Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ประวัติศาสตร์ ม.2 หน่วยที่ 2

ประวัติศาสตร์ ม.2 หน่วยที่ 2

Published by sirirat, 2021-02-01 03:10:52

Description: ประวัติศาสตร์ ม.2 หน่วยที่ 2

Search

Read the Text Version

เลบานอน เลบานอนเปน็ ประเทศขนาดเล็ก ตั้งอยู่ทางตะวันตกของ ภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ท่ีต้ังของเลบานอนอยู่ ท่ามกลางความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและกลุ่มประเทศ อาหรับ ทาให้เลบานอนต้องเข้าไปพัวพันกับความขัดแย้งใน ภมู ิภาคด้วย นอกจากนี้ ความแตกต่างระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ และศาสนาของประชาชนเลบานอนก็ส่งผลให้เกิดสงคราม กลางเมืองยาวนาน เปิดโอกาสให้กองกาลังต่างชาติเข้ามา แทรกแซง ซ่ึงส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อเศรษฐกิจและสังคม ของเลบานอน

พฒั นาการทางประวัติศาสตร์ สังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของเลบานอน ที่ต้ังของเลบานอนขนานไปตามแนวฝั่งตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทาให้ดินแดนเลบานอนในอดีตเป็นศูนย์กลางการค้าของกลุ่มชนชาติต่าง ๆ เช่น เมโสโปเตเมีย อยี ิปต์ กรกี โรมัน หลงั สงครามโลกคร้ังที่ ๑ เลบานอนเป็นอิสระจากออตโตมันและได้อยู่ภายใต้ การอารักขาของฝรัง่ เศสจนถึง พ.ศ. ๒๔๘๖ หลังจากน้ันเลบานอนได้ปกครองตนเองและ สนับสนุนกลุ่มอาหรับในการต่อต้านอิสราเอล ซึ่งมีผลให้ชาวปาเลสไตน์จานวนมาก อพยพเข้าไปอยู่ในเลบานอน ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๑๘-๒๕๓๓ ได้เกิดสงครามกลางเมืองใน เลบานอนท่ีเป็นผลจากความขัดแย้งระหว่างชาวเลบานอนท่ีนับถือศาสนาคริสต์และ ที่นับถือศาสนาอิสลาม ทาให้ซีเรียถือโอกาสส่งกองทัพเข้ามาช่วยปราบปรามกลุ่มมุสลิม เลบานอน และยดึ ครองเลบานอนไวถ้ ึง ๓๐ ปี แม้ว่าสงครามกลางเมืองจะยุตไิ ปแลว้ กต็ าม

ปัจจุบันสงครามกลางเมืองในเลบานอนได้ยุติลงแล้ว แต่รัฐบาลเลบานอนยัง ขาดเสถียรภาพ ส่งผลให้เลบานอนมีความขัดแย้งรุนแรงกับอิสราเอล เพราะไม่สามารถ ควบคุมกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรงท่ีลอบเข้าไปก่อวินาศกรรมในอิสราเอลใน พ.ศ. ๒๕๔๙ ทาให้กองทัพอสิ ราเอลโจมตีที่ม่ันของกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรงในเลบานอน ปัญหาทางการเมืองได้ส่งผลกระทบรุนแรงต่อพัฒนาการทางเศรษฐกิจและ สังคมของประเทศ เดิมเลบานอนเป็นประเทศท่ีมีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ เป็น ศูนย์กลางการเงินของภูมิภาค และมีมาตรฐานการดารงชีวิตท่ีดี แต่สงครามกลางเมือง ได้ทาลายบ้านเมือง ระบบเศรษฐกิจ ระบบสาธารณูปโภค รวมถึงโครงสร้างต่าง ๆ ใน ประเทศ ดงั นนั้ รัฐบาลจึงต้องเร่งฟืน้ ฟเู ศรษฐกิจของประเทศให้กลับมาดังเดมิ

สหรัฐ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สหรัฐอาหรับ อาหรับเอมิเรตส์ เอมิเรตส์ตั้งอยู่บริเวณช่องแคบฮอร์มุซที่เช่ือมระหว่าง อ่าวเปอร์เซียและอ่าวโอมาน ประกอบด้วยรัฐต่าง ๆ คือ อาบูดาบี อัจมาน ดูไบ ฟูไจราห์ ราสอัลไคมาห์ ชาร์จาห์ และอุมม์อัลไกไวน์ โดยมีอาบูดาบีเป็นเมืองหลวงและ ศูนย์กลางของประเทศ

พฒั นาการทางประวัติศาสตร์ สังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของสหรัฐอาหรบั เอมิเรตส์ กลมุ่ รฐั ทั้ง ๗ รฐั ท่รี วมกนั เป็นสหรฐั อาหรับเอมิเรตส์ตา่ งเปน็ รฐั ของชาวอาหรบั ในอ่าวเปอร์เซียที่นับถือศาสนาอิสลาม มีเอมรี ์เปน็ ประมุขของแต่ละรัฐ และมีภูมิหลังทาง ประวัติศาสตร์คล้ายคลึงกัน คือ เคยอยู่ภายใต้การปกครองของโปรตุเกส จักรวรรดิ ออตโตมัน และอังกฤษตามลาดับ รัฐเหล่านี้ได้รับเอกราชจากอังกฤษใน พ.ศ. ๒๕๑๔ หลังจากนั้นรัฐอาบูดาบีและรัฐดูไบได้เป็นแกนนาในการรวมรัฐอิสระต่าง ๆ เข้าเป็น สหพันธรัฐ มีประธานาธิบดเี ปน็ ประมุขของประเทศ และนายกรัฐมนตรีเป็นผู้นารัฐบาลท่ี อยู่ภายใต้รัฐธรรมนญู

สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มีการพัฒนาทาง รัฐดูไบ ของสหรัฐอาหรบั เอมเิ รตส์ เศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว ความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ มีการลงทนุ พัฒนาเมอื งอยา่ งกว้างขวาง ของแต่ละรัฐมาจากการส่งออกน้ามัน นอกจากนี้ยัง เพ่อื เปน็ ศนู ยก์ ลางเศรษฐกิจของภมู ภิ าค เกิดจากการลงทุนอย่างมหาศาลโดยเฉพาะในกรณี ของรัฐดูไบที่มีการลงทุนพัฒนาเมืองอย่างกว้างขวาง เช่น การก่อสร้างตึกระฟ้า ศูนย์การค้า โรงแรม อสังหาริมทรัพย์ สาธารณูปโภค เพ่ือให้ดูไบเป็น ศูนย์กลางเศรษฐกิจของภูมิภาค อย่างไรก็ตาม ใน พ.ศ. ๒๕๕๒ เศรษฐกิจโลกได้รับผลกระทบอย่าง รนุ แรง ทาให้การลงทุนต่าง ๆ ในดูไบได้รับผลกระทบ ดว้ ย

อริ ัก อิ รั ก ตั้ ง อ ยู่ ท า ง ต อ น เ ห นื อ ข อ ง ภู มิ ภ า ค เ อ เ ชี ย ตะวันตกเฉียงใต้ในบริเวณลุ่มแม่น้าไทกริสและ ยูเฟรทีส พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของอิรัก ในช่วงหลังสงครามโลกคร้ังท่ี ๒ ทาให้ประเทศขาด เสถียรภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจ ส่งผล กระทบอย่างรนุ แรงต่อชาวอริ กั

พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ สังคม เศรษฐกิจ ซดั ดัม ฮุสเซน และการเมอื งของอริ กั อดีตประธานาธิบดีของอริ กั ดนิ แดนอิรกั ในอดีตเคยเป็นท่ีต้ังของอาณาจักรและ จักรวรรดิของชนชาติต่าง ๆ ในเขตอารยธรรมเมโสโปเตเมีย ต่อมาดินแดนนี้ได้ตกอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิ ต่าง ๆ ท่ีขยายอิทธิพลเข้ามา เช่น เปอร์เซีย มุสลิม มองโกล และออตโตมัน หลังสงครามโลกคร้ังที่ ๑ อิรักตกอยู่ภายใต้ อารักขาของอังกฤษจนถึง พ.ศ. ๒๔๗๕ หลังจากได้รับเอกราช อิ รั ก ท่ี มี ก า ร ป ก ค ร อ ง โ ด ย ร ะ บ อ บ ก ษั ต ริ ย์ ไ ด้ ถู ก ป ฏิ วั ติ เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบสาธารณรฐั ในทสี่ ดุ

ใน พ.ศ. ๒๕๒๒ ซดั ดัม ฮสุ เซน (Saddam Hussein) ไดย้ ึดอานาจการปกครอง ในอิรัก และได้ทาสงครามกับอิหร่าน ซ่ึงเป็นคู่พิพาทกรณีการอ้างสิทธิเหนือร่องน้าใน อา่ วเปอร์เซีย ตอ่ มาอริ ักได้ทาสงครามรุกรานคเู วตจนนาไปสู่สงครามอ่าวเปอร์เซียที่ทาให้ อิรักถูกปราบปราม หลังจากนั้นอิรักได้ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างมาก เน่ืองจาก องค์การสหประชาชาติประกาศคว่าบาตรทางเศรษฐกิจต่ออิรัก เพราะแม้ว่าอิรักจะ สามารถผลิตน้ามันเพ่ือส่งออกได้เป็นจานวนมาก แต่ก็ไม่สามารถขายให้แก่ประเทศ ตา่ ง ๆ ซึ่งเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติได้ ต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๔๖ สหรัฐอเมริกา และพนั ธมติ รได้ทาสงครามตอ่ ตา้ นการก่อการรา้ ยและโค่นล้มรัฐบาลของซดั ดมั ฮุสเซน

ปัจจุบันแม้ว่าอิรักมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ได้แล้ว แต่สังคมอิรักยังคงมีความ วุ่นวายต่อเนื่อง มีการก่อเหตุวินาศกรรมอย่างรุนแรง ทาให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ จานวนมาก นอกจากนี้ สถานการณ์ในอิรักยังมีความขัดแย้งระหว่างชาวอิรักที่นับถือ ศาสนาอสิ ลามนกิ ายสุหนี่และนิกายชีอะห์ ส่งผลให้การก่อการร้ายในอิรักทวีความรุนแรง และเพิ่มจานวนมากขน้ึ

อสิ ราเอล อิสราเอลต้ังอยู่ทางตะวันตกของภูมิภาคเอเชียตะวันตก เฉียงใต้ มีอาณาเขตติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ท่ีต้ังของ อสิ ราเอลเคยเป็นดินแดนปาเลสไตน์ในอดีต ทาให้ถูกต่อต้าน จ า ก ป ร ะ เ ท ศ โ ด ย ร อ บ ที่ เ ป็ น ป ร ะ เ ท ศ อ า ห รั บ แ ล ะ เ กิ ด สงครามยิว-อาหรับหลายครั้ง อิสราเอลจัดว่าเป็นประเทศ ทม่ี ศี ักยภาพสูงในการพฒั นาประเทศ

พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ สงั คม เศรษฐกจิ และการเมอื งของอิสราเอล อิสราเอลเป็นประเทศของชาวยิวซึ่งเป็นชนเผ่าเซมิติกเผ่าหน่ึงที่ต้ังถ่ินฐาน มาตง้ั แตส่ มัยเมโสโปเตเมยี ในอดตี ชาวยวิ เคยอาศยั อยูใ่ นดินแดนปาเลสไตน์ ต่อมาดินแดนนี้ ได้ตกอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิต่าง ๆ เช่น โรมันและออตโตมัน ทาให้ชาวยิว ได้ลี้ภัยออกไปจากดินแดนปาเลสไตน์และตั้งถิ่นฐานอยู่ตามประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะใน ยุโรป ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งท่ี ๑ ชาวยิวพยายามอพยพกลับมายังดินแดนปาเลสไตน์ โดยได้รบั การสนับสนุนจากอังกฤษทค่ี วบคมุ ดินแดนปาเลสไตนใ์ นฐานะดินแดนในอารักขา หลังสงครามโลกครั้งท่ี ๒ ชาวยิวได้ประกาศต้ังประเทศอิสราเอลในดินแดน ปาเลสไตน์ แต่ถูกประเทศอาหรับท้ังหลายต่อต้าน จึงเกิดสงครามระหว่างอิสราเอลกับชาติ พันธมิตรอาหรับรวม ๔ ครั้ง โดยอิสราเอลเป็นฝ่ายชนะทุกคร้ังและสามารถยึดครอง

ดินแดนปาเลสไตนแ์ ละดนิ แดนใกลเ้ คียงได้ทั้งหมด รวมไปถึงนครเยรูซาเลม (Jerusalem) ซ่ึงเป็นดินแดนศักด์ิสิทธิ์ของผู้นับถือศาสนาคริสต์ ปัจจุบันแม้สงครามได้ยุติไปแล้ว แต่อิสราเอลยังต้องทาสงครามปราบปรามกลุ่มก่อการร้ายต่าง ๆ อยู่เสมอ เน่ืองจากชาว ปาเลสไตน์ท่ีสูญเสียดินแดนยังคงต่อสู้เพ่ือเรียกร้องดินแดนคืน อิสราเอลจึงมีการพัฒนา อาวุธยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ เพ่ือป้องกันตนเองและต่อต้านการก่อการร้าย ทาให้อิสราเอล ยังไม่มสี ันติภาพทีแ่ ทจ้ ริง

ท่ีตั้งของอิสราเอลมีภูมิอากาศหลากหลาย ท้ังภูมิอากาศร้อนและแห้งแล้งใน เขตกึ่งทะเลทราย และภูมิอากาศหนาวเย็นในเขตเทือกเขา แต่ชาวอิสราเอลสามารถใช้ เทคโนโลยีพัฒนาด้านการเกษตรให้ได้ผลดี นอกจากน้ียังมีการพัฒนาอุตสาหกรรมด้าน อิเล็กทรอนกิ ส์และอาวธุ ยทุ โธปกรณต์ ่าง ๆ โดยรวมสงั คมอสิ ราเอลมีความก้าวหนา้ แบบสงั คมเมอื ง ประชาชนได้รับโอกาส ทางการศึกษา และผู้หญิงไดร้ บั สิทธิ เท่าเทียมกบั ผชู้ าย นครเยรซู าเลมเปน็ ดินแดนศกั ดสิ์ ิทธขิ์ องผ้นู ับถอื ศาสนาครสิ ต์ ปัจจุบันอยูใ่ นประเทศอสิ ราเอล

อหิ ร่าน อหิ รา่ นต้ังอยู่ทางตะวนั ออกของภูมิภาคเอเชีย ตะวันตกเฉียงใต้ เป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่ท่ีสุดรองจาก ประเทศซาอุดีอาระเบีย ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนา อิสลามนิกายชีอะห์ อิหร่านจัดเป็นประเทศที่มีความสาคัญ ทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจ เน่ืองจากเป็นประเทศที่มี ทรัพยากรน้ามันสารองจานวนมาก

พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ สังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของอหิ ร่าน ชาวอิหร่านสืบเชื้อสายมาจากชาวเปอร์เซียซึ่งเป็นชนเผ่าอินโด -ยูโรเปียนที่ อพยพเข้ามายึดครองดินแดนและก่อตั้งจักรวรรดิเปอร์เซียที่เจริญรุ่งเรืองเม่ือหลายพันปี มาแล้ว ต่อมาเปอร์เซียตกอยู่ภายใต้อานาจการปกครองของชาวมุสลิมซ่ึงได้ต้ังราชวงศ์ สืบต่อมา ใน พ.ศ. ๒๔๗๘ มีการเปล่ียนช่ือประเทศจากเปอร์เซียเป็นอิหร่าน ภายหลัง สงครามโลกคร้ังท่ี ๒ พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาฮ์ลาวี (Mohammad Reza Pahlavi) ทรงยึดอานาจปกครองประเทศ พระองค์ทรงมีความสัมพันธ์อันดีกับ สหรฐั อเมรกิ าซึ่งเข้ามาลงทุนกิจการในอิหร่าน โดยเฉพาะการลงทุนในอุตสาหกรรมน้ามัน พระเจา้ ชาหท์ รงพฒั นาประเทศทุกด้าน ท้งั ด้านเศรษฐกิจ อตุ สาหกรรม สังคม และกองทัพ แตร่ ะบอบการปกครองประเทศยงั เป็นแบบอัตตาธปิ ไตย ที่สาคัญการพัฒนาประเทศอย่าง รวดเร็วไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนส่วนใหญ่ แต่กลับเอ้ือประโยชน์ให้กับกลุ่ม

เจ้าของท่ีดินซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเช้ือพระวงศ์ ขุนนางและขา้ ราชการระดบั สงู อายะตุลลอฮ์โคมัยนี (Ayatollah Khomeini) ซึง่ เปน็ ผนู้ าทางศาสนาของ นิกายชีอะห์ จึงทาการต่อต้านรัฐบาลอย่างรุนแรง และช้ีให้ชาวมุสลิมท่ัวประเทศเห็นความผิดพลาด ของการปฏริ ูปประเทศแบบตะวันตก พระเจา้ ชาห์ โมฮมั หมัด เรซา ปาฮล์ าวี ทรงยึดอานาจการปกครองประเทศ อิหรา่ น สมัยหลงั สงครามโลกครง้ั ที่ ๒

ใน พ.ศ. ๒๕๒๑ โคมัยนีได้เป็นผู้นาการต่อต้าน อายะตลุ ลอฮ์ โคมัยนี รัฐบาลของพระเจ้าชาห์ การประท้วงได้ขยายวงกว้างมากขึ้น ผ้นู าการตอ่ ต้านรัฐบาล เน่ืองจากประชาชนส่วนใหญ่เลื่อมใสแนวทางของโคมัยนี อีกท้ังประชาชนเองก็ไม่ได้รับประโยชน์จากการปฏิรูป ใน พ.ศ. ๒๕๒๑ ประเทศโดยตรง สถานการณ์วุ่นวายภายในประเทศที่รัฐบาล ไม่อาจควบคุมได้ ทาให้พระเจ้าชาห์ทรงตัดสินพระทัยเสด็จ ออกนอกประเทศพร้อมกับพระราชวงศ์ กลุ่มต่อต้านจึงยึด อานาจการบริหารประเทศและเปล่ียนแปลงระบอบการ ปกครองเป็นสาธารณรัฐอิสลาม และโคมัยนีได้ดารงตาแหน่ง ผ้นู าของประเทศ

หลงั จากเปล่ียนแปลงการปกครอง อิหร่านมีปัญหากรณีพิพาทกับสหรัฐอเมริกา และทาสงครามกับอริ ัก ซ่ึงส่งผลกระทบตอ่ การพฒั นาประเทศ ตลอดจนการฟื้นฟูเศรษฐกิจ และสังคมของอหิ ร่าน นอกจากนี้ อิหร่านยังถูกกดดันจากสหรัฐอเมริกาและนานาประเทศ ทเี่ กรงว่าอหิ ร่านกาลงั พฒั นาพลงั งานและอาวธุ นิวเคลียร์ ปจั จุบนั อิหร่านยงั ไมไ่ ดม้ กี ารเปิดประเทศมากนกั แต่สังคมอิหร่านก็มีการเติบโต ต่อเนื่อง มีการพัฒนาด้านสาธารณูปโภคและเส้นทางคมนาคมขนส่งอย่างกว้างขวาง ประชากรหญิงและชายต่างมีโอกาสทางการศึกษาเท่าเทียมกัน รายได้หลักของประชากร คือ การประกอบเกษตรกรรม ค้าขาย และการทางานในภาคอุตสาหกรรม ส่วนรายได้ สาคญั ของประเทศ คือ การสง่ ออกน้ามัน

โอมาน โอมาน เป็นประเทศของชาวอาหรับท่ีนับถือศาสนา อิสลาม ต้ังอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของคาบสมุทร อาหรับ มีพื้นที่ติดกับทะเลท้ังด้านอ่าวโอมานและทะเล อาหรับ เศรษฐกจิ ของประเทศสว่ นใหญ่พ่งึ พาทรัพยากร นา้ มนั

พฒั นาการทางประวตั ศิ าสตร์ สงั คม เศรษฐกิจ และการเมอื งของโอมาน ชาวอาหรับในคาบสมุทรอาหรับได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในดินแดนโอมาน ต้ังแต่สมัยโบราณ เน่ืองจากลักษณะท่ีตั้งเป็นเมืองท่าสามารถติดต่อกับดินแดนต่าง ๆ ได้ สะดวก ต่อมาเม่ือประมาณ ๒,๕๐๐ ปี มาแล้ว ชาวเปอร์เซียได้ขยายอิทธิพลเข้ามา ปกครองดินแดนนี้ หลังจากนั้นโอมานได้อยู่ภายใต้อิทธิพลของชาวมุสลิมและโปรตุเกส ตามลาดบั ในต้นพุทธศตวรรษท่ี ๒๕ ผู้ปกครองรัฐโอมานได้สถาปนาระบอบการปกครอง ท่ีมีสุลต่านเป็นประมุข และมีความสัมพันธ์ท่ีใกล้ชิดกับอังกฤษ ปัจจุบันโอมานเป็น รัฐเอกราชท่มี คี วามสัมพันธท์ ดี่ ีกับรฐั อื่น ๆ ในภมู ภิ าคเอเชียตะวันตกเฉยี งใต้

เศรษฐกิจของโอมานอยู่ในระดับปานกลาง รายได้ของประเทศส่วนใหญข่ น้ึ อยู่ กับการส่งออกน้ามนั และแก๊สธรรมชาติ นอกจากนย้ี ังมรี ายไดบ้ างสว่ นจากอุตสาหกรรม ถลุงโลหะ เชน่ ทองแดง ทองคา ซีเมนต์ การเร่งพัฒนาเศรษฐกจิ ของโอมานทาให้มกี าร อนญุ าตให้แรงงานต่างชาตจิ านวนมากเขา้ มาทางานในประเทศ มัสกตั เมอื งหลวงของประเทศโอมาน เปน็ เขตท่มี ีการเร่งพฒั นาทางเศรษฐกิจอย่างมาก

๔. ภมู ภิ าคเอเชยี กลาง ภมู ภิ าคเอเชยี กลางเป็นที่ต้ังของเส้นทาง ติดต่อระหว่างโลกตะวันออกและโลกตะวันตกในอดีต หรือที่เรียกกันว่า “เส้นทางสายไหม” เป็นภูมิภาคที่ไม่มีพ้ืนท่ีติดต่อกับทะเล ประชากรส่วนใหญ่สืบเช้ือสายมาจากชนเผ่าเร่ร่อน กลุ่มต่าง ๆ ประเทศในภูมิภาคน้ีเคยเป็นอดีตรัฐของสหภาพโซเวียตก่อนแยกตัวเป็นประเทศ อสิ ระหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวยี ต สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ของภูมิภาคเอเชียกลาง ภูมิภาคเอเชียกลางมีพื้นที่ กวา้ งใหญค่ รอบคลุมภมู ิประเทศที่มีลักษณะหลากหลาย ตั้งอยู่ระหว่างภูมิภาคเอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ จึงมีความสาคัญทางการค้ามาตั้งแต่อดีต ส่งผลให้มีประชากร กลมุ่ ตา่ ง ๆ อพยพเข้ามาต้ังถนิ่ ฐาน แมส้ ภาพแวดล้อมทางภมู ิศาสตร์ไมเ่ อือ้ อานวยมากนักก็ตาม

ลักษณะภูมิประเทศ ภูมิภาคเอเชียกลางประกอบด้วยประเทศ คาซคั สถาน ครี ก์ ซี สถาน เติร์กเมนิสถาน ทาจิกิสถาน และอซุ เบกิสถาน พ้ืนท่ีทางทิศเหนือ จดประเทศรัสเซียและเทือกเขาอัลไต ทิศตะวันออกเฉียงเหนือจดประเทศมองโกเลีย ทิศตะวันออกจดประเทศจีน ทิศใต้จดประเทศปากีสถาน อัฟกานิสถาน อิหร่าน ทะเล แคสเปียน และทิศตะวันตกจดประเทศตุรกีและทะเลดา ภูมิภาคเอเชียกลางยังมีพ้ืนท่ี ครอบคลุมถึงประเทศที่อยู่ระหว่างเอเชียกับยุโรป คือ อาเซอร์ไบจาน จอร์เจีย และ อาร์มีเนีย แต่ทั้ง ๓ ประเทศน้ี จัดตัวเองเป็นประเทศในยุโรปโดยยึดตามการแบ่งกลุ่ม ประเทศทางด้านวฒั นธรรม

เทอื กเขาอัลไต แนวพรมแดนธรรมชาติท่กี ้นั ระหวา่ งประเทศจนี คาซัคสถาน และคีรก์ ซี สถาน

ภูมิประเทศของเอเชียกลางมีความหลากหลาย พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเขต ทะเลทรายและก่ึงทะเลทรายหรือทุ่งหญ้าสเตปป์อันกว้างใหญ่ท่ีเช่ือมต่อกับเขตทุ่งหญ้า สเตปป์ของรัสเซีย แหล่งน้าที่สาคัญคือแม่น้าเพียงไม่ก่ีสายและทะเลแคสเปียน ลักษณะ ภมู ปิ ระเทศไม่เอื้ออานวยต่อการเพราะปลูก ประชากรส่วนใหญ่จึงดารงชีพด้วยการเร่ร่อน เลย้ี งสตั ว์

ลักษณะภูมิอากาศ ภูมิอากาศในเขตเอเชียกลางเป็นแบบทะเลทรายที่ ร้อนจัด แห้งแล้ง และไม่มีป่าไม้ ส่วนในเขตเทือกเขาและทุ่งหญ้าสเตปป์ทางตอนเหนือก็ แห้งแล้งและหนาวจัดในฤดูหนาว เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากลมหนาวที่พัดมาจาก ทางเหนือของรัสเซีย สภาพภูมิอากาศส่งผลต่อการตั้งถ่ินฐานของประชากรที่มีอยู่ไม่มาก และมีการกระจายตัวเบาบาง ตลอดจนมีผลต่อวิถีการดารงชีวิตและการประกอบอาชีพ ของผู้คนในภมู ภิ าคน้ี เชน่ การเลย้ี งสัตวแ์ บบเร่รอ่ น และการพานักอยู่ตามกระโจม

แผนที่ภมู ภิ าคเอเชียกลาง

ตารางแสดงขอ้ มลู พ้นื ฐานของประเทศในภมู ภิ าคเอเชียกลาง

พัฒนาการทางประวตั ศิ าสตร์ สังคม เศรษฐกจิ และการเมืองของภูมิภาคเอเชียกลาง ประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียกลางมีภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ท่ีคล้ายคลึงกัน คือ ต่างเคยเป็นอดีตรัฐของสหภาพโซเวียต ทาให้มีพัฒนาการทางการเมืองการปกครอง คล้ายคลงึ กนั แต่พฒั นาการทางเศรษฐกิจอาจแตกต่างกันตามความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่และ ทรพั ยากรธรรมชาติ

คาซัคสถาน ค า ซั ค ส ถ า น ตั้ ง อ ยู่ ท า ง ต อ น เ ห นื อ ของภูมิภาคเอเชียกลาง มีพ้ืนท่ีมากท่ีสุด ในภูมิภาค และมีทรัพยากรธรรมชาติ อุดมสมบูรณ์

พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ สังคม เศรษฐกจิ และการเมืองของคาซคั สถาน คาซัคสถานมีสภาพภูมิศาสตร์ท่ีหลากหลายทั้งเขตทุ่งหญ้าสเตปป์ พ้ืนท่ีกึ่ง ทะเลทราย เขตที่ราบสูง และที่ราบลุ่มแม่น้า ส่วนสภาพภูมิอากาศก็มีทั้งภูมิอากาศร้อน แห้งแล้งแบบกึ่งทะเลทราย และภูมิอากาศอบอุ่นท่ีเอ้ืออานวยต่อการเพาะปลูก ทาให้มี ชนเผา่ เร่ร่อนทั้งเผ่าเติร์กและเผา่ มองโกลอพยพ เข้ามาตง้ั ถน่ิ ฐานตงั้ แตพ่ ทุ ธศตวรรษที่ ๘ ชนเผ่า เหล่านจ้ี ดั เป็นชนพ้นื เมอื งดงั้ เดมิ และเป็น ประชากรส่วนใหญข่ องประเทศ นอกจากน้นั เป็นชาวรัสเซียและชนเผ่าอ่นื ๆ ในเขต เอเชยี กลาง ท่งุ หญ้าสเตปป์ในประเทศคาซัคสถาน

หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลาย คาซัคสถานเป็นรัฐเอกราชและมีการเติบโต ทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีแหล่งพลังงานขนาดใหญ่ในประเทศทั้งน้ามันดิบ และแก๊สธรรมชาติ นอกจากนี้ คาซัคสถานยังมีแร่ธาตุต่าง ๆ จานวนมาก เช่น ยูเรเนียม โครเมียม สังกะสี แมงกานีส ซึ่งดึงดูดให้นักลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาพัฒนา อุตสาหกรรมในคาซัคสถาน ส่วนเศรษฐกิจหลักของประชากร คือ การประกอบอาชีพ เกษตรกรรมและการเล้ียงสตั ว์

ครี ์กีซสถาน คีร์กีซสถานเป็นประเทศที่มีขนาดเล็ก ต้ังอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของคาซัคสถาน หลังแยกตัว เป็นรัฐเอกราชจากสหภาพโซเวียตแล้ว ยังขาดความม่ันคง ทางการเมืองและไม่มกี ารพัฒนาเศรษฐกิจมากนกั ครอบครวั ของชาวคีรก์ ีซหรอื ชนพน้ื เมอื งของคีร์กีซสถาน

พฒั นาการทางประวัตศิ าสตร์ สังคม เศรษฐกจิ และการเมอื งของคีร์กีซสถาน คีรก์ ซี สถานมีภูมิประเทศแวดลอ้ มด้วยเทอื กเขาและทุ่งหญ้าทง่ี ดงาม ชาวคีร์กีซ หรือชนพ้ืนเมืองของคีร์กีซสถานซ่ึงเป็นประชากรส่วนใหญ่ ประกอบด้วยชนเผ่าเร่ร่อน กลุม่ ต่าง ๆ เช่น ชนเผ่าเตริ ก์ และชนเผ่าสลาฟ ซ่ึงตั้งถ่ินฐานอยู่ในดินแดนน้ีมาก่อนท่ีจะถูก ผนวกเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิรัสเซีย ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศน้ีนับถือศาสนา อิสลาม และยงั คงดาเนนิ วิถชี วี ิตตามขนบธรรมเนียมเดิมท่ีสืบทอดกันมา

คีร์กีซสถานจัดเป็นประเทศที่ยากจน ประชาชนดารงชีพด้วยการเกษตรแบบ ด้ังเดิม ไม่เน้นพ่ึงพาเทคโนโลยี บางส่วนประกอบอาชีพเล้ียงสัตว์ รายได้ของรัฐข้ึนอยู่กับ สินค้าส่งออกที่สาคัญ คือ แร่ทองคา ใน พ.ศ. ๒๕๕๒ เศรษฐกิจโลกประสบภาวะวิกฤตจึง สง่ ผลกระทบต่อราคาทองคาในตลาดโลกและรายได้ของคีร์กีซสถาน ทาให้รัฐบาลประสบ ปัญหาทางการเมือง เน่ืองจากไม่สามารถแก้ปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวงท่ีแพร่หลายอยู่ ท่ัวไป ประกอบกับปัญหาค่าครองชีพท่ีสูงขึ้น เป็นเหตุให้เกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองใน พ.ศ. ๒๕๕๓ และเกดิ การเปลี่ยนแปลงทางการเมอื ง

เตริ ก์ เมนสิ ถาน เติร์กเมนิสถาน ต้ังอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของ ภูมิภาคเอเชียกลาง พ้ืนท่ีส่วนใหญ่เป็นเขตทะเลทราย การากุม (Karakum) ทร่ี ้อนและแห้งแล้ง เศรษฐกิจของ ประเทศขึ้นอยู่กับผลผลิตของฝ้ายและการส่งออกแก๊ส ธรรมชาตทิ ีม่ เี ปน็ จานวนมาก

พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ สงั คม เศรษฐกิจ และการเมืองของเตริ ก์ เมนิสถาน ดนิ แดนที่เปน็ ประเทศเตริ ก์ เมนสิ ถานปัจจุบนั ตั้งอยบู่ นเสน้ ทางสายไหมซึ่งเป็นท่ี รู้จักกันในหมู่พ่อค้าและนักเดินทางในอดีต ดินแดนน้ีเคยอยู่ใต้การปกครองของจักรวรรดิ เปอร์เซียของชาวกรกี ในสมัยพระเจ้าอะเล็กซานเดอร์แห่งมาซโิ ดเนีย ชาวอาหรับที่เปน็ ผนู้ า ศาสนาอิสลาม และชาวมองโกล ต่อมาดินแดนแห่งนี้ได้ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหน่ึงของ จักรวรรดิรัสเซียที่ขยายอิทธิพลมาทางตะวันออกของประเทศ และกลายเป็นรัฐในกลุ่ม สหภาพโซเวยี ต

ชนพื้นเมืองผู้เป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศน้ีคือชนเผ่าเติร์กเมนท่ีต้ัง ถิ่นฐานมาตั้งแต่สมัยแรกเริ่ม อาชีพหลักของประชากร คือ การเลี้ยงสัตว์ การเพาะปลูกที่ อาศัยนา้ จากการชลประทานและการค้า หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลาย เติร์กเมนิสถาน ได้แยกตัวเป็นรัฐเอกราช และพยายามพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศท่ีขึ้นอยู่กับการปลูก ฝ้ายและแก๊สธรรมชาติ ในช่วงแรกเติร์กเมนิสถานซ่ึงไม่มีทางออกสู่ทะเลประสบปัญหา การวางทอ่ แก๊ส ตอ่ มาสามารถวางท่อแกส๊ ผ่านจนี และ อหิ รา่ นได้ ทาให้มีการคาดการณ์วา่ เศรษฐกจิ ของ เตริ ์กเมนสิ ถานจะสามารถเตบิ โตกา้ วหน้าได้ในอนาคต เนอื่ งจากมที รัพยากรธรรมชาติอยูจ่ านวนมาก ชนพ้นื เมืองชนเผา่ เติร์กเมน ใชอ้ ูฐเป็นพาหนะในการขนสง่ สินคา้

ทาจิกสิ ถาน ทาจิกิสถานตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้สุดของภูมิภาค เอเชียกลาง จัดเป็นประเทศท่ีขาดเสถียรภาพทางการเมือง เนอ่ื งจากทาสงครามกลางเมืองหลังการสถาปนาเอกราชของ ประเทศ

พฒั นาการทางประวตั ศิ าสตร์ สงั คม เศรษฐกจิ และการเมอื งของทาจกิ ิสถาน ทาจิกิสถานตั้งอยู่บนเส้นทางติดต่อระหว่างตะวันออกและตะวันตก เป็น ประเทศทีไ่ ด้รบั อิทธิพลทางวัฒนธรรมจากกลุ่มต่าง ๆ ท่ีเคยเข้ามาปกครอง เช่น เปอร์เซีย มุสลิม มองโกล จากนั้นได้ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของจักรวรรดิรัสเซีย และถูกรวมเข้าเป็น ส่วนหน่ึงของสหภาพโซเวียต หลังจากแยกตัวเป็นเอกราช ทาจิกิสถานประสบปัญหา การเมืองภายในประเทศอย่างรุนแรง เกิดสงครามกลางเมืองระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ใน ประเทศ เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า ๑๐๐,๐๐๐ คน และมีประชากรประมาณ ๑.๒ ล้านคน กลายเป็นผู้ลี้ภัย สงครามได้ส่งผลกระทบรุนแรงต่อเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากส่ิงก่อสร้างและสาธารณูปโภคต่าง ๆ ถูกทาลาย ทาให้หน้ีสินของประเทศเพิ่ม สูงขน้ึ

หลงั สงครามกลางเมอื ง ทาจกิ ิสถานได้ประสบปัญหาเศรษฐกิจอย่างรุนแรงและ มีอตั ราการวา่ งงานสงู รัฐบาลไม่สามารถฟื้นฟูเศรษฐกิจให้ดีข้ึน ชาวทาจิกจานวนมากต้อง เดินทางไปหางานทายังต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศรัสเซีย นอกจากน้ี ทาจิกิสถานยัง ตอ้ งขอรับความชว่ ยเหลือจากประเทศตา่ ง ๆ เช่น รสั เซยี จนี สหรฐั อเมริกา

อุซเบกิสถานต้ังอยู่ระหว่างคาซัคสถาน อซุ เบกสิ ถาน (ทางตอนเหนอื และตะวันตกเฉียงเหนือ) และเติร์กเมนิสถาน (ทางตอนใต้) พ้ืนท่ีท่ีตั้งแวดล้อมด้วยประเทศที่ไม่มีทางออก สู่ทะเล แต่อุซเบกิสถานสามารถพัฒนาเศรษฐกิจของ ประเทศใหเ้ ติบโตได้

พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ สงั คม เศรษฐกิจ และการเมอื งของอุซเบกสิ ถาน อุซเบกิสถานมีภูมิหลังทางประวัติศาสตร์คล้ายคลึงกับประเทศเพ่ือนบ้านใน ภูมิภาคเดียวกัน กล่าวคือ เคยอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิต่าง ๆ ทั้งเปอร์เซีย มุสลิม มองโกล และในช่วงก่อนสงครามโลกคร้ังที่ ๑ รัสเซียได้ขยายอิทธิพลเข้าไปใน เอเชยี กลาง ทาใหด้ ินแดนต่าง ๆ รวมทง้ั อซุ เบกสิ ถาน ได้ตกอย่ภู ายใตอ้ านาจของรสั เซีย และกลายเปน็ รฐั หนงึ่ ในสหภาพโซเวยี ตดว้ ย หลังจาก สหภาพโซเวยี ตลม่ สลาย อซุ เบกิสถาน ซงึ่ เคยพ่งึ พาเศรษฐกิจของสหภาพโซเวียต จงึ พยายามพฒั นาเศรษฐกิจของตนเอง ฝ้าย เป็นสินคา้ หลักทส่ี าคัญของอซุ เบกิสถาน

ภมู ิประเทศของอซุ เบกสิ ถานประกอบดว้ ยเทือกเขาและทะเลทราย มีภูมิอากาศ ร้อนและแห้งแล้งในฤดูร้อน แต่หนาวเย็นในฤดูหนาว แม้สภาพภูมิศาสตร์ดังกล่าวไม่ เอื้ออานวยต่อการเพาะปลูก แต่ชาวอุซเบกิสถานสามารถนาน้าท่ีไหลมาจากเทือกเขาสูง มาพฒั นาเปน็ อา่ งเก็บน้าขนาดใหญ่จานวนมาก นอกจากน้ียังสามารถผันน้าให้ไหลไปตาม ช่องเขาจนกลายเป็นแม่น้าและลาธารได้ อุซเบกิสถานจึงมีน้าเพียงพอต่อการปลูกฝ้าย ซ่ึงเป็นสินค้าหลักของประเทศ และสามารถส่งออกฝ้าย เป็นอันดับต้น ๆ ของโลก อย่างไรก็ตาม อุซเบกิสถานต้องการพัฒนาเศรษฐกิจอ่ืนนอกเหนือจากการส่งฝ้าย เป็นสินค้าออก ดังนั้นจึงมีการพัฒนาแหล่งทรัพยากรต่าง ๆ ของประเทศ เช่น แก๊สธรรมชาติ นา้ มนั ถา่ นหนิ ยเู รเนยี ม ทองแดง และเงิน

๕. แหลง่ อารยธรรมโบราณในภมู ิภาคเอเชยี ภูมภิ าคเอเชยี เปน็ แหลง่ กาเนิดอารยธรรมโบราณที่ได้รบั การยกย่องใหเ้ ป็นอารยธรรม โลก ๓ อารยธรรม ได้แก่ อารยธรรมจีน อารยธรรมอนิ เดีย และอารยธรรมเมโสโปเตเมีย ปัจจัย ที่ส่งเสริมให้เกิดอารยธรรมดังกล่าวมีหลายประการ ท้ังด้านภูมิศาสตร์ ด้านการปกครอง ด้าน สังคมและวัฒนธรรม กล่าวคือ สภาพภูมิศาสตร์ท่ีแตกต่างกัน ทาให้การสร้างสรรค์อารยธรรม แต่ละพ้ืนทมี่ ีความแตกตา่ งกนั จนเป็นเอกลกั ษณเ์ ฉพาะ

ปัจจัยด้านการปกครอง ที่ผู้ปกครองกาหนดสถานะของผู้ปกครองและรูปแบบการ ปกครองใหส้ อดคล้องกับสภาพสงั คมนั้น ๆ ทาใหเ้ กดิ การสร้างสรรคอ์ ารยธรรมที่ส่งเสริมสถานะ ของผู้ปกครองให้สูงส่งดังเทพเจ้า เช่น การสร้างพระราชวังท่ีใหญ่โตและงดงาม ประเพณีใน ราชสานักกฎหมาย ด้านสังคมและวัฒนธรรม โดยเฉพาะความเชื่อและศาสนา ศาสนาท่ีสาคัญของโลก เช่น ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู พระพุทธศาสนา ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม ล้วนกาเนิดอยู่ ในภูมภิ าคเอเชยี ทัง้ สนิ้ ความศรัทธาในศาสนากอ่ ให้เกิด อารยธรรม เช่น การสร้างศาสนสถานที่ใหญ่โต ประติมากรรม หรอื สัญลักษณท์ ีต่ นนับถอื

แผนที่สงั เขปแสดงแหล่งกาเนิดอารยธรรมในภูมภิ าคเอเชยี

สาหรับภูมิภาคเอเชียซ่ึงมีการตั้งถ่ินฐานมาต้ังแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ แต่ละ ดินแดนมีการก่อต้ังอาณาจักรและพัฒนาเป็นจักรวรรดิท่ีย่ิงใหญ่ ชนชาติในดินแดนเหล่านั้นได้ สร้างสรรค์อารยธรรมท่ีเจริญรุ่งเรืองท้ังด้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ และสังคม ซึ่ง กลายเป็นรากฐานความเจริญของโลกตะวันออกและตะวันตกในเวลาต่อมา ดังนั้นจึงมีแหล่ง อารยธรรมในภูมภิ าคเอเชียจานวนมาก แหล่งอารยธรรมท่ีเจริญรุ่งเรืองเหล่าน้ีมีท้ังที่อยู่ในกลุ่ม อารยธรรมจีน พบมากในภูมิภาคเอเชียตะวันออกบริเวณลุ่มแม่น้าหวางเหอ ท่ีเรียกว่า แหล่ง อารยธรรมลมุ่ แม่นา้ หวางเหอ กลมุ่ อารยธรรมอินเดียพบมากในภูมิภาคเอเชียใต้ เรียกว่า แหล่ง อารยธรรมลุ่มแม่น้าสินธุ และกลุ่มอารยธรรมเมโสโปเตเมีย ซึ่งพบมากในภูมิภาคเอเชีย ตะวนั ตกเฉียงใต้และบางสว่ นในภูมภิ าคเอเชยี กลาง ทเี่ รยี กว่า แหล่งอารยธรรมเมโสโปเตเมีย

๕.๑ แหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้าหวางเหอ อารยธรรมจีนมี ความเก่าแก่นานนับพันปี โดยอารยธรรมยุคแรกเกิดขึ้นบริเวณเขตลุ่มแม่น้าหวางเหอ ซึ่งเป็นอารยธรรมสาคัญของโลก แหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้าหวางเหอมีความสาคัญต่อ การศึกษาอารยธรรมจีน ทั้งด้านการเมืองการปกครอง ด้านสังคมและวัฒนธรรม รวมถึง ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสถาปตั ยกรรม


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook