Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore คู่มือการปรับปรุงการปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ในสำนักงานตามหลักการยศาสตร์ (Ergonomics Manual For Computer Operations Improvement In The Office)

คู่มือการปรับปรุงการปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ในสำนักงานตามหลักการยศาสตร์ (Ergonomics Manual For Computer Operations Improvement In The Office)

Published by e-Book สสปท., 2020-07-09 05:44:17

Description: เกี่ยวข้องกับด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย สภาพแวดล้อมในการทำงาน Occupational Safety Health

Keywords: ปลอดภัย,safety,Occupational,Health

Search

Read the Text Version

สถาบนั สง่ เสรมิ ความปลอดภัย อาชีวอนามยั และสภาพแวดล้อมในการทางาน (องค์การมหาชน)

ชอื่ หนงั สือ : ค่มู ือการปรบั ปรุงการปฏิบัตงิ านคอมพิวเตอร์ในสานกั งานตามหลักการยศาสตร์ Ergonomics Manual for Computer Operations Improvement in the Office ช่อื ผู้แตง่ : คณะทางานจดั ทาคมู่ ือการปรับปรงุ การปฏบิ ัติงานคอมพิวเตอรใ์ นสานักงานตามหลกั การยศาสตร์ ปที ี่พิมพ์ : พ.ศ. 2562 ครง้ั ทพี่ ิมพ์ : จดั พมิ พ์ครั้งท่ี 1 โรงพิมพ์ : บริษทั ชยากร พร้นิ ตง้ิ จ ากัด 27 ถนนเพชรเกษม 81 แขวงหนองแขม เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร 10160 โทรศพั ท์ 02-8120770 ISBN : 978-616-8026-13-7 สถาบนั ส่งเสริมความปลอดภยั อาชวี อนามยั และสภาพแวดลอ้ มในการทางาน (องค์การมหาชน)

หน้า ก คณะอนุกรรมการวิชาการ นางสาวสดุ ธิดา กรงุ ไกรวงศ์ ประธานคณะอนุกรรมการ นายวเิ ลศิ เจตยิ านุวัตร อนุกรรมการ นายเกยี รตศิ ักด์ิ บุญสนอง อนกุ รรมการ นางลดั ดา ต้ังจินตนา อนกุ รรมการ นายสบื ศกั ด์ิ นันทวานชิ อนกุ รรมการ นายประมุข โอศิริ อนกุ รรมการ ผู้อานวยการสานักวจิ ยั และพัฒนา อนกุ รรมการ ผอู้ านวยการสานักบริการวชิ าการ อนุกรรมการ นายธนกฤต ธนวงศ์โภคิน อนกุ รรมการและเลขานกุ าร สถาบนั สง่ เสรมิ ความปลอดภัย อาชวี อนามยั และสภาพแวดล้อมในการทางาน (องคก์ ารมหาชน)

หน้า ข คณะทางาน จดั ทาค่มู ือการปรับปรุงการปฏิบัติงานคอมพวิ เตอร์ในสานักงานตามหลักการยศาสตร์ 1. นายสืบศักดิ์ นนั ทวานิช ประธานคณะทางาน 2. นางสาวสดุ ธิดา กรงุ ไกรวงศ์ คณะทางาน 3. นายพฤทธพิ งศ์ สามสังข์ คณะทางาน สถาบนั ส่งเสริมความปลอดภยั อาชวี อนามยั และสภาพแวดลอ้ มในการทางาน (องค์การมหาชน)

หน้า ค คำนำ สถาบันส่งเสรมิ ความปลอดภยั อาชีวอนามยั และสภาพแวดล้อมในการทางาน (องคก์ ารมหาชน) ภายใต้ การกากับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทางาน โดยกาหนดอานาจหน้าที่หนึ่งของสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย ฯ คือ การพัฒนาและสนับสนุนการจัดทามาตรฐานและคู่มือการปฏิบัติงาน เพ่ือส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทางานในสถานประกอบกิจการ สถาบันฯ ได้จัดทาและประกาศใช้มาตรฐานการปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ตามหลักการยศาสตร์ (มปอ.301 : 2561) เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติงานและสถานประกอบกิจการดาเนินการปรับปรุงสภาพการทางานในสานักงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมแก่ลูกจ้างตามหลักการยศาสตร์ ต้ังแต่วันท่ี 6 กุมภาพันธ์ 2562 และเพ่ือให้สถานประกอบกิจการมีแนวทางในการดาเนินการที่ชัดเจน นาไปสู่การปฏิบัติที่มี ประสิทธิภาพ สอดคล้องกับมาตรฐานฯ และเพ่ือส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถทางานได้อย่างปลอดภัยจากอุบัติเหตุ การเจ็บป่วยและโรคจากการทางานบนท่ีสงู ไดอ้ ย่างเป็นรูปธรรม สถาบันฯ จึงได้จัดทาคู่มือการปรับปรุงการปฏิบัติงาน คอมพิวเตอรใ์ นสานกั งานขน้ึ คู่มือการปรับปรุงการปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ตามหลักการยศาสตร์ฉบับน้ี ได้ผ่านกระบวนการดาเนินงาน รา่ งมาตรฐานและคู่มือของสถาบนั สง่ เสริมความปลอดภัยฯ คอื ผา่ นการรา่ งและกล่ันกรองโดยคณะอนุกรรมการ วิชาการ ผ่านการระดมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียและผู้เชี่ยวชาญ และผ่านความเห็นชอบจากคณะ กรรมการบริหารสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย ฯ ในการประชุมครั้งที่ 10/2562 วันที่ 22 ตุลาคม 2562 เพ่ือ สามารถส่งเสริมให้ลูกจ้างของสถานประกอบกิจการ สามารถปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัยจากอุบัติเหตุ การเจบ็ ป่วย และโรคจากการทางาน สถาบนั สง่ เสริมความปลอดภัย อาชวี อนามัย และสภาพแวดลอ้ มในการทางาน (องค์การมหาชน)

สำรบญั เรื่อง หน้า คณะอนุกรรมการวชิ าการ ก คณะทางานคู่มอื การปรบั ปรุงการปฏบิ ัตงิ านคอมพิวเตอร์ในสานกั งานตามหลกั การยศาสตร์ ข คานา ค บทที่ 1 บทนา 1 บทที่ 2 การยศาสตร์ 2 2 2.1 การยศาสตร์จุลภาค 3 2.2 การยศาสตรม์ หภาค 3 2.3 การประยุกต์ใช้การยศาสตร์ 8 บทท่ี 3 ปัจจยั การยศาสตรข์ องระบบงานคอมพิวเตอรใ์ นสานกั งาน 8 3.1 ปจั จัยลูกจ้าง 9 3.2 ปัจจยั อุปกรณ์และเครื่องมือ 9 3.3 ปัจจยั สภาพแวดลอ้ ม 9 3.4 ปัจจยั งาน 10 บทท่ี 4 ผลกระทบของการปฏิบตั งิ านคอมพิวเตอร์ตอ่ ระบบกระดูกและกลา้ มเนื้อ 10 4.1 ออฟฟิศซนิ โดรม 11 4.2 ปญั หาการยศาสตร์ท่มี กั จะพบและสาเหตุ 12 4.3 อาการปวดเมอ่ื ยคอและไหล่ 13 4.4 อาการปวดเม่ือยขอ้ มอื 14 4.5 อาการปวดเมอื่ ยหลังส่วนล่าง 17 4.6 อาการปวดเมื่อยขาและหัวเขา่ 18 บทท่ี 5 ทา่ น่งั ปฏิบตั ิงานคอมพวิ เตอร์ในสานักงานอย่างเหมาะสม 18 5.1 ทา่ นงั่ ปฏิบัตงิ านเมอ่ื ใชเ้ ครื่องคอมพวิ เตอรต์ ้ังโต๊ะ 20 5.2 ท่านง่ั ปฏิบตั งิ านเมือ่ ใชเ้ ครื่องคอมพวิ เตอร์พกพา 22 บทที่ 6 แนวทางการปรับปรุงระบบงานคอมพิวเตอรใ์ นสานักงาน 22 6.1 การเลอื กใช้เคร่อื งคอมพวิ เตอรท์ เี่ หมาะสมกบั งานและลูกจ้าง 25 6.2 การเลือกใชส้ ถานีงานคอมพิวเตอร์ทเี่ หมาะสม 28 6.3 การเลือกใช้อปุ กรณค์ อมพวิ เตอร์ที่เหมาะสม 31 6.4 การปรบั ปรุงสภาพแวดล้อมในสานักงานให้เหมาะสม 32 6.5 การปรบั ปรงุ งานคอมพิวเตอรใ์ ห้เหมาะสม 33 6.6 การปรบั ปรงุ พฤตกิ รรมในการปฏิบตั ิงานคอมพวิ เตอรใ์ ห้เหมาะสม สถาบนั สง่ เสรมิ ความปลอดภยั อาชวี อนามยั และสภาพแวดล้อมในการทางาน (องค์การมหาชน)

ภาคผนวก 1 ทา่ ยืนปฏิบัติงานคอมพิวเตอรใ์ นสานกั งานอยา่ งเหมาะสม 34 ผ1.1 ทา่ ยืนปฏบิ ตั ิงานเมื่อใชเ้ ครอื่ งคอมพิวเตอรต์ ้ังโต๊ะ 34 ผ1.2 ทา่ ยืนปฏิบัตงิ านเมื่อใชเ้ ครอื่ งคอมพวิ เตอร์พกพา 35 36 ภาคผนวก 2 ตวั อยา่ งของท่าน่ังปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ในสานกั งานอย่างไมเ่ หมาะสม 45 ภาคผนวก 3 ตัวอยา่ งการปรับปรงุ ระบบงานคอมพิวเตอร์ในสานกั งาน 45 46 ผ3.1 ขน้ั ตอนการดาเนนิ โครงการ 47 ผ3.2 การคดั เลือกหนว่ ยงานต้นแบบและกลุ่มผปู้ ฏิบัติงานอาสาสมคั ร ผ3.3 การประเมนิ สถานงี านคอมพวิ เตอรแ์ ละท่าทางในการปฏบิ ัติงานของกลุ่ม 54 58 ผู้ปฏิบตั ิงานอาสาสมคั ร (กอ่ นการปรับปรุง) 59 ผ3.4 การปรบั ปรุงสถานีงานคอมพวิ เตอร์ 61 ผ3.5 การประเมินผลการปรบั ปรงุ สถานีงานคอมพิวเตอร์ 62 ผ3.6 สรุปผลการดาเนนิ โครงการ 65 ภาคผนวก 4 ท่าบรหิ ารรา่ งกายสาหรบั ผูป้ ฏบิ ตั ิงานคอมพิวเตอร์ 65 ผ4.1 ทา่ บริหารคอและไหล่ 68 ผ4.2 ท่าบริหารขอ้ มือ 69 ผ4.3 ท่าบริหารหลงั ส่วนล่าง ผ4.4 ทา่ บริหารขา หัวเข่า และข้อเทา้ บรรณานุกรม สถาบนั ส่งเสรมิ ความปลอดภยั อาชีวอนามยั และสภาพแวดลอ้ มในการทางาน (องคก์ ารมหาชน)

หน้ำ 1 บบทททน่ี า1 บทนำ คู่มือการปรับปรุงการปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ตามหลักการยศาสตร์ ฉบับน้ีมีเนื้อหาเป็นไปตาม มาตรฐานการปฏิบัตงิ านคอมพิวเตอรต์ ามหลักการยศาสตร์ (มปอ.301 : 2561) โดยเป็นการเพ่มิ เตมิ รายละเอียด ของการดาเนินการ และมีแนวทางการปฏิบัติตามข้อกาหนด และท่าทางในการปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ โดยให้ เป็นไปตามมาตรฐานการปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ตามหลักการยศาสตร์ เพื่อให้มีความปลอดภัย และลดความ เส่ียงต่อการเกิดอาการไม่สบายทางระบบกระดูกและกล้ามเน้ืออย่างฉับพลัน และเรื้อรังจากการปฏิบัติงาน คอมพิวเตอรใ์ นสานักงานอยา่ งมีประสทิ ธภิ าพ คมู่ ือฯ เล่มนีม้ ีสาระสาคญั ทกี่ ลา่ วถึง ความหมายของการยศาสตร์ องค์ประกอบของระบบงานการย ศาสตร์ ปัจจัยการยศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ในสานักงาน ผลกระทบของการปฏิบัติงาน คอมพิวเตอร์ต่อระบบกระดูกและกล้ามเน้ือ แนวทางการปรับปรุงระบบงานคอมพิวเตอร์ในสานักงานตาม หลักการยศาสตร์ ตัวอย่างท่าน่ังปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์อย่างไม่เหมาะสม ตัวอย่างการปรับปรุงสถานีงาน คอมพวิ เตอร์ในสานกั งาน และท่าบรหิ ารร่างกายสาหรับลูกจา้ งทป่ี ฏบิ ัติงานคอมพวิ เตอร์ คณะผ้จู ดั ทา หวังเป็นอย่างย่ิงวา่ คู่มือการปรับปรงุ การปฏบิ ัตงิ านคอมพิวเตอร์ตามหลกั การยศาสตร์ จะสร้างประโยชน์แก่สถานประกอบกิจการและผู้เกี่ยวข้อง ให้สามารถสร้างกระบวนการจัดการความปลอดภัยท่ี มีระเบียบแบบแผนอย่างเป็นระบบ เพื่อป้องกันและลดอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการปฏิงานคอมพิวเตอร์ได้ อย่างมีประสทิ ธิภาพและย่ังยนื สถาบนั สง่ เสริมความปลอดภัย อาชีวอนามยั และสภาพแวดลอ้ มในการทางาน (องคก์ ารมหาชน)

หน้ำ 2 บบทททน่ี า2 กำรยศำสตร์ การยศาสตร์ (หรอื Ergonomics) เปน็ คาผสมของคาภาษากรกี 2 คา คือ Ergon (คือ งาน) และ Nomos (คอื กฎตามธรรมชาต)ิ ซ่งึ เมอื่ นามารวมกนั เป็นคาเดียว กห็ มายความว่า กฎของ (การปฏิบัต)ิ งาน สาหรับ ภาษาไทยนนั้ ราชบณั ฑติ ยสถานไดบ้ ญั ญัติคาวา่ “การยศาสตร์” เพื่อใชแ้ ทนคาภาษาองั กฤษ การประยกุ ตใ์ ชก้ ารยศาสตร์เพอ่ื การออกแบบ สร้าง และปรบั ปรงุ ระบบงาน สามารถกระทาไดใ้ น 2 ระดบั คือ การยศาสตร์จุลภาค (Micro-ergonomics) และการยศาสตรม์ หภาค (Macro-ergonomics) การยศาสตร์ช่วยในการจัดสภาพงานเพ่ือให้ลูกจ้างสามารถปฏิบัติงานในสภาวะสบายและมีสวัสดิภาพ ทาให้ได้ผลงานดีตามเป้าหมายท่ีกาหนดไว้อย่างยุติธรรม ได้ระบบงานท่ีให้ผลลัพธ์ท่ีมีประสิทธิผล ซึ่งจะช่วยให้ สถานประกอบกิจการมีผลกาไรมากที่สุดหรือผลผลิตมากท่ีสุดในระยะยาว ซึ่งอาจไม่ได้หมายความว่า สถานประกอบกิจการน้ันทาเงินได้มากที่สุด แต่อาจหมายความว่าผลเสียหายท่ีเกิดขึ้นจากการประกอบกิจการ น้นั ลดลง ซึ่งก็จะทาให้มผี ลกาไรมากข้นึ เช่นกัน ผลทีไ่ ด้จากการประยุกตใ์ ชก้ ารยศาสตร์อยา่ งถกู ต้อง คือ 1. ช่วยให้ปฏิบตั งิ านไดอ้ ยา่ งสะดวกสบาย 2. ช่วยลดปญั หาสุขภาพและการบาดเจบ็ 3. ชว่ ยเพมิ่ ประสิทธภิ าพในการทางาน รวมทง้ั ผลผลติ ของระบบงาน 4. ชว่ ยลดต้นทุนด้านทรพั ยากรมนษุ ยข์ องสถานประกอบกจิ การ 2.1 การยศาสตร์จุลภาค การยศาสตร์จุลภาค (หรือที่เรียกกันท่ัวไปว่า การยศาสตร์) หมายถึง สหวิทยาการท่ีเกี่ยวข้องกับการ ปฏิบัติงานของมนุษย์ในระบบงานต่าง ๆ โดยมีองค์ประกอบร่วม คือ สภาพแวดล้อมในบริเวณงาน อุปกรณ์และ เคร่ืองม่ือในการปฏิบัติงาน และงานท่ีกาลังปฏิบัติ การประยุกต์ใช้การยศาสตร์อย่างถูกต้องจะช่ วยให้การ ออกแบบ สร้าง และปรบั ปรุงระบบงานมคี วามเหมาะสมสาหรับการปฏบิ ตั ิงานของมนษุ ย์มากทีส่ ุด การออกแบบ สร้าง และปรับปรุงแก้ไขระบบงาน อาจจะพิจารณาในแนวทางเชิงกายภาพ (Physical Ergonomics) หรือเชงิ จิตภาพ (Cognitive Ergonomics) ขนึ้ อย่กู บั ลกั ษณะของงานในระบบงานน้ัน ๆ สถาบนั ส่งเสรมิ ความปลอดภยั อาชวี อนามยั และสภาพแวดลอ้ มในการทางาน (องคก์ ารมหาชน)

หน้ำ 3 ระบบงานการยศาสตรป์ ระกอบด้วยองค์ประกอบสาคัญ 4 องค์ประกอบ คือ 1. มนษุ ย์ (ลูกจา้ ง) 2. อุปกรณ์และเครอ่ื งมือทล่ี กู จา้ งใช้เพอ่ื ปฏิบตั ิงานท่ีได้รบั มอบหมาย 3. สภาพแวดล้อมในบริเวณงานท่ลี กู จา้ งจะตอ้ งอยปู่ ฏบิ ัตงิ าน 4. งานทล่ี กู จ้างกาลงั ปฏบิ ตั ิ ในระบบงานการยศาสตร์ องคป์ ระกอบท้ังสี่มีปฏสิ มั พนั ธ์กันตลอดเวลา ผลงานที่ได้รบั จากระบบงาน จะ เปน็ ผลจากทุกองค์ประกอบร่วมกนั ไม่ใช่ผลจากองค์ประกอบใดโดยเฉพาะ 2.2 การยศาสตร์มหภาค การยศาสตร์มหภาคจะพิจารณาสังคมในบริเวณงาน กลุ่มลูกจ้างอ่ืน ๆ หน่วยงานและสถานประกอบ กจิ การ ซ่ึงระบบงานของลกู จา้ งนัน้ เปน็ ส่วนหน่งึ ถ้านักการยศาสตรไ์ ม่พิจารณาการยศาสตร์มหภาคประกอบด้วย คือ ประยุกต์ใช้การยศาสตร์ในระดับจุลภาคเท่านั้น ก็จะทาให้การออกแบบ สร้าง และปรับปรุงแก้ไขระบบงาน ไมไ่ ด้ผลสาเร็จเท่าท่ีควร ในการประยกุ ตใ์ ชก้ ารยศาสตรม์ หภาค นักการยศาสตร์จะต้องพจิ ารณาส่งิ ต่อไปนี้ 1. นโยบายขององค์กรเกีย่ วกบั การยศาสตร์ 2. ผบู้ รหิ ารของสถานประกอบกิจการ 3. เทคโนโลยีท่ีเก่ยี วกบั ข้องกบั งานและการปฏิบตั ิงาน 4. วัฒนธรรมของสถานประกอบกจิ การ 5. การทางานร่วมกับลูกจา้ งคนอ่ืน ๆ ในสถานประกอบกิจการ 6. สทิ ธิเสรภี าพในการปฏิบัติงานของลูกจ้าง 2.3 การประยุกตใ์ ชก้ ารยศาสตร์ ขอบเขตของการประยกุ ตใ์ ชก้ ารยศาสตร์จลุ ภาคและการยศาสตรม์ หภาค สามารถแสดงไดใ้ นภาพที่ 2-1 ภาพที่ 2-1 – ขอบเขตในการประยุต์ใชก้ ารยศาสตรจ์ ุลภาคและการยศาสตร์มหภาค สถาบนั สง่ เสรมิ ความปลอดภัย อาชีวอนามยั และสภาพแวดล้อมในการทางาน (องคก์ ารมหาชน)

หน้ำ 4 ในระหว่างสงครามโลกคร้ังที่สอง แนวทางการประยุกต์ใช้การยศาสตร์มักจะเน้นที่การฝึกสอนบุคลากร ให้สามารถปฏิบัติงานและใช้อุปกรณ์และเครื่องมือที่มีอยู่แล้วอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยท่ีบุคลากรเหล่านั้น คือทหาร และอุปกรณ์และเครื่องมือคืออาวุธและอุปกรณ์ทางทหาร หลังจากที่สงครามโลกครั้งที่สองส้ินสุดแล้ว ประเทศคู่สงครามต่าง ๆ ก็ต้องพัฒนาสร้างประเทศข้ึนใหม่ ภาคอุตสาหกรรมมีบทบาทสาคัญในการพัฒนา ประเทศ นักวิชาการด้านการยศาสตร์จึงได้นาการยศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ในภาคอุตสาหกรรม และหวังว่าจะ ประสบความสาเร็จเช่นเดียวกับที่ประสบในอดีต แต่ก็ได้พบว่าแนวทางการประยุกต์ใช้การยศาสตร์ดังที่ได้กล่าว ข้างต้น ไม่สามารถนาไปใช้กับระบบงานในภาคอุตสาหกรรมได้ หลังจากที่ได้ศึกษาเปรียบเทียบ ก็พบว่าความ แตกต่างของกลุ่มบุคลากรในภาคทหารและภาคเอกชนเป็นปัจจัยสาคัญที่ทาให้การฝึกสอนบุคลากรไม่ประสบ ความสาเร็จเท่าท่ีควร ผลจากการศึกษาวิจัยได้พบว่า การประยุกต์ใช้การยศาสตร์ในระบบงานท่ัวไป จาเป็น จะต้องยึดบุคลากรเป็นหลักหรือเป็นศูนย์กลาง แล้วจึงออกแบบ สร้าง และปรับปรุงระบบงานและองค์ประกอบอื่น ๆ ใหเ้ หมาะสมกับบุคลากร ภาพท่ี 2-2 แสดงแนวทางที่ถูกต้องและเหมาะสมสาหรับการประยุกต์ใช้การยศาสตร์ใน ระบบงาน ภาพที่ 2-2 – แนวทางการประยุกต์ใช้การยศาสตร์ในระบบงาน แนวทางการประยุกต์ใช้การยศาสตร์โดยการพิจารณาลูกจ้างเป็นหลักหรือศูนย์กลางนั้น จะสอดคล้อง กับผลการวิเคราะห์ระบบงานการยศาสตร์ ซ่ึงระบุว่าองค์ประกอบลูกจ้างเป็นองค์ประกอบท่ีด้อยที่สุดใน ระบบงาน และการที่จะปรับปรุงและแก้ไของค์ประกอบลูกจ้างน้ันเป็นเรื่องยากหรืออาจจะเป็นไปไม่ได้ สถาบนั สง่ เสรมิ ความปลอดภัย อาชีวอนามยั และสภาพแวดล้อมในการทางาน (องคก์ ารมหาชน)

หน้ำ 5 ส่วนการออกแบบ ปรับปรุง และแก้ไของค์ประกอบอ่ืน ๆ ของระบบงาน จะมีความเป็นไปได้และกระทาได้ งา่ ยดายกวา่ มาก การประยกุ ตใ์ ช้การยศาสตรท์ ี่ถูกต้อง ควรปฏบิ ตั ิตามขนั้ ตอนดงั น้ี 1. การประยกุ ตใ์ ช้เชิงวิศวกรรม – เป็นการประยกุ ต์ใช้ท่ีต้นเหตุของปัญหาการยศาสตรโ์ ดยตรง 2. การประยกุ ต์ใชเ้ ชิงบริหารจดั การ – เป็นการปอ้ งกนั ไมใ่ หล้ ูกจ้างไปสัมผัสหรือลดระยะเวลาทลี่ ูกจ้าง จะสัมผสั กับปัญหาการยศาสตร์ 3. การประยุกต์ใช้ที่ลูกจ้าง – เป็นการป้องกันท่ีลูกจ้าง โดยไม่ดาเนินการแก้ไขท่ีต้นเหตุของปัญหา การยศาสตร์และไม่ลดระยะเวลาท่ีลูกจ้างจะสัมผัสกับปัญหาการยศาสตร์ การประยุกต์ใช้การยศาสตร์ท่ีลูกจ้าง จะเนน้ การแก้ไขหรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการปฏิบตั ิงานท่ีไมเ่ หมาะสมของลกู จ้าง เนื่องจากการยศาสตร์เป็นสหวิทยาการ นักการยศาสตร์ในอุดมคติจะต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญ ในหลากหลายสาขา ซึ่งในทางปฏิบัตินั้นจะไม่มีนักการยศาสตร์คนใดที่มีความรู้ความเช่ียวชาญครบในทุกสาขา ท่เี กี่ยวขอ้ ง ดงั น้นั การประยกุ ตใ์ ชก้ ารยศาสตรท์ ถ่ี กู ต้อง ควรประกอบด้วยกล่มุ บคุ ลากรดงั น้ี 1. กลุ่มบุคลากรด้านวิศวกรรมศาสตร์และการออกแบบ – บุคลากรกลุ่มนี้มีความเชี่ยวชาญในการ ออกแบบและสร้างระบบงานการยศาสตร์ โดยประกอบด้วยวิศวกรอุตสาหการ วิศวกรความปลอดภัย นักออกแบบ เป็นต้น 2. กลุ่มบุคลากรด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย – บุคลากรกลุ่มน้ีมีความเช่ียวชาญในการ ตรวจวัดและประเมินความเสี่ยงของปัญหาการยศาสตร์ซ่ึงมีอยู่ในระบบงาน โดยประกอบด้วยเจ้าหน้าท่ี ความปลอดภยั ในการทางาน นกั อาชวี อนามยั นกั สุขศาสตรอ์ ุตสาหกรรม เปน็ ต้น 3. กลุ่มบุคลากรด้านการแพทย์ – บุคลากรกลุ่มน้ีมีความเชี่ยวชาญในการตรวจอาการ รักษาพยาบาล และฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ที่ได้รับผลกระทบด้านสุขภาพจากปัญหาการยศาสตร์ โดยประกอบด้วย แพทย์อาชวี เวชศาสตร์ พยาบาล นกั กายภาพบาบดั เปน็ ตน้ บุคลากรท้ัง 3 กลุ่มนี้ต้องปฏิบัติงานร่วมกัน โดยท่ีบุคลากรกลุ่มที่ 1 (วิศวกรและนักออกแบบ) จะเป็น ด่านแรกของการป้องกันปัญหาการยศาสตร์ ส่วนบุคลากรกลุ่มท่ี 2 (เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทางาน นักอาชีวอนามัย และนักสุขศาสตร์อุตสาหกรรม) จะเป็นด่านที่ 2 ของการป้องกันปัญหาการยศาสตร์ และบุคลากรกลุ่มท่ี 3 (แพทย์ พยาบาล และนักกายภาพบาบัด) จะเป็นด่านสุดท้ายของการป้องกันปัญหา การยศาสตร์ ดงั แสดงในภาพท่ี 2-3 สถาบนั ส่งเสริมความปลอดภัย อาชวี อนามัย และสภาพแวดลอ้ มในการทางาน (องค์การมหาชน)

หน้ำ 6 ภาพที่ 2-3 – กลุม่ บุคลากรท่ีมสี ่วนรว่ มในการประยุกต์ใช้การยศาสตร์ สถานประกอบกิจการทน่ี าการยศาสตรไ์ ปประยกุ ต์ใช้ในระบบงาน จะได้รบั ผลประโยชน์ในหลาย ๆ ด้าน ดงั ตอ่ ไปน้ี - เพม่ิ ความปลอดภัยและอาชีวอนามยั ของลูกจ้าง - เพมิ่ ความกระตอื รอื รน้ ของลูกจ้างในการปฏบิ ัตงิ าน - เพ่มิ คุณภาพของงานท่ปี ฏิบัติ - เพิ่มประสิทธิภาพและผลผลติ ของระบบงาน - เพิ่มศักยภาพของสถานประกอบกิจการในการแข่งขนั เชิงการคา้ - ลดอตั ราการลาหยดุ งานและการลาออกของลกู จ้าง - ลดการบาดเจบ็ และปัญหาสุขภาพเนื่องจากการปฏบิ ตั งิ าน - ลดคา่ ใชจ้ ่ายดา้ นบุคลากรของสถานประกอบกจิ การ ปัจจัยสาคัญท่ีจะช่วยให้การประยุกต์ใช้การยศาสตร์ในสถานประกอบกิจการประสบความสาเร็จ และยั่งยืนได้ คือ ผู้บริหารของสถานประกอบกิจการ ผู้รับผิดชอบในการประยุกต์ใช้การยศาสตร์ และลูกจ้าง ซง่ึ กลุ่มบุคลากรทง้ั 3 ระดบั นัน้ จะตอ้ งมีคณุ ลกั ษณะดงั นี้ ผบู้ รหิ าร : - ตอ้ งกาหนดนโยบายการประยกุ ต์ใช้การยศาสตร์ในสถานประกอบกจิ การ - ต้องให้ความสนับสนุนโครงการปรบั ปรงุ งานด้านการยศาสตร์ - ตอ้ งจดั สรรงบประมาณสาหรบั การปรับปรงุ ระบบงานด้านการยศาสตร์ - ตอ้ งให้ความสนบั สนนุ การประยกุ ต์ใชก้ ารยศาสตร์ใหเ้ ป็นไปอย่างตอ่ เน่ือง - ต้องร่วมเสริมสร้างวัฒนธรรมการยศาสตรใ์ นสถานประกอบกจิ การ - ตอ้ งเป็นตัวอย่างที่ดีในการปฏิบตั ิตามหลักการยศาสตร์ สถาบนั ส่งเสรมิ ความปลอดภยั อาชีวอนามัย และสภาพแวดลอ้ มในการทางาน (องคก์ ารมหาชน)

หน้ำ 7 ผรู้ ับผิดชอบในการประยกุ ตใ์ ช้การยศาสตร์ : - ตอ้ งมคี วามรู้และความเชยี่ วชาญดา้ นการยศาสตร์ - ต้องดาเนนิ การปรบั ปรุงระบบงานตามขนั้ ตอนและวธิ กี ารทถี่ ูกตอ้ ง - ตอ้ งสามารถทางานเปน็ คณะกบั ผูร้ บั ผิดชอบคนอน่ื ๆ ได้ - ต้องสามารถเป็นตวั เชอ่ื มและประสานกบั ผูบ้ ริหาร หนว่ ยงานต่าง ๆ และลูกจ้างทกุ คนได้ - ตอ้ งเป็นตัวอย่างท่ีดีในการปฏบิ ัตติ ามหลกั การยศาสตร์ ลกู จ้าง : - ตอ้ งมีความรแู้ ละเขา้ ใจด้านการยศาสตรใ์ นระดับเบื้องต้น - ต้องได้รบั แรงกระตนุ้ ให้ปฏบิ ตั ิตามหลกั การยศาสตร์ - ต้องมีสว่ นร่วมในการปรบั ปรงุ ระบบงาน - ตอ้ งยินยอมแกไ้ ขหรอื ปรับเปลีย่ นพฤติกรรมในการปฏิบตั งิ าน - ตอ้ งเปน็ ตัวอยา่ งทดี่ ีใหล้ ูกจา้ งคนอื่น ๆ ในการปฏบิ ัติตามหลักการยศาสตร์ สถาบนั ส่งเสริมความปลอดภยั อาชวี อนามยั และสภาพแวดลอ้ มในการทางาน (องค์การมหาชน)

หน้ำ 8 บทที่ 3 ปัจจยั กำรยศำสตรข์ องระบบงำนคอมพิวเตอรใ์ นสำนักงำน ในปัจจุบันน้ี เครื่องคอมพิวเตอร์ต้ังโต๊ะ (Desktop Computer) และเคร่ืองคอมพิวเตอร์พกพา (Notebook Computer) เป็นอุปกรณ์สาคัญที่ช่วยให้การปฏิบัติงานหลายประเภทในสานักงาน เป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพและได้ผลสาเร็จโดยใช้เวลาท่ีสั้นลง ลูกจ้างสานักงานส่วนใหญ่ใช้เคร่ืองคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ หลักในการปฏิบตั ิงานต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง โดยที่ระยะเวลาในการปฏิบัติงานกับเครือ่ งคอมพิวเตอร์ในแต่ละวนั มักจะนานกว่า 4 ชั่วโมง และถ้าเป็นลูกจ้างระดับปฏิบัติการ ก็มักจะต้องปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลา ไมน่ ้อยกวา่ 6 ช่ัวโมงตอ่ วัน สถานีงานคอมพวิ เตอร์ (โตะ๊ และเกา้ อ้)ี ที่พบในสานกั งานต่าง ๆ มักจะเปน็ โต๊ะทางาน ระดับเดียว หรือโต๊ะคอมพิวเตอร์ 2 ระดับ คือ มีลิ้นชักวางแป้นพิมพ์ซึ่งเลื่อนเข้า-ออกได้ ส่วนเก้าอ้ีจะเป็นเก้าอี้ สานักงานประเภทมีล้อเล่ือนและปรับระดับเบาะน่ังให้สูง-ต่าได้ ซ่ึงสถานีงานคอมพิวเตอร์เหล่าน้ีมีขีดจากัดใน ด้านการปรับระดับสูง-ต่า และระยะใกล้-ห่างให้เหมาะสมกับร่างกายของลูกจ้าง อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ท่ีใช้ ปฏิบัติงานสานักงานก็ประกอบด้วยแป้นพิมพ์ เมาส์ และจอภาพ โดยท่ีจานวนของจอภาพที่ลูกจ้างบางคนใช้ อาจจะเป็น 2 จอภาพ ขนึ้ อยูก่ ับลักษณะของงานทปี่ ฏิบตั ิ ระบบงานคอมพิวเตอร์ในสานักงาน มีองค์ประกอบท่ีสาคัญ ได้แก่ ลูกจ้าง สถานีงานและอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ท่ีลูกจ้างใช้เพ่ือปฏิบัติงานท่ีได้รับมอบหมาย สภาพแวดล้อมในบริเวณงานท่ีลูกจ้างจะต้องอยู่ ปฏิบัติงาน และงานท่ีลูกจ้างกาลังปฏิบัติ สาหรับการออกแบบ สร้าง และปรับปรุงระบบงานคอมพิวเตอร์ใน สานักงานตามหลักการยศาสตร์นั้น นักการยศาสตร์ต้องพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ของแต่ละองค์ประกอบของ ระบบงานอยา่ งละเอียดถ่ีถ้วน 3.1 ปจั จัยลกู จา้ ง ปจั จยั ลกู จา้ ง หมายถึง ปจั จยั ที่เกย่ี วข้องกบั องคป์ ระกอบลูกจา้ งของระบบงานการยศาสตร์ ตวั อย่างของ ปจั จัยลูกจา้ ง คอื - อายุ - เพศ - ขดี ความสามารถเชงิ กายภาพ - สัดสว่ นร่างกาย - ประสบการณใ์ นการปฏบิ ัติงาน - ความรู้เก่ียวกับการยศาสตร์ - ความกระตือรอื ร้นในการปฏิบตั ิงาน - สขุ ภาพและความสมบูรณข์ องรา่ งกาย สถาบนั ส่งเสรมิ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดลอ้ มในการทางาน (องค์การมหาชน)

หน้ำ 9 3.2 ปัจจัยอุปกรณ์และเครื่องมือ ปัจจัยอุปกรณ์และเครื่องมือ หมายถึง ปัจจัยที่เก่ียวข้องกับสถานีงานและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ของ ระบบงาน ตัวอย่างของปจั จยั อุปกรณแ์ ละเครอ่ื งมือ คอื - สถานีงานคอมพิวเตอร์ - ขนาดของเคร่ืองคอมพวิ เตอร์พกพา - ขนาดของจอภาพ - ประเภทของแปน้ พมิ พ์ - การออกแบบของแผงปมุ่ ตวั อกั ษร - ขนาดของเมาส์ 3.3 ปัจจยั สภาพแวดล้อม ปัจจยั สภาพแวดล้อม หมายถงึ ปจั จัยที่เก่ยี วข้องขององค์ประกอบสภาพแวดล้อมในบริเวณปฏิบัติงานที่ ลูกจา้ งกาลังปฏิบัติงานคอมพวิ เตอร์ ตัวอยา่ งของปจั จยั สภาพแวดลอ้ ม คอื - อณุ หภูมิ - ความชนื้ - เสยี ง - แสงสว่าง - ความสั่นสะเทือน - ทิศทางและความเรว็ ของกระแสลม 3.4 ปัจจยั งาน ปัจจัยงานหมายถึง ปัจจัยท่ีเก่ียวข้องขององค์ประกอบงานคอมพิวเตอร์ท่ีลูกจ้างกาลังปฏิบัติ ตัวอย่าง ของปัจจยั งาน คอื - ประเภทของงาน - ปรมิ าณงาน - อัตราการปฏิบัติงาน - ลักษณะท่าทางของรา่ งกาย - ช่วงเวลาการปฏิบัตงิ าน - ความซ้าซากของงานทป่ี ฏบิ ตั ิ - วงจรของการปฏบิ ัตงิ านและการหยดุ พกั สถาบนั สง่ เสรมิ ความปลอดภัย อาชวี อนามยั และสภาพแวดลอ้ มในการทางาน (องคก์ ารมหาชน)

หน้ำ 10 บทท่ี 4 ผลกระทบของกำรปฏิบตั ิงำนคอมพิวเตอรต์ ่อระบบกระดกู และกล้ำมเนื้อ ปัญหาการยศาสตร์มักจะเปน็ ปัญหาที่เกิดข้ึนในระยะยาว เป็นปญั หาสะสม และมผี ลกระทบต่อสว่ นของ ร่างกาย เช่น คอ ไหล่ ข้อมือ หลังส่วนล่าง เข่า เป็นต้น ปัญหาการยศาสตร์จะพบทั่วไปในลูกจ้างของสถาน ประกอบกิจการในอุตสาหกรรมภาคการผลิตและภาคการให้บริการ ตัวอย่างเช่น ลูกจ้างยกวัสดุในโกดังสินค้า ของโรงงานมีอาการปวดเม่ือยหรือท่ีบริเวณหลังส่วนล่าง ลูกจ้างสานักงานที่นั่งปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์มีอาการ ปวดเม่อื ยทบ่ี รเิ วณ คอ ไหล่ และหลังสว่ นลา่ ง เป็นต้น 4.1 ออฟฟศิ ซนิ โดรม ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) คือ กลุ่มอาการของปัญหาสุขภาพและโรคต่าง ๆ ที่มักจะพบใน ลูกจ้างสานักงานท่ีต้องใช้เคร่ืองคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์หลักในการปฏิบัติงาน ตัวอย่างของกลุ่มอาการออฟฟิศ ซนิ โดรม คือ 1. กลุ่มปัญหาท่ีพบในระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ (Musculoskeletal System) ของร่างกาย ได้แก่ อาการ ปวดเมอื่ ยและบาดเจบ็ ท่สี ว่ นตา่ ง ๆ ของรา่ งกาย เช่น คอ ไหล่ ข้อมอื หลังส่วนลา่ ง ขา เทา้ เป็นต้น 2. กลุ่มปัญหาท่ีพบในระบบการมองเห็น เช่น อาการปวดเม่ือยกล้ามเนื้อตา อาการตาแห้ง อาการตา พรา่ มวั และอาการวนุ้ ในลูกตาเสอ่ื ม เปน็ ตน้ 3. กลุม่ ปญั หาดา้ นจิตใจ เชน่ อาการเครยี ด กงั วล นอนไมห่ ลบั เป็นต้น 4. กลุ่มปัญหาสุขภาพอ่ืน ๆ เช่น กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ความดันโลหิตสูง น้าหนักตัวเพิ่ม ปวด ศีรษะเรอ้ื รัง กรดไหลยอ้ น เป็นต้น ในกลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรมที่กล่าวมาในข้างต้น กลุ่มปัญหาท่ีพบในระบบกระดูกและกล้ามเนื้อของ ร่างกายเป็นกลุ่มปัญหาที่เด่นชัด และพบในลูกจ้างสานักงานเป็นจานวนมากทั้งผู้ชายและผู้หญิง ซ่ึงเป็น ผลกระทบดา้ นสุขภาพโดยตรงต่อสว่ นต่าง ๆ ของร่างกายเนื่องจากการปฏิบตั ิงานคอมพิวเตอร์ โดยมีสาเหตุหลัก ดังต่อไปนี้ 1. ปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ด้วยท่าทางหรือพฤติกรรมท่ีไม่เหมาะสม เช่น ปฏิบัติงานในท่าทางที่ ไม่ถูกต้อง น่ังในท่าเดิมโดยไม่เปล่ียนอิริยาบถเป็นระยะเวลานานเกินไป ทางานกับเคร่ืองคอมพิวเตอร์อย่าง ตอ่ เนอื่ งโดยไม่หยุดพัก เปน็ ต้น 2. ปฏิบัติงานภายใต้สภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น สถานที่ทางานมีเสียงดังรบกวนการทางาน ระดับแสงสว่างท่ีบริเวณทางานไม่พอเพียง มีแสงสะท้อนบนจอภาพจากไฟเพดานหรือจากแสงสว่างภายนอก อณุ หภมู ริ ้อนหรือเย็นเกินไป เป็นต้น สถาบนั สง่ เสรมิ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดลอ้ มในการทางาน (องคก์ ารมหาชน)

หน้ำ 11 3. ใช้อปุ กรณป์ ฏิบัตงิ านที่ไม่เหมาะสม เช่น เก้าอี้น่ังมเี บาะท่มี ีความลึกมากเกนิ ไป ทีพ่ ักแขนปรับระดับ ไม่ได้ โตะ๊ วางเครื่องคอมพิวเตอร์ไมม่ ีลิ้นชกั วางแป้นพิมพ์ เป็นต้น 4.2 ปัญหาการยศาสตร์ที่มกั จะพบและสาเหตุ ผลกระทบของปัญหาการยศาสตร์ต่อสุขภาพของลูกจ้าง คือ ปัญหาที่ระบบกระดูกและกล้ามเน้ือ เช่น อาการไม่สบายร่างกายบริเวณคอ ไหล่ แขน ข้อมือ หลังส่วนล่าง ขา เป็นต้น ปัญหาหรืออาการบาดเจ็บท่ีระบบ กระดกู และกล้ามเนื้อ สามารถแบ่งเปน็ ประเภทใหญ่ ๆ ได้ 2 ประเภท คือ 1. อาการบาดเจ็บเนอื่ งจากการปฏบิ ัตงิ านหนกั เกินไป อาการบาดเจ็บเน่ืองจากการปฏิบัติงานหนักเกินไป มักจะเกิดขึ้นที่บริเวณคอ ไหล่ หลังส่วนล่าง และขา โดยมีสาเหตุหลักมาจากการท่ีลูกจ้างปฏิบัติงานหนักเกินไป ปฏิบัติงานนานต่อเน่ืองนานเกินไป หยุดพัก ไม่เพียงพอ ออกแรงมากเกินไป และมีท่าทางในการปฏิบัติงานที่ไม่เหมาะสม อาการบาดเจ็บดังกล่าวนม้ี ักจะพบ ในลูกจ้างที่ต้องออกแรงในการยกและเคล่ือนย้ายวัสดุด้วยแรงกาย และลูกจ้างที่นั่งหรือยืนปฏิบัติงานอย่าง ต่อเนอื่ งในท่าทางทไ่ี ม่เหมาะสม 2. อาการบาดเจ็บเนอ่ื งจากการปฏบิ ัตงิ านซ้าซาก อาการบาดเจ็บเนื่องจากการปฏิบัติงานซ้าซาก มักจะเกิดข้ึนท่ีนิ้วมือ ข้อมือ ข้อศอก และไหล่ เนื่องจาก ความเค้นท่ีเกิดจากการเคล่ือนไหวอย่างซ้าซาก โดยมีสาเหตุหลักมาจากที่ลูกจ้างปฏิบัติงานโดยใช้กล้ามเนื้อ ชุดเดียวกันตลอดเวลา หยุดพักไม่เพียงพอ และมีท่าทางในการปฏิบัติงานท่ไี ม่เหมาะสม ซ่ึงจะพบได้ทั้งในลกู จ้าง ฝ่ายผลติ และลกู จา้ งสานกั งาน ตัวอยา่ งเชน่ ลกู จ้างในสายประกอบช้นิ สว่ นของอุตสาหกรรมอิเลคโทรนิกส์ ลูกจ้าง สานกั งานทีใ่ ช้แปน้ พิมพเ์ ปน็ ประจาและตอ่ เน่ือง เปน็ ตน้ ลูกจ้างสานักงานซึ่งปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ด้วยวิธีการและท่าทางท่ีไม่เหมาะสมตามหลักการยศาสตร์ เป็นประจาและอย่างต่อเน่ือง จะได้รับผลกระทบของปัญหาการยศาสตร์ที่บริเวณคอ ไหล่ หลังส่วนล่าง หัวเข่า และขา โดยระดับอาการจะเร่ิมจากอาการปวดเมื่อยก่อน ถ้าไม่นาการยศาสตร์ไปประยุกต์ใช้เพ่ือปรับปรุง ระบบงานใหเ้ หมาะสม ผลกระทบน้นั ก็อาจจะเพิ่มมากข้ึนจนกลายเปน็ อาการบาดเจบ็ สาเหตหุ ลกั ของการเกิดอาการไม่สบายร่างกายเนือ่ งจากการปฏบิ ตั งิ านคอมพวิ เตอร์ คือ 1. ใช้โต๊ะวางเคร่ืองคอมพิวเตอร์ เก้าอ้ี จอภาพ แป้นพิมพ์ เมาส์ หรือเครื่องคอมพิวเตอร์พกพาท่ี ไม่เหมาะสมกับลูกจ้างหรืองานคอมพวิ เตอร์ท่ตี อ้ งปฏบิ ตั ิ 2. จัดสภาพแวดล้อมในบริเวณทางานไม่เหมาะสม เช่น แสงสว่าง เสียง ความร้อน-เย็น ทิศทางของ ลมเย็นจากเครอ่ื งปรับอากาศ เป็นต้น 3. ปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ด้วยวิธีท่ีไม่เหมาะสม เช่น จัดตาแหน่งของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ไม่ถูกต้อง มีนสิ ยั หรอื พฤตกิ รรมในการปฏบิ ตั ิงานทไ่ี มเ่ หมาะสม เป็นต้น สถาบนั สง่ เสรมิ ความปลอดภัย อาชีวอนามยั และสภาพแวดล้อมในการทางาน (องค์การมหาชน)

หน้ำ 12 4. ปฏิบตั งิ านที่สถานีงานคอมพวิ เตอร์ด้วยทา่ ทางท่ีไม่เหมาะสมตามหลักการยศาสตร์ 4.3 อาการปวดเมื่อยคอและไหล่ อาการปวดเม่ือยคอและไหล่มีสาเหตุหลักมาจากการใช้กล้ามเนื้อคอและกล้ามเน้ือไหล่มากเกินไป ซึ่ง เป็นผลจากการน่ังก้มคอ เอียงคอ บิดคอ และแหงนคออย่างมากหรือค่อนข้างมาก การน่ังกางไหล่หรือยกไหล่ ขณะปฏบิ ตั งิ านกบั แปน้ พิมพ์และเมาส์ และการนง่ั ในทา่ ทางทไี่ ม่เหมาะสมน้นั อยา่ งต่อเนือ่ ง การนั่งก้มคอมักจะพบในลูกจ้างสานักงานที่ปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ประกอบกับการอ่าน เขียน หรือ ตรวจสอบเอกสาร โดยวางเอกสารดังกล่าวบนโต๊ะบริเวณด้านหน้าหรือดา้ นข้างของลูกจา้ ง ส่วนลกู จา้ งสานักงาน ที่ปฏิบัติงานพิมพ์โดยจาเป็นต้องค้นหาปุ่มตัวอักษร ก็มักจะต้องก้มคอไปมองปุ่มตัวอักษรบนแป้นพิมพ์ เพ่ือให้ มัน่ ใจว่ากดปุม่ ตวั อักษรถูกต้อง การนั่งเอียงคอหรือบิดคอมักจะพบในลูกจ้างสานักงานท่ีต้องมองเอกสารที่ถูกวางบนผิวโต๊ะบริเวณ ดา้ นข้างของพนักงาน หรอื มองจอภาพซึ่งตั้งทางด้านซ้ายหรือดา้ นขวาของลกู จา้ ง ลกู จา้ งสานักงานที่พูดโทรศัพท์ และใช้แป้นพิมพ์ในเวลาเดียวกัน โดยการหนีบหูโทรศัพท์ท่ีซอกคอ-ไหล่ ก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการปวดเมื่อย คอและไหล่ดว้ ย การน่ังแหงนคอไปด้านหลังมักจะพบในลูกจ้างสานักงาน ท่ีต้องมองงานซ่ึงอยู่ในระดับสูงกว่าระดับ สายตา (ขณะน่ังหลังตรงและคอตั้งตรง) ลูกจ้างท่ีปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์และปรับระดับจอภาพสูงกว่าระดับท่ี เหมาะสม มักจะน่ังแหงนคอไปด้านหลังขณะมองจอภาพ ซ่ึงลูกจ้างเหล่าน้ีมีความเส่ียงสูงท่ีจะมีอาการปวดเม่ือยคอ ภาพที่ 4-1 แสดงทา่ ทางของคอซึ่งเป็นสาเหตุของอาการปวดเมอ่ื ยคอในลกู จา้ งสานักงาน สถาบนั ส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทางาน (องค์การมหาชน)

หน้ำ 13 ภาพที่ 4-1 – ท่าทางของคอซึง่ เปน็ สาเหตขุ องอาการปวดเม่อื ยคอ การกางไหล่หรือยกไหล่ขณะนั่งปฏิบัติงานคอมพวิ เตอร์ มักจะพบในลูกจ้างสานักงานที่ต้องเอ้ือมแขนไป ใช้เมาส์ ซ่ึงวางอยู่ไกลจากแป้นพิมพ์ หรืออยู่ต่างระดับจากแป้นพิมพ์ ลูกจ้างท่ีวางแป้นพิมพ์บนผิวโต๊ะระดับ เดียวกับจอภาพ มีแนวโน้มที่จะน่ังยกไหล่ในขณะปฏิบัติงานกับแป้นพิมพ์ ลูกจ้างที่ปฏิบัติงานกับเคร่ือง คอมพิวเตอร์พกพาโดยไม่มีฐานวางเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างเหมาะสม ก็มีแนวโน้มที่จะน่ังกางไหล่และยกไหล่ ขณะใช้แป้นพมิ พ์ดว้ ย 4.4 อาการปวดเมอ่ื ยขอ้ มือ ภายในข้อมือ มีอุโมงค์ข้อมือซึ่งเป็นช่องทางให้เส้นเอ็น กล้ามเน้ือ และเส้นประสาท ผ่านจากแขนท่อนล่างไป ยังมือและน้ิวมือท้ัง 5 น้ิว อุโมงค์ข้อมืออยู่ใกล้ผิวหนังด้านฝ่ามือ โดยมีเพียงผิวหนังและเส้นเอ็นกระดูก Transverse Carpal Ligament หุ้มอยู่ ส่วนทางด้านหลังมือ มีกระดูกข้อมือและผิวหนังหุ้มไว้ ภายในอุโมงค์ ข้อมือ มีเส้นประสาทสาคัญ ชื่อ เส้นประสาทมีเดียน (Median Nerve) วิ่งผ่าน เส้นประสาทมีเดียนมีหน้าที่ ควบคุมการทางานของน้ิวโป้ง นิ้วชี้ นิ้วกลาง และน้ิวนาง (ปลายนิ้ว) โดยท่ีเส้นประสาทมีเดียนอยู่ชิด กับผนัง อโุ มงคข์ อ้ มือด้านฝ่ามือ ดังแสดงในภาพที่ 4-2 ภาพที่ 4-2 – ภาพตัดขวางของข้อมือขวาแสดงอุโมงค์ข้อมือและเส้นประสาทมีเดยี น เม่ือลูกจ้างสานักงานท่ีปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์งอข้อมือในแนวดิ่ง คือ งอข้ึนไปทางด้านหลังมือ หรืองอ ลงไปทางดา้ นฝ่ามอื อุโมงคข์ อ้ มอื จะถูกบบี ให้แคบลง ซ่ึงจะทาให้เสน้ ประสาทมีเดยี นถูกกดทับโดยเสน้ เอ็นกระดูก เม่ือข้อมือของพนกั งานอยู่ในท่างออยา่ งต่อเน่ือง ก็ทาให้เส้นประสาทถูกกดทับตลอดเวลา การกดทับเส้นประสาท จะทาให้เกดิ ความบอบชา้ ทเี่ ส้นประสาท และมผี ลตอ่ การสง่ั การควบคมุ การปฏบิ ัตงิ านของนว้ิ มือ สถาบนั สง่ เสริมความปลอดภัย อาชวี อนามัย และสภาพแวดล้อมในการทางาน (องคก์ ารมหาชน)

หน้ำ 14 ดังนั้น ลูกจ้างสานักงานควรรักษาให้มืออยู่ในแนวเส้นตรงกับแขนท่อนล่าง ในขณะปฏิบัติงานกับ แป้นพิมพ์และเมาส์ ไม่งอข้อมือทั้งทางแนวดิ่ง (งอข้ึน-ลง) และแนวราบ (งอทางด้านนิ้วโป้ง-น้ิวก้อย) ภาพที่ 4-3 แสดงท่าทางของข้อมือทถ่ี ูกต้อง (อยูใ่ นกรอบสี่เหลี่ยมเล็ก) และไม่ถกู ต้อง ภาพที่ 4-3 – ท่าข้อมือทถี่ ูกต้อง (ในกรอบเล็ก) และไม่ถูกต้อง การปฏิบัติงานกับแป้นพิมพ์ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอาการปวดเมื่อยข้อมือ มักจะเป็นผลจากการที่ ระดบั และมมุ ของแปน้ พิมพ์ไมส่ มั พนั ธ์กับระดับข้อศอกของลูกจ้าง  ถ้าระดับแป้นพมิ พ์อยูส่ ูงกวา่ ระดบั ข้อศอกของลูกจา้ ง ลกู จ้างมกั จะงอขอ้ มือลงในขณะใชแ้ ป้นพิมพ์  ถา้ ระดับแปน้ พมิ พ์อยูต่ ่ากว่าระดบั ข้อศอกของลกู จา้ ง ลูกจ้างมกั จะงอข้อมือข้ึนในขณะใชแ้ ป้นพิมพ์  ถา้ แปน้ พมิ พอ์ ย่ใู กล้ตัวลูกจา้ งมากเกินไป ลกู จา้ งมักจะงอข้อมอื ออกทางดา้ นน้ิวกอ้ ยในขณะใช้แปน้ พมิ พ์ 4.5 อาการปวดเมอ่ื ยหลังส่วนลา่ ง หลังส่วนล่างหมายถึงส่วนของหลังบริเวณบ้ันเอว (อยู่ด้านตรงข้ามกับสะดือ) ซ่ึงเป็นส่วนของหลังท่ีใช้ งานมากในการก้ม-เงยลาตัว กระดูกสันหลังในบริเวณหลังส่วนล่าง ประกอบด้วยกระดูกบ้ันเอว (Lumbar Vertebrae) 5 ท่อน และกระดูกใต้กระเบนเหน็บ (Sacrum) 1 ท่อน โดยท่ีปัญหาอาการปวดเมื่อยหรือบาดเจ็บ มกั จะเกิดท่ีหมอนรองกระดูก (Intervertebral Disc) ระหว่างกระดูกบ้ันเอวท่อนที่ 4 และทอ่ นที่ 5 หรอื ระหว่าง กระดกู บน้ั เอวท่อนที่ 5 และกระดกู ใตก้ ระเบนเหนบ็ (ดังแสดงในภาพท่ี 4-4) สถาบนั ส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามยั และสภาพแวดล้อมในการทางาน (องค์การมหาชน)

หน้ำ 15 ภาพท่ี 4-4 – กระดกู สนั หลังของมนษุ ย์และบริเวณหลงั ส่วนล่างที่มีอาการปวดเม่ือยหรือบาดเจบ็ กระดูกสันหลังของมนุษย์มีบทบาทสาคัญในการช่วยพยุงโครงของร่างกาย รองรับน้าหนักของร่างกาย ท่อนบน และอานวยความสะดวกในการก้ม-เงยลาตัว หมอนรองกระดูกมีหน้าที่ช่วยดูดซับแรงกดบนกระดูกสันหลัง และช่วยให้หลังของมนุษย์มีความยดื หยุน่ ในการก้ม-เงย หมอนรองกระดูกมีลักษณะเป็นวุ้นขน้ โดยท่บี รเิ วณขอบ นอกมีเส้นใยเป็นส่วนประกอบ ซึ่งช่วยคงรูปร่างของหมอนรองกระดูก บริเวณส่วนกลางของหมอนรองกระดูก เป็นวุน้ ขน้ ที่มคี วามใสกว่า ซ่งึ เคลื่อนท่ไี ป-มาตามทิศทางแรงกดบนหมอนรองกระดูก ถ้ากระดกู สันหลังอยู่ในแนว ที่ถูกต้อง แรงกดบนหมอนรองกระดูกจะเท่ากันทุกด้าน และหมอนรองกระดูกจะถูกกดลงตรง ๆ ภาพท่ี 4-5 แสดงท่านั่งทถี่ กู ตอ้ ง ซึง่ หมอนรองกระดกู จะยบุ ลงอยา่ งสมา่ เสมอในทุกดา้ น ภาพที่ 4-5 – การยบุ ตัวอยา่ งสม่าเสมอของหมอนรองกระดูก ขณะลกู จ้างนง่ั ในท่าทางที่ถูกตอ้ ง สถาบนั สง่ เสริมความปลอดภัย อาชีวอนามยั และสภาพแวดล้อมในการทางาน (องคก์ ารมหาชน)

หน้ำ 16 แต่ถ้าแรงกดบนหมอนรองกระดูกไม่เท่ากันทุกด้าน เช่น แรงกดบนบริเวณด้านหน้าของหมอนรอง กระดูกมากกว่าแรงกดบนบริเวณด้านหลัง วุ้นข้นในหมอนรองกระดูกก็จะถูกดันไปทางด้านหลัง ซ่ึงจะสร้าง แรงดันออกท่ีบริเวณขอบด้านหลังของหมอนรองกระดูก ลักษณะการที่วุ้นข้นในหมอนรองกระดูกเคล่ือนตัวไป ด้านหลัง มกั จะพบเม่ือลูกจ้ากม้ หรือโนม้ ตัวไปดา้ นหนา้ โดยกม้ ทบ่ี ริเวณหลงั ส่วนล่าง เช่น ก้มตวั ไปยกสิ่งของ นงั่ หลังคอ่ ม (ดังแสดงในภาพที่ 4-6) เปน็ ต้น ภาพท่ี 4-6 – ตวั อย่างท่านงั่ ที่ถูกต้อง (หมอนรองกระดกู ยุบตัวอยา่ งสมา่ เสมอ) และท่านง่ั ท่ไี ม่ถกู ต้อง (หมอนรองกระดูกยบุ ตวั ด้านหนา้ มากกวา่ ด้านหลัง) อาการปวดหลังส่วนล่างอาจจะเกิดจากปัญหากล้ามเนื้อหลัง เส้นเอ็นกล้ามเน้ือ หรือหมอนรองกระดูก แต่โดยทั่วไปแล้ว ลูกจ้างสานักงานที่น่ังปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ มักจะมีอาการปวดหลังส่วนล่างเน่ืองจากการท่ี หมอนรองกระดูก เคลื่อนตวั ไปดา้ นหลังและกดทับรากประสาทไปยังขาซ้ายหรือขวา (ดงั แสดงในภาพท่ี 4-7) ซง่ึ นอกจากจะมีอาการปวดหลังแล้ว ลูกจ้างจะมีอาการชาท่ีขาจากการที่รากประสาทถูกกดทับอีกด้วย สาเหตุของ การท่ีหมอนรองกระดูกเคล่ือนไปกดทับรากประสาท ก็มาจากการท่ีนั่งหลังค่อม หรือนั่งโน้มตัวไปข้างหน้าอย่าง ต่อเนอ่ื ง โดยไม่มีการเปล่ยี นท่าทาง ท่านั่งที่มีความเส่ียงต่อการเกิดอาการปวดเม่ือยหลังส่วนล่าง คือ ท่านั่งหลังค่อม ท่าน่ังขัดสมาธิ ท่านั่ง โน้มตัวไปข้างหน้า ท่าน่ังเอียงตัวไปข้างใดข้างหน่ึง และท่าน่ังเท้าแขนบนโตะ๊ ทางาน การน่ังปฏิบัติงานในท่าทาง สถาบนั ส่งเสรมิ ความปลอดภยั อาชีวอนามัย และสภาพแวดลอ้ มในการทางาน (องคก์ ารมหาชน)

หน้ำ 17 ดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ไม่หยุดพัก หรือไม่เปลี่ยนอิริยาบถ ก็จะเพิ่มความความเสี่ยงต่อเกิดอาการปวดเม่ือยหลัง สว่ นล่างขึ้นอกี ด้วย ภาพท่ี 4-7 – สาเหตตุ า่ ง ๆ ของอาการปวดหลังสว่ นล่าง 4.6 อาการปวดเม่อื ยขาและหัวเข่า อาการปวดเมื่อยขาและหัวเข่าในลูกจ้างที่ปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ เป็นผลจากการท่ีลูกจ้างนั่งในท่าทาง ของขาไม่เหมาะสม ซงึ่ เส้นเอ็นกระดกู ท่ีด้านหนา้ หรือด้านขา้ งของหัวเขา่ จะถูกยืดมากกว่าปกติและอยา่ งต่อเนื่อง ทา่ นง่ั ท่ีมีท่าทางของขาไมเ่ หมาะสมสาหรบั การนัง่ ปฏบิ ัติงานคอมพวิ เตอร์ คือ ท่าน่ังไขว่ห้าง ท่านัง่ พบั ขาข้างหนง่ึ ไว้บน เบาะเก้าอ้ี ทา่ น่ังคกุ เขา่ ทา่ นัง่ พับเพยี บ ทา่ นั่งขัดสมาธิ และทา่ นงั่ วางเทา้ บนขาเกา้ อี้ ลกู จา้ งควรนง่ั โดยวางเทา้ ท้ัง 2 ข้างบนพื้นหรือท่ีพักเท้า และรักษามุมงอที่หัวเข่าให้ใกล้เคียงกับมุมฉาก (90 องศา) หรือมากกว่าเล็กน้อย ระดับของเบาะน่ังต้องปรับให้อยู่ในระดับท่ีเหมาะสม โดยให้ขาท่อนบนขนานกับพ้ืน ขาท่อนล่างตั้งฉากกับพ้ืน และเท้าทั้ง 2 ขา้ งมีพืน้ รองรบั อย่างเหมาะสม ถ้าระดบั ของเบาะนงั่ อยตู่ ่าเกนิ ไป มมุ ทหี่ ัวเข่ามกั จะเปน็ มุมแหลม (นอ้ ยกว่า 90 องศา) คอื ลูกจ้างนัง่ ชนั เขา่ แต่ ถ้าระดับของเบาะน่ังอยู่สูงเกินไป ลูกจ้างมักจะนั่งห้อยขา วางเท้าบนขาเก้าอี้ พับขา 1 ข้างวางบนเบาะน่ัง หรือ นงั่ ใกลบ้ รเิ วณด้านหน้าของเบาะน่ังและทามุมปา้ น (มากกว่า 90 องศา) ทหี่ ัวเขา่ สถาบนั สง่ เสรมิ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดลอ้ มในการทางาน (องคก์ ารมหาชน)

หน้ำ 18 บทท่ี 5 ท่ำนัง่ ปฏิบตั ิงำนคอมพิวเตอรใ์ นสำนักงำนอย่ำงเหมำะสม การนั่งปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ในสานักงาน ควรเป็นการน่ังปฏิบัติงานท่ีสถานีงานมาตรฐาน ซึ่ง ประกอบด้วยโต๊ะวางอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และเก้าอ้ีน่ัง การยืนปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ในสานักงานอาจจะ อนุญาตให้เกิดขึ้นได้ แต่ไม่ควรเป็นการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง หรือเป็นระยะเวลาหลายชั่วโมง ภาคผนวก 1 แนะนาท่ายืนปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ตามหลักการยศาสตร์ สาหรับสถานีงานคอมพิวเตอร์ต้ังโต๊ะและสถานีงาน คอมพิวเตอรพ์ กพา ถ้าลูกจ้างนั่งปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ในท่าทางท่ีไม่เหมาะสม และน่ังอยู่ในท่าน้ันอย่างต่อเน่ือง ก็จะเพ่ิม ความเส่ียงของการบาดเจ็บที่ระบบกระดูกและกล้ามเน้ือของร่างกาย ซ่ึงเป็นอาการหลักของกลุ่มอาการออฟฟิศ ซินโดรม ดังน้ัน การสังเกตุเห็นท่านั่งปฏิบัติงานท่ีแตกต่างจากท่านั่งที่เหมาะสมตามหลักการยศาสตร์ ก็เป็น สญั ญาณเตือนวา่ ควรดาเนนิ การปรบั ปรงุ สภาพการปฏิบตั งิ านคอมพวิ เตอร์ในสานกั งานใหเ้ หมาะสม 5.1 ท่านั่งปฏิบตั งิ านเม่อื ใช้เคร่อื งคอมพวิ เตอร์ต้งั โต๊ะ เคร่ืองคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะเป็นอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานท่ีสาคัญสาหรับลูกจ้างสานักงานส่วนใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกจ้างท่ีต้องปฏิบัติงานที่สถานีงานส่วนบุคคล และไม่โยกย้ายตามวันหรือเวลาต่าง ๆ รวมท้ัง ลกู จา้ งทไ่ี ม่จาเปน็ ตอ้ งไปปฏิบัติงานนอกสถานท่ี หรือไมต่ ้องนางานกลบั ไปทานอกเวลาทางานทบี่ า้ น เคร่ืองคอมพวิ เตอรต์ ง้ั โต๊ะประกอบด้วยแปน้ พิมพ์ เมาส์ จอภาพ และหน่วยประมวลผลกลาง แต่อุปกรณ์ ที่ลูกจ้างต้องใช้งานเป็นอุปกรณ์หลักและมีปฏิสัมพันธ์อย่างต่อเน่ือง คือ แป้นพิมพ์ เมาส์ และจอภาพ โดยท่ีการ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างลูกจ้างและแป้นพิมพ์หรือเมาส์ จะเป็นท้ังเชิงกายภาพและเชิงการรับรู้โดยการมองเห็น ส่วนการปฏิสมั พนั ธร์ ะหว่างลกู จ้างและจอภาพ จะเปน็ เชงิ การรับรู้โดยการมองเห็นเท่านน้ั ทา่ น่งั ปฏิบตั ิงานคอมพิวเตอร์ทีส่ ถานีงานคอมพิวเตอรต์ ัง้ โต๊ะตามหลักการยศาสตร์ สามารถสรุปได้ดงั นี้ - นั่งศีรษะตั้งตรงหรือก้มเล็กน้อย ระดับสายตาในแนวราบควรอยู่ระดับเดียวกับขอบบนของจอภาพ ไม่หมนุ คอไปทางซ้ายหรอื ทางขวา - ระยะมองจอภาพควรอยรู่ ะหว่าง 40-60 ซม. หรอื ประมาณ 1 ชว่ งแขน - นัง่ หลังตงั้ ตรงหรอื เอนไปดา้ นหลังเล็กน้อย ถา้ เกา้ อ้มี พี นกั พงิ หลัง - นั่งพงิ พนักพงิ หลงั โดยให้บรเิ วณหลงั ส่วนล่างมีการรองรับอย่างเหมาะสม - นัง่ ปฏบิ ตั ิงานโดยไมบ่ ดิ เอี้ยวดวั หรอื เอียงตวั ไปทางซ้ายหรือทางขวา - ห้อยแขนท่อนบนแนบขนานกับลาตัวตามสบาย ไม่ยื่นแขนไปข้างหน้า ไม่นั่งยกไหล่หรือกางแขน ออกทางดา้ นขา้ ง สถาบนั สง่ เสรมิ ความปลอดภัย อาชีวอนามยั และสภาพแวดลอ้ มในการทางาน (องคก์ ารมหาชน)

หน้ำ 19 - ไม่วางแขนบนที่พักแขนขณะปฏิบัติงานกับแป้นพิมพ์หรือเมาส์ นอกจากจะสามารถปรับระดับและ ระยะหา่ งของทพี่ ักแขนใหเ้ หมาะสมได้ - จดั แขนท่อนลา่ งให้อยู่ในแนวราบ ขนานกบั พืน้ และทามุมข้อศอกประมาณ 90 องศากับแขนท่อนบน - จัดแนวของมือและแขนท่อนล่างให้อยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกัน ไม่งอข้อมือขึ้นหรือลง ไม่เบนข้อมือ ทางดา้ นนว้ิ โป้งหรอื น้ิวก้อย - ไมว่ างแขนท่อนลา่ ง ฝา่ มือ หรอื ขอ้ มอื บนลน้ิ ชกั วางแป้นพิมพ์ หรอื บนพื้นโต๊ะ - จดั ขาทอ่ นบนใหอ้ ย่ใู นแนวราบ ขนานกับพ้ืน และทามมุ สะโพกประมาณ 90-110 องศากับทอ่ นลาตวั - จัดขาทอ่ นล่างใหอ้ ยใู่ นแนวดง่ิ ตงั้ ฉากกับพ้ืน และทามุมหัวเข่าประมาณ 90 องศากบั ขาท่อนบน - วางเท้าท้ัง 2 ข้างบนพื้นหรือท่ีพักเท้าอย่างสบาย ไม่น่ังไขว่ห้าง วางเท้าบนขาเก้าอ้ี หรือพับขาท่อน ล่างข้นึ วางบนเบาะน่งั ท่านง่ั ปฏิบตั ิงานคอมพิวเตอร์ทส่ี ถานีงานคอมพิวเตอร์ตง้ั โต๊ะตามทา่ ทางท่แี นะนาข้างตน้ ดงั แสดงในภาพที่ 5-1 ภาพท่ี 5-1 ท่าน่ังปฏิบัตงิ านคอมพวิ เตอรท์ ี่สถานงี านคอมพิวเตอรต์ ั้งโตะ๊ ตามหลกั การยศาสตร์ ในสานักงานทั่วไป มีลูกจ้างเป็นจานวนมากท่ีน่ังปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ที่สถานีงานคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ดว้ ยท่าทางทไ่ี มเ่ หมาะสม สาเหตทุ ท่ี าให้ลูกจา้ งนง่ั ปฏบิ ัตงิ านอยา่ งไมถ่ กู ต้องตามหลักการยศาสตร์ คอื 1. ใช้สถานีงานคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ไม่ได้ออกแบบอย่างเหมาะสมตาม หลกั การยศาสตร์ 2. ใช้สถานีงานคอมพิวเตอร์ต้ังโต๊ะท่ีไมส่ ามารถปรับระดับให้เหมาะสมกบั สดั ส่วนของร่างกายลูกจา้ ง 3. ใชโ้ ตะ๊ ทางานหรอื โตะ๊ เขียนหนงั สอื ซึ่งเป็นโต๊ะระดบั เดยี วเป็นโตะ๊ วางอปุ กรณ์คอมพวิ เตอร์ 4. ไมป่ รับระดับของอปุ กรณ์คอมพวิ เตอร์ใหเ้ หมาะสมกับสัดสว่ นของร่างกายลูกจ้าง สถาบนั สง่ เสรมิ ความปลอดภยั อาชวี อนามัย และสภาพแวดลอ้ มในการทางาน (องค์การมหาชน)

หน้ำ 20 5. ไมจ่ ัดวางอปุ กรณค์ อมพวิ เตอร์ตามตาแหนง่ ที่เหมาะสม 6. ไม่รู้ว่าทา่ นง่ั ปฏิบตั งิ านคอมพวิ เตอรท์ ี่สถานงี านคอมพวิ เตอร์ต้งั โต๊ะอย่างเหมาะสมเปน็ อย่างไร 7. มนี สิ ยั หรือพฤตกิ รรมในการปฏบิ ัตงิ านท่ีไม่เหมาะสมตามหลักการยศาสตร์ 5.2 ทา่ นง่ั ปฏบิ ัติงานเม่ือใช้เคร่อื งคอมพิวเตอรพ์ กพา ในปัจจุบัน เนื่องจากเคร่ืองคอมพิวเตอรพ์ กพามีราคาถูกลง และมีสมรรถภาพเพ่ิมข้ึนใกล้เคียงกับเครอื่ ง คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ สถานประกอบกิจการหลายแห่งได้อนุญาตให้ลูกจ้างสานักงานเลือกว่า ต้องการใช้เคร่ือง คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะหรือเคร่ืองคอมพิวเตอร์พกพาในการปฏิบัติงานในสานักงาน ซึ่งมีลูกจ้างเป็นจานวนมาก เลือกใช้เครื่องคอมพิวเตอร์พกพา โดยเฉพาะอย่างย่ิง ลูกจ้างท่ีต้องปฏิบัติงานตามสถานีงานหรือสถานท่ี หลายแห่ง โดยอาจจะโยกย้ายตามวันหรือเวลาต่าง ๆ รวมทั้งลูกจ้างที่จาเป็นต้องไปปฏิบัติงานนอกสถานที่ หรอื ตอ้ งนางานกลับไปทานอกเวลาทางานท่บี ้านด้วย เคร่ืองคอมพิวเตอร์พกพาประกอบด้วยส่วนแป้นพิมพ์และส่วนจอภาพซึ่งยึดติดกันด้วยบานพับ มีหน่วย ประมวลผลกลางอยู่ในส่วนแป้นพิมพ์ และมีแผ่นสัมผัสบนส่วนแป้นพิมพ์ซ่ึงปฏิบัติงานคล้ายคลึงกับเมาส์ เคร่ือง คอมพิวเตอร์พกพาบางเครื่องอาจจะมีจอภาพเป็นประเภทจอสัมผัส ซึ่งสามารถรับข้อมูลได้โดยตรงโดยไม่ต้อง ผา่ นแป้นพิมพ์ ทา่ นง่ั ปฏิบตั งิ านคอมพิวเตอรท์ สี่ ถานงี านคอมพิวเตอรพ์ กพาตามหลักการยศาสตร์ สามารถสรปุ ได้ดังนี้ - น่ังศีรษะตั้งตรงหรือก้มเล็กน้อยไม่เกิน 10 องศา ระดับสายตาในแนวราบควรอยู่สูงกว่าระดับขอบ บนของจอภาพเล็กน้อย ไมห่ มนุ คอไปทางซ้ายหรอื ทางขวา - ระยะมองจอภาพควรอยู่ระหวา่ ง 40-60 ซม. หรอื ประมาณ 1 ชว่ งแขน - นั่งหลงั ต้ังตรงหรอื เอนไปด้านหลังเล็กน้อย ถา้ เกา้ อ้ีมพี นกั พิงหลัง - นั่งพงิ พนักพงิ หลงั โดยใหบ้ รเิ วณหลงั ส่วนล่างมีการรองรบั อยา่ งเหมาะสม - น่ังปฏิบตั งิ านโดยไม่บิดเอีย้ วดัวหรอื เอยี งตวั ไปทางซ้ายหรือทางขวา - หอ้ ยแขนท่อนบนข้างลาตัวตามสบาย ยน่ื ไปขา้ งหนา้ เล็กน้อยไม่เกิน 20 องศา ไมน่ ัง่ ยกไหล่หรือกาง แขนออกทางดา้ นข้าง - ปรบั มมุ ของสว่ นแปน้ พมิ พใ์ ห้สูงข้ึน สอดคลอ้ งกบั มมุ ที่หัวไหล่ - ไม่วางแขนทอ่ นลา่ งบนโตะ๊ หรือที่พกั แขน ขณะปฏบิ ตั ิงานกบั เครือ่ งคอมพิวเตอร์พกพา - จดั แขนทอ่ นล่างใหท้ ามมุ ขอ้ ศอกประมาณ 90 องศากับแขนทอ่ นบน - จัดแนวของมือและแขนท่อนล่างให้อยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกัน ไม่งอข้อมือข้ึนหรือลง ไม่เบนข้อมือ ทางด้านน้วิ โป้งหรอื น้วิ กอ้ ย - จดั ขาทอ่ นบนใหอ้ ยู่ในแนวราบ ขนานกับพนื้ และทามุมสะโพกประมาณ 90-110 องศากับท่อนลาตวั - จดั ขาทอ่ นลา่ งใหอ้ ยใู่ นแนวด่งิ ตงั้ ฉากกับพ้ืน และทามมุ หวั เขา่ ประมาณ 90 องศากับขาท่อนบน สถาบนั สง่ เสริมความปลอดภยั อาชีวอนามัย และสภาพแวดลอ้ มในการทางาน (องคก์ ารมหาชน)

หน้ำ 21 - วางเท้าท้ัง 2 ข้างบนพ้ืนหรือที่พักเท้าอย่างสบาย ไม่น่ังไขว่ห้าง วางเท้าบนขาเก้าอ้ี หรือพับขาท่อน ลา่ งขึ้นวางบนเบาะน่งั ท่านงั่ ปฏบิ ัติงานคอมพิวเตอร์ที่สถานงี านคอมพิวเตอรพ์ กพาตามทา่ ทางท่แี นะนาข้างต้น ดงั แสดงในภาพที่ 5-2 ภาพที่ 5-2 ทา่ น่งั ปฏิบตั งิ านคอมพิวเตอรท์ ่ีสถานงี านคอมพิวเตอรพ์ กพาตามหลักการยศาสตร์ ในสานักงานทั่วไป มีลูกจ้างเป็นจานวนมากที่นั่งปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ที่สถานีงานคอมพิวเตอร์พกพา ด้วยท่าทางทไ่ี ม่เหมาะสม สาเหตทุ ่ที าใหล้ ูกจ้างน่ังปฏิบัติงานอย่างไมถ่ ูกต้องตามหลักการยศาสตร์ คือ 1. ใช้สถานงี านคอมพิวเตอร์พกพาที่ไม่ได้ออกแบบอย่างเหมาะสมตามหลักการยศาสตร์ 2. ใชส้ ถานีงานคอมพวิ เตอร์พกพาที่ไมส่ ามารถปรบั ระดับใหเ้ หมาะสมกบั สดั สว่ นของร่างกายลูกจ้างได้ 3. ไม่จดั วางเครอ่ื งคอมพิวเตอร์พกพาบนโต๊ะอย่างเหมาะสม 4. ไม่สามารถปรับระดับของส่วนแป้นพิมพ์และส่วนจอภาพได้อย่างเป็นอิสระ เนื่องจากท้ัง 2 ส่วนยึด ตดิ กนั ดว้ ยบานพับ 5. ไมม่ ฐี านวางเครอื่ งคอมพิวเตอรพ์ กพาทเ่ี หมาะสม เพื่อช่วยปรับมมุ ของส่วนแป้นพมิ พ์ 6. ไมร่ ูว้ ่าท่านั่งปฏบิ ัติคอมพวิ เตอรท์ ่สี ถานีงานคอมพวิ เตอร์พกพาท่ีเหมาะสมตามหลักการยศาสตร์เป็น อย่างไร 7. มีนสิ ยั หรือพฤติกรรมในการปฏิบตั ิงานทไ่ี ม่เหมาะสมตามหลักการยศาสตร์ สถาบนั สง่ เสรมิ ความปลอดภยั อาชวี อนามัย และสภาพแวดล้อมในการทางาน (องค์การมหาชน)

หน้ำ 22 บทท่ีท2ี่ 6 แนวทำงกำรปรบั ปรงุ ระบบงำนคอมพิวเตอรใ์ นสำนักงำน แนวทางการปรับปรุงระบบงานคอมพิวเตอร์ในสานักงาน จะต้องสอดคล้องกับแนวทางการปรับปรุง ระบบงานต่าง ๆ ตามหลักการยศาสตร์ คือ จะต้องพิจารณาองค์ประกอบของระบบงาน ได้แก่ สถานีงาน อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ สภาพแวดล้อม และงาน และปรับปรุงให้เหมาะสมกับลกู จ้าง ดังน้ัน แนวทางการปรับปรงุ ระบบงานคอมพวิ เตอรต์ ามหลกั การยศาสตร์ จะตอ้ งดาเนนิ การดังน้ี 1. เลือกใช้เครอ่ื งคอมพิวเตอร์ทเ่ี หมาะสมกบั งานและลูกจ้าง 2. เลือกใช้สถานีงานทีเ่ หมาะสม 3. เลือกใชอ้ ุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทเ่ี หมาะสม 4. ปรับปรงุ สภาพแวดล้อมในสานกั งานให้เหมาะสม 5. ปรบั ปรงุ งานคอมพวิ เตอร์ในสานกั งานให้เหมาะสม 6. ปรบั ปรงุ พฤติกรรมในการปฏบิ ัตงิ านคอมพิวเตอร์ใหเ้ หมาะสม 6.1 การเลือกใช้เครือ่ งคอมพิวเตอร์ทีเ่ หมาะสมกับงานและลูกจา้ ง เม่ือลูกจ้างน่ังปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ ลูกจ้างจะต้องสามารถนั่งในท่าทางท่ีเหมาะสมตามหลักการยศาสตร์ เพื่อช่วยลดความเส่ียงและผลกระทบต่อระบบกระดูกและกล้ามเน้ือของร่างกาย ผู้เช่ียวชาญด้านการยศาสตร์ พบว่า ลูกจ้างท่ีใช้เครอ่ื งคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะในการปฏบิ ัติงาน จะสามารถปรับท่าน่งั ให้เหมาะสมไดง้ ่ายกว่าผู้ทใี่ ช้ เคร่ืองคอมพิวเตอร์พกพา เนื่องจากเครื่องคอมพิวเตอร์พกพามีส่วนแป้นพิมพ์และส่วนจอภาพท่ียึดติดกันด้วย บานพับ การปรับระดับแป้นพิมพ์และระดับจอภาพจะไม่เป็นอิสระต่อกัน ทาให้เคร่ืองคอมพิวเตอร์พกพาไม่ใช่ อปุ กรณ์ทเี่ หมาะสมสาหรบั การนั่งปฏิบัติงานคอมพวิ เตอร์อยา่ งต่อเน่ืองในสานักงาน ดังนน้ั การปรับปรุงแก้ไขใน ลาดบั แรก ควรจะเรมิ่ จากการพิจารณาประเภทของเครื่องคอมพิวเตอรใ์ หเ้ หมาะสมกบั งานและลกู จา้ งก่อน 6.1.1 งานคอมพวิ เตอร์ งานคอมพิวเตอร์ในสานักงานท่คี วรปฏบิ ัติด้วยเคร่อื งคอมพวิ เตอร์ตง้ั โตะ๊ ควรจะเปน็ งานท่ีมีลกั ษณะตอ่ ไปน้ี 1. เป็นงานที่ต้องปฏิบตั ใิ นสานกั งานและในเวลาทางาน 2. เปน็ งานที่ต้องปฏิบัติอยา่ งตอ่ เนือ่ ง 3. เป็นงานทีเ่ น้นการพิมพข์ อ้ ความหรอื การป้อนขอ้ มูลตัวเลข งานคอมพิวเตอร์ในสานักงานท่ีควรปฏบิ ัตดิ ้วยเครื่องคอมพวิ เตอรพ์ กพา ควรจะเป็นงานที่มีลักษณะตอ่ ไปน้ี 1. เป็นงานที่อาจตอ้ งปฏิบัตินอกสานักงานดว้ ยในเวลาทางาน 2. เป็นงานที่ปฏบิ ัตเิ ป็นครั้งคราว ไมต่ อ้ งปฏิบัตอิ ย่างต่อเนอื่ ง 3. เป็นงานทัว่ ไป เชน่ โต้ตอบอเี มลล์ งานประชมุ งานนาเสนอผลงาน เป็นต้น สถาบนั สง่ เสริมความปลอดภยั อาชีวอนามยั และสภาพแวดลอ้ มในการทางาน (องค์การมหาชน)

หน้ำ 23 6.1.2 ลกู จ้าง ลูกจ้างสานกั งานท่ีควรใช้เครอ่ื งคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะเป็นอปุ กรณ์หลัก ควรมคี ณุ สมบัตเิ หลา่ น้ี 1. เป็นผทู้ ส่ี ามารถพิมพ์สมั ผสั ได้ คอื จาตาแหนง่ ปมุ่ ตวั อักษรต่าง ๆ ได้ ไมต่ อ้ งมองแปน้ พิมพแ์ ละจอภาพ 2. เปน็ ผทู้ ่ตี อ้ งปฏบิ ัติงานคอมพิวเตอรใ์ นสานกั งานเท่านัน้ 3. เป็นผทู้ ี่ตอ้ งปฏบิ ัตงิ านคอมพิวเตอร์อยา่ งต่อเนื่อง ลูกจ้างสานักงานทค่ี วรใช้เครือ่ งคอมพวิ เตอร์พกพาเปน็ อุปกรณห์ ลัก ควรมคี ุณสมบตั ิเหลา่ นี้ 1. เปน็ ผทู้ ่ีตอ้ งค้นหาปมุ่ ตัวอักษรและมองจอภาพสลับไปมาในขณะปฏบิ ตั งิ านคอมพวิ เตอร์ เพราะจา ตาแหน่งปุม่ ตัวอักษรไม่ได้หรือจาไดเ้ ป็นบางตัว 2. เปน็ ผทู้ ี่ตอ้ งปฏบิ ตั งิ านคอมพิวเตอรท์ ้ังในสานักงานและนอกสานักงาน 3. เปน็ ผูท้ ่ตี อ้ งปฏิบัติงานคอมพวิ เตอร์เป็นครั้งคราว ไม่ต่อเนอ่ื ง ถ้าเป็นไปได้ สถานประกอบกิจการควรจะใช้นโยบายต่อไปนี้เพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อปัญหาออฟฟิศ ซินโดรมของลูกจา้ งสานกั งาน 1. ไม่อนญุ าตให้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์พกพาในสานักงาน โดยใหเ้ ปล่ยี นไปใชเ้ ครื่องคอมพิวเตอร์ต้ังโต๊ะ แทน เนื่องจากเครื่องคอมพิวเตอร์ต้ังโต๊ะมีแป้นพิมพ์และจอภาพท่ีแยกส่วนกัน ทาให้สามารถปรับระดับ แป้นพิมพ์และระดับจอภาพให้เหมาะสมได้โดยเป็นอิสระต่อกัน และต้องจัดหาสถานีงานคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะท่ี สามารถปรับระยะได้อย่างเหมาะสมให้ลกู จา้ งด้วย 2. สาหรับลูกจ้างที่ต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์พกพา เนื่องจากต้องไปปฏิบัติงานนอกสถานที่ หรือต้อง เอางานกลบั ไปทาต่อทบี่ า้ น อาจจะอนุญาตใหใ้ ช้เครื่องคอมพวิ เตอร์พกพาในสานักงานได้ แต่ต้องจดั หาแป้นพิมพ์ เสริมและจอภาพเสริมเป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เสริมให้ลูกจ้างใช้ คือ ไม่อนุญาตให้ลูกจ้างใช้แป้นพิมพ์และ จอภาพของเคร่ืองคอมพวิ เตอร์พกพา นอกจากนี้ จะตอ้ งจัดหาสถานีงานคอมพิวเตอร์ตัง้ โต๊ะที่สามารถปรับระยะ ได้อย่างเหมาะสมให้ลูกจ้างด้วย 3. ถ้ามีความจาเป็นต้องใช้เคร่ืองคอมพิวเตอร์พกพาในสานักงาน ท้ังส่วนแป้นพิมพ์และส่วนจอภาพ ควรใช้ฐานวางเคร่ืองคอมพวิ เตอร์พกพาท่ีสามารถปรับมุมวางของเครื่องและระดบั สูง-ต่าได้ เพอ่ื ช่วยปรบั มุมของ สว่ นแปน้ พมิ พแ์ ละระดบั ของสว่ นจอภาพใหเ้ หมาะสมกบั สัดสว่ นของร่างกายลกู จ้าง วิธีการปรับปรุงท่านั่งปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ของลูกจ้าง โดยหลีกเล่ียงการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์พกพา และใช้อปุ กรณเ์ สรมิ ทเ่ี หมาะสมช่วย ดงั แสดงในภาพท่ี 6-1 สถาบนั ส่งเสรมิ ความปลอดภัย อาชีวอนามยั และสภาพแวดล้อมในการทางาน (องคก์ ารมหาชน)

หน้ำ 24 สถาบนั ส่งเสรมิ ความปลอดภยั อาชวี อนามยั และสภาพแวดลอ้ มในการทางาน (องค์การมหาชน)

หน้ำ 25 ภาพที่ 6-1 วธิ ีการปรบั ปรุงท่าน่งั ปฏิบัตงิ านกบั เคร่ืองคอมพิวเตอร์พกพา ในกรณีท่ีมีความจาเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์พกพาในสานักงาน สถานประกอบกิจการอาจจะต้อง จดั หาอุปกรณ์เสรมิ ตอ่ ไปน้ี เพื่อช่วยให้ลูกจา้ งสามารถนงั่ ปฏบิ ตั ิงานคอมพวิ เตอร์ในทา่ ทางที่เหมาะสม - ฐานวางเครอ่ื งคอมพิวเตอรพ์ กพา ซ่ึงสามารถปรับมมุ ของส่วนแป้นพิมพ์ได้ระหวา่ ง 0-30 องศา - ทพ่ี กั เทา้ ซ่ึงสามารถปรบั ระดบั สงู -ตา่ ไดร้ ะหวา่ ง 0-15 ซม. และปรบั มุมเอยี งไดร้ ะหวา่ ง 0-20 องศา - ที่วางเอกสาร ซ่ึงมมี ุมเอยี งของเอกสาร 20 องศา ปัจจัยท่ีมีผลกระทบต่อระยะปรับของอุปกรณ์เสริมเพ่ือช่วยจัดท่านั่งในการปฏิบัติงานกับเคร่ือง คอมพิวเตอร์พกพา คอื - ลกู จ้าง – เพศและสว่ นสูง (ซม.) - เครือ่ งคอมพิวเตอร์พกพา – ขนาดของเครื่องคอมพวิ เตอร์พกพา - สถานงี านคอมพิวเตอรพ์ กพา – ระดบั สงู ของพ้นื ผิวโต๊ะ และชว่ งปรับระดบั ของเบาะนง่ั นอกจากมีอุปกรณ์เสริมแล้ว ลูกจ้างจะต้องวางเครื่องคอมพิวเตอร์พกพาให้ชิดขอบหน้าของโต๊ะ เพ่ือ หลีกเล่ืยงการวางแขนท่อนล่างบนโต๊ะขณะปฏิบัติงาน รวมท้ังหลีกเลี่ยงการนั่งยกไหล่และกางแขนด้วย ลูกจ้าง ควรจะนงั่ หา่ งจากเครื่องคอมพวิ เตอร์พกพาประมาณ 20-30 ซม. โดยใหม้ ุมยนื่ ของแขนท่อนบนไม่เกิน 20 องศา และมุมงอที่ข้อศอกประมาณ 90-100 องศา ลูกจ้างควรจะปรับให้ส่วนจอภาพเปิดทามุมประมาณ 115-130 องศากบั ส่วนแปน้ พิมพ์ ซ่งึ จะต้องวางบนฐานวางเครือ่ งคอมพวิ เตอร์พกพาดว้ ย 6.2 การเลอื กใช้สถานีงานคอมพวิ เตอร์ทเ่ี หมาะสม สถานงี านคอมพวิ เตอร์ประกอบดว้ ย โตะ๊ ท่วี างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และเก้าอน้ี ่ังสาหรบั ผู้ปฏิบัตงิ าน ใน สานักงานทีม่ ีลกู จ้างใช้เครือ่ งคอมพิวเตอร์พกพา กจ็ ะต้องพิจารณาฐานวางเครอื่ งคอมพิวเตอร์พกพาด้วย สถาบนั สง่ เสริมความปลอดภยั อาชวี อนามัย และสภาพแวดลอ้ มในการทางาน (องค์การมหาชน)

หน้ำ 26 6.2.1 ลิน้ ชักวางแปน้ พมิ พ์ โต๊ะคอมพิวเตอร์สาหรับลูกจ้างที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ควรจะมีลิ้นชักวางแป้นพิมพ์ด้วย ลิ้นชัก วางแปน้ พิมพ์ทเ่ี หมาะสมควรมคี ุณสมบตั ิดังต่อไปนี้ 1. สามารถปรับระดับสูง-ต่าได้ ระดับท่ีเหมาะสมของลิ้นชักวางแป้นพิมพ์ควรอยู่ใกล้เคียงกับระดับ ขอ้ ศอกของลกู จ้าง เมอ่ื นั่งหลงั ตรงและห้อยแขนขา้ งลาตัวตามสบาย 2. มพี นื้ ที่พอเพียงสาหรับวางแป้นพมิ พแ์ ละเมาสใ์ นระดับเดยี วกัน 3. สามารถปรบั มมุ วางแป้นพิมพไ์ ด้ ตัวอย่างของล้ินชักวางแป้นพิมพ์ท่ีปรับระดับและมุมได้ ซ่ึงสามารถติดตั้งที่ด้านใต้โต๊ะทางานหรือโต๊ะ คอมพวิ เตอร์ทว่ั ไป ดงั แสดงในภาพท่ี 6-2 ภาพที่ 6-2 ตวั อย่างของลิน้ ชกั วางแปน้ พิมพ์ท่ีปรบั ระดับและมุมได้ 6.2.2 ฐานวางเคร่ืองคอมพิวเตอร์พกพา ในกรณีท่ีลูกจ้างใช้เคร่ืองคอมพิวเตอร์พกพา สถานประกอบกิจการควรจะจัดหาฐานวางเคร่ือง คอมพิวเตอร์พกพา ท่ีสามารถปรับมุมวางของเคร่ืองได้ให้พนักงานใช้ โดยทั่วไปแล้ว ลูกจ้างอาจจะใช้แป้นพิมพ์เสริม หรืออาจจะใช้แป้นพิมพข์ องเคร่ืองคอมพิวเตอร์พกพาเองก็ได้ ถ้าลูกจ้างใช้แป้นพิมพ์เสริม และจะไม่ใช้แป้นพิมพ์ของเคร่ืองคอมพิวเตอร์พกพา ก็ควรจะสามารถปรับมุม วางของเคร่ืองคอมพิวเตอร์พกพาให้ชันขึ้น เพื่อช่วยยกระดับจอภาพให้สูงขึ้นและสามารถมองจอภาพได้สะดวก ขน้ึ ดงั นัน้ ฐานวางเครอื่ งคอมพิวเตอร์พกพาควรจะมีคุณสมบัติดงั ต่อไปนี้ 1. สามารถรองรบั เคร่อื งคอมพิวเตอร์พกพาที่ใช้งานอยู่ได้ สถาบนั ส่งเสริมความปลอดภยั อาชวี อนามยั และสภาพแวดล้อมในการทางาน (องคก์ ารมหาชน)

หน้ำ 27 2. สามารถปรับมมุ ของฐานเพือ่ ใหร้ ะดับจอภาพสงู เหมาะสมกับการมองจอภาพของลูกจ้าง 3. สามารถรักษามุมของเครอื่ งคอมพวิ เตอร์พกพาให้มน่ั คงและไม่เปล่ยี นแปลงตลอดเวลาปฏบิ ัติงาน ถ้าลูกจ้างใช้แป้นพิมพ์ของเคร่ืองคอมพิวเตอร์พกพาเอง ก็ควรจะสามารถปรับมุมวางของเค รื่อง คอมพิวเตอร์พกพาให้เหมาะสม เพ่ือช่วยยกระดับจอภาพให้สูงในระดับท่ียังสามารถใช้แป้นพิมพ์ของเคร่ือง คอมพิวเตอร์พกพาได้และมองจอภาพได้สะดวก ดังน้ัน ฐานวางเครื่องคอมพิวเตอร์พกพาควรมีคุณสมบัติ ดังตอ่ ไปนี้ 1. สามารถรองรบั เคร่ืองคอมพิวเตอร์พกพาทใี่ ชง้ านอยไู่ ด้ 2. สามารถปรับมมุ ของฐาน เพือ่ ใหล้ ูกจ้างสามารถใชแ้ ปน้ พิมพไ์ ด้ในทา่ ทางท่เี หมาะสม และยกระดับ จอภาพใหส้ ูงเหมาะสมกบั การมองจอภาพของลูกจ้าง 3. สามารถรกั ษามุมของเครื่องคอมพิวเตอร์พกพาให้ม่ันคงและไม่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาปฏิบัติงาน ฐานวางเครอ่ื งคอมพิวเตอร์พกพา สาหรบั การใช้งานท่ีมีแป้นพิมพเ์ สริมและไม่มีแป้นพิมพเ์ สริม ดงั แสดง ในภาพที่ 6-3 เม่อื ใช้แปน้ พมิ พเ์ สรมิ เมือ่ ใชแ้ ป้นพิมพข์ องเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา ภาพที่ 6-3 ฐานวางเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา 6.2.3 เก้าอี้ เกา้ อท้ี ีเ่ หมาะสมสาหรบั การนั่งทางานคอมพวิ เตอรใ์ นสานักงาน ควรมีคณุ สมบตั ดิ ังต่อไปน้ี ฐานเก้าอ้ี : - เป็นฐาน 5 แฉก - สร้างจากวสั ดทุ มี่ คี วามคงทนและแขง็ แรง - มีลูกล้อท่ีหมนุ ไดร้ อบทศิ เพือ่ ความสะดวกในการเคลื่อนที่ เบาะนั่ง : - ทาจากวัสดทุ ี่นุม่ และมคี วามโคง้ เวา้ สอดคลอ้ งกับรา่ งกายสว่ นท่ีสมั ผสั ขอบด้านหน้าโค้งลง - สามารถหมุนไดร้ อบทศิ สถาบนั สง่ เสรมิ ความปลอดภยั อาชวี อนามยั และสภาพแวดล้อมในการทางาน (องค์การมหาชน)

หน้ำ 28 - มีความกว้างพอเพียง - สามารถปรบั ระดับสูง-ตา่ ไดอ้ ยา่ งสะดวก ในขณะท่ีร่างกายอยู่ในท่าน่งั - สามารถปรับความลึกของเบาะนง่ั ได้ พนกั พงิ หลงั : - ทาจากวสั ดุทนี่ มุ่ และมคี วามโคง้ เว้าสอดคล้องกบั แผ่นหลงั - สามารถปรับแรงตา้ นไดแ้ ละล็อคตาแหนง่ ได้ - มีสว่ นรองรับหลงั สว่ นล่างท่ปี รบั ระดบั สงู -ตา่ ได้ ท่ีพกั แขน : - ทาจากวัสดทุ ่นี ุม่ และมีความกว้างเหมาะสมกับการรองรบั แขน - สามารถปรบั ระดบั สงู -ตา่ และระยะใกล้-หา่ งได้ - สามารถเล่อื นแผ่นรองรบั แขนไปข้างหน้า-ข้างหลงั ได้ ที่พกั ศีรษะ : - ทาจากวสั ดุทน่ี ุ่ม - สามารถปรบั ระดบั สูง-ต่าและมุมรองรับสว่ นคอ-ศีรษะได้ นอกจากนี้ อปุ กรณป์ รับต่าง ๆ ควรจะต้องอยใู่ นตาแหนง่ ที่เหมาะสมเพือ่ ใหใ้ ช้งานไดส้ ะดวก เชน่ คันโยก ปรับระดับสูง-ต่าของเบาะน่ัง ควรจะต้องติดอยู่ด้านข้างของเบาะน่ัง และเย้ืองมาทางด้านหน้าของเบาะน่ัง เพือ่ ใหล้ กู จ้างสามารถปรบั ระดบั เบาะนง่ั ให้สูงขึน้ หรือต่าลงไดอ้ ยา่ งสะดวก ในขณะท่รี า่ งกายอยใู่ นทา่ นง่ั 6.2.4 ท่ีพักเท้า ท่ีพักเท้าที่เหมาะสมสาหรบั การปฏบิ ัติงานคอมพิวเตอร์ในสานกั งาน ควรมีคุณสมบัติดังต่อไปน้ี 1. สามารถปรบั ระดบั สูง-ตา่ ได้ 2. สามารถชว่ ยให้ลูกจ้างนั่งวางพักเท้าในมมุ ที่เหมาะสม 3. สามารถตา้ นรบั น้าหนกั ขาและเท้าทง้ั 2 ข้าง และแรงกดเทา้ ได้ 4. มีพนื้ ผิวท่ชี ว่ ยใหล้ ูกจ้างนง่ั วางเทา้ ได้อยา่ งมน่ั คง โดยทร่ี องเทา้ ไม่ล่ืนไถล 5. ทาความสะอาดไดง้ า่ ย 6.3 การเลือกใช้อุปกรณค์ อมพวิ เตอรท์ ่เี หมาะสม อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ลูกจ้างจะต้องใช้ปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ในสานักงานเป็นประจาและอย่าง ต่อเนื่อง คือ แป้นพิมพ์ เมาส์ แผ่นรองเมาส์ และจอภาพ 6.3.1 แป้นพมิ พ์ แปน้ พมิ พท์ ่ีเหมาะสมสาหรบั การปฏบิ ัตงิ านคอมพิวเตอร์ในสานักงาน ควรมีคุณสมบัติดังตอ่ ไปน้ี 1. มีขนาดใหญ่เพ่อื ใหส้ ะดวกตอ่ การใช้งาน 2. มสี ภาพเหมาะสมตอ่ การใชง้ าน ป่มุ ต่าง ๆ อย่ใู นสภาพทมี่ ่นั คง แน่น ไม่หลวม 3. มสี ติก๊ เกอรร์ ะบุตวั อกั ษรทง้ั ภาษาไทยและอังกฤษครบทุกปุ่ม สถาบนั สง่ เสรมิ ความปลอดภยั อาชวี อนามัย และสภาพแวดล้อมในการทางาน (องคก์ ารมหาชน)

หน้ำ 29 ถา้ ลกู จ้างสามารถพมิ พ์สัมผสั ได้ และตอ้ งปฏบิ ัติงานพิมพ์เป็นประจาและอย่างต่อเนื่อง ควรใชแ้ ป้นพิมพ์ การยศาสตร์ เพื่อเพ่ิมความสะดวกสบายในการพิมพ์ แป้นพิมพ์การยศาสตร์มีข้อดี คือ แผงปุ่มตัวอักษรแยกเป็น 2 ส่วน และวางทามุมกันอย่างเหมาะสม ซึ่งจะช่วยป้องกันการเบนข้อมือไปทางด้านนว้ิ ก้อย แป้นพิมพ์การยศาสตร์มีที่ พักฝ่ามอื ขนาดใหญ่ ซึง่ สามารถชว่ ยป้องกันการงอในแนวดิง่ ท่ขี ้อมือได้ นอกจากน้ี แป้นพมิ พ์การยศาสตร์มีผวิ โค้ง เหมือนหลังเต่า ช่วยให้วางมือได้สะดวก และแผงปุ่มตัวอักษรจะเว้าลง ทาให้สะดวกในการวางนิ้วมือด้วย (ดงั แสดงในภาพที่ 6-4) ภาพที่ 6-4 – ตัวอยา่ งของแป้นพิมพก์ ารยศาสตร์ อย่างไรก็ตาม แป้นพิมพ์การยศาสตร์ก็ยังมีข้อเสียบางประการ คือ มีราคาแพงกว่าแป้นพิมพ์มาตรฐาน หลายเท่า และมีความยาวมากกว่าแป้นพิมพ์มาตรฐาน ซึ่งเมื่อวางเมาส์ทางด้านขวาของแป้นพิมพ์ จะทาให้เมาส์ อยู่ไกลออกไปทางด้านข้างมาก ไม่สะดวกในการใช้งาน เพราะลูกจ้างจะต้องกางแขนออกด้านข้าง ดังน้ัน ถ้าจะ ใช้แป้นพมิ พ์การยศาสตร์ ลูกจ้างควรจะวางเมาส์ทางด้านซา้ ย เพราะจะสามารถวางใกล้แผงปมุ่ ตัวอักษร และทา ให้สะดวกต่อการใช้งานเมาส์ด้วย โดยที่ไม่จาเป็นต้องกางแขนออกทางด้านข้างเมื่อจะใช้เมาส์ ดังแสดงในภาพท่ี 6-5 สถาบนั สง่ เสริมความปลอดภัย อาชวี อนามัย และสภาพแวดล้อมในการทางาน (องคก์ ารมหาชน)

หน้ำ 30 ภาพท่ี 6-5 – ตวั อยา่ งการใช้แปน้ พิมพ์การยศาสตรแ์ ละวางเมาสอ์ ย่างเหมาะสม 6.3.2 เมาส์ เมาส์ทีเ่ หมาะสมสาหรบั การปฏบิ ตั งิ านคอมพิวเตอร์ในสานกั งาน ควรมคี ุณสมบัติดังตอ่ ไปนี้ 1. เปน็ เมาสแ์ บบออพติคลั เพ่ือสะดวกตอ่ การใช้งานและดูแลรักษา 2. เป็นเมาสแ์ บบไรส้ าย เพราะไมม่ สี ายท่ที าใหเ้ กะกะในบริเวณทางาน 3. มขี นาดเหมาะสมกบั มอื ของลูกจา้ ง ไม่ใหญห่ รือเล็กเกนิ ไป 4. เป็นเมาส์การยศาสตร์ ถ้าลูกจ้างจะวางเมาส์ทางด้านขวาของแป้นพิมพ์ซึ่งมีความยาวไม่มากนัก และลูกจา้ งไมม่ อี าการปวดไหล่ขวา เมาส์การยศาสตร์จะมีความโค้งเว้าที่ด้านข้างของเมาส์ ซ่ึงรองรับมือขวาของลูกจ้าง เพื่อช่วยเพิ่ม ความสะดวกในการวางน้ิวโป้ง มีความนูนทางด้านบนของเมาส์มากกว่าเมาส์ทั่วไป เพ่ือช่วยเพิ่มความสะดวกใน การวางอุ้งมือบนเมาส์ และมีปุ่มฟังค์ช่ันอ่ืน ๆ บนตัวเมาส์ เพ่ือช่วยเพ่ิมความสะดวกในการใช้งาน ดังแสดงใน ภาพที่ 6-6 ภาพท่ี 6-6 – ตวั อยา่ งของเมาส์การยศาสตร์ สถาบนั สง่ เสรมิ ความปลอดภัย อาชีวอนามยั และสภาพแวดลอ้ มในการทางาน (องคก์ ารมหาชน)

หน้ำ 31 ขอ้ เสียของเมาส์การยศาสตร์ คอื มีราคาแพงกว่าเมาส์ทว่ั ไป และออกแบบมาเพ่ือการใช้งานดว้ ยมือขวา เท่านน้ั ดงั นน้ั เมอื่ ใช้ร่วมกบั แปน้ พิมพท์ ม่ี คี วามยาว เช่น แป้นพมิ พ์การยศาสตร์ อาจจะเพ่มิ ความเสี่ยงของอาการ ปวดเม่อื ยท่ไี หลข่ วาของลกู จา้ งได้ 6.3.3 แผ่นรองเมาส์ แผน่ รองเมาสท์ ี่เหมาะสม (สาหรบั เมาส์แบบออพตคิ ัล) ควรมคี ุณสมบัติดังตอ่ ไปนี้ 1. มีผิวดา้ น ไมเ่ ป็นมันเงา 2. มผี วิ เรยี บ ไม่มสี ่วนนูน 3. มีขนาดเหมาะสมต่อการใชง้ าน 4. เลือกใช้แผ่นรองเมาส์ที่ทาจากโฟมมีความจา (Memory Foam) เพราะมีความนุ่มมือ และช่วยลด แรงต้านจากพ้นื โต๊ะ ถ้าแผ่นรองเมาส์มีส่วนนูน ให้วางฝ่ามือบนส่วนนูนน้ัน ไม่ควรวางข้อมือบนส่วนนูนของเมาส์ เพราะ น้าหนกั ของแขนจะสรา้ งแรงกดบนขอ้ มือ ซ่งี อาจจะทาให้เกิดอาการชาท่ีมือและนิ้วมอื ได้ 6.3.4 จอภาพ จอภาพที่เหมาะสมสาหรับการปฏบิ ตั งิ านคอมพวิ เตอร์ในสานักงาน ควรมคี ณุ สมบตั ิดังตอ่ ไปน้ี 1. มีขนาดใหญเ่ พียงพอสาหรบั งานท่ตี ้องปฏิบัติ 2. สามารถปรับระดับสงู -ต่าและมุมแหงนได้ ถ้าไม่สามารถปรบั ระดับได้ ควรถอดฐานจอภาพออก และตดิ แขนจบั จอภาพท่ดี า้ นหลังของจอภาพ 3. เปน็ จอภาพแบบไมส่ ะท้อนแสง 6.4 การปรบั ปรงุ สภาพแวดลอ้ มในสานักงานใหเ้ หมาะสม 6.4.1 อุณหภมู ิ การจดั ระดบั อุณหภูมใิ นสานักงานให้เหมาะสม สามารถกระทาไดด้ งั ต่อไปน้ี 1. มรี ะบบปรบั อากาศท่ีสามารถปรบั อณุ หภมู ิและความช้ืนใหอ้ ยู่ในระดับเหมาะสมได้ 2. โดยทั่วไป ควรปรับตัง้ ระดบั อุณหภูมใิ นสานกั งานให้อยูร่ ะหวา่ ง 23-27 องศาเซลเซยี ส 3. กาหนดระดับอณุ หภูมิที่เหมาะสมในสานักงาน โดยพจิ ารณาจากความเหน็ ของลกู จา้ งโดยส่วนรวม 4. สาหรับลูกจ้างที่น่ังใกล้หน้าต่าง ผนังด้านท่ีได้รับแสงแดด หรืออุปกรณ์ท่ีแผ่ความร้อน เช่น เครื่อง ถ่ายเอกสาร เคร่ืองพมิ พ์ เปน็ ต้น อาจจะใชพ้ ดั ลมส่วนบคุ คลชว่ ยระบายความร้อนในบริเวณสถานงี าน 5. ถ้าลูกจ้างมีความรู้สึกหนาว ควรสวมใส่เส้ือกันหนาวที่เหมาะสม ดื่มเคร่ืองดื่มร้อน และบริหาร รา่ งกายเป็นระยะ ๆ สถาบนั ส่งเสริมความปลอดภัย อาชวี อนามัย และสภาพแวดลอ้ มในการทางาน (องค์การมหาชน)

หน้ำ 32 6. ต้องปอ้ งกนั ไมใ่ ห้ลูกจ้างไดร้ ับลมเย็นจากเครื่องปรับอากาศโดยตรงอยา่ งต่อเน่ือง ขณะน่งั ปฏบิ ัติงาน คอมพวิ เตอรใ์ นสานกั งาน ถ้าเป็นไปได้ ควรกาหนดตาแหน่งสถานีงานคอมพิวเตอร์ให้กับลูกจ้างตามความเหมาะสม โดยพิจารณา จากระดับอุณหภูมิท่ีสถานงี านและความชอบของลูกจ้าง เช่น ถ้าลกู จา้ งคนไหนไมช่ อบอากาศเยน็ อาจจะให้น่ังที่ สถานีงานคอมพวิ เตอรท์ ต่ี ดิ กบั ผนังรบั แสงแดด หรอื ใกล้เครื่องถา่ ยเอกสาร 6.4.2 แสงสวา่ ง การจัดระดับแสงสว่างในสานกั งานใหเ้ หมาะสม สามารถกระทาไดด้ ังตอ่ ไปนี้ 1. ระดับแสงสว่างในบริเวณสถานีงานต้องพอเพียงสาหรับการปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ และการ ปฏบิ ตั ิงานเอกสาร 2. ถา้ ระดับแสงสว่างไม่เพียงพอ ควรใชโ้ คมไฟสว่ นบคุ คลช่วย 3. ระดับแสงสว่างควรจะต้องวัดที่ 3 ตาแหน่งของสถานีงานคอมพิวเตอร์ คือ ที่แป้นพิมพ์ ที่ขอบบน ของจอภาพ และทเ่ี อกสาร 4. ลูกจ้างต้องไม่ได้รับผลกระทบจากแสงจ้าโดยตรง คือ ไม่น่ังหันหน้าเข้าหาหน้าต่างท่ีไม่มีการปิดกั้นแสง ขณะมองจอภาพ 4. ลกู จา้ งตอ้ งไม่ได้รับผลกระทบจากแสงจา้ จากการสะท้อน คอื ไมน่ ่ังหนั หลังให้หน้าต่างท่ีไม่มีการปิด ก้ันแสงขณะมองจอภาพ 5. ลูกจา้ งตอ้ งไม่ได้รบั ผลกระทบจากแสงแดดทสี่ ่องผ่านหน้าตา่ ง/ช่องแสงเข้ามาในสานักงาน 6.4.3 เสยี ง การจดั ระดับเสยี งในสานักงานใหเ้ หมาะสม สามารถกระทาไดด้ ังตอ่ ไปนี้ 1. เสียงจากเครื่องปรับอากาศ เคร่ืองถ่ายเอกสาร เครื่องพิมพ์ พัดลม และอุปกรณ์อื่น ๆ ในสานักงาน ต้องไม่ดัง จนเกนิ ไป 2. เสียงจากภายนอกตอ้ งไมเ่ ลด็ ลอดเข้าในสานักงาน ในระดบั ทที่ าใหเ้ กดิ ความราคาญ 3. เสยี งประกาศจากเครื่องขยายเสยี งในสานักงาน ตอ้ งไม่ดังเกินไปจนทาให้เกิดอาการตกใจ 4. กอ่ นประกาศข้อความทางเครอื่ งขยายเสยี ง ควรมสี ญั ญาณเสยี งเตอื นให้ลกู จ้างทราบลว่ งหนา้ โดยทั่วไป ถา้ ลูกจา้ งสามารถสนทนากับเพื่อนรว่ มงานในระยะ 1-1.5 เมตร ได้อยา่ งสะดวก โดยไม่จาเป็นต้องพูด เสียงดังกว่าปกติหรือตะโกน และได้ยินเสียงเพ่ือนร่วมงานอย่างชัดเจน ก็สามารถอนุโลมได้ว่าสานักงานไม่มีปัญหาด้าน ระดบั เสยี ง 6.5 การปรบั ปรงุ ระบบงานคอมพิวเตอรใ์ นสานกั งานใหเ้ หมาะสม สถาบนั สง่ เสริมความปลอดภยั อาชวี อนามัย และสภาพแวดลอ้ มในการทางาน (องค์การมหาชน)

หน้ำ 33 การปรับปรุงระบบงานคอมพิวเตอร์ในสานกั งานให้เหมาะสม จะรวมท้ังการปรับปรุงงานคอมพิวเตอร์ท่ี ลูกจ้างต้องปฏิบัติ ภาระงาน รูปแบบการปฏิบัติงาน และนโยบายของสถานประกอบกิจการ การปรับปรุงใน ลักษณะนี้ควรต้องกระทาพร้อมกับการปรับปรุงอุปกรณ์คอมพิวเตอร์หรือสถานีงาน ซ่ึงเป็นสาเหตุสาคัญของ ปัญหาการยศาสตร์ในสานกั งาน โดยจะมุ่งเน้นท่ีการลดระยะเวลาที่ลูกจ้างต้องสัมผัสหรอื เผชญิ กับปญั หา เพื่อลด ความเสย่ี งทีล่ ูกจ้างจะได้รบั ผลกระทบของปญั หาการยศาสตร์ และเป็นการแกไ้ ขปญั หาไดใ้ นระดบั หนึ่ง การปรับปรงุ ระบบงานคอมพวิ เตอร์ในสานักงานให้เหมาะสม สามารถกระทาไดด้ งั ตอ่ ไปนี้ 1. สถานประกอบกิจการควรจัดให้มีการหยุดพักส้ัน ๆ ทั้งในช่วงเช้าและในช่วงบ่าย และสนับสนุนให้ ลูกจ้างหยุดปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ชั่วคราวประมาณ 15-20 นาที เป็นท่ีน่าสังเกตว่า ลูกจ้างสานักงานจานวนมาก ไม่นิยมการหยุดพัก อาจจะเป็นเพราะมีภาระงานมาก หรือต้องการปฏิบัติงานประจาวันให้เสร็จอย่างรวดเร็ว หัวหน้างานหรือผู้จัดการควรช่วยกระตุ้นให้ลูกจ้างหยุดพักจากการปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์เป็นระยะ ๆ เพ่ือ เปลี่ยนอิรยิ าบถและผอ่ นคลายอาการปวดเมือ่ ยท่สี ่วนต่าง ๆ ของร่างกาย 2. สถานประกอบกิจการควรแนะนาให้ลูกจ้างบรหิ ารรา่ งกายในขณะหยุดพัก 3. สถานประกอบกิจการควรกระจายภาระงานในช่วงเช้าและในช่วงบ่ายให้เหมาะสม คือ ภาระงาน ในช่วงเช้าควรจะมากกว่าในช่วงบ่าย เน่ืองจากร่างกายอยู่ในสภาพสดช่ืน ภาระงานในช่วงบ่ายควรน้อยกว่า ในช่วงเชา้ เพราะลกู จา้ งอาจจะมีอาการเมือ่ ยลา้ กล้ามเนือ้ จากการปฏบิ ตั งิ านในชว่ งเชา้ ขึ้นบา้ งแล้ว 4. สถานประกอบกจิ การควรจดั ให้ลกู จ้างทางานที่มีความหลากหลายและสลับกนั ไป เพ่ือใหก้ ล้ามเน้ือ ได้มีโอกาสพกั และผ่อนคลาย เช่น งานเอกสาร งานติดต่อลกู ค้า งานคอมพวิ เตอร์ งานเขา้ ประชมุ เป็นต้น 5. สถานประกอบกิจการควรจัดหาอุปกรณ์ชว่ ยในการปฏิบตั ิงานให้กับลูกจ้างตามความจาเป็นของงาน เชน่ ลูกจ้างท่ีต้องติดต่อลูกค้าเป็นประจาทางโทรศัพท์ ควรมีอุปกรณ์หูฟังและไมโครโฟนสวมใส่ขณะนั่งปฏิบัติงาน คอมพิวเตอร์ เพื่อหลีกเลยี่ งการหนีบหโู ทรศัพทไ์ วท้ ซ่ี อกคอ-ไหล่ 6.6 การปรบั ปรงุ พฤตกิ รรมในการปฏบิ ัติงานให้เหมาะสม ขณะปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ในสานักงาน ลูกจ้างไม่จาเป็นต้องใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วน บุคคล เพื่อช่วยป้องกันปัญหาการยศาสตร์ ดังน้ัน การให้ความรู้ด้านการยศาสตร์แก่ลูกจ้าง และการปรับเปลยี่ น พฤติกรรมของลูกจ้างในการปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ ก็จะช่วยลดความเสี่ยงของปัญหาการยศาสตร์ที่ บุคลากรได้บ้าง การปรบั ปรงุ พฤตกิ รรมในการปฏบิ ตั ิงานใหเ้ หมาะสม สามารถกระทาไดด้ งั ตอ่ ไปน้ี 1. ไมป่ ฏบิ ตั ิงานคอมพวิ เตอร์อย่างต่อเนอื่ งนานเกิน 1 ชวั่ โมง 2. ถ้าเป็นไปได้ ควรปฏิบัติงานประเภทอื่นสลับกับงานคอมพิวเตอร์ เช่น ตรวจ/เขียนเอกสาร พูด โทรศพั ท์ เข้าประชุม เปน็ ตน้ 3. ขณะพูดโทรศพั ท์ ไม่ควรปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ เชน่ ใช้แปน้ พมิ พ์ ใชเ้ มาส์ เปน็ ตน้ สถาบนั ส่งเสริมความปลอดภยั อาชีวอนามยั และสภาพแวดล้อมในการทางาน (องค์การมหาชน)

หน้ำ 34 4. ถ้าจาเป็นต้องปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ขณะพูดโทรศัพท์ ควรใช้อปุ กรณ์หูฟังและไมโครโฟนในการพูด โทรศพั ท์ 5. ถา้ ต้องมองเอกสารขณะปฏบิ ัตงิ านคอมพวิ เตอร์ ควรวางเอกสารบนท่ีวางเอกสาร 6. ควรวางทว่ี างเอกสารตรงหน้า ระหวา่ งแป้นพมิ พ์และจอภาพ หรอื วางชิดจอภาพทางด้านข้าง 7. ในระหว่างหยุดพักจากการปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ ไม่ควรนั่งที่สถานีงาน ควรลุกข้ึนและเดินไป-มา และบรหิ ารสว่ นของรา่ งกายทใี่ ช้งานดว้ ย 8. ปรบั เบาะนั่งให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม โดยให้ขาท่อนบนขนานกับพ้นื ขาท่อนล่างต้ังฉากกับพืน้ และ เท้าท้ังสองข้างวางราบบนพื้นหรือบนทพี่ ักเทา้ 9. ไม่น่ังพับขาไวบ้ นเบาะนัง่ หรือนงั่ ไขว่หา้ ง ขณะนง่ั ปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ 10. นง่ั เอนหลังพงิ พนกั พงิ หลงั อย่างเต็มที่ ปรับพนกั พงิ หลังให้ต้ังฉาก หรือเอนไปดา้ นหลงั เลก็ นอ้ ย 11. ไม่วางแขนทง้ั สองขา้ งบนทีพ่ กั แขน ขณะนั่งใช้แป้นพมิ พ์ 12. ไมว่ างแขนทั้งสองข้างบนโตะ๊ ขณะน่งั ปฏบิ ตั ิงานกับเคร่อื งคอมพวิ เตอรพ์ กพา สถาบนั ส่งเสรมิ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดลอ้ มในการทางาน (องคก์ ารมหาชน)

หน้ำ 35 ภภาำคคผผนนววกกที่ 11 ท่ำยืนปฏิบตั ิงำนคอมพิวเตอรใ์ นสำนักงำนอย่ำงเหมำะสม ปจั จุบัน มีสถานประกอบกิจการบางแหง่ ไดจ้ ัดสถานีงานคอมพวิ เตอร์แบบยืนทางานให้ลูกจา้ งสานักงาน ใช้ โดยแนะนาว่าควรจะน่ังทางานและยืนทางานสลับกันไปในหนึ่งวันทางาน เพ่ือให้ร่างกายได้มีโอกาสเปลี่ยน อิริยาบถ สถานีงานสาหรับการยืนปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ ควรจะต้องออกแบบให้เหมาะสมตามหลัก การยศาสตร์ด้วย เพอ่ื ช่วยลดความเสีย่ งของลกู จา้ งต่อปัญหาออฟฟิศซนิ โดรม ผ1.1 ทา่ ยืนปฏบิ ัตงิ านเมอ่ื ใช้เครอ่ื งคอมพิวเตอรต์ ั้งโตะ๊ ทา่ ยืนปฏิบัติงานกับเครือ่ งคอมพิวเตอร์ตงั้ โต๊ะตามหลกั การยศาสตร์ สามารถสรปุ ไดด้ ังนี้ - ยืนศีรษะตั้งตรงหรือก้มเล็กน้อย ระดับสายตาในแนวราบควรอยู่ระดับเดียวกับขอบบนของจอภาพ ไม่หมนุ คอไปทางซา้ ยหรอื ทางขวา - ระยะมองจอภาพควรอยรู่ ะหวา่ ง 40-60 ซม. หรือประมาณ 1 ชว่ งแขน - ยนื หลงั ตงั้ ตรง ไม่บดิ เอยี้ วตัวหรือเอียงตัวไปทางซ้ายหรือทางขวา - ถา้ ตอ้ งยนื โนม้ ลาตัวไปขา้ งหนา้ มุมทสี่ ะโพกไมค่ วรเกิน 20 องศา - ห้อยแขนท่อนบนแนบขนานกับลาตัวตามสบาย ไม่ยื่นแขนไปข้างหน้า ไม่ยืนยกไหล่หรือกางแขน ออกทางดา้ นข้าง - จัดแขนท่อนล่างใหอ้ ยู่ในแนวราบ ขนานกับพื้น และทามุมข้อศอกประมาณ 90 องศากบั แขนทอ่ นบน - จัดแนวของมือและแขนท่อนล่างให้อยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกัน ไม่งอข้อมือขึ้นหรือลง ไม่เบนข้อมือ ทางด้านนว้ิ โปง้ หรือนิว้ กอ้ ย - ไมว่ างแขนทอ่ นลา่ ง ฝา่ มอื หรือข้อมอื บนลิ้นชกั วางแป้นพมิ พ์ หรือบนพน้ื โตะ๊ - ยืนปฏบิ ตั งิ านโดยให้หัวเข่าเหยียดตรง หรืออาจจะงอหัวเข่าเลก็ นอ้ ย - ไม่ยืนในท่าพกั ขา เท้าท้ัง 2 ข้างควรวางราบบนพนื้ อยา่ งสมดุล สถาบนั สง่ เสรมิ ความปลอดภัย อาชวี อนามยั และสภาพแวดล้อมในการทางาน (องคก์ ารมหาชน)

หน้ำ 36 ภาพที่ ผ1-1 ท่ายืนปฏบิ ัติงานกับเครื่องคอมพิวเตอรต์ ้ังโต๊ะตามหลกั การยศาสตร์ ผ1.2 ทา่ ยืนปฏบิ ัติงานเมอื่ ใช้เคร่ืองคอมพวิ เตอรพ์ กพา ท่ายืนปฏบิ ตั ิงานกบั เคร่ืองคอมพิวเตอร์พกพาตามหลักการยศาสตร์ สามารถสรปุ ไดด้ งั น้ี - ยืนศรี ษะต้ังตรงหรือกม้ เล็กนอ้ ย ไมเ่ กิน 10 องศา ไมห่ มนุ คอไปทางซา้ ยหรือทางขวา - ระยะมองจอภาพควรอยรู่ ะหวา่ ง 40-60 ซม. หรือประมาณ 1 ช่วงแขน - ยนื หลงั ต้ังตรง ไม่บดิ เอี้ยวตัวหรอื เอยี งตัวไปทางซ้ายหรอื ทางขวา - ถา้ ตอ้ งโน้มลาตัวไปขา้ งหนา้ มุมท่ีสะโพกไมค่ วรเกิน 20 องศา - ห้อยแขนท่อนบนแนบข้างกับลาตัวตามสบาย ยื่นแขนไปข้างหน้าเล็กน้อย มุมท่ีหัวไหลไม่ควรเกิน 20 องศา ไม่ยืนยกไหลห่ รือกางแขนออกทางด้านข้าง - ปรบั มมุ ของสว่ นแปน้ พมิ พ์ให้สงู ขน้ึ สอดคลอ้ งกับมุมที่หัวไหล่ - จดั แขนทอ่ นล่างให้อยใู่ นแนวราบ ขนานกับพน้ื และทามุมขอ้ ศอกประมาณ 90 องศากบั แขนท่อนบน - จัดแนวของมือและแขนท่อนล่างให้อยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกัน ไม่งอข้อมือข้ึนหรือลง ไม่เบนข้อมือ ทางด้านน้ิวโปง้ หรือน้ิวกอ้ ย - ไม่วางแขนท่อนลา่ ง ฝ่ามอื หรือขอ้ มือบนล้ินชกั วางแปน้ พิมพ์ หรือบนพื้นโต๊ะ - ยืนปฏบิ ตั งิ านโดยใหห้ วั เข่าเหยยี ดตรง หรอื อาจจะงอหวั เขา่ เลก็ นอ้ ย - ไมย่ ืนในทา่ พกั ขา เท้าทั้ง 2 ข้างควรวางราบบนพน้ื อย่างสมดลุ ภาพท่ี ผ1-2 – ท่ายืนปฏิบัติงานกบั เคร่ืองคอมพิวเตอร์พกพาตามหลักการยศาสตร์ สถาบนั ส่งเสริมความปลอดภยั อาชีวอนามยั และสภาพแวดลอ้ มในการทางาน (องค์การมหาชน)

หน้ำ 37 ภำคผนวก 2 ตวั อย่ำงของท่ำนัง่ ปฏิบตั ิงำนคอมพิวเตอรใ์ นสำนักงำนอย่ำงไม่เหมำะสม ถ้าลูกจา้ งนง่ั ปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์โดยมที า่ ทางทีไ่ ม่เหมาะสมตามหลักการยศาสตร์ ก็จะเพิม่ ความเส่ียง ของปัญหาออฟฟิศซินโดรม ในสถานประกอบกิจการจานวนมาก ลูกจ้างสานักงานส่วนใหญ่มีท่าน่ังปฏิบัติงาน คอมพิวเตอร์ท่ีไม่เหมาะสม ท้ังท่ีสถานีงานคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะและที่สถานีงานคอมพิวเตอร์พกพา ตารางต่อไปน้ี แสดงตวั อยา่ งของท่านั่งปฏบิ ัติงานคอมพวิ เตอรอ์ ยา่ งไม่เหมาะสมท่ีพบในสถานประกอบกจิ การตา่ ง ๆ ตารางท่ี ผ2-1 ตวั อย่างของท่าน่ังปฏบิ ัติงานท่สี ถานีงานคอมพวิ เตอร์ตั้งโตะ๊ อย่างไม่เหมาะสม ตวั อยา่ งท่าน่ัง ความไม่เหมาะสม - นัง่ แหงนคอไปดา้ นหลัง เพราะระดับจอภาพสงู - ย่นื แขนไปด้านหนา้ มาก เพราะวางแปน้ พิมพ์ไกล เกนิ ไป - นั่งโนม้ ตัวไปดา้ นหนา้ (1) - จอภาพอย่ไู กลเกินไป - ยนื่ แขนขวาไปข้างหนา้ มาก เพราะวางเมาสไ์ กลเกินไป - นั่งยกไหล่ซา้ ยเพราะวางข้อศอกบนท่วี างแขน (2) - น่งั แหงนคอไปด้านหลัง เพราะระดับจอภาพสงู เกินไป - นง่ั โน้มคอไปดา้ นหนา้ เพราะตง้ั จอภาพไกลเกินไป (3) - นั่งโน้มตวั ไปข้างหน้า เนือ่ งจากแปน้ พมิ พ์อยไู่ กลตวั - ไมพ่ ิงหลงั บนพนกั พงิ หลัง - นงั่ ยกไหล่และกางแขนออกด้านขา้ ง เนอื่ งจากวาง แปน้ พมิ พ์บนโตะ๊ สถาบนั สง่ เสริมความปลอดภัย อาชวี อนามยั และสภาพแวดล้อมในการทางาน (องค์การมหาชน)

(4) หน้ำ 38 ตัวอยา่ งทา่ นัง่ ความไมเ่ หมาะสม - ยื่นแขนไปข้างหน้ามาก เพราะแปน้ พมิ พ์อยไู่ กลเกินไป - ยกไหล่และกางแขนขวา เพราะวางแขนบนโต๊ะ - แหงนคอไปดา้ นหลัง เพราะระดบั จอภาพสงู เกนิ ไป (5) - นั่งโน้มศรี ษะไปข้างหน้า เพราะจอภาพอยู่ไกลเกนิ ไป - นง่ั ยกไหล่และกางแขน เพราะวางแป้นพิมพบ์ นโต๊ะ และวางแขนบนโตะ๊ (6) - นั่งโน้มตวั ไปขา้ งหนา้ เน่อื งจากจอภาพอยู่ไกลตวั - ไม่พงิ หลงั บนพนกั พิงหลงั - ยน่ื แขนไปข้างหนา้ มาก เพราะวางแป้นพิมพ์ไกลตัว - นง่ั ยกไหลข่ วาและกางแขนออกดา้ นข้าง เพราะวาง (7) แขนบนโต๊ะ - นั่งแหงนคอ เนอ่ื งจากระดับจอภาพสงู เกนิ ไป - นง่ั โน้มศรี ษะไปข้างหนา้ เพราะวางจอภาพไกลเกินไป - นั่งยกไหล่และกางแขนออกดา้ นขา้ ง (8) - จอภาพอยไู่ กลเกนิ ไป - ย่ืนแขนไปขา้ งหน้ามาก เพราะวางแปน้ พิมพ์ไกล เกนิ ไป - นง่ั โนม้ ตวั ไปขา้ งหนา้ และแหงนคอไปดา้ นหลัง - นัง่ ยกไหล่และกางแขนออกดา้ นขา้ ง (9) - ปรบั ระดับเบาะนัง่ ตา่ เกนิ ไป - นง่ั แหงนหน้าไปด้านหลงั เพราะระดับจอภาพสงู เกนิ ไป - วางจอภาพไกลเกินไป สถาบนั ส่งเสรมิ ความปลอดภัย อาชวี อนามยั และสภาพแวดลอ้ มในการทางาน (องคก์ ารมหาชน)

(10) หน้ำ 39 ตวั อยา่ งทา่ น่งั - กางแขนขวาออกดา้ นข้าง และยกไหล่ (11) ความไม่เหมาะสม (12) - นั่งโนม้ ตัวไปข้างหน้าและแหงนคอไปดา้ นหลงั - ยืน่ แขนไปข้างหน้ามาก เพราะแปน้ พมิ พอ์ ยไู่ กลเกนิ ไป (13) - น่งั ยกไหล่และกางแขนออกด้านขา้ ง เพราะวางแขน (14) บนโต๊ะ - นง่ั โน้มตัวไปขา้ งหนา้ มาก เพราะวางจอภาพไกล เกินไป - วางขอ้ ศอกบนโต๊ะ รบั นา้ หนกั ตัว - น่ังยกไหล่ - นง่ั โนม้ ตัวไปทางขา้ งหน้า - ยื่นแขนไปข้างหน้ามาก เพราะแปน้ พิมพอ์ ยู่ไกลตัว - ปรับทพ่ี กั แขนสูงเกนิ ไป กีดขวางการทางาน - นง่ั โน้มตัวไปข้างหน้า เพราะวางจอภาพไกลตวั - ยื่นแขนไปข้างหน้ามาก เพราะแปน้ พิมพ์อยไู่ กลตัว - นัง่ แหงนคอไปดา้ นหลัง เพราะระดับจอภาพสงู มาก - นัง่ กางแขนและยกไหล่ เพราะวางแขนบนโตะ๊ สถาบนั สง่ เสรมิ ความปลอดภยั อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทางาน (องคก์ ารมหาชน)

หน้ำ 40 ตารางท่ี ผ2-2 ตัวอย่างของท่าน่งั ปฏบิ ัติงานท่ีสถานีงานคอมพิวเตอร์พกพาอยา่ งไม่เหมาะสม ตัวอยา่ งท่านง่ั ความไม่เหมาะสม (1) - นั่งโนม้ ตัวไปขา้ งหน้า เพราะระดับเครอื่ งคอมพวิ เตอร์ พกพาตา่ ไป - ก้มคอมาก เพราะระดบั จอภาพตา่ ไป - จอภาพเปิดมากเกนิ ไป อาจจะได้รบั ผลกระทบจาก แสงเจดิ จา้ ทางออ้ มเน่ืองจากไฟเพดาน - ไมพ่ ิงหลังบนพนักพิงหลงั - นั่งยกไหล่ เพราะวางแขนบนโตะ๊ - นั่งกม้ คอไปด้านหน้า เพราะระดับเคร่อื งคอมพวิ เตอร์ พกพาต่าเกินไป (2) - น่งั โน้มตวั ไปข้างหน้า เพราะวางเคร่อื งคอมพวิ เตอร์ พกพาไกลเกนิ ไป - น่ังยกไหลแ่ ละกางแขนออกด้านขา้ ง เพราะวางแขน บนโตะ๊ (3) - นั่งแหงนคอไปดา้ นหลงั - นั่งโน้มตัวไปขา้ งหนา้ เพราะวางเคร่อื งคอมพวิ เตอร์ พกพาไกลเกินไป - ไม่พิงหลังบนพนกั พงิ หลงั - นั่งยกไหลแ่ ละกางแขน เพราะวางแขนบนโต๊ะ (4) - นั่งโน้มตวั ไปขา้ งหนา้ เพราะวางเคร่อื งคอมพวิ เตอร์ พกพาไกลเกินไป - ไม่พิงหลังบนพนักพิงหลัง (5) - นั่งยกไหล่และกางแขน เพราะวางแขนบนโตะ๊ - นั่งโน้มตัวไปข้างหน้า เพราะวางเครื่องคอมพวิ เตอร์ พกพาไกลตวั เกนิ ไป - นง่ั ยกไหล่และกางแขน เพราะวางแขนบนโต๊ะ - นั่งวางข้อศอกซ้ายบนโตะ๊ สถาบนั ส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามยั และสภาพแวดล้อมในการทางาน (องคก์ ารมหาชน)

(6) หน้ำ 41 ตวั อยา่ งท่าน่ัง ความไม่เหมาะสม (7) - น่งั โนม้ ตวั ไปขา้ งหนา้ เพราะวางเคร่อื งคอมพวิ เตอร์ พกพาไกลตวั เกินไป (8) - นง่ั หลงั ค่อม (9) - ระดบั เบาะน่งั ตา่ เกินไป - นง่ั โน้มตวั ไปขา้ งหน้า เพราะวางเครอื่ งคอมพิวเตอร์ พกพาไกลตัวเกินไป - นั่งยกไหล่และกางแขน เพราะวางแขนบนโต๊ะ - นั่งไขวห่ า้ ง - นง่ั โน้มตวั ไปขา้ งหน้า เพราะวางเครอ่ื งคอมพวิ เตอร์ พกพาไกลตวั เกินไป - นั่งยกไหลแ่ ละกางแขน เพราะวางแขนบนโตะ๊ - นั่งวางแขนซ้ายบนโตะ๊ - นง่ั ยกไหลแ่ ละกางแขน เพราะวางแขนบนโตะ๊ - นง่ั วางขอ้ ศอกบนโตะ๊ (10) - นัง่ โน้มตัวไปข้างหน้า เพราะวางเครือ่ งคอมพวิ เตอร์ พกพาไกลตวั เกินไป - นง่ั ยกไหลแ่ ละกางแขน เพราะวางแขนบนโตะ๊ - นง่ั แหงนคอไปด้านหลงั ขณะมองจอภาพ (11) - นั่งโน้มตวั ไปข้างหน้า เพราะวางเครอ่ื งคอมพิวเตอร์ พกพาไกลตวั เกินไป - นั่งยกไหลแ่ ละกางแขน เพราะวางแขนบนโตะ๊ - นง่ั แหงนคอไปดา้ นหลงั ขณะมองจอภาพ สถาบนั สง่ เสรมิ ความปลอดภัย อาชีวอนามยั และสภาพแวดล้อมในการทางาน (องค์การมหาชน)

(12) หน้ำ 42 ตวั อยา่ งทา่ นงั่ ความไม่เหมาะสม (13) - น่งั โน้มตวั ไปขา้ งหนา้ เพราะวางเครือ่ งคอมพวิ เตอร์ พกพาไกลตัวเกนิ ไป - นง่ั ยกไหล่และกางแขน เพราะวางแขนบนโตะ๊ - นง่ั วางแขนทอ่ นล่างกดทับขอบโตะ๊ - นัง่ ก้มคอเพ่ือมองจอภาพ - นั่งหา่ งเครอื่ งคอมพวิ เตอร์พกพาเกินไป - ย่นื แขนท่อนบนไปข้างหน้ามากเกนิ ไป (14) นอกจากนี้ เบาะน่ังก็จะต้องอยู่ที่ระดับเหมาะสมสาหรับการนั่งปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ โดยต้อง เอื้ออานวยให้ลูกจ้างสามารถนั่งปฏิบัติงาน โดยสามารถรักษามุมหัวเข่าระหว่างขาท่อนบนและขาท่อนล่าง ประมาณ 90 องศา และสามารถวางเท้าทั้ง 2 ข้างได้อย่างสบายบนพ้ืนหรือบนท่ีพักเท้า ดังน้ัน เก้าอี้น่ังทางาน คอมพิวเตอร์ต้องสามารถปรับระดับของเบาะน่ังตามส่วนสูงของพนักงานได้โดยสะดวก ถ้าระดับเบาะน่ังไม่ สัมพันธ์กับส่วนสูงของพนักงาน ก็จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอาการปวดเมื่อยขาและหัวเข่าได้ อนึ่ง ระดับเบาะ น่ังท่ีไม่เหมาะสมอาจจะมีผลกระทบต่อส่วนร่างกายอื่น ๆ ได้ โดยทาให้เกิดอาการปวดเม่ือยร่างกายที่หลัง ส่วนล่าง ขอ้ มือ แขน คอ และไหล่ ตัวอย่างของระดับเบาะนงั่ ท่ไี ม่เหมาะสมซ่ึงมกั จะพบท่ีสถานีงานคอมพวิ เตอร์ ดังแสดงในตารางที่ ผ2-3 ตารางท่ี ผ2-3 ตัวอยา่ งระดับเบาะน่งั ท่ีไมเ่ หมาะสม ตวั อย่างทา่ นงั่ ความไมเ่ หมาะสม - ระดบั เบาะน่ังสูงเกินไป - ไม่นง่ั พิงพนกั พิงหลังอย่างเหมาะสม - ขาท่อนบนกดทับขอบหน้าของเบาะน่ัง (1) สถาบนั สง่ เสริมความปลอดภัย อาชีวอนามยั และสภาพแวดลอ้ มในการทางาน (องค์การมหาชน)

หน้ำ 43 ตวั อยา่ งทา่ นั่ง ความไมเ่ หมาะสม (2) - ระดบั เบาะนง่ั สงู เกินไป (3) - วางเท้าบนขาเกา้ อี้ ไมว่ างบนพ้ืน - ขาทอ่ นบนกดทบั ขอบหน้าของเบาะนั่ง - ระดบั เบาะนง่ั สูงเกินไป - วางเท้าบนขาเกา้ อ้ี ไมว่ างบนพ้นื - ขาทอ่ นบนกดทบั ขอบหน้าของเบาะนัง่ - ระดับเบาะน่ังสูงเกนิ ไป - ไมน่ ั่งพงิ พนกั พิงหลังอยา่ งเหมาะสม (4) - ระดบั เบาะนั่งสูงเกนิ ไป - นัง่ เท้าลอย ไม่วางบนพ้นื (5) - ระดบั เบาะนั่งตา่ เกนิ ไป - ไม่วางเทา้ บนพนื้ อยา่ งเหมาะสม (6) - ระดบั เบาะน่งั สงู เกินไป - นัง่ ไขวห่ า้ ง ไม่วางเท้าบนพืน้ อย่างเหมาะสม (7) สถาบนั ส่งเสรมิ ความปลอดภัย อาชวี อนามยั และสภาพแวดล้อมในการทางาน (องค์การมหาชน)