Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore จริยธรรมและจรรยาบรรณตำรวจ

จริยธรรมและจรรยาบรรณตำรวจ

Published by mrnok, 2021-03-27 16:07:55

Description: จริยธรรมและจรรยาบรรณตำรวจ

Search

Read the Text Version

วิชา ศท. (GE) ๒๑๑๐๑ จริยธรรมและจรรยาบรรณตาํ รวจ

ตําÃÒàÃÂÕ ¹ ËÅÑ¡ÊμÙ Ã ¹Ñ¡àÃÂÕ ¹¹ÒÂÊÔºตาํ ÃǨ ÇªÔ Ò È·. (GE) òññðñ ¨ÃÔ¸ÃÃÁáÅШÃÃÂÒºÃóตําÃǨ เอกสารน้ี “໹š ¤ÇÒÁÅѺ¢Í§·Ò§ÃÒª¡ÒÔ หามมใิ หผหู นึ่งผูใดเผยแพร คัดลอก ถอดความ หรอื แปลสว นหนง่ึ สว นใด หรอื ทง้ั หมดของเอกสารนเ้ี พอ่ื การอยา งอน่ื นอกจาก “à¾Í×è ¡ÒÃÈ¡Ö ÉÒͺÃÁ” ของขาราชการตํารวจเทาน้ัน การเปดเผยขอความแกบุคคลอ่ืนที่ไมมีอํานาจหนาท่ีจะมีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา ¡Í§ºÞÑ ªÒ¡ÒÃÈ¡Ö ÉÒ สํา¹Ñ¡§Ò¹ตาํ ÃǨá˧‹ ªÒμÔ ¾.È.òõöô

1

คํานํา หลักสูตรนักเรียนนายสิบตํารวจ (นสต.) เปนหลักสูตรการศึกษาอบรมท่ีมีเปาหมาย เพื่อเสริมสรางใหบุคคลภายนอกผูมีวุฒิประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.๖) หรือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือเทียบเทา ที่เขารับการฝกอบรมมีความรู ความสามารถ และ ทักษะวิชาชีพตาํ รวจ รวมถึงพัฒนาบุคลิกภาพรางกายใหเหมาะสมสําหรับการปฏิบัติงานตํารวจ ในกลุมสายงานปองกันปราบปราม ตลอดจนเตรียมความพรอมทางดานจิตใจและวุฒิภาวะใหมี จติ สํานกึ ในการใหบ ริการเพอ่ื บําบัดทกุ ขบ ํารุงสขุ ของประชาชนเปน สาํ คญั กองบัญชาการศึกษา ไดรวมกับ ครู อาจารย และครูฝก ในสังกัดกองบังคับการ ฝกอบรมตาํ รวจกลาง และกลมุ งานอาจารย กองบัญชาการศึกษา ศูนยฝกอบรมตํารวจภูธรภาค ๑ - ๙ และกองบัญชาการตาํ รวจตระเวนชายแดน ตลอดจนผูทรงคุณวุฒิจากภายนอก จัดทําตาํ ราเรียน หลกั สตู รนกั เรยี นนายสบิ ตาํ รวจชดุ นี้ ซงึ่ ประกอบดว ยองคค วามรตู า งๆ ทจ่ี ําเปน ตอ การพฒั นาศกั ยภาพ ของนกั เรยี นนายสบิ ตํารวจใหเ ปน ขา ราชการตาํ รวจทพี่ งึ ประสงคข องประชาชน เพอ่ื ใชส ําหรบั ประกอบ การเรียนการสอนนักเรียนนายสิบตํารวจใหมีความพรอมทั้งดานความรู ความสามารถ กําลังกาย และจติ ใจ จนสามารถเปน ขา ราชการตาํ รวจทป่ี ฏบิ ตั งิ านใหบ รกิ ารสงั คมและประชาชนไดอ ยา งตรงตาม ความตอ งการอยางแทจ รงิ และมคี วามพรอมในการเขาสปู ระชาคมอาเซยี น ขอขอบคุณครู อาจารย ครูฝก และผูทรงคุณวุฒิทุกทาน ที่ไดรวมกันระดมความคิด ใหคาํ ปรึกษา คาํ แนะนาํ ประสบการณที่เปนประโยชน รวมถึงการถายทอดองคความรู ที่เปนประโยชน จนทาํ ใหการจัดทําตาํ ราเรียนหลักสูตรนักเรียนนายสิบตาํ รวจสําเร็จลุลวงไดดวยดี ซ่ึงกองบัญชาการศึกษาหวังเปนอยางย่ิงวาตําราเรียนชุดน้ีคงเปนประโยชนตอการจัดการเรียน การสอนและการจัดการฝกอบรมของครู อาจารย และครูฝก รวมตลอดถึงใชเปนคูมือการปฏิบัติงาน ของขาราชการตํารวจ อันจะสงผลทาํ ใหสํานักงานตํารวจแหงชาติสามารถสรางความเชื่อมั่น ศรัทธา และความผาสุกใหแ กประชาชนไดอ ยา งแทจ ริง พลตํารวจโท ( อภิรตั นยิ มการ ) ผูบ ัญชาการศกึ ษา

1

ÊÒúÑÞ ÇªÔ Ò ¨ÃÔ¸ÃÃÁáÅШÃÃÂÒºÃóตําÃǨ ˹ŒÒ º··Õè ๑ ¤ÇÒÁËÁÒÂáÅФÇÒÁสํา¤Ñޢͧ¨ÃÔ¸ÃÃÁ ñ - วตั ถุประสงคข องจริยธรรม ๑ - ความจําเปนของการเรียนรจู รยิ ธรรม ๑ - ความหมายของจริยธรรม ๒ - องคป ระกอบของจริยธรรม ๒ - ขอบขายของจริยธรรม ๓ - ลกั ษณะของจริยธรรม ๔ - คุณคาของการประพฤติตนเปน ตาํ รวจท่ีมีจรยิ ธรรม ๕ - แนวทางปฏิบัตเิ พอื่ ใหม จี ริยธรรมของขาราชการตาํ รวจ ๕ - กจิ กรรมทา ยบทเรียนท่ี ๑ ๖ ÷ º··èÕ ò ¨ÃÂÔ ¸ÃÃÁÇÔªÒªÕ¾ ๗ - วัตถุประสงค ๗ - แนวคิดเบือ้ งตน ๘ - จรยิ ธรรมสวนบคุ คล จริยธรรมเชิงทฤษฎีและจริยธรรมวชิ าชพี ๙ - ความขดั แยงระหวา งศีลธรรมเชงิ บทบาทกับศลี ธรรมสว นตวั ๑๒ - ประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณวชิ าชีพ ๑๔ - กิจกรรมทา ยบทเรยี นที่ ๒ ๑๕ - อางอิง ñ÷ º··Õè ó ÊÒÃФÇÒÁÊíÒ¤ÞÑ ¢Í§ ¡® ¡.μÃ.ÇÒ‹ ´ÇŒ »ÃÐÁÇŨÃÔ¸ÃÃÁ ๑๗ áÅШÃÃÂÒºÃóμÒí ÃǨ ¾.È. òõõó ๑๘ - วตั ถปุ ระสงคของการเรยี น - กฎ ก.ตร. วาดว ยประมวลจรยิ ธรรมและจรรยาบรรณของตาํ รวจ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓

˹ŒÒ - ประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตํารวจ พ.ศ. ๒๕๕๓ (แนบทายกฎ ก.ตร.วาดว ยประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตํารวจ (ฉบับท่ี ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓) ๒๐ - กิจกรรมทา ยบทเรียนที่ ๓ ๒๗ º··Õè ô á¹Ç·Ò§¡Òþ²Ñ ¹Ò¤¹áÅСÒú§Ñ ¤ºÑ μ¹ òù - วัตถุประสงคของการเรียน ๒๙ - การบงั คับตน ๓๐ - ยกตน ๓๐ - เหน็ แกตน ๓๐ - อวดตน ๓๐ - ทะนงตน ๓๑ - ถือตน ๓๑ - ลืมตน ๓๑ - ปลอ ยตน ๓๒ - ขายตน ๓๒ - เหยยี ดตน ๓๒ - คมุ ครองตน ๓๓ - รักษาตน ๓๔ - สอนตน ๓๔ - ฝก ตน ๓๔ - ตั้งตน ๓๕ - รูจักตน ๓๕ - ไมเ ห็นแกตน ๓๕ - ชนะตน ๓๕ - โจทกต น ๓๖ - พิพากษาตน ๓๖ - สงวนตน ๓๗ - วางตน ๓๗ - ถอมตน ๓๘

- สรา งตน ˹ŒÒ - กจิ กรรมทายบทเรียนท่ี ๔ ๓๘ ÀÒ¤¼¹Ç¡ ๓๘ - คําสั่ง ตร. ท่ี ๑๒๑๒/๒๕๓๗ เร่อื ง มาตรการควบคมุ และเสริมสรา ง ความประพฤตแิ ละวินยั ขา ราชการตาํ รวจ ๔๑ - กฎ ก.ตร. วาดว ยประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตาํ รวจ พ.ศ.๒๕๕๑ ๔๖ - ระเบยี บสํานกั งานตํารวจแหงชาติวา ดว ยประมวลระเบียบการตาํ รวจ ไมเกย่ี วกบั คดี ลักษณะที่ ๑๖ “การสงเสริมจรยิ ธรรมและจรรยาบรรณ ๕๘ ของตาํ รวจ พ.ศ.๒๕๕๕” ๖๔ - พระราชบญั ญตั มิ าตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ.๒๕๖๒ ÷ô ลงวันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๒ ºÃóҹءÃÁ

1

¾ÃкÃÁÃÒâªÇÒ·¢Í§ÃªÑ ¡ÒÅ·Õè ù ...ในบานเมอื งนั้น มที ้งั คนดีและคนไมด ี ไมม ีใครจะทาํ ให คนทกุ คนเปนคนดไี ดท งั้ หมด การทําใหบานเมือง มีความปรกติสุขเรียบรอย จึงมิใชการทําใหทุกคนเปนคนดี หากแตอยูท่ี การสงเสริมคนดี ใหคนดีไดปกครองบานเมือง และควบคุมคนไมดีไมใหมีอาํ นาจ ไมใหกอ ความเดือดรอนวุนวายได... ¾ÃкÃÁÃÒâªÇÒ·¢Í§ÃѪ¡ÒÅ·èÕ ù ã¹¾Ô¸àÕ »´§Ò¹ªÁØ ¹ÁØ Å¡Ù àÊÍ× á˧‹ ªÒμÔ ¤Ã§éÑ ·Õè ö ³ ¤‹ÒÂÅ¡Ù àÊÍ× ÇªÃÔ ÒÇ¸Ø ÍíÒàÀÍÈÃÕÃÒªÒ ¨Ñ§ËÇ´Ñ ªÅºØÃÕ Ç¹Ñ ·èÕ ññ ¸¹Ñ ÇÒ¤Á òõñò

1

๑ º··Õè ñ ¤ÇÒÁËÁÒÂáÅФÇÒÁÊÓ¤ÞÑ ¢Í§¨ÃÔ¸ÃÃÁ จริยธรรม วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี มีความเก่ียวของกับจริยศาสตร ในทางปฏิบัติจริยศาสตรเปนศาสตรท่ีศึกษาเก่ียวกับคุณคาความประพฤติ การกระทําของมนุษย จุดมุงหมายของชีวิตมนุษย สังคมไทยเปนสังคมที่มีพุทธศาสนาเปนแนวทางดําเนินชีวิต ปรัชญาชีวิต คนไทย วัฒนธรรม ประเพณี จริยธรรม ลวนสืบเนื่องมาจากปรัชญาของพุทธศาสนา การมีความรู ความเขา ใจ เรอ่ื งจรยิ ธรรม ยอ มกอ ใหเ กดิ แนวทางการปฏบิ ตั ติ นทเี่ หมาะสม เขา ใจทรรศนะและรปู แบบ การปฏบิ ตั ิตน เพือ่ ประยกุ ตใชใ นการแกป ญหาเกยี่ วกับการปฏบิ ัตหิ นาท่ี ÇμÑ ¶»Ø ÃÐʧ¤ ๑. เพื่อใหผ ูเรียนทราบความหมาย จรยิ ธรรม คุณธรรมและจรรยาบรรณ ๒. เพื่อใหผเู รยี นสามารถจําแนกลักษณะจรยิ ธรรมได ๓. เพอ่ื ใหผ เู รียนอธบิ ายขอบขายของจรยิ ธรรมได ๔. เพื่อใหผ ูเรียนสามารถบอกจริยธรรมสําหรบั เจาหนาท่ขี องรฐั ทคี่ วรเสริมสรางได ๕. เพอื่ ใหผ ูเ รยี นสามารถวเิ คราะหและแยกแยะ คณุ คา ของการมีจรยิ ธรรม ¤ÇÒÁ¨Ó໚¹¢Í§¡ÒÃàÃÂÕ ¹ÃŒÙ¨ÃÔ¸ÃÃÁ ¤ÇÒÁࢌÒ㨠㹤ÇÒÁËÁÒ Á¤Õ ÇÒÁÃ¡Ñ ÁÕ¤ÇÒÁÃºÑ ¼´Ô ªÍº ¤ÇÒÁÊÒÁ¤Ñ ¤Õ ¤Çº¤ØÁ¡Ò ÇÒ¨Ò ã¨ Á¤Õ ÇÒÁ«Íè× ÊμÑ Â Ì٨ѡ¤´Ô ÇàÔ ¤ÃÒÐˏ ÁÕÇÔ¹ÂÑ

๒ ¤ÇÒÁËÁÒ¢ͧ¨ÃÔ¸ÃÃÁ พระราชวรมุนี อธิบายวา จริยธรรมหมายถึงส่ิงท่ีทําไดในทางวินัย จนเกิดความเคยชิน มีพลังใจ มีความตั้งใจแนวแน จึงตองอาศัยปญญา ปญญาอาจเกิดจากความศรัทธาเช่ือถือผูอื่น ในทางพทุ ธศาสนาสอนวา จรยิ ธรรม คอื การนาํ ความรคู วามจรงิ หรอื กฎธรรมชาติ มาใชใ หเ ปน ประโยชน ตอการดาํ เนนิ ชีวติ ท่ีดงี าม พจนานกุ รมฉบบั ราชบณั ฑติ ยสถาน พ.ศ.๒๕๒๕ ไดอธิบายความหมายของจริยธรรมวา ธรรมทีเ่ ปนขอ ประพฤติ ปฏิบัติ ศลี ธรรม กฎศลี ธรรม ดร.กระมล ทองธรรมชาติ อธิบายวา จรยิ ธรรม หมายถงึ ธรรม หรือหลักความประพฤติ ทคี่ วรแกก ารยึดถอื และปฏิบตั ิตาม รองศาสตราจารย แสง จนั ทรงาม อธบิ ายวา คาํ วา “จรยิ ธรรม” แยกออกไดเ ปน ๒ คํา คือ “จรยิ ” แปลวา “ความประพฤติ” และ “ธรรม” หมายถึงคณุ ภาพของจติ ใจของแตละคน เมอื่ เอาคาํ ท้งั ๒ มารวมกันเขาเปนคํา “จริยธรรม” จงึ หมายถึงคณุ ภาพจติ ท่ีมีอทิ ธิพลตอ ความประพฤติของคน ดร.สาโรช บัวศรี อธิบายวา จริยธรรม คือ แนวทางในการประพฤติตนเพื่ออยูกันได อยา งรมเย็นในสงั คม ดร.กอ สวัสดิ์พาณิชย อธิบายวา จริยธรรม คอื ประมวลความประพฤตแิ ละความนึกคิด ในส่งิ ทดี่ ีงามเหมาะสม เนตรพัณณา ยาวิราช (๒๕๕๖) ไดกลาวถึง จริยธรรม หมายถึง การกระทําท่ีดี การกระทาํ ทถี่ กู ตอ ง สง่ิ ทคี่ วรทาํ และสงิ่ ทไี่ มค วรทาํ เพอ่ื เปน หลกั ในการปฏบิ ตั ติ า งๆ ในการดาํ เนนิ ชวี ติ อยางถกู ตอ ง ผศ.ธนกร นอยทองเล็ก (๒๕๕๙) ไดกลาวถึง จริยธรรม หมายถึง ขอประพฤติปฏิบัติ หรือหลักการกระทําท่ีถูกตอง ส่ิงท่ีควรทําและแสดงออกมาอยางเหมาะสมตามคานิยมของสังคม เปนจิตสํานึกของผูกระทําเพ่ือควบคุมพฤติกรรมภายในระดับสูงของมนุษย โดยพฤติกรรมดังกลาว จะถูกแสดงออกมาบนพื้นฐานของแนวคิดท่ีเกี่ยวของกับความดี ความเลว เปนสวนประกอบสําคัญ ในการตัดสนิ ใจ มีสวนในการเปล่ยี นแปลงและพฒั นา โดยใชป ระสบการณข องบคุ คล เปนสิ่งสนับสนนุ สง เสรมิ ใหบ คุ คลเกดิ ความคดิ ทด่ี ี ไดแ ก ความรู ความประพฤติ และความรสู กึ สง ผลใหเ กดิ ความภาคภมู ใิ จ และไดรับการยอมรบั จากบุคคลทีเ่ ก่ียวของหรอื ผูที่ไดร บั รใู นการกระทํานนั้ ͧ¤» ÃСͺ¢Í§¨ÃÔ¸ÃÃÁ นักวชิ าการหลายทา นไดจ ําแนกองคป ระกอบของจรยิ ธรรมดังตอ ไปนี้ เนตรพ ณั ณา ยาวริ าช (๒๕๕๑) ไดแ บง องคป ระกอบของจรยิ ธรรมออกเปน ๓ ประการ คอื ๑. องคประกอบดานความรู คือ ความเขาใจในเหตุและผลซึ่งอาศัยบนฐาน ของความถกู ตอ งหรอื ความดงี ามประกอบกบั ความสามารถในการแยกแยะสงิ่ ทถี่ กู และผดิ ออกจากกนั ไดอยางชดั เจน

๓ ๒. องคประกอบดานอารมณและความรูสึกผิด คือ การแบงแยกความรูสึก ดานอารมณตางๆ ท้ังรูสึกผิด รูสึกชอบ รูสึกถึงผลของการกระทําดี มีความเชื่อ เกิดความพึงพอใจ เกดิ ความศรทั ธา ความเลอื่ มใส เพอ่ื ใหค วามรสู กึ และอารมณเ หลา นน้ั เปน แนวทางเพอ่ื การปฏบิ ตั ติ าม จรยิ ธรรมอนั ดี ๓. องคประกอบดานพฤติกรรมการแสดงออก คือ การสงผานพฤติกรรมหรือการรับรู ตอการกระทํา การตัดสนิ ใจกระทาํ ตามสถานการณท ี่เกิดแตกตางกนั ไป ¢Íº¢‹Ò¢ͧ¨ÃÂÔ ¸ÃÃÁ คําท่ีมีความหมายใกลเคียงกับคําวาจริยธรรม ไดแก จรรยาบรรณ คุณธรรม ศีลธรรม มโนธรรมและมารยาท ดังน้ี (สาโรช บัวศร.ี ๒๕๒๖) ๑. จริยธรรม (Ethics) ความหมายกวางๆ คือ กฎเกณฑของความประพฤติใหสมกับ ท่ไี ดชอ่ื วาเปนมนุษย ซึ่งเปนผูมเี หตผุ ล มคี วามคดิ และสตปิ ญ ญา ไดแ ก สตั วป ระเสรฐิ ผูม ปี รชี าญาณ คอื บอเกดิ ของสํานกึ ทางจรยิ ธรรม ๒. “จรรยาบรรณ” (Code of Conduct) หมายถึง ความประพฤติ กริ ิยาทีค่ วรประพฤติ ในหมูคณะ หรือประมวลความประพฤติที่ผูประกอบอาชีพการงานแตละอยางกําหนดข้ึน เพื่อรักษา และสงเสริมเกียรติคุณ ชื่อเสียง และฐานะของสมาชิก เชน จรรยาบรรณครู จรรยาบรรณแพทย และจรรยาบรรณพนกั งานสอบสวน เปนตน ๓. “คณุ ธรรม” (Virtue) คอื คณุ + ธรรมะ เปน คณุ งามความดที เี่ ปน ธรรมชาติ กอ ใหเ กดิ ประโยชนตอตนเองและสังคม คุณธรรมจึงเปนจริยธรรมที่แยกเปนรายละเอียดแตละประเภท หากประพฤตปิ ฏบิ ตั อิ ยา งสมา่ํ เสมอกจ็ ะเปน สภาพคณุ งามความดที างความประพฤตแิ ละจติ ใจของผนู นั้ คุณธรรมจึงเปน จริยธรรมที่ฝก ฝนจนเปนนสิ ัย เชน ซ่อื สตั ย ขยัน อดทน เสยี สละ รบั ผดิ ชอบ เปน ตน ๔. “มโนธรรม” (Conscience) หมายถึง ความรูสึกผิดชอบช่ัวดี ความรูสึกวาอะไร ควรทาํ อะไรไมค วรทาํ เชอ่ื กนั วา มนษุ ยท กุ คนมมี โนธรรม เนอ่ื งจากบางขณะเราจะเกดิ ความรสู กึ ขดั แยง ในใจระหวา งความรสู กึ วาตองการทําส่งิ หนึง่ และรวู า ควรทําอกี ส่ิงหนึ่ง ๕. “มารยาท” (Etiquette) หมายถึง กริ ยิ า วาจา ทส่ี งั คมกําหนดไวเ ปนที่ยอมรับในกลุม แตละทอ งถิน่ ซ่ึงมีแตกตางกนั ไป ๖. ศลี ธรรม (Morality) หมายถงึ ความประพฤติ ความประพฤตชิ อบ ซงึ่ สว นใหญใ ชใ น ความหมายของศาสนา คอื ปฏบิ ตั ิตามหลักศีล และ ธรรม ๗. จรรยา (Couduct) หมายถึง ความประพฤติ กิริยาท่ีควรประพฤติในหมูคณะ เชน จรรยาตํารวจ ฯลฯ

๔ «×èÍÊÑμ Å¡Ñ É³Ð¢Í§¨ÃÔ¸ÃÃÁ ¡μÞÑ Ù¡μàÇ·Õ ËÔÃÔ âÍμμ»Ñ »Ð ñ. ¨ÃÂÔ ¸ÃÃÁÀÒÂã¹ ÇÔÃÔÂÐÍμØ ÊÒËÐ àÁμμÒ ¡ÃØ³Ò ÂμØ ¸Ô ÃÃÁ Êѧ¤Á à·¤â¹âÅÂÕ ò. ¨ÃÂÔ ¸ÃÃÁÀÒ¹͡ º¤Ø ¤Å ÇѲ¹¸ÃÃÁ ¤Ãͺ¤ÃÑÇ

๕ ¤³Ø ¤‹Ò¢Í§¡ÒûÃоÄμμÔ ¹à»¹š μÓÃǨ·èÕÁÕ¨ÃÂÔ ¸ÃÃÁ ตํารวจเปนขาราชการที่อยูใกลชิดกับประชาชนที่สุด เปนปราการดานแรกของรัฐบาล ในการรบั ใชป ระชาชน ทางดา นประชาชนเมอื่ มเี หตเุ ดอื ดรอ นยอ มนกึ ถงึ ทพ่ี ง่ึ คอื ตาํ รวจกอ นผอู นื่ ตาํ รวจ จงึ ตอ งพรอ มและทาํ ตวั ใหเ ปน ตาํ รวจทด่ี ี เปน ทพี่ ง่ึ ของประชาชนสมกบั คาํ กลา วทวี่ า “เราอยไู หนประชาชน อนุ ใจทว่ั กนั ” ตรงกนั ขา มตาํ รวจทไี่ มด ยี อ มไมเ ปน ทไ่ี วว างใจของประชาชน ดงั นนั้ หากตาํ รวจประพฤตติ น เปน คนดี มจี รยิ ธรรมแลว นอกจากจะเปน ประโยชนใ หต นเองพน ทกุ ข มคี วามสขุ แลว ยงั เปน ประโยชน ตอ ผอู น่ื และประชาชนอกี ดวย อาจกลาวไดวาการที่ตํารวจประพฤติตนเปนคนดีมีจริยธรรม มีคุณคาและประโยชน ดังตอ ไปนี้คือ ๑. เปน ประโยชนตอตวั ตํารวจเองและครอบครัว เชน ถาหากตาํ รวจเลิกละอบายมขุ ได ไมดื่มสุรา ไมสูบบุหรี่ ไมเลนการพนัน ไมเที่ยวกลางคืน ไมคบมิตรช่ัวอันจะพาใหตัวพลอยประพฤติ ช่ัวไปดวยแลว เงินรายไดก็จะพอใชไมเดือดรอน ครอบครัวมีความสุข เปนตัวอยางท่ีดีแกครอบครัว และผูอื่นอกี ดว ย ๒. เปนประโยชนตอสํานักงานตํารวจแหงชาติในการท่ีทําใหภาพพจน หรือภาพลักษณ ของตํารวจดีขน้ึ เปน ที่พอใจของประชาชน และเปนแบบอยางทีด่ แี กต าํ รวจผอู ื่น ๓. เปนประโยชนตอการปฏิบัติหนาท่ีการงานของตํารวจ เพราะนอกจากเปนการ ทําใหตนเองไมมีปญหาอันอาจเปนอุปสรรคในการปฏิบัติหนาท่ีการงานแลว ผูมีจริยธรรมยอมเปน ผมู คี วามขยนั ขันแขง็ เสียสละและสามคั คี อันเกดิ มาจากความไมเ ห็นแกต วั อนั จะทาํ ใหการปฏบิ ตั งิ าน มีประสทิ ธภิ าพมากขึ้นอกี ดว ย ๔. ไดร บั ความรว มมอื รว มใจจากประชาชน เพราะเมอ่ื ตาํ รวจทาํ ตนเปน คนดี มจี รยิ ธรรม เชน มีความซ่ือสัตย ชวยเหลือประชาชน เปนตน ยอมเปนที่รักใคร ยกยองมีเกียรติยศ ศักดิ์ศรี ประชาชนยอมมีความศรัทธาเลื่อมใส และมีความเชื่อม่ันในการทํางานของตํารวจ ประชาชนก็จะ ใหค วามรว มมอื ในการทาํ งานของตาํ รวจ เชน ใหข า วคนรา ยไมฝ า ฝน กฎหมาย ยนิ ดเี ปน พยานใหต าํ รวจ เปนตน การกระทําผิดกฎหมายจะลดนอ ยลง ประชาชนก็มคี วามสขุ ประเมินไดวา โอกาสท่ีตํารวจจะสรางภาพพจนที่ดีไดนั้น ทําไดโดยงายดวยความตั้งใจ เพราะประชาชนมศี รัทธาและความนิยมเปนพ้ืนฐาน á¹Ç·Ò§»¯ÔºμÑ àÔ ¾Í×è ãËŒÁ¨Õ ÃÔ¸ÃÃÁ¢Í§¢ŒÒÃÒª¡ÒÃμÓÃǨ คณะอนุกรรมการพิจารณาปรับปรุงแกไขการบริหารงานตํารวจ ดานการประชาสัมพันธ และการเสริมสรา งภาพพจนไ ดเ สนอแนวทางในการปฏิบตั ติ น สรุปไดดังตอ ไปนี้ ๑. ตํารวจจะตองไมทุจริตตอหนาท่ีดวยประการท้ังปวง เชน รับเงินจากผูกระทําผิด หรอื เรียกรอ ง หรือรับเงนิ ในการใหบ ริการแกป ระชาชน ไมว า ดวยประการใดๆ

๖ ๒. ตาํ รวจจะตอ งไมเ ปน ผทู กี่ ระทาํ ผดิ กฎหมายเสยี เอง หรอื ใหค วามรว มมอื หรอื สนบั สนนุ ผูกระทําผิด เชน การคายาเสพติด ปลนทรัพย กรรโชกทรัพย มั่วสุมเลนการพนัน คุมบอน คุมซอง กระทาํ ผิดกฎหมายจราจร เสพสุราจนไมสามารถครองสติได เปนตน ๓. ไมใชอํานาจหนาที่เกินขอบเขตของกฎหมาย หรือใชอํานาจหนาท่ีท่ีมีอยูในเชิง กดขข่ี ม เหงประชาชน เชน วสิ ามญั ฆาตกรรมเกนิ กวา เหตุ การซอ มผตู อ งหา การแกลง จบั ดว ยเรอื่ งสว นตวั หรือเพราะบันดาลโทสะ หรือใชอํานาจหนาที่เกินขอบเขตเพราะหวังผลงาน หรือความดีความชอบ เปน ตน ๔. ใชก ริ ยิ าวาจาทส่ี ภุ าพตอ ประชาชน ไมใ ชก ริ ิยาวาจาท่ไี มสมควร เชน แสดงกริ ิยาเบง กับประชาชน พดู จาหยาบคาย ดูถกู ประชาชน หรือใชวาจาท่ีไมส มควร ๕. ใหการตอนรับแกประชาชนดวยความเต็มอกเต็มใจ กระตือรือรน และออนนอม ถอ มตน และใหบ ริการแกประชาชนดว ยความกระตือรือรน ไมเ ก่ยี งงอน ๖. ปรับปรุงความรูความสามารถและสมรรถภาพในการทํางานอยเู สมอ ๗. หมน่ั ตรวจสอบและพฒั นาจติ ใจตนเองอยเู สมอ เชน หาโอกาสไปวดั ฟง ธรรมเทศนา พบปะสมณะที่ดีและนอมนําธรรมะมาฝกฝนปฏบิ ตั ิ ๘. ฝกตนใหเปนผูม ักนอย สนั โดษ พอใจในสง่ิ ทตี่ นมอี ยู ใชจา ยแตส ิง่ ที่จาํ เปน ไมฟุงเฟอ ฟมุ เฟอ ยไปตามสงั คม ๙. พัฒนาความคิดใหเห็นวาขาราชการเปนผูรับใชประชาชน ขจัดความคิดที่เห็นวา ขาราชการเปนเจา ขนุ มูลนาย หรือผปู กครองประชาชน ๑๐. พัฒนาความคิดประชาธิปไตย ประชาชนมีความเปนไทในการปกครองตนเอง ขจัดความคิดเผด็จการในจติ ใจ ๑๑. พัฒนาตนเองใหเปนผูมีระเบียบวินัยจากจิตสํานึกของตํารวจเอง มิใชจากถูกบังคับ เทา นน้ั ¡Ô¨¡ÃÃÁ·ŒÒº·àÃÂÕ ¹·èÕ ñ ใหแ บง กลุม และทํา Mine mapping Imaging พรอมเขียนคําบรรยายเกย่ี วกับขอบขาย จรยิ ธรรม จรยิ ธรรม คือ ธรรมทเ่ี ปนขอ ประพฤติปฏิบัติ คือ • “กฎศลี ธรรม” ซง่ึ เปน สง่ิ เปรยี บเสมอื นกระดอง อนั แขง็ หนาและมขี ากบั หางเปน เบญจศลี • ลาํ คอทอดยาวเปน อาจณิ เปนหนง่ึ เหมอื น จรรยา พากา วเดนิ • จรรยาบรรณ เปรยี บเหมอื นดวงตากลม เศยี รดง่ั หงสอ อ นชอ ยทเี่ หาะเหนิ ดงั่ มโนธรรม ทคี่ อยเติม สวา งดว ยสตแิ ละปญญา • คุณธรรม เปรียบปก ของปก ษา โบยบินอยหู ว งเวหานา สรรเสรญิ • มารยาท เปน ปากแหลมท่เี ผชญิ มากดวยกริ ิยา วาจา นน้ั ไมมี

๗ º··Õè ò ¨ÃÔ¸ÃÃÁÇªÔ ÒªÕ¾ คาํ ถามเกีย่ วกบั จริยธรรมวชิ าชีพมกั มใี หเ ห็นอยบู อ ยครง้ั เชน นักหนังสอื พมิ พควรตีพิมพ ขอมูลสวนบุคคลเปดเผยตอสาธารณชนหรือไม แพทยควรเปดเผยขอมูลของคนไขมากนอยเพียงใด ทนายความควรเกบ็ รกั ษาขอ มลู ของลกู ความแตก ลบั เปน โทษตอ คนอน่ื หรอื ไม เปน ตน บทเรยี นนไ้ี ดถ กู ออกแบบเพอื่ แนะนาํ ใหน กั เรยี นนายสบิ ตาํ รวจไดท ราบถงึ ธรรมชาติ แนวทางปฏบิ ตั แิ ละความสาํ คญั ของ จรยิ ธรรมวชิ าชพี โดยในชว งแรกจะชว ยใหน กั เรยี นนายสบิ ตาํ รวจไดแ ยกแยะจรยิ ธรรมวชิ าชพี ออกจาก จริยธรรมสวนบุคคลหรือจริยธรรมเชิงทฤษฎี จากน้ันจะชี้ชวนใหนักเรียนนายสิบตํารวจไดพิจารณา ถึงประเด็นสําคัญท่ีเก่ียวของกับจริยธรรมวิชาชีพซึ่งเปนความขัดแยงระหวางศีลธรรมเชิงบทบาทและ ศลี ธรรมสว นบคุ คล บทเรยี นจะชว ยใหน กั เรยี นนายสบิ ตาํ รวจไดค นุ เคยกบั ลกั ษณะของประมวลจรยิ ธรรม วิชาชีพ บทเรียนนี้จะชวยใหผูเรียนไดตระหนักถึงความสําคัญของจริยธรรมวิชาชีพท่ีมีตอหนวยสังคม ในระดบั ตางๆ รวมถึงสถาบนั ปจ เจกบคุ คลและสงั คมโดยรวม ÇÑμ¶Ø»ÃÐʧ¤ ๑. แยกแยะความแตกตา งระหวา งจรยิ ธรรมสว นบคุ คล จรยิ ธรรมเชงิ ทฤษฎี และจรยิ ธรรม วชิ าชีพ ๒. วเิ คราะหป ระเดน็ จรยิ ธรรมในทางวชิ าชพี และปรบั ใชจ รยิ ธรรมสว นบคุ คล ทฤษฎี และ วิชาชีพใหก บั การตดั สินใจในเชิงศีลธรรม ๓. จับประเด็นความทาทายท่ีเปนผลจากความขัดแยงระหวางศีลธรรมในเชิงบทบาท ศลี ธรรมสวนบุคคลและพิจารณาหนทางใหมในการแกป ญ หาความขัดแยงดงั กลาว ๔. เขา ใจบทบาทของประมวลจรยิ ธรรมวชิ าชพี ความแตกตา งระหวา งประมวลจรยิ ธรรม ดา นความมุง หวังและดานวนิ ัย และการปรบั ใชประมวลจริยธรรมเหลาน้นั ในอาชีพ á¹Ç¤Ô´àº×Íé §μ¹Œ จรยิ ธรรมวชิ าชพี เปน วชิ าทวี่ า ดว ยการสอนเกยี่ วกบั ประมวลลายลกั ษณอ กั ษรและมาตรการ ตา งๆ ทส่ี ามารถนาํ ไปปรบั ใชใ นทกุ สาขาวชิ าชพี หรอื กลา วไดอ กี อยา งวา เปน การสอนจรยิ ธรรมเพอื่ นาํ ไปใชกบั การประกอบวิชาชพี เฉพาะดา น เชน จริยธรรมทางการแพทย, จรยิ ธรรมทางธรุ กิจ, จรยิ ธรรม ทางกฎหมาย, จริยธรรมทางชวี ภาพ และจริยธรรมทางสอ่ื เปน ตน สําหรบั ปรบั ใชในหลักสตู รการเรียน การสอนของแตล ะสถาบนั การศกึ ษา โดยอาจรวมทง้ั สองแนวทางเขา ดว ยโดยแนะนาํ ถงึ จรยิ ธรรมวชิ าชพี ทว่ั ไปในตอนแรก จากนน้ั จงึ คอ ยปรับใชหลักจรยิ ธรรมกบั วิชาชพี ทใ่ี หความสนใจ เชน แพทย วศิ วกร

๘ ตํารวจ เปนตน บทเรียนนี้มุงที่จะตอบคําถามท่ีนาสนใจ เชน ศีลธรรมเชิงบทบาท ความขัดแยงกับ จริยธรรมสวนบุคคล การนําประมวลวิชาชีพไปใชในทางปฏิบัติ วิชาชีพทั้งหลายมักจะมีประเด็นทาง จรยิ ธรรมเกดิ ขนึ้ ตลอดเวลา ¨ÃÔ¸ÃÃÁʋǹº¤Ø ¤Å ¨ÃÂÔ ¸ÃÃÁàªÔ§·ÄÉ®áÕ ÅШÃÂÔ ¸ÃÃÁÇÔªÒª¾Õ ตามทไ่ี ดอ ธบิ ายไปในบทเรยี นที่ ๑ จรยิ ธรรมหมายถงึ ความพยายามทจี่ ะเขา ใจถงึ ธรรมชาติ ของคุณคาความเปนมนุษย และมนุษยเราควรจะมีชีวิตอยูอยางไรและอะไรเปนสวนประกอบของ การกระทําท่ถี ูกตอ ง (Norman, 1998: หนา ๑) ซึง่ ความหมายดังกลาวจะชว ยใหเขาใจแนวคดิ เก่ียวกับ จริยธรรมสวนบุคคลซึ่งเปนคุณคาและมาตรฐานท่ีคนท่ัวไปที่กําหนดวาคนเราจะแสดงออกอยางไร ในชวี ิตประจาํ วนั จริยธรรมสว นบุคคลมักถูกเขา ใจวา เปน หลักการเบอื้ งตน วาสิง่ ใดผดิ ส่ิงใดถกู ในฐานะ ทเ่ี ปน มนษุ ยป ถุ ชุ นธรรมดา ซง่ึ จรยิ ธรรมสว นบคุ คลนจ้ี ะปรบั ใชก บั ประเดน็ ทวั่ ไปทห่ี ลากหลายรวมถงึ ใน ชวี ติ ประจาํ วนั เชน เราจะมปี ฏสิ มั พนั ธก บั ครอบครวั และเพอื่ นอยา งไร เราควรปฏบิ ตั ติ อ คนทว่ั ไปอยา งไร หรือกลาวอีกนัยหน่ึง จริยธรรมสวนบุคคลประกอบไปดวยคุณคาและมาตรฐานท่ีเปนตัวกําหนดวา ควรแสดงออกอยางไรซ่ึงไมเพียงแตเปนความชอบหรือความเห็นสวนบุคคลที่เราคิดวาถูกตองเทานั้น แตต องมอี งคประกอบทางจริยธรรมทีว่ างอยูบนความเชอ่ื ทมี่ หี ลักการอีกดว ย (Principled Belief) จริยธรรมสวนบุคคลมีท่ีมาจากหลายแหลงซ่ึงบางคร้ังสัมพันธกับประสบการณที่แตละ บุคคลไดร ับหรอื พบเห็นมา เชน การอบรมเลีย้ งดูของครอบครวั ศาสนา วฒั นธรรม บรรทดั ฐานทาง สงั คมและกลมุ เพอื่ น อยา งไรกต็ าม จรยิ ธรรมสว นบคุ คลมกั จะรวมเอาจรยิ ธรรมเชงิ ทฤษฎหี ลายแนวคดิ เขา ไวด ว ยกนั จรยิ ธรรมเชงิ ทฤษฎเี ปน ชดุ คาํ สอนทถ่ี กู พฒั นาโดยนกั ปรชั ญาเพอ่ื อธบิ ายวา การตดั สนิ ใจ ทางจรยิ ธรรมทถี่ กู ตอ งควรเปน อยา งไร ตวั อยา งเชน แนวคดิ ประโยชนน ยิ ม (Utilitarianism) มฐี านคดิ อยูท ก่ี ารประเมนิ ผลลพั ธของการกระทําท่จี ะเกดิ ข้ึน แนวคดิ ธรรมจรรยา (Deontology) ทีม่ ฐี านคดิ อยู ที่หลักการและหนาที่แมวาจะกอใหเกิดผลทางลบก็ตาม และแนวคิดจริยศาสตรเชิงคุณธรรม (Virtue Ethics) ที่มีฐานคิดอยูที่คุณลักษณะท่ีดีที่สมบูรณแบบของตัวผูกระทํามากกวาผลลัพธของการกระทํา หรือหลักการทเี่ ปน ตวั กําหนดการกระทํานน้ั จริยธรรมวิชาชีพจึงเก่ียวของกับการจัดต้ังคุณคา หลักการและมาตรฐานที่ต้ังอยูบน ความรบั ผิดชอบและการกระทาํ ของวชิ าชีพ (Davis, 2003) และเพอ่ื จะเขา ใจวา วิชาชีพ (Profession) มคี วามเหมอื นหรอื แตกตา งจากอาชพี (Occupation) อยา งไร โดยทว่ั ไปอาชพี กบั วชิ าชพี สามารถถกู ใช แทนทก่ี นั ไดแ ตม คี วามหมายทต่ี า งกนั อาชพี เปน งานทบ่ี างคนทาํ เพอื่ เลยี้ งชพี ในขณะทค่ี วามเปน วชิ าชพี จะหมายถงึ บคุ คลทไ่ี ดร บั การฝก ฝนมากกวา สมาชกิ ขององคก รวชิ าชพี ตอ งผา นการทดสอบทรี่ บั รองวา บคุ คลนนั้ สามารถปฏบิ ตั งิ านแบบมอื อาชพี ความเปน มอื อาชพี อยภู ายใตร ะเบยี บกฎเกณฑท างวชิ าชพี ทเ่ี มอื่ นาํ ไปใชแ ลว จะเปน มาตรฐานเดยี วกนั เชน บรรณารกั ษจ ดั ระบบหอ งสมดุ เพอ่ื ใหบ รกิ ารแกผ มู าใช บริการตามมาตรฐานสากล แพทยจัดระบบการรักษาผูเจ็บปวยเหมือนกันในทุกโรงพยาบาล (Weil, 2008) และตาํ รวจใหบริการรับแจงความจากผเู สียหายในรูปแบบเดียวกนั ทว่ั ประเทศ เปน ตน

๙ จริยธรรมวิชาชีพประกอบไปดวยคุณคาและเปาหมายของความเปนมืออาชีพ เชน ความโปรงใสและภาระความรับผิดชอบ, การจัดหาบริการที่มีคุณภาพสูงและมีประสิทธิภาพแกลูกคา การปฏบิ ตั ติ ามจรยิ ธรรมวชิ าชพี จงึ ชว ยปกปอ งมอื อาชพี แตล ะคนและเปน เกยี รตขิ องความเปน มอื อาชพี ดวยเหตุน้ี จริยธรรมวิชาชีพจึงแตกตางกันออกไปข้ึนอยูกับคุณคาและเปาหมายในแตละสาขาอาชีพ ในขณะเดียวกันก็สะทอนใหเห็นถึงแงมุมของจริยธรรมเชิงทฤษฎี เชน แนวคิดประโยชนนิยม หรือ คุณธรรมท่ีผูที่เปนมืออาชีพควรจะยึดถือดวย จริยธรรมวิชาชีพอาจรวมถึงมาตรฐานการปฏิบัติงาน ทเี่ ปน มอื อาชพี ซงึ่ ถกู กาํ หนดโดยแหลง ทม่ี าทางกฎเกณฑบ างประการ เชน กฎหมายและระเบยี บปฏบิ ตั ิ ในการบริหารงาน คนทเี่ ปนมอื อาชพี จึงมที กั ษะความเชยี่ วชาญมากกวาคนทีไ่ มใชม อื อาชีพ นอกเหนอื ไปจากความแตกตา งระหวา งจรยิ ธรรมสว นบคุ คล จรยิ ธรรมเชงิ ทฤษฎแี ละจรยิ ธรรม วชิ าชีพแลว ความแตกตางระหวา งจรยิ ธรรมวิชาชพี ซึง่ เก่ียวของกบั คณุ คา หลกั การและมาตรฐานทาง วชิ าชพี และจรยิ ธรรมในทที่ าํ งานซงึ่ เกย่ี วขอ งกบั กฎเกณฑท ใ่ี ชค วบคมุ พฤตกิ รรมในสถานทท่ี าํ งานกเ็ ปน อกี ประเดน็ หนง่ึ ทน่ี า สนใจ ตวั อยา งเชน พนกั งานของบรษิ ทั ทเ่ี ปน คนผวิ สี หรอื คนละศาสนากบั พนกั งาน สวนใหญอาจถูกต้ังรังเกียจหรือเลือกปฏิบัติซึ่งถือวาไมเปนธรรมและละเมิดสิทธิมนุษยอยางรายแรง หวั หนา งานจงึ ควรหาแนวทางแกไ ขโดยอาจนาํ เอาประเดน็ ดงั กลา วไปบรรจไุ วใ นแผนการฝก อบรมประจาํ ป เพอ่ื สรา งความตระหนกั รใู นการไมเ ลอื กปฏบิ ตั ิ รวมถงึ การวา กลา วตกั เตอื นกลมุ พนกั งานทปี่ ระพฤตติ วั ไมเปนไปตามจริยธรรมของท่ีทํางานเพ่ือใหมั่นใจวามาตรการท่ีกําลังใชอยูมีประสิทธิภาพเพียงพอ ในแนวทางเชนน้ี หัวหนางานถือวาไดใชจริยธรรมสวนบุคคลในการจัดการปญหาไดเปนอยางดี อนั จะชว ยปรบั สภาพแวดลอ มในทที่ าํ งานใหด ขี น้ึ และชว ยใหพ นกั งานของบรษิ ทั ทงั้ หมดไดร บั การปฏบิ ตั ิ บนพ้ืนฐานของคุณธรรมจริยธรรมเดียวกัน แตในทํานองกลับกัน หัวหนางานอาจใชอํานาจหนาท่ี ของตนในทางที่ไมถูกตองก็ได เชน การแจกจายคูปองสวนลดของหุนสวนรานทําผมใหแกพนักงาน ในกํากับดูแลกลุมหนึ่งซ่ึงเทากับเปนการสรางแรงกดดันใหพนักงานที่ไดรับคูปองตองไปอุดหนุนธุรกิจ รา นทําผมท่ีเปนหนุ สว นของหวั หนา งาน การกระทําดงั กลา วอาจฝา ฝน ตอจริยธรรมในทที่ าํ งานเพราะ หัวหนางานกําลังใชอํานาจของตนเองเหนือพนักงาน เพื่อไปกอใหเกิดผลประโยชนแกหุนสวนทาง ธรุ กจิ ของตนเอง ¤ÇÒÁ¢Ñ´á§Œ ÃÐËÇ‹Ò§ÈÕŸÃÃÁàªÔ§º·ºÒ·¡ÑºÈÕŸÃÃÁʋǹμÑÇ ประเด็นหน่ึงที่แฝงอยูในเรื่องจริยธรรมวิชาชีพท่ีกลาวไปขางตนท่ีคอนขางจะขัดแยงอยู ในตัวมันเองคือ ความขดั แยง ระหวางศลี ธรรมเชิงบทบาทกับจริยธรรมสว นบุคคลหรืออาจเรียกวา เปน ศลี ธรรมทั่วไป คาํ วา “บทบาท” ในศีลธรรมเชงิ บทบาทหมายถึงบทบาทท่ีถูกแสดงออกโดยวชิ าชพี ใน สงั คม วชิ าชพี กาํ หนดใหค นทป่ี ระกอบอาชพี นนั้ ๆ ตอ งปฏบิ ตั หิ รอื ทาํ งานเพอ่ื บรรลเุ ปา หมายทางวชิ าชพี ซงึ่ อาจไมจ าํ เปน ตอ งเกย่ี วขอ งกบั ประเดน็ ทางจรยิ ธรรมโดยคนทเ่ี ปน มอื อาชพี สว นใหญจ ะถกู เรยี กรอ ง ใหทําหนาท่ีของตนใหเ ปนไปตามมาตรฐานทกี่ าํ หนดไว และไมข ัดแยงตอ หนา ทท่ี ี่มตี อผรู ับบรกิ ารหรือ

๑๐ ลกู คา เชน พนกั งานสอบสวนมหี นา ทรี่ บั คาํ รอ งทกุ ขจ ากผเู สยี หายและดาํ เนนิ คดใี หเ ปน ไปตามขน้ั ตอน และวธิ กี ารทีก่ ฎหมายกําหนด เปนตน อยา งไรกต็ าม ในบางครง้ั ความเปน วชิ าชพี กอ็ นญุ าตหรอื เรยี กรอ งใหพ ฤตกิ รรมของผทู เี่ ปน มอื อาชพี ขดั หรอื แยง ตอ จรยิ ธรรมสว นบคุ คลซง่ึ อาจไดร บั การยอมรบั จากสงั คมวา ถกู ตอ งกไ็ ด ตวั อยา ง เชน สงครามกอใหเ กดิ การทาํ ลายลา งและความนาสะพรงึ กลวั ท่ีขัดแยง กบั จรยิ ธรรมสว นบคุ คล แตค น สวนใหญอาจโตแยงไดวาทหารจําเปนตองฆาศัตรูที่มารุกรานซ่ึงเปนความขัดแยงระหวางจริยธรรม สวนบุคคลกับจริยธรรมวิชาชีพ แตในทางกลับกัน การฆาคนตายถูกมองวาเปนส่ิงที่สมควรกระทํา หากตอ งกระทําไปเพอ่ื ปกปองคนท่รี กั จากการทาํ รายถงึ ตายไดจ ากอกี ฝายหน่งึ ความขดั แยง ระหวา งจรยิ ธรรมสว นบคุ คลและจรยิ ธรรมวชิ าชพี ดเู ปน เรอ่ื งยากทบ่ี อกไดว า อันไหนทถี่ กู ตอ ง โดยไมม ขี อโตแยง ตวั อยางเชน ทนายความรกั ษาความลบั ของลกู ความเพอื่ กระตุน ใหลูกความปกปองตัวเองซ่ึงจะเปนประโยชนท่ีจะทําใหทนายความชวยแกไขขอพิพาทในแนวทางท่ี ถกู ตอ งได แตใ นทางกลบั กนั หากความลบั ดงั กลา วเกยี่ วขอ งกบั การรบั สารภาพในการกอ อาชญากรรม ของลูกความซ่ึงไดกอใหเกิดการกระทําท่ีผิดกฎหมายตอผูเสียหายที่เปนฝายตรงขาม การเก็บรักษา ความลับดังกลาวถือเปนส่ิงที่มีจริยธรรมหรือไม หรือนักกายภาพบําบัดท่ีเก็บรักษาความลับของคนไข ไมเ ปด เผยใหร เู พอ่ื กระตนุ ใหเ ขามกี าํ ลงั ใจในการพฒั นาหรอื ผอ นคลายตนเองจากอาการเจบ็ ปว ยเปน การ กระทาํ ทมี่ จี รยิ ธรรมหรอื ไม Luban(2007) ไดส าํ รวจตวั อยา งลกั ษณะทกี่ ลา วไปและตงั้ ขอ สงั เกตวา วชิ าชพี หลายสาขาจาํ เปน ตอ งรกั ษาความลบั บางอยา งซง่ึ จะมผี ลกระทบตอ ความเปน วชิ าชพี อนั นาํ มาซงึ่ คาํ ถาม ในเร่อื งการขัดกันระหวางศลี ธรรมเชงิ บทบาทและศลี ธรรมสวนบคุ คล การขดั กนั ระหวา งศลี ธรรมเชงิ บทบาทกบั จรยิ ธรรมสว นบคุ คลนี้ Luban(1988) ไดเ สนอแนะ หลกั เกณฑใ นการพจิ ารณาไวต ามกลยุทธ ๔ ขั้น ดงั น้ี ¡ÅÂØ·¸ ô ¢Ñ¹é 㹡ÒÃᡌ䢻˜ÞËÒ´ÒŒ ¹ÈÅÕ ¸ÃÃÁàªÔ§º·ºÒ·¢Í§ÅÙº¹Ñ (Luban, 1988, ˹Ҍ ñó) เพ่ือใหเปนไปตามกฎของความเปนวิชาชีพอันอาจขัดแยงตอจริยธรรมสวนบุคคล แตละคนตอง สามารถพิสูจนความมีอยูใ นประเด็นตอไปน้ี ๑. พิสูจนความถูกตองของสถาบนั ทางสงั คมทเ่ี กย่ี วขอ งบนพืน้ ฐานของคุณงามความดี ๒. พิสจู นความถกู ตองของบทบาทของวิชาชพี บนพน้ื ฐานของโครงสรางของสถาบัน ๓. พิสูจนความถูกตองของพันธกรณีเชิงบทบาทเฉพาะท่ีถูกต้ังคําถามโดยแสดงใหเห็นวา พฤติกรรมท่แี สดงออกเปนส่งิ จาํ เปนตองการแสดงบทบาทของวชิ าชีพน้นั ๆ ๔. พสิ จู นค วามถกู ตอ งของการกระทาํ ตามบทบาทโดยแสดงใหเ หน็ วา พนั ธกรณขี องบทบาทนนั้ เรยี กรอ งใหมกี ารกระทาํ ดงั กลาว

๑๑ จากหลกั เกณฑข า งตน หากสถาบนั ทางสงั คมไดผ ลติ ผลลพั ธท ดี่ พี อเพยี งและความเชอ่ื มโยง ในระดับตอมาไดถูกดําเนินการอยางถูกตอง ก็พิจารณาไดวาการกระทําในทางวิชาชีพเปนส่ิงที่ควร กระทําแมว า มนั จะขดั แยง ตอจริยธรรมสว นบคุ คลก็ตาม หลกั การทัง้ ๔ ขอ ดังกลา วไมใชสตู รตายตัว ท่ีจะนําไปสูการแกไขปญหาอยางถูกตองในทุกเรื่อง แตเปนกรอบเชิงพฤติกรรมท่ีจะชวยใหผูที่เปน มืออาชพี หรือคนอืน่ ๆ สามารถโตแ ยงหรือวิพากษว ิจารณตอกฎเกณฑท างวิชาชีพ Luban (1988: หนา ๑๒๙-๑๓๓) ไดย กตวั อยา งการขดั กนั เชงิ จรยิ ธรรมทนี่ า สนใจเรอื่ งหนงึ่ สมมติวาองคกรการกุศลแหงหนึ่งมีเปาหมายท่ีจะสงอาหาร น้ําและเคร่ืองอุปโภคบริโภคไปยัง ประเทศทก่ี าํ ลงั ไดร บั ความเดอื ดรอ น องคก รนไ้ี ดจ า งคนทดี่ าํ เนนิ การในบทบาททแี่ ตกตา งกนั เพอ่ื ขอรบั อาหารและสง อาหาร รวมถงึ พนกั งานทมี่ หี นา ทใ่ี นการขบั รถบรรทกุ ทจ่ี ะสง อาหารจากคลงั เกบ็ ไปใหก บั พลเมอื งของประเทศท่ีตอ งการ ปรากฏวา รถบรรทุกท่ีหามาไดมีคนทไี่ มส ุจรติ เก่ยี วของกบั กิจกรรมผดิ กฎหมายหลายประเภทเปน เจา ของ และพนกั งานมน่ั ใจวา เงนิ ขององคก รทจี่ ะนาํ ไปใชใ นการเชา รถบรรทกุ คันดังกลาวเพื่อสงอาหารจะถูกนําไปใชในกิจกรรมผิดกฎหมายบางอยางซึ่งอาจกอใหเกิดผลรายหรือ ทาํ ใหผ คู นบาดเจบ็ ได แตท างองคก รกต็ อ งการรถบรรทกุ ทจ่ี ะใชใ นการขนสง อาหารเพราะไมม รี ถบรรทกุ ของบรษิ ทั อนื่ ทสี่ ามารถจะเชา ใชไ ด ในกรณเี ชน น้ี พนกั งานขององคก รอยใู นภาวะทางเลอื กทก่ี ลนื ไมเ ขา คายไมอ อก (Dilemma) เพราะหากพจิ ารณาในแงจ รยิ ธรรมสว นบคุ คลเขาไมค วรจะใหเ งนิ กบั เจา ของที่ เปนอาชญากรท่ีกระทาํ ผดิ กฎหมาย แตหากพจิ ารณาตามกลยทุ ธ ๔ ขัน้ ขางตน จะเห็นวา พนักงาน สามารถจะประเมนิ สง่ิ ดที ส่ี ถาบนั มหี นา ทท่ี ต่ี อ งกระทาํ จากนนั้ ใหเ ชอ่ื มโยงระหวา งสถาบนั และบทบาท การกระทําของพนักงาน และการใหธุรกิจกับเจาของรถบรรทุกก็เปนส่ิงที่เปนพันธกรณีของพนักงาน ที่พึงกระทํา (คือ การหารถบรรทุกเพ่ือขนสงอาหารไปใหคนยากจน) ซ่ึงหมายถึง การทําหนาท่ีของ สถาบันซึ่งหมายถึงการทําความดีเพ่ือชวยเหลือชีวิตของเพ่ือนมนุษย ดังน้ัน พนักงานผูน้ีสามารถใช วิจารณญาณในการชั่งนํ้าหนักระหวางบทบาทที่เขาตองกระทําในการเชารถกับจริยธรรมสวนบุคคล ทจี่ ะไมใหธ รุ กิจกบั อาชญากรได จากกลยุทธ ๔ ขั้น ท่ีกลาวไปขางตน การกําหนดหนาท่ีในเชิงวิชาชีพไมควรจะกระทํา หากความเชอ่ื มโยงระหวา งแตล ะขน้ั ตอนไมเ กดิ ขน้ึ ตวั อยา งเชน หากมบี รษิ ทั รถเชา อน่ื ทยี่ งั วา งอยเู พยี งแต พนกั งานอาจตอ งทาํ งานเพม่ิ ขนึ้ อกี เลก็ นอ ยเพอ่ื ใหไ ดร ถเชา เหลา นน้ั ขน้ั ตอนท่ี ๑ - ๓ คงไมม ขี อ โตแ ยง อะไร แตหากพนักงานไมสามารถพิสูจนความถูกตองในข้ันตอนท่ี ๔ คือ การพิสูจนวาการกระทํา ของเขามีพันธกรณีของวิชาชีพอยางไร ดังนั้น จริยธรรมวิชาชีพอาจไมไดสูงกวาจริยธรรมสวนบุคคล การประเมินดานจริยธรรม ๔ ข้ันตอน ท่ีกลาวไปถูกกําหนดขึ้นมาเพื่อชวยแกไขปญหาความขัดกัน ในเชิงจรยิ ธรรมระหวา งตัวบุคคลกบั สถาบันวิชาชีพ แตใ นความเปนจรงิ จรยิ ธรรมสวนบคุ คล จริยธรรม เชงิ ทฤษฎี และจรยิ ธรรมวชิ าชพี มกั จะถกู นาํ มาผสมผสานในการแกไ ขปญ หาทเี่ กย่ี วขอ งกบั ประเดน็ ทาง จรยิ ธรรมบอยคร้งั เชน จรยิ ธรรมเชงิ ทฤษฎเี กี่ยวกับแนวคดิ ประโยชนน ยิ ม (Utilitarianism) สามารถ นาํ มาใชใ นการประเมนิ จรยิ ธรรมของบคุ คลหรอื องคก รวชิ าชพี โดยมองประโยชนส งู สดุ ของคนสว นใหญ เปน ตน

๑๒ »ÃÐÁÇŨÃÔ¸ÃÃÁáÅШÃÃÂÒºÃÃ³ÇªÔ ÒªÕ¾ จรรยาบรรณวิชาชีพเปนส่ิงท่ีคนท่ีเริ่มตนทํางานสวนใหญจะตองพบเจอ จรรยาบรรณ วชิ าชพี คลา ยกบั จรยิ ธรรมวชิ าชพี โดยเปน การรวมเอาคณุ คา หลกั ของวชิ าชพี มารวบรวมไวเ ปน หมวดหมู แตจรรยาบรรณแตกตางจากจริยธรรมในแงท่ีวา มีความเปนกฎเกณฑท่ีเปนทางการมากกวา ซึ่งสวนใหญจะถูกเขียนเปนลายลักษณอักษร เพ่ือใชสงเสริมความเปนวิชาชีพขององคกร ประมวล เปนรูปแบบหนึ่งของการรวบรวมและแบงปนลักษณะความมีจริยธรรมในแตละสาขาอาชีพไวดวยกัน เพ่ือใชบรรลุเปาหมายขององคกร เนื้อหาสาระของประมวลจะใหความสําคัญตอเร่ืองความซื่อสัตย ความเทยี่ งธรรม การรกั ษาความลบั ความสามารถในหนา ทไี่ มว า จะเปน องคก รภาครฐั หรอื ภาคเอกชน ซ่ึงถูกมองวาเปนเครื่องมือท่ีมีมาตรฐานสากลในการปองกันปราบปรามการทุจริต เชน อนุสัญญา สหประชาชาติวาดวยการตอตานการทุจริตเสนอแนะใหรัฐควรมีประมวลจรรยาบรรณวิชาชีพสําหรับ พันธกิจของภาครัฐใหมีความถูกตอง สงางามและเหมาะสม และใหรวมถึงธุรกิจและวิชาชีพสาขาอ่ืน ทีเ่ กีย่ วของเพ่อื การปอ งกันการขดั กนั ในทางผลประโยชน ประมวลจรรยาบรรณวิชาชีพจะเปนตัวกําหนดวาส่ิงใดควรทําส่ิงใดไมควรทําในกิจกรรม ประจาํ วนั ของสาขาวิชาชพี นั้น รวมถงึ วา ใครมอี าํ นาจหนา ทที่ ี่จะกําหนดความเปน วชิ าชีพซึง่ สว นใหญ จะเปนบุคลากรที่ไดรับการฝกอบรมมาเปนอยางดี และอะไรควรตองกระทําในการปฏิสัมพันธกับ ลูกคาหรอื ผรู บั บริการ บางคนโตแยงวา จริยธรรมไมสามารถถูกตราเปนกฎหมายไดเ พราะการตดั สนิ ใจ ในเชงิ จรยิ ธรรมไมส ามารถถกู บงั คบั จากภายนอกแตต อ งออกมาจากจรยิ ธรรมทอี่ ยภู ายในใจแตล ะบคุ คล (Lichtenberg, 1996: หนา ๑๔ - ๑๗) ดว ยเหตนุ ้ี จงึ ทําใหป ระมวลจรยิ ธรรมวิชาชพี มคี วามแตกตาง จากจริยธรรมในความเปนจริง Lichtenberg ไดใหขอสังเกตวา แนวคิดจริยธรรมวิชาชีพมีลักษณะ คลายคลึงกับแนวคิดจริยธรรมสวนบุคคลโดยเห็นวาจริยธรรมกับการกระทําควรมีความสัมพันธซ่ึงกัน และกัน แตในขณะเดียวกันเธอกลับแยงวา คุณคาในความเปนวิชาชีพจะสูงข้ึนถาคนที่เปนมืออาชีพ ไดกระทําในสิ่งท่ีถูกตองซึ่งน่ันเปนส่ิงท่ีถูกกําหนดไวในประมวล คนท่ีเปนมืออาชีพสามารถตกอยู ภายใตภาวะกดดันจากผูอื่นใหตองกระทําในสิ่งที่ไมเหมาะสมและประมวลจริยธรรมจะเปนสิ่งท่ี จะชว ยใหเ หตผุ ลวา พวกเขาควรปฏบิ ตั อิ ยา งไร ซง่ึ ในบางครงั้ เราใหค วามสาํ คญั กบั การตดั สนิ ใจทถี่ กู ตอ ง บนพน้ื ฐานของจรยิ ธรรมสว นบคุ คลหรอื บางครงั้ กส็ นใจกบั สง่ิ นน้ี อ ยเกนิ ไป แตส าํ หรบั ความรบั ผดิ ชอบ ของความเปน วชิ าชพี แลว พฤตกิ รรมทางวชิ าชพี ทแ่ี สดงออกมามคี วามสาํ คญั มากกวา ซงึ่ ไมไ ดข นึ้ อยกู บั จริยธรรมสวนบคุ คลเพยี งอยา งเดียวแตข ึ้นอยกู บั กฎเกณฑทางวชิ าชพี ดว ย ความแตกตางที่เดนชัดระหวางประมวลจริยธรรมกับประมวลจรรยาบรรณ กลาวคือ ประมวลจริยธรรม (Codes of Ethics) หรือบางคร้ังถูกเรียกวา ประมวลแหงความคาดหวัง (Aspiration Code) จะเนน กาํ หนดเปา หมายในทางวชิ าชพี หรอื ความคาดหวงั สงู สดุ ทต่ี อ งการใหว ชิ าชพี ทําหนา ทใ่ี นสงั คม สว นประมวลจรรยาบรรณ (Codes of Conduct) หรอื บางครัง้ ถูกเรียกวา มาตรฐาน ทางวินัย (Disciplinary Code) จะเนนท่ีการกาํ หนดมาตรการบงั คับในกรณที ่มี ีการฝา ฝน หรือละเมิด

๑๓ ตอ แนวทางปฏบิ ตั ทิ ก่ี าํ หนดไว โดยทว่ั ไป ประมวลจรยิ ธรรมมกั จะวางแนวทางแบบกวา งๆ ไวใ หค นหรอื หนวยงานไดยึดถือปฏิบัติโดยจะเนนหนักไปที่ทัศนคติ คุณลักษณะและจุดยืนท่ีแนนอนในทางวิชาชีพ ในกระบวนการพิจารณาตัดสินใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งในวิชาชีพ อยางไรก็ตาม ความแตกตางระหวาง ประมวลจริยธรรมและประมวลจรรยาบรรณไมสามารถแยกออกจากกันไดอยางชัดเจน จึงพบวา ประมวลจริยธรรมวิชาชีพจํานวนมากจะกําหนดบทลงโทษสําหรับการกระทําผิดรายแรงไวดวย และ ในบางประเทศถอื วา ประมวลจริยธรรมและประมวลจรรยาบรรณเปน เรอื่ งเดยี วกนั สวนประมวลจรรยาบรรณวิชาชีพหรือมาตรฐานทางวินัยจะกําหนดบทลงโทษสําหรับ การฝาฝนไมปฏิบัติตามประมวลวิชาชีพ โดยทั่วไป บทลงโทษจะอยูในรูปของการปรับ การกักขัง การไลออกจากกลุมวิชาชีพหรือการถอนใบประกอบวิชาชีพ การกําหนดบทลงโทษดังกลาวเพื่อจูงใจ ใหน กั วชิ าชพี ในแตล ะสาขาปฏบิ ตั ติ ามกฎระเบยี บทวี่ างไว จงึ มคี าํ ถามตามมาวา หากประมวลจรรยาบรรณ วิชาชีพเหลาน้ีไมมีบทลงโทษแลวจะสงกระทบตอวิชาชีพหรือไม เราพบวาประมวลวิชาชีพที่ไมมี บทลงโทษเปน เพยี งขอ แนะนาํ ใหบ คุ คลทมี่ อี าชพี นน้ั ไดถ อื เปน แนวทางการประพฤตปิ ฏบิ ตั ติ วั ทมี่ มี าตรฐาน มากกวาคนที่ไมไดมีวิชาชีพ แตประมวลจรรยาบรรณวิชาชีพท่ีไมมีบทลงโทษอาจไมมีประสิทธิภาพ เพยี งพอทจี่ ะดาํ เนินการกบั คนทีไ่ ดกระทาํ ฝาฝนตอ แนวทางทีว่ างไว Lichtenbergh ใหแสดงใหเ ห็นวา ประมวลจริยธรรมท่ีไมมีมาตรการลงโทษสามารถกอใหเกิดผลรายสําหรับความประพฤติในวิชาชีพ แบบผิดๆ เชน จรรยาบรรณวิชาชีพที่หามมิใหอาจารยและนักเรียนมีความสัมพันธกันฉันชูสาว ระหวางกนั สามารถชวยเพมิ่ ความตระหนกั รขู องอาจารยเ กีย่ วกับพฤติกรรมของตนเองไดม ากข้ึน จรรยาบรรณวิชาชีพในสังคมไทยกําหนดคุณสมบัติของผูประกอบวิชาชีพไวคอนขางสูง และหรอื ตอ งไดร บั ใบอนญุ าตประกอบวชิ าชพี คลา ยคลงึ กบั ตา งประเทศ เชน ผพู พิ ากษา อยั การ พนกั งาน สอบสวน แพทย วศิ วกร พยาบาล เปน ตน ซง่ึ พบจากขา วตามหนา หนงั สือพิมพว า บางสาขาอาชพี มีการกระทําผิดจรรยาบรรณหรือไมไดมาตรฐานทางวิชาชีพท่ีกําหนดไว จนเปนเหตุใหตองมีการต้ัง คณะกรรมการพิจารณาความเหมาะสมและอาจตองถูกเพิกถอนใบประกอบวิชาชีพหรือใหออกจาก การเปน สมาชกิ ของสมาคมวชิ าชพี นน้ั (เชน เหตตุ กึ ถลม คนไขเ สยี ชวี ติ หรอื ผขู บั ขรี่ ถโดยสารสาธารณะ ไมม มี ารยาทขาดสามญั สาํ นกึ เปน ตน ) สาํ หรบั จรยิ ธรรมและจรรยาบรรณสาํ หรบั วชิ าชพี ตาํ รวจของไทย เปนไปตามประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตํารวจ พ.ศ.๒๕๕๑ แนบทายกฎ ก.ตร.วาดวย ประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตํารวจ พ.ศ.๒๕๕๑ และกฎ ก.ตร.วาดวยประมวลจริยธรรม และจรรยาบรรณของตํารวจ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๕๓ โดยไดรวมเอาเรื่องจริยธรรมและจรรยาบรรณ เขา ไวใ นประมวลฉบบั เดยี วกนั ครอบคลมุ ทงั้ สว นทเ่ี ปน เรอื่ งคณุ ธรรมจรยิ ธรรมและแนวทางการประพฤติ ทขี่ า ราชการตาํ รวจพงึ ยดึ ถอื ปฏบิ ตั ซิ งึ่ แมว า ไมไ ดม บี ทลงโทษไวเ ปน การเฉพาะแตไ ดก าํ หนดใหผ บู งั คบั บญั ชา ไดใ ชเ ปน แนวทางในการพจิ ารณาควบคไู ปกบั มาตรฐานทางวนิ ยั ตามทปี่ รากฏใน พ.ร.บ.ตาํ รวจแหง ชาติ พ.ศ.๒๕๔๗ และทแี่ กไ ขเพมิ่ เตมิ

๑๔ เหตุผลอีกประการหน่ึงของการมีประมวลจรรยาบรรณวิชาชีพไมวาจะมีมาตรการ ลงโทษหรือไมก็ตามคือ คุณคาเชิงสัญลักษณเม่ือมีการเปดเผยถึงความคิดหรือคุณคาตอสาธารณะ (Lintenberg 1996: หนา ๒๓) คณุ คา เชงิ สญั ลกั ษณส ะทอ นถงึ ความจรงิ ทวี่ า คนทกุ คนจะไดร บั ประโยชน อยา งเทาเทยี มจากมาตรฐานทางวิชาชพี ท่ีกําหนดไวในประมวลจรรยาบรรณวิชาชพี เชน ถา ประมวล จรรยาบรรณวิชาชีพกําหนดมาตรฐานข้ันตํ่าท่ีคนท่ีประกอบวิชาชีพน้ันจะตองใหบริการกับลูกคา คนในสังคมทุกคนก็จะพึงไดรับการบริการที่เปนมาตรฐานเดียวกันไมวาจะอยูในสถานะใดก็ตาม จึงเห็นไดวา การมีประมวลจริยธรรมวิชาชีพหรือประมวลจรรยาบรรณวิชาชีพไมไดเปนส่ิงท่ีจะ รับรองไดวาสมาชิกในแตละสาขาวิชาชีพจะรูและเขาใจถึงการนําเอาประมวลดังกลาวไปใชไดอยาง ถูกตองเสมอไป ดงั นน้ั เพอ่ื สงเสรมิ การปฏิบัติตามประมวลจริยธรรม จึงมีความจําเปน ตองทําใหเกดิ ความสามารถเชิงจริยธรรม (Ethical Competence) ใหกับบุคลากรองคกรวิชาชีพควบคไู ปกับการให ความรูทางคุณธรรมจริยธรรมวิชาชีพเพื่อทําใหผูที่ทํางานเปนมืออาชีพในแตละสาขาสามารถปรับใช ประมวลจริยธรรมหารือปรึกษาหรือขอคาํ แนะนําจากคนนอกองคก รไดอ ยา งเหมาะสม ¡Ô¨¡ÃÃÁ·ÒŒ º·àÃÂÕ ¹·èÕ ò ผูสอนแบงกลุมผูเรียน จากน้ันใหยกตัวอยางกรณีศึกษาที่เกิดข้ึนในสังคมไทยท่ีสะทอน ใหเ หน็ ถงึ การกระทาํ ผดิ จรยิ ธรรมหรอื ผดิ วนิ ยั หรอื ความประพฤตขิ องขา ราชการตาํ รวจทไ่ี มพ งึ ประสงค เชน การมคี วามสมั พนั ธฉ นั ชสู าวกบั ผใู ตบ งั คบั บญั ชา การสงั่ ใหผ ใู ตบ งั คบั บญั ชาไปทาํ กจิ การงานสว นตวั เพื่อผลประโยชนสวนตัว หรือการสั่งการใหผูใตบังคับบัญชากระทําการที่ฝาฝนตอวินัยตํารวจหรือผิด กฎหมาย เปน ตน แลว ใหว นิ ิจฉยั วา การกระทาํ ดงั กลาวฝา ฝน หรือละเมิดตอ ประมวลจริยธรรมวชิ าชพี ของตาํ รวจในขอใดบาง

๑๕ ÍÒŒ §ÍÔ§ Davis, Michael (2003). Language of professional ethics. Lichtenberg, Judith (1996). What are codes of ethics for? Codes of Ethics and the Professions. Margaret Coady and Sidney Bloch, eds. Victoria: Melbourne University Press. Luban, David (1988). Lawyers and Justice: An Ethical Study. Princeton, NJ: Princeton University Press. Luban, David (2007). Professional ethics. A Companion to Applied Ethics. R.G.Frey and Christopher Heath Wellman, eds. Malden, MA: Wiley-Blackwell. Norman, Richard (1998). The Moral Philosophers. Oxford: Oxford University Press. United Nations Convention against Corruption Weil, Vivian (2008). Professional ethics.

๑๖

๑๗ º··Õè ó ÊÒÃФÇÒÁÊÓ¤ÞÑ ¢Í§ ¡® ¡.μÃ.Ç‹Ò´ÇŒ »ÃÐÁÇŨÃÂÔ ¸ÃÃÁ áÅШÃÃÂÒºÃóμÓÃǨ ¾.È. òõõó ______________ ÇμÑ ¶Ø»ÃÐʧ¤¢ ͧ¡ÒÃàÃÂÕ ¹ ๑. เพอื่ ใหผ เู รยี นทราบและสามารถบอกความสาํ คญั ของการใช กฎ ก.ตร.วา ดว ยประมวล จรยิ ธรรมและจรรยาบรรณตาํ รวจ ได ๒. เพอื่ ใหผ เู รยี น มคี วามรู ความเขา ใจและสามารถอธบิ ายความหมายคาํ วา การไมเ ลอื ก ปฏิบตั ิ ประโยชน และ ทารุณกรรมได . ๓. เพ่ือใหผูเรียนสามารถบอกอํานาจหนาท่ีของหนวยงานที่เก่ียวของในกฎ ก.ตร. วา ดวยประมวลจรยิ ธรรมและจรรยาบรรณตาํ รวจ ไดถูกตอง ๔. เพื่อใหผูเรียนเขาใจและทราบถึงแนวทางปฏิบัติ เมื่อพบวามีการจงใจหลีกเล่ียง ไมป ฏบิ ตั ิตาม กฎ ก.ตร. วาดว ยประมวลจรยิ ธรรมฯ หลักสําคัญ “ใหความรูคูคุณธรรม” สังคมไทยจึงจะมีสมาชิกของสังคมท่ีเปนท้ังคนเกง และคนดี ดังคาํ กลอนของ อาํ ไพ สุจรติ กุล (๒๕๓๔ : ๑๘๖) กลาวไวด งั นี้ “เมือ่ ความรูยอดเย่ียมสงู เทยี มเมฆ แตคุณธรรมตํ่าเฉกยอดหญาน่ัน อาจเสกสรางมจิ ฉาสารพนั ดวยจติ อนั ไรอ ายในโลกา แมค ณุ ธรรมเยย่ี มถึงเทียมเมฆ แตค วามรตู ่ําเฉกเพยี งยอดหญา ยอ มเปนเหย่อื ทรชนจนระอา ดว ยปญญาออนดอ ยนานอยใจ หากความรูสูงลา้ํ คณุ ธรรมเลิศ แสนประเสริฐกอปรกจิ วินจิ ฉัย จะพฒั นาประชาราษฎรท งั้ ชาติไทย ตอ งฝก ใหความรูคคู ณุ ธรรม”

๑๘ ¡® ¡.μÃ. Ç‹Ò´ÇŒ »ÃÐÁÇŨÃÂÔ ¸ÃÃÁáÅШÃÃÂÒºÃó¢Í§μÓÃǨ (©ºÑº·èÕ ò) ¾.È. òõõó ----------------------------- โดยที่เปนการสมควรปรับปรุงกฎ ก.ตร. วาดวยประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณ ของตํารวจ พ.ศ. ๒๕๕๑ อาศัยอํานาจตามรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๒๗๙ และ มาตรา ๒๘๐ พระราชบัญญัติตาํ รวจแหงชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗ มาตรา ๓๑ (๒) มาตรา ๗๗ และมติ ก.ตร. ในการประชุมคร้ังที่ ๑๐/๒๕๕๓ เมื่อวันท่ี ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๓ จึงแกไขปรับปรุงกฎ ก.ตร. วา ดวย ประมวลจรยิ ธรรมและจรรยาบรรณของตํารวจ พ.ศ. ๒๕๕๑ ดงั ตอ ไปนี้ ¢ÍŒ ñ กฎ ก.ตร. น้ีใหใ ชบังคบั ต้งั แตว นั ถดั จากวนั ประกาศในราชกจิ จานเุ บกษาเปนตน ไป ¢ÍŒ ò ใหย กเลกิ ความในขอ ๒ แหง กฎ ก.ตร. วา ดว ยประมวลจรยิ ธรรมและจรรยาบรรณ ของตํารวจ พ.ศ. ๒๕๕๑ และใหใชความตอ ไปนแี้ ทน “ขอ ๒ ใหใชประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตํารวจทาย กฎ ก.ตร. น้ี เปน กรอบแหงการประพฤตปิ ฏิบตั ขิ องขา ราชการตาํ รวจ ซ่งึ ประกอบดว ย สว นที่ ๑ มาตรฐานคุณธรรม และอุดมคติของตํารวจ สวนที่ ๒ มาตรฐานทางจริยธรรมและจรรยาบรรณของตาํ รวจ” ¢ÍŒ ó ใหย กเลกิ ความในวรรคสองและวรรคสามของขอ ๘ แหง กฎ ก.ตร. วา ดว ยประมวล จรยิ ธรรมและจรรยาบรรณของตํารวจ พ.ศ. ๒๕๕๑ และใหใ ชค วามตอไปนีแ้ ทน “หากจเรตํารวจแหงชาติ หรือหนวยงานที่จเรตํารวจแหงชาติมอบหมายพบวา หนวยงานตํารวจหรือขาราชการตํารวจใดละเมิด ฝาฝน หรือไมปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมและ จรรยาบรรณของตํารวจ โดยพฤติการณดังกลาวอาจเกิดผลกระทบในทางเส่ือมเสียตอช่ือเสียง และเกียรติภูมิของสํานักงานตํารวจแหงชาติ หรือวิชาชีพตํารวจ ใหจเรตํารวจแหงชาติรายงาน ผูบัญชาการตํารวจแหงชาติ และแจงผูบังคับบัญชาในระดับกองบัญชาการหรือหนวยงานเทียบเทา กองบัญชาการ สอบขอ เท็จจรงิ เพอ่ื ดําเนนิ การตามอาํ นาจหนาท่ี หากเหน็ สมควรจเรตาํ รวจแหง ชาติ อาจมอบหมายให รองจเรตาํ รวจแหงชาติ จเรตํารวจ หรอื รองจเรตํารวจ ไปกํากับและตดิ ตามการสอบ ขอ เทจ็ จรงิ หรอื ตง้ั คณะกรรมการสอบขอ เทจ็ จรงิ ทเี่ ปน อสิ ระจากกองบญั ชาการ หรอื หนว ยงานเทยี บเทา กองบญั ชาการ น้นั กไ็ ด

๑๙ ใหจเรตํารวจแหงชาติ จัดใหมีศูนยใหคําปรึกษาแนะนําเกี่ยวกับการปฏิบัติตาม วรรคหน่ึง ในระดับสํานักงานตํารวจแหงชาติ รวมท้ังประสานกับกองบัญชาการตาง ๆ จัดต้ังศูนย ใหค ําปรกึ ษา แนะนาํ เก่ยี วกับการปฏบิ ัตติ ามวรรคหน่ึง และสงเสรมิ จริยธรรมและพัฒนาคณุ ธรรมของ ขาราชการตํารวจ ตามขอ ๕ หรือแตงตั้งที่ปรึกษาดานจริยธรรมและจรรยาบรรณของตํารวจระดับ กองบัญชาการหรือกองบังคับการตามความเหมาะสม แลว แตกรณ”ี ¢ŒÍ ô ใหเพิ่มความตอไปนี้ เปนวรรคสอง วรรคสาม วรรคส่ี และวรรคหา ของขอ ๙ แหง กฎ ก.ตร. วา ดว ยประมวลจรยิ ธรรมและจรรยาบรรณของตํารวจ พ.ศ. ๒๕๕๑ “ในการสอดสองดูแลใหกองบัญชาการ กองบังคับการ สถานีตํารวจ ที่มีคณะกรรมการ ตรวจสอบและตดิ ตามการบรหิ ารงานตาํ รวจภาคประชาชน จดั ใหค ณะกรรมการตรวจสอบและตดิ ตาม การบรหิ ารงานตาํ รวจภาคประชาชนเขามามีสว นรว มในการสอดสองดูแลดวย ในกรณีที่มีการละเมิด ฝาฝน หรือไมปฏิบัติตามมาตรฐานคุณธรรมและอุดมคติ ของตํารวจ ในสวนทไ่ี มเกี่ยวเนื่องกบั มาตรฐานทางจรยิ ธรรมและจรรยาบรรณของตาํ รวจ รวมทง้ั วินยั ของตํารวจ หากเปนการละเมิด ฝาฝน หรือไมปฏิบัติตามโดยไมเจตนา และไมกอใหเกิดผลเสียหาย ตอหนวยงาน หรือชื่อเสียงของสํานักงานตํารวจแหงชาติ ใหผูบังคับบัญชาพิจารณาดําเนินการ ทางการปกครองโดยอบรมชี้แนะแนวทางปฏิบัติดวยหลักการและเหตุผลที่ถูกตองตามทํานอง คลองธรรมเพื่อใหโอกาสผูใตบังคับบัญชาไดสํานึกและแกไขปรับปรุงตน เม่ือไดอบรมช้ีแนะแลว ผใู ตบ งั คับบัญชาผูน้ันยังหลีกเล่ยี งหรอื ขัดขนื ไมปฏิบตั ิตาม ใหว า กลาวตกั เตือน การละเมิด ฝาฝน หรือไมปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมและจรรยาบรรณของ ตํารวจ ในขอประพฤติปฏิบัติที่เปนขอหามในการรักษาวินัย ใหผูบังคับบัญชาพิจารณาดําเนินการ ทางวินยั ไปภายในอาํ นาจหนา ที่ ในการพิจารณาวาการละเมิด ฝาฝน หรือไมปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรม ตามประมวลจริยธรรมนั้น เปนการฝาฝนจริยธรรมรายแรงหรือไม ใหพิจารณาจากพฤติกรรมของ การฝาฝน อายุ ประวัติและความประพฤติในอดีต สภาพแวดลอมแหงกรณี ผลรายอันเกิดจาก การฝา ฝน และเหตอุ นั ควรนาํ มาประกอบการพจิ ารณา โดยพจิ ารณาจากแนวทางขา งตน เปน รายๆ ไป” ¢ÍŒ õ ใหย กเลกิ ประมวลจรยิ ธรรมและจรรยาบรรณของตํารวจ พ.ศ. ๒๕๕๑ (แนบทาย กฎ ก.ตร. วาดวยประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตํารวจ พ.ศ. ๒๕๕๑) และใหใชประมวล จรยิ ธรรมและจรรยาบรรณของตาํ รวจ พ.ศ. ๒๕๕๓ (แนบทาย กฎ ก.ตร. วา ดวยประมวลจรยิ ธรรม และจรรยาบรรณของตาํ รวจ (ฉบบั ที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓) สาํ หรบั ขอ ความอนื่ นอกจากนี้ คงเปนไปตามทก่ี าํ หนดไวเ ดิม ใหไว ณ วนั ที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ สุเทพ เทอื กสบุ รรณ รองนายกรัฐมนตรี ปฏบิ ัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการขา ราชการตาํ รวจ

๒๐ »ÃÐÁÇŨÃÂÔ ¸ÃÃÁáÅШÃÃÂÒºÃó¢Í§μÓÃǨ ¾.È. òõõó (Ṻ·ŒÒ¡® ¡.μÃ.ÇÒ‹ ´ÇŒ »ÃÐÁÇŨÃÂÔ ¸ÃÃÁáÅШÃÃÂÒºÃó¢Í§μÓÃǨ (©ººÑ ·èÕ ò) ¾.È. òõõó) ---------------------------- ดว ยสาํ นกั งานตาํ รวจแหง ชาตมิ อี าํ นาจและหนา ทท่ี สี่ าํ คญั ไดแ ก การรกั ษาความปลอดภยั สําหรับองคพระมหากษัตริย พระราชินี พระรัชทายาท ผูสําเร็จราชการแทนพระองค พระบรม วงศานุวงศ ผูแ ทนพระองค และพระราชอาคันตุกะ และการรกั ษากฎหมายคุมครองชวี ติ และทรัพยสนิ ของประชาชน รักษาความสงบเรียบรอยของสังคม บริการชุมชน ใหเกิดความรมเย็น ปองกัน และปราบปรามผูกระทําผิดกฎหมาย และดําเนินการเพ่ือนําผูกระทําผิดกฎหมายเขาสูกระบวนการ ยุติธรรม ดังนน้ั เพอื่ ใหการปฏิบัติตามอาํ นาจหนาทีข่ องสาํ นกั งานตาํ รวจแหงชาติ มีประสทิ ธภิ าพ ประสิทธิผล และประชาชนมีความศรัทธาเชื่อมั่น จึงจําเปนตองกําหนดประมวลจริยธรรม และจรรยาบรรณของตํารวจ เปนกรอบการประพฤติปฏิบัติของขาราชการตํารวจใหมีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทดี่ ีและเปน มาตรฐาน ¢ÍŒ ñ ประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตาํ รวจ ประกอบดว ย สว นท่ี ๑ มาตรฐานคุณธรรม และอุดมคติของตํารวจ เปน เคร่อื งเหน่ยี วรัง้ ใหขาราชการ ตํารวจอยูในกรอบของศีลธรรมและคุณธรรม ขณะเดียวกันก็เปนแนวทางช้ีนําใหขาราชการตํารวจ บรรลถุ ึงปณธิ านของการเปน ผพู ิทักษสันติราษฎร สว นที่ ๒ มาตรฐานทางจรยิ ธรรมและจรรยาบรรณของตาํ รวจ ประกอบดวย (๑) มาตรฐานทางจริยธรรมตํารวจ คือ คุณความดีที่เปนขอประพฤติตนและปฏิบัติ หนาท่ขี องขา ราชการตํารวจเพอ่ื ใหป ระชาชนศรัทธา เชือ่ มัน่ และยอมรบั (๒) จรรยาบรรณของตาํ รวจ คือ ประมวลความประพฤตใิ นการปฏบิ ัติหนา ทีข่ องวิชาชพี ตาํ รวจที่ขา ราชการตํารวจตอ งยึดถือปฏิบัติ เพ่อื ธํารงไวซึง่ ศักด์ิศรแี ละเกยี รติภูมขิ องขา ราชการตาํ รวจ และวชิ าชพี ตํารวจ ¢ŒÍ ò ในประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตาํ รวจน้ี “การไมเลือกปฏิบัติ” หมายความวา การไมใชความรูสึกพึงพอใจหรือไมพึงพอใจสวนตัว ตอบุคคลหรือกลุมบุคคลอันเน่ืองมาจากชาติกําเนิด เพศ ศาสนา หรือความเช่ือ เชื้อชาติ สัญชาติ อายุ การศกึ ษา ความเห็นทางการเมืองหรือความเห็นอนื่ ความนิยมทางเพศสวนบคุ คล ความพกิ าร สภาพรางกาย จิตใจหรือสขุ ภาพ หรือสถานะทางเศรษฐกจิ หรอื สงั คม “ประโยชน” หมายความวา เงนิ ทรัพยสิน บริการ ตําแหนงหนา ทีก่ ารงาน สิทธิประโยชน หรือประโยชนอ ืน่ ใดหรือคําม่ันสญั ญาท่จี ะใหหรือจะไดรบั สงิ่ ดงั กลา วในอนาคตดวย “การทารุณหรือทารุณกรรม” หมายความวา การปฏิบัติหรือกระทําใด ๆ ตอรางกาย หรือจติ ใจของบคุ คล ในลักษณะทโ่ี หดรา ย ไรม นษุ ยธรรม หรือกอใหเ กิดความเจบ็ ปวดอยา งแสนสาหัส หรือดถู ูกศกั ด์ิศรคี วามเปน มนษุ ย

๒๑ ¢ŒÍ ó ขาราชการตํารวจตองเคารพและปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณ ของตํารวจอยางเครงครัด เมื่อตนไดละเมิด ฝาฝน หรือไมปฏิบัติตามประมวลจริยธรรม และจรรยาบรรณของตาํ รวจ จะตองรายงานผูบังคบั บัญชาเปน หนงั สือทนั ที หากไมแนใจวา การท่ีตนไดกระทําหรือตดั สนิ ใจ หรอื จะกระทาํ หรือจะตัดสนิ ใจ เปน หรือ จะเปนการละเมิด ฝาฝน หรือไมปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตํารวจ หรือไม ใหขาราชการตํารวจนั้นปรึกษาหารือผูบังคับบัญชา หรือปรึกษากับศูนยใหคําปรึกษาแนะนําตาม กฎ ก.ตร. ขอ ๘ วรรคสาม ÊÇ‹ ¹·èÕ ñ ÁÒμðҹ¤³Ø ¸ÃÃÁ áÅÐÍ´Ø Á¤μԢͧμÓÃǨ ¢ŒÍ ô ขาราชการตํารวจพึงยึดถือคุณธรรมสี่ประการตามพระบรมราโชวาท เปน เครื่องเหน่ยี วร้งั ในการประพฤติตนและปฏิบัตหิ นา ที่ ดังนี้ (๑) การรักษาความสัจ ความจริงใจตอตัวเองที่จะประพฤติปฏิบัติแตส่ิงท่ีเปนประโยชน และเปน ธรรม (๒) การรจู กั ขมใจตนเอง ฝกตนเองใหป ระพฤติปฏิบัติอยูในความสัจ ความดี เทา นนั้ (๓) การอดทนอดกล้ัน และอดออมท่ีจะไมประพฤติลวงความสัจสุจริต ไมวาดวยเหตุ ประการใด (๔) การรูจักละวางความชั่ว ความทุจริต และรูจักสละประโยชนสวนนอยของตน เพ่ือประโยชนส ว นใหญข องบา นเมอื ง ¢ÍŒ õ ขาราชการตํารวจพึงยึดถืออุดมคติของตํารวจ ๙ ประการ เปนแนวทางช้ีนํา การประพฤติตนและปฏิบตั ิหนาท่เี พื่อบรรลุถงึ ปณธิ านของการเปนผพู ทิ ักษส ันติราษฎร ดงั น้ี (๑) เคารพเอ้อื เฟอ ตอหนา ท่ี (๒) กรณุ าปราณีตอประชาชน (๓) อดทนตอ ความเจ็บใจ (๔) ไมหวัน่ ไหวตอความยากลาํ บาก (๕) ไมม กั มากในลาภผล (๖) มงุ บําเพ็ญตนใหเปน ประโยชนแกประชาชน (๗) ดํารงตนในยตุ ธิ รรม (๘) กระทําการดว ยปญ ญา (๙) รักษาความไมป ระมาทเสมอชวี ติ ¢ÍŒ ö ขาราชการตํารวจพึงหมั่นศึกษาหาความรูอยูตลอดเวลา เพื่อพัฒนาตนเอง ใหทันโลกทันเหตุการณ และมีความชํานาญการในงานท่ีอยูในความรับผิดชอบ รวมทั้งตองศึกษา หาความรเู กยี่ วกบั กฎหมาย ระเบยี บ ธรรมเนยี มการปฏบิ ตั ขิ องสว นราชการในกระบวนการยตุ ธิ รรมอนื่ ที่เกี่ยวของกับหนาที่และความรับผิดชอบของตน เพ่ือสามารถประสานงานไดอยางกลมกลืน แนบเนยี น และเปน ประโยชนต อ ราชการของสาํ นักงานตาํ รวจแหง ชาติ

๒๒ ʋǹ·Õè ò ÁÒμðҹ·Ò§¨ÃÔ¸ÃÃÁáÅШÃÃÂÒºÃó¢Í§μÓÃǨ (ñ) ÁÒμðҹ·Ò§¨ÃÂÔ ¸ÃÃÁ¢Í§μÓÃǨ ¢ŒÍ ÷ ขา ราชการตาํ รวจตอ งเคารพ ศรทั ธา และยดึ มนั่ การปกครองระบอบประชาธปิ ไตย อนั มพี ระมหากษตั รยิ ทรงเปน ประมุข ซ่ึงตอ งประพฤติปฏิบตั ิดังน้ี (๑) จงรักภักดีและเทดิ ทนู พระมหากษตั ริย พระราชินี และพระรัชทายาท และไมยอมให ผูใดลว งละเมดิ (๒) สนับสนุนการเมืองประชาธิปไตยดวยศรัทธา มีความเปนกลางทางการเมือง ไมเปนผูบริหารหรือกรรมการพรรคการเมือง และไมกระทําการใดๆ อันเปนคุณหรือเปนโทษ แกพรรคการเมอื ง หรือผสู มัครรับเลอื กต้ังทัง้ ในระดับชาติและทอ งถิ่น ¢ŒÍ ø ขาราชการตํารวจตองเคารพสิทธิและเสรีภาพของประชาชนตามบทบัญญัติ แหง รัฐธรรมนูญ และตามกฎหมายอ่ืนโดยเครงครดั โดยไมเ ลอื กปฏิบัติ ¢ŒÍ ù ขาราชการตํารวจตองปฏิบัติหนาท่ีอยางมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและ เกิดประโยชนสูงสุด โดยคํานึงถึงประโยชนของทางราชการ ประชาชน ชุมชน และประเทศชาติ เปน สาํ คญั ซึ่งตองประพฤติปฏิบัติ ดังนี้ (๑) ปฏิบัติหนาท่ีดวยความรวดเร็ว กระตือรือรน รอบคอบ โปรงใส ตรวจสอบได และเปนธรรม (๒) ปฏิบัติหนาทด่ี วยความวริ ยิ ะอุตสาหะ ขยันหมัน่ เพยี ร เสียสละ ใชป ฏภิ าณไหวพริบ กลา หาญและอดทน (๓) ปฏิบัติหนาท่ีดวยความรับผิดชอบ ความเต็มใจ ไมละท้ิงหนาท่ี ไมหลีกเล่ียง หรือปดความรับผิดชอบ (๔) ดูแลรักษาและใชทรัพยสินของทางราชการอยางประหยัดคุมคา โดยระมัดระวังมิให เสยี หายหรอื สิน้ เปลืองเยี่ยงวญิ ู ชนจะพงึ ปฏบิ ตั ติ อทรัพยส นิ ของตนเอง (๕) รักษาความลับของทางราชการและความลับที่ไดมาจากการปฏิบัติหนาท่ี หรือจาก ประชาชนผูมาติดตอราชการ เวนแตเปนการเปดเผยเพื่อประโยชนในกระบวนการยุติธรรม หรือการ ตรวจสอบตามทกี่ ฎหมาย กฎ ขอบังคบั กําหนด ¢ŒÍ ñð ขาราชการตํารวจตองมีจิตสํานึกของความเปนผูพิทักษสันติราษฎรเพ่ือให ประชาชนศรทั ธาและเชื่อม่นั ซึ่งตอ งประพฤติปฏิบัติดังน้ี (๑) มีทาทีเปนมิตร มีมนุษยสัมพันธอันดีและมีความสุภาพออนโยนตอประชาชน ผรู ับบริการ รวมทัง้ ใหบ ริการประชาชนดวยความเตม็ ใจ รวดเรว็ และไมเ ลือกปฏิบตั ิ (๒) ปฏิบัติตนใหเปนที่เชื่อถือไววางใจของประชาชน ไมเบียดเบียน ไมแสดงกิริยา หรือทา ทางไมส ุภาพหรือไมใหเ กียรติ รวมทง้ั ไมใ ชถอ ยคาํ กริ ิยา หรอื ทาทาง ทม่ี ลี ักษณะ หยาบคาย ดูหมิน่ หรือเหยียดหยามประชาชน

๒๓ (๓) เอื้อเฟอ สงเคราะห และชวยเหลือประชาชนเม่ืออยูในฐานะท่ีจําเปนตองไดรับ ความชวยเหลือหรือประสบเคราะหจากอุบัติเหตุ การละเมิดกฎหมาย หรือภัยอื่นๆ ไมวาบุคคลนั้น จะเปนผตู อ งสงสัยหรือผูกระทําผิดกฎหมายหรอื ไม (๔) ปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบวาดวยขอมูลขาวสารของทางราชการ อยางเครงครัด การใหขอมูลขาวสารแกประชาชนที่รองขอ ตองดําเนินการดวยความรวดเร็ว ไมถวง เวลาใหเนน่ิ ชา และไมใหข อมลู ขาวสารอันเปน เทจ็ แกป ระชาชน ¢ŒÍ ññ ขาราชการตํารวจตองมีความซ่ือสัตยสุจริตและยึดมั่นในศีลธรรม โดยยึด ประโยชนส วนรวมเหนือประโยชนส วนตน ซ่ึงตองประพฤติปฏิบตั ิ ดงั น้ี (๑) ไมใ ชต ําแหนง อาํ นาจหรอื หนาที่ หรือไมยอมใหผ ูอนื่ ใชตาํ แหนง อาํ นาจหรอื หนา ที่ ของตนแสวงหาประโยชนสําหรบั ตนเองหรือผอู นื่ (๒) ไมใชตําแหนง อํานาจหรือหนาท่ี หรือไมยอมใหผูอื่นใชตําแหนง อํานาจหรือ หนา ทข่ี องตนไปในทางจงู ใจหรอื มอี ทิ ธพิ ลตอ การตดั สนิ ใจ การใชด ลุ พนิ จิ หรอื การกระทาํ ของขา ราชการ ตํารวจหรือเจาหนาที่ของรัฐอ่ืน อันเปนผลใหการตัดสินใจ การใชดุลพินิจ หรือการกระทําของผูนั้น สูญเสยี ความเท่ยี งธรรมและยตุ ิธรรม (๓) ไมรับของขวัญนอกเหนือจากโอกาสและกาลตามประเพณีนิยม และของขวัญน้ัน ตอ งมมี ลู คา ตามทค่ี ณะกรรมการปอ งกนั และปราบปรามการทจุ รติ แหง ชาตปิ ระกาศกาํ หนด เวน แตญ าติ ซง่ึ ใหโดยเสนหาตามจาํ นวนท่เี หมาะสมตามฐานานุรูปหรือการใหโดยธรรมจรรยา (๔) ไมใ ชเ วลาราชการหรอื ทรพั ยข องราชการเพ่อื ธรุ กิจหรือประโยชนสวนตน (๕) ไมประกอบอาชีพเสริมซ่ึงมีลักษณะเปนผลประโยชนทับซอน หรือเปนการขัดกัน ระหวา งประโยชนส ว นตนกับประโยชนสวนรวม (๖) ดํารงชีวิตสวนตัวไมใหเกิดมลทินมัวหมองตอตําแหนงหนาที่ ไมทําผิดกฎหมาย แมเห็นวาเปนเร่ืองเล็กนอย ไมหมกมุนในอบายมุขทั้งหลาย ไมฟุงเฟอหรูหรา และใชจายประหยัด ตามฐานะแหง ตน ¢ŒÍ ñò ขาราชการตํารวจตองภาคภูมิใจในวิชาชีพ กลายืนหยัดกระทําในสิ่งที่ถูกตอง ดีงามเพอ่ื เกียรติศักดิ์และศักด์ศิ รขี องความเปน ตาํ รวจ ซงึ่ ตองประพฤติปฏิบตั ิ ดงั นี้ (๑) ปฏิบัติหนาที่อยางตรงไปตรงมาตามครรลองของการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตรยิ ท รงเปนประมุขตามรฐั ธรรมนูญและกฎหมายอยางเครง ครดั (๒) ไมส่ังใหผูใตบังคับบัญชาปฏิบัติการในส่ิงท่ีไมชอบดวยกฎหมายหรือขัดตอคุณธรรม และศีลธรรม (๓) ไมปฏิบัติตามคําสั่งท่ีตนรูหรือควรจะรูวาไมชอบดวยกฎหมาย ในการน้ีใหทักทวง เปนลายลกั ษณอักษรตอ ผบู งั คบั บญั ชาผสู งั่ (๔) ไมเล่ียงกฎหมาย ใชหรือแนะนําใหใชชองโหวของกฎหมายเพ่ือประโยชนสําหรับ ตนเองหรือผอู นื่ หรอื ทาํ ใหส ูญเสียความเปนธรรมในกระบวนการยตุ ธิ รรม

๒๔ ¢ŒÍ ñó ในฐานะเปน ผบู ังคับบัญชา ขา ราชการตาํ รวจตองประพฤติปฏิบตั ิ ดังน้ี (๑) ประพฤตปิ ฏบิ ตั ติ นเปน ผนู าํ และเปน แบบอยา งทด่ี ี รวมทงั้ เปน ทป่ี รกึ ษา และทพี่ ง่ึ ของ ผใู ตบ ังคับบัญชา (๒) หมั่นอบรมใหผูใตบังคับบัญชายึดถือปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณ วากลา วตกั เตือนดวยจิตเมตตา และใหความรเู กี่ยวกับงานในหนาที่ (๓) ปกครองบังคับบัญชาดวยหลักการและเหตุผลท่ีถูกตองตามทํานองคลองธรรม ยอมรบั ฟงความคิดเหน็ และไมผ ลักความรับผิดชอบใหผูใตบงั คบั บญั ชา (๔) ใชหลักคุณธรรมในการบริหารงานบุคคลท่ีอยูในความรับผิดชอบของตนอยาง เครง ครดั และปราศจากความลาํ เอียง ¢ÍŒ ñô ในฐานะผูใตบังคับบัญชาและเพ่ือนรวมงาน ขาราชการตํารวจตองประพฤติ ปฏบิ ตั ิดงั นี้ (๑) เคารพเชอ่ื ฟง และปฏบิ ตั ติ ามคําสัง่ ผบู งั คับบัญชาที่ชอบดวยกฎหมาย (๒) รักษาวินยั และความสามคั คีในหมคู ณะ (๓) ปฏบิ ตั ติ อ ผบู งั คบั บญั ชาและเพอื่ นรว มงานดว ยความสภุ าพมนี าํ้ ใจ รกั ใครส มานฉนั ท และมมี นุษยสมั พันธ รวมทั้งรับฟงความคดิ เห็นของเพือ่ นรวมงาน (๔) อทุ ศิ ตนเอง ไมห ลกี เลย่ี งหรอื เกยี่ งงาน รว มมอื รว มใจปฏบิ ตั หิ นา ทโ่ี ดยยดึ ความสาํ เรจ็ ของงาน และช่ือเสยี งของหนว ยเปน ทต่ี ้งั ¢ŒÍ ñõ ขาราชการตํารวจตองปฏิบัติตามคานิยมหลักของมาตรฐานจริยธรรมสําหรับ เจาหนาทีข่ องรฐั ตามทีผ่ ูต รวจการแผน ดินกําหนด ดงั น้ี (๑) การยึดมน่ั ในคณุ ธรรมและจรยิ ธรรม (๒) การมจี ิตสาํ นึกทด่ี ี ซอ่ื สตั ย สจุ ริต และรบั ผิดชอบ (๓) การยึดถือประโยชนของประเทศชาติเหนือกวาประโยชนสวนตน และไมมี ผลประโยชนทับซอน (๔) การยืนหยดั ทาํ ในส่งิ ทถี่ ูกตอง เปนธรรม และถกู กฎหมาย (๕) การใหบ ริการแกประชาชนดว ยความรวดเรว็ มีอัธยาศัย และไมเ ลอื กปฏบิ ัติ (๖) การใหขอมูลขา วสารแกประชาชนอยา งครบถว น ถกู ตอง และไมบิดเบอื น ขอ เท็จจรงิ (๗) การมุงผลสมั ฤทธข์ิ องงาน รักษามาตรฐาน มีคุณภาพ โปรงใส และตรวจสอบได (๘) การยดึ มนั่ ในระบอบประชาธปิ ไตยอันมีพระมหากษตั ริยทรงเปนประมุข (๙) การยึดมั่นในหลกั จรรยาวิชาชีพขององคการ (ò) ¨ÃÃÂÒºÃó¢Í§μÓÃǨ ¢ŒÍ ñö ขาราชการตํารวจจะตองสํานึกในการใหบริการประชาชนดานอํานวย ความยตุ ธิ รรม และความปลอดภยั ในชวี ติ และทรพั ยส นิ ใหส อดคลอ งกบั รฐั ธรรมนญู และสทิ ธมิ นษุ ยชน เพือ่ ใหประชาชนมีความเลือ่ มใส เชือ่ มน่ั และศรัทธา ซึ่งตองประพฤติปฏบิ ตั ิ ดังนี้

๒๕ (๑) อํานวยความสะดวกแกประชาชนในการรองทุกข กลาวโทษ ขออนุญาต ขอขอมูล ขาวสาร หรือติดตอราชการอ่ืน ดวยความเต็มใจ เปนมิตร ไมเลือกปฏิบัติ และรวดเร็ว เพือ่ ไมใ หป ระชาชนเสียสทิ ธหิ รอื เสรภี าพตามกฎหมาย (๒) สุภาพ ออนนอม และใหเกียรติประชาชนเพื่อใหเกิดความนาเคารพยําเกรง ไมใ ชถ อยคํา กิริยา หรือทาทาง ที่มลี กั ษณะหยาบคาย ดูหมนิ่ หรอื เหยยี ดหยามประชาชน (๓) ในขณะปฏบิ ตั หิ นา ท่ี ตอ งดาํ รงตนใหอ ยใู นสภาพทพ่ี รอ มและเหมาะสมแกก ารปฏบิ ตั ิ หนาทดี่ วยความนาเชือ่ ถอื และนาไวว างใจ (๔) พกพาอาวุธ ตามระเบียบแบบแผน ไมจับหรือถืออาวุธ หรือเล็งอาวุธไปยังบุคคล โดยปราศจากเหตุอันสมควร (๕) พกพาเอกสาร หรือตราประจําตัว และแสดงเอกสารหรือตราประจําตัวเมื่อมีบุคคล รองขอ ¢ŒÍ ñ÷ เมื่อเขาจับกุมหรือระงับการกระทําผิด ขาราชการตํารวจตองยึดถือและปฏิบัติ ตามรฐั ธรรมนญู และกฎหมายอยา งเครงครัด ซึง่ ตองประพฤติปฏิบัติ ดงั น้ี (๑) แสดงถงึ การอทุ ศิ ตนและจติ ใจใหแ กก ารปฏบิ ตั หิ นา ทอี่ ยา งกลา หาญ และมสี ตปิ ญ ญา (๒) ยืนหยัดเจตนารมณในการรักษากฎหมายใหถึงท่ีสุด และดําเนินการตามกฎหมาย ตอ ผกู ระทําความผิด ท้งั นใ้ี หระลกึ เสมอวา การใชก ฎหมายจะตอ งคาํ นงึ ถงึ หลักมนษุ ยธรรมดว ย (๓) ไมใชมาตรการรุนแรง เวนแตการใชมาตรการปกติแลว ไมเพียงพอที่จะหยุดย้ัง ผูกระทําความผดิ หรือผูต อ งสงสยั ได ¢ÍŒ ñø ขาราชการตํารวจตองตระหนักวา การใชอาวุธ กําลัง หรือความรุนแรง เปน มาตรการทรี่ นุ แรงทสี่ ดุ ขา ราชการตาํ รวจอาจใชอ าวธุ กาํ ลงั หรอื ความรนุ แรงไดต อ เมอ่ื มคี วามจาํ เปน ภายใตกรอบของกฎหมายและระเบียบแบบแผน หรือเมื่อผูกระทําความผิด หรือผูตองสงสัยใชอาวุธ ตอ สขู ัดขวางการจบั กมุ หรอื เพื่อชว ยบุคคลอ่ืนทอ่ี ยใู นอนั ตรายตอ ชวี ติ เม่ือมีการใชอาวุธ กําลัง หรือความรุนแรง ไมวาจะมีผูบาดเจ็บหรือเสียชีวิตหรือไม ขาราชการตํารวจตองรายงานเปน หนงั สือตอ ผูบังคับบญั ชาตามระเบียบแบบแผนทนั ที ¢ŒÍ ñù ในการรวบรวมพยานหลักฐาน การสืบสวนสอบสวน การสอบปากคํา หรือ การซกั ถามผกู ระทาํ ความผดิ ผตู อ งหา ผทู อ่ี ยใู นความควบคมุ ตามกฎหมาย ผเู สยี หาย ผรู เู หน็ เหตกุ ารณ หรอื บคุ คลอนื่ ขา ราชการตาํ รวจตอ งแสดงความเปน มอื อาชพี โดยใชค วามรู ความสามารถทางวชิ าการ ตํารวจ รวมท้ังใชปฏิภาณไหวพริบและสติปญญา เพื่อใหไดขอเท็จจริงและธํารงไวซ่ึงความยุติธรรม ซ่ึงตองประพฤตปิ ฏิบตั ิดงั นี้ (๑) ไมทําการทารุณหรือทารุณกรรมตอบุคคล หรือตอบุคคลอื่นที่เก่ียวของสัมพันธกับ บุคคลน้นั (๒) ไมใช จาง วาน หรือยุยงสงเสริม หรือปลอยปละละเลยใหมีการทารุณ หรือ ทารุณกรรมตอบุคคล หรือตอ บคุ คลอนื่ ที่เกีย่ วขอ งสมั พันธกับบุคคลนั้น

๒๖ (๓) ไมกระทําการขมขูหรือรังควาน หรือไมใชอํานาจท่ีมิชอบ หรือแนะนํา เส้ียมสอน บุคคลใหถ อ ยคําอันเปน เท็จหรอื ปรกั ปรําผูอ่นื (๔) ไมกักขังหรือหนวงเหน่ียวบุคคลท่ียังไมไดถูกจับกุมตามกฎหมาย เพ่ือการ สอบปากคาํ (๕) ไมใ ชอ าํ นาจท่มี ิชอบเพ่อื ใหไดมาซึง่ พยานหลักฐาน ¢ŒÍ òð ขาราชการตํารวจตองควบคุมดูแลบุคคลท่ีอยูในการควบคุมของตน อยางเครงครดั ตามกฎหมายและมมี นุษยธรรม ซง่ึ ตอ งประพฤตปิ ฏิบัติ ดงั น้ี (๑) ไมผ อ นปรนใหบ คุ คลนนั้ มสี ทิ ธหิ รอื ไดป ระโยชนโ ดยไมช อบดว ยกฎหมายและระเบยี บ แบบแผน (๒) ไมร บกวนการตดิ ตอ สือ่ สารระหวางบุคคลกบั ทนายความตามสทิ ธแิ หงกฎหมาย (๓) จัดใหบุคคลไดรับการรักษาพยาบาลหรือการดูแลทางการแพทยตามสมควรแกกรณี เม่อื บคุ คลนน้ั มอี าการเจ็บปวยหรอื รอ งขอ (๔) ไมควบคุมเด็กและเยาวชนรวมกับผูกระทําความผิดท่ีเปนผูใหญ หรือไมคุมขัง ผูห ญงิ รว มกบั ผชู าย เวนแตเ ปนกรณีท่มี ีกฎหมายและระเบียบแบบแผนอนุญาต ¢ÍŒ òñ ขอมูล ขาวสารที่ขาราชการตํารวจไดมาจากการปฏิบัติหนาที่ตามขอ ๑๙ หรือจากการปฏิบัติหนาที่อ่ืน ขาราชการตํารวจจะตองรักษาขอมูลขาวสารนั้นเปนความลับ อยางเครงครัด เพราะอาจเปนอันตรายตอผลประโยชนหรือช่ือเสียงของบุคคล หรืออาจเปนคุณ หรอื เปน โทษท้งั ตอ ผูเสยี หายหรือผกู ระทาํ ความผดิ ขาราชการตํารวจจะเปดเผยขอมูลน้ันไดตอเม่ือมีความจําเปนตอการปฏิบัติหนาที่ หรือ เพอ่ื ประโยชนใ นราชการตาํ รวจทชี่ อบดว ยกฎหมาย หรอื เพอ่ื การดาํ เนนิ การตามกระบวนการยตุ ธิ รรม เทานั้น ......................................................... ËÁÒÂàËμØ :- เหตุผลในการประกาศใชกฎ ก.ตร. ฉบับน้ี คือ โดยท่ีขาราชการตํารวจท่ีมีการกระทํา หรือความประพฤติท่ียังไมถึงขั้นทําผิดวินัย ประกอบกับสํานักงานตํารวจแหงชาติมีขาราชการตํารวจ จํานวนมาก จําเปนตองกระจายอํานาจ โดยใหจเรตํารวจแหงชาติสามารถมอบหมายหนวยงานอื่น สามารถสอดสองดูแลแทนจเรตํารวจแหงชาติได โดยใหมีศูนยรับผิดชอบงานของหนวยงานตางๆ ดานจริยธรรมเปน ศนู ยเ ดียว เปนเอกภาพในการปฏิบตั ิงาน และตองการกระจายอํานาจใหป ระชาชน เขา มามสี ว นรวมในการสอดสองดูแลขาราชการตาํ รวจ จึงจาํ เปน ตอ งออก กฎ ก.ตร. นี้

๒๗ ¡¨Ô ¡ÃÃÁ·ŒÒº·àÃÕ¹·Õè ó ãË·Œ ‹Ò¹μͺ¤Ó¶ÒÁμÒÁࢌÒ㨠๑. มาตรฐานทางจริยธรรมคอื อะไร เหตใุ ดจงึ มไี วเพอ่ื การปฏิบตั ิหนาท่ี ๒. การปฏิบัติหนาท่ีอยางมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชนสูงสุด ขาราชการตํารวจ ตองคํานึงถงึ ประโยชนข องใครเปนสําคัญ ๓. จิตสํานึกของผูเปนผูพิทักษสันติราษฎร ขาราชการตํารวจตองปฏิบัติตนอยางไร จงอธบิ าย ๔. มีคํากลาววา “ขาราชการตํารวจตองภูมิใจในวิชาชีพ กลายืนหยัดกระทําในสิ่งที่ ถูกตองดงี ามเพอื่ เกียรตแิ ละศกั ดศ์ิ รคี วามเปน ตาํ รวจ” ทานเห็นดวยหรือไม เพราะเหตุใด ๕. มาตรฐานคุณธรรมท่ีขาราชการตํารวจนําไปประพฤติปฏิบัติในหนาที่ราชการ มีวัตถุประสงคอ ยางไร ๖. คุณธรรม ๔ ประการท่ีพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวพระราชทานใหยึดถือ และพงึ ปฏิบัตมิ ีอะไรบา ง อธิบาย พรอมยกตวั อยางประกอบมาอยางละ ๑ ขอ ๗. ใหทานแสดงความคิดเห็น “เพ่ือความเจริญกาวหนาในชีวิตราชการ” ทานตองการ ศกึ ษาองคความรใู นดานใดเพม่ิ เติม เพราะเหตุใด ๘. ขาราชการตํารวจตองยึดถือและปฏิบัติตามจรรยาบรรณตํารวจ โดยมีวัตถุประสงค อยา งไร ๙. ทานจะมีวิธีการอํานวยความยุติธรรมและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพยสิน ของประชาชนอยา งไร จงอธิบาย ๑๐. “ขาราชการตํารวจตองแสดงความเปนมืออาชีพ” ทานมีความเห็นอยางไร กับคาํ กลา วน้ี จงอธิบาย ๑๑. จงอธิบาย อุดมคตติ าํ รวจท้งั ๙ ขอ ตามความเขา ใจของทา นมาพอสงั เขป เคารพ เออื้ เฟอ ตอ หนา ท.ี่ ........................................................................................ ...................................................................................................................................................... กรณุ าปราณตี อ ประชาชน....................................................................................... ...................................................................................................................................................... อดทนตอ ความเจบ็ ใจ............................................................................................ ...................................................................................................................................................... ไมหวั่นไหวตอความยากลําบาก............................................................................ ..................................................................................................................................................... ไมม กั มากในลาภผล.............................................................................................. .....................................................................................................................................................

๒๘ มงุ บาํ เพญ็ ตนใหเ ปน ประโยชนแ กป ระชาชน............................................................. ...................................................................................................................................................... ดาํ รงตนในยตุ ธิ รรม............................................................................................... ..................................................................................................................................................... กระทําการดวยปญญา...................................................................................... ....................................................................................................................................................... รักษาความไมประมาทเสมอชีวิต................................................................... ......................................................................................................................................................

๒๙ º··èÕ ô á¹Ç·Ò§¡Òþ²Ñ ¹Ò¤¹áÅСÒú§Ñ ¤Ñºμ¹ ÇμÑ ¶Ø»ÃÐʧ¤¢ ͧ¡ÒÃàÃÕ¹ เพ่ือใหผูเรียนเขาใจแนวทางการพัฒนาคนและการบังคับตน และสามารถนาํ มาประยุกต ใชในการปฏิบตั ิงานและดาํ เนินชีวติ ของตนเองได การพัฒนาคน เราตองคํานึงถึงองคประกอบตางๆ ของคน แลวพัฒนาใหครบถวน ทุกองคประกอบ อันไดแ ก ดา นรางกาย อารมณ ความคิดและจติ ใจ โดยเนนหนักดา นจติ ใจเปน หลกั คนทไี่ ดร บั การพฒั นาดา นกาย ความคดิ จติ ใจ และทกั ษะในการทํางานใหเ ปน ผมู คี ณุ ธรรม ศีลธรรม มีทัศนคติที่ถูกตอง คานิยมที่เหมาะสมดีงามยอมสามารถนาํ ไปพัฒนาตนเองใหมีจิตสํานึก มีอุดมการณ มีความรับผิดชอบตอหนาที่ พัฒนาครอบครัวใหมีความรัก ความอบอุน พัฒนา หนวยงานใหเปนหนวยงานท่ีมีคุณภาพในทุกๆ ดานและจะสามารถนําการพัฒนาไปแผขยายกวาง ไปสกู ารพัฒนาชุมชน สังคม ประเทศชาติในทส่ี ุดดว ยการพฒั นาคุณภาพชีวติ ท้งั ดานสงั คม วฒั นธรรม ส่งิ แวดลอ มและเศรษฐกจิ อยางครบวงจร ดังคาํ กลา วที่วา “จะปลกู พืชตอ งเตรียมดิน จะกนิ ตอ งเตรียมอาหาร จะพัฒนาการตองเตรยี มคน จะพัฒนาคนตอ งเรมิ่ ทีจ่ ิตใจ จะพัฒนาใครเขาตอ งเรมิ่ ท่ตี ัวเรากอ น” ໇ÒËÁÒÂแหงการพัฒนาคุณภาพกําลังคนในที่น้ีหมายถึง การพัฒนาคน (ตนเอง) ซง่ึ ไดแ ก การพฒั นาตวั ขา ราชการตาํ รวจเองและครอบครวั รวมทง้ั ประชาชนในทอ งถน่ิ ใหม คี ณุ ลกั ษณะ ดงั นี้คือ - ขยนั อยา งฉลาดปราศจากอบายมขุ - พง่ึ ตนเอง (ดวยศกั ด์ศิ ร)ี - เครง วินยั - รวมมือรวมใจ ชวยเหลือซึ่งกันและกัน เห็นความทุกขยากของเพ่ือนบานและเพ่ือน รวมงาน เปน ภารกจิ ทต่ี องชว ยแกไ ข - มรี ปู แบบวถิ ีชีวิตทด่ี งี าม เรยี บงาย ประหยดั สมถะ - มีคุณธรรม จรยิ ธรรม - มีจิตสํานกึ ทีร่ บั ผิดชอบตนเอง ครอบครัว และหนาทีก่ ารงาน

๓๐ ¡Òú§Ñ ¤ºÑ μ¹ กาย กับ ใจ รวมกันเรียกวาตนหรือตัว การบังคับก็คือบังคับกายกับใจใหเรียบรอย ใหเปนไปในทางที่ถูกที่ควร ตนเปนที่รักย่ิงไมมีสิ่งอื่นใดท่ีเราจะรักยิ่งไปกวาตน เพราะรักตนมากน่ีเอง จงึ ตองหาทางบังคบั ตน อยา งเดยี วกบั “รกั วัวใหผูกรกั ลูกตอ งเฆ่ยี น” ทาํ ไมจงึ ตอ งบังคับตน เพราะตนถาไมม ีการบังคบั ตนมกั ตกไปในลักษณะตอ ไปน้ี ๑. ยกตน ๒. เหน็ แกต น ๓. อวดตน ๔. ทะนงตน ๕. ถือตน ๖. ลมื ตน ๗. ปลอ ยตน ๘. ขายตน ๙. เหยียดตน Â¡μ¹ ÅѡɳТͧ¡ÒÃÂ¡μ¹ ก็คือนึกวาตนเหนือคนอ่ืนหมด ไมมีใครสามารถเทาตน พูดจา ทับถมคนอื่น เห็นคนอื่นเลวกวาตนไปหมด ดังที่เรียกวา “ยกตนขมทาน” คนประเภทน้ีเต็มไปดวย ทิฐิมานะจัดเขาในจาํ พวกนิสัยพาลประเภทหน่ึง ซ่ึงเขาคนไมติดเขาบอนไหนแตกบอนน้ัน ลักษณะ ของคนยกตนขม ผูอ ่นื ทานวา ถา ยงั ไมม ผี ูก าํ ราบก็ยิ่งกาํ เริบ อีกประการหน่ึง ยกตน หมายถึง การตีเสมอทานหรือเทียมทาน เชน ลูกตีเสมอพอ ศิษยต เี สมอครูบาอาจารย ผนู อยตเี สมอผใู หญ เปน ตน อนั เปนลกั ษณะของผไู มร ูจักทสี่ งู ทตี่ ่าํ à˹ç á¡μ‹ ¹ àËç¹á¡‹μ¹ หรือท่ีพูดกันวา คนเห็นแกตัวน้ี ไมเหลียวแลชวยเหลือเอื้อเฟอคนอื่น เห็นความลาํ บากยากเข็ญของคนอ่ืนเปนความสําราญของตัว ขาดความกรุณาปรานีตอเพื่อนมนุษย เปนคนใจคับแคบ ตนเองปรารถนาความเอ้ืออารีจากผูอื่น อยากใหผูอ่ืนเขายื่นโยนใหแกตัว แตตนไมยอมเปนอยางนั้น เขาแบบวา “ถาเสียไมให ถาไดเปนเอา” เขาในจําพวก “เห็นแกได” ฝา ยเดยี ว คนเห็นแกต วั นบั ไดว าเปนคนมจี ิตใจไมส ะอาดเปนคนขาดจากสงั คม ขาดความนยิ มของหมู ÍÇ´μ¹ ¡ÒÃÍÇ´μ¹ ภาษาตลาดวา “โม” ลักษณะเชน น้ี เรียกอีกอยางวา อวดดี ชอบแสดงใหเ ขา เห็นวาดี โดยไมมีดีในตัว หรือมีเพียงนิดหนอย แตชอบอวดใหเห็นวามีมากเปนลักษณะของคน มปี มดอย แตอยากแสดงปมเดน เขาหลักท่วี า

๓๑ อวดกลา เปน สมบตั ขิ องคนขี้ขลาด อวดฉลาด เปนสมบัติของคนโง อวดโก เปนสมบัตขิ องคนจน ¤¹·ÃèÕ ŒÙ¹ŒÍ แตช อบอวดวา ตนรูมาก เรยี กวา อวดรู คนทม่ี รี ปู รา งไมส ะสวย แตอ ยากจะอวดใหเ ขาเหน็ วา สวย เรยี กวา อวดโก ขขี้ ลาดแตอ ยาก แสดงใหเ ขารวู า เปน คนเกง เรยี กวาอวดเกง โงแ ตชอบอวดวา รูเรียกวา อวดฉลาด หรอื โงแกมหยิ่ง รวมลักษณะของคนอวดตน คือ อวดรู อวดฉลาด อวดโก อวดเกง อวดดี เปนเร่ือง เสยี แกต วั เองทงั้ น้นั ·Ð¹§μ¹ ¤ÇÒÁ·Ð¹§μ¹ มีลักษณะผยองอยูในที่ เขาใจวาตนดีอยางเลอเลิศตางจากยกตน ตรงที่วาไมทับถมขมขี่ผูอื่น แตแสดงออกทางทาทางและทวงที อยางท่ีเรียกวาหัวสูงตางจากอวดตน เพราะอวดตนเปน ไปอยา งเรยี บๆ ไมถ งึ กบั เยอ หยงิ่ ทะนงตนมอี าการเยอ หยง่ิ จองหอง หวั สงู ดงั น้ี คอื ลกั ษณะของทะนงตน ¶Í× μ¹ ¶×Íμ¹ËÃ×Ͷ×ÍμÑÇ มีลักษณะพองหรือเบง เขาแบบ “ชูแตหางเองอา อวดอางฤทธี” ไวต วั ไมคอยจะสงุ สงิ กับใคร จะพูดกไ็ มเตม็ ใจพูด แสดงทาทางใหญโต อาการเหลา นม้ี ใี นคนท่ีถอื ตัว เหตุท่ีทาํ ใหคนถือตัว ก็คือ ถือวามั่งมีกวา ถือวาตระกูลดีกวา ถือวาความรูดีกวา ถือวาตําแหนงสูงกวา ถือวารูปรางดีกวา เปนตน เรามักพูดเองหรือไดยินคนอื่นพูดวา คนที่ถือตัว ในลักษณะตางๆ กัน เชน พูดวา ถือตัววามีเงินบาง ถือตัววาเปนลูกคนใหญคนโตบาง ถือตัววา มีความรูบาง ถือตัววามีตาํ แหนงสูงบาง ท่ีพูดดังนี้ก็เพราะผูพูดไดถูกคนประเภทถือตัว ทาํ ลวงเกิน อยา งหน่ึงอยา งใดแกเ ขาเขา หรือไมก็ไดแสดงทา ทางดหู มนิ่ หรือปน ปง กบั เขาเขา การถือตนหรือถือตัวน้ี ทานจัดเปนอุปกิเลสชนิดหนึ่งเรียกวา “มานะ” ทาํ ใหขาด ความเคารพนับถือจากผอู ื่นและเขา กบั ใครไมได เพราะความกระดา งกระเดื่องถอื ดขี องตน Å×Áμ¹ Å×Áμ¹ËÃ×ÍÅ×ÁμÑÇ พูดตามหลักวาเปนคนมัวเมา ไมรูเทาทันความเปนจริงของตนวา เม่ือตนเกิดมาแลว จะตองแกเจ็บ และตายในที่สุด มัวลุมหลงระเริงไปในทางที่ผิด ไมคิดสรางตัว ไมค ิดทําความดี อีกประการหน่ึงผูที่ลืมตนมักไมนึกถึงฐานะของตนวา แคไหน เพียงไร มักทําตน เกินฐานะที่เปนอยู จะใชจายก็ไมนึกถึงรายได เรียกวา จายเกินตัว เคยตกทุกขไดยากแลวกลับม่ังมี

๓๒ หรือพอม่ังมีก็มักจะเหลิงลืมภาวะเดิมของตนท่ีไดตกระกาํ ลาํ บากมา เหอเหิมจนถึงกับมัวเมา กลายเปน คนเมาลาภ เมายศ เมาอํานาจ ไมนึกถงึ วา ลาภ ยศ อํานาจทีต่ นไดมาน้นั อาจจะตองเส่อื ม ในภายหลัง »ÅÍ‹ Âμ¹ ¡ÒûŋÍÂμ¹ คือ ไมรักษาภาวะของตน ทําตนใหตกอยูในทางที่ต่ําเสมอมีดีอยูแลว ก็ไมรักษาความดีใหย่ังยืน ไมถือหลักคําสอนท่ีวา “จงรักษาความดีของตนเหมือนเกลือรักษา ความเค็มฉะน้ัน” ลักษณะของคนปลอยตน เชน ผูมีความรูดีไมใชความรูท่ีมีใหเกิดประโยชน กลับประกอบแตกรรมที่เปนโทษ ในที่สุดความรูก็ชวยอะไรไมได เอาตัวไมรอด ผูท่ีเกิดในตระกูลสูง ทาํ ตนเปนคนไมมีตระกูล ทําใหเสียช่ือเสียงวงศตระกูล ผูที่เคยเปนคนมีระเบียบ มีความสะอาด ละเอียดลออกลับทําตนเปนคนปลอยปละละเลย รุงรัง เลอะเทอะ หยาบ ผูท่ีเคยแตงตัวดีพิถีพิถัน ในการแตง กาย ก็ปลอยตวั เสียตนไมม ดี ี อน่ึง ผูที่ไมมีอะไรดีมาเลย ควรจะสรางตนใหดีขึ้น กลับปลอยตัวไปตามยถากรรมเชนน้ี ก็เขา อยใู นลกั ษณะของการปลอยตนเหมอื นกัน ¢ÒÂμ¹ ¡ÒâÒÂμ¹ หมายความวา ทําตนใหหมดเกียรติ ทาํ ใหเขาดูถูกตีราคาตัวใหตา่ํ ตอย เห็นแกไ ดเล็กๆ นอยๆ ทอดตนใหตกอยูใ นหว งแหงอบายมุข เชน เปนนกั เลงสรุ า เปน นกั เลงการพนนั คบคนชวั่ เกยี จครานทาํ การงาน เปน ตน คนขายตนยอมไดรับแตความอัปยศอดสู หมดความมีหนามีตา เปนที่ถูกดูหม่ิน เหยียดหยามของคนทวั่ ไป àËÂÕÂ´μ¹ àËÂÂÕ ´μ¹ËÃ×ÍËÁè¹Ô μ¹ คือ เหน็ วา ตนไมมีสมรรถภาพทจ่ี ะทําอะไรๆ ไดเสียเลยตองพ่ึง คนอ่ืนไปทุกอยางไมคิดชวยตัวเอง เริ่มจับทําอะไรเขาก็มักจะมีอาการเบื่อหนายนึกไปวาทํา ไมสาํ เร็จแนๆ แลวก็วางมือไมใชสติปญญาและความอุตสาหะเพื่อฟนฝาใหลุลวงไปได ในท่ีสุดควา น้ําเหลวตลอดชวี ิต กลายเปน คนไมม ีแกใ จท่ีจะทาํ อะไรๆ ไดเลยเพราะการเหยยี ดตน อน่งึ การเหยยี ดตน หมายถงึ การทําตนใหต่ํา เพราะชอบสมาคมคบหากบั คนเลวไมชอบ ท่ีจะสมาคมกับผรู ูหรือคนดี จงึ กลายเปน คนต่าํ ตอ ยตลอดชวี ิต μ¹ มีลักษณะและอาการที่ทําใหเปนไปไดหลายอยาง คือ ยกตน เห็นแกตน อวดตน ทะนงตน ถือตน ลืมตน ปลอยตน ขายตน และเหยียดตน ดังกลาวมาแลวน้ันและในคนหนึ่งๆ อาจมีเพียงอยางเดียวหรือหลายอยางก็ตาม ยอมทําใหความเปนคนดอยลงไปไมนอย เพราะฉะน้ัน จงึ ตองมีการบังคับตนใหอ ยใู นลักษณะที่จะทาํ ใหค วามเปน คนเดน ข้ึน

๓๓ ความรักเสมอดวยตนไมมี พระพุทธโอวาทบทนี้ใหความจริงแกเราวา อันความรัก ทั้งหลายท่ีมีอยูในตัวคน เชน รักพอแม รักญาติพี่นอง รักมิตรสหาย หรือรักคูรัก ตลอดจนรักอะไร อืน่ ๆ ก็ไมเ ทา รักตน คอื รักตัวของเรา เมื่อรักตนก็ตอ งมีวิธีทจ่ี ะทาํ ตนใหดีอยไู ดเหมือนเรารักอยา งอืน่ เราก็ตองถนอมเพื่อใหดีโดยวิธีใดวิธีหน่ึง ดังเชนรักลูก ก็ตองมีทั้งปลอบ ทั้งขู ทั้งเฆ่ียน ฉะน้นั ภาษติ โบราณจึงมีวา รกั ววั ใหผ กู รักลกู ใหเ ฆีย่ น ซ่งึ เปน วธิ หี น่งึ ท่แี สดงแกส ง่ิ ที่เรารกั การรกั ตน ก็เชน เดียวกันตอ งมีวิธีแสดงความรักแกต น คือ “¡Òú§Ñ ¤ºÑ μ¹” การบังคับตนมหี ลักและวิธกี ารดงั ตอไปนี้ ๑. คุมครองตน ๒. รกั ษาตน ๓. สอนตน ๔. ฝกตน ๕. ต้ังตน ๖. รูจ กั ตน ๗. ไมเหน็ แกตน ๘. ชนะตน ๙. โจทกต น ๑๐. พิพากษาตน ๑๑. สงวนตน ๑๒. วางตน ๑๓. ถอมตน ๑๔. สรา งตน ¤ŒÁØ ¤ÃÍ§μ¹ ¡ÒäÁØŒ ¤ÃÍ§μ¹ คอื ควบคุมตวั ใหต ้งั อยูในระเบยี บท่ีดี ไมยอมใหค วามไมดีเขา มาถงึ ตน เหมือนการคมุ ครองบานของเรา เรากไ็ มยอมใหโ จรผูรายเขาไปภายในได อน่ึง การคุมครองตน ทานหมายถึงการควบคุมกิริยาอาการที่แสดงออก เชน ยืน เดิน นง่ั นอน กนิ ทาํ พูด คิด ใหเปนไปในทางทเี่ หมาะสม ไมใ หตกอยใู นลักษณะอวดตน ทะนงตน และ ปลอยตน

๓๔ Ã¡Ñ ÉÒμ¹ ¡ÒÃÃ¡Ñ ÉÒμ¹ คือ ทําความสะอาดแกตนท้ังภายนอกและภายใน ภายนอก ไดแ ก รักษา รางกายใหหมดจด ไมใหมีมลทิน คือ เหงื่อไคลเขาจับดูหมอง และรักษาสุขภาพใหแข็งแรงปราศจาก โรคภยั เบยี ดเบยี น ภายใน ไดแ ก รกั ษาจติ ใจใหส ะอาดปราศจากมลทนิ คอื กเิ ลส คอยชาํ ระลา งใหบ รสิ ทุ ธิ์ ผอ งใสอยเู สมอ ไมใ หต กอยใู นลักษณะยกตน เหน็ แกตนและทะนงตน อนงึ่ การรกั ษาตน ไดแ ก การประคองตนมใิ หต นตกไปในอบายมขุ หรอื อปุ กเิ ลสหรอื ความ ลมจม พยายามถนอมตนเหมือนมารดาถนอมบุตรมิใหร้ินไตไรตอม ฉะน้ันถาสามารถประคองตน ใหด ตี ลอดทงั้ ๓ วยั คอื ปฐมวยั มชั ฌมิ วยั และปจ ฉมิ วยั กเ็ ชอื่ วา รกั ษาตนดว ยดตี ลอดไป ถา ไมส ามารถ จะทําดไี ดท ั้ง ๓ วยั เพราะมวั ลมุ หลงปลอ ยตนทะนงตวั เสยี ในวัยตนจะทาํ ดใี นวัยกลางหรอื ในวยั หลงั กไ็ ด ช่ือวารักษาตนอยูไดเหมอื นกัน ดงั ทีว่ า μ¹Œ ¤´»ÅÒÂμ̤处 ãªäŒ ´Œ ไมป ลอ ยตนเสียจนเอาดไี มไ ด ÊÍ¹μ¹ ¡ÒÃÊÍ¹μ¹ ก็เพื่อใหตนไดสํานึกในเรื่องควรไมควร ไมปลอยตนใหฝกใฝในทางท่ีจะนาํ ความเสียหายมาสูตน คอยหักหา มยับย้ังในเมอ่ื เห็นวา การทที่ ํา คําทพ่ี ดู ของตนจะนาํ ความหายนะมา สูตนเชนเดียวกับมารดาบิดาสอนบุตร ครูบาอาจารยสอนศิษยเพ่ือหวังใหบุตรและศิษยประพฤติตน เปนคนดี อนึ่งคนเราเม่ือสอนคนดีแลวแมจะสอนคนอ่ืนใหเขาทําในทางท่ีถูกที่ควรก็งาย เพราะตนเปน ตวั อยา งท่ดี อี ยูแลว คาํ โบราณทานกลาวไวว า “¨ÐÊ͹ʡÅμŒÍ§Ê͹μ¹àÊÕ¡͋ ¹” การสอนตนดีแลวยอมไดผลท้ังแกตนเองและผูอื่น คือ ตนเองเปนคนดี และผูอ่ืนก็ถือ แบบอยางท่ดี ีจากตนไปประพฤติ ½¡ƒ μ¹ ½¡ƒ μ¹ คอื ทําใหเ รยี บ ทาํ ใหเ ขา ระเบยี บ ทาํ ใหล ะพยศ ทําใหต รง ฝก ตนคอื ทําตนใหเ รยี บรอ ย ทาํ ตนใหเ ขา ระเบยี บ ทําตนใหล ะพยศ ทําตนใหต รง การทาํ ตนใหเ ปน ไปตามวธิ ดี งั กลา วนต้ี อ งอาศยั การ ฝกตน ดดั ตน เหมอื นชางไมตัดไมใหเ รยี บและตรง ฉะนัน้ การฝก ตนนัน้ ควรฝก ๑. ใหเ ปน คนตรงตอเวลา ๒. ใหมคี วามคิดชวยตัวเอง ๓. ใหม คี วามรักหนาที่ ๔. ใหมีจติ ใจเขม แข็ง พอทจ่ี ะตอ สกู ับอํานาจฝา ยต่ํา เม่ือฝกใหเปนไปโดยสมา่ํ เสมอแลว หนักๆ ก็ชินไปเอง ถึงคราวก็ทาํ ไปไดเองเปนอัน กําจดั ความเหน็ แกต น ปลอ ยตน ถอื ตน ลมื ตน ทะนงตน ใหห มดไป

๓๕ μ§Ñé μ¹ ¡ÒÃμÑé§μ¹ หมายความถึงต้ังตนไวในทางที่ชอบ เชนเดียวกับเรานําของที่รักที่ชอบใจ ไปต้ังไวในท่ีที่สะอาดและปลอดภัย ธรรมดาของท่ีจะนําไปตั้งตองมีฐานรองรับฉันใดการที่จะนาํ ตน ไปต้ังก็ตองมีฐานรองรับฉันน้ัน ฐานที่จะรองรับตนน้ันไดแก สุจริตคือความประพฤติทางกาย วาจา และใจ ทางกาย ไดแก ไมเบียดเบียนกัน การไมลักทรัพย การไมประพฤติผิดในทางชูสาว การไมเสพสุรายาเมา ทางวาจา ไดแก การไมพูดเท็จ การไมพูดสอเสียด การไมพูดเพอเจอ การไมพูดหยาบคาย ทางใจไดแก การไมคิดอยากไดของใครดวยความโลภ การไมคิดพยาบาท ปองรา ยใคร การเหน็ ชอบตามทํานองคลองธรรม เม่ือนาํ ตนไปตั้งไวบนฐานคือ สุจริต ดังกลาวนี้ ช่ือวา ต้ังตนไวในทางท่ีชอบเปนอัน กาํ จัดการขายตน เหยยี ดตนเสยี ได ÃÙ¨Œ ¡Ñ μ¹ ¡ÒÃèٌ Ñ¡μ¹ คือ รูจักถึงฐานะ เชน ความเปน อยู ความรู ความสามารถ ตระกลู ยศศักด์ิ และอ่ืนๆ ของตนเปนอยางดีแลวทาํ ตนใหเหมาะสมกับฐานะของตนไมมากไมนอยเกินไปทาํ ให พอเหมาะ พอควร พอดี เชนน้ีช่ือวา รจู ักตน เม่อื รูจกั ตน และทาํ ใหเหมาะสมแลว ก็เปนอนั จาํ กดั ความยกตน อวดตน ถือตน ลมื ตน และทะนงตนเสียได äÁà‹ Ëç¹á¡μ‹ ¹ ¡ÒÃäÁ‹àËç¹á¡‹μ¹ ¤×Í ¡ÒÃÌ٨ѡàÊÕÂÊÅÐ เทาท่ีสามารถจะทําได ไมเห็นแกความสะดวก สบายและประโยชนของตนเปนใหญ ตองนึกถึงผูอ่ืนไวบาง เพราะการเปนอยูของคนเราเนื่องดวย ผูอ่ืนตั้งแตเกิดจนตาย เมื่อเปนดังนี้จึงตองทาํ ตนใหเปนคนมีจิตใจกวางขวาง ไมคับแคบจนขาดจาก สงั คมเมอ่ื สงั คมตงั้ ขอ รงั เกยี จขนึ้ แลว กจ็ ะทําใหค วามเปน อยขู องตนไดร บั แตค วามอดึ อดั ไมป ลอดโปรง ขาดการเอาใจใส ถึงคราวไดร ับทกุ ขกไ็ มมีผูชว ยเหลอื การไมเห็นแกตัวทาํ ใหเปนคนกวางขวางในหมูคณะ มีผูคอยชวยเหลือ ผูกมิตร ไมมีศัตรู จิตใจสะอาด กาํ จัดความเห็นแกตวั ใหห มดไป ª¹Ðμ¹ ¡Òê¹Ðμ¹¹éÕÍ‹ٷèÕกําÅѧ㨠ตองมีใจเขมแข็งไมออนแอ เหมือนการจะเอาชนะผูอื่น ก็ตองมีกาํ ลังกายแข็งแรง กลาหาญ ชนะตนก็ตองกลาหาญเด็ดเด่ียว ตองมีความเพียรคือพยายาม ในการที่ตองทาํ เสมอ บากบ่ันในการที่ตองฟนฝา อุตสาหะในการที่ติดขัดคิดจะทําอะไรในทางที่เปน คุณประโยชน ตอ งทํา และทําใหตลอดแมก ารนั้นจะยากแสนยาก

๓๖ อน่ึง ตองเอาชนะตน ตองรั้งตนไมใหหันไปในทางท่ีผิด ขอน้ีเปนความสําคัญที่ทําให มนุษยตางจากสัตวเดรัจฉาน เพราะมนุษยรูจักตั้งตนมิใหหันไปในทางที่ผิด แตสัตวขาดคุณธรรมขอน้ี เม่ือมนั มคี วามตอ งการอะไรขึ้น มนั กต็ รงเขา ไปเอาเฉยๆ โดยไมเ กรงใจใคร ถา เขาไมใ หบางทีมันกก็ ัด หรือทํารายเอา ถามันโกรธไมชอบใจใคร มันก็ตรงเขาทําอันตรายโดยไมรั้งรอ มนุษยที่เอาชนะตน ไมไ ดก ม็ ลี กั ษณะเชน เดยี วกบั สตั วจ าํ พวกนี้ เมอ่ื ตอ งการอะไรกแ็ ยง ชงิ ลกั ขโมย มไิ ดค ํานงึ ถงึ ความเสยี หาย ของผอู นื่ สว นคนทเี่ อาชนะตน รจู กั ยบั ยง้ั ใจไมท าํ อะไรตามใจ หรอื ตามความตอ งการยอ มนกึ ถงึ ประโยชน ของผอู นื่ ดว ย การชนะตนเปน การชนะทค่ี วรไดร บั ความยกยอ งอยา งสงู ยงิ่ กวา การชนะอยา งอนื่ เปน การ ชนะกิเลสซึ่งเปนมารรายและเปนศัตรูอยางสาหัสของตน เมื่อขับไลศัตรูคือกิเลสออกไปจากตน ไดแ ลวกไ็ ดช อื่ วา มีชยั ชนะอนั เปน ความสวสั ดขี องตน ⨷¡μ ¹ ¡ÒÃ⨷¡μ¹ หมายความวา ฟองตน ติตน ทวงตน ตักเตือนตนโดยไมเขากับตน เมอ่ื เหน็ ตนดําเนนิ ไปในทางทผ่ี ดิ ตอ งจดั การฟอ งตน ตติ น ทว งตน และตกั เตอื นตนทนั ที ไมจ าํ เปน ตอ ง ใหค นอนื่ มาคอยวากลา ว และควรดูการกระทําของตนใหมากกวา ทจ่ี ะไปดกู ารกระทําของคนอืน่ และ ควรเห็นโทษของตนกอนที่จะไปมองเห็นโทษของคนอ่ืน ปกติคนเรามักมองเห็นโทษของคนอื่นงาย สวนโทษของตนมองเห็นยาก ดังคาํ กลอนท่พี ระเถระผูใหญอ งคห นงึ่ แตงไววา โทษคนอ่นื เราเห็นเปนภเู ขา โทษของเราแลไมเ ห็นเทา เสนขน ตดคนอน่ื เหมน็ เบื่อเราเหลอื ทน ตดของตนถงึ เหมน็ ไมเ ปน ไร ดวยเหตุนี้ การโจทกต นจงึ จาํ เปนแกค นท่ไี มเขากับคน เพราะเมื่อโจทกต นอยเู สมอๆ แลว กจ็ ะทําใหต นเกดิ ความละอายตนขึน้ มาเอง ไมก ลาทําในส่ิงทผี่ ิดอีกตอ ไป ¾¾Ô Ò¡ÉÒμ¹ ¡ÒþԾҡÉÒμ¹ คอื ตัดสนิ ช้ีขาด การกระทาํ ของตน เมอ่ื เห็นวา การกระทํานน้ั เปนไป ในฝายผิด แลวกลับตนใหมไมใฝใจขืนทาํ เชนนั้นอีกตอไป เหมือนนักโทษท่ีถูกศาลพิพากษา ลงโทษเพราะทาํ ความผดิ แลว กลับตน ไมป ระพฤตผิ ิดอกี กเ็ ปนการดแี กต วั เอง อน่ึง การพิพากษาตนน้ีเทากับเปนการลงโทษตัวเองเพราะความผิดเปนทางหน่ึงท่ีทาํ ให คนเราเมื่อไดรับผลกรรมของตนจะไดไมโทษโนนโทษน่ี แทนที่จะโทษอยางอ่ืนก็กลับโทษตนเองเสีย เชน เราเดนิ ไปเตะของทเี่ ขาวางไวแ ทนทจี่ ะโทษคนทเี่ อามาวางเกะกะ เรากโ็ ทษตนเองทไี่ มด ใู หร อบคอบ เราถูกฟอ งรองขึน้ โรงขึ้นศาลแทนที่จะโทษคนฟอ ง เราก็โทษตนเองทเี่ ราคงตองมีเหตทุ าํ ใหเขาฟองรอ ง

๓๗ เราถูกเขาทาํ รายแทนท่ีจะไปโทษคนทาํ ราย เราก็โทษตนเองวาเราคงตองไปทาํ อะไรแกเขาเขาบาง จนเปน เหตใุ หเ ขาทาํ รา ย เราถกู ดถุ กู วา เราคงไปทาํ อะไรมดิ มี ริ า ยขน้ึ เขาจงึ ดจุ งึ วา ดงั นเี้ ปน ตน เมอ่ื เราได พิพากษาตนเองอยางนแี้ ลว ก็เปน ทางที่จะทาํ ใหเราไดค ิดและพยายามทําแตความดีตอไป Ê§Ç¹μ¹ ¡ÒÃÊ§Ç¹μ¹ ก็เหมือนเราสงวนของท่ีรักไว เพื่อนําออกใชเม่ือคราวจําเปน เชน สงวน ของกิน ของใชไวเม่ือถึงคราวคับขันจะไดไมเดือดรอน หรือในรางกายของเรา เรามีของตองสงวน เราก็สงวนไว โดยไมยอมใหใครแตะตองได การสงวนตนก็เหมือนกัน เราสงวนเพื่อใหมีสุขภาพดี โดยเวนส่งิ ท่ีเปนโทษทางรางกาย เม่ือถึงคราวมโี รคภยั ก็จะไดม กี าํ ลงั ตานทานอยูได อนึง่ การสงวนตน ไดแ ก การระวังความชั่วที่ยังไมเกิดอยา ใหเกดิ ข้ึน พยายามละความชวั่ ทเ่ี กดิ ขน้ึ แลว ใหห มดไป พยายามทาํ ความดี เมอื่ ไดด แี ลว กร็ กั ษาไวไ มใ หเ สอื่ ม เชน เดยี วกบั เราสงวนของใช เราระวังไมใ หเปอน เมื่อเปอนกพ็ ยายามลางและซกั ฟอกแลว เกบ็ ไวมใิ หบ บุ สลาย การสงวนตนน้ี เปน คณุ ที่กําจดั การปลอ ยตนและการเหยียดตนใหห มดไป ÇÒ§μ¹ ¡ÒÃÇÒ§μ¹ ก็คือทําตนใหพอดีพองาม วางตนใหเหมาะสมกับกาลเทศะ ในกาลใด สถานท่ีใดควรวางตนอยางไร แสดงกิริยาทาทางอยางไร ควรพูดอยางไร ผูท่ีรูจักวางตัวเช่ือวา สามารถในการปกครองตวั เอง หลักของการวางตัวนน้ี าจะไดแ ก สัปปรุ สิ ธรรม ๗ ประการ คอื .- ๑. รจู กั เหตุ ๒. รจู กั ผล ๓. รจู ักตน ๔. รจู กั ประมาณ ๕. รจู ักกาล ๖. รจู กั บรษิ ัท ๗. รูจกั บคุ คล เมือ่ ต้ังอยูในหลกั ๗ ประการนี้แลว เปน อนั เขา ไหนเขา ได ไมเคอะเขนิ อน่ึง การวางตนนี้สาํ คัญท่ีสุด เพราะเปนทางมาแหงความสามัคคี และการประสาน ไมตรีระหวา งกนั และกนั ใหสนทิ แนนยง่ิ ขน้ึ การวางตัวใหถูก ยอ มกําจัดการยกตน เหน็ แกตน อวดตน และถอื ตนเสียได

๓๘ ¶Í‹ Áμ¹ ¡Òö͋ Áμ¹ ถาเปนผใู หญก ไ็ มแ สดงความย่งิ ใหญของตน ชอบที่ฟง ความคิดเห็นของผอู นื่ แมผูน้ันจะเปนคนสูงกวาตน เสมอตน หรือต่ํากวาตน ไมสาํ คัญตนวารูอะไรๆ ดี ทุกอยาง ชอบศกึ ษาและไตถ ามเพอ่ื เพม่ิ พนู ความรขู องตนใหเ จรญิ ยงิ่ ๆ ขน้ึ ถา เปน ผนู อ ยกแ็ สดงความออนนอ ม ออนโยนตอผูใหญหรือผูท่ีเสมอกับตน หรือแมตํ่ากวาตน โดยไมคํานึงถึงวาตนมีฐานะดีกวา มีความรูดีกวา มีตระกูลดีกวา เปนตน ถือหลักท่ีวา “เปนผูนอยคอยกมประนมกร เหน่ือยไปกอน คงสบายเมื่อปลายมอื ” การถอมตนนี้เปนการปลูกฝงความรัก เคารพ นับถือ และกรุณาปรานีจากผูอ่ืน และกาํ จัดความ ยกตน อวดตน ถือตน ทะนงตนใหห มดไป ÊÃÒŒ §μ¹ ¡ÒÃÊÃŒÒ§μ¹ คือ ปรับปรุงตนใหเจริญท้ังในดานอาชีพและจิตใจ ในดานอาชีพ ไดแก การกอรางสรางตัวใหมีความขยันหม่ันเพียร ไมเกียจคราน ไมงอมืองอเทา เก็บหอมรอมริบ รจู ักออมและประหยดั บากบั่นในการศึกษาเพ่ือสรางเสรมิ วิทยฐานะใหส ูงข้ึน ในดา นจติ ใจพยายามสรา งจติ ใจใหส าํ นกึ ในการอนั ควรและไมค วร สรา งกําลงั ใจใหเ ขม แขง็ เพอื่ ตอ สอู ปุ สรรคนานาชนดิ สรา งตนใหม สี มรรถภาพ สรา งความคดิ ทจี่ ะชว ยตวั เอง สรา งอาํ นาจใหเ กดิ แกตนในทางท่ีถูกธรรม เรียกวา อาศัยธรรมเปนอาํ นาจ ไมใชใชอํานาจเปนการสรางตนทําใหตน มีหลักฐาน มีความเปนอยูสบาย ไมเปนคนหลักลอยหรือที่เรียกวา “พอพวงมาลัย” ทําใหตน มกี าํ ลังใจดี มคี วามประพฤตดิ ีเปน ท่นี ยิ มนับถอื ของคนท่วั ไป หลักตางๆ ท่ีใชสาํ หรับบังคับตามท่ีกลาวมาแลวน้ี เปนวิธีที่จะทาํ ใหการปฏิบัติตน ดาํ เนนิ ไปในทางทด่ี งี ามเปน การชว ยตนใหอ ยใู นกรอบ ในหลกั ในระเบยี บ ในแบบไมเ ปน คนนอกกรอบ นอกหลกั นอกระเบียบ นอกแบบ ความจริงเรื่องของตนนี้ เปนเรื่องสําคัญมากและสําคัญกวาอยางอ่ืน ศัตรูภายนอก ท่ีวารายก็ไมรายเทาตนเปนศัตรูผูอุปการคุณอื่นๆ ท่ีคอยเก้ือกูลอุดหนุนเราหวังจะใหเราไดรับ ความสุขความเจริญ เชน มารดาบิดา ครูบาอาจารย และญาติมิตรสหาย เปนตน ก็ยังไมสาํ คัญ เทา กับตนซึง่ จะทําใหเปนทพ่ี ่งึ ของตน คนอ่นื เราพึ่งไดก ็จรงิ แตจ ะทาํ ใหดีใหช่ัวนั้นอยูที่ตน มารดาบิดา ครูบาอาจารยปรารถนาใหเราดี แตถาเราเอาดีไมได ก็หมดดีท่ีตัวเอง ย่ืนโยนใหกันไมได นอกจาก ตัวทําใหแ กต วั เอง การเปน ดังนจ้ี ึงตองบงั คบั ตนโดยวิธีดังกลา วน้นั เพ่ือความสวสั ดิแี กต น ¡¨Ô ¡ÃÃÁ·ŒÒº·àÃÂÕ ¹·Õè ô ใหผเู รยี นแบงกลมุ และวเิ คราะห ขอดี และขอเสยี จากการบังคับตนเองเพือ่ การดํารงชีวิต ประจาํ วันใหม ีความสขุ โดยทาํ เปนรายงานรูปเลม ประกอบภาพ และตรงกบั สุภาษิตบทใดของไทย

๓๙ ÀÒ¤¼¹Ç¡


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook