Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore 6. มวยโบราณสกลนคร

6. มวยโบราณสกลนคร

Published by wilawan phiwon, 2021-02-18 03:49:20

Description: 6. มวยโบราณสกลนคร

Search

Read the Text Version

1

2

3 สารานกุ รมศิลปะการแสดงพนื้ ถิน่ สกลนคร รำมวยโบรำณสกลนคร นายกฤษดากร บรรลือ เรียบเรียง พิพธิ ภณั ฑเ์ มอื งสกลนคร งานวชิ าการและวิจัย สถาบนั ภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม มหาวทิ ยาลยั ราชภฏั สกลนคร จัดพิมพเ์ ผยแพร่

4 สำรำนุกรมศลิ ปะกำรแสดงพื้นถนิ่ สกลนคร “มวยโบรำณสกลนคร” เอกสารวชิ าการลาดบั ท่ี ๓/๒๕๖๓ พมิ พ์ครง้ั ที่ ๑ จานวน ๑๐๐ เลม่ นายกฤษดากร บรรลอื เรยี บเรยี ง คณะทป่ี รกึ ษำ พระครปู ลดั ศรีธรรมวัฒน์ ประธานศนู ย์อนุรักษว์ ัฒนธรรมพืน้ บา้ นหทัยภูพาน นางฟองจันทร์ อรุณกมล ท่ปี รกึ ษานายกเทศมนตรเี ทศบาลนครสกลนคร ผศ.ปรชี า ธรรมวนิ ทร อธกิ ารบดมี หาวทิ ยาลยั ราชภัฏสกลนคร นายสรุ สิทธิ์ อุ้ยปัดฌาวงศ์ ผ้อู านวยการสถาบนั ภาษาฯ ผศ.ดร.พฒุ จกั ร สทิ ธิ รองผ้อู านวยการสถาบนั ภาษาฯ นางสาววิชญานกาญต์ ขอนยาง รองผอู้ านวยการสถาบนั ภาษาฯ นางนงเยาว์ จารณะ หัวหน้าสานกั งานผู้อานวยการสถาบันภาษาฯ คณะบรรณำธกิ ำร ศลิ ปกรรม/แบบปก ดร. สถิตย์ ภาคมฤค นายพจนวราภรณ์ เขจรเนตร นายธวัชชัย ดลุ ยสจุ รติ นายพจนวราภรณ์ เขจรเนตร ภำพถำ่ ย นางสาวจนิ ตนา ลินโพธ์ศิ าล นายทนง อภวิ าทนสิริ นางสาวชุตมิ า ภลู วรรณ นายนครินทร์ รสธรรม นางสาวเอกสดุ า ไชยวงศ์คต นายกฤษดา อฒุ าธรรม สอบทำน/พสิ จู น์อกั ษร ธุรกำร/ประสำนงำน นางสาวอลสิ า ทับพลิ า นางสาวชุติมา ภูลวรรณ นายวชิระ จันทะลุน จัดทำโดย งานวิชาการและวจิ ยั สถาบนั ภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภฏั สกลนคร พมิ พ์ท่ี พพิ ธิ ภัณฑเ์ มืองสกลนคร มหาวิทยาลัยราชภฏั สกลนคร สงวนลขิ สทิ ธิต์ ำมกฎหมำย

ก คำนยิ ม ศิลปะการแสดงพื้นถ่ิน เป็นมรดกสาคัญของผู้คนในท้องถิ่น น้ัน ๆ ที่ได้รับการรังสรรค์ขึ้น เพื่อเป็นตัวกลางในการเช่ือมโยง ของอารมณ์ ความรู้สึก ของผู้แสดงออกไปยังบุคคลอื่น โดยทั่วไปมักมีความประณีตงดงามและเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ศิลปะการแสดงที่พบได้ในแต่ละท้องถ่ิน เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึง สภาพทางสังคม การดารงวิถีชีวิต และขนบประเพณีวัฒนธรรม ของชมุ ชนน้ัน ๆ ได้เป็นอย่างดี ในนามของสถาบันภาษาฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ขอขอบใจและช่ืนชมในความวิริยะอุตสาหะของผู้เรียบเรียงพิมพ์ ท่ีได้สร้างสรรค์ผลงานชิ้นนี้หวังเป็นอย่างย่ิงว่า ผู้เรียบเรียง จ ะ ผ ลิ ต แ ล ะ พั ฒ น า ผ ล ง า น วิ ช า ก า ร ข อ ง ท้ อ ง ถ่ิ น เ ช่ น นี้ ต่ อ ไ ป อี ก เ พ่ื อ จ ะ ไ ด้ อ า น ว ย ป ร ะ โ ย ช น์ ต่ อ ก า ร ศึ ก ษ า ท้ อ ง ถ่ิ น ใ น อ น า ค ต อย่างย่ังยืนสบื ไป นายสรุ สทิ ธิ์ อุ้ยปัดฌาวงศ์ ผูอ้ านวยการสถาบนั ภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม มหาวทิ ยาลัยราชภฏั สกลนคร

ข คำนำ หนังสือ สารานุกรมศิลปะการแสดงพื้นถิ่นสกลนคร “รามวยโบราณสกลนคร” เป็นหนังสือท่ีเกิดจากการรวบรวมข้อมูล จากบุคคล และการเรียบเรียงพิมพ์ขึ้นใหม่ จากเอกสารต่าง ๆ ที่พบภายในห้องศูนย์สกลนครศึกษา โดยนายกฤษดากร บรรลือ นักวิชาการศึกษา สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม เพ่ือเผยแพร่ แก่ผู้สนใจและเอกสารฉบับน้ี ยังเป็นเอกสารทางวิชาการลาดับท่ี ๓/๒๕๖๓ ของงานวชิ าการ และวิจัย สถาบนั ภาษาฯ มหาวิทยาลยั ราช ภฏั สกลนครอกี ดว้ ย หวังเป็นอย่างยิ่งว่า สารานุกรมศิลปะการแสดงพื้นบ้าน “มวยโบราณสกลนคร” ของงานวิชาการและวิจัย สถาบันภาษาฯ เล่มน้ีจะอานวยประโยชน์ต่อผู้สนใจศึกษาและต่อยอดองค์ความรู้ มรดกภูมปิ ัญญาของบรรพชนสบื ต่อไป ดร.สถิตย์ ภาคมฤค บรรณาธิการ

ค สำรบญั หนา้ คานิยม ก คานา ข บทนา : พัฒนาการทางประวัตศิ าสตร์และศิลปะการแสดง พ้นื ถิ่นสกลนคร ๑ พฒั นาการทางประวัติศาสตร์สกลนคร ๓ ความหมายของศิลปะการแสดงพื้นถน่ิ ๙ ศลิ ปะการแสดงพื้นถนิ่ สกลนคร ๑๐ ศลิ ปะการแสดงพ้นื ถนิ่ สกลนคร “รามวยโบราณสกลนคร” ๒๑ ท่มี าและความสาคัญ ๒๑ จานวนผู้แสดงและลกั ษณะการแตง่ กายผแู้ สดง ๒๔ รูปแบบวธิ ีการแสดง ๒๖ ๑. การแสดงรามวยโบราณทา่ ราเดี่ยว ๒๖ ๒. การแสดงรามวยโบราณทา่ ราหมู่ (ในขบวนแห)่ ๕๖ ๓. การแสดงรามวยโบราณชนิดปราบมวย (ตีมวย) ๗๔

ง ๗๗ ดนตรปี ระกอบจังหวะ ๗๘ บรรณานุกรม

๑ บทนำ รามวยโบราณสกลนคร เป็นศิลปะการแสดงพ้ืนบ้าน ที่พัฒนาจากศิลปะการป้องกันตัว สู่การเป็นศิลปะการแสดง ที่มีช่ือเสียงและเป็นที่นิยมของชาวจังหวัดสกลนคร มักมีการ นามาแสดงในเทศกาลสาคัญต่าง ๆ ของจังหวัด โดยเฉพาะประเพณี เทศกาลออกพรรษาแห่ปราสาทผ้ึง จัดอยู่ในชุดการแสดงนาขบวน นอกจากนี้มักนามาแสดงต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองในโอกาสสาคัญ ต่าง ๆ อีกด้วย จึงอาจกล่าวได้ว่า การแสดงมวยโบราณสกลนคร เป็นเอกลักษณ์ท่ีโดดเด่นของจงั หวดั สกลนครอยา่ งหนึ่ง นอกจากศิลปะการแสดงมวยโบราณจะมีชื่อเสียงและเป็นหน่ึง เดียวแล้ว สกลนครยังประกอบด้วยศิลปะการแสดงต่าง ๆ ท่ีเป็นเอกลักษณ์ของพ้ืนถ่ิน อาทิ ราผ้าหาง (ฟ้อนผ้าหาง) ราง้าว (ฟ้อนง้าว) ราภูไท (ฟ้อนภูไท) ราหางนกยูง (ฟ้อนหางนกยูง) และการเล่นลายกลองกิง่ เป็นต้น ทั้งนี้ เพ่ือผู้อ่านเกิดความเข้าใจในที่มา ความหมาย และความสาคัญของศิลปะการแสดงพ้ืนถ่ิน “รามวยโบราณสกลนคร” ผู้เรียบเรียง จึงใคร่นาเสนอเรื่องราวพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ และศิลปะการแสดงพืน้ ถ่ินสกลนครกอ่ นนาเขา้ สเู่ นื้อหาในสว่ นถดั ไป

๒ ภาพแผนท่ีการเดินทางและระยะทางระหว่างเมืองต่าง ๆ ของภาคอีสานในสมัยต้นกรุง รตั นโกสนิ ทร์ ทมี่ า : Santanee Pasuk, Philip Stott. ROYAL SIAMESE MAPS. War and Trade in Nineteenth Century Thailand.(2004). หน้า 131.

๓ พัฒนำกำรทำงประวตั ิศำสตร์สกลนคร (โดยสังเขป) ส ก ล น ค ร เ ป็ น จั ง ห วั ด ห นึ่ ง ต้ั ง อ ยู่ ใ น พ้ื น ที่ ภ า ค ตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสานตอนบน เป็นพ้ืนที่ท่ีมีความอุดม สมบูรณ์และมีความหลากหลายทางธรรมชาติ อาทิ เทือกเขาภูพาน และป่าดงต่าง ๆ รวมไปถึงลาห้วยสาคัญหลายสายที่ไหล ลงสู่หนองหาร ด้วยความเหมาะสมนี้ทาให้เมืองสกลนครเป็นเขตสะสม ทางวัฒนธรรม ที่มีความเก่าแก่มาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อประมาณ ๑,๒๐๐ – ๑,๕๐๐ ปีมาแล้ว และเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์ นับต้ังแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๔ เป็นต้นมา ในสมัยวัฒนธรรมทวารวดี เขมร ล้านช้าง และการเข้าสู่อิทธิพลทางการเมืองการปกครอง และการรับเอาวัฒนธรรมในสมัยธนบุรแี ละรัตนโกสินทรใ์ นปจั จบุ นั ชื่อบ้านนามเมืองสกลนคร มีท่ีมาจากคาว่า “เชียงชุม” โ ด ย เป็ น ชุ มช น ข น า ด เล็ กใ นอิทธิพล วั ฒนธรรมล้ า นช้าง ในพุทธศตวรรษที่ ๒๒ – ๒๔ คร้ันต่อมาปรากฏหลักฐานว่า ราชสานักกรุงเทพฯ ยก “บ้านเชียงชุมหรือหนองหานเชียงชุม” ขึน้ เป็น “เมืองสกลนคร” (ราชสานักกรุงเทพฯ แปลงนามเมืองเดิมเป็น สกลนคร ประกอบด้วยคาว่า “เชียง” หมายถึง “เมือง” แปลงเป็นคา ว่า “นคร” คาว่า “ซุม” หมายถึง “ทั้งมวล” แปลงเป็นคาบาลีว่า “สกล”) เมอื่ ปีพุทธศักราช ๒๓๘๑

๔ สตรีกล่มุ ชาตพิ ันธภ์ุ ูไท มณฑลอุดร ถ่ายเมอ่ื พทุ ธศกั ราช ๒๔๔๙ ท่ีมา : สานกั หอจดหมายเหตแุ หง่ ชาติ กรมศิลปากร

๕ สกลนครประกอบด้วย ผู้คนที่มีภาษาและวัฒนธรรม ท่ีมีความคล้ายคลึงและแตกต่างจานวน ๖ กลุ่มชาติพันธ์ุหลัก ประกอบดว้ ย “ลาว” มีถ่ินฐานเดิมในพ้ืนที่สกลนคร เป็นกลุ่มคนท่ีอยู่อาศัย สืบเน่ืองมาต้ังแต่สมัยวัฒนธรรมล้านช้าง บางกลุ่มอพยพจากจังหวัด อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด มหาสารคาม และศรีสะเกษ ในช่วงปี พ.ศ. ๒๔๔๐ – ๒๔๙๐ ต้ังถิ่นฐานอาศัยในบริเวณพื้นที่ต่าง ๆ อาทิ อาเภอเมืองสกลนคร สวา่ งแดนดิน พังโคน เจริญศิลป์ เป็นตน้ “โส้” มีถ่ินฐานเดิมในพื้นท่ีตอนกลางของลาว แถบเมืองคาเกิด เมืองมะหาไซ เมืองยมราช แขวงคาม่วน ประเทศล าว เข้ามาต้ังถิ่นฐานอาศัยในบริเวณพ้ืนที่อาเภอกุสุมาลย์ ในช่วงปี พ.ศ. ๒๓๗๘ – ๒๓๘๐ นอกจากนี้มีกลุ่มที่เรียกตนเองว่า “โส้ทะวึง” ต้ังถน่ิ ฐานอาศยั เป็นกลมุ่ เลก็ อยใู่ นบรเิ วณพนื้ ท่อี าเภอส่องดาว “ ภู ไ ท ” มี ถ่ิ น ฐ า น เ ดิ ม ใ น พื้ น ที่ ต อ น ก ล า ง ข อ ง ล า ว บริเวณชายแดนลาว - เวียดนาม เข้ามาตั้งถิ่นฐานอาศัย ในบริเวณพ้ืนที่ต่าง ๆ อาทิ อาเภอเมืองสกลนคร พรรณานิคม พงั โคน วาริชภมู ิ เป็นต้น ในชว่ งปี พ.ศ. ๒๓๗๘ – ๒๓๘๐ บางกลมุ่ เรียกตนเองว่า “กะตาก” ตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่ในแถบอาเภอเมือง สกลนคร โคกศรสี พุ รรณ โพนนาแกว้ และเตา่ งอย

๖ ราษฎรชาวสกลนครจากหลายกลุ่มชาติพันธุ์ เฝ้ารับเสด็จ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงดารงราชานุภาพ (พระยศในขณะนั้น) เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เมื่อคราวเสด็จตรวจราชการมณฑลอีสาน โดยประทับ ณ เมืองสกลนครระหว่างวันท่ี ๑๔ – ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๙ ที่มา : สานักหอจดหมายเหตแุ หง่ ชาติ กรมศิลปากร

๗ “ โ ย้ ย ” มี ถ่ิ น ฐ า น เ ดิ ม ใ น พ้ื น ที่ ต อ น ก ล อ ง ข อ ง ล า ว ในบริเวณแขวงบอลิคาไซ ประเทศลาว เข้ามาตั้งถิ่นฐานอาศัย ในบรเิ วณพนื้ ทข่ี องอาเภออากาศอานวย วานรนิวาส และ พรรณานคิ ม ในช่วงปี พ.ศ. ๒๔๐๐ – ๒๔๑๐ “ ญ้ อ ” มี ถ่ิ น ฐ า น เ ดิ ม ใ น พื้ น ท่ี ต อ น ก ล า ง ข อ ง ล า ว แถบเมืองมะหาไซ แขวงคาม่วน ประเทศลาว กลุ่มชาติพันธ์ุญ้อ ท่ีอาศัยในสกลนคร อาจแบ่งออกได้ ๒ กลุ่ม คือ “ญ้อ ท่ีพูดสาเนียง เมืองมะหาไซ” เป็นกลุ่มใหญ่ตั้งถ่ินฐานอาศัยโดยเฉพาะพื้นที่ ของอาเภอเมืองสกลนคร โคกศรีสุพรรณ โพนนาแก้ว เข้ามาต้ังถิ่นฐานในช่วงปี พ.ศ.๒๓๗๘ – ๒๓๘๐ และ “ญ้อ ท่ีพูดสาเนียงเมืองไซยบุรีและเมืองท่าอุเทน” ตั้งถ่ินฐานอาศัย เป็นกลุม่ เลก็ ในพ้ืนท่ีอาเภอโคกศรีสพุ รรณ “กะเลิง ” มีถ่ินฐานเดิมในพื้นท่ีตอนกลางของลา ว แถบเมืองคาเกิด เมืองมะหาไซ เมืองยมราช แขวงคาม่วน ป ร ะ เ ท ศ ล า ว เ ข้ า ม า ตั้ ง ถ่ิ น ฐ า น อ า ศั ย ใ น บ ริ เ ว ณ พ้ื น ท่ี อาเภอเมืองสกลนคร ในช่วงปี พ.ศ. ๒๓๗๘ – ๒๓๘๐ บ า ง ก ลุ่ ม อ พ ย พ โ ย ก ย้ า ย ถ่ิ น ฐ า น ขึ้ น ไ ป ตั้ ง ห ลั ก แ ห ล่ ง ใ น พ้ื น ท่ี อาเภอกดุ บาก และอาเภอภพู าน

๘ กลุ่มชาติพันธุ์ท่ีกล่าวมานั้น ถือว่า เป็นกลุ่มชาติพันธุ์พื้นถิ่น สกลนคร นอกจากน้ียังประกอบด้วยกลุ่มคนจาก ๒ เชื้อชาติ ประกอบด้วยจีน และญวน (เวียดนาม) ท่ีอพยพเข้ามาตั้งถ่ินฐาน อาศัยอยู่ปะปนกับคนท้องถน่ิ ในบริเวณอาเภอที่เปน็ ศูนย์กลางของการ คมนาคมและการค้า รวมถึงกลุ่มพ่อค้าที่เรียกว่า “ไทยใหญ่” ที่เดินทางเข้ามาติดต่อค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้า ในช่วงปีพุทธศักราช ๒๔๔๐ – ๒๔๘๐ ทั้งนี้ นอกจากจะนาสินค้าเข้ามาแลกเปลี่ยนแล้ว ยังนามาซ่ึงรูปแบบศิลปะการแสดงการป้องกันตัวที่เรียกว่า “เจิง” มาแสดงเพ่ือโชว์พละกาลังและไหวพริบปฏิภาณอย่างมีชั้นเชิง ซ่ึงยังพอเห็นเค้าอยู่ในในบางศิลปะการแสดงพ้ืนถิ่นที่พบในสกลนคร อกี ด้วย ด้ ว ย ค ว า มหล าก หล าย ทา งลั กษ ณะช าติพันธ์ุวัณณา รวมไปถึงรูปแบบและระบบความเช่ือ ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์ ศิลปวัฒนธรรมและการเล่นของท้องถ่ินน้ัน ๆ ท่ีเป็นเอกลักษณ์ เฉพาะถิ่นเมอื งสกลนครไดอ้ ยา่ งน่าสนใจ.

๙ ควำมหมำยของศิลปะกำรแสดงพ้ืนถน่ิ “ศิลปะการแสดงพื้นถ่ิน” คือ การแสดงดนตรีและนาฏศิลป์ ที่สะท้อนให้เห็นวัฒนธรรม สภาพของสังคมและการดารงชีวิต ความเป็นอยู่ของผู้คนหรือกลุ่มวัฒนธรรมท้องถ่ินนั้น ๆ ในรูปแบบ ลักษณะของการแสดงท่ีมีแบบแผน หรืออาจสามารถมีการประยุกต์ เปล่ียนแปลงอยู่เสมอ ท้ังนี้ มักมีจุดมุ่งหมายเพ่ือให้เกิดความงดงาม และความบันเทิงเป็นหลัก โดยศิลปะการแสดงในแต่ละพ้ืนถ่ิน มักมีวัตถุประสงค์ท่ีคล้ายคลงึ กันอยู่เสมอ อาทิ กระทาขึ้นในพิธีกรรม เพื่อแสดงความเคารพต่อส่ิงศักดิ์สิทธ์ิท่ีตนนับถือ กระทาขึ้น เพื่อก่อให้เกิดความสนุกสนานในงานบุญประเพณีต่าง ๆ รวมท้ัง ใช้ในโอกาสต้อนรับผู้มาเยือน กระทาขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นถึง เอกลกั ษณ์วัฒนธรรมประเพณอี ันดงี ามของท้องถ่ิน เป็นต้น กล่าวได้ว่า “ศิลปะการแสดงพื้นถิ่น” เป็นกิจกรรมนันทนาการ ที่มนุษย์แสดงออกผ่านทางอารมณ์ และความรู้สึก ในรูปแบบ ของ ดนตรีและนาฏศิลป์ โดยแฝงไปด้วยรูปแบบกระบวนการ และวิธีคิด เพื่อให้เกิดจังหวะการเคลื่อนไหว อีกท้ังท่วงทานอง ท่ีสะท้อนอารมณ์ความรู้สึก ซ่ึงผู้แสดงส่งไปยังบุคคลอื่นให้เกิด ความสนกุ สนานเพลดิ เพลิน ผ่อนคลายความตึงเครียด ท้งั ทางร่างกาย และจติ ใจน่ันเอง

๑๐ ศลิ ปะกำรแสดงพ้ืนถน่ิ สกลนคร “ศิลปะการแสดงพ้ืนถิ่นสกลนคร” เป็นช่ือเรียกศิลปะการแสดง ท่ีพบในพ้ืนถ่ินต่าง ๆ ของจังหวัด โดยการประดิษฐ์และสร้างสรรค์ ข้ึนของกลุ่มคนที่มีภาษาและวัฒนธรรมคล้ายคลึงหรือแตกต่างกัน แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมกับสภาพ วิถีชีวิตความเป็นอยู่ ของกลุ่มชาติพันธุ์น้ัน ๆ ศิลปะการแสดงพ้ืนถิ่นสกลนคร จะมีทั้งการแสดงที่เป็นแบบด่ังเดิมที่มีสืบทอดกันมาแต่โบราณกาล กับการแสดงทเ่ี กดิ ขน้ึ ใหม่ ซึ่งเปน็ ไปตามความถนัดหรอื ความสามารถ ของผู้คิดค้นศิลปะการแสดงแต่ละคน จากการศึกษาพบว่า ศิลปะการแสดงพ้ืนถ่ินสกลนคร โดยมากมักจะไม่มีระเบียบ แบบแผนเท่าใดนัก ครั้นต่อมา จึงปรากฏรูปแบบท่วงท่า ข อ ง ศิ ล ป ะก าร แสดง น้ัน ๆ โ ด ย กา รกาหนดของผู้แ สดง เพ่ือให้เกิดความพร้อมเพรียงกันข้ึน ท้ังนี้ ศิลปะการแสดงพื้นถิ่น สกลนคร อาจกาหนดออกเปน็ ๒ ลกั ษณะสาคัญ ดงั น้ี ๑. ลักษณะการแสดงพื้นถ่ินแบบเดิม เป็นการแสดงท่ีพบเห็นได้ ในงานบุญและประเพณี ในลักษณะของการฟ้อนท่ัวไปตามจังหวะ เครื่องดนตรีพ้ืนถิ่นท่ีประกอบด้วย กลองตุ้มหรือกลองเลง แคน ผ่างฮาด และฉาบ เป็นต้น โดยไม่มีรปู แบบตายตัว

๑๑ การแสดงพ้ืนถิ่นแบบเดิม โดยลักษณะการฟ้อนทั่วไปตามจังหวะเครื่องดนตรี ถา่ ยเมอ่ื พ.ศ. ๒๕๒๓ ท่มี า : พพิ ิธภณั ฑเ์ มอื งสกลนคร มหาวทิ ยาลัยราชภฏั สกลนคร

๑๒ ศิลปะการแสดงฟ้อนผ้าหาง คุ้มวัดแจ้ง (คุ้มวัดแจ้งศรีบุญเรือง) ตาบลธาตุเชิงชุม อาเภอ เมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร ถ่ายเมื่อพุทธศักราช ๒๕๒๓ ท่ีมา : พิพิธภัณฑ์ เมอื งสกลนคร มหาวิทยาลัยราชภฏั สกลนคร ๒. ลักษณะการแสดงพ้ืนถ่ินแบบประดิษฐ์สร้างใหม่และรับ อิทธิพลจากชาติอ่ืน เป็นการแสดงที่มีเค้าโครงอยู่เดิมแต่ได้รับ ก า ร ป ร ะ ดิ ษ ฐ์ ส ร้ า ง เ พื่ อ ก่ อ ใ ห้ เ กิ ด ค ว า ม ส ว ย ง า ม อ ย่ า ง มี แ บ บ แ ผ น และท่วงท่าท่ีชัดเจนพบเห็นได้ในงานบุญ ประเพณีและโอกาสสาคัญ เช่น ฟ้อนผ้าหาง ฟ้อนภูไท ฟ้อนโกยมือ (กวยมือ) เป็นต้น ในส่วน ของการแสดงที่รับอิทธิพลจากชาติอ่ืน เช่น รามวยโบราณ ราง้าว (ฟอ้ นง้าว) ราหางนกยงู เป็นต้น

๑๓ ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างเฉพาะศิลปะการแสดงท่ีมีความสาคัญ และเปน็ เอกลกั ษณข์ องสกลนครพอสังเขป ดงั น้ี ๑. รำผำ้ หำง (ฟอ้ นผา้ หาง) การราผ้าหางหรือการฟ้อนผ้าหาง เป็นการแสดงประจาชุมชนคุ้มวัดแจ้ง (คุ้มวัดแจ้งศรีบุญเรือง) ตาบลธาตุเชิงชุม อาเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร นิยมนามา แสดงในขบวนแห่เชิญพระเวสสันดรเข้าเมือง (งานบุญมหาชาติ) และขบวนแห่ปราสาทผ้ึง จานวนผู้แสดง ๒ คน ข้ึนไป ไม่จากัดว่า ผู้แสดงจะเป็นชายหรือหญิง การแต่งกายของผู้ฟ้อนใช้ผ้าทอ ยาว ๕ เมตร นุ่งในลักษณะโจงกระเบนท้ังชายหญิง ท้ิงชายกระเบน มัด ร ว บป ล า ย หา ง ก ระเบนใ ส่กัน รา กวั กมือแล ะก้า ว ขา ไปตามจังหวะกลอง คร้ันถึงจังหวะรัวกลอง นักแสดงชายหญิง เอี้ยวตัวข้ามผ้าพร้อมแสดงลักษณะการเกี้ยวพาราสี ไปตามจังหวะ ของดนตรี ท่ีประกอบด้วย กลองตุ้ม แคน ผ่างฮาด ฆ้องโหม่ง และฉาบ เปน็ ต้น ปัจจุบันยังคงมผี ูส้ ามารถถ่ายทอดทา่ ราประกอบดว้ ย พระเทพสิทธิโสภณ (สุรสีห์ กิตติโสภโณ) เจ้าอาวาสวัดพระธาตุเชิง ชุม วรวหิ าร และนางรจนา วงศ์ราชา ชาวชุมชนคุ้มวดั แจง้ แสงอรณุ

๑๔ ๒. รำง้ำว (ฟ้อนง้าว) การราง้าวหรือฟ้อนง้าว เป็นการแสดง ที่หาชมไม่ได้แล้วในปัจจุบัน พบเห็นได้ในคุ้มวัดโพธิ์ชัย และคุ้มวัดพระธาตุเชิงชุม ตาบลธาตุเชิงชุม อาเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร เป็นการแสดงท่ีได้รับอิทธิพลโดยตรงจากการแสดง ที่เรียกว่า “เจิงดาบ ” จากกลุ่มพ่อค้า ชาติพันธ์ุไทใ หญ่ ทเ่ี ดินทางมาคา้ ขาย ณ เมืองสกลนคร ในช่วงปี พ.ศ.๒๔๔๐ – ๒๔๘๐ โ ด ย นิ ย ม น า ม า แ ส ด ง ใ น ข บ ว น แ ห่ เ ชิ ญ พ ร ะ เ ว ส สั น ด ร เ ข้ า เ มื อ ง (งานบุญมหาชาติ ) รวมถึงเป็นการแสดงโชว์พละกาลัง ทั้งน้ี ผู้แสดงจะมีเฉพาะผู้ชาย ซ่ึงจะต้องมีความโลดโผนพอสมควร การแต่งกายจะนุ่งผ้าหยักรั้ง เพ่ือแสดงลายสักมักไม่สวมเสื้อ การแสดงจะเร่ิมจากการไหว้ครูแล้วหยิบดาบ ๒ มือ ข้ึนกวัดแกว่ง ไปโดยรอบร่างกาย ไปตามจังหวะของดนตรี ประกอบดว้ ย กลองตุ้ม แคน ผ่างฮาด ฆ้องโหม่ง และฉาบ เป็นต้น ทั้งนี้ ไม่พบว่า มีการนาดาบเข้าฟาดฟัน เพื่อการปะลองฝีมือหากเปน็ ไปเพอ่ื การแสดง พละกาลังและไหวพรบิ ปฏิภาณของผแู้ สดงเทา่ น้นั

๑๕ ศิลปะการแสดงฟ้อนภูไทดา (ภูไทสกลนคร) ของคณะครูจังหวัดสกลนคร ถ่ายเมือ่ พทุ ธศักราช ๒๔๙๘ ทม่ี า : คณุ สุดใจ ศรดี ามา ๓. รำภูไท (ฟ้อนภูไท) การราภูไทหรือฟ้อนภูไทสกลนคร เป็นการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์สาคัญอย่างหน่ึงของจังหวัดสกลนคร ในปัจจุบัน มักใช้แสดงในงานประเพณีและโอกาสสาคัญ อาทิ งานนมัสการพระธาตุเชิงชุมและพระพุทธองค์แสน งานประเพณีออก พรรษาและแห่ปราสาทผ้ึงและใช้แสดงในงานต้นรับแขกผู้มาเยือน มักไม่จากัดจานวนผู้แสดง การฟ้อนภูไทสกลนครนี้ ประดิษฐ์ข้ึน เม่ือราวปีพุทธศักราช ๒๔๙๘ โดยคณะครูจังหวัดสกลนคร เพื่อใช้เป็นชุดการแสดงถวายในคราว ท่ีพระบาทสมเด็จ

๑๖ พระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พันปีหลวง เสด็จเย่ียมราษฎรชาวจังหวัดสกลนครเป็นคร้ังแรก ต่อมาได้มีการสร้างสรรค์ใหม่โดย อาจารย์บุญปัน วงศ์เทพ อดีตข้าราชการครูโรงเรียนบ้านหนองศาลา ตาบลฮางโฮง อาเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร เป็นชุดท่าราจานวน ๗ ท่า ประกอ บด้วย ท่าบัวตูม ท่า บัวบาน ท่าแซงแซวลง หาด ท่ามยุเรศราแพน ท่าบังแสงสุริยา ท่านาคีม้วนหาง และท่านางไอ่ เ ลี ย บ ห า ด เ ป็ น ต้ น โ ด ย ท า ก า ร ร า ป ร ะ ก อ บ เ นื้ อ ร้ อ ง และจังหวะเคร่ืองดนตรี อาทิ กลองกิ่ง กลองหาง กลองเตะ แคน ผ่างฮาด ฆ้องโหม่ง และฉาบ เป็นต้น ปัจจุบันศิลปะการแสดง ฟอ้ นภูไทสกลนครยงั คงมผี ู้สามารถถา่ ยทอดทา่ ราไดห้ ลายท่าน ๔ . ร ำ ห ำ ง น ก ยู ง ( ฟ้ อ น ห า ง น ก ยู ง ) ร า ห า ง น ก ยู ง หรือการแสดงฟ้อนหางนกยูงบนหัวเรือ เป็นการแสดงที่มีความสาคัญ และเป็นเอกลักษณ์ของชาวเมืองสกลนคร มักนามาแสดงในงาน ประเพณีแข่งขันเรือยาวประจาปี การแสดงน้ีประดิษฐ์ข้ึน เพื่อใช้ราบนหัวเรือแข่ง เพื่อบวงสรวงต่อแม่ย่านางเรือ และโชว์พละกาลังของผู้แสดง ศิลปะการแสดงชุดน้ีเริ่มประดิษฐ์คิดค้น ทาเปน็ แบบแผนในราวปี พ.ศ.๒๕๑๑ โดยอาจารยจ์ าลอง นวลมณี

๑๗ ทั้งนี้ ผู้แสดงจะมีเฉพาะผู้ชาย ซึ่งจะต้องมีความโลดโผน พอสมควรเพราะร่ายราอยู่บนหัวเรือ จึงต้องอาศัยเทคนิคส่วนบุคคล ในการพยุงตัว ขณะเรือแล่นบนผืนน้า การแต่งกายผู้แสดงจะนุ่งผ้า หยักรั้งเพ่ือแสดงลายสัก มักไม่สวมเสื้อ อุปกรณ์การแสดงหลัก คือ “ช่อแพนหางนกยูง” จานวน ๑ คู่ เมื่อเร่ิมการแสดง ผู้ แ ส ด ง จ ะ ท า ก า ร ไ ห ว้ ค รู แ ล้ ว ห ยิ บ ช่ อ แ พ น ห า ง น ก ยู ง กวัดแกว่งไปตามจังหวะของดนตรี ปัจจุบันมีการประดิษฐ์ และปรับปรุงท่ารา ปรากฏชุดท่าราท่ีชัดเจน ดังน้ี ท่าราเดียว ประกอบด้วย ๑๕ ท่า คือ ท่าหอบธรณี (จัดเป็นท่าไหว้ครู) ท่าบูชาแถน ท่าตีวงมนต์ ท่ากระโจนจิกเหย่ือ ท่าปัดรังควาญ ท่ า พ ญ า น ก พื น ปี ก ( น ก ก ร ะ พื อ ปี ก ) ท่ า น ก ยู ง ฟ้ อ น ห า ง ท่ายูงม้างเฮือนมาร ท่าบัวตูมบัวบาน ท่าแฮกคงคา ท่าบุปผาสวรรค์ ท่านางไอ่เลียบหาด ท่าผงาดทะยานฟ้า ท่านกยูงราแพน และท่านกยูงเลาะฮัง ในส่วนของท่าราคู่ ประกอบด้วย ๑๐ ท่า คือ ท่าหอบธรณี (จัดเป็นท่าไหว้ครู) ท่าบูชาแถน ท่าตีวงมนต์ ท่า น ก ยู ง ปั ด ล า น ท่า นก ยู ง ฟ้อนหา ง ท่า นก ยู ง รา แพน ท่ า น ก ยู ง เ กี้ ย ว คู่ ท่ า น ก ยู ง ส ะ อ อ น คู่ ท่ า บั ว ตู ม บั ว บ า น และท่านกยูงเมือฮงั

๑๘ ศิ ล ป ะ ก า ร แสด งชุ ดน้ี มีเค ร่ือง ดนตรีป ระกอบจังหวะ อาทิ กลองก่ิง กลองตุ้ม แคน กระจับปี่ ซอบ้ังไม้ไผ่ ผ่างฮาด ฆ้องโหม่งและฉาบ เป็นต้น ปัจจุบันศิลปะการแสดงราหางนกยูงบน หัวเรือยังคงมีผู้สามารถถ่ายทอดท่าราประกอบด้วย อาจารย์พิศไสว วงศ์กาฬสินธ์ุ โรงเรียนนิรมลวิทยา ตาบลเชียงเครือ อาเภอเมือง สกลนคร จังหวัดสกลนคร และนายประณต กันเสนา คุ้มวัดพระธาตุ เชงิ ชมุ ตาบลธาตเุ ชิงชมุ อาเภอเมืองสกลนคร จงั หวัดสกลนคร ๕. รำมวยโบรำณสกลนคร การรามวยโบราณหรอื การรามวย โบราณสกลนคร เป็นศิลปะการแสดงท่ีพัฒนามาจากลีลาการป้องกัน ตัวของมวยสานักต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการแสดงที่เรียกว่า “เจิงมือเปล่า” ของกลุ่มพ่อค้าชาติพันธ์ุไทใหญ่ที่เดินทางมาค้าขาย ณ เมืองสกลนคร ในช่วงปี พ.ศ.๒๔๔๐ – ๒๔๘๐ ศิลปะการแสดง มวยโบราณสกลนคร ริเริ่มโดยอาจารย์จาลอง นวลมณี เม่ือปี พ.ศ. ๒๔๗๐ โดยระยะแรกนิยมนามาแสดงเพ่ือโชว์พละกาลังและไหวพริบ ปฏิภาณของผู้แสดง ระยะหลังมีการนามาแสดงในขบวนแห่ใน เทศกาลประเพณีและแสดงในโอกาสสาคัญ ซึ่งผู้เรียบเรียงจะกล่าว ในส่วนถัดไป

๑๙ ๖. กำรเล่นลำยกลองก่ิง การเล่นลายกลองกิ่ง เป็นการแสดง พ้ืนถ่ินอย่างหน่ึงของสกลนคร มักแสดงประกอบกับการฟ้อนภูไท โดยใช้เคร่ืองดนตรีประกอบ คือ “กลองกิ่ง” ลักษณะเป็นกลอง พื้นถิ่น ๒ หน้า หน้าหนึ่งกว้าง หน้าหน่ึงแคบ จานวน ๑ คู่ วางสลับ หน้ า ก ว้ า ง แ ละ หน้ าแคบ ใ นแนว รา บ ผู้เล่ น มัก เป็ นผู้ชาย แต่งกายด้วยการนุ่งผ้าหยักร้ัง โดยผู้เล่นต้องอาศัยไหวพริบปฏิภาณ ใ น ก า ร ใ ช้ ไ ม้ ตี ไ ป ที่ ห น้า กล อ ง ท้ั ง ส อง ใ บ ใ ห้ เ ป็ น จัง หว ะ ด้วยความกระฉับกระเฉง ในปัจจุบันมีการประดิษฐ์ และปรับปรุง ให้เกิดลีลาท่าทางที่ชัดเจน ประกอบด้วย ๑๑ ท่า คือ ท่าพญาแหลว ไล่ไก่ ท่าสาวภูไทลงเขา ท่าเสือลากหาง ท่านกเขากระพือปีก ท่าบา่ วภูไทเลาะตบู ท่าไกโ่ อกเลยี บเลา้ ท่านงั่ คอช้าง ทา่ กวางเหลยี วเหลา่ ทา่ เคาะหลังงูสิง ทา่ ลงิ นอนหอ้ ง ทง้ั นี้ ขึน้ อยู่ว่า ผู้ แสดงจะตีท่าไหนก่อน ศิลปะการแสดงชุดนี้มีเครื่องดนตรีประกอบ จังหวะ อาทิ กลองตุ้ม กลองเตะ แคน ผ่างฮาด ฆ้องโหม่งและฉาบ เป็นต้น ท้ังน้ี การเล่นลายกลองกิ่งยังคงมีผู้สามารถถ่ายทอด ประกอบด้วย อาจารย์สุขสันต์ สุวรรณเจริญ ข้าราชการบานาญ กระทรวงศึกษาธิการ และอาจารย์พิศไสว วงศ์กาฬสินธุ์ โรงเรียน นิรมลวทิ ยา ตาบลเชยี งเครือ อาเภอเมอื งสกลนคร จังหวัดสกลนคร

๒๐ ศิลปะการแสดงพื้นถิ่นสกลนคร มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว และมีความหลากหลายและเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นซึ่งมีลักษณะ เฉพาะตัว ท่ีสามารถสะท้อนให้เห็นถึงองค์ความร้ ภูมิปัญญา และอตั ลกั ษณเ์ ฉพาะของชาวสกลนครไดเ้ ป็นอยา่ งดี ด้วยเหตนุ ี้จึงสง่ ผล ให้ศิลปะการแสดงพื้นถิ่นดังท่ียกตัวอย่างมายังคงเป็นท่ีนิยมอย่าง แพร่หลาย และมีการถ่ายทอดเพื่อใช้ในการแสดงในงานเทศกาล และโอกาสสาคญั ตา่ ง ๆ อยเู่ สมอ.

๒๑ ศิลปะกำรแสดงพน้ื ถนิ่ สกลนคร “รำมวยโบรำณสกลนคร” รามวยโบราณสกลนคร เป็นศิลปะการแสดงการต่อสู้พ้ืนถ่ิน ของสกลนคร ที่ผสมผสานไปด้วยศาสตร์และศิลป์ ลีลาท่าทาง อย่างมีช้ันเชิง ท้ังน้ี เน้นหนักไปทางด้านการแสดงและนันทนาการ เป็นหลัก นับได้ว่า เป็นศิลปะการแสดงพื้นถ่ินท่ีเอกลักษณ์อย่างหน่ึง ของสกลนคร ท่ีมำและควำมสำคัญ “มวยโบราณ” เป็นชื่อเรียกศิลปะการต่อสู้แบบดั้งเดิมอย่างหน่ึง พัฒนามาจากสัญชาติญาณการป้องกันตัวของมนุษย์ ที่ใช้อวัยวะ ของร่างกายในส่วนของ มือ เท้า เข่า ศอก มาเป็นอาวุธป้องกันตัว ซ่ึงล้วนแล้วต้องอาศัย ชั้นเชิงความสามารถและไหวพริบและปฏิภาณ ส่วนบุคคลเพื่อเอาชนะคู่ต่อสู้ ท่ีพบเห็นได้ในภูมิภาคต่าง ๆ ข อ ง ป ร ะ เ ท ศ ไ ท ย มั ก มี ลี ล า ท่ า ท า ง ท่ี ง ด ง า ม แ ล ะ แ ฝ ง ไปด้วยความน่าเกรงขาม ที่ผู้แสดงแต่ละสานักประดิษฐ์ และสร้างสรรค์ข้ึน จากอากัปกิริยาท่าทางของธรรมชาติและสิ่งมีชีวิต เปน็ หลกั

๒๒ อาจารย์จาลอง นวลมณี ผู้ประดิษฐ์สร้างสรรค์แม่ท่ารามวยโบราณสกลนคร ถา่ ยเมื่อพทุ ธศกั ราช ๒๕๒๕ ที่มา : พพิ ิธภัณฑ์เมืองสกลนคร มหาวทิ ยาลัยราชภฏั สกลนคร

๒๓ “รามวยโบราณสกลนคร” เป็นศิลปะการแสดงการต่อสู้ป้องกัน ตัวแบบพื้นถ่ินของผู้ชายชาวคุ้มต่าง ๆ ในตัวเมืองสกลนคร เพ่ือโชว์พละกาลัง ความสามารถและช้ันเชิงตามแต่รูปแบบ และแนวความคิดของสานักน้ัน ๆ ในปัจจุบัน จัดเป็นศิลปะการแสดง พ้ืนถิ่นของสกลนครท่ีมีเอกลักษณ์เฉพาะ ท้ังนี้ เกิดจากการผสมผสาน ศิลปะการป้องกันตัวจากมวยพื้นถ่ินต่าง ๆ ท่ีมีอยู่ในหลายรูปแบบ ให้เป็นหนึ่งเดียวโดยการสร้างสรรค์ขึ้นของอาจารย์จาลอง นวลมณี ชาวตาบลธาตุเชิงชุม อาเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร ในระหวา่ งปพี ุทธศกั ราช ๒๔๗๐ – ๒๕๐๐ การรามวยโบราณสกลนคร ที่ปรากฏในอดีตและปัจจุบัน มีลักษณะของรูปแบบลลี าท่าทางและแนวคิด ท่ีค่อนข้างคล้ายกบั ศลิ ปะ การป้องกนั ตัวทเี่ รียกว่า “ฟอ้ นเจิง” หรือ “เจิงมือเปล่า” ซ่ึงเป็นศิลปะ การป้องกันตัวอย่างหนึ่งอันเป็นท่ีนิยมของกลุ่มประชากรท่ีเรียกว่า “ไต” หรือ “ไท” ท่ีมีถิ่นฐานอาศัยในพื้นที่ภาคเหนือของไทยและ บางส่วนในประเทศพม่า การฟ้อนเจิง ตามท่ีกล่าวมาน้ัน เป็นศิลปะการแสดงในการประลองไหวพริบปฏิภาณอย่างมีช้ันเชิง โดยเฉพาะอย่างย่ิงการแสดงอากัปกิริยา หยอกล้อเล่นกันระหว่างคู่ ต่อสู้อีกดว้ ย

๒๔ การรามวยโบราณสกลนคร ในอดีตที่จัดขึ้นในงานเทศกาล ประเพณีหรือโอกาสสาคัญนั้น หากมีขบวนแห่หรือการเฉลิมฉลอง ก็ มั ก จ ะ จั ด ใ ห้ ผู้ ช า ย แ ต่ ล ะ คุ้ ม อ อ ก ม า ร า ม ว ย ด้ ว ย ลี ล า ท่ า ท า ง ก า ร เ ค ล่ื อ น ไ ห ว โ ย ก ย้ า ย อ วั ย ว ะ ส่ ว น ต่ า ง ๆ ข อ ง ร่ า ง ก า ย ไปตามจังหวะของเสียงดนตรี ซ่ึงแสดงให้เห็นว่า ศิลปะการแสดง การป้องกันตัวในลกั ษณะน้ีเนน้ หนักไปทางการแสดงและนันทนาการ มากกวา่ การต่อสเู้ อาชนะกนั อยา่ งจริงจงั . จำนวนผูแ้ สดงและลกั ษณะกำรแต่งกำยผูแ้ สดง ศิลปะการแสดงพื้นถ่นิ มวยโบราณสกลนคร เป็นศิลปะการแสดง ที่ไม่จากัดจานวนผู้แสดง ข้ึนอยู่ตามรูปแบบการแสดง โดยเร่ิมที่ ๑ คนข้ึนไป สามารถแสดงลีลาท่าทางตามแม่ท่าต่าง ๆ เพื่อให้เกิด ความสนุกสนาน ในส่วนของลักษณะการแต่งกายผู้แสดง ในอดีตผู้ชายมักนุ่งโจงกระเบน ในชีวิตประจาวันอยู่แล้ว หากจะทาการแสดงก็จะเปล่ียนเป็นการนุ่งผ้าแบบหยักร้ั งม้วนผ้า เป็นหางกระเบน ต่อจากน้ันม้วนชายผ้าจากด้านล่างขึ้นข้างบน โดยม้วนเข้าด้านในจนถึงต้นขาเพื่อให้เห็นลายสัก แล้วเหน็บ หางกระเบนเข้าที่กระเบนเหน็บและใช้ผ้าขิดหรือผ้าขาวม้ารัดให้แน่น ส่วนของต้นแขนรัดด้วยผ้าประเจียด ศีรษะรัดด้วยมงคลหรือผ้ายันต์ ส่วนของลายสกั ในปจั จบุ ันนยิ มใช้ปากกาเคมี เขียนจาลองขึน้ ทดแทน

๒๕ การแตง่ กายผู้แสดงรามวยโบราณสกลนคร ท่มี า : พพิ ธิ ภัณฑเ์ มอื งสกลนคร มหาวิทยาลยั ราชภฏั สกลนคร

๒๖ รูปแบบวธิ กี ำรแสดง ศิลปะการแสดงพน้ื ถนิ่ รามวยโบราณสกลนคร มีการจดั รปู แบบ การแสดงออกเป็น ๓ ประเภท ประกอบดว้ ย ๑. การแสดงมวยโบราณประเภท “ราเดย่ี ว” ๒. การแสดงมวยโบราณประเภท “ราหม”ู่ ๓. การแสดงมวยโบราณประเภท “ตอ่ ส”ู้ หรอื “ตีมวย” กำรแสดงมวยโบรำณประเภท “รำเดย่ี ว” ก า ร แ ส ด ง ม ว ย โ บ ร า ณ ร า เ ดี่ ย ว ห รื อ ก า ร แ ส ด ง บ น เ ว ที มักมีผู้แสดงเพียงคนเดียว เป็นการแสดงเพ่ือโชว์พละกาลัง ความสามารถของผู้แสดง โดยมีแม่ท่าทั้งหมด ๑๔ แม่ท่า อีกทั้งยงั จัดเปน็ ทา่ ไหวค้ รูกอ่ นทาการ “ตอ่ สู้” หรอื “ตีมวย” มดี ังนี้ ๑. ท่ำเสือออกเหลำ่ ท่าเสือออกเล่า นับ เป็นท่าเร่ิมต้นหรือท่าออกสู่เวที โดยผู้แสดงจะทะยานออกจากฉากอย่างรวดเร็ว พร้อมกับใช้มือ ทั้งสองข้างตบลอดขา ทั้งสองข้างอย่างว่องไว แล้วยกแขนข้างหนึ่ง ให้สูงข้ึน เพื่อเปิดช่องว่างให้ตบสีข้างใต้รักแร้ ตามด้วยการตบท่ีใต้ ศอก หลังมือ เข่า ไหล่ สน้ เทา้ และขาดา้ นนอก แล้วกระโดดถอยหลงั

๒๗ ทา่ เสอื ออกเหลา่ ท่มี า : พพิ ธิ ภณั ฑเ์ มอื งสกลนคร มหาวทิ ยาลยั ราชภฏั สกลนคร

๒๘ และโยกตัวไปข้างหน้า พร้อมกับตบมือ และหมุนตัวตบยอดอก ด้วยฝ่ามือท้ังสองข้าง แล้วใช้หลังมือข้างหนึ่ง ตบขาใน และกระโดด เตะฝ่ามือ ท่ียื่นไปข้างหน้า แล้วท้ิงตัวลงในท่าย่อเขา ลากขาอีกข้าง หนึ่งไปข้างหลังในท่าแอ่นอก กางศอก มือกา วางไว้ที่บั้นเอว ทั้งสองข้าง สายตาผู้แสดงสอดส่ายไปมาช่ัวขณะหน่ึง แล้วกางแขน ท้ังสองออกให้ขนานกับพื้นโดยขาท่ีอยู่ข้างหลังยังเหยียดตึงอยู่ ต่อไปใหย้ กขาทีเ่ หยียดอยูข่ ้างหลังสงู ขึน้ ในระดับบ้ันเอว แล้วม้วนแขน ทั้งสองข้าง เข้าหาที่บริเวณท้องน้อยแล้วจีบมือทั้งสอง ยกชูสูงขึ้น เหนือศีรษะให้แขนและปลายมือเหยียด โดยแหงนหน้ามองข้ึนสู่ ด้านบน เป็นการแสดงความเคารพต่อพญาแถน เรียกอย่างหน่ึงว่า “ราถวายแถน”

๒๙ ส่วนหนึ่งของท่าเสือออกเหลา่ ท่มี า : พพิ ิธภัณฑเ์ มืองสกลนคร มหาวทิ ยาลยั ราชภฏั สกลนคร

๓๐ ๒. ท่ำย่ำงสำมขมุ ท่าย่างสามขุม มีลักษณะเด่นคือ การเหยาะย่างอย่าง ทะมัดทะแมง ซึ่งเป็นท่าต่อเนื่องจากราถวายแถน คือให้ลดแขน ทั้งสองที่ชูเหนือศีรษะลงมา ให้มือข้างหนึ่งวางไว้ท่ีขาซ่ึงยกอยู่แล้ว โดยกามือตั้งไว้ท่ีขา และมืออีกข้างหน่ึงกาวางไว้ที่บั้นเอว กางศอกท้ังสองข้าง ยกไหล่ให้ผึ่งผาย ส่ายตามองหาคู่ต่อสู้ แล้วเหยาะย่างไปข้างหน้า โดยกระทืบเท้าลงซ้นอย่างหนัก ๓ คร้ัง แล้วยืนทรงตัวด้วยขาข้างเดียวอย่างสง่า ผ่าเผย โดยสอดส่ายสายตา เขา้ หาค่ตู ่อสู้

๓๑ ทา่ ยา่ งสามขุม ท่มี า : พพิ ิธภัณฑ์เมอื งสกลนคร มหาวทิ ยาลยั ราชภฏั สกลนคร

๓๒ ๓. ท่ำกมุ ภัณฑ์ถอยทัพ ท่ากุมภัณฑ์ถอยทัพ มีลักษณะเด่น คือ การแสดงลีลาท่าทาง ถอยไปข้างหลัง โดยก้าวขาที่ยกสูงระดับเอวอยู่น้ันไปข้างหน้า พร้อมกับยกมือท่ีต้ังอยู่ท่ีขา ให้สูงและเหว่ียงข้ามศีรษะไปต้ังไว้ ท่ีบั้นเอว กามือให้แน่น ส่วนมืออีกข้างหนึ่ง ตระหวัดลงข้างล่าง ม้วนแขนขึ้นมาให้ต้ังไว้ที่เข่า ซ่ึงยกขายื่นไปข้างหน้ารออยู่แล้ว ให้ทาหน้าตากลอกหลอกล่อ โดยใช้ขายังยืนทรงตัวอยู่ข้างเดียว เมื่อได้จังหวะดนตรีผแู้ สดงก็จะเปลี่ยนข้าง ในลักษณะถอยไปข้างหลัง อย่างเดิมจนรู้สึกว่าถอยมาอยู่กลางเวที พอท่ีจะแสดงราท่าต่อไปได้ สะดวก เป็นการถอยมาเพ่ือตั้งหลักเพื่อเข้าสู่ท่าลับหอกโมกขศักด์ิ ต่อไป

๓๓ ท่ากุมภณั ฑ์ถอยทพั ท่ีมา : พิพธิ ภณั ฑเ์ มอื งสกลนคร มหาวทิ ยาลยั ราชภฏั สกลนคร

๓๔ ๔. ลบั หอกโมกขศักด์ิ ท่าลับหอกโมกขศักด์ิ มีลักษณะเด่นคือการโยกตัวเหยียดขา ๔๕ อาศา ผู้แสดงจะลดขาที่ยกอยู่ระดับเอว ให้ต่าลงมาติดกับพ้ืน และชิดกับเท้าที่ยืนอยู่แล้ว แขนท้ังสองข้างกางออกให้ขนานกับพ้ืน โดยหนั ตัวไปทางขา้ ง แลว้ ยอ่ เขา่ ข้างหนึ่งลง กับเหยียดขาอกี ขา้ งหน่ึง ออกไปให้ตึง ในระดับ ๔๕ องศา และเหยียดแขนอีกข้างท่ีเข่าย่อลง ให้ตรงชูให้สูงพ้นศีรษะประมาณ ๔๕ องศา มือฟ้อนราในลักษณะ หมุนเป็นวงกลม ส่วนแขนอีกข้างหนึ่งเหยียดลงข้างล่างให้ได้แนว เดียวกับแขนที่เหยียดขึ้นข้างบน มือก็ให้ฟ้อนราเหมือนกัน ทาอย่างน้ี สักสองหรือสามครั้ง เม่ือทาข้างหนึ่งเสร็จแล้วก็ให้ทาอีกข้างหน่ึง สลับกนั ไป ต่อไปใหย้ กขาท้ังสองมาชดิ ติดกัน และค่อย ๆ ย่อตวั ลงนั่ง บนส้นเท้า ส่วนแขนทั้งสองมารวมกันที่หน้าอก แบมือและคว่าฝ่ามือ ลง พร้อมขยับไปมาหลายคร้ัง จนลงไปน่ังส้นเท้า แล้วกางแขนออก ทั้งสองข้างให้ขนานกับพื้น หงายมือขึ้นสลัดปลายน้ิวให้เข้าจังหวะ ดนตรี

๓๕ ท่าลับหอกโมกขศักดิ์ ท่ีมา : พพิ ธิ ภัณฑ์เมอื งสกลนคร มหาวทิ ยาลยั ราชภฏั สกลนคร

๓๖ ๕. ตบผำบปรำบมำร ท่าตบผาบปราบมาร มีลกั ษณะคลา้ ยการตบมะผาบและฟอ้ นเจิง ของภาคเหนือ คือนักมวยจะลุกข้ึนและกระโดดไปข้างหน้า พร้อมกับตบมือไปข้างหลังและข้างหน้ากับตบลอดขาท้ังสองข้าง อย่างว่องไว ติดต่อด้วยตบยอดอกทั้งสองมือ ตบขาใน เข่าใน เข่านอก ตาตุ่มใน ตาตุ่มนอก สีข้าง ใต้ศอก หลังมือ เข่า ไหล่ ส้นเทา้ และขานอก เป็นอันหมดลายตบครั้งแรก แล้วกระโดดไปขา้ ง ๆ แสดงการตบยอดอกด้วยมือท้ังสองข้าง และต่อด้วยขาใน จนถึงขานอกอย่างท่ีทามาแล้วในลายตบคร้ังแรก โดยทาสลับกันไป ท้ังน้ี ขึ้นอยู่ที่ผู้แสดงว่าจะทาก่ีครั้ง เพราะเป็นท่าที่ต้องใช้ พละกาลังมาก ต้องตบตีอย่างแรงและหนักแน่นเพื่อให้มีเสียงดัง เพื่อให้เป็นทีย่ าเกรงของคูต่ อ่ สู้

๓๗ ทา่ ตบผาบปราบมาร ท่ีมา : พพิ ธิ ภณั ฑเ์ มอื งสกลนคร มหาวทิ ยาลยั ราชภฏั สกลนคร

๓๘ ๖. ทำ่ ทะยำนเหยอื่ เสอื ลำกหำง กวำงเหลียวหลัง ท่าทะยานเหยื่อ เสือลากหาง กวางเหลียวหลัง มีลักษณะเด่น คือ เป็นท่าโดยต่อจากท่าตบผาบปราบมาร ครั้นจบท่าจะเต้น ออกไปข้าง ๆ มือท้ังสองตบยอดอก และยกขาข้างหนึ่งขึ้นให้สูง พองาม แล้วใช้หลังมือข้างที่ขายกนี้ ตีขาในท่ียกไว้แล้ว และใช้เท้า ข้ า ง ที่ ใ ช้ ยื น โ ด ด เ ต ะ ฝ่ า มื อ ท่ี ย่ื น ไ ป ข้ า ง ห น้ า ใ น ร ะ ดั บ สู ง พร้อมกับกระโดดข้ึนตบมือทั้งสองข้างเหนือศีรษะ เรียกว่า “เสือทะยานเหย่ือ” แล้วต่อมาผู้แสดงจะเอี้ยวตัวมาตบฝ่าเท้า ที่อยู่คนละข้างกับมือ ซ่ึงได้ยกฝ่าเท้ารอรับอยู่ แล้วลากเท้าท่ีถูกตบ ให้ย่ืนออกไปและกระทุ้งปลายเท้ากับพ้ืนเบา ๆ ตามจังหวะดนตรี ส่วนแขนทั้งสองข้างก็กางออก เรียกว่า “เสือลากหาง” ต่อไปผู้รา จะเอ้ียวตัวหันมาในแนวเดียวกับเท้าท่ีตบลากหางเสืออยู่ และแขน ทั้งสองก็มารวมกัน เหยียดย่ืนออกไปคู่ขนานกับเท้าที่ตบพื้นอยู่ หนั หน้าแลเหลยี วตามแขนท่ีเหยียดอยู่ เรยี กว่า “กวางเหลียวหลงั ”

๓๙ ทา่ ทะยานเหยื่อ เสอื ลากหาง กวางเหลียวหลงั ท่ีมา : พพิ ธิ ภัณฑ์เมืองสกลนคร มหาวทิ ยาลยั ราชภฏั สกลนคร

๔๐ ๗. ท่ำไกเ่ ลียบเลำ้ ท่าไก่เลียบเล้า มีลักษณะเด่น คือ ผู้แสดงจะย่อขาท่ียืนอยู่ให้ สูงข้ึนในระดับเอว เปล่ียนขาที่ใช้เท้ากระทุ้งพื้นเป็นยืนขาเดียว แขน ท้ังสองยกข้ึนร่ายราไปมาแบบ “นาคีม้วนหาง” แล้วเกร็งท่อนแขน ข้างหน่ึง ยกขึ้นตั้งฉากกับลาตัวตั้งศอกไว้ท่ีเข่า แขนอีกข้างหน่ึงกาง ศอกกามือตั้งอยู่ท่ีบ้ันเอว แล้วขยับลาตัวและเหยาะย่างอย่างมีจังหวะ แล้วยืนทรงตัวด้วยขาข้างเดียว ยืดตัวตรงอย่างสง่าผ่าเผย สว่ นแขนทง้ั สองข้างก็ร่ายราไป แลว้ มว้ นขอ้ มอื ยกสูงขึน้ ๆ จนสุดแขน ในรูปตัว วี และเงยหน้ามองตามมือข้ึนไป แล้วตวัดแขนเหวี่ยงข้าม ศีรษะย่อเข่าลง และหมุนตัวกลับขยับลาตัวเหยาะย่างอย่างมีจังหวะ ทาเหมือนคร้ังแรก แต่คนละข้างไป ทาก่ีรอบก็ได้แล้วแต่พละกาลัง ของผู้แสดง

๔๑ ทา่ ไก่เลียบเล้า ท่ีมา : พิพธิ ภณั ฑ์เมอื งสกลนคร มหาวิทยาลยั ราชภฏั สกลนคร

๔๒ ๘. ทำ่ น้ำวคนั ศร ท่าน้าวคันศร มีลักษณะเด่น คือ ผู้แสดงจะเหยาะย่าง เต้ียต่า แล้วหยุดยกขาข้างหนึ่งสูงขึ้น และยืดตัว ยืดขาให้ตรง และทรงตัวอยู่ ด้วยขาข้างเดียว ยกแขนไปข้างหน้าต้ังฉากกับลาตัว และแขน อีกข้างหนึ่งยื่นไปข้างหลังอยู่ในระดับเดียวกัน ในลักษณะน้าวคันศร แล้วค่อย ๆ โน้มตัวไปข้างหน้า จากนั้นลดขาท่ียกสูงลงมาแตะพ้ืน ย่อเข่าเล็กน้อย พร้อมกับยกเข่าที่ยืนทรงตัวอยู่ให้สูงข้ึน คลายมือท้ัง สองข้างให้แบออก แล้ววาดแขนและขาท่ีอยู่ข้างหลังไปข้างหน้า พร้อม ๆ กัน ขายกสูงอยู่ระดับเอว แขนม้วนเข้าบริเวณหน้าอก ตวัดเหยียดไปข้างหน้าขนานกับพ้ืน แขนข้างหน้าวาดข้ามศีรษะ ไปขา้ งหลังอยรู่ ะดบั เดียวกบั แขนที่ยืน่ ไปข้างหนา้ ในลักษณะน้าวคันศร เช่นเดียวกับท่ีทามาแล้ว ค่อย ๆ โน้มตัวไปข้างหน้า ลดขาท่ียกสูงลง จนจดพ้ืน ย่อเข่าลงเล็กน้อยพร้อมกับยกขาที่ยืนอยู่ให้สูงขึ้น คลายมือ ทงั้ สองขา้ งออก ประดุจปลอ่ ยลูกศรออกจากแหลง่ เปน็ คร้ังท่สี อง


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook