Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore การปรับตัวของมหาวิทยาลัยเพื่อตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงในยุค Disruption

การปรับตัวของมหาวิทยาลัยเพื่อตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงในยุค Disruption

Published by inno vation, 2021-05-18 06:40:53

Description: ปาฐกถาเกียรติยศ
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ชัชวาล โอสถานนท์

Search

Read the Text Version

11ครั้งที่ งานคร1บ3ร2อปบี ม51หาปวี ิทวันยพาลรัยะรมาหชิดทลานนาม ปาฐกถาเกียรติยศ ปศาาสฐตรกาจถารายเ์ กนาียยแรพตทิยย์ชศัชวาล โอสถานนท์ การปรับตัว ของมหาวิทยาลัยเพื่อตอบโจทย์การเปล่ียนแปลง ในยุค DISRUPTION

ปาฐกถาเกียรติยศ ปาฐกถาศเาสกตียรารจตาริยย์ศนายแพทย์ชัชวาล โอสถานนท์ การปรับตัว ของมหาวิทยาลัยเพ่ือตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลง ในยุค DISRUPTION

ปาฐกถาเกียรตยิ ศศาสตราจารย์ นายแพทย์ชัชวาล โอสถานนท์ คร้ังท่ี 11 งานครบรอบ 51 ปี วนั พระราชทานนาม 132 ปี มหาวทิ ยาลัยมหิดล เร่อื ง “การปรับตวั ของมหาวิทยาลัยเพือ่ ตอบโจทยก์ ารเปลีย่ นแปลงในยคุ Disruption” พมิ พ์ครงั้ ที่ 1 สงิ หาคม 2563 ISBN : 978-616-443-470-7 คณะผจู้ ัดท�ำหนงั สือ ทป่ี รึกษา ศาสตราจารยค์ ลนิ กิ เกยี รตคิ ณุ นายแพทยอ์ ุดม คชินทร อดีตรฐั มนตรชี ่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ศาสตราจารย์ นายแพทยบ์ รรจง มไหสวริยะ อธิการบดมี หาวิทยาลยั มหดิ ล บรรณาธิการ รกั ษาการแทน ศาสตราจารย์ นายแพทยว์ ชริ คชการ รองอธกิ ารบดฝี า่ ยวจิ ยั และวิชาการ ผอู้ �ำนวยการกองบริหารงานวจิ ยั นางสาวมณรี ัตน์ จอมพกุ กองบรหิ ารงานวิจยั นางสาวตรีระกา กจิ เนตร ปกและรูปเล่ม กองบริหารงานวจิ ยั กองบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลยั มหดิ ล จดั ท�ำโดย โทรศัพท์ 0 2849 6241-6 โทรสาร 0 2849 6247 https://op.mahidol.ac.th/ra/ เอกสารกองบรหิ ารงานวิจัย หมายเลข 111/2563

คํ า นํ า มหาวิทยาลยั มหิดล ได้รบั เกยี รตจิ ากศาสตราจารยค์ ลินิกเกยี รตคิ ุณ นายแพทยอ์ ดุ ม คชนิ ทร มาแสดงปาฐกถาเกยี รตยิ ศศาสตราจารย์ นายแพทย์ ชัชวาล โอสถานนท์ คร้ังท่ี 11 เร่ือง “การปรับตัวของมหาวิทยาลัย เพือ่ ตอบโจทย์การเปล่ยี นแปลงในยุค Disruption” มหาวิทยาลัยมหิดลจึงได้จัดท�ำหนังสือเล่มน้ีขึ้น เพ่ือเป็นที่ระลึก ในงานแสดงปาฐกถาเกยี รตยิ ศศาสตราจารย์ นายแพทยช์ ชั วาล โอสถานนท์ และหวังเป็นอย่างยิ่งที่ผู้อ่านจะได้น�ำความรู้และแนวคิดไปปฏิบัติ ซึ่งในหนังสือเล่มนี้ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์อุดม คชินทร ไดก้ ลา่ วไว้4ขอ้ ใหญว่ า่ 1) ทำ� ไมมหาวทิ ยาลยั ตอ้ งปรบั ตวั 2) การปรบั เปลยี่ น กระบวนทัศน์ทางการศึกษาใหม่ 3) การปรับเปล่ียน infra-structure หรอื องคป์ ระกอบพน้ื ฐาน และสดุ ทา้ ย 4) ทำ� อยา่ งไรทจี่ ะสรา้ งผลสมั ฤทธ์ิ ใหป้ ระสบความสำ� เรจ็ หนังสือเล่มน้ีให้ความรู้ แนวคิด และวิธีการปรับตัว วิธีการปรับ ความคดิ การเตรยี มความพรอ้ มรบั การเปลยี่ นแปลงทม่ี าถงึ ในปจั จบุ นั และ อนาคต มหาวทิ ยาลยั มหดิ ลหวงั เปน็ อยา่ งยงิ่ วา่ จะเปน็ ประโยชนแ์ กผ่ อู้ า่ น ทกุ ทา่ นทม่ี บี ทบาทสำ� คญั ในระบบการศกึ ษา เพอื่ สรา้ งคนยคุ ใหมแ่ ละสรา้ ง อนาคตเพ่ือตอบโจทย์ประเทศ ตอบโจทย์โลกน้ี และให้อยู่ได้อย่างยั่งยืน ต่อไป (ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ) อธกิ ารบดีมหาวทิ ยาลัยมหิดล สงิ หาคม 2563

ส า ร บั ญ ค�ำกล่าวรายงาน................................................................................ 6 ค�ำกล่าวเปิดงานแสดงปาฐกถาและประวัติองค์ปาฐก......................... 8 โดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ประวัติองค์ปาฐก............................................................................. 10 “การปรับตัวของมหาวิทยาลัยเพ่ือตอบโจทย์................................... 15 การเปลี่ยนแปลงในยุค Disruption” ภาคผนวก ความเป็นมาในการจัดแสดงปาฐกถาเกียรติยศฯ............................... 84 เน่ืองในวันพระราชทานนามมหาวิทยาลัยมหิดล (พ.ศ. 2542-2563) ประวัติศาสตราจารย์ นายแพทย์ชัชวาล โอสถานนท์....................... 90



ค�ำกลา่ วรายงาน ศาสตราจารย์ นายแพทยว์ ชิร คชการ รกั ษาการแทน รองอธิการบดีฝ่ายวจิ ัยและวิชาการ ประธานกรรมการฝา่ ยจัดปาฐกถาเกยี รติยศฯ 6 ปงาานฐคกรถบารเกอีบยร5ต1ิยปศีศวาันสพตรระารจาาชรทยา์ นนนายามแพ1ท32ย์ชปัชี มวหาลาวโิทอยสาถลาัยนมนหทิด์ ลครั้งที่ 11

กราบเรยี น ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์อุดม คชินทร และทา่ นผมู้ เี กยี รตทิ ุกท่าน ด้วยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลา ธเิ บศรรามาธิบดี จักรนี ฤบดินทร สยามนิ ทราธริ าช บรมนาถบพิตร ได้ทรง พระกรณุ าโปรดเกลา้ โปรดกระหมอ่ มพระราชทานนาม “มหดิ ล” ใหเ้ ปน็ นาม ของมหาวทิ ยาลยั ตง้ั แตว่ นั ที่ 2 มนี าคม พทุ ธศกั ราช 2512 ปจั จบุ นั ไดเ้ วยี นมา บรรจบเปน็ ปที ่ี 51 ของวนั พระราชทานนาม และ 132 ปี มหาวทิ ยาลยั มหดิ ล จึงจัดให้มีการแสดงปาฐกถาเกียรติยศศาสตราจารย์ นายแพทย์ชัชวาล โอสถานนท์ เปน็ ครง้ั ที่ 11 โดยมวี ตั ถปุ ระสงคเ์ พอ่ื เปน็ การเฉลมิ ฉลองถงึ ความ สำ� คัญของวันคลา้ ยวนั พระราชทานนาม “มหาวิทยาลัยมหดิ ล” และไดร้ ่วม ร�ำลึกถึง ศาสตราจารย์ นายแพทย์ชัชวาล โอสถานนท์ อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหดิ ล ในโอกาสนี้ ขอกราบเรียนเชิญท่านอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล กลา่ วเปดิ งานแสดงปาฐกถา และกลา่ วแนะนำ� ประวตั ผิ แู้ สดงปาฐกถาตอ่ ไป “การปรับตัวของมหาวิทยาลัยเพ่ือตอบโจทย์การเปล่ียนแปลงในยุค Disruption” 7

ค�แำกลละ่าปวรเะปวิดัตงผิ าแู้นแสดสงดปงปาฐากฐถกาถา โดย ศาสตราจารย์ นายแพทยบ์ รรจง มไหสวริยะ อธกิ ารบดมี หาวิทยาลัยมหดิ ล 8 งปาานฐคกรถบารเกอีบยร5ต1ิยปศีศวาันสพตรระารจาาชรทยา์ นนนายามแพ1ท32ย์ชปัชี มวหาลาวโิทอยสาถลาัยนมนหทิด์ ลคร้ังท่ี 11

กราบเรียน ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์อุดม คชินทร และทา่ นผมู้ ีเกยี รตทิ ุกท่าน ตลอดระยะเวลา 51 ปี ท่ีมหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับพระมหา กรุณาธิคุณท่ีพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลา ธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรณุ าโปรดเกลา้ โปรดกระหมอ่ ม พระราชทานนามาภไิ ธยในสมเดจ็ พระมหิตลาธิเบศร อดลุ ยเดชวกิ รม พระบรมราชชนก มหาวิทยาลัยมหิดลได้มีการพัฒนาในหลากหลายรูปแบบ เพ่ือ ประโยชนต์ อ่ แผน่ ดนิ ตามทเ่ี ราชาวมหดิ ลไดต้ งั้ จติ ปณธิ านวา่ “เราจะสบื สาน พระราชบิดา สปู่ ัญญาของแผน่ ดิน” บัดนี้ วนั ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2563 มหาวทิ ยาลัยมหิดลไดจ้ ดั แสดง ปาฐกถาเกียรติยศศาสตราจารย์ นายแพทย์ชัชวาล โอสถานนท์ เพ่ือเป็น การระลึกถึงคุณงามความดีของท่านท่ีได้เคยด�ำรงต�ำแหน่งเป็นอธิการบดี และในปีน้ี ผมในนามของมหาวทิ ยาลยั มหิดล รู้สกึ มีความยินดเี ปน็ อยา่ งยง่ิ ท่ี ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์อุดม คชินทร ได้ให้เกียรติมา แสดงปาฐกถาเกียรติยศฯ ในหัวข้อเร่ือง “การปรับตัวของมหาวิทยาลัย เพื่อตอบโจทย์การเปล่ียนแปลงในยุค Disruption” และขอแนะน�ำ ประวัตขิ องผู้แสดงปาฐกถา ดงั น้ี “การปรับตัวของมหาวิทยาลัยเพื่อตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงในยุค Disruption” 9

ประวตั ิ ศาสตราจารย์คลินิกเกยี รตคิ ณุ นายแพทย์อุดม คชินทร อดตี รฐั มนตรชี ่วยวา่ การกระทรวงศึกษาธกิ าร 10 ปงาานฐคกรถบารเกอีบยร5ต1ิยปศีศวาันสพตรระารจาาชรทยา์ นนนายามแพ1ท32ย์ชปัชี มวหาลาวโิทอยสาถลาัยนมนหทิด์ ลครั้งท่ี 11

ปก ราะรวศัตึ กิ ษ า การศึกษาระดับอดุ มศึกษา การศึกษาระดบั ปรญิ ญาตรี : พ.ศ. 2519 วทบ. (วทิ ยาศาสตรก์ ารแพทย)์ จากมหาวทิ ยาลยั มหดิ ล การศึกษาระดับปรญิ ญาโท : พ.ศ. 2521 แพทยศาสตรบัณฑิต จากคณะแพทยศาสตร์ศิริราช พยาบาล มหาวิทยาลัยมหดิ ล พ.ศ. 2525 ประกาศนียบัตรวิชาชีพช้ันสูงทางการแพทย์ จาก คณะแพทยศาสตร์ศริ ริ าชพยาบาล การศึกษาระดบั ปริญญาเอก : พ.ศ. 2527 หนังสืออนุมัติบัตรเป็นผู้มีความรู้ความช�ำนาญในการ ประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาอายุรศาสตร์ จาก แพทยสภา พ.ศ. 2545 หนังสืออนุมัติบัตรเป็นผู้มีความรู้ความช�ำนาญในการ ประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาเวชศาสตร์ครอบครัว จากแพทยสภา พ.ศ. 2547 หนังสืออนุมัติบัตรเป็นผู้มีความรู้ความช�ำนาญในการ ประกอบวชิ าชพี เวชกรรม สาขาอายรุ ศาสตร์ โรคระบบ ทางเดินอาหาร จากแพทยสภา “การปรับตัวของมหาวิทยาลัยเพื่อตอบโจทย์การเปล่ียนแปลงในยุค Disruption” 11

การศึกษาอื่น ๆ พ.ศ. 2531 - 2533 Research fellowship training in Gastroenterology at University of California, San Diego การฝกึ อบรม • Directors Certification Program รนุ่ ท่ี 211/2558, สมาคม สง่ เสริมสถาบนั กรรมการบริษทั ไทย (IOD) • Directors Accreditation Program รนุ่ ท่ี 124/2559, สมาคม ส่งเสริมสถาบันกรรมการบรษิ ัทไทย (IOD) • Executive Program “Strategy and Innovation for Businesses in Asia (SIBA)”, พ.ศ. 2559, Massachusetts  Institute of Technology Sloan School of Management ประวัตกิ ารทำ� งาน งานบรหิ าร 1. สมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 ต้ังแต่วันท่ี 11 พ.ค. 2562 - กุมภาพันธ์ 2563 2. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ต้ังแต่วันท่ี 23 พ.ย. 2560 - 8 พ.ค. 2562 3. อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ต้ังแต่วันท่ี 1 ม.ค. 2558 - 31 ก.ค. 2560 4. กรรมการสภามหาวทิ ยาลยั โดยตำ� แหนง่ (อธกิ ารบดมี หาวทิ ยาลยั มหดิ ล) พ.ศ. 2558 - 2560 12 ปงาานฐคกรถบารเกอีบยร5ต1ิยปศีศวาันสพตรระารจาาชรทยา์ นนนายามแพ1ท32ย์ชปัชี มวหาลาวโิทอยสาถลาัยนมนหทิด์ ลคร้ังท่ี 11

5. ประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ประจ�ำปี พ.ศ. 2559 6. กรรมการสภามหาวิทยาลัย จากผู้บริหารระดับคณบดี มหาวิทยาลัยมหิดล 2 วาระ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2555 - มกราคม พ.ศ. 2558 7. คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ต้ังแต่วันที่ 9 ธ.ค. 2554 - 21 ม.ค. 2558 8. ประธานคณะกรรมการอ�ำนวยการโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ ตง้ั แตว่ ันท่ี 9 ธ.ค. 2554 - 21 ม.ค. 2558 9. หัวหน้าภาควชิ าอายรุ ศาสตร์ วาระท่ี 1 ตั้งแตว่ นั ท่ี 20 ก.พ. 2548 - 19 ก.พ. 2552 วาระที่ 2 ตัง้ แต่วนั ที่ 20 ก.พ. 2552 - 8 ธ.ค. 2554 10. รองผู้อ�ำนวยการโรงพยาบาลศริ ริ าช ตัง้ แต่วนั ที่ 9 ธ.ค. 2543 - วันที่ 19 ก.พ. 2548 11. ผู้ช่วยคณบดี ฝ่ายการศึกษาหลังปริญญา คณะแพทยศาสตร์ ศิรริ าชพยาบาล ตง้ั แต่วนั ที่ 9 ธ.ค. 2534 - 8 ธ.ค. 2543 เกียรตปิ ระวัติ/รางวัลท่เี คยได้รับ 1. Best Resident Award in Internal Medicine, Siriraj Hospital 1982 2. Quality Person of the Year 2009, Faculty of Medicine Siriraj Hospital 3. ศษิ ยเ์ กา่ ดเี ดน่ สมาคมศษิ ยเ์ กา่ แพทยศ์ ริ ริ าช มหาวทิ ยาลยั มหดิ ล ประจ�ำปี 2554 “การปรับตัวของมหาวิทยาลัยเพ่ือตอบโจทย์การเปล่ียนแปลงในยุค Disruption” 13

4. เครื่องราชอิสริยาภรณ์ มหาปรมาภรณช์ า้ งเผือก พ.ศ. 2555 5. บุคลากรดีเด่น คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ประจ�ำปี 2555 6. ศิษย์เก่าดีเด่น บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ประจ�ำ ปี 2555 7. ศิษยเ์ กา่ ดีเด่น สมาคมศิษยเ์ กา่ คณะวทิ ยาศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหดิ ล ประจำ� ปี 2556 8. รางวัลนักบริหารโรงพยาบาลดีเด่นแห่งชาติประจ�ำปี 2556 โดยสมาคมนักบริหารโรงพยาบาลแหง่ ประเทศไทย 9. บุคคลคุณภาพแห่งปี 2557 ด้านสาธารณสุข โดยมูลนิธิ สภาวิทยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยแี หง่ ประเทศไทย (มสวท.) โอกาสนขี้ อเรยี นเชญิ ศาสตราจารยค์ ลนิ กิ เกยี รตคิ ณุ นายแพทยอ์ ดุ ม คชนิ ทร แสดงปาฐกถา ณ โอกาสนี้ 14 งปาานฐคกรถบารเกอีบยร5ต1ิยปศีศวาันสพตรระารจาาชรทยา์ นนนายามแพ1ท32ย์ชปัชี มวหาลาวโิทอยสาถลาัยนมนหทิด์ ลครั้งที่ 11

ปาฐกถาเกียรตยิ ศ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ชัชวาล โอสถานนท์ ครง้ั ท่ี 11 งานครบรอบ 51 ปี วันพระราชทานนาม 132 ปี มหาวทิ ยาลยั มหิดล วันที่ 2 มนี าคม 2563 เรอ่ื ง “การปรับตัวของมหาวทิ ยาลัยเพอื่ ตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลง ในยุค Disruption” ศาสตราจารย์คลินกิ เกียรติคณุ นายแพทย์อดุ ม คชนิ ทร อดตี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศกึ ษาธิการ

เรียนท่านนายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล ท่านอธิการบดี และท่าน อาจารย์อาวุโสของผมครบั อาจารยป์ รญิ ญา อาจารยม์ นตรี อาจารย์ชนกิ า ทา่ นผบู้ รหิ าร คณาจารย์ และพวกเราชาวมหดิ ลทกุ ทา่ น กอ่ นอนื่ ตอ้ งขอบคณุ ทางมหาวิทยาลัยที่ให้เกียรติเชิญผมมาเป็นผู้แสดงปาฐกถาเกียรติยศ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ชัชวาล โอสถานนท์ ในวันนี้ ผมภูมิใจ และดีใจ ที่ได้กลับมาบ้านเก่าที่มหิดลน้ีครับ วันนี้ผมคิดว่าจะมาสื่อสารเรื่องที่ส�ำคัญ อยา่ งยง่ิ เพราะวา่ จากทตี่ วั เองเคยเปน็ ผปู้ ฏบิ ตั อิ ยทู่ ม่ี หาวทิ ยาลยั และไดเ้ ปน็ รฐั มนตรี ดแู ลเรอ่ื งการอดุ มศกึ ษา และมสี ว่ นในการผลกั ดนั ใหเ้ กดิ กระทรวง การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมข้ึน ผมคิดว่าในภาพใหญ่ ที่ผมได้เห็น มันก�ำลังจะมีการเปล่ียนแปลงอย่างมากจริง ๆ ท�ำอย่างไร ที่มหาวิทยาลัยจะปรับตัวเองให้ได้ เพ่ือท่ีจะตอบโจทย์การเปล่ียนแปลง ในยุค Disruption น้ี วนั นผ้ี มอยากจะพดู คยุ ใน 4 ประเดน็ คอื 1) ทำ� ไมมหาวทิ ยาลยั ตอ้ ง ปรับตวั ผมเคยมีประสบการณต์ อนเปน็ รฐั มนตรฯี ได้ไปบรรยายมา 50-60 มหาวิทยาลัยท่ัวประเทศ ท�ำให้ทราบว่าอาจารย์มหาวิทยาลัยมีความรู้สึก ว่า มันยังไม่เปลี่ยนหรอก มันยังอีกไกล แต่มันไม่ใช่ เพราะฉะน้ันวันนี้ก็จะ พยายามทจี่ ะบอกพวกเราวา่ ทำ� ไมตอ้ งเปลย่ี น ตอ้ งปรบั 2) การปรบั เปลยี่ น กระบวนทศั นท์ างการศกึ ษาใหม่ ผมวา่ เปน็ เรอื่ งสำ� คญั ถา้ เรายงั คดิ แบบเดมิ ท�ำแบบเดิม มันไม่ตอบโจทย์ ตรงน้ีท�ำอย่างไรท่ีจะปรับกระบวนทัศน์ทาง การศกึ ษาเพอื่ จะรองรบั พลวตั ในยคุ Disruption นใี้ หไ้ ด้ 3) การปรบั เปลย่ี น infra-structure หรอื องคป์ ระกอบพนื้ ฐาน ซงึ่ มนั มเี ยอะมากแตผ่ มจะหยบิ มาแค่ 3 ประเด็นคือ หลกั สตู ร กระบวนการเรียนการสอน และบทบาทของ อาจารยผ์ สู้ อน ตอ้ งเปลยี่ นครบั และสดุ ทา้ ย 4) ทำ� ยงั ไงทจ่ี ะสรา้ งผลสมั ฤทธิ์ ให้ประสบความสำ� เร็จ ตอบโจทย์ประเทศ ตอบโจทย์โลกน้ี และต้องอยู่ได้ อยา่ งย่งั ยืนด้วยนะครบั 16 ปงาานฐคกรถบารเกอีบยร5ต1ิยปศีศวาันสพตรระารจาาชรทยา์ นนนายามแพ1ท32ย์ชปัชี มวหาลาวโิทอยสาถลาัยนมนหทิด์ ลครั้งท่ี 11

“การปรับตัวของมหาวิทยาลัยเพ่ือตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงในยุค Disruption” 17

ในประเดน็ แรกทอี่ ยากจะบอกพวกเราวา่ ทำ� ไมทา่ นตอ้ งปรบั ? ครบั จากรปู ทา่ นจะเห็นในภาพว่าเส้นประสีฟา้ น้นี ะครบั คือเปน็ การเจรญิ เตบิ โต หรือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดข้ึนจากการท่ีพวกเราทุกคนมุ่งมั่นที่จะพัฒนา ตนเอง พัฒนาองค์กร มันจะเป็น curve ประมาณน้ี แต่ตอนนี้พอมันเกิด Disruptive Innovation โดยเฉพาะทางด้านเทคโนโลยซี ง่ึ เป็น Backbone ส�ำคญั มันทำ� ให้ทุกอยา่ งเปลย่ี นอย่างรวดเร็ว มนั เป็น exponential ท�ำให้ gap เพม่ิ ขน้ึ อยา่ งมาก แลว้ ทา่ นเชอื่ ไหม อกี ไมน่ านมคี นทำ� นายวา่ มนั จะเปน็ vertical ท่านเช่ือผม มันจะเป็นจริง เพราะเทคโนโลยีมันเป็นตัว drive จริง ๆ ท�ำให้เกิดการเปล่ียนแปลงอย่างรวดเร็ว ถ้าท่านดูใน ค.ศ. 1924 เราสร้างรถใช้น�้ำมัน ณ ตอนนี้ เราก�ำลังจะเป็นรถท่ีใช้ไฟฟ้าไม่ใช้น�้ำมัน ท่านคงได้ยิน นอร์เวย์เป็นประเทศแรกเลยที่ประกาศว่าอีก 5 ปีข้างหน้า จะไม่ผลิตรถใช้น้�ำมันอีกแล้ว หลาย ๆ ประเทศก็ประกาศแล้วในยุโรป ยังไม่ทันจบนะตอนนี้ Self Driving Car ก�ำลังจะเกิดข้ึนแล้วและจะน�ำมา ใชใ้ ห้เป็นประโยชน์ด้วย ใครจะคดิ วา่ รถมันจะขับไดเ้ องได้แต่มนั เกิดขึน้ แล้ว จริง ๆ 18 ปงาานฐคกรถบารเกอีบยร5ต1ิยปศีศวาันสพตรระารจาาชรทยา์ นนนายามแพ1ท32ย์ชปัชี มวหาลาวโิทอยสาถลาัยนมนหทิด์ ลครั้งที่ 11

แต่อันน้ีคือส่ิงท่ีน่ากลัว น่ีคือพายุลูกใหญ่สมบูรณ์แบบที่ก�ำลังจะ เขา้ มา เพราะมนั มเี ทคโนโลยี 3 ตวั ใหญ่ ๆ มาเปน็ ตวั ผลกั ดนั อยา่ งรนุ แรง กค็ อื เรื่อง Block Chain พวกเรารู้แล้ว Block Chain เป็นบญั ชอี ิเล็กทรอนิกส์ ทดี่ มี ากคอื แกไ้ ขไมไ่ ด้ ปลอมแปลงอะไรกล็ ำ� บาก เปน็ ระบบทด่ี มี ากAI พวกเรา รดู้ อี ยแู่ ลว้ ผมไมพ่ ดู รายละเอยี ด และสดุ ทา้ ยคอื ตวั Quantum Computing ท�ำให้มีการประมวลผลอย่างรวดเร็วข้ึนเป็นพันเป็นหมื่นเท่า 3 อันน้ีพอมา รวมกัน จะเปล่ียน Business Model มันจะเปลี่ยนการใช้ชีวิตของเรา อยา่ งส้ินเชิงจริง ๆ ถ้าดูรายงานของ World Bank ต้ังแต่ ค.ศ. 2016 จากการท่ีมี ทงั้ 3 ตวั นี้ เรอ่ื ง Block Chain เรอื่ ง AI เรอื่ งของ Quantum Computing ท่ีเกิดขึ้นมาน้ี ขนาดยังไม่สมบูรณ์นะ มันก็มีการเปลี่ยนแปลงไปเยอะมาก “การปรับตัวของมหาวิทยาลัยเพ่ือตอบโจทย์การเปล่ียนแปลงในยุค Disruption” 19

ดงั น้ัน World Bank ได้ท�ำนายว่าระบบ automation จะเข้ามาแทนที่คน ในประเทศไทยมรี ายงาน 15 ปลี ว่ งหน้า ค.ศ. 2030 เขาวา่ คนไทยจะตกงาน 72% คอื เขาท�ำทกุ ประเทศเลย เขามีข้อมลู ยุโรปจะตกงานประมาณ 57% อเมรกิ า 47% จีน 77% เขาวเิ คราะหใ์ หเ้ ราดวู ่ามอี าชีพไหนทจี่ ะตกงานเรว็ บา้ งนอ้ ยบา้ ง ผมดีใจ medicine เขาบอกตกงานชา้ สุดครับ อยา่ งน้อยไมม่ ี ใครจา้ งผมทำ� อะไร ผมก็ยังไปประกอบอาชีพได้ แต่มันจะไมจ่ รงิ มนั เปลีย่ น มาแค่เพ่งิ 4 ปี ทบ่ี อกหมอจะไมต่ กงาน จะไมใ่ ชล่ ะครบั มีข้อมลู ให้ดู 20 งปาานฐคกรถบารเกอีบยร5ต1ิยปศีศวาันสพตรระารจาาชรทยา์ นนนายามแพ1ท32ย์ชปัชี มวหาลาวโิทอยสาถลาัยนมนหทิด์ ลคร้ังท่ี 11

นคี่ อื ขอ้ มลู ทนี่ ำ� เสนอใน World Economic Forum บอกว่า ค.ศ. 2022 คืออีก 2 ปีข้างหน้า ต�ำแหน่งงานจะหายไป 75 ล้านต�ำแหน่ง ที่ส�ำคัญคือจะมีงานเกิดใหม่ถึง 133 ล้านต�ำแหน่ง ซ่ึงเป็นงานใหม่หรือ อาชีพใหม่ท่ีไม่เคยมีในโลกนี้มาก่อน และถ้าท่านไม่เตรียมลูกศิษย์ท่าน ไว้ขา้ งหน้ามนั จะไปทำ� งานแบบนีไ้ ดอ้ ย่างไร ตรงน้ีส�ำคญั มากเลยนะครับว่า โลกมันเปลี่ยนไปเรว็ มาก แลว้ ถ้าเรา ไมป่ รบั ตวั ตอนนม้ี นั ชดั นะครบั วา่ วกิ ฤตกำ� ลงั จะเกดิ ขน้ึ พวกเราเองทอ่ี ยใู่ น สถาบนั การศกึ ษาจะตอ้ งรบั ผดิ ชอบตรงน้ี ตอนนชี้ ดั มากวา่ การอดุ มศกึ ษา ไทยไม่ตอบโจทย์ประเทศ รวมท้ังจะไม่ตอบโจทย์โลกข้างหน้า ท่ีก�ำลัง เปลยี่ นไปอยา่ งรวดเรว็ โดยเฉพาะในยคุ Disruptive Technology นี้ มคี น comment เราเยอะมาก โดยคนใช้บัณฑิต ผมเองตอนเป็นรัฐมนตรีฯ “การปรับตัวของมหาวิทยาลัยเพื่อตอบโจทย์การเปล่ียนแปลงในยุค Disruption” 21

เชิญ CEO ของบริษัทใหญ่ ๆ มาเป็นร้อยบริษัทมานั่งคุย เขาตอบเลยว่า บัณฑิตเราคุณภาพไม่ดี ความรู้ ทักษะ สมรรถนะ ไม่ได้ตอบโจทย์เขาเลย ทำ� งานก็ไม่เป็น จบจากมหาวิทยาลยั ดัง ๆ มหดิ ล จฬุ า โทษที เขาบอกต้อง ไปฝึกงานใหมอ่ ย่างน้อย 6 เดอื นครบั จ่ายเงินเดอื นเตม็ แฟรก์ ับเขาหรอื ไม่ เขาเรยี กรอ้ งมา 20 ปแี ลว้ ไมเ่ คยปรบั ใหเ้ ขาเลย วนั นบี้ อกใหค้ ณุ มารว่ มมอื กนั ตอนนี้อุดมศึกษาต้องปรับใหม่ คุณต้องรับเด็กเราไปเรียนไปฝึกงานจริง ๆ ไปท�ำงานจรงิ ๆ เรียนร้จู ากการทำ� งาน เรยี นรู้จากการปฏิบตั จิ ริง ๆ น่ันคอื ส่ิงที่จะตอบโจทย์ข้างหน้า เพราะว่าอะไร เพราะว่าความต้องการตลาด แรงงานเปล่ียนไปอย่างสิ้นเชิง ตอนน้ีเขาใช้ Digital Transformation หมดแลว้ เพราะเขาอยไู่ มไ่ ด้ ท�ำไมเขาตอ้ งทำ� Digital Transformation เพราะว่าอะไร เพราะว่ามนั ทำ� ให้เขา efficiency มากขนึ้ customer ใช้ satisfaction เพมิ่ ขึ้นครบั คุณภาพเพ่มิ ขนึ้ ดว้ ย แตเ่ ราผลิตคนแบบเดมิ ไมต่ อบโจทยเ์ ขาเลย อกี เรอื่ งหนงึ่ ทสี่ ำ� คญั กค็ อื วา่ เราไมส่ ามารถแขง่ ขนั ใน ระดบั นานาชาตไิ ด้ ถา้ ทา่ นดู World Ranking ก็ชดั มาก 800 หรอื 900 อยู่ อย่างน้ี แลว้ คณุ จะไปแข่งกบั ใครถา้ ไมย่ กระดบั ตวั เองข้ึนมาให้ได้ -2.22 22 ปงาานฐคกรถบารเกอีบยร5ต1ิยปศีศวาันสพตรระารจาาชรทยา์ นนนายามแพ1ท32ย์ชปัชี มวหาลาวโิทอยสาถลาัยนมนหทิด์ ลครั้งท่ี 11

ผมอยากให้ท่านดูนะครับว่า นี้คือ Competitiveness Ranking ยอ้ นหลัง 10 ปที ผ่ี ่านมา มี 2 องคก์ รใหญ่ ๆ ตอนนี้ท่เี ปน็ เชอ่ื ถอื ระดับโลก คอื International Institute for Management Development (IMD) กบั World Economic Forum (WEF) จะเหน็ วา่ 10 ปที ผ่ี า่ นมาประเทศไทย ไม่ได้ดีขึ้นเลยในความสามารถในการแข่งขัน ไม่ว่าจะดูกระดานไหน ไม่ดี ข้ึนเลย ความสามารถในการแข่งขันอยทู่ ่ีความสามารถพ้ืนฐานในการศึกษา โดยเฉพาะอดุ มศกึ ษาซง่ึ จะเปน็ แกนหลกั ในการผลติ คนทมี่ คี ณุ ภาพ คนทเี่ ปน็ talent คนทจี่ ะไปสร้างการเปล่ียนแปลง สรา้ ง innovation ให้ได้ เขาดูอะไรบ้าง Competitiveness Index เขาดู 4 เรื่องน้ี 1) Economic Performance 2) Government Efficiency 3) Business Efficiency และ 4) Infrastructure ปจั จยั สำ� คญั อยา่ งหนง่ึ ทเี่ ขามองคอื “การปรับตัวของมหาวิทยาลัยเพื่อตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงในยุค Disruption” 23

Education เราอยู่อันดับท่ี 56 จาก 63 ประเทศท่ีเขาจัดอันดับนี้นะครับ นี่คือการศึกษาในภาพรวม แต่ถ้าเอาเฉพาะอุดมศึกษา เราอยู่อันดับท่ี 46 จาก 63 ก็ยังถือว่าล้าหลังมาก แล้วท่านท�ำอะไรกันอยู่ ไม่คิดจะปรับให้ มนั ดีข้ึนเลยหรอื อย่างไร 10 ปีที่ผ่านมา ถา้ เราไปดู World Economic Forum เขาวเิ คราะหใ์ หเ้ สรจ็ ปที ผ่ี า่ นมา ว่าประเทศไทยมีจดุ อ่อนอยู่ 12 เรือ่ งหลกั ใหญ่ ๆ จุดออ่ นมากท่สี ดุ คอื เรือ่ ง Innovation Capability ครบั กับการสรา้ งคนทีม่ ีทักษะสูง นคี่ อื หนา้ ทขี่ อง มหาวทิ ยาลยั โดยตรง ถา้ เราไมส่ ามารถจะยกระดบั ตรงนไ้ี ด้ คณุ จะไปแขง่ กบั ใครครบั แข่งขันกับใครก็ไม่ไดใ้ นโลกนี้ นคี่ ือหน้าทข่ี องเราโดยตรงเลยครบั 24 งปาานฐคกรถบารเกอีบยร5ต1ิยปศีศวาันสพตรระารจาาชรทยา์ นนนายามแพ1ท32ย์ชปัชี มวหาลาวโิทอยสาถลาัยนมนหทิด์ ลครั้งที่ 11

ถา้ เราดแู นวโนม้ ใหญข่ องโลกตอนน้ี มนั ชดั มากวา่ ตอนนที้ กุ อยา่ งเปน็ Data-Driven Economy หมด มนั เปน็ Globalizing Knowledge-Based Economy ตอ้ งใชฐ้ านความรู้ คณุ จะมาทำ� อะไรแบบจอมปลอม ทำ� ไมไ่ ด้ อีกแลว้ ต้องมคี วามรู้ backup ความรูต้ อ้ งน�ำไปสู่การสรา้ งมลู ค่าเพมิ่ สร้าง นวตั กรรมใหไ้ ด้ ทกุ อยา่ งตอ้ งเปน็ Value-Added ณ ตอนนถ้ี า้ เราไปดทู ว่ั โลก ไมว่ า่ องค์กรไหน ไมว่ ่าจะสรา้ งผลิตภัณฑ์อะไร หรือทำ� บริการอะไร มันเปน็ Knowledge-Intensive Products หรอื Services หรอื เปน็ Innovation- Driven Products หรือ Services เท่าน้ัน ไม่อย่างนนั้ ท่านอยู่ไมไ่ ด้ “การปรับตัวของมหาวิทยาลัยเพ่ือตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงในยุค Disruption” 25

แนวโน้มใหญ่อีกเร่ืองหน่ึง ท่ีผ่านมาผมพูดไปหลายครั้งคือเรื่องของ Digital Transformation หรอื บางคนใชค้ ำ� ว่า Digitalization หรอื บางคน ใช้ค�ำหนักขึ้นไปอีกว่าเป็น Digital Revolution ตัวน้ีเป็นตัว driver หนัก จริง ๆ ที่ท�ำให้ทุกอย่างมันเปล่ียนไปอย่างส้ินเชิงท่ีท�ำให้เกิด Disruption ทเี่ ราพูดกนั อยนู่ ้ี 26 ปงาานฐคกรถบารเกอีบยร5ต1ิยปศีศวาันสพตรระารจาาชรทยา์ นนนายามแพ1ท32ย์ชปัชี มวหาลาวโิทอยสาถลาัยนมนหทิด์ ลครั้งท่ี 11

โดยเฉพาะอะไร โดยเฉพาะเรอ่ื ง Digital Technology มนั ชดั มาก วา่ ในยุคอุตสาหกรรม 4.0 นี้ Digital Technology เข้ามามบี ทบาทอยู่ท้ังหมด เลย ต้องใช้ Digital Technology ทุกอย่างเป็น Backbone เป็นพ้ืนฐาน ไม่รวมถึงเร่ือง Robot ไม่รวมถึงเร่ืองของ Big Data และ AI และถ้าท่าน จับมือเขา ดใู ห้ดีนะวา่ มันเป็น AI นะ ไมใ่ ช่คนอกี แล้ว และท่านจะแขง่ กบั เขา ได้อย่างไร ถ้าท่านยังสร้างลูกศิษย์แบบเดิม ลูกศิษย์ท่านจะไปแข่งกับ AI ได้อย่างไร แต่เราต้องเอาชนะมันให้ได้ ไม่อย่างนั้นคุณจะอยู่บนโลกน้ีไม่ได้ ผมยกตัวอย่างในฐานะที่มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นมหาวิทยาลัยที่มีจุดแข็ง ทางดา้ นสุขภาพ (health) ตนู้ คี้ อื AI นะครบั Ping An เปน็ บรษิ ทั ประกนั ภยั ครบั ใหญอ่ นั ดบั ตน้ ๆ ในประเทศจีน พอดูข้อมูลแล้ว คนมาประกันสุขภาพกับเขาเยอะมาก เขา “การปรับตัวของมหาวิทยาลัยเพ่ือตอบโจทย์การเปล่ียนแปลงในยุค Disruption” 27

ไปจับมอื กับบริษทั AI แหง่ หน่งึ สร้าง AI ตัวน้คี รับ เรียกวา่ Ping An Good Doctor เป็น Self-directed Healthcare Platform ท่ีใหญ่อันดับต้น ๆ ของโลกตอนน้ี สร้างมาต้ังแต่กลางปี ค.ศ. 2018 ถึงปัจจุบันมีคนใช้ไปแล้ว มากกวา่ 10 ลา้ นคน เขาผลิตตนู้ ี้ไป 1,000 กว่าตู้ ตดิ ต้งั ประมาณ 5 มณฑล ใหญ่ ๆ ถา้ ทา่ นเขา้ ไปทต่ี รงนี้ มนั จะซกั ประวตั ทิ า่ นเสรจ็ เลยครบั ทา่ นมอี าการ อะไรอยา่ งไร วินจิ ฉัยใหด้ ว้ ย ส่งั ยาใหด้ ว้ ย ในตมู้ ยี าอยู่ 100 รายการ ถา้ โรค ไม่ซับซ้อนและมียา ท่านจ่ายเงินและรับยาไปครับ ถ้าโรคซับซ้อนข้ึนและ ต้องใช้ยาเกิน 100 รายการ เขาจะไปผูกกับร้านขายยาไว้อีก 15,000 ร้าน รอบ ๆ บรเิ วณตนู้ ี้ ให้ทา่ นเดนิ ไปรบั ถ้าทา่ นบอก “ไม่ไปรับ” เขาจะสง่ โดย Kerry ให้ อีก 2 ชัว่ โมงถึงบ้านครบั คอื มนั ทำ� ไดจ้ ริง ๆ นะ ทผ่ี มพดู น้คี ือส่งิ ท่ีเขาทำ� มาแล้วปีกว่าเกอื บ 2 ปแี ล้ว และถา้ วนิ จิ ฉยั โรคทีม่ ันซับซอ้ นรนุ แรงข้ึน เขาผูกกบั โรงพยาบาลไวอ้ กี 3,000 โรงพยาบาล พอทา่ นไปทโ่ี รงพยาบาล AI จะสง่ ขอ้ มลู ใหห้ มอไมต่ อ้ งไปซกั ประวตั ใิ หม่ แลว้ หมอจะไม่ตกงานหรือ และกอ่ นเขาทำ� ตนู้ ้เี ขาไดพ้ ิสูจน์ทดสอบความถกู ต้อง เที่ยงตรง 3 รอบ กับแพทยร์ ะดบั ศาสตราจารย์ ไม่ใช่หมอเด็กใหมท่ ้งั หลาย ตู้ AI น้ี สามารถวินิจฉยั โรคทีไ่ มม่ คี วามซับซ้อนไดถ้ กู ต้องดกี ว่าแพทยท์ เ่ี ป็น มนษุ ย์ เหมอื นหมากรกุ หมากลอ้ มทค่ี นแพ้ AI มาตลอด และเมอ่ื ปลายปที แ่ี ลว้ Ping An ประกาศว่าจะ Built in Automatic Blood drawer ครับ Ultrasound Guided ด้วย ถ้า AI วินิจฉัยว่าต้องเจาะเลือด ท่านย่ืนแขน 28 ปงาานฐคกรถบารเกอีบยร5ต1ิยปศีศวาันสพตรระารจาาชรทยา์ นนนายามแพ1ท32ย์ชปัชี มวหาลาวโิทอยสาถลาัยนมนหทิด์ ลคร้ังที่ 11

เข้าไป มันเจาะเลอื ดเสร็จทา่ นกลบั บ้าน สกั พกั ผลจะสง่ ไปท่ีมือถอื ท่านครับ ตอนนี้ Automatic Blood drawer เริ่มมีออกมาขายแลว้ ไมต่ ้องไปนง่ั ให้ พยาบาลคว้านหาเส้นเลือดเจาะ 3-4 รอบนะครับ ในคนอ้วน ๆ แบบผม เน่ีย พยาบาลหาเสน้ ไมเ่ จอ เรอ่ื งเหลา่ นมี้ ันเกิดมาแล้วนะแล้วยงั มาบอกผม ไปพูดท่ีไหนบอกรัฐมนตรีฯ พูดเว่อร์มากเลย มันจะเกิดอะไรเปล่ียนแปลง เรว็ ขนาดนนั้ ทีผ่ มพูดนีม้ ันเป็นเรือ่ งจริง ตอนนผี้ มเองถ้ายังอยู่ทโ่ี รงพยาบาล ศิริราช จะซ้ือตู้นี้สัก 1,000 ตู้ ไปวางหน้าโรงพยาบาลศิริราชให้หมดเลย ให้คนไข้ไปตรวจที่ตู้นี้หมดเลย ตอนน้ีที่โรงพยาบาลศิริราช มีคนไข้ที่ตึก ผปู้ ว่ ยนอกวันละ 9,000 คน และตอนทีท่ า่ นอาจารย์ปยิ ะสกลอยู่ หรอื ตอน ผมอยูเ่ นี่ย เราท�ำวิเคราะห์นะครับว่า 9,000 คนนี้ จำ� เป็นต้องมาพบแพทย์ จริง ๆ สักสามหรือส่ีพันคนเท่านั้น คือประมาณ 1 ใน 3 ส่วนอีก 2 ใน 3 ไม่จ�ำเป็นต้องมาพบแพทย์ มาพบตู้น้ีพอแล้วและกลับบ้านไป หมอจะได้มี เวลาสอนนักศึกษาแพทย์ สอนแพทย์ประจ�ำบ้าน (Resident) หรือท�ำ การวิจัยเพ่ิมขึ้น นี้คือเร่ืองจริงครับ ฝากท่านอธิการบดีไว้ด้วยนะครับ และท่ีประเทศจีนนี้ตอนนี้เขาก�ำลังขยาย เพราะว่ามันตอบโจทย์ความ เหลอ่ื มลำ�้ ประเทศจนี เหมอื นบา้ นเราครบั มาโรงพยาบาลกแ็ นน่ รอควิ ตา่ ง ๆ มากมาย เขามีแผนที่จะกระจายตู้นี้ไปให้ท่ัวทุกมณฑล เป็นการตอบโจทย์ ความเลื่อมล�้ำอย่างย่ิง มันคือปัญหาใหญ่ของโลกน้ี เร่ืองความเลื่อมล�้ำ มนั ช่วยไดจ้ รงิ ๆ และหมออย่างผมจะตกงานครับ กรุณารบั เขา้ ทำ� งานด้วย มันไม่นา่ เช่ือ ตอนนี้ทุกอยา่ งมันไปเรว็ มากกว่าท่เี ราคดิ จริง ๆ “การปรับตัวของมหาวิทยาลัยเพื่อตอบโจทย์การเปล่ียนแปลงในยุค Disruption” 29

ถ้าไปดูใน Bloomberg เมื่อปลายปีท่ีแล้ว เขามีข้อมูลมาบอกเรื่อง Digital Technology ผมอา่ นแล้วดีมาก อยา่ งหนงึ่ ทีอ่ ยากจะบอก ช่องวา่ ง มันเพ่ิมขึ้นมากจากการ Disruption โดยเฉพาะ Digital gap ครับ เพราะ Digital Technology คือ Backbone ทุกอย่าง เพราะฉะน้ันตอนนี้ถ้า พวกเราไม่ช่วยกันปิดช่องว่างตรงน้ี เขาบอกไว้เลยว่า won’t be able to catch up คุณจะตามมันไม่ทัน องค์กรคุณจะสู้คนอ่ืนไม่ได้ แข่งขันกับใคร กไ็ มไ่ ด้ เพราะฉะน้นั จะตอ้ งรีบปิดชอ่ งวา่ ง ก่อนทม่ี ันจะสายเกนิ ไป 30 งปาานฐคกรถบารเกอีบยร5ต1ิยปศีศวาันสพตรระารจาาชรทยา์ นนนายามแพ1ท32ย์ชปัชี มวหาลาวโิทอยสาถลาัยนมนหทิด์ ลคร้ังท่ี 11

6 เทคโนโลยที เี่ ปน็ ตวั พลกิ ผนั มหาวทิ ยาลยั ในยคุ 4.0 ทา่ นคงทราบ แลว้ ผมจะสรุปอกี ครงั้ ดังนี้ 1. Mobile Learning ตอ่ ไปนก้ี ารเรยี นจะเรยี นบนมอื ถอื ครบั ไมต่ อ้ ง มานั่ง sit in ในหอ้ งน้อี กี แลว้ หรือในหอ้ ง lecture ไหนอีกแล้ว มนั เกิดขน้ึ แลว้ ดว้ ย แตม่ นั จะกระจายไปทว่ั โลกเปน็ impact จรงิ ๆ ลดความเหลอ่ื มลำ้� อยใู่ นปา่ ตรงไหนก็เรยี นไดข้ อใหม้ ี Wi-Fi “การปรับตัวของมหาวิทยาลัยเพ่ือตอบโจทย์การเปล่ียนแปลงในยุค Disruption” 31

2. Analytics Technologies เทคโนโลยใี นการคดิ วเิ คราะห์ ซงึ่ เปน็ พน้ื ฐานใหญท่ จ่ี ะสรา้ งความเขม้ แขง็ ในการทจี่ ะปรบั ตวั ได้ สกู้ บั Disruption ได้ คณุ ตอ้ งมเี ทคโนโลยีเรอื่ งการคิดวิเคราะห์ที่จะมาชว่ ยนะครบั 3. Mixed Reality เราจะเหน็ วา่ คอมพวิ เตอรห์ รอื วา่ ระบบเทคโนโลยี มันมาช่วยต้ังแต่เป็นช่วยเฉย ๆ ช่วยแบบเสริม และมาช่วยเป็นแบบ Automation ท�ำงานซ้�ำ ๆ ท่ีมนุษย์ไม่ต้องท�ำอีกแล้ว และสุดท้ายมันเป็น Autonomous AI คอื ไม่ตอ้ งใชม้ นุษย์ เปล่ยี นไปจริง ๆ 4. Artificial Intelligence (AI) เปน็ จดุ เนน้ วา่ นคี่ อื ความสำ� คญั จรงิ ๆ วา่ มนั จะมาแขง่ กบั คน ซง่ึ มที งั้ บวกและลบเพยี งแตเ่ ราจะตอ้ งใชป้ ระโยชนค์ รบั เราอยา่ ไปปฏเิ สธนะครับว่า AI ท�ำให้คนตกงานมันไมใ่ ช่ เราตอ้ งอยู่เหนอื AI ใหไ้ ด้นะครับ ท่านต้องปรบั ตัว 5. Blockchain Technology มคี วามสำ� คญั มาก ๆ ตอ่ ไปขา้ งหนา้ ทุกอย่างจะมาใช้ในทกุ องคก์ รครบั 6. สดุ ท้าย Virtual Assistants เทคโนโลยีผ้ชู ว่ ยเสมือน ในอนาคต ผ้ชู ่วยท่าน ๆ ไม่ตอ้ งจา้ งคนอีกแลว้ ตวั นี้ work กว่า มปี ระสิทธภิ าพมากกวา่ ตรงน้ีเป็นเร่ืองส�ำคัญ เพราะว่า 6 เทคโนโลยีนี้มันจะมาช่วยในการ สง่ เสรมิ การเรยี นรซู้ งึ่ ออกแบบมาเฉพาะในการชว่ ยเหลอื หรอื ใหค้ นปรกึ ษา ให้ข้อมูลเป็นรายบุคคล มันเก็บข้อมูลแล้ว tailormade ให้ท่านเลย ท่าน ต้องการอะไร ท่านคิดแบบไหน ณ เวลาท่ีท่านต้องการ กดปุ่ม มันออกมา ให้เสรจ็ ครบั ซึ่งจะเป็นแนวโน้มใหญ่ของการศึกษาในอนาคต เทคโนโลยีจะ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนออกแบบการเรียนรู้ของตนเองได้ ตอบโจทย์อนาคต เพราะฉะนนั้ มหาวทิ ยาลยั ตอ้ งปรบั ตวั และอาจจะตอ้ งปรบั ตวั ใหร้ วดเรว็ กวา่ ทที่ า่ นคดิ ไมอ่ ยา่ งนน้ั ทา่ นตามไมท่ นั นะครบั ตรงนจ้ี ะเปน็ ตวั ชว่ ยสรา้ งอนาคต ช่วยสร้างโอกาสส�ำหรับคนรุ่นใหม่ ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ และท่ีส�ำคัญคือ 32 ปงาานฐคกรถบารเกอีบยร5ต1ิยปศีศวาันสพตรระารจาาชรทยา์ นนนายามแพ1ท32ย์ชปัชี มวหาลาวโิทอยสาถลาัยนมนหทิด์ ลคร้ังที่ 11

จะเปน็ แหลง่ เรยี นรใู้ นการทจี่ ะปรบั เปลยี่ นทกั ษะคนทำ� งาน ปจั จบุ นั นค้ี นทำ� งาน กเ็ รมิ่ ๆ out date เพราะเขาเรยี นมาแบบเกา่ แตม่ ี Digital Transformation ไปแลว้ ตรงนีท้ �ำอยา่ งไร มหาวิทยาลยั ต้องเปน็ ทพี่ ง่ึ ของคนทกุ ชว่ งวัย วยั ทำ� งานดว้ ย วยั สงู อายุ เพราะตอนนมี้ นั กำ� ลงั กา้ วเขา้ สยู่ คุ เศรษฐกจิ อตั โนมตั ิ แต่เราจะต้องท�ำอย่างไรให้เราสามารถปรับตรงนี้ได้ มีความยืดหยุ่นได้ และจะต้องท�ำให้มีความยั่งยืนด้วยนะครับ ตรงน้ีเป็นส่ิงท่ีอยากจะฝาก พวกเราว่า ท่านจะต้องไปคิดครับ ท่านจะต้องเตรียมตัว เตรียมแผนตั้งแต่ วนั นี้ ไมใ่ ชร่ ออกี 5 ปี 10 ปแี ลว้ เกดิ ความเสยี หาย ทา่ นอยไู่ มไ่ ดห้ รอกนะครบั สง่ิ ที่ผมคิดคือ Disruption ทมี่ ันมผี ลต่อเรา อนั น้กี ลบั มาดภู าพจรงิ ผมอยากใหท้ า่ นดูเร่อื ง demand supply ส่งิ น้ีเปน็ สิ่งทีเ่ ปน็ หนา้ ท่ีท่านต้อง ชว่ ยประเทศ เพราะ demand supply ผมน�ำขอ้ มลู จริง ๆ มาให้ท่านดเู ลย “การปรับตัวของมหาวิทยาลัยเพ่ือตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงในยุค Disruption” 33

นะครบั ภาพนเ้ี ปน็ ขอ้ มลู ซงึ่ สำ� นกั งานเลขาธกิ ารสภาการศกึ ษาวเิ คราะหแ์ ละ น�ำเสนอ ที่จะเป็นส่วนหน่ึงของแผนการศึกษาแห่งชาติ ท่านดูครับ ตอนนี้ เดก็ แรกเกดิ ประมาณ 850,000 คน 20 ปที แ่ี ลว้ เดก็ ไทยเกดิ ปลี ะ 1.1 ลา้ นคน ปัจจุบนั เหลือประมาณ 7-8 แสนคน มนั หายไปเกอื บ 5 แสน เพราะฉะนัน้ จ�ำนวนเด็กมัธยมถึงลดลง เมื่อท่านดู TCAS ขณะนี้ว่างแสนกว่าท่ีน่ังครับ ไมม่ เี ดก็ มาเรยี น แลว้ มหาวทิ ยาลยั อยไู่ ดย้ งั อยา่ งไรครบั ทา่ นตอ้ งปรบั ตวั จบ มธั ยมศึกษาปีที่ 3 หรอื เทียบเท่า มีประมาณสัก 8 แสนคน จบมธั ยมศึกษาปี ท่ี 6 ประมาณ 6 แสนคน จบอดุ มศกึ ษาเหลอื 3 แสนคน นค้ี อื จำ� นวนครา่ ว ๆ ตัวเลขกลม ๆ แล้วคนเหล่าน้ีไปอยู่ไหนบ้าง คนที่เกิดมาท้ังหลายน้ีมีอยู่ 4 กลุ่ม กลมุ่ หนึ่งคือพวกที่จบอุดมศึกษา โอเคก็ไปอยู่ในภาคราชการ ธุรกจิ อุตสาหกรรม มีวฒุ ิปริญญา ประมาณสกั 3-5 ลา้ นคน อกี กลมุ่ หนึ่งก็ไปเป็น ผปู้ ระกอบวชิ าชพี อสิ ระ เชน่ เปน็ แพทย์ เปน็ วศิ วกร อกี สองกลมุ่ ใหญ่ คอื กลมุ่ ทเ่ี ปน็ ประชาชน เกษตรกร แรงงานทไี่ มม่ วี ฒุ กิ ารศกึ ษา ประมาณ 31-32 ลา้ น คน นนั้ เปน็ วยั ทำ� งาน และวยั ทา่ น อกี กลมุ่ คอื ตรงนค้ี รบั สเี ขยี วนคี้ รบั วา่ อยใู่ น ภาคการผลติ ภาคบรกิ าร ทไ่ี มม่ วี ฒุ กิ ารศกึ ษา ไมม่ วี ฒุ วิ ชิ าชพี แตต่ อนนกี้ ำ� ลงั ตอ้ งการพฒั นาทกั ษะครบั เพราะมนั เรม่ิ out date โรงงานเขาเอาเทคโนโลยี มาใช้หมดแลว้ เปน็ Digital Transformation เขาทำ� ไม่เป็น ไม่เคยเรียนมา 31-32 ล้านคน เหมือนกันครบั ตรงนี้ นี่คอื Blue ocean ของมหาวิทยาลัย และเป็นส่ิงที่จะต้องท�ำ เพื่อจะช่วยประเทศเพื่อเอาคนพวกนี้มา re skill, up skill มา retrain ใหม่ แลว้ สง่ เขา้ ตลาดแรงงานใหม่ ตอบโจทยอ์ นาคตใหไ้ ด้ ตอบโจทยค์ วามตอ้ งการของตลาดแรงงานซง่ึ เปลย่ี นไปแล้วครับ 34 งปาานฐคกรถบารเกอีบยร5ต1ิยปศีศวาันสพตรระารจาาชรทยา์ นนนายามแพ1ท32ย์ชปัชี มวหาลาวโิทอยสาถลาัยนมนหทิด์ ลครั้งท่ี 11

เป็นข้อมูลท่ีส�ำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ วิเคราะห์ให้ว่า ตอนนี้ถ้าเราเอา 10 อุตสาหกรรมมุ่งเป้าเป็นหลัก ตาม นโยบายปฏริ ูปประเทศ Thailand 4.0 เรอื่ งกำ� ลังคนสำ� คัญมาก 70% ของ กำ� ลังคนท้ังหมดน้ี ไมต่ ้องการปริญญาครับ ส่วนทตี่ อ้ งการชา่ งฝีมือ ตอ้ งการ มืออาชีพ ต้องการนายช่าง ต้องการวิศวกรผู้เช่ียวชาญ ที่ไม่ต้องการ จบปริญญา ต้องการจบปริญญาแค่ 30% เองครับ เพื่อไปเป็นที่ปรึกษา หรอื ไปเปน็ อาจารย์แบบพวกเรานี้ เปน็ ผู้เชี่ยวชาญจรงิ ๆ นค่ี อื กำ� ลงั คนของ ประเทศเรา ภาพมันออกมาแบบนี้ แต่ตอนน้ีเรา reverse กันอยู่ เราผลิต อดุ มศกึ ษา ผลติ ปรญิ ญา 70-80% เลย แตต่ อนนโ้ี ลกมนั เปลยี่ นแลว้ มนั ไมใ่ ช่ นะครับ “การปรับตัวของมหาวิทยาลัยเพื่อตอบโจทย์การเปล่ียนแปลงในยุค Disruption” 35

ภาพนใ้ี หท้ า่ นดตู วั เลขจรงิ ทเี่ ขาคำ� นวณมาใหจ้ ากสำ� นกั งานเลขาธกิ าร สภาการศึกษา นค่ี ือ 10 อุตสาหกรรม 2S curve พวกเราทราบกนั ดีอยแู่ ล้ว ข้างบนเป็น Supply ท่ีเราผลิตได้อยู่ตอนน้ี ใน 10 อุตสาหกรรม แบ่งเป็น Degree กับ Non-Degree ข้างล่างคือ Demand ของตลาดแรงงานใน ปัจจุบัน นี้คือข้อมูล พ.ศ. 2563 ที่เขาค�ำนวณมา มันมีความท่ีไม่ match กนั เยอะมาก ท่านดอู ันน้ีนะเชื้อเพลิงทางชวี ภาพ ความตอ้ งการสูงมากผลิต ไดน้ ิดเดียว ดจิ ิทัลความตอ้ งการตรงน้ีนะครบั วงกลมนีค้ ือจ�ำนวนเปน็ ขนาด ความต้องการ เราผลิตจ�ำนวนมากเลยตอนนี้ คนแห่เรียนเร่ืองน้ีกันมากแต่ ตกงาน ไม่มีคุณภาพบ้าง ไม่ตอบโจทย์จริง ๆ นะครับ การบิน โลจิสติกส์ ความตอ้ งการมสี งู มากแตม่ นี ดิ เดยี วนะครบั แพทยผ์ ลติ ไดม้ ากครบั แตค่ วาม ต้องการจริง ๆ ไมไ่ ด้เยอะมากแลว้ นะครบั หุ่นยนต์ความตอ้ งการยงั สูงมาก ผลิตได้นิดเดียว การท่องเท่ียวเราผลิตมากเลยคนแห่มาเรียนกันมากมาย 36 ปงาานฐคกรถบารเกอีบยร5ต1ิยปศีศวาันสพตรระารจาาชรทยา์ นนนายามแพ1ท32ย์ชปัชี มวหาลาวโิทอยสาถลาัยนมนหทิด์ ลครั้งท่ี 11

เป็น Non-Degree มีประกาศนียบตั รจากทกุ มหาวทิ ยาลัย สถาบนั ราชภัฏ เปดิ ทกุ แห่งเลย แต่วา่ ตกงานครับ เพราะ demand มันมีอยแู่ คน่ ้ี เกษตรซ่งึ เป็น Backbone ของประเทศเราเป็นคนที่เขาทำ� เกษตรจรงิ ๆ กบั เกษตรท่ี เป็นอาหารมีการน�ำผลิตภัณฑ์มาแปรรูป เกษตรตอนน้ีตกงานครับ แต่ส่ิง ส�ำคญั ตอนนีค้ ือตอ้ งแปรรูป ตอ้ งสรา้ งมลู ค่าเพิ่ม ความต้องการมากแต่ผลติ ได้นิดเดียว นี้คือภาพที่อยากให้ท่านเห็นครับว่าเราท�ำด้าน supply side อย่างเดียวไม่ได้แล้ว ท่านต้องตอบ demand ของประเทศให้ได้ ท่านต้อง ช่วยประเทศครับ ไม่อย่างน้ันท่ีต้องการกลับไม่ผลิตให้ ผลิตมาแล้วก็ยังมี คุณภาพก็ต�่ำ นค้ี อื ตัวเลขจรงิ ๆ ซ่ึงใช้ในการวางแผนประเทศน้ี ทา่ นไปดไู ด้ ในเว็บไซต์สำ� นักงานสภาการศกึ ษาได้ครับ “การปรับตัวของมหาวิทยาลัยเพื่อตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงในยุค Disruption” 37

อยา่ งทผี่ มพดู 70% ไมต่ อ้ งการปรญิ ญา และตอนนส้ี ถานประกอบการ หรือภาคอุตสาหกรรมเขาชัดมากบริษัทใหญ่ ๆ 4 บริษัท เขายกเป็น ตัวอย่างว่าเขารับสมัครงานไม่สนใจปริญญาอีกแล้ว และตอนน้ีไม่ได้มีแค่ 4 บรษิ ทั มเี ปน็ หมน่ื เปน็ แสนบรษิ ทั ทวั่ โลกครบั ตอนน้ี ใช้ strategy นห้ี มด วา่ ถา้ คณุ ไมต่ อบโจทยเ์ ขาคณุ ไมม่ พี ลงั ความสามารถทจ่ี ะไปสรา้ งการเปลย่ี นแปลง คุณมีแต่ความร้มู า ท�ำอะไรไม่เปน็ เขาไมร่ ับนะครับ ผมยกตัวอย่างให้ท่านดู นี้คือข้อมูลเม่ือปีที่แล้วนะ ค.ศ. 2019 Tim Cook ซีอโี อของ Apple กบั ซีอีโอของ CNN ประกาศวา่ คร่ึงหนงึ่ ของ คนทีร่ ับใหม่ไม่จบปริญญา เพราะเขาบอกวา่ มันมี skill ต่าง ๆ ตรงกบั สิ่งท่ี เขาต้องการมากกว่า เขาจะรับคนท่ีมีทักษะสมรรถนะ ซึ่งจะ get the job done ให้ได้ ทจ่ี ะไปพัฒนาองคก์ รเขาให้ได้ สรา้ งการเปลย่ี นแปลงได้ ใหเ้ ขา 38 ปงาานฐคกรถบารเกอีบยร5ต1ิยปศีศวาันสพตรระารจาาชรทยา์ นนนายามแพ1ท32ย์ชปัชี มวหาลาวโิทอยสาถลาัยนมนหทิด์ ลคร้ังที่ 11

แข่งกับบริษัทคู่แข่งให้ได้ เขาไม่สนหรอกคุณจะมีปริญญาหรือไม่มีปริญญา และมนั เป็นอย่างน้นั จริง ๆ เม่ือไปสำ� รวจบริษทั ใหญ่ ๆ ทั่วโลกจะมนี โยบาย ว่า do not require that employees have a college degree น่ีคอื trend ใหม่ครับ เพราะฉะนัน้ เรายงั มาตั้งหลกั สตู รปริญญาโน่น นี่ นัน่ ท่านไม่ตอบโจทย์ครับ เด็กจะตกงานแน่นอนครับ เพราะฉะนั้นตอนน้ีท่าน จะต้องปรับกระบวนทัศน์ใหม่ ไม่อย่างนั้นท่านไม่ตอบโจทย์อะไรท้ังส้ินเลย แล้วทา่ นจะอยไู่ ดอ้ ยา่ งไร “การปรับตัวของมหาวิทยาลัยเพ่ือตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงในยุค Disruption” 39

ต่อไปนี้กระบวนการเรียนรู้ของคนจะเปล่ียนไป Agrarian คือยุค ดั้งเดิม ตั้งแต่ยุคท�ำเกษตรที่มีการเพาะปลูกเป็นหลัก มีการเรียนพ้ืนฐาน ชว่ งสัน้ ๆ แลว้ ไปท�ำงานเลย อายเุ ฉลยี่ ของคนยคุ นน้ั คือ 50 ปี ยคุ หลงั ปฏิวตั ิ อุตสาหกรรมแรก ๆ ถึงปัจจบุ นั ตอ้ งเรียน ๆ ไปถงึ อายุ 22 ปี ถึงไปท�ำงาน แล้วก็ retire อายุ 60 ปี ยุค 4.0 คือตั้งแต่ ค.ศ. 2020 เป็นต้นไป คนจะ เรยี นจากการทำ� งาน เรยี นไปด้วยทำ� งานไปดว้ ย จะมี first employment เขากะว่าอายุประมาณ 45 ปี จะต้องกลับมาเรียนใหม่เพราะว่าเทคโนโลยี เปลย่ี น โลกมนั เปลี่ยนหมด มนั ทำ� งานต่อไม่ได้ มี second education และ มี second employment ซ่ึงตรงน้ีอาจจะเปล่ียนงานด้วย เปลี่ยนความ เชย่ี วชาญดว้ ย Key กค็ อื วา่ เรยี นรจู้ ากการปฏบิ ตั ิ เรยี นรจู้ ากการทำ� งานครบั ไมใ่ ชม่ าเรยี นในมหาวทิ ยาลยั แลว้ ทา่ นจะอยตู่ รงไหน คำ� วา่ Education ตรง 40 งปาานฐคกรถบารเกอีบยร5ต1ิยปศีศวาันสพตรระารจาาชรทยา์ นนนายามแพ1ท32ย์ชปัชี มวหาลาวโิทอยสาถลาัยนมนหทิด์ ลคร้ังที่ 11

น้ีคือเป็น self-directed education เป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเอง Google ชว่ ยไดม้ าก เรียนจาก Google ท่านจะเรียนหรือจะทำ� อะไรทีท่ ่านไม่เคยท�ำ มาก่อน ท่านเปิด YouTube ท่านเปิด Google ก็สามารถเรียนหรือท�ำได้ ทกุ อยา่ ง แลว้ ถามว่ามหาวทิ ยาลยั จะท�ำใหเ้ ขารู้มากกวา่ Google หรอื ไม่ ผมว่าตรงนเ้ี ปน็ เร่ืองส�ำคัญ อยากใหท้ ่านดภู าพนี้นะครับว่า Future work การทำ� งานขา้ งหนา้ นี้ ในประเทศทกี่ ำ� ลงั พฒั นากบั ประเทศพฒั นาแลว้ มันต่างกันจริง ๆ ประเทศท่ีก�ำลังพัฒนา Routine work ท�ำโดยคน แล้วตอนนี้ดีข้ึนเล็กน้อย เริ่มมี Machine มี Automation มาช่วย หลักการคือจ�ำ เขา้ ใจ แคน่ ั้นเอง ใช้เป็นพ้นื ฐาน ไม่ต้องมคี วามคิดวิเคราะห์ อะไร แตใ่ นโลกของประเทศทพ่ี ฒั นาแลว้ Routine work ตอ้ งน้อยลง มัน ต้องเป็น Creative work ต้องสร้างมูลค่า ต้องมี Innovation ต้องอาศัย “การปรับตัวของมหาวิทยาลัยเพ่ือตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงในยุค Disruption” 41

เร่ืองของการคิดวเิ คราะห์ Critical thinking เรอ่ื ง Innovation จะต้องทำ� Complex problem-solving ได้ Entrepreneur ได้ มี Social skill ที่ ท�ำงานกับคนอื่นได้ น้ีคืออนาคตข้างหน้าครับ การเรียนรู้มันจะเปล่ียนไป อยา่ งมาก เพราะฉะนนั้ ในศตวรรษท่ี 21 ผมอยากจะสรปุ ตรงนวี้ า่ การเรยี นรู้ มนั เปลยี่ นไปอยา่ งสน้ิ เชงิ การทม่ี คี น มอี นิ เทอรเ์ นต็ มนั เปลย่ี นไปทงั้ สน้ิ ทำ� ให้ คนมีกระบวนการเรียนรู้เปลี่ยนไปอย่างมาก ไม่ต้องมานั่งเรียนในระบบ ไม่ตอ้ งมาเรียนประถม มัธยมด้วย มันข้ามขัน้ ได้เลยครบั ตอนนส้ี ง่ิ สำ� คญั ทอ่ี ยากจะบอกพวกเราวา่ เราตอ้ งเปลย่ี นจาก Supply side เป็น Demand side คุณต้องเอาผู้เรียนเป็นหลัก ว่าเขาอยากเรียน อะไร คณุ ต้องตอบโจทยเ์ ขา ไม่อย่างนนั้ เขาไม่มาเรียนกบั คณุ เขามตี ัวเลือก 42 งปาานฐคกรถบารเกอีบยร5ต1ิยปศีศวาันสพตรระารจาาชรทยา์ นนนายามแพ1ท32ย์ชปัชี มวหาลาวโิทอยสาถลาัยนมนหทิด์ ลครั้งที่ 11

มากมาย ตอ้ งเอาสถานประกอบการเป็นหลกั ว่าเขาตอ้ งการบณั ฑติ มที กั ษะ สมรรถนะแบบไหน คณุ ตอ้ งสอนให้ตรง ใหเ้ ขาไปท�ำงานได้เลย ตรงน้สี ำ� คญั นค่ี อื การพฒั นาอาชพี ดว้ ยนะ เปลยี่ นจาก Supply side เปน็ Demand side และตอนน้ีเด็กเรียนรู้มาหมดแล้วมากมาย คุณแทบไม่ต้องไปสอนซ้�ำ ไม่ได้ ประโยชนเ์ ลย รายวชิ าท่เี รียนไปแล้ว ชีวติ นไี้ ม่เคยใช้ ไมต่ ้องไปสอน เด็กจะ ไมม่ าเรยี นกบั คณุ นคี่ อื เรอ่ื งจรงิ ครบั เดก็ สมยั ใหม่ เพราะฉะนนั้ ทา่ นตอ้ งเตมิ เตม็ สงิ่ ทเี่ ขาขาด ทา่ นต้อง Customize ให้เขา ท่านต้องทำ� เป็น Personalized Education ครบั ใหต้ อบโจทย์ความต้องการของเขา ให้เขาไปพัฒนาได้ ไป ท�ำอาชีพได้ มีรายไดใ้ หไ้ ด้ แต่ละคนจะไมเ่ หมอื นกันแล้ว มนั ไม่เหมือนสมัย ผมกับท่านตอนสอบเขา้ มหาวทิ ยาลัยนะ จ�ำ เขา้ ใจมาหวั กลวง ๆ สอบเข้าได้ ไม่มีอะไรอยู่ในหัวนะ ตอนน้ีไม่ใช่ เด็กมัธยมตอนน้ีท่าน ๆ ดูสิว่าเขาเรียนรู้ มาเยอะนะครบั แม้แตเ่ ด็กบา้ นนอก ผมเองตอนเปน็ รัฐมนตรฯี ไปโรงเรยี น ตา่ งจงั หวดั หลายแหง่ มาก โรงเรยี นอยกู่ ลางปา่ กลางเขา กม็ อี นิ เทอรเ์ นต็ ใหใ้ ช้ เดย๋ี วนี้ทกุ โรงเรียนมอี ินเทอร์เนต็ หมด เขาไดเ้ รียนรตู้ ่าง ๆ มามากพอสมควร แล้วครับ เขาไม่ใช่ว่าไม่มีพ้ืนฐานเลยแบบเรานะ ส่ิงนี้เป็นส่ิงส�ำคัญที่อยาก ให้ท่านเข้าใจนะ ไม่ได้ ต้องเรียน 154 หน่วยกิต คือมันไม่ใช่อีกแล้ว และ ตอ่ ไปการเรยี นรจู้ ะเปน็ การเรยี นรจู้ ากการปฏบิ ตั ิ จากประสบการณจ์ รงิ เปน็ Experience-Based Learning ครับ ไม่ใช่เรียนในห้องเรียน ต้องไปเรียน นอกหอ้ งเรียนครับ เรยี นนอกระบบ มันถงึ จะเกดิ การคดิ วิเคราะห์ เกดิ การ สร้าง Innovation ได้ และต่อไปจุดมุ่งหมายของมหาวิทยาลัยต้องเน้นทุก ช่วงวยั นะครบั ทา่ นจะเนน้ แตเ่ ดก็ มธั ยม 2 แสน 3 แสนคน ท่านมเี กา้ อีว้ า่ ง อกี ต้ังแสนทีน่ ่ัง เดก็ มธั ยมคอื งาน Routine ทตี่ ้องท�ำ แตไ่ ม่ใชเ่ ปา้ ใหญ่ เป้า ใหญ่ของท่านคือคนวัยทำ� งาน 35 - 40 ลา้ นคน ตอ้ งมา re skill, up skill “การปรับตัวของมหาวิทยาลัยเพ่ือตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงในยุค Disruption” 43

ครับ retrain ใหม่ คนสูงอายุครับ ท่านเอามาใช้ให้เป็นประโยชน์ครับ มี ความรทู้ กั ษะมาก แต่ว่าเทคโนโลยไี ม่ได้ เอามาสอน Digital Technology ใหมน่ ะครบั แลว้ ทา่ นจะชว่ ยเขาใหเ้ ปน็ ประโยชนก์ บั องคก์ รไดน้ ะครบั เอาคน สูงอายุมา recycle และท่ีส�ำคัญคือต่อไปน้ีการเรียนในระบบ จะลดความ สำ� คญั ลง เขาจะไมส่ นใจปรญิ ญา เพราะสถานประกอบการไมม่ องแลว้ วา่ จะ จบจากท่ีไหน มหิดล จุฬา Harvard หรือ MIT เหมือนกันท่ัวโลก ไม่สน อีกแล้ว เขาจะดูว่าคณุ มี Competency ตอบโจทยบ์ ริษทั เขาหรือไม่ เพราะฉะนน้ั ตอนนก้ี ระบวนการเรยี นรตู้ อ้ งเปลย่ี นครบั คณุ ตอ้ งเรยี น รู้สิ่งใหม่ ๆ ต้อง relearn คือเรียนรู้ส่ิงใหม่ อาจจะเรียนรู้สิ่งเดิม แต่ด้วย มุมมองใหม่ มันถึงจะเกิด outcome แบบใหม่ แล้วจะต้องไม่ยึดติดครับ อาจารยม์ หาวทิ ยาลยั ตรงนเี้ ยอะมาก เรยี นจบ Ph.D. เรอ่ื งนเี้ มอ่ื 20 ปที ่แี ล้ว 44 งปาานฐคกรถบารเกอีบยร5ต1ิยปศีศวาันสพตรระารจาาชรทยา์ นนนายามแพ1ท32ย์ชปัชี มวหาลาวโิทอยสาถลาัยนมนหทิด์ ลครั้งที่ 11

รู้แต่เรื่องน้ีสอนแต่เร่ืองนี้อย่างอ่ืนสอนไม่เป็นแล้ว ท้ังท่ีหลักสูตรตัวเองก็มี คนเรียน 3 คน 5 คน ตอ่ ไปปดิ หมดครบั เชือ่ ผมนะ จะต้องรจู้ ักไม่ยดึ ติด ทา่ น นายกสภาฯ พดู เรอ่ื งนก้ี บั ผมนะ ตอ้ งละ วางบา้ ง ไมย่ ดึ ตดิ นะ ตอ้ งเอาธรรมะ มาช่วย กระบวนการต้องเปลี่ยนต้องอยู่นอกห้องเรียน เริ่มเรียนจากการใช้ ความคดิ เพราะการเรยี นจากการปฏบิ ตั มิ นั จะเหน็ ปญั หาตลอด ครตู อ้ งเปลยี่ น หนา้ ทเ่ี ปน็ ถาม ไมต่ อ้ งสอน ถามคอื สอน กระตนุ้ ใหเ้ ขาคดิ ใหเ้ ขาไปหาคำ� ตอบ มาให้ได้ เรียนด้วยความกระตือรือร้น ครูต้องช้ีแนะอยู่ห่าง ๆ เป็น coach หรือเป็น mentor หัดให้คิดนอกกรอบ ให้เน้นเรื่องความคิดสร้างสรรค์ นี่ คอื บณั ฑติ ในอนาคตทจี่ ะตอบโจทยป์ ระเทศตอ่ ไป และสงิ่ เหลา่ นที้ า่ นปลกู ฝงั ไปในตัวเขา เขาจะไปปรบั เปล่ยี นตัวเองได้เม่อื เขาเผชิญกบั Disruption “การปรับตัวของมหาวิทยาลัยเพ่ือตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงในยุค Disruption” 45

ผมชอบ Jack Ma พดู อันนม้ี ากเลยครบั Jack Ma พดู ตอนท่เี ขาจะ วางมือ เขาไปพูดใน World Economic Forum เขามาวางมือประมาณ เดือนกันยายน เขาพูดตอนเดือนมกราคมเม่ือปีท่ีแล้ว Jack Ma บอกว่า Education must change to empower future generations เขา มองถึงข้างหน้าให้คนรุ่นใหม่ ส�ำคัญมากนะครับ เขาบอกว่าจะต้อง stop teaching knowledge จากประสบการณ์เขา คุณต้องหยุดสอน คุณต้อง ท�ำตัวเป็น facilitator และที่ส�ำคัญก็คือว่าจะสอนอย่างไรให้ตัว Machine ตัว Automation ท้ังหลาย มันสู้เราไม่ได้ เขามีความรู้สึกว่าเราต้องเหนือ กว่าเครื่องมือ เครือ่ งจกั ร หรือ Automation เขาเน้นเรอ่ื ง soft skills นะ ครับ soft skills เป็นเรอื่ งสำ� คัญ เป็นตวั ทจ่ี ะบรู ณาการการเรยี นรูแ้ ละท�ำให้ เกดิ จนิ ตนาการ เกดิ Imagination และไปสรา้ ง Innovation เรอ่ื งของคณุ คา่ เรอ่ื ง Believing เรอื่ ง Independent Thinking, Teamwork และ Care for others คอื อยากใหค้ นอนื่ ดขี น้ึ อยากใหโ้ ลกนมี้ นั ดขี น้ึ เพราะฉะนน้ั วชิ าตา่ ง ๆ ท่ีเราคิดว่ามันไม่ส�ำคัญมันไม่ใช่ ตัวนี่เป็นตัวที่จะ nurture หรือบ่มเพาะ คนคนนนั้ ไมว่ ่าจะเปน็ กีฬา ดนตรี วาดรูป ศิลปะ ฯลฯ ท�ำใหค้ นมคี วามเป็น คนและท�ำงานอย่างมีความสุข ตรงน้ีเป็นเรื่องส�ำคัญนะ เป็นเร่ืองท่ีอยาก จะเนน้ กับพวกเรานะครบั 46 ปงาานฐคกรถบารเกอีบยร5ต1ิยปศีศวาันสพตรระารจาาชรทยา์ นนนายามแพ1ท32ย์ชปัชี มวหาลาวโิทอยสาถลาัยนมนหทิด์ ลครั้งท่ี 11

เพราะฉะนั้นในมุมมองของผม อุดมศึกษาข้างหน้าท่าน เป้าหมาย สุดท้ายของการจัดอุดมศึกษาไม่ใช่ปริญญาอีกต่อไป แต่จะเป็นการจัดการ ศกึ ษาเพอ่ื สรา้ งใหค้ นมอี าชพี มรี ายได้ มงี านทำ� ตอ่ ไปนเ้ี ดก็ ทจี่ บ ม.3 ม.4 มา ถ้าเขาอยากจะมาเรียน ต้องให้มาเรียน เด็กเขาไปท�ำ Start up แล้วยัง จะไม่รับเด็กมาเรียนได้อย่างไร เขาต้องการจะมาเติมเต็มอะไรบางอย่างท่ี เรียนจาก Google ไม่ได้ ตรงน้ีคืออนาคตข้างหน้าครับ เพราะนั้นทุกอย่าง ต่อไปข้างหน้าจะเป็นเรื่องของ Training เป็นเร่ืองของ Non-Degree เน้นทักษะ สมรรถนะมากกวา่ วชิ าการ โดยกระบวนการเรยี นรู้คือ เรียนจาก การทำ� งาน จากการปฏบิ ตั จิ รงิ ในสถานประกอบการ หรอื ภาคอตุ สาหกรรม และทา่ นจะตอ้ ง tailor made ใหเ้ ดก็ เปน็ Personalized Higher Education เน้นเรื่องการสร้าง Innovation การสร้างมูลค่าเพิ่ม ส่งเสริมการเรียนรู้ ตลอดชวี ติ ของคนทกุ ชว่ งวยั และการศกึ ษานค้ี อื เปน็ ทกุ อยา่ งนะครบั ในการพฒั นา ทุกอย่าง โดยเฉพาะพัฒนาคน การศึกษาคือ หัวใจของการพัฒนาคนให้มี คุณภาพครับ ท่านต้องสร้างคนที่มีคุณภาพให้สามารถแข่งขันกับคนอ่ืนได้ คนเป็นศูนย์กลางของทุกอย่างจรงิ ๆ ครับ “การปรับตัวของมหาวิทยาลัยเพ่ือตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงในยุค Disruption” 47

ผมอยากจะย้�ำกับพวกเราครับว่า อาวุธท่ีเราจะชนะคู่แข่ง ไม่ว่าจะ เปน็ คนหรือเปน็ องคก์ รคอื คณุ ภาพ คณุ ภาพจะประกอบดว้ ย 3 มติ ิใหญ่ ๆ ครบั 1) ความรู้ & นวตั กรรม คอื แนน่ อนทา่ นตอ้ งมคี วามรู้ ทา่ นตอ้ งสรา้ ง นวตั กรรมใหไ้ ด้ ไมอ่ ยา่ งนน้ั ทา่ นไมม่ คี ณุ ภาพ ทา่ นแขง่ กบั ใครไมไ่ ด้ ซงึ่ เกดิ จากการศกึ ษาและการวจิ ยั 2) ทกั ษะ & สมรรถนะ ซงึ่ เกดิ จากการฝกึ อบรม 3) ทศั นคติ & คณุ คา่ ซงึ่ เกดิ จากตอ้ งเสรมิ สรา้ ง รวมทง้ั คณุ ธรรมจรยิ ธรรม ดว้ ยครบั ถา้ เกง่ และโกงไมไ่ ดป้ ระโยชนต์ อ่ องคก์ รหรอื กบั ประเทศเลย ซง่ึ ตอนน้ี เร่ืองทัศนคติ & คุณค่า (Attitude and Value) ถ้าเราไปดูองค์กรทั่วโลก ให้ความส�ำคญั ตรงนมี้ ากครบั เพราะตรงนี้ส�ำคญั ว่าจะทำ� ให้องคก์ รขยบั ไป ขา้ งหน้าหรอื ไม่ และจะอยู่ไดอ้ ย่างย่ังยนื หรือไม่ ก็ฝากไวน้ ะครบั วา่ 3 มติ นิ ้ี เร่ืองของคุณภาพ ผมลืมพูดก็คือว่าสุดท้ายนี้ แน่นอนว่าคนเราต้องเรียนรู้ 48 งปาานฐคกรถบารเกอีบยร5ต1ิยปศีศวาันสพตรระารจาาชรทยา์ นนนายามแพ1ท32ย์ชปัชี มวหาลาวโิทอยสาถลาัยนมนหทิด์ ลคร้ังที่ 11

ตลอดชีวิต เพราะบางอย่างวิชาการ 5 ปีก็ล้าสมัยแล้ว เทคโนโลยีก็ล้าสมัย เพราะฉะนนั้ ทา่ นตอ้ งใฝร่ ู้ ตอ้ งปรบั ตวั เอง มคี วามสนใจทจ่ี ะตอ้ งเรยี นรใู้ หม่ ๆ ปรับเปลยี่ นตวั เองอย่ตู ลอดเวลา 10 ทักษะท่ีจ�ำเป็นในศตวรรษท่ี 20 ซึ่ง Present ใน World Economic Forum เมอื่ เดอื นมกราคมทผ่ี า่ นมา 10 ทกั ษะ ท่เี ขาเน้นว่า เปน็ ทกั ษะในศตวรรษที่ 20 คอื 1) แกป้ ญั หาซบั ซอ้ นได้ 2) คดิ ในเชงิ โตแ้ ยง้ เป็นไม่ใช่คิดแล้วก็ตามผู้น�ำไปหมดไม่เจริญ 3) มีความคิดสร้างสรรค์ “การปรับตัวของมหาวิทยาลัยเพื่อตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงในยุค Disruption” 49