Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore 70 สุดยอดภาพยนตร์ไทย ในสมัยรัชกาลที่ 9

70 สุดยอดภาพยนตร์ไทย ในสมัยรัชกาลที่ 9

Published by chalee_bk_ch, 2020-04-17 12:30:56

Description: 70 สุดยอดภาพยนตร์ไทย ในสมัยรัชกาลที่ 9

Search

Read the Text Version

70 Outstanding Thai Films in the Reign of King Rama IX



70 Outstanding Thai Films in the Reign of King Rama IX

สาร พลเอก ประยทุ ธ์ จนั ทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในโอกาสจดั พิมพห์ นงั สือ ๗๐ สดุ ยอดภาพยนตร์ไทยในสมัยรชั กาลที่ ๙ พทุ ธศกั ราช ๒๕๖๒ ตลอดระยะเวลากว่า ๗ ทศวรรษที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงปกครองอาณาประชาราษฎร์ ด้วยทศพิศราชธรรม พระราชกรณียกิจนานัปการที่ทรงปฏิบัติบ�ำเพ็ญด้วยพระราชวิริยอุตสาหะ ล้วนพัฒนาความเป็นอยู่ท่ีดีและคุณภาพชีวิตที่ดีของพสกนิกร ทั่วหล้า พระปรีชาสามารถและพระอัจฉริยภาพในด้านต่างๆ เป็นท่ีประจักษ์แก่พสกนิกร ชาวไทยและต่างประเทศ ทรงให้การอุปถัมภ์บ�ำรุงงานศิลปะของไทย ทุกแขนง เพ่ือพัฒนาให้เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของแผ่นดินไทย จึงทรงเป็นเอตทัคคะท้ังด้านศาสตร์และศิลป์ และได้รับการน้อมเกล้าน้อมกระหม่อม ถวายพระราชสมัญญา “อัครศิลปิน” รวมไปถึงด้านภาพยนตร์ท่ีทรงให้ความสนพระราชหฤทัยในศาสตร์แห่งภาพยนตร์ ท้ังการถ่ายภาพยนตร์ การทอดพระเนตร ภาพยนตร์ รวมทง้ั เปน็ องค์อุปถมั ภแ์ ก่การภาพยนตรอ์ ยูเ่ ป็นนิจ ดว้ ยพระราชปรารถนาให้ ศิลปะของไทยด�ำรงอยู่เปน็ ศิลปแ์ หง่ แผ่นดนิ อยา่ งสง่างาม หนังสือ “๗๐ สุดยอดภาพยนตร์ไทยในสมัยรัชกาลที่ ๙” จัดท�ำข้ึนเพ่ือเป็นการเทิดพระเกียรติ แด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร อีกท้ังเป็นการบันทึกประวัติศาสตร์ของสุดยอดผลงานภาพยนตร์ไทยที่มีการจัดเผยแพร่ในรัชสมัยของ พระบาทสมเดจ็ พระบรมชนกาธเิ บศร มหาภูมพิ ลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จ�ำนวน ๗๐ เรอื่ ง ทไี่ ด้รบั การคดั เลือก ด้วยความโดดเด่นของเนือ้ หา สะทอ้ นคุณค่า งานศิลปะและการสร้างแรงบันดาลใจแก่ผู้ชม อีกท้ังยังเป็นการประกาศยกย่องผลงานของศิลปินไทยอันทรงคุณค่าในสาขาภาพยนตร์ให้ประจักษ์แก่สาธารณชน ถือเป็นองค์ความรู้เชิงประวัติศาสตร์ของชาติและการเรียนรู้พัฒนาการของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ในประเทศไทยจากอดีตสู่ปัจจุบัน และเพ่ือให้ศิลปินสาขาภาพยนตร์ และประชาชนไดศ้ กึ ษาและนำ� องคค์ วามรไู้ ปต่อยอดให้เกิดประโยชน์แก่วงการภาพยนตร์ไทยต่อไป พลเอก (ประยทุ ธ์ จันทรโ์ อชา) นายกรฐั มนตรี Message from His Excellency General Prayut Chan-o-cha (Ret.) Prime Minister of the Kingdom of Thailand on the Publication of “70 Outstanding Thai Films in the Reign of King Rama IX” For seven decades, His Majesty King Bhumibol Adulyadej The Great reigned with the Theravada Buddhist concept of “Dhammaraja” or the Ten Royal Virtues of the King and undertook many royal duties that involved working tirelessly for the well-being and quality of life of the Thai people. Throughout this time, King Rama IX actively supported the promotion of Thai arts and culture for the preservation of our Thai heritage, and was also acknowledged to be the “Supreme Artist” of our nation. King Rama IX had particular interest in the art and science of films, and continuously supported Thai films and artists in this field as vital aspects of Thai culture that should be preserved. This book entitled “70 Outstanding Thai Films in the Reign of King Rama IX” is published in honour of His Majesty King Bhumibol Adulyadej the Great. It is a chronicle of prominent Thai films during the time of his reign that are recognised for their outstanding content, artistic merit, as well as their impact on Thai cinema and the public. The book is also a celebration of Thai cinema and the history of Thai motion pictures, which are valuable intellectual assets for our nation that should be enjoyed and studied by future generations of inspiring film makers, artists, and industry supporters.

ค�ำปรารภรองนายกรฐั มนตรี ประธานกรรมการภาพยนตรแ์ ละวีดิทศั น์แห่งชาติ นับแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลท่ี ๙ แห่งราชวงศ์จักรีได้เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๙ พระองค์ทรงให้ ความส�ำคัญสูงสุดต่อการพัฒนาประเทศเพื่อให้ประเทศหลุดพ้นจากความยากจน พระองค์ทรงงานหนักตรากตร�ำพระวรกายเป็นอย่างมาก ยามใดที่ทรงมี เวลาว่างพระองค์จะใช้เวลาทรงงานทางด้านศิลปะ ผลงานมากมายท่ีสะท้อนถึงพระอัจฉริยภาพของพระองค์ท่ีทรงเป็นแบบอย่างท่ีดีในการจุดประกายให้เกิดงานศิลป์ อันหลากหลายตามมา รวมถึงงานศิลปะในสาขาภาพยนตร์ ตลอดระยะเวลาท่ีพระองค์ครองสิริราชสมบัติเราจะได้ยินได้ฟังข่าวดีของศิลปินและผลงานท่ีได้รับรางวัล จ�ำนวนมากมายในระดบั ชาตแิ ละระดบั นานาชาติ เพื่อเป็นการร�ำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร คณะกรรมการภาพยนตร์ และวีดิทัศน์แห่งชาติร่วมกับกระทรวงวัฒนธรรม สมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติและหน่วยงานท่ีเก่ียวข้องได้พิจารณาคัดเลือกสุดยอดภาพยนตร์ไทยในรัชกาลท่ี ๙ รวม ๗๐ เรื่องจาก ๗ ทศวรรษ ที่ทรงครองราชย์มาเผยแพร่ให้ประชาชนชาวไทยได้น้อมร�ำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ท่ีพระองค์ได้พระราชทานไว้ให้แก่แผ่นดิน ตามโครงการสุดยอดภาพยนตร์ไทยในสมัยรัชกาลท่ี ๙ ซึ่งเป็นภาพยนตร์ไทยเร่ืองยาวที่จัดฉายและเผยแพร่ในสมัยรัชกาลที่ ๙ ระหว่างช่วงเวลาทรงครองราชย์ รวม ๗๐ ปี ๑๒๗ วัน ตัง้ แตว่ นั ที่ ๙ มถิ ุนายน พ.ศ. ๒๔๘๙ - วนั ท่ี ๑๓ ตลุ าคม พ.ศ. ๒๕๕๙ กระผมจึงหวังว่าการเผยแพร่หนังสือ “๗๐ สุดยอดภาพยนตร์ไทยในสมัยรัชกาลที่ ๙” จะช่วยให้ประชาชนชาวไทยน้อมร�ำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลท่ี ๙ รวมท้ังเป็นองค์ความรู้เกี่ยวกับประวัติและพัฒนาการของภาพยนตร์ไทยในช่วงรัชสมัยของพระองค์ อีกทั้งส่งเสริม ให้ประชาชนชาวไทยได้รับรู้ถึงมาตรฐานการผลิตภาพยนตร์ไทยท่ีมีความก้าวหน้าไม่แพ้ชาติใดในโลก ก่อให้เกิดวัฒนธรรมการชมภาพยนตร์และส่งเสริม ใหป้ ระชาชนชาวไทยนยิ มชมภาพยนตรไ์ ทยมากขน้ึ ตอ่ ไป (นายวิษณุ เครืองาม) รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการภาพยนตร์และวีดทิ ศั นแ์ หง่ ชาติ Foreword Deputy Prime Minister (Wissanu Krea-ngam) Chairman of the National Audio-Visual Committee Throughout the period since His Majesty King Bhumibol Adulyadej ascended the throne on June 9, 1946, the ninth monarch of the Chakri Dynasty put great importance on developing the country and improving the economic situation of the country. His Majesty King Bhumibol Adulyadej worked tirelessly for the whole of his reign. Nevertheless, whenever he had free time, the King was a devoted practitioner of art and his artistic creations manifest exceptional ingenuity, which has become an inspiration to other artists, including film art. All through his reign, Thai filmmakers have created a number of masterpieces that won domestic and international recognition. In honour of His Majesty King Bhumibol Adulyadej, the National Board of Film and Video, in cooperation with the Ministry of Culture, the Federation of Motion Pictures and Contents Associations and other related agencies, have chosen 70 outstanding films made and released during the seven-decade reign of King Rama IX, which covered the period from June 9, 1946 to October 13, 2016. Thai people will have the opportunity to remember the royal benevolence bestowed upon motion pictures. I hope that the book “Seventy Outstanding Films in the Reign of King Rama IX” will allow Thai people to recognize the King’s contribution and to acquire knowledge about the history and development of Thai cinema during the ninth reign. I also hope that the book will raise awareness of Thai film industry which will encourage local audiences to give more support toward Thai films.

ค�ำนยิ ม รฐั มนตรวี ่าการกระทรวงวัฒนธรรม ภาพยนตร์เป็นสื่อสร้างสรรค์ที่มีความสำ� คัญและอิทธิพลต่อแนวคิดและพฤติกรรมของคนในสังคม สามารถเป็นทูตทางวัฒนธรรมที่ทำ� ให้ผู้ชมได้เรียนรู้วิถีชีวิต ความเปน็ อยู่ ประเพณวี ฒั นธรรมผา่ นการชมภาพยนตร์ ซง่ึ รฐั บาลไดต้ ระหนกั ถงึ ความสำ� คญั ของการสง่ เสรมิ อตุ สาหกรรมภาพยนตรแ์ ละวดี ทิ ศั น์ เพอ่ื เผยแพรภ่ าพลกั ษณ์ ศลิ ปวฒั นธรรม สง่ เสรมิ การทอ่ งเทย่ี ว สรา้ งงาน สรา้ งอาชพี สรา้ งรายได้ ใหแ้ กป่ ระชาชนในชมุ ชนทอ้ งถน่ิ และเศรษฐกจิ โดยรวมของประเทศไมน่ อ้ ยกวา่ ๒๐๐,๐๐๐ ลา้ นบาทตอ่ ปี ท้งั จากช่องทางในระบบตลาดปกตแิ ละระบบออนไลน์ นอกจากนี้ภาพยนตรย์ ังเป็นส่ือและเครือ่ งมือ ทใี่ ช้เพอื่ ประโยชน์ การท�ำนุบำ� รงุ ธำ� รงรกั ษา สรา้ งสรรค์พัฒนาและ สบื ทอดศิลปวฒั นธรรมของประเทศ ได้อกี ทางหนงึ่ ดว้ ย ด้วยส�ำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลท่ี ๙ ทรงมีคุณูปการอย่างอเนกอนันต์ ต่องานด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติและวงการ ภาพยนตร์ไทย กระทรวงวัฒนธรรม ในฐานะหน่วยงานที่มีภารกิจส�ำคัญในการเทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และท�ำนุบ�ำรุงสืบสานศาสนา ศิลปะและ วฒั นธรรม จึงไดด้ �ำเนินโครงการคดั เลือกสุดยอดผลงานดา้ นศลิ ปะในสาขาต่างๆ ในสมยั รชั กาลท่ี ๙ โดยมกี ารคัดเลอื ก “สุดยอดภาพยนตรไ์ ทยในสมยั รชั กาลที่ ๙” ด้วย หนังสือ “๗๐ สุดยอดภาพยนตร์ไทยในสมัยรัชกาลท่ี ๙” ที่จัดท�ำน้ี สะท้อนให้เห็นความเจริญก้าวหน้าของวงการภาพยนตร์ไทย ท่ีมีพัฒนาการมาโดยลำ� ดับ ตลอดรัชสมัย ปรากฏเป็นผลงานท่ีได้รับการคัดเลือกให้เป็น ๗๐ สุดยอดภาพยนตร์ไทย อีกทั้งยังรวบรวมรายชื่อภาพยนตร์ไทยเร่ืองยาวที่จัดฉายและเผยแพร่ใน สมยั รชั กาลท่ี ๙ ระหว่างชว่ งเวลาทรงครองราชยร์ วม ๗๐ ปี ๑๒๗ วัน ตัง้ แต่วันท่ี ๙ มถิ นุ ายน พ.ศ. ๒๔๘๙ - วนั ท่ี ๑๓ ตลุ าคม พ.ศ. ๒๕๕๙ จ�ำนวนมากกวา่ ๔,๕๐๐ เรอื่ ง น�ำมาลงไว้ในหนังสือเล่มน้ี เพ่ือเป็นข้อมูลในการศึกษา สืบค้น เรื่องราวของภาพยนตร์ไทย โดยจัดท�ำเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เพื่อประโยชน์ ในการเผยแพร่ ภาพยนตรไ์ ทยสสู่ ากล รวมทง้ั ยกยอ่ งเชดิ ชเู กยี รตบิ คุ ลากรในวงการภาพยนตรไ์ ทยไดม้ ขี วญั และกำ� ลงั ใจในการสรา้ งสรรคผ์ ลงานทมี่ คี ณุ ภาพใหป้ ระจกั ษต์ อ่ สายตาชาวโลก (นายอทิ ธิพล คณุ ปลม้ื ) รัฐมนตรวี ่าการกระทรวงวัฒนธรรม Foreword Minister of Culture (Itthiphol Kunplome) Film is a creative medium that has had a great impact on intellectual capacity and people’s behavior. It acts as cultural ambassador that encourages audiences to engage in arts, culture, tradition and ways of living. The government is aware of the important role of film and video industry in promoting the positive image, art and culture, tourism, local employment opportunities and income. The value of the industry is estimated to be over 200 billion baht, calculated from traditional and online platforms. Moreover, film can be a useful tool for preservation of the Thai cultural heritage and cultural development. With deep gratitude to His Majesty King Bhumibol Adulyadej’s contribution to the development of all artistic and cultural disciplines including film, the Ministry of Culture, pledged to uphold the monarchy above all things, has initiated a project to curate masterpieces in several artistic practices created during the reign of His Majesty King Bhumibol Adulyadej. The book “70 Outstanding Films in the Reign of King Rama IX” reflects the continual development of Thai cinema during the King’s glorious reign. The 70 gems of the era are presented here, and the book also lists over 4,500 titles of Thai feature-length films made during the Ninth Reign, which lasted 70 years and 127 days, starting from June 9, 1946 to October 13, 2016. The text in Thai and English is aimed to promote Thai culture to international readers, and to inspire Thai people to appreciate the history of Thai cinema. The book also honours the contribution of hard-working and talented Thai film professionals and uplifts the spirit of Thai filmmakers so they will continue to produce commendable cinematic works for Thailand and the world.

คำ� น�ำ ปลดั กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ในฐานะส�ำนักงานเลขานุการคณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ ให้ด�ำเนินการคัดเลือกสุดยอดภาพยนตร์ไทยในสมัยรัชกาลท่ี ๙ เพื่อน้อมร�ำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรท่ีมีต่อวงการภาพยนตร์ไทยมาตลอดรัชสมัยของพระองค์ และคณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติได้คัดเลือกสุดยอดภาพยนตร์ไทยในรัชกาลท่ี ๙ รวม ๗๐ เรอ่ื งจาก ๗ ทศวรรษ ทท่ี รงครองราชยม์ าเผยแพร่ให้ประชาชนชาวไทยได้หวนร�ำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณทพี่ ระองคไ์ ดพ้ ระราชทานไว้ใหแ้ กแ่ ผน่ ดนิ การคัดเลือกสุดยอดภาพยนตร์ไทยในสมัยรัชกาลที่ ๙ เป็นการด�ำเนินงานของคณะอนุกรรมการพิจารณาคัดเลือกสุดยอดภาพยนตร์ไทยในสมัยรัชกาลท่ี ๙ ในคณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ ท่ีได้ร่วมกันพิจารณาคัดสรรสุดยอดภาพยนตร์ไทยท่ีมีความเหมาะสม โดยก�ำหนดเกณฑ์การพิจารณา คือ ต้องเป็นภาพยนตร์ไทย เรือ่ งยาวท่จี ัดฉายเผยแพรใ่ นสมัยรชั กาลที่ ๙ ระหวา่ งช่วงเวลาทรงครองราชย์รวม ๗๐ ปี ๑๒๗ วนั (วันที่ ๙ มิถนุ ายน พ.ศ. ๒๔๘๙ - วันท่ี ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙) และตอ้ งเข้าฉาย ในโรงภาพยนตร์ในประเทศไทย ท้ังนี้ภาพยนตร์ที่ได้รับการคัดเลือกยังต้องมีความโดดเด่นประการใดประการหนึ่ง คือ ได้รับรางวัลในงานประกาศรางวัลในระดับประเทศหรือ ระดับนานาชาติที่ได้รับการยอมรับ เป็นภาพยนตร์ที่ท�ำสถิติรายได้ จากระบบการขายบัตรชมภาพยนตร์ของปกติ (BOX OFFICE) สูงสุด ๕ อันดับแรกของแต่ละปีพุทธศักราช เป็นภาพยนตร์ท่สี ร้างแรงบนั ดาลใจตอ่ ผู้ชม เป็นภาพยนตรท์ ี่สะท้อนชวี ติ คนไทยในสมยั รัชกาลที่ ๙ และเปน็ ภาพยนตรท์ ี่ทรงคุณคา่ ทางศิลปะ (องคร์ วม) เพอื่ ใหเ้ กดิ การมสี ว่ นรว่ มจากภาคประชาชนและใหเ้ กดิ ความโปรง่ ใสในการดำ� เนนิ งาน กระทรวงวฒั นธรรมไดก้ ำ� หนดการคดั เลอื กอยา่ งเปน็ ระบบ โดยในรอบแรกเปดิ โอกาส ให้ประชาชนท่ัวไปจากท่ัวประเทศเสนอรายช่ือภาพยนตร์เป็นสุดยอดภาพยนตร์ไทยในสมัยรัชกาลที่ ๙ จากนั้นจึงขอให้ผู้ทรงคุณวุฒิด้านภาพยนตร์ ส่ือมวลชนสาขาภาพยนตร์ สถาบันการศึกษาด้านภาพยนตร์ หน่วยงานส่งเสริมภาพยนตร์ และศิลปินสาขาภาพยนตร์ร่วมกันคัดกรองรายชื่อภาพยนตร์ไทยในรอบที่ ๒ จากนั้นคณะอนุกรรมการพิจารณา คดั เลอื กสุดยอดภาพยนตร์ไทยในสมยั รัชกาลท่ี ๙ จงึ ได้คดั กรองรอบสดุ ทา้ ยจนเหลือจ�ำนวน ๗๐ เรอื่ งจาก ๗ ทศวรรษ ทพ่ี ระองค์ทรงครองราชย์ หนังสือ “๗๐ สุดยอดภาพยนตร์ไทยในสมัยรัชกาลท่ี ๙” ฉบับน้ี จัดท�ำขึ้นเป็น ๒ ภาษา คือภาษาไทย และภาษาอังกฤษ เพ่ือเป็นเอกสารองค์ความรู้เชิงประวัติศาสตร์ และการพฒั นาการของอุตสาหกรรมภาพยนตรใ์ นประเทศไทย จึงขอขอบคณุ หน่วยงานราชการ สมาคม มูลนธิ ิ ตลอดจนหน่วยงานภาคเอกชน ที่สนบั สนนุ การใหข้ ้อมลู ในการจดั ท�ำ หนงั สือเลม่ น้ี และหวังเปน็ อยา่ งยง่ิ วา่ ผทู้ ่ีเกย่ี วข้องทุกฝา่ ยท้ังในประเทศ และตา่ งประเทศจะไดใ้ ชป้ ระโยชน์จากหนังสอื เลม่ นีต้ ามสมควร (นายกฤษศญพงษ์ ศิร)ิ ปลดั กระทรวงวัฒนธรรม Preface Permanent Secretary for Culture (Kitsayapong Siri) The Ministry of Culture, as secretariat of the National Board of Film and Video, has been tasked by the National Board to select 70 outstanding films made during the seven-decade reign of King Rama IX in order to express gratitude and honor the King’s benevolence toward the Thai film industry. The selection of the 70 outstanding films was done by the sub-committee working under the National Board of Film and Video. The criteria include feature-length films that were released during the reign of His Majesty King Bhumibol Adulyadej, which lasted 70 years and 127 days, or from June 9, 1946 to October 13, 2016. Qualified films must be released in Thai theatres, and they have to show at least one of the following outstanding qualities: they must win domestic or international awards; they were one of the top 5 highest-grossing films in the year of their release; they are inspirational; they reflect the life of Thai people during the reign of King Rama IX; or they display a great artistic value. To encourage public participation and transparency, the Ministry of Culture applied a systematic selection process. The first round called for public submission during which people from around the country nominated films they considered to be outstanding, then in the following round, a panel of film experts, academic institutions, film artists, and film promotion agencies come together to screen the nomination list. Finally, the sub-committee appointed by the National Board of Film and Video made the final selection of the 70 titles. The publication “Seventy Outstanding Films in the Reign of King Rama IX” is published in both Thai and English in order to serve as a body of knowledge on Thai film history and development. I would like to thank government agencies, associations, foundations, and the private film sector that have provided the information necessary to complete the publication. I sincerely hope that film professionals, researchers and general public in Thailand and abroad will find this book valuable as well as a precious memory to the artistic genius of King Rama IX.

สารบญั Table of Contents สารนายกรฐั มนตร ี พลเอก ประยุทธ์  จันทรโ์ อชา หน้า    Message from Prime Minister Prayuth Chan-ocha ค�ำปรารภ รองนายกรัฐมนตรี   นายวษิ ณุ เครืองาม ๑๐ - ๑๕             ประธานกรรมการภาพยนตรแ์ ละวีดิทศั นแ์ หง่ ชาติ 15 - 16 Foreword by Deputy Prime Minister Wissanu Krea-ngam ๑๗ - ๒๓ Chairman of the National Board of Film and Video 24 - 26 ๒๗ - ๑๖๗ คำ� นิยมรัฐมนตรวี า่ การกระทรวงวฒั นธรรม   นายอิทธิพล คณุ ปล้มื 27 - 167 Preface by Minister of Culture Itthiphon Kunplome ค�ำน�ำปลัดกระทรวงวฒั นธรรม นายกฤษศญพงษ์  ศิร ิ Introduction by Permanent Secretary, For Culture Krisayapong Siri พระมหากรณุ าธิคณุ ที่ทรงมตี อ่ วงการภาพยนตรไ์ ทย King Bhumibol’s Royal Patronage of Thai Film วิวัฒนาการของภาพยนตรไ์ ทย The Evolution of Thai Cinema ๗๐ สุดยอดภาพยนตรไ์ ทยในสมัยรชั กาลที่ ๙ 1. Suparp Burut Sua Thai, (1949) 70 Outstanding Thai Films in the Reign of King Rama IX 2. Pantai Norasingha (Oarsman Norasingha), (1950) ๑. สุภาพบุรุษเสือไทย (๒๔๙๒) 3. Santi-Vina, (1954) 4. Sethee Anatha (The Poor Millionaire), (1956) ๒. พันทา้ ยนรสิงห์ (๒๔๙๓) 5. Rongram Narok (Country Hotel), (1957) ๓. สันติ-วีณา (๒๔๙๗) 6. Leb Krut, (1957) ๔. เศรษฐีอนาถา (๒๔๙๙) 7. Nueng Tor Jed, (1958) ๕. โรงแรมนรก (๒๕๐๐) 8. Mae Nak Phrakanong, (1959) ๖. เลบ็ ครฑุ (๒๕๐๐) 9. Prae Dam (Black Silk), (1961) ๗. ๑ ต่อ ๗ (๒๕๐๑) 10. Ruenpae (The Houseboat), (1961) ๘. แมน่ าคพระโขนง (๒๕๐๒) 11. Noknoi (Little Bird), (1964) ๙. แพรดาํ (๒๕๐๔) ๑๐. เรือนแพ (๒๕๐๔) ๑๑. นกน้อย (๒๕๐๗)

๑๒. ลูกทาส (๒๕๐๗) 12. Luk Tat (Son of Slave), (1964) ๑๓. เงิน เงนิ เงนิ (๒๕๐๘) 13. Ngern, Ngern, Ngern (Money, Money, Money), (1965) ๑๔. เพชรตัดเพชร (๒๕๐๙) 14. Petch Tad Petch (Operation Bangkok), (1966) ๑๕. โทน (๒๕๑๓) 15. Tone, (1970) ๑๖. มนตร์ ักลูกทงุ่ (๒๕๑๓) 16. Monrak Lukthoong, (1970) ๑๗. อินทรที อง (๒๕๑๓) 17. Insee Thong (The Golden Eagle), (1970) ๑๘. ชู้ (๒๕๑๕) 18. Choo (The Adulterer), (1972) ๑๙. เขาชอ่ื กานต์ (๒๕๑๖) 19. Khao Chue Karn (Doctor Karn), (1973) ๒๐. หนมุ านพบ ๗ ยอดมนษุ ย์ (๒๕๑๗) 20. Hanuman Pob 7 Yod Manut (Hanuman and the 7 Superheroes), (1974) ๒๑. แผ่นดินแม่ (๒๕๑๘) 21. Pandin Mae (Motherland), (1975) ๒๒. วัยอลวน (๒๕๑๙) 22. Wai Olawon, (1976) ๒๓. ทองพูน โคกโพธ์ิ ราษฎรเตม็ ขนั้ (๒๕๒๐) 23. Thongpoon Khokpo Ratsadorn Temkhan (Citizen Thongpoon), (1977) ๒๔. แผลเกา่ (๒๕๒๐) 24. Plae Kao (The Scar), (1977) ๒๕. ครูบา้ นนอก (๒๕๒๑) 25. Khru Bannok (The Country Teacher), (1978) ๒๖. คนภูเขา (๒๕๒๒) 26. Khon Pukhao (Mountain People), (1979) ๒๗. สุดสาคร (๒๕๒๒) 27. Sudsakorn, (1979) ๒๘. บา้ นทรายทอง (๒๕๒๓) 28. Ban Sai Thong (House of the Golden Sand), (1980) ๒๙. หลวงตา (๒๕๒๓) 29. Luang Ta, (1980) ๓๐. ลูกอีสาน (๒๕๒๕) 30. Luk Isan (Son of the Northeast), (1982) ๓๑. นำ้� พุ (๒๕๒๗) 31. Nampu, (1984) ๓๒. นวลฉวี (๒๕๒๘) 32. Nualchawee, (1985) ๓๓. ข้างหลังภาพ (๒๕๒๘) 33. Khang Lang Parp (Behind the Painting), (1985) ๓๔. ผเี สื้อและดอกไม้ (๒๕๒๘) 34. Peesua Lae Dokmai (Butterfly and Flowers), (1985) ๓๕. วัลลี (๒๕๒๘) 35. Wallee, (1985) ๓๖. ด้วยเกล้า (๒๕๓๐) 36. Duay Klao, (1987) ๓๗. บุญชูผู้น่ารกั (๒๕๓๑) 37. Boonchoo Pu Narak, (1988) ๓๘. คนทรงเจ้า (๒๕๓๒) 38. Khon Song Jao (The Shaman), (1989) ๓๙. ทวิภพ (๒๕๓๓) 39. Tawiphop, (1990)

สารบัญ Table of Contents ๔๐. คนเลีย้ งช้าง (๒๕๓๓) 40. Khon Liang Chang (The Elephant Keeper), (1990) ๔๑. ปุกปุย (๒๕๓๓) 41. Pukpui, (1990) ๔๒. มือปืน ๒ สาละวนิ (๒๕๓๖) 42. Muepuen 2: Salween (The Gun Man 2), (1993) ๔๓. กาลคร้ังหน่งึ เม่ือเชา้ น้ี (๒๕๓๗) 43. Kalakrang Nueng Mua Chao Nee (Once Upon a Time… This Morning), (1994) ๔๔. ๒๔๙๙ อนั ธพาลครองเมือง (๒๕๔๐) 44. 2499 Anthapan Krong Muang (Dang Bireley and Young Gangsters), (1997) ๔๕. นางนาก (๒๕๔๒) 45. Nang Nak, (1999) ๔๖. สตรเี หล็ก (๒๕๔๓) 46. Satree Lex (The Iron Ladies), (2000) ๔๗. บางระจัน (๒๕๔๓) 47. Bang Rajan, (2000) ๔๘. ฟา้ ทะลายโจร (๒๕๔๓) 48. Fah Talai Jone (Tears of the Black Tiger), (2000) ๔๙. มือปนื โลกพระจนั ทร์ (๒๕๔๔) 49. Muepeun Loke/Pra/Chan, (2001) ๕๐. มนต์รกั ทรานซสิ เตอร์ (๒๕๔๔) 50. Monrak Transistor, (2001) ๕๑. สุริโยไท (๒๕๔๔) 51. Suriyothai, (2001) ๕๒. ๑๕ ค่ํา เดอื น ๑๑ (๒๕๔๕) 52. 15 Kham Duen 11 (Mekong Full Moon Party) (2002) ๕๓. แฟนฉนั (๒๕๔๖) 53. Fan Chan (My Girl), (2003) ๕๔. องคบ์ าก (๒๕๔๖) 54. Ong-Bak, (2003) ๕๕. ชัตเตอร์ กด ติด วญิ ญาณ (๒๕๔๗) 55. Shutter Kod Tid Winyan (Shutter), (2004) ๕๖. โหมโรง (๒๕๔๗) 56. Hom Rong (The Overture), (2004) ๕๗. ตม้ ยำ� กุ้ง (๒๕๔๘) 57. Tom Yum Goong, (2005) ๕๘. มหา’ลัย เหมืองแร่ (๒๕๔๘) 58. Mahalai Muang Rae (The Tin Mine), (2005) ๕๙. ก้านกล้วย (๒๕๔๙) 59. Kan Kluay, (2006) ๖๐. Final Score ๓๖๕ วนั ตามติดชีวิตเดก็ เอน็ ท์ (๒๕๕๐) 60. Final Score: 365 Wan Tamtid Cheewit Dek Ent, (2007) ๖๑. รักแหง่ สยาม (๒๕๕๐) 61. Rak Haeng Siam (Love of Siam), (2007) ๖๒. ตาํ นานสมเดจ็ พระนเรศวรมหาราช (๒๕๕๐) 62. Tamnan Somdej Phra Naresuan Maharaj: Ong Prakan Hongsa (The Legend of King Naresuan 1), (2007) ๖๓. รถไฟฟ้ามาหานะเธอ (๒๕๕๒) 63. Rot Faifa Maha Na Ther (Bangkok Transit Love Story), (2009) ๖๔. ลงุ บญุ มีระลึกชาติ (๒๕๕๓) 64. Loong Boonmee Raluek Chat (Uncle Boonmee Who Can Recall His Past Lives), (2010), 108 minutes

๖๕. MARY IS HAPPY, MARY IS HAPPY (๒๕๕๖) 65. Mary Is Happy, Mary is Happy, (2013) ๖๖. ตง้ั วง (๒๕๕๖) 66. Tang Wong, (2013) ๖๗. พ่ีมาก...พระโขนง (๒๕๕๖) 67. Phi Mak Phrakanong, (2013) ๖๘. คดิ ถงึ วทิ ยา (๒๕๕๗) 68. Kid Tueng Wittaya (The Teacher Diary), (2014) ๖๙. พระมหาชนก (๒๕๕๗) 69. Phra Mahachanok, (2014) ๗๐. เพลงของขา้ ว (๒๕๕๘) 70. Pleng Khong Khao (Songs of Rice), (2015) รายช่ือภาพยนตร์ไทยเรอื่ งยาวทจี่ ดั ฉายและเผยแพรใ่ นสมัยรชั กาลท่ี ๙ ระหว่างช่วงเวลาทรงครองราชยร์ วม ๗๐ ปี ๑๒๗ วนั ๑๖๘ - ๒๑๙ (ตั้งแต่วนั ท่ี ๙ มถิ ุนายน พ.ศ. ๒๔๘๙ - วันท่ี ๑๓ ตลุ าคม พ.ศ. ๒๕๕๙) Lists of Feature-length Films Released During the Reign of King Bhumibol Which Lasted 70 Years and 127 Days. 168 - 219 (From June 9, 1946 to October 13, 2016.) การพจิ ารณาคดั เลอื กสุดยอดภาพยนตรไ์ ทยในสมัยรัชกาลที่ ๙ ๒๒๐ - ๒๒๓ Selection of the Outstanding Thai Films in the Reign of King Rama IX 220 - 223 การจดั นิทรรศการสุดยอดภาพยนตรไ์ ทยในสมัยรชั กาลท่ี ๙ ๒๒๔ - ๒๒๖ Exhibition of Outstanding Thai Films in the Reign of King Rama IX 224 - 226 บรรณานกุ รม Bibliography ๒๒๗ (227) กองบรรณาธกิ าร Editorial ๒๒๘ (228)

พระมหากรุณาธิคุณของ พระบาทสมเดจ็ พระบรมชนกาธเิ บศร มหาภมู ิพลอดลุ ยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ท่ที รงมีตอ่ วงการภาพยนตร์ไทย

ตลอดรชั สมยั ของพระบาทสมเดจ็ พระบรมชนกาธเิ บศร มหาภมู พิ ลอดลุ ยเดชมหาราช บรมนาถบพติ ร พระมหากรณุ าธคิ ณุ และพระอจั ฉรยิ ภาพ ของพระองคเ์ ปน็ ทปี่ ระจกั ษแ์ กช่ าวไทยทง้ั ชาตมิ าเปน็ ระยะเวลายาวนานหลายสบิ ปี หนงึ่ ในนนั้ คอื ดา้ นภาพยนตร์ ซง่ึ เปน็ หนงึ่ ในความสนพระราชหฤทยั ของพระองคม์ าตงั้ แตย่ งั ทรงพระเยาว์ ทรงไดร้ บั การถา่ ยทอดมาจากสมเดจ็ พระศรนี ครนิ ทราบรมราชชนนี ผทู้ รงเปน็ สมาชกิ สมาคมภาพยนตรส์ มคั รเลน่ แหง่ สยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจา้ อยูห่ ัว รัชกาลท่ี ๗ เช่นเดียวกับความสนพระราชหฤทัยอย่างจริงจังในศาสตร์และศิลป์ด้านอ่ืนๆ เกือบทุกแขนง พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงศึกษาเรียนรู้ศาสตร์ด้านภาพยนตร์ด้วยพระองค์เอง จนเกิดเป็นพระปรีชาสามารถในด้าน การถ่ายภาพยนตร์ อย่างที่สะท้อนให้เห็นอยู่ในภาพยนตร์ส่วนพระองค์ท่ีทรงบันทึกไว้เป็นจ�ำนวนมาก ในขณะเดียวกันความสนพระราชหฤทัย ในด้านภาพยนตร์ของพระองค์ยังได้แผ่ขยายครอบคลุมไปถึงวงการภาพยนตร์ไทย ด้วยทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ค�้ำชูและยกระดับวงการภาพยนตร์ ในด้านต่างๆ รวมไปถึงพระมหากรุณาธิคุณและพระอัจฉริยภาพด้านอ่ืนๆ ของพระองค์นั้น ยังเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างผลงานให้แก่ศิลปิน ผู้สร้างภาพยนตรจ์ �ำนวนมากมาตลอดรชั สมัยอันยนื ยาวและย่ิงใหญ่ ซง่ึ ยงั คงประทบั อยู่ในดวงใจของคนไทยทั้งชาติ ภาพยนตรส์ ่วนพระองค์ ภาพยนตร์ส่วนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภมู พิ ลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เร่ิมตน้ ขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๓ เม่อื มีพระราชพิธอี ันยิ่งใหญ่บังเกิดข้นึ ในเวลาใกล้เคยี งกันถึง ๒ พระราชพธิ ี นนั่ คอื วนั ท่ี ๒๘ เมษายน ๒๔๙๓ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธเิ บศร มหาภมู พิ ลอดลุ ยเดชมหาราช บรมนาถบพติ ร และหมอ่ มราชวงศส์ ริ กิ ติ ์ิ กติ ยิ ากร (พระอสิ รยิ ยศในขณะนนั้ ) ทรงประกอบพระราชพธิ รี าชาภเิ ษกสมรส ณ วังสระปทุม และต่อมาวนั ท่ี ๕ พฤษภาคม พระบาทสมเดจ็ พระบรมชนกาธเิ บศร มหาภมู พิ ลอดลุ ยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้ทรงประกอบ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก เสด็จข้ึนเสวยราชสมบัติเป็นพระเจ้าแผ่นดินโดยสมบูรณ์ ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ในพระบรมมหาราชวัง แน่นอนว่า ภาพเหตุการณ์ในพระราชพิธีตามราชประเพณีซึ่งกระท�ำขึ้นในเขตพระราชฐานท้ังสองนี้ พสกนิกรท่ัวไปย่อมมิอาจเห็นด้วยสายตา ไดแ้ ตเ่ พียงติดตามขา่ วจากหนงั สอื พมิ พแ์ ละวิทยุเท่านน้ั แต่ด้วยทรงมีพระราชนิยมในการถ่ายภาพน่ิงและภาพยนตร์ พระองค์จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้ ม.จ.ศุกรวรรณดิศ ดิศกุล เจ้านายซึ่ง โปรดการสร้างภาพยนตร์และทรงเคยสร้างภาพยนตร์ของกรมรถไฟหลวงมาก่อน ร่วมกับข้าราชบริพารจัดการถ่ายภาพยนตร์บันทึกพระราชพิธี ดังกล่าวไว้โดยตลอด และต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประมวลเข้ากับภาพยนตร์บันทึกพระราชพิธีน้ีท่ีถ่ายโดยนายแท้ ประกาศวุฒิสาร ช่างถ่ายภาพยนตร์อิสระรายหนึ่ง เพื่อพระราชทานออกฉายให้ประชาชนไทยชมทางโรงภาพยนตร์ทั่วประเทศ เกิดเป็นจุดเริ่มต้นของกิจการ ภาพยนตรส์ ว่ นพระองค์ มฐี านะเปน็ หนว่ ยงานหนงึ่ ในราชสำ� นกั ทำ� หนา้ ทบี่ นั ทกึ ภาพยนตรพ์ ระราชกรณยี กจิ ตา่ งๆ ของพระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั และพระบรมวงศานุวงศ์ สบื เนือ่ งเรือ่ ยมาจนถึงปจั จบุ ัน ถือเปน็ หนว่ ยผลติ ภาพยนตรท์ ี่ยืนยาวท่ีสุดในประเทศ จากครั้งแรกที่ภาพยนตร์มหามงคลได้ประจักษ์แก่สายตาประชาชน ปรากฏว่าเป็นที่นิยมชมชอบเป็นอย่างย่ิง เมื่อออกจากโรงภาพยนตร์ ในพระนครแล้ว ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้น�ำออกฉายตามโรงภาพยนตร์ต่างๆ ท่ัวประเทศ ท่ามกลางความต่ืนเต้นยินดีเป็นล้นพ้น ของพสกนิกรทุกหมู่เหล่า เพราะความสนใจอย่างย่ิงของประชาชนทั่วประเทศเช่นนี้เอง เป็นเหตุให้มีการผลิตภาพยนตร์ส่วนพระองค์ชุดอ่ืนๆ ออกฉายให้ประชาชนได้ชมปีละชุด ติดต่อกันทุกปีถึง ๑๗ ชุด โดยพระองค์พระราชทานรายได้ท้ังหมดจากการจัดฉายภาพยนตร์ส่วนพระองค์ ให้แกอ่ งค์กรการกศุ ลต่างๆ 11 11

คุณค่าของภาพยนตร์ส่วนพระองค์นี้ นอกจากจะเป็นบันทึกพระราชกรณียกิจของพระองค์และพระบรมวงศานุวงศ์เป็นรายวันแล้ว ยังเป็นภาพยนตร์ท่ีบันทึกบรรดาพระราชพิธีและรัฐพิธีส�ำคัญของบ้านเมืองเป็นล�ำดับมาตั้งแต่ต้นรัชกาล การเสด็จฯ เยี่ยมราษฎรทุกหนแห่ง ทั่วราชอาณาจักร การเสด็จพระราชด�ำเนินไปเจริญสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศ รวมถึงภาพพระราชอิริยาบถที่เป็นส่วนพระองค์ โดยเฉพาะ ภาพยนตร์ส่วนพระองค์ที่ทรงถ่ายด้วยฝีพระหัตถ์ ซ่ึงนับเป็นพระอัจฉริยภาพด้านหนึ่ง ท้ังที่ทรงถ่ายภายในครอบครัว ข้าราชบริพาร และถ่ายภาพ ของประชาชนที่มาเฝ้ารับเสด็จฯ ในทุกท่ีท่ีพระองค์เสด็จฯ ไป จากมุมกล้องท่ีไม่สามารถมีผู้ใดถ่ายท�ำได้ นั่นคือ ภาพประชาชนจากสายพระเนตร ของพระเจา้ แผ่นดินของพวกเขาเอง นบั จาก พ.ศ. ๒๔๙๓ กจิ การภาพยนตรส์ ว่ นพระองคน์ ไ้ี มเ่ คยหยดุ การดำ� เนนิ งาน ชา่ งถา่ ยภาพยนตรส์ ว่ นพระองคค์ งทำ� หนา้ ทบ่ี นั ทกึ ภาพยนตร์ สว่ นพระองคส์ บื มาแทบทกุ วนั เชอ่ื ไดว้ า่ ภาพยนตรส์ ว่ นพระองคใ์ นพระบาทสมเดจ็ พระบรมชนกาธเิ บศร มหาภมู พิ ลอดลุ ยเดชมหาราช บรมนาถบพติ ร เป็นภาพยนตร์ส่วนตัวของบุคคล หรือ “หนังบ้าน” ท่ีมีการบันทึกต่อเนื่องยืนนานที่สุดในโลก มีปริมาณมากที่สุดในโลก เป็นความทรงจ�ำ และเปน็ ประจกั ษ์พยานแห่งความรักอันสนิทแน่นระหวา่ งพระเจา้ แผน่ ดนิ และพสกนิกรของพระองค์ ซึง่ เป็นหน่ึงเดยี วและเปน็ เอกในโลก ทรงมีคณุ ูปการอย่างอเนกอนนั ต์ต่อวงการภาพยนตร์ในประเทศไทย พระราชนิยมในด้านภาพยนตร์ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร พระราชทานรางวลั ตุก๊ ตาทองครง้ั ท่ี ๗ ประจ�ำปี พ.ศ. ๒๕๐๗ มหา ภูมิพลอดุลยเ ดชมหาราช บรมน า ถ บพิ ตร น้ั นส ะ ท ้ อนให ้ เ ห็ น ให้แก่ นายทิวา แจม่ ผล รางวัลตุ๊กตาเงินบทเสรมิ ยอดเด่นฝา่ ยชาย ผ่านการเสด็จพระราชด�ำเนินทอดพระเนตรภาพยนตร์ไทยและต่างประเทศ ในรอบปฐมทัศน์ หรือรอบการกุศล ณ โรงภาพยนตร์ชั้นหน่ึง ซึ่งทรงกระท�ำอยู่ จากเรื่อง ร้อยปา่ เป็นนิจนับตั้งแต่เสด็จข้ึนครองราชย์ รวมท้ังการทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้สร้างภาพยนตร์ น�ำภาพยนตร์ไปจัดฉายถวายทอดพระเนตรเป็นการ ส่วนพระองค์ ณ พระต�ำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชนิยมในศิลปะภาพยนตร์ ของพระองค์ท่านยังความปลาบปล้ืมใจแก่เหล่าพสกนิกรซ่ึงเข้าเฝ้ารับเสด็จฯ และได้เข้าชมภาพยนตร์ด้วยอย่างหาที่สุดมิได้ รวมทั้งสร้างขวัญก�ำลังใจให้แก่ ทีมงานผเู้ กยี่ วขอ้ งกับภาพยนตรเ์ รอื่ งนนั้ ๆ อกี ดว้ ย นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดช มหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชด�ำเนิน เป็นประธาน และพระราชทานรางวัลในงานประกาศผลรางวัลตุ๊กตาทอง คร้ังท่ี ๗ ประจ�ำปี พ.ศ. ๒๕๐๗ และครั้งท่ี ๘ ประจ�ำปี พ.ศ. ๒๕๐๘ และเมื่อรางวัลน้ี ได้รับการรื้อฟื้นขึ้นใหม่ในปี พ.ศ. ๒๕๑๗ พระองค์ท่านก็ยังทรงมี พระมหากรุณาธิคุณต่อผู้จัดงาน และผู้รับรางวัลเป็นอย่างสูง พระราชทานช่ือ 12 12

อย่างเป็นทางการว่า รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี คร้ังที่ ๑ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คณะผู้ที่ได้รับรางวัลมารับพระราชทานรางวัล จากพระหัตถ์ของพระองค์ในพระตำ� หนักจติ รลดารโหฐาน ก่อนจะเปล่ียนเป็นมารบั กับผแู้ ทนพระองคใ์ นเวลาต่อมา ในพธิ พี ระราชทานรางวัลตุก๊ ตาทอง เม่ือวนั ท่ี ๑๐ สงิ หาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ พระองค์มพี ระราชดำ� รัสแก่คณะกรรมการตดั สนิ ภาพยนตร์ ศลิ ปิน นักแสดง นกั วิชาการ และเจ้าหน้าทเี่ ทคนคิ ภาพยนตร์ วา่ “...เป็นส่ิงที่น่ายินดีที่ภาพยนตร์ไทยเด๋ียวน้ีมีความก้าวหน้า อันนี้อาศัยความเป็นศิลปินของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และในวันน้ีผู้ท่ีเป็นศิลปิน หลายแขนงได้มาชุมนุมพร้อมกัน จงึ ขอพูดถึงผู้ทเ่ี ปน็ ศลิ ปนิ ...นอกจากจะเป็นการบันเทิงให้ความสุข ความจริง ในเรื่องของบันเทิงนั้น ศิลปินแสดงให้ผู้ดู ผู้ฟัง ผู้ชม ได้มีความสุขบ้าง ให้มีความเศร้า บ้าง แต่วา่ ความสขุ ความรา่ เรงิ ความเศรา้ ความทุกข์ ทไี่ ดจ้ ากการแสดงของศลิ ปินนน้ั มีประโยชนท์ ้งั น้ัน ในทางที่จะท�ำใหค้ ดิ ทำ� ให้เห็นความจรงิ ในจติ ใจ และเม่ือเห็นความจริงในจติ ใจแล้ว ท�ำใหเ้ กดิ ความรขู้ น้ึ และสามารถท่จี ะปฏบิ ัตติ นให้ดี ให้มีประโยชน์ต่อตนเองและตอ่ สังคมได้...” พระราชดำ� รสั ดงั กลา่ วแสดงใหเ้ หน็ ประโยชนส์ งู สดุ ของสอื่ ภาพยนตรท์ มี่ ากกวา่ แคค่ วามบนั เทงิ แตย่ งั กระตนุ้ ใหผ้ ชู้ มไดเ้ รยี นรเู้ พอ่ื เปน็ ประโยชน์ แก่ตนเองและสงั คมไดด้ ้วย ซง่ึ ถือเป็นการสร้างขวญั และก�ำลังใจให้แกผ่ ูส้ รา้ งภาพยนตรไ์ ทยอยา่ งหาท่ีสุดมิได้ แรงบนั ดาลใจแกผ่ สู้ ร้างภาพยนตร์ไทย หน่ึงในพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่คนไทยคุ้นเคย เป็นอย่างดีคือ พระอัจฉริยภาพทางดนตรี พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์เน้ือเพลงและท�ำนอง หรืออย่างใดอย่างหน่ึง รวมทั้งส้ิน ๔๘ เพลง ซ่ึงผู้สร้างภาพยนตร์ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตอัญเชิญเพลงพระราชนิพนธ์ไปประกอบภาพยนตร์ เช่น เพลงชะตา ชีวิต ประกอบภาพยนตร์เรื่อง นกน้อย (๒๕๐๗) เพลงลมหนาว ประกอบภาพยนตร์เร่ือง ลมหนาว (๒๕๐๙) เพลงสายฝน ประกอบ ภาพยนตร์เรื่อง สายฝน (๒๕๑๖) เพลงสายฝน, ลมหนาว, ชะตาชีวิต, อาทิตย์อับแสง, ยามเย็น, แสงเดือน, แสงเทียน, ใกล้รุ่ง และยิ้มสู้ ประกอบภาพยนตร์เรื่อง ด้วยเกล้า (๒๕๓๐) เพลงยามเย็น, ในดวงใจนิรันดร์ และพรปีใหม่ ประกอบภาพยนตร์เร่ือง พรจากฟ้า (๒๕๕๙) นอกจากภาพยนตร์เร่ืองยาวแล้ว ยังมีภาพยนตร์ส้ันชุด คีตราชนิพนธ์ บทเพลงในดวงใจราษฎร์ (๒๕๕๘) ที่ใช้เพลงพระราชนิพนธ์ ชะตาชีวิต, ยิม้ ส้,ู สายฝน และความฝนั อนั สงู สดุ  เปน็ แรงบนั ดาลใจการในสรา้ งเรื่องราวในภาพยนตร์ พระอัจฉริยภาพทางดนตรีของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรได้รับการน้อมน�ำเสนอ ในภาพยนตร์สารคดเี ร่ือง คตี ราชัน (๒๕๓๙) ซงึ่ สรา้ งขึน้ โดยรฐั บาลเนอ่ื งในวโรกาสฉลองสริ ิราชสมบตั ิครบ ๕๐ ปี โดยมกี ารรวบรวมพระราชประวัติ และพระอัจฉริยภาพทางดา้ นดนตรขี องพระองค์ท่านได้อย่างเด่นชดั นอกจากพระอัจฉริยภาพทางดนตรีแล้ว พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรยังทรง สนพระราชหฤทัยด้านภาษา วรรณกรรม และวรรณคดี พระองค์ท่านทรงแปลและพระราชนิพนธ์หนังสือ ซึ่งหนังสือพระราชนิพนธ์ เร่ืองพระมหาชนก และเรื่องทองแดง ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ผู้สร้างภาพยนตร์ไทยน�ำไปดัดแปลงเป็นภาพยนตร์อนิเมชั่น เรอ่ื งพระมหาชนก (๒๕๕๗) และคุณทองแดง The Inspirations (๒๕๕๘) ตามล�ำดับ 13 13

ตลอดช่วงรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดช มหาราช บรมนาถบพติ ร ไดท้ รงประกอบพระราชกรณยี กจิ มากมาย รวมไปถงึ การพระราชทาน 14 14 โครงการในพระราชด�ำริ เพ่ือประโยชน์สุขแก่พสกนิกรทั่วประเทศ ในโอกาสที่ทรงเจริญ พระชนมพรรษาครบ ๕ รอบ เมอื่ วนั ท่ี ๕ ธนั วาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ มผี สู้ รา้ งภาพยนตรไ์ ทย ๒ เรอื่ ง น�ำออกฉายน้อมเกล้าฯ ถวายในนามวงการภาพยนตร์ไทยเพ่ือเฉลิมฉลองในวาระพิเศษนี้ ได้แก่ ด้วยเกล้า ของบริษัทไฟว์สตาร์ ผลงานก�ำกับของบัณฑิต ฤทธิ์ถกล ซึ่งน้อมน�ำเสนอ ความส�ำคัญของโครงการในพระราชด�ำริฝนหลวงท่ีมีต่อเกษตรกร และภาพยนตร์สารคดี เรอ่ื ง ศนู ยร์ วมแหง่ ดวงใจ โดยหมอ่ มเจา้ ชาตรเี ฉลมิ ยคุ ล และบรรจง โกศลั วฒั น์ ซง่ึ เปน็ ภาพยนตร์ สารคดีที่น�ำเสนอพระราชกรณียกิจต่างๆ ของพระองค์ท่ีทรงบ�ำเพ็ญเพ่ือประโยชน์สุขของ พสกนิกรมาตลอดรชั สมัย และนำ� เสนอทศั นะของประมุขและผูน้ ำ� โลกท่ีมตี อ่ พระองค์ นอกจากภาพยนตร์เร่ืองยาวแล้ว ยังมีชุดภาพยนตร์ส้ันที่ภาครัฐและเอกชน เป็นผู้สร้างเพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติในวาระพิเศษต่างๆ โดยได้แรงบันดาลใจจากโครงการ พระราชด�ำริ และพระราชกรณียกิจต่างๆ มาถ่ายทอดเป็นภาพยนตร์ ได้แก่ ภาพยนตร์ เฉลมิ พระเกยี รตเิ นอ่ื งในโอกาสทรงเจรญิ พระชนมพรรษาครบ ๘๐ พรรษา ชดุ แดพ่ ระผทู้ รงธรรม (๒๕๕๐) สร้างโดย ส�ำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ภาพยนตร์ส้ัน ชดุ หยาดนำ�้ เพอื่ ชวี ติ ในหลวงคอื แรงบนั ดาลใจ (๒๕๕๒) โดยโครงการปดิ ทองหลงั พระ สบื สาน แนวพระราชด�ำริ และส�ำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) ภาพยนตร์เฉลิมพระเกียรติเน่ืองในโอกาสทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๘๓ พรรษา โดยกระทรวงมหาดไทย ร่วมกับกระทรวงกลาโหม และกระทรวงคมนาคม ภาพยนตร์ส้ัน เฉลิมพระเกียรติชุด ร้อยดวงใจให้พ่อ (๒๕๕๓) และ ๙ มหัศจรรย์ องค์ราชัน พลังแผ่นดิน (๒๕๕๓) โดยส�ำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ในโอกาสทรงเจริญ พระชนมพรรษาครบ ๘๓ พรรษา ภาพยนตร์ส้ันเฉลิมพระเกียรติชุด เฉลิมพระเกียรติ เทดิ เกล้า (๒๕๕๕) ของบรษิ ัท อสมท จำ� กัด (มหาชน) ร่วมกบั มลู นธิ ิชยั พฒั นา เน่ืองในโอกาส ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๘๕ พรรษา โครงการภาพยนตร์สั้นเฉลิมพระเกียรติ ไทยนิยม (๒๕๕๗) ซ่ึงจัดท�ำโดยส�ำนักงานปลัดส�ำนักนายกรัฐมนตรี และส�ำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๘๗ พรรษา โครงการภาพยนตร์ส้ันเฉลิมพระเกียรติ ใต้ร่มยุติธรรม (๒๕๕๗) จัดขึ้นโดย ส�ำนักงานกิจการยุติธรรม ในโอกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา ๘๗ พรรษา โครงการ ทศพิธธรรมราชาโดยมูลนิธิไทยพึ่งไทย เน่ืองในโอกาสทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๘๗ พรรษา และฉลองสริ ริ าชสมบัติครบ ๖๘ ปี เป็นตน้

หอภาพยนตรส์ ่วนพระองค์ (Royal Private Film Archive) อาคารเก็บรักษาและอนุรักษ์ฟิล์มภาพยนตร์และภาพน่ิงส่วนพระองค์ หรือหอภาพยนตร์ส่วนพระองค์ (Royal Private Film Archive) ได้รับพระบรมราชานุญาตจัดตั้งข้ึนใน พ.ศ. ๒๕๕๐ ณ บริเวณสนามเสือป่า พระราชวังดุสิต เพื่อเก็บรักษาฟิล์มภาพยนตร์และภาพน่ิง สว่ นพระองคข์ องพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธเิ บศร มหาภมู ิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพติ ร ถึงแม้ว่าพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเสด็จสวรรคตแล้ว แต่พระมหากรุณาธิคุณ ของพระองค์ท่านยังคงสถิตอยู่ในใจของพสกนิกรชาวไทยท่ัวหล้า โดยมีส่ือภาพยนตร์ท่ีบันทึกพระจริยวัตรอันงดงาม พระราชกรณียกิจ และพระ ปรชี าสามารถของพระองคท์ า่ น เปน็ หลกั ฐานประจกั ษพ์ ยานทสี่ ำ� คญั และสมควรอยา่ งยงิ่ ทจ่ี ะตอ้ งไดร้ บั อนรุ กั ษไ์ วเ้ ปน็ มรดกความทรงจำ� แหง่ รชั สมยั King Bhumibol Adulyadej’s Royal Patronage of Thai Film King Bhumibol Adulyadej’s kindness and artistic genius were abundantly manifest to his Thai subjects during his decades-long reign. One of the king’s lifelong interests was in the art of cinema, which he inherited from Princess Srinagarindra, or the Queen Mother, who was a member of the Amateur Filmmaker Club under the Royal Patronage of King Rama VII. King Bhumibol’s mastery in the art of cinema was evident in the collection of his personal films, meanwhile his interest extended towards the Thai film industry as a whole. King Bhumibol was a patron who elevated the standard of Thai filmmaking activities in various aspects, while his artistic genius was an inspiration to film artists who were fortunate enough to work under his reign. King Rama IX’s Personal Films King Bhumibol Adulyadej’s personal film collection had its origin in 1950 when two auspicious events took place in succession. On the 28th of April, King Bhumibol and Mom Ratchawong Sirikit Krittiyakorn, later Queen Sirikit, were married at Sra Pathum Palace. On the 5th of May, the coronation ceremony of King Bhumibol took place at the Amarinvinitchai Throne Hall where His Majesty became the ninth monarch of Chakri Dynasty. The images that recorded these two events, which took place in royal compounds, were off limits to the people of Thailand, who could only follow the historic events from newspapers and radio reports. But King Bhumibol commanded Mom Chao Supakorndit Diskul, a prince who was passionate about cinema, to record the two events. Later, the king commanded that the recordings be edited and combined with another film relating to the same events shot by Thae Prakatvudhisarn, an independent cameraman, and the resulting film was released in cinemas across the country. This was the origin of the Royal Film Department, whose duty was to record every royal activity of King Bhumibol Adulyadej and the royal family. The film of the royal wedding brought great joy and excitement to viewers across the country. Such interest led the Royal Film Department to produce a royal film to be released in cinemas every year for the next 17 years. 15 15

The Patron of the Thai Film Industry Since the beginning of his reign, King Bhumibol Adulyadej’s admiration for the art of cinema was manifest in royal attendance at the premiere of Thai and international movies, which took plae regularly at Bangkok’s finest movie houses. The king also requested Thai filmmakers to screen their films at Chitralada Palace. Moreover, King Bhumibol and Queen Sirikit graciously presided over Golden Doll Award ceremony in 1964 and in 1965. And when the award, discontinued in the late 1960s, was revived in 1974, the king bestowed such generosity by blessing it with a new name: Surasawadee Award. The first batch of winners received the tropies from the king himself at Chitralada Palace. Later, the monarch’s representatives would continue to hand out the trophies to winners. At the Surasawadee Award ceremony on the 10th of August, 1976, His Majesty gave a speech to the jury, actors, academics and film technicians as follows: “… It is a delight to see the advancement of Thai film. This requires the artistic ability of all professionals. Today is a gathering of artists from varoius fields, so I’ll speak about those who practise the arts. “Besides giving happiness, artists and entertainers actually perform to give joy as well as sadness to audiences. The happiness, joy, sadness and grief derived from the performance are valuable since they inspire people to think and to see the truth inside one’s mind. And once the truth is seen, it brings wisdom that improves one’s behaviour, which contributes to the improvement of oneself and society.” The speech sheds light on the contribution of the film media that goes beyond simple entertainment and into the realm of wisdom and inspiration. Inspiration to Thai Filmmakers King Bhumibol Adulyadej’s best-known artistic genius was his royal compositions. The monarch composed 48 songs throughout his reign. Over the decades, Thai filmmakers had asked for royal permission to use some of them in their movies; such as the song H.M. Blues was featured in the film Nok Noi (1964), Love in Spring was featured in Lom Nao (1966), Falling Rain was featured in Sai Fon (1973), while Falling Rain, Love in Spring, H.M.Blues, Blue Day, Love at Sundown, Candlelight Blues, Near Dawn and Smiles were featured in Duay Klao (1987). The movie Pond Jak Fah (2016) featured Love at Sundown, Still On My Mind and New Year Greeting. His Majesty’s musical brilliance was also displayed in the documentary Kitarajan (1996), which was commissioned to commemorate the Golden Jubilee of the monarch’s accession to the throne. King Bhumibol Adulyadej also wrote and translated severl books. After being granted royal permission, his books Phra Mahajanok and Thongdaeng were adapted into two animated films: Phra Mahajanok (2014) and Khun Thongdaeng The Inspirations (2015), respectively. During his reign, King Bhumibol Adulyadej worked hard to improve the livelihoods of his subjects, especially through his Royal Projects. On the occasion of his 60th birthday anniversary on the 5th of December, 1987, two Thai films were made to mark this auspicious landmark: Duay Klao tells the story of the king’s Royal Rainmaking Project; and Soon Ruam Haeng Duangjai is a documentary film that records the monarch’s royal activities. Royal Private Film Archive The facility for the preservation and restoration of His Majesty’s personal film and photography, or the Royal Private Film Archive, was set up in 2007 under royal permission at Sanam Sua Pa, Dusit Palace. Though King Bhumibol Adulyadej’s passing has brought great sorrow to the nation, his kindness and artistic brilliance remain forever in the hearts of all Thais. The films that record, portray and narrate the beloved monarch’s life, activities and geniuses are an invaluable treasure to the nation, and it’s of utmost importance to preserve them as a way to preserve the memory of his glorious reign. 16 16

ววิ ัฒนาการของภาพยนตรไ์ ทย • ภาพยนตร์เรอ่ื งแรกทเี่ กี่ยวกบั ชาวไทย คือบันทึกภาพเหตุการณ์เม่ือพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสกรุงเบิร์น ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในคราว เสด็จประพาสทวีปยุโรปครั้งท่ี ๑ เป็นภาพกระบวนแห่ของทหารม้ากองเกียรติยศน�ำรถพระท่ีน่ังซ่ึงรัฐบาลประเทศสวิตเซอร์แลนด์จัดถวาย จากสถานีรถไฟสู่โรงแรมท่ีประทับ เป็นภาพยนตร์ จ�ำนวน ๑ ม้วน ความยาว ๑ นาที ถ่ายท�ำโดยนายฟรองซัว อองรี ลาวานซี คล้าก ต่อมา เขาได้น�ำภาพยนตรน์ ีไ้ ปฉายใหท้ อดพระเนตร ณ ทปี่ ระทบั ในกรุงเจนีวา เมื่อวนั ที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๐ • ภาพยนตร์เร่ืองแรกในประเทศไทย เมื่อวันท่ี ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๔๐ ได้มีการฉายภาพยนตร์และเก็บค่าเข้าชมคร้ังแรกในประเทศไทย โดยนายเอส จี มาร์คอฟสกี ชาวต่างประเทศไม่ปรากฏสัญชาติ จึงถือว่าเป็นจุดก�ำเนิดของภาพยนตร์ในไทย และก่อนหน้าน้ัน ๑ วัน หนังสือพิมพ์บางกอกไทมส์ได้ลง ประกาศโฆษณา ความวา่ “ขอแจง้ ความใหท้ า่ นทง้ั หลายทราบทว่ั กนั วา่ การละเลน่ ซงึ่ เรยี กวา่ ซเี นมาโตแครฟ คอื รปู ทส่ี ามารถกระดกิ แลทำ� ทา่ ตา่ ง ๆ ได้โดยค�ำขอของราษฎรจะเล่นสามคืนติดๆ กัน คือ วันพฤหัศบดี วันศุกร แลวันเสาร์ตรงกับวันท่ี ๑๐, ๑๑ และ ๑๒ มิถุนายน ที่โรงละคร หม่อมเจ้าอลังการ จะมีวงแตรเป่าด้วย ...” และนับจากวันนั้นได้มีคณะภาพยนตร์เร่ชาวต่างประเทศเดินทางมาจัดฉายภาพยนตร์ในประเทศไทย อยู่เนืองๆ โดยการฉายภาพยนตร์ในยุคแรกจะเช่าสถานท่ีโรงละคร โรงแรม หรือกางกระโจมเพ่ือฉายภาพยนตร์ ในปีเดียวกันน้ัน พระเจ้าบรม วงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ พระราชอนุชา ซึ่งได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรป และทรงจัดซ้ือ “หนงั ฝร่งั ๓ สำ� รบั ” ซ่ึงนา่ จะหมายถึงกลอ้ งถา่ ยและเครื่องฉายภาพยนตร์ของฝรงั่ เศส • พระบดิ าแห่งภาพยนตร์ไทย ปรากฏหลักฐานว่าได้มีการถ่ายท�ำภาพยนตร์ครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ ทรงเริ่มถ่ายท�ำและจัดฉายภาพยนตร์ท่ีวังของพระองค์ ต้ังแต่ พ.ศ. ๒๔๔๓ เป็นต้นมา และได้น�ำออกฉายในงานประจ�ำปีวัดเบญจมบพิตร และยงั ทรงใหช้ าวตา่ งประเทศทเ่ี ขา้ มาฉายภาพยนตรใ์ นไทยสามารถเชา่ ภาพยนตรท์ พี่ ระองคถ์ า่ ยทำ� นอ้ี อกฉายดว้ ย จงึ ถอื กนั วา่ พระเจา้ บรมวงศเ์ ธอ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ ทรงเป็นพระบดิ าแห่งภาพยนตรไ์ ทย 17 17

• โรงภาพยนตรแ์ ห่งแรกในประเทศไทย พ.ศ. ๒๔๔๙ นาย ท.วาตานาเบ ชาวญ่ีปุ่น ซึ่งท�ำกิจการ กระโจมฉายหนงั อยหู่ ลงั วดั ชยั ชนะสงคราม หรอื วดั ตกึ โดยฉายหนงั สงครามญ่ีปุ่นรบกับรัสเซีย สารคดี ละครหรือจินตลีลาส้ันๆ และ หนงั เบด็ เตลด็ ตา่ งๆ ไดร้ บั ความนยิ ม มคี นไทยตตี วั๋ เขา้ ชมจำ� นวนมาก จึงได้สร้างโรงภาพยนตร์ชื่อว่า Japanese Cinematograph ส�ำหรับฉายหนังทุกวันขึ้น แต่คนไทยนิยมเรียกว่า โรงหนังญ่ีปุ่น และภาพยนตร์ที่ฉายไม่ว่าจะเป็นของชาติใดก็ตาม คนยุคนั้น กจ็ ะเรยี กวา่ “หนงั ญป่ี นุ่ ” ทงั้ สนิ้ “โรงหนงั ญปี่ นุ่ ” เปน็ โรงภาพยนตร์ โรงเจรญิ รูปญ่ปี ุน่ หลวง แหง่ แรกในประเทศไทย เปดิ กจิ การได้เพยี ง ๒ - ๓ ปี กเ็ ปน็ ท่นี ิยม ประสบความส�ำเร็จ มีกิจการรุ่งเรืองและได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับตราแผ่นดินหน้าโรงภาพยนตร์ ท�ำให้คนไทยยุคน้ันนิยม เรยี กวา่ “โรงหนงั ญปี่ ุน่ หลวง” ความเจริญก้าวหน้าของโรงหนังญี่ปุ่น ท�ำให้นักธุรกิจยุคน้ันหันมาสนใจในกิจการโรงภาพยนตร์ มีการตั้งโรงหนังทีละโรงสองโรง จนต่อมา บรษิ ทั ปาเต๊ะแฟรฺ (Pathé Frères) ประเทศฝรั่งเศส ซงึ่ เป็นบรษิ ทั ผลิตและจ�ำหนา่ ยภาพยนตร์รายใหญข่ องโลก ได้มาตงั้ สาขาจ�ำหน่ายภาพยนตร์ ที่สิงคโปร์ ท�ำให้การซ้ือหาหนังมาฉายสะดวกข้ึน ในช่วงปลายรัชกาลท่ี ๕ จึงเกิดมีโรงหนังเกิดขึ้นมากมายกระจายตัวอยู่สองฝั่งถนนเจริญกรุง ซงึ่ เป็นถนนสายหลกั ของกรงุ เทพฯ ในขณะนน้ั ไดแ้ ก่ โรงหนังบางรัก โรงหนงั กรุงเทพซนี ีมาโตกราฟ หรือโรงหนงั วงั เจ้าปรีดา โรงหนงั รตั นภาพยนตร์ และโรงหนังพยนต์พัฒนากร ภาพยนตร์ท่ีฉายยุคนั้น ยังคงเป็นหนังเงียบ ทางโรงต้องจัดหาวงดนตรีมาเล่นเพื่อเพ่ิมสีสันในการชมภาพยนตร์ ที่ยังคงเปน็ หนังเบ็ดเตล็ดส้ันๆ ถา่ ยท�ำจากเหตุการณ์จริงและการแสดงทีม่ ีการจดั ฉาก ช่างทีถ่ ่ายทำ� ภาพยนตรใ์ นไทยยคุ น้นั ช่วง พ.ศ. ๒๔๕๔ – ๒๔๕๗ ในสมัยรัชกาลที่ ๖ กิจการโรงภาพยนตร์มีการแข่งขันเพิ่มข้ึน และกระจายตัวออกจากถนนเจริญกรุง สู่แหล่งการค้าต่างๆ เช่น บริษัทพยนต์พัฒนากร (โรงพัฒนากร โรงพัฒนารมย์ โรงพัฒนาลัย) บริษัทรูปพยนต์กรุงเทพ (โรงกรุงเทพ โรงชะวา โรงฮอ่ งกง โรงสงิ คโปร)์ และ โรงเจรญิ รปู ญปึ่ นุ่ หลวง จงึ เรม่ิ เกดิ กลยทุ ธใ์ นการชว่ งชงิ ผชู้ ม มกี ารลงแจง้ ความประกาศโฆษณาทงั้ ในหนงั สอื พมิ พแ์ ละใบปลวิ เป็นภาษาไทย จีน อังกฤษ ลงโปรแกรมฉาย ลงเรื่องย่อเพื่อเป็นคู่มือในการชม เน่ืองจากคนไทยยุคน้ันส่วนใหญ่อ่านตัวอักษรบรรยายหนังไม่ออก รวมท้งั ใชก้ ารลด แลก แจก แถมมาช่วยดว้ ย นับแต่ พ.ศ. ๒๔๕๙ เป็นต้นมา การแข่งขันที่เข้มข้นและผลกระทบจากสงครามโลกครั้งที่ ๑ ท�ำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบธุรกิจ มากมาย โรงหนงั เจรญิ รปู ญป่ี นุ่ หลวงตอ้ งปดิ ตวั ลง บรษิ ทั นาครเขษมทนุ จำ� กดั และเปดิ โรงหนงั ๕ โรงในกรงุ เทพฯ เชน่ นาครเขษม นาครศรธี รรมราช นาครเชียงใหม่ และนาครปฐม ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๖๓ เกิดปัญหาคดีความฉ้อโกงกันในบริษัทจนต้องเลิกกิจการโรงภาพยนตร์ทั้งหมด จากน้ันมีการรวมกิจการของบริษัทพัฒนากรและบริษัทรูปพยนต์กรุงเทพ รวมบริษัทกันเป็น สยามภาพยนตร์บริษัท ขยายกิจการโรงภาพยนตร์ ไปกวา่ ๒๐ โรงท่ัวกรงุ เทพฯ รวมทง้ั เปดิ โรงหนังกระจายไปทุกภูมภิ าคทวั่ ประเทศ 18 18

ต่อมา พ.ศ. ๒๔๖๕ พ่ีน้องสกุลวสุวัต ได้เช่าโรงหนังเก่าของนาครเขษม มาด�ำเนินกิจการในนาม บริษัทสยามนิรามัยภาพยนตร์ ซ่ึงแม้ จะได้แรงสนับสนุนจากภาครัฐ แต่ด�ำเนินกิจการได้เพียงปีเดียวก็ต้องเลิกกิจการไปเพราะสู้บริษัทยักษ์ใหญ่คือสยามภาพยนตร์บริษัทไม่ได้ และในปีเดียวกัน (พ.ศ. ๒๔๖๕) พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกําแพงเพชรอัครโยธิน ได้ทรงจัดต้ัง “กองภาพยนตร์เผยแผ่ข่าว” ขึ้นในกรมรถไฟหลวง เพื่อผลิตภาพยนตร์ข่าวสาร สารคดีและเผยแพร่กิจกรรมของกรมรถไฟตลอดจนกิจการของกระทรวงทบวงกรมอื่นๆ รวมท้ังรับจา้ งผลิตภาพยนตรใ์ หเ้ อกชนอีกดว้ ย • ภาพยนตรข์ นาดยาวเรอื่ งแรกทถ่ี า่ ยท�ำในประเทศไทย ภาพยนตร์ไทยเร่ืองแรกถ่ายท�ำในเมืองไทย คือ เรื่อง “นางสาวสุวรรณ” (พ.ศ. ๒๔๖๖) ผู้สร้าง คือ นายเฮนร่ี อเล็กซานเดอร์ แมกเร บริษัทภาพยนตร์ จากฮอลลีวูด ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เดินทางเข้ามาประเทศไทยและขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตถ่ายท�ำภาพยนตร์ ในเมืองไทย เร่ืองน้ีผู้แสดงท้ังหมดเป็นคนไทย แต่ผู้สร้าง ทีมงาน และเจ้าของทุนเป็นฝรั่งเกือบทั้งหมด ถ่ายท�ำที่กรุงเทพฯ หัวหิน และเชียงใหม่ เป็นภาพยนตร์เรอ่ื งราวความรักของหนุ่มสาวชาวไทยคหู่ น่งึ มคี วามยาว ๘ ม้วน ชื่อเร่ือง Miss Suvarna หรือ Suvarna of Siam และไดน้ ำ� ฟลิ ์ม ไปฉายถวายรัชกาลท่ี ๖ ให้ทอดพระเนตรที่พระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม และน้อมเกล้าฯ ถวายภาพยนตร์ ๑ ส�ำเนา และมอบให้กรมรถไฟ อีก ๑ ส�ำเนาพร้อมลิขสิทธ์ิในการฉายในไทย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บริษัทสยามนิรามัย น�ำออกฉาย ใช้ช่ือว่า “สุวรรณสยาม” กรมรถไฟได้ให้สยามภาพยนตร์บริษัท น�ำออกฉายใช้ชื่อว่า “นางสาวสุวรรณ” และเป็นท่ีน่าเสียดายว่า ปจั จบุ ันฟิลม์ ภาพยนตรเ์ รอื่ งนางสาวสวุ รรณได้สูญหายหมดทัง้ สิ้น 19 19

• ภาพยนตรเ์ รือ่ งยาวทส่ี รา้ งโดยคนไทยเร่ืองแรก “โชคสองช้ัน” คือภาพยนตร์เร่ืองแรกในประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทย ซ่ึงสร้างขึ้นใน พ.ศ. ๒๔๗๐ โดยบริษัทของคนไทยชื่อกรุงเทพภาพยนตร์บริษัท เป็นภาพยนตร์ขนาด ๓๕ มิลลิเมตร ขาว-ด�ำ และเป็นหนังเงยี บ ต่อมาประเทศไทยมีภาพยนตรเ์ สยี งในฟิลม์ เร่อื งยาวเร่ืองแรกคอื “หลงทาง” เขียนบทและก�ำกับโดยขุนวิจิตรมาตรา ด้วยเหตุท่ีภาพยนตร์เสียงในฟิล์ม (Sound on Film) ได้รับความนิยมเป็นอย่างย่ิง จึงท�ำให้หนังเงียบไม่ได้รับความสนใจจากประชาชน ดังนั้นโรงหนัง ที่ฉายหนังเงียบต่างประเทศท่ียังคงค้างสต๊อกจึงหาวิธีแก้ไขด้วยการมีผู้บรรยายหนังขณะฉาย ซึ่งได้รับ ความนิยมเชน่ เดยี วกัน • ยคุ ของภาพยนตรไ์ ทย วิวัฒนาการของภาพยนตร์ไทยแบง่ ไดเ้ ปน็ ๔ ยุค ดังนี้ ๑) ยุคกอ่ นสงครามโลกคร้งั ที่ ๒ พ.ศ. ๒๔๗๑ นักธุรกิจจากสิงคโปร์น�ำอุปกรณ์และภาพยนตร์เสียงในฟิล์มเข้ามาฉายในกรุงเทพฯ และได้รับความสนใจอย่างมาก พี่น้องตระกูลวสุวัตได้ศึกษาวิธีการท�ำภาพยนตร์เสียงในฟิล์มอย่างจริงจังจากบริษัทฟอกซ์ มูวีส์ โทน นิวส์ ซ่ึงเข้ามาถ่ายท�ำภาพยนตร์ข่าวเสียง และทดลองถ่ายท�ำหนังพูดได้ โดยใช้เคร่ืองมือของฝรั่ง และได้น�ำออกฉายท่ีโรงภาพยนตร์พัฒนากร ในวันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๔ ได้รับ ความชื่นชม ต่อมาพวกเขาได้ดัดแปลงกล้องถ่ายท�ำภาพยนตร์เสียง ไดส้ ำ� เรจ็ และเปลย่ี นชอื่ บรษิ ทั เปน็ “บรษิ ทั ภาพยนตรเ์ สยี งศรกี รงุ ” ภาพยนตร์ เร่ืองยาวเสียงในฟิล์มเรื่องแรกคือเรื่อง หลงทาง ขุนวิจิตรมาตราเป็น ผู้เขียนบทและก�ำกับการแสดง ฉายในช่วงวันขึ้นปีใหม่ เดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๗๕ และถือเป็นการร่วมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ ๑๕๐ ปี ประสบความสำ� เรจ็ อยา่ งสูง ภาพยนตร์เสียงส�ำคัญในยุคนี้คือ เร่ืองพระเจ้าช้างเผือก (พ.ศ. ๒๔๘๔) เขียนบทและสร้างโดยนายปรีดี พนมยงค์ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการคลงั เปน็ หนงั เสยี งภาษาองั กฤษ มวี ตั ถปุ ระสงคเ์ พอื่ ตา้ นกระแส ชาตินิยมและอ�ำนาจนิยมของผู้น�ำรัฐบาลขณะนั้น รวมทั้งต้องการส่ือไปถึง นานาชาติเรือ่ งความรกั สันตภิ าพของคนไทย ส่วนบริษัทผู้สร้างท่ีมีหนังเงียบไม่มีค�ำบรรยายไทยในสต๊อก และไม่มีความพร้อมในการสร้างหนังเสียงในฟิล์ม ได้คิดหาทางออก โดยการทำ� “หนังพากษ”์ มี “ทดิ เขียว” หรอื นายสิน สบี ญุ เรอื ง เป็นผู้รเิ ร่มิ พากย์หนังเปน็ คนแรก ภาพยนตรเ์ รือ่ งแรกทพี่ ากย์เปน็ ภาพยนตรอ์ ินเดีย เร่ืองอาบหู ะซนั ภาพยนตร์ในยุคนี้ จึงเกิดมีทั้งภาพยนตรเ์ สยี งในฟิลม์ และภาพยนตร์เงียบท่ตี ้องใหเ้ สยี งโดยการพากย์ขณะฉาย หนงั พากยย์ คุ บกุ เบกิ ได้แก่ เรอื่ งอ�ำนาจความรัก ของบรษิ ทั บูรพาภาพยนตร์ และเรอื่ งสาวเครอื ฟา้ ของบรษิ ทั หสั ดนิ ทรภ์ าพยนตร์ 20 20

๒) ยุคหลังสงครามและภาพยนตร์ ๑๖ มิลลเิ มตร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๕ ประเทศไทยได้เข้าสู่สงครามโลกโดยประกาศ สงครามกบั องั กฤษและสหรฐั อเมรกิ า ทำ� ใหไ้ มม่ ภี าพยนตรจ์ ากฮอลลวี ดู เขา้ มาฉาย จนกระทงั่ ชว่ งปลายสงคราม กรงุ เทพฯ ถกู ทงิ้ ระเบดิ อยา่ งหนกั ทงั้ กลางวนั กลางคนื ท�ำให้ไฟฟ้าดับอยู่เสมอ รวมท้ังเกิดน�้ำท่วมใหญ่ พ.ศ. ๒๔๘๕ โรงถ่ายหนัง ถกู นำ�้ ท่วมเสียหาย ส่งผลใหก้ ิจการสรา้ งและฉายภาพยนตรต์ อ้ งยตุ ลิ ง หลังสงครามโลกครั้งท่ี ๒ วงการภาพยนตร์ได้ฟื้นตัวข้ึน หนงั กลางแปลงท่ีมมี าแต่สมัยรัชกาลท่ี ๕ ก็ได้รับความนิยมทั่วไป มีบรษิ ัทตวั แทน จำ� หนา่ ยภาพยนตรต์ า่ งประเทศเขา้ มาตงั้ ในเมอื งไทย โดยเฉพาะภาพยนตรฮ์ อลลวี ดู ด้านภาพยนตร์ไทย หม่อมเจา้ ศุกรวรรณดศิ ดศิ กลุ และนายแท ้ ประกาศวฒุ สิ าร ได้สร้างภาพยนตร์ฟิล์ม ๑๖ มม. เร่ืองสุภาพบุรุษเสือไทยใช้นักพากย์พากย์สด ทุกรอบฉาย ไดร้ บั ความส�ำเรจ็ เกนิ คาดหมาย ทำ� รายไดเ้ หนอื หนังฮอลลีวูดทกุ เรอ่ื ง ท�ำให้เกิดนักสร้างหน้าใหมผ่ ลติ ภาพยนตร์ไทยออกมาอยา่ งตอ่ เน่อื ง พ.ศ. ๒๕๐๐ - ๒๕๑๕ เป็นยุคที่หนังพากย์ ๑๖ มม. เฟื่องฟู มีโรงภาพยนตร์เกิดข้ึนมากมาย แม้ฟิล์มจะไม่มีคุณภาพมากนัก เนื้อเร่ือง การด�ำเนนิ เรอ่ื งและบุคลิกตัวละครในรูปแบบท่ีคล้ายคลงึ กนั แตก่ ไ็ ดร้ บั ความนิยม สามารถสรา้ งรายได้อยา่ งงดงาม มี มติ ร - เพชรา เป็น พระ - นางคขู่ วญั นกั พากย์ จึงมีความส�ำคัญอย่างย่ิง ภาพโปสเตอร์หรือใบปิดหนังจะระบุชื่อนักพากย์ไว้ด้วย นกั พากย์ทีม่ ชี อ่ื เสียง ไดแ้ ก่ หม่อมหลวงรุจริ า-มารศรี อศิ รางกรู ณ อยธุ ยา พันคำ� (พร้อมสิน สีบุญเรือง) เสน่ห์ โกมารชุน จุรี โอศิริ สีเทา (จรัญ เพชรเจริญ) สมพงษ ์ วงศ์รกั ไทย ฯลฯ ต่อมารัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนเพื่ออุตสาหกรรม และได้ประกาศให้ภาพยนตร์ไทยเป็นอุตสาหกรรม ประเภทหนึ่ง ให้สิทธิบัตรการส่งเสริมการลงทุนแก่บริษัทใหญ่ ได้แก่ หนุมานภาพยนตร์ อัศวินภาพยนตร์ ละโว้ภาพยนตร์ ศรีสยามภาพยนตร์ และสุริยเทพภาพยนตร์ โดยมีข้อแม้ว่าจะต้องสร้างในระบบ ๓๕ มม. เท่านั้น ท�ำให้กลายเป็นจุดเปล่ียนท่ีส�ำคัญจากภาพยนตร์เสียงในฟิล์ม ระบบ ๑๖ มม. มาเปน็ ระบบ ๓๕ มม. 21 21

๓) ยคุ ฟืน้ ฟภู าพยนตร์ ๓๕ มิลลเิ มตร จุดเปล่ียนส�ำคัญอีกประการหน่ึง คือการเสียชีวิตของ มิตร ชัยบัญชา พระเอกชื่อดังของวงการ จากอุบัติเหตุระหว่างการถ่ายท�ำ ภาพยนตร์ เร่ือง อินทรีทอง ในฉากเสี่ยงตายโหนบันไดเชือกเฮลิคอปเตอร์ โดยไม่ใช้ตัวแสดงแทน และเกิดร่วงหล่นลงมาเสียชีวิต ส่งผลให้ภาพยนตร์ ๑๖ มม. ทม่ี ิตร ชัยบญั ชา ถา่ ยท�ำคา้ งไว้ต้องหยดุ สร้างทัง้ หมด นักพากย์ก็ยังคงมีบทบาทและความส�ำคัญ โดยในการถ่ายท�ำ ภาพยนตร์ระบบ ๓๕ มม. จะไม่มีการบันทึกเสียงไว้ด้วย เม่ือถ่ายท�ำและ ตัดต่อเสร็จแล้ว นักพากย์จึงจะได้มาบันทึกสียงพากย์ลงบนฟิล์มเป็นเส้นเสียง ในภายหลัง เรียกหนังในช่วงนี้ว่า “ภาพยนตร์ ๓๕ มม. เสียงในฟิล์ม” นักพากย์ ท่ีมีช่ือเสียงในยุคน้ี ได้แก่ รอง เค้ามูลคดี จุรี โอศิริ ดวงดาว จารุจินดา ชูชาติ อินทร ฯลฯ ภาพยนตร์ไทยเสียงในฟิล์มได้พัฒนาไปอีกขั้นเมื่อ หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล ทรงสร้างภาพยนตร์ที่บันทึกเสียงนักแสดงจริง ระหว่างถา่ ยทำ� เป็นระบบซาวด์ออนฟลิ ม์ หรอื ภาพยนตร์เสยี งโดยแท้จรงิ ภาพยนตร์เร่ิมมีบทบาทเป็นกระจกสะท้อนภาพสังคมและได้รับ ผลกระทบจากการเมืองนับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๖ - ๒๕๒๙ นับแต่เหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ที่ปลุกจิตส�ำนึกของผู้คนให้ตระหนักในความรับผิดชอบต่อสังคม ประกอบกับเง่ือนไขในการส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยของรัฐบาล อีกทั้ง การสร้างภาพยนตร์ ๓๕ มม. เสียงในฟิล์ม เร่ือง โทน ของเปียก โปสเตอร์ ได้จุดประกายให้ผู้สร้างท่านอ่ืนๆ ในยุคนั้น ถือเป็นการก้าวเข้ามาของภาพยนตร์ ๓๕ มม. ภาพยนตร์ที่ท�ำหน้าที่สะท้อนสังคมที่ส�ำคัญในยุคน้ัน เริ่มจากเรื่องเขาช่ือกานต์ น�ำแสดงโดยสรพงษ์ ชาตรี นัยนา ชีวานันท์ และภญิ โญ ทองเจอื มเี นอ้ื หากลา่ วถงึ การฉอ้ ราษฎร์บังหลวงอย่างตรงไปตรงมา เรื่องตลาดพรหมจารี ของ สักกะ จารุจนิ ดา เร่ืองเทพธิดาโรงแรม และเร่ืองเทวดาเดนิ ดิน ของทา่ นมุย้ หรือหม่อมเจ้าชาตรี เฉลิมยคุ ล เปน็ ตน้ ในยุคท่ีนายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรี การวิพากษ์สังคมไม่สามารถกระท�ำได้โดยเสรี ยุคนี้จึงเป็นยุคที่หนังรัก หนังตลกครองตลาด เช่น วัยอลวน รักอุตลุด เทพบุตรต๊ะติ๊งโหน่ง และในยุคเดียวกันนี้ เนื่องจากภาพยนตร์ไทยถูกภาพยนตร์ฮ่องกงตีตลาด กลุ่มผสู้ รา้ งหนงั ไทยจงึ เสนอใหร้ ัฐบาลตั้งก�ำแพงภาษีขึน้ มมี าตรการขนึ้ ภาษีการนำ� เขา้ ภาพยนตร์ตา่ งประเทศ จากเมตรละ ๒.๒๐ บาท เป็นเมตรละ ๓๐ บาท ส่งผลให้การน�ำเข้าหนังต่างประเทศลดน้อยลง คนไทยต้องพลาดโอกาสในการชมหนังดีมีคุณภาพที่ได้รับรางวัลไปอย่างน่าเสียดาย แตก่ ารสรา้ งหนงั ไทยฟเู ฟอ่ื งขน้ึ ถงึ ปลี ะ ๑๖๐ เรอ่ื ง แตต่ อ่ มา พ.ศ. ๒๕๒๑ - ๒๕๒๓ ภาพยนตรส์ ะทอ้ นสงั คมกก็ ลบั มาอกี ครงั้ โดยกลมุ่ ผสู้ รา้ งคลนื่ ลกู ใหม่ เช่น เร่ือง ครบู า้ นนอก เทพธดิ าบาร์ ๒๑ น้ำ� คา้ งหยดเดียว เมืองขอทาน ฯลฯ 22 22

๔) ยคุ ภาพยนตรไ์ ทยรว่ มสมัย ถอื เป็นยุคท่ีมคี วามหลากหลาย ทัง้ ในด้านรูปแบบ เนอ้ื หา และ ดาราแสดงน�ำ ในช่วงแรกๆ ถือเป็นยุคทองของหนังวัยรุ่นซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมาย ของผสู้ รา้ งภาพยนตรไ์ ทย แตก่ ย็ งั มหี นงั ประเภทอน่ื อาทิ หนงั ผี หนงั บู๊ หนงั เกรดบี และหนังโป๊ ภาพยนตร์ท่ีมีช่ือในยุคนี้ เช่น บ้านผีปอบ ซึมน้อยหน่อยกะล่อน มากหน่อย ปลมื้ ฉลุย บุญชูผนู้ ่ารกั (ของบัณฑิต ฤทธ์ิถกล ซึ่งประสบความสำ� เร็จ ทำ� เป็นหนังชุดบญุ ชถู ึง ๖ เรือ่ ง) กล้งิ ไว้ก่อนพ่อสอนไว้ ในช่วง พ.ศ. ๒๕๓๒ - ๒๕๓๗ ได้มีการผลิตหนังเกรดบี ซ่ึงมีต้นทุนต่�ำก�ำไรดี หนังอาร์เพื่อตลาดหนังวิดีโอและตลาดหนังต่างจังหวัด และตั้งแต่ปี ๒๕๓๙ เป็นต้นมา มีการเปล่ียนแปลงด้านคุณภาพการผลิตและ เพดานรายได้ คือ มีการสร้างภาพยนตร์ที่มีคุณภาพทัดเทียมภาพยนตร์ ต่างประเทศ จ�ำนวนภาพยนตร์ที่สร้างลดลงเหลือปีละ ๓๐ เรื่อง รายได้ จากที่เคยท�ำเพดานรายได้สูงสุดท่ี ๒๐ - ๓๐ ล้านบาท ในช่วงปี ๒๕๓๑ - ๒๕๓๔ เพ่ิมข้ึนเป็น ๕๐ - ๗๐ ล้านบาท ตลาดวิดีโอเติบโตข้ึน มีภาพยนตร์ แนวตลาดของผู้สร้างรายย่อย ชีวิตคนเมืองเปลี่ยนไป โรงภาพยนตร์ ถูกซอยออก เป็นโรงเล็กๆ ต้ังอยู่ตามห้างสรรพสินค้า เหล่านี้มีผลต่อการสร้าง ภาพยนตรค์ ณุ ภาพทั้งส้ิน พ.ศ. ๒๕๔๐ เป็นต้นมา ภาพยนตร์ไทยได้รับการยอมรับ ในต่างประเทศ และก้าวเข้าสู่ยุคการแข่งขันท่ีรุนแรง กลยุทธ์ทางการตลาด เปน็ สง่ิ ทผี่ กู้ ำ� กบั คลน่ื ลกู ใหมใ่ หค้ วามสำ� คญั พอๆกบั คณุ ภาพศลิ ปะเนอ้ื หาภาพยนตร์ และรสนยิ มคนดู แนวภาพยนตรม์ หี ลากหลายเพื่อรองรบั ความตอ้ งการของผชู้ มทุกกลุ่ม ท้ังภาพยนตรอ์ ิงประวตั ิศาสตร์ ภาพยนตรต์ ลก ภาพยนตร์ แอค็ ชั่น ภาพยนตรส์ ยองขวญั ภาพยนตรส์ ะทอ้ นสังคม และภาพยนตรส์ ง่ เสริมเอกลกั ษณ์ไทยและแนวคดิ ชาตินยิ ม นอกจากน้ี ภาพยนตร์ไทยยังได้การยอมรับในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติ และสามารถตีตลาดต่างประเทศด้วย ภาพยนตร์ เร่ืองต้มย�ำกุ้ง หรือ The Protector ถือเป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกในประวัติศาสตร์ท่ีสามารถข้ึนไปอยู่บนตารางภาพยนตร์ท่ีท�ำรายได้สูงหรือ บ็อกซ์ออฟฟศิ และภาพยนตรไ์ ทยเป็นทีร่ ูจ้ ักในเวทีนานาชาติเพิม่ มากข้ึน จากการทีน่ ายอภิชาตพงศ์ วีระเศรษฐกลุ ควา้ รางวลั ระดบั โลกหลายเรอื่ ง โดยเฉพาะเม่ือคร้ังได้รับรางวัลปาล์มทองค�ำ จากเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ ครั้งที่ ๖๓ ท่ีได้รับจากภาพยนตร์เร่ืองลุงบุญมีระลึกชาติ (๒๕๕๓) ซึ่งถอื ได้วา่ เป็นเกยี รติยศสงู สดุ ของวงการภาพยนตร์ไทย 23 23

• The first Siamese in a motion picture The first moving image of a Siamese showed King Rama V on his visit to Bern, Switzerland, during his European tour in 1897. The clip showed a procession of cavalry leading the king’s automobile as they proceeded from the train station to a hotel. The one-reel film ran at one minute. It was shot by Francois Henri Lavanchy-Clarke, who later showed it to King Rama V in Geneva on May 30, 1897. • The first film screening in Siam On June 10, 1897, the first motion picture screening for the paying public took place in Siam, organized by S.G. Markovsky, a foreigner of unidentified nationality. The day was marked as the birth of cinema in Siam. One day before, there was an announcement in Bangkok Times newspaper: “Please be informed that a performance called “Cinematograph”, or pictures that move and act, will take place for three nights, Thursday, Friday and Saturday of June 10, 11 and 12 at Alangkarn Theatre. A brass band will accompany the show…” Also in that same year, Prince Thongtaem Thavalyavongse was among the entourage who travelled with King Rama V during his grand European visit. The prince’s responsibility was to purchase unseen and innovative objects from the Western countries, and among his purchase were “three foreign cinematograph sets”. • Father of Siamese Cinematograph Historical records show that the first person to shoot motion pictures in Siam was Prince Thongtaem Thavalyavongse, who started filming and projecting films at his palace in 1900. He also screened his cinematographic work at the annual fair at Wat Benjamabopitr. Prince Thongtaem Thavalyavongse was thus regarded as the Father of Siamese Cinematograph. • The first movie theatre in Siam In 1906 there was a Japanese man called T. Watanabe who ran a movie projection tent behind Wat Chanasongkram, showing news footage of the Russo-Japanese War, documentary films and miscellaneous clips. Watanabe’s show was popular among the audiences, and he decided to build a movie theatre called Japanese Cinematograph. Local people dubbed it Rong Nang Yeepoon – the Japan theatre – and every film shown there was automatically called “Japan film” regardless of its origin. The Japanese Cinematograph is regarded as the first movie theatre in Siam. The success of Japanese Cinematograph prompted other businessmen to open more movie theatres. Late in the reign of King Rama V, there were several movie houses on either side of Charoenkrung Road, Bangkok’s major thoroughfare, such as Bangrak Theatre, Krungthep Cinematograph, Ratana Pappayon Cinema, Pattanakorn Theatre, etc. It was still the era of silent films – newsreels and short play – and theatres had to attract audiences with live music accompaniment. In the reign of King Rama VI, around 1911 onwards, the competition among movie theatres expanded from the Charoenkrung area to other commercial districts. A number of companies now operation the theatre business: Payon Pattanakorn ran Pattanakorn Theatre, Pattanarom Theatre, Pattanalai Theatre; Roop Payon Krungthep ran Krungthep Theatre, Java Theatre, Hong Kong Theatre, Singapore Theatre; while the original Royal Japanese Theatre was still going strong. In 1916, the lively competition among movie theatres was affected by World War I. Then in 1922, a major event took place and shaped the evolution of Siamese cinema: Prince Purachatra Chayakorn established the Film News Department in the State Railways of Siam to produce news report and documentary to promote the activities of the State Railways. The department also filmed activities of other state agencies and the private sector. 24 24

• The first feature length film shot in Thailand Another major event that took place in 1923 was the film “Nang Sao Suvarna” (Suvarna of Siam). It was the first feature film shot in Thailand. The producer was Henry Alexander MacRae, who came from Hollywood to Siam and asked for royal permission to shoot a movie with the support of the State Railways and the Royal Performance Department. The film featured an all-Thai cast, though the crew and the investors were all America. “Suvarna of Siam”, a love story, was shot in Bangkok, Hua Hin and Chiang Mai. A copy of the film was given to the king, and another to the State Railways. The king later gave his copy to screen to the public under the title “Suvarna Siam”, while the State Railways screened the film with Siam Pappayon under the title “Nang Sao Suvarna”. • The first feature length film by Thai filmmakers The first Thai feature film “Choke Song Chan” (Double Luck) is considered the first Thai feature film. It was made in 1927 by Krungthep Pappayon Company, shot in black and white 33mm. That same year sound film made its debut and slowly replaced silent films. The first Thai sound film was “Long Tang” (Going Astray), written and directed by Khun Vijitmatra. • Different eras of Thai cinema The evolution of Thai cinema can be divided into four periods: 1. Pre-World War II In 1927, Hollywood debutted its first ever sound film “The Jazz Singer”. In 1928, a Singaporean businessman brought sound films to screen in Bangkok and attracted huge interest. The Wasuwat Brothers studied the technique of sound filmmaking from Fox Movietone News, an American crew who came to shoot newsreels in Thailand with the support of the State Railways. The Wasuwat Brothers used the foreigners’ equipment and made short clips with sound to show at Pattanakorn Theatre on December 7, 1931. It was well-received, so the brothers adjusted their existing equipment to accommodate sound recording, then renamed their company Sri Krung Sound Film. With the support of the State Railways, they released the first Thai sound film “Long Tang” in April 1932. 2. Post - WW|| and 16 mm. Cinema The World War Two sent great impact to the film industry. In 1942, Thailand entered the war as an ally of the Imperial Japanese Army. Thus Hollywood films were banned. Near the end of the war, Bangkok was heavily bombed all day and night, causing regular blackouts, then there was huge flood that damages most movie theatres. The lively business of the pre-war years was severely disrupted. Things improved after the war. Outdoor cinema projection, which had been popular since the time of King Rama V, made a comeback. Several foreign film distributors set up their offices in Thailand, especially from Hollywood. On the Thai cinema front, Mom Chao Supakorndit Diskul and Thae Prakatvudhisarn made a 16mm film called “Suparp Burut Sua Thai”, screened with live dubbing. The period from 1957-1972 was the golden age of 16mm films with live dubbing. A lot of new movie theatres were built, and there were a large number of films being made – though admittedly their quality wasn’t top-notch and most of them feature similar stories and characters. And yet it was a boom period during which public enthusiasm in the movies was massive. The two stars who defined the era were Mitr Chaibancha and Petchara Chaowarat. Since every film was live-dubbed, the dubbers were of utmost importance and the best ones were capable of ventriloquistic impersonation of every character on the screen. Despite the transformation to 35mm film, dubbers were still influential. Thai filmmakers often shot without recording sound on film, and in the post-production dubbers came in to record their voices. Later, Mom Chao Chatreechalerm Yukol pioneered sound recording on film, driving Thai cinema into another era. 25 25

3. Revival of 35 mm. cinema Thai films took interest in reflecting social reality after the tumultuous period of 1973-1976 when political uprisings stirred public consciousness and a sense of civic responsibility. The government’s support scheme as well as Piak Poter’s success with the sound film “Tone” ushered in a new period of bustling activities. Some of the social-realist films that captured the temperature of that decade were “Khao Chue Karn” (Doctor Karn), which addressed the issue of corruption; “Talad Promjaree” (The Virgin Market); and “Theptida Rongram” (Motel Angel). In the mid-1970s, critical messages were discouraged, so filmmakers moved to make teenage romance and comedy. In the same period, Hong Kong films threatened to dominate the Thai market, so Thai film producers asked the government to hike import duty of film reels from 2.20 baht/metre to 30 baht/metre. The huge increase meant no foreign films were shown in Thai cinemas for several years, meanwhile Thai film industry was growing significantly, with over 160 films made a year. 4. Contemporary Thai film The 1990s was a period of teen comedy, action and horror films. Straight-to-video titles, B-movies and soft-core films vied for audiences in the province in the late 1980s. But the major shift came in 1997 with Nonzee Nimibutr’s film “2499 Anthapan Krong Maung” (Daeng Bireley and Young Gangsters), which showcases high-quality production on the same level as Western films. Other directors who emerged in the same period were Pen-ek Ratanaruang, Wisit Sasanatieng, Apichatpong Weerasethakul, and later in the 2000s Yongyooth Thongkongtoon, Jira Malikool, Prachya Pinkaew, Banjong Pisanthanakul, Pakpoom Wongpoom, Kongdej Jaturantrasmee, and many others. The proliferation of movie multiplex situated in shopping malls – replacing standalone theatres of the early years – reflected the changing lifestyle and business model. As commercial studios produce a wide variety of titles aimed at the mass market, since the early 2000s independent filmmakers have benefited from cheaper technology and made non-mainstream films that tackled harsher issues, sometimes in a more adventurous style. Thai cinema has continued to gain acceptance in the international market and become part of the global competition. Commercial pressure and artistic endeavour are reflected in the variety of offerings, from historical epic to comedy, from horror to action, and from social realist to arthouse titles. Established directors have taken Thai cinema far and wide, while young filmmakers keep exploring new possibilities, creating a healthy system in spite of the challenges they are facing. 26 26

๗๐ สดุ ยอดภาพยนตร์ไทย ในสมัยรัชกาลท่ี ๙ 70 Outstanding Thai Films in the Reign of King Rama IX



สภุ าพบุรุษเสอื ไทย Suparp Burut Sua Thai, ๑ ๒๔๙๒ 1949 Producer: Samnao Sethabutr ผอู้ ำ� นวยการสรา้ ง สำ� เนา เศรษฐบุตร Directors: MC Sukrawannadit Diskul, Thae Prakasvudhisarn ผกู้ �ำกับ ม.จ. ศุกรวรรณดิศ ดศิ กุล, แท้ ประกาศวฒุ สิ าร Cast: Surasit Satayawong, Sa-ang Tipyatat, ผแู้ สดง สรุ สิทธ์ิ สัตยวงศ,์ สอางค์ ทพิ ย์ทศั น์, ประชุม จลุ ละภมร, Prachum Chulapamorn, Kuakool Areemit, เก้ือกูล อารมี ติ ร, เทพ อักษรอนิ ทร์, ละออ ทิพย์ทศั น,์ Tep Aksonin, La-or Tiptat, รางวัล ต๊กุ ตาทอง ครัง้ ที่ ๑ ประจำ� ปี พ.ศ. ๒๕๐๐ Awards: Golden Doll, 1957, Best Screenplay บทภาพยนตร์ยอดเยีย่ ม (ประจิต จุลละพนั ธ)์ (Prajit Chulaphan) เมื่อคนดีต้องกลายเป็นเสือ ชีวิตของก�ำนันไทยท่ีดูจะราบรื่นต้องมา A good man is forced to break bad in this picaresque พังทลาย เม่ือรบั แฉลม้ มาเปน็ เมยี น้อยเพ่อื ชดใช้หน้ี แตเ่ มอ่ื คง ชู้รักเกา่ ของแฉลม้ post-WWII Thai movie that mixes action and drama, a classic กลบั มาปรากฏตวั แฉลม้ จงึ หลอกกำ� นนั ไทยวา่ เปน็ ญาติ กำ� นนั ไทยผมู้ นี ำ�้ ใจ เชอื้ เชญิ specimen of popular Thai movies in the 1950s. Chief Thai is living ให้คงมาอาศัยด้วยกัน หารู้ไม่ว่านั่นเป็นการต้อนรับโจรให้เข้ามาอยู่ในบ้าน a peaceful life when he takes Chalam as a mistress; that’s how ไม่นานนักคงก็เริ่มเผยธาตแุท้ เม่ือกระถินเมียรักของก�ำนันไทยล่วงรู้ความสัมพันธ์ she pays off her debt. When Khong, Chalam’s ex-lover, returns ของคงกับแฉล้ม คงจึงล่อให้กระถินตกเป็นของตนซ�้ำยังข่มขู่และรีดไถทรัพย์ to her life, Chalam lies that he’s just a family member, and Chief กระถินต้ังแต่นั้นเป็นต้นมา สร้างความทุกข์ระทมแก่กระถินจนคิดฆ่าตัวตาย Thai invites him to stay at his house, unaware that he has invited ก�ำนันไทยรู้ความจริงเข้าก็ตรงดิ่งมาจัดการคง แต่ระหว่างที่ก�ำลังชุลมุน อ้าย a thief into his very own living room. Soon trouble starts: Chief Thai’s คงยิงพลาด ไปโดนกระถินเสียชีวิต แถมกับจ่าหอม เผอิญเดินผ่านแถวน้ัน wife, Kratin, finds out that Khong and Chalam are in fact lovers. Khong ได้ยินเสียงปืนจึงรีบมายังท่ีเกิดเหตุ คงรีบหนีเอาตัวรอดท้ิงให้ก�ำนันไทย deceives Kratin and she falls into his ferocious clutch; Khong keeps ซึ่งก�ำลังตะลึงงันตกเป็นผู้ต้องหาฆ่าเมียตัวเองเคราะห์ดีที่ได้สติรีบไหวตัวหนี threatening and blackmailing Kratin until she contemplates suicide. กระเซอะกระเซงิ มาถงึ ภเู ขาลกู หนง่ึ ทนี่ นั่ กำ� นนั ไทยไดพ้ บพระธดุ งคซ์ ง่ึ ไดเ้ ตอื นสตวิ า่ Chief Thai realises Khong’s true colour and a gunfight begins. In that เวรยอ่ มระงบั ดว้ ยการไมจ่ องเวรไฟแคน้ ทส่ี มุ อกกำ� นนั ไทยจงึ สงบลง และอาศยั อยกู่ บั mayhem, Khong’s bullet accidentally hits Kratin and kills her. Khong พระธุดงค์ตั้งแต่น้ันมา แต่แล้ววันหน่ึงก็มีเสียงของชาวบ้านร�่ำลือว่าเสือไทย runs away, leaving Chief Thai stunned at the scene. When Sergeant ก�ำลังออกอาละวาดที่ต�ำบลเกาะพลับพลาอย่างหนัก ได้ยินดังนั้นก�ำนันไทย Hom arrives, he finds the chief as the prime suspect in the death of ก็สุดที่จะระงับโทสะ มุ่งหน้าหมายจะช�ำระแค้นอ้ายคงให้ตายคามือ ระหว่างทาง his own wife. Chief Thai has no choice but to run. He makes his way ก�ำนันไทยได้ช่วยกรอง หญิงก�ำพร้าซึ่งก�ำลังถูกเจ้าบ๋ินรังแก กรองขอติดตาม to a remote mountain where he meets a forest monk. “Revenge only ก�ำนันไทยไปด้วย เม่ือได้ฟังเร่ืองราวของก�ำนันไทย กรองก็อาสาจะพาจ่าหอม begets revenge, forgiveness begets forgiveness,” the monk tells Chief มาพบเพื่อเล่าความจริง ที่ต�ำบลเกาะพลับพลา กรองพาจ่าหอมมาพบก�ำนันไทย Thai. His rage cooled, the chief decides to live with the monk. But ไดส้ ำ� เร็จ แตว่ ันรงุ่ ขน้ึ จ่าหอม กลับกลายเปน็ ศพ มิหน�ำซ้�ำกำ� นันไทยยงั ถกู ใสร่ า้ ยว่า soon the villagers complain about a bandit called Sua Thai – or Tiger เป็นคนฆ่าจ่าหอม คงเริ่มย่ามใจออกปล้นโดยใช้ช่ือเสือไทยหนักข้อขึ้น ก�ำนันไทย Thai – who’s wreaked havoc in the countryside. Hearing that and ทนเหน็ ชาวบ้านเดอื ดร้อนไมไ่ ด้ จึงยอมเปน็ เสอื ไปปลน้ เสือ realising that Khong, his nemesis, has used his name (“Thai”) to terrorise the people, Chief Thai flies into a rage and decides to take revenge. On his way, Chief Thai rescues a woman, Krong, from a hoodlum, so Krong asks to travel with the chief as well as to explain the whole truth to Sergeant Hom, who still believes the chief has killed his wife. * ไม่ปรากฏขอ้ มลู ความยาวภาพยนตร์ * Film Length - N/A 29 29



พันทา้ ยนรสงิ ห์ Pantai Norasingha (Oarsman Norasingha), ๒ ๒๔๙๓ ๙๘ นาที 1950 98 Mins ผูอ้ �ำนวยการสรา้ ง พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจา้ ภาณพุ ันธย์ุ ุคล Producer: Prince Bhanubhan Yukol ผูก้ ำ� กับ มารุต (ทวี ณ บางชา้ ง) Director: Marut (Tawee Na Bangchang) ผู้แสดง ชชู ัย พระขรรค์ชยั , สุพรรณ บรู ณะพิมพ์, ถนอม อคั รเศรณ,ี Cast: Choochai Prakhanchai, Supan Buranapim, แชน เชดิ พงษ,์ อบ บุญตดิ , สนิ , สมพงษ์ พงษม์ ิตร, ทัต เอกทตั Thanom Akraseranee, Chan Cherdpong, ท�ำจากบทละครเวทีของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล Ob Boontid, Sompong Pongmit, Tat Ekatat ซง่ึ เมอ่ื เปน็ ละครเวทที ม่ี กี ารแสดงระหวา่ งสงครามและหลงั สงครามใหมๆ่ กป็ รากฏ ว่าได้รับความนิยมอย่างสูงจากประชาชน เป็นเรื่องที่แต่งขึ้นจากเรื่องเกร็ดใน This is one of the most successful Thai films made after World พงศาวดารและประวัติศาสตร์สมัยรัชกาลพระเจ้าเสือ กรุงศรีอยุธยาตอนปลาย War II. This tale of loyalty and sacrifice was adapted from a stage play ขุนนางคิดคดทรยศต่อพระเจ้าเสือ น�ำชื่อของพระองค์ไปแอบอ้างในทางเสียหาย by Prince Bhanubhan Yukol, which was in turn based on a historical ท�ำให้ราษฎรรู้จักพระองค์ในทางเลวร้าย ไม่ว่าในด้านราชการหรือส่วนพระองค์ anecdote that took place during the late Ayutthaya period. จนราษฎรเกลียดกลัวไม่กล้าพบพระพักตร์ พระองค์จึงต้องปลอมตัวไปสืบหา In the 16th century Ayutthaya Kingdom, King Sua faces a crisis ความชวั่ ของพวกขนุ นางทที่ ำ� ใหพ้ ระองคถ์ กู มองไปในทางทผ่ี ดิ ทง้ั เพอื่ ตรวจดทู กุ ขส์ ขุ when his court mandarins abuse his name for their own personal gains. ของราษฎรดว้ ยพระองคเ์ อง และทรงได้พบกบั นายสินพันทา้ ยเรอื ของพระยาพิชัย They spread rumour about the king’s cruelty and temper, so much ขุนนางในราชส�ำนัก และรู้สึกพอพระทัยในความสามารถด้านการต่อยมวยและ so that the citizens are fearful of him. King Sua disguises himself as นำ้� จติ นำ้� ใจของนายสนิ ทง้ั สองจงึ เปน็ สหายกนั กระทงั่ พระเจา้ เสอื ทรงเปดิ เผยพระองค์ a normal citizen in order to find out about the mandarins’ scheme, as และทรงแต่งตั้งให้นายสินเป็น พันท้ายนรสิงห์ คุมเรือพระที่น่ัง วันหนึ่ง พันท้าย well as to see how his subjects live. On this mission the king meets นรสิงห์ทราบว่าพระยาพิชัย เจ้านายเก่าคิดจะลอบปลงพระชนม์พระเจ้าเสือ Sin, the oarsman who works for Lord Pichai, one of the court officials. ขณะเสดจ็ ประพาสตน้ ทางเรอื พระทน่ี งั่ ครน้ั จะเพด็ ทลู ความแดพ่ ระเจา้ เสอื หรอื กก็ ลวั The king admires Sin’s generosity and boxing skill, and they become อนั ตรายจะถงึ เจา้ นายเกา่ พนั ทา้ ยจงึ ให้ นวล ภรรยาไปวงิ วอนใหพ้ ระยาพชิ ยั เลกิ คดิ friends. The king finally reveals his true status to Sin and appoints him การเสีย เพราะฝ่ายหนึ่งคือเจ้านายเก่า ส่วนอีกฝ่ายก็เป็นเจ้านายใหม่ท่ีตนให้ his royal oarsman. One day, Sin learns that Lord Pichai, his former ความเคารพทงั้ คู่ ฝา่ ยนวลเมอ่ื เดนิ ทางไปถงึ กส็ ามารถวงิ วอนพระยาพชิ ยั สำ� เรจ็ แตม่ า boss, is plotting to assassinate King Sua during a trip down the river. Sin เกดิ เหตกุ ลางทางทำ� ใหไ้ มส่ ามารถนำ� ความสำ� เรจ็ ไปบอกสามไี ดท้ นั ทำ� ใหส้ นิ ซงึ่ ปฏบิ ตั ิ is reluctant to reveal this to the king for fear of the harm that might หนา้ ทพ่ี นั ทา้ ยเรอื พระทนี่ ง่ั ตดั สนิ ใจแสรง้ บงั คบั ใหห้ วั เรอื ชนเขา้ กบั กง่ิ ไมจ้ นหวั เรอื หกั befall his former boss, so he asks his wife, Nual, to go to Lord Pichai เพอ่ื หยดุ การเสดจ็ ประพาสกลางครนั สนิ ทลู ขอใหพ้ ระเจา้ เสอื ประหารตนเพอื่ รกั ษา and convince him to abandon the assassination plan. Nual goes to Lord จารตี ตามกฎมณเฑยี รบาล และเพอื่ คงไวซ้ งึ่ ความศกั ดส์ิ ทิ ธขิ์ องกฎหมาย ดว้ ยความรกั Pichai and successfully changes his mind. But something happens on และเมตตา พระเจา้ เสอื ทรงอภยั โทษให้ แตส่ นิ กลบั ยนื ยนั ใหท้ รงรกั ษากฎ และแม้ her way back and she’s unable to bring this good news to Sin. As Sin พระเจ้าเสือมีพระราชด�ำริให้ท�ำรูปปั้นสินและประหารรูปปั้นแทน สินก็ไม่ยอม is rowing the king down the river, he still believes that the monarch’s ที่สุดพระองค์จึงจ�ำพระทัยให้ทหารตัดศีรษะพันท้ายนรสิงห์ผู้ภักดีและสหายรัก life is in danger – so the oarsman decides to suddenly turn the boat ด้วยความสุดแสนโทมนัส และยิ่งทวีความโทมนัสเมื่อนวลมาถึงแต่ไม่ทันการณ์ and hit it against a tree, breaking its bow and forcing the trip to end. เสยี แลว้ Then Sin begs King Sua to execute him on the spot according to the sacred Palace Law. The king, kind and loving, wants to forgive Sin, but the oarsman insists the sanctity of the law be kept. 31 31



สันต–ิ วีณา Santi–Vina, ๓ ๒๔๙๗ ๑๙๙ นาที 1954 119 Mins ผ้อู ำ� นวยการสร้าง โรเบิรต์ จี นอร์ธ, รักษ์ ปัณยารชุน Producer: Robert G. North, Rak Panyarachun ผกู้ �ำกับ มารุต (ทวี ณ บางช้าง) Director: Marut (Tawee Na Bangchang) ผ้แู สดง พนู พันธ์ รังควร, เรวดี ศิรวิ ไิ ล, วชิ ยั ภูติโยธนิ , จมน่ื มานพนริศร์, Cast: Poonpan Rangkuan, Rewadee Sriwilai, Wichai Putyothin, ร.ท. นญู บุญรตั น์พันธ์, ด.ช. วีระชยั แนวบญุ เนียร, ด.ญ. ปิยะฉัตร, Jamuen Manopnarit, Noon Boonyaratanapan, ด.ช. พิบูล ทุมมานนท์ Veerachai Naewboonnian, Piyachat, Pibul Tummanont รางวลั รางวลั งานประกวดภาพยนตรน์ านาชาตแิ หง่ เอเซยี อาคเนย์ ครง้ั ท่ี ๑ Awards: First Southeast Film Festival, 1954, Tokyo, ประจำ� ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ ทกี่ รงุ โตเกยี ว ประเทศญปี่ นุ่ ถา่ ยภาพยอดเยยี่ ม Best Cinematography (R.D Pestonji), Best Art Director รัตน์ เปสตันย,ี ก�ำกบั ศลิ ปย์ อดเยยี่ ม อไุ ร ศริ ิสมบตั ิ และรางวลั พเิ ศษ (Urai Sirisombat), Special Mention for film that represents ส�ำหรับภาพยนตร์ท่ีสามารถแสดงวัฒนธรรมตะวันออกสู่ตะวันตก Eastern culture, Motion Pictures Association of America. ไดด้ ที สี่ ดุ จากสมาคมผอู้ ำ� นวยการสรา้ งภาพยนตรแ์ หง่ สหรฐั อเมรกิ า, This original print of this tragic drama about love, ภาพยนตร์ฉบับบูรณะ เปิดฉายรอบปฐมทัศน์ท่ีเทศกาลภาพยนตร์ Buddhism and romantic attachment had been lost for เมอื งคานส​์ปี พ.ศ.​ ๒๕๕๙ decades before copies were discovered at several สันติเด็กชายก�ำพรา้ วัย ๑๒ ปี จากเหตุการณ์ภูเขาถล่มเป็นเหตุให้เขา international archives. A restoration project took place สญู เสยี แมแ่ ละนยั นต์ าทง้ั สองขา้ งในเวลาเดยี วกนั ทกุ เชา้ วณี า เพอ่ื นบา้ นวยั ไลเ่ ลยี่ กนั in 2015 and the restored version of the film premiered จะช่วยจูงสันติไปโรงเรียนถึงแม้สันติจะตาบอดก็ยังถูก ไกร ซึ่งมีนิสัยเกเรแกล้ง at Cannes Film Festival in 2016. อยเู่ ปน็ นจิ วนั หนงึ่ พระภกิ ษวุ ยั ชราเพงิ่ กลบั จากธดุ งคแ์ วะมาเยย่ี มสนั ตแิ ละขอรบั สนั ติ ไปอยทู่ วี่ ดั เขานอ้ ย ตลอดเวลาทอ่ี ยใู่ นถำ้� กบั หลวงตา วณี ายงั คงแวะเวยี นไปหาสนั ติ Santi, 12, is an orphan who lost his eyesight in a rockslide อย่างสม�่ำเสมอ สร้างความไม่พอใจให้ไกรซ่ึงหมายปองวีณาอย่างมาก ทุกเย็น accident that also killed his mother. Every morning Vina, a girl from กอ่ นพระอาทติ ยจ์ ะตกดนิ สนั ตจิ ะนงั่ เปา่ ขลยุ่ บนกอ้ นหนิ ขา้ งถำ้� รอคอยการมาของวณี า the same village, helps Santi go to school. Though he’s blind, Santi is แตแ่ ล้ววนั หนึ่งวีณาก็หายไป สันตปิ ฏิบัตอิ ย่างเดิมวนั แล้ววันเลา่ โดยท่ีไมร่ ู้วา่ วณี า still subjected to constant bullying from Krai, a brat from a rich family. ถกู กกั ตวั ใหอ้ ยแู่ ตใ่ นบา้ นเพราะแมข่ องไกรมาสขู่ อวณี า วณี าหนอี อกมาไดใ้ นวนั หนง่ึ One day an elderly monk who has returned from a pilgrimage visits และมาขอร้องให้สันติช่วยพาเธอหนี ไกรแค้นมากส่ังลูกน้องตามล่าสันติกับวีณา Santi’s family and asks the boy to go live with him at a cave monastery. แทบพลิกแผ่นดินเม่ือพบทั้งสอง ก็กระหน่�ำชกสันติไม่ย้ัง วีณารีบไปตามหลวงตา Santi goes with the monk and continues to live in the monastery until มาช่วยไดท้ ัน สันติยืนยันกบั หลวงตาวา่ จะหาทางหนีอีกครงั้ แต่กไ็ มส่ �ำเรจ็ เชน่ เคย he’s a young man. Every evening before sunset, Santi sits on a rock วณี าถกู พาตวั กลบั ไปบา้ น สว่ นสนั ตถิ กู ทำ� รา้ ยจนสลบ หลวงตาจงึ พาสนั ตกิ ลบั มายงั and plays his flute, waiting for Vina to come and talk to him – this วัดถำ้� สันติเหม่อลอยไรส้ ติอย่างหนกั ย่ิงรู้วา่ จวนถงึ วนั แตง่ งานของวีณาจนไมไ่ ดย้ ิน angers Krai, who wants Vina as his wife. Soon Vina stops visiting Santi. เสยี งหินที่ก�ำลังรว่ งหล่นในถำ้� หลวงตารบี วิง่ เขา้ ไปฉุดสันติ ส่วนตนเองถกู กอ้ นหิน It turns out that Vina’s family, having received a proposal of marriage ทับตาย ตาของสันติมองเห็นอีกครั้ง ภาพแรกท่ีสันติเห็นคือภาพความตาย from Krai’s family, has grounded her in the house. But her love is ของหลวงตาซ่ึงเล้ียงดูสันติมาต้ังแต่เด็ก สันติจึงตัดสินใจบวชเพื่อหาความสุขสงบ powerful, and Vina decides to run away with Santi. Consumed by rage, อยา่ งแท้จรงิ Krai orders his men to pursue the lovers, and when they find them in the field. Vina is taken back to her house, while Santi, heavily injured, returns to the cave to recuperate. When another rockslide happens and heavy stones tumble down the cave wall, Santi is saved by the monk, who pulls the young man out just in time. The monk is killed, and miraculously Santi regains his eyesight. Though his love for Vina still lingers, Santi decides to spend the rest of his life in the peaceful shelter of the saffron robe. 33 33



เศรษฐีอนาถา Sethee Anatha (The Poor Millionaire) ๔ ๒๔๙๙ ๑๑๗ นาที 1956 117 Mins ผูอ้ �ำนวยการสร้าง จ�ำนงค์ ไรวา Producer: Jamnong Raiva ผู้กำ� กบั วสันต์ สุนทรปกั ษิน Director: Wasan Sunthornpaksin ผ้แู สดง เสถยี ร ธรรมเจรญิ , ระเบียบ อาชนะโยธนิ , ประภาพรรณ นาคทอง, Cast: Sathian Thammacharoen, Rabiab Achanayothin, เจมิ ปนั้ อำ� ไพ, จำ� นง คณุ ะดิลก, สมชาย สามิภักด,์ิ Prapapan Nakthong, Jerm Panampai, Jamnong สมศกั ดิ์ วรี ะเทวิน, ทศั นยี ์ ชวู สั วัต, ดอกดิน กัญญามาลย,์ Kunadilok, Somchai Samipak, Somsak Veeratewin, เจริญ แสงสุวรรณ, จติ รกร สุนทรปกั ษนิ , ศริณทิพย์ ศริ ิวรรณ, Tasanee Chuwatsawad, Dokdin Kanyamal, นวลจันทร์ วรรณวีรากร Charoen Sangsuwan, Jitrakorn Sunthornpaksin, รางวัล ตกุ๊ ตาทอง ครง้ั ที่ ๑ ประจ�ำปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ภาพยนตร์ยอดเยีย่ ม, Sarinthip Siriwan, Nualchan Wanweerakorn ผ้แู สดงประกอบฝา่ ยชาย เจมิ ปัน้ อ�ำไพ Awards: Golden Doll, 1957, Best Picture, Best Supporting Actor เศรษฐีอนาถา สร้างจากนิยายของ สันต์ เทวรักษ์ ซ่ึงตีพิมพ์เป็นเล่ม (Jerm Panampai) จ�ำหน่ายเม่ือ พ.ศ. ๒๔๙๘ และสร้างเป็นภาพยนตร์ออกฉายใน พ.ศ. ๒๔๙๙ Jon Bangkholaem is a lowly railway worker who loves เร่ืองราว ของนายจอน บางคอแหลม พนักงานบ�ำรุงรักษารถไฟขี้เมา ซึ่งวันหนึ่ง boozing. One day Jon meets Praphon Thonpitak, a young passenger ได้พบกับ ประพนธ์ ธนพิทักษ์ ผู้โดยสารหนุ่ม มหาเศรษฐีซึ่งอกหักเพราะกันทิมา and a heartbroken millionaire whose girlfriend, Kantima, who’s ช่างตัดเส้ือสาวผู้ยากจนไม่รับเขาเพราะเขาเป็นเศรษฐี ประพนธ์เกิดคุยถูกคอกับ a seamstress, has left him because she hates that he’s a wealthy man. นายจอนข้ีเมา ซึ่งคอยแต่พูดว่าคนเป็นเศรษฐีคงจะมีความสุขเหลือล้น ประพนธ์ Praphon and Jon strike a chord, and as Jon keeps saying how life must นกึ สนกุ จงึ เสนอใหเ้ งนิ นายจอนสบิ ลา้ นบาทเพอื่ ใหล้ องเปน็ เศรษฐดี อู กี ที แตม่ ขี อ้ แม้ be splendid for a millionaire, Praphon offers to give him 10 million baht ว่าต้องใช้เงนิ ใหห้ มดภายในหนึ่งปี โดยไมร่ ะแคะระคายว่าแท้จริงแลว้ นายจอนคือ on the condition that he has to spend it all in one year. The truth is บิดาของกนั ทมิ า ช่างตดั เสอ้ื สาวทต่ี นหมายปอง แตก่ ันทมิ ารู้ จึงย่ิงเกลียดประพนธ์ that Jon is in fact Kantima’s father, though Praphon is not aware of เพราะเห็นว่าประพนธ์หมายจะใช้เงินซื้อตัวเธอ ที่สุดนายจอนพบว่าการเป็น this. Kantima, meanwhile, is even angrier because she thinks Praphon มหาเศรษฐี หาจะเป็นว่าจะต้องมีความสุขล้นพ้นไม่ แต่เขาก็กลายเป็นคนกลาง is trying to buy her off. Jon has taken the money only to find out that คลายปมให้กนั ทมิ ายอมรกั ประพนธ์ได้ being a millionaire is not all about pleasure and happiness, and now his mission is to reconcile the two lovers and make his daughter fall in love with Praphon. The film is based on a popular 1956 novel by Sant Tewarak. It won the first-ever Best Picture Award ever given out by the Thai film industry in 1957. 35 35



โรงแรมนรก Rongram Narok (Country Hotel) ๕ ๒๕๐๐ ๑๓๘ นาที 1957 138 Mins ผู้อ�ำนวยการสร้าง รัตน์ เปสตันยี Producer: R.D. Pestonji ผู้ก�ำกบั รตั น์ เปสตนั ยี Director: R.D. Pestonji ผู้แสดง ชนะ ศรีอุบล, ศรนิ ทพิ ย์ ศริ ิวรรณ, ประจวบ ฤกษย์ ามด,ี Cast: Chana Sriubol, Sarinthip Siriwan, Prachuab Rerkyamdee, สรุ สิทธิ์ สตั ยวงศ,์ ทตั เอกทตั , ถนอม อัครเศรณ,ี อู๋ ภตู โิ ยธิน, Surasit Satayawong, Tat Ekatat, Thanom Akraseranee, วิเชยี ร ภ่โู ชติ, ชูศรี โรจนประดิษฐ์, สมพงษ์ พงษ์มิตร, Ou Putyothin, Wichian Puchote, Choosri Rojanapradit, ไกร ภูติโยธิน Sompong Pongmit, Krai Putyothin รางวลั รางวลั ตุก๊ ตาทอง ครัง้ ท่ี ๓ ประจ�ำปี พ.ศ. ๒๕๐๒ ผู้กำ� กบั การแสดง Awards: Golden Doll, 1959, Best Director (R.D. Pestonji), ยอดเยยี่ ม รัตน์ เปสตนั ย,ี ถา่ ยภาพยอดเยีย่ ม ประสาท สุขุม, Best Cinematography (R.D. Pestonji), and Best Sound บนั ทกึ เสยี งยอดเยยี่ ม ปง อศั วินกิ ลุ Recording (Pong Asawinikul) ภาพยนตร์ไทยผลงานของรัตน์ เปสตันยี ซ่ึงเล่าเรื่องเหตุการณ์หน่ึงวัน Acclaimed as one of the best films in Thai cinema history, หนึ่งคืนในโรงแรมสวรรค์ โรงแรมเล็กๆ ในชนบทแห่งหนึ่งถ่ายท�ำทั้งเร่ืองด้วยการ Rongram Narok’s story takes place entirely during one night at a rural สร้างฉากเกือบจะฉากเดียวในโรงถ่ายภาพยนตร์ เป็นภาพยนตร์ท่ีดีท่ีสุดเรื่องหนึ่ง lodging called Sawan Hotel (“paradise hotel”). An absurd comedy, ในประวัตศิ าสตรภ์ าพยนตร์ไทย the film centres on Riam, a mysterious woman who shows up at เหตุเกิด ณ โรงแรมสวรรค์ กับการปรากฏตัวของเรียมหญิงสาวลึกลับ the hotel, and Chana, an accountant who’s taking up lodging there. และชนะสมุหบัญชีของบริษัท ปรีดาไทย พร้อมกับบรรยากาศแสนเพ้ียนและ A series of bizarre events take place: the appearance of a traditional เหตุการณ์วายป่วงต่างๆ ท่ีคาดไม่ถึงเช่น คณะมโหรีประสานเสียง งิ้วจีน หรือ chorus band, a Chinese opera troupe, and a boxing match inside การแข่งชกมวยในโรงแรม จนชนะถึงกับเปล่ียนชื่อให้โรงแรมน้ีเสียใหม่ว่า the hotel. Frustrated, Chana nicknames the hotel “Rongram Narok” โรงแรมนรก ท่ีดูแลโดยแชมป์งัดข้อโลก หลานชายเจ้าของโรงแรม ชนะต้องมา (“hell hotel”). He’s a regular guest of the hotel while he’s out delivering ติดอยู่ท่ีโรงแรมเพี้ยนๆ โรงแรมนี้กับเรียมท่ีคอยมีแต่เร่ืองมาจะกวนประสาทชนะ cash for his company, but tonight Riam and her weird behavior is จนมาวันหนึ่ง ข่าวการส่งมอบเงินของชนะ รู้ไปถึงหูสิทธ์ิและไกร สองโจรคู่แข่ง unnerving him – her plot to steal his pillow, and a shooting contest ของเสือดินจอมโจรผู้เลื่องชื่อในย่านน้ัน ทั้งสองจึงออกตามมาถึงโรงแรมสวรรค์ that ends up with Chana losing his gun to her). Soon two bandits, Sit จบั ชนะ เรยี ม เจา้ ของโรงแรมและหลานชายไว้เปน็ ตัวประกัน พรอ้ มกบั บบี บงั คับ and Krai, arrive at the hotel after hearing about Chana’s cash, and ให้ยอมบอกว่าเงินน้ันจะส่งมอบมาถึงเมื่อไหร่ และด้วยสถานกาณร์บังคับนั่นเอง they hold Chana, Riam, the hotel owner and his nephew as hostages ทำ� ให้ ชนะและเรยี มตอ้ งกลายมาเป็นผวั เมยี จ�ำเปน็ จนสดุ ทา้ ยชนะเริ่มผกู สัมพันธ์ while forcing Chana to tell them when the money he’s waiting for อันดีต่อเรียมและไม่อยากให้เรียมถูกท�ำร้ายจึงยอมบอกเวลานัดหมายส่งมอบเงิน will arrive. Circumstances force Chana and Riam to warm to each แก่สองโจร แต่ในระหว่างน้ันเอง สองโจรก็เกิดแตกคอและห�้ำห่ันกันเองจนสิทธ์ิ other, and he eventually concedes and tells the bandits about เป็นฝ่ายพลาดท่าเสียชีวิต ประจวบเหมาะพอดีท่ีเสือดินเข้ามาในเหตุการณ์และ the time of the cash delivery in order to save Riam. But the two bandits ท้าให้ไกรมาเล่นเกมส์ดวลปืนกับตน แต่ไม่ทันไรต�ำรวจก็เข้ามาปิดบัญชีเหล่าร้าย start fighting, and the fight results in Sit’s death at the same time as ไปได้ในทีส่ ดุ หลังจากเหตุการณ์และเวลาลว่ งเลยไป เงนิ ที่เปน็ ตัวปัญหาก็ยังไมม่ า Din, another bandit well-known in the area, arrives at the hotel. More สุดท้ายแล้ว เรื่องวุ่นๆ ที่เกิดข้ึนก็ท�ำให้จากคนที่ไม่ชอบข้ีหน้ากันกลายมาเป็น complications follow when the police catch up with the bandits and คนรักกัน จากหญิงสาวลึกลับกลายเป็นเจ้าของเงินเจ้าปัญหา จากโรงแรมสวรรค์ descend upon them. After a long while, the scheduled delivery of กลายเปน็ โรงแรมนรก โรงแรมทม่ี แี ตเ่ รอื่ งคาดไมถ่ งึ the cash hasn’t materialised. Soon the truth is out: Riam has been carrying the money everyone is waiting for, because she’s the daughter of the company’s owner. She keeps it a secret to avoid the trouble, and her little adventure has turned this rural hotel into a scene of absurdity and romance. 37 37



เลบ็ ครฑุ Leb Krut ๖ ๒๕๐๐ ๙๐ นาที 1957 90 Mins ผอู้ ำ� นวยการสรา้ ง สพุ รรณ พราหมณพ์ นั ธุ์ Producer: Suphan Pramphan ผู้ก�ำกับ สุพรรณ พราหมณพ์ ันธุ์ Director: Suphan Pramphan ผู้แสดง ลือชัย นฤนาท, อมรา อัศวนนท,์ จรัสศรี สายะศิลปี, Cast: Luechai Narunart, Amra Asavanond, Jarasri Sayasilpa, ดนัย ดลุ ยพรรณ, ประมินทร์ จารุจารีต, สิงห์ มลิ นิ ทราศยั , Danai Dulayaphan, Pramin Jarujareet, Singha Milintrasai, ดอรา แมคริค, อบ บญุ ตดิ , สรุ ชาติ ไตรโภค, ศรีสะอาด ธรี ะกลุ , Dorah McKrick, Ob Boontid, Surachat Traiphoke, ถนอม สนธคิ ีรี, ประวทิ ย์ สจุ รติ จนั ทร์ Srisa-ard Teerakul, Thanom Sonthikiree, รางวัล รางวัลตกุ๊ ตาทอง คร้ังท่ี ๑ ประจำ� ปี พ.ศ. ๒๕๐๐ Prawit Sucharitchan ผู้แสดงน�ำชายยอดเยย่ี ม ลือชยั นฤนาท, ถา่ ยภาพยอดเยยี่ ม Awards: Golden Doll, 1957, Best Actor (Luechai Narunart); ปรีชา ทรัพยพ์ ระวงศ์ Best Cinematography (Preecha Sapprawong) ในขณะที่กรุงเทพมหานครถูกคุกคามจากอิทธิพลมืดของสมาคม A spy thriller popular during the Cold War period, Leb Krut เล็บครุฑ องค์กรก่อการร้ายช่ือดัง เป็นเหตุให้หน่วยสืบราชการลับของกรมต�ำรวจ combines action, espionage and romance in one colourful package. ต้องส่ง ร.ต. คมน์ สรคุปต์ นายทหารหนุ่มฝีมือดี แทรกซึมตัวไปอยู่กับเหล่าร้าย Bangkok is being terrorised by the dark influence of Leb Krut และเปลี่ยนช่ือใหม่เป็น ชีพ ชูชัย เพื่อเข้าไปพัวพันอยู่กับอาชญากรเพื่อสร้าง (“Garuda’s claws”), an underground criminal ring. The intelligence ความนา่ เชอ่ื ถอื ชพี จงึ ใชค้ วามสามารถจนกลายเปน็ อาชญากรตวั ฉกาจของวงการ รู้ operation assigns Captain Kom Sorakupta to embed himself among ไปถงึ จางซเู หลยี ง ผนู้ ำ� ของเลบ็ ครฑุ จงึ บญั ชาให้ ปรดี ะฮนมั นางพญาเลบ็ ครฑุ สาวสวย the bad guys. The captain changes his name to Cheep Chuchai, and จากแคว้นเคดาห์ สหพันธรัฐมลายู จ้างวาน ชีพ ออกติดตามชิ้นส่วนอินทรีท้ัง ๖ soon he’s become a master criminal well-known in the mafia world. มาเพ่ือสร้างอาวุธท�ำลายล้างอานุภาพสูงหวังครอบครองโลกน้ีไว้ในก�ำมือ Cheep’s reputation prompts Jang Zhuliang, the boss of Leb Krut, ในขณะเดียวกันด้วยชื่อเสียงของชีพ ชูชัย บุคคลผู้เป็นท่ีต้องการ ตัวของทางการ to send the femme fatale Prediham to recruit him in a new mission: ร.ต.อ กริช ก�ำจร สารวัตรมือปราบจึงออกตามล่าตัว ชีพ ชูชัย โดยไม่ทราบว่าตน to hunt down 6 Eagle Pieces which combine to create a powerful กำ� ลงั ท�ำงานทบั ซอ้ นอยูก่ ับหน่วยสบื ราชการลบั เร่อื งราวทวคี วามเขม้ ข้นข้ึนเรือ่ ยๆ weapon that can rule the world. In the meantime, Captain Krit Kamjorn, เมื่อช้ินส่วนอินทรีทงั้ ๖ ไม่ได้มเี พยี ง เลบ็ ครุฑ เทา่ นน้ั ทีต่ ้องการ แต่ยงั มีสมาคมลับ a hotshot policeman, is determined to hunt down Cheep, not knowing อีกมากมายที่หวังครอบครอง น�ำไปสู่ภารกิจมากมายที่ถาโถมเข้ามายัง ชีพ ชูชัย that the criminal is actually a police spy. The plot thickens as it turns ไหนจะถูก นายต�ำรวจ กริช ตามจับ ไหนจะการต่อสู้ชิงไหวชิงพริบกับสมาคมอื่น out that other crime syndicates also want to locate the 6 Eagle Pieces, และสุดท้ายคือ สัมพันธ์รักท่ีมีต่อ ปรีดะฮนัม แต่ด้วยช้ันเชิงของ ชีพ ชูชัย while Cheep has to outfox Captain Krit as his romantic relationship ภารกิจท้ังหมดต่างลุล่วงไปด้วยดี ชีพสามารถน�ำชิ้นส่วนอินทรีท้ัง ๖ กลับมาได้ with Prediham is developing. Cheep goes through a series of obstacles โดยปลอดภยั แตก่ ลายเปน็ วา่ ในตอนน้ี จางซเู หลยี ง กลบั คดิ หกั หลงั จงึ ใชต้ วั ปรดี ฮี มั to secure the 6 Eagle Pieces. Then Jang Zhuliang double-crosses him เปน็ ตวั ประกนั หวงั ให้ ชพี นำ� ของมาใหแ้ ตโ่ ดยดี ชพี ชชู ยั จงึ ลยุ เดยี่ วไปยงั รงั เลบ็ ครฑุ and kidnaps Prediham in order to force Cheep to hand over the Eagle บกุ ทลายเอาจางซเู หลยี งถงึ ชวี ติ แตก่ ไ็ มส่ ามารถชว่ ย ปรดี ะฮนมั เอาไวไ้ ดท้ นั เหลอื ไว้ Pieces. In the climactic battle, Cheep raids the lair of Leb Krut, defeat เพยี งความอาลยั รกั เมอื่ ภารกจิ เสรจ็ สนิ้ ชพี กลบั มารายงานตวั ยงั กรงุ เทพฯ เปลย่ี น Jang Zhuliang and yet is unable to save Prediham. จากวายร้าย ชีพ ชูชัย กลับมาเป็น ร.ต. คมน์ สรคุปต์ นักสืบหนุ่มท่ีต้องจารึก ไว้ซ่งึ เกียรติประวตั ิดงั เดิม 39 39



หนึ่งต่อเจ็ด Nueng Tor Jed ๗ ๒๕๐๑ ๑๒๙ นาที 1958 129 Mins ผอู้ ำ� นวยการสร้าง ส. อาสนจินดา Producer: Sor Asanachinda ผู้กำ� กบั ส. อาสนจินดา Director: Sor Asanachinda ผู้แสดง สรุ สทิ ธิ์ สตั ยวงศ,์ วิไลวรรณ วฒั นพานิช, ส. อาสนจนิ ดา, Cast: Surasit Satayawong, Wilaiwan Wattanapanich, เปน่ิ ปาฏิหาริย,์ ทองฮะ วงศร์ ักไทย, สมชาย ตณั ฑก์ �ำเนิด, Sor Asanachinda, Pern Patiharn, Tongha Wongrakthai, นง ตณั ฑ์กำ� เนดิ , อดลุ ย์ ดลุ ยรตั น์, วิภา วัฒนธ�ำรงค,์ Somchai Tankamnerd, Nong Tankamnerd, ศรินทพิ ย์ ศิริวรรณ, ทม วิศวชาติ, ถวลั ย์ ครี ีวตั , Adul Dulyarat, Wipa Watanathamrong, Sarinthip Siriwan, เมืองเริง ปทั มนิ ทร,์ เทียนชยั สนุ ทรการนั ต์ Thom Wisawachart, Thawal Kiriwat, จากสมรภูมิเกาหลีก่อก�ำเนิดวีรบุรุษสงครามที่เหลือรอดมาด้วยสามัคคี Mueangrerng Patamarin, Thianchai Suntornkaran และความเดด็ เดยี่ ว อนั ประกอบไปดว้ ย ตงั กวย แซล่ ี้ เหมาะ เชงิ มวย ดนั่ มหธิ า และ Seven Thai soldiers have fought together in the Korean War. สหายอกี สามนาย โดยมจี า่ ดับจ�ำเปาะเป็นแกนน�ำของทีม กระทง่ั เสร็จสนิ้ สงคราม They survived hell and returned home, their spirits united with ทั้งเจ็ดต่างแยกย้ายกันไปตามถ่ินฐาน ครั้น ด่ัน มหิธา กลับไปถึงบ้านที่หาดใหญ่ pride and courage. One of them is Dan Mahitha, who returns to his กลบั พบวา่ บา้ นของตนนน้ั แปรเปลย่ี นไปเปน็ บา้ นปา่ เมอื งเถอื่ น ถกู อทิ ธพิ ลของโจรใต้ hometown in Haat Yai only to find the place having turned into แบง่ แยกดนิ แดนครอบงำ� เมยี รกั ของดนั่ กพ็ ลนั มาคบชทู้ อดทง้ิ ไป ซำ้� รา้ ยยงั ถกู พอ่ ตา a lawless outpost ruled by the mafia and under the threat of the ใจทรามตามราวหี มายชวี ติ ดน่ั จงึ ตอ้ งอดทนตอ่ สกู้ ลำ้� กลนื อยเู่ พยี งลำ� พงั เพอ่ื ใหม้ ชี วี ติ separatist fighters. His wife has left him with another man, and his อยรู่ อด แตท่ หี่ นกั ไปกวา่ นนั้ กค็ อื การทพี่ อ่ ของดนั่ ถกู ลอบสงั หารจากพวกกอ่ การรา้ ย ex-father-in-law now wants Dan’s head. Dan struggles to get by, but ซ่ึงก็หมายในชีวิตเขาเช่นกัน ดั่นถูกตามรังควานจากกลุ่มเจ็ดไอ้เสือของพ่อตา then his own father is murdered by the terrorists, and now they’re รวมท้ังกลุ่มโจรก่อการร้าย เมื่อเหตุการณ์เริ่มบานปลายด่ันจึงเขียนจดหมายไป after him, too. Hunted by his father-in-law’s gang of Seven Tigers and ยังสหายทั้งหกคน เพื่อรวมตัวกันต่อกรกับเหล่าร้าย ที่พรากทุกอย่างไปจากเขา the separatists, Dan writes to his six friends from the war. They reply เพียงไม่นานการรวมตัวของ เจ็ดวีรบุรุษก็เกิดขึ้น พร้อมกับข้อมูลเรื่องการหายตัว his letter, and the magnificent seven meet again. At the same time, ไปของ ดร.อาหะหมัด นักวิทยาศาสตร์ที่คิดค้นอาวุธปืนจรวดที่หายตัวไป อีก a scientist called Dr. Ahmad, who has been working on rocket guns, ท้ัง จีนเต่งปั่กหัวหน้าผู้ก่อการร้าย กับทรัพย์สมบัติท่ีถูกซ่อนอยู่ท่ีใดสักแห่งโดยมี has mysteriously disappeared. His disappearance also involves the หย่นิ เหมยเป็นกุญแจดอกสำ� คัญในการสบื หา terrorist boss Jinteng, and a legend of treasure hidden somewhere in the region. Dan and his six friends are in the midst of the battle greater than anything they’ve ever fought. 41 41



แมน่ าคพระโขนง Mae Nak Phrakanong ๘ ๒๕๐๒ 1959 ผ้อู ำ� นวยการสรา้ ง เสนห่ ์ โกมารชนุ Producer: Saneh Komarachun ผกู้ �ำกับ รงั สี ทัศนพยคั ฆ์ Director: Rangsee Tasanapak ผูแ้ สดง สรุ สิทธ์ิ สตั ยวงศ,์ ปรยี า รงุ่ เรอื ง, สมจติ ต์ ทรัพย์สำ� รวย, Cast: Surasit Satayawong, Preeya Rungruang, วิน วษิ ณรุ กั ษ์, น�้ำเงิน บญุ หนกั , เสถยี ร ธรรมเจริญ, Somjit Sapsamruay, Win Wisanurak, Nam-ngern Boonnak, สาหัส บุญหลง, ลอ้ ตอ๊ ก, ชูศรี โรจนประดษิ ฐ,์ เสนห่ ์ โกมารชุน, Sathian Thamcharoen, Sahat Boonlong, Lortok, ดอกดิน กญั ญามาลย์, ทองฮะ วงศร์ กั ไทย, หม่อมช้ัน พวงวัน, Choosri Rajanapradit, Saneh Komarachun, กก๊ เฮง, สนิท เกษธนัง, บญุ สง่ เคหะทตั Dokdin Kanyamal, Tongha Wongrakthai, แมน่ าคพระโขนง เปน็ เรอื่ งเลา่ ลอื เกย่ี วกบั ผตี ายทอ้ งกลม ทกี่ ลายเปน็ นทิ าน Momchan Puangwan, Kokheng, Sanit Kettanang, บทละครร้องและภาพยนตร์ ทีฮ่ ติ ทส่ี ดุ ในประวัตศิ าสตร์ภาพยนตรไ์ ทย โดยเฉพาะ Boonsong Kehathat ได้รับการน�ำมาสร้างเป็นภาพยนตร์มากครั้งท่ีสุดและมากช่วงเวลาสืบเน่ืองกัน The story of Nak, the pregnant wife who died giving birth as มายาวนานท่ีสุด นบั จากปี ๒๔๗๙ มาจนปจั จบุ นั นบั ได้กวา่ ๓๐ ฉบับ แต่ แม่นาค her husband was away fighting a war, is one of Thailand’s best-known พระโขนง ฉบบั ทสี่ รา้ งโดย เสนห่ ์ โกมารชนุ และแสดงเปน็ แมน่ าคโดย ปรยี า รงุ่ เรอื ง folk tales that has inspired several musicals, traditional stage plays, ซงึ่ ออกฉายเมอ่ื ปี ๒๕๐๒ และไดร้ บั การตอ้ นรบั จากผชู้ มเปน็ ประวตั กิ ารณ์ ทำ� รายได้ TV series and movies. There have been over 30 film adaptations of สูงถึงล้านบาท ส�ำหรับภาพยนตร์ไทยที่ถ่ายท�ำระบบ ๑๖ มิลลิเมตร ฟิล์มสี the tale from 1936 to the present. One of the most popular versions โกดกั โครม พากยแ์ ละทำ� เสยี งประกอบสดขณะฉาย นบั ไดว้ า่ เปน็ แมน่ าคภาพยนตร์ is this 1959 title directed by Saneh Komarachun and starring Preeya ฉบับที่ได้รับการกล่าวขวัญถึงมากที่สุด จนตัวภาพยนตร์ฉบับน้ีกลายเป็นต�ำนาน Rungruang as Nak. The 16mm film, shot with Kodachrome with no เสียเอง แม่นาคฉบับน้ีจึงเป็นบันทึกความทรงจ�ำแห่งอารมณ์ความรู้สึก รสนิยม sound and requiring live dubbing at every screening, made over ความบันเทิงด้านภาพยนตร์ อิทธิพลความเช่ือ ของสังคมไทยในยุคก่ึงพุทธกาล one million baht at the box office, breaking the record at that time. ถา่ ยทอดผา่ นสอ่ื ภาพยนตรด์ ว้ ยขนบการแสดงอยา่ งนาฏลเิ กและเทคนคิ การถา่ ยทำ� The story revolves around the ghost of Nak, who refuses to go away and อยา่ งหนังบา้ น continues to live with her husband and child, provoking widespread terror in her village. Saneh Komarachun’s film became a legend itself over the decades, a nostalgic record of the audience’s taste, preferences, memories, as well as the Thai belief and superstition at the turn of the Buddhist century. The film is told through the cinematic language that recalls home movies and yet inspired by old-fashioned performing art such as likay. * ไม่ปรากฏข้อมูลความยาวภาพยนตร์ * Film Length - N/A 43 43



แพรด�ำ Prae Dam (Black Silk) ๙ ๒๕๐๔ 1961 ผอู้ �ำนวยการสรา้ ง รตั น์ เปสตันยี Producer: R.D. Pestonji ผกู้ �ำกบั รตั น์ เปสตนั ยี Director: R.D. Pestonji ผู้แสดง ทม วศิ วชาต,ิ รตั นาวดี รัตนาพันธ,์ เสณี อษุ ณษี าณฑ์, Cast: Thom Witsawachart, Ratanawadee Ratanaphan, ศรนิ ทพิ ย์ ศริ ิวรรณ, จมนื่ มานพนรศิ ร์, พชิ ิพ สาลีพันธ์, Senee Usaneesarn, Sarinthip Siriwan, Jamuen Manopnarit, จุรัย เกษมสวุ รรณ Pichip Saleephan, Jurai Kasemsuwan รางวลั ตุก๊ ตาทอง ครัง้ ท่ี ๕ ประจำ� ปี พ.ศ. ๒๕๐๕ Awards: Golden Doll, 1961, Best Cinematography (R.D. Pestonji) ถา่ ยภาพยอดเยี่ยม รัตน์ เปสตนั ยี Prae Dam is a film that came ahead of its time, the first Thai แพรด�ำ ผลงานทแ่ี สดงวิสยั ทศั น์ล้�ำยุคของรัตน์ เปสตันยี ทจ่ี ะผสมผสาน title to be shown at Berlin International Film Festival. R.D. Pestonji รปู แบบฟลิ ม์ นวั ร์ หรอื หนงั ทน่ี ยิ มแสดงดา้ นมดื ของมนษุ ยแ์ ละสงั คม กบั คำ� สอนพทุ ธ mixed film noir – a genre well-known for its portrayal of the dark side ศาสนาวา่ ด้วยเรือ่ งของกรรม ทมี่ าพร้อมบทหนงั ผูกเร่อื งได้อยา่ งฉลาดและซบั ซอ้ น of the human mind – with a Buddhist philosophy about guilt and มากพอท่ีจะไม่ท�ำให้ผู้ชมรู้สึกตะขิดตะขวงใจ และ เทคนิคการถ่ายท�ำภาพยนตร์ karma. The plot is intelligently crafted and involving complicated ทน่ี ำ� สมยั กวา่ ภาพยนตรไ์ ทยในยคุ เดยี วกนั แพรดำ� ถอื เปน็ ภาพยนตรไ์ ทยเรอื่ งทสี่ อง twists. While R.D. Pestonji’s name may not be well-known among ทไี่ ดร้ บั เชญิ ใหไ้ ปฉายในเทศกาลภาพยนตรก์ รงุ เบอรล์ นิ ปี ๒๕๐๔ แพรดำ� เลา่ เรอื่ งราว international film lovers because he passed away in 1970, and because ของ แพร ม่ายสาวลูกติดท่ีแต่งด�ำไว้ทุกข์ให้สามีที่เสียชีวิตของเธอไป จนใครๆ he only directed a few films in his career, he is regarded today as a กเ็ รยี กเธอวา่ แพรดำ� เธอมชี ายหนมุ่ ทม ผมู้ อี าชพี เปน็ คนดแู ลไนทค์ ลบั มาตดิ พนั เสนยี ์ visionary whose work has attracted the attention of international film เจ้าของไนท์คลับและเจ้านายทม ต้องการจะโกงเงินประกันชีวิตตัวเอง ด้วยการ scholars and film festivals. ปลอมตัวเป็นพ่ีชายฝาแฝดของเขาที่เพ่ิงเสียชีวิตไป จากน้ัน ตัวละครทั้งสามตัว Prae Dam tells the story of Prae (played by Ratanawadee กต็ อ้ งตกอยใู่ นวงั วนการฆาตรกรรมอำ� พราง การขกู่ รรโชก และ การสำ� นกึ ผดิ เทคนคิ Ratanaphan, R.D. Pestonji’s eldest daughter), a widow with a child การวางองค์ประกอบภาพ การจัดแสงและสี เป็นจุดเด่นส�ำคัญของภาพยนตร์ who always dresses in black to mourn the death of her husband – so เรอ่ื งนี้ รตั น์ เปสตนั ยี ซง่ึ รบั หนา้ ทเ่ี ปน็ ผกู้ ำ� กบั ภาพยนตรด์ ว้ ยตวั เอง ใชก้ ารจดั แสงทมี่ ี everyone calls her “Phrae Dam”. A young man, Thom, who works คอนทราสจดั เพอ่ื ใหเ้ กดิ ลกั ษณะแสงทกี่ ระดา้ ง ชว่ ยทำ� ใหส้ ใี นหนงั อมิ่ ตวั โดยเฉพาะ as a bouncer at a night club, is courting her, while Senee, the club’s สีแดง และมีเงาปรากฏอย่างชัดเจน ถือเป็นลักษณะส�ำคัญของการจัดแสง owner and Thom’s boss, is plotting to cheat his own life insurance by ในฟิล์มนัวร์ ช่วยขับเน้นให้เน้ือหาของหนังที่พูดถึงความชั่วร้ายในจิตใจมนุษย์ posing himself as his twin brother who just passed away. The three ให้โดดเด่นมากยิ่งข้ึน การบันทึกเสียงจริงของนักแสดงกลายเป็นเสน่ห์ท่ีท�ำให้ characters are caught in the vortex of murder, blackmail and guilt. ภาพยนตร์ของรัตน์ เปสตันยี โดดเด่นและสมจริง เสียงจริงของนักแสดงเหล่านี้ The film is acclaimed for its mise-en-scene, lighting and colour. สามารถส่ืออารมณ์ของการแสดงให้ผู้ชมได้ดีกว่าการพากย์ท่ีเป็นท่ีนิยมกัน R.D. Pestonji, who shot the film himself, favoured high-contrast lighting ในยุคสมยั นัน้ อยา่ งมาก that produced harsh images and saturated hues. The colour red is especially outstanding, and shadows are accentuated. In short, the film bears the hallmark of mid-century film noir, which intensifies the story about the possibility of evil in the human mind. Sound record- ing is another technical highlight of R.D. Pestonji’s films; he preferred real sound of the actors to dubbing, which was a standard practice in those days. After nearly 60 years, Prae Dam’s power and moral lessons remain solid. The meticulous craftsmanship and high-quality filmmaking is proof of cinema as an ideal medium that combines commercial and artistic ambitions. * ไมป่ รากฏข้อมลู ความยาวภาพยนตร์ * Film Length - N/A 45 45



เรือนแพ Ruenpae (The Houseboat) ๑๐ ๒๕๐๔ ๑๒๕ นาที 1961 125 Mins ผู้อ�ำนวยการสรา้ ง พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจา้ ภาณุพันธุย์ ุคล, จรี อมาตยกุล Producer: Prince Bhanubhan Yukol, Jaree Amatayakul ผูก้ �ำกบั พระเจา้ วรวงศเ์ ธอ พระองคเ์ จา้ ภาณพุ นั ธย์ุ คุ ล, เนรมติ (อำ� นวย กลสั นมิ )ิ Director: Prince Bhanubhan Yukol, Neramit (Amnuay Kalatnimi) ผแู้ สดง ไชยา สรุ ิยนั , มาเรีย จาง, จนิ ฟง, ส. อาสนจนิ ดา Cast: Chaiya Suriyan, Maria Chang, Jin Fong, Sor Asanachinda รางวัล รางวัลตุ๊กตาทอง ครงั้ ท่ี ๕ พ.ศ. ๒๕๐๕ ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม, Awards: Golden Doll, 1962, Best Picture, ผแู้ สดงน�ำชายยอดเย่ียม ไชยา สุริยนั , Best Actor (Chaiya Suriyan), ผูแ้ สดงประกอบชายยอดเยยี่ ม ส. อาสนจินดา, Best Supporting Actor (Sor Asanachinda), ออกแบบและสร้างฉากยอดเย่ียม เฉลิม พนั ธนุ์ ลิ , Best Production Design (Chalerm Pannil), บันทกึ เสยี งยอดเย่ียม นอ้ ย บุนนาค Best Sound Recording (Noi Bunnag) ผลงานภาพยนตร์ของบริษัทอัศวินภาพยนตร์ ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ Ruenpae means “houseboat”, a traditional abode of Thai พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล เป็นผลงานท่ีถ่ายท�ำในระบบ ๓๕ มิลลิเมตร ซูเปอร์ people who lived along the river. The houseboat in this film is a place ซเี นมาสโคปหรอื ระบบจอกวา้ งสอี สิ ตแ์ มนเสยี งในฟลิ ม์ เปน็ โครงการสรา้ งภาพยนตร์ where three men live and share their dreams of the future. Jane, ทน่ี ำ� ดาราภาพยนตรฮ์ อ่ งกงมารว่ มแสดงกบั ดาราภาพยนตรไ์ ทย เพอื่ ใหภ้ าพยนตรไ์ ทย Kaew and Rin are male friends who fall for the same woman, Pen. มชี อ่ งทางจำ� หนา่ ยออกตา่ งประเทศ เรอื นแพในหนงั เรอ่ื งนี้ ทำ� หนา้ ทเี่ ปน็ รงั ทพี่ กั พงิ Jane is an honors student and joins the police force. Rin becomes ของชายหนุ่ม ๓ ชวี ติ ซึ่งมคี วามฝันและเป้าหมายในอนาคตไปคนละทาง เร่ืองราว a singer, while Kaew becomes a professional boxer. One stormy night, กลา่ วถึงเจน แกว้ และริน เปน็ สามคนเพอื่ นรักซ่ึงหลงรกั เพ็ญ ผหู้ ญงิ คนเดียวกัน Kaew sleeps with Pen, and they promise to be together forever. ทั้งหมดอาศัยอยู่ด้วยกันท่ีเรือนแพริมน้�ำ ซึ่งเช่ามาจากเต่ียของเพ็ญ ซ่ึงมั่นหมาย To find money to marry her, Kaew agrees to throw a boxing match. จะใหเ้ พญ็ แตง่ งานกบั เจน ตอ่ มาทงั้ สามตา่ งตอ้ งแยกยา้ ยจากกนั โดยเจน ซงึ่ เรยี นจบ But once in the ring, he changes his mind and fights to save his dignity, ปรญิ ญาดว้ ยคะแนนเกยี รตนิ ยิ ม ไปสมคั รเปน็ ตำ� รวจ รนิ ไปเปน็ นกั รอ้ ง สว่ นแกว้ ไป and that gets him into trouble when the better who’s lost his money เปน็ นักมวย ในคนื ฝนตกหนัก เพ็ญกต็ กเปน็ เมยี ของแกว้ ทงั้ คู่สัญญาจะเปน็ ผวั เมีย comes after him. In the ensuing scuffle, Kaew accidentally kills him. กนั ตลอดไป แกว้ ตกลงใจจะลม้ มวยในการชกทล่ี พบรุ ี เพอ่ื หาเงนิ มาแตง่ งานกบั เพญ็ He becomes a wanted fugitive with a prize on his head, so he decides แต่เมื่อถึงเวลาชกจริงเขากลับชกอย่างสุดฝีมือเพื่อรักษาศักดิ์ศรีของตัวเอง ฝ่ายท่ี to join a criminal gang, working his way up to the top. The police are เสยี พนนั กลบั จะมาเอาเรอ่ื งกบั แกว้ และถกู แกว้ พลงั้ มอื ฆา่ ตาย แกว้ กลายเปน็ ฆาตกร now after Kaew, and the captain in charge of the mission is no one มรี างวลั นำ� จบั หลบหนแี ละไปเขา้ รว่ มกบั แกง๊ โจรจนไดเ้ ปน็ หวั หนา้ แกง๊ แทนเสอื หาญ else but Jane. Pen, still in love with Kaew, begs Jane to spare his life. ทางการมีค�ำสั่งให้จับตายหัวหน้าแก๊งโจร นายต�ำรวจใหม่เจน ซึ่งได้รับค�ำสั่งให้ Kaew, meanwhile, suspects that the police are able to track him down ตามจบั แกว้ ไดร้ บั ขอรอ้ งจากเพญ็ ใหไ้ วช้ วี ติ แกว้ พวกแกว้ สงสยั วา่ นกั รอ้ งทอี่ ยใู่ นผบั because the singer at a nightclub is an informer. Kaew and his men คอื สายลับ อาจเป็นคนปากโป้งบอกตำ� รวจวา่ แกว้ และพรรคพวกอยู่ท่ีไหน ขณะท่ี go to check it out, and he hears a familiar voice crooning: it’s Rin, แก้วเดนิ ทางไปไดย้ ินเสียงนักรอ้ งคนนน้ั แก้วจ�ำเสยี งไดว้ า่ เป็นรนิ เพ่อื นรกั แต่แก้ว his friend from the houseboat. Before Kaew can stop them, his men เขา้ ไปไมท่ นั รินโดนโจรพวกของแกว้ ยงิ ตาย บงั เอญิ กบั ท่เี จนมาพบพอดีและเข้าใจ shoot Rin dead. Jane arrives at the scene and believes that Kaew is so วา่ แกว้ ได้ฆ่าแม้แต่กระทง่ั รนิ ผ้เู ปน็ เพื่อน คืนฝนตกหนักแกว้ แอบมาหาเพญ็ บอกวา่ heartless as to kill his own friend. Their intertwining fates circle back เขาไม่ได้ฆ่าริน ระหว่างน้ันเจนก็น�ำต�ำรวจมาล้อมจับแก้วโดยให้ยอมมอบตัว to the houseboat, where Kaew sneaks back to tell Pen that he didn’t ทันใดนั้นเสือหาญและพวกก็บุกมายิงเจนจนตกน�้ำและยิงแก้วตาย ก่อนตายแก้ว kill Rin. At that moment, Jane and his men storm the houseboat, ตัดเชือกท่ีขึงแพไว้ออก จนแพลอยไปล้มทับหาญ เจนท่ีไม่เป็นไรมาก ช่วยชีวิต at the same time that an ex-boss of the criminal gang brings his thugs เพ็ญข้ึนจากน�้ำ โศกนาฏกรรมระหว่างเพ่อื นรกั ทง้ั สามกบั เพญ็ หนึ่งหญิงสาว จบลง to kill Kaew. Caught between friendship, love and disappointment, ด้วยความเศรา้ เสยี ใจ the story can only end in tragedy and death> The film was shot at Thai Film Studio in Thung Mahamek on 35mm, Super CinemaScope, Eastman Color with sound on film. The cast featured Hong Kong actors alongside Thai stars, in order to market the film internationally. 47 47


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook