภาพ (เชน อาชญากรรม ประสิทธิภาพในการผลติ ) อีกเทา ไร ซึง่มูลคา เหลานลี้ ว นยอ นกลับมามีผลทางเศรษฐกจิ อกี ทงั้ ส้ิน๔. ขาดความชัดเจนเกี่ยวกับความเขาใจในธรรมชาติของมนุษย เทา ทพ่ี ดู มาในตอนนใี้ หเ หน็ วา เศรษฐศาสตรม คี วามสมั พนั ธกบั เรอื่ งอื่นๆ ทม่ี ผี ลยอนกลบั มาหาเศรษฐกจิ อกี ซ่ึงโดยมากเปน เรื่องเกี่ยวกบั คณุ คา ตา งๆ กเ็ ลยเขามาสปู ญหาสาํ คัญอกี ปญ หาหน่ึง คือปญหาเกีย่ วกับความเขา ใจในเร่อื งธรรมชาตขิ องมนุษย ความเขาใจเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษยเปนเร่ืองสาํ คัญมากในศาสตรวิทยาทกุ แขนงเลยทีเดยี ว เราจะตองมีความเขาใจเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษยน้ีเปนฐานกอน ถาเขา ใจธรรมชาติของมนุษยผิดพลาดแลว วิทยาการนั้นๆจะไมส ามารถเขาถึงความจรงิ โดยสมบรู ณ และจะไมส ามารถแกปญ หาของมนุษยไ ดจริงดว ย ในเรอ่ื งธรรมชาตขิ องมนษุ ยน ี้ เศรษฐศาสตรเขา ใจอยา งไรและพุทธศาสนาหรอื พทุ ธเศรษฐศาสตรเขาใจอยางไร ไดบ อกแลว วา เศรษฐศาสตรนัน้ มองถงึ ธรรมชาตขิ องความ

๒๖ เศรษฐศาสตรแนวพทุ ธตอ งการของมนุษย แตมองความตองการของมนษุ ยนั้นเพยี งดา นเดียว โดยไมคํานึงถงึ คณุ ภาพของความตองการ ถา เปน อยางน้กี ต็ องถามวา คุณภาพของความตอ งการของมนษุ ยนนั้ เปน ธรรมชาติหรือไม ถา มันเปนธรรมชาติกแ็ สดงวาเศรษฐศาสตรไ มยอมพิจารณาความจรงิ ที่มีอยใู นธรรมชาติท้งั หมด ถา เปนอยางน้แี ลวเราจะมเี ศรษฐศาสตรท่ีสมบูรณไดอ ยา งไร และจะแกปญ หาของมนษุ ยโ ดยสมบูรณไดอ ยางไร เศรษฐศาสตรอาจจะแกตัวออกไปไดว า เรากเ็ ปน สเปช- เชียลไลเซช่นั มคี วามชํานาญพิเศษเฉพาะดานหนง่ึ จะตองไปรว มมอืกบั วิทยาการอนื่ ๆ ในดา นทต่ี ัวเรานน้ั เกย่ี วขอ งตอไป ถา ยอมรับอยา งน้กี พ็ อไปได แตอาจจะชา ไป หรือเขาแงเขา มมุ ไมถ นดั ก. ความตอ งการ ทนี ้ี มาพดู กันถึงเร่ืองธรรมชาติของมนษุ ย ในแงความตองการกอน ในแงความตอ งการของมนษุ ยน นั้ อยางนอยเศรษฐศาสตรสมัยใหมนีก้ ็มีความเขาใจตรงกับพุทธศาสนาท่วี า ความตอ งการของมนษุ ยไมจํากัด มนษุ ยม ี unlimited wants เราบอกวา ความตอ งการของมนุษยน้ันไมม ีทีส่ ้ินสดุ ในพทุ ธศาสนานนั้ มพี ุทธภาษติ เกีย่ วกับเรือ่ งน้ีมากมาย เชนวา นตฺถิ ตณฺหาสมา นที แมนํ้าเสมอดว ยตัณหาไมม ี เพราะวาแมน าํ้ น้นั บางโอกาส บางเวลา มันยังมีเวลาเต็มไดแตความตองการของมนษุ ยไมม วี ันเตม็ บางแหงบอกวา ถึงแมเงนิ ตราจะตกลงมาเปนหาฝน ความ

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยตุ ฺโต) ๒๗อมิ่ ในกามท้ังหลายของมนษุ ยก ไ็ มม ี หรือบางแหง ทานบอกวา ถงึ จะเนรมติ ภูเขาใหเ ปนทองทง้ั ลกู กไ็ มส ามารถจะทาํ ใหค นแมแตคนหน่งึคนเดยี วพึงพอใจไดโ ดยสมบูรณ ไมเ ต็มอมิ่ ของเขา ฉะนนั้ ในทางพุทธศาสนา จึงมเี รื่องพดู มากมายเก่ียวกับความตอ งการทไ่ี มจ าํ กดั ของมนุษย ในท่นี ี้ อาตมภาพจะเลา นทิ านใหฟง เร่อื งหนึง่ เรามายอมเสยีเวลากบั นิทานสกั นิดหน่ึง ความจริงนทิ านนีม้ ิใชเ อามาเลาเฉยๆ มันมนี ยั ความหมายแฝงอยู ก็เอามาเลา ดูซิวา มนั มคี วามหมายแฝงวาอยางไร ทานเลาไวใ นชาดกเรอื่ งหนง่ึ วา ในอดตี กาลเรยี กวา ปฐมกปั ปท ีเดียว มพี ระเจาแผน ดนิ องคหนงึ่ พระนามวาพระเจามันธาตุ (พอดชี อ่ื มาใกลก ับนกั เศรษฐศาสตรคนสําคัญของอังกฤษคนหนง่ึ ท่ีชอ่ื วา มัลธัส - Malthus) พระเจา มันธาตุนเี้ ปน พระเจาแผนดนิ ที่ยิ่งใหญมาก ไดเปนพระเจา จกั รพรรดิ พระเจาจกั รพรรดิมนั ธาตปุ รากฏเปนเร่ืองราวในนทิ านวา มีอายุยืนนานเหลือเกนิ มรี ัตนะ ๗ ประการ ตามแบบแผนของพระเจาจกั รพรรดิทงั้ หลาย แลว กม็ ฤี ทธ์ิ ๔ ประการ ซง่ึ ทา นรกู ันจึงไมไดบ อกไวว า ฤทธอ์ิ ะไรบา ง รวมความวา เปนบุคคลทเี่ รียกวาอจั ฉรยิ มนุษยไมมีใครเหมือน มีอะไรพรัง่ พรอมสมบรู ณท ุกอยาง พระเจา มันธาตนุ ้ีมอี ายุยนื ยาวมาก ไดเปนเจาชายอยู๘๔,๐๐๐ ป แลว กไ็ ดเ ปน พระอปุ ราชอยู ๘๔,๐๐๐ ป ครองราชสมบัตเิ ปนพระเจาจกั รพรรดมิ าอกี ๘๔,๐๐๐ ป พอลว งมา ๘๔,๐๐๐ ปแ ลว วันหนงึ่ พระเจา มันธาตุก็แสดงอาการเบ่ือหนา ยใหปรากฏวา ทรัพยสมบตั ทิ ี่มีมากมายนีพ้ ระองคไ มเพียงพอเสียแลว

๒๘ เศรษฐศาสตรแ นวพุทธ เมอื่ พระองคแสดงอาการใหป รากฏแลว ขา ราชบริพารท้ังหลายก็ทลู ถามวา พระองคเปนอยางไร มอี าการอยางนีไ้ มสบายพระทัยอะไร พระองคก ็ตรัสวา แหม! ความสุขสมบรู ณห รอื สมบัตทิ ีน่ ีม่ ันนอ ยไป มที ไ่ี หนทม่ี ันดีกวา นม้ี ั๊ย ขาราชบรพิ ารกก็ ราบทูลวา กส็ วรรคซ ิ พระเจาขา พระเจา มนั ธาตุนเี้ ปน จักรพรรดิ และมีอิทธิฤทธ์ยิ ่งิ ใหญมากที่วา ๔ ประการนน้ั และมจี กั รรตั นะ เม่ือเขาบอกวาสวรรคดีกวา ก็ทรงใชจกั รรัตนะน้ัน (จักรรัตนะกค็ อื วงลอ ของพระเจา จกั รพรรด)ิ พาใหพระองคขน้ึ ไปถึงสวรรคชน้ั จาตมุ หาราช มหาราชทงั้ ๔ พระองคกอ็ อกมาตอ นรบั ทลู ถามวา พระองคมคี วามตองการอยา งไร เม่ือรคู วามประสงคแ ลว กเ็ ชิญเสดจ็ ใหเขาครองราชสมบตั ิในสวรรคชั้นจาตุมหาราชทั้งหมด พระเจา มันธาตุครองราชสมบัตอิ ยูในสวรรคชัน้ จาตุ-มหาราชเปนเวลายาวนานมาก จนกระท่ังตอมาวันหนึง่ กแ็ สดงอาการเบอ่ืหนายใหป รากฏอีก แสดงวา ไมพ อเสยี แลว สมบตั ิในช้นั นี้ไมมีความสุขเพียงพอ ขาราชบริพารก็ทลู ถาม พระองคก ็บอกใหทราบและตรสัถามวา มีทไ่ี หนดกี วาน้ีอกี ไหม ขา ราชบรพิ ารกท็ ลู ตอบวา มีซพิ ะยะคะ ก็สวรรคช้ันดาวดึงสไงละ พระเจามันธาตุก็เลยอาศัยจักรรัตนะหรือวงลอของพระเจาจักรพรรดนิ ั้น ขึน้ ไปอกี ถึงสวรรคชน้ั ดาวดงึ ส สวรรคช นั้ ดาวดงึ สน น้ั พระอนิ ทรค รอบครอง พระอนิ ทรก อ็ อกมาตอ นรบั เชิญเสดจ็ แลว กแ็ บงสวรรคชนั้ ดาวดงึ สใ หครอบครองครงึ่ หนึ่ง พระเจามันธาตุครอบครองสวรรคช้ันดาวดึงสรวมกับพระ

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยุตโฺ ต) ๒๙อนิ ทรคนละคร่ึง ตอ มาเปน เวลายาวนาน จนกระท่ังพระอนิ ทรอ งคน้ันหมดอายุสนิ้ ไป พระอินทรอ งคใหมก ็เกิดมาแทนและครองราชยไปจนส้นิ อายุอกี พระอนิ ทรครอบครองราชสมบัตสิ ิ้นอายไุ ปอยา งนี้๓๖ องค พระเจา มนั ธาตุกย็ งั ครองราชยอยใู นสวรรค มาถงึ ตอนนพี้ ระเจา มนั ธาตชุ กั ไมพ อใจ เอ! สวรรคค รงึ่ เดยี วนี่มนั นอ ยไป เรานา จะครองสวรรคท งั้ หมด กเ็ ลยคดิ จะฆา พระอนิ ทรเ สยีเลย แตม นษุ ยน น้ั ฆา พระอนิ ทรไ มไ ด เพราะมนษุ ยฆ า เทวดาไมส าํ เรจ็ เมอ่ื ความอยากน้ไี มไดรับการตอบสนอง ความอยากหรือตณั หาของพระเจามันธาตนุ ัน้ ทา นบอกวา มรี ากเนา ตัณหารากเนาเสียแลว ไมไ ดสมประสงค ไมไดค วามพงึ พอใจ พระเจา มนั ธาตกุ ็เลยแก พอแกแ ลว กเ็ ลยตาย ตกจากสวรรค หลน ตบุ ลงมาในสวน ทา นบอกวา อยางน้ัน คือหมายถงึ สวนหลวง เปน อนั วา พระเจา มนั ธาตุก็ตกจากสวรรคห ลนลงมาในสวนคนสวนมาพบเขา ก็เลยไปกราบทูลพระญาตวิ งศท ้ังหลาย (ไมร ูวาเหลนโหลนรนุ ไหน) มากนั พรอมหนา แลวก็ทาํ พระแทน ท่ีประทบับรรทมให พระเจา มนั ธาตกุ เ็ ลยสวรรคตในสวนนน้ั เอง แตก อ นจะสวรรคต พระญาติวงศก็ถามวา พระองคมพี ระราชดาํ ริอะไรจะฝากฝง ส่ังเสียไหม พระเจา มนั ธาตกุ ป็ ระกาศความยง่ิ ใหญว า เรานน่ี ะเปน จกั รพรรดิยงิ่ ใหญ ไดค รองราชสมบตั ใิ นมนษุ ยนานเทาน้นั ไดข้ึนไปครองสวรรคช น้ั จาตมุ เทานั้น และไดไปครองสวรรคชั้นดาวดงึ สอกี ครึ่งหน่ึงเปน เวลาเทา นน้ั แตย งั ไดไ มเ ตม็ ตามตอ งการกจ็ ะตายเสยี แลว กเ็ ลยจบ เรอ่ื งพระเจา มันธาตุก็จบเทาน้ี เอาละ น่เี ปนการเลา นิทานใหฟง วา ในเร่ืองความตอ งการของมนษุ ยน้นั พทุ ธศาสนาเหน็ ตรงกบั

๓๐ เศรษฐศาสตรแนวพุทธเศรษฐศาสตรอ ยา งหนง่ึ วา มนษุ ยม คี วามตอ งการไมจ าํ กดั หรอื ไมส นิ้ สดุ แตไ มเ ทา นี้ พทุ ธศาสนาไมจ บเทา นี้ พทุ ธศาสนาพดู ถงึ ธรรมชาติของมนษุ ย อยา งนอ ยทเี่ กยี่ วกบั เศรษฐศาสตรจ ะพงึ เขา ใจ ๒ ประการ ประการทหี่ นึ่ง คอื ความตองการนี้ ตามหลักพทุ ธศาสนา ในแงท ี่หนง่ึ ยอมรับวา มนุษยม ีความตองการไมจํากัด แตนัน้ เปนเพยี งความตองการประเภทที่ ๑ พทุ ธศาสนาแยกความตองการเปน ๒ ประเภท ความตองการอีกประเภทหนึ่งคอ นขางจะจาํ กดั ความตอ งการ ๒ ประเภทน้ี ถา ใชภาษาสมัยใหมย งั หาศัพทโดยตรงไมได ความตอ งการประเภทท่หี น่งึ ขอเรียกวาความตอ งการส่ิงเสพปรนเปรอตน คือ ตณั หา เปนความตองการท่ีไมจาํ กดั สว นความตอ งการประเภทท่ี ๒ ขอเรยี กวา ความตองการคุณภาพชวี ิต คอื ฉนั ทะ เปน ความตองการทีม่ ีขอบเขตจํากดั ประการทสี่ อง ซง่ึ สมั พนั ธก บั หลกั ความตอ งการ คอื พทุ ธศาสนาถอื วา มนษุ ยเ ปน สัตวท ี่ฝก ฝนพฒั นาได และการที่มนุษยเ ปน สตั วท ี่ฝก ฝนพัฒนาไดน ี้ กส็ ัมพนั ธก บั ความตอ งการคณุ ภาพชีวติ กลาวคอื การทมี่ นษุ ยต อ งการคณุ ภาพชวี ติ นน้ั เปน การแสดงถงึ ภาวะที่มนษุ ยต อ งการพฒั นาตนเอง หรอื พฒั นาศกั ยภาพของตนเองขนึ้ ไป เพราะฉะนั้น สาระอยา งหนึ่งของการพัฒนามนษุ ยก ็คอื การท่เี ราจะตอ งพยายามหันเห หรือปรับเปลย่ี นความตอ งการจากความตองการสง่ิ เสพปรนเปรอตน มาเปน ความตอ งการคุณภาพชีวิต น้ีเปนลักษณะอยางหนึ่งของการฝกฝนพัฒนาตนของมนุษยซ่งึ ก็มาสัมพนั ธก บั เรือ่ งความตองการ เปน อันวา พุทธศาสนาถอื วา ความตอ งการ มี ๒ ประเภท คือ

พระพรหมคณุ าภรณ (ป. อ. ปยตุ ฺโต) ๓๑ ๑. ความตองการสงิ่ เสพปรนเปรอตน ทไ่ี มม ขี ีดจํากดั และ ๒. ความตองการคณุ ภาพชวี ติ ทม่ี ขี อบเขตจํากดั ความตองการ ๒ อยางของมนษุ ยน นั้ มักจะมีปญ หาขัดแยงกันเองบอ ยๆ ยกตวั อยางเชน วา เราจะกินอาหาร เรายอ มมีความตองการ๒ ประเภทนซี้ อนกันอยู แตใ นมนษุ ยทั่วไปนนั้ ความตองการคุณภาพชีวติ อาจจะมีโดยไมต ระหนัก มนษุ ยมักตระหนักรูตัวแตความตองการประเภทที่ ๑ ความจรงิ นน้ั ความตอ งการทเี่ ปน สาระ คอื ตอ งการคุณภาพชวี ติ มนุษยตอ งการกินอาหารเพอ่ื อะไร เพอ่ื จะหลอเล้ียงรางกายใหแขง็ แรง ใหม ีสุขภาพดี อนั นแ้ี นนอน แตอ กี ดา นหนึ่งที่ปรากฏแกม นษุ ยค ืออะไร มนษุ ยต องการเสพรสอาหาร ตอ งการความอรอย ตองการอาหารทดี่ ๆี ในแงของความเอร็ดอรอ ย หรอื โก และความตอ งการน้ีอาจจะขดั แยงกบั ความตองการคุณภาพชวี ติ คอื มันอาจจะกลบั มาทาํ ลายคุณภาพชวี ติ ดว ย ความตองการเสพรสนี้จะทาํ ใหเราแสวงหาอาหารท่ีมีรสชาดดีทีส่ ุด แลว อาจจะมกี ารปรงุ แตง รสอาหาร ซ่ึงสง่ิ ท่ีปรุงแตง กล่ิน สีและรสของอาหารนั้น อาจจะเปน โทษตอรางกาย เปน อนั ตรายตอสุขภาพ เสียคณุ ภาพชวี ิต อกี ประการหนง่ึ คนทกี่ ินเอาแตค วามอรอ ย ก็อาจจะกินโดยไมม ีประมาณ กนิ เกนิ ไป กนิ จนกระท่งั ทอ งอืดไมยอ ย หรืออาจจะอยา งนอ ยทาํ ใหอว นเกินไป ก็เปนอนั ตรายตอสขุ ภาพอกี กบั ทงั้ ทาํ ใหแพงโดยใชเ หตุ อาหารทใ่ี หคณุ ภาพชีวติ อํานวยคณุ คา ท่ชี ีวิตตอ งการนน้ั

๓๒ เศรษฐศาสตรแ นวพทุ ธอาจจะหาไดในราคาเพียง ๒๐ บาท แตคนท่ีกินเพอ่ื เสพรสอรอ ยเสริมความโก จะตองว่ิงไลต ามตณั หาอยา งไมม ที ี่ส้ินสุด ราคาอาหารเพอ่ื จะสนองความตองการประเภทท่ี ๑ ทว่ี าสนองความตอ งการสิ่งเสพปรนเปรอตน อาจจะรอยบาท พนั บาทคาอาหารมือ้ เดยี วเปนหมื่นบาทยงั เคยไดยินเลย เพราะฉะนั้น ความตอ งการประเภทท่ี ๒ กับประเภทท่ี ๑บางทกี ข็ ดั กัน และขัดกันบอ ยๆ ดว ย ถามนุษยสนองความตองการประเภทสิ่งเสพปรนเปรอตนน้ีมาก ก็จะทําลายคุณภาพชีวติ ไปเรอ่ื ย ไมเฉพาะในการบริโภคอาหารเทาน้นั ในกจิ กรรมของมนุษยทกุ อยา ง แมแตก ารใชเทคโนโลยีก็เหมือนกัน จะตอ งแยกใหไดวาอันไหนเปน ความตอ งการคุณภาพชวี ิต อนั ไหนเปน ความตอ งการสง่ิเสพปรนเปรอตน และเอาสองดานน้ีมาพจิ ารณา หลักเร่ืองความตอ งการ ๒ อยา งนี้ นําตอไปสเู รอื่ งคณุ คาเพราะความตอ งการทาํ ใหเกดิ คณุ คา ในเมอ่ื ความตองการมี ๒ อยาง คณุ คากเ็ กดิ ขึน้ เปน ๒ อยางเชนเดียวกนั จะแยกเปน ๑. คุณคาแท คือคุณคา ท่สี นองความตอ งการคณุ ภาพชีวติ ๒. คุณคาเทียม คือคณุ คา เพ่ือสนองความอยากเสพสิ่งปรนเปรอตน ถา เราจะมจี ะใชอ ะไรสักอยางหนึง่ สิ่งนนั้ อาจจะมีคณุ คา ที่แทแ กเราสว นหน่งึ แตมกั จะมคี ุณคาเทยี ม ทเ่ี กดิ จากตณั หาและมานะ เพอ่ื ใหไ ดอ รอ ย เพอ่ื ใหไ ดโ กเ ก เพอื่ แสดงความมฐี านะ ตลอดจนคานยิ มทางสังคมอะไรตออะไรพรง่ั พรูเขา มา จนกลบคุณคา แทน ้ัน

พระพรหมคณุ าภรณ (ป. อ. ปยุตโฺ ต) ๓๓ ข. การบริโภค จะพูดตอไปถงึ เรอื่ งการบรโิ ภค ซึ่งก็เชนเดยี วกัน ตอ งแยกวาเปนการบรโิ ภคเพอ่ื สนองความตอ งการแบบไหน- บรโิ ภคเพอ่ื สนองความตองการคณุ คา แท หรอื- บริโภคเพือ่ เสพคุณคา เทยี ม การบรโิ ภคนเี้ ปนจุดยอดของเศรษฐศาสตรก ็วาได คือ กจิกรรมทางเศรษฐกิจของมนษุ ยนนั้ จุดยอดอยูทก่ี ารบรโิ ภค เราเขาใจความหมายของการบรโิ ภควา อยา งไร เศรษฐ-ศาสตรแบบยคุ อุตสาหกรรม กบั เศรษฐศาสตรแ บบพุทธ จะใหความหมายของการบริโภคไมเหมือนกัน การบริโภคเปนการบําบดั หรือสนองความตอ งการ อันน้ีแนนอน เราอาจจะพดู ในแง เศรษฐศาสตรแ บบยคุ อตุ สาหกรรม วา การบรโิ ภค คอื การใชส นิ คา และบริการบําบดั ความตองการเพอื่ ใหเกดิ ความพอใจ น่ีคือคําจํากัดความของเศรษฐศาสตรแบบยุคอุตสาหกรรมบาํ บดั ความตองการเพือ่ ใหไดรับความพงึ พอใจ แลว ก็จบ ทีนี้ขอใหม าดูอีกแบบหน่ึง คอื เศรษฐศาสตรแบบพุทธ บอกวา การบริโภค คอื การใชส ินคา และบรกิ ารบําบัดความตอ งการเพ่อื ใหไ ดรบั ความพอใจโดยเกิดคุณภาพชวี ิตขน้ึ หมายความวา การบรโิ ภคจะตอ งมจี ดุ หมาย คอื จะตอ งระบใุ หชดั ลงไปวา ไดผลหรือบรรลุจุดหมายอะไร จึงเกดิ ความพึงพอใจ ไมใ ชแคเกิดความพอใจขน้ึ มาลอยๆ บนจดุ หมายที่แอบแฝง เศรษฐศาสตรแบบยุคอตุ สาหกรรมบอกวา ตองการแลวก็

๓๔ เศรษฐศาสตรแ นวพทุ ธบรโิ ภค แลว เกดิ ความพึงพอใจ ก็จบ ไมต องคาํ นงึ วา ตองการแบบไหน และวาหลงั จากนั้นมันจะเปนอยา งไร ฉะน้นั จะบริโภคอะไรกไ็ ดใหเราพอใจกแ็ ลว กัน มนั จะเสียคณุ ภาพชีวิตหรือไมเ สยี ไมค าํ นงึ แตพ ทุ ธศาสนาบอกวา จะบําบัดความตอ งการเพือ่ ใหไดร บัความพงึ พอใจกถ็ กู ตอ ง แตไ ดรบั ความพงึ พอใจโดยมองเหน็ ผลตามมาท่ีจะเกิดคณุ ภาพชวี ติ ฉะนน้ั การบริโภคจึงตอ งมีความมุง หมายวาเพอ่ื ใหไ ดค ณุ ภาพชวี ิต นกี้ เ็ ปน แงหนง่ึ ทตี่ า งกัน ค. งาน และการทํางาน เมือ่ ตางกันในธรรมชาตขิ องเร่ืองเหลา น้ี คือ เร่อื งความตอ งการ เร่ืองคณุ ภาพของความตองการ เรอ่ื งคุณคา เรื่องการบรโิ ภคแลว มนั ก็ตา งกันแมกระทั่งในเรื่องธรรมชาติของงาน ความหมายของงานในแงข องเศรษฐศาสตร กับพทุ ธเศรษฐ-ศาสตรต างกนั อยางไร โดยสัมพันธก ับความตอ งการสองอยางนน้ั แบบท่ี ๑ ถาทํางานดวยความตอ งการคณุ ภาพชีวิต (รวมทงั้ตอ งการพฒั นาตนหรอื พฒั นาศกั ยภาพของมนุษย) ผลไดจ ากการทาํ งานตรงกบั ความตองการทันที เพราะฉะน้นั การทาํ งานจงึ เปน ความพึงพอใจ แบบท่ี ๒ ถา ทาํ งานดวยความตอ งการสง่ิ เสพปรนเปรอตนผลไดจากการทํางานไมใชผลท่ตี อ งการ แตเ ปน เงื่อนไขเพือ่ ใหไดผ ลอยางอืน่ ท่ีตอ งการ เพราะฉะนัน้ การทาํ งานจึงเปน ความจาํ ใจ ความหมายของงานเปน คนละอยา ง เมอ่ื กกี้ ารทํางานเปนความพอใจ แตเ ด๋ียวนี้การทาํ งานเปน ความจําใจ ทฤษฎีเศรษฐศาสตรต ะวนั ตกนน้ั มาจากฐานความคดิ ท่ถี ือวา work คอื การทํางาน เปน เร่อื งจาํ ใจ เราทาํ งานคอื work ดวย

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยตุ โฺ ต) ๓๕ความลําบากเหน็ดเหนือ่ ย เพอื่ ใหไ ดเงินมาซอ้ื หาสง่ิ เสพบริโภค เราจงึ ตอ งมีเวลาเหลอื ที่จะมี leisure หาความสุขสาํ ราญยามพกั ผอ นจากงาน แลวกไ็ ดรับความพึงพอใจ ฉะน้นั งานกบั ความพึงพอใจจงึเปนคนละเรอื่ งกนั อยตู างหาก เปนฝายตรงขา มกัน อยางไรกต็ าม แมวา เศรษฐศาสตรแบบยคุ อุตสาหกรรมจะมอง work เปน labor ทล่ี าํ บากหนกั เหนอ่ื ย ซงึ่ นาํ ไปสทู ัศนคตแิ บบจําใจจาํ ทําจําทน ทจี่ ะตองมี leisure มาสลับใหผ อ นคลาย แตว ัฒน-ธรรมตะวนั ตกอกี ดา นหนง่ึ กไ็ ดปลูกฝงนิสยั รักงานและความใฝรูใหแกฝ รั่งอยา งแนน ลึก ดังนัน้ ฝร่ังจํานวนมากจงึ มคี วามสขุ จากการศึกษาคนควาและทาํ งานอยางเอาจริงเอาจังอุทิศตัว และฝรง่ั พวกหลังนีแ้ หละ ที่เปนแกนแหงพลงั ขับเคล่อื นของอารยธรรมอยา งแทจรงิ * แตถาสังคมใดไมมีวัฒนธรรมที่ใฝรูและรักงานเปนฐานท่ีม่ันคง แลวไปรับเอาความคดิ แบบทาํ งานเพ่ือเปนเง่อื นไขใหไ ดผลตอบ* ขอใหด ตู วั อยา งทมี่ ผี เู ขยี นไวว า ไอนส ไตนม ี work เปน ชวี ติ ชวี าและความสขุ พรอ มอยใู นตวั \"Einstein is not . . . merely an artist in his moments of leisure and play, as a great statesman may play golf or a great soldier grow orchids. He retains the same attitude in the whole of his work. He traces science to its roots in emotion, which is exactly where art is also rooted.\" - Havelock Ellis (1859- 1939), British psychologist. The Dance of Life, ch. 3 (1923). ในทางตรงขาม ดชู ีวติ ในระบบอตุ สาหกรรม จากทศั นะของนกั คดิ ตะวนั ตกบางทา น \"Industrial man—a sentient reciprocating engine having a fluctuating output, coupled to an iron wheel revolving with uniform velocity. And then we wonder why this should be the golden age of revolution and mental derangement.\" - Aldous Huxley (1894–1963). Bruno Rontini’s notes, in Time Must Have a Stop, ch. 30 (1944). \"Work to survive, survive by consuming, survive to consume: the hellish cycle is complete.\" - Raoul Vaneigem (b. 1934), Belgian Situationist philosopher. The Revolution of Everyday Life, ch. 7, sct. 2 (1967; tr. 1983). [ท้ังหมดนี้ จาก The Columbia Dictionary of Quotations, 1993]

๓๖ เศรษฐศาสตรแ นวพทุ ธแทนมายึดถอื ปฏบิ ตั ิ กจ็ ะตองเกิดปญ หามผี ลเสยี แกก ารทํางาน แกเศรษฐกจิ แกช ีวติ และสงั คมทง้ั หมด ขอยกตัวอยางการทํางานท่ีมีลักษณะตา งกนั สองแบบนนั้ นาย ก. ทํางานวิจยั เรอื่ งหนึง่ สมมุติวา เรอื่ งการกําจดั แมลงดว ยวธิ ไี มใ ชส ารเคมี นาย ก. ทาํ งานวจิ ัยเรอ่ื งน้ีเพอ่ื ความรแู ละการใชประโยชนจากตวั ความรนู ้ีโดยตรง เขาตองการความรใู นเรอื่ งน้ีจริงๆ นาย ก. จะทํางานน้ีดวยความพอใจ เพราะวาความรูและการท่ีไดใ ชป ระโยชนจากงานวิจัยน้คี อื ตวั ผลทีต่ อ งการจากการทาํ งาน ฉะน้ัน ความกา วหนา ของงานวจิ ัย และการไดความรูเพ่ิมขนึ้จึงเปน ความพงึ พอใจทุกขณะ เม่อื เขาทํางานไป เขากไ็ ดรับความพงึพอใจ เม่ือความรูเ กดิ ข้ึน มคี วามเขา ใจชัดเจนย่ิงขนึ้ ความพึงพอใจก็ยิง่ เกดิ เพมิ่ ข้นึ เรอ่ื ยไป นาย ข. ทาํ งานวิจัยอยางเดยี วกนั คอื เรือ่ งกาํ จัดแมลงดวยวธิ ีไมใชส ารเคมี แตวิจัยเพือ่ เงนิ เพอื่ จะไดเลอ่ื นขน้ั ทีนี้ ผลไดจากงานคอื ความรแู ละประโยชนจ ากการวจิ ยั นัน้ ไมใ ชผลทีเ่ ขาตองการโดยตรง แตจะเปน เง่อื นไขใหเ ขาไดเงิน เปนเงือ่ นไขใหเขาไดผลตอบแทนอยางอ่นื ทเ่ี ขาตองการอีกทหี นึง่ ฉะนน้ั ตอนท่ีเขาทํางานนี้ เขาจะทํางานดว ยความจําใจ ไมเกดิ ความสุขจากการทาํ งาน เทาท่วี ามาในตอนน้ี เปน เรือ่ งธรรมชาตขิ องงาน ซง่ึ จะเห็นวา งานในแงข องพทุ ธศาสนาท่ที าํ เพ่ือสนองความตองการคุณภาพชวี ติ จะทําใหเกิดความพึงพอใจไดต ลอดเวลา คนสามารถทํางานดวยความสขุ เราจึงเรยี กการทํางานประเภทนี้วา ทาํ ดวยฉันทะ แตถ า ทาํ งานดว ยความตอ งการอีกประเภทหนงึ่ คือโดยตอ งการคา ตอบแทนหรอื สง่ิ เสพปรนเปรอตนกเ็ รยี กวา ทาํ งานดว ยตณั หา

พระพรหมคณุ าภรณ (ป. อ. ปยตุ ฺโต) ๓๗ ถาทาํ งานดวยตณั หา กต็ อ งการไดเสพบริโภคหรือผลตอบแทนตามเงื่อนไข แตเ มอ่ื ยังทาํ งานอยู ยังไมไดเสพผลนน้ั กย็ ังไมไดรับความพึงพอใจ จึงทํางานโดยไมมคี วามสุขตลอดเวลา ในเรอื่ งธรรมชาตขิ องความตอ งการ ธรรมชาตขิ องคณุ คา ตลอดมาจนถงึ เรือ่ งของงานน้ี พทุ ธศาสนายอมรับความจรงิ ทุกข้นั ตอน ความจริงท่ีวา คนทง้ั หลายโดยทั่วไปจะตองมตี ัณหาเปนธรรมดาน้ี กย็ อมรบั แตใ นเวลาเดยี วกนั ก็มองเหน็ วา มนษุ ยมคี วามตองการคุณภาพชีวิตอยดู ว ย ซง่ึ เปนความตอ งการทแ่ี ทของชวี ิตเองและในการตองการคณุ ภาพชีวิตนี้ เขากต็ อ งการท่จี ะฝก ฝนพัฒนาตนใหด ีย่งิ ขน้ึ ไปดวย เพราะฉะนนั้ ในการเปน อยขู องมนษุ ย แมวา มนุษยจ ะมีตัณหา แตทาํ อยา งไรเราจะหันเหความตอ งการนีใ้ หเ บนไปสูความตอ งการคุณภาพชวี ติ ใหมากท่สี ุดเทา ทจ่ี ะเปนไปได แลวใหการสนองความตอ งการคุณภาพชวี ิตนั้น เปนไปเพอื่ การพัฒนาตนตอไป ความหมายท่เี ปล่ียนไปนี้ จะมีผลโยงไปถึงเรือ่ งอ่นื ๆ ตอ ไปอกี แมแ ตค าํ จาํ กดั ความเกีย่ วกับ wealth หรือโภคทรัพย คาํ จํากดัความเก่ยี วกับสินคาและบริการ คําจาํ กดั ความเกี่ยวกบั เร่อื งการแขงขันและการรว มมือ เปน ตน เม่อื ฐานความคดิ ตา งกนั แลว มันกต็ างกนั ไปหมด ง. การแขงขัน-การรวมมอื ขอยกมาพูดอีกเร่อื งหน่งึ คอื การแขง ขัน และการรวมมือ ในแงข องเศรษฐศาสตร เขาบอกวา เปนธรรมชาตขิ องมนษุ ยทจ่ี ะมกี ารแขงขันกัน แตใ นทางพุทธศาสนาบอกวา มนุษยน้ันมธี รรมชาตทิ ง้ั แขง

๓๘ เศรษฐศาสตรแ นวพุทธขันและรว มมอื ย่ิงกวา นนั้ ยงั อาจจะแยกเปน วา มีความรว มมือแทและความรวมมอื เทียม ความรว มมอื เทียมเปน อยางไร? การแขง ขนั กนั เปน เร่อื งธรรมดา เม่อื เราแขง ขนั กันเพอ่ื สนองความตองการสง่ิ เสพปรนเปรอตน เราจะแขง ขนั กันเต็มท่ี เพราะตา งคนตางกอ็ ยากไดเขามาหาตัวใหม ากที่สดุ เพราะมันไมรูจกั พอ มันไมรอู ิ่ม มนั ไมเ ต็ม ฉะน้นั ถาเอาเขามาทีต่ วั เองไดมากทีส่ ดุ คนอนื่ ไมไดเ ลยก็เปนการดี จึงตองแขง ขนั เพ่ือใหตนไดมากท่สี ุด เปนเรอื่ งธรรมดา มนษุ ยม ธี รรมชาตแิ หง การแขง ขนั กันเพราะเปนไปตามธรรมชาติของความตอ งการในแงท ่ีหนงึ่ อยา งไรกต็ าม เราอาจจะเอาธรรมชาติของการแขงขันนน้ั มาใชเ ปน แรงจูงใจใหคนรว มมอื กัน เรยี กวาทําใหค นฝา ยหนึ่งรว มมอื กนัเต็มที่เพื่อจะแขงขนั กับอีกฝา ยหนงึ่ โดยอาศัยการแขงขันน้ันเองมาทําใหเ กิดการรว มมอื กันขึ้น เชน วา เราอาจจะยั่วยุ ชกั จงู ใหป ระชาชนมชี าตนิ ิยม รวมหัวกันแอนตส้ี ินคาจากตา งประเทศก็ได แตฐ านของมนั ก็คือการแขง ขันทง้ั สิ้น การนําเอาการแขงขันมายั่วยุทําใหเกิดการรวมมือกันในระดบั หนงึ่ อยางนี้ เรยี กวา ความรว มมอื เทยี ม อีกอยา งหนงึ่ คอื ความรวมมอื แท ความรว มมือแทกค็ ือ การรว มมือกันในความพยายามท่จี ะสนองความตองการคณุ ภาพชีวิต เมอื่ ตองการคุณภาพชวี ิตน้นั มนุษยสามารถรว มมอื กนั ไดเพ่ือชว ยกันแกปญหาของมนษุ ยเอง ฉะนัน้ ธรรมชาติของมนษุ ยนีจ้ ึงมีทางทจี่ ะฝกใหร ว มมอื กันได และการฝก ฝนพฒั นามนุษยอยางหน่ึงกค็ ือ การท่จี ะหนั เหใหม นษุ ยเปลีย่ นจากการแขง ขันกนั มารว มมือกนั

พระพรหมคณุ าภรณ (ป. อ. ปยุตโฺ ต) ๓๙ในการทจ่ี ะแกป ญ หาของมนุษย เปนอนั วา เพือ่ คุณคา แท มนษุ ยกส็ ามารถรว มมือกนั ได แตเพือ่ คณุ คาเทยี ม มนษุ ยจ ะแขง ขันกนั (รวมท้งั รว มมือเทียม) อยางสุดชีวิตจติ ใจ เพอ่ื ชว งชงิ ตาํ แหนงหรือลา ผลประโยชน นีก่ เ็ ปนเรอ่ื งราวตา งๆ ท่ีขอยกมาเพอ่ื เปนตัวอยางแสดงถึงความเขา ใจเก่ยี วกับธรรมชาติของมนุษย โดยเฉพาะก็คอื ธรรมชาติของความตอ งการ จ. สนั โดษ-คา นยิ มบริโภค จะขอแทรกเรื่องหนงึ่ เขา มา ซ่งึ ไมตรงกับประเดน็ ทก่ี าํ ลงั พดูโดยตรง แตส มั พนั ธกนั กลาวคอื เราเคยมีปญ หาเกย่ี วกบั เรื่องสนั โดษ กจ็ งึ อยากจะยกมาพดู ในท่นี ด้ี วย ความสนั โดษน้ี กเ็ กย่ี วกับเรอ่ื งคุณภาพชวี ิต เกี่ยวกบั เรือ่ งความตอ งการของมนุษย ท่แี ยกเปน ความตองการประเภทที่ ๑ และความตอ งการประเภทท่ี ๒ ตามธรรมดาท่เี ราเหน็ กนั งายๆ ก็คือ ถาคนใดสนั โดษ ความตองการของเขากน็ อยกวา คนไมสนั โดษ อนั น้ีเปน ธรรมดาแทๆ แตในกรณที ถ่ี กู ตอ ง ความสันโดษ ก็คอื ไมม คี วามตองการเทียม ไมเ ห็นแกค วามตอ งการประเภทเสพสิ่งปรนเปรอตน แตมีความตอ งการคณุ ภาพชีวติ การทเี่ ราเขาใจความหมายของสันโดษผดิ พลาด กเ็ พราะไมไดแ ยกเร่ืองความตอ งการ คนทมี่ ีความสนั โดษนน้ั ยงั ตอ งมคี วามตอ งการคุณภาพชีวิตดวย จึงจะเปน ความหมายท่ถี กู ตอ ง จุดท่ีพลาดกค็ อื เมอื่ ไมรูจักแยกประเภทความตองการ กเ็ ลย

๔๐ เศรษฐศาสตรแ นวพุทธพดู คลมุ ปฏเิ สธความตองการไปเลย คนสนั โดษกเ็ ลยกลายเปนคนท่ีไมตองการอะไร อนั นเ้ี ปนความผดิ พลาดขัน้ ทห่ี นงึ่ ที่จริงแลว ความตอ งการคณุ คาแท-คุณคา เทียม ยังนําไปสูอีกส่ิงหน่งึ ที่เรียกวาความขาดแคลนแท-ความขาดแคลนเทียม แตอนั นเี้ ดย๋ี วจะมากไป ขอผานไปกอน หันกลบั มาเรือ่ งความสนั โดษ เรามคี วามเชอ่ื กันวา คนไทยสันโดษ แตม ีงานวิจยั แสดงผลออกมาวา คนไทยมีคานิยมบรโิ ภคมาก เคยสงั เกตหรือไมว า สองอยา งนีม้ นั ไปกันไมไ ด มนั ขดั แยงกนัในตวั เราเคยจบั มาเขาคูเทยี บกันหรือเปลา มีความเชอื่ วาคนไทยน้สี นั โดษ แตพรอมกันน้ันก็มผี ลงานวิจัยออกมาวาคนไทยมีคา นิยมบรโิ ภคมาก ถา คนไทยสันโดษ คนไทยจะไมส ามารถมีคานิยมบริโภค ถาคนไทยมคี า นยิ มบรโิ ภค คนไทยจะไมส ามารถสันโดษ ฉะนนั้ จะตอ งผิดอยางใดอยางหนงึ่ แตท่เี ราพดู ไดอ ยา งหนึง่ ก็คือ มคี าํ ตเิ ตยี นวา คนไทยสันโดษทําใหไ มก ระตอื รือรน ไมข วนขวาย ไมดิ้นรน ทาํ ใหป ระเทศชาตไิ มพัฒนา อนั นข้ี อเรยี กวา เปน คาํ กลาวหา ทีนี้ก็มีคาํ พดู อีกดานหน่งึ วา คนไทยมคี า นยิ มบริโภค คนไทยไมช อบผลิต กข็ ัดขวางการพัฒนาเชน เดียวกนั ตกลงวา มองแงห นงึ่ คนไทยสนั โดษ กข็ ัดขวางการพัฒนาอกี แงห นง่ึ คนไทยมคี านิยมบรโิ ภค กข็ ัดขวางการพฒั นา แตที่แนๆ กค็ อื การเราความตองการใหช อบบริโภคมาก (ท่ีใด) ไมจ ําเปน ตองทําใหเกดิ การผลติ มาก (ที่นน่ั ) ฉะนั้น การทม่ี ีความเช่ือกันในชวงหนึ่งวา จะตองเรา ความตอ งการใหค นอยากบรโิ ภคใหม าก จึงจะทาํ ใหคนพัฒนาประเทศ


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook