Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore Chapter 2.Basic Electrocardiography 2018 BOOK

Chapter 2.Basic Electrocardiography 2018 BOOK

Published by ไกรศร จันทร์นฤมิตร, 2018-08-19 09:36:01

Description: Chapter 2.Basic Electrocardiography 2018 BOOK

Search

Read the Text Version

มาเรียนการอ่านคลื่นไฟฟ้าของหัวใจกันนะ ผมจะเสนอเป็นขั้นตอน ถ้าไม่เข้าใจก็เขียนมาถามนะบางครั้งผมจะมีคําถามหรือแบบฝึกหัดก็ตอบหรือทําด้วยนะ ( อย่ากลัวว่าจะตอบผิด หรืออายนะเพราะคุณมาเรียนรู้ )การอ่าน ECG ไม่ใช่เรื่องยาก แต่มันเป็นเรื่องยาว ซึ่งต้องใช้ความอดทน ความสนใจ และปฎิบัติอยู่เสมอ จึงจะได้เข้าใจและไม่ลืม ผมจะลงวันละนิดวันละหน่อย โปรดติดตามนะ หวังให้คุณประสบความสําเร็จและอ่านได้นะด้วยความปรารถนาดี ศุภชัย ไตรอุโฆษ

Electrocardiographyในหัวใจมีคลื่นของไฟฟ้า คลื่นไฟฟ้านี้วิ่งผ่าน cells ที่ประกอบเป็นกล้ามเนื้อของหัวใจจะทําให้ cells เกิดการ Depolarization มีผลทําให้ กล้ามเนื้อของหัวใจหดตัวและขยายตัว(ปั้มเลือด)เรามีเครื่องมือสําหรับการ “ จับ “ ( record ) คลื่นไฟฟ้าในหัวใจนี้มาเขียนบนกระดาษกราฟเราจึงเรียกว่า Electrocardiography ( Electro = ไฟฟ้า , Cardio = หัวใจ Graphy = การบันทึกบนกระดาษกราฟ )

ในปี คศ 1901 Dr. Willem Einthoven ได้ค้นพบและประดิษฐ์เครื่องมือที่ใช้ในการจดบันทึกคลื่นไฟฟ้าของหัวใจการบันทึกไฟฟ้าของหัวใจ ตําแหน่งที่บันทึก และการบันทึกทําบนแผ่นกระดาษกร๊าฟที่เคลื่อนที่ในจังหวะความเร็วที่เป็นมาตรฐานเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ได้ถูกต้อง

คลื่นไฟฟ้าของหัวใจ เราอาจจะทําการบันทึกเป็นครั้งเป็นคราว ที่เราต้องการตรวจสอบวินิจฉัยถึงรายละเอียดความผิดปกติของหัวใจหรืออาจจะใช้เป็นเครื่องมือดูจังหวะและที่มาของไฟฟ้าของหัวใจอย่างต่อเนื่องในขณะที่ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษา

Electrodes are applied at specific locations on the patient’s chest wall andextremities to view the heart’s electrical activity different angles and planes.แผ่นสายที่ต่อจากตัวผู้ป่วยกับเครื่องบันทึก เราเรียกว่า Electrodeตําแหน่งการติด electrode จะมีมาตรฐานสากลที่ใช้บันทึกคลื่นไฟฟ้าของหัวใจตําแหน่งของ electrode ที่ติดต่างกันหลายๆตําแหน่ง เพื่อใช้เป็นมุมมองหัวใจในหลายๆด้าน

Lead ทุกๆ Lead จะมีขั้วบวกและขั้วลบLead เป็นการบันทึกคลื่นไฟฟ้าระหว่าง electrode ขั้วบวก และขั้วลบLeads ที่ใช้บันทึก Frontal plane จะมองหัวใจข้างล่าง ข้างบน ข้างซ้าย และ ข้างขวาLeads Horizontal plane ใช้บันทึกมองตัดผ่านหัวใจจากด้านหน้าไปยังด้านหลังLeads มีอยู่ 3 ชนิด คือ - 1. Standard Limb Leads. คือ Lead I, II, และ III - 2. Augmented Leads. คือ Lead aVR, aVL, และ aVF - 3. Precordial Leads ( Chest Leads ). คือ Lead V1, V2, V3, V4, V5, และ V6

การติด Electrodesที่เป็นมาตรฐานสากล ที่มีเพียง 3 Electrodes ใช้สําหรับดูคลื่นไฟฟ้า ECG Rhythm และเห็นหัวใจได้เป็นบางส่วน คือเห็นส่วนล่างของหัวใจ Inferior area และเห็นส่วนข้างๆด้านซ้ายของหัวใจ Left Lateral areaElectrode ที่หนึ่งติดไว้ที่ หัวไหล่ข้างขวา ( RA = Right Arm )Electrode ที่สองติดไว้ที่ หัวไหล่ข้างซ้าย ( LA = Left Arm )Electrode ที่สามติดไว้ที่ ขาหรือเอวข้างซ้าย ( LL = Left Leg )



การบันทึก 12 Lead ECG ต้องติด Electrode ตามตําแหน่งมาตรฐานสากล เพราะถ้าคุณติดผิดตําแหน่ง คนอ่านก็จะอ่านผิด อันนี้เป็นเรื่องสําคัญมากซึ่งอาจจะมีผลต่อการรักษาพยาบาล*4 Electrodes ติดที่ แขน และ ขา ข้างซ้าย และ ข้างขวา*V1 ติดที่ ช่องกระดูกซี่โครงช่องที่ 4 ข้างขวาของกระดูก Sternum*V2 ติดที่ ช่องกระดูกซี่โครงช่องที่ 4 ข้างซ้ายของกระดูก Sternum*V3 ติดระหว่าง V2 และ V4*V4 ติดที่ ช่องกระดูกซี่โครงช่องที่ 5 ตัดกับแนวตั้งฉากจากจุดกึ่งกลางของกระดูก Left Clavicle*V5 ติดระหว่าง V4 และ V6*V6 ติดที่ ช่องกระดูกซี่โครงช่องที่ 5 ตัดกับแนวตั้งฉากจากจุดกึ่งกลางของรักแร้ Axilla

Lead I.ขั้วบวกอยู่ที่ Left armขั้วลบอยู่ที่ Right armโปรดจําไว้ จําไว้นะ ขั้วบวกอยู่ที่ใด ขั้วบวกจะเป็นตัวบอกว่าเราดูหัวใจ จากตําแหน่งนั้นฉะนั้น ดู ECG ที่ Lead Iนั่นหมายถึงเรามองดูหัวใจที่ด้านข้างซ้ายLateral area.

Lead II.ขั้วบวกอยู่ที่ Left legขั้วลบอยู่ที่ Right armโปรดจําไว้ จําไว้นะ ขั้วบวกอยู่ที่ใดขั้วบวกจะเป็นตัวบอกว่าเราดูหัวใจ จากตําแหน่งนั้นฉะนั้น ดู ECG ที่ Lead IIนั่นหมายถึงเรามองดูหัวใจที่ด้านข้างล่าง Inferior area.

Lead III.ขั้วบวกอยู่ที่ Left legขั้วลบอยู่ที่ Left armโปรดจําไว้ จําไว้นะ ขั้วบวกอยู่ที่ใดขั้วบวกจะเป็นตัวบอกว่าเราดู หัวใจ จากตําแหน่งนั้นฉะนั้นดู ECG ที่ Lead IIIนั่นหมายถึงเรามองดูหัวใจที่ด้านข้างล่าง Inferiorarea.









LA T E R A L INFERIORถึงตอนนี้ เราเรียนรู้แล้ว 6 Leads คือ Lead I, II, III, aVR, aVL, และ aVFซึ่งแบ่งออกเป็นกลุ่มได้ดังนี้กลุ่ม Lead II, III, and aVF ใช้มองดูหัวใจจากทางด้านล่าง INFERIOR areaกลุ่ม Lead I, aVL ใช้มองดูหัวใจจากทางด้านซ้าย LEFT LATERAL area.Lead aVR ใช้มองดูหัวใจจากทางด้านขวาบน RIGHT SUPERIOR area.

Chest LeadsThe precordial leads วาง electrode ซึ่งตั้งไว้เป็นขั่วบวกอยู่แถวบริเวณหน้าอกข้างซ้าย ที่ใช้เป็นมาตรฐานมี 6 leads 18 คือ V1, V2, V3, V4, V5 และ V6

การบันทึก 12 Lead ECG ต้องติด Electrode ตามตําแหน่งมาตรฐานสากล เพราะถ้าคุณติดผิดตําแหน่ง คนอ่านก็จะอ่านผิด อันนี้เป็นเรื่องสําคัญมากซึ่งอาจจะมีผลต่อการรักษาพยาบาล*4 Electrodes ติดที่ แขน และ ขา ข้างซ้าย และ ข้างขวา*V1 ติดที่ ช่องกระดูกซี่โครงช่องที่ 4 ข้างขวาของกระดูก Sternum*V2 ติดที่ ช่องกระดูกซี่โครงช่องที่ 4 ข้างซ้ายของกระดูก Sternum*V3 ติดระหว่าง V2 และ V4*V4 ติดที่ ช่องกระดูกซี่โครงช่องที่ 5 ตัดกับแนวตั้งฉากจากจุดกึ่งกลางของกระดูก Left Clavicle*V5 ติดระหว่าง V4 และ V6*V6 ติดที่ ช่องกระดูกซี่โครงช่องที่ 5 ตัดกับแนวตั้งฉากจากจุดกึ่งกลางของรักแร้ Axilla

V1 and V2 เป็น Leads ที่ใช้มองผนังส่วนที่แบ่งห้องหัวใจข้างซ้ายและข้างขวา SEPTUM AREAV1 V2 V3 V4 เป็น Leads ที่ใช้มองด้านหน้าของหัวใจ จะเห็น LEFT ANTERIOR VENTRICLE AREAV5 V6 เป็น Leads ที่อยู่ด้านข้างซ้ายของหัวใจ ใช้มอง LEFT LATERAL AREA

ถ้าคุณจะตรวจดูส่วนล่างของหัวใจ INFERIOR คุณดูที่ Lead II, III and aVFถ้าคุณจะตรวจดูด้านข้างซ้ายของหัวใจ LEFT LATERAL คุณดูที่ Lead I, aVL, V5 and V6ถ้าคุณจะตรวจดูผนังส่วนแบ่งหัวใจห้องข้างซ้ายและขวา SEPTUM คุณดูที่ Lead V1 and V2ถ้าคุณจะตรวจดู ด้านหน้าข้างซ้ายของหัวใจ LEFT ANTERIOR คุณดูที่ Lead V1 V2 V3 and V412 Lead ECG เราติด electrodes ไว้ทางด้านหน้า anterior ฉะนั้นถ้าเราต้องการดูส่วนด้านหลังของหัวใจ posterior เราจะดูได้จาก Lead V1, V2, V3, และ V4 แต่ต้องใช้วิธีการดูแบบreversed trans-illumination หรือ mirror test ซึ่งจะพูดถึงใน slide ต่อไป

RIGHT VENTRICULAR INFARCTIONปกติเราติด electrodes สําหรับ chest leads ( V1 V2 V3 V4 V5 V6 ) ไว้ที่หน้าอกข้างซ้าย ทําให้มองเห็นส่วนล่างข้างซ้าย left ventricleแต่ถ้าเราสงสัยอยากดูว่า หัวใจส่วนข้างขวามีอะไรผิดปกติหรือไม่ เราก็สามารถทําได้ โดยการย้ายelectrodes ที่ติดไว้ที่หน้าอกข้างซ้าย มาติดที่หน้าอกข้างขวาเมื่อเราทําการบันทึก ECG ที่หน้าอกข้างขวา ต้องเขียนบันทึกไว้ด้วยว่า RIGHT SIDED ECGการทํา Right sided ECG ส่วนใหญ่ทําเพื่อตรวจดูว่าผู้ป่วยมี Right Ventricular Infarction หรือไม่

การตรวจดูส่วนข้างหลังของหัวใจ posterior คุณก็สามารถทําได้โดยติด electrodes ที่ข้างหลังผู้ป่วย V7 V8 V9 เป็นแนวตรงเดียวกับ V6 แต่ในทางปฎิบัติเราไม่ทํากันเพราะยุ่งยากถ้าเราต้องการดูส่วนด้านหลังของหัวใจ POSTERIOR เราจะดูได้จาก Lead V1 V2 V3 และ V4 ที่ติด electrodes ตามปกติไว้ที่หน้าอกข้างหน้า แต่ต้องใช้วิธีการดูแบบ reversed trans-illumination or mirror test

24

ECG PAPERการบันทึก ECG เราบันทึกบนกระดาษกร๊าฟที่แบ่งออกเป็นช่องๆกระดาษบันทึกจะเคลื่อนที่บันทึกด้วยอัตราความเร็ว 25 mm (millimeter) ในหนึ่งวินาทีการอ่าน waveform ที่บันทึกบนกระดาษ ECGอ่านจากซ้ายไปขวา อ่านออกเป็นระยะของเวลา TIME ( second )แต่ถ้าอ่านจากข้างบนลงมาข้างล่าง หรือข้างล่างขึ้นไปข้างบน อ่านออกเป็นขนาด SIZE ( mV )หนึ่งช่องเล็ก ประกอบด้วยความกว้าง 1 mm และความสูง 1 mmฉะนั้นหนึ่งช่องเล็ก จึงมีระยะจากซ้ายไปขวา 0.04 Second ( วินาที )และมีขนาดสูงหรึอตํ่า 1 mm ( 0.1 mV )5 ช่องเล็ก = 1 ช่องใหญ่1 ช่องใหญ่ = 0.04 second x 5 = 0.20 second5 ช่องใหญ่ = 0.20 second x 5 = 1 second30 ช่องใหญ่ = 0.20 second x 30 = 6 second

ขนาดของไฟฟ้า ( Voltage or Amplitude )ที่บันทึกในกระดาษ ECG เราวัดเป็น millivolt ( mV )หรือวัดเป็น millimeter ( mm )10 mm = 1 mV ฉะนั้น 1 ช่องเล็ก 26มีขนาด = 1 mm หรือ 0.1 mV

A waveform or deflection is movement away from the baseline ( Isoelectric line ) in either positive or negative direction.เมื่อไฟฟ้าวิ่งผ่านเซลกล้ามเนื้อของหัวใจ จะเกิดการ Depolarization and Repolarizationทําให้เกิดคลื่นขึ้นลง เรียกว่า WAVEFORM ที่เราสามารถบันทึกได้Waveform ที่อยู่เหนือกว่าเส้น Isoelectric line ( baseline ) เรียกว่า Positive deflectionWaveform ที่อยู่ตํ่ากว่าเส้น Isoelectric line เรียกว่า Negative deflectionWaveform ที่บันทึกมีชื่อเรียกว่า P wave, QRS complex, Q wave, R wave, S wave,T wave, and U wave

ไฟฟ้าวิ่งเข้าหา electrode ที่เป็นขั้วบวกจะทำให้เกิดwaveform ที่เป็น positive deflection ไฟฟ้าวิ่งออกห่างจาก electrode ที่เป็นขั้วบวกจะทำให้เกิด waveform ที่เป็น negative deflection 28



ปกติไฟฟ้าจะสร้างมาจาก SA node ส่งผ่านมาที่ AV node แนวทางของไฟฟ้า ( AXIS ) ก็มาจากไหล่ข้างขวา Right Arm ลงมายังขาข้างซ้าย Left Leg ไฟฟ้าวิ่งผ่าน atrium เกิด atrial depolarization บันทึกออกมาเป็น P waveP wave ที่เกิดขึ้นนี้ ถ้าดูจาก lead ที่อยู่ข้างล่าง และอยู่ข้างซ้าย เช่น lead I,lead II, lead III, aVL และ aVF จะเป็น positive deflection P waveแต่ lead V1 ไฟฟ้าวิ่งเข้าหาและวิ่งออกไป จึงทำให้ P wave ใน lead V1 มีรูปร่างเป็น Biphasic คือเป็นทั้ง positive และ negative deflectionP wave ปกติจะสูงน้อยกว่า 2.5 mm และกว้างน้อยกว่า 0.11 secondการจําง่ายๆนะ P wave ปกติจะสูง และ จะกว้างไม่เกิน 3 ช่องเล็ก 30

PR interval คือช่วงของระยะเวลานับตั้งแต่ไฟฟ้าวิ่งผ่าน Right and LeftAtrium แล้วทําให้เกิด P wave ( Atrial Depolarization ) จนถึงไฟฟ้าวิ่งมาที่Ventricle แล้วทําให้เกิด QRS complex ( Ventricular Depolarization) ระยะเวลาปกติ PR interval คือ 0.12 – 0.20 second.PR interval วัดจากจุดเริ่มต้นของ P wave จนถึงจุดเริ่มต้นของ QRS comple31x

PR interval > 0.20 second เรียกว่า First degree AV block เป็นการ delayของไฟฟ้าที่เดินทางมาจาก Atrium ลงไปที่ Ventricle ช้ากว่าปกติสาเหตุส่วนมากจะเกิดมาจาก Acute Myocardial Infarction โดยเฉพาะเกิดที่บริเวณ Inferior Myocardial Infarction ทำให้เกิดการขาดเลือดไปเลี้ยงหัวใจส่วนของ AV node และ AV junction หรืออาจเกิดจากการใช้ยาพวกBeta blockers, Calcium Channel blockers, Digitalis, Amiodarone,Quinidine, Procainamide, หรืออาจเกิดจาก Rheumatic Heart Diseaseหรือ Hyperkalemia.Prolong PR interval ส่วนมากจะไม่มีปัญหาไม่ทำให้หัวใจทำงานได้น้อยลง แต่ถ้าเกิดขึ้นมาจากสาเหตุของ Acute MI ต้อง monitor อย่างใกล้ชิด เพราะอาจจะเกิดปัญหาของการ block ในส่วนที่ตำ่กว่าลงมาเช่น block ที่ bundle branches ทำให้หัวใจเต้นช้าลงมีผลต่อการทำงาน32

Shortened PR interval PR interval ที่เร็วกว่าปกติ ( < 0.12 second )อาจเกิดขึ้นได้เพราะ 1.ไฟฟ้าเกิดมาจากจุดกำเนิดที่อยู่ที่ Atrium ใกล้ๆกับ AV node หรือไฟฟ้าเกิดมาจาก AV junction2. ไฟฟ้าที่มาจาก Atrium ลงมาที่ Ventricle แต่ไม่ได้มาทาง conductionpathway ปกติ คือไม่ได้มาทาง AV node, AV junction, bundle branchesแต่ไฟฟ้าลงมาที่ Ventricle โดยทางอื่นเช่น Kent Bundle pathway. 33

เมื่อไฟฟ้าวิ่งผ่าน ventricles จะทําให้เซลกล้ามเนื้อของ ventricle เกิดการDepolarizationจึงเกิดเป็นคลื่นที่เราเรียกว่า QRS complex เมื่อVentricular depolarization จะทําให้เกิดการปั้มของหัวใจห้องข้างล่าง( Ventricular contraction )QRS complex ประกอบด้วย Q wave, Rwave และ S wave แต่บางครั้งเราไม่เห็นทุก 34wave ใน QRS complex

QRS complex ที่กว้างกว่าปกติ มากกว่า 0.12 second เป็นเพราะ1.ไฟฟ้าเกิดมาจาก Ventricle2. หรือไฟฟ้ามาจากข้างบนแต่มี complete Bundle Branch Block35.

Q wave คือ waveแรกที่เกิดอยู่ข้างล่าง Isoelectricline ของ QRS complex ( first negative deflection )R wave คือ wave ที่เกิดอยู่ข้างบนของ Isoelectricline ของ QRS complex, ( positive deflection inQRS complex )S wave คือ wave ที่เกิดอยู่ข้างล่างตามหลัง R wave Q wave ปกติ จะกว้างน้อยกว่า หนึ่งช่อง เล็ก < 0.04 second และไม่ลึกลงมากกว่า 2 ช่องเล็ก ( 2 mm ) หรือขนาดเล็กกว่า 1/3 ของ R wave ถ้า Q wave ไม่ปกติ ( significant Q wave ) คือ กว้าง > 0.04 second หรือ/ และ ลึก มากกว่า 2mm, หรือ > 1/3 R wave นั่นหมายถึงการมีตายของเซลกล้าม เนื้อ ( INFARCTION )

QRS complex ที่มีขนาด เล็ก และ ใหญ่ สลับกัน เรียกว่า Electrical AlternansElectrical alternans จะพบในผู้ป่วยที่มี Pericardium effusion และเกิด Cardiac tamponade

ST segmentเมื่อ QRS complex สิ้นสุดกลับมาที่เส้น Isoelectric line จุดนั้นเราเรียกว่า J point.จากจุด J point จนถึงจุดเริ่มต้นของ T wave เราเรียกว่า ST segmentST segment เป็นช่วงจังหวะหยุดนิดหนึ่ง pause ( plateau phase ) ของกระแสไฟฟ้า หลังจากVentricular depolarization แล้ว ก่อนที่จะเกิดมี Ventricular repolarization ( T wave )

ST segment elevation/depression PR segment ใช้สําหรับเป็นแนวของ Iso-electric line ถ้า ST segment ยกสูงกว่า iso-electric line เราเรียกว่า ST elevation ถ้า ST segment อยู่ตํ่ากว่า iso-electric line เราเรียกว่า ST depressionST elevation ใน limb leads ( I, II, III, aVL, aVF ) สูงมากกว่า 1mm ( 1 ช่องเล็ก ) หรือในChest leads ( V1 V2 V3 V4 V5 V6 ) สูงมากกว่า 2mm ( 2 ช่องเล็ก ) อาจจะหมายถึง เซลกล้ามเนื้อของหัวใจกําลังถูกทําลาย ( myocardial injury )ST depression ตํ่ามากกว่า 1 mm ( 1 ช่องเล็ก ) อาจจะหมายถึงเซลกล้ามเนื้อของหัวใจได้รับเลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอ ( myocardial ischemia )

เมื่อพูดถึง ST elevation ส่วนมากเราจะนึกถึงเรื่องของการมี Myocardial Infarctionแต่จริงๆแล้ว การที่มี ST elevation อาจจะเกิดขึ้นเนื่องมาจากสาเหตุอย่างอื่นได้ อาทิเช่น Coronary artery vasospasm, Ventricular aneurysm, Takotsubocardiomyopathy, Pericarditis, and Early repolarization.ซึ่งผมจะพูดถึงเรื่องเหล่านี้ในบทเรียนต่อไป

ST Depression อาจหมายถึงเซลกล้ามเนื้อของหัวใจได้รับเลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอ ( MyocardialIschemia ) หรือเกิดขึ้นใน lead ที่อยู่ตรงข้ามกับ Lead ที่มี ST elevation ( reciprocal )ST Depression อาจเกิดจากการใช้ยาพวก Digitalis จะพบ downsloping ST depression มีลักษณะคล้ายๆกับที่ตัก ice cream หรือคล้ายกับ ปลายไม้ hockey หรือคล้ายกับหนวดของนาย SalvadorDaliST Depression อาจเกิดจาก Ventricular Hypertrophy.ที่เรียกว่า Right ventricular strain ถ้าหัวใจข้างล่างขวาโตและ Left ventricular strain ถ้าหัวใจข้างล่างซ้ายโต

เมื่อ Ventricular depolarization ใน ECG จะเห็น QRS complexหลังจากนั้น Ventricular จะเกิดการ repolarization ใน ECG จะเห็น T wave โดยปกติ T wave จะมีทิศทางเดียวกับ QRS complex ถ้า T wave หัวกลับ ( invert T- wave ) อยู่ใต้เส้น Isoelectric line อาจจะ หมายถึงเซลกล้ามเนื้อของหัวใจมีเลือด ไปเลี้ยงไม่เพียงพอ Myocardial ischemia.

HYPERKALEMIAโปแตสเซียมในเลือดสูงมากกว่าปกติใน ECG จะพบT wave ฐานแคบและสูงแหลม( tall T wave ) และP wave จะตำ่ลง( flat P wave ) ถ้าโปแตสเซียมสูง กว่าปกติมากๆ QRS จะกว้าง ( widen QRS ) และมี T wave สูง ( tall T wave ) 43

ถ้า potassium ในเลือดตํ่ากว่าปกติ จะพบ ST ตำ่ลง ( ST depression )T wave ตํ่าเตี้ย ( flat T wave ) และพบเห็น U wave ได้มากขึ้น 44

INTRACEREBRAL HEMORRHAGE Cerebral T wave ผู้ป่วยที่มี intracerebral hemorrhage อาจจะพบ T wave หัวกลับลงลึก ( deeply invert T wave ) QT interval ยาวกว่าปกติ ( Prolong ) และ หัวใจเต้นช้า Bradycardia 45

U Wave U wave เกิดจากการ Repolarization ของ Ventricular Fibers. U wave ปกติจะสูงไม่เกิน 1.5 mm U wave ที่สูงมากกว่าปกติ ส่วนมากจะเกิด จากระดับของ Electrolytes ในเลือดสูงหรือ ตํ่ากว่าปกติ และเกิดจากการใช้ยาเช่น Amiodarone, Digoxin, Quinidine, Procainamide. หรือมี Hyperthyroidismถ้า U wave หัวกลับ ( invert U wave or Negative U waveหมายถึง เซลกล้ามเนื้อของหัวใจได้รับเลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอNegative U wave are strongly suggestive of organicheart disease and may be seen in patient with ischemicheart disease. 46

QT INTERVALQT interval คือระยะเวลาที่เริ่มจาก Ventricular depolarization จนถึงเวลาที่สิ้นสุดของ Ventricular repolarization QT interval วัดจากจุดเริ่มต้นของ QRS complex จนถึงจุดสุดสิ้นของ T wave ค่าปกติของ QT interval = 0.36 – 0.44 second 47

ความสัมพันธ์ระหว่าง QT interval กับ Heart rate ค่าปกติของ QT interval = 0.36 – 0.44 secondQTc = QT interval/ Square root ของ RR intervalจํากันง่ายๆนะ ถ้า QT intervalน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของ RR interval ถือว่า QT interval เป็น ปกติแต่ถ้ามากกว่าครึ่งหนึ่งของ RR interval ถือว่าเป็น Long QT interval.Long QT interval อาจเกิดจาก Hypocalcemia, Hypokalemia หรือใช้ยาพวก Quinidine, Phenothiazines, Haldol.Long QT syndrome เกิดจากกรรมพันธ์ที่มีผลทําให้Ventricular Repolarization ช้า ซึ่งอาจจะทําให้หัวใจเต้นผิดปกติถึงขั้นเสียชีวิตกะทันหัน Sudden Death 48

Short QT IntervalShort QT interval อาจเกิดเนื่องจากการใช้ยา Digitalis หรืออาจเกิดเนื่องจากมี แคลเซี่ยมในเลือดสูง Hypercalcemia 49

เราสามารถบอกได้ว่า หัวใจเต้นประมาณกี่ครั้งในหนึ่งนาทีCalculating Heart Rate โดยดูจาก ECG ได้ด้วยวิธีง่ายอยู่ 2 วิธีดังนี้1. Sequence method. วิธีนี้ใช้สําหรับคนที่หัวใจเต้นเป็นจังหวะสม่ำเสมอ2. Six second strip ใช้สําหรับคนที่หัวใจเต้นเป็นจังหวะไม่สม่ำเสมอ 50


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook