Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore 2. หลักสูตรนายสิบอาวุโส

2. หลักสูตรนายสิบอาวุโส

Published by ตำราเรียน, 2019-11-16 17:50:34

Description: 2. หลักสูตรนายสิบอาวุโส _ปรับปรุง ๕๗

Search

Read the Text Version

๑ กองทพั บก วชิ า การศาสนาและศลี ธรรม หลักสูตรนายสิบอาวโุ ส (RELIGION AND MORALITY ADVANCE NCO COURSE) จดั ทาํ โดย กองอนุศาสนาจารย์ กรมยทุ ธศกึ ษาทหารบก เม่ือ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๗

ข คํานาํ ตําราวิชาการศาสนาและศีลธรรม หลักสูตรนายสิบอาวุโสเล่มนี้ กองอนุศาสนาจารย์ กรมยุทธศึกษาทหารบก ได้รวบรวมเรียบเรียง เพ่ือใช้เป็นหลักฐานทางวิชาการ และประกอบ การเรียนการสอนในหลักสูตรนายสิบอาวุโส ของโรงเรียนเหล่าสายวิทยาการ และหน่วย จดั การศึกษาของกองทัพบก เน้ือหาสารธรรมในตําราเล่มนี้ มีเนื้อหาเก่ียวกับพระพุทธศาสนากับสังคมไทย, หลักธรรม เก่ียวกับการครองตน ให้เป็นคนดี มีความสุข, หลักธรรมเกี่ยวกับการครองคน ในการใช้ชีวิตใน สังคม, หลกั ธรรมเก่ียวกบั การครองงาน ในการประกอบอาชีพ, วัฒนธรรมและเอกลักษณข์ องชาติ ท่ีควรรู้และนําไปปฏิบัติ, ศาสนพิธีของชาวพุทธท่ีควรรู้และนําไปปฏิบัติได้จริง และแบบทดสอบ ความรู้ความเข้าใจ หลังจากศึกษาจบแล้ว เน้ือหาสารธรรมในตําราเล่มน้ี นอกจากจะเป็น ประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าของผู้เข้ารับการศึกษาแล้ว ยังมุ่งประโยชน์ต่อผู้สนใจใน พระพุทธศาสนาท่ัวไปอีกด้วย ซ่ึงผู้ศึกษาสามารถนําไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดําเนิน ชวี ติ ประจาํ วนั และการปฏบิ ตั หิ นา้ ทีใ่ นฐานะกาํ ลงั พลของกองทัพบกอีกด้วย กองอนุศาสนาจารย์ กรมยุทธศึกษาทหารบก หวังเป็นอย่างย่ิงว่า ตําราเล่มน้ีจะเป็น ประโยชนต์ อ่ การศึกษาวชิ าการศาสนาและศีลธรรม หลกั สตู รนายสิบอาวโุ ส และเป็นประโยชน์ต่อผู้ ทีส่ นใจวชิ าการด้านพระพทุ ธศาสนาทว่ั ไป กองอนุศาสนาจารย์ กรมยทุ ธศกึ ษาทหารบก ตลุ าคม ๒๕๕๗

ค สารบญั เรอ่ื ง หนา้ ที่ คํานาํ ก ขอบข่ายการสอนและแนวการสอนวชิ าการศาสนาและศลี ธรรม หลกั สูตรนายสิบอาวุโส ข-ค บทท่ี ๑ พระพุทธศาสนากบั สังคมไทย ๑ ๑. พระพทุ ธศาสนาเขา้ สู่ประเทศไทยในยุคตา่ งๆ ๒ ๒. พระพุทธศาสนากบั ชาตไิ ทย ๓ ๓. การบริหารคณะสงฆไ์ ทย นิกายสงฆ์ ภารกจิ คณะสงฆ์ และบทบาทของวัดและพระสงฆ์ ๕ ๓.๑ การบรหิ ารคณะสงฆ์ ๕ ๓.๒ นิกายสงฆ์ ๑๓ ๓.๓ ภารกจิ ของคณะสงฆ์ ๑๔ ๓.๔ บทบาทของวดั และพระสงฆ์ ๑๔ ๔. ความสําคัญของพระพทุ ธศาสนาในฐานะเป็นสถาบันหลกั ของสังคมไทย ๑๕ บทท่ี ๒ หลักการครองตน เปน็ คนดี มีความสุข ๑๘ ๑. เบญจศีล-เบญจธรรม ๑๙ ๒. กศุ ลกรรมบถ ๑๐ ๓๔ ๓. อบายมุข ๓๕ ๔. อกศุ ลมลู ๓ และ กุศลมลู ๓ ๓๙ ๕. การคบมติ ร (มิตรแท้ ๔, มิตรเทียม ๔) ๓๙ ๖. ทฏิ ฐธมั มกิ ัตถประโยชน์ ๔ ประโยชนใ์ นปจั จุบัน (การสรา้ งตวั ) ๔๑ ๗. บญุ กริ ิยาวัตถุ ๓ ๔๒ ๘. สปั ปุริสธรรม ๗ ๔๔ ๙. อบุ าสกธรรม ๕ ๔๕ ๑๐. มจิ ฉาวณิชชา ๕ ๔๙ ๑๑. อารยวัฑฒิ หรืออารยวฒั ิ เคร่ืองวดั ความเจรญิ ของชาวพุทธ ๔๙ ๑๒. นาถกรณธรรม ธรรมะเพอื่ ใหบ้ คุ คลพง่ึ ตวั เองได้ ๕๐ บทท่ี ๓ หลกั การครองคน ๕๑ ๑. พรหมวหิ าร ๔ คณุ ธรรมสําหรับผ้ใู หญ่ ๕๒ ๒. อคติ ๔ ๕๒ ๓. สงั คหวตั ถุ หลักสร้างมนษุ ยสมั พันธ์ ๕๒ ๔. ฆราวาสธรรม ๔ ๕๔

๕. สขุ ของคฤหัสถ์ ความสขุ สมบรู ณข์ องผคู้ รองเรือน ๔ ประการ ง ๖. กลุ จริ ัฏฐติ ธิ รรม ๔ ๗. สาราณยี ธรรม ๖ หลกั การอยรู่ ว่ มกนั , ธรรมเปน็ ทีต่ งั้ แหง่ ความใหร้ ะลกึ ถงึ กัน ๕๖ ๘. ทศิ ๖ หลกั มนุษยสมั พนั ธ์ ๕๗ ๕๙ บทท่ี ๔ หลักการครองงาน ๕๙ ๑. อทิ ธบิ าท ๔ ๒. โกศล ๓ ๖๓ ๖๔ บทท่ี ๕ วฒั นธรรมและเอกลักษณ์ของชาติ ๖๖ ๑. วฒั นธรรมของชาติ ๒. เอกลักษณข์ องชาติ ๖๗ ๓. มารยาทชาวพุทธ ๖๘ ๗๐ บทที่ ๖ ศาสนพธิ ี ๗๒ ๑. พธิ ีทําบญุ ท่วั ไป ๒. คาํ กลา่ วอาราธนาในพทุ ธศาสนพิธี ๗๖ ๓. วนั สําคัญทางพระพทุ ธศาสนา ๗๗ ๓.๑ วันวิสาขบูชา ๘๗ ๓.๒ วนั มาฆบชู า ๙๐ ๓.๓ วันอาสาฬหบชู า ๙๐ ๓.๔ วนั เข้าพรรษา-วันออกพรรษา ๙๓ ๙๔ เอกสารอา้ งองิ ๙๕ ภาคผนวก ๙๗ ๙๘ แบบประเมนิ ความรู้หลังเรียน ๙๙ คณะกรรมการตรวจชาํ ระตํารา ๑๐๕ ----------------------------------------

๑ บทท่ี ๑ พระพทุ ธศาสนากบั สังคมไทย ................................................................................................................................... สาระการเรยี นรู้ ๑. พระพทุ ธศาสนาเข้าสู่ประเทศไทยในยคุ ต่างๆ ๒. พระพทุ ธศาสนากบั ชาตไิ ทย ๓. การบริหารคณะสงฆ์ นกิ ายสงฆ์ ภารกิจของคณะสงฆ์ และบทบาทของวัดและพระสงฆ์ ๔. ความสาํ คัญของพระพุทธศาสนาในฐานะเป็นสถาบันหลักของสังคมไทย วตั ถุประสงค์ เมือ่ ศึกษาบทเรียนนี้จบแลว้ ผเู้ ข้ารบั การศกึ ษาสามารถ ๑. เข้าใจประวตั ศิ าสตร์พระพุทธศาสนา ทเี่ ผยแผเ่ ขา้ สู่ประเทศไทยใน ๔ ยุค ๒. เขา้ ใจความสาํ คญั ของพระพทุ ธศาสนากับชาตไิ ทย ๓. เข้าใจการบรหิ ารคณะสงฆ์ นิกายสงฆใ์ นประเทศไทย ภารกิจของคณะสงฆ์ และบทบาทของวัดและ พระสงฆท์ ี่มีต่อสงั คมไทย ๔. เข้าใจและเหน็ ความสาํ คัญของพระพทุ ธศาสนาในฐานะเป็นสถาบันหลกั สถาบันหน่งึ ของสงั คมไทย กิจกรรมระหวา่ งเรียน ๑. บรรยาย ๒. สอบถาม ๓. ใบงาน ส่ือการสอน ๑. เพาเวอร์พอยท์ ๒. เอกสารตํารา ๓. คลิปวีดโิ อทเ่ี กยี่ วข้อง ประเมินผล ๑. ให้ตอบคําถาม ๒. แบบทดสอบหลงั เรยี น

๒ ๑. พระพทุ ธศาสนาเขา้ ส่ปู ระเทศไทยในยคุ ตา่ งๆ พระพุทธศาสนาได้ถูกนํามาเผยแผ่ในประเทศไทย ต้ังแต่แผ่นดินไทยทุกวันน้ี ยังเป็นอาณาจักร ทวาราวดี ซ่ึงในสมัยเดียวกันนั้น ชาวไทยตั้งภูมิลําเนาอยู่ในผืนแผ่นดินที่เป็นประเทศจีนเด๋ียวนี้ และเป็นที่คาด กันวา่ คนไทยไดเ้ รม่ิ นบั ถือพระพทุ ธศาสนา ตง้ั แต่คร้ังนนั้ บ้างแลว้ ความเป็นมาของพระพุทธศาสนาในประเทศไทย อาจแบง่ ออกได้เป็น ๔ ยคุ คอื ๑. ยคุ เถรวาทแบบสมัยอโศก ๒. ยุคมหายาน ๓. ยุคเถรวาทแบบพุกาม ๔. ยุคเถรวาทแบบลงั กาวงศ์ ยคุ ที่ ๑ เถรวาทแบบสมัยอโศก พ.ศ. ๒๑๘ พระเจ้าอโศกมหาราช ทรงอุปถัมภ์การสังคายนาครั้งที่ ๓ ณ พระนครปาฏลีบุตร หลังจากเสร็จสิ้นการสังคายนาแล้ว ได้ทรงส่งพระสงฆ์ไปประกาศพระศาสนาในดินแดนต่างๆ รวม ๙ สาย บรรดา ๙ สายน้ัน พระโสณะและพระอุตตระ เป็นสายหน่ึง (คัมภีร์สมันตปาสาทิกาอรรถกถาแห่งพระวินัยปิฎก นับเป็นสายที่ ๘ แต่คัมภีร์ศาสนวงศ์นับย้อนเป็นสายท่ี ๒) นําพระพุทธศาสนาไปประดิษฐานในอาณาจักร สุวรรณภูมิ ซึ่งสันนิษฐานกันว่าได้แก่จังหวัดนครปฐม โดยมีโบราณสถานและโบราณวัตถุต่างๆ เช่น พระปฐมเจดีย์ เป็นต้น เปน็ ประจกั ษพ์ ยานอย่จู นบัดน้ี (พมา่ วา่ สวุ รรณภมู ไิ ด้แกเ่ มอื งสะเทิม ในพมา่ ภาคใต)้ ยุคท่ี ๒ ยคุ มหายาน พ.ศ. ๖๒๐ พระเจ้ากนิษกมหาราช ทรงอุปถัมภ์การสังคายนาคร้ังที่ ๔ ของฝ่ายมหายาน ณ เมือง ชลันธร และทรงส่งสมณทูตออกประกาศพระศาสนาในอาเซียกลาง เป็นต้น คราวนั้น พระเจ้าม่ิงตี่ ทรงนํา พระพุทธศาสนาจากอาเซียเข้าไปเผยแผ่ในประเทศจีน และได้ทรงส่งทูตสันถวไมตรีมายังขุนหลวงเม้า กษัตริย์ ไทยผู้ครองอาณาจักรอ้ายลาว คณะทูตได้นําพระพุทธศาสนาเข้ามาด้วย ทําให้หัวเมืองไทยทั้ง ๗๗ เมือง มี ราษฎร ๕๑,๘๙๐ ครอบครัว หนั มานับถอื พระพุทธศาสนาเปน็ ครงั้ แรก พ.ศ. ๑๓๐๐ กษัตริย์แห่งศรีวิชัยในเกาะสุมาตราเรืองอํานาจ แผ่อาณาเขตเข้ามาถึงจังหวัด สุราษฎรธ์ านี กษตั รยิ ศ์ รวี ชิ ยั ทรงนับถอื พระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน จึงทาํ ใหพ้ ระพุทธศาสนาฝา่ ยมหายานเผยแผ่ เข้ามาในภาคใต้ของประเทศไทย ที่อยู่ในอาณาจักรของพระองค์ ดังมีเจดีย์พระธาตุไชยา และพระมหาธาตุ นครศรธี รรมราช เปน็ ประจักษ์พยานถึงบดั น้ี พ.ศ. ๑๕๕๐ กษัตริย์กัมพูชา ราชวงศ์สุริยวรมัน เรืองอํานาจ แผ่อาณาเขตลงมาท่ัวภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางของประเทศไทย และตั้งเมืองละโว้หรือลพบุรี เป็นเมืองหลวงเมืองหนึ่ง สําหรับปกครองดินแดนแถบนี้ (จึงเรียกสมัยน้ีว่า สมัยลพบุรี) กษัตริย์กัมพูชาทรงนับถือพระพุทธศาสนาฝ่าย มหายาน ซ่ึงได้เผยแผ่ต่อข้ึนมาจากอาณาจักรศรีวิชัย แต่มหายานสมัยน้ีปนเปผสมกับศาสนาพราหมณ์มาก ประชาชนถ่ินน้ีจึงได้รับพระพุทธศาสนา ทั้งแบบเถรวาทท่ีสืบมาแต่เดิม กับมหายานและศาสนาพราหมณ์ ท่ีเข้า

๓ มาใหม่ ทาํ ให้มีผูน้ บั ถอื ท้ังสองแบบ และมีพระสงฆ์ทัง้ ๒ นกิ าย ภาษาสันสกฤตก็เขา้ มาเผยแผ่ มีอิทธิพลในภาษา และวรรณคดีไทยมากตง้ั แตบ่ ัดนั้น ยคุ ที่ ๓ เถรวาทแบบพุกาม พ.ศ. ๑๖๐๐ พระเจ้าอนุรุทธมหาราช หรืออโนรธามังช่อ กษัตริย์พุกามเรืองอํานาจขึ้น ทรงปราบ รามัญ รวมพม่าเข้าได้ท้ังหมด แล้วแผ่อาณาเขตเข้ามาถึงอาณาจักรล้านนา ล้านช้าง จรดลพบุรี และทวาราวดี พระเจ้าอนุรุทธะทรงเล่ือมใสในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ทรงทํานุบํารุงและเผยแผ่พระพุทธศาสนา ด้วย พระราชศรัทธาอยา่ งแรงกลา้ ย้อนกล่าวถึงชนชาติไทยในจีน ถูกจีนรุกราน อพยพลงมาทางใต้ตามลําดับ หลังจากอาณาจักร อ้ายลาวสลายตัว ก็ได้มาตั้งอาณาจักรน่านเจ้า คร้ันถึงประมาณ พ.ศ. ๑๒๙๙ ขุนท้าวกวา โอรสขุนบรมแห่ง อาณาจกั รน่านเจา้ ได้มาตั้งอาณาจักรโยนกเชียงแสนในสุวรรณภูมิ กาลเวลาผ่านไป คนไทยก็กระจัดกระจายอยู่ ทั่วภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางของประเทศไทยปัจจุบัน เมื่ออาณาจักรกัมพูชาเรือง อํานาจ คนไทยที่อยู่ในเขตอํานาจขอม ได้รับศาสนาวัฒนธรรมขอมไว้ด้วย ส่วนคนไทยในอาณาจักรล้านนาคือ ภาคพายัพได้รับอิทธิพลขอมน้อย แต่เมื่ออาณาจักรพุกามแผ่เข้ามาครอบงําคนไทยในถ่ินน้ี ซึ่งนับถือ พระพุทธศาสนาสืบๆ มาอยู่แล้ว ก็รับนับถือพระพุทธศาสนาแบบพุกาม จนเจริญแพร่หลายข้ึนท่ัวไปใน ฝ่ายเหนือ ยคุ ท่ี ๔ ยุคเถรวาทแบบลังกาวงศ์ พระพุทธศาสนาในยุคนี้ คือแบบที่นับถือสืบมาเป็นศาสนาประจําชาติของไทยจนถึงปัจจุบัน สําหรับ ยุคน้ี มรี ายละเอียดที่ปรากฏในประวตั ิศาสตร์มากกว่ายุคก่อนๆ พ.ศ. ๑๘๐๐ ระยะน้ี อาณาจักรพุกามและกัมพูชาเส่ือมอํานาจลงแล้ว คนไทยตั้งตัวเป็นอิสระขึ้นได้ ทางเหนือเกิดอาณาจกั รล้านนา ใตล้ งมาเกิดอาณาจกั รสุโขทัย ย้อนกล่าวทางฝ่ายพระพุทธศาสนา ในประเทศลังกา พ.ศ. ๑๖๙๖ พระเจ้าปรากรมพาหุมหาราช ขึ้น ครองราชย์ ทรงปราบทมิฬ ทําบา้ นเมืองให้เป็นปึกแผ่น ทรงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา รวมพระสงฆ์เข้าเป็นนิกาย เดียว และโปรดให้มีการสังคายนาครั้งท่ี ๗ ขึ้น พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองในลังกาทวีป ทั้งการศึกษาและ ปฏิบัติ พระสงฆ์ประเทศต่างๆ เดินทางไปศึกษาธรรมวินัยและบวชแปลงใหม่ แล้วกลับไปเผยแผ่ พระพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์ในประเทศของตน บ้างก็นิมนต์พระลังกามาด้วย สําหรับประเทศไทย พระสงฆไ์ ทยและลังกาเชน่ นี้ ไดม้ าตงั้ สาํ นกั เผยแผอ่ ยู่ ณ เมอื งนครศรธี รรมราช ไดร้ บั ความนบั ถอื อยา่ งรวดเรว็ ๒. พระพทุ ธศาสนากับชาติไทย พ.ศ. ๑๘๒๐ พ่อขุนรามคําแหง เสด็จข้ึนครองราชย์ ทรงสดับกิติศัพท์ของพระสงฆ์ลังกาวงศ์แล้ว อาราธนาพระมหาเถรสังฆราช จากนครศรีธรรมราชเข้ามาพํานัก ณ วัดอรัญญิก ในกรุงสุโขทัย พระพุทธศาสนา แบบลังกาวงศ์ก็รุ่งเรืองแต่น้ันมา เบื้องต้นยังมีพระสงฆ์ ๒ พวก คือ คณะสงฆ์เดิมกับคณะสงฆ์ลังกาวงศ์ แต่ใน ที่สุดได้รวมเข้าเป็นนิกายเดียวกัน ส่วนพระพุทธศาสนามหายานก็เสื่อมแล้วสูญไป ในรัชกาลนี้ได้นํา พระพุทธสิหิงค์ ซึ่งสร้างในลังกาข้ึนมาจากนครศรีธรรมราชไว้ ณ กรุงสุโขทัยด้วย (ชินกาลมาลีปกรณ์ว่า ได้

๔ พระพุทธสิหิงค์มาใน พ.ศ. ๑๘๐๐ รัชกาลพ่อขุนศรีอินทราทิตย์) ศิลปะแบบลังกาเริ่มเข้ามาแทนที่ศิลปะแบบ มหายาน เช่น เจดีย์พระมหาธาตุนครศรธี รรมราช แปลงรูปเป็นสถูปแบบลังกา เปน็ ต้น พ.ศ. ๒๐๒๐ พระเจ้าติโลกราช โปรดอุปถัมภ์จัดการสังคายนาคร้ังที่ ๑ ของประเทศไทย หรือนับต่อ จากลงั กาเป็นครั้งที่ ๘ ทีว่ ดั โพธารามหรอื วัดเจ็ดยอด พ.ศ. ๒๓๒๕ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดให้ประชุมพระสงฆ์และราชบัณฑิต ทํา การสงั คายนาครงั้ ท่ี ๙ ณ วัดมหาธาตุ เสร็จแลว้ คัดลอกสร้างเป็นพระไตรปิฎกฉบบั หลวง เรียกว่า ฉบับทองใหญ่ ต่อมาทรงสร้างเพ่ิม ๒ ฉบับคือ ฉบับรองทอง และฉบับทองชุบ โปรดให้มีการสอนพระปริยัติธรรมใน พระบรมมหาราชวัง ตลอดจนตามวังเจ้านายและบ้านข้าราชการผ้ใู หญ่ พ.ศ. ๒๓๖๐ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงมีพระราชดําริกับด้วยสมเด็จ- พระสังฆราช (มี) ให้ทําพิธีวิสาขบูชา เป็นครั้งแรกในกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นนักขัตฤกษ์ใหญ่ของปี และโปรดให้มี การสังคายนาสวดมนต์ใน พ.ศ. ๒๓๖๓ ในรัชกาลน้ี สมเด็จพระสังฆราช (มี) ได้ขยายหลักสูตรการเรียนการสอน ภาษาบาลจี าก ๓ ชน้ั (๓ ช้ัน คือ เปรียญตรี–โท–เอก) เป็น ๙ ประโยค พ.ศ. ๒๓๙๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จข้ึนครองราชย์ พระชนม์ได้ ๔๗ พรรษา (ภายหลังจากผนวชอยู่ได้ ๒๗ พรรษา) ทรงโปรดให้มีพิธีมาฆบูชา ขึ้นเป็นคร้ังแรกใน พ.ศ. ๒๓๙๔ ทรงสร้าง พระไตรปิฎกฉบับล่องชาด ทรงอุปถัมภ์สงฆ์ญวน นับเป็นการให้ความรับรองเป็นทางการแก่พระพุทธศาสนา ฝา่ ยมหายานขน้ึ ใหมเ่ ปน็ คร้ังแรก พ.ศ. ๒๔๑๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จข้ึนครองราชย์ ต่อมาวันที่ ๒๔ กันยายน ๒๔๑๖ ไดท้ รงผนวชอยู่ ๑๕ วนั ณ วดั พระศรีรตั นศาสดาราม พ.ศ. ๒๔๓๑ โปรดให้พิมพ์หนังสือพระไตรปิฎกด้วยอักษรไทย จบละ ๓๙ เล่ม จํานวน ๑,๐๐๐ จบ เป็นครั้งแรกที่มีการพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นอักษรไทย เสร็จและฉลองใน พ.ศ. ๒๔๓๖ พร้อมกับงานรัชดาภิเษก กับโปรดให้แต่งและพิมพ์คัมภีร์เทศนา พระราชทานพระอารามหลวงและวัดราษฎร์ ท้ังในกรุงและหัวเมือง ท่ัวกัน ใน พ.ศ. ๒๔๓๑ น้นั พ.ศ. ๒๔๓๒ โปรดให้ย้ายที่ราชบัณฑิตบอกพระปริยัติธรรมแก่พระภิกษุสามเณร จากในวัดพระศรี- รัตนศาสดาราม ออกมาจัดเป็นบาลีวิทยาลัยขึ้นท่ีวัดมหาธาตุ ขนานนามว่า “มหาธาตุวิทยาลัย” เป็นครั้งแรกที่ ใชน้ ามวิทยาลัยในประเทศไทย และต่อมาในวันท่ี ๑๓ กันยายน ๒๔๓๙ เสด็จไปทรงวางศิลาฤกษ์ สังฆเสนาสน์ ราชวทิ ยาลัย ประกาศพระราชปรารภเปลย่ี นนามมหาธาตวุ ิทยาลยั เปน็ “มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลยั ” ให้เป็น ทศ่ี ึกษาพระปรยิ ัติธรรม และวชิ าชนั้ สูงต่อไป พ.ศ. ๒๔๓๖ เสด็จไปทรงเปิดมหามกุฏราชวิทยาลัย ท่ีสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยา- วชริ ญาณวโรรสทรงรเิ รม่ิ จัดต้งั ขนึ้ พ.ศ. ๒๔๕๓ พระบาทสมเด็จพระมงกฎุ เกล้าเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จขึ้นครองราชย์ พระองค์ทรงพระปรีชา ปราดเปร่ืองในความรู้ทางพระพุทธศาสนามาก ถึงกับทรงเทศนาส่ังสอนอบรมข้าราชการด้วยพระองค์เอง และ ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือ แสดงคําสอนในพระพุทธศาสนาหลายเรื่อง เช่น เทศนาเสือป่า พระพุทธเจ้าตรัสรู้ อะไร แสดงคณุ านุคุณ เป็นต้น

๕ พ.ศ. ๒๔๕๖ โปรดให้ใช้พุทธศักราช เป็นศักราชทางราชการแทนรัตนโกสินทร์ศก ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๔๕๖ พ.ศ. ๒๔๖๘ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จขึ้นครองราชย์ โปรดให้จัดพิมพ์ พระไตรปิฎกฉบับสยามรฐั จบละ ๔๕ เลม่ จาํ นวน ๑,๕๐๐ จบ เพอ่ื อุทิศถวายพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จ- พระมงกฎุ เกล้าเจา้ อยู่หวั พระราชทานไปในนานาประเทศ ประมาณ ๔๐๐ - ๔๕๐ จบ พ.ศ. ๒๔๙๙ พระบาทสมเด็จพระเจา้ อยูห่ วั ฯ รชั กาลท่ี ๙ เสด็จออกผนวช ณ วัดพระศรรี ัตนศาสดาราม ในวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๔๙๙ – ๕ พฤศจิกายน ๒๔๙๙ และประทับอยู่ ณ วัดบวรนิเวศวิหารเป็นเวลา ๑๕ วัน จงึ ทรงลาผนวช พ.ศ. ๒๕๐๘ องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (พ.ส.ล.) ได้มาต้ังสํานักงานใหญ่อยู่ในประเทศ ไทยตามกําหนดเวลา ๔ ปี ต่อมาในการประชุมใหญ่ครั้งที่ ๙ ขององค์การเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๒ ท่ีประชุมได้มีมติให้ สํานักงานใหญต่ ้งั อย่ใู นประเทศไทยเป็นการถาวรสบื ไป พ.ศ. ๒๕๔๒ องคก์ ารสหประชาชาติ ประกาศรบั รองวา่ วันวิสาขบูชา เปน็ วนั สาํ คัญสากลของชาวโลก ๓. การบรหิ ารคณะสงฆไ์ ทย นิกายสงฆ์ ภารกิจของคณะสงฆ์ และบทบาทของวดั และพระสงฆ์ ๓.๑ การบรหิ ารคณะสงฆไ์ ทย ภายในสังฆมณฑล เป็นเสมือนอาณาจักรหนึ่งต่างหากจากราชอาณาจักร เรียกว่า พุทธจักร เพราะมี พระวินัย ระเบียบ ข้อบังคับ กติกา และอาณัติสงฆ์ เป็นเคร่ืองควบคุมภิกษุสงฆ์ อีกต่างหากจากกฎหมายของ บ้านเมือง พระสงั ฆราชาธบิ ดีมีอํานาจควบคุมคณะสงฆ์ตลอดมา เร่ิมตั้งแตส่ มยั สโุ ขทัยจนถงึ ปจั จุบนั การจัดโครงสร้างการบริหารและการปกครองคณะสงฆ์ในปัจจุบัน เป็นไปตามพระราชบัญญัติ คณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ การตราพระราชบัญญัติฉบับน้ี เกิดจากความต้องการของรัฐบาลในสมัยน้ัน ซึ่งมี จอมพลสฤษด์ิ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ท่ีมุ่งปรับเปล่ียนรูปแบบการปกครองคณะสงฆ์ ให้สอดคล้องกับ นโยบายการปกครองประเทศ ที่นิยมการรวบอํานาจการตัดสินใจเด็ดขาดไว้กับผู้นําท่ีเข้มแข็ง จอมพลสฤษดิ์ เห็นว่าการปกครองระบอบประชาธิปไตย ท่ีกําหนดให้มีการถ่วงดุลอํานาจกันนั้น นํามาซึ่งความล่าช้า และ ความขาดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ดังนั้น จึงเห็นว่าการแยกอํานาจบัญชาการคณะสงฆ์ออกเป็น ๓ ทาง คือ สังฆสภา คณะสังฆมนตรี และคณะวินัยธร ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๔๘๔ เป็นระบบที่มีผล บ่นั ทอนประสทิ ธภิ าพในการดําเนินกจิ การคณะสงฆ์ ให้ต้องประสบอปุ สรรคและลา่ ช้า ด้วยเหตุผลดังกล่าว คณะรัฐมนตรีจึงได้ลงมติแต่งต้ังคณะกรรมการยกร่างพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ฉบับใหม่ขึ้น ในพ.ศ. ๒๕๐๓ เมื่อคณะกรรมการทํางานสําเร็จ รัฐบาลจึงได้ตราพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ โดยคําแนะนําและยินยอมของสภาร่างรัฐธรรมนูญในฐานะรัฐสภา เหตุผลในการประกาศใช้ พระราชบัญญัติฉบบั นี้ คือ “โดยท่ีการจัดดําเนินกิจการคณะสงฆ์ มิใช่เป็นกิจการอันแบ่งแยกอํานาจ ดําเนินการด้วย วัตถุประสงค์ เพ่ือการถ่วงดุลอํานาจ เช่นท่ีเป็นอยู่ตามกฎหมายในปัจจุบัน และโดยระบบเช่นว่าน้ัน เป็นผล บ่ันทอนประสิทธิภาพแห่งการดําเนินกิจการ จึงสมควรแก้ไขปรับปรุงเสียใหม่ ให้สมเด็จพระสังฆราชองค์สกล-

๖ มหาสังฆปริณายก ทรงบัญชาการคณะสงฆ์ทางมหาเถรสมาคม ตามอํานาจกฎหมายและพระธรรมวินัย ทั้งน้ี เพอ่ื ความเจรญิ รงุ่ เรอื งแห่งพระพุทธศาสนา” สาระสําคัญของพระราชบัญญตั ิคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ พอสรปุ ได้ ดังน้ี ๑. ยกเลิกพระราชบัญญตั คิ ณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๔๘๔ ซึ่งหมายรวมถึงการยกเลิกสังฆสภา คณะสังฆมนตรี และคณะวินัยธร ส่วนอํานาจที่องค์กรท้ังสามเคยเป็นผู้ใช้แยกจากกัน ให้สมเด็จพระสังฆราช และมหาเถร- สมาคมเปน็ ผใู้ ช้ ๒. ผลท่ีตามมาก็คือ การยกเลิกตําแหน่งประธานสังฆสภา สังฆนายก และประธานคณะวินัยธร อาํ นาจหนา้ ท่ขี องตําแหน่งทงั้ สาม ถูกรวมกันเข้า และมอบใหป้ ระธานกรรมการมหาเถรสมาคมเปน็ ผใู้ ช้ ๓. อํานาจสูงสุดในการบังคับบัญชาคณะสงฆ์ เป็นของสมเด็จพระสังฆราช ผู้ทรงบัญชาการคณะสงฆ์ ใน ๒ ตาํ แหน่ง คือ ๓.๑ โดยตําแหน่งสกลมหาสังฆปริณายก หรือประมุขสงฆ์ไทย ทรงบัญชาการคณะสงฆ์เอง และ ทรงรบั ผดิ ชอบเอง ตามที่บัญญตั ิไว้ในมาตรา ๘ และ ๓.๒ โดยตําแหน่งประธานกรรมการมหาเถรสมาคม ทรงบัญชาการคณะสงฆ์ร่วมกับมหาเถร- สมาคมตามที่บญั ญตั ิไว้ในมาตรา ๙ และมาตรา ๑๘ ๔. มหาเถรสมาคม ประกอบด้วย ๔.๑ สมเด็จพระสังฆราช ทรงดํารงตําแหน่งประธานกรรมการมหาเถรสมาคมโดยตําแหน่ง พระมหากษตั ริย์ทรงสถาปนาสมเด็จพระสงั ฆราช ๔.๒ สมเดจ็ พระราชาคณะทกุ รปู เป็นกรรมการโดยตําแหน่ง ปจั จุบันมีสมเด็จพระราชาคณะทั้งส้ิน ๘ รูป ๔.๓ พระราชาคณะซึ่งสมเด็จพระสังฆราชทรงแต่งต้ัง มีจํานวนไม่ตํ่ากว่าสี่รูป และไม่เกินแปดรูป เป็นกรรมการ อยู่ในตาํ แหนง่ คราวละ ๒ ปี ตามปกติ สมเด็จพระสังฆราชทรงแต่งต้ังกรรมการครบทั้ง ๘ รูป จึง ทําให้จํานวนกรรมการมหาเถรสมาคมแต่ละชุดมี ๑๗ รูป อันประกอบด้วย สมเด็จพระราชาคณะ ๘ รูป กรรมการทสี่ มเด็จพระสังฆราชทรงแตง่ ตั้ง ๘ รปู และสมเด็จพระสงั ฆราชในฐานะประธานกรรมการ ๑ รูป ๕. อํานาจหน้าท่ีของมหาเถรสมาคม ตามที่บัญญัติไวใ้ นมาตรา ๑๘ มีความว่า “มาตรา ๑๘ มหาเถร- สมาคมมีอํานาจหน้าที่ปกครองคณะสงฆ์ให้เป็นไปโดยเรียบร้อย เพ่ือการนี้ ให้มีอํานาจตรากฎมหาเถรสมาคม ออกขอ้ บงั คบั วางระเบยี บหรือออกคาํ สง่ั โดยไม่ขดั หรอื แย้งกับกฎหมาย และพระธรรมวนิ ยั ใช้บงั คบั ได้” ฉะน้ัน อํานาจหน้าท่ี “ปกครองคณะสงฆ์” ของมหาเถรสมาคมตามท่ีบัญญัติไว้ในมาตรา ๑๘ น้ี จึง มิได้หมายถึงเฉพาะอํานาจหน้าท่ีบริหารการคณะสงฆ์ของคณะสังฆมนตรีเท่านั้น แต่ยังหมายถึงอํานาจหน้าที่ ตราสังฆาณตั ขิ องสงั ฆสภา และอํานาจหน้าทพ่ี ิจารณาวนิ จิ ฉยั อธกิ รณข์ องคณะวนิ ยั ธรชัน้ ฎกี าอกี ด้วย พระราชบัญญตั ิคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ นี้ มผี ลใชบ้ งั คบั เป็นเวลานานถึง ๓๐ ปี จึงมีการแก้ไขเพิ่มเติม ใน พ.ศ. ๒๕๓๕ เม่อื รัฐบาลได้ตราพระราชบัญญตั ิคณะสงฆ์ (ฉบับท่ี ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ โดยคาํ แนะนาํ และยินยอม ของสภานติ บิ ัญญตั ิแหง่ ชาตใิ นฐานะรฐั สภา พระราชบัญญตั ฉิ บบั หลังนี้ เพยี งแก้ไขเพมิ่ เติมรายละเอียดปลีกย่อย ของพระราชบญั ญตั ิคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ ไม่มีการปรบั เปลีย่ นโครงสร้างการบริหารและการปกครองคณะสงฆ์

๗ แต่อยา่ งใด ความข้อนี้ปรากฏชัดเจนอยู่ในเหตุผล ในการประกาศใช้พระราชบัญญัติคณะ สงฆ์ (ฉบับท่ี ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ คือ “...โดยที่พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานแล้ว สมควรปรับปรุง บทบัญญัติว่า ด้วยการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช และการแต่งต้ังผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช การแต่งตั้งถอดถอนสมณศักด์ิของพระภิกษุ อํานาจหน้าท่ีและการปฏิบัติหน้าที่ของมหาเถรสมาคม การปกครอง การสละสมณเพศของคณะสงฆ์และคณะสงฆ์อื่น วัด การดูแลรักษาวัด ทรัพย์สินของวัด และ ศาสนสมบัติกลาง ตลอดจนปรับปรุงบทกําหนดโทษให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบัน จึงจําเป็นต้องตรา พระราชบญั ญัตนิ ้”ี พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับท่ี ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติว่าด้วยการสถาปนา สมเด็จพระสังฆราชและอาํ นาจหนา้ ที่ของมหาเถรสมาคมไว้ ดงั น้ี ๑. มาตรา ๗ กําหนดให้คณะสงฆ์ไทย มีสมเด็จพระสังฆราชเพียงองค์เดียว ในกรณีท่ีตําแหน่ง สมเด็จพระสังฆราชว่างลง พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาสมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุด โดยสมณศักดิ์ เป็นสมเด็จพระสังฆราช คําว่า “สมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์” หมายความว่า สมเด็จพระราชาคณะที่ไดร้ ับสถาปนาเป็นพระราชาคณะชน้ั สมเดจ็ ก่อนสมเดจ็ พระราชาคณะรูปอ่ืน ๒. มาตรา ๑๒ เพิ่มจํานวนกรรมการมหาเถรสมาคม ซ่ึงสมเด็จพระสังฆราชทรงแต่งตั้งจากไม่เกิน แปดรูป เป็นไม่เกินสิบสองรูป ดังนั้น คณะกรรมการมหาเถรสมาคมในปัจจุบันมีกรรมการท้ังสิ้น ๒๑ รูป ประกอบด้วย สมเด็จพระราชาคณะผู้เป็นกรรมการโดยตําแหน่ง ๘ รูป กรรมการที่สมเด็จพระสังฆราชทรง แต่งตั้ง ๑๒ รูป และสมเด็จพระสังฆราชในฐานะประธานกรรมการ ๑ รูป ๓. พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๑๕ ตรี กําหนดอํานาจหน้าที่ของ มหาเถรสมาคมไวช้ ัดเจนกว่าทก่ี ําหนดไว้ในพระราชบญั ญตั ิคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ ดงั นี้ “มาตรา ๑๕ ตรี มหาเถรสมาคมมีอาํ นาจหนา้ ท่ี ดงั ตอ่ ไปน้ี (๑) ปกครองคณะสงฆ์ให้เป็นไปโดยเรยี บร้อยดีงาม (๒) ปกครองและกาํ หนดการบรรพชาสามเณร (๓) ควบคมุ และสง่ เสริมการศาสนศกึ ษา การศึกษาสงเคราะห์ การเผยแผ่ การสาธารณูปการ และ การสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์ (๔) รกั ษาหลกั พระธรรมวินัยของพระพุทธศาสนา (๕) ปฏิบตั หิ น้าท่อี ่ืนๆ ตามทีบ่ ัญญตั ิไว้ในพระราชบญั ญัตินี้ หรือกฎหมายอื่น เพ่อื การน้ี ใหม้ หาเถรสมาคมมีอาํ นาจตรากฎมหาเถรสมาคม ออกข้อบังคับ วางระเบยี บ ออกคําสัง่ มีมติหรือออกประกาศ โดยไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายและพระธรรมวินัยใช้บังคับได้ และจะมอบให้พระภิกษุ รปู ใดหรอื คณะกรรมการหรอื คณะอนกุ รรมการตามมาตรา ๑๙ เป็นผู้ใชอ้ ํานาจหนา้ ท่ตี ามวรรคหน่ึงกไ็ ด”้ อํานาจหน้าท่ีของมหาเถรสมาคมในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับท่ี ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ เก่ียวข้องกับ การควบคุม และส่งเสริมกิจการคณะสงฆ์ที่เคยถูกจัดเป็นอํานาจหน้าท่ีของสังฆมนตรีแห่งองค์การ ๔ ใน พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๔๘๔ อาจกล่าวได้ว่ามหาเถรสมาคมในปัจจุบันมีอํานาจหน้าท่ีเกี่ยวกับงาน คณะสงฆ์ ๖ ประเภท คือ ๑) การปกครอง ๒) การศาสนศึกษา ๓) การศึกษาสงเคราะห์ ๔) การเผยแผ่ ๕) การสาธารณูปการ และ ๖) การสาธารณสงเคราะห์

๘ การบริหารงานของมหาเถรสมาคม เป็นไปในลักษณะที่ว่ากรรมการท้ังหมดร่วมกันรับผิดชอบงานทั้ง ๖ ประเภท โดยไม่มีการแบ่งเป็น “กระทรวง” ให้ชัดเจน แล้วมอบหมายให้กรรมการรูปใดรูปหน่ึง ทําหน้าท่ี เปน็ “รฐั มนตรี” เพื่อกํากับดูแลเป็นการเฉพาะ อย่างไรก็ตาม ท่ีกล่าวมาน้ัน เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ ในส่วนท่ี เกี่ยวกับการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช และอํานาจหน้าที่ของมหาเถรสมาคม ส่วนประเด็นท่ีเก่ียวกับการใช้ อํานาจท้ังสามคอื นิตบิ ญั ญตั ิ บริหาร และตลุ าการของมหาเถรสมาคมมกี ารแกไ้ ขเลก็ นอ้ ย ต่อไปน้ี จะกล่าวถึงการใช้อํานาจท้ังสามของมหาเถรสมาคม ตามท่ีกําหนดไว้ในพระราชบัญญัติ คณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ และพระราชบัญญตั คิ ณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ ๑. อํานาจนิติบัญญัติของมหาเถรสมาคม ในฐานะที่ปฏิบัติหน้าท่ีของสังฆสภา มหาเถรสมาคมจึงมี อํานาจฝ่ายนิติบัญญัติ ดงั นี้ ๑.๑ ตรากฎมหาเถรสมาคม ๑.๒ ออกข้อบังคบั มหาเถรสมาคม ๑.๓ วางระเบยี บมหาเถรสมาคม ๑.๔ ออกคาํ สั่งมหาเถรสมาคม ๑.๕ มมี ติมหาเถรสมาคม ๑.๖ ออกประกาศมหาเถรสมาคม ๒. อํานาจบริหารของมหาเถรสมาคม โดยท่ีอํานาจการปกครองและบริหารกิจการคณะสงฆ์ของ คณะสังฆมนตรีเดิม ได้ตกเป็นอํานาจหน้าที่ของมหาเถรสมาคม ดังน้ัน มหาเถรสมาคมจึงมีอํานาจหน้าที่ด้าน การบรหิ าร ดังต่อไปนี้ ๒.๑ จัดระเบยี บการปกครองคณะสงฆ์ ๒.๒ จัดแบง่ เขตการปกครองคณะสงฆ์สว่ นภมู ภิ าค ๒.๓ จัดตําแหน่งผู้ปกครองคณะสงฆส์ ว่ นภมู ิภาค ๒.๔ แตง่ ตง้ั และถอดถอนผปู้ กครองคณะสงฆ์ เนื่องจากปริมาณงานในความรับผิดชอบของมหาเถรสมาคม มีมากเกินกว่าท่ีกรรมการมหาเถร- สมาคม จะดําเนินการให้สําเร็จลุล่วง อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ มหาเถรสมาคมได้ออกกฎมหาเถร สมาคม ฉบับที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๐๖ ว่าด้วยระเบียบการประชุมมหาเถรสมาคม ให้อํานาจมหาเถรสมาคมแต่งตั้ง คณะกรรมการ หรืออนกุ รรมการชว่ ยงานมหาเถรสมาคม ในลักษณะเดียวกับกรรมการเฉพาะกิจ เป็นกรรมการ ประจําหรอื ชัว่ คราวกไ็ ด้ ในการแต่งต้ังคณะกรรมการหรืออนุกรรมการนี้ กรรมการมหาเถรสมาคมรูปใดรูปหน่ึง เป็นประธานโดยตําแหน่ง คณะกรรมการหรืออนุกรรมการ มีอํานาจหน้าที่ดําเนินการ ตามที่ได้รับมอบหมาย จากมหาเถรสมาคม ในปัจจุบันมคี ณะกรรมการ หรอื คณะอนุกรรมการ ที่มหาเถรสมาคมแต่งตัง้ หลายคณะ เช่น - คณะกรรมการการศกึ ษาของสงฆ์ - คณะกรรมการอํานวยการพระธรรมทตู - คณะอนกุ รรมการรา่ งกฎมหาเถรสมาคม - คณะอนุกรรมการร่างกฎนิคหกรรม

๙ - คณะอนกุ รรมการศนู ย์ควบคุมไปตา่ งประเทศของพระภิกษสุ ามเณร (ศตภ.) - คณะอนุกรรมการจัดตง้ั ทนุ สาธารณสงเคราะห์และศึกษาสงเคราะห์ อย่างไรก็ตาม พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๙ ให้ อํานาจมหาเถรสมาคมแตง่ ตงั้ คณะกรรมการหรอื อนกุ รรมการเพื่อช่วยงานมหาเถรสมาคม ดงั นี้ “มาตรา ๑๙ สมเด็จพระสังฆราชทรงแต่งต้ังคณะกรรมการ หรือคณะอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ ตามมติ มหาเถรสมาคม ประกอบด้วยพระภิกษุหรือบุคคลอ่ืนจํานวนหน่ึง มีหน้าที่พิจารณากลั่นกรอง เร่ืองท่ีจะเสนอ ต่อมหาเถรสมาคม และปฏบิ ตั หิ นา้ ทีอ่ ่ืน ตามทม่ี หาเถรสมาคมมอบหมาย โดยขึน้ ตรงต่อมหาเถรสมาคม” บทเฉพาะกาลของพระราชบัญญัติฉบับนี้ กําหนดให้ผู้ท่ีได้รับแต่งต้ังเป็นกรรมการหรืออนุกรรมการ ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ หรือตามกฎมหาเถรสมาคมยังคงดํารงตําแหน่ง หรือปฏิบัติหน้าที่ ตอ่ ไปจนครบวาระการดํารงตาํ แหน่ง หรอื จนกว่ามหาเถรสมาคมจะมมี ติเปน็ ประการอนื่ ส่วนการจัดระเบียบการปกครองคณะสงฆ์ส่วนภูมิภาค เป็นไปตามความในมาตรา ๒๒ ของ พระราชบญั ญัตคิ ณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ ทกี่ าํ หนดตําแหน่งพระสังฆาธิการ หรือผู้ปกครองคณะสงฆ์ตามลําดับชั้น ดังต่อไปนี้ - เจา้ คณะภาค - เจ้าคณะจงั หวัด - เจา้ คณะอาํ เภอ - เจา้ คณะตาํ บล - เจา้ อาวาส มีข้อน่าสังเกตว่า ตําแหน่งเจ้าคณะใหญ่ ๔ ตําแหน่ง คือ เจ้าคณะใหญ่คณะเหนือ เจ้าคณะใหญ่ คณะใต้ เจ้าคณะใหญ่คณะกลาง และเจ้าคณะใหญ่ธรรมยุติกนิกาย ซ่ึงเคยรวมกันเป็นมหาเถรสมาคม ตาม บทบัญญัติของพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. ๑๒๑ ต่อมา ตําแหน่งท้ังส่ี ได้ถูกยกเลิกโดย พระราชบัญญตั คิ ณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๔๘๔ ทงั้ นี้ เพ่อื รวมคณะสงฆม์ หานิกายกับคณะธรรมยตุ ิกนิกายเข้าด้วยกัน ใน พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ ไม่มีมาตราใดกล่าวถึงตําแหน่งเจ้าคณะใหญ่ท้ังส่ี แต่ก็ไม่ได้หมายความ ว่า ไม่มีตําแหน่งดังกล่าว อยู่ในการจัดองค์กรการปกครองคณะสงฆ์ปัจจุบัน ตําแหน่งเจ้าคณะใหญ่ท้ังสี่ยังคงมี อยู่ และนั่นก็หมายถึงว่า คณะสงฆ์มหานิกายกับคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย ยังแยกกันปกครองอย่างเป็นอิสระ จากกัน ภายใต้รัฐบาลสงฆ์เดียวกันคือมหาเถรสมาคม คณะสงฆ์ไทยจึงเปรียบเหมือนกับมังกรสองตัว ท่ีมีหัว เดยี วกนั ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ คณะสงฆ์มหานิกายและคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย มี องค์กรปกครองสูงสุดรว่ มกนั คือ มหาเถรสมาคม กรรมการมหาเถรสมาคมครึง่ หนึง่ มาจากคณะมหานิกาย และ ที่เหลืออีกครึ่งหน่ึงมาจากคณะธรรมยุติกนิกาย ทั้งหมดรวมกันเป็นกรรมการมหาเถรสมาคม มีอํานาจหน้าท่ี ปกครองคณะสงฆ์ตามกฎหมาย ดังนั้น ในระดับมหาเถรสมาคมเป็นการปกครองร่วมกัน โดยถือนโยบาย เดียวกัน แต่แยกปกครองในระดับต่ํากว่ามหาเถรสมาคม ดังจะเห็นได้จากกฎมหาเถรสมาคม ฉบับท่ี ๔ พ.ศ. ๒๕๐๖ วา่ ด้วยระเบยี บการปกครองคณะสงฆ์ข้อ ๔ มีความวา่

๑๐ “การปกครองคณะสงฆ์ทุกส่วนทุกชั้น ให้มีเจ้าคณะมหานิกายและเจ้าคณะธรรมยุตปกครองบังคับ บญั ชาวัดและพระภิกษสุ ามเณรในนิกายนน้ั ๆ” ข้อนี้ หมายความว่า ในขณะท่ีคณะสงฆ์มหานิกายแบ่งสายการปกครองบังคับบัญชา เป็น เจ้าคณะภาค เจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะอําเภอ เจ้าคณะตําบล และเจ้าอาวาส ฝ่ายมหานิกาย ปกครองดูแล กจิ การคณะสงฆ์ฝา่ ยมหานกิ าย คณะสงฆธ์ รรมยตุ ิกนิกายก็แบ่งสายการปกครองทกุ ตาํ แหนง่ ต้งั แต่เจ้าคณะภาค ถงึ เจา้ อาวาสฝ่ายธรรมยตุ ปกครองดูแลกิจการคณะสงฆฝ์ ่ายธรรมยุตคู่ขนานกนั ไป แม้ว่าพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ จะไม่ได้กล่าวถึงตําแหน่งเจ้าคณะใหญ่ไว้ก็จริง แต่กฎ มหาเถรสมาคมฉบับท่ี ๔ พ.ศ. ๒๕๐๖ ข้อ ๖ ได้เพ่ิมตําแหน่งเจ้าคณะใหญ่ เข้ามาในองค์กรการปกครอง คณะสงฆ์ และมีการแต่งต้ังเจ้าคณะใหญ่เรื่อยมา จนกระทั่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับท่ี ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ ไดบ้ ญั ญตั ิใหม้ ีตาํ แหน่งเจ้าคณะใหญไ่ ว้ ดงั น้ี “มาตรา ๒๐ ทวิ เพื่อประโยชน์แก่การปกครองคณะสงฆ์ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ให้มีเจ้าคณะ ใหญ่ปฏบิ ัติหน้าท่ีในเขตปกครองคณะสงฆ์ การแต่งต้ังและการกําหนดอํานาจหน้าท่ีเจ้าคณะใหญ่ ให้เป็นไปตาม หลักเกณฑ์และวิธกี ารทก่ี ําหนดในกฎมหาเถรสมาคม” เจ้าคณะใหญ่ปกครองบังคับบัญชาเจ้าคณะภาค แบ่งออกเป็น เจ้าคณะใหญ่ฝ่ายมหานิกาย และ เจ้าคณะใหญ่ฝา่ ยธรรมยตุ มอี ํานาจบงั คบั บญั ชาสูงสดุ ในคณะสงฆแ์ ต่ละนกิ าย ในสายการบังคับบัญชา เจ้าคณะ ใหญย่ ังต้องอยู่ภายใต้การปกครองของมหาเถรสมาคม แต่ในทางปฏิบัติ เจ้าคณะใหญ่มักเป็นกรรมการมหาเถร- สมาคมอีกตําแหนง่ หน่ึง เจา้ คณะใหญ่ทงั้ ห้า มเี ขตการปกครอง ดังน้ี (๑) เจ้าคณะใหญ่หนกลาง ปฏิบัติหน้าที่ในเขตการปกครองคณะสงฆ์มหานิกาย ภาค ๑, ๒, ๓, ๑๓, ๑๔ และ ๑๕ (๒) เจ้าคณะใหญ่หนเหนอื ปฏิบัติหน้าทีใ่ นเขตการปกครองคณะสงฆม์ หานกิ าย ภาค ๔, ๕, ๖ และ ๗ (๓) เจา้ คณะใหญห่ นใต้ ปฏิบัติหน้าท่ใี นเขตการปกครองคณะสงฆ์มหานิกาย ภาค ๑๖, ๑๗ และ ๑๘ (๔) เจา้ คณะใหญห่ นตะวนั ออก ปฏิบตั หิ นา้ ทใี่ นเขตการปกครองคณะสงฆ์มหานิกาย ภาค ๘, ๙, ๑๐, ๑๑ และ ๑๒ (๕) เจ้าคณะใหญค่ ณะธรรมยุต ปฏบิ ตั ิหน้าท่ีในเขตการปกครองคณะสงฆธ์ รรมยุตทุกภาค เขตการปกครองคณะสงฆท์ งั้ ๑๘ ภาค ประกอบด้วยจงั หวัดต่างๆ ดังนี้ ภาค ๑ มี ๔ จังหวดั คือ กรงุ เทพมหานคร นนทบุรี ปทมุ ธานี และสมทุ รปราการ ภาค ๒ มี ๓ จงั หวัด คือ พระนครศรีอยธุ ยา อ่างทอง และ สระบรุ ี ภาค ๓ มี ๔ จังหวัด คือ ลพบรุ ี สิงห์บรุ ี ชัยนาท และอุทยั ธานี ภาค ๔ มี ๔ จังหวัด คอื นครสวรรค์ กําแพงเพชร พิจิตร และเพชรบูรณ์ ภาค ๕ มี ๔ จังหวดั คือ พษิ ณุโลก สโุ ขทัย ตาก และอตุ รดิตถ์ ภาค ๖ มี ๕ จังหวดั คอื ลําปาง พะเยา เชียงราย แพร่ และน่าน ภาค ๗ มี ๓ จงั หวัด คือ เชียงใหม่ ลาํ พูน และ แม่ฮ่องสอน ภาค ๘ มี ๔ จงั หวดั คือ อุดรธานี หนองคาย เลย และสกลนคร ภาค ๙ มี ๔ จังหวัด คอื ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสนิ ธุ์ และร้อยเอด็

๑๑ ภาค ๑๐ มี ๕ จงั หวัด คอื อบุ ลราชธานี ยโสธร มกุ ดาหาร ศรสี ะเกษ และนครพนม ภาค ๑๑ มี ๔ จังหวดั คือ นครราชสมี า ชัยภูมิ บรุ รี มั ย์ และ สรุ ินทร์ ภาค ๑๒ มี ๓ จงั หวัด คอื ปราจนี บรุ ี นครนายก ฉะเชงิ เทรา ภาค ๑๓ มี ๔ จังหวดั คอื ชลบรุ ี ระยอง จนั ทบุรี และตราด ภาค ๑๔ มี ๔ จงั หวดั คอื นครปฐม สุพรรณบรุ ี กาญจนบุรี และสมุทรสาคร ภาค ๑๕ มี ๔ จงั หวดั คือ ราชบรุ ี เพชรบุรี สมุทรสงคราม และประจวบครี ีขันธ์ ภาค ๑๖ มี ๓ จังหวัด คือ นครศรธี รรมราช สุราษฎร์ธานี และชุมพร ภาค ๑๗ มี ๕ จงั หวัด คอื ภเู ก็ต ตรัง พงั งา กระบี่ และระนอง ภาค ๑๘ มี ๖ จังหวัด คอื สงขลา พัทลุง สตลู ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ๓. อํานาจตุลาการของมหาเถรสมาคม การพิจารณาวินิจฉัยอธิกรณ์หรือคดีความในคณะสงฆ์ ซ่ึง เดิมเคยเป็นอํานาจหน้าที่ของคณะวินัยธร ได้ตกเป็นอํานาจหน้าท่ีของมหาเถรสมาคม ตามความ พระราชบัญญตั ิคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ มาตรา ๒๕ ที่บัญญัติให้มหาเถรสมาคม มีอํานาจ ตรากฎมหาเถรสมาคม กําหนดหลักเกณฑ์และ วิธีการปฏิบัติเพื่อให้การลงนิคหกรรม หรือการลงโทษเป็นไปโดยถูกต้องสะดวกรวดเร็วและเป็นธรรม มหาเถร- สมาคมอาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๒๕ แห่งพระราชบัญญัติฉบับนี้ ได้ตรากฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๑๑ พ.ศ. ๒๕๒๑ วา่ ด้วยการลงนคิ หกรรม กฎมหาเถรสมาคมน้ี แบง่ อํานาจการพิจารณาวินจิ ฉัยอธกิ รณ์ ออกเป็น ๓ ชัน้ คอื ๓.๑ การพจิ ารณาชนั้ ต้น เปน็ อํานาจของเจา้ อาวาสทพ่ี ระภิกษผุ ู้ถกู ฟอ้ งสังกดั อยู่ ถ้าผู้ถูกฟอ้ งเป็น เจา้ อาวาสวดั หรือเจา้ คณะ กใ็ ห้เป็นอํานาจของเจา้ คณะหรอื ผปู้ กครองคณะสงฆเ์ หนือขึ้นไป อีกชน้ั หนึ่ง ๓.๒ การพิจารณาช้ันอุทธรณ์ เป็นอํานาจของคณะผู้พิจารณาช้ันอุทธรณ์ ซึ่งประกอบด้วยเจ้า คณะหรอื ผ้ปู กครองเหนือชนั้ ขน้ึ ไปกวา่ เจ้าอาวาสหรือเจ้าคณะผพู้ ิจารณาในชน้ั ตน้ ๓.๓ การพิจารณาช้ันฎีกา เป็นอํานาจของมหาเถรสมาคม คําสั่ง หรือคําวินิจฉัยของมหาเถร- สมาคมในการลงนิคหกรรมไม่ว่าในกรณใี ดใหเ้ ป็นอนั ถงึ ที่สุด ในกรณีนีม้ หาเถรสมาคมมีอํานาจเช่นเดียวกับคณะ วินัยธรชั้นฎีกา แต่มหาเถรสมาคมมีอํานาจมากกว่าคณะวินัยธรช้ันฎีกา ตรงที่มีอํานาจนิติบัญญัติและอํานาจ บริหารอยู่ในมือด้วย และในบางกรณี มหาเถรสมาคมมีอํานาจวินิจฉัยหรือออกคําส่ังโดยไม่ต้องผ่านการ พิจารณาช้ันต้นและช้ันอุทธรณ์ โดยอาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๒๗ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ ที่ว่า “มาตรา ๒๗ พระภิกษุรูปใดต้องคําวินิจฉัยให้รับนิคหกรรมไม่ถึงให้สึก ไม่ยอมรับนิคหกรรมนั้น หรือประพฤติล่วงละเมิดพระธรรมวินัยเป็นอาจิณ หรือไม่สังกัดอยู่วัดใดวัดหน่ึง กับทั้งไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง มหาเถรสมาคมมีอํานาจวินิจฉัยและมีคําสั่งให้พระภิกษุรูปนั้นสละสมณเพศเสียได้ พระภิกษุผู้ต้องคําวินิจฉัยให้ สละสมณเพศตามความในวรรคกอ่ น ต้องสึกภายในเจ็ดวัน นับแตว่ นั ที่ไดร้ บั ทราบคาํ วินจิ ฉัยนน้ั ” อย่างไรก็ตาม ความในมาตรา ๒๗ แห่งพระราชบัญญัติคณะ สงฆ์พ.ศ. ๒๕๐๕ น้ี ได้ถูกยกเลิก ไปโดยพระราชบญั ญัตคิ ณะสงฆ์ (ฉบบั ที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความตอ่ ไปนี้แทน “มาตรา ๒๗ เม่อื พระภกิ ษุใดต้องด้วยกรณีข้อใดข้อหนงึ่ ดงั ต่อไปน้ี (๑) ต้องคําวินิจฉัยตามมาตรา ๒๕ ให้รับนคิ หกรรมไมถ่ งึ ให้สึก แตไ่ ม่ยอมรบั นิคหกรรมน้นั

๑๒ (๒) ประพฤตลิ ่วงละเมิดพระธรรมวินัยเปน็ อาจณิ (๓) ไม่สังกัดอยู่ในวดั ใดวดั หนง่ึ (๔) ไมม่ วี ดั เป็นทอี่ ยเู่ ป็นหลักแหลง่ ให้ภิกษุรูปน้ันสละสมณเพศตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดในกฎมหาเถรสมาคม พระภิกษุผู้ต้องคําวินิจฉัยให้สละสมณเพศตามวรรคสอง ต้องสึกภายในสามวันนับแต่วันที่ได้รับทราบคําวินิจฉัย นั้น” มาตรา ๒๗ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ ไม่ได้ให้อํานาจมหาเถร- สมาคม ในอันทีจ่ ะวนิ จิ ฉัย หรอื ออกคาํ สงั่ ให้พระภิกษุผู้ความผิด ด้วยกรณีข้อใดข้อหน่ึงใน ๔ กรณีข้างบน ต้อง สละสมณเพศ แต่มาตรา ๒๗ นี้ ให้อํานาจมหาเถรสมาคมตรากฎมหาเถรสมาคม เพ่ือกําหนดหลักเกณฑ์และ วิธีการ ในการจัดการให้พระภิกษุผู้มีความผิดตามกรณีข้างบนสละสมณเพศ คําวินิจฉัยให้สละสมณเพศไม่ จําเป็นต้องออกมาจากมหาเถรสมาคม แต่คําวินิจฉัยน้ัน ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กําหนดไว้ใน กฎมหาเถรสมาคม ยิ่งไปกวา่ นั้น พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับท่ี ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๑๕ จัตวา ให้อํานาจ มหาเถรสมาคมตรากฎมหาเถรสมาคม เพอื่ ควบคมุ ความประพฤตขิ องพระภิกษุสามเณร ดงั นี้ “มาตรา ๑๕ จัตวา เพ่ือรักษาหลักพระธรรมวินัย และเพื่อความเรียบร้อยดีงามของคณะสงฆ์ มหาเถรสมาคมจะตรากฎมหาเถรสมาคม เพ่ือกําหนดโทษหรือวิธีลงโทษทางการปกครองสําหรับพระภิกษุและ สามเณรที่ประพฤติให้เกิดความเสียหายแก่พระศาสนาและการปกครองของคณะสงฆ์ก็ได้ พระภิกษุและ สามเณรท่ีได้รบั โทษตามวรรคหนงึ่ ถงึ ข้ันให้สละสมณเพศ ตอ้ งสึกภายในสามวนั นับแตว่ นั ทราบคําส่งั ลงโทษ” ความสัมพันธ์ระหว่างศาสนจักรและอาณาจักร การที่ฝ่ายรัฐบาลได้ตราพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕ ออกบงั คบั ใช้ ได้เป็นประจกั ษ์พยานอยา่ งดี ท่แี สดงถงึ ความสัมพนั ธร์ ะหวา่ งอาณาจักรกับศาสนจักร ด้วยการออกพระราชบัญญัตฉิ บับนี้ รัฐบาลได้ช่อื ว่าให้การอปุ ถมั ภแ์ กค่ ณะสงฆ์ ท้งั น้ี เพราะคณะสงฆ์ไม่มีอํานาจ ลงโทษพระภิกษุผู้ประพฤติล่วงละเมิดพระธรรมวินัยข้ันร้ายแรงและไม่ยอมสละสมณเพศ ทั้งไม่มีอํานาจลงโทษ ผู้ใส่ความคณะสงฆ์ หากคณะสงฆ์ปล่อยไว้ ย่อมจะนําความเสื่อมเสียมาสู่วงการคณะสงฆ์ ในกรณีนี้คณะสงฆ์จํา จะต้องพึ่งอํานาจรัฐเพื่อสร้างความศักด์ิสิทธิ์ ให้กับพระธรรมวินัยและความบริสุทธิ์แห่งพระศาสนา ดังจะเห็น ได้จากมาตรา ๔๒, ๔๓ และ ๔๔ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ ซึ่งถูกยกเลิกไปแล้วโดย พระราชบัญญตั คิ ณะสงฆ์ (ฉบับท่ี ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ ใหใ้ ช้มาตราตอ่ ไปนแ้ี ทน มาตรา ๔๒ ผูใ้ ดมิไดร้ บั แตง่ ต้ังให้เปน็ พระอปุ ชั ฌาย์ หรอื ถกู ถอดถอนจากความเปน็ พระอุปัชฌาย์ตาม มาตรา ๒๓ แลว้ กระทําการบรรพชาอุปสมบทแกบ่ ุคคลอืน่ ตอ้ งระวางโทษจาํ คุกไม่เกินหนึ่งปี มาตรา ๔๓ ผู้ใดพ้นจากความเป็นพระภิกษุเพราะต้องปาราชิกมาแล้ว ไม่ว่าจะมีคําวินิจฉัยตาม มาตรา ๒๕ หรือไม่ก็ตาม แต่มารับบรรพชาอุปสมบทใหม่ โดยกล่าวความเท็จหรือปิดบังความจริงต่อ พระอปุ ัชฌาย์ ตอ้ งระวางโทษจําคุกไมเ่ กนิ หนง่ึ ปี มาตรา ๔๔ ทวิ ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายสมเด็จพระสังฆราช ต้อง ระวางโทษจําคุกไม่เกนิ หน่ึงปี หรอื ปรบั ไม่เกินสองหมนื่ บาท หรอื ท้งั จาํ ท้งั ปรบั

๑๓ มาตรา ๔๕ ตรี ผู้ใดใส่ความคณะสงฆ์หรือคณะสงฆ์อื่น อันอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียหรือความ แตกแยก ต้องระวางโทษจาํ คุกไมเ่ กินหนง่ึ ปี หรือปรับไมเ่ กินสองหม่ืนบาท หรอื ทั้งจาํ ทั้งปรับ” มาตราเหล่าน้ี แสดงถงึ การทค่ี ณะสงฆ์ไทยได้รับการค้มุ ครองปอ้ งกันจากอํานาจรัฐ แม้วา่ มหาเถรสมาคมมอี าํ นาจปกครองคณะสงฆอ์ ย่างเต็มที่ ข้อนี้ ไม่ไดห้ มายความว่าคณะสงฆ์มอี ิสระ จากการควบคุมของกลไกของรัฐ อํานาจฝ่ายรัฐสามารถตรวจสอบและควบคุมการบริหารกิจการคณะสงฆ์ได้ ตลอดเวลา ในนามของการอุปถัมภ์บํารุงพระศาสนา ดังจะเห็นได้จากข้อความบางมาตราแห่งพระราชบัญญัติ คณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ และพระราชบญั ญัติคณะสงฆ์ (ฉบับท่ี ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ ดงั ต่อไปนี้ (๑) พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซ่ึงพระราชอํานาจในการแต่งต้ังสถาปนา และถอดถอนสมณศักด์ิของ พระภกิ ษุในคณะสงฆ์ (๒) พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช ผู้ทรงเป็นประธานกรรมการมหาเถรสมาคม โดยตําแหนง่ (๓) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประกาศนามสมเด็จพระราชาคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จ พระสงั ฆราช ในกรณีที่ตาํ แหนง่ สมเดจ็ พระสังฆราชวา่ งลง (๔) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติน้ี และมีอํานาจออก กฎกระทรวงเก่ียวกับการสร้างวัด การบริหารศาสนสมบัติของวัด และวางระเบียบการปกครองคณะสงฆ์จีน นิกาย และอนมั นิกาย (๕) ในการแต่งต้ังและถอดถอนกรรมการมหาเถรสมาคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้ ลงนามรบั สนองพระบญั ชาสมเด็จพระสงั ฆราช (๖) กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ ทําหน้าทีเ่ ป็นศูนย์ประสานความสมั พันธ์ระหว่างศาสนจักร และอาณาจักร ท้ังนี้ เพราะอธิบดีกรมการศาสนาเป็นเลขาธิการมหาเถรสมาคมโดยตําแหน่ง และกรมการ ศาสนาทาํ หน้าที่สํานกั งานเลขาธิการมหาเถรสมาคม ๓.๒ นกิ ายสงฆ์ ศาสนาทุกศาสนา เม่ือพระศาสดาล่วงลับไปแล้ว และผ่านกาลเวลาไปนานปี ศาสนิกชนก็จะแบ่งเป็น หลายพวกหลายเหลา่ เพราะมีการตคี วามหมายของคาํ สอนไม่ตรงกัน พระพุทธศาสนาก็เช่นเดียวกัน พระสงฆ์ผู้ เป็นคณะบริหารศาสนา มีความเห็นเกี่ยวกับพระธรรมวินัยไม่ตรงกัน มีจารีตขนบประเพณีผิดแผกกัน เพราะ ต่างมั่นใจในสิ่งที่ตนปฏิบัติว่าถูกต้อง ในช้ันแรกก็มีคนจาํ นวนน้อย แต่นานเขา้ กม็ ีผูเ้ หน็ ตามมากข้ึน จนรวมเป็น คณะเรียกว่า นิกาย นิกายใหญ่ของพระพุทธศาสนาคือ เถรวาท และ มหายาน สําหรับคณะสงฆ์ไทยเป็นนิกาย เถรวาท ต่อมาได้แบ่งยอ่ ยลงไปอกี เป็น ๒ นิกาย คือ ๑. มหานิกาย เปน็ นิกายเดิม ๒. ธรรมยุติกนิกาย เกิดข้ึนในสมัยรัชกาลท่ี ๓ ใน พ.ศ. ๒๓๗๖ โดยกําหนดด้วยการฝังลูกนิมิต ผกู พัทธสมี าใหมข่ องวัดสมอราย (วัดราชาธวิ าส) ว่าเปน็ การตัง้ คณะธรรมยตุ

๑๔ การแยกนิกายของคณะสงฆ์ไทย เป็นปัญหาเรื่องการปฏิบัติวินัยของสงฆ์อย่างเดียว ไม่เกี่ยวกับ ธรรมะ จึงไม่กระทบกระเทือนถึงการนับถือของประชาชนแต่อย่างใด เพราะพระสงฆ์ทั้ง ๒ นิกาย มุ่งปฏิบัติ ให้ถูกตามพระธรรมวินัย และต่างก็ได้ปกครองรักษาพระพุทธศาสนา เป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติด้วยกัน ท้ัง ๒ ฝ่าย ควรท่ีฆราวาสจะให้การเคารพ สนับสนุน และทะนุบํารุงท้ัง ๒ ฝ่าย ควบกันไป และไม่เป็นการ สมควรอย่างยิ่ง ที่จะกีดกนั การปฏิบตั ิของสงฆน์ กิ ายใดนิกายหน่ึง ๓.๓ ภารกิจของคณะสงฆ์ ภารกจิ หรือหนา้ ทที่ ี่พระภกิ ษุสามเณรต้องปฏบิ ตั ิ เรียกว่าธุระ ซง่ึ ธุระที่สาํ คัญมี ๒ อย่าง คอื ๑. การศึกษาพระปริยัติธรรม เรียกว่า คนั ถธรุ ะ ๒. การปฏบิ ตั ติ ามพระพุทธวจนะ เพอื่ บรรลผุ ลเบอื้ งสูง เรียกวา่ วปิ สั สนาธรุ ะ คณะสงฆไ์ ทยมีท้ังฝ่ายคันถธรุ ะ และวิปสั สนาธุระ ซ่งึ รัฐบาลและประชาชนให้การสนบั สนนุ ทั้ง ๒ ฝ่าย การศึกษาพระปริยตั ธิ รรม แบ่งเปน็ ๓ ประเภท คือ ๑. แผนกนกั ธรรม ๒. แผนกบาลี ๓. มหาวิทยาลยั สงฆ์ ๓.๔ บทบาทของวดั และพระสงฆ์ ๓.๔.๑ บทบาทของวดั และพระสงฆใ์ นอดตี ในอดีตกาล ประชาชนชาวไทยมีศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า พระพุทธศาสนาได้เข้า มามีบทบาทต่อชีวิตและสังคมไทยในทุกๆ ด้าน ท้ังในการดําเนินชีวิต การศึกษา ภาษา ประเพณี และ วัฒนธรรม ทกุ อย่างล้วนมีความเก่ยี วพนั กบั พระพุทธศาสนาท้งั สนิ้ บทบาทของวัดและพระสงฆ์ในอดีตนั้น ไม่สามารถจะแยกออกจากสังคมไทยได้ ดังที่ท่านผู้รู้ได้ กล่าวไว้วา่ “วดั เป็นศนู ยก์ ลางของสงั คมไทยในทกุ รูปแบบ” เช่น ๑. วัดเป็นสถานศึกษา สําหรับชาวบ้านส่งบุตรหลานมาอยู่รับใช้พระ รับการศึกษาฝึกฝนอบรม ทางศลี ธรรมและเล่าเรยี นวิชาต่างๆ ทม่ี สี อนในสมัยนัน้ ๒. วัดเป็นสถานสงเคราะห์ ที่บุตรหลานชาวบ้านที่ยากจน ได้มาอาศัยเล้ียงชีวิตอยู่และศึกษา เลา่ เรียนดว้ ย ตลอดถึงผู้ใหญ่ที่ยากจนไดม้ าอาศัยเลีย้ งชพี ๓. วัดเป็นสถานพยาบาล ทีร่ กั ษาผู้ปว่ ยตามภมู ริ ูข้ องคนสมยั นนั้ ๔. วดั เป็นทีพ่ กั ของคนเดนิ ทาง ๕. วดั เปน็ สโมสร ท่ีชาวบา้ นมาพบปะสังสรรค์ พักผอ่ นหยอ่ นใจ หาความรู้เพิม่ เติม ๖. วดั เป็นสถานบันเทงิ ท่ีจัดงานเทศกาล และมหรสพตา่ งๆ สาํ หรบั ชาวบา้ นทงั้ หมด ๗. วัดเป็นท่ไี กลเ่ กล่ยี ข้อพพิ าท เป็นทป่ี รึกษาแก้ปญั หาชีวิต ครอบครัว และความทกุ ข์ตา่ งๆ ๘. วัดเปน็ ศูนย์กลางศิลปวัฒนธรรม ทรี่ วมศลิ ปะตา่ งๆ ของชาติ ตลอดจนเปน็ เหมอื นพิพธิ ภัณฑ์ ๙. วัดเป็นคลังพัสดุ สําหรับเก็บของใช้ต่างๆ ซ่ึงชาวบ้านจะได้ใช้ร่วมกัน เมื่อมีงานวัด หรือยืมไป ใชเ้ ม่อื คราวมงี าน

๑๕ ๑๐. วัดเป็นศูนย์กลางบริหารหรือปกครอง ที่กํานันหรือผู้ใหญ่บ้าน จะเรียกลูกบ้านมา ประชมุ กนั บอกแจ้งกิจกรรมตา่ งๆ (ในยามสงครามอาจใช้เป็นทีช่ ุมนุมทหารดว้ ย) ๑๑. วัดเป็นท่ีประกอบพิธีกรรม หรือใช้บริการด้านพิธีกรรม อันเป็นเครื่องผูกพันชีวิต ของคน ทกุ คนในระยะเวลาตา่ งๆ กันของชวี ิต ๓.๔.๒ บทบาทของวัดและพระสงฆใ์ นปัจจุบนั ปัจจบุ นั บทบาทของวดั และพระสงฆท์ ่มี ีต่อสังคมลดนอ้ ยลงไปทกุ วนั ท้งั นี้ เพราะเหตุตา่ งๆ คือ ๑. เหตุภายนอก เกิดจากความเจริญของโลกปัจจุบัน ที่มุ่งเน้นความเจริญทางวัตถุมากกว่า จติ ใจ คนในสังคมตอ้ งด้นิ รนตอ่ สู้ เพื่อลาภ ยศ สรรเสริญ และสขุ ทางวัตถุ จนลมื พระพทุ ธศาสนา ๒. เหตุภายใน ได้แก่ บทบาทของวัดและพระสงฆ์ ไม่มีการพัฒนาให้ทันกับความเจริญของโลก ทั้งในด้านการศึกษา การอบรมส่ังสอนความรู้ทางศาสนา และการประพฤติปฏิบัติบางอย่าง ที่ทําให้ประชาชน เสื่อมศรทั ธา และเบอ่ื หนา่ ยตอ่ พระพทุ ธศาสนา แนวทางแกไ้ ข มีดงั นี้ ๑. แกเ้ ง่อื นไข การปรบั ปรุงแก้ไขสภาพแวดล้อมตา่ งๆ ท่ีเป็นอุปสรรคต่อความเจริญรุ่งเรืองของ พระพุทธศาสนา ทั้งฝ่ายอาณาจักรและพุทธจักร เช่น การดําเนินการปราบปรามแหล่งอบายมุขอย่างจริงจัง ตลอดจนผูป้ ระพฤตนิ อกล่นู อกทางในวงพระพุทธศาสนาให้หมดไป เพ่อื ให้สถาบนั ของพระพุทธศาสนา เป็นท่ีต้ัง แหง่ ศรทั ธาของมหาชน ๒. ให้การศึกษา คือสนับสนุนส่งเสริม การศึกษาความรู้ทางพระพุทธศาสนาอย่างจริงจัง ท้ังใน หลักสูตรและนอกหลักสูตรการศึกษาของชาติ เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในหลักคําสอนของ พระพทุ ธศาสนาอยา่ งลกึ ซ้งึ และกวา้ งขวาง ๓. พัฒนาสร้างสรรค์ คือสร้างสรรค์สังคมไทย ให้มีสภาพแวดล้อมเก้ือกูลแก่การศึกษา และ การปฏิบัติตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา ทั้งในส่วนบุคคลและสังคม โดยเฉพาะอย่างย่ิงทางศาสนจักร จะตอ้ งมุ่งเนน้ การพัฒนาด้านจิตใจให้มากกวา่ ด้านวัตถุ เพือ่ สร้างสงั คมไทยใหเ้ ป็นแผน่ ดนิ ธรรมแผน่ ดินทองให้ได้ ๔. ความสาํ คัญของพระพทุ ธศาสนาในฐานะเปน็ สถาบนั หลกั ของสงั คมไทย สถาบันหลักของสังคมไทยมีอยู่ ๓ สถาบัน คือ สถาบันชาติ สถาบันศาสนา (อันหมายถึง พระพทุ ธศาสนา) และสถาบนั พระมหากษัตรยิ ์ ทง้ั สามสถาบนั นี้ต่างพงึ่ พาอาศัยกัน เกื้อหนุนคํ้าจุนกัน และดํารง อยู่คู่กับสังคมไทยตลอดมา เราสามารถกล่าวได้ว่าประวัติศาสตร์ของชาติไทย ก็เป็นประวัติศาสตร์ของ พระพุทธศาสนาด้วย สีทั้งสามของธงไตรรงค์ ซ่ึงเป็นธงชาติไทย ก็เป็นสัญลักษณ์ยืนยันสถาบันหลักของ สังคมไทย กล่าวคือ สีแดง หมายถึง ชาติ, สีขาว หมายถึง พระพุทธศาสนา และสีนํ้าเงิน หมายถึง พระมหากษัตริย์ เท่ากับเป็นการยืนยันว่า ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ เป็นสถาบันหลักสําคัญของ ประเทศ จะขาดอยา่ งใดอย่างหนึ่งไปมิได้ เหตผุ ลทีท่ ําให้พระพทุ ธศาสนา เป็นสถาบนั หลักอย่างหนงึ่ ของสังคมไทยก็คือ ๑. พระพุทธศาสนาเป็นสถาบันคู่กับชาติไทย พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจําชาติไทย มาตั้งแต่ พุทธศตวรรษท่ี ๓ เมื่อคร้ังพระเจ้าอโศกมหาราชทรงส่งสมณทูต คือพระโสณะและพระอุตตระ นํา

๑๖ พระพุทธศาสนามาเผยแผ่ยังดินแดนสุวรรณภูมิ ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นแถบจังหวัดนครปฐม จนถึงปัจจุบัน พระพทุ ธศาสนาก็คงดํารงอยู่เคียงคกู่ ับชาตไิ ทยมาโดยตลอด ๒. พระมหากษัตริยท์ รงเปน็ พุทธมามกะ พระมหากษตั ริยไ์ ทยทุกยุคทุกสมัย ทรงเป็นพุทธมามกะโดย พระราชประเพณี และต่อมา ได้ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญการปกครองด้วย พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ก่อนข้ึน ครองราชย์ มีพระราชประเพณีให้ออกผนวชชั่วคราว เพื่อศึกษาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา และนํา หลักธรรมน้นั ๆ มาประยุกต์ใช้ในการปกครองประเทศ ในกรณีที่ไม่สามารถออกผนวชก่อนขึ้นครองราชย์ ก็ต้อง ออกผนวชหลังจากนั้น (ดังกรณีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลปัจจุบัน พระองค์ได้เสด็จออกผนวช เม่อื วันท่ี ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ โดยทรงมพี ระฉายาวา่ “ภมู พิ โล ภกิ ข”ุ ) ๓. พระมหากษัตริย์ทรงเป็นองค์อัครศาสนูปถัมภก คือ ทรงให้ความสําคัญในการอุปถัมภ์บํารุง พระพทุ ธศาสนา ซ่งึ ถือวา่ เปน็ พระราชภารกจิ สําคญั ทีจ่ ะทรงอุปถมั ภพ์ ระพทุ ธศาสนา เช่น ทรงสรา้ งวดั ทรงปฏสิ งั ขรณ์วัด และปูชนียสถานต่างๆ อาทิ รัชกาลท่ี ๑ ทรงสร้างวัดพระศรีรัตน- ศาสดาราม วัดสุทัศนเทพวราราม ทรงปฏิสังขรณ์วัดโพธาราม (วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม), รัชกาลที่ ๒ ทรงบูรณะวัดอรุณราชวราราม วัดสุทัศนเทพวราราม และวัดสมอราย (วัดราชาธิวาส), รัชกาลที่ ๓ ทรงสร้าง วัดราชนัดดาราม วัดเฉลิมพระเกียรติ และทรงบูรณะวัดต่างๆ อีกมากมาย, รัชกาลที่ ๔ ทรงสร้างวัดบรมนิวาส วัดโสมนัสวิหาร วัดปทุมวนาราม วัดมกุฏกษัตริยาราม, รัชกาลท่ี ๕ ทรงสร้างวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม วัดราชบพิธ วัดเทพศิรินทราวาส, รัชกาลต่อๆ มาก็ทรงเอาพระทัยใส่ต่อการพระพุทธศาสนาทุกพระองค์ จะ เห็นได้ว่าพุทธสถานตลอดจนพระพุทธรูปสําคัญ ท่ีเกิดขึ้นในประเทศไทย เป็นเพราะพระมหากษัตริย์ไทยทรง สร้างไว้ให้เปน็ มรดกของชาติเกอื บท้ังสิน้ ทรงอุปถัมภ์การศึกษาพระพุทธศาสนา คือ ทรงสนับสนุนการศึกษาพระปริยัติธรรม (การเรียน ของพระภิกษสุ ามเณร) พระมหากษัตริย์บางพระองค์ทรงเชี่ยวชาญภาษาบาลีและพระไตรปิฎก ทรงจัดให้มีการ บอกหนังสือ และการสอบไล่ในพระบรมมหาราชวัง โดยพระมหากษัตริย์ประทับน่ังเป็นสักขีพยาน จนทําให้มี การเรียกขานการสอบไลข่ องพระภิกษสุ ามเณรวา่ “สอบสนามหลวง” มาจนบัดนี้ ทรงส่งเสริมการปฏิบัติ คือ ทรงอุปถัมภ์พระที่เช่ียวชาญด้านวิปัสสนาธุระ ในคราวขาดแคลน ถึงกับต้องแสวงหาพระนักปฏิบัติ มาสืบต่อพระศาสนาก็มี ดังกรณีสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เสด็จไป อาราธนาพระอาจารย์ศรีข้ึนมาจากเมืองนครศรีธรรมราช แล้วสถาปนาให้ดํารงตําแหน่งสมเด็จพระสังฆราช เพื่อฟ้นื ฟูบรู ณะพระพุทธศาสนา ใหก้ ลับฟ้นื คนื สคู่ วามเจรญิ รุ่งเรืองเหมอื นดังเดมิ เปน็ ต้น ทรงยกย่องพระสงฆ์ คือ ทรงยกย่องพระสงฆ์ท่ีเช่ียวชาญในพระปริยัติ และด้านการปฏิบัติ ให้ ดํารงสมณศกั ด์ิตามความสามารถ และตามความเหมาะสม ทรงแก้ไขปัญหาวิกฤติของพระพุทธศาสนา ในคราวพระพุทธศาสนาประสบภาวะวิกฤติ พระมหากษัตริย์ทรงชําระสังฆมณฑลให้บริสุทธิ์ ดังกรณีสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงชําระสังฆมณฑล เมอื งเหนือคร้ังใหญ่ เม่ือ พ.ศ. ๒๓๑๓ เป็นต้น ทรงสนับสนุนการสังคายนา ดังในสมัยรัชกาลท่ี ๑ พระองค์ได้ทรงสนับสนุน และทรงอุปถัมภ์ การสงั คายนา คอื การชําระพระไตรปฎิ กใหค้ งความบริสทุ ธ์บิ รบิ รู ณ์ เพอื่ ความดํารงม่ันแหง่ พระพทุ ธศาสนา

๑๗ ทรงวางพระองค์เป็นแบบอย่างของชาวพุทธท่ีดี พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ ทรงดํารงอยู่ในศีล ทรงทศพธิ ราชธรรม จักรวรรดิวัตร และมีพระราชจรรยานุวตั ร เป็นแบบอย่างทดี่ ีแก่พสกนกิ ร ๔. รัฐบาลไทยส่งเสริมสนับสนุนพระพุทธศาสนา หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นระบอบประชาธิปไตย พระราชอํานาจและพระราชภารกิจในการอุปถัมภ์บํารุง พระพุทธศาสนา ก็ถูกมอบหมายให้กับรัฐบาล เพื่อสนองงานดังกล่าว เพราะฉะน้ัน รัฐบาลไทย จึงมีหน้าท่ี โดยตรงที่จะอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา ทั้งในด้านการศึกษา และการปฏิบัติพระศาสนา โดยผ่านทางหน่วยงานที่ เกี่ยวขอ้ ง เช่น สํานกั งานพระพทุ ธศาสนาแหง่ ชาติ และกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม เปน็ ตน้

๑๘ บทท่ี ๒ หลกั การครองตน เปน็ คนดี มีความสุข ................................................................................................................................... สาระการเรยี นรู้ ๑. เบญจศลี -เบญจธรรม ๒. กศุ ลกรรมบถ ๑๐ ๓. อบายมขุ ๔ และ อบายมุข ๖ ๔. อกุศลมูล ๓ และ กศุ ลมลู ๓ ๕. การคบมติ ร (มติ รแท้ ๔, มิตรเทยี ม ๔) ๖. ทิฏฐธัมมกิ ัตถประโยชน์ ๔ ประโยชนใ์ นปจั จุบนั (การสร้างตัว) ๗. บญุ กริ ยิ าวตั ถุ ๓ ๘. สัปปุรสิ ธรรม ๗ ๙. อบุ าสกธรรม ๕ ๑๐. มิจฉาวณชิ ชา ๕ ๑๑. อารยวัฑฒิ หรอื อารยวัฒิ เครอ่ื งวัดความเจรญิ ของชาวพุทธ ๕ อยา่ ง ๑๒. นาถกรณธรรม ธรรมเพอ่ื ให้บคุ คลพง่ึ ตนเองได้ ๑๐ อย่าง วตั ถุประสงค์ เมือ่ ศึกษาบทเรยี นน้จี บแลว้ ผู้เข้ารับการศึกษาสามารถ เข้าใจและอธิบายหลักธรรม สําหรับการครองตน ให้เป็นคนดี มีความสุข และสามารถนําหลักธรรมดังกล่าว ไปประยุกตใ์ ชใ้ นการดาํ เนนิ ชวี ติ ประจาํ วันได้ กิจกรรมระหว่างเรียน ๑. บรรยาย ๒. สอบถาม ๓. ใบงาน สอื่ การสอน ๑. เพาเวอรพ์ อยท์ ๒. เอกสารตาํ รา ๓. คลปิ วีดโิ อทเ่ี ก่ียวข้อง ประเมนิ ผล ๑. ใหต้ อบคาํ ถาม ๒. แบบทดสอบหลังเรียน

๑๙ ๑. เบญจศลี -เบญจธรรม หลักปฏิบัติท่ีจะทําให้ผู้ปฏิบัติ ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีความดีอย่างสมบูรณ์ นอกจากจะละเว้นการทําความ ช่ัวแล้ว ยังต้องกระทําคุณความดีด้วยศีลธรรม ข้อปฏิบัติเพื่อฝึกหัดกล่อมเกลานิสัยจิตใจของคนให้ประณีต มี มากมายหลายประการ แต่เม่อื กล่าวถึงศีลธรรมพื้นฐาน ท่ีสมควรจะปลูกฝังให้เกิดมีก่อนหลักธรรมอ่ืนๆ แล้วก็มี ๒ ประการคอื เบญจศลี และเบญจธรรม ซึ่งเป็นขอ้ ปฏิบัติเบ้อื งตน้ ท่คี วรยึดถือและปฏบิ ัติตาม เพอื่ ความสงบสุขของ ชีวิตและสังคมโดยส่วนรวม หลักแห่งพระพุทธโอวาทคือ หลักการท่ีเราจะปฏิบัติตามคําสอนของพระพุทธศาสนา มี ๓ ข้อ ใน หลกั ทง้ั ๓ ข้อนี้ ถ้าพิจารณาถงึ งานท่ที ําก็มีอยู่ ๒ ลกั ษณะ คือ ๑. เว้นจากการทําความช่วั ๒. บาํ เพ็ญคณุ ความดี ความชั่วเป็นข้อควรเว้นเป็นเบ้ืองต้น คือ การทําผิดศีลห้า ส่วนคุณความดีท่ีควรบําเพ็ญ คือธรรม ใน ทนี่ ีท้ ่านแสดงไว้ ๕ ขอ้ คูก่ บั ศีล ศลี ๕ เรยี กวา่ เบญจศีล และธรรม ๕ เรียกว่า เบญจธรรม เบญจศีล หรือ ศีล ๕ ประการคือ ๑. ปาณาติปาตา เวรมณี เจตนางดเวน้ จากการฆา่ สัตว์ คือ ละเว้นการฆ่า การสังหาร ไม่ประทุษร้าย ตอ่ ชวี ิตและร่างกาย ท้งั นี้ รวมถึงการไม่ทํารา้ ยร่างกาย การทรมาน การใช้แรงงานของคน และสัตว์จนเกินกําลัง ความสามารถดว้ ย ๒. อทินฺนาทานา เวรมณี เจตนางดเว้นจากการลักทรัพย์ คือ ละเว้นการลักขโมย เบียดเบียนแย่งชิง ไม่ประทุษร้ายต่อทรัพย์สิน ท้ังนี้ รวมถึงการไม่ถือเอาส่ิงของที่เจ้าของเขาไม่ให้มาเป็นของตนด้วย ไม่ว่าจะเป็น โดยวิธีการหลอกลวง ฉอ้ โกง เบียดบงั ยักยอก ตลอดจนการทําความเสยี หายใหแ้ กท่ รพั ยส์ นิ ของผู้อื่นโดยมิชอบ ๓. กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี เจตนางดเว้นจากการผิดประเวณี คือ ละเว้นประพฤติผิดในกาม ไม่ ประทุษร้ายต่อของรักของหวงแหน อันเป็นการทําลายเกียรติภูมิและจิตใจ ตลอดจนทําวงศ์ตระกูลเขาให้สับสน หมายถึง การไม่ไปยุ่งเก่ียวทางเพศสัมพันธ์กับหญิงหรือชายที่มีคู่ครองแล้ว ผู้ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ และผู้ที่ กฎหมายคุม้ ครอง ๔. มุสาวาทา เวรมณี เจตนางดเว้นจากการกล่าวเท็จ คือ ละเว้นจากการพูดเท็จโกหกหลอกลวง ประทษุ รา้ ยเขาหรอื ประโยชนส์ ุขของเขาด้วยวาจา หมายถึง การไม่มีเจตนาที่จะบิดเบือนความจริงทุกอย่าง เช่น ไม่ พดู เล่นสํานวนใหค้ นเข้าใจผดิ ไมอ่ วดอ้างตนเอง ไม่พูดเกนิ ความจรงิ หรอื ไมพ่ ดู นอ้ ยกว่าท่ีเปน็ จริง เปน็ ต้น ๕. สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี เจตนางดเว้นจากการด่ืมนํ้าเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็น ท่ีต้ังแห่งความประมาท คอื ไม่เสพเคร่อื งดองของเมาสิง่ เสพตดิ อันเป็นเหตุให้เกิดความประมาทมัวเมา ก่อความ ฉิบหาย เสียหาย ผิดพลาด เพราะขาดสติ หมายถึง ละเว้นการด่ืมเคร่ืองดื่มที่ทําให้ตนเองครองสติไม่อยู่ เช่น เหล้า เบียร์ นํ้าตาลเมา และรวมถึงละเว้นการเสพสิ่งเสพติดท้ังหลายด้วย ไม่ว่าจะเป็น ยาบ้า บุหรี่ ฝิ่น กัญชา เฮโรอีน เป็นต้น

๒๐ ความหมายของศลี คําว่า ศีล แปลได้หลายนัย หลายความหมาย เช่นแปลว่า ปรกติ ท่ี “รักษาศีล” ก็คือตั้งใจรักษา ปรกติของตนนั่นเอง ต้องทําความเข้าใจเรื่องปรกติก่อน แล้วจะเข้าใจเรื่องรักษาศีลได้ดีขึ้น ทุกส่ิงทุกอย่างมี ความปรกตใิ นตนประจําอยู่ทง้ั น้ัน ดังตวั อยา่ งต่อไปนี้ ดวงอาทิตย์ ข้ึนทางทิศตะวันออกเวลาเช้า ส่องแสงสว่างอยู่ตลอดวัน แล้วหายลับไป ทางทิศ ตะวันตกในเวลาเย็น การขึ้น การส่องแสง และการหายลับไปอย่างน้ี เป็นปรกติของดวงอาทิตย์ เพราะดวง อาทติ ยเ์ ปน็ อย่างนท้ี กุ วัน ถา้ ดวงอาทิตยเ์ กิดมอี ันเป็นไปอย่างอ่ืนนอกจากน้ี กเ็ รียกวา่ ผิดปรกติ เช่น กลางวันเคย ส่องแสงกลบั ไม่สอ่ งแสง อยา่ งน้ีเปน็ ตน้ เรยี กว่า ผดิ ปรกติ การรักษาศีลท้ัง ๕ ข้อ นั้น เป็นการรักษาปรกติของตนน่ันเอง ลองพิจารณาดูว่า ข้อห้ามท้ัง ๕ ข้อ ตรงกนั กับปรกตขิ องคนใช่หรอื ไม่ ขอใหพ้ ิจารณาทลี ะข้อดังต่อไปน้ี ๑. การฆ่ากับการไม่ฆ่า อย่างไหนเป็นปรกติของคน แน่นอน ปรกติของคนต้องไม่ฆ่ากัน อย่างท่ีเรา อยู่ในลักษณะนี้แหละ ไม่ใช่ว่าคนเราจะต้องฆ่ากันอยู่เร่ือย ถ้าการฆ่ากันเป็นปรกติของคน ตัวเราเองก็จะถูกคน อ่ืนฆ่าไปนานแล้ว เท่านี้ก็เห็นได้แล้วว่า ปรกติของคนต้องไม่ฆ่ากัน ส่วนการฆ่าเป็นการทําผิดปรกติ โดยนัยนี้ การรกั ษาศีลข้อที่ ๑ คอื ตง้ั ใจไม่ฆ่า กค็ อื ต้ังใจอย่ใู นปรกติเดิมน่นั เอง ๒. การขโมยกับการไม่ขโมย อย่างไหนเป็นปรกติของคน การไม่ขโมยนั่นแหละ เป็นปรกติ ปรกติ ของคนต้องทํามาหากิน ไม่ใช่แย่งกันกินโกงกันกิน ไม่เหมือนไก่ ไก่น้ัน ถ้าหากินด้วยกันตั้งแต่สองตัวข้ึนไป มัน ต้องแย่งกันกิน ตัวหนึ่งคุ้ยดินหาอาหาร อีกตัวหน่ึงขโมยจิกกิน ประเดี๋ยวเดียว ตัวคุ้ยก็ตีตัวขโมย ปรกติของไก่ เป็นอย่างนี้ ไม่เหมือนปรกติของคน เราเป็นคนจะต้องอยู่ในปรกติของคน ถ้าใครคิดแย่งกันกิน ขโมยกันกิน ก็ ผิดปรกตขิ องคน แต่ไพลไ่ ปอย่ใู นปรกติของไก่ การรกั ษาศลี ข้อท่ี ๒ คือ ต้ังใจไม่ขโมยของของคนอ่ืน ที่แท้ ก็คือ อยูใ่ นปรกตเิ ดิมของตนนั่นเอง ๓. เก่ียวกับประเวณี ปรกติของคนย่อมหวงแหนประเวณี และเห็นอกเห็นใจคนอื่นในเรื่องนี้ ไม่ เหมือนพวกเดรัจฉานที่ส้องเสพสําส่อน เพราะปรกติของเดรัจฉานเป็นอย่างนั้น เป็นความจริงใช่หรือไม่ มนุษย์ เราก็จึงต้องอยู่ในปรกติของคน คือไม่ล่วงเกินประเวณี การรักษาศีลข้อที่ ๓ จึงเป็นการต้ังอยู่ในปรกติของตน อกี เหมอื นกนั ๔. เก่ียวกับการกล่าวเจรจา ตามปรกติ เรากล่าวความจริงกันเป็นพ้ืน ไม่ใช่โกหกกันเร่ือยไป เพราะฉะน้นั การรักษาศลี ข้อที่ ๔ คือ ตั้งใจงดเว้นการกล่าวคําเทจ็ ทีแ่ ท้ กค็ ืออยู่ในปรกติเดมิ ของตนน่ันเอง ๕. เก่ียวกับการดื่มสุรา คนเราไม่ใช่ว่าจะต้องด่ืมสุราอยู่เรื่อยอย่างนั้นก็หาไม่ เพราะแม้คนท่ีติดสุรา ขนาดไหนกค็ งทําไม่ได้ ใครขนื ทาํ ก็ตาย ปรกติของคนคอื ดืม่ นาํ้ บรสิ ุทธิ์ ไม่ใชด่ ืม่ สรุ า ส่วนการดื่มสุรานัน้ เป็นการ ทําผิดปรกติ ฉะนัน้ การรกั ษาศีลข้อท่ี ๕ คอื เว้นจากการดม่ื สรุ า กเ็ ป็นการอยใู่ นปรกติเดิมของตนอกี นน่ั แหละ ศีลวตั ร บางทอี าจจะสงสัยกนั วา่ ที่ว่าการรกั ษาศีล เปน็ การรกั ษาปรกติ อยู่ในปรกติเดมิ แต่เหตุไฉนศีล ๘ ศีล ๑๐ จึงห้ามในส่ิงท่ีเป็นปรกติอยู่แล้ว เช่น ห้ามเสพเมถุน และห้ามรับประทานอาหารเย็น เพราะปรกติของ มนษุ ย์ตอ้ งเสพกาม และตอ้ งกนิ อาหาร จะไม่คา้ นกบั ที่อธบิ ายมาแลว้ หรือ

๒๑ ขอชี้แจงว่า ศีล ท่ีแปลว่ารักษาปรกติ นั้น มุ่งถึงศีล ๕ โดยตรงเท่าน้ัน ส่วนศีลช้ันสูง สูงกว่าศีล ๕ ขึ้น ไป มีลักษณะและความมุ่งหมายต่างจากศีลห้า เข้าลักษณะเป็น “วัตร” นักศึกษาคงจะเคยได้ยินคําว่า “ศีล วัตร” หรอื “ศีลพรต” หรือคําว่า “บําเพ็ญพรต” คาํ วา่ พรต กบั คําว่า วตั ร เปน็ คาํ เดียวกัน หมายถึงข้อปฏิบัติ เพ่ือฝึกฝนตนเอง ให้สามารถถอนใจออกจากกามารมณ์ได้ทีละน้อยๆ เป็นทางนําไปสู่การละกิเลสได้เด็ดขาด ต่อไป ข้อปฏิบัติในขั้นวัตร เป็นการฝืนปรกติของคนนั้นถูกแล้ว ยิ่งวัตรช้ันสูง ชั้นพระภิกษุ ยิ่งฝืนปรกติเอามาก ทเี ดยี ว ผลการรกั ษาศีล ผลของการรกั ษาศีล เราจะแยกพิจารณาเปน็ ๓ ลกั ษณะคอื ๑. ผลทางส่วนตัว การรักษาศีล มีความมุ่งหมายปรากฏชัดเจนอยู่แล้วว่าเป็นการเว้น จากการ กระทําที่ไม่ดี ทั้งน้ี หมายความว่า การรักษาศีล เป็นการป้องกันตัวเราไว้ไม่ให้เส่ือมเสียลงไป ข้อนี้เป็นเหตุผล ตรงตวั เมอื่ ท่านศกึ ษารายละเอียดของศีลแต่ละข้อแล้ว ย่ิงจะเห็นได้ชัดว่า การรักษาศีล เป็นการป้องกันตัวมิให้ เสื่อมเสียอย่างดียิ่ง เป็นการรักษาพื้นฐานของชีวิตเพื่อความเจริญแก่ส่วนตนโดยเฉพาะ และมีผลต่อสังคม โดยรวมอกี ต่างหาก ซ่งึ ในท่นี ้ีจะไดแ้ สดงถึงพ้นื (ฐาน) ของคนและส่วนประกอบท่เี ก่ียวข้องต่อไปดังน้ี พ้นื ของคน การรักษาศีล เป็นการปรับพ้ืนตัวของผู้รักษาศีลน้ันเองให้เป็นคนมีพ้ืนดี เหมาะที่จะสร้างความดี ความเจริญแก่คนสว่ นรวมต่อไป พน้ื เปน็ สงิ่ สาํ คัญมาก แตค่ นไม่ค่อยสนใจ การจะทําอะไรทุกอย่าง ต้องพิจารณาถึงพ้ืนเดิมของส่ิง นน้ั ก่อน ตอ้ งทาํ พนื้ ให้ดี ส่ิงที่ทํานั้นจึงจะเด่นดีขึ้น อย่างเวลาเขียนรูป ก่อนท่ีจะวาดรูปลงไป ผู้เขียนต้องลงสีพื้น ก่อน จะให้พื้นเป็นสีอะไร ต้องเลือกให้เหมาะๆ แล้วก็ลงสีพื้น ถ้าพ้ืนไม่เด่น รูปก็ไม่เด่น ถึงการเขียนหนังสือก็ เหมอื นกัน ตอ้ งใชพ้ ื้นกระดาษทเี่ ขยี นได้สะอาดเรียบร้อยจึงจะดี ถึงคนผู้มีลายมือดี ถ้าเขียนลงบนพื้นเลอะเทอะ เปรอะเป้ือน คุณค่าของหนังสือก็ดีไม่ถึงขนาด ถนนลาดยาง หรือถนนคอนกรีตที่เราสัญจรไปมาอยู่น่ีก็ เหมือนกัน เวลาทํา นายช่างต้องลงพื้นให้ดีเสียก่อน ถ้าพ้ืนไม่ดี ถ้าทํากันสักแต่ว่าสุกเอาเผากิน ไม่ช้าก็ทรุด ตึก รามใหญ่ๆ โตๆ ที่เราเห็นกันอยู่ทั่วไปก็เหมือนกัน พ้ืนนั้นสําคัญมาก ต้องตอกเสาเข็มลงรากให้แข็งแรง ไม่เช่นนั้นจะทรุด และถ้าลงได้ทรุดแล้ว จะซ่อมยากลําบากลําบนจริงๆ ให้ฝาหรือหลังคารั่วเสียอีก ดูเหมือนจะ ดีกวา่ พ้ืนทรุด เพราะซอ่ มง่ายกวา่ ลงทุนน้อยกวา่ คนเราก็มีลักษณะเหมือนถนนหนทาง หรืออาคารบ้านเรือน ดังกล่าวแล้ว ถ้าพ้ืนดี ก็ดี ถ้าพื้นเสีย ก็เสียหาย คนพ้ืนดี ทําอะไรก็ดีขึ้น ไม่ว่าจะเล่าเรียน หรือเป็นข้าราชการ ทหาร ตํารวจ เป็นพ่อค้า ชาวนา ชาวสวน จนกระท่ังบวชเป็นพระสงฆ์ ก็มีความเจริญก้าวหน้า ที่เรียกว่าทําข้ึน ถ้าได้พ้ืนดีแล้ว จะดีจริงๆ จึง กลา่ วไดว้ ่าโชคลาภในชีวิตอะไรๆ ก็ดูจะสู้เป็นคนที่มีพื้นดีไม่ได้ และถ้าว่าข้างอาภัพ คนท่ีอาภัพที่สุด ก็คือคนท่ีมี พื้นเสยี ทาํ อะไรไม่ดีข้ึน

๒๒ วธิ ีสังเกตพ้นื คน การจะดพู ้ืนว่าดหี รอื ไมด่ ี เป็นการท่ยี ากสกั หนอ่ ย เพราะเป็นของท่ีจมอยู่ข้างล่าง หรือแอบแฝงอยู่ เบื้องหลัง เหมือนพ้ืนรากของโบสถ์ วิหาร ก็จมอยู่ในดิน ไม่ได้ข้ึนมาลอยหน้าอวดใครๆ เหมือนช่อฟ้า ใบระกา แต่ถงึ จะดยู าก เรากต็ ้องพยายาม ต้องหัดดูให้เป็น วิธีดูพ้ืนของสิ่งต่างๆ ล้วนมีท่ีสังเกต คือ สังเกตส่วนที่ปรากฏออกมาให้เห็นนั่นเอง เช่นจะดูพื้น ถนนว่าดีหรือไม่ดี ก็ดูหลุมบ่อ ดูพื้นตึก ก็ให้ดูรอยร้าว เช่น ถ้าเราเห็นตึกหลังใดมีรอยร้าวตามฝาผนังเป็นทางๆ เราก็สนั นิษฐานได้วา่ รากหรอื พื้นตึกหลงั น้ันไม่ดี รอยรา้ วทั้งห้า การดูพื้นคน ก็ให้ดูรอยร้าวเหมือนกัน อาการที่เป็นรอยร้าวของคนท่ีสําคัญมี ๕ อย่าง ใช้คําเรียก อยา่ งสามญั ได้ ดงั น้ี ๑. โหดรา้ ย ๒. มือไว ๓. ใจเรว็ ๔. ขป้ี ด ๕. หมดสติ ถ้าใครมีรอยรา้ วทงั้ ๕ อยา่ งนปี้ รากฏออกมา ใหพ้ ึงรูเ้ ถอะวา่ ผู้นนั้ เปน็ คนพนื้ เสีย อาคารสถานท่ีท่ีพ้ืนไม่แข็งแรง ถ้าปล่อยไว้เป็นท่ีว่างเปล่า เพียงแต่ทรงตัวของมันอยู่บางทีก็อยู่ได้ คือ ทรงรปู ร่างอยูไ่ ด้ไม่ทรุดไมพ่ ัง แตเ่ วลาใชก้ าร เชน่ มคี นขึ้นไปอยู่ หรือนาํ สิง่ ของขนึ้ ไปเก็บ อาคารจะทนไม่ไหว ประเด๋ียวก็ทรุด พลาดท่าพังครืนท้ังหลัง เคยมีตัวอย่างมาแล้ว ผู้ที่พื้นเสียก็เหมือนกัน ลําพังเขาเองก็อยู่ได้ แต่ พอมีหน้าท่ีต้องรองรับเขา้ กท็ นไม่ไหว การรักษาศีล ๕ เป็นเรื่องของการทําพื้นตัวโดยตรง พื้นตึก นายช่างสร้างด้วยไม้ ด้วยหิน ปูน ทราย และเหลก็ แตพ่ ืน้ คน ตอ้ งสรา้ งดว้ ยศลี ลงศีลหา้ เป็นพน้ื ไวเ้ สียแล้ว รอยร้าวท้ังห้าจะไมป่ รากฏ ๒. ผลทางสังคม การอยู่ร่วมกันของมนุษย์ ซ่ึงเรียกว่า สังคม ต้ังแต่ส่วนน้อยจนกระท่ังถึงส่วนใหญ่ จะมคี วามสุขความเจรญิ ได้ ต้องมีความสงบ (สันต)ิ เปน็ พน้ื ฐาน ถ้าความสงบมีสุขอ่ืนก็มีขึ้นได้ ถ้าไม่มีความสงบ แล้ว สุขอื่นก็พังทลาย ดังน้ัน ความสงบ หรือสันติ จึงเป็นสิ่งท่ีสังคมต้องการอย่างย่ิง ก็ความสงบของสังคมนั้น ย่อมมาจากคนในสังคมแต่ละคนน่ันเองเปน็ ผูส้ งบ ถ้าคนในสังคมเป็นผู้ไม่สงบแล้ว ความสงบของสังคมจะมีไม่ได้ เลย คนรักษาศีล กเ็ ปน็ คนทาํ ความสงบแก่ตนเอง คือ ทําตนเองให้สงบ และการทําตนเองให้สงบ ก็เท่ากับสร้าง ความสงบใหแ้ กส่ ังคมโดยตรงนั่นเอง ๓. ผลทางประเทศชาติ การดาํ รงรกั ษาประเทศชาติ มีภาระสาํ คัญย่ิงอยู่ ๒ ประการ คือ ๓.๑ การบํารุงให้ประเทศชาติเจริญ เช่น การเสริมสร้างการศึกษา การบําบัดทุกข์บํารุงสุข การสง่ เสรมิ อาชีพ เปน็ ตน้ และ ๓.๒ การรกั ษา คือปอ้ งกนั การรุกรานจากศตั รู ทง้ั ๒ ประการน้ีรวมเรียกว่า บาํ รุงรักษาประเทศชาติ ได้มีผู้ข้องใจอยู่ว่า การท่ีคนรักษาศีล ทําให้การ บํารุงรักษาประเทศชาติไม่ได้ผลเต็มที่ ที่คิดดังน้ีเป็นเพราะคิดแง่เดียว คือนึกถึงตรงที่ประหัตประหารข้าศึก

๒๓ เทา่ นั้น ซึง่ ความจริงแล้วการบาํ รงุ รักษาชาติ ยังมอี ีกร้อยทางพนั ทาง ซงึ่ มีความสงบเป็นพ้นื ฐาน และเราได้ความ สงบนั้นก็จากบุคคลแต่ละคน ซ่ึงเป็นผู้มีศีลดังกล่าวแล้ว ลองนึกวาดภาพดูซิว่า ถ้าคนทั้งประเทศท้ิงศีลกันหมด ฆ่าฟนั กนั อยทู่ ่วั ไป ลักปล้นฉ้อโกงกันดาษดนื่ ล่วงเกนิ บตุ รภรรยากันอยา่ งไม่มียางอาย โกหกปลิ้นปล้อน และดื่ม สุรายาเมา สูบฝิ่นกินกัญชาท้ังเด็กท้ังผู้ใหญ่ เหตุการณ์จะเป็นอย่างไร อย่าว่าแต่จะปราบศัตรูภายนอกเลย แมแ้ ต่จะปราบโจรภายใน ก็ไม่ไหวแล้ว ถึงแม้ยามสงคราม ที่ทหารอุตส่าห์ทิ้งครอบครัวไปรบ ก็เพราะเชื่อแน่ว่า เพือ่ นร่วมชาติที่อยู่แนวหลัง จะเปน็ คนมีศีล ไม่ข่มเหงครอบครัวเขา และเชื่ออีกว่าครอบครัวเขาเองก็มีศีลมีสัตย์ ต่อเขาดว้ ย บรรพบุรุษของเรา รักษาประเทศชาติให้อยู่รอดมาได้จนถึงทุกวันน้ี ก็เพราะชาวไทย เราพากันรักษา ศีล คือ ไม่ทําลายล้างผลาญกันทั้งทางชีวิตร่างกาย ทางทรัพย์ และทางอ่ืนๆ เราไม่ทําลายกันและกัน เรา ควบคุมกันเป็นปึกแผ่น ดินแดนไทยก็เป็นถ่ินที่สงบน่าอยู่ บางคราวมีเหตุร้ายเกิดข้ึน เพราะคนไม่มีศีล เรา ชาวไทยตอ้ งทาํ การปราบปรามเหตกุ ารณ์รา้ ยน้นั ให้สงบราบคาบอยา่ งเด็ดขาด การสู้รบน้ัน เป็นวิธีสุดท้ายท่ีเรา ทําดว้ ยความรกั ประเทศชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ของเรา เราต้องการให้ประชาชนพลเมืองมีความสงบ สุขเท่าน้ัน หาใช่กระทําด้วยความเหี้ยมโหดทารุณในจิตใจไม่ เรารักเย็น เราเกลียดร้อน แต่เม่ือไฟไหม้ขึ้นแล้ว เราก็ต้องว่ิงเข้าไปหาไฟ เพ่ือจะดับไฟนั้น แม้การเข้าไปดับไฟตัวจะร้อนแทบไหม้ เราก็ต้องยอมทน เพราะเห็น แก่ประโยชน์ส่วนใหญ่ การรักษาศีล จึงไม่ได้ทําให้กําลังป้องกนั รกั ษาประเทศชาติของเราออ่ นลง บรรพบุรุษของเรา ท่านได้ นาํ ประเทศชาติลุล่วงมาจนถึงตัวเราทุกวันนี้ ท่านก็รักษาศีล คนรักษาศีลเป็นคนอ่อนก็จริง แต่เป็นการอ่อนโยน ไม่ใช่อ่อนแอ ความอ่อนโยนเป็นเกราะป้องกันตัวดีท่ีสุด เพราะไม่ทําให้คนอ่ืนมาเป็นศัตรู การที่เราชาวไทยยึด มัน่ ในศีล คอื ชอบสงบเรยี บร้อย จึงเปน็ การสร้างกําแพงเหล็กกล้าป้องกนั ประเทศชาติของเราดว้ ย วิรตั ิ ศีล จะมีได้ก็ด้วยการต้ังเจตนางดเว้นจากความผิดนั้นๆ ถ้าไม่มีเจตนาจะงดเว้น แม้มิได้ทําการละเมิด เช่นผู้ร้ายท่ีถูกจับขังไว้ ขณะท่ีอยู่ในห้องขังน้ัน ไม่ได้ฆ่าคน ไม่ลักของของใคร ก็ไม่นับว่า มีศีล (เว้นแต่เขาจะมี เจตนางดเว้น) เจตนางดเว้นจากการทาํ ผิดศีล เรยี กว่า “วริ ัติ” มี ๓ อยา่ ง คือ ๑. สมาทานวริ ัติ เจตนางดเว้นดว้ ยการสมาทานศลี ไวล้ ว่ งหน้า ๒. สมั ปตั ตวริ ัติ เจตนางดเว้นเม่อื เผชญิ กบั เหตทุ จ่ี ะทําให้ผดิ ศลี ๓. สมุจเฉทวิรตั ิ เจตนางดเว้นเดด็ ขาดของทา่ นผ้สู ิ้นกิเลสแลว้ หลักการรักษาศลี เร่ืองการศึกษาศีลแต่ละสกิ ขาบทน้ี เราต้องหาความรู้ และความเข้าใจใน ๔ จดุ โดยรวม คือ ๑. ความมุ่งหมาย ๒. ข้อห้าม ๓. หลักวนิ จิ ฉัยโทษ ๔. เหตผุ ลอน่ื

๒๔ เบญจศีลสกิ ขาบทท่ี ๑ ปาณาติปาตา เวระมะณี เจตนางดเว้นจากการฆา่ สตั ว์ ๑. ความมุ่งหมาย ท่านบัญญัติศีลข้อนี้ไว้ โดยมุ่งให้มนุษย์อบรมจิตของตนให้คลายความเหี้ยมโหด มเี มตตากรณุ าต่อกันและกัน เผอ่ื แผแ่ กส่ ตั วท์ ง้ั ปวงด้วย ๒. ข้อห้าม ในสิกขาบทนี้ หา้ มการฆา่ โดยตรง แตผ่ รู้ ักษาศีล พงึ เวน้ จากการกระทําอันเป็นบริวารของ การฆ่าดว้ ย คือ ๒.๑ การฆ่า (ทําให้ศีลขาด) - กิริยาท่ีฆ่า หมายถึง การทําชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป คําว่า สัตว์ หมายเอามนุษย์และ เดยี รัจฉานทกุ ชนดิ ชนั้ ทสี่ ุดแมส้ ัตวใ์ นครรภ์ - บาปกรรม การฆา่ สตั ว์ทุกชนิดทาํ ใหศ้ ลี ขาดทง้ั นั้น แต่ทางบาปกรรม ย่อมลดหลั่นกัน - หลักวินจิ ฉัย ทา่ นวางหลกั วินจิ ฉยั บาปกรรมไว้ ๓ อย่าง คือ ๑. วัตถุ หมายถึง สัตว์ที่ถูกฆ่า ในทางวัตถุนี้ ฆ่าคนบาปมากกว่าสัตว์เดรัจฉาน แม้ใน การฆ่าคนนั้นยังมีลดหล่ัน นับต้ังแต่ฆ่าพ่อฆ่าแม่ ฆ่าพระอรหันต์ ฆ่าคนมีคุณ ฆ่าคนทั่วไป ฆ่าคนที่เป็นภัยแก่คน อื่น บาปกรรมกล็ ดหล่นั กันไปตามลาํ ดบั แม้ฆา่ สตั ว์เดรัจฉาน กพ็ จิ ารณาตามเกณฑอ์ ยา่ งเดียวกันน้ี คือ ฆ่าสัตว์มี คุณ บาปมากกวา่ สตั ว์ทวั่ ไป ๒. เจตนา หมายถึง เจตนาของผู้ฆ่า ในทางเจตนานี้ การฆ่าด้วยความอํามหิต เช่น รับจ้างฆ่าคน หรือฆ่าด้วยความอาฆาตพยาบาทอันร้ายกาจ ฆ่าด้วยอํานาจโมหะ เช่น ยิงสัตว์เล่นเพราะเห็นแก่ สนุก เหล่านี้ บาปจะมีมากน้อยลดหลั่นกัน ส่วนการฆ่าด้วยจิตที่มีเมตตาผสมอยู่ เช่น แพทย์ทดลองวิชาเพื่อ หาวิธีรักษาคนอื่นสัตว์อ่ืน หรือฆ่าเพื่อป้องกันตัว และทําให้เขาตายโดยพลาดพลั้ง บาปกรรมก็เบาบางลง ตามลาํ ดับ ๓. ประโยค หมายถึง วิธีการฆ่า ในทางประโยค คือวิธีฆ่าน้ี ถ้าฆ่าโดยวิธีทรมานให้ลําบาก มาก หวาดเสียวมาก ชาํ้ ใจมาก ก็บาปมาก การฆ่าน้ี ทางศาสนาห้ามรวมถึงการฆ่าตัวเองด้วย ถือว่าเป็นการกระทําอันน่าตําหนิ และ จติ ใจของผฆู้ ่าตัวเองก็ไมพ่ น้ ความมวั หมอง ๒.๒ การทาํ ร้ายรา่ งกาย (ทําใหศ้ ลี ดา่ งพร้อย) การทําร้ายร่างกาย หมายถึงการทําให้ร่างกายเขาเสียรูป เสียงาม เจ็บป่วยหรือพิการ (แต่ไม่ ถึงตาย) จะด้วยการยิง ฟัน ทบุ ตีก็ตาม ซงึ่ กระทําโดยเจตนาร้ายต่อผู้นัน้ ทง้ั หมดเป็นเรอื่ งท่ีไมค่ วรทํา ๒.๓ การทรกรรม (ทําให้ศลี ด่างพรอ้ ย) การทรกรรม คอื การทาํ ใหส้ ัตว์ได้รบั ความลาํ บาก โดยขาดเมตตาปรานี มลี กั ษณะดังน้ี ๑. ใชง้ านเกินกําลงั ไมใ่ ห้ไดร้ บั การพักผ่อนและการเลย้ี งดูตามควร ๒. กักขังในทีอ่ นั ไม่อาจเปลีย่ นอิรยิ าบถได้ และเปน็ อนั ตราย ๓. นําสัตว์ไปโดยวธิ อี นั ทรมานย่ิงนกั ๔. ผจญสตั ว์ เชน่ ยั่วสตั ว์ให้ทาํ ลายกัน เพราะเหน็ แก่ความสนกุ ของตน ๓. หลกั วินิจฉัย (หรือองค์ของศลี ) การฆา่ ถงึ ข้ันศลี ขาด ตอ้ งประกอบดว้ ยองค์ ๕ คอื ๓.๑ สัตว์นั้นมชี ีวติ

๒๕ ๓.๒ ผู้ฆ่ารูว้ า่ สตั วน์ นั้ มชี วี ิต ๓.๓ ผู้ฆ่าคดิ จะฆ่า ๓.๔ พยายามฆ่า ๓.๕ สัตวต์ ายดว้ ยความพยายามนั้น ๔. เหตผุ ลอ่นื (เหตุผลของผูร้ กั ษาศีลข้อ ๑) ชีวิตเป็นสมบัติชิ้นเดียวท่ีมนุษย์และสัตว์มีอยู่ และสิ่งที่มนุษย์และสัตว์ทุกรูปทุกนาม หวงแหน ที่สุดก็คือชีวิตของตน ดังนั้น การกระทําผิดต่อสัตว์ ไม่มีสิ่งใดร้ายแรงยิ่งกว่าการทําลายชีวิตของเขา เพียงแต่ เรางดฆ่าสัตว์เสียอย่างเดียว ก็ชื่อว่าเป็นการให้ความปลอดภัยแก่ชีวิต สัตว์ท้ังโลกและให้ความปลอดภัยแก่ บรรดาบุตรหลานและบรวิ ารของสตั ว์นน้ั ดว้ ย การประพฤติตนเป็นคนโหดร้าย ละเมิดศีลข้อน้ี ช่ือว่าเป็นการทําลายมนุษยธรรมในตัวเราเอง ท้ัง เปน็ การทาํ ลายสังคม และประเทศชาตขิ องเราด้วย เบญจศลี สิกขาบทที่ ๒ อทินนาทานา เวระมะณี เจตนางดเว้นจากการลกั ทรัพย์ ๑. ความมุ่งหมาย ท่านบัญญัติศีลข้อนี้ไว้ เพื่อให้ทุกคนงดเว้นจากการทํามาหากินในทางทุจริต ให้ ประกอบอาชีพในทางสุจรติ และเคารพในกรรมสิทธิข์ องผอู้ นื่ ๒. ข้อห้าม ในสิกขาบทน้ี ข้อห้ามโดยตรง คือห้ามกระทําโจรกรรม แต่ผู้รักษาศีลพึงเว้นจากการ กระทําอันเปน็ บรวิ ารของโจรกรรมดว้ ย คือ ๒.๑ โจรกรรม การกระทาํ ทเ่ี ป็นโจรกรรมมี ๑๔ อย่าง คอื - ลัก คือขโมยเอาทรพั ยเ์ ม่ือเจา้ ของไมเ่ หน็ - ฉก คอื ชิงเอาทรพั ย์ต่อหนา้ เจา้ ของ - กรรโชก คือทาํ ให้เขากลวั แลว้ ใหเ้ ขาให้ทรัพย์ หรอื ยกเวน้ ให้ไม่ต้องเสียทรพั ย์ - ปล้น คอื ร่วมหวั กันหลายคน มีศัสตราวธุ เข้าปลน้ ทรพั ย์ - ตู่ คอื อ้างหลกั ฐานพยานเท็จ หกั ล้างกรรมสิทธ์ิของผูอ้ ่ืน - ฉ้อ คือโกงทรพั ย์ของผูอ้ ่นื - หลอก คือปั้นเรือ่ งให้เขาเชอ่ื แลว้ ให้เขาใหท้ รพั ย์ - ลวง คอื ใช้เล่หเ์ อาทรพั ยด์ ว้ ยเครอ่ื งมอื ลวง - ปลอม คือทําหรือใช้ของปลอม - ตระบดั คอื ยมื ของคนอืน่ มาใช้แลว้ ยดึ เอาเสยี - เบยี ดบัง คอื กนิ เศษกนิ เลย - สับเปล่ยี น คอื แอบสลับเอาของผูอ้ ื่นซึง่ มีคา่ กวา่ - ลกั ลอบ คอื หลบหนีภาษขี องหลวง - ยักยอก คือใชอ้ าํ นาจหนา้ ท่อี นั มีอยู่ ถือเอาทรัพยโ์ ดยไมส่ ุจริต ๒.๒ อนุโลมโจรกรรม การกระทําอันเปน็ อนโุ ลมโจรกรรม มี ๓ อยา่ ง คอื - สมโจร คือสนบั สนนุ โจร - ปอกลอก คอื คบเขาเพือ่ ปอกลอกเอาทรพั ย์

๒๖ - รับสินบน คือรับสินจ้างเพื่อกระทําผิดหน้าที่ การรับสินบนน้ี หากผู้รับมีเจตนาร่วมกับ ผใู้ ห้ในการทาํ ลายกรรมสทิ ธิข์ องผู้อืน่ ก็เปน็ การรว่ มทาํ โจรกรรมโดยตรงศีลย่อมขาด ๒.๓ ฉายาโจรกรรม การกระทําเป็นฉายาโจรกรรมมี ๒ อยา่ ง คอื - ผลาญ คือทําลายทรพั ยผ์ อู้ ่นื (ไมถ่ อื เอาเปน็ ของตน) - หยิบฉวย คือถอื วิสาสะเกินขอบเขต ทง้ั น้ี ถ้ามเี จตนาในทางทาํ ลายกรรมสทิ ธิ์ของผอู้ ื่นรวมอยู่ด้วย กไ็ ม่พน้ เป็นโจรกรรม ศีลยอ่ มขาด หมายเหตุ : เฉพาะอนุโลมโจรกรรม กับฉายาโจรกรรมนั้น ต้องพิจารณาถึงเจตนาของผู้ทําอีก ด้วย ถา้ เจตนาทาํ ลายกรรมสทิ ธิ์ ศลี กข็ าด ถ้าเจตนาไม่แน่ชัด ศลี ก็เพยี งดา่ งพรอ้ ย ๓. หลักวนิ ิจฉัย การกระทําโจรกรรม ทถี่ งึ ขั้นศลี ขาด ตอ้ งประกอบด้วยองค์ ๕ คือ ๓.๑ ของน้ันมีเจ้าของ ๓.๒ ตนรู้ว่าของน้นั มเี จ้าของ ๓.๓ จิตคิดจะลกั ๓.๔ พยายามลัก ๓.๕ ไดข้ องนั้นมาดว้ ยความพยายามนั้น ๔. เหตุผลอื่น (เหตผุ ลของผรู้ กั ษาศีลขอ้ ท่ี ๒) สัตว์ทุกชนิดย่อมมีปากมีท้อง และมีภาระในการหาเล้ียงปากเล้ียงท้องด้วยกันทั้งนั้น ท้ังไก่ สุนัข ลิง แมว และสารพดั สตั ว์รวมท้งั คนดว้ ย แต่ธรรมชาติได้สรา้ งอวยั วะไว้ใหเ้ ป็นเคร่ืองมือหากิน พอเหมาะพอสมควร กับตวั สามารถหากินอ่มิ ท้องได้ ภายในต้ังแต่พระอาทิตยข์ ึ้นถึงพระอาทิตย์ตก และยังเหลือเวลาพักผ่อนอีกด้วย คนเราก็เป็นสัตว์โลกชนิดหน่ึง มีปาก มีท้อง และมีอวัยวะหากินเหมือนกัน และยังมีสมองและปัญญามากกว่า สัตว์ สามารถทํามาหากินได้ จนพอท่ีจะเผ่ือแผ่คนอ่ืนได้อีกด้วย คนท่ีลักขโมยฉ้อโกงเขากิน จึงเป็นคนทําลาย ศักด์ิศรีความเป็นมนุษย์ของตนเอง คนท่ีใช้ความรู้โกงทรัพย์คนอื่นน้ัน ไม่ใช่ความดีวิเศษอะไร เพราะการโกง ทรพั ย์คนอ่ืนน้นั แม้แตไ่ กก่ โ็ กงกนั กนิ ได้ ร้ายยิ่งไปกว่าน้ัน การลักขโมยฉ้อโกงเอาทรัพย์ผู้อื่นน้ัน เราเองได้ทรัพย์ ภายนอกมา แตต่ อ้ งเสยี ทรพั ยภ์ ายใน คือศีลธรรมและเกียรติยศของตนเอง ซ่ึงเทยี บราคากันไม่ได้เลย เบญจศีลสกิ ขาบทที่ ๓ กาเมสุ มิจฉาจารา เวระมะณี เจตนางดเว้นจากการประพฤตผิ ิดในกาม ๑. ความมุ่งหมาย จุดหมายสําคัญของศีลข้อน้ี อยู่ท่ีการสร้างความเป็นปึกแผ่น ปลูกสามัคคี และ ปอ้ งกนั การแตกร้าวในหมู่มนษุ ย์ ๒. ขอ้ หา้ ม สิกขาบทนีห้ ้าม (ทงั้ หญิงท้งั ชาย) ไมใ่ ห้ประพฤติผดิ ประเวณี ๓. หลกั วินจิ ฉัย การกระทําท่ีเรียกว่า กาเมสุมิจฉาจาร เป็นการผิดประเวณี ประพฤติแล้วที่ทําให้ศีล ขอ้ น้ขี าดนั้น ตอ้ งประกอบด้วยองค์ ๔ คือ ๓.๑ หญิง (หรือชาย) น้ันเป็นบุคคลต้องห้าม กล่าวโดยย่อ บุคคลต้องห้าม คือบุคคลผู้ท่ีใครๆ จะ สมส่ดู ้วยไม่ได้ มีอยู่ ๒ ประเภท คอื หญงิ ตอ้ งห้าม กบั ชายต้องหา้ ม หญงิ ต้องห้าม มี ๓ จาํ พวก คอื

๒๗ - หญิงมีสามี (สัสสามิกา) หมายถงึ หญิงที่อยู่กินกับชายอ่ืนในฐานะภรรยาและสามี ท้ังน้ี ไม่ ว่าเขาจะได้ทําพิธีแต่งงานกันหรือไม่ก็ตาม และจะได้จดทะเบียนสมรสตามกฎหมายหรือไม่ ไม่ถือเป็นประมาณ ข้อสําคญั อยทู่ ว่ี า่ เขาไดอ้ ยกู่ ินเป็นสามภี รรยากนั โดยเปดิ เผยเทา่ นัน้ หญิงประเภทนี้ จะหมดภาวะท่ีเป็นหญิงต้องห้ามก็ต่อเมื่อสามีตายแล้ว หรือได้บอกหย่าขาด จากสามีแล้ว หญิงที่สามีถูกกักขัง เช่น จําคุก ถ้าไม่ได้หย่าขาดจากกัน ก็คงถือว่าหญิงนั้นยังมีสามีอยู่ แม้สามี จะต้องจองจําตลอดชีวิต ตนก็ยังอยู่ในฐานะหญิงต้องห้ามจนกว่าสามีจะสิ้นชีวิต ชายใดสมสู่ด้วย จึงผิดศีล และเมื่อเพ่งถึงการทําลายความไว้วางใจกัน นอกจากการร่วมสังวาสแล้ว ผู้รักษาศีลพึงเว้นแม้การผูกสมัครรัก ใครฐ่ านชู้สาว การเกย้ี วพาราสี พูดเคาะ หรอื แมแ้ ต่เล่นหเู ล่นตากบั ภรรยาผู้อื่นในเชิงชสู้ าว - หญิงมีญาตปิ กครอง (ญาตริ กั ขติ า) คอื หญิงสาวที่ไม่เปน็ อสิ ระแก่ตน แตอ่ ยู่ในการปกครองดูแล ของ พ่อ แม่ พ่ี ป้า น้า อา หรือผู้อุปการะ ซึ่งนับว่าเป็นผู้ใหญ่ของเขา หญิงประเภทน้ี ถ้าชายใดอยากได้เป็นภรรยา ก็ต้องติดต่อสู่ขอจากผู้ใหญ่ให้ชอบด้วยประเพณี จักได้เป็นศรีแก่ตนและวงศ์สกุล ชายใดลักลอบ สมสู่ หรือ ฉุดคร่า ลักพาเอาไป เป็นผิดศีล การผิดศีลในข้อน้ี เกิดจากการขืนน้ําใจท่าน ทําให้ผู้มีพระคุณต้องชํ้าใจ ผิดทั้ง หญิงและชาย หญิงที่ผู้ใหญ่รับของหมั้นจากชายแล้ว ตกลงว่าจะให้แต่งงานด้วย นับแต่รับของหม้ันแล้ว หญิงน้ัน ย่อมเปน็ สิทธิของคหู่ มนั้ จนกวา่ จะไดค้ นื ของหมน้ั หรอื บอกเลิกการหมนั้ เสีย - หญิงมีจารีตรักษา (จาริตา ธัมมะรักขิตา) หมายถึง หญิงท่ีศีลธรรม กฎหมาย หรือจารีต นิยมคมุ้ ครองรกั ษา ห้ามการสมสู่ มี ๒ ประเภท คอื ๑. หญิงผู้เป็นเทือกเถาเหล่ากอของตน ประเภทแรกนี้ ได้แก่หญิงท่ีเป็นเทือกเถาเหล่ากอ ของตนเอง เทือกเถา คือ ญาติผู้ใหญ่ นับย้อนข้ึนไปทางบรรพบุรุษ ๓ ช้ัน เหล่ากอ หมายถึง ผู้สืบสันดานจากตน นับลงไป ๓ ช้ันเหมือนกัน ชายใดสมสู่กับหญิงที่เป็นเถือกเถาเหล่ากอของตน เป็นบาป ผิดศีล ฝ่ายหญิงควรพึง ทราบโดยนัยตรงกันขา้ ม ๒. หญิงมีข้อห้าม คือหญิงบําเพ็ญพรหมจรรย์ เช่น ภิกษุณี และสามเณรีในสมัยก่อน หรือ อบุ าสกิ ารักษาอุโบสถในสมัยนี้ นอกจากหา้ มโดยข้อปฏบิ ัตแิ ล้ว ยงั มีหญงิ บางประเภทท่ีพระราชาห้ามโดยข้อบท กฎหมายอีก นอกจากหญิงที่มีข้อห้ามโดยตรงแล้ว ยังมีหญิงต้องห้ามโดยจารีตประเพณี และห้ามโดยการ กระทําอันไม่สมควรแก่กาละ เทศะ เช่น หญิงที่เป็นเด็กทารก หรือผู้เจ็บไข้ไม่สมประกอบ การกระทําข่มขืน โดยพลการ และในสถานทอ่ี นั ไมบ่ งั ควร เช่น ในโบสถ์ วิหาร เป็นต้น เป็นการเหยียบย่ําทําลายจารีตประเพณีด้วย การประพฤตเิ สพกามเชน่ นี้ ยอ่ มเปน็ การละเมดิ ศลี ข้อน้ีโดยตรงบ้าง โดยอ้อมบ้าง ไม่พงึ ประพฤตเิ ป็นอย่างยิง่ ชายต้องห้าม คอื ชายทีห่ ญงิ สมสู่ไมไ่ ด้ ทา่ นแสดงไว้เพยี ง ๒ จําพวก คือ ๑. ชายอื่นนอกจากสามีตน (สําหรับหญิงมีสามี) ข้อน้ีสําหรับหญิงที่มีสามีแล้ว และยังอยู่กิน กบั สามี ใหถ้ อื วา่ ผ้ชู ายนอกจากสามีตน เป็นชายตอ้ งห้าม ๒. ชายทีจ่ ารีตหา้ ม (สาํ หรับหญงิ ทัว่ ไป) หญงิ ทวั่ ไป คอื ทั้งท่ีมสี ามแี ละไม่มีสามี พงึ ถอื วา่ ชาย ที่มีจารีตห้าม เช่นนักบวชในศาสนาที่ห้ามเสพเมถุน เป็นชายต้องห้าม มิให้ยินยอมพร้อมใจในการร่วมสังวาส ถ้าเปน็ ใจด้วยถอื ว่า ผดิ ศีล

๒๘ ๓.๒ มีเจตนาจะเสพกาม ๓.๓ ประกอบกามกิจ ๓.๔ อวยั วะเครอื่ งเสพกามถงึ กนั ๔. เหตผุ ลอนื่ (เหตุผลของผู้รกั ษาศีลข้อ ๓) ในบรรดาภพท่ีเกดิ ของสตั ว์ มีอยูภ่ พหนึ่ง เรียกว่า กามภพ สัตว์โลกที่อยู่ในกามภพ พากันเสพกาม ตดิ อยู่ในกาม แต่กแ็ บ่งออกเปน็ ๓ พวก หรือ ๓ ช้นั คือ พวกช้ันต่ํา มีกามเป็นใหญ่ คือพวกตกเป็นทาสของอารมณ์ ประพฤติตามความใคร่ ไม่มีข้อใดท่ี จะตอ้ งสังวรในเร่ืองน้ี ได้แก่จําพวกสตั ว์ท่ีตาํ่ กว่ามนษุ ยล์ งไป ซง่ึ ไม่มคี วามอาย ไมม่ ขี ้อควรเวน้ พวกช้ันกลาง สังวรในกาม คือ รู้จักสังวรในกาม มีการควบคุมจิต แม้จะมีความใคร่ในกาม ก็ยัง รู้จักเว้นสง่ิ ท่ีควรเวน้ ไมป่ ลอ่ ยไปตามอารมณ์ ได้แก่พวกมนุษยช์ น้ั สามัญ พวกชั้นสงู เวน้ จากกาม ได้แก่พวกประพฤติพรหมจรรย์ งดเวน้ การเสพกาม ความผิดในกามน้นั อาจเกิดข้นึ ในพวกชั้นกลางกบั ชนั้ สงู เท่านนั้ ส่วนพวกช้นั ตา่ํ คอื พวกเดรัจฉาน ไม่มีข้อใดที่ถือเป็นความผิดในกาม เพราะต่ําที่สุดอยู่แล้ว พวกช้ันกลางนั้น จะผิดในกามก็ต่อเม่ือไปประพฤติ อย่างพวกชนั้ ตาํ่ เข้า คอื กระทาํ โดยไมเ่ วน้ กาละ เทศะ และบุคคลอนั ตนจะพงึ เวน้ ทางสงั คม คนรักกัน อาจเสยี สละทุกสิ่งทุกอย่างให้แก่กันได้ ให้เงินให้ทอง ให้ข้าวให้ของแก่กันได้ เสื้อผ้าอาภรณ์ แม้จะหยิบยืมกันใช้ ก็ยืมได้ทุกอย่าง ยืมไม่ทัน จะถือวิสาสะฐานะคนรักกันก็ยังได้ เว้นอย่าง เดียว คือการล่วงเกินในภรรยาเพ่ือน กับเพ่ือน ซ่ึงทําให้ไม่อาจรักกันต่อไปได้ พ่ีกับน้องก็ไม่อาจรักกันต่อไปได้ ผู้ใหญก่ ับผู้นอ้ ยก็ไมอ่ าจรักกนั ต่อไปได้ ตกลงว่าการนอกใจ การทําชู้ ถอื วา่ เป็นศตั รูโดยตรงกับความไวว้ างใจกนั เบญจศลี สิกขาบทท่ี ๔ มุสาวาทา เวระมะณี เจตนางดเวน้ จากการพูดเทจ็ ๑. ความมุ่งหมาย ศีลข้อน้ี ท่านบัญญัติไว้ เพื่อป้องกันการทําลายประโยชน์ของตนและผู้อ่ืนด้วย การพดู เท็จ และใหร้ ู้จักฝึกอบรมจิตใจให้เปน็ คนมัน่ คงในความดี เมื่อเพ่งความมุ่งหมายดงั กล่าวแลว้ พงึ ทราบวา่ ในสิกขาบทนี้ ทา่ นหา้ มดงั ต่อไปน้ี ๑. มุสา แปลว่า เท็จ ได้แก่โกหก ส่วนมากเราเข้าใจกันว่า การกล่าวคําโกหก คือการใช้ปากกล่าว แต่ในทางศีล ท่านหมายถึงการทําเท็จทุกอย่าง จะทําเท็จด้วยการกล่าว หรือทําเท็จด้วยการไม่กล่าว ก็เป็นการ เทจ็ ไดท้ ้งั นั้น เม่อื แยกวธิ ีและวิธีทํามสุ าวาท แลว้ จะมลี ักษณะดังน้ี วิธีทําเท็จ มี ๒ ทาง คือ ทางวาจา คอื กลา่ วออกมาเปน็ คําเท็จ ตรงกับคําว่า โกหกชัดๆ ซึง่ เปน็ ท่ีเขา้ ใจกนั อยู่แลว้ ทางกาย คอื ทาํ เท็จด้วยร่างกาย เช่นเขียนจดหมายโกหก รายงานเท็จ ทําหลักฐานปลอม ตีพิมพ์ ข่าวเท็จเผยแพร่ ทําเครื่องหมายให้คนอื่นหลงเช่ือ ตลอดจนการทําใบ้ให้คนอ่ืนเข้าใจผิด เช่นส่ันศีรษะในเร่ือง ควรรับ หรอื พยกั หนา้ ในเร่อื งควรปฏเิ สธ วธิ ีแห่งมุสาวาท มุสาวาทนั้นมี ๗ วธิ ี คือ - ปด ได้แก่การโกหกชัดๆ ไม่รู้ก็ว่ารู้ ไม่เห็นก็ว่าเห็น ไม่มีก็ว่ามี หรือรู้ก็ว่าไม่รู้ เห็นก็ว่าไม่เห็น มีก็ ว่าไมม่ ี อยา่ งนเี้ รยี กว่า ปด

๒๙ - ทนสาบาน คอื ทนสาบานตัว เพ่อื ใหค้ นอน่ื หลงเชอื่ การสาบานนั้นอาจมีการสาปแชง่ ดว้ ยหรือไม่ ก็ตาม ชั้นท่ีสุดคนท่ีอยู่ด้วยกันมากๆ เช่น นักเรียนทั้งช้ัน เมื่อมีผู้หน่ึงทําความผิดแต่จับตัวไม่ได้ ครูจึงเรียก ประชุม แล้วก็ถามในท่ีประชุม และส่ังว่า ใครเป็นคนทําผิดให้ยืนข้ึน นักเรียนคนทําผิดไม่ยอมยืน นั่งเฉยอยู่ เหมือนกบั คนทเี่ ขาไม่ได้ทาํ ผิด ทาํ อย่างน้กี ็เปน็ การมุสาดว้ ยการทนสาบาน - ทําเล่ห์กระเท่ห์ ได้แก่การอวดอ้างความศักด์ิสิทธ์ิเกินความจริง เช่น อวดรู้วิชาคงกะพัน ว่าฟันไม่ เข้า ยิงไม่ออก อวดวิชาเล่ห์ยาแฝดว่าทําให้คนรักคนหลง อวดความแม่นยําทํานายโชคชะตา อวดวิเศษใบ้หวย บอกเบอร์ - มายา คือแสดงอาการหลอกคนอ่ืน เช่นเจ็บน้อยทําทีเป็นเจ็บมาก หรืออย่างข้าราชการบางคน ต้องการจะลาพักงาน และถ้าลาตรงๆ เกรงผู้บังคับบัญชาจะไม่เห็นใจ จึงแกล้งทําหน้าตาท่าทางว่าป่วย ใช้มือ กมุ ขมับ แสดงว่าปวดศรี ษะ กุมท้อง แสดงว่าปวดท้อง - ทาํ เลศ คอื ใจอยากจะกล่าวเท็จ แตท่ ําเป็นเล่นสํานวน กลา่ วคลมุ เครือให้ผฟู้ ังคดิ ผิดไปเอง - เสริมความ คือเรื่องจริงมี แต่มีน้อย คนกล่าวอยากให้คนฟังเป็นเร่ืองใหญ่ จึงกล่าวพร้อม ประกอบกิริยาท่าทางให้เห็นเป็นเร่ืองใหญ่โต เช่นเห็นไฟไหม้เศษกระดาษนิดเดียว ก็ตะโกนล่ันว่า “ไฟไหม้ๆ” คดิ จะให้คนฟังเขา้ ใจว่าไฟไหม้บ้านเรอื น หรือคนโฆษณาขายสินค้า พรรณนาสรรพคณุ เกินความจริง ก็นับเข้าใน เจตนาเสรมิ ความนี้ - อําความ การอําความน้ี ตรงข้ามจากเสริมความ เสริมความ คือทําเรื่องเล็กให้ใหญ่ ส่วน อาํ ความ คือทําเร่ืองใหญ่ใหเ้ ล็ก ๒. อนุโลมมสุ า คอื เรื่องท่กี ลา่ วน้ันไมจ่ ริง แต่ผู้กล่าวก็มิได้มุ่งจะให้ผู้ฟังหลงเช่ือ เช่น คนกล่าวประชด คนทําอะไรช้าๆ ว่า “คนนั้นเขาทํามาต้ังปีแล้ว” คนท่ีถูกเขาว่าน้ันความจริงไม่ได้ช้าถึงปี และคนที่กล่าวก็ไม่ ประสงคจ์ ะใหค้ นน้ันหลงเชือ่ ว่าเป็นเช่นนัน้ แต่มุ่งจะว่ากล่าวให้เจ็บใจ อย่างน้ีเรียกว่าทาํ ประชด เป็นอนโุ ลมมสุ า ๓. ปฏิสสวะ ได้แก่การรับคําของคนอื่นด้วยเจตนาบริสุทธิ์ แต่ภายหลังเกิดกลับใจ ไม่ทําตามท่ีรับนั้น โดยท่ีตนยังพอจะทาํ ตามคําทร่ี ับมาไดอ้ ยู่ การกระทําในขอ้ ๑ ทําใหศ้ ีลขาด สว่ นข้อ ๒. และข้อ ๓. ทําใหศ้ ลี ด่างพรอ้ ย หมายเหตุ (ข้อยกเวน้ ) มีคํากล่าวอีกประเภทหนึ่ง ผู้กล่าว กล่าวไม่จริง แต่ก็ไม่ประสงค์จะให้ผู้ฟัง เช่อื ซึง่ เรียกว่า ยถาสัญญา คือกล่าวตามความสาํ คญั ผู้กล่าวไม่ผิดศลี คอื ๑. โวหาร ได้แก่ถ้อยคําที่ใช้เป็นธรรมเนียม เพ่ือความไพเราะของภาษา เช่น เราเขียนจดหมาย ลง ท้ายว่า “ด้วยความนับถืออย่างย่ิง” นี่เราเขียนตามธรรมเนียมของจดหมาย ความจริงเราไม่ได้นับถืออย่างยิ่ง หรอื อาจไมน่ ับถือเขาเลยกไ็ ด้ ๒. นิยาย เช่นคนผูกนิทานข้ึนมาเล่า หรือแต่งเรื่องลิเกละคร เขาบอกผู้ดูว่าเขาเป็นอย่างนั้น เขาเป็น อย่างน้ี ซึง่ ไมเ่ ปน็ ความจริง แตก่ ็ไมผ่ ิดศีล เพราะเขาไมต่ ้ังใจจะใหค้ นฟงั หลงเชอื่ เพียงแต่แสดงไปตามเรื่อง ๓. สําคญั ผิด คอื ผกู้ ลา่ วเข้าใจอย่างนน้ั กลา่ วไปตามความเขา้ ใจของตน เช่น เราจําช่ือหรือท่ีต้ังวัดผิด เมื่อมีใครถาม เรากต็ อบไปตามทจี่ าํ ได้ กเ็ ป็นอันไมผ่ ิดศีล ๔. พลั้ง คือ กลา่ วพลั้งไป ไมม่ เี จตนา เปน็ อนั ว่า คาํ กล่าวประเภท โวหาร นยิ าย สําคัญผิด พลั้ง เป็นข้อยกเว้น ผู้กลา่ วไมผ่ ิดศลี

๓๐ ๒. ข้อหา้ ม ศีลข้อน้ี ห้ามการปฏบิ ตั ทิ ้งั ๓ ประการนัน้ (ห้ามข้อ ๑., ๒. และ ๓.) ๓. หลักวินิจฉัย การปฏิบัติท่ีจะเรียกว่าเป็นมุสาวาท (ศีลข้อท่ี ๔ ขาด) จะต้องประกอบด้วยองค์ ๔ คือ ๓.๑ เรือ่ งไมจ่ ริง ทีว่ า่ จริงหรือไม่จรงิ คอื เรอื่ งที่พดู น้นั ไมม่ ีจริง ไมเ่ ปน็ จรงิ เช่น ฝนไมต่ กเลย แต่บอก ว่าฝนตก อยา่ งนี้เรยี กวา่ เร่ืองไม่จริง ๓.๒ จิตคิดจะกล่าวให้ผิด คือ มีเจตนาจะกล่าวบิดเบือนความจริงเสีย ถ้ากล่าวโดยไม่เจตนาจะ กล่าวใหผ้ ิด ศีลไม่ขาด ๓.๓ พยายามกล่าวออกไป คอื ไดก้ ระทําการเท็จด้วยเจตนาน้นั ไมใ่ ชเ่ พยี งแตค่ ดิ เฉยๆ ๓.๔ คนฟังเขา้ ใจเน้ือความน้นั สว่ นทีว่ า่ เขาจะเชอ่ื หรอื ไม่นนั้ ไม่ถือเปน็ สําคัญ ๔. เหตผุ ลอ่ืน (เหตุผลของผ้รู ักษาศลี ข้อ ๔) ระหวา่ งคนท้งั สอง คอื คนกลา่ วคําโกหก กับคนฟังคําโกหก ผู้กล่าวคําโกหกเป็นผู้เสียหายร้ายแรง กว่า เพราะการโกหกแต่ละคร้ัง สัจธาตุในจิตของเขาถูกทําลายลงไป เขาจะกลายเป็นคนเหลาะแหละและเหลว แหลกในท่ีสดุ ฝ่ายคนฟังคาํ โกหกจะถกู ทําลายเพียงความรสู้ ึกบางอยา่ งของจิตเทา่ นัน้ คนคดิ ทาํ ลายผ้อู ื่นด้วยการกลา่ วคาํ โกหก กไ็ ม่ผดิ อะไรกบั คนทกี่ รีดเลือดของตนออกเขียนด่าคนอ่ืน เขาเป็นคนไร้สัจธาตุ เป็นโมฆบุรุษ สติปัญญาหากมี และทําให้กล่าวหรือแสดงคําโกหกได้คล่อง สติปัญญาที่มีนั้นก็ มีเพื่อพิฆาตฆ่าตัวเขาผู้เป็นคนพาลเอง ดุจปลีกล้วยฆ่าต้นกล้วย ขุยไผ่ฆ่าต้นไผ่ ลูกม้าอัสดรเกิดมาเพ่ือฆ่า มารดาตน จะยกแผ่นดิน และหรือแผ่นฟ้าทุกจักรวาลให้ ก็หาหยุดยั้งหรือสนองความเป็นคนพาล ความเป็นคน เปล่าประโยชนข์ องเขาไดไ้ ม่ เบญจศลี สกิ ขาบทที่ ๕ สุราเมรยมชั ชะปมาทฏั ฐานา เวระมะณี เจตนางดเว้น จากการดมื่ นาํ้ เมา อันเป็นทีต่ ง้ั แห่งความประมาท ๑. ความมุ่งหมาย การบัญญตั ิศลี ขอ้ น้ี เพ่อื ใหค้ นรูจ้ กั รักษาสตขิ องตนใหส้ มบรู ณ์ ๒. ข้อห้าม สิกขาบทน้ี ห้ามโดยตรง คือ ห้ามดื่มน้ําเมา อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท คือทําให้สติ ฟนั่ เฟือน นํ้าเมาท่วี า่ น้ี ไดแ้ ก่ - สุรา คือนา้ํ เมาที่กลนั่ แลว้ ไทยเรยี กว่า เหล้า - เมรัย นํ้าเมาท่ีไม่ได้กลั่น เช่น เหล้าดิบ กระแช่ นํ้าตาลเมา เป็นต้น (ฝ่ิน กัญชา ยาเสพติด เฮโรอิน ยาม้า เป็นต้น กน็ บั เขา้ ในขอ้ นดี้ ้วย) ๓. หลักวินจิ ฉัย สุราปานะ (การด่ืมสรุ า) ที่เป็นเหตุให้ศลี ขาดและที่จดั วา่ เป็นโทษ เพราะการดื่ม มีข้อ วินจิ ฉยั และโทษแห่งสรุ า ดงั นี้ ข้อวินิจฉัยวา่ ศลี ๕ ข้อท่ีขาดตอ้ งประกอบด้วย ๑. น้ําท่ีด่ืมน้ันเป็นนํ้าเมา หมายความว่า นํ้าที่ด่ืมนั้นต้องเป็นนํ้าเมา ถ้าคิดจะด่ืมสุรา แต่เข้าใจผิด เห็นแก้วนํ้าชาเป็นแก้วสุรา จึงคว้าเอามาดื่ม อย่างนี้ศีลไม่ขาด การท่ีผู้อ่ืนปรุงสุราลงไปในอาหารหรือยาแก้โรค เพอื่ ชรู ส หรอื ใหย้ ามปี ระสิทธิภาพดี ผกู้ นิ อาหารหรอื รับประทานยาน้นั ไมม่ ีเจตนาจะดื่มเหลา้ ศีลไมข่ าด ๒. จติ คิดจะดืม่ น้าํ เมา หมายความวา่ ตวั ผูด้ ่ืมน้นั ตง้ั ใจจะด่มื สรุ าจรงิ ๆ แล้วดืม่ เขา้ ไป ศีลจงึ ขาด

๓๑ ๓. พยายามด่ืมนํ้าเมา คือดื่มด้วยตนเอง ตัวเองด่ืมเอง ท่ีว่าพยายามในท่ีนี้ หมายเอาการด่ืมน้ันเอง อา้ ปากขึ้นดดู เอาน้าํ เหลา้ จากแกว้ เขา้ ปาก แลว้ ก็กลนื ลงคอ อย่างนี้เรียกวา่ พยายาม ๔. นํา้ เมาน้นั ล่วงลาํ คอลงไป คอื กําหนดขดี สมบูรณแ์ ห่งการกระทาํ นั่นคือ ที่ว่าศีลขาดๆ น้ัน ถามว่า ขาดตอนไหน ตอนยกแก้วข้ึน หรือตอนอมสุราเข้าปาก หรือตอนกลืน หรือตอนเมา หรือตอนไหนกันแน่ ตอบ ว่า ท่านกาํ หนดเอาตอนนํา้ สุราไหลล่วงเขา้ ลาํ คอไปเป็นจดุ สาํ คญั โปรดทราบด้วยว่า ของเมาท่ีห้ามน้ัน เฉพาะท่ีทําให้ผู้เสพมีสติฟ่ันเฟือน เป็นเหตุแห่งโรคร้ายแก่ชีวิต ซึง่ เรียกว่า เป็นท่ตี ั้งแหง่ ความประมาทตอ่ ความปลอดภัยของชวี ติ นัน่ เอง โทษของการดืม่ สุรา มี ๖ ประการ คอื - สุราทาํ ใหเ้ สียทรพั ย์ เพราะสุราเป็นนาํ้ เมาเสพติด ผดู้ ืม่ มกั จะเพิ่มปรมิ าณด่ืมขน้ึ ไปทุกที และใฝฝ่ ันที่ จะหาเพอ่ื นฝูงรว่ มวงดื่มให้เกิดรส ผู้ติดสุราจึงจําเป็นต้องเสียทรัพย์ในการซ้ือดื่มเอง ซื้อเลี้ยงคนอื่นด้วย และนั่น หมายถงึ การเชอื ดเฉอื นความสุขจากบุตรภรรยาและสามีของตนมาละลายท้งิ อย่างไดผ้ ลไม่คุม้ คา่ - สุราเป็นเหตุก่อวิวาท ความกล้าเป็นคุณสมบัติอย่างหน่ึงของคน แต่ความกล้านั้นจะให้เกิด ประโยชน์และไม่เป็นภัย ต้องมีคุณธรรม คือสติควบคุมด้วย ไม่เช่นน้ันก็จะกลายเป็นความบ้าบิ่น ทําอะไรแผลง เลยขดี สามญั ชน ไม่มผี ลดอี นั ใดเลย สรุ าทีต่ นดื่มเข้าไปแล้วนั้น จะเข้าไปทาํ ลายสตโิ ดยตรง ฉะน้ัน คนเมาสุราจึง ชอบพูดพล่ามก่อกวน กวนโทสะคนอ่ืน ลวนลามลามปามได้ทุกคนไม่ว่าลูก ภรรยา หรือสามีใคร ผลที่สุดก็เกิด การทะเลาะวิวาทกันจนถึงฆ่ากันตายก็มี ผลการวิจัยสาเหตุอาชญากรรมของศูนย์การป้องกันอาชญากรรมใน ประเทศไทย ไดค้ น้ พบวา่ สรุ าเปน็ เหตุใหญย่ ิ่งเหนือเหตุอ่นื ใดที่ทาํ ให้เกิดคดีฆาตกรรมในประเทศ - สุรานําโรคมาให้ ข้อน้ี วงการแพทย์ท้ังแผนโบราณทั้งแผนปัจจุบันยืนยันตรงกันว่า สุราเป็นวัตถุที่ เป็นอันตรายต่ออวัยวะทางเดินอาหาร ต่อระบบประสาททางเดินของโลหิต ต่อต่อมไม่มีท่อ และต่อระบบการ หายใจ - สุราทําให้เสียช่ือเสียง คนท่ีสติฟั่นเฟือน ย่อมอาจทําความผิดได้ทุกประตู อาจเสียซ่ือเสียงได้ทุก กรณี และทกุ กาละ สง่ิ ท่ีทําใหส้ ติฟน่ั เฟือนนั้นกค็ ือสุราน่นั เอง - สุราเป็นเหตุให้ทําเรื่องน่าอดสู วิญญูชนย่อมสงวนศักดิ์รักเกียรติของตนเอง จึงไม่กระทําส่ิงท่ีน่า อดสูให้คนทั้งหลายดูหม่ิน แต่สุราทําให้คนท่ีดื่มจนเมาแล้ว ลืมเกียรติยศเกียรติศักด์ิอันตนพึงหวงแหนน้ัน แสดงกิริยาวาจาอันน่าอดสูได้ทุกอย่าง นอนกลางถนนก็ได้ ถ่ายอุจจาระปัสสาวะต่อหน้าสาธารณชนก็ได้ เปดิ เผยอวยั วะอนั พงึ ปกปดิ โดยไมก่ ระดากอายก็ได้ - สุราบั่นทอนกําลังปัญญา สุราทําลายระบบประสาท ทําลายสติ และทําลายสุขภาพ ดังกล่าวแล้ว จึงมีผลปรากฏว่า คนติดสุราน้ันปัญญาทึบ บางคนต้องคอยดื่มสุรากระตุ้นเตือนไว้จึงใช้ความคิดได้ มิฉะนั้นจะ ซึมเซา คิดอะไรไมป่ ลอดโปรง่ ๔. เหตุผลอน่ื (เหตุผลของผู้รักษาศีลขอ้ ๕) สมรรถภาพของคนมี ๒ ทาง คือ ทางกายกับทางจิต ในการใช้สมรรถภาพทางจิตน้ัน จิต จาํ เป็นตอ้ งมคี ณุ ภาพอยา่ งหนึง่ ประกอบความคิดดว้ ย คอื สติ รา่ งกายนัน้ หากชกั จิตออกเสยี แล้ว กห็ มดความสาํ คญั จิตนั้น ถา้ ขาดสติ กส็ นิ้ ความหมาย

๓๒ สติของคนเรา มิใช่จะเป็นของแตกหักเสียหายง่ายดายนัก หามิได้ อดข้าว ๑ วันสติก็ไม่เสีย ป่วย ท้ังปี สตกิ ย็ งั ดี แตม่ ีส่ิงหนึ่งในโลกนม้ี ีพษิ ร้ายกาจ สามารถฆา่ สตขิ องคนได้ง่ายท่ีสดุ นัน่ คือ สุรา การไม่ดม่ื สุรา จึงเป็นการประกนั คุณคา่ แหง่ ชวี ิตของตนเองได้อยา่ งดีแท้ เบญจธรรม เบญจธรรมน้ัน บางทีเรียก กัลยาณธรรม แปลว่า ธรรมอันทําให้ผู้ประพฤติเป็นคนดีงาม บางทีใช้ คําว่า “เบญจธรรม” เฉยๆ แปลวา่ ธรรมห้าอย่าง ก็เปน็ อันรู้กันว่าหมายถึงกัลยาณธรรมนี้ ส่วนมากใช้ควบกับ คําว่า เบญจศีล เช่นใช้ว่า “เบญจศีลเบญจธรรม” ท่านท่ีเคยเคร่งศัพท์ใช้เต็มอัตราเลย ก็มีเหมือนกัน คือใช้คํา ว่า เบญจกลั ยาณธรรม พระพุทธศาสนาประกอบด้วยพระธรรมกับพระวินัย หมายความว่าโอวาทของพระพุทธองค์ทั้งส้ินนั้น เมอื่ แบง่ ออกแลว้ มีอยูส่ องประเภท คือ ๑. ธรรมะ ไดแ้ ก่ข้อปฏิบัตติ า่ งๆ อนั จะทาํ ให้กาย วาจา ใจ ประณีตขนึ้ ๒. วินัย ไดแ้ ก่ขอ้ ห้าม หรอื ระเบียบควบคุมมิให้ตวั เราตกไปสู่ความชวั่ ธรรมกับวินัยนี้ สํานวนทางพระ เวลาเรียกชอบเรียกว่า “ธรรมวินัย” แต่สํานวนชาวบ้านเราใช้คําว่า “ศลี ธรรม” เช่นในหลกั สูตรโรงเรยี นก็เรียกวา่ วิชาศลี ธรรม ความหมายกเ็ หมือนกบั คาํ วา่ ธรรมวินยั คอื คาํ ว่า ศีล = วนิ ัย คาํ ว่า ธรรม = ธรรม การประพฤตธิ รรมวินยั เมื่อพระบรมศาสดาของเรา ได้ทรงรับสั่งไว้ให้เราทราบอย่างชัดๆ ว่า พระโอวาทของพระองค์มีอยู่ สองประการคือ ธรรม กับ วินัย อย่างน้ี เราผู้เป็นศาสนิกของท่าน เป็นผู้รับปฏิบัติตามศาสนาของท่าน ก็ต้องใส่ ใจปฏิบัติให้ครบทั้งธรรมท้ังวินัย (ศีล) ควบกันไปเสมอ จึงจะได้ช่ือว่าได้เข้าถึงพระศาสนาที่เรียกว่า เป็นผู้มี ศีลธรรม การรักษาศีลก็ทําให้เราเป็นคนดีได้ แต่เป็นเพียงคนดีข้ันต้น คือดีท่ีเป็นคนไม่ทําความช่ัวเท่านั้นเอง ถ้าหยุดอยู่เพียงนี้อาจเสียได้ ยกตัวอย่างคนเว้นจากการฆ่าสัตว์ ซึ่งเรายอมรับกันว่าเป็นคนมีศีล ถ้าคนผู้นี้เดิน เล่นไปตามริมคลอง เห็นเด็กตกน้ํากําลังจะจมนํ้าตาย ถ้าจะช่วยเขาก็ช่วยได้ แต่ไม่ช่วย กลับยืน มือก็กอดอกอยู่ เฉยๆ ถือว่าตัวไม่ได้ฆ่า ศีลบริสุทธิ์อยู่ ตามตัวอย่างนี้ ท่านนักศึกษาจะเห็นเป็นอย่างไร คนท้ังโลกก็ต้องลง ความเห็นวา่ เขาเป็นคนไมด่ ี เพราะคนดจี ะต้องรู้จักเว้นจากการฆ่าคนดว้ ย และร้จู ักชว่ ยชีวิตคนด้วย การเวน้ จากการฆ่า น่นั เป็นการรักษาศลี การชว่ ยชวี ติ เขา น้เี ป็นการปฏิบตั ธิ รรม ฉะน้ัน ผู้รกั ษาศีลหา้ พึงประพฤตเิ บญจธรรมกํากบั ไปดว้ ยจัดเป็นคๆู่ ดังนี้ เบญจศีล เบญจธรรม เวน้ จากการฆ่าสัตว์ คูก่ ับ เมตตากรณุ า เว้นจากการลกั ทรพั ย์ คู่กบั สัมมาอาชีพ เวน้ จากการผดิ ในกาม คกู่ บั กามสังวร

๓๓ เวน้ จากการพูดเทจ็ คูก่ บั สัจจวาจา เวน้ จากการดื่มสรุ า คกู่ บั สติสมั ปชญั ญะ ความหมายของ “เบญจธรรม” เบญจธรรม คือหลกั ธรรม ๕ ประการอันเป็นคขู่ อง เบญจศีล แต่ละข้อมคี วามหมายดังนี้ ๑. เมตตากรุณา คือปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุข และช่วยเหลือเขาให้พ้นทุกข์ การไม่ทําร้ายผู้อ่ืนนั้น ก็นบั ว่าเปน็ คนดีแล้ว แตถ่ ้าจะใหด้ ียง่ิ ขน้ึ ตอ้ งเอือ้ เฟอื้ ชว่ ยเหลอื ผู้อ่นื ดว้ ย สงั คมจงึ จะสงบรม่ เยน็ ยิง่ ๆ ข้นึ ๒. สัมมาอาชีพ คือตั้งใจทํามาหาเล้ียงโดยสุจริต หมายถึง การหาเลี้ยงชีพในทางที่ชอบ ธรรมข้อนี้คู่ กับศีลข้อสอง ท่ีให้ละเว้นจากการถือเอาของท่ีเขาไม่ให้ คนท่ีประกอบอาชีพสุจริต ขยันขันแข็งในการทํามาหา กนิ ยอ่ มยนิ ดกี ับของทต่ี นหาไดเ้ อง ไมค่ ดิ ฉกฉวยเอาของผู้อื่น ๓. กามสังวร คือระมัดระวังในเร่ืองรักๆ ใคร่ๆ ทางกามารมณ์ หมายถึง การยินดีเฉพาะในคู่ครอง ของตน และการไม่คิดหมกมุน่ อยู่แต่เร่อื งความรักความใครจ่ นเกนิ ขอบเขต การทีค่ นเรามคี วามต้องการทางเพศ นั้น มิใช่ของผิดปกติแต่อย่างใด แต่ถ้าเดินสายกลางไว้ ก็จะทําให้เราไม่ไปผิดลูกเมียผู้อื่น ธรรมข้อน้ี คู่กับศีลข้อ สาม ๔. สัจจวาจา คือรักษาวาจาให้ได้จริง บูชาคําจริง หมายถึง การพูดความจริง เป็นธรรมที่ใช้คู่กับศีล ข้อส่ีท่ีให้เว้นจากการพูดเท็จ ธรรมข้อนี้ เป็นการส่งเสริมให้มนุษย์รู้จักแสดงไมตรีจิตต่อกันทางวาจา การพูด ความจรงิ นี้ หมายรวมถึงการพูดคําสุภาพ คาํ อ่อนหวาน และการสื่อสารทตี่ รงกับความเป็นจริง ไมบ่ ดิ เบือนสอื่ ๕. สติสัมปชัญญะ คือฝึกตนมิให้ประมาท หมายถึง มีสติรอบคอบรู้สึกตัวอยู่ตลอดเวลาว่ากําลังทํา อะไร พูดอะไร ธรรมข้อนี้ ค่กู ับศลี ขอ้ ห้า ทหี่ า้ มมิใหด้ ม่ื สุราเมรัย ผู้ทีป่ ระพฤติปฏิบัติตามศีลและธรรมข้อท่ีห้าอยู่ เสมอจะเป็นผู้ท่ีไม่ขาดสติ ไม่ประมาท จะทําการสิ่งใดก็จะสําเร็จได้โดยไม่ยาก และโอกาสที่จะเผลอตัวทําผิด ดว้ ยความประมาทกม็ ีน้อยหรือไมม่ ีเลย มนุษยธรรม ศีลห้านี้ ความจริงเป็นข้อปฏิบัติต่อกันในระหว่างมนุษย์ มาแต่ดึกดําบรรพ์ เรียกว่า มนุษยธรรม แปลว่า ธรรมของมนุษย์ หรอื ธรรมะเครื่องทําผปู้ ระพฤติใหเ้ ปน็ มนษุ ย์ คร้ันเมอ่ื พระสทิ ธัตถะตรัสรู้แล้ว ก็ได้ทรงรับรองและส่งเสริมศีลห้านี้ ทรงรับเข้าเป็นคําสอนในศาสนา ของพระองค์ ทรงแสดงความหมาย หรือเง่ือนไขของแต่ละข้อให้ละเอียดแจ่มแจ้งย่ิงข้ึน เพื่อปิดก้ันความชั่วที่จะ ไหลซึมเข้ามาสู่ใจได้สนิท ในบางแห่ง ท่านเรียกศีลห้าวา่ นจิ ศีล คอื เปน็ ศลี ท่ที ุกคนควรรกั ษาเป็นนจิ ความสมั พนั ธข์ องศลี ๕ กับ สุจรติ -ทจุ รติ คําว่า สุจริต แปลว่า ความประพฤติดี อันความประพฤติท่ีจะเรียกว่าสุจริตได้น้ัน ต้องเป็นความ ประพฤตดิ ีทเ่ี วน้ จากทุจริต จะทาํ จะพดู จะคดิ อะไรก็ตาม ตอ้ งไมเ่ ข้าลักษณะแหง่ ทุจรติ ลักษณะแห่งสุจริตแบ่งออกเป็น ๓ อยา่ ง ดังนี้ ๑. กายสุจรติ ความประพฤตดิ ีทางกาย ไดแ้ ก่ - ไม่ฆา่ สัตว์

๓๔ - ไมถ่ อื เอาของท่เี จ้าของไม่ให้ - ไม่ทาํ ผดิ ในทางประเวณี ๒. วจสี จุ รติ ความประพฤตดิ ีทางวาจา ไดแ้ ก่ - ไม่กล่าวคาํ เท็จ - ไม่กล่าวคําหยาบคาย - ไม่กลา่ วคาํ ส่อเสียด - ไม่กล่าวคําเพอ้ เจอ้ ๓. มโนสุจริต ความประพฤติดีทางใจ ไดแ้ ก่ - ไมค่ ิดเพ่งเลง็ อยากได้ของคนอ่ืน - ไมค่ ดิ จองล้างจองผลาญคนอืน่ - เหน็ ชอบตามทํานองคลองธรรม สว่ นคาํ ว่า ทุจริต แปลว่า ความประพฤติช่ัว ซ่ึงมีลักษณะตรงกันข้ามจากสุจริต ๓ ประการ ดังกล่าว ข้างต้นนั้น ไม้แก่นเป็นไม้ที่มีราคาสูงสุด ฉันใด คนมีแก่นสุจริต ย่อมเป็นคนทรงคุณค่าสูงเด่นกว่าคนท้ังหลาย ฉนั นั้น ๒. กุศลกรรมบถ ๑๐ กุศลกรรมบถ เป็นธรรมจริยาและเป็นธรรมท่ีสมบูรณ์ครบถ้วน ทําให้คนเจริญข้ึนพร้อมท้ังกาย วาจา และใจ กุศลกรรมบถ เป็นการปฏิบัติถูกต้องตามทางแห่งกุศลที่อริยชนดําเนินไปแล้ว และสรรเสริญ มีข้อ ปฏิบตั ิ ๑๐ ประการ คอื กศุ ลกรรมบถทางกาย ๓ ประการ คอื ๑. ละเว้นการฆ่า การสังหาร การบีบค้ัน เบียดเบียน มีความเมตตากรุณา ช่วยเหลือเก้ือกูล สงเคราะหก์ นั ๒. ละเว้นการแย่งชิง ลกั ขโมย และการเอารัดเอาเปรียบ เคารพในสิทธแิ ละทรัพย์สินของกนั และกนั ๓. ละเว้นการประพฤติล่วงละเมิดในของหวงแหนของผู้อ่ืน ไม่ข่มเหงจิตใจ ไม่ทําลายลบหลู่เกียรติ วงศ์ตระกลู ของกันและกัน กศุ ลกรรมบถทางวาจา ๔ ประการ คือ ๔. ละเว้นการพูดเท็จ โกหกหลอกลวง ไม่จงใจพูดให้ผิดพลาดจากความจริงเพราะเห็นแก่ ผลประโยชนใ์ ดๆ ๕. ละเวน้ การพดู สอ่ เสียด ยุยงอนั สรา้ งความแตกแยก พูดแตค่ าํ สมาน ส่งเสรมิ ความสามัคคี ๖. ละเวน้ การพดู คาํ หยาบ สกปรกเสียหาย พูดแต่คําสุภาพน่มุ นวลชวนฟัง ๗. ละเวน้ การพูดเหลวไหล เพ้อเจอ้ พูดแต่คาํ จริง มีเหตุ มผี ล มีสารประโยชน์ ถกู กาลเทศะ กศุ ลกรรมบถทางใจ ๓ ประการ คอื ๘. ไม่ละโมบ ไม่เพง่ เล็งคดิ หาทางเอาแต่จะได้ ควรคดิ ให้ คดิ เสียสละ ทาํ ใจใหเ้ ผ่ือแผ่กวา้ งขวาง

๓๕ ๙. ไม่คิดมุ่งร้ายเบียดเบียน หรือมองในแง่ที่จะทําลาย ต้ังความปรารถนาดี แผ่ไมตรีมุ่งให้เกิด ประโยชน์สุขแก่กนั ๑๐. มคี วามเห็นถูกตอ้ ง เปน็ สมั มาทฐิ ิ เขา้ ใจในหลกั ธรรมว่าทาํ ดมี ีผลดี ทําชวั่ มผี ลช่ัว เปน็ ต้น ธรรม ๑๐ ข้อนี้ เรียกว่า กุศลกรรมบถ (ทางทํากรรมดีบ้าง ธรรมจริยาบ้าง อารยธรรมบ้าง เป็น หลกั ธรรมทช่ี าวพทุ ธท่ดี ีควรประพฤติปฏิบตั )ิ ๓. อบายมุข แม้ผูม้ ยี ศ มที รัพย์ และมชี ่ือเสียง ถ้าตกไปสู่อบายมุขดังจะกล่าวต่อไปนี้ ทุกสิ่งที่เขามีอยู่ ย่อมพลันถึง ความพินาศ การศกึ ษาเรื่องอบายมขุ นี้ เพื่อความมัน่ คงส่วนตน อบายมุขท่านแสดงไว้ ๒ นยั คอื อบายมุข ๔ กับ อบายมุข ๖ ดงั น้ี อบายมขุ ๔ อบายมขุ ๖ ๑. ความเปน็ นักเลงหญิง ๑. ดืม่ นาํ้ เมา ๒. ความเปน็ นักเลงสุรา ๒. เที่ยวกลางคนื ๓. ความเป็นนกั เลงเลน่ การพนนั ๓. เทย่ี วดกู ารเล่น ๔. ความคบคนชวั่ เป็นมติ ร ๔. เลน่ การพนัน ๕. คบคนชั่วเปน็ มติ ร ๖. เกียจครา้ นทํางาน คําว่า อบาย แปลว่า ความเส่ือม คือฐานะท่ีไม่มีความเจริญ นักศึกษาคงจะเคยได้ยินเร่ืองอบายภูมิ ซ่ึงหมายถึงภูมิช้ันท่ีอยู่อันปราศจากความเจริญ ได้แก่กําเนิดเดียรัจฉาน นรก เปรต อสุรกาย อบายเหล่าน้ีเป็น อบายในภพหน้า คนจะตกไดต้ ่อเมื่อตายไปแลว้ สว่ นอบาย ทีเ่ รียกว่าอบายมขุ น้ี เป็นอบายในปัจจุบัน ซึ่งหมายถึง ความเสื่อม ความพินาศล่มจม เห็นกันทันตา เหตุใดท่านจึงใช้คําว่า อบายมุข ซ่ึงแปลว่าปากแห่งความเสื่อม จะใช้ คําว่า อบาย เฉยๆ ไม่ดีหรือ ท่ีว่า ปาก หมายถึงช่องทางจะตกลงไป เช่น ปากบ่อ ปากเหว ปากหม้อ ปากไห ความประพฤติ ๔ อย่าง และ ๖ อย่างนั้น ท่านว่าเป็นปากแห่งความเสื่อม ก็เพราะเป็นช่องทางท่ีจะพลัดตกลง ไปสคู่ วามฉิบหาย คือ ไม่ฉิบหายลงไปทนั ทที นั ใด แตค่ ่อยๆ ฉิบหายลงโดยไม่รู้ตัว ตัวอย่างเช่น การเล่นการพนัน มีได้มีเสีย ผเู้ รมิ่ เลน่ อาจได้เงนิ จํานวนมากๆ ราํ่ รวยทันตา ลวงใจให้ติดแต่ปลายทางก็ถึงความล่มจม ดังนี้เป็นต้น ท่านจึงใช้คําว่าปากแห่งความเสื่อม แทนที่จะเรียกว่า อบายเฉยๆ (ในทางกรรมและผล นักศึกษาต้องเข้าใจว่า อบายมุขเป็นเหตุ คือหมายถึงการกระทําจะทําให้เสื่อม ส่วนคําว่า อบายเฉยๆ นั้น เป็นผลซึ่งเกิดจากเหตุแล้ว ในเร่ืองนท้ี ่านต้องการแสดงตัวเหตุ จึงไดต้ ั้งช่อื ว่า อบายมุข) อบายมขุ ๔ อบายมุขส่ี มีความร้ายแรงย่ิงกว่าอบายมุข ๖ คงจะเห็นได้ว่า ในข้อ ๑, ๒ และ ๓ ท่านใช้คําว่า “นักเลง” คือเป็นผู้ประพฤติหมกมุ่นอยู่ในสิ่งนั้นจริงๆ คนที่จะเรียกว่า “นัก…” นั้น ต้องหมายถึงคนท่ีหมกมุ่นติด พันอยู่กับสิ่งนั้นจริงๆ ไม่ใช่ริทําเพียงคร้ังคราว เช่น นักเรียน นักมวย นักโทษ นักร้อง ฯลฯ แต่ที่น้ีได้แก่ “นักเลง” ความหมายแตล่ ะขอ้ ก็พอจะเข้าใจกนั อย่แู ล้ว ไมต่ ้องอธบิ ายมาก เชน่

๓๖ ๑. ความเป็นนักเลงหญิง หมายความว่า เป็นคนเจ้าชู้ โลภในกาม ถ้าเป็นชายก็ใฝ่ฝันถึงแต่ผู้หญิง เป็นหญิงก็ร่านหาแต่ชายรัก, คนอย่างน้ีแม้อยู่ในวัยเรียน ก็เสื่อมจากการเรียน อยู่ในวัยทํางานก็จะทอดท้ิงงาน มิเป็นอันทํา แม้ผู้มีครอบครัวแล้วก็มักจะมีเร่ืองร้าวราน เพราะการนอกใจกัน ชอบเที่ยวผู้หญิง ชอบเท่ียว กลางคืน มีความประพฤติท่ีไม่เหมาะสมทางเพศ เช่น คบชู้ หลงใหลในเพศตรงข้ามจนเกินพอดี มีความมักมาก ทางกามารมณ์ โทษของการเปน็ นักเลงหญิง มดี งั น้ี - เป็นการไม่รักษาตัว คนท่ีเที่ยวเตร่มาก มัวเมาลุ่มหลงมาก ย่อมทําให้ร่างกายและจิตใจไม่ปกติ ไมอ่ าจประกอบหน้าทก่ี ารงานใหส้ าํ เร็จลลุ ่วงไปไดด้ ว้ ยดี - เป็นการไม่รักษาลูกเมียหรือครอบครัว ข้อนี้สําหรับคนท่ีแต่งงานแล้ว การประพฤติผิดทางเพศ เช่น การคบช้ไู มว่ ่าจะเป็นฝ่ายหญงิ หรือฝ่ายชาย ย่อมทาํ ใหค้ รอบครัวเดือดรอ้ น - เป็นการไมร่ ักษาทรพั ยส์ มบตั ิ คนท่ชี อบเที่ยวกลางคืนหรือหลงใหลเพศตรงข้ามมาก ย่อมจะต้อง ใช้จ่ายเงินเกินกว่าปกติ เพื่อบําเรอคนที่ตนรัก ซ่ึงถ้าเหมาะสมกับฐานะก็ไม่เป็นไร แต่โดยท่ัวไปแล้วมักจะเกิน พอดี - เป็นที่ระแวงของคนทั่วไป ข้อนี้เห็นได้ชัด คนที่ชอบคบชู้ ชอบเที่ยวกลางคืน และหลงใหลคู่รัก จนเกนิ ขนาดย่อมไมม่ ใี ครอยากไวใ้ จ - มักถูกใส่ความ เป็นเป้าใหเ้ ขาใส่ความหรือขา่ วลือ - เป็นท่ีมาของความเดือดร้อนนานาชนิด เพราะผู้ท่ีเป็นนักเลงหญิง เม่ือหมดตัวแล้วก็มักแสวงหา เงินทองมาจับจ่ายด้วยวิธีการทุจริต และเม่ือไม่สมหวังก็อาจแสดงอาการเพ้อเจ้อ หรือมีอาการคลุ้มคล่ังทําร้าย ผู้อื่นไดง้ า่ ยๆ ๒. ความเป็นนกั เลงสุรา หมายความว่า เป็นนกั ด่ืม ติดเหล้า ใฝ่ฝันอยู่กับการด่ืมจนเป็นทาสของสุรา, การดมื่ ย่อมเป็นการผลาญตวั เองทงั้ ในทางทรพั ย์ ชื่อเสยี ง สุขภาพ สตปิ ัญญา ติดฝ่ิน ติดกัญชา การติดส่ิงมึนเมา อน่ื ๆ และยาเสพตดิ ให้โทษ ก็รวมอย่ใู นอบายมุขข้อนี้ โทษของการเป็นนักเลงสุรา มีดงั นี้ - เสยี ทรัพย์ - ทําให้เกิดการทะเลาะวิวาท คนเมาเหล้ามักจะทะเลาะกัน ชกต่อยกัน และบางครั้งถึงกับ ฆ่ากัน คนบางคนเวลาไม่เมามีความประพฤติเรียบร้อย แต่พอด่ืมเหล้าเข้าไปแล้วต้องหาเร่ืองทะเลาะกับคนอ่ืนเกือบ ทุกคร้งั - เป็นบ่อเกิดแห่งโรค เหล้าและสิ่งเสพติดทุกอย่างทําให้เสียสุขภาพบ่ันทอนกําลังกาย ยาเสพติด หากเสพไปนานๆ อาจทําให้ถึงแก่ความตายได้ หรือถ้าไม่ตายก็ไม่มีกําลังวังชาในการประกอบหน้าท่ีการงาน ต่างๆ - ทําให้เสียเกียรติยศและช่ือเสียง คนเมาเหล้าอยู่เสมอ คนติดยาเสพติดย่อมไม่มีใครเช่ือ ไม่มีใคร ยอมรับนับถอื ไวว้ างใจ ไม่มีใครอยากคบค้าสมาคม หรือไม่มีใครอยากให้ทํางานด้วย เพราะคนเช่นนี้ ถ้าไม่มีเงิน ซือ้ เหลา้ หรอื ยาเสพติด กอ็ าจจะกระทําในสิง่ ท่ีชวั่ รา้ ยต่างๆ ได้งา่ ย - ทาํ ให้ไม่รู้จักอาย คนเมาเหล้าจะกระทําส่ิงต่างๆ โดยขาดสติ เพราะถูกฤทธิ์แอลกอฮอล์ครอบงํา บางคนเม่ือหายเมาแล้วก็ยังไม่รู้ว่าตอนที่เมาอยู่นั้นตนได้ทําอะไรลงไปบ้าง ดังน้ัน คนที่เมาเหล้าอยู่เป็นนิจจึงไม่ มีใครอยากเกี่ยวข้องคบคา้ สมาคมด้วย

๓๗ - บ่ันทอนกําลังสติปัญญา เหล้าและยาเสพติดไม่เพียงแต่บ่ันทอนกําลังกายเท่านั้น แต่ทําให้ สติปัญญาเส่ือมความจําไม่ดีหลงลืมง่าย ความคิดและการตัดสินใจเชื่องช้าลงเรื่อยๆ จนในท่ีสุดมีสภาพ เหมอื นกับคนทตี่ ายทง้ั เป็น ๓. ความเป็นนักเลงเล่นการพนัน คือ เลน่ การพนนั ขันต่อ มีได้มีเสีย เช่น เล่นไพ่ เล่นเบ้ีย เล่นม้า ฯลฯ คนที่เล่นการพนันจนติดแล้ว จิตใจจะมัวเมาใฝ่ฝันอยู่กับการเล่น เม่ือได้ก็กําเริบใจ คิดจะเล่นซํ้าอีกให้ร่ํารวย มากๆ เข้า ครั้นเล่นอีกกลบั เสยี ยบุ เสียยบั เมื่อเสียไป ก็คิดจะหาเงินมาเล่นเพ่ือแก้ตัว เอาเงินท่ีเสียไปกลับคืนมา ส่วนมากของคนติดการพนัน มักจะต้องขายส่ิงของท่ีสะสมไว้ เอาเงินไปเล่น ตระกูลท่ีมั่งค่ังจริงๆ ต้องร้ือร้ัวบ้าน ขาย ขายต่มุ ขายเตียงตู้ รื้อลูกกรงขาย ร้ือรั้วขาย และจนกระทั่งขายบ้าน ขายท่ีดิน ส้ินเนื้อประดาตัว อย่างทันตา การพนันมีตั้งแต่เรื่องใหญ่ๆ เช่น แทงม้า เล่นไฮโล เล่นไพ่ เป็นต้น ซ่ึงมีการได้เสียนับเป็นเงินหลายร้อย หลาย พัน หลายหม่ืน หรือหลายล้านบาท จนกระท่ังถึงเร่ืองเล็กๆ น้อยๆ ซึ่งมีการได้เสียเป็นเงินเพียงไม่กี่บาท เช่น ปัน่ แปะ กดั ปลา เป็นต้น พระพุทธเจา้ ไดท้ รงแสดงโทษของการเป็นนักเลงการพนันไวว้ า่ - เมอ่ื ชนะย่อมกอ่ เวร คอื เมอื่ เลน่ ได้ ก็ย่อมมคี นอยากแก้มือเรยี กรอ้ งให้เลน่ อีก - เมื่อแพ้ย่อมเสียดายทรัพย์ คือ เม่ือเล่นเสีย จิตใจก็ยังเกิดความเสียดายต้องการเล่นอีกต่อไป การพนันทุกชนดิ ทําให้คนลมุ่ หลง เม่อื ลองเล่นแล้วก็มักหยุดไมไ่ ด้ หนกั เข้ากไ็ ม่เปน็ อนั ทํางานหรือศึกษาเลา่ เรยี น - ทรัพย์สินย่อมเสียหาย ไม่เคยปรากฏว่า มีคนร่ํารวยหรือมีฐานะดีได้ด้วยการพนัน เพราะถึงแม้ จะเลน่ ชนะ เงนิ ท่ไี ดม้ าน้นั กม็ กั เก็บไว้ไดไ้ มน่ านตอ้ งใช้จ่ายจนหมด - ไม่มีใครเช่ือถือ ผู้ท่ีเป็นนักเลงการพนัน ผู้อ่ืนย่อมขาดความเชื่อถือถ้อยคํา มักถูกมองว่าเป็นคน หลอกลวง - เพือ่ นฝงู ดูหมนิ่ ไมอ่ ยากคบคา้ สมาคม เพราะกลวั จะเสียช่อื ตามไปดว้ ย - ไม่มีใครอยากได้เป็นคู่ครอง เพราะกลัวชีวิตครอบครัวจะไม่ราบร่ืน เนื่องจากนักเลงการพนัน อาจจะละทง้ิ ครอบครวั ได้ ถ้าหากติดการพนันมากๆ ๔. คบคนช่ัวเป็นมิตร คือร่วมกิน ร่วมนอน ร่วมเท่ียว ร่วมอาชีพ ร่วมพวก หรือไปมาหาสู่กับคนชั่ว เรียกว่าคบคนชั่ว, คนอย่างไรเรียกว่าคนชั่ว ในที่นี้หมายเอาคนอันธพาลเกเร มีความประพฤติชั่วช้าเสียหาย ทํามาหากินทางทุจริต รวมทั้งท่ีชวนให้เราเป็นนักเลงหญิง นักเลงสุรา และนักเลงเล่นการพนัน ดังกล่าวแล้ว, โทษของการคบคนชั่ว ก็คือเราจะถูกคนชั่วนําไปในทางเสียหาย ทําให้เราต้องกลายเป็นคนชั่วคนเสียไปด้วย คนเราเม่ืออยู่ใกล้ชิดกับใคร ก็มีโอกาสที่จะมีพฤติกรรมเช่นเดียวกับเขา เปรียบเหมือนดั่งว่าถ้าเราอยู่ใกล้ของ หอม เราก็หอมไปดว้ ย และถ้าอย่ใู กลข้ องเหม็น เรากย็ อ่ มเหมน็ ตามไปด้วย ดังนั้น ในการเลือกคบผู้ใดเป็นมิตร ต้องระมัดระวังให้ดี โดยพยายามหลีกเล่ียงไม่คบกับคนชว่ั ๖ ประเภทใหญๆ่ ดงั นี้ ๑. นักเลงการพนนั ๒. นกั เลงเจ้าชู้ ๓. นกั เลงสุรายาเสพตดิ ๔. นักลวงเขาดว้ ยของปลอม ๕. นกั หลอกลวง ๖. นักเลงหวั ไม้

๓๘ อบายมุขท้ัง ๔ น้ี เป็นหนทางใหญ่ที่จะนําคนไปสู่ความเสื่อม หากใครละเว้นเสียได้ ก็ย่อมจะมีโอกาส ประสบความสาํ เร็จในชวี ิตอยา่ งมาก คุณประโยชนข์ องการละเว้นอบายมุข ๔ ผทู้ ี่ละเวน้ จากอบายมขุ ๔ ย่อมไดร้ บั คณุ ประโยชน์ ดังน้ี ๑. ไม่เสียทรัพย์ไปโดยเปลา่ ประโยชน์ ๒. ไมห่ มกมนุ่ ในส่งิ ที่หาสาระมไิ ด้ ๓. ประกอบหน้าท่กี ารงานไดเ้ ตม็ ที่ ๔. ชวี ิตไม่ตกตาํ่ ๕. เปน็ ท่ีรักใครแ่ ละไวว้ างใจของผู้อน่ื ๖. มพี ลานามัยสมบรู ณ์ พละกําลังและสติปัญญาไมเ่ สอ่ื มถอย ๗. สามารถประกอบหนา้ ท่กี ารงานไดด้ ้วยความสจุ รติ อบายมุข ๖ ปากทางแห่งความเสอื่ ม ๖ ประเภท มดี ังน้ี ๑. ด่ืมน้ําเมา มีโทษ ๖ ประการคือ (๑) เสียทรัพย์ (๒) ก่อการทะเลาะวิวาท (๓) เกิดโรค (๔) ต้อง ติเตยี น (๕) ไมร่ ู้จักอาย (๖) ทอนกาํ ลงั ปัญญา ๒. เที่ยวกลางคืน มีโทษ ๖ ประการคือ (๑) ไม่รักษาตน (๒) ไม่รักษาลูกเมีย (๓) ไม่รักษาทรัพย์ (๔) เป็นท่รี ะแวงของคนอ่นื (๕) มกั ถกู ใส่ความ (๖) ได้ความลาํ บาก ๓. เท่ยี วดกู ารเลน่ มีโทษตามวตั ถุที่ไปดู ๖ ประการคือ (๑) รําที่ไหนไปที่น่ัน (๒) ขับร้องที่ไหนไปที่ นั่น (๓) ดีดสีตีเป่าท่ีไหนไปท่ีน่ัน (๔) เสภาท่ีไหนไปท่ีน่ัน (๕) เพลงที่ไหนไปที่น่ัน (๖) เถิดเทิง (กลองยาว) ที่ ไหนไปทีน่ ั่น ๔. เล่นการพนัน มีโทษ ๖ ประการคือ (๑) เมื่อชนะก็ก่อเวร (๒) เมื่อแพ้ก็เสียดาย (๓) ทรัพย์ ฉบิ หาย (๔) ไม่มีคนเชื่อถอื (๕) เพอื่ นดูหมิน่ (๖) ไม่มีใครอยากแตง่ งานด้วย ๕. คบมิตรช่ัว มีโทษ ๖ ประการคือ (๑) นําให้เป็นนักเลงเล่นการพนัน (๒) นําให้เป็นนักเลงเจ้าชู้ (๓) นาํ ให้เปน็ นกั เลงเหลา้ (๔) นาํ ให้เป็นคนลวงเขาดว้ ยของปลอม (๕) นําให้เป็นคนโกงเขาซ่ึงหน้า (๖) นําให้ เปน็ นกั เลงหวั ไม้ ๖. เกียจคร้านทํางาน มีโทษ ๖ มักยกเหตุต่างๆ เป็นข้ออ้างผิดเพ้ียนไม่ทําการงาน โดยอ้างว่า (๑) หนาวนกั (๒) ร้อนนกั (๓) เวลาเย็นแลว้ (๔) ยังเช้าอยู่ (๕) หวิ นกั (๖) กระหายนัก -แลว้ ไมท่ ํางาน ๔. อกศุ ลมลู ๓ และ กุศลมูล ๓ การทําความชั่วทุกอย่าง ย่อมนําความเดือดร้อนมาสู่ผู้กระทํา และผู้อื่น ส่วนการทําความดีทุกอย่าง ก็ย่อมนําความสงบสุขมาสู่ผู้กระทําและผู้อ่ืนเช่นกัน ดังน้ัน เราจึงควรรู้ถึงต้นเหตุท่ีทําให้คนทําความชั่วหรือ ความดี เพ่อื จะไดห้ าทางหยุดย้งั การทาํ ความช่วั และสนับสนนุ การทาํ ความดีตอ่ ไป อกุศลมลู หมายถึง ตน้ เหตุของความชว่ั หรอื ต้นกําเนดิ ของความชั่ว ซ่งึ มีทั้งหมด ๓ ประการ คอื ๑. โลภะ หมายถึง ความอยากได้ไม่รู้จักพอ อยากได้ในส่ิงท่ีตนไม่มี อยากได้สิ่งของของผู้อ่ืน ความ อยากได้น้ี จะทําให้คนกล้าทําช่ัว เพ่ือให้ได้ในสิ่งที่ตนต้องการ เช่น การพูดโกหก การทําร้ายผู้อ่ืน การฉ้อโกง การลกั ขโมย เปน็ ต้น

๓๙ ๒. โทสะ หมายถึง ความคิดประทุษร้าย ความโกรธ ความฉุนเฉียว ความพยาบาท ผู้ท่ีมีโทสะจะกล้า ทําชั่วได้ทุกอย่าง เพื่อทําให้ผู้ท่ีตนไม่พอใจได้รับความเดือดร้อน เช่น การกล่ันแกล้ง การทําร้ายให้บาดเจ็บหรือ ตาย และการให้รา้ ย เป็นตน้ ๓. โมหะ หมายถึง ความหลง ความเขลา ความโง่ ความเข้าใจผิด ความหมกมุ่น ผู้ท่ีมีโมหะจะอยู่ใน สภาวะท่ีไม่รู้จริง หลงผิด ซ่ึงเป็นสาเหตุให้กล้าทําช่ัวได้ทุกอย่าง เช่น เสพยาเสพติด เพราะคิดว่าจะช่วยให้ตน สบายใจ คดโกงเพ่ือน เพราะคดิ วา่ คนโงย่ ่อมเป็นเหย่อื ของคนฉลาด เป็นต้น ดังนั้น ถ้าบุคคลใดมี โลภะ โทสะ หรือโมหะ ก็ย่อมทําช่ัวได้ทุกอย่างอยู่ตลอดเวลา เราจึงควรขจัดส่ิง เหลา่ น้ใี ห้หมดสิน้ ไปจากตนเอง กศุ ลมลู หมายถึง ต้นเหตขุ องความดี หรอื ต้นกาํ เนดิ ของความดี มที ัง้ หมด ๓ ประการคือ ๑. อโลภะ หมายถึง ความไม่อยากได้ในส่ิงที่ไม่ใช่ของตน ความไม่อยากได้ในส่ิงท่ีไม่ควรจะได้ หรือ ความไม่อยากได้ในส่ิงต่างๆ จนเกินความพอดี คนที่มีอโลภะมักจะปรารถนาส่ิงต่างๆ ท่ีได้มาตาม กาํ ลังสติปัญญา หรอื ความสามารถของตน รู้จกั แบ่งปัน และร้จู ักเสียสละ ๒. อโทสะ หมายถึง ความไม่โกรธ ไม่คิดประทุษร้าย ไม่พยาบาท คนท่ีมีอโทสะ มักจะให้อภัยผู้อื่น เสมอ รู้แพช้ นะ และอดทน อดกลั้นความโกรธได้ ๓. อโมหะ หมายถึง ความไม่หลง ไม่ขาดสติ คนที่มีอโมหะ จะเป็นคนรอบรู้เฉลียวฉลาดในสิ่งที่ควรรู้ ร้วู ่าส่งิ ใดเป็นสง่ิ ดีทคี่ วรปฏิบตั ิ และส่ิงใดไมด่ ีไมค่ วรปฏิบัติ ดังนั้น ถ้าบุคคลส่วนใหญ่ไม่มีอกุศลมูล แต่มีกุศลมูล ก็ย่อมส่งผลให้สังคมนั้นมีแต่ความสงบสุข รู้ ต้นเหตุของการทําความช่ัวคอื โลภะ โทสะ โมหะ เรยี กว่า อกุศลมลู และรูต้ ้นเหตุของการทําความดคี อื อโลภะ อโทสะ อโมหะ ซ่ึงเรียกวา่ กุศลมูล ๕. การคบมติ ร (มิตรแท้ ๔, มติ รเทียม ๔) นักจิตวิทยาเห็นว่า ความเสื่อมหรือความเจริญของบุคคล อยู่ภายใต้อิทธิพลของสภาพ ๒ ประการ คือ พันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม และได้กล่าวถึงความสําคัญของสภาพท้ัง ๒ ไว้ว่า พันธุกรรมวางพื้นฐานชีวิต ส่ิงแวดลอ้ มกําหนดขอบเขตความเจรญิ รุ่งเรืองของชีวติ ความเห็นของนักจิตวิทยา สอดคล้องกับมติพระพุทธศาสนา ในเรื่องพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม แต่ทาง พระพุทธศาสนามีความหมายเรื่องพันธุกรรมกว้าง และลึกซึ้งมากกว่าทางจิตวิทยา ในที่นี้ จะไม่นําเรื่อง พันธุกรรมมากล่าว จะกล่าวเฉพาะสิ่งแวดล้อมอย่างเดียว มีภาษิตว่า ยัง เว เสวะติ ตาทิโส แปลว่า คบคน เช่นใดกเ็ ปน็ คนเช่นนั้น น่ันคือ อทิ ธพิ ลของสิ่งแวดล้อมตามทศั นะของพระพุทธศาสนา บรรดาส่ิงแวดล้อมต่างๆ จะเป็นสิ่งที่มีตัวตนหรือมีรูปธรรม เช่น คน โรงเรียน สถานที่ทํางาน หรือเป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตน เช่น กฎหมาย ข้อบังคับ จารีต ประเพณี หรืออ่ืนๆ นอกจากน้ีก็ตาม ทางพระพุทธศาสนาถือว่า คนสําคัญกว่าทุกอย่าง เพราะ สิ่งต่างๆ เกิดจากคนท้ังน้ัน คนสร้างข้ึนและบันดาลให้เป็นไป ในจํานวนคนที่เราใกล้ชิด ผู้เป็นมิตรสหาย สําคัญ กว่าทุกคน มิตร ได้แก่คนที่คุ้นเคยรักใคร่สนิทสนมกัน ส่วนสหาย ได้แก่คนที่เคยเห็น เคยร่วมงานกัน มิตร สําคัญกว่าสหาย เพราะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ถ่ายเทอัธยาศัยใจคอ และกิริยามารยาท ตลอดถึงความ

๔๐ ประพฤติให้กัน ฉะนั้น การคบมิตรจึงจําต้องเลือก มิตรดีเรียกกัลยาณมิตร มิตรไม่ดีเรียกปาปมิตร หรือมิตรดี เรียกมติ รแท้ มิตรไม่ดเี รยี กคนเทยี มมติ ร มิตรเหลา่ น้ี มลี ักษณะตา่ งๆ กันดงั น้ี มติ รแท้ ๔ จาํ พวก ก. มิตรมอี ปุ การะ มีลกั ษณะ ๔ อย่าง คือ ข. มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ มีลักษณะ ๔ อย่าง คือ ๑. ป้องกนั เพ่ือนผปู้ ระมาทแล้ว ๑. ขยายความลับของตนแกเ่ พ่อื น ๒. ปอ้ งกนั ทรัพยส์ มบตั ิของ ๒. ปดิ ความลบั ของเพ่ือนไมใ่ ห้ เพอ่ื นผ้ปู ระมาทแลว้ แพรง่ พราย ๓. เมือ่ มีภยั เป็นทพี่ ึง่ พาํ นักได้ ๓. ไมล่ ะท้งิ ในยามวบิ ตั ิ ๔. เมอ่ื มีธุระ ช่วยออกทรพั ย์ให้ ๔. แม้ชวี ิตก็อาจสละแทนได้ เกนิ กวา่ ที่ออกปาก ค. มติ รแนะประโยชน์ มลี ักษณะ ๔ อยา่ ง คือ ง. มิตรมีความรักใคร่ มีลักษณะ ๔ อย่าง คือ ๑. ห้ามไม่ให้ทาํ ความชวั่ ๑. ทกุ ข์ๆ ดว้ ย ๒. แนะนาํ ให้ต้งั อยูใ่ นความดี ๒. สุขๆ ด้วย ๓. ให้ฟงั สงิ่ ท่ยี ังไม่เคยฟงั ๓. โตเ้ ถียงคนพดู ตเิ ตยี นเพ่ือน ๔. บอกทางสวรรค์ให้ ๔. รบั รองคนท่ีกลา่ วสรรเสริญเพื่อน มิตร ๔ ประเภทนี้ จัดเป็นกัลยาณมิตร ควรคบ คบแล้วจะช่วยให้ชีวิตรุ่งโรจน์ ตรงตามภาษิตท่ีว่า “คบคนดเี ปน็ ศรแี กต่ ัว” หรอื “คบบัณฑิตๆ พาไปหาผล” คนเทียมมิตร ๔ จําพวก ก. คนปอกลอก มลี ักษณะ ๔ อย่าง คอื ข. คนดีแต่พูด มลี กั ษณะ ๔ อยา่ ง คอื ๑. คิดเอาแต่ไดฝ้ ่ายเดียว ๑. เกบ็ เอาของล่วงแล้วมาปราศรยั ๒. เสียให้น้อยคิดเอาให้ไดม้ าก ๒. อา้ งเอาของท่ีไม่มมี าปราศรัย ๓. เม่อื มีภัยถึงตวั จึงรบั ทํากจิ ใหเ้ พอื่ น ๓. สงเคราะห์ด้วยสง่ิ หาประโยชนม์ ไิ ด้ ๔. คบเพอ่ื นเพราะเห็นแก่ประโยชนข์ องตัว ๔. ออกปากพงึ่ ไมไ่ ด้ ค. คนหัวประจบ มีลักษณะ ๔ อยา่ ง คือ ง. คนชกั ชวนในทางฉบิ หาย มีลักษณะ ๔ อยา่ ง คอื ๑. จะทําชวั่ ก็คลอ้ ยตาม ๑. ชกั ชวนดื่มนาํ้ เมา ๒. จะทําดกี ็คลอ้ ยตาม ๒. ชกั ชวนเทีย่ วกลางคืน ๓. ตอ่ หน้าว่าสรรเสรญิ ๓. ชกั ชวนให้มวั เมาในการเลน่ ๔. ลบั หลงั วา่ นนิ ทา ๔. ชกั ชวนเลน่ การพนัน มิตร ๔ ประเภทน้ี จัดเป็นบาปมิตร หรือมิตรเทียม ไม่ควรคบ คบแล้วจะทําให้ชีวิตอับเฉา เส่ือม เกียรติ ตรงตามภาษติ ที่วา่ “คบคนช่วั อัปราชยั ” หรือ “คบคนพาลๆ พาไปหาผิด”

๔๑ ๖. ทิฏฐธมั มกิ ตั ถประโยชน์ ๔ ประโยชนใ์ นปจั จุบัน (การสร้างตัว) พระพุทธศาสนาสอนให้คนพ่ึงตนเอง ความสําเร็จทุกอย่าง ย่อมเป็นผลจากการกระทําของแต่ละคน มิใช่ได้ด้วยการอ้อนวอนผู้ศักดิ์สิทธิ์เบื้องบนให้ประทานลงมา พระพุทธเจ้าทรงสอนให้คนสร้างตัวให้สําเร็จ ผู้ที่ สร้างตัวเองให้เป็นหลักฐานม่ันคงไม่ได้ ย่อมยากท่ีจะปฏิบัติธรรมะชั้นสูงขึ้นไปให้ได้ผลดี นอกจากไม่สามารถจะ นําตวั เอง และครอบครวั ใหป้ ระสบความสขุ แลว้ ยงั เปน็ ภาระของสังคมอกี ด้วย การสร้างตวั การสรา้ งตวั คือ การจัดการเศรษฐกิจให้กับตัวเอง ทางพระพุทธศาสนาพระพุทธองค์ได้ ทรงวางหลักไว้ ๔ อย่าง คือ ๑. อุฏฐานสัมปทา ถึงพร้อมด้วยความหมั่น คือ ถึงพร้อมด้วยความหม่ัน จะศึกษาเล่าเรียน หรือ ประกอบอาชีพใดๆ ก็ตาม ความหมั่นขยันนี้ เป็นสิ่งสําคัญท่ีสุดท่ีจะให้ได้รับผลสําเร็จ เราต้องการทรัพย์ ตอ้ งการความสุข ตลอดจนความเคารพรกั จากผู้อ่นื เราจะได้สง่ิ เหล่านนั้ มาดว้ ยความหม่ันขยนั ๒. อารักขสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการรักษา เช่น รักษาทรัพย์ท่ีหามาได้ไม่ให้สูญหาย ประหยัดใช้ให้ เกิดประโยชน์ รักษาหน้าท่ีของตนมิให้เสื่อมเสีย มีทรัพย์แล้วต้องรักษาทรัพย์ท่ีมีไว้ ทรัพย์จึงจะมากขึ้นไปได้ มี วชิ าแลว้ ตอ้ งรักษา ดว้ ยวิธนี ําออกใชใ้ หเ้ หมาะ วิชาจึงจะรุ่งเรอื ง ๓. กัลยาณมิตตตา ความมีคนดีเป็นมิตร คนท่ีมีทรัพย์และรักษาไว้ได้ แต่ขาดเพื่อนก็คับแคบ มี เพื่อนไม่ดี ก็ทําให้เสียตัว เสียความประพฤติ และเสียทรัพย์สมบัติได้ แต่ถ้ามีเพื่อนดี ก็จะเป็นการสนับสนุนให้ อาชีพรุ่งโรจน์ได้ ท้งั ยงั คอยปอ้ งกนั ชว่ ยเหลอื ในยามตกทุกขไ์ ดย้ ากอีกด้วย ๔. สมชีวิตา การครองชีพเหมาะสม คือใช้จ่ายตามควรแก่รายได้ ไม่ฟุ่มเฟือยหรือฝืดเคืองเกินไป คนจ่ายทรัพย์เกินกําลัง หรือไม่จําเป็น แต่ยังขืนจ่าย เรียกว่า ฟุ่มเฟือย เป็นสาเหตุให้เกิดหนี้สินและทุจริต คนที่ ทนอด ทนหิว หรือจําเป็นแล้วไม่จ่าย เป็นการฝืดเคือง เรียกว่าตระหน่ี ผู้ประหยัดทรัพย์ ใช้จ่ายในสิ่งที่จําเป็น และสมควร ทาํ ให้เกดิ ผลคุ้มค่าของเงินท่ีจ่ายไป ชือ่ วา่ เปน็ ผู้ครองชีวิตเหมาะสม ผูป้ ระพฤติหลกั ธรรมการสร้างตัวทั้ง ๔ นี้ให้เต็มที่ ย่อมสร้างตัวได้สําเร็จ แม้ฐานะทางการศึกษา และ ทางสังคมของแต่ละคนจะแตกต่างกันเพียงใดก็ตาม หลักธรรม ๔ ข้อนี้ จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติสามารถสร้างตัวได้ ตามฐานะนั้นๆ ถ้าถือคติว่า “สร้างทุกอย่างท่ีสร้างสรรค์ข้ึนมาได้ รักษาทุกอย่างท่ีจะรักษาไว้ได้ เสียสละทุก อยา่ งทีจ่ ะเสียสละได้” ก็ยอ่ มเป็นบุคคลที่สร้างตนไดอ้ ยา่ งสมบรู ณแ์ ท้ ๗. บญุ กริ ิยาวตั ถุ ๓ บุญ-บาป จะศึกษาเร่ืองบุญกิริยาวัตถุ ควรได้ทําความเข้าใจทรรศนะของพระพุทธศาสนา ในปัญหาเร่ืองบาป- บุญเสียก่อน ได้มีคนอยู่ไม่น้อยที่เข้าใจว่า บุญเป็นวัตถุอะไรอย่างหนึ่ง ซึ่งแห่ล้อมไปกับผู้มีบุญ คอยให้ผลอย่าง มากมายในชาตหิ นา้ และบาปกเ็ ป็นวตั ถุอกี อย่างหน่งึ หรือเปน็ บันทกึ โทษที่ยมบาลได้จารึกลงในหนังสุนัข ซึ่งจะ ใช้เป็นข้อฟ้องร้องในอวสานแห่งชีวิต ความเข้าใจอย่างนี้ จะว่าผิดทีเดียวก็ไม่ได้ แต่คงจะเกินเหตุผลความจริง อยู่บ้าง ที่แท้แล้ว บุญคือความดีข้ึนแห่งจิต และบาปก็คือ ความเสียหายแห่งจิตน่ันเอง ความดีข้ึน เจริญขึ้น ประณีตขึ้น สูงขึ้นแห่งจิต มีท่ีดูได้ง่ายๆ คือ ดูที่ความสะอาดผุดผ่องของจิต ฉะน้ัน อาการดีข้ึนของจิตทั้งหมด

๔๒ รวมใช้คําว่า บุญ แปลว่า บริสุทธิ์สะอาด ความต่ําทราม ความเส่ือมโทรม และความเสียหายของจิต ท่านรวมใช้คํา ว่า ชั่ว เลว เสีย สกปรก บุญ คือความสะอาดแห่งจิต ฉะนั้น จึงไม่เป็นของยากท่ีจะวินิจฉัย ความสะอาดเป็น ส่ิงจําเป็นสําหรับคนเรา เช่น ความสะอาดของร่างกาย ความสะอาดของท่ีอยู่ ความสะอาดของเสื้อ ความสะอาดของ ถ้วยชาม และในทุกกรณี ความสะอาดจําเป็นท้ังน้ัน เราจึงต้องล้างหน้า อาบนํ้า ปัดกวาดบ้านเรือน ซักเส้ือผ้า และล้างถ้วยล้างชาม เพ่ือจะให้เกิดความสะอาด ส่ิงของเหล่านี้ ถ้าสะอาดแล้ว ใช้งานได้ดี ไม่มีโทษ และเกิดความ สวยงาม จิตของเราก็เหมือนกัน ถ้าสะอาดแล้ว ย่อมปลอดโปร่ง ความคิดอ่านแจ่มใส เป็นความคิดท่ีไม่มีภัย ความคดิ สะอาดนน้ั ยังเป็นพลังสําคัญในการส่งจิตเข้าสู่คติอันดี เม่ือออกจากร่างน้ีแล้วด้วย ฉะน้ัน พระจึงสอน ให้เราทาํ ความสะอาดจติ แตท่ ่านใช้คําว่า “ทาํ บญุ ” ตามสาํ นวนทางศาสนา การทําบุญนั้นเป็นการทําประโยชน์ แก่ตัวเราเอง มิใช่ทําให้พระอย่างบางคนเข้าใจ พระท่านเป็นเพียงผู้บอกกล่าวในการทําบุญของเรา ถึงท่านจะ ไดร้ บั ผลจากกการทาํ บุญของคนอ่นื ก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง เหมือนเราอาบนํ้าฟอกสบู่ ก็เป็นการกระทําประโยชน์ให้ ตัวเราโดยตรง ส่วนบรษิ ทั ขายสบ่จู ะไดผ้ ลบ้าง น่ันเป็นอีกสว่ นหนึ่ง แตจ่ ะเรียกว่าเราอาบน้ํา เพื่อทําประโยชน์ให้ บริษทั ขายสบูไ่ มไ่ ด้ บุญกริ ยิ าวัตถุ คือ วิธีทาํ บญุ มี ๓ วธิ ี คอื ๑. ทาน การให้ (ทานมัย บุญสําเรจ็ ดว้ ยการให้ทาน) ความหมายและความมุ่งหมาย ทานคือการให้ โดยท่วั ไป มี ๒ ประการ คอื - การใหเ้ พือ่ มุ่งฟอกกเิ ลสในใจของผูใ้ หเ้ อง - การใหเ้ พื่อมุ่งสงเคราะห์ผูร้ บั ทัง้ สองความมงุ่ หมายนี้ ท่านใช้ศพั ทว์ ่า ทาน เหมอื นกัน แต่ในบญุ กริ ิยาวัตถุน้ี มุ่งหมายเอาการให้เพื่อ มงุ่ ฟอกกิเลสในใจของผใู้ ห้เทา่ น้นั ทานสมบตั ิ ๓ (คณุ สมบตั ิของทาน) การให้ทาน ซ่ึงจะทําให้บังเกิดผลในทางฟอกกิเลสน้ัน จะต้องเป็นการให้ที่มีองค์สมบัติ ๓ อย่าง ที่ เรยี กวา่ ทานสมบตั ิ คอื - วตั ถุ คอื ของทีจ่ ะให้ทาน จะตอ้ งเป็นของทไี่ ด้มาโดยบรสิ ทุ ธิ์ - เจตนา คอื มคี วามตง้ั ใจทจ่ี ะทาํ บุญ มิใช่มุง่ อย่างอน่ื - บุคคล คือ บุคคลผใู้ หแ้ ละผรู้ บั เป็นคนดมี ีศีล ทานที่มีองค์สมบัติครบท้ัง ๓ ประการน้ี เป็นทานที่มีผลสมบูรณ์ ถ้าขาดอย่างใดอย่างหน่ึง ผลก็ลดลง ตามส่วน โปรดสังเกตว่า การให้ส่ิงของซ่ึงเรียกว่า ทาน ถ้ากระทําได้ตามหลักเกณฑ์ดังนี้ จิตของผู้ให้ย่อมจะถูก ขดั เกลาให้สะอาดขนึ้ ทุกคราว ท่ีเรียกวา่ “ไดบ้ ุญ” ๒. ศลี (ศลี มัย บุญสําเรจ็ ดว้ ยการรกั ษาศลี ) ความหมาย ศีล คือ การตั้งใจรักษากายวาจาของตนให้ปกติและเรียบร้อย ไม่ละเมิดข้อห้ามต่างๆ ตามภูมชิ ้นั ของตน ความมุ่งหมาย การรักษาศีลเป็นวิธีฝึกร่างกายและจิตใจควบกันไป สามารถทําให้กิเลสซึ่งรัดตรึงจิต อยคู่ ลายตัวออกได้อยา่ งประหลาด และมคี วามสะอาดผุดผอ่ งขึ้นแทน ส่งิ นแ้ี หละ คือ “บญุ ” ท่ไี ด้ ชัน้ ของศลี พระพุทธเจ้าทรงวางกําหนดการรกั ษาศีลไว้เปน็ ชน้ั ๆ ดังน้ี

๔๓ ชน้ั คฤหสั ถ์ รกั ษาศลี ๕ หรอื ศลี ๘ ชั้นสามเณร รักษาศลี ๑๐ ชั้นภิกษุ รกั ษาศลี ๒๒๗ ศีลที่เป็นพื้นฐานดั้งเดิมมี ๕ ข้อ ตามที่ได้ศึกษามาแล้ว ส่วนศีล ๘ - ๑๐ - ๒๒๗ นั้น เป็นส่วนขยาย จากศีลหา้ ให้ละเอียดยิ่งขึน้ บางทศี ลี ท่ขี ยายขึน้ ไป ท่านเรยี กว่า “วัตร” หรอื “พรต” ๓. ภาวนา (ภาวนา บญุ สาํ เรจ็ ด้วยการเจริญภาวนา) ความหมาย ภาวนา หมายถึงการอบรมจิตให้ฉลาด ให้รู้ผิดรู้ชอบจนกระท่ังให้เกิดปัญญา สามารถ กาํ จัดกเิ ลสใหห้ มดสน้ิ กิจ (หน้าที่) กิจท่ีเรียกว่า ภาวนา ในท่ีนี้หมายถึง การศึกษา หมายถึง การเรียน อ่าน ฟัง ฝึกให้รู้ และชํานิชํานาญงานต่างๆ และ การวิจัยงาน หมายถึง การใช้ปัญญาค้นคว้าหาเหตุผลในการทํางาน รวมทั้ง การคน้ คดิ ส่งิ ต่างๆ ประเภทของภาวนา ๒ ประเภท คือ ก. สมถะ หมายถึง การทาํ สมาธใิ หใ้ จสงบ ข. วปิ สั สนา หมายถงึ การใช้ปญั ญาพจิ ารณาสงั ขาร โดยหลักปฏบิ ัตทิ ั้ง ๔ น้ี ท่านจะเห็นได้อย่างชัดเจนแล้วว่า ภาวนาเป็นสิ่งจําเป็นสําหรับคนทุกคนและ ทุกวยั และภาวนาเปน็ การสร้าง “บุญ” ขึ้นที่จิตใจโดยตรงทีเดยี ว เพราะเป็นการกําจดั กเิ ลสออกจากจิต วิธีทําจิตใจให้สะอาด ความจริงยังมีอีกมาก การปฏิบัติธรรมะ หรือการประพฤติดีทุกข้อก็เป็นการทํา ให้จิตสะอาดได้ทั้งน้ัน แต่ท่ีท่านจัดบุญกิริยาวัตถุไว้อย่างนี้ เป็นการแสดงหัวข้อปฏิบัติ แยกออกเป็น ๓ สาย เท่าน้ัน เพราะกิเลสท่ีจะยึดครองจิตของเรามี ๓ สาย คือ โลภะ โทสะ โมหะ พระพุทธเจ้าจึงทรงวางแผน ปฏบิ ัติกาํ จดั กเิ ลส ทเ่ี รียกวา่ วิธีทําบญุ ไว้ ๓ สาย เข้าตอ่ สู้ค่กู นั กับกเิ ลสดังกล่าวนี้ ซ่ึงย่ิงทําให้ฝ่ายกิเลสปราชัยไป ไดม้ ากเทา่ ไร จิตกย็ ิง่ สะอาดมากเท่านนั้ และกลา่ วตามสาํ นวนศาสนาวา่ ไดบ้ ญุ มาก ขอ้ ควรจําท่สี ําคัญ คอื การปฏบิ ตั เิ พือ่ ต่อต้านกเิ ลส จําเป็นจะตอ้ งทําควบกนั ไปทั้ง ๓ ทาง คอื ทาน ศีล ภาวนา เพราะกเิ ลสรุกมา ๓ ทาง การทาํ บุญด้วยวิธีให้ทานอย่างเดียว แต่ไม่รักษาศีล ไม่บําเพ็ญภาวนาเลย บุญ ทไ่ี ด้กไ็ มส่ มบูรณ์ ๘. สปั ปุริสธรรม ๗ การกล่าวถึงชื่อคนประเภทต่างๆ เช่น คนพาล บัณฑิต พุทธมามกะ อุบาสก อุบาสิกา ภิกษุสามเณร พุทธศาสนิกชน ปุถุชน อริยชน และช่ืออื่นๆ อีกมาก เป็นการร้องเรียกแยกประเภท ตามวัตรปฏิบัติหรือความ ประพฤติของบุคคลเหล่านนั้ วธิ แี ยกประเภทคนขัน้ มูลฐาน คือแยกขนั้ ตน้ ตามทรรศนะของพระพุทธศาสนา คือแยกคนออกเป็น ๒ พวก ได้แก่ ก. สตั บรุ ุษ คนดี ข. อสตั บุรุษ คนไมด่ ี ท่ีว่าดีหรือไม่ดีนี้ ว่าตามทรรศนะของศาสนาพุทธ ที่พระพุทธเจ้าระบุไว้ หรือจะพูดสั้นๆ ว่าตามพุทธ นยิ มก็ได้

๔๔ ประโยชน์ของการศึกษาสปั ปุริสธรรม คอื ๑. เราจะได้ปรับปรุงตัวเองใหถ้ กู แบบท่ดี ี ๒. มีคําสอนอยู่มากในศาสนา สอนให้เราคบหาสมาคมกับสัตบุรุษ เราก็จะได้รู้ว่าคนอย่างไรเป็น สตั บรุ ษุ ๓. มักมีคนตําหนิติเตียนว่า คนที่ปฏิบัติตามธรรมะของพระพุทธศาสนาเป็นคนครึ เซ่อซ่า น่ารังเกียจ ในสงั คมสมัยใหม่ เมอื่ ศึกษาเร่อื งน้ีแลว้ เราจะตดั สินใจได้เองว่า คําติเตียนน้นั จริงหรอื ไมจ่ ริง ข้อขีดคนั่ ระหว่างศาสนกิ ชน พระพุทธศาสนาประกอบด้วยผู้นับถือประมาณ ๕๐๐ ล้านคนท่ัวโลก คนเหล่าน้ีเรียกว่า พุทธศาสนิกชน ทั้งส้ิน แต่คนเหล่านี้ก็มิใช่จะเป็นคนดีทุกคน เรานับรวมหมดทั้งท่ีเป็นคนดีและคนชั่ว คนพาล เกเร กระทั่งเป็นโจรมหาโจรก็มี รวมอยู่ในน้ี เพราะแม้เขาจะช่ัวช้าเขาก็ยังนับถือศาสนาน้ีอยู่ ยังไม่ขาดจาก ศาสนา เราก็ต้องยอมรับว่าเขาเป็นพุทธศาสนิกชน แต่เราแยกเรียกเฉพาะศาสนิกชนที่ดีว่า “สัตบุรุษ” ฉะนั้น คําว่า สัตบุรุษ จึงพอเทียบได้กับคําว่า พลเมืองดี และเม่ือพระพุทธองค์ทรงจํากัดไว้ว่า มีคนพวกหนึ่งเป็น สตั บุรุษ ก็เปน็ อันส่องความในมุมกลบั ว่า ยงั มีคนอีกพวกหนง่ึ เป็น อสตั บุรษุ คือคนไมด่ อี ยู่ ธรรมของสัตบุรษุ ธรรมะของสัตบุรุษ มีอยู่ ๗ ข้อ ทั้ง ๗ ข้อนี้ เป็นคุณสมบัติของสัตบุรุษ เป็นเคร่ืองหมายว่า ผู้น้ันเป็น สัตบุรษุ ใครก็ตามไมว่ า่ จะยากดมี จี นอยา่ งไร ถ้ามีคณุ สมบัติ ๗ ประการนี้ ผู้นนั้ เป็นสตั บุรุษ แต่ถ้าขาดคุณสมบัติ แม้วา่ จะเป็นคนมีชาตสิ กลุ มีวิทยฐานะสูง มียศศักดิ์อัครฐาน มัง่ มีเงนิ ทองสกั ปานใด กไ็ ม่เรยี กวา่ สัตบรุ ษุ ธรรมของสัตบุรุษ ธรรมท่ีทาํ ให้เป็นสัตบรุ ษุ คุณสมบัติของคนดี ธรรมของผ้ดู ี มี ๗ ประการ คอื ๑. ธัมมัญญุตา ความรู้จักธรรม รู้หลัก หรือรู้จักเหตุ คือ รู้หลักความจริง รู้หลักการ รู้หลักเกณฑ์ รู้ กฎ แห่งธรรมชาติ ร้กู ฎเกณฑ์แห่งเหตผุ ล และรู้หลกั การที่จะทาํ ใหเ้ กิดผล เช่น ภิกษุรู้ว่า หลักธรรมข้อนั้นๆ คือ อะไร มีอะไรบ้าง พระมหากษัตริย์ ทรงทราบว่า หลักการปกครองตามราชประเพณีเป็นอย่างไร มีอะไรบ้าง รู้ ว่าจะตอ้ งกระทาํ เหตอุ ันนี้ๆ หรือกระทาํ ตามหลักการข้อน้ๆี จึงจะให้เกดิ ผลท่ีต้องการอันนน้ั ๆ เปน็ ตน้ ๒. อัตถัญญุตา ความรู้จักอรรถ รู้ความมุ่งหมาย หรือรู้จักผล คือ รู้ความหมาย รู้ความมุ่งหมาย รู้ ประโยชน์ที่ประสงค์ รู้จักผลท่ีจะเกิดข้ึนสืบเนื่องจากการกระทํา หรือความเป็นไปตามหลัก เช่น รู้ว่าหลักธรรม หรือภาษิตข้อน้ันๆ มีความหมายอย่างไร หลักน้ันๆ มีความมุ่งหมายอย่างไร กําหนดไว้ หรือพึงปฏิบัติเพ่ือ ประสงค์ประโยชน์อะไร การท่ีตนกระทําอยู่มีความมุ่งหมายอย่างไร เม่ือทําไปแล้วจะบังเกิดผลอะไรบ้าง เป็นต้น ๓. อัตตัญญุตา ความรู้จักตน คือรู้ว่าเรานั้น ว่าโดยฐานะ ภาวะ เพศ กําลังความรู้ความสามารถ ความถนัด และคุณธรรม เป็นต้น บัดนี้เท่าไร อย่างไร แล้วประพฤติให้เหมาะสมและรู้ท่ีจะแก้ไขปรับปรุง ตนเองให้ดยี ่ิงๆ ข้นึ ตอ่ ไป ๔. มัตตัญญุตา ความรู้จักประมาณ คือ ความพอดี เช่น ภิกษุรู้จักประมาณในการรับและบริโภค ปัจจัยสี่ คฤหัสถ์รู้จักประมาณในการใช้จ่ายโภคทรัพย์ พระมหากษัตริย์ หรือรัฐบาล รู้จักประมาณในการลง ทณั ฑ์อาชญาและในการเกบ็ ภาษี เป็นตน้

๔๕ ๕. กาลัญญุตา ความรู้จักกาล คือรู้กาลเวลาอันเหมาะสม และระยะเวลาท่ีจะต้องใช้ในการประกอบ กิจ กระทาํ หนา้ ท่ีการงาน เชน่ ใหต้ รงเวลา ใหเ้ ป็นเวลา ให้ทันเวลา ให้พอเวลา ใหเ้ หมาะเวลา เปน็ ต้น ๖. ปริสัญญุตา ความรู้จักบริษัท คือ รู้จักชุมชน และรู้จักที่ประชุม รู้กิริยาที่จะประพฤติต่อชุมชน นนั้ ๆ ว่า ชุมชนน้เี ม่อื เข้าไปหา จะตอ้ งทํากริ ยิ าอย่างนี้ จะต้องพดู อยา่ งนี้ ชุมชนนคี้ วรสงเคราะหอ์ ย่างน้ี เปน็ ตน้ ๗. ปุคคลัญญุตา หรือ ปุคคลปโรปรัญญุตา ความรู้จักบุคคล คือ ความแตกต่างแห่งบุคคลว่า โดย อัธยาศัย ความสามารถและคุณธรรม เป็นต้น ใครๆ ยิ่งหรือหย่อนอย่างไร และรู้ท่ีจะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นๆ ด้วยดีวา่ ควรจะคบหรอื ไม่ จะใช้ จะตาํ หนิ ยกย่อง และแนะนาํ สง่ั สอนอยา่ งไร เปน็ ต้น ๙. อบุ าสกธรรม ๕ อบุ าสกธรรม คอื ธรรมของอุบาสกทดี่ ี สมบัติหรอื องค์คุณของอุบาสกอย่างเย่ียม ๕ ประการ คือ ๑. มศี รทั ธา ๒. มีศีล ๓. ไม่ถือมงคลตื่นข่าว เช่ือกรรม ไม่เชื่อมงคล คือมุ่งหวังผลจากการะกระทําและการงาน มิใช่จาก โชคลางและส่งิ ท่ีต่ืนกนั วา่ ขลงั ศกั ดิ์สิทธิ์ ๔. ไม่แสวงหาทักขไิ ณย์ภายนอกหลกั คาํ สอนน้ี คอื ไมแ่ สวงหาเขตบุญนอกหลักพระพุทธศาสนา ๕. กระทําความสนับสนุนในพระศาสนาน้ีเป็นเบื้องต้น คือ ขวนขวายในการอุปถัมภ์บํารุง พระพุทธศาสนา ธรรม ๕ อย่างน้ี เรยี กว่า ธรรมของอบุ าสกรตั น์ (อุบาสกแกว้ ) หรอื อุบาสกปทุม (อุบาสกดอกบวั ) อุบาสก แปลว่า ผู้อยู่ใกล้ หมายความว่าใกล้พระรัตนตรัย หญิงใช้คําว่า อุบาสิกา ทั้งอุบาสกและ อบุ าสกิ า ถอื คุณสมบัตอิ ยา่ งเดยี วกนั คอื พระรัตนตรยั นัน้ เปน็ หัวใจของพระพุทธศาสนา เป็นแก่น เป็นเน้ือแท้ ผลประโยชน์ทั้งหมด ท่ีผู้นับถือจะได้จากศาสนา ก็ได้จากพระรัตนตรัยน้ีเอง ขอให้นึกเปรียบเทียบกับ ห้องอาหาร ห้องอาหารนั้นเป็นห้องกว้าง มีตู้ มีโต๊ะ มีแจกันดอกไม้ และมีอะไรๆ อีกหลายอย่างอยู่ในห้องน้ัน รวมเรยี กว่า ห้องอาหาร แต่ก็มีส่ิงหนึ่งท่ีเปน็ หัวใจของหอ้ งอาหาร คือสํารับกับขา้ ว ตรงสาํ รบั กับขา้ วนแ่ี หละที่ให้ ความอ่ิมแกค่ น ส่วนโตะ๊ ตแู้ ละของประดับอื่นๆ นั้นกินไม่ได้ ในศาสนาพุทธก็เหมือนกัน ในศาสนาน้ีมีอะไรๆ อยู่ มากมาย เช่น วัด โบสถ์ ฯลฯ แต่จุดท่ีจะหล่ังประโยชน์แก่ผู้นับถือจริงๆ ก็คือ พระรัตนตรัย ถ้าศาสนาน้ีเป็น ห้องอาหาร พระรัตนตรัยก็เป็นสํารับกับข้าว คนท่ีเข้าไปอยู่ในห้องอาหาร อันเดียวกันก็มีหลายคน น่ังบ้าง ยืน บ้าง กระจายกันไป บางคนก็อยู่ใกล้สํารับกับข้าว บางคนก็อยู่ไกล คนท่ีเข้ามาเป็นพุทธศาสนิกชนในศาสนานี้ก็ เหมือนกัน บางคนก็เหินห่างจากพระรัตนตรัย บางคนก็อยู่ใกล้พระรัตนตรัย คนที่อยู่ใกล้พระรัตนตรัยน้ัน ท่าน เรยี กว่า อบุ าสก แปลวา่ ผ้อู ยูใ่ กล้ ถ้ามีใครถามวา่ อยใู่ กล้พระรตั นตรัยดีอย่างไร เราก็อาจย้อนถามเขาว่า คนที่ นงั่ ใกล้สํารับกับข้าวดีอยา่ งไร ฉันใดกฉ็ นั น้นั คนทีน่ ัง่ ใกล้สํารับก็กินอาหารจากสํารบั ได้ง่ายกว่า คนที่อยู่ไกลนั้น กว่าจะกินได้แต่ละคํา กต็ ้องกระเย้อกระแหย่ง ได้บ้างไม่ได้บ้าง เช่นเดียวกัน คนที่นับถือพระพุทธศาสนา แต่อยู่ ห่างจาก พระรัตนตรัย ก็ได้รับประโยชน์จากพระศาสนาน้อย เพราะฉะน้ัน เมื่อได้ปฏิญาณตนนับถือ พระพุทธศาสนาแล้ว กพ็ ยายามขยับเข้าหาพระรตั นตรยั ใหไ้ ด้อยู่ใกล้ๆ กบั พระรตั นตรยั ดกี วา่ กระเจิดกระเจิงไปทาง

๔๖ อื่น ท่วี ่าน้ี คือพยายามใหต้ วั เราได้เปน็ อุบาสก ทําอย่างไรจึงจะได้เป็นอุบาสก คําตอบก็คือว่า ต้องมีสมบัติอุบาสก จงึ จะเปน็ อุบาสกได้ ข้อท่ี ๑ ประกอบด้วยศรัทธา คือเชื่อพระพุทธเจ้า เรียกว่า ตถาคตโพธิศรัทธา ซ่ึงแปลว่า เช่ือใน ความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า พูดฟังกันง่ายๆ อย่างภาษาชาวบ้านเราก็คือ เช่ือว่าพระพุทธเจ้ามีจริง และเป็นคน ประเสริฐจริง ท่ีว่าเช่ือพระพุทธเจ้านั้น คือเชื่ออย่างน้ีและให้เป็นท่ีเข้าใจว่า ศรัทธาความเช่ือนี้ เป็นพ้ืนฐาน สําคัญของการนับถือศาสนา ที่ว่าพระพุทธเจ้ามีจริงนั้น เป็นอันไม่ต้องสงสัยแล้ว เพราะพระพุทธเจ้าเป็นคนๆ หนึ่ง ปรากฏในประวัติศาสตร์ เรื่องราวของพระองค์ทุกอย่างก็เป็นท่ีรับรองของนักประวัติศาสตร์ และนัก โบราณคดี นักปราชญ์ทุกชาติทุกภาษารับรองต้องกันหมดว่า พระพุทธเจ้ามีจริงๆ ไม่ใช่เร่ืองสมมติขึ้น เหมือนกับบุคคลในนิยายหรือนิทานต่างๆ เรื่องนี้เป็นอันหมดปัญหา ย่ิงสมัยนี้ย่ิงพิสูจน์กันง่าย ถ้าท่านผู้ศึกษา ซื้อต๋ัวเครื่องบินเดินทางไปประเทศอินเดีย สัก ๔-๕ ชั่วโมงเท่าน้ัน ก็จะได้เห็นสถานท่ีเกิด ท่ีตรัสรู้ และสถานท่ี พระพุทธเจ้าพักอาศัย ตรงกับท่ีเราเรียนหนังสือทุกอย่าง ท่ีว่าพระพุทธเจ้าประเสริฐจริง ข้อน้ีเห็นได้ยากหน่อย ต้องใช้ปัญญาพินิจพิเคราะห์ เพราะเราเกิดไม่ทันพระองค์ แต่ก็พอจะหาช่องทางสังเกตและตัดสินใจได้ ประการ แรกที่สุด ที่เราจะดูความประเสริฐของพระพุทธเจ้า เราดูอย่างสามัญสํานึก คือดูด้วยสายตาของคนธรรมดานี้ก็ ได้ เชน่ ๑. เราดูคนอ่ืน เอาคนอ่ืนมาวัดดู เหมือนกับเราจะไปเรียนหนังสือกับอาจารย์ ถ้าเราเห็นคนเขา นับถืออาจารย์คนไหนมาก เราก็รู้ได้ว่าอาจารย์น้ันต้องเก่งจริง หรือเราจะไปหาหมอยา ถ้าเห็นคนไข้ไปขอรับ การรักษาท่ีหมอคนไหนมาก ก็แสดงว่าหมอคนนั้นเก่งจริง โดยทํานองเดียวกัน พระพุทธเจ้ามีคนนับถือมาก เหลือเกิน แล้วคนที่นับถือพระพุทธเจ้าน้ัน ก็มีหลายพวก หลายชาติหลายภาษา มีท้ังคนธรรมดา จนกระทั่ง เศรษฐี เจ้าฟา้ เจา้ แผน่ ดนิ แลว้ ก็นับถือกนั มาเปน็ เวลาพันๆ ปี ไม่ใช่วันสองวัน เรานึกดูว่าพระองค์ก็ไม่ได้มาอ้อน วอน หรือขู่เข็ญให้ใครนับถือพระองค์ แต่คนก็พากันนับถือมากมายเท่าน้ีเราก็รู้แล้วว่า แม้เราจะไม่เคยเห็นองค์ พระพทุ ธเจา้ เราก็รไู้ ดว้ ่าพระพทุ ธเจา้ จะตอ้ งเป็นคนประเสรฐิ สดุ จริงๆ ๒. เราดคู วามเสียสละเพ่ือพระพุทธเจ้า คือดูซิว่า มีคนให้อะไรๆ แก่พระพุทธเจ้ามากไหม ถ้ามีคน เอาอะไรให้พระองคม์ าก กแ็ ปลวา่ มีคนรักพระองคม์ าก ท่พี ระองค์มีคนรักมากก็หมายความว่า พระองค์เป็นคนดี วิเศษมาก แน่นอนทส่ี ดุ ไม่มใี ครท่จี ะไดร้ บั ของทีค่ นอ่ืนบริจาคให้มากเท่าพระพุทธเจ้า ที่ว่าให้พระพุทธเจ้าคือให้ไว้ ในพระศาสนาของพระองค์นั่นเอง เช่น บริจาคสร้างวัดวาอาราม สร้างเจดีย์ สร้างพระพุทธรูป ปิดทองพระ ทอดกฐิน บวชนาค จนกระท่ังบริจาคข้าวปลาอาหารใส่บาตรให้พระสงฆ์ สิ่งเหล่านี้ ถ้าจะว่ากันแล้วก็คือ บรจิ าคใหพ้ ระพุทธเจา้ ท้ังส้นิ เพราะเขาเชือ่ วา่ พระพุทธเจ้าดี เขาจึงนบั ถอื และบรจิ าค สงิ่ ทีค่ นบริจาคแต่ละปีนั้น ถ้าคิดเป็นเงินเฉพาะในเมืองไทยก็ตกหลายร้อยล้านบาท ถ้าคิดดูท้ังโลกก็ไม่รู้ว่าจะเป็นกี่พันก่ีหม่ืนล้านบาท นี่ พระพุทธเจ้าก็ไม่ใช่ญาติ โดยกําเนิดของใครเลย ไม่มีข้อผูกพันกับใคร ส่ิงที่คนเขาให้ จึงเป็นการให้ด้วยความรัก ภักดีอันบริสุทธ์ิแท้ๆ แม้แต่พระพุทธรูป ซึ่งเป็นส่ิงรําลึกถึงพระองค์ ประทับอยู่บนแท่นเฉยๆ ไม่พูดไม่จากับใคร ยังมีคนไปกราบไหว้ เอาดอกไม้ธูปเทียนเงินทองบูชากันไม่น้อย ดูเพียงเท่านี้ก็พอจะรู้แล้วว่า พระพุทธเจ้า ประเสรฐิ จรงิ ๆ ๓. อีกอย่างหนึ่ง เราดูทางสติปัญญาก็ได้ การดูสติปัญญาก็คือดูคําสอนของท่าน เพราะคําสอนนั้น ออกมาจากสติปัญญา คําสอนของพระพุทธเจ้า ถ้าดูกันตามจํานวนข้อ ก็มีมากมาย ในประเทศไทยเรานี้ ต้ังแต่


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook