เราจะสบื สาน รกั ษา และตอ่ ยอด และครองแผ่นดินโดยธรรม เพอ่ื ประโยชน์สขุ แหง่ อาณาราษฎรตลอดไป พระปฐมบรมราชโองการ พระบาทสมเดจ็ พระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชริ าลงกรณ พระวชิรเกลา้ เจา้ อยหู่ วั
พระมหากษตั รยิ ไ์ ทย พระมหากษตั รยิ ไ์ ทยทรงเปน็ จอมทพั ไทยมาทกุ ยคุ ทกุ สมยั สืบทอดกันมาต้ังแต่บรรพบุรุษที่ได้รวบรวมเผ่าไทย ตั้งขึ้นเป็น ราชอาณาจกั รไทย ณ ผนื แผ่นดินไทยแหง่ นี้ คำ� ว่า “พระมหากษตั รยิ ”์ หมายถึง นักรบผยู้ ่งิ ใหญ่ หรอื จอมทัพ เพราะในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ ชาติท่ีเข้มแข็ง เทา่ นน้ั จงึ จะดำ� รงคงความเปน็ ชาตอิ ยไู่ ด้ ชาตทิ อ่ี อ่ นแอ กจ็ ะตกไป เปน็ ผทู้ อ่ี ยใู่ นครอบครองของชาตอิ น่ื ความเขม้ แขง็ ทสี่ ำ� คญั ยงิ่ คอื ความเขม้ แขง็ ทางการทหาร ความเขม้ แข็งในดา้ นอน่ื ๆ เปน็ ส่วน ประกอบ ซึง่ กจ็ ะขาดเสียมิได้ เนือ่ งจากการศกึ มิไดท้ ำ� อย่ตู ลอดไป ระยะเวลาว่างศึกมีอยู่มากกว่า ในห้วงเวลาดังกล่าว ก็จะมีการ สร้างเสริมความแข็งแกร่งในด้านต่าง ๆ เพ่ือความเจริญรุ่งเรือง ของประเทศ และความอยดู่ กี นิ ดขี องอาณาประชาราษฎร์ ชาตไิ ทย เปน็ ชาติท่ีมีอารยธรรมสงู มาแต่โบราณกาล ดังนัน้ องค์ประกอบ อนั เปน็ แบบฉบบั แสดงถงึ ความเปน็ จอมทพั ไทยจงึ มอี ยา่ งครบถว้ น สมบูรณ์ มีสัญลักษณ์ท่ีเป็นเอกลักษณ์ของไทย มีความสง่างาม สมพระเกียรตยิ ศแห่งจอมทัพไทย
คู่มอื นกั ศกึ ษาวิชาทหารชาย ชั้นปี ท่ี 5 (เหลา่ ทหารช่าง)
คำ� น�ำ การฝกึ นกั ศกึ ษาวชิ าทหาร มวี ตั ถปุ ระสงคท์ างดา้ นยทุ ธการ คอื การผลติ กำ� ลงั พล ส�ำรองระดับผู้บังคับบัญชาให้กับกองทัพ เพื่อเป็นการเตรียมกำ� ลังพลส�ำรองท่ีเข้มแข็ง ไวใ้ หพ้ รอ้ มสำ� หรบั การปอ้ งกนั ประเทศ วตั ถปุ ระสงคท์ างดา้ นยทุ ธศาสตร์ คอื การปลกู ฝงั เยาวชนให้เป็นผู้มีระเบียบวินัย มีอุดมการณ์ความรักชาติ ปกป้องและเทิดทูนสถาบัน พระมหากษัตริย์ มีจิตอาสา เป็นพลเมืองคุณภาพของประเทศ โดยใช้หลักสูตรการฝึก วิชาทหาร สำ� หรบั นกั ศึกษาวิชาทหาร ชัน้ ปีที่ 1 - 5 ของกระทรวงกลาโหม หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน ได้จัดท�ำ “คู่มือนักศึกษาวิชาทหาร” ประจ�ำ ปีการศึกษา 2563 เพื่อให้นักศึกษาวิชาทหารได้ค้นคว้าหาความรู้ และท�ำความเข้าใจ เน้ือหาวิชาต่าง ๆ ท่ีก�ำหนดไว้ตามหลักสูตร (ภาคปกติ) 80 ช่ัวโมง โดยประกอบด้วย วิชาทหารที่ส�ำคัญ ท่ีนักศึกษาวิชาทหารแต่ละช้ันปีควรรู้และน�ำไปปฏิบัติได้ เพื่อ ตอบสนองวัตถปุ ระสงคด์ ้านยุทธการ และวชิ าทัว่ ไป มงุ่ เนน้ การตอบสนองวตั ถปุ ระสงค์ ดา้ นยุทธศาสตร์ดว้ ยการปลูกฝังและเสริมสร้างใหน้ กั ศกึ ษาหาความรู้ ก่อน หรอื ภายหลัง จากการรับการฝึก - สอน หวังว่า คู่มือนักศึกษาวิชาทหารเล่มน้ี จะเป็นแหล่งข้อมูล ด้านวิชาการ ในการศึกษาค้นคว้าเพ่ือให้มีความพร้อมส�ำหรับการเป็นก�ำลังพลส�ำรอง ระดับผ้บู งั คบั บัญชา และการเปน็ พลเมอื งคุณภาพของประเทศในอนาคต สบื ไป พลโท (ปราการ ปทะวานชิ ) ผู้บัญชาการหน่วยบญั ชาการรักษาดินแดน
หลกั สตู รประกอบเวลา และคะแนนสอบประจำ� วชิ า นศท. ช้ันปที ่ี 5 ชาย (เหล่าทหารชา่ ง) คะแนน ล�ำ ดับ เรอื่ ง ช่ัวโมง ประ ำจ� ิวชา ่รวมกิจกรรม งานมอบ 1. ภาคปกติ 80 1.1 การฝึกการใชก้ ระบสี่ ำ�หรับนายทหาร (8) 1.2 วชิ าแบบธรรมเนยี มทหาร (4) 10 1.3 วิชาการก�ำ ลงั สำ�รอง (4) 10 1.4 วชิ าผูน้ �ำ (8) 20 1.5 วิชาฝ่ายอ�ำ นวยการ (4) 10 1.6 วชิ าอาวธุ (4) 10 1.7 วิชาเหลา่ ทหารช่าง (24) 50 1.8 วิชาศาสตร์พระราชา (8) 20 1.9 วิชาปอ้ งกนั และบรรเทาสาธารณภัย (4) 10 1.10 วิชาพลเมอื งดีวิถปี ระชาธิปไตย (4) 10 2. ภาคสนาม 54 2.1 การฝึกภาคสนาม 7 วนั (4) 30 2.2 ฝึกความช�ำ นาญเฉพาะต�ำ แหนง่ (4) 50 2.3 ฝกึ ยิงปนื ในป่า (4) 50 2.4 ฝึกยงิ ปืนในเวลากลางคืน (4) 30 2.5 ฝึกปรับการยิง ป. และ ค. (10) 60 2.6 ฝกึ การปฏิบัตทิ างยทุ ธวิธีของ มว.ปล. (4) 30 2.7 ฝึกตรวจสภาพความพร้อมรบ (20) 150 2.8 ฝกึ ปญั หาต่อเนือ่ งทางยทุ ธวธิ ี (2) - 2.9 ปลกู ฝังอดุ มการณ์ความรักชาติ (2) - 2.10 สร้างการรับรู้
หลักสตู รประกอบเวลา และคะแนนสอบประจำ� วชิ า นศท. ชั้นปที ่ี 5 ชาย (เหลา่ ทหารชา่ ง) คะแนน ล�ำ ดับ เร่ือง ช่วั โมง ประ ำจ� ิวชา ่รวมกิจกรรม งานมอบ 3. เบ็ดเตลด็ 12 3.1 การปฐมนิเทศ 3.2 การสอบภาคปฏิบตั ิ (4) - 3.3 การสอบภาคทฤษฎี (4) 100 รวม (4) 200 150 850 50 100 1,000
สารบัญ หนา้ วิชาหลกั ปฏิบตั กิ ารรบของทหารชา่ ง 1-7 บทท่ี 1 การระวงั ปอ้ งกันหนว่ ย 8-18 บทท ่ี 2 ทหารช่างในการยทุ ธดว้ ยวิธีรกุ 19-30 บทท่ี 3 ทหารชา่ งในการยทุ ธดว้ ยวธิ ีรบั 31-36 บทท่ี 4 ทหารช่างในการยุทธด้วยวิธรี น่ ถอย 37-51 บทท่ี 5 ทหารช่างท�ำการรบอย่างทหารราบ 52-60 บทท่ี 6 การยทุ ธข้ามล�ำนำ�้ 61-71 วิชาสงครามทนุ่ ระเบิด 72-110 บทที่ 7 คุณลกั ษณะและการทำ� งานของทนุ่ ระเบดิ 111-122 บทท ี่ 8 หลักนยิ มของสงครามท่นุ ระเบดิ 123-136 บทที ่ 9 การตรวจค้นและร้ือถอน บทที่ 10 การผ่านสนามท่นุ ระเบดิ ภาคผนวก
บทที่ เหล่าทหารช่าง 1 การระวงั ปอ้ งกนั หนว่ ย 1. กลา่ วโดยท่วั ไป (ขอ้ พจิ ารณามูลฐาน) การด�ำรงความอยู่รอดเบ้ืองต้นของหน่วยทหารทุก ๆ หมู่เหล่าจะคงอยู่ได้ จ�ำเป็นต้องมีการระวังป้องกันให้กับหน่วยของตนเอง ดังนั้นผู้บังคับกองพันทหารช่าง ของกองพล รับผิดชอบในการระวังป้องกันกองพันของตน และหน่วยขึ้นสมทบ แต่ใน การพิจารณามาตรการในการระวังป้องกันกองพันของตน ผู้บังคับกองพันน�ำมาตรการ ระวงั ป้องกนั ของกองพลมาพิจารณาประกอบด้วย 1.1 ค�ำจ�ำกัดความ การระวังป้องกัน หมายถึง มาตรการท้ังปวงที่หน่วย จัดท�ำข้ึนเพ่ือป้องกันตนเองจากการจารกรรม การตรวจการณ์ การก่อวินาศกรรม การก่อกวน หรอื การจู่โจม มาตรการท่กี ระทำ� อาจเป็นในเชงิ รุกหรอื เชงิ รับ เชิงรกุ หมายถึง การยิง และการใช้หน่วยทหาร การระวังป้องกันในเชิงรับ หมายถึง การตรวจการณ์ การปกปิดกำ� บัง การกระจายกำ� ลัง และการใช้เคร่ืองกีดขวาง ผู้บังคับกองพันทหารช่าง ของกองพลใช้ทงั้ สองอย่างผสมกัน 1.2 การจัดเตรียม หน่วยระวังป้องกัน ต้องมีในทุกสถานการณ์ ภารกิจ ของหน่วยระวังป้องกัน ได้แก่ การป้องกันก�ำลังส่วนใหญ่จากการจู่โจม จ�ำกัดการ ตรวจการณ์ของข้าศึกท้ังทางพื้นดินและทางอากาศ และให้ผู้บังคับหน่วยมีอิสระในการ ปฏิบัติการ โดยมีเวลาที่ต้องใช้ในการวางก�ำลังคนและเครื่องมือ เนื่องจากหน่วยระวัง ป้องกันท�ำให้ก�ำลังของกองร้อยลดลง จึงมักจะให้หน่วยระวังป้องกันมีก�ำลังน้อยที่สุด เท่าที่จ�ำเป็นในการปฏิบัติภารกิจ หน่วยระวังป้องกันควรมีความคล่องแคล่วและมีระบบ
2 เหลา่ ทหารชา่ ง การระวังป้องกันภัยท่ีได้ผล รวมทั้งผู้ตรวจการณ์ และเครื่องมือส่ือสารที่จะแจ้งการคุกคาม ของข้าศึก ทง้ั ทางพืน้ ดนิ และทางอากาศได้โดยทนั ที 2. การระวงั ปัองกันขณะเคลอ่ื นที่ 2.1 กล่าวท่วั ไป 2.1.1 ในการเคลอื่ นทใ่ี นเขตหนา้ ของหนว่ ยทหารชา่ งทกุ หนว่ ย จะตอ้ งจดั การ ระวังป้องกันเทคนิคในการระวังป้องกันซึ่งผู้บังคับหน่วยทหารช่างใช้ในระหว่างการเคลื่อนท ่ี ของหน่วยของตน แล้วแต่ภารกิจของหน่วย การระวังป้องกันที่หน่วยอื่นจัดให้ลักษณะ ภูมิประเทศ ทัศนวิสัย และการปฏิบัติของข้าศึกท่ีคาดการณ์ไว้ การพิจารณาในทางยุทธวิธี เป็นเคร่ืองบังคับการปฏิบตั ิการเดนิ มากกว่าการพจิ ารณาทางธุรการ 2.1.2 หน่วยทหารช่างที่เคลื่อนท่ีในภารกิจอิสระ ต้องจัดการระวังป้องกัน ตนเอง การระวังป้องกันนี้จะต้องท�ำส�ำหรับทางด้านหน้า (กองระวังหน้า) ทางด้านหลัง (กองระวังหลัง) ทางด้านข้าง (กองกระหนาบ) ในระหว่างการหยุดพัก (ระบบรักษาด่าน) และการระวังป้องกันการโจมตีทางอากาศ หน่วยระวังป้องกันจะต้องมีความคล่องแคล่ว ในการเคล่อื นท่เี หนอื กว่าส่วนใหญ่ 2.1.3 เมอื่ มโี อกาสปะทะกบั ขา้ ศกึ เชน่ ในสถานการณท์ เ่ี ปลย่ี นแปลงเรว็ หรอื มีกองโจรปฏิบัติการในบริเวณนั้น ผู้บังคับหน่วยจัดการระวังป้องกันรอบตัวและจัดทำ� แผนไว ้ รับการเข้าตี อาวุธและกระสุนอยู่ในมือของพลประจ�ำปืนกล และกระจายเคร่ืองยิงจรวด ตลอดขบวนเดิน 2.1.4 กองพันทหารช่างต้องได้รับการฝึกเป็นอย่างดีในการป้องกันภัย ทางอากาศ ระยะระหว่างรถมากกว่าในพ้ืนท่ีข้างหลัง แผ่นผ้าสัญญาณเตรียมไว้ในลักษณะ พร้อมทจ่ี ะใช้เพ่ือหลีกเลีย่ งการโจมตจี ากเครื่องบินฝ่ายเดียวกัน 2.1.5 ความส�ำคัญของการลาดตระเวนเส้นทาง การจัดผู้น�ำทางและ เคร่อื งหมายบอกทางเพือ่ เพมิ่ ความสำ� คัญของการเดินทางกลางคนื 2.2 การระวังป้องกันจากทางดา้ นหน้า (กองระวังหน้า) 2.2.1 กองระวังหน้าให้การระวังป้องกันทางด้านหน้า ส�ำหรับกองพัน กองระวังหน้าควรมีกำ� ลังไม่เกินหน่ึงกองร้อย ส�ำหรับกองร้อยไม่เกินหน่ึงหมวด และส�ำหรับ หมวดใช้หมู่ตรวจยานยนต์หนงึ่ หรือสองคัน
2.2.2 ภารกิจของกองระวังหน้า คือ การป้องกันการล่าช้าของส่วนใหญ ่ เหล่าทหารช่าง 3 โดยไม่จำ� เป็น ป้องกนั ส่วนใหญ่จากการถกู จู่โจม และจ�ำกดั การตรวจการณ์ทางด้านหน้าของ ข้าศึกกองระวังหน้าปฏิบัติภารกิจโดยการตรวจค้นภูมิประเทศทางด้านหน้า และทั้งสองข้าง แนวทางการเดิน เม่ือปะทะกับข้าศึกกองระวังหน้าจะทำ� การเข้าตีอย่างรุนแรง เพื่อขจัดการ ต้านทานภายในขีดความสามารถของตน ถ้าข้าศึกมีก�ำลังมากเกินกว่าที่กองระวังหน้า จะท�ำการเข้าตี กองระวังหน้าจะกำ� บังการวางกำ� ลงั ของส่วนใหญ่โดยท�ำการกดดันข้าศึกไว้ 2.2.3 กองร้อยที่ท�ำหน้าที่กองระวังหน้าของกองพันจะส่งก�ำลังหนึ่งหมู ่ ไปข้างหน้า ท�ำหน้าที่เป็นส่วนลาดตระเวน ก�ำลังส่วนใหญ่ของกองร้อยเป็นกองระวังหน้า หย่อนกำ� ลงั 2.2.4 ในหนว่ ยขนาดเลก็ เชน่ กองรอ้ ยและหมวด กองระวงั หนา้ จะประกอบดว้ ย ส่วนลาดตระเวนและส่วนล่วงหน้า 2.2.4.1 ส่วนลาดตระเวนเป็นส่วนน�ำในการเดิน มีหน้าที่ป้องกัน ขบวนเดนิ จากการจโู่ จม เมอื่ สว่ นลาดตระเวนพบกบั ขา้ ศกึ จะใชก้ ารยงิ อยา่ งรนุ แรง และดำ� เนนิ กลยทุ ธ์ต่อข้าศกึ ส่วนลาดตระเวนจะเกาะข้าศกึ ไว้จนกว่าส่วนล่วงหน้ามีเวลาในการวางกำ� ลงั 2.2.4.2 ส่วนล่วงหน้าให้การสนับสนุนแก่ส่วนลาดตระเวน ในกรณีท่ี สว่ นลาดตระเวนไมอ่ าจขบั ไลข่ า้ ศกึ สว่ นลว่ งหนา้ ดำ� เนนิ การตอ่ ขา้ ศกึ อยา่ งรนุ แรง และพยายาม เอาชนะก�ำลังข้าศึกเพ่ือให้การเคลื่อนท่ีของส่วนใหญ่ไม่ล่าช้าหรือต้องหยุดชะงักลง ถ้าส่วน ล่วงหน้าไม่อาจขับไล่ข้าศึกได้ ส่วนล่วงหน้าจะเกาะข้าศึกจนกระทั่งกองระวังหน้า เข้าทำ� การรบได้ 2.2.4.3 กองระวังหน้าหย่อนก�ำลังด�ำรงการติดต่อกับส่วนล่วงหน้า และควรเตรียมพร้อมที่จะช่วยเหลือส่วนล่วงหน้าในการเคล่ือนท่ีเข้าปะทะกับก�ำลังข้าศึก ถ้ากองระวังหน้าหย่อนก�ำลังไม่สามารถจะลดการต้านทานของข้าศึก กองระวังหน้าจะหยุด ข้าศึกไว้โดยการยงิ และการดำ� เนนิ กลยุทธ์จนกระทง่ั ส่วนใหญ่มาถงึ 2.2.4.4 ระยะระหว่างส่วนลาดตระเวนและส่วนล่วงหน้า ระหว่างส่วน ล่วงหน้ากับกองระวังหน้าหย่อนก�ำลังและส่วนใหญ่แตกต่างกันตามความเร็วในการเคลื่อนท่ี ลักษณะภมู ปิ ระเทศ ทัศนวสิ ัย และสถานการณ์ข้าศกึ ระยะห่างมกั จะลดลงเมื่อใกล้จะปะทะ กบั ขา้ ศกึ และมที ศั นวสิ ยั เลว ระยะหา่ งเหลา่ นห้ี า่ งพอทจี่ ะใหส้ ว่ นทตี่ ามมาวางกำ� ลงั โดยไมไ่ ดร้ บั การขดั ขวางอย่างรุนแรงจากข้าศกึ ทก่ี �ำลังปะทะอยู่ แต่ระยะนจ้ี ะต้องไม่ห่างกนั มากเกินกว่าที่
4 เหลา่ ทหารชา่ ง จะปอ้ งกนั มใิ หแ้ ตล่ ะสว่ นชว่ ยเหลอื หนว่ ยทม่ี อี ยขู่ า้ งหนา้ ในการเคลอ่ื นทเี่ รว็ ระยะตอ่ จะเพม่ิ ขน้ึ ในการเคลือ่ นทีช่ ้าระยะต่อจะลดลง ระยะห่างระหว่างรถจะอยู่ในระหว่าง 50 ถงึ 200 เมตร เพอื่ ป้องกันการโจมตีทางอากาศและต้องรักษาความเร็วให้คงท่ี 2.3 การระวงั ป้องกันทางด้านหลัง (กองระวงั หลัง) 2.3.1 กองระวงั หลงั ทใี่ ช้เพอ่ื ป้องกนั ทางด้านหลงั ของขบวนทเี่ คลอื่ นทเี่ ข้าหา ข้าศึก หรือเคล่ือนท่ีออกห่างจากข้าศึก ถ้าการเข้าตี หรือการรบกวนจากทางด้านหลังอยู่ใน ขดี ความสามารถของข้าศกึ หรอื เพอ่ื ป้องกนั ข้างหลงั ของขบวนการเคลอ่ื นทอ่ี อกห่างจากข้าศกึ 2.3.2 กองร้อยควรจะใช้รูปขบวนท�ำนองเดียวกับกองระวังหน้า แต่ล�ำดับ ขนั้ ในการเดนิ สลบั กนั ระยะระหวา่ งสว่ นตา่ ง ๆ ของกองระวงั หลงั แตกตา่ งกนั ตามสถานการณ ์ ลักษณะภูมิประเทศและทัศนวิสัย ระยะต่อสอดคล้องกันโดยทั่วไปกับส่วนต่าง ๆ ของ กองระวงั หลัง เมือ่ ขบวนหยดุ กองระวังหลงั จะลงจากรถและท�ำหน้าทร่ี ะบบรกั ษาด่าน 2.3.3 เม่ือข้าศึกท�ำการติดตามในระยะใกล้ กองระวังหลังท�ำการรั้งหน่วง ข้าศกึ เพอื่ ให้กำ� ลังส่วนใหญ่จัดวางก�ำลงั ได้อย่างเหมาะสม ตามปกตสิ ่วนต่าง ๆ ไม่เคลอ่ื นที่ เข้าหาข้าศึกเพื่อเสริมก�ำลังหน่วยรอง ก�ำลังส่วนใหญ่ท�ำการยึดท่ีมั่นรั้งหน่วง เพื่อคุ้มครอง การถอนตัวของส่วนที่เล็กกว่า ต่อจากนั้นส่วนท่ีปะทะกับข้าศึกจะท�ำการถอนตัวภายใต ้ การยิงคุ้มครองของก�ำลังส่วนใหญ่ท่ียึดท่ีม่ันรั้งหน่วง ก�ำลังส่วนใหญ่เป็นผู้ประสานความเร็ว ในการเคลอื่ นที่ 2.3.4 ส่วนลาดตระเวนหลังหยุด เพ่ือท�ำการยิงเฉพาะเม่ือการปฏิบัติการ ของข้าศึกขัดขวางการเคลื่อนที่ ส่วนลาดตระเวนหลังจะไม่ได้รับการเสริมกำ� ลังจากหน่วยอ่ืน เม่ือส่วนลาดตระเวนหลงั ถอนตวั จะใช้เส้นทางทไ่ี ม่บังการยิงของกองระวงั หลัง 2.4 การระวังป้องกันทางด้านข้าง (ทางปีก) ในภูมิประเทศโล่งแจ้งความเร็ว ในการเคลือ่ นทีแ่ ละการตรวจการณ์โดยสมำ่� เสมอ จะให้การระวังป้องกันต่าง ๆ ทางปีกอย่าง เพยี งพอ แต่การทำ� เช่นนมี้ ักจะไม่เพยี งพอในภูมิประเทศที่เป็นป่าทึบ ลกู คลนื่ ภูเขา หรอื เมื่อ มีอันตรายจากการปฏิบัติการของกองโจร การจัดหมู่ตรวจโดยต่อเนื่อง ท�ำได้เฉพาะเม่ือ มีเส้นทางขนาน (หน่วยขนาดกองร้อยไม่ประสงค์) แต่อาจจะใช้หมู่ตรวจป้องกันปีกขนาดเล็ก ส่งออกไปตามทางแยก ในที่เด่นและในต�ำบลตรวจการณ์กองกระหนาบมักจะไม่ใหญ่พอ ท่ีจะรั้งหน่วงข้าศึกอย่างได้ผล ภารกิจของหน่วยน้ีก็เพ่ือแจ้งการปฏิบัติการของข้าศึกแต่เนิ่น ดงั นัน้ จึงต้องมเี ครื่องมอื สอ่ื สารอย่างเพียงพอ
2.5 หมู่ตรวจระวังป้องกันใช้ยานยนต์ จัดไว้ส�ำหรับการลาดตระเวนและ เหล่าทหารช่าง 5 การระวังป้องกันทุกรูปแบบโดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นส่วนลาดตระเวนของกองระวังหน้า หรือกองระวังหลัง หมู่ตรวจยานยนต์มีขีดจำ� กัดในการปฏิบัติโดยที่ต้องเคล่ือนท่ีไปตามถนน ซง่ึ อาจถกู ลอบโจมตี ถูกจับหรอื ถกู ทำ� ลายได้ง่าย ดังนน้ั ต้องมรี ถ 2 คัน กับรถอ่นื ๆ ท่ีใช้ใน การนำ� สาร กองร้อยทหารช่างทำ� การเคลอ่ื นท่ีตามลำ� พัง มียานพาหนะ อาวธุ และก�ำลังพล ทีจ่ ะใช้รถมากกว่าหน่ึงคนั เป็นหมู่ตรวจระวงั ป้องกันข้างหน้าหรอื ข้างหลงั 3. การระวงั ปอ้ งกันในเวลาหยดุ และในท่พี ักแรม เมอื่ หนว่ ยทหารชา่ งหนว่ ยหนงึ่ หยดุ ชว่ั คราวระหวา่ งการเดนิ หรอื อยใู่ นพนื้ ทพ่ี กั แรม หน่วยจะจัดการระวังป้องกันตนเอง โดยจัดระบบรักษาด่านเพื่อป้องกันส่วนใหญ่จากการ ตรวจการณ์ระยะใกล้และการจู่โจมจากข้าศึก ระบบรักษาด่านจัดข้ึนและกระจายกันออกไป เพ่ือให้จัดการกับข้าศึกก�ำลังน้อยได้ โดยไม่ต้องรบกวนส่วนใหญ่หรือบังคับให้ส่วนใหญ่ต้อง เข้าปฏิบัติการ ถ้าข้าศึกมีก�ำลังมากอย่างน้อยท่ีสุดก็ต้องตรึงข้าศึกไว้จนกระทั่งส่วนใหญ่ สามารถเตรียมเข้าปฏิบัติการองค์ประกอบของระบบรักษาด่านแตกต่างกันตามสถานการณ์ ระบบรักษาด่าน ประกอบด้วย กองรักษาด่าน ยามคอยเหตุ และหมู่ตรวจ กองรักษาด่าน ควรจะวางให้สามารถตรวจการณ์ได้เหล่ือมทับกัน และมีการยิงสนับสนุนซึ่งกันและกัน ยามคอยเหตุ อาจต้องวางในเวลากลางคืน หรือในระหว่างเวลาที่ทัศนวิสัยไม่ดีเพ่ือป้องกัน การจโู่ จมและใหค้ ลมุ พนื้ ทโี่ ดยสมบรู ณ์ ยามคอยเหตคุ วรจะวางขา้ งหนา้ และระหวา่ งกองรกั ษา ดา่ นภายในระยะยงิ สนบั สนนุ ดว้ ยปนื เลก็ ของกองรกั ษาดา่ น เมอ่ื การตรวจการณจ์ ำ� กดั หรอื เมอื่ กองรักษาด่านต้งั อยู่ห่างกันมาก อาจจะใช้หมู่ตรวจระหว่างกองรักษาด่าน และยามคอยเหต ุ จดั การตดิ ตอ่ สอ่ื สารระหวา่ งสว่ นตา่ ง ๆ ของระบบรกั ษาดา่ น และสว่ นใหญถ่ า้ ขา้ ศกึ เจาะสว่ นหนง่ึ ส่วนใดของระบบรกั ษาด่านส่วนใหญ่จะด�ำเนนิ มาตรการเพอื่ ป้องกันตน มาตรการทีจ่ ัดทำ� ขึ้น ต้องมีก�ำลังพลซ่ึงประกอบกันเป็นกองหนุนหรือก�ำลังสนับสนุน ซึ่งจะต่อต้านการเจาะแนว ของข้าศึก ถ้าท�ำได้ผู้บังคับหน่วยทหารช่างควรหยุดหรือพักแรมในพื้นที่ซึ่งมีพลเมืองน้อย หรือไม่มีเลย ถ้าท�ำดังนี้ไม่ได้ก�ำลังพลทุกคนจะต้องเตือนให้พลเรือน รวมท้ังเด็กออกไปจาก พน้ื ท่ีหรือไม่ยอมให้เข้าไปในพนื้ ท่ีจนกระทง่ั ได้รบั การตรวจสอบแล้ว
6 เหลา่ ทหารชา่ ง 4. การดำ�เนินการขบวนโดยไม่มกี ารคมุ้ ครอง เมื่อกองพันทหารช่างของกองพลเคล่ือนท่ีผ่านพื้นที่อันตรายโดยไม่มีหน่วยระวัง ป้องกันคุ้มครองกองพันจะจัดการป้องกันขบวนของตนเอง วางก�ำลังส่วนหน่ึงข้างหน้าหน่วย ล�ำเลียงและมีส่วนแยกก�ำลังมากเคล่ือนที่บนรถตามหลังส่วนใหญ่ถ้าท�ำได้จัดการติดต่อ ทางวิทยุระหว่างสองพวกน้ี ความเร็วเป็นส่ิงจำ� เป็นต้องใช้พวกลาดตระเวนเดินเท้าตรวจตาม โค้งแคบ ลาดชัน หรือในพ้ืนท่ีอื่นท่ีท�ำให้การเคล่ือนที่ต้องช้าลง เมื่อมีเคร่ืองช้ีบอกว่าจะ มกี ารซุ่มโจมตีขณะท่ขี บวนกำ� ลังเคลอ่ื นที่ รถน�ำจะเพิม่ ความเรว็ ถ้าถนนว่างใช้ความเรว็ สูงสดุ เทา่ ทจ่ี ะขบั ขไี่ ดโ้ ดยปลอดภยั ในการพยายามผา่ นพนื้ ทซ่ี มุ่ โจมตี พลขบั หรอื ผชู้ ว่ ยพลขบั รถคนั ท่ี ชำ� รดุ เนอ่ื งจากการยงิ ของขา้ ศกึ หรอื ทนุ่ ระเบดิ พยายามนำ� รถออกนอกถนน เพอื่ ไมใ่ หป้ ดิ ทางรถ ขา้ งหลงั ทหารในรถทห่ี ยดุ ในพน้ื ทซ่ี มุ่ โจมตตี อ้ งลงจากรถและทำ� การยงิ โตต้ อบโดยอาวธุ ทกุ ชนดิ ทหารในรถที่ผ่านพื้นที่ซุ่มโจมตีไปได้ลงจากรถและเข้าตีกลับทางปีกของที่ซุ่มโจมตี เมื่อได้ ทราบว่าส่วนใหญ่ถูกซุ่มโจมตี กองระวังหลังของขบวนลงจากรถท�ำการเข้าตีไปข้างหน้าต่อ อกี ปกี หนง่ึ ของทซ่ี มุ่ โจมตี ถา้ ขา้ ศกึ ยอมใหข้ บวนสว่ นใหญผ่ า่ นและทำ� การซมุ่ โจมตกี องระวงั หลงั หน่วยหน้าในส่วนใหญ่กลบั มาและช่วยกองระวงั หลัง โดยทำ� การเข้าตปี ีกของที่ซุ่มโจมตี 5. การระวังปอ้ งกนั ณ แหลง่ งาน 5.1 ปริมาณการระวังป้องกันซ่ึงผู้บังคับหน่วยทหารช่างจะจัดขึ้น ณ แหล่งงาน ย่อมแล้วแต่ภารกิจทางการช่าง การปฏิบัติการของกองโจรในพ้ืนที่ และความห่างไกลจาก ข้าศึกในงานขนาดใหญ่ เช่น กองพันทหารช่างท�ำการสร้างถนนน้ัน กองพลมักจะจัดหน่วย ระวังป้องกันให้ในงานขนาดเล็ก เช่น กองร้อยหรือหมวดท�ำการสร้างสะพาน เมื่อหน่วย รบั การสนับสนุนไม่ได้จดั หน่วยระวังป้องกนั ให้ผู้บงั คับหน่วยท่ีท�ำการสร้างน้นั จะจดั การระวงั ป้องกนั โดยใช้คนภายในหน่วย 5.2 ในพ้ืนทขี่ ้างหน้าของเขตหน้า ซงึ่ มีการปฏบิ ัตกิ ารของข้าศกึ พวกงานจะต้อง จัดการระวังป้องกัน ได้แก่ พวกลาดตระเวนเดินเท้า หน่วยจู่โจมยานยนต์หรือยานเกราะ และการโจมตีทางอากาศอาจเกิดข้ึนได้ตลอดเวลา 5.3 การปฏิบัติการทางพื้นดินของข้าศึก อาจป้องกันได้ด้วยการตรวจการณ ์ โดยรอบคอบ และใช้หน่วยระวังป้องกันเลก็ ๆ ตามเส้นทางที่ข้าศึกอาจใช้ อาจเสรมิ ด้วยการ
ใช้เครื่องปิดก้ันถนนท่ียกไปมาได้ เครื่องกีดขวางลวดหนามที่ยกไปมาได้และทุ่นระเบิด เหล่าทหารช่าง 7 นายทหารช่างที่ควบคุมงานจัดก�ำลังเพ่ือไปท�ำหน้าที่ระวังป้องกันให้น้อยที่สุด แต่พวกงาน จะต้องพร้อมรบเสมอท่ีจะป้องกันการจู่โจมทางพ้ืนดินที่อาจเกิดข้ึน ทหารท่ีปฏิบัติงานต้อง มอี าวธุ อยู่ใกล้มอื และได้รับการฝึกให้รวมกำ� ลังพร้อมด้วยอาวธุ เม่ือได้รบั การแจ้งภัย 5.4 นายทหารช่างท่ีควบคุมงานต้องเตรียมระวังป้องกัน การโจมตีทางอากาศ โดยฝกึ พวกงานในการแจง้ ภยั การซอ่ นเรน้ การกระจายกำ� ลงั และการยงิ ใหพ้ วกงานสามารถ พิสูจน์ทราบเคร่ืองบินฝ่ายเราและฝ่ายข้าศึก วางยามไว้ ณ ต�ำบลท่ีได้เปรียบ กระจายและ ซ่อนเร้นเคร่ืองมือและยานพาหนะซ่ึงไม่ได้ใช้อาวุธประจ�ำหน่วย จะเป็นประโยชน์มากท่ีสุด เพื่อให้การระวังป้องกันเม่ือต้องการผู้บังคับบัญชาหน่วยงานวางปืนกลไว้ให้สามารถ ใช้ยิงเคร่ืองบินท่ีร่อนต่�ำ ในการระวังป้องกันงานขนาดใหญ่ในพื้นที่ข้างหลังนายทหารช่างท ่ี รับผิดชอบขอรบั การสนับสนุนปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานตามสายงานได้ 6. การระวงั ปอ้ งกนั จากกองโจร กองโจรมักจะใช้ยุทธวิธีการรุกซ่ึงมีลักษณะเฉพาะ เป็นการปฏิบัติการจู่โจมด้วย ความคลอ่ งแคลว่ ในการเคลอ่ื นทมี่ กี ารลวง และปฏบิ ตั แิ บบแยกการ (รส. 31-15) ผบู้ งั คบั กองพนั ทหารช่างของกองพลต้องแน่ใจว่าหน่วยทหารช่างทุกหน่วยได้รับการบรรยายสรุปเร่ืองเทคนิค การตอ่ สขู้ องกองโจร ขอ้ ระมดั ระวงั และวธิ ตี อบโต้ ซงึ่ หนว่ ยทหารชา่ งไดใ้ ชก้ บั กองโจรแตกตา่ งกนั ไปตามลักษณะการปฏิบัติการของกองโจรในขณะหยุดและในที่พักจัดยามไว้ตลอดเวลา รวมทงั้ ในขณะพกั และบนั เทงิ กลมุ่ คนพน้ื เมอื งขนาดพอควรจงึ ไมย่ อมใหเ้ ขา้ ใกลท้ พ่ี กั พลเมอื ง ในท้องถ่ินจะต้องได้รับการตรวจสอบความปลอดภัยก่อนที่จะได้รับอนุญาตให้ท�ำงานใน ท่ีตั้งของทหารช่าง พวกงานปฏิบัติตามข้อพึงระมัดระวังในการรักษาความปลอดภัยในขณะ ที่ท�ำงาน พักผ่อนและรับประทานอาหาร และเมื่อเดินทางไปและกลับจากแหล่งงานเมื่อเลิก ปฏิบัติงานการเดินทางกลับมายังค่ายพักให้น�ำเครื่องมือ ยานพาหนะ และเคร่ืองมือที่ถอด ไดง้ า่ ยกลบั มาดว้ ย เมอ่ื เดนิ ทางไปปฏบิ ตั งิ านใหมจ่ ะตอ้ งเตรยี มพรอ้ มทจี่ ะรบั การซมุ่ โจมตี และ กบั ระเบิด ต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษในการระวงั ป้องกนั อาวุธ กระสุน และเครื่องมอื อนื่ ๆ ซึง่ มีค่าสำ� หรับกองโจร
8 เหลา่ ทหารชา่ ง บทที่ ทหารช่างในการยุทธด้วยวิธรี ุก 1. กลา่ วท่ัวไป 1.1 ความมุ่งหมายของการยุทธด้วยวิธีรุก ได้แก่ การท�ำลายก�ำลังรบของ ขา้ ศกึ บงั คบั ใหข้ า้ ศกึ ทำ� ตามความประสงคข์ องผบู้ งั คบั บญั ชา หรอื เพอื่ ยดึ พน้ื ทเ่ี พอื่ ทำ� การ รบกับข้าศึกต่อไปในการยทุ ธด้วยวธิ รี ุก การดำ� เนินกลยุทธ์ท่ใี ช้อาจเป็นแบบโอบ (ปีกเดยี ว สองปีก หรือโอบลึก) การเข้าตีเจาะแนวหรือการเข้าตีตรงหน้าตลอดแนว โดยไม่ค�ำนึง ถึงกลยุทธ์ท่ีจะใช้การยุทธด้วยวิธีรุก แบ่งออกเป็น 5 ชนิด คือ การเคล่ือนท่ีเข้าปะทะ การเข้าตเี ร่งด่วน การเข้าตปี ระณตี การขยายผล และการไล่ติดตาม 1.2 ล�ำดับความเร่งด่วนในการสนับสนุนทางการช่างในการยุทธด้วยวิธีรุก ได้แก่ งานที่มีส่วนช่วยในความคล่องแคล่วในการเคล่ือนท่ีของหน่วยยิงสนับสนุนหน่วย ด�ำเนนิ กลยทุ ธ์ และการเคล่อื นย้ายเครอื่ งมอื และสิ่งอุปกรณ์ทจ่ี �ำเป็น 1.3 ภารกิจการสนับสนุนทางการช่างในการยุทธด้วยวิธีรุก ได้แก่ การ ลาดตระเวนทางการช่าง การลดอ�ำนาจเครื่องกีดขวางถนนในสนามและทางคนเดิน สะพานทางยทุ ธวิธี และสนามบนิ 1.4 การสนับสนุนทางการช่างในการยุทธด้วยวิธีรุก มีลักษณะเป็นการแบ่ง หน่วยทหารช่างและวัสดุทางการช่างเป็นขั้นตอน เพ่ือให้สะดวกในการเคลื่อนย้าย ทง้ั ทางยทุ ธวธิ ี และทางการสง่ กำ� ลงั บำ� รงุ โยกยา้ ยกำ� ลงั ทหารช่างตามทมี่ กี ารเปลยี่ นแปลง ของภารกิจ สถานการณ์ และล�ำดับความเร่งด่วนในการสนับสนุนท่ีบ่งบังคับ โดยท่ัวไป
การสนับสนุนทางการช่างจะจัดให้ตามความต้องการของหน่วยรับการสนับสนุน หลังจาก เหล่าทหารช่าง 9 ได้พจิ ารณาปัจจยั ต่าง ๆ ได้แก่ 1.4.1 ภารกิจ 1.4.2 กำ� ลงั และการประกอบกำ� ลงั ของฝ่ายเรา 1.4.3 ขีดความสามารถของข้าศกึ 1.4.4 สภาพอากาศและลกั ษณะของภูมปิ ระเทศ 1.5 จุดมุ่งหมายของการปฏิปติงานช่าง เน้นการสนับสนุนให้กับหน่วย ที่ปะทะในทิศทางการเคลื่อนท่ีที่ได้วางแผนไว้หรือตามท่ีเป็นจริง งานข้ันต้นของ ทหารช่างข้างหน้าเน้นในการให้หน่วยรับการสนับสนุนได้มีส่ิงอำ� นวยความสะดวกที่จ�ำเป็น ทหารช่างท่ีตามไปเข้าผลดั เปลย่ี นหน่วยข้างหน้าให้เรว็ ท่ีสุดท่จี ะท�ำได้ เพือ่ ขยายหรอื ปรบั ปรุง งานข้นั ต้น และปฏิบตั ิงานยุ่งยากท่ตี ้องใช้เวลามากข้นึ ตามความต้องการในพืน้ ท่ีข้างหลัง 2. ทหารชา่ งในการเคล่ือนที่เข้าปะทะ 2.1 หน่วยก�ำบัง กองพลที่เคล่ือนที่เข้าปะทะกับข้าศึก อาจจัดหน่วยก�ำบัง ของตนข้ึนและท�ำการควบคุมเอง หรือถ้ากองพลปฏิบัติการเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยใหญ่ หน่วยใหญ่จะเป็นผู้จัดหน่วยก�ำบังและควบคุม ภารกิจที่มอบให้กับหน่วยก�ำบัง มีลักษณะกว้าง ๆ ได้แก่ คลี่คลายสถานการณ์ของข้าศึก เข้าตีเพื่อท�ำลายการต้านทาน ของข้าศึก ยึดและรักษาภูมิประเทศส�ำคัญหรือตรึงก�ำลังขนาดใหญ่กว่าของข้าศึก การวางก�ำลังสนับสนุนทางการช่าง (รวมทั้งชุดลาดตระเวนทางการช่าง) ให้แก่หน่วยก�ำบัง ควรอยู่ค่อนไปข้างหน้า เพ่ือช่วยในการเคล่ือนย้ายของหน่วยก�ำลังรบโดยการเจาะช่องหรือ ทอดข้ามเคร่ืองกีดขวางท่ีไม่สามารถจะอ้อมผ่านได้ การเจาะช่องมักกระท�ำโดยการรื้อถอน หรือท�ำลายด้วยวัตถุระเบิด การข้ามอาจใช้เคร่ืองสะพานหรือลาด ส่วนจะใช้วิธีการใดนั้น ขึ้นอยู่กับชนิดของเคร่ืองกีดขวางเวลา และเคร่ืองมือที่มีอยู่ จ�ำนวนช่องทางและความกว้าง ของช่องทางผ่านเคร่ืองกีดขวาง พิจารณาได้จากขีดความสามารถในการเตรียมการ ผ่านเคร่ืองกีดขวางของทหารช่างที่ให้การสนับสนุน ลักษณะของเครื่องกีดขวาง และ ความต้องการของหน่วยก�ำบัง ท่ีตั้งของช่องทางพิจารณาได้จากภูมิประเทศ การวางก�ำลัง ของข้าศึกและขอบเขตของเครื่องกีดขวางช่องทางบนถนนท่ีไม่สามารถอ้อมผ่านได้ จะต้อง ทำ� การซอ่ มแซมหรอื ทำ� การสรา้ งสะพานขา้ มโดยเรง่ ดว่ น ทหารชา่ งทไี่ ปกบั หนว่ ยก�ำบงั จะตอ้ ง
10 เหลา่ ทหารชา่ ง มอี าวธุ ไวต้ า้ นทานขา้ ศกึ ในขณะปฏบิ ตั งิ าน เนอ่ื งจากระยะทางระหวา่ งหนว่ ยกำ� บงั กบั สว่ นใหญ่ ห่างกนั มาก หน่วยทหารช่างจึงมกั ให้ขึน้ สมทบกับหน่วยก�ำบงั 2.2 กองระวงั หนา้ กำ� ลงั ของสว่ นใหญท่ เี่ คลอ่ื นทต่ี ามหลงั หนว่ ยกำ� บงั แตล่ ะขบวน จะมีกองระวังหน้าของตน ซึ่งมีภารกิจป้องกันส่วนใหญ่จากการตรวจการณ์ทางพ้ืนดิน และการจู่โจมจากทางด้านหน้าของข้าศึก และให้ส่วนใหญ่มีเวลาและพื้นที่ท่ีจ�ำเป็นจะใช้วาง ก�ำลงั เข้าทำ� การรบในกองระวงั หน้าจะมหี น่วยทหารช่างและส่วนลาดตระเวนให้การสนบั สนนุ ผู้บังคับหน่วยทหารช่างท�ำหน้าท่ีผู้บังคับทหารช่างของกองระวังหน้า ในการเคล่ือนที่ของ กรมทหารราบ จะมที หารชา่ งหนง่ึ หมวดจากกองรอ้ ยทหารชา่ งใหก้ ารสนบั สนนุ ซง่ึ เปน็ สว่ นหนงึ่ ของกองระวังหน้า เมื่อกองระวังหน้าเคล่ือนท่ีด้วยเท้าจะได้รับการสนับสนุนจากหน่วย ทหารช่างพร้อมด้วยส่ิงอุปกรณ์และเคร่ืองมือที่บรรทุกอยู่บนยานพาหนะ ซ่ึงจะเคลื่อนที่ ติดตามไปเป็นห้วง ๆ โดยปกติทหารช่างในส่วนลาดตระเวนจะมีเคร่ืองตรวจค้นทุ่นระเบิด และเหล็กแหลม ซ่ึงจะค้นหาทุ่นระเบิดและท�ำเคร่ืองหมายผ่านสนามทุ่นระเบิด ทหาร ช่างจะร้ือถอนเครื่องกีดขวางท่ีเหลืออยู่จากการเจาะช่องผ่านไปของหน่วยก�ำบังภายใน ขีดความสามารถของตน การรื้อถอน หรือการเจาะช่องผ่านเครื่องกีดขวางท่ียุ่งยาก อาจต้องใช้ก�ำลังจากหน่วยทหารช่างและเครื่องมือเพ่ิมเติมจากก�ำลังส่วนใหญ่หรือกองหนุน ท่เี คลื่อนทีต่ ามมา ทหารช่างในกองระวงั หน้าด�ำรงการตดิ ต่อ และส่งข่าวสารเกยี่ วกบั งานช่าง ที่ต้องกระท�ำให้กับก�ำลังทหารช่างท่ีเหลือในส่วนใหญ่ เม่ือกองระวังหน้ารุกคืบหน้าไป พวกปฏิบัติงานช่างจะถูกท้ิงไว้ ณ ต�ำบลส�ำคัญหรือจุดคับขันซึ่งต้องการความช่วยเหลือ จากทหารช่าง พวกปฏิบัติงานเหล่าน้ีจะกลับเข้าร่วมกับกองระวังหน้าเม่ือปฏิบัติงานเสร็จ หรือเมื่อก�ำลังทหารช่างส่วนใหญ่มาผลัดเปลี่ยน ดังน้ัน ก�ำลังทหารช่างอาจหมดสิ้นไป ตอนส้ินสุดการรุก และอาจจ�ำเป็นต้องใช้ก�ำลังทดแทนจากทหารช่างในส่วนใหญ่และ ถ้าในการเคลื่อนท่ีเข้าปะทะส่วนใหญ่ไม่มีหน่วยก�ำบังน�ำ ก�ำลังของกองระวังหน้ามักจะจัด มากขึ้น ซึ่งกำ� ลงั ของทหารช่างทีส่ นับสนนุ ก็จะมากขนึ้ ตามส่วนด้วย 2.3 กองกระหนาบและกองระวังหลัง มีภารกิจในการป้องกันส่วนใหญ่ จากการตรวจการณ์ทางพ้ืนดินและการจู่โจมโดยไม่รู้ตัว ก�ำลังเหล่าน้ีจะต้องแข็งแรงพอ ท่ีจะท�ำลายการต้านทานเลก็ ๆ น้อย ๆ หรอื พอทจ่ี ะหน่วงเวลาการเข้าตขี นาดใหญ่ของข้าศึก ไดน้ านพอทก่ี ำ� ลงั สว่ นใหญจ่ ะวางกำ� ลงั เขา้ ทำ� การรบได้ ทหารชา่ งสนบั สนนุ กองกระหนาบและ กองระวังหลัง โดยให้ความช่วยเหลือในการปิดกั้นแนวทางเคลื่อนที่ของข้าศึก ซึ่งกระท�ำได้
โดยการเตรียมการท�ำลาย และการสร้างเครื่องกีดขวาง (หลุมระเบิดบนถนน วางสนาม เหล่าทหารช่าง 11 ทุ่นระเบิด ไม้ล้มไม้ปัก ฯลฯ) 2.4 ส่วนใหญ่ คือ ก�ำลังส่วนมากของก�ำลังรบที่ท�ำการรุก จะใช้ในเวลา และสถานท่ีซ่ึงเป็นผลแตกหักในการเข้าตีและท�ำลายก�ำลังข้าศึกที่ส�ำคัญ และในการยึด รักษาท่ีหมายหลักก�ำลังของกองพันทหารช่างที่เหลือ วางก�ำลังในขบวนส่วนใหญ่ในลักษณะ ท่ีให้เกิดความอ่อนตัวมากท่ีสุด และสามารถติดต่อส่ือสารกับทหารช่างในส่วนระวังป้องกัน ได้ตลอดเวลา เพ่ือให้สามารถเสริมก�ำลังหรือผลัดเปลี่ยนก�ำลังทหารช่างในกองระวังหน้า กองระวงั หลงั และกองกระหนาบ 3. ทหารช่างในการเขา้ ตีและขยายผล ภารกจิ ของทหารชา่ งในการเขา้ ตแี ละขยายผล ไดแ้ ก่ การชว่ ยเหลอื ในการเคลอ่ื นท่ี ของหน่วยด�ำเนินกลยุทธ์และหน่วยสนับสนุน โดยการกวาดล้างเครื่องกีดขวางและ เตรียมการท�ำลาย ตามแนวทางการเคล่ือนท่ีเข้าสู่ปีกและปฏิบัติงานช่างประจ�ำ เช่น การแจกจ่ายน�้ำบริโภค ให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคในการพรางและการลวง แต่เม่ือ การเข้าตีรุกคืบหน้าไปจะมีความต้องการสนับสนุนทางการช่างใหม่เกิดข้ึน การลาดตระเวน ทางการช่างจะต้องกระท�ำทั้งก่อนและระหว่างการเข้าตี สิ่งส�ำคัญที่ต้องการทราบ ได้แก่ เส้นทางส่งก�ำลังและเส้นทางรุก ตลอดจนเครื่องกีดขวางและฉากขัดขวางของข้าศึก อาจมีความต้องการความช่วยเหลือจากทหารช่างเป็นพิเศษในการอ้อมผ่าน การเจาะช่อง หรือการข้ามเคร่ืองกีดขวาง การบุกโจมตีท่ีมั่นป้อมค่าย การป้องกันปีก การข้ามล�ำน้�ำ และการดัดแปลงภูมิประเทศเพื่อป้องกันการตีโต้ตอบ เมื่อควบคุมพื้นท่ีได้มากข้ึน อาจต้องการลานบินหน้าส�ำหรับเคร่ืองบินขนาดเบา การเลือกที่ต้ังส�ำหรับการขึ้นลง ของเครื่องบิน นับว่าเป็นเรื่องส�ำคัญอย่างยิ่งส�ำหรับผู้บังคับหน่วยทหารช่าง โดยที่จะต้อง ประเมินค่าที่ตั้งที่น่าจะใช้แต่ละแห่งในแง่ของงานช่าง ท่ีต้องการการเคล่ือนท่ีให้สอดคล้อง กับหน่วยรับการสนับสนุน เมื่อสามารถท�ำได้ จะตั้งอยู่ใกล้เคียงกับพื้นท่ีสัมภาระรบ ของหน่วยรับการสนับสนุนต้องก�ำหนดเส้นทางส่งก�ำลังและซ่อมบ�ำรุง เส้นทางส�ำหรับ หน่วยรบและการส่งสิ่งอุปกรณ์ที่จ�ำเป็น เมื่อการขยายผลคืบหน้าไป หน่วยทหารช่าง ของกองทัพน้อยและกองทพั เคลอื่ นที่ตามไปเป็นห้วง ๆ ในการนี้ กรม กองพัน และกองร้อย อิสระของทหารช่างของกองทัพน้อยและกองทัพผลัดกันเคล่ือนท่ี ซ่ึงเป็นวิธีการท่ีดีท่ีสุดที่
12 เหลา่ ทหารชา่ ง ทำ� ให้ทหารช่างปฏบิ ตั งิ านชา่ งในพน้ื ใดพนื้ หนงึ่ ไดน้ านทส่ี ดุ และมกี ำ� ลงั ทหารชา่ งทสี่ ดชน่ื ไวใ้ ช้ ปฏิบัตงิ านในพื้นท่ีข้างหน้าเม่ือต้องการ 4. ทหารช่างในการไลต่ ดิ ตาม การไล่ติดตาม เป็นการปฏิบัติท่ีด�ำเนินการต่อจากการขยายผลหน่วยท่ี ทำ� การไล่ตดิ ตาม ประกอบด้วย หน่วยทหารราบ ยานเกราะ ปืนใหญ่ ทหารช่าง หน่วยบนิ และบางครั้งมีหน่วยส่งทางอากาศหรือหน่วยล�ำเลียงทางอากาศเข้าร่วมด้วย การไล่ติดตาม มีลักษณะเฉพาะในความห้าวหาญ ความรวดเร็ว ความคล่องแคล่วในการเคล่ือนท่ี ก�ำลังยิงและก�ำลัง ชนขนาดของหน่วยทหารช่างท่ีจะให้การสนับสนุนข้ึนอยู่กับการประกอบ ก�ำลังของหน่วยไล่ติดตาม ประมาณงานช่างท่ีคาดว่าจะต้องท�ำในระหว่างการไล่ติดตาม เพ่ือช่วยในการข้ามล�ำน�้ำ ข้ามหรือเจาะช่องเครื่องกีดขวางอย่างรวดเร็ว ทหารช่างที่ สนับสนุนควรมีการระวังป้องกันตนเอง และต้องมีความคล่องแคล่ว ในการเคล่ือนท่ีท่ี ทัดเทียมกับหน่วยรบ เช่น มีรถสายพานล�ำเลียงพลเม่ือปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยรถถัง เน่ืองจากหน่วยติดตามต้องปฏิบัติการห่างจากส่วนใหญ่มากก�ำลังทหารช่าง จึงมักจะจัดให้ ข้ึนสมทบกับหน่วยไล่ติดตาม 5. การควบคุม 5.1 การวางก�ำลัง เพ่ือเสริมความคล่องแคล่วของหน่วยท่ีเข้าตี จึงจ�ำเป็น ท่ีจะต้องให้ทหารช่างเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยท่ีเข้าท�ำการรบ ความใกล้ชิดกันจะท�ำให้ ทหารช่างทราบความต้องการของหน่วยรบได้ และสามารถให้การสนับสนุนทางการช่างได้ มากท่ีสุด เมื่อเผชิญกับความต้องการเหล่าน้ันโดยทันที ผู้บังคับทหารช่างของกองพลเสนอ แนะการวางก�ำลังของหน่วยทหารช่างและเครื่องมือสำ� หรับทุกขั้นตอนของการยุทธด้วยวิธีรุก เสนอแนะการเปลี่ยนแปลงการวางก�ำลังเมื่อจ�ำเป็นต้องเปล่ียน โดยปกติการวางก�ำลังใน การยุทธด้วยวิธีรุก กระท�ำได้โดยมอบงานเฉพาะอย่างให้ทหารช่าง ให้หน่วยทหารช่าง สนับสนุนโดยตรงต่อหน่วยอ่ืนและในบางกรณี เช่น การปฏิบัติงานกับหน่วยท่ีอยู่ห่างไกล จะให้หน่วยทหารช่างขึน้ สมทบ 5.2 การติดต่อ เป็นความรับผิดชอบของหน่วยให้การสนับสนุนในการจัด และด�ำรงการติดต่อกับหน่วยรับการสนับสนุน หน้าท่ีในการติดต่อระหว่างกองร้อยทหารช่าง
ที่ให้การสนับสนุนกับกรมทหารราบกระท�ำโดยเจ้าหน้าท่ีซ่ึงผู้บังคับกองร้อยก�ำหนด เหล่าทหารช่าง 13 โดยมากมักได้แก่ รองผู้บังคับกองร้อย รองผู้บังคับทหารช่างของกองพล เป็นหัวหน้า เจ้าหน้าท่ีติดต่อระหว่างกองพันทหารช่างของกองพลกับกองบัญชาการกองพล ถ้าหน่วย ทหารช่างถูกแบ่งย่อยออกเป็นหมวด หรือหมู่สนับสนุนหน่วยอื่น ให้แต่ละหน่วยรับผิดชอบ ในการจัดเจ้าหน้าท่ีติดต่อกับหน่วยรับการสนับสนุน เจ้าหน้าท่ีติดต่อจะต้องมีความรู้ เกี่ยวกับขีดความสามารถและการปฏิบัติการของหน่วยท้ังสองและต้องทราบแผนการ ปฏิบัติการของหน่วยทั้งสองตลอดเวลา ทั้งนี้เพ่ือสามารถให้ข่าวสารที่ทันสมัยและ เชื่อถือได้ ตลอดจนให้ค�ำแนะน�ำแก่ผู้บังคับหน่วยท้ังสองเมื่อต้องการ เม่ือสามารถท�ำได้ กองบังคับการของหน่วยให้การสนับสนุนจะตั้งอยู่ใกล้เคียงกับกองบังคับการของหน่วยรับ การสนบั สนนุ 5.3 หน่วยทหารช่างของกองทัพน้อย ท่ีให้การสนับสนุนโดยตรง หรือข้ึน สมทบกบั กองพลรบั ผดิ ชอบในการจดั การตดิ ตอ่ กบั หนว่ ยทเี่ หมาะสมของกองพล หนว่ ยใหก้ าร สนบั สนนุ รบั ผดิ ชอบในการให้ชดุ เจา้ หน้าทตี่ ดิ ต่อของตน ได้มเี ครอ่ื งตดิ ตอ่ สอ่ื สารอยา่ งรวดเรว็ ได้แก่ ยานพาหนะ วทิ ยุ และ/หรือ เคร่ืองเชอ่ื มต่อวทิ ยเุ ข้ากับทางสาย 6. การใหค้ วามชว่ ยเหลือจากหนว่ ยทหารชา่ งนอกกองพล เม่ือกองพันทหารช่างของกองพลไม่สามารถท�ำงานช่างที่ต้องท�ำในการยุทธด้วย วิธีรุกได้ ผู้บังคับทหารช่างของกองพลจะเสนอแนะผู้บัญชาการกองพลให้ขอความช่วยเหลือ ไปยังกองทัพน้อยหรือกองทัพ ซ่ึงมักจะได้รับความช่วยเหลือ เมื่อเริ่มปฏิบัติการเข้าตี กรมทหารช่างสนามของกองทัพน้อยจะเข้ารับผิดชอบงานช่างบางอย่างในพ้ืนท่ีบริการ ของกองพล โดยก�ำหนดเส้นเขตงานช่างขึ้น ซึ่งเส้นเขตงานช่างนี้ก�ำหนดขึ้นโดยไม่เป็น ทางการระหว่างหน่วยทหารช่างของกองพล และหน่วยทหารช่างของกองทัพน้อย โดยปกติใช้เส้นเขตหลังของกองพล แต่อาจก�ำหนดให้ไกลออกไปข้างหน้าจนถึงเส้นเขต หลังของกรม เส้นเขตงานดังกล่าวจะท�ำให้การรวมก�ำลังของหน่วยทหารช่างนอกกองพล ในพื้นท่ีข้างหน้า โดยไม่จ�ำเป็นหมดได้ หน่วยทหารช่างของกองทัพน้อยจะปฏิบัติงาน ต้ังแต่เส้นเขตงานช่างที่ก�ำหนดข้ึนลงมาข้างหลังเมื่อการรบคืบหน้าไปก็จะเลื่อนเส้น เขตงานไปข้างหน้า เพ่ือสับเปล่ียนหน่วยทหารช่างของกองพล อาจให้กองพันทหารช่าง สนามจากกรมทหารช่างสนามของกองทัพน้อยหรือท้ังกรมทหารช่างสนามข้ึนสมทบ
14 เหลา่ ทหารชา่ ง กับกองพลส�ำหรับปฏิบัติภารกิจพิเศษเฉพาะอย่างและกลับไปอยู่ในความควบคุม ของหน่วยต้นสังกัด เมื่อเสร็จภารกิจในการเข้าตีตามปกติกองทัพน้อยมักจะก�ำหนด ให้กองพันทหารช่างสนามหน่ึงหรือหลายกองพันให้การสนับสนุนทางการช่างแก่กองพล ข น า ด ข อ ง ห น ่ ว ย ท ห า ร ช ่ า ง ท่ี จ ะ ใ ห ้ ข้ึ น ส ม ท บ ห รื อ ส นั บ ส นุ น นั้ น แ ล ้ ว แ ต ่ ก� ำ ลั ง ที่ คิ ด ว ่ า จ�ำเป็นท่ีจะลดอ�ำนาจเคร่ืองกีดขวางและเพ่ือสนับสนุนการรุกของหน่วยบุกโจมตี เม่ือ จ�ำเป็นอาจจัดให้หน่วยทหารช่างนอกกองพลข้ึนสมทบกับกองพลได้ โดยไม่ต้องค�ำนึงถึง อาวุโสของผู้บังคับหน่วยทหารช่างท่ีมาขึ้นสมทบ ผู้บังคับกองพันทหารช่างของกองพล ยังคงเป็นผู้บังคับทหารช่างของกองพลและท�ำการประสานงานช่างท่ัวพื้นท่ีของกองพล โดยการเสนอแนะต่อผู้บญั ชาการกองพลและติดต่อกบั หน่วยให้การสนบั สนุน 7. การออมกำ�ลงั ทหารช่าง โดยปกติแล้วมักจะไม่ค่อยมีหน่วยทหารช่างเพียงพอที่จะท�ำงานช่างโยธา ทจ่ี ำ� เปน็ เพอื่ ชว่ ยเหลอื การรกุ ของหนว่ ยดำ� เนนิ กลยทุ ธ์ ดงั นนั้ เพอ่ื ใหม้ กี ำ� ลงั ทหารชา่ งมากทสี่ ดุ สำ� หรบั ปฏบิ ตั งิ านชา่ งทส่ี ำ� คญั ซงึ่ ตอ้ งใชค้ วามชำ� นาญและเครอื่ งมอื ของทหารชา่ ง หนว่ ยทหาร เหล่ารบและบรกิ ารจะเข้าร่วมในการปฏบิ ัติงานช่างโยธาท่ตี ้องกระท�ำ ดงั น้ี 7.1 การข้ามล�ำนำ�้ โดยเร่งด่วน 7.2 ดบั เพลงิ ในพนื้ ท่ีป่าและบ้านเมอื ง 7.3 การสร้างเครอ่ื งกดี ขวางป้องกนั ตน 7.4 วางและเจาะช่องสนามทุ่นระเบดิ 7.5 การซ่อมแซมถนนและท่อนำ�้ โดยเร่งด่วน 7.6 การท�ำการพราง 7.7 การลดอ�ำนาจเครื่องกีดขวาง 7.8 การสร้างป้อมสนาม 7.9 การถากถางพืน้ ท่ขี ึน้ ลงของเครื่องบนิ 8. การลาดตระเวนทางการช่าง 8.1 การรวบรวมข่าวสารทางการช่าง เป็นเร่ืองท่ีต้องกระท�ำเป็นประจ�ำ ส�ำหรับหน่วยทหารช่างทุกส่วนในการยุทธด้วยวิธีรุก การลาดตระเวนทางการช่าง
เป็นงานต่อเนื่องและมีความละเอียดอ่อน ต้องกระท�ำท้ังก่อนการรุก ระหว่างการรุก เหล่าทหารช่าง 15 และระหว่างเข้าตีในข้ันต้น ชุดลาดตระเวนจากกองพันทหารช่างจะให้ข่าวสารล่วงหน้า และเช่ือถือได้เกี่ยวกับพ้ืนท่ีซ่ึงกองพลจะเคล่ือนผ่านไปให้แก่ผู้บังคับทหารช่าง ของกองพล และให้ความส�ำคัญกับสภาพของเส้นทางรุกท่ีคิดไว้ เส้นทางส�ำรอง ส่ิงอ�ำนวยความสะดวกในการข้ึนลงของเครื่องบิน เครื่องกีดขวางของข้าศึกแหล่งทรัพยากร ทางการช่างในท้องถิ่น ท่ีข้ามล�ำนํ้าท่ีคิดไว้ ตลอดจนลักษณะทางอุทกวิทยา และ ต�ำบลจ่ายน้�ำท่ีอาจใช้ได้ การลาดตระเวนทางพ้ืนดินต้องเพ่ิมเติมด้วยการลาดตระเวน ทางอากาศ แผนท่ีภาพถ่าย ข้อศึกษาพิจารณาภูมิประเทศที่พิมพ์ไว้ ตลอดจนประสาน กับเจ้าหน้าท่ีรวบรวมข่าวอ่ืน ๆ ข่าวสารที่รวบรวมข้ึนนี้จะช่วยให้ผู้บังคับทหารช่าง ของกองพลสามารถประมาณการวัสดุทางการช่างท่ีต้องการวางแผนประมาณงาน และ ช่วยเจ้าหน้าท่ีอื่น ๆ ในการวางแผนการหมุนเวียนการจราจร นอกจากน้ัน ข่าวสาร ที่เก่ียวกับส่วนของกองทัพน้อยและกองทัพจะถูกส่งต่อไปยังกองทัพน้อยที่ให้การสนับสนุน และกลายเป็นส่วนหน่งึ ของข้อมูลในการวางแผนของทหารช่างกองทัพน้อยและกองทัพ 8.2 ส่วนลาดตระเวนทางการช่าง ท่ีร่วมไปกับหน่วยลาดตระเวนในกอง ระวังหน้าของกรมทหารราบ จะส่งข่าวสารทางการช่างให้กับผู้บังคับทหารช่างได้ทราบอย่าง ทนั เวลา พจิ ารณาแนวทางเคลอ่ื นทที่ น่ี า่ จะใชอ้ ยา่ งรอบคอบ โดยเฉพาะอยา่ งยงิ่ ในการทข่ี า้ ศกึ จะวางทุ่นระเบิด เคร่อื งกีดขวาง และอาวธุ ป้องกัน 8.3 ในระหว่างการเข้าตี การลาดตระเวนทางการช่างคงกระท�ำต่อไป โดยให้ ความสนใจเป็นพิเศษแก่เส้นทางเข้าตี กองร้อยทหารช่างที่สมทบหรือสนับสนุนโดยตรง แก่กรมทหารราบทำ� การลาดตระเวนเส้นทางเข้าตี เส้นหลกั การส่งก�ำลังบ�ำรุง เครื่องกดี ขวาง ต�ำบลจ่ายน้�ำ และแหล่งวัสดุทางการช่างในพื้นที่ที่ได้รับมอบโดยต่อเน่ือง ฝอ.2 ของกองพันทหารช่างของกองพลมอบภารกิจในการลาดตระเวนพิเศษให้กับกองร้อย และโดยการให้ข่าวสารการลาดตระเวนที่ได้น�ำมาวางแผนการปฏิบัติของทหารช่าง และ เตรียมวธิ ีการเพือ่ ช่วยรกั ษาแรงชนและการเข้าตไี ว้ 8.4 ชดุ ลาดตระเวนทางการชา่ งของหนว่ ยทหารชา่ งของกองทพั นอ้ ยและกองทพั วางก�ำลังให้คลุมพื้นท่ีของกองทัพน้อยและกองทัพตามส�ำคัญ โดยให้ความสนใจเป็นพิเศษ ต่อพน้ื ทซี่ งึ่ หน่วยน�ำได้อ้อมผา่ นไป เส้นทางและพน้ื ทซี่ งึ่ จะใช้ส�ำหรบั กองหนนุ ของกองทพั นอ้ ย และกองทัพ หน่วยสนับสนนุ ด้วยการยงิ และหน่วยสนับสนุนบรกิ ารทางการรบ
16 เหลา่ ทหารชา่ ง 9. ถนนในสนาม 9.1 ต้องจัดให้มีและบ�ำรุงรักษาเส้นทางอย่างพอเพียงในเขตหน้า เพ่ือ สนับสนุนการเคลื่อนท่ีไปยังที่หมายทางยุทธวิธี การเข้าท่ีต้ังยิงสนับสนุนการกระจายก�ำลัง และเคล่ือนย้ายทางข้างของส่วนสนับสนุนด้วยการยิงและกองหนุน การกระจายก�ำลังและ การเคลื่อนย้ายของส่วนสนับสนุนทางการส่งก�ำลังบ�ำรุง การปฏิบัติการในเขตหน้ามักไม่มี โอกาสสร้างถนนอย่างกว้างขวาง ดังนั้น ข่ายถนนสำ� หรับการปฏิบัติการมักจะประกอบด้วย เส้นทางท่ีเลือกขึ้นไว้จากระบบถนนท่ีมีอยู่ การก่อสร้างใหม่มักจะจ�ำกัดเพียงการสร้างทาง อ้อมผ่านเคร่ืองกีดขวางและทางเข้าออกระยะส้ัน ๆ ไปยังท่ีรวมพล ที่ตั้งทางยุทธวิธี ฯลฯ แต่อย่างไรก็ตาม การสร้างใหม่อาจมีความจ�ำเป็นในส่วนที่ด้อยพัฒนาของยุทธบริเวณ เพอื่ ให้มีเส้นทางท่จี ำ� เป็นต้องใช้อย่างน้อยทส่ี ุด 9.2 โดยธรรมดา กองพลต้องการเส้นหลักการส่งก�ำลังบ�ำรุงอย่างน้อย หนึ่งเส้นและเส้นทางเข้าออกไปยังส่วนยิงหลัก ส่วนด�ำเนินกลยุทธ์ และส่วนสนับสนุน ด้วยการบริการ กองทัพน้อยต้องการเส้นแกนสองเส้น คือเส้นทางการส่งก�ำลังบ�ำรุง หลักและรอง นับจากเส้นเขตหลังของกองทัพไปยังเส้นเขตหลังของกองพล และต้องการ เส้นทางส�ำหรับการเคลื่อนที่ทางขวางและทางทแยงทุก ๆ ระยะ 15 - 30 กิโลเมตร ในพ้ืนที่ ข้างหลังของกองพล 9.3 การพัฒนาและการซ่อมข่ายถนน ผู้บังคับทหารช่างของกองพล จะประสานงานโดยใกล้ชิดกับผู้บังคับทหารช่างของกองทัพน้อย ทั้งน้ี เพ่ือหลีกเล่ียง การเสยี แรงงาน และวสั ดุไปโดยไม่จ�ำเป็น หน่วยทหารช่างของกองพลให้ล�ำดับความเร่งด่วน แก่เส้นทางท่ีสนับสนุนการเคล่ือนย้ายไปยังข้างหน้าของหน่วยยิง และหน่วยด�ำเนินกลยุทธ์ หน่วยทหารช่างของกองทัพน้อยสนับสนุนหน่วยทหารช่างของกองพล โดยให้ความเร่งด่วน แก่เส้นทางซงึ่ จะกลายเป็นส่วนของข่ายถนนของกองทพั น้อยและกองทัพ 10. การข้ามช่องว่างระยะส้ัน ช่องว่างที่มักจะพบบ่อย ๆ ในเขตหน้า ซ่ึงขัดขวางการเคลื่อนท่ีของยานพาหนะ ฝ่ายเรา ได้แก่ คูดักรถถัง หลุมระเบิดบนถนน ล�ำน�้ำ คลอง ทางขาด โกรกผา ทางรถไฟ ท่ีเป็นทางตัด และเครื่องกีดขวางท่ีมีลักษณะคล้ายกับที่กล่าวมาแล้ว การสร้างสะพานข้าม
โดยเร่งด่วนจะช่วยให้สามารถด�ำรงแรงดันในการเข้าตี และเพื่อประหยัดเวลาและแรงงาน เหล่าทหารช่าง 17 อาจใช้ส่วนประกอบของแพยุทธวิธี สะพานเครื่องหนุนลอย เอ็ม.4 ที.6 ทอดข้ามช่องว่าง สน้ั ๆ โดยใชเ้ ปน็ สะพานพาดตลงิ่ แตเ่ มอ่ื นำ� สว่ นประกอบพวกนม้ี าใชใ้ นลกั ษณะนี้ ควรจะเปลย่ี น แทนด้วยสะพานชนดิ อนื่ ในทนั ทที ่ีท�ำได้ เพ่ือให้มแี พและสะพานทางยทุ ธวธิ ีใช้ในเขตหน้า 11. การสนบั สนนุ ขา่ วกรองและแผนที่ ข่าวกรอง แผนที่ อุทกวิทยา และข้อมลู อน่ื ๆ ทเ่ี กยี่ วข้องมีความส�ำคัญโดยเฉพาะ ในการยุทธด้วยวิธีรุก และเป็นผลให้ต้องเร่งงานข่าวกรองและงานแผนที่ท่ีเกี่ยวข้อง บ่อยครั้งท่ีการรุกกระท�ำในพ้ืนท่ีท่ีไม่คุ้นเคยมาก่อนจ�ำเป็นต้องรีบแก้ไขแผนที่ท่ีมีอยู่ ให้ทันสมัยโดยเร็ว ใช้แผนที่ของข้าศึกท่ียึดได้ใช้แผนท่ีภาพถ่ายทางอากาศที่ทันสมัยแทน จนกวา่ จะมแี ผนท่ี ทำ� การแจกจา่ ยแผนที่ และทำ� การจดั วางการควบคมุ การสำ� รวจทางพน้ื ดนิ อยา่ งรวดเรว็ เมอื่ เวลาอำ� นวยใหก้ ารจดั ทำ� และแจกจา่ ยขอ้ ศกึ ษาพจิ ารณาลกั ษณะภมู ปิ ระเทศ ทางการช่าง จะช่วยให้ความสะดวกในการวางแผนและการปฏิบัติการสนับสนุนแผนท่ี และการควบคมุ การส�ำรวจทางพน้ื ดนิ และขอ้ มลู ทางอทุ กวทิ ยานน้ั หนว่ ยทหารแผนทจ่ี ดั ท�ำให้ 12. การพรางและการลวง ความรับผิดชอบในการพรางนั้น เป็นของผู้บังคับหน่วยทุกคน หน่วยทหาร ทุกหน่วยจะต้องทราบหลักการและเทคนิคของการพราง ทหารช่างเป็นผู้ให้ค�ำแนะน�ำ และช่วยเหลือทางเทคนิคผู้บังคับทหารช่างของกองพลรับผิดชอบในการวางแผนการพราง ในการก�ำกับดูแลของ สธ.2 ของกองพล และประสานกับ สธ.3 และ สธ.4 ของกองพล ในสถานการณ์ที่ท�ำการรุกอย่างรวดเร็วเป็นท่ีน่าสนใจในเร่ืองเวลาท่ีจะมีในการท�ำการพราง อย่างกว้างขวาง แต่อย่างไรกต็ าม ทหารช่างจะให้ค�ำแนะน�ำและช่วยเหลือหน่วยทหารอนื่ ๆ ในการใช้ลักษณะภูมิประเทศซึ่งจะใช้ในการพรางและการซ่อนเร้น ในระหว่างเตรียม การยทุ ธด้วยวิธีรุกจะต้องให้ความสนใจเป็นพเิ ศษในการพราง การซ่อนเร้น การปลอมแปลง หนว่ ย และกจิ กรรมทอี่ าจเปดิ เผยแผนของฝา่ ยเราได้ หนว่ ยทหารชา่ งของกองพล กองทพั นอ้ ย และกองทัพ โดยร่วมกับหน่วยทหารสื่อสารและหน่วยข่าวกรอง อาจจัดต้ังและโยกย้าย ปลอมแปลงสร้างถนนและท่ีตั้งซึ่งมีความปกปิดท่ีต้องการ เพ่ือต่อต้านระบบข่าวกรองของ ข้าศึกให้สอดคล้องกับแผนของหน่วยในการต่อต้านการข่าวกรองและการลวง อาจใช้ควันใน การปฏบิ ตั ิการลวงและการปลอมได้
18 เหลา่ ทหารชา่ ง 13. กจิ เฉพาะของทหารช่างในการยทุ ธดว้ ยวิธีรุก 13.1 การลาดตระเวนทางการช่าง 13.2 การค้นหา การทำ� เครื่องหมาย และการร้ือถอนทุ่นระเบดิ และกบั ระเบิด 13.3 ช่วยในการเคล่ือนที่ไปข้างหน้าของหน่วยรบ และหน่วยสนับสนุน โดยการซ่อมแซมถนน ร้ือถอนเครื่องกีดขวาง ช่วยในการข้ามช่องว่าง ข้ามล�ำนํ้าและการ ผ่านช่องแคบ 13.4 สร้างสิ่งอำ� นวยความสะดวกในการขนึ้ ลงของเครอื่ งบิน 13.5 เปิดเส้นทางและปรับปรุงถนน ทางคนเดิน สะพาน ท่ีลุยข้าม ส�ำหรับ การเคลอ่ื นย้ายหน่วยทหารการสิ่งกำ� ลังและการส่งกลับ 13.6 ใหข้ า่ วสารเกยี่ วกบั เสน้ ทางทจี่ �ำเปน็ ในการวางแผนการหมนุ เวยี นการจราจร 13.7 ช่วยในการระวังป้องกนั ปีก โดยสร้างเครื่องกีดขวาง และเตรยี มการทำ� ลาย 13.8 ให้ข้อมลู การข่าวกรองทางการช่าง 13.9 จัดน้าํ บริโภค รปู ขบวนการเคล่อื นท่ีของกองพลเมอื่ เขา้ ปะทะกบั ข้าศกึ
บทที่ เหล่าทหารช่าง 19 ทหารชา่ งในการยุทธดว้ ยวธิ รี บั 1. กลา่ วทัว่ ไป 1.1 การยุทธด้วยวิธีรับ ใช้เพ่ือป้องกันมิให้ข้าศึกใช้พื้นที่ส�ำคัญ เพื่อ ปอ้ งกนั ปกี เพอ่ื ตรงึ ก�ำลงั ข้าศกึ เพอื่ ออมก�ำลงั หรอื เพอื่ ท�ำลายและท�ำใหข้ ้าศกึ เสยี ระเบยี บ มากที่สุด แบบของการยุทธด้วยวธิ ีรับมีอยู่ 2 แบบ คือ การต้ังรับเป็นพน้ื ที่ และตง้ั รับแบบ คลอ่ งตวั ความแตกตา่ งทส่ี ำ� คญั ระหวา่ งการตงั้ รบั ทง้ั สองแบบอยทู่ กี่ ารวางก�ำลงั ขนาด และ ความมุ่งหมายในการใช้ก�ำลงั กองหนนุ หรือก�ำลงั โจมตี 1.1.1 การตั้งรับแบบเป็นพื้นที่ เป็นการต้ังรับค่อนข้างหนาแน่น ซ่ึง จัดพ้ืนที่การรบเป็นพ้ืนท่ีตั้งรับต่าง ๆ ท่ีมีการสนับสนุนซ่ึงกันและกันโดยล�ำดับ ส่วนหน้า ของพ้ืนท่ีการรบมีการยึดอย่างเหนียวแน่น หน่วยอาจกระจายกันอยู่ในพื้นท่ีใกล้เคียงกับ ภูมิประเทศส�ำคัญ และเตรียมพร้อมที่จะเข้ายึดภูมิประเทศนั้น หากพ้ืนท่ีท่ีจะถูกคุกคาม ความลึกของพื้นท่ีต้ังรับต้ืนและจัดการตั้งรับเพ่ือความมุ่งหมายที่จะหยุดย้ังข้าศึกไว้ ข้างหน้าพนื้ ท่ีการรบ ถ้าข้าศกึ เจาะพื้นที่เข้ามาได้จะทำ� ลายหรือผลกั ดนั ให้ข้าศกึ ออกไป 1.1.2 การต้ังรับแบบคล่องตัว เป็นการต้ังรับแบบคล่ีคลาย ใช้ก�ำลัง ในพ้ืนที่ข้างหน้าแต่น้อย เพื่อความมุ่งหมายให้แจ้งการเข้ามาของข้าศึก เพ่ือท�ำให้ข้าศึก เสียระเบียบ และรั้งหน่วงข้าศึกให้มากที่สุดเท่าทจ่ี ะมากได้ และบังคบั ข้าศกึ ให้เข้าสู่พนื้ ท่ี ทเ่ี หมาะสม ทกี่ ำ� ลงั สว่ นโจมตขี องฝา่ ยเราจะสามารถทำ� ลายขา้ ศกึ ได้ กำ� ลงั สว่ นใหญจ่ ะอยู่ ในกองหนุน ซึ่งเป็นก�ำลังโจมตีท่ีใช้ตีโต้ตอบ การต้ังรับแบบคล่องตัวนี้ การรบแตกหัก อาจเกิดข้ึนภายในพื้นที่การรบ และหวังพ่ึงการปฏิบัติการรุกอย่างรุนแรงและห้าวหาญ
20 เหลา่ ทหารชา่ ง ของก�ำลังส่วนโจมตีท่ีจะท�ำลายข้าศึก กว้างด้านหน้าและความลึกมักจะมากกว่าในการ ตั้งรบั เป็นพน้ื ท ี่ 1.2 ผู้บัญชาการกองพล เป็นผู้ก�ำหนดแบบของที่มัน่ ต้ังรบั ทจี่ ะใช้ และก�ำหนด ล�ำดับความเร่งด่วนในการสร้างท่ีม่ันต้ังรับ ผู้บังคับทหารช่างของกองพล เสนอแนะผู้บังคับ หน่วย ในเร่อื งการวางสนามทุ่นระเบดิ มาตรการในการพราง ปรมิ าณสงิ อปุ กรณ์ประเภทท่ี 4 ทเี่ กย่ี วกบั วสั ดกุ ารพรางและป้อมสนามทจ่ี ะใช้การสร้างเครอ่ื งกดี ขวางอทิ ธพิ ลของภมู ปิ ระเทศ และการใช้หน่วยทหารช่าง ผู้บังคับทหารช่างของกองพลช่วยในการวางแผน และปฏิบัติ ตามแผนฉากขดั ขวางเป็นส่วนรวม 2. การวางก�ำ ลังสนบั สนนุ ของทหารช่าง พ้ืนท่ีตั้งรับ ประกอบด้วย พ้ืนท่ีระวังป้องกัน พ้ืนที่ต้ังรับช่างหน้า และพื้นที่ กองหนุน พ้ืนท่ีเหล่านี้จะแบ่งมอบก�ำลังทหารและก�ำลังยิง ให้ตามส่วนของแผนการตั้งรับ เป็นส่วนรวม 2.1 พน้ื ท่ีระวังป้องกนั พน้ื ทร่ี ะวังป้องกนั ของกองพล เร่ิมตง้ั แต่ขอบหน้าพืน้ ท่ี การรบไปข้างหน้าทางปีกและข้างหลัง เท่าที่ได้วางหน่วยระวังป้องกันของกองพล ก�ำลังใน พื้นที่ระวังป้องกันให้ข่าวสารเกี่ยวกับข้าศึก รั้งหน่วง ลวง ทำ� ให้ข้าศึกเสียระเบียบมากท่ีสุด เท่าที่จะท�ำได้ และเป็นฉากป้องกันการลาดตระเวน ก�ำลังในพ้ืนที่ระวังป้องกันอาจมีก�ำลัง จากหน่วยเหนอื ของกองพล เช่น หน่วยก�ำบงั ของกองทพั น้อย หน่วยเฝ้าตรวจทางอากาศและ หน่วยป้องกนั ปีก กำ� ลงั ของกองพลในพืน้ ทรี่ ะวังป้องกัน จะประกอบด้วย กองรกั ษาด่านทัว่ ไป กองรกั ษาด่านรบ หน่วยระวังป้องกันปีก หน่วยเฝ้าตรวจทางอากาศของกองพล และหมู่ตรวจ แบบการจัดกองรักษาด่านท่ัวไปไม่มีก�ำหนดไว้ กองรักษาด่านท่ัวไปอาจเป็นกรมหรือหน่วย ของกรม กองพันทหารม้ายานเกราะ หรือหน่วยรบเฉพาะกิจขนาดกองพันตามที่ต้องการ หน่วยทหารช่างมักให้ข้ึนสมทบกับกองรักษาด่านท่ัวไป ผู้บังคับหน่วยทหารช่างท่ีสมทบเป็น ผู้บังคับทหารช่างของกองรักษาด่านทั่วไป ให้ค�ำแนะน�ำเกี่ยวกับงานช่างแก่ผู้บังคับกอง รักษาด่านทั่วไป และมอบภารกิจ และพื้นท่ีรับผิดชอบให้กับหน่วยรองของตน แต่ละหน่วย ที่ได้รับมอบพ้ืนท่ีจะต้องรับผิดชอบในการดูแลเส้นทางถอนตัวให้เปิดอยู่ตลอดเวลา และ จัดสร้างเคร่ืองกีดขวางภายในพื้นที่ของตน การปิดเส้นทางต่าง ๆ จะต้องได้รับค�ำส่ังจาก ผู้บังคับหน่วยทางยุทธวิธีท่ีใช้เส้นทางนั้น นอกจากน้ันแต่ละหน่วยรับผิดชอบในการสร้าง
เครื่องกีดขวางตามเส้นทางภายในพ้ืนท่ีของตน การกิจของทหารช่างในกองรักษาด่านรบ เหล่าทหารช่าง 21 โดยทว่ั ไปเหมอื นกับในกองรักษาด่านทว่ั ไปแต่มีขอบเขตเล็กกว่า โดยทั่ว ๆ ไปกจิ เฉพาะของ ทหารช่าง ได้แก่ การวางและปฏิบัตกิ ารท�ำลาย การสร้างเครอ่ื งกีดขวางและงานช่างโยธา 2.2 พ้ืนท่ีต้ังรับหน้า นับจากแนวขอบหน้าพ้ืนที่การรบไปข้างหลัง รวมถึง พื้นที่ซึ่งหน่วยท่ีเข้ารบข้างหน้าท�ำการดัดแปลงภูมิประเทศ การประกอบก�ำลังในพื้นท่ีตั้งรับ ข้างหน้าแล้วแต่แบบในการตัง้ รบั ท่ใี ช้ แต่มกั จะมที หารช่างสนบั สนุนโดยตรงต่อหน่วยที่เข้ารบ ซึ่งตามปกติใช้หนึ่งกองร้อยทหารช่าง ต่อหนงึ่ กรมทีเ่ ข้าท�ำการรบ 2.2.1 ในการต้ังรับแบบคล่องตัว ผู้บังคับหน่วยประจ�ำที่มั่นดัดแปลงพื้นท่ี ของตน โดยจัดเป็นท่ีมั่นตั้งรับและเพิ่มเติมด้วยที่ตรวจการณ์ ท่ีฟังการณ์และหมู่ตรวจ ที่ม่ัน ดดั แปลงให้ป้องกนั ได้รอบตวั โดยมหี นว่ ยขนาดกองร้อยจนถงึ กองพนั เฉพาะกจิ ทม่ี น่ั ตง้ั อยใู่ น พน้ื ทซ่ี งึ่ ควบคมุ ภมู ปิ ระเทศทคี่ มุ้ ครองแนวทางเคลอื่ นทเ่ี ขา้ สทู่ ต่ี งั้ และตงั้ ในพน้ื ท่ี ซง่ึ อาจผลกั ดนั รั้งหน่วงหรือบังคับการเคล่ือนท่ีของข้าศึกที่เข้าตีท่ีม่ันส�ำรองและท่ีต้ังตามล�ำดับข้ันก�ำหนดไว้ ในทางลึก ก�ำลังในพนื้ ทต่ี งั้ รับข้างหน้าแบ่งมอบให้น้อยทสี่ ดุ เท่าท่จี ำ� เป็น ในการปฏิบัตภิ ารกิจ ดงั กล่าวแล้ว ซึ่งตามปกตจิ ะเป็นทหารราบมากกว่ายานเกราะซง่ึ เป็นกำ� ลังโจมตี 2.2.2 ในการต้ังรับเป็นแบบพื้นที่ พื้นที่ต้ังรับข้างหน้าจะดัดแปลงเป็นพื้นที่ ต้ังรับซ่ึงมีพ้ืนยิงดี การตรวจการณ์ดีและมีความแข็งแรงตามธรรมชาติ ท่ีม่ันสร้างให้ปิดกั้น แนวทางเคล่ือนท่ี ณ แนวขอบหน้าท่ีม่ัน เพ่ือควบคุมพ้ืนท่ี ความแข็งแรงตามธรรมชาติ ของพน้ื ทจ่ี ะเสรมิ ความแขง็ แรงขนึ้ โดยการใชเ้ ครอื่ งกดี ขวางทสี่ รา้ งขนึ้ และปอ้ มสนาม ตลอดจน ฉากขดั ขวางตามท่ีเวลาจะอำ� นวยให้ 2.3 พื้นที่กองหนุน นับจากเส้นเขตหลังของกรมไปจนถึงเส้นเขตหลังของ กองพล กองหนุน ได้แก่ หน่วยที่ไม่เข้ารบ และเป็นเครื่องมือหลักของผู้บัญชาการกองพล ใช้บังคับการตั้งรับ และให้ได้ความริเร่ิมกลับคืนมา ก�ำลังของกองหนุนอาจประกอบด้วย อาวธุ ยงิ หรอื หน่วยดำ� เนินกลยทุ ธ์ หรอื ทงั้ สองอย่าง 2.3.1 ในการตง้ั รบั แบบคลอ่ งตวั กำ� ลงั กองหนนุ จดั ใหม้ กี ำ� ลงั มากทส่ี ดุ เทา่ ที่ จะทำ� ได้ มีภารกจิ ในการทำ� ลายกำ� ลังข้าศึก ณ พ้ืนท่ีและเวลาทีเ่ หมาะสม 2.3.2 ในการตั้งรับแบบเป็นพ้ืนที่ ก�ำลังของกองหนุนจัดไม่มากเท่ากับ การต้ังรับแบบคล่องตัว ใช้ส�ำหรับตีโต้ตอบหรือตรึงก�ำลังข้าศึกที่เจาะแนวเข้ามาก่อนท่ี หน่วยเหนือจะท�ำการตีโต้ตอบในพื้นที่กองหนุนน้ีจะมีกองพันทหารช่างที่เหลืออยู่ ท�ำหน้าที่
22 เหลา่ ทหารชา่ ง สนับสนุนทั่วไปแก่กองพลและมีภารกิจรองในการสนับสนุนหน่วยรบเฉพาะกิจอ่ืน ๆ ตาม คำ� สง่ั ทไี่ ดร้ บั ตามปกตกิ องหนนุ นจ้ี ะใหก้ รมควบคมุ แต่บางโอกาสอาจใหห้ นว่ ยรบเฉพาะกจิ ที่ จัดต้ังขึ้นควบคุมหรือกองพลควบคมุ เอง 3. ภารกจิ หลกั ของทหารชา่ งในการยทุ ธดว้ ยวธิ ีรับ ภารกิจหลักของทหารช่างของกองพลในการสนับสนุนการรบด้วยวิธีรับ ได้แก่ การเพิ่มขีดความสามารถในการต้ังรับของหน่วยรบ โดยช่วยในการดัดแปลงภูมิประเทศ การสร้างท่ีม่ันต้ังรับและช่วยในการเคลื่อนท่ีของกองหนุนในการตีโต้ตอบ ทหารช่างอาจ เตรียมการท�ำลาย วางสนามทุ่นระเบิด สร้างและซ่อมแซมเส้นทางในการตั้งรับ ใช้เครื่อง กดี ขวางอย่างกว้างขวาง ซึ่งหากเวลาอำ� นวยให้แล้วจะเพม่ิ ขดี ความสามารถในการตงั้ รบั ของ ภูมิประเทศโดยการใช้เคร่ืองกีดขวางที่สร้างข้ึน และปรับปรุงเคร่ืองกีดขวางตามธรรมชาติ ให้กลายเป็นระบบฉากขัดขวางท่ีข้าศึกไม่สามารถจะผ่านได้โดยไม่สูญเสียก�ำลังและวัสดุ อย่างมาก การสร้างเคร่ืองกีดขวางเป็นความรับผิดชอบของผู้บังคับพื้นท่ี หรือผู้บังคับด่าน แตผ่ บู้ งั คบั พนื้ ทหี่ รอื ผบู้ งั คบั ดา่ นอาจขอใหผ้ บู้ งั คบั ทหารชา่ งกำ� กบั ดแู ลการสรา้ ง และถา้ จำ� เปน็ ก็ให้ทหารช่างท�ำการสร้างให้ (ชนิดของป้อมค่ายและเครื่องกีดขวาง ดู รส. 5-15) ผู้บังคับ ทหารช่างของกองพลช่วยในการวางแผนฉากขัดขวางเป็นส่วนรวม และช่วยในการปฏิบัติ ตามแผนน้นั 4. การให้ความชว่ ยเหลือจากทหารช่างนอกกองพล เม่ือกองพลท�ำการดัดแปลงที่มั่นของตน กองพลมักจะต้องการและได้รับความ ช่วยเหลือจากทหารช่างของกองทัพน้อย หน่วยทหารช่างของกองทัพน้อย อาจท�ำงานถนน บางสาย จัดต้ังต�ำบลจ่ายน้�ำในพื้นที่ข้างหลัง วางสะพานเคร่ืองพร้อมอย่างเร่งด่วน แทนสะพานท่ีช�ำรุดหรือถกู ท�ำลายในพื้นท่ีของกองพล ปฏิบัติงานขนดิน งานการพรางที่ต้อง ใช้ความชำ� นาญเป็นพิเศษ การสร้างเคร่ืองกีดขวางและสร้างท่ีมั่นทางปีกข้างหลัง และสร้าง ท่ีมั่นสกัดกั้น จัดเจ้าหน้าท่ีพิเศษที่ไม่มีในกองพันทหารช่างของกองพลให้ ถ้าสถานการณ์ อ�ำนวยให้และคาดว่ามีความต้องการกองทัพน้อยและกองทัพอาจสร้างที่มั่นตั้งรับไว้ล่วงหน้า ก่อนท่ีหน่วยทหารประจำ� ท่มี ัน่ จะมาถึง ในกรณเี ช่นน้จี ะใช้แรงงานพลเรือนให้มากทส่ี ดุ
5. การลาดตระเวน เหล่าทหารช่าง 23 การลาดตระเวนทางการช่าง ในการต้ังรับจะต้องท�ำตลอดเวลาเช่นเดียวกับ การยุทธด้วยวิธีรุก และจะต้องเร่ิมต้นท�ำการลาดตระเวนอย่างเต็มท่ีเม่ือตกลงใจท่ีจะ เขา้ ยดึ ทม่ี น่ั เนน้ หนกั ในเรอื่ งการจดั ทำ� ขอ้ ศกึ ษาพจิ ารณาภมู ปิ ระเทศ การเลอื กเสน้ ทางสำ� หรบั ตโี ต้ตอบการเลอื กทส่ี ร้างเครอื่ งกดี ขวางตำ� บลทำ� ลาย และในการใช้ความกำ� บงั ตามธรรมชาติ ให้ได้ประโยชน์ 5.1 ในการตงั้ แบบรบั เปน็ พน้ื ที่ ชดุ ลาดตระเวนทางการชา่ งของกองพนั ทหารชา่ ง ของกองพล ท�ำการตรวจพื้นท่ีโดยละเอียดและรายงานเร่ืองที่น่าสนใจทางการช่างทุกอย่าง ซง่ึ จะใช้เป็นมลู ฐานในการวางแผนฉากขดั ขวางและเคร่ืองกีดขวาง เส้นทางส่งกำ� ลัง ส่งกลบั และถอนตวั ทรัพยากรที่มี เช่น ไม้ ทราย และกรวด และในการวางแผนการยุทธขัดขวาง 5.2 ในการตั้งรับแบบคล่องตัวการลาดตระเวนทางการช่าง กระท�ำร่วมกับ แผนการตีโต้ตอบในความอ�ำนวยการของทหารช่าง โดยมากพื้นท่ีของกองพลท่ีจะใช้เป็น ทีม่ ่นั ต้ังรบั ทหารช่างมกั จะคุ้นเคยมาก่อน และข่าวสารเกี่ยวกับพนื้ ท่ที ม่ี อี ยู่ในกองบัญชาการ กองทัพน้อยหรือกองทัพ ผู้บังคับทหารช่างของกองพลรับผิดชอบในการรวบรวม และในการ ใช้ข่าวกรองทม่ี อี ยู่นใ้ี ห้เป็นประโยชน์ 6. การดดั แปลงภูมิประเทศ ในการดัดแปลงภูมิประเทศ ทหารช่างของกองพลและทหารช่างนอกกองพล มบี ทบาทสำ� คญั ในการเสนอแนะ และชว่ ยเหลอื หนว่ ยอนื่ ๆ ในการใชแ้ ละการปรบั ปรงุ คณุ ภาพ ของภมู ปิ ระเทศตามธรรมชาตใิ ห้ได้ประโยชน์ในการตัง้ รับให้มากท่สี ดุ แล้วเสริมความแข็งแรง ด้วยการวางสนามทุ่นระเบิด การสร้างเครื่องกีดขวาง การพราง การก่อสร้างเพ่ือป้องกัน การปรับปรงุ พนื้ ท่ตี รวจการณ์ และพน้ื ยิง ฉากขัดขวางรวมเข้ากบั แผนการต้งั รบั เพ่ือให้ข้าศึก อยู่ในอ�ำนาจการยิง หรือหันเหข้าศึกเข้าไปสู่พื้นท่ีซ่ึงอาจถูกท�ำลายด้วยการยิงและกลยุทธ์ ในการรุกหรือแยกส่วนของข้าศึกที่เข้าตี เช่น การแยกรถถังออกจากทหารราบเดินเท้า แผนฉากขดั ขวางวางไวใ้ นลกั ษณะทใี่ ช้ประโยชนข์ องเครอ่ื งกดี ขวางตามธรรมชาตใิ ห้มากทสี่ ดุ
24 เหลา่ ทหารชา่ ง 7. ปอ้ มสนาม 7.1 การต้งั รับ ประกอบข้ึนด้วยที่ต้ังทางยุทธวธิ ี ซึ่งได้เข้ายดึ และมกี ารดัดแปลง หลายแห่งท่ีมั่นต้ังรับเลือกข้ึนโดยอาศัยความแข็งแรงในการต้ังรับตามธรรมชาติ ซ่ึงมีส่วน ช่วยในการปฏิบัติภารกิจและผลการตรวจการณ์ท่ีเก้ือกูล ท่ีตั้งตามธรรมชาติเหล่านี้ เสริมความแข็งแรงด้วยป้อมสนาม เพื่อสนับสนุนแผนการยิงและแผนการด�ำเนินกลยุทธ์ ป้อมค่ายท่ีวางแผนและสร้างไว้อย่างดีจะให้การป้องกันท่ีต้องการและดึงข้าศึกให้เข้ามาอยู่ ในอ�ำนาจการยิงมากท่ีสุดต้ังแต่เนิ่นเท่าที่จะท�ำได้ แผนการสร้างมักพิจารณาให้สร้างเป็น ขั้นตอน การก่อสร้างเพ่ือป้องกนั ท�ำตามลำ� ดบั จากน้อยไปหามากเท่าท่จี ะท�ำได้ โดยค�ำนงึ ถึง เวลาและวสั ดทุ ม่ี อี ยู่ 7.2 เน่ืองจากขอบเขตอันกว้างขวางของงานสร้างป้อมสนาม ทุกหน่วยเข้าร่วม ในงานนตี้ ามขดี ความสามารถของตน การเลอื กพนื้ ทแี่ ละการสรา้ งปอ้ มสนามเพอ่ื ปอ้ งกนั หนว่ ย เป็นความรับผิดชอบของผู้บังคับหน่วยแต่ละหน่วยที่เกี่ยวข้อง ผู้บังคับทหารช่างของกองพล รับผิดชอบในการผลิตข้อศึกษาพิจารณาภูมิประเทศ ซึ่งจะน�ำไปใช้ในการวางแผนและ พัฒนาป้อมค่าย ความรบั ผิดชอบหลักของทหารช่างในการสร้างป้อมสนาม ได้แก่ 7.2.1 เสนอแนะปริมาณและชนิดของวัสดุป้อมสนาม และเครื่องมือ เช่น เครือ่ งมอื ธรรมดาทก่ี องพลต้องใช้ 7.2.2 ให้ค�ำแนะนำ� และความช่วยเหลือทางเทคนิค 7.2.3 ท�ำการขุดและถมซึ่งมปี ริมาณมาก 7.2.4 เพ่ิมประสิทธิภาพของที่ตั้งอาวุธอย่างกว้างขวาง โดยการวาง เครือ่ งกีดขวางป้องกนั ตน 7.2.5 จดั เครือ่ งมือพิเศษให้พร้อมด้วยพลประจ�ำ 7.2.6 ท�ำการก่อสร้างเพื่อป้องกันให้แก่กองบังคับการ และส่ิงอ�ำนวย ความสะดวกในการติดต่อสอื่ สารของหน่วย 8. ฉากขดั ขวางและเครอ่ื งกดี ขวาง 8.1 ฉากขดั ขวางใชใ้ นการตง้ั รับเพอ่ื 8.1.1 ร้ังหน่วงการรุกของข้าศกึ ทางด้านหน้าหรือทางปีก
8.1.2 รัง้ หน่วงหรอื กำ� จัดการเคลอ่ื นทีข่ องหน่วยทเ่ี จาะแนวหรือโอบ เหล่าทหารช่าง 25 8.1.3 บังคับกรอบการเคล่ือนท่ีให้เข้าสู่พื้นท่ีซึ่งอาจท�ำลายข้าศึกหรือท�ำให้ ข้าศกึ พ่ายแพ้ 8.1.4 แยกส่วนของข้าศึกที่เข้าตี เช่น แยกทหารราบออกจากยานเกราะ 8.2 การวางแผนฉากขดั ขวางและเครือ่ งกดี ขวาง กระทำ� พร้อม ๆ กันไปกบั แผนอ่ืน ๆ และกระท�ำได้ทุกระดับหน่วย ระบบฉากขัดขวางทางยุทธวิธีขนาดใหญ่และทาง ยุทธศาสตร์อย่างกว้างขวางกองทัพน้อยหรือหน่วยเหนือเป็นผู้ส่ัง สธ.2 เป็นผู้รับผิดชอบ ในฐานะฝา่ ยเสนาธกิ าร ในการใชฉ้ ากขดั ขวางและเครอ่ื งกดี ขวางทางยทุ ธวธิ ี ผบู้ งั คบั ทหารชา่ ง เป็นผู้รับผิดชอบในฐานะฝ่ายกิจการพิเศษ ในการวางแผนผู้บังคับทหารช่าง ท�ำข้อศึกษา พิจารณาภูมิประเทศและฉากขัดขวางให้แก่ สธ.2 เสนอแนะ สธ.3 ในเรื่องวิธีการ และ ขอบเขตในการเพิม่ เติมเคร่อื งกีดขวางตามธรรมชาติ วางแผน และกำ� กับดแู ลทางเทคนิคของ การใชฉ้ ากขดั ขวาง ผบู้ งั คบั ทหารชา่ งชว่ ย สธ.3 จดั ทำ� ผนวกฉากขดั ขวางของแผนยทุ ธการหรอื คำ� สงั่ ยทุ ธการในความอำ� นวยการของ สธ.3 ประสานกบั นายทหารเคมใี นการใชส้ ารเคมใี นแผน ฉากขดั ขวาง การวางแผนฉากขดั ขวาง และเครอ่ื งกดี ขวางของกองพลนน้ั มกั จะไดร้ บั การเพม่ิ เตมิ ด้วยการวางแผนเคร่ืองกดี ขวางทางยทุ ธวิธีในรายละเอยี ดในระดับกรม 8.3 การสร้างเครื่องกีดขวางในการป้องกันระยะประชิดนั้น เป็นความ รับผิดชอบของผู้บังคับหน่วยท่ีเก่ียวข้องแต่ละหน่วย และอาจรวมเข้ากับแผนฉากขัดขวาง ของกองพลหรือหน่วยเหนือ โดยปกติหน่วยทางยุทธวิธีรับผิดชอบในการสร้างเครื่องกีดขวาง ในส่วนของระบบฉากขัดขวางซึ่งอยู่ในพื้นที่ของตน ทหารช่างให้ความช่วยเหลือในรูปแบบ ของการท�ำงาน การใหค้ �ำแนะนำ� และการกำ� กบั ดแู ลทางเทคนคิ ทหารชา่ งอาจตอ้ งรบั ผดิ ชอบ ในการก�ำหนดที่ตั้ง และในการสร้างเคร่ืองกีดขวางที่ต้องใช้ความช�ำนาญและเครื่องมือพิเศษ ที่อยู่ทางด้านปีกและทางด้านหลัง ที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ที่จะต้องสร้างก่อนท่ีหน่วย ทหารประจำ� ทม่ี นั่ จะมาถงึ และท่อี ยู่พ้นความรบั ผดิ ชอบของหน่วยอ่ืน 8.4 การใชเ้ คร่ืองกีดขวาง 8.4.1 การตั้งรบั แบบเป็นพ้ืนท่ี เคร่อื งกดี ขวางนำ� มาใช้อย่างกว้างขวาง เม่อื มเี วลาอำ� นวยใหจ้ ะไดท้ ำ� การปรบั ปรงุ คณุ ลกั ษณะในการปอ้ งกนั ตามธรรมชาตขิ องภมู ปิ ระเทศ และเพมิ่ เตมิ ด้วยเครอื่ งกดี ขวางทส่ี ร้างขน้ึ จนกลายเปน็ ระบบฉากขดั ขวาง ซงึ่ ขา้ ศกึ ไมส่ ามารถ ผ่านได้โดยไม่สูญเสียกำ� ลงั อย่างมาก
26 เหลา่ ทหารชา่ ง 8.4.2 ในการตง้ั รบั แบบคล่องตัว เครอื่ งกดี ขวาง และฉากขดั ขวางใช้ในการ ร้ังหน่วงหรือบังคับกรอบการเคล่ือนที่ของข้าศึกจะต้องมีการประสานกันเป็นอย่างดี ทั้งน้ี เนอื่ งจากความจำ� เปน็ ทจี่ ะตอ้ งใหม้ เี สรใี นการเคลอื่ นทข่ี องหนว่ ยดำ� เนนิ กลยทุ ธ์ ในการตโี ตต้ อบ ต้องมีช่องทางเปิดไว้ให้รถถังและทหารราบยานเกราะของฝ่ายเราผ่านไปข้างหน้ามาข้างหลัง ไปส่พู ืน้ ท่ขี ้างเคียงและไปยังท่มี ั่นใหญ่ 8.4.3 ในสถานการณ์ที่ใช้ทุ่นระเบิด เครื่องกีดขวางเคร่ืองพร้อม และ เครอื่ งกดี ขวางชนดิ ขดุ อยา่ งกวา้ งขวาง เมอื่ มเี วลาและทรพั ยากรจำ� กดั จะสะทอ้ นถงึ การวางแผน ฉากขัดขวางและเคร่ืองกีดขวางด้วย และเมื่อมีเครื่องมือกลส�ำหรับวางทุ่นระเบิดและ เคร่ืองขุดดินจะช่วยลดเวลาและแรงงานที่ต้องใช้ ทุ่นระเบิดใช้เป็นเคร่ืองกีดขวาง หรือ เครอ่ื งกดี ขวางสนบั สนนุ ในระบบฉากขดั ขวางการรวมทนุ่ ระเบดิ เคมเี ขา้ ไวใ้ นระบบฉากขดั ขวาง จะทำ� ใหพ้ นื้ ทเี่ ปน็ พษิ ซงึ่ จะทำ� ใหก้ ารเจาะชอ่ งไดย้ ากขน้ึ และใชเ้ วลามากขน้ึ แตก่ ารใชท้ นุ่ ระเบดิ อย่างกว้างขวางเป็นการเพ่ิมภาระในการส่งกำ� ลังบ�ำรุง ซ่ึงจะต้องพิจารณาเมื่อมีการวางแผน การใช้ทุ่นระเบดิ เป็นจำ� นานมาก 9. ถนนในสนามและสะพานทางยุทธวธิ ี ต้องคาดการณ์ว่าข้าศึกพยายามท่ีจะขัดขวางการเคล่ือนท่ีของกองหนุน และ การส่งก�ำลังโดยการโจมตีทางอากาศ การยิงด้วยปืนใหญ่และอาวุธต่าง ๆ ต่อถนน สะพาน ช่องแคบ ในการวางแผนการตีโต้ตอบด้วยฉากขัดขวางของฝ่ายเรา การวางแผนการตั้งรับ ควรจะจัดเตรียมไว้ส�ำหรับการก่อสร้าง การซ่อมแซม และบ�ำรุงรักษาเส้นทางที่ต้องใช้ เคล่ือนย้ายกองหนุนไปท�ำการตีโต้ตอบไปยังท่ีม่ันสกัดกั้น ไปยังท่ีม่ันส�ำรอง และการผ่าน ช่องแคบ วัสดุท่ีใช้ในการซ่อมแซมหรือเปลี่ยนแปลงสะพานควรจะไว้กับหน่วยทหารช่าง ท่ีสนับสนนุ และกองไว้ ณ ตำ� บลทีใ่ ห้ประโยชน์ 10. งานช่างในพื้นท่กี องหนุนของกองพล ลำ� ดบั ความเรง่ ดว่ นสำ� หรบั งานชา่ งในพนื้ ทก่ี องหนนุ ของกองพล ไดแ้ ก่ การสนบั สนนุ กองหนนุ ของกองพลวางแผนทมี่ น่ั สกดั กน้ั ในพน้ื ทขี่ า้ งหลงั ของพนื้ ทต่ี งั้ รบั ขา้ งหนา้ หนว่ ยดำ� เนนิ กลยทุ ธเ์ ปน็ ผสู้ รา้ งโดยทหารชา่ งใหค้ วามชว่ ยเหลอื หรอื ทหารชา่ งเปน็ ผสู้ รา้ งโดยผบู้ งั คบั หนว่ ย ที่จะเข้าประจ�ำที่ม่ันให้แนวทางในการสร้างท่ีมั่นสกัดก้ันนี้เลือกและดัดแปลงข้ึนให้ป้องกัน
การเจาะแนวขนาดใหญ่จากทางปีกหรือปีกที่มีก�ำลังน้อยยึดอยู่ที่มั่นน้ี อาจให้กองหนุน เหล่าทหารช่าง 27 ของกองพลเข้าประจ�ำท่ีม่ันน้ีดัดแปลงให้ท�ำการป้องกันได้รอบตัวใช้ลักษณะภูมิประเทศ ตามธรรมชาติให้เป็นประโยชน์มากที่สุด เน้นในการถูกโจมตีด้วยยานเกราะและอาวุธหนัก ทหารช่างมีบทบาทส�ำคัญในการเตรียมป้องกันในพ้ืนท่ีข้างหลัง การสร้างท่ีม่ันส�ำรองและ ทำ� งานช่างทุกชนดิ ซึ่งงานหลกั ของทหารช่างในพน้ื ท่ีข้างหลัง ได้แก่ 10.1 การซ่อมบ�ำรุงถนนและสะพาน ในพื้นท่ีข้างหลังของกองพลจะมีการ สะสมและทดแทนส่ิงอุปกรณ์ และเคร่ืองมือโดยต่อเนื่อง ในการน้ีท�ำให้เกิดการจราจรเพิ่ม มากขน้ึ บนขา่ ยถนน เนอ่ื งจากการตง้ั รบั นนั้ ทกุ อยา่ งขนึ้ อยกู่ บั ความคลอ่ งแคลว่ ในการเคลอ่ื นท่ี ของหน่วยและสิ่งอุปกรณ์ ดังน้ัน จึงมีความส�ำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องให้มีถนน และสะพาน ใช้การได้ตลอดเวลา 10.2 ทบ่ี งั คบั การของกองพลและกรม จะตอ้ งหลกี เลยี่ งไมใ่ หเ้ ปน็ เปา้ หมาย ที่คุ้มค่าต่อการโจมตีด้วยอาวุธขนาดหนักของข้าศึก ท่ีบังคับการเหล่านี้จะต้องกระจายกัน ออกไป มีการซ่อนพรางและอยู่ใต้ดินลึกพอท่ีจะไม่เกิดความเสียหายจากการโจมตีด้วยอาวุธ ขนาดหนัก ความจ�ำเป็นท่ีต้องมีท่ีบังคับการส�ำรองส�ำหรับกองพลและกรม เป็นการเพ่ิมงาน ใหก้ บั ทหารชา่ งมาก การจดั สรา้ งทม่ี น่ั และเครอ่ื งกดี ขวาง เพอ่ื ใหค้ วามปลอดภยั แกท่ บ่ี งั คบั การ ของกองพลควรจะต้องประสานกับหน่วยทหารสารวัตรของกองพลและผู้บังคับหมวดป้องกัน ของสารวตั รทหาร 10.3 ที่ต้ังปืนใหญ่ของกองพล อาจต้องใช้ทหารช่างช่วยในการจัดทำ� ที่ต้ัง ยิงปืนใหญ่ เพื่อให้หน่วยปืนใหญ่เปลย่ี นที่ตงั้ ยงิ อย่างรวดเรว็ 10.4 นำ�้ และตำ� บลจ่ายนำ้� การดำ� เนนิ การแจกจ่ายนำ้� เปน็ ความรบั ผดิ ชอบ ของ ฝอ.4 ของกองพนั ทหารชา่ ง แตก่ องรอ้ ยทหารชา่ งชว่ ยในการเตรยี มทตี่ ง้ั ไดแ้ ก่ การถากถาง การสร้างทางเข้าออก การปรับระดับ และการบดทบั เท่าทจี่ ำ� เป็น เพื่อให้ได้ทีต่ ้ังท่เี หมาะสม 10.5 การรื้อถอนทุ่นระเบิด ถ้าการตั้งรับอยู่ในพ้ืนท่ีซึ่งข้าศึกเคยยึดครอง อยู่ก่อน อาจท�ำการกวาดล้างสนามทุ่นระเบิดเพ่อื ให้มพี ืน้ ท่ีที่จะใช้มากขน้ึ อาจมีความจำ� เป็น ที่ทหารช่างต้องทำ� การร้ือถอนทุ่นระเบดิ หรอื ท�ำลาย ณ ทวี่ าง 10.6 ที่รวบรวมเชลยศึก แม้ว่าความรับผิดชอบในการรวบรวมเชลยศึก จะเป็นความรับผิดชอบของสารวัตรทหาร แต่ทหารช่างก็อาจจะต้องสร้างส่ิงอ�ำนวยความ สะดวกในการรวบรวมเชลยศึกให้
28 เหลา่ ทหารชา่ ง 10.7 สิ่งอ�ำนวยความสะดวกในการข้ึนลงของเครื่องบิน เมื่อเกิดมีความ ต้องการสิ่งอ�ำนวยความสะดวกในการขึ้นลงของเคร่ืองบิน โดยท่ัวไปงานน้ีประกอบด้วย การถากถางพ้ืนที่ให้ใหญ่พอที่เครื่องบินจะขึ้นลง การปรับระดับและบดทับเพื่อให้สามารถ รบั นำ้� หนกั ของเครอื่ งบนิ ได้ ตวั อยา่ งของงานชนดิ น้ี ไดแ้ ก่ การถากถางพมุ่ ไม้ สายโทรศพั ทจ์ าก สองข้างถนน กลบหลมุ ระเบดิ หรอื เอาพืชออกจากพนื้ ทเี่ พ่ือให้เฮลคิ อปเตอร์ขน้ึ ลงได้ 10.8 การเตรียมสถานท่ีตั้ง ส�ำหรับหน่วยสนับสนุนของกองพลในพื้นท่ี ขา้ งหลงั อาจตอ้ งใชท้ หารชา่ ง เชน่ ทตี่ งั้ สำ� หรบั เครอื่ งมอื สอ่ื สาร ทตี่ ง้ั สงิ่ อปุ กรณ์ และการเตรยี ม ท่ตี ัง้ กองพนั เสนารักษ์และทีต่ ั้งของหน่วยต่าง ๆ 11. ภารกจิ เฉพาะของทหารชา่ งในการยุทธวธิ ีรับ 11.1 เพ่ิมขีดความสามารถในการตง้ั รับของหน่วยรบ 11.2 ช่วยในการเคลื่อนที่ของกองหนุน 11.3 วางสนามทุ่นระเบิดสร้างเครื่องกีดขวางและปรับปรุงเคร่ืองกีดขวาง ตามธรรมชาติ 11.4 ลาดตระเวนทางการช่าง 11.5 สร้าง ซ่อมแซม และบำ� รงุ รกั ษาเส้นทางคมนาคม 11.6 อาจต้องสร้างลานบนิ หน้า 11.7 การสง่ิ ก�ำลังสายช่าง โดยเฉพาะ สป.4 11.8 การประปาสนาม 11.9 ช่วยในการควบคมุ การจราจร 11.10 ทำ� การรบอย่างทหารราบ
เหล่าทหารช่าง 29 กองพลต้งั รับแบบพื้นท่ี
30 เหลา่ ทหารชา่ ง กองพลตั้งรบั แบบเคลื่อนท่ี
บทท่ี เหล่าทหารช่าง 31 ทหารชา่ งในการยทุ ธด้วยวิธรี ่นถอย 1. กล่าวทั่วไป การร่นถอย คือ การเคล่ือนย้ายหน่วยไปข้างหลังหรือออกไปให้พ้นจาก ข้าศึกเป็นการปฏิบัติเพ่ือละทิ้งภูมิประเทศให้ข้าศึกเข้าควบคุมและเพื่อหลีกเลี่ยงการรบ ขัน้ แตกหักกับข้าศกึ 2. ความมมุ่งหมาย ในการร่นถอย อาจปฏิบตั ิเพ่อื ความมุ่งหมายดังต่อไปนี้ 2.1 รบกวนทำ� ให้ข้าศึกอ่อนกำ� ลงั ต้านทาน รงั้ หน่วง และทำ� ลายกำ� ลงั ข้าศึก 2.2 ชักจงู ข้าศกึ เข้าสู่สภาพการณ์ท่ีเสยี เปรยี บ 2.3 นำ� กำ� ลงั บางส่วนไปใช้ในพ้ืนทแ่ี ห่งอ่นื 2.4 หลกี เล่ียงการรบในสภาพการณ์ที่เสียเปรียบ 2.5 เพอ่ื รอเวลาและหลกี เลี่ยงการรบแตกหัก 2.6 เพ่ือผละออกจากการรบ 2.7 เพื่อให้สอดคล้องกบั การเคลื่อนทข่ี องฝ่ายเดียวกัน 2.8 เพื่อร่นระยะทางคมนาคมให้สนั้ ลง
32 เหลา่ ทหารชา่ ง 3. แบบของการร่นถอย 3.1 การถอนตวั คอื การปฏบิ ตั วิ ธิ หี นง่ึ ซง่ึ กำ� ลงั ทงั้ หมดผละออกจากการสรู้ บกบั ข้าศกึ ซง่ึ มวี ธิ ปี ฏบิ ตั ิ 2 วธิ ี คอื การถอนตวั เมอ่ื ข้าศกึ ไม่กดดนั และการถอนตวั เมอื่ ข้าศกึ กดดนั 3.2 การถอย คือ การปฏิบัติร่นถอยที่ก�ำลังของฝ่ายเรามิได้ปะทะกับข้าศึก เป็นการถอนตัวไปตามแผนท่ีวางไว้ โดยปราศจากการกดดันของข้าศึก ถ้าหากหน่วยก�ำลัง ปะทะกบั ข้าศกึ ต้องใช้วธิ กี ารถอนตวั ออกจากการรบเสยี ก่อน 3.3 การรบหนว่ งเวลา คอื การปฏบิ ตั งิ านของหนว่ ยทอี่ ยภู่ ายใต้การกดดนั ของ ข้าศกึ โดยยอมเสยี พนื้ ทเ่ี พอื่ ใหไ้ ดเ้ วลา ในขณะเดยี วกนั ทำ� ความเสยี หายใหก้ บั ขา้ ศกึ มากทสี่ ดุ มีแบบการรบหน่วงเวลาอยู่ 2 แบบ คอื การรบหน่วงเวลาในท่ีมน่ั ตามลำ� ดบั ขนั้ และการรบ หน่วงเวลาในทีม่ ่ันสลบั ขัน้ ซง่ึ อาจจะให้แยกกันหรือผสมกันกไ็ ด้ 4. การวางกำ�ลงั ทหารช่างสนบั สนนุ การร่นถอย 4.1 หน่วยทหารช่างของกองพล ในการร่นถอยของกองพล การวางก�ำลัง ทหารช่าง สนบั สนนุ ตามแบบ ประกอบด้วย หน่งึ กองร้อยทหารช่างขึ้นสมทบกับหน่วยกำ� บงั หรือหน่วยระวังป้องกัน หน่ึงกองร้อยทหารช่างสนับสนุนโดยตรงต่อหน่วยใหญ่ แต่ละหน่วย ที่ท�ำการร่นถอยก�ำลังส่วนท่ีเหลือของกองพันทหารช่างกองพลสนับสนุนทั่วไปแก่กองพล การประกอบก�ำลังและการวางก�ำลังอย่างแท้จริงของหน่วยทหารช่างท่ีท�ำหน้าที่สนับสนุน ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของข้าศึก ลักษณะภูมิประเทศ การประกอบก�ำลังของหน่วยท่ีท�ำการ ร่นถอย และสถานการณ์ทางยุทธวธิ ี 4.1.1 ทหารชา่ งของกองพล อาจตอ้ งรวมการทหารชา่ ง เพอื่ ปฏบิ ตั ติ ามแผน ฉากขัดขวางของกองพล การสร้างเคร่ืองกีดขวางและที่ม่ันข้างหลัง และการซ่อมบ�ำรุงถนน ถา้ ใหท้ หารชา่ งขน้ึ สมทบกบั หนว่ ยยอ่ ยของหนว่ ยรบหลาย ๆ หนว่ ย จะเปน็ การลดประสทิ ธภิ าพ ส่วนรวมของกองพันทหารช่างของกองพล ซึ่งมักจะได้รับการสนับสนุนทางการช่างเพ่ิมเติม จากหน่วยเหนือ 4.1.2 พนั ธกจิ ทสี่ ำ� คญั ประการหนง่ึ ของทหารช่าง คอื การให้คำ� แนะนำ� และ ช่วยเหลือในการวางและปฏิบัติตามแผนฉากขัดขวางเป็นส่วนรวม ผู้บังคับหน่วยท่ีท�ำการ ร่นถอยให้ฉากขัดขวางในการรั้งหน่วงข้าศึก หรือบังคับข้าศึกเข้าไปในพ้ืนท่ีซึ่งอาจท�ำลายได้ ด้วยการยิงหรอื การตโี ต้ตอบจำ� กดั ทห่ี มาย
4.1.3 วางแผนรายละเอียดในการท�ำลายตามแนวทางเคล่ือนท่ีของข้าศึก เหล่าทหารช่าง 33 และเส้นทางเข้าสู่พื้นท่ีของกองพลให้ความสนใจเป็นพิเศษในการท�ำลายสะพาน อุโมงค์ ช่องแคบ และตามเส้นทางผ่านแนวเครอื่ งกีดขวาง แผนการท�ำลายรวมถึง 4.1.3.1 เตรยี มการวางและจุดระเบิดทจี่ ำ� เป็น 4.1.3.2 จดั ยามเฝา้ เพอ่ื ปอ้ งกนั การระเบดิ กอ่ นกำ� หนด หรอื ถกู ขา้ ศกึ เลด็ ลอดเข้ามายึด 4.1.3.3 กำ� หนดความรบั ผิดชอบในการท�ำลายไว้โดยแน่ชดั 4.1.3.4 ก�ำหนดเวลาทำ� ลายสะพานทฝี่ ่ายเราไม่ใช้แล้ว 4.1.3.5 คุ้มครองเครอื่ งกีดขวางท่ีเกดิ จากการทำ� ลายด้วยการยิง 4.1.3.6 จัดเตรียมท�ำลายยุทโธปกรณ์และสิ่งอุปกรณ์ท่ีล�ำเลียงกลับ ไม่ได้ 4.1.4 การทำ� ลายสะพานเปน็ เรอ่ื งสำ� คญั มาก สำ� หรบั ผบู้ งั คบั หนว่ ยทที่ ำ� การ ร่นถอยต้องระวังไม่ให้สะพานถูกทำ� ลายก่อนก�ำหนด หรือไม่ให้ข้าศึกยึดได้โดยไม่ถูกทำ� ลาย ซึ่งกระท�ำได้โดยมอบความรับผิดชอบในการท�ำลายสะพานให้กับผู้บังคับหน่วยทางยุทธวิธี ตอ้ งกำ� หนดพวกจดุ ระเบดิ และยามปอ้ งกนั ตำ� บลทำ� ลายผบู้ งั คบั หนว่ ยปอ้ งกนั มอี ำ� นาจทำ� ลาย สะพานตามสถานการณท์ ห่ี นว่ ยเหนอื กำ� หนดไว้ ผบู้ งั คบั หนว่ ยปอ้ งกนั จะไดร้ บั บญั ชหี นว่ ยทจี่ ะ ตอ้ งใชส้ ะพาน ผบู้ งั คบั หนว่ ยแตล่ ะคนแจง้ ใหผ้ บู้ งั คบั หนว่ ยปอ้ งกนั ทราบ เมอ่ื หนว่ ยของตนผา่ น พ้นสะพานไปแล้ว ผู้บงั คับหน่วยป้องกนั เป็นผู้รับผิดชอบในการทำ� ลายสะพาน เพอ่ื มใิ ห้ข้าศกึ ยึดแต่จะต้องทำ� การท�ำลายเฉพาะเมอื่ ได้กำ� หนดไว้ในแผนการท�ำลายเท่านั้น 4.2 หนว่ ยทหารชา่ งของกองทพั นอ้ ย มภี ารกจิ หลกั สองประการในการรน่ ถอย ประการแรก คือ ช่วยในการเคลื่อนท่ีของหน่วยทหารฝ่ายเรา โดยเปิดเส้นทางถอยให้ใช้การ ได้ตลอดเวลา ประการท่ีสอง คือ ขัดขวางการรุกของข้าศึกโดยการท�ำลายท่ีต้ัง สิ่งอุปกรณ์ และโครงสร้างตามทว่ี างแผนไว้ การวางสนามทุ่นระเบดิ การทำ� ตามลำ� ดบั ทกี่ ำ� หนดไว้ในแผน ของกองทพั นอ้ ย หนว่ ยทหารชา่ งของกองทพั นอ้ ยอาจไดร้ บั คำ� สงั่ ใหเ้ ตรยี มทมี่ นั่ และฉากขดั ขวาง ในพนื้ ทขี่ า้ งหลงั ของกองพล เพอ่ื ชว่ ยในการปฏบิ ตั ภิ ารกจิ การรน่ ถอย กองทพั นอ้ ยเปน็ ผกู้ ำ� หนด ลำ� ดบั ความเร่งด่วนของงานช่าง 4.3 หน่วยทหารช่างของกองทัพ หน่วยทหารช่างในการควบคุมของกองทัพ ใช้ในการปรับปรุงเส้นทางถอยหลักสร้างสะพาน ณ ต�ำบลส�ำคัญหรือเร่ิมดัดแปลงที่มั่นใหม่ ในการวางแผนการสนับสนุนการร่นถอย ต้องมีการประสานกับกองทัพน้อยโดยแน่ขัด เพื่อ
34 เหลา่ ทหารชา่ ง ให้การสนับสนุนทางการส่งก�ำลังบ�ำรุงพอเพียงส�ำหรับแผนทางยุทธวิธีของกองทัพน้อย โดยให้สิ่งอุปกรณ์สญู เสยี ถกู ทำ� ลาย หรอื ต้องเคล่อื นย้ายโดยไม่จ�ำเป็นน้อยที่สุด 5. การลาดตระเวนทางการช่าง การลาดตระเวนทางการช่างในการร่นถอยเน้นหนักในเร่ืองการรวบรวมข่าวสาร ล่วงหน้าเกี่ยวกับถนนสะพาน ลักษณะภูมิประเทศที่ตั้งทรัพยากรธรรมชาติในพ้ืนที่ ซึ่งจะเคลื่อนทผี่ ่านไป โดยปกตพิ นื้ ทีน่ ้ีจะเป็นพืน้ ที่ทท่ี หารช่างคุ้นเคยมาก่อน และอยู่ในความ ยึดครองของฝ่ายเรา ดังน้ัน รายงานการลาดตระเวนโดยละเอียด อาจได้มาทางสายงาน ข่าวกรองและทหารช่าง 6. การปฏิบัตกิ ารยทุ ธขดั ขวาง การยทุ ธขดั ขวาง คอื การปฏบิ ตั ทิ ยี่ บั ยงั้ หรอื ขดั ขวางมใิ หข้ า้ ศกึ ใชพ้ น้ื ที่ กำ� ลงั พล และสิ่งอ�ำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์วิธีการที่จะใช้อาจรวมถึง การท�ำลาย การร้ือถอน การทำ� ให้เป็นพษิ และการสร้างเคร่อื งกีดขวาง 6.1 ความรับผิดชอบ ผู้บังคับบัญชาทุกช้ัน จะต้องรับผิดชอบในการปฏิบัติ การยุทธขัดขวางส�ำหรับผู้บังคับบัญชาท่ีมีอ�ำนาจรับผิดชอบพ้ืนที่ จะต้องรับผิดชอบในการ ขัดขวางทุกสิ่งทุกอย่างภายในพ้ืนท่ี ส่วนผู้บังคับบัญชาอ่ืน ๆ จะมีหน้าที่รับผิดชอบเก่ียวกับ เครือ่ งใช้ และสิง่ อปุ กรณ์ทีอ่ ยู่ในหน่วยของตนเว้นแต่จะมคี �ำสงั่ เป็นอย่างอืน่ 6.2 การปฏบิ ตั ิ การยทุ ธขดั ขวาง ถา้ ทำ� อยา่ งเตม็ ทจี่ ะใชน้ โยบาย “ลา้ งแผน่ ดนิ ” คอื ทำ� ทุกสิง่ ทกุ อย่างไม่ให้เกิดประโยชน์ต่อข้าศกึ โดยการรื้อถอนและทำ� ลายทุกสงิ่ ทุกอย่าง ให้หมดสน้ิ แต่ถ้าต้องใช้นโยบายล้างแผ่นดนิ ในพนื้ ทฝี่ ่ายเดยี วกนั แล้วจะต้องส่งกลบั พลเมอื ง ในพื้นที่น้ันออกเสียก่อน การส่งกลับจะต้องไม่ให้ขัดขวางต่อการปฏิบัติการของหน่วยทหาร โดยปกตจิ ะใช้การยุทธขดั ขวางแต่เพียง “บางส่วน” ซง่ึ มคี วามรนุ แรงน้อยกว่าการใช้นโยบาย “ล้างแผ่นดิน” 6.3 อำ� นาจในการตกลงใจ ผบู้ งั คบั บญั ชาทสี่ งู ทสี่ ดุ ในยทุ ธบรเิ วณ เปน็ ผตู้ กลงใจ ในการก�ำหนดขอบเขตการยุทธขัดขวาง ซึ่งรวมไปถึงส่ิงอุปกรณ์และส่ิงอ�ำนวยความสะดวก ทีม่ ิใช่ทางทหาร เม่อื กำ� หนดนโยบายขึน้ แล้ว จะทำ� การวางแผนและรายละเอียดในการปฏบิ ัติ ซึ่งจะเกย่ี วกบั ปัญหาใหญ่ในทางการช่างและการส่งก�ำลังบำ� รุง
6.4 การปฏบิ ตั ขิ องกองพนั ทหารชา่ งของกองพล ทำ� การวางแผนในการยทุ ธ เหล่าทหารช่าง 35 ขัดขวางให้สอดคล้องกับแผนของหน่วยเหนือ และแจกจ่ายแผนน้ีให้กับหน่วยรองภายใน กองพล เพื่อปฏบิ ัตโิ ดยท่วั ๆ ไปแล้วงานขดั ขวางนี้เป็นงานท่ีใหญ่โต ซ่ึงต้องใช้ความชำ� นาญ ทางเทคนิคอย่างสูง ต้องใช้เวลามากส�ำหรับการวางแผนโดยละเอียด และต้องมีการเตรียม การและปฏบิ ตั ิอย่างรอบคอบ กองพนั ทหารช่างของกองพลเป็นหน่วยทีเ่ หมาะสมทส่ี ุดในการ ปฏบิ ตั กิ ารยทุ ธขดั ขวางโดยการรอ้ื ถอน ทำ� ลาย และสรา้ งเครอ่ื งกดี ขวางดว้ ยการใชเ้ ครอ่ื งมอื ชา่ ง และการทำ� ลายด้วยดนิ ระเบิด ในการยุทธขดั ขวางจะต้องใช้หน่วยรบ และหน่วยบรกิ ารอ่นื ๆ ด้วยแต่จะต้องอยู่ในการกำ� กับตรวจตราของทหารช่าง เป็นหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาที่จะต้อง ตกลงใจพจิ ารณาวา่ เมอ่ื ใดจะเรม่ิ ปฏบิ ตั งิ านขนั้ แรก และเมอื่ ใดจะปฏบิ ตั กิ ารตามแผนการยทุ ธ ขดั ขวางจะไดผ้ ลสำ� เรจ็ อยา่ งเตม็ ทก่ี ต็ อ่ เมอื่ ไดป้ ฏบิ ตั กิ ารอยา่ ง “รนุ แรงและโหดรา้ ย” ตามปกติ แล้วทุกหน่วยจะต้องจัดท�ำระเบียบปฏิบัติ (รปจ.) ส�ำหรับท�ำลายยุทโธปกรณ์และสิ่งอุปกรณ์ ในหน่วยของตน 6.5 สิ่งที่จะต้องขัดขวางข้าศึก จะต้องส่งกลับส่ิงอุปกรณ์และยุทโธปกรณ์ ทางทหารทกุ อยา่ งเมอ่ื กระทำ� ได้ สว่ นทเี่ หลอื ตอ้ งจดั การทำ� ลายเสยี กองพลและกองพนั ทหารชา่ ง มกั จะสนใจในการขัดขวางสงิ่ ต่อไปน้ี 6.5.1 สิ่งอปุ กรณ์และยุทโธปกรณ์ทางทหาร 6.5.2 ทต่ี งั้ ทางทหาร 6.5.3 สง่ิ อำ� นวยความสะดวกในการคมนาคม (ทางรถไฟ และลอ้ เลอ่ื น, ถนน, สะพาน, ลานบิน ฯลฯ) 6.5.4 เครอื่ งมือตดิ ต่อสอ่ื สาร 6.5.5 อาคาร และโครงสร้างบางชนิด 6.6 การขัดขวางโดยการรื้อถอน การส่งกลับวัสดุเป็นส่วนหนึ่งของการยุทธ ขดั ขวางทใี่ ชม้ ากเชน่ เดยี วกบั การทำ� ลาย การสง่ กลบั จะตอ้ งกระทำ� เสยี แตเ่ นนิ่ ๆ และตอ้ งปฏบิ ตั ิ ให้เป็นไปตามลำ� ดบั ความเร่งด่วนทไ่ี ด้กำ� หนดไว้ จะต้องใช้แรงงานและการขนส่งทม่ี อี ยู่ให้เกดิ ประโยชน์ให้มากทส่ี ุด เพ่ือประหยดั สง่ิ อุปกรณ์และยุทโธปกรณ์ทกุ ชนิด 6.7 การขดั ขวางโดยการทำ� ลาย 6.7.1 การท�ำลาย จะต้องค�ำนึงถึงกฎแห่งการท�ำสงครามทางบก ใน อนสุ ญั ญาเจนวี า สง่ิ ทไ่ี มข่ ดั ตอ่ สญั ญาดงั กลา่ ว จะตอ้ งจดั การทำ� ลายทกุ อยา่ งเทา่ ทจี่ ะกระทำ� ได้ และจะใช้วธิ กี ารทำ� ลายทกุ ชนดิ เช่น วตั ถรุ ะเบดิ ไฟ น�้ำ เคร่ืองมือ การทำ� ให้เป็นพิษ อาวธุ ยงิ
36 เหลา่ ทหารชา่ ง 6.7.2 เพอื่ ใหก้ ารทำ� ลายไดป้ ฏบิ ตั ไิ ปตามเวลาทต่ี อ้ งการแลว้ จะตอ้ งกำ� หนด ตัวเจ้าหน้าที่ในการท�ำลายไว้ล่วงหน้า จะต้องได้ประมาณการส่ิงอุปกรณ์ที่จ�ำเป็นที่จะใช้ ในการทำ� ลาย และน�ำมารวมไว้ ณ ตำ� บลท่ีเหมาะสม จะต้องกำ� หนดเหตุการณ์ท่ีจะทำ� ลายไว้ โดยแน่นอน และถ้าจ�ำเป็นจะต้องส่งค�ำสั่งในการท�ำลายแล้วจะต้องเตรียมเคร่ืองมือส�ำหรับ ส่งค�ำส่งั ไว้ให้พร้อมด้วย รปู ขบวนการเคลอ่ื นที่ของกองพลเมอ่ื ถอยหา่ งจากข้าศกึ
บทท่ี เหล่าทหารช่าง 37 ทหารช่างท�ำ การรบอยา่ งทหารราบ 1. กล่าวทั่วไป กองพันทหารช่างของกองพลและหน่วยข้ึนสมทบจะเข้าท�ำการรบอย่าง ทหารราบกต็ ่อเมอื่ 1.1 ข้าศกึ ป้องกนั ไม่ให้เข้าไปยงั แหล่งงานของหน่วย 1.2 ข้าศกึ พยายามขับไล่หน่วยทหารช่างออกจากแหล่งงาน 1.3 ข้าศกึ ป้องกันไม่ให้ส่งส่งิ อปุ กรณ์ 1.4 การปฏบิ ตั กิ ารของขา้ ศกึ บงั คบั ใหท้ ำ� การรบ ซงึ่ อาจจะเกดิ ขน้ึ ไดห้ ลายทาง เชน่ 1.4.1 ผู้บังคับหน่วยถูกบังคับให้ต้องเข้าท�ำการรบ เพ่ือรักษาหน่วยให้ ปลอดภยั 1.4.2 การปฏบิ ตั กิ ารของขา้ ศกึ บงั คบั ใหห้ น่วยต้องเขา้ ทำ� การรบเพอื่ ให้ หน่วยเหนอื ปฏิบัตภิ ารกจิ ได้ส�ำเรจ็ 1.4.3 เน่ืองจากสถานการณ์บังคับให้ผู้บังคับหน่วยขนาดใหญ่ต้อง ตัดสนิ ใจให้หน่วยทหารช่างเข้าทำ� การรบ 2. การวางแผนฉุกเฉิน ในการปฏิบัติการของกองพันทหารช่างของกองพันน้ันมักจะให้กองร้อย ทหารช่างสนามสนบั สนนุ โดยตรงแก่กรมทหารราบทเ่ี ข้ารบ โดยมบี างส่วนของกองร้อย กองบงั คบั การและบรกิ ารสนบั สนนุ กองรอ้ ยเหลา่ นน้ั สว่ นทเ่ี หลอื ของกองพนั ใชส้ นบั สนนุ
38 เหลา่ ทหารชา่ ง ทวั่ ไปทว่ั พน้ื ทข่ี องกองพล ดงั นนั้ จงึ เปน็ การยากทจ่ี ะใหก้ องพนั จดั ก�ำลงั ทำ� การรบเปน็ หนว่ ย ทั้งกองพัน แต่อย่างไรก็ตาม กองพันและแต่ละกองร้อยทหารช่างสนามต้องวางแผนไว้ สำ� หรบั เหตฉุ กุ เฉนิ เชน่ น้ี เพอื่ เขา้ ทำ� การรบเปน็ หนว่ ยอสิ ระหรอื รว่ มกบั หนว่ ยรบั การสนบั สนนุ แผนนก้ี ำ� หนดไวใ้ นระเบยี บปฏบิ ตั ปิ ระจ�ำ (รปจ.) ของหนว่ ยและทำ� ใหท้ นั สมยั โดยถอื ภารกจิ ปัจจุบันและท่ีคาดคิดไว้ และสภาพที่แท้จริงของหน่วยเป็นมูลฐาน ในการท�ำแผนเหล่าน้ี หน่วยจะต้องประสานกบั หน่วยเหนอื ถัดขน้ึ ไป และหน่วยรับการสนบั สนุน 3. การใช้ 3.1 เม่ือเกิดความจำ� เป็นต้องใช้กองพันทหารช่าง หรือหน่วยข้ึนตรงทำ� การรบ หนว่ ยจะตอ้ งเตรยี มทจ่ี ะปฏบิ ตั ภิ ารกจิ นโี้ ดยใหเ้ สยี เวลานอ้ ยทสี่ ดุ หนว่ ยทหารชา่ งควรเขา้ รบ ท้ังหน่วยเพื่อให้เกิดบูรณภาพของหน่วย ผู้บังคับหน่วยก�ำลังรบขนาดใหญ่เป็นผู้ตกลงใจ ในการใช้หน่วยทหารช่างเข้าท�ำการรบ สถานการณ์ซ่ึงหน่วยทหารช่างอาจต้องเข้าท�ำการ รบ อย่างทหารราบ ได้แก่ 3.1.1 พน้ื ท่ีต้งั รบั กว้างขวางเกนิ ไป 3.1.2 ข้าศึกเจาะแนวหรอื โอบปีกโดยกะทนั หัน 3.1.3 ข้าศึกลงจากทางอากาศหรือมีการปฏิบัติการของกองโจรในพ้ืนที่ ข้างหลงั 3.1.4 ตอ้ งการผลดั เปลยี่ นหนว่ ยรบเพอ่ื ใหไ้ ปปฏบิ ตั กิ ารรบแตกหกั มากกวา่ ณ ท่ใี ดท่หี น่งึ 3.2 ผู้บังคับหน่วยขนาดใหญ่ให้หน่วยทหารช่างเข้าท�ำการรบเฉพาะต่อเม่ือ ได้พิจารณาปัจจยั ต่อไปน้อี ย่างรอบคอบแล้วเท่าน้นั คือ 3.2.1 ความรา้ ยแรงของสถานการณก์ ำ� ลงั ของขา้ ศกึ อาจจะกระทบกระเทอื น ต่อหน่วยอย่างร้ายแรง หรอื หากไม่ให้ทหารช่างเข้าท�ำการรบ 3.2.2 การเสียการสนับสนุนของทหารช่าง หน่วยจะยอมสูญเสียการ สนบั สนุน ของทหารช่างเป็นการช่วั คราวได้หรือไม่ 3.2.3 ก�ำลังของหน่วยทหารช่าง หน่วยทหารช่างมีก�ำลังพอเพียงท่ีจะใช้ อย่างได้ผลหรอื ไม่
3.2.4 การสนับสนุนแก่หน่วยทหารช่าง ภารกิจท่ีทหารช่างจะต้องปฏิบัติ เหล่าทหารช่าง 39 เป็นการยุทธด้วยวิธีรุกหรือวิธีรับ และหน่วยทหารช่างจะได้รับการสนับสนุน อาวุธหนัก การยิงสนับสนุน และการสนับสนุนทางการส่งก�ำลังบ�ำรุงจากหน่วยเหนือ หรือหน่วย ข้างเคยี งใดในการปฏบิ ตั ภิ ารกจิ 4. ชนดิ ของภารกจิ หนว่ ยทหารชา่ งอาจไดร้ บั ภารกจิ ใหท้ ำ� การรบดว้ ยวธิ รี กุ หรอื วธิ รี บั กไ็ ด้ แต่หนว่ ย ทหารช่างมีประสิทธิภาพในการรบน้อยกว่าหน่วยทหารราบขนาดเดียวกัน ทั้งนี้เนื่องจาก มียุทโธปกรณ์ในการรบน้อยกว่า มีอาวุธสนับสนุนน้อยกว่า และได้รับการฝึกทางยุทธวิธี น้อยกว่าดังนั้น มักจะให้ทหารช่างรับภารกิจในการต้ังรับ และเพ่ือชดเชยความเสียเปรียบ ดงั กลา่ วแลว้ หนว่ ยทหารชา่ งจะไดร้ บั กวา้ งดา้ นหนา้ นอ้ ยกวา่ หนว่ ยทหารราบขนาดเดยี วกนั และผู้บังคบั หน่วยกำ� ลังรบจะต้องให้ก�ำลังย่งิ เพม่ิ เตมิ และสนบั สนุนด้วยการยงิ 4.1 การยุทธด้วยวิธีรุก กองพันทหารช่างของกองพลอาจได้รับภารกิจให้ ชว่ ยเหลอื หนว่ ยรบในการยดึ ทห่ี มายทส่ี �ำคญั ตอ่ การยทุ ธเปน็ สว่ นรวม หรอื เพอื่ ทำ� ลายทม่ี น่ั ของข้าศกึ ท่กี องพลได้อ้อมผ่านไปขนาดเล็ก ๆ แต่มกั จะไม่ได้รับภารกจิ ชนิดนี้ 4.2 การยทุ ธดว้ ยวธิ รี บั กองพนั ทหารชา่ งของกองพลจะไดร้ บั ภารกจิ ใหท้ ำ� การรบ ด้วยวิธีรับมากที่สุดที่ผู้บังคับหน่วยขนาดใหญ่ควรจะได้ให้เวลาแก่หน่วยทหารช่างที่ จะเตรียมตัวรับภารกิจน้ี ซึ่งจ�ำเป็นต้องใช้เวลาในการประสานการสนับสนุนท่ีเหมาะสม และในการลำ� เลยี งกำ� ลงั พลและเครอื่ งมอื ทไ่ี มใ่ ชใ้ นการรบไปยงั พน้ื ทขี่ า้ งหลงั ซงึ่ จะไมถ่ กู ยดึ หรือถูกท�ำลาย โดยก�ำลังของข้าศึก เม่ือมีเวลาล่วงหน้าเพียงพอ ผู้บังคับหน่วยทหารช่าง จะเตรยี มหน่วยเข้าทำ� การรบในทำ� นองเดียวกบั หน่วยรบอ่ืน ๆ 5. การเตรยี มตัวเข้าท�ำ การรบ โดยปกติการเข้าท�ำการรบอย่างทหารราบของกองพันทหารช่างนั้น กองบังคับการ กองพนั กองร้อยกองบังคับการและบริการ และกองร้อยทหารช่างสนาม จะปรับปรุงหน่วย ก่อนเข้าท�ำการรบโดยจัดให้มีส่วนบังคับบัญชาและส่วนรบ การจัดตามปกติจะถูก เปลี่ยนแปลง เพ่ือให้การใช้และการควบคุมอาวุธประจ�ำหน่วยได้ผลดี ความปลอดภัย ของเคร่ืองมือท่ีไม่ใช้ท�ำการรบ และความต้องการในการบังคับบัญชา การติดต่อส่ือสาร
40 เหลา่ ทหารชา่ ง และการส่งกำ� ลังในการรบขอบเขตของการปรับปรุงหน่วยเข้าทำ� การรบ แล้วแต่ขนาดของ หน่วยเวลาท่ีมีและภารกิจที่จะได้รับ เม่ือหน่วยทหารช่างเข้าท�ำการรบอย่างทหารราบ มกั จะมเี วลาพอทจ่ี ะใชเ้ ปลย่ี นแปลงหนว่ ยขนั้ ตน้ กอ่ นการเข้าปะทะกบั ขา้ ศกึ กองบงั คบั การ กองพันกองร้อยกองบังคับการและบริการ กองร้อยทหารช่างสนามแต่ละกองร้อย จะจดั กำ� ลงั ออกเปน็ สว่ นหนา้ และสว่ นหลงั สว่ นหนา้ ประกอบดว้ ย หนว่ ยทจี่ ะปฏบิ ตั ภิ ารกจิ การรบส่วนหลัง ประกอบด้วย เครื่องมือและกำ� ลังพลที่ไม่จำ� เป็นต่อการรบ จ�ำนวนก�ำลัง ในส่วนหลังจัดให้มีน้อยท่ีสุดเท่าท่ีจ�ำเป็นท่ีจะให้ส่วนหลังเคลื่อนท่ีได้อย่างคล่องแคล่ว จัดการระวังป้องกันโดยใกล้ชิด และปฏิบัติภารกิจในการสนับสนุนที่จ�ำเป็นได้ส่วนหลัง เคลอ่ื นยา้ ยไปอยใู่ นพนื้ ทซี่ งึ่ ผบู้ งั คบั หนว่ ยกำ� หนด นายทหาร หรอื นายสบิ อาวโุ สในสว่ นหลงั เป็นผู้บังคบั บญั ชาส่วนหลงั 6. การสนบั สนนุ ด้วยการยิงและการตดิ ต่อส่อื สาร 6.1 เพอื่ ใหก้ องพนั ทหารชา่ งทำ� การรบไดผ้ ลเหมอื นกบั ทหารราบ จะตอ้ งจดั กำ� ลงั ยิงสนับสนุนให้ ซ่ึงจะกระท�ำได้โดยการจัดให้กองพันทหารช่างขึ้นสมทบกับกรมทหารราบ กรมทหารราบจะจัดการยิงสนับสนุนให้ ตามปกติผู้บังคับการกรมทหารราบจะมอบหมาย ให้หมวดเคร่ืองยิงลูกระเบิด หรือหลายหมวดจากกองร้อยเครื่องยิงลูกระเบิดหนักให้ช่วย โดยตรงต่อกองพันทหารช่าง ผู้ตรวจการณ์หน้าของหน่วยเครื่องยิงลูกระเบิดจะมาร่วมกับ กองร้อยทหารช่างที่อยู่ในแนวหน้า กองพันทหารปืนใหญ่ท่ีช่วยโดยตรง กรมทหารราบ ท่ีกองพันทหารช่างขึ้นสมทบจะส่งผู้ตรวจการณ์หน้าและนายทหารติดต่อมายังกองพัน ทหารช่าง 6.2 การป้องกันต่อสู้รถถัง กองพันทหารช่างมีเคร่ืองยิงจรวด ขนาด 73 มม. อยู่ในหมู่ทหารช่างสนามทุกหมู่ นอกจากน้ีผู้บังคับการกรมทหารราบอาจมอบรถถังท่ีกรม ไดร้ บั การขน้ึ สมทบ ใหข้ นึ้ สมทบตอ่ กองพนั ทหารชา่ งเพอื่ ใชใ้ นการตอ่ สรู้ ถถงั หรอื ผบู้ งั คบั การ กรมทหารราบอาจเก็บรถถังไว้เป็นกองหนุนและเตรียมเข้าตีโต้ตอบยานเกราะของข้าศึก ทีป่ ฏบิ ัตกิ ารเข้ามาในพ้นื ทข่ี องกองพันทหารช่าง 6.3 ในการเตรียมหน่วยเพื่อท�ำการรบ กองพันทหารช่างจะต้องวางแผน เกี่ยวกับการรวบรวมเคร่ืองมือติดต่อส่ือสารให้มากกว่าปกติเพราะจะต้องใช้เพ่ิมมากขึ้น ขอบเขตความต้องการเครื่องมือสื่อสารแตกต่างไปแล้วแต่สถานการณ์ ในสถานการณ์
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124
- 125
- 126
- 127
- 128
- 129
- 130
- 131
- 132
- 133
- 134
- 135
- 136
- 137
- 138
- 139
- 140
- 141
- 142
- 143
- 144
- 145
- 146
- 147
- 148
- 149
- 150
- 151
- 152
- 153
- 154
- 155