Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore 2. 181 ปี เหลียวหน้าแลหลังประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเมืองสกลนคร

2. 181 ปี เหลียวหน้าแลหลังประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเมืองสกลนคร

Published by wilawan phiwon, 2021-02-17 03:36:51

Description: 2. 181 ปี เหลียวหน้าแลหลังประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเมืองสกลนคร

Search

Read the Text Version



ก ๑๘๑ ปี เหลียวหนา้ แลหลัง ประวัตศิ าสตรท์ ้องถิ่นเมอื งสกลนคร พจนวราภรณ์ เขจรเนตร พพิ ธิ ภัณฑเ์ มอื งสกลนคร มหาวทิ ยาลยั ราชภฏั สกลนคร จดั พิมพ์เผยแพร่

ก ๑๘๑ ปี เหลียวหนา้ แลหลงั ประวตั ิศาสตร์ทอ้ งถ่นิ เมอื งสกลนคร ผเู้ รียบเรยี ง : นายพจนวราภรณ์ เขจรเนตร ปีท่ีพมิ พ์ : ๒๕๖๒ จานวนทีพ่ ิมพ์ : ๕๐๐ เลม่ จัดพมิ พ์โดย : พพิ ธิ ภณั ฑ์เมอื งสกลนคร มหาวิทยาลัยราชภฏั สกลนคร คณะทางาน : ดร. สถิตย์ ภาคมฤค รองผู้อานวยการสถาบนั ภาษา ศิลปะและวฒั นธรรม นางสาวชุตมิ า ภลู วรรณ นางสาวสิรยิ ากร ฤาชัยสา นายกฤษดากร บันลือ นางสาวอลสิ า ทับพิลา นางสาวฑติ ฐติ า รัตนไตร นางสาวสกุ ญั ญา มีเทย่ี ง นางสาวนิระชา ตะวงค์ นายพฒั นพงษ์ คาพทิ ูล นายวิระชยั อัศวาวุฒิ ท่ีปรกึ ษา : พระครูปลดั ศรีธรรมวฒั น์ พระครสู งั ฆรกั ษภ์ าณฑุ ัตต์ ภาณทุ ตั โต นายทองปาน รักษาพล นางฟองจันทร์ อรุณกมล นายประสิทธิ์ คะเลรัมย์ ดร.เกรยี งไกร ปรญิ ญาพล นางอมราวดี พรหมสาขาฯ นายดาเกิง วงศ์กาฬสนิ ธุ์ ผศ.ปรชี า ธรรมวินทร ผศ.ดร.สพสนั ติ์ เพชรคา ดร.ปูริดา วิปชั ชา ผศ.ดร.วิจิตรา วงศอ์ นุสทิ ธิ์ ผศ.พทิ กั ษช์ ัย จตชุ ยั ดร.ธรี ะวัฒน์ แสนคา ดร.เกรียงไกร ผาสตุ ะ นายธวัชชยั ดลุ ยสจุ รติ ดร.อธริ าชย์ นนั ขันตี ดร.พิมพ์อมร นิยมคา้ นางสาวกณั ฑกิ า กลอ่ มสุวรรณ นางประภากร พรหมโสภา นางสาวสกลรตั น์ พูนทองอนิ นางเพ็ญพรรษา อยุ้ ปดั ฌาวงศ์ นางสาววรรณพร หันไชยงุ วา คณะกรรมการอานวยการ : นายสุรสทิ ธ์ิ อุย้ ปดั ฌาวงศ์ ผู้อานวยการสถาบันภาษา ศลิ ปะและวฒั นธรรม ผศ.ดร.พุฒจักร สิทธิ นางสาววิชญานกาญต์ ขอนยาง ภาพ/ออกแบบปก : นายหตั ธไชย ศริ สิ ถิต พมิ พท์ ี่ : พิพธิ ภัณฑเ์ มืองสกลนคร มหาวทิ ยาลยั ราชภฏั สกลนคร สงวนลขิ สทิ ธต์ิ ามกฎหมาย

ก คานา เมืองสกลนครมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาอันยาวนาน มีความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติและมีความเจริญรุ่งเรือง ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม รวมท้ังความหลากหลาย ทางวัฒนธรรมของชาติพันธ์ุต่าง ๆ การที่บ้านเมืองมีความ เจริญ สืบมาในปัจจุบันก็ด้วยอาศัยหยาดเหง่ือแรงกาย ภมู ิปญั ญาของเหลา่ บรรพชนที่ส่งั สมมาหลายยุคหลายสมยั ท่ามกลางกระแสแห่งโลกาภิวัตน์ในปัจจุบัน การศึกษา ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของท้องถ่ินบ้านเมือง ถูกมองว่า เป็นเรื่องเก่าล้าสมัย แต่ตรงกันข้ามว่า การศึกษารากเหง้า ค ว า ม เ ป็ น ม า ข อ ง ท้ อ ง ถ่ิ น นั บ เ ป็ น สิ่ ง ส า คั ญ อ ย่ า ง ห นึ่ ง อันจะก่อให้เกิดความรู้และความเข้าใจ ท่ีทาให้คนเห็น รากเหง้าของตนเอง เกิดสานึกความเห็นคุณค่า ความภูมิใจ และศักด์ิศรีของส่ิงที่ตนเองมีอยู่ที่เป็นมรดกตกทอดมาจาก บรรพบุรุษในท้องถ่ินความภูมิใจน้ีทาให้คนเรามีความเชื่อมั่น ในตัวเองว่ามีของดีอยู่ สู่การพัฒนาท้องถ่ินให้มีความเจริญ ในอนาคต

ข เน่ืองในโอกาสที่เมืองสกลนคร มีอายุครบ ๑๘๑ ปี ในวันที่ ๑๗ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๖๒ นี้ จึงได้มีการจัดพิมพ์ หนังสือ “๑๘๑ ปี เหลียวหน้าแลหลังประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เมืองสกลนคร” ข้ึน ซึ่งจะเผยแพร่ไปสู่สถานศึกษาทุกระดับ ยังประโยชน์แก่นักเรียน นักศึกษาและประชาชนท่ัวไปได้ร่วม ตระหนักและเกิดความภาคภูมิใจในท้องถิ่นเมืองสกลนคร ต่อไป พิพิธภัณฑ์เมืองสกลนคร ยังมีจุดมุ่งหมายท่ีสาคัญในการ จดั พมิ พเ์ ผยแพรห่ นังสือเลม่ น้ี อกี หลายประการ กล่าวคอื ๑. เพ่ือเสรมิ สรา้ งสานกึ รักทอ้ งถ่นิ ของชาวสกลนคร ๒. เพ่ือส่งเสริมการศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์และวิจัย ผลงานทางด้านประวัติศาสตร์ท้องถ่ินสกลนครให้กว้างขวาง ยิ่งข้นึ ๓. เพื่อร่วมเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสท่ีเมืองสกลนคร มีอายุครบ ๑๘๑ ปี ในวันที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ น้ี หวังเป็นอย่างย่ิงว่า หนังสือเล่มนี้ จะอานวยประโยชน์ให้ เกิดความรักความเข้าใจและตระหนักในการศึกษาเร่ืองราว ของท้องถ่ินย่ิงขึ้น อีกทั้งยังมีส่วนช่วยเสริมสร้างสิ่งท่ีทาให้เกิด สานึกรักท้องถิ่นและประเทศชาตอิ ย่างม่ันคงสบื ไป ผชู้ ่วยศาสตราจารยป์ รีชา ธรรมวินทร อธกิ ารบดมี หาวทิ ยาลยั ราชภฏั สกลนคร

ค คานาผู้เรยี บเรยี ง คาว่า “ประวัติศาสตร์ท้องถ่ิน” มักมีผู้ให้ความหมายที่ แตกต่างกันออกไป โดยบ่งชี้ว่า ประวัติศาสตร์ท้องถ่ิน คือ เร่ืองราวความเป็นมาของท้องถิ่นที่แสดงให้เห็นถึงสภาพวิถี ชีวิต เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และการเปล่ียนแปลงท่ี กระทบทางตรงและทางอ้อมต่อผู้คนทุกชนชั้นท่ีอาศัยอยู่ใน ท้องถิ่นนั้นๆ ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเกิดจากการส่ังสม และ รับรู้จากประสบการณ์จริงของบุคคล หากแต่โดยท่ัวไป ประวัติศาสตร์ท้องถ่ินมักมุ่งเน้นและนาเสนอเรื่องราวและ เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสายตระกูลของบุคคล และสถานที่ สาคญั ในท้องถ่นิ นัน้ ๆ อยู่เสมอ การศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถ่ินสกลนคร เป็นส่ิงสาคัญ อันจะทาให้รู้และเข้าใจเร่ืองราวความเปน็ มาหรือเหตุการณ์ใด เหตุการณ์หน่ึงท่ีเกดิ ขึ้นมาแล้วในอดีตท่ีผ่านมา เร่ืองราวตา่ งๆ เหล่าน้ัน จัดเป็นมรดกทางความทรงจาอย่างหนึ่ง ท่ีถูก ถ่ายทอดจากความทรงจาออกมาเป็นหลักฐานท่ีเป็นลาย ลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร อาทิ ใบบอกเมือง สกลนคร การสัมภาษณ์บุคคลในเมืองสกลนครรวมถึง โบราณสถานสาคัญต่างๆ ในการศึกษาประวัติศาสตร์เรียก หลักฐานเหล่านีว้ ่า หลกั ฐานช้นั ต้น บางส่วนถูกนามาเรียบ

ง เรียงขึ้นใหม่กลายเป็นหลักฐานชั้นรอง อาทิ ตานานเมือง สกลนครหรือพงศาวดารเมืองสกลนครฉบับต่างๆ เอกสาร หนังสือและงานวิจัยเอกสารหนังสือเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ สกลนคร อันเกิดจากการรับรู้ผ่านหลักฐานชั้นต้นและจาก บุคคลในชั้นหลังท่ีมสี ่วนสาคัญในการช่วยอธิบายเร่ืองราวและ ลาดบั เหตกุ ารณจ์ ากหลกั ฐานชั้นต้นได้อย่างดี เมืองสกลนครมีประวัติศาสตร์ท้องถิ่นท่ีหลากหลาย เรอื่ งราวน่าสนใจ ถ้าหากนบั เอาตามปีท่ีมกี ารตั้งเมืองสกลนคร ภายใต้การปกครองของราชสานักสยามอย่างเป็นทางการใน สมัยรัชกาลท่ี ๓ เมื่อปีจุลศักราช ๑๒๐๐ หรือพุทธศักราช ๒๓๘๑ จวบจนปัจจบุ นั น้ี เมืองสกลนครจะมีอายุครบ ๑๘๑ ปี ในช่วงเวลาอันยาวนานนี้เอง สกลนครมีพัฒนาการทาง ประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจหลายแง่มุม โดยเน้ือหาสาระใน หนังสือเล่มนี้เกิดจากประสบการณ์ทางานศึกษาค้นคว้า ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเมืองสกลนครของผู้เรียบเรียงโดยเลือก เอาข้อมูลท่ีน่าสนใจมานาเสนอ โดยจัดทาเนื้อหาพอสังเขป พรอ้ มแนบภาพประกอบนา่ สนใจหาดูไดย้ าก เพื่อใหท้ กุ ทา่ นได้ ร่วมเหลียวหน้าแลหลังมองประวัติศาสตร์ท้องถิ่นสกลนคร ใน วาระท่ีเมืองสกลนครมีอายคุ รบ ๑๘๑ ปี ในวันที่ ๑๗ สงิ หาคม พทุ ธศักราช ๒๕๖๒ นี้ ชาวสกลนครทกุ คนพงึ ถอื วา่ เปน็ ปีแหง่ ความภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์อันยาวนานกว่า ๑๘๑ ปี ของบา้ นเมืองที่ไดร้ บั การพัฒนาสร้างสรรคธ์ ารงรกั ษา

จ ด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคมจากบรรพชนรุ่นแล้วรุ่นเล่า ภายใตร้ ่มพระบารมีของพระบรู พมหากษัตริย์ แห่งบรมราชจกั กรีวงศ์ จนเป็นท่ีรู้จกั ของคนทัว่ ไปในปัจจุบัน ขอขอบพระคุณผู้มีอุปการคุณสนับสนุนการจัดงานและ การจดั พมิ พ์หนังสือเล่มนี้ อยา่ งไรก็ตามเนอื้ หาในหนังสือเล่มนี้ ไม่ใช่ข้อยุติทางวิชาการโดยต้องศึกษาค้นคว้าต่อไป หวังเป็น อย่างยิ่งว่า หนังสือเล่มนี้ จะอานวยประโยชน์ให้เกิดความรัก ความเข้าใจและตระหนักในการศึกษาเร่ืองราวของท้องถิ่น ย่ิงข้ึน อีกทั้งยังมีส่วนช่วยเสริมสร้างส่ิงที่ทาให้เกิดสานึกรัก ทอ้ งถ่ินและประเทศชาติอยา่ งมน่ั คงสบื ไป นายพจนวราภรณ์ เขจรเนตร นกั วิชาการศึกษาปฏบิ ัติการ มหาวทิ ยาลัยราชภัฏสกลนคร

ฉ ก ค สารบญั ฉ ๑ คานา ๓ คานาผู้เรียบเรยี ง สารบัญ ๗ ๑๘๑ ปี เหลยี วหน้าแลหลงั ๘ ประวตั ศิ าสตร์ทอ้ งถิน่ เมอื งสกลนคร ๑. ธรณวี ทิ ยาและบรรพชวี ิน ๑๐ บนแผน่ ดนิ เมืองสกลนคร ประมาณ ๖๕,๐๐๐,๐๐๐ ปีมาแลว้ ๒. เมืองสกลนคร ยคุ กอ่ นประวตั ิศาสตร์ ประมาณ ๓,๐๐๐ – ๑,๕๐๐ ปี มาแล้ว ๓. เมอื งสกลนคร สมยั วฒั นธรรมทวารวดี ประมาณพทุ ธศตวรรษที่ ๑๔ – ๑๖ ๔. เมืองสกลนคร สมัยวัฒนธรรมเขมร (ขอม) ประมาณพทุ ธศตวรรษที่ ๑๖ – ๑๙

ช ๑๔ ๑๗ ๕. เมอื งสกลนคร ๒๐ สมัยวัฒนธรรมล้านชา้ ง (ลาว) ๓๓ ประมาณพทุ ธศตวรรษท่ี ๒๑ – ๒๓ ๖. เมอื งสกลนคร ๒๙ สมยั ธนบุรแี ละรัตนโกสินทร์ตอนตน้ ยคุ สร้างบ้านแปงเมือง นบั ตัง้ แต่พุทธศักราช ๒๓๑๐ – ๒๓๙๔ ๗. เมืองสกลนคร สมยั รตั นโกสนิ ทร์ ยุคปฏิรูปประเทศเข้าสูค่ วามเจรญิ นบั ตงั้ แตพ่ ุทธศกั ราช ๒๓๙๔ – ๒๔๗๕ ๘. เมอื งสกลนคร สมยั ปฏิรูปการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สกู่ ารปกครองในระบอบประชาธปิ ไตย นบั ต้ังแต่พุทธศักราช ๒๔๗๕ – ปจั จุบนั บรรณานุกรม



ง บ้านธาตุเชียงชุม และเชียงใหม่หนองหาน เป็นช่ือเดิม สมัยวัฒนธรรมล้านช้างก่อนการต้ังนามว่า “สกลนคร” อัน หมายถึง “นครแห่งเมืองทั้งมวล” ได้รับพระราชทานจากราช สานกั สยาม เมื่อพทุ ธศกั ราช ๒๓๒๙ ปรากฏในเอกสารทอ้ งถน่ิ เรียกว่า “เมืองสกลทวาปี” หมายถึง “เมืองแห่งหนองน้า ใหญ่” ตามอุรังคนิทานเรียกที่ต้ังเมืองสกลนครปัจจุบันว่า “เมืองหนองหานหลวง” กล่าวได้ว่า “หนองหาน” เป็นแหล่ง หล่อเลี้ยงสรรพชีวิตและเป็นต้นกาเนิดของชื่อนามจังหวัด สกลนครในปัจจบุ ันด้วย



ง ๑๘๑ ปี เหลียวหน้าแลหลัง ประวตั ศิ าสตร์ท้องถนิ่ เมอื งสกลนคร เมืองสกลนคร มีเน้ือท่ีประมาณ ๑,๐๒๓.๔ ตาราง กิโลเมตร ต้ังอยู่สูงจากระดับน้าทะเลปานกลาง ประมาณ ๑๗๒ เมตร มีความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติของเทือกเขาภู พาน และหนองหาน เหมาะสาหรับการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ และเกิดการอพยพเข้ามาของผู้คนจากหลายหลากทางกลุ่ม ชาติพันธุ์กลายเป็น “เขตสะสมทางวัฒนธรรม” นับต้ังแต่ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และการรับเอาอิทธิพลทางความเชอื่ ศาสนา วัฒนธรรม ในสมัยวัฒนธรรมสมัยทวารวดี วัฒนธรรม เขมร วัฒนธรรมล้านช้างและรตั นโกสนิ ทรต์ ามลาดับ (สพสนั ต์ิ เพชรคา,๒๕๖๐:๕๗)



๓ ๑. ธรณวี ิทยาและบรรพชวี นิ บนแผ่นดินเมอื งสกลนคร ประมาณ ๖๕,๐๐๐,๐๐๐ ปมี าแลว้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือ “ภาคอีสาน” แหล่ง อารยะธรรมโบราณท่ีมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาหลายพันปี โดยหากแบ่งตามลักษณะภูมิสัณฐานและการกระจายตัวของ แหล่งชุมชนโบราณ จะแบ่งภาคอีสานออกเป็น ๒ แอ่งอารยะ ธรรมสาคัญ อันได้แก่ แอ่งโคราชและแอ่งสกลนคร โดยแอ่ง โคราช จะหมายถึงบริเวณท่ีต้ังอยู่ทางด้านทิศใต้ของภาค กิน พื้นท่ีหลายจังหวัด สาหรับแอ่งสกลนครจะตั้งอยู่ทางด้านทิศ เหนือของภาค โดยมีเทือกเขาภูพานรูปโค้งพระจันทร์เสี้ยว กางกนั้ แอ่งทง้ั สองเอาไว้ แอง่ สกลนคร คลอบคลมุ พน้ื ที่ในส่วน ของจังหวัดเลย หนองบัวลาภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ นครพนมและสกลนคร โดยอาณาเขตทางด้านทิศเหนือและ ทิศตะวันออกจะมีแม่น้าโขงเป็นร้ัวรอบขอบเขต ส่วนทางด้าน ทิศตะวนั ตกน้นั ถกู ขวางก้นั ดว้ ยเทือกเขาเพชรบูรณ์



๕ จากการศกึ ษาทางธรณวี ทิ ยาพบวา่ แอ่งสกลนครเกดิ ราว “มหายุคมีโซโซอิก” (Mesozoic Era) สมัย “ครีเทเซียส” (Cretaceous) หรือประมาณ ๑๒๐ ล้านปีมาแลว้ นับเป็นยุค รุ่งเรืองของส่ิงมีชีวิตดึกดาบรรพ์ “ไดโนเสาร์” (dinosaur) ต่อมาเมื่อปลายสมยั ครีเทเชียส ราว ๖๕ ล้านปี ไดโนเสาร์เกดิ การสูญพันธ์ุบริเวณเทือกเขาภูพานจังหวัดสกลนคร ปรากฏมี การพบหลักฐานฟอสซิล (fossil) ของกระดูกไดโนเสาร์และ ซากพืชดกึ ดาบรรพ์ เปน็ จานวนมาก อาทิ บรเิ วณเชิงเขาภูเพ็ก บ้านภูเพ็ก ตาบลนาหัวบ่อ อาเภอพรรณานิคม จังหวัด สกลนคร นอกจากน้ีการทลายของหินเกลือใต้ชั้นเปลือกโลก เมื่อหลายลา้ นปีมาแลว้ ก่อใหเ้ กิด “หนองหาน” อีกด้วย

๖ เศษภาชนะเคร่ืองป้ันดินเผา พบในบริเวณพ้ืนท่ีริมหนองหาน บ้านดอนเหล่าทัพ ตาบลงิ้วด่อน อาเภอเมืองสกลนคร เป็นพื้นท่ีทับซ้อนทางวัฒนธรรมมาต้ังแต่ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ มีอายุราวประมาณ ๓,๐๐๐ – ๑,๕๐๐ ปี มาแล้ว ที่มา : พพิ ธิ ภัณฑเ์ มืองสกลนคร มหาวทิ ยาลยั ราชภัฏสกลนคร

๗ ๒. เมืองสกลนคร ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ประมาณ ๓,๐๐๐ – ๑,๕๐๐ ปี มาแล้ว การตั้งถ่ินฐานของมนุษย์ในพ้ืนที่อาเภอเมืองสกลนคร พบหลักฐานเก่าแก่ถึงสมัยวัฒนธรรมยคุ ก่อนประวัติศาสตร์ใน กลุ่มวัฒนธรรมบ้านเชียงสมัยปลาย มีอายุราว ๓,๐๐๐ – ๑,๕๐๐ ปี ดงั มีการคน้ พบเศษภาชนะเคร่ืองปั้นดินเผา ตะกรัน จากการถลุงเหล็ก ในบริเวณสานักสงฆ์พระศรีอาริย์อยู่ริม หนองหาน อาทิเช่น บ้านดอนเหล่าทัพ ตาบลง้ิวด่อน อาเภอ เมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร ห่างจากตัวเมืองเก่าสกลนคร ประมาณ ๑.๕ กิโลเมตรแสดงให้เห็นถึงการกระจายตัวของ กลุ่มวัฒนธรรมบ้านเชียงและการตั้งถ่ินฐานของมนุษย์ใน บริเวณลุ่มน้าหนองหาน อาเภอเมอื งสกลนครอีกดว้ ย

๘ ๓. เมืองสกลนคร สมัยวฒั นธรรมทวารวดี ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๔ – ๑๖ เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔ เป็นต้นมา ชุมชนสังคม เกษตรกรรมพัฒนาเข้าสู่ชุมชนเมืองในวัฒนธรรมสมัยทวารวดี เร่ิมมีการติดต่อกับชุมชนภายนอกโดยเฉพาะการนับถือ พระพุทธศาสนา หลักฐานสาคัญ ประกอบด้วย ใบเสมาหิน ทรายที่มีลวดลายเฉพาะในแบบวัฒนธรรมทวารวดีบริเวณภาค อีสานเท่านั้น คือ ลายในสันสถูปและหม้อน้าปูรณฆฏะ และ นอกจากน้ียังพบประติมากรรมประเภทพระพุทธรูปหินทราย ในบริเวณบ้านนาอ้อย อาเภอเมืองสกลนคร และห่างออกไป จากตัวเมืองเก่าสกลนคร ในบริเวณวดั กลางศรเี ชียงใหมแ่ ละวัด มหาพรหมโพธิราช บ้านท่าวัด ตาบลเหล่าปอแดง อาเภอเมือง สกลนคร ยังปรากฏกลุ่มใบเสมาหินทราย และพระพุทธรูปหิน ทรายศิลปะทวารวดี

๙ (ซ้าย) ใบเสมาหินทราย ศิลปะทวารวดี จาหลักลายในสันสถูปและหม้อน้า ปูรณฆฏะ พบทว่ี ัดกลางศรีเชยี งใหม่ ตาบลเหล่าปอแดง อาเภอเมืองสกลนคร (ขวา) พระพทุ ธรูปหินทราย ปางสมาธิ ศลิ ปะทวารวดี พบภายในองค์พระธาตุเชงิ ชุม วัดพระธาตุเชิงชุม วรวิหาร อาเภอเมืองสกลนคร ท่ีมา : พิพิธภัณฑ์เมือง สกลนคร มหาวทิ ยาลัยราชภฏั สกลนคร

๑๐ ๔. เมอื งสกลนคร สมยั วัฒนธรรมเขมร (ขอม) ประมาณพทุ ธศตวรรษท่ี ๑๖ – ๑๙ ในพุทธศตวรรษที่ ๑๖ อิทธิพลของวัฒนธรรมเขมรแผ่ อิทธพิ ลขน้ึ มาคลอบคลมุ ถงึ บรเิ วณที่ราบลมุ่ หนองหาน ปรากฏ หลักฐาน เช่น รูปแบบการวางผังเมืองรูปส่ีเหล่ียมของเมือง โบราณสกลนครและสถาปัตยกรรมทางศาสนา ตามความเช่อื ในศาสนาพราหมณ์ อาทิ ปราสาทภายในองค์พระธาตุเชิงชุม ปราสาทนารายณ์เจงเวง ปราสาทดุม โดยมากพบว่า อยู่ใน วัฒนธรรมเขมรสมัยบาปวน (ราวพุทธศักราช ๑๕๕๓ – ๑๖๒๓) ต่อเนอื่ งมาจนถงึ สมยั นครวดั (ราวพุทธศกั ราช ๑๖๕๐ – ๑๗๑๘) ราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙ อิทธิพลวัฒนธรรม เขมรเร่ิมเส่ือมคลายอานาจลงและสูญสิ้นไปจากท่ีราบลุ่ม หนองหาน

๓๖ ภาพถ่ายทางอากาศเมืองโบราณสกลนคร เม่ือ พ.ศ. ๒๔๙๕ การวางผังเมืองใน ลกั ษณะนี้เป็นหนง่ึ ในสองแหง่ ทพ่ี บในบรเิ วณแอง่ สกลนคร คือ เมอื งโบราณหนอง หานน้อย และเมืองโบราณหนองหานหลวง นอกจากนี้ภายในและภายนอกตัว เมอื งประกอบด้วย คันกน้ั น้า ถนน สะพาน และบาราย เปน็ ตน้ ที่มา : กรมแผน ท่ที หาร กระทรวงกลาโหม

๓๖ ปราสาทนารายณ์เจงเวง อาเภอเมืองสกลนคร จากรูปแบบงานศิลปกรรมที่ ปรากฏสามารถกาหนดอายุอยู่ในศิลปะเขมร แบบบาปวน มีอายุในราวพุทธ ศตวรรษที่ ๑๖ สร้างข้ึนตามคติความเชื่อพราหมณ์ ลัทธิไศวะนิกาย ที่มา : พิพธิ ภัณฑเ์ มอื งสกลนคร มหาวทิ ยาลัยราชภฏั สกลนคร

๑๓ พระพุทธรูปนาคปรกปางสมาธิ พบภายในองค์พระธาตุเชิงชุม ลักษณะพระ พักตรอ์ มยมิ้ แสดงความเมตตากรุณา พระเนตรปดิ สนทิ สวมเทริดแบบกะบงั หน้า พระรัศมีทรงกรวย กุณฑลรูปตุ้มครองจีวรปิดแนบพระองค์ ประทับนั่งขัดสมาธิ ราบบนขนดนาค ๒ ชั้น จากรูปแบบกาหนดอายุในต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ท่ีมา : พพิ ิธภณั ฑเ์ มอื งสกลนคร มหาวทิ ยาลัยราชภฏั สกลนคร

๑๔ ๕. เมอื งสกลนคร สมยั วัฒนธรรมล้านช้าง (ลาว) ประมาณพทุ ธศตวรรษท่ี ๒๑ – ๒๓ เม่ือพทุ ธศตวรรษที่ ๒๑ – ๒๒ เป็นตน้ มา สกลนครเร่ิมเขา้ สู่สมัยวัฒนธรรมล้านช้าง ถึงแม้ว่าวัฒนธรรมเขมรเร่ิมเส่ือม อานาจหมดจากสกลนครแล้วก็ตามแต่ยังคงปรากฏหลักฐาน ความสืบเน่ืองทางวัฒนธรรม อาทิ พระพุทธรูปหินทรายปาง นาคปรกภายในองค์พระธาตุเชิงชุม เป็นต้น และยังคงปรากฏ เร่ืองราวเกี่ยวกับความเป็นเมืองขอมมาก่อน โดยบอกเล่าผ่าน ตานานอุรังคนิทานและนิทานพื้นบ้านเรื่อง ผาแดง – นางไอ่ กล่าวถึง เจ้าเมอื งเป็นผปู้ กครองเชอื้ ชาติขอมหรือเขมร

๑๕ จนกระทั่งถึงพุทธศตวรรษท่ี ๒๓ วัฒนธรรมล้านช้าง เจริญรุ่งเรืองจนถึงขีดสุดมีการเข้ามาตั้งถิ่นฐานของผู้คน ในกลุ่มวัฒนธรรมไท – ลาว ภายใต้อานาจการปกครอง ของอาณาจักรลา้ น ชา้ ง ปรากฏหลกั ฐานการสรา้ งศาสนสถาน ทางพระพุทธศาสนาข้ึนหลายแห่ง และการดัดแปลงปราสาท หินต่างๆ ที่มีมาแต่เดิมให้เป็นพระธาตุ พร้อมกับการอุทิศ กัลปนา “ข้าพระโยมสงฆ์” หรือ “ข้าโอกาส”ให้ทาหน้าท่ี ในการดูแลศาสนสถานที่ถูกสร้างขึ้นนั้นด้วย วัฒนธรรมล้าน ช้างได้แผ่ขยายคลอบค ลุมดินแดนลุ่มน้าหนองหาน โ ด ย พ บ ห ลั ก ฐ า น ป ร ะ เ ภ ท จ า รึ ก ที่ วั ด ก ล า ง ศ รี เ ชี ย ง ใ ห ม่ บ้านท่าวัด ตาบลเหล่าปอแดง อาเภอเมืองสกลนคร กล่าวถึง การกัลปนาท่ีดินสร้างวัดในพระพุทธศาสนา เมื่อจุลศักราช ๙๙๘ (พุทธศกั ราช ๒๑๗๙)

๑๖ กระแสวฒั นธรรมวฒั นธรรมลา้ นช้าง ขยายอิทธพิ ลไปอยา่ งกว้างขวางในบรเิ วณ พน้ื ที่จังหวดั สกลนคร นบั ต้งั แตพ่ ทุ ธศตวรรษท่ี ๒๑ เปน็ ต้นมา พระธาตเุ ชงิ ชมุ ปรากฏรอ่ งรอยการทบั ซ้อนทางวฒั นธรรม กลา่ วคอื การเป็นศาสนสถานใน วฒั นธรรมลา้ นชา้ งทที่ ับซ้อนลงในวัฒนธรรมเขมร บรรดาศาสนสถานที่ถกู ทง้ิ ร้าง มีการนาประกอบสร้างใหม่ในมิตพิ ระพทุ ธศาสนาเพอ่ื เชอื่ มโยงความสาคญั เช่น วรรณกรรมเรอ่ื ง “พระเจ้าเลยี บโลก” และ “อุรงั คนิทาน” ท่ีมา : สานักหอ จดหมายเหตุแหง่ ชาติ กรมศลิ ปากร

๑๗ ๖. เมอื งสกลนคร สมัยธนบุรีและรัตนโกสนิ ทร์ตอนตน้ ยคุ สรา้ งบา้ นแปงเมือง นับตง้ั แตพ่ ุทธศักราช ๒๓๑๐ – ๒๓๙๔ ครั้งถึงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๓ อาณาจักรล้านช้าง เริ่มอ่อนแอลงด้วยเหตุผลหลายประการบ้านเมืองต่าง ๆ รวมไปถึงบริเวณบ้านเมืองในท่ีราบลุ่มริมหนองหานจากเดิม อ า ณ า จั ก ร ล้ า น ช้ า ง ป ก ค ร อ ง อ ยู่ ก็ ไ ด้ ต ก อ ยู่ ภ า ย ใ ต้ อิ ท ธิ พ ล ของสยาม ปรากฏหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรที่ทาให้เห็น ถึงพัฒนาการเมืองของสกลนครอย่างเด่นชัดว่า ในช่วงสมัย ธนบุรี อุปฮาดเมืองกาฬสินธ์ุ พร้อมด้วยครอบครัวไพร่พล ตัวเลกมาตัง้ บา้ นเรือน ณ บ้านธาตุเชียงชมุ ตอ่ มาเม่อื ประมาณ ปีพุทธศักราช ๒๓๒๙ ชุมชนแห่งนี้ได้รับการยกเป็นข้ึน “เมืองสกลนคร” ตรงกับสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ (เอกสาร ท้องถิ่นว่า “เมืองสกลทวาปี) โดยให้อุปฮาดเมืองกาฬสินธุ์ เป็นพระธานีเจ้าเมืองสกลนคร ใช้การปกครองบ้านเมือง ในระบบ “อาญาสี่” ประกอบด้วยตาแหน่งสาคัญ คือ เจ้าเมือง อุปฮาด ราชวงศ์และราชบุตร กลุ่มคนที่เข้ามา ตัง้ บา้ นเรอื นเหล่านี้ทาหนา้ ท่ีเปน็ “ข้าพระธาตุ” ดว้ ย

๑๗ ภาพแผนที่การเดินทางและระยะทางระหว่างเมืองต่าง ๆ ของภาคอีสานในสมัย ตน้ กรุงรตั นโกสินทร์ ท่มี า : Santanee Pasuk, Philip Stott. ROYAL SIAMESE MAPS. War and Trade in Nineteenth Century Thailand.(2004). หน้า 131.

๑๙ เมื่อล่วงมาในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระน่ังเกล้า เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ พุทธศักราช ๒๓๖๙ เกิดสงคราม ระหว่างสยามกับเวียงจันทน์ พระธานีเจ้าเมืองสกลทวาปี ต้องอาญาทัพข้อหาว่า ไม่จัดเตรียมเสบียงอาหาร ทาให้มีการ กวาดต้อนผู้คนเมืองสกลนครบางส่วนไปอยู่ท่ีเมืองกบินทร์บุรี และเมืองประจันตคาม ให้ราชวงษ์เมืองกาฬสินธุ์อยู่รักษา บ้านเมือง และคงให้ราษฎรจานวน ๗ หมู่บ้าน ประกอบด้วย บ้านเชียงชุม บ้านหนองเหียน บ้านจารเพ็ญ บ้านอ้อมแก้ว บ้านนาเวง บ้านพานและบ้านวังยาง ทาหน้าที่ปฏิบัติรักษา องคพ์ ระธาตเุ ชงิ ชุม ครั้นต่อมาพุทธศักราช ๒๓๗๘ อุปฮาด (คาสาย) ราชวงศ์ (คา) ท้าวอิน เมืองมะหาไซกองแก้ว ได้พาบ่าวไพร่ข้ามโขง มาสวามิภักด์ิต่อสยาม ต้ังบ้านเรือนรวมอยู่ท่ีเมืองสกลนคร ครั้นเม่ือพุทธศักราช ๒๓๘๑ มีใบบอกตั้งให้ราชวงศ์ (คา) เป็น“พระยาประเทศธานี” ให้ราชวงศ์เมืองกาฬสินธุ์ (ลาว) เป็นอุปฮาด ให้ท้าวอิน เป็นราชวงศ์ และให้ราชบุตร (ด่าง) เมืองกาฬสินธุ์เป็นราชบุตร ต่อมาอุปฮาด (ลาว) รับราชการ ได้ ๑๓ ปี ก็ถึงแก่กรรม ราชบุตร (ด่าง) พาครอบครัวกลับไป อยู่เมืองกาฬสินธ์ุ ระยะนี้ได้มีการอพยพผู้คนหลากหลายกลุ่ม ชาติพันธุ์จากฝ่ังซ้ายแม่น้าโขงมาอยู่ฝ่ังขวาเป็นจานวนมาก รวมถึงการสร้างวัดต่างๆ ในตัวเมืองสกลนคร ก่อให้เกิด ความสมั พันธร์ ปู แบบคมุ้ วัดข้ึน

๒๐ ๗. เมืองสกลนคร สมัยรตั นโกสินทร์ ยคุ ปฏริ ปู ประเทศเข้าส่คู วามเจรญิ นบั ตัง้ แต่พทุ ธศกั ราช ๒๓๙๔ – ๒๔๗๕ ในรัชสมัยแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว รัชกาลท่ี ๕ หลังจากพระยาประเทศธานี (คา) ถึงแก่อนิจกรรม มีการตงั้ ใหร้ าชวงศ์ (ปิด) เป็นพระยาประเทศ ธานี ดารงตาแหน่งเจ้าเมืองท่ีว่างลง ระยะน้ีมีการเข้ามา ของนักสารวจและการเผยแผ่คริสต์ศาสนาภายในเมือง สกลนครของคณะบาดหลวงชาวฝรั่งเศส พร้อมกับการเข้ามา ของกลุ่มชาวญวนหรอื เวยี ดนาม จนมาถงึ สมยั พระยาประจนั ต ประเทศธานี (โง่นคา) เมืองสกลนครจัดอย่ใู นมณฑลลาวพวน หรือหัวเมืองลาวฝ่ายเหนือ เรียกว่า “แขวงเมืองสกลนคร” ต่อมาเปล่ยี นจากมณฑลลาวพวนเปน็ มณฑลอุดร โดยแบง่ เปน็ ๕ บริเวณ เรยี กแขวงเมืองสกลนครว่า “บรเิ วณสกลนคร”

๒๑ อามาตย์โท พระยาประจันตประเทศธานี (โง่นคา) เจ้าเมืองสกลนครทา่ นสุดท้าย ภายหลังดารงตาแหน่งผู้สาเร็จราชการเมืองและที่ปรึกษาราชการเมืองสกลนคร ตามลาดับ เป็นต้นสกุลพรหมสาขา ณ สกลนคร ในระหว่างดารงตาแหน่งปฏบิ ัติ หน้าที่ปกครองด้วยความชื่อสัตย์สุจริตเป็นที่เคารพรักของชาวเมืองสกลนคร ทม่ี า : พพิ ิธภัณฑ์เมืองสกลนคร มหาวทิ ยาลยั ราชภฏั สกลนคร

๒๒ นับต้ังแต่ปีพุทธศักราช ๒๔๓๔ เป็นต้นมา เมืองสกลนคร และหัวเมืองต่างๆ เร่ิมมีการปรับปรุงเปล่ียนแปลงด้านการ ปกครองเศรษฐกิจและสังคมอย่างมาก อาทิ การส่งข้าหลวง ไปกากับรักษาราชการตามหัวเมืองทุกเมือง สาหรับเมือง สกลนครมีพระยาสุรยิ เดชวิเศษฤทธ์ิทศพิธวิไชย (กาจ) มาเปน็ ข้าหลวงท่านแรก และมีกลุ่มชาวจีนเข้ามาทาการค้าขาย ในเมอื งสกลนครมากขึ้น พุทธศักราช ๒๔๔๐ มณฑลจัดการเปล่ียนระเบียบ ตาแหน่งกรมการ ๔ ตาแหน่ง ประกอบด้วย กรมเมือง กรมวงั กรมคลัง กรมนา เหมือนกันทุกเมืองตามระเบียบกรมการหัว เมืองช้ันใน พุทธศักราช ๒๔๔๕ จัดให้เปลี่ยนนามเมือง เป็นจังหวัดสกลนคร ให้พระยาประจันตประเทศธานี (โง่นคา) จากตาแหน่งเจ้าเมืองเป็นผู้สาเร็จราชการเมืองและท่ีปรึกษา ราชการเมือง ให้พระบุรีบริรักษ์ (สุภี) เป็นนายอาเภอเมือง สกลนครคนแรก นอกจากนี้มีการตัดถนนขึ้น ๕ สาย ในเมืองสกลนคร ประกอบด้วย ถนนเจริญเมือง ถนนไร้นฤ ทุกข์ ถนนสุขเกษม ถนนเรืองสวัสด์ิและถนนกาจัดภัย และเพิ่มเติมอีก ๓ สายในภายหลังประกอบด้วย ถนนเปรม ปรีดา ถนนมรรคาลยั และถนนใสสว่าง พรอ้ มกับการพาดสาย โทรเลขจากมณฑลอุดรถึงบริเวณสกลนคร

๒๑ การเสด็จตรวจราชการ เม่ือปีพุทธศักราช ๒๔๔๙ ในหลายท้องที่ของกรมหลวง ดารงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยในขณะน้ันทาให้ส่วนกลางเห็น ปัญหาในการบริหารราชการในหัวเมอื ง จึงมีการจัดต้ังมณฑลเทศาภิบาลในเวลา ต่อมา ท่มี า : สานักหอจดหมายเหตแุ ห่งชาติ กรมศิลปากร

๒๑ \"หอขวาง\" ซ่ึงใช้เป็นที่ว่าราชการปรึกษาราชการเมืองรวมถึงจัดกิจกรรมสาคัญ ต่าง ๆ บุรุษสองคนยืนด้านซ้าย คือ หลวงพิไสยสิทธิกรรม (จีน) ยืนด้านขวาคือ พระยาสุริยเดชวิเศษฤทธิ์ (กาจ) ส่วนกลุ่มของสตรีท่ีน่ังเป็นภริยาและบุตรีของ พระยาประจันตประเทศธานี (โง่นคา) ถ่ายเม่ือพทุ ธศกั ราช ๒๔๔๙ ที่มา : สานัก หอจดหมายเหตแุ หง่ ชาติ กรมศลิ ปากร

๒๕ ราษฎรชาวสกลนครจากหลายกลุ่มชาติพันธ์ุ เฝ้ารับเสด็จ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงดารงราชานุภาพ (พระยศในขณะนั้น) เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เม่ือคราวเสด็จตรวจราชการมณฑลอีสาน โดยประทับ ณ เมืองสกลนครระหวา่ ง วันที่ ๑๔ – ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๙ ท่ีมา : สานักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศลิ ปากร

๒๖ ขวนแห่บั้งไฟของราษฎรชาวเมืองสกลนคร ณ หนองห้างบ้ังไฟ (สนามแข่งเรือใน ปัจจุบัน) ใกล้ที่ประทับแรมพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงดารงราชานุภาพ (พระ ยศในขณะนั้น) เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ถ่ายเม่ือพุทธศกั ราช ๒๔๔๙ ที่มา : สานกั หอจดหมายเหตุแหง่ ชาติ กรมศลิ ปากร

๒๗ ราษฎรชาวเมอื งสกลนคร จดุ บ้งั ไฟ ณ หนองหา้ งบัง้ ไฟ (สนามแข่งเรอื ในปจั จุบนั ) ใกล้ที่ประทับแรมพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงดารงราชานุภาพ (พระยศใน ขณะนั้น) เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ถ่ายเมื่อพุทธศักราช ๒๔๔๙ ที่มา : สานักหอจดหมายเหตุแหง่ ชาติ กรมศิลปากร

๒๑ สตรีกลุ่มชาติพันธุ์ไทญ้อ เมืองสกลนคร และขณะหาปลาในพ้ืนที่ริมหนองหาน ใกล้ท่ีประทับแรมพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงดารงราชานุภาพ (พระยศใน ขณะนั้น) เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ถ่ายเม่ือพุทธศักราช ๒๔๔๙ ท่ีมา : สานกั หอจดหมายเหตแุ หง่ ชาติ กรมศิลปากร

๒๙ ราษฎรเมืองสกลนครหาปลาในพ้ืนที่ริมหนองหาน ใกล้ที่ประทับแรมพระเจ้า น้องยาเธอ กรมหลวงดารงราชานุภาพ (พระยศใน ขณะนั้น) เสนาบดี กระทรวงมหาดไทย ถ่ายเมื่อพุทธศักราช ๒๔๔๙ ท่ีมา : สานักหอจดหมายเหตุ แหง่ ชาติ กรมศิลปากร

๓๐ อามาตย์โท พระยาสกลกิจวิจารย์ (สุทธิ เหมินทร์) ปลัดมณฑลประจาจังหวัด สกลนคร ดารงตาแหนง่ พทุ ธศกั ราช ๒๔๕๓ – ๒๔๗๑ เปน็ สมัยท่ีเมอื งสกลนครมี การพัฒนาด้านสาธารณูปการต่างๆ อาทิ ศาลาว่าการเมือง สถานท่ีราชการ โรงเรียน ถนนข้ามภูพานไปยังจังหวัดกาฬสินธุ์ และสนามบินในบริเวณดงบาก ทม่ี า : วัดพระธาตุเชงิ ชมุ วรวหิ าร อาเภอเมืองสกลนคร จงั หวดั สกลนคร

๓๑ ใ น รั ช ส มั ย แ ผ่ น ดิ น พ ร ะ บ า ท ส ม เ ด็ จ พ ร ะ ม ง กุ ฎ เ ก ล้ า เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ เมืองสกลนครได้รับการพัฒนามาโดย ลาดับมีการเรียกบริเวณสกลนครเป็นเมืองสกลนครตามเดิม พร้อมกับการพัฒนาด้านสาธารณูปการต่างๆ ต้ังแต่ปี พุทธศักราช ๒๔๕๕ เป็นต้นมา อาทิ การตัดทางเกวียน ข้ามภูพานจากสกลนครไปกาฬสินธุ์ จัดสร้างสถานท่ีราชการ ภายในเมืองสกลนคร และโรงเรียนข้ึน พร้อมกันนี้พุทธศกั ราช ๒๔๕๙ มีการเรียกทั้งแขวงสกลนครว่า “จังหวัดสกลนคร” ส่วนนามอาเภอเมืองเรียกว่า “อาเภอธาตุเชิงชุม ” ประกอบด้วย ๒ ตาบล คือ ตาบลธาตเุ ชิงชุมกบั ตาบลสะพาน หิน และต่อมาในปีพทุ ธศักราช ๒๔๖๓ มกี ารจัดสร้างสนามบนิ ข้ึน ณ บริเวณดงบาก และการสารวจทาทางรถไฟ มายงั สกลนครเม่ือปพี ทุ ธศกั ราช ๒๔๖๕ อีกด้วย สกลนครเป็นเมืองสาคัญทางเศรษฐกิจและสังคมเมือง หน่ึงของภูมิภาค ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของพ้ืนท่ีน้ีเองทาใหม้ ี ผู้คนภายนอกหรือเรียกว่า “ไทครัว”จากจังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดร้อยเอ็ด และจังหวัดมหาสารคาม เข้ามาตั้งถ่ินฐาน อาศยั อยูห่ ลายหมูบ่ ้าน นอกจากนใี้ นชว่ งระหวา่ งปีพุทธศกั ราช ๒๔๖๙ คณะสงฆธ์ รรมยตุ ิเข้าสูส่ กลนคร เมือ่ พระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล และพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต มาพานักจาพรรษา ณ บรเิ วณพืน้ ที่ดงบากดา้ นทศิ ใต้ของเมืองสกลนคร

๓๒ พลโท พระเจา้ บรมวงศเ์ ธอ พระองคเ์ จ้าศุขสวัสดี กรมหลวงอดิศรอดุ มเดช ตรวจ ราชการแผนกทหารกองผสมพนั ธุ์ม้า เมืองสกลนคร พุทธศักราช ๒๔๕๕ ถ่าย ณ วัดธาตุศาสดาราม อาเภอธาตุเชิงชุม จังหวัดสกลนคร ท่ีมา : พิพิธภัณฑ์เมือง สกลนคร มหาวทิ ยาลัยราชภฏั สกลนคร

๓๓ ๘. เมอื งสกลนคร สมัยปฏิรูปการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สกู่ ารปกครองในระบอบประชาธิปไตย นบั ตง้ั แตพ่ ุทธศักราช ๒๔๗๕ – ปจั จบุ ัน จากการปฏิรูปการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิ ราชสู่การปกครองภายใต้ระบอบประชาธิปไตย เมื่อ พุทธศักราช ๒๔๗๕ นั้น สกลนครมีการจัดการเลือกต้ัง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นครั้งแรกเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๗๖ โดยจังหวัดสกลนครมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคน แรก คือ หลวงวรนิติปรีชา (วรดี พรหมสาขา ณ สกลนคร) ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๔๗๙ มีพระราชกฤษฎีกาจัดต้ัง เทศบาลเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนครขึ้น โดยมีรองอามาตย์ ตรี ขุนถิรมัยสิทธิการ (กู่แก้ว พรหมสาขา ณ สกลนคร) เขา้ ดารงตาแหนง่ เปน็ นายกเทศนายกเทศมนตรีคนแรก

๓๔ หลวงวรนิติปรีชา (วรดี พรหมสาขา ณ สกลนคร) ได้รับการเลือกตั้งให้เป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคนแรกของจังหวัดสกลนคร จากการจัดการเลือกตั้ง ทางอ้อมครั้งแรกและครั้งเดียวของไทย เมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๗๖ ท่มี า : พิพธิ ภณั ฑเ์ มืองสกลนคร มหาวทิ ยาลยั ราชภัฏสกลนคร

๓๕ รองอามาตย์ตรี ขุนถิรมัยสิทธิการ (กู่แก้ว พรหมสาขา ณ สกลนคร) ปลัดอาเภอ ธาตุเชิงชุม (บุคคลนั่งเก้าอ้)ี เข้าดารงตาแหน่งนายกเทศนายกเทศมนตรีเทศบาล เมืองสกลนครคนแรก เม่ือวันที่ ๑๕ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๘๐ ท่ีมา : หนงั สอื อนุสรณค์ รบรอบทาบุญ ๑๐๐ วัน ฟอง นวลมณี

๓๖ นายเตียง ศิริขันธ์ ได้รับการเลือกตั้งให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด สกลนคร จากการเลือกตั้งทางตรง เม่ือวันที่ ๗ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๘๐ ได้รับการรับเลือกติดต่อกันถึง ๕ สมัย เป็นรัฐมนตรี ๓ สมัย มีฉายาเรียกขานวา่ “ขุนพลภูพาน” เป็นแกนนาสาคัญของขบวนการเสรีไทยภาคอีสานด้วย ท่ีมา : พพิ ิธภัณฑ์เมอื งสกลนคร มหาวิทยาลยั ราชภฏั สกลนคร

๓๗ ครั้งถึงปีพุทธศักราช ๒๔๘๔ เมื่อเข้าสู่สงครามมหาเอเชยี บูรพาก่อให้เกิดองค์การต่อต้านญ่ีปุ่นขึ้นทั้งส่วนกลางและใน ส่วนภูมิภาคหรือต่อมาเรียกว่า “ขบวนการเสรีไทย” จังหวัด สกลนครนาโดยนายเตียง ศิริขันธ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้นาสาคัญ โดยมีการสร้างฐานบัญชาการและฐานบินข้ึน ในที่ต่างๆ โดยได้รับการสนับสนุนอาวุธจากฝ่ายสัมพันธมิตร การเข้ามาและการพ่ายแพ้ของญ่ีปุ่น ส่งผลให้เกิดกรณีพิพาท อินโดจีน ระหว่างไทยกับฝรั่งเศส พุทธศักราช ๒๔๘๗ เครือ่ งบนิ รบฝรัง่ เศสเข้ามาทงิ้ ระเบิดในตวั เมืองสกลนคร ทาให้ บ้านเมืองมีความซบเซาในช่วงเวลาหนึ่ง พุทธศักราช ๒๔๙๐ เป็นต้นมาระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ อาทิ การ จัดตั้งโรงพยาบาล การนาประปา ไฟฟ้า ถนน และการ คมนาคมขนสง่ เข้าสสู่ กลนคร รวมไปถึงการจัดตัง้ โรงเรียนสาย สามัญและสายอาชพี ขึน้ หลายแหง่