Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore เล่มที่ 5_การออกแบบกิจกรรมแนะแนว

เล่มที่ 5_การออกแบบกิจกรรมแนะแนว

Published by waleewan, 2020-06-14 21:44:27

Description: เล่มที่ 5_การออกแบบกิจกรรมแนะแนว

Search

Read the Text Version

การออกแบบกิจกรรมแนะแนว ที่เนนการพฒั นาทักษะสําหรับผเู รียน สาํ นักงานคณะกรรมการการศกึ ษาขัน้ พนื้ ฐาน สมาคมแนะแนวแหงประเทศไทย กระทรวงศกึ ษาธกิ าร

การออกแบบกิจกรรมแนะแนว ทีเ่ นนการพัฒนาทกั ษะสำหรบั ผูเ รียน สำนกั งานคณะกรรมการการศึกษาขน้ั พ้ืนฐาน สมาคมแนะแนวแหง่ ประเทศไทย กระทรวงศกึ ษาธกิ าร

การออกแบบกจิ กรรมแนะแนวทเี่ นน้ การพัฒนาทักษะสำหรับผูเ้ รยี น พ.ศ. 2559 ปที ี่พิมพ์ 32,000 เลม่ จำนวนพิมพ ์ สำนกั งานคณะกรรมการการศึกษาขน้ั พื้นฐาน จดั พิมพ์โดย กระทรวงศึกษาธิการ โรงพิมพช์ ุมนมุ สหกรณ์การเกษตรแหง่ ประเทศไทย จำกดั พมิ พท์ ี่ 79 ถนนงามวงศว์ าน แขวงลาดยาว เขตจตุจกั ร กรงุ เทพมหานคร 10900 โทร. 0-2561-4567 โทรสาร 0-2579-5101 นายโชคดี ออสวุ รรณ ผู้พิมพผ์ ู้โฆษณา

ก คำนำ งานแนะแนวเป็นงานหลักที่สำคัญและจำเป็นอย่างย่ิงที่ต้องดำเนินการควบคู่ไปกับ การเรียนการสอนจึงจะสามารถจัดการศึกษาให้บรรลุผลตามเป้าหมายของหลักสูตรได้ แต่จาก สภาพการณ์ท่ีปรากฏ พบว่า มีปัจจัยซึ่งไม่เอ้ือให้สถานศึกษาดำเนินงานแนะแนวที่เป็นผลต่อ การจัดการเรียนรู้และพัฒนาผู้เรียนอย่างจริงจัง คือครูและบุคลากรทางการศึกษาขาดความร้ ู ความเข้าใจในเรื่องจิตวิทยาการแนะแนว สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน ตระหนัก และมุ่งมั่นจะส่งเสริมให้ครู บุคลากรทางการศึกษาได้เพ่ิมพูนความรู้ ความเข้าใจในเร่ืองจิตวิทยา การแนะแนวมากข้ึน สามารถนำความรู้สู่การปฏิบัติให้เกิดผลเชิงประจักษ์ ยังประโยชน์ต่อผู้เรียน ท่ัวทุกถิ่นไทย ครูจะศึกษาได้ด้วยตนเองในเวลาไม่นาน และนำไปปฏิบัติได้จริง โดยได้จัดทำเอกสาร ชดุ “แนะแนวเพ่ือเยาวชนไทย” ประกอบด้วยเอกสาร 9 รายการ ดังน้ ี เลม่ 1 การแนะแนวแบบม่งุ อนาคต เลม่ 2 มาตรฐานการแนะแนว เล่ม 3 หลักการบริการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยาเบ้ืองต้น สำหรับครู และผู้บรหิ ารการศึกษา เลม่ 4 ระบบการแนะแนวในโรงเรียน เลม่ 5 การออกแบบกิจกรรมแนะแนวทเี่ นน้ การพัฒนาทักษะสำหรับผ้เู รียน เลม่ 6 บริการแนะแนวและเครอื่ งมอื ทางจติ วทิ ยา เลม่ 7 การพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลอื นกั เรียน เล่ม 8 การใหค้ ำปรกึ ษา เล่ม 9 การจดั การเรยี นรูก้ ิจกรรมแนะแนว สำนกั งานคณะกรรมการการศกึ ษาขน้ั พน้ื ฐานหวงั เปน็ อยา่ งยง่ิ วา่ เอกสารชดุ นจี้ ะชว่ ยใหค้ รู และบุคลากรทางการศึกษาและผู้ท่ีเก่ียวข้องมีความรู้ ความเข้าใจ และม่ันใจท่ีจะนำไปปฏิบัต ิ ในการพัฒนาเยาวชนได้เป็นอย่างดี ขอขอบคุณคณะผู้จัดทำจากสมาคมแนะแนวแห่งประเทศไทย ที่ทุ่มเทท้ังกำลังกาย ใจ เวลา กำลังสติปัญญา ความสามารถ และทุกท่านท่ีมีส่วนร่วมดำเนินการ จัดทำเอกสารจนสำเร็จลุล่วง รวมทั้งขอขอบคุณเจ้าของต้นฉบับ เอกสาร สื่อต่าง ๆ ที่ใช้ประกอบ การค้นควา้ และเปน็ สว่ นเสริมสรา้ งเนือ้ หาสาระใหส้ มบรู ณย์ ่ิงขึ้น (นายกมล รอดคล้าย) เลขาธกิ ารคณะกรรมการการศกึ ษาข้ันพื้นฐาน



ข สารบัญ หนา้ คำนำ ก สารบญั ข คำชแ้ี จง ค บทนำ ง บทที่ 1 แนวคิดเก่ียวกบั กจิ กรรมแนะแนว 2 1.1 ความหมาย ความสำคญั และหลักการจดั กิจกรรมแนะแนว 2 1.2 ขอบข่ายของกจิ กรรมแนะแนว 13 บทที่ 2 ประเภทของกิจกรรมแนะแนว 19 2.1 กิจกรรมแนะแนวรายบุคคล 19 2.2 กิจกรรมแนะแนวกลุ่ม 21 2.3 กิจกรรมแนะแนวที่เป็นโครงการพเิ ศษ 22 บทท่ี 3 การออกแบบกจิ กรรมแนะแนวเพ่ือพัฒนาทกั ษะชวี ติ 24 3.1 ความหมายและขอบขา่ ยของทกั ษะชีวิต 24 3.2 การออกแบบกิจกรรมแนะแนวกลมุ่ ในช้ันเรียนเพ่อื พฒั นาทกั ษะชวี ิต 34 3.3 กระบวนการพฒั นาจติ ลกั ษณะในการนำชวี ิตและการพัฒนาความสามารถ 38 ในการจัดการชวี ติ บทที่ 4 กระบวนการจดั การเรยี นรูผ้ า่ นกิจกรรมแนะแนว 39 4.1 แนวคิดสำคัญในการจดั กิจกรรมแนะแนว 39 4.2 วธิ ีการและเทคนิคการจดั ประสบการณ์ในกจิ กรรมแนะแนวกลมุ่ ในชนั้ เรียน 40 4.3 การจัดทำแผนกจิ กรรมแนะแนวกลุ่มในชนั้ เรยี น 49 4.4 การประเมนิ ผลการจดั กิจกรรมแนะแนวกลมุ่ ในชน้ั เรียน 66 และตวั อย่างการออกแบบหน่วยกจิ กรรมกลมุ่ ในช้ันเรยี น แยกตามระดับช้นั เรียน บทที่ 5 บทบาทผจู้ ดั กจิ กรรมแนะแนวกลุ่มในชัน้ เรียนเพอื่ พัฒนาทักษะชีวิต 70 และปัจจยั ความสำเร็จในการจดั กิจกรรมแนะแนวกลมุ่ ในชน้ั เรียน เพอ่ื การพัฒนาทกั ษะชีวติ 5.1 บทบาทผจู้ ัดกิจกรรมแนะแนวกลุ่มในชั้นเรียนเพอ่ื พัฒนาทักษะชวี ิต 70 5.2 ปจั จยั ความสำเรจ็ ในการจดั กจิ กรรมแนะแนวกลมุ่ ในชนั้ เรยี นเพอ่ื พฒั นาทกั ษะชวี ติ 71 บทสรุป 73 บรรณานุกรม 74 คณะผู้จดั ทำ 76 แนะนำผ้เู ขยี น 78



ค คำชี้แจง เอกสารชุดแนะแนวเพื่อเยาวชนไทยเกิดข้ึนได้ด้วยความร่วมมือของสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาข้ันพื้นฐาน ด้านงบประมาณ ปี 2558 โดยศูนย์พัฒนาการนิเทศและเร่งรัด คุณภาพการศึกษาข้ันพื้นฐานกับสมาคมแนะแนวแห่งประเทศไทย จัดโครงการพัฒนาบุคลากร ผู้รับผิดชอบงานแนะแนวระดับเขตพื้นที่การศึกษาในรูปแบบกิจกรรม 2 กิจกรรม ดังนี้ คือ กิจกรรมที่ 1 จัดทำหลักสูตรและประชุมปฏิบัติการพัฒนาศึกษานิเทศก์ผู้รับผิดชอบงานแนะแนว ท้ังระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาทุกเขตพ้ืนท่ีการศึกษา เขตละ 1 คน รวม 225 คน เพื่อให้ ศกึ ษานิเทศก์ได้มคี วามรู้ ความเขา้ ใจดา้ นจติ วิทยาการแนะแนว มแี นวทางในการชแ้ี นะ (Coaching) ให้แก่บุคลากรในสถานศึกษา เพื่อนำไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ กิจกรรมที่ 2 จัดทำเอกสาร ชุดแนะแนวเพื่อเยาวชนไทย เพื่อให้ครู บุคลากรทางการศึกษา และผู้เก่ียวข้องนำไปศึกษาเพ่ิมเติม กระบวนการ หลกั การ วธิ กี ารแนะแนว เสรมิ สรา้ งความมนั่ ใจ ประยกุ ตใ์ ชเ้ พอ่ื ประโยชนใ์ นการพฒั นา เยาวชนให้บรรลุตามเป้าหมายของหลักสูตร และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ โดยสมาคม แนะแนวแห่งประเทศไทย เป็นผู้คัดสรร จดั ทำ เรียบเรียง ทงั้ 9 เลม่ ดังกล่าว หวงั ว่าเอกสารชดุ นจ้ี ะเปน็ ประโยชนต์ อ่ การพัฒนาเยาวชนไทย ให้เป็นพลเมืองและพลโลก ที่มีคุณภาพต่อไป (นายภาสกร พงษ์สิทธากร) หัวหน้าศูนย์พัฒนาการนิเทศและเรง่ รดั คณุ ภาพการศึกษาขนั้ พ้นื ฐาน



ง บทนำ เอกสารฉบับน้ีจัดทำข้ึนโดยการประยุกต์ความรู้และประสบการณ์ในการเป็นผู้สอน รายวิชากิจกรรมแนะแนวเพ่ือพัฒนาทักษะชีวิต การนิเทศการจัดกิจกรรมแนะแนวกลุ่มในชั้นเรียน ของนักศึกษา รวมทั้งประสบการณ์ในการให้การฝึกอบรมครูแนะแนวในหลายสถานศึกษา มีความมุ่งหมายให้ครูและนักวิชาชีพแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา เรียนรู้การออกแบบ กิจกรรมแนะแนวตามหลักการแนะแนวและจิตวิทยาท่ีเกี่ยวข้อง สามารถเลือกเทคนิควิธีการ จัดการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตที่สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายทางการศึกษา และวยั ของผเู้ รยี น ทง้ั นเ้ี พอื่ สง่ เสรมิ ใหค้ รแู นะแนวหรอื นกั วชิ าชพี การแนะแนวสามารถสรา้ งนวตั กรรม และส่ือการเรยี นรู้ด้วยตนเองให้สมกับการเป็นนักแนะแนวมืออาชพี ในเอกสารฉบับน้ีได้เสนอความรู้พ้ืนฐานด้านการจัดกิจกรรมแนะแนวและการพัฒนา ทักษะชีวิตในมิติใหม่ คือ การแยกทักษะชีวิตออกตามขอบข่ายของการแนะแนวโดยมุ่งการพัฒนา ทักษะชีวิตส่วนตัวและสังคม การพัฒนาทักษะการเรียน และการพัฒนาทักษะพื้นฐานการงานอาชีพ ในการพัฒนาทักษะชีวิตยังเน้นขั้นตอนการพัฒนาจิตลักษณะในการนำชีวิตกับความสามารถ ในการจดั การชีวติ ไดจ้ ัดแบง่ ออกเปน็ 5 บท ได้แก่ 1) แนวคดิ เกี่ยวกบั กิจกรรมแนะแนว 2) ประเภท ของกิจกรรมแนะแนว 3) การออกแบบกิจกรรมแนะแนว เพ่ือพัฒนาทักษะชีวิต 4) กระบวนการ จัดการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมแนะแนว และ 5) บทบาทผู้จัดกิจกรรมแนะแนวกลุ่มในช้ันเรียน เพ่ือพัฒนาทักษะชีวิต และปัจจัยความสำเร็จในการจัดกิจกรรมแนะแนวกลุ่มในช้ันเรียนเพ่ือพัฒนา ทกั ษะชวี ติ ผูเ้ ขยี นหวังว่าเอกสารฉบับน้ีจะมีสว่ นใหแ้ นวคดิ หลกั การ และตัวอยา่ งในการจัดกิจกรรม แนะแนวเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตแก่ครูแนะแนวและนักวิชาชีพท่ีสนใจ ถ้าท่านได้ลงมือจัดทำ กิจกรรมด้วยตนเอง ท่านจะเข้าใจและจะพัฒนาความสามารถของท่านเพ่ิมขึ้นสู่การเป็นนักวิชาชีพ ผู้เชยี่ วชาญได้ตอ่ ไป เรยี ม ศรที อง



1 การออกแบบกิจกรรมแนะแนวทีเ่ นน การพฒั นาทักษะ สำหรับผเู รียน ความนำ ความสามารถในการออกแบบช้ินงานใด ๆ เป็นขั้นตอนสำคัญของการผลิตผลงาน ทม่ี ีคุณภาพ การออกแบบกิจกรรมแนะแนวเพือ่ พฒั นาทักษะชีวิต กเ็ ป็นจุดเริ่มตน้ ทส่ี ำคญั ในการผลติ นวตั กรรม รวมทง้ั สอ่ื การเรยี นรทู้ เ่ี กยี่ วขอ้ ง ผทู้ ส่ี นใจจะผลติ ผลงานทางวชิ าการ ควรไดอ้ า้ งองิ อาศยั พนื้ ฐาน ทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง สามารถเลือกวิธีการและเทคนิควิธี และจัดกระบวนการเรียนรู้ท่ีเหมาะสม เพื่อบรรลุเป้าหมาย ในการออกแบบกิจกรรมแนะแนวกลุ่มในช้ันเรียนเพ่ือพัฒนาทักษะชีวิต ในขอบข่ายของบริการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา ผู้เขียนจึงเริ่มจากการทำความเข้าใจกับ กิจกรรมแนะแนว ทักษะชวี ติ กระบวนการจัดการเรียนรทู้ ีเ่ น้นการพัฒนาทกั ษะชวี ติ รวมทั้งบทบาท ผู้จัดกิจกรรม และปัจจัยความสำเร็จในการพัฒนาทักษะชีวิตในขอบข่ายของบริการแนะแนวและ การปรกึ ษาเชิงจติ วิทยา ไดแ้ ก่ ทักษะการพัฒนาชวี ติ สว่ นตนและสังคม ทกั ษะการเรียนรู้ และทกั ษะ พ้ืนฐานทางการงานอาชีพ โดยมุ่งให้ครูแนะแนวและนักวิชาชีพท่ีสนใจ ได้ให้บริการแนะแนว และการปรึกษาเชิงจิตวิทยา มีส่วนส่งเสริมคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชน และส่งเสริมการยกระดับ คุณภาพการศึกษาของเยาวชนไทยอกี ดว้ ย การออกแบบกิจกรรมแนะแนวทเ่ี นน้ การพฒั นาทักษะสำหรับผูเ้ รียน

2 1 บทที ่ แนวคิดเกี่ยวกับกิจกรรมแนะแนว 1.1 ความหมาย ความสำคัญ และหลกั การจดั กจิ กรรมแนะแนว 1.1.1 ความหมายของกจิ กรรมแนะแนว มีผู้กล่าวถึงกิจกรรมแนะแนวไว้บางประการ ได้แก่ คอร์ทแมน อาชบาย และเดอ กราฟพ์ (Kottman, Ashby & De Graff, 2001 : อ้างใน สมร ทองดี และปราณี รามสูต, 2545 : 11) ได้ให้ความหมายของกจิ กรรมแนะแนววา่ เป็นประมวลประสบการณท์ ุกรปู แบบที่จดั ให้ หรือสนับสนุนให้ผู้รับบริการแต่ละคนหรือแต่ละกลุ่ม ได้ปฏิบัติ ฝึกหัด หรือร่วมเรียนรู้ เพ่ือบรรลุ เปา้ หมายของผรู้ บั บรกิ าร ทง้ั เปน็ การสง่ เสรมิ พฒั นา การปอ้ งกนั ปญั หา และแกไ้ ขปญั หาทเี่ กยี่ วขอ้ งกบั ตน โดยครอบคลมุ ขอบขา่ ยการพฒั นาสว่ นตวั และสงั คม การพฒั นาทางการศกึ ษา และการพฒั นาพนื้ ฐาน ทางอาชีพ นอกจากน้ี อาภา ถนัดช่าง และเรียม ศรีทอง (2545 : 92-93) ได้เสนอ ความคดิ วา่ กจิ กรรมแนะแนวเปน็ สว่ นหนงึ่ ของบรกิ ารแนะแนวและการปรกึ ษาเชงิ จติ วทิ ยา ซง่ึ ตอบสนอง การบริการจัดวางตัวบุคคล (Placement Service) โดยมุ่งให้ผู้รับบริการได้ปฏิบัติการเสริมสร้าง พฤติกรรม ท้ังการพิจารณาเลือกใช้ข้อมูล การปรับเปล่ียนความคิด ความเชื่อ เจตคติ ฝึกทักษะ หรอื เสรมิ ทักษะทีจ่ ำเปน็ ให้ดีย่ิงข้นึ เพ่ือทบทวนความเข้าใจ บริการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา โปรดทบทวน ความเข้าใจบริการแนะแนวและการปรกึ ษาเชิงจิตวิทยา จากภาพที่ 1.1 ถึงภาพท่ี 1.4 ตอ่ ไปน้ี การออกแบบกิจกรรมแนะแนวทีเ่ นน้ การพฒั นาทกั ษะสำหรับผู้เรียน

สรุปงานบริการแนะแนวและการปรึกษาเชงิ จติ วทิ ยา โดยย่อ “3-3-5” 3 เป้าหมาย การส่งเสริมพฒั นา การปอ้ งกนั ปญั หา การแก้ไขปัญหา เเพพเเือ่อื่พพเพพสสใ่ือัฒือ่หง่ง่่ือรพเเบ้น้จูสสสจิราัก่งรริกาตเผมิมิ สรานเู้คปทรณรรผวมิรี่เียแแปา่าะานใลลคน็นสมหจแะะวโบเปส้ พดุตลขคาากรมดัะฒัร้ามมะาสงงุ่ใสกโนราจกห่งนิยา้ ณราตเามวชใสถกรนจท์าหนรใาแไยชจี่มิน์ตรสดล ข้ำขใ้า่อา้เะเหห้อขอมผกป้ผมมองารู้ิจ็นเู้ผูลราับงกรตถกะู้รขียบร่อสบัคา่ารนรกรมดิมวบกิรา ส-ตรูจ้ารเกิาา่ลรักรง าอืต รกนๆ การออกแบบกจิ กรรมแนะแนวท่เี นน้ การพฒั นาทกั ษะสำหรบั ผู้เรยี น 3 ขอบขา่ ย การพฒั นาสว่ นตวั และสงั คม การพัฒนาทางการศึกษา การพัฒนาทางอาชีพ 5 บริการ (Personal and Social (Academic Development) (Career Development) Development) สง่ เสริมการสำรวจและรวบรวมข้อมูล สง่ เสรมิ การสำรวจและรวบรวมขอ้ มลู ทางการเรียนและความสามารถ ทเ่ี ก่ยี วขอ้ งกับวฒุ ภิ าวะทางอาชพี 1. ศึกษารวบรวม ส่งเสรมิ การสำรวจและรวบรวมขอ้ มลู ทางการเรยี นด้านตา่ ง ๆ และแผนทางอาชีพ ขอ้ มูลนักเรยี น เกี่ยวกับนักเรยี น ท้ังนิสัย บุคลิกภาพ สง่ เสริมการใชข้ อ้ สนเทศ ส่งเสริมการใชข้ ้อสนเทศในการเตรียม และพฤตกิ รรมท่ัวไป เพือ่ พัฒนาการเรยี นรู้และการศึกษา ความพรอ้ มของตนสโู่ ลกอาชพี เพอื่ การวางแผน ทางอาชพี 2. สนเทศ ส่งเสริมการใชข้ ้อสนเทศ การเอื้ออำนวยให้เขา้ ใจตน การเออ้ื อำนวยใหเ้ ขา้ ใจตน เขา้ ใจเปา้ หมายชวี ติ เพ่อื พฒั นาตนและพัฒนาทางสังคม เขา้ ใจปญั หา และแนวทางการพฒั นา และแนวทางพฒั นาทางอาชีพ การเรยี นร ู้ 3. ปรกึ ษา การเอือ้ อำนวยให้เขา้ ใจตน จดั โอกาสให้ไดฝ้ กึ ทักษะทางการเรยี นรู้ จดั โอกาสใหไ้ ด้ฝกึ ทักษะเตรียมวางแผนชวี ติ เชงิ จิตวทิ ยา เข้าใจปัญหาและหาทางพฒั นาตน และเออ้ื ใหไ้ ดร้ บั โอกาสในการพฒั นาตน และอาชพี และเออื้ ใหไ้ ดร้ บั โอกาสในการพฒั นา ดา้ นการเรียนรู ้ ทางอาชพี 4. จัดวางตวั บุคคล จดั โอกาสใหไ้ ด้ฝกึ ทกั ษะการพฒั นาตน ทบทวนตรวจสอบผลการรับบรกิ าร ทบทวนตรวจสอบผลการรับบริการ 5. ติดตามผล และสงั คม และเอ้อื ใหไ้ ดร้ บั โอกาส และความก้าวหน้าในการพัฒนา และความกา้ วหนา้ ในการพัฒนา ในการพฒั นาตนด้านตา่ ง ๆ ทบทวนตรวจสอบผลการรบั บริการ และความก้าวหน้าในการพัฒนา บริการพฒั นาตนและสงั คม บริการทางการเรยี น บรกิ ารเตรยี มตัวสอู่ าชพี ภาพท่ี 1.1 สรปุ งานบรกิ ารแนะแนวและการปรกึ ษาเชิงจิตวทิ ยา โดยย่อ “3-3-5” (เรยี ม ศรีทอง)

กระบวนการบริการแนะแนวและการปรกึ ษาเชงิ จติ วิทยา  บรกิ ารสนเทศ (Information Services) การออกแบบกิจกรรมแนะแนวทีเ่ นน้ การพฒั นาทกั ษะสำหรับผู้เรียน บรกิ ารศกึ ษารวบรวม บริการปรึกษาเชงิ จิตวิทยา บริการติดตามผล ข้อมูลนกั เรียน (Counseling Services) (Follow-up Services) (Individual Inventory Services) บรกิ ารจดั วางตัวบุคคล (Placement Services) ภาพท่ี 1.2 กระบวนการบรกิ ารแนะแนวและการปรึกษาเชิงจติ วิทยา (เรยี ม ศรที อง)

กระบวนการใหบ้ รกิ ารแนะแนวและการปรึกษาเชงิ จติ วิทยา เพือ่ ชว่ ยเหลือและพฒั นานักเรียน การออกแบบกจิ กรรมแนะแนวที่เนน้ การพฒั นาทกั ษะสำหรบั ผ้เู รยี น ครูแนะแนว บรกิ ารสนเทศ ครูทป่ี รึกษา → จดั ทำ/จดั หาขา่ วสารขอ้ มลู ทเ่ี ปน็ ค ูร ่ีทป ึรกษา ประโยชนด์ า้ นตา่ ง ๆ สำหรบั นกั เรยี น คณะกรรมการ ค ูร ูผ้ปกครอง → สง่ เสรมิ การใชข้ ้อมูลในการคดิ -เลอื ก และตดั สินใจ บรกิ ารศกึ ษารวบรวมข้อมูลนกั เรยี น บรกิ ารปรกึ ษาเชงิ จติ วทิ ยา บริการตดิ ตามผล → รจู้ ักนักเรยี นรายบุคคล → ดา้ นการพฒั นาชวี ติ สว่ นตวั และสงั คม → ประเมินผลการบรกิ าร/สง่ ต่อ → คัดกรองปัญหานักเรยี นด้านตา่ ง ๆ → ด้านการพัฒนาทางการศึกษา → ติดตามผลความสำเร็จการศกึ ษา → รวบรวมข้อมลู นกั เรยี นเพ่ือส่งเสริม → ด้านการพฒั นาทางอาชพี ตดิ ตามผลการประกอบอาชพี -ศึกษาต่อ พัฒนา ปอ้ งกันปัญหา และแก้ไขปัญหา → สง่ ตอ่ หรือจัดกิจกรรมพัฒนาต่อไป → สรปุ ผล/รายงาน/เผยแพร่ ค ูรที่ป ึรกษา บริการจัดวางตวั บคุ คล ผเู้ชย่ี วชาญ/ผทู้ เี่ กย่ี วขอ้ ง ค ูร ูผ้ปกครอง → จัดกจิ กรรมโฮมรมู ในการให้บรกิ ารและ → จดั กจิ กรรมแนะแนวกลมุ่ ในชน้ั เรยี น ภาคีเครือข่าย → จดั โครงการเพอื่ การสง่ เสรมิ พฒั นา ครแู นะแนว ปัองกันปัญหา และแก้ไขปญั หา เช่น ผู้บริหาร จัดหาและจัดมอบทุนการศกึ ษา การจดั หางาน หรอื สง่ เสรมิ การฝกึ งาน ฝึกอาชพี การสอนซอ่ มเสรมิ ฯลฯ หมายเหต ุ 1. เส้นทบึ แสดงถึงการให้บรกิ ารทั้ง 5 ซึ่งอาจยุตลิ งในแตล่ ะบริการ หรอื มกี ารให้บรกิ ารต่อเมอ่ื มีความจำเป็นหรอื มคี วามต้องการ  2. เสน้ ประแสดงถึงผทู้ ่ีทำหน้าท่ี/ผู้ที่เกย่ี วข้องกับการใหบ้ ริการในแตล่ ะงาน ภาพท่ี 1.3 กระบวนการให้บริการแนะแนวและการปรกึ ษาเชิงจติ วิทยา เพ่ือชว่ ยเหลอื และพฒั นานักเรยี น (เรียม ศรที อง)

การวิเคราะห์เชงิ ระบบ “การบริการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจติ วิทยา เพอ่ื ชว่ ยเหลือและพฒั นานักเรียน”  ปจั จัยนำเขา้ กระบวนการ ผลลัพธ์ 1. นโยบายการขับเคล่ือนงานบริการ นกั เรยี นไดร้ บั การดแู ลชว่ ยเหลอื และสง่ เสรมิ พฒั นาทกั ษะชวี ติ แนะแนวและการปรกึ ษาเชงิ จติ วทิ ยา ในสถานศึกษาท่ีมีคณุ ภาพ บรกิ าร การพฒั นาส่วนตวั การพฒนาทาง การพัฒนา 2. ผูร้ บั บริการ : นักเรียน ผูป้ กครอง สนเทศ และสังคม การศกึ ษา ทางอาชพี การออกแบบกจิ กรรมแนะแนวที่เน้นการพฒั นาทกั ษะสำหรับผู้เรยี น 3. ผใู้ หบ้ รกิ าร : ครทู ป่ี รกึ ษา คณะกรรมการ งานบรกิ ารแนะแนวฯ และผทู้ เ่ี กย่ี วขอ้ ง ทักษะการพัฒนา ทกั ษะการเรยี นรู้ ทักษะพืน้ ฐาน ทง้ั ภายในและภายนอกสถานศกึ ษา บรกิ ารศึกษา ชีวติ สว่ นตนและ • นิสยั การเรยี นท่ีด ี ทางการงานอาชพี 4. สื่อและเครอื่ งมอื ทางการแนะแนว รวบรวม บริการ บรกิ าร สังคม • การคิด วิเคราะห์ • รจู้ กั และยอมรบั ตน 5. ระบบการบรหิ ารจัดการทม่ี ี ปรึกษา ตดิ ตามผล • รู้จกั ตน สรา้ งสรรค์ และ ด้านต่าง ๆ ประสิทธิภาพ ข้อมูลนักเรยี น เชิงจิตวิทยา • รจู้ ักโลกของงาน 6. มาตฐานการบรกิ าร • รู้จักคน พฒั นาการเรยี น และอาชีพ • รจู้ กั ส่ิงแวดล้อม ได้เหมาะสม • พฒั นาวฒุ ภิ าวะ และปฏบิ ตั ติ น • สามารถแกป้ ัญหา ทางอาชพี ไดเ้ หมาะสม ทางการเรียน • สามารถวางแผน • สามารถพ่ึงตนเอง • สามารถวางแผน ชวี ติ และอาชีพ บริการจดั • สามารถแกป้ ญั หา และพฒั นาการเรยี น วางตวั บคุ คล ในชีวิต ผทู้ เี่ ก่ียวขอ้ ง • สามารถวางแผน และจดั การชวี ติ ตน การประเมนิ ผลและป้อนกลบั ภาพที่ 1.4 การวเิ คราะห์เชงิ ระบบ “การบรกิ ารแนะแนวและการปรึกษาเชงิ จิตวิทยา เพอ่ื ชว่ ยเหลือและพัฒนานักเรียน” (เรียม ศรีทอง)

กลา่ วโดยสรปุ กจิ กรรมแนะแนว หมายถงึ มวลประสบการณก์ ารเรยี นรทู้ จ่ี ดั ทำขนึ้ ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อสนองตอบบริการจัดวางตัวบุคคล บนพ้ืนฐานของหลักการ วิธีการ และเทคนิคทางจิตวิทยา โดยคำนึงถึงความจำเป็นหรือความต้องการของผู้รับบริการ เพื่อเสริมสร้าง ความเข้าใจตน ความเข้าใจคน และสภาพแวดล้อม อันนำไปสู่การปรับตน การวางแผน และ การจัดชีวิตด้านต่าง ๆ อย่างเต็มศักยภาพ ครอบคลุมทักษะการพัฒนาชีวิตส่วนตนและสังคม ทกั ษะการเรียนรู้ และทักษะพ้นื ฐานทางการงานอาชพี 1.1.2 ความสำคญั ของกิจกรรมแนะแนว กิจกรรมแนะแนวเป็นการให้บริการแนะแนวที่มุ่งให้ผู้รับบริการมีส่วนร่วม ในการพัฒนาตนด้านต่าง ๆ กิจกรรมแนะแนวมีความสำคัญต่อผู้รับบริการ ผู้ให้บริการ และ กระบวนการใหบ้ ริการแนะแนว ดงั น ้ี 1.1.2.1 ความสำคัญต่อผู้รับบริการ ผู้รับบริการจะได้รับโอกาสพัฒนา ครอบคลุมท้ัง 3 ขอบข่าย ต่อไปนี้จะเป็นการเสนอตัวอย่างของผู้รับบริการแนะแนวที่เผชิญปัญหา และมีความต้องการจัดการปัญหาของตน ซึ่งได้รับประโยชน์ต่อการเข้าร่วมกิจกรรมแนะแนว ดังตารางท่ี 1.1 ถึงตารางที่ 1.3 ตารางท่ี 1.1 ความสำคัญของกจิ กรรมแนะแนวท่ีเนน้ การพัฒนาส่วนตวั และสงั คม สภาพปัญหาและความตอ้ งการ ผลที่จะได้รับจากกิจกรรมแนะแนว 1. ขาดการฝกึ หดั -ขาดตวั แบบของการดำเนนิ ชวี ติ เรยี นรกู้ ารตระหนกั รคู้ ณุ คา่ ของการดำเนนิ ชวี ติ ทเ่ี หมาะสม จนดำเนินชวี ติ ทีส่ รา้ งความทุกข์ ทมี่ คี ณุ ภาพ จากกจิ กรรมสมดลุ ชวี ิต 2. มีพฤติกรรมทขี่ าดการควบคุม ก่อความ ยอมรับผลการกระทำทขี่ าดการยับยัง้ และ กา้ วรา้ วรนุ แรง เปน็ เหตใุ หก้ ระทำความผดิ เสมอ สามารถฝกึ หัดการควบคุมตนได้ จากกจิ กรรม ต้องการให้ควบคมุ ตนได้ สร้างได้ กค็ วบคุมได้ 3. ไม่สามารถวิเคราะหส์ าเหตุและไมส่ ามารถ ฝกึ การคดิ วิเคราะหเ์ ชือ่ มโยง จดั การความทุกขจ์ ากการทำผดิ ซำ้ ซาก ผล → เหตุ จากการกระทำของตน ต้องการพ้นไปจากสภาพน ี้ จากกจิ กรรมเหตุและผลทีต่ นเป็นสำคัญ การออกแบบกิจกรรมแนะแนวท่ีเนน้ การพฒั นาทักษะสำหรบั ผู้เรยี น

ตารางท่ี 1.1 (ต่อ) สภาพปญั หาและความต้องการ ผลทีจ่ ะได้รบั จากกิจกรรมแนะแนว 4. ติดต่อสื่อสารแบบสร้างปัญหาระหวา่ งบคุ คล ฝึกวิเคราะหว์ ิธีการติดต่อสอื่ สารแบบตา่ ง ๆ เสมอ จงึ ทำงานกันดว้ ยความยากลำบาก พรอ้ มทง้ั พจิ ารณาบทบาทของตน และฝกึ หดั การ สื่อสารและสรา้ งสรรค์ จากกิจกรรมรูใ้ จ-ได้ใจ 5. แสดงพฤตกิ รรมท่ไี มเ่ ป็นมิตร ก่อศตั รู จงึ เกดิ ฝกึ วเิ คราะหพ์ ฤติกรรมตนและความตอ้ งการ ความขัดแยง้ บอ่ ย ๆ โดยไมร่ ู้ตวั ของบุคคลอื่น มีสติ รู้สภาพความร้สู กึ ของตน จากกจิ กรรมฉลาด-สร้างมติ ร 6. จัดการความเครยี ดดว้ ยความคิดและความ ฝึกการคลายเครียดแบบต่าง ๆ และการ เชอื่ ใด ๆ จนเกดิ ปญั หาตดิ สารเสพตดิ จงึ ตอ้ งการ พจิ ารณาเหตขุ องความเครยี ดทต่ี นเองสรา้ ง เปลี่ยนแปลงตน จากกจิ กรรมคลายเครียด คลายอารมณ ์ ตารางท่ี 1.2 ความสำคญั ของกิจกรรมแนะแนวที่เนน้ การพัฒนาทางการศกึ ษา สภาพปัญหาและความตอ้ งการ ผลทีจ่ ะได้รบั จากกิจกรรมแนะแนว 1. ไมเ่ ชือ่ และไม่เห็นคุณคา่ ของการแสวงหา ตระหนักรคู้ ณุ ค่าของการแสวงหาความรู้ และเชอื่ มัน่ ในความสามารถตน จากกิจกรรม ความรู้ ทำให้ผลการเรียนตกต่ำ รทู้ นั ปญั หา 2. มีนิสัยการเรยี นท่ไี มเ่ อือ้ ต่อการเรยี นรู้ ได้รบั การฝึกหดั นสิ ัยท่ีเออื้ ต่อการเรียนรู้ เช่น จึงไมบ่ รรลุผลการเรียนที่คาดหวัง การใสใ่ จในงานและความรบั ผดิ ชอบงานของตน จากกิจกรรมสำรวจนิสัยทางการเรียน 3. ขาดทกั ษะการเรยี นท้ังการคิด การถาม และ ไดร้ บั การฝกึ หดั การคดิ การถาม และฝกึ ทำงาน ขาดระบบการทำงานท่มี ีคุณภาพ ตามขั้นตอนอย่างเป็นระบบท่ีมีคณุ ภาพ จากกิจกรรมความเก่งสร้างได้ 4. ขาดการใส่ใจการเรยี นจนเป็นผลให้ประสบ ได้รบั การฝกึ หดั ตั้งเป้าหมายและวางแผนงาน ความลม้ เหลว และจัดการเวลาการทำงานใหบ้ รรลแุ ผน และตระหนกั รู้ผลของการใสใ่ จ จากกิจกรรม ทิศทางการเรยี น การออกแบบกจิ กรรมแนะแนวทเี่ นน้ การพัฒนาทกั ษะสำหรับผเู้ รยี น

ตารางที่ 1.2 (ต่อ) สภาพปญั หาและความตอ้ งการ ผลท่จี ะได้รับจากกิจกรรมแนะแนว 5. ขาดแรงจงู ใจในการเรยี น ขาดความกระตอื รอื รน้ ไดร้ ับการฝึกใหพ้ จิ ารณาเป้าหมายการเรยี น เบื่อหนา่ ยต่อการเรียน หรอื พจิ ารณาความหวงั ความตอ้ งการทาง การศกึ ษา จากกจิ กรรมเตมิ พลงั -สร้างฝัน 6. ขาดความมุ่งม่นั และพากเพยี รในการเรยี น ได้ศกึ ษาสงั เกตแบบอยา่ งท่ดี ีจากผู้ทป่ี ระสบ ความสำเรจ็ จากกจิ กรรมทางสู่ความสำเรจ็ ตารางที่ 1.3 ความสำคญั ของกจิ กรรมแนะแนวทเ่ี น้นการพัฒนาทางอาชีพ สภาพปญั หาและความตอ้ งการ ผลท่ีจะได้รับจากกจิ กรรมแนะแนว 1. ขาดความสนใจใฝ่ร้ทู างอาชพี ไดร้ บั การเรยี นรู้โลกกว้างทางอาชพี และ ตระหนกั รภู้ ารกจิ ชวี ติ จากกจิ กรรมชวี ติ คกู่ บั งาน 2. ไม่สนใจชีวิต ขาดการตระหนกั รกู้ ารเปน็ ได้รับการส่งเสริมใหพ้ จิ ารณาคุณคา่ ชวี ิต เจ้าของชีวติ จากการพงึ่ ตน สิทธหิ น้าท่ใี นการนำตน จากกิจกรรมเจ้าของชีวิต 3. ขาดวุฒภิ าวะทางอาชพี ไมส่ ามารถตดั สินใจ ไดร้ บั สง่ เสรมิ ใหพ้ ฒั นาวฒุ ภิ าวะทางอาชพี ทางอาชพี จากกจิ กรรมความพร้อมสร้างความสำเรจ็ 4. ขาดข้อมลู โลกกวา้ งทางอาชพี ไม่สามารถ ได้รบั ข้อมลู ข่าวสารโลกกวา้ งทางอาชีพ วางแผนทางอาชีพ และไดร้ บั การสำรวจความตอ้ งการและ เปา้ หมายชวี ติ จากกจิ กรรมท่องโลกอาชพี 5. ขาดทกั ษะพน้ื ฐานทางอาชพี ขาดความรบั ผดิ ชอบ ได้รับการส่งเสริมใหต้ ระหนักรูถ้ ึงความ รบั ผดิ ชอบชวี ติ และฝกึ หดั การดำเนนิ ชวี ติ ทม่ี คี ณุ คา่ จากกจิ กรรมจะเปน็ คนดหี รอื คนเกง่ 6. มีพฤตกิ รรมไมเ่ ออื้ ตอ่ การทำงานท่มี ีคณุ ภาพ ได้รบั การฝึกหดั ดำเนนิ งานทเี่ ปน็ ระบบคณุ ภาพ จากกจิ กรรมคณุ ค่าคนอย่ทู ี่ผลของงาน การออกแบบกจิ กรรมแนะแนวท่ีเนน้ การพฒั นาทักษะสำหรับผเู้ รยี น

10 จากการเสนอตัวอย่างสภาพปัญหาและความต้องการของผู้รับบริการ เพื่อ พัฒนาตนใน 3 ด้านดังกล่าวมา พร้อมกับผลที่จะได้รับจากกิจกรรมแนะแนวต่าง ๆ ที่สนองตอบ ปัญหาและความจำเป็นได้ สรุปได้ว่า กิจกรรมแนะแนวทั้ง 3 ขอบข่าย มีความสำคัญต่อการพัฒนา ผรู้ บั บรกิ าร โดยชว่ ยสง่ เสรมิ การพฒั นาทกั ษะการพฒั นาชวี ติ สว่ นตวั และสงั คม พฒั นาทกั ษะการเรยี นรู้ และพัฒนาทักษะพื้นฐานทางการงานอาชีพ บนพื้นฐานของการส่งเสริมเจตคติท่ีดีต่อการดำเนินชีวิต ท่ีมีคุณภาพ มีเจตคติที่ดีต่อการวางแผนการศึกษาและอาชีพ รวมทั้งการส่งเสริมให้แสวงหาแนวทาง ดำเนนิ ชวี ติ ท่มี ่ันคง กิจกรรมแนะแนวมีความสำคัญต่อผู้เรียนในระบบการเรียนรู้ตามที่การพัฒนา หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน พุทธศักราช 2551 ได้กำหนดให้มีกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ไว้เป็นกิจกรรมสำคัญในหลักสูตร โดยระบุให้กิจกรรมแนะแนวเป็นกิจกรรมสำคัญในทุกระดับชั้น โดยกำหนดให้มีเวลาจัดกิจกรรมระดับประถมศึกษา 60 ช่ัวโมง/ปี ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 45 ชั่วโมง/ปี และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ให้มีระยะเวลาจัดกิจกรรมแนะแนวปีละ 60 ช่ัวโมง โดยมุ่งให้จัดกิจกรรมแนะแนวเสริมสร้างกระบวนการคิด และทักษะในการดำเนินชีวิตที่เหมาะสม และมคี ณุ ภาพ เออ้ื อำนวยใหผ้ เู้ รยี นเกดิ แรงจงู ใจในการเปลย่ี นแปลงและพฒั นาตนเอง ทง้ั ดา้ นรา่ งกาย สติปัญญา สังคม และจิตใจ โดยเน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรม เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจชีวิต ความสนใจใฝ่รู้ ตลอดจนการวางแผนชีวิตและอาชีพในอนาคต วิภา เกตุเทพา (2555 : 63) ได้ให้ ความเห็นว่า กิจกรรมแนะแนวมีคุณค่าหลายประการ ได้แก่ 1) คุณค่าต่อสัมพันธภาพระหว่างคร ู กบั ศิษย์ ซ่งึ สอดคลอ้ งกบั อาภา ถนดั ช่าง และเรียม ศรีทอง (2545 : 93) ทใ่ี ห้ความเห็นวา่ กิจกรรม แนะแนวในสถานศึกษา ช่วยส่งเสริมให้ศิษย์ได้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน ทำให้ทราบปัญหาและ ความต้องการของผู้เรียนได้ชัดเจน ซ่ึงผู้เรียนจะได้รับการส่งเสริมให้จัดการปัญหาของตนได้ทันท่วงที 2) คุณค่าต่อการพัฒนาผู้เรียนในมิติของการพัฒนาคุณลักษณะท่ีพึงประสงค์ตามกำหนดของ หลักสูตรแกนกลางดังกล่าว และ 3) คุณค่าต่อการส่งเสริมการพัฒนาและป้องกันปัญหา โดยเห็นว่า กจิ กรรมแนะแนวชว่ ยเสริมสรา้ งภูมิค้มุ กัน ส่งเสรมิ กระบวนการคิดและทกั ษะชีวิต นอกจากน้ัน นิรนาท แสนสา (2556 : 90) ได้เสนอความเห็นว่า กิจกรรม แนะแนวมีความสำคัญต่อผู้เรียนหรือผู้รับบริการ 3 ประการ ได้แก่ 1) ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน ให้เข้าใจตนเอง เห็นคุณค่าตนเอง รักและพึงพอใจในความเป็นตัวของตัวเอง รู้จักเป็นผู้ให้-ผู้รับ สามารถปรับตัวและสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น 2) ป้องกันปัญหาต่าง ๆ ท่ีจะเกิดแก่ผู้เรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพสถานการณ์การเปล่ียนแปลงเข้าสู่ประชาคมอาเซียนท่ีมีความหลากหลาย ดา้ นเชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม อาจก่อให้เกดิ การถูกล่อลวง การใชแ้ รงงานข้ามชาติ การละเมิดสทิ ธิ ส่วนบุคคล การแพร่ระบาดของยาเสพติด รวมทั้งการกระทำความรุนแรงต่าง ๆ ต่อบุคคล และ 3) เปน็ การสง่ เสรมิ การจดั การปญั หาของผเู้ รยี น ทงั้ ดา้ นการศกึ ษา การประกอบอาชพี และการพฒั นาสว่ นตวั กิจกรรมแนะแนวทั้งที่สนองความต้องการรายบุคคลและแบบกลุ่ม ช่วยเพ่ิมความสามารถในการ เผชิญและกา้ วพ้นปญั หาอุปสรรค เพอ่ื พฒั นาสู่การเปลีย่ นแปลงของชาติได ้ การออกแบบกจิ กรรมแนะแนวทเ่ี น้นการพฒั นาทกั ษะสำหรับผูเ้ รียน

11 จากรายละเอียดที่กล่าวมา จะเห็นว่า กิจกรรมแนะแนวมีความสำคัญต่อ ผู้รับบริการ โดยท่ีผู้รับบริการมีโอกาสได้พัฒนาความตระหนักรู้ตน เรียนรู้การพัฒนาตน โดยเฉพาะ ดา้ นทกั ษะ ความสามารถดา้ นตา่ ง ๆ ในขอบขา่ ยของการพฒั นาสว่ นตวั และสงั คม การพฒั นาทางการศกึ ษา และการพฒั นาทางอาชีพ 1.1.2.2 ความสำคัญต่อผู้ให้บริการ กิจกรรมแนะแนวท่ีได้จัดเตรียมไว้อย่าง เป็นระบบ ภายใต้หลักการ เทคนิค และวิธีการที่ถูกต้องเหมาะสมในการสนองตอบความต้องการ ของผู้รับบริการ มีความสำคญั ตอ่ ผใู้ หบ้ รกิ าร ดงั น ้ี 1) เป็นส่ือการเรียนรู้ที่สำคัญในการให้บริการแนะแนว เนื่องจาก ไดร้ บั การออกแบบมาอย่างเหมาะสม ทำให้มคี วามสะดวกทจ่ี ะให้บรกิ าร 2) กิจกรรมแนะแนวเป็นสื่อสำคัญที่ช่วยให้เกิดความสัมพันธ์กัน อยา่ งใกลช้ ิดระหวา่ งผูเ้ รียนและผูส้ อน ในกรณที จี่ ดั กิจกรรมแนะแนวในสถานศึกษา 3) ผู้ให้บริการท่ีนำกิจกรรมไปใช้ในกระบวนการบริการแนะแนว มีโอกาสเก็บข้อมูลจากการประเมินหลังการใช้ แล้วทำการศึกษาและพัฒนาเพ่ือได้องค์ความรู้เพิ่มข้ึน ชว่ ยให้ผ้ใู หบ้ ริการมคี วามสามารถประยุกต์ใชใ้ นการให้บรกิ ารที่ทันกาลตอ่ ไป 1.1.2.3 ความสำคัญต่อกระบวนการให้บริการแนะแนว กิจกรรมแนะแนว ทไ่ี ดร้ ับการพฒั นาอยเู่ สมอ จะชว่ ยเพม่ิ โอกาสการพฒั นาวชิ าชีพทางจิตวทิ ยาการแนะแนว ดงั นี ้ 1) กิจกรรมแนะแนวที่ได้รับการพัฒนาเป็นการเพิ่มแนวทางการให้ บรกิ ารแนะแนวดา้ นต่าง ๆ ไดก้ ว้างขวางมากขนึ้ 2) กิจกรรมแนะแนวที่ได้รับการพัฒนาเป็นการเพิ่มส่ือในการให้ บรกิ ารแนะแนวมากข้นึ 3) กิจกรรมแนะแนวท่ีได้รับการพัฒนา โดยศึกษาหรือกระบวนการ วิจัย จะเปิดโอกาสให้หน่วยงานหรือองค์กรท่ีเกี่ยวข้องประยุกต์ใช้ในการให้บริการหรือฝึกอบรม ในการพัฒนาผทู้ ำงานได้ต่อไป กล่าวโดยสรุป 1) กิจกรรมแนะแนว มีความสำคัญต่อผู้เรียน โดยมุ่งเน้นให ้ ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ท้ังด้านการพัฒนาส่วนตัวและสังคม การพัฒนาทางการศึกษา และ การพฒั นาทางอาชพี 2) กจิ กรรมแนะแนวทจี่ ดั ไวเ้ ปน็ ระบบในรปู แบบตา่ ง ๆ จดั เปน็ สอื่ การเรยี นรเู้ พอ่ื การพัฒนาผู้เรียนท่ีสำคัญอย่างหนึ่ง และ 3) ยังเป็นกิจกรรมที่พัฒนาอยู่เสมอตามความจำเป็น และความตอ้ งการของผ้รู บั บรกิ าร ทำใหเ้ กดิ โอกาสพฒั นาวชิ าชพี จิตวิทยาการแนะแนวตอ่ ไป 1.1.3 หลักการจัดกจิ กรรมแนะแนว จากการท่ีได้กล่าวไปแล้วในเบ้ืองต้นว่า การจัดกิจกรรมแนะแนวเป็นการ ให้บริการแนะแนวอย่างหน่ึงท่ีตอบสนองบริการจัดวางตัวบุคคล ฉะนั้น การจัดกิจกรรมจึงอาศัย หลักการสำคัญของบริการจัดวางตัวบุคคล ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของจิตวิทยาท่ีเกี่ยวข้องกับการแนะแนว มนี กั วชิ าการไดก้ ล่าวถึงหลักการสำคญั หลายประการ ดงั น ี้ การออกแบบกิจกรรมแนะแนวทีเ่ นน้ การพัฒนาทกั ษะสำหรบั ผเู้ รยี น

12 กรกฎา นักคิ้ม (2555 : 50-51) ได้สรุปหลักการสำคัญของการให้บริการ จัดวางตัวบคุ คลว่า 1) มงุ่ ประโยชนส์ ูงสดุ ต่อผรู้ บั บริการ 2) การใหบ้ รกิ ารสอดคล้องกับความต้องการ ของผู้รับบริการ 3) ให้โอกาสผู้รับบริการใช้สิทธิและเสรีภาพในการตัดสินใจรับบริการ และ 4) การบรกิ ารช่วยเหลอื บางกรณี อาจต้องการบุคลากรท่ีเก่ียวขอ้ งร่วมกนั ใหบ้ รกิ ารดว้ ย อาภา ถนัดช่าง และเรียม ศรที อง (2545 : 91) ไดเ้ สนอหลกั การพืน้ ฐานในการ จดั กิจกรรมแนะแนว ดงั นี้ 1) สนองความตอ้ งการตามวยั ของผรู้ บั บรกิ าร 2) เปิดโอกาสให้ผ้รู บั บริการ มีสิทธิและอิสระในการพิจารณาตัดสินใจเลือกหรือเข้าร่วมกิจกรรม 3) มุ่งประโยชน์ของผู้รับบริการ อย่างแท้จริง 4) ผู้รับบริการมีบทบาทในการร่วมกิจกรรมและเรียนรู้ด้วยตนเอง และ 5) การจัด กิจกรรมแนะแนวควรสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตร สภาพความจำเป็นของสังคมและ สภาพแวดล้อมในปัจจบุ ัน สมร ทองดี และปราณี รามสตู (2545 : 29-41) ไดเ้ สนอหลกั การจัดกิจกรรม แนะแนววา่ 1) กจิ กรรมแนะแนวควรครอบคลมุ ขอบขา่ ยการพฒั นาทง้ั 3 ดา้ น ไดแ้ ก่ 1) การพฒั นา สว่ นตวั และสงั คม การพฒั นาทางการศกึ ษา และการพฒั นาทางอาชพี 2) ลกั ษณะกจิ กรรมควรสอดคลอ้ ง กับวัยของผู้รับบริการ เน่ืองจากบุคคลแต่ละวัยมีลักษณะธรรมชาติที่แตกต่างกัน เช่น กิจกรรม แนะแนววยั เด็ก ควรจดั ใหไ้ ดเ้ รียนรูป้ นเลน่ สำหรบั วัยรุ่นควรเน้นการแสวงหาเอกลกั ษณ์ และการฝึก การยอมรบั ทางสงั คม สำหรบั วยั ผใู้ หญ่ ซง่ึ เปน็ ผมู้ ปี ระสบการณช์ วี ติ หลากหลาย ควรเนน้ การวเิ คราะห์ หรือสังเคราะห์ เป็นต้น และ 3) กิจกรรมแนะแนวย่อมต้องสนองต่อผู้รับบริการท้ังรายบุคคลและ แบบกลุ่ม นอกจากนี้ กาซดา (Gazda, 1984 : 182) ได้เสนอหลักการจัดกิจกรรม แนะแนววา่ 1) ตอ้ งตอบสนองความตอ้ งการของผรู้ บั บรกิ าร 2) เนน้ ประสบการณก์ ารเรยี นของผรู้ บั บรกิ าร 3) สำหรับผู้รับบริการแนะแนวกลุ่มใหญ่ ควรจัดเป็นโปรแกรม เช่น โปรแกรมการจัดการ ความเครียด สำหรับผู้รับบริการกลุ่มเล็ก เน้นไปท่ีจุดประสงค์ส่วนตน เช่น เทคนิคการฝึกความ กล้าแสดงออก หรือฝึกประสบการณ์การส่ือสารด้วยอวัจนสาร และ 4) จัดให้มีการประเมินผลลัพธ์ การจัดกิจกรรม จากหลักการจัดกิจกรรมดังกล่าวมา สรุปได้ว่า การจัดกิจกรรมแนะแนว อาศัยหลักการทางจิตวิทยาท่ีเกี่ยวข้องกับการแนะแนวสำคัญ 4 ประการ ได้แก่ 1) การจัดกิจกรรม มุ่งเน้นประโยชน์สูงสุดต่อผู้รับบริการ 2) สนองความต้องการของผู้รับบริการตามวัย 3) ผู้รับบริการ มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ โดยมีสิทธิและเสรีภาพในการเลือกตัดสินใจรับบริการ และ 4) กิจกรรม แนะแนวควรมีความสอดคล้องกับเป้าหมายของหลักสูตรและความจำเป็นของสังคมท่ีกำลัง เปล่ียนแปลง การออกแบบกจิ กรรมแนะแนวที่เนน้ การพัฒนาทักษะสำหรับผู้เรียน

13 1.2 ขอบขา่ ยของกิจกรรมแนะแนว การจัดกิจกรรมแนะแนวเป็นกระบวนการให้บริการแนะแนวอย่างหนึ่ง ซ่ึงมีเป้าหมาย ในการพัฒนาส่งเสริม ป้องกันปัญหา และแก้ไขปัญหาท่ีผู้รับบริการเผชิญอยู่ในขอบข่ายครอบคลุม 3 ด้าน ได้แก่ การพัฒนาส่วนตัวและสังคม การพัฒนาทางการศึกษา และการพัฒนาทางอาชีพ ต่อไปจะกล่าวถึงรายละเอียดเกยี่ วกบั 1) ความหมาย 2) วตั ถุประสงค์ และ 3) ตวั อยา่ งทักษะสำคญั ที่ควรเน้นในการจดั กจิ กรรมแนะแนว 1.2.1 กจิ กรรมแนะแนวดา้ นการพัฒนาสว่ นตัวและสังคม 1.2.1.1 ความหมายของกจิ กรรมแนะแนวดา้ นการพฒั นาสว่ นตวั และสงั คม เป็นประมวลประสบการณ์ที่พัฒนาขึ้นอย่างเป็นระบบ เพื่อส่งเสริมผู้รับบริการ โดยใช้หลักการ เทคนคิ และวธิ กี ารทางจติ วทิ ยาทเี่ กยี่ วขอ้ งกบั การแนะแนวในการกำหนดกจิ กรรมสง่ เสรมิ ใหผ้ รู้ บั บรกิ าร รู้จักและเข้าใจตนเอง สามารถพัฒนาทางร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ให้พัฒนา อย่างเต็มศักยภาพ ตลอดจนส่งเสริมพัฒนาการด้านบุคลิกภาพ การปรับตัว และการพัฒนา สมั พนั ธภาพระหวา่ งบคุ คล 1.2.1.2 วัตถุประสงค์ของกิจกรรมแนะแนวด้านการพัฒนาส่วนตัวและ สังคม มุ่งส่งเสริมให้ผู้รับบริการ มีทักษะการดำเนินชีวิตท่ีเหมาะสมและสามารถดำเนินชีวิตท่ีดีงาม รวมถงึ การมีทักษะทางสงั คม สามารถอยรู่ ว่ มกันและทำงานรว่ มกับผอู้ ื่นได้อยา่ งราบร่นื 1.2.1.3 ตัวอย่างทักษะสำคัญท่ีควรเน้นในการจัดกิจกรรมแนะแนว ด้านการพัฒนาส่วนตัวและสังคม การพัฒนาส่วนตัวและสังคม เกี่ยวข้องกับการส่งเสริม ความสามารถในการดแู ลเอาใจใส่ สง่ เสรมิ ความเจริญงอกงามของสขุ ภาพกายและสุขภาพจิต พัฒนา บุคลิกภาพของตน และปรับตัวเข้ากับบุคคลท่ีเก่ียวข้อง พัฒนาความสามารถในการสื่อสารอย่าง สร้างสรรค์ การพัฒนาดังกลา่ วอาศยั การใช้ความรู้ขอ้ มลู ภายใตเ้ จตคติทีด่ ตี ่อตนเองและผู้อื่น การให้ ความยอมรบั นบั ถอื และตระหนกั ในคณุ คา่ ตนเองและผอู้ น่ื ซง่ึ การพฒั นาสว่ นตวั และสงั คมดงั กลา่ วเนน้ ไปที่ การส่งเสริมให้ผู้รับบริการได้พัฒนาทักษะการพัฒนาชีวิตส่วนตัวและสังคมหลายประการ ซ่ึง ลัดดาวรรณ ณ ระนอง (2544 : 108-110) ได้เสนอขอบข่ายของการจัดกิจกรรมแนะแนว ดา้ นการพฒั นาสว่ นตวั และสงั คมครอบคลมุ รายละเอยี ด 7 ดา้ น ไดแ้ ก่ 1) การพฒั นาการมองตนในแงบ่ วก (Positive-Self Regard) 2) การพฒั นาทกั ษะทางสงั คม (Social Skills) 3) การพฒั นาทกั ษะการดำเนนิ ชวี ติ (Life Skills) 4) การปรับตัวและบุคลกิ ภาพ (Adjustment and Personality) 5) การพัฒนาทักษะ การกล้าแสดงออก (Assertiveness Skills) 6) การจัดการความเครียด (Stress-Management) และ 7) การเปลี่ยนพฤติกรรมการนำตนเอง (Self-Directed Behavior Change) นอกจากน้ัน วจิ ารณ์ พานชิ (2554 : 16-17) ใหค้ วามเหน็ วา่ ในโลกแหง่ การเรยี นรใู้ นศตวรรษที่ 21 พงึ พจิ ารณาทกั ษะ ที่จำเป็นเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษท่ี 21 ที่สำคัญ อย่างไรก็ตาม แนวคิดเก่ียวกับขอบข่าย การจัดกิจกรรมดังกล่าวมา ควรได้รับการพิจารณาปรับให้เหมาะสมกับสภาพความจำเป็นตามวัย การออกแบบกิจกรรมแนะแนวท่เี น้นการพฒั นาทกั ษะสำหรับผ้เู รียน

14 ธรรมชาติของผู้รับบริการในบริบทของการเปลี่ยนแปลงทางวิทยาการและทางสังคมโลก เพ่ือส่งเสริม ความพร้อมไปสกู่ ารเรยี นรทู้ กั ษะเพื่อการดำรงชวี ิตในศตวรรษท่ี 21 1.2.2 กิจกรรมแนะแนวดา้ นการพัฒนาทางการเรียนรหู้ รอื การศกึ ษา 1.2.2.1 ความหมายของกิจกรรมแนะแนวด้านการพัฒนาทางการศึกษา เป็นประมวลประสบการณท์ ่ีพฒั นาขึ้นอยา่ งเปน็ ระบบ เพื่อพฒั นาผ้รู ับบริการ โดยใชห้ ลกั การ เทคนิค และวิธีการทางจิตวิทยาท่ีเกี่ยวข้องกับการแนะแนวในการกำหนดกิจกรรมท่ีส่งเสริมให้ผู้รับบริการ สามารถพัฒนาการเรียนรู้ มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ ส่งเสริมความสนใจใฝ่รู้โลกกว้างทางการศึกษา พัฒนาทักษะและกระบวนการเรียนที่เป็นปัจจัยสำคัญของการเรียนรู้ และการบรรลุผลสำเร็จ ทางการเรียนและการเรียนรู้ตลอดชวี ติ การกำหนดเปา้ หมาย วางแผนและตดั สินใจทางการศกึ ษา 1.2.2.2 วัตถุประสงค์ของกิจกรรมแนะแนวด้านการพัฒนาทางการศึกษา มีวัตถุประสงค์ให้ผู้รับบริการ มีเจตคติท่ีดีต่อการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต และสามารถพัฒนา ทกั ษะการเรียนรูไ้ ดส้ งู สุดเตม็ ศกั ยภาพของตน 1.2.2.3 ตัวอย่างทักษะสำคัญท่ีควรเน้นในการจัดกิจกรรมแนะแนว ดา้ นการพฒั นาทางการศกึ ษา การพฒั นาทางการศกึ ษา เกยี่ วขอ้ งกบั การสง่ เสรมิ ใหผ้ รู้ บั บรกิ าร ไดร้ จู้ กั ความสามารถทางการเรียน การกำหนดเป้าหมายทางการเรียน สามารถพัฒนาทักษะทางการเรียน มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมท้ังการวางแผนเป้าหมายทางการเรียน และสามารถ พัฒนาตนให้บรรลุเปา้ หมายของตนได้ ความสามารถดงั กลา่ ว นอกจากจะได้รับการชว่ ยพัฒนาเจตคติ ท่ีดีต่อการศึกษาแล้ว สิ่งสำคัญ คือ การพัฒนาทักษะการเรียน นิสัยทางการเรียน แรงจูงใจใฝ่เรียนรู้ ภายใตก้ ารสง่ เสริมให้ฝึกทกั ษะการคิด การตัดสนิ ใจ และการแก้ปญั หาทางการศึกษา แคมปเ์ บล และดาฮรี ์ (Campbell and Dahire, 1977) ไดเ้ สนอขอบข่ายของ การพัฒนาทางการศึกษาว่า ควรจะมีการส่งเสริมสิ่งสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ 1) ความรู้ เจตคติ และทักษะต่อการเรียนรู้ และการแสวงหาความรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ 2) ความสามารถบรรลุ ผลสำเร็จทางการเรียน โดยมีการเตรียมความพร้อมทางการเรียน โดยมีความรู้ สนใจใฝ่รู้โลกกว้าง ทางการศึกษา และ 3) ความเข้าใจความสัมพันธ์ของการศึกษากับโลกของงาน การศึกษากับ ความจำเปน็ ในการดำรงชีวิต และการศึกษากับการพัฒนาตน วิจารณ์ พานิช (2554 : 28-36) แสดงความคิดเห็นว่า ทักษะการเรียนร ู้ และนวัตกรรม (Learning and Innovation Skills) เป็นทักษะพ้ืนฐานท่ีมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 ทุกคนต้องเรียน เน่ืองจากโลกมีการเปล่ียนแปลงเร็วขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีความซับซ้อนยิ่งขึ้น จงึ ควรพิจารณาพัฒนาผู้เรียนใหเ้ ปน็ ผูท้ ีส่ ามารถเรยี นรเู้ พ่ืออยกู่ บั ชีวติ ท่ยี ากลำบากยง่ิ ข้ึน ทกั ษะสำคัญ ดังกล่าว ได้แก่ การเรียนรู้ทักษะการเรียนรู้ (Learning Skills) ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) การแก้ปัญหา (Problem Solving) และการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Creative Thinking) ซึ่งปจั จยั สนบั สนุนให้เกดิ ทักษะดงั กลา่ ว ได้แก่ การตง้ั คำถามเพื่อแสวงหาคำตอบ การออกแบบกจิ กรรมแนะแนวทเ่ี นน้ การพฒั นาทักษะสำหรบั ผู้เรียน

15 กลา่ วโดยสรปุ การจัดกจิ กรรมแนะแนวดา้ นการพฒั นาทางการศึกษา มีข้อควร พิจารณาท่ีสำคัญ ซึ่งในระบบการศึกษาอาจเทียบเคียงว่าเป็นหลักสูตรการแนะแนว (Guidance Curriculum) มีดังน้ี 1) การตระหนักถึงคุณค่าของการศึกษาหรือการเรียนรู้ เช่น ความเข้าใจ และเห็นคุณค่าของหลักสูตรการเรียน การสร้างแรงจูงใจใฝ่เรียนรู้ เจตคติท่ีดีต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต 2) ทักษะสำคัญทางการเรียน เช่น ทักษะการคิด อ่าน เขียน สร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ การพัฒนาประสิทธิภาพทางการเรียน และ 3) ปัจจัยสำคัญในการบรรลุความสำเร็จทางการศึกษา เช่น ทักษะด้านสารสนเทศ สอ่ื และเทคโนโลยี การกำหนดเปา้ หมายและวางแผนชีวติ ดา้ นการศกึ ษา เป็นต้น 1.2.3 กจิ กรรมแนะแนวด้านการพฒั นาทางอาชพี 1.2.3.1 ความหมายของกจิ กรรมแนะแนวดา้ นการพฒั นาทางอาชพี เปน็ การ ประมวลประสบการณ์ท่ีพัฒนาขึ้นอย่างเป็นระบบ เพ่ือส่งเสริมผู้รับบริการ โดยใช้หลักการ เทคนิค และวิธีการทางจิตวิทยาท่ีเกี่ยวข้องกับการแนะแนว บนพ้ืนฐานของทฤษฎีพัฒนาการทางอาชีพ และทฤษฎีการเลือกอาชีพเพ่ือให้ผู้รับบริการเข้าใจ ยอมรับบุคลิกภาพตน และสามารถพิจารณา ลักษณะของตนกับอาชีพท่ีสนใจ พัฒนาวุฒิภาวะทางอาชีพ สามารถเลือกและตัดสินใจทางอาชีพ ได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งสามารถกำหนดเป้าหมายทางอาชีพ วางแผนและพัฒนาตนจนบรรล ุ แผนชวี ติ ทางอาชีพได ้ 1.2.3.2 วัตถุประสงค์ของกิจกรรมแนะแนวด้านการพัฒนาทางอาชีพ มุ่งให้ผู้รับบริการเข้าใจพัฒนาการทางอาชีพของบุคคล มีเจตคติท่ีดีต่ออาชีพ เข้าใจบุคลิกภาพ และความสนใจ สามารถพฒั นาวฒุ ภิ าวะทางอาชพี ของตน สามารถตดั สนิ เลอื กอาชพี ไดอ้ ยา่ งเหมาะสม และสามารถพฒั นาความกา้ วหนา้ ทางอาชพี ของตนไดต้ อ่ ไป 1.2.3.3 ตัวอย่างทักษะสำคัญท่ีควรเน้นในการจัดกิจกรรมแนะแนว ด้านการพัฒนาทางอาชีพ การจัดกิจกรรมแนะแนวด้านการพัฒนาทางอาชีพ มุ่งส่งเสริมให้ผู้รับ บริการมีวุฒิภาวะทางอาชีพเป็นสำคัญ ในการกำหนดกิจกรรมอาศัยพ้ืนฐานทางทฤษฎีพัฒนา ทางอาชีพและทฤษฎีการเลือกอาชีพ ผู้จัดกิจกรรมควรทำความเข้าใจในทฤษฎีดังกล่าวเบ้ืองต้น เพอ่ื เปน็ แนวทางการแนะแนวทถ่ี ูกตอ้ ง กุญชรี ค้าขาย (2544 : 71-80) ได้เสนอแนวคิดและข้อควรคำนึงในการจัด กจิ กรรมแนะแนวดา้ นการพฒั นาทางอาชพี ทสี่ ำคญั วา่ การจดั กจิ กรรมควรอยใู่ นขอบขา่ ยการพจิ ารณา ได้แก่ 1) การสำรวจโลกอาชีพปัจจุบัน 2) การสำรวจบุคลิกภาพ และความสนใจทางอาชีพ 3) วเิ คราะห์ลกั ษณะตน และเช่อื มโยงกับขอ้ มลู ทางอาชพี 4) ฝึกทกั ษะการตดิ สินใจ 5) สำรวจปจั จัย ทม่ี ผี ลตอ่ พฤตกิ รรมการทำงาน 6) การพฒั นาวุฒิภาวะทางอาชีพ และ 7) พฒั นาเจตคตทิ ี่ดตี ่ออาชพี นอกจากน้ัน วิจารณ์ พานิช (2554 : 17) ได้ให้ความเห็นว่า ในโลกแห่ง การเปล่ียนแปลงยุคศตวรรษท่ี 21 นี้ บุคคลควรได้รับการพัฒนาทักษะชีวิตและอาชีพท่ีเน้นความ สามารถในการคดิ ซงึ่ ยดื หยนุ่ และปรบั ตวั การคดิ เสรมิ สรา้ งสรรคแ์ ละความเชอื่ มน่ั ในตนเอง การเปน็ ผสู้ รา้ ง หรอื ผลิต และความรบั ผิดชอบที่เชือ่ ถอื ได้ (Accountability) รวมทงั้ ภาวะผูน้ ำและความรับผดิ ชอบ การออกแบบกจิ กรรมแนะแนวท่เี นน้ การพัฒนาทกั ษะสำหรบั ผูเ้ รยี น

16 จะเห็นว่า ในการจัดกิจกรรมแนะแนวอาชีพ มีปัจจัยสำคัญที่พึงส่งเสริม ผู้รับบริการ ดังนี้ 1) ทักษะการเรียนรู้โลกอาชีพปัจจุบัน เช่น การสำรวจโลกอาชีพ ในบริบท การเปลี่ยนแปลงทางอาชีพในปัจจุบัน การวิเคราะห์ความต้องการด้านแรงงานของอาชีพต่าง ๆ 2) ทักษะการพิจารณาตนด้านอาชีพ เช่น การสำรวจบุคลิกภาพและความสนใจทางอาชีพ การวิเคราะห์ลักษณะตนและเช่ือมโยงกับข้อมูลทางอาชีพ ทักษะการตัดสินใจ เจตคติท่ีดีต่ออาชีพ และการพัฒนาวุฒิทางอาชีพ และ 3) ทักษะการบรรลุความสำเร็จ และสร้างความมั่นคงทางอาชีพ เช่น การสำรวจปัจจัยท่ีมีผลต่อพฤติกรรมการทำงาน การกำหนดเป้าหมายชีวิตและอาชีพ การวางแผนชีวิตและอาชีพ การพัฒนาความก้าวหน้าทางอาชีพ และการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมทางอาชพี การออกแบบกจิ กรรมแนะแนวท่ีเนน้ การพฒั นาทกั ษะสำหรับผู้เรียน

17 ตัวอยา่ งกิจกรรมแนะแนวทค่ี รอบคลมุ ขอบข่ายการพัฒนาทั้ง 3 ดา้ น แยกตามเปา้ หมายของการพฒั นา คอื การสง่ เสรมิ พฒั นา การปอ้ งกนั ปญั หาและการแก้ไขปญั หา ตารางท่ี 1.4 ตัวอย่างกิจกรรมแนะแนวที่ครอบคลุมขอบข่ายการพัฒนาท้ัง 3 ด้าน แยกตาม เปา้ หมายของการพฒั นา คอื การสง่ เสรมิ พฒั นา การปอ้ งกนั ปญั หาและการแกไ้ ขปญั หา ขอบข่าย การพัฒนาสว่ นตัวและสงั คม การพัฒนาทางการศกึ ษา การพัฒนาทางอาชพี (Personal and Social (Academic Development) (Career Development) เป้าหมาย Development) ก ารสง่ เสรมิ พฒั นา 1 . กจิ กรรมการรจู้ ัก 1 . กิจกรรมพฒั นาทกั ษะ 1 . กจิ กรรมการเรยี นร ู้ การเรยี น โลกกวา้ งทางอาชีพ และเข้าใจตน 2. กิจกรรมการพฒั นา 2. กจิ กรรมเสริมสรา้ งสมาธิ 2. กิจกรรมสำรวจ บุคลิกภาพ ในการเรียน ความสนใจทางอาชพี 3. กจิ กรรมการเห็นคุณคา่ 3. กจิ กรรมการเห็นคณุ ค่า 3. กิจกรรมสำรวจ ผู้อ่นื ต่อการเรยี นรู ้ ความสามารถทางอาชีพ 4. กิจกรรมการสง่ เสรมิ 4. กจิ กรรมการส่งเสรมิ 4. กิจกรรมสำรวจ การทำงานเปน็ ทีม ความคิดสรา้ งสรรค์ บคุ ลิกภาพทางอาชีพ 5. กจิ กรรมบำเพ็ญประโยชน์ 5. กจิ กรรมเสรมิ สร้างเจตคต ิ 5. กจิ กรรมเสรมิ สรา้ ง ทางสังคม ตอ่ การพฒั นาทางการเรยี น แรงบนั ดาลใจในการ ประกอบอาชีพทมี่ คี ณุ คา่ ก ารปอ้ งกนั ปญั หา 1 . กจิ กรรมส่งเสรมิ 1 . กจิ กรรมเลือกแผน 1 . กิจกรรมเตรียมตัวสอู่ าชพี การปรับตัวทางสงั คม การศึกษาตอ่ 2. กิจกรรมพฒั นาทกั ษะ 2. กจิ กรรมพัฒนา 2. กจิ กรรมการฝึก พน้ื ฐานอาชีพ การกลา้ แสดงออก ประสบการณท์ างการเรยี น 3. กิจกรรมสง่ เสรมิ วุฒภิ าวะ อยา่ งเหมาะสม 3. กจิ กรรมการวางแผน ทางอาชีพ 3. กิจกรรมพฒั นา การเรียน 4. กจิ กรรมการวางแผน ความรับผดิ ชอบ 4. กจิ กรรมการสง่ เสริม อาชพี 4. กจิ กรรมพฒั นา การเรยี นรู้ร่วมกนั 5. กิจกรรมส่งเสรมิ เจตคตทิ ่ดี ี ความสามารถในการสอื่ สาร 5. กิจกรรมเพิม่ ประสบการณ ์ ตอ่ การประกอบอาชพี สจุ รติ 5. กจิ กรรมพฒั นา การเรียนรู้เฉพาะทาง พฤตกิ รรมการกำกบั ตนเอง การออกแบบกิจกรรมแนะแนวทีเ่ น้นการพัฒนาทักษะสำหรับผเู้ รียน

18 ตารางที่ 1.4 (ต่อ) ขอบข่าย การพฒั นาสว่ นตัวและสังคม การพัฒนาทางการศึกษา การพัฒนาทางอาชีพ (Personal and Social (Academic Development) (Career Development) Development) เปา้ หมาย ก ารแกไ้ ขปัญหา 1 . กิจกรรมการจัดการปัญหา 1 . กิจกรรมบรหิ ารเวลาเรยี น 1 . กิจกรรมพัฒนา ความขัดแยง้ 2. กิจกรรมลดความวติ ก ความสามารถในการ 2. กิจกรรมการจดั การ กังวล ตัดสนิ ใจทางอาชีพ ความเครยี ด 3. กิจกรรมพฒั นาความ 2. กิจกรรมการแสวงหา 3. กจิ กรรมการลดความวิตก รบั ผิดชอบทางการเรียน ข้อตกลงรว่ มกันในการ กงั วล 4. กจิ กรรมพัฒนานิสัย ตดั สนิ ใจทางอาชพี 4. กจิ กรรมพฒั นา ทางการเรยี น 3. กิจกรรมการพัฒนา ความสามารถในการ 5. กิจกรรมการจัดการปญั หา คุณภาพงาน จดั การปญั หา ทางการเรยี น 4. กจิ กรรมการพัฒนา 5. กิจกรรมพัฒนาการบรหิ าร ความสามารถทางอาชีพ เวลาในชวี ิต 5. กิจกรรมจดั การอปุ สรรค ของเป้าหมาย ข้อควรคำนึงในการพิจารณาขอบข่ายกิจกรรมแนะแนวของแต่ละองค์กรหรือ สถานศึกษา ควรมีการตกลงร่วมกันว่าในแต่ละสถานศึกษาจะให้ความสำคัญต่อขอบข่ายบริการ แนะแนวด้านการพัฒนาส่วนตัวและสังคม การพัฒนาทางการศึกษา หรือการพัฒนาทางอาชีพ สำหรบั ผรู้ ับบริการท่ีแตกตา่ งกนั ตามระดับชนั้ มากน้อยเพยี งไร แล้วจึงกำหนดใหส้ ดั สว่ นทเ่ี ป็นจดุ เน้น ท่ีสอดคล้องกัน ซ่ึงจะกล่าวถึงตัวอย่างการกำหนดสัดส่วนของกิจกรรมในเร่ืองการจัดทำแผน กิจกรรมแนะแนวในชัน้ เรียนต่อไป การออกแบบกจิ กรรมแนะแนวท่เี นน้ การพัฒนาทักษะสำหรบั ผู้เรียน

2 บทที่ 1 ประเภทของกิจกรรมแนะแนว 2.1 กิจกรรมแนะแนวรายบคุ คล กจิ กรรมแนะแนวรายบคุ คล (Individual Guidance Activities) เปน็ กจิ กรรมแนะแนว ประเภทหนงึ่ ทส่ี นองความตอ้ งการหรอื ความจำเปน็ เฉพาะผรู้ บั บรกิ ารรายบคุ คลทมี่ คี วามตอ้ งการแตกตา่ ง จากบุคคลอ่ืน โดยจะกล่าวถึง 1) ความหมาย 2) วัตถุประสงค์ และ 3) ลักษณะกิจกรรมแนะแนว รายบุคคล มีรายละเอียด ดังนี้ 2.1.1 ความหมายของกิจกรรมแนะแนวรายบุคคล ความสำคัญของปรัชญาการแนะแนวท่ีเห็นว่าบุคคลทุกคนพึงได้รับบริการ แนะแนวอย่างเหมาะสมตามความแตกต่างกัน แต่ละบุคคลมีสิทธิและเสรีภาพในการเลือกตัดสินใจ ด้วยตนเอง โดยเฉพาะอย่างย่ิงเป็นท่ียอมรับกันว่าแต่ละบุคคลมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ท้ังลักษณะทางกาย อารมณ์ สังคม และสตปิ ัญญา ความสนใจ ความสามารถ ความถนัด ตลอดจน ค่านิยม ฉะน้ัน การจัดบริการแนะแนวรายบุคคลจึงอาศัยหลักการสำคัญท่ีต้องยึดผู้รับบริการ เป็นสำคัญ ในขอบข่ายการบริการท้ังด้านการพัฒนาส่วนตัวและสังคม การพัฒนาทางการศึกษา และการพฒั นาทางอาชพี 2.1.2 วตั ถุประสงค์ของกิจกรรมแนะแนวรายบุคคล หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (กระทรวง ศกึ ษาธกิ าร, 2551 : 4-5) ไดเ้ นน้ วา่ การจดั การศกึ ษาตอ้ งสง่ เสรมิ การอยรู่ ว่ มกนั ในสงั คมอยา่ งมคี วามสขุ โดยระบุสมรรถนะและคณุ ลักษณะอันพงึ ประสงคข์ องผเู้ รยี น ได้แก่ 1) ความสามารถดา้ นการสือ่ สาร 2) ความสามารถดา้ นการคดิ วเิ คราะหแ์ ละสงั เคราะห์ ความคดิ สรา้ งสรรค์ การคดิ อยา่ งมวี จิ ารณญาณ 3) ความสามารถแก้ปัญหา เผชิญปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ บนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรม และสารสนเทศ รวมทั้งการเข้าใจความเป็นจริงของสรรพส่ิง ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และโลก 4) สามารถใช้ทักษะชีวิตในการดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม รวมท้ัง 5) สามารถใช้เทคโนโลยีได้อย่างสร้างสรรค์ ถูกต้อง เหมาะสม ภายใต้คุณธรรมความรับผิดชอบ นอกจากน้ัน หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานยังมีจุดประสงค์ในการพัฒนาคุณลักษณะท่ี พึงประสงค์ เพอ่ื การอยรู่ ว่ มกนั อยา่ งเปน็ สขุ ในสังคมโลก ได้แก่ 1) รักชาติ ศาสน์ กษตั ริย์ 2) ซอื่ สัตย์ สจุ รติ 3) มวี นิ ยั 4) ใฝ่เรยี นรู้ 5) อยอู่ ยา่ งพอเพยี ง 6) มุ่งม่ันในการทำงาน 7) รักความเปน็ ไทย และ การออกแบบกจิ กรรมแนะแนวทเ่ี นน้ การพัฒนาทกั ษะสำหรับผเู้ รยี น

20 8) มีจิตสาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการท่ีหลักสูตรยังได้บรรจุให้กิจกรรมแนะแนวเป็นกิจกรรม พัฒนาผู้เรียน โดยมุ่งให้เป็นกิจกรรมท่ีมีความสำคัญในการพัฒนาคุณลักษณะต่าง ๆ ท่ีพึงประสงค ์ ดงั กล่าว กล่าวโดยสรุป ทั้งจากปรัชญาการแนะแนวดังกล่าวไว้ข้างต้น และจุดมุ่งหมาย ของหลักสูตรแกนกลาง ปี พ.ศ. 2551 มีความสอดคล้องกันท่ีสนับสนุนให้จัดกิจกรรมแนะแนว รายบุคคล เพอื่ สนองตอบการพฒั นาผเู้ รียนทุกคน 2.1.3 ลักษณะกิจกรรมแนะแนวรายบคุ คล กิจกรรมแนะแนวรายบุคคล ควรมีลักษณะการส่งเสริมพัฒนาการ มุ่งป้องกัน ความเสี่ยงต่าง ๆ และการแก้ไขปัญหาท่ีผู้รับบริการรายบุคคลเผชิญอยู่ทั้ง 3 ขอบข่าย ด้วยวิธีการ หลากหลาย ตามลักษณะธรรมชาติ ความต้องการสภาพปัญหาที่เผชิญอยู่ และสอดคล้องกับ สถานการณ์แวดล้อม จึงขอเสนอลักษณะกิจกรรมแนะแนวรายบุคคลท่ีสนองตอบความต้องการ หรอื ความจำเปน็ ของผูร้ บั บรกิ ารรายบุคคล ดงั นี้ 1) การพัฒนาความงอกงามรายบคุ คลตามศักยภาพ 2) การส่งเสริมพัฒนาความบกพร่องทางกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาของผู้รับบริการที่มี ความตอ้ งการพเิ ศษ 3) การพฒั นาคณุ ลกั ษณะอนั พงึ ประสงคต์ ามศกั ยภาพ 4) การพฒั นาทกั ษะการเรยี น ท่ีบกพร่องเฉพาะราย 5) การพัฒนาความงอกงามภายในของบุคคลมุ่งสู่การเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ 6) การพฒั นาทางอาชีพตามศักยภาพของผรู้ บั บริการ เปน็ ต้น ตัวอย่างของรูปแบบกิจกรรมแนะแนวรายบุคคล มีดังน้ี กิจกรรมแนะแนว ดา้ นการพัฒนาสว่ นตัวและสังคม ไดแ้ ก่ การบริการปรึกษารายบคุ คล สำหรบั นกั เรยี นหรือผปู้ กครอง เพือ่ นชว่ ยเพอ่ื น การปรับพฤติกรรม การบำบดั พิเศษ การจัดการความเครียด การพฒั นาอัตมโนทศั น์ กิจกรรมแนะแนวดา้ นการพัฒนาทางการศึกษา ได้แก่ การโคชเฉพาะราย การจัดโปรแกรมการศกึ ษา พิเศษรายบุคคล การสอนซ่อมเสริมรายบุคคล การจัดห้องเรียนเฉพาะผู้ท่ีมีความต้องการพิเศษ การส่งเสริมความสามารถพิเศษทางการเรยี น เปน็ ตน้ กิจกรรมแนะแนวด้านการพัฒนาทางอาชีพ เช่น กิจกรรมพัฒนาทักษะอาชีพ เฉพาะดา้ น ไดแ้ ก่ ศลิ ปะ ดนตรี กฬี า เปน็ ตน้ กจิ กรรมทางอาชพี สำหรบั ผรู้ บั บรกิ ารทม่ี คี วามตอ้ งการ พเิ ศษ กจิ กรรมการส่งเสริมทักษะทางอาชีพเฉพาะราย กล่าวโดยสรุป กิจกรรมแนะแนวรายบุคคล หมายถึง มวลประสบการณ์ การเรียนรู้ต่าง ๆ ท่ีกำหนดขึ้นอย่างเป็นระบบท่ีมีจุดมุ่งหมายเพื่อสนองตอบความต้องการหรือ ความจำเปน็ สำหรบั ผรู้ บั บรกิ ารรายบคุ คล โดยใชห้ ลกั การ วธิ กี าร และเทคนคิ ทางจติ วทิ ยาทเี่ กย่ี วขอ้ ง กับการแนะแนว กำหนดกิจกรรมโดยให้บริการครอบคลุมการพัฒนาส่วนตัวและสังคม การพัฒนา ทางการศึกษา และการพฒั นาทางอาชพี การออกแบบกจิ กรรมแนะแนวทีเ่ น้นการพัฒนาทักษะสำหรบั ผ้เู รยี น

21 2.2 กิจกรรมแนะแนวกลุ่ม กิจกรรมแนะแนวกลุ่ม (Group Guidance Activities) เป็นกิจกรรมแนะแนว ทมี่ งุ่ สนองความตอ้ งการของกลมุ่ ผรู้ บั บรกิ ารทมี่ คี วามตอ้ งการคลา้ ยกนั หรอื เหมอื นกนั ในทนี่ จ้ี ะกลา่ วถงึ ส่วนประกอบต่อไป ดังน้ี 1) ความหมาย 2) วัตถุประสงค์ และ 3) ลักษณะกิจกรรมแนะแนวกลุ่ม จะเสนอรายละเอียดโดยย่อ ดงั น้ี 2.2.1 ความหมายของกจิ กรรมแนะแนวกล่มุ กาซดา (Gazda, 1984 : 102) กล่าวว่า กิจกรรมแนะแนวกลุ่มเป็นกิจกรรม ที่เน้นการจัดการสารสนเทศหรือประสบการณ์เพ่ือเอื้อต่อการวางแผนและจัดการกิจกรรมในกลุ่ม เช่น กิจกรรมปฐมนิเทศ กิจกรรมเล่นเพ่ือสำรวจทางอาชีพ เป็นต้น เขาเน้นว่าโดยท่ัวไปกิจกรรม แนะแนวกลุ่มกำหนดขึ้นเพ่ือการป้องกันปัญหาเป็นสำคัญ โดยมีขอบข่ายครอบคลุมการพัฒนา ส่วนตัวและสังคม การพัฒนาทางการศึกษา และการพัฒนาทางอาชีพ กิจกรรมแนะแนวกลุ่มได้รับ การออกแบบข้ึนเพื่อให้ประสบการณ์แก่ผู้รับบริการกลุ่มได้เรียนรู้ร่วมกันในช้ันเรียนเพื่อประยุกต์ใช้ ข้อมูลพัฒนาทักษะ โอกาสในการพัฒนาความงอกงาม และช่วยให้กลุ่มผู้รับบริการสามารถตัดสินใจ ในชีวิต ความสำคัญของกิจกรรมแนะแนวกลุ่ม ได้แก่ เป็นวิธีให้บริการแนะแนวที่ประหยัดเวลา ในการให้บริการและประหยดั ผู้ให้บริการดว้ ย 2.2.2 วตั ถุประสงคข์ องกจิ กรรมแนะแนวกลมุ่ กิจกรรมแนะแนวกลุม่ กำหนดข้นึ เพ่อื สง่ เสริมและสนบั สนุนใหผ้ ้รู บั บริการกลมุ่ ที่มีความจำเป็นหรือต้องการคล้ายกันหรือเหมือนกันได้มีโอกาสพัฒนาให้เข้าใจตนและตระหนักรู้ คณุ คา่ ของผอู้ น่ื เรยี นรทู้ จี่ ะปรบั ตวั อยรู่ ว่ มกบั ผอู้ น่ื อยา่ งราบรนื่ และเปน็ สขุ รว่ มกนั รวมทงั้ การพฒั นาชวี ติ ทางการเรยี นและอาชีพ โดยเนน้ กระบวนการมีส่วนร่วมและพฒั นาทกั ษะสอ่ื สารในกลมุ่ 2.2.3 ลกั ษณะกจิ กรรมแนะแนวกลมุ่ กิจกรรมแนะแนวกลุ่มอาจมีท้ังผู้รับบริการกลุ่มย่อยและกลุ่มใหญ่ กาซดา ให้ความเห็นว่า ลักษณะกิจกรรมแนะแนวกลุ่มควรมีลักษณะน่าสนใจ หรือมีคุณค่าและสนอง ความต้องการของกลุ่ม ซมิดท์ (Schmidt, 1996 : 101-102) ให้ความเห็นว่า สำหรับการแนะแนว กลมุ่ ย่อย (Small Group Guidance) จะช่วยให้บคุ คลพัฒนาทักษะทางสังคมตา่ ง ๆ เช่น การสอื่ สาร วิธีการเผชิญกับความเครียด การแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง การตัดสินใจ การหางาน และทักษะ การสัมภาษณ์งาน และเทคนิคการเรียน การแนะแนวกลุ่มมีลักษณะการเรียนรู้ร่วมกันด้วยความ สัมพันธ์อันดี กาซดา ให้ความเห็นว่า กิจกรรมแนะแนวกลุ่มใหญ่ (Large Group Guidance Activities) จะต้องเป็นกิจกรรมที่เอื้อประโยชน์เฉพาะกลุ่มรับบริการ เช่น โปรแกรมการจัดการ ความเครียดสำหรับผู้ทำงาน การอบรมเชิงปฏิบัติการเพ่ือเสริมสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้ร่วมงาน หรือกิจกรรมวนั งานอาชีพสำหรบั นกั เรยี นท่ีกำลงั จะจบการศึกษา เป็นต้น การออกแบบกิจกรรมแนะแนวทเี่ นน้ การพัฒนาทกั ษะสำหรับผู้เรยี น

22 พอสรุปได้ว่ากจิ กรรมแนะแนวกลมุ่ ควรกำหนดลักษณะกจิ กรรม ดังน้ ี 1) การสนองความต้องการผู้รับบริการกลุ่มย่อย ได้แก่ กิจกรรมพัฒนาเทคนิค การเรียน กิจกรรมพัฒนาการสื่อสารระหว่างบุคคล วิธีการเผชิญกับความเครียด การแก้ปัญหา ความขัดแย้ง การตัดสินใจ การหางาน ทักษะการสัมภาษณ์งาน กิจกรรมโฮมรูม กิจกรรมแนะแนว กจิ กรรมเพอื่ นช่วยเพอื่ น 2) การสนองความตอ้ งการของผ้รู บั บริการกล่มุ ใหญ่ ได้แก่ กจิ กรรมท่ีเออ้ื ประโยชน ์ ต่อผู้รับบริการกลุ่มใหญ่ เช่น การจัดการความเครียดของผู้ทำงาน การเสริมสร้างสัมพันธภาพ ระหวา่ งผรู้ ว่ มงาน กจิ กรรมปัจฉิมนิเทศ กิจกรรมงานวันอาชพี เป็นต้น 2.3 กจิ กรรมแนะแนวทีเ่ ป็นโครงการพเิ ศษ กิจกรรมแนะแนวที่เป็นโครงการพิเศษ เป็นกิจกรรมแนะแนวที่มุ่งสนองความต้องการ ของผู้รับบริการกลุ่มท่ีมีความต้องการพิเศษโดยเฉพาะ ท่ีต้องการวิธีการให้บริการแตกต่างจากผู้รับ บริการกลุ่มท่ีกล่าวมาแล้ว เนื่องจากความจำกัดของความสามารถหรือลักษณะเฉพาะของกลุ่ม ขอเสนอแนวคิดเกี่ยกับกิจกรรมแนะแนวท่ีเป็นโครงการพิเศษ ดังน้ี 1) ความหมาย 2) วัตถุประสงค์ และ 3) ลักษณะกิจกรรมแนะแนวท่เี ป็นโครงการพิเศษ 2.3.1 ความหมายของกจิ กรรมแนะแนวท่ีเปน็ โครงการพิเศษ เป็นมวลประสบการณ์ต่าง ๆ ที่กำหนดข้ึนในรูปแบบต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ เพื่อให้บริการแก่ผู้รับบริการที่มีความจำเป็นหรือมีความต้องการแตกต่างจากผู้รับบริการรายบุคคล หรือผู้รับบริการกลุ่มดังกล่าวมาแล้ว กิจกรรมแนะแนวแบบน้ีอาจต้องการเวลา โอกาส หรือแหล่ง เรียนรู้ท่ีเหมาะสม เช่น โครงการเข้าค่ายทางอาชีพ หรือการให้บริการแนะแนวสำหรับผู้ปกครอง นักเรยี นที่มคี วามตอ้ งการพเิ ศษ โครงการเสริมสรา้ งจติ สาธารณะในสถานพยาบาล เปน็ ต้น 2.3.2 วตั ถปุ ระสงคข์ องกิจกรรมแนะแนวที่เปน็ โครงการพิเศษ กำหนดขึ้นเพ่ือสนองความต้องการหรือความจำเป็นที่มีลักษณะต้องใช้เวลา โอกาส แหล่งเรียนรู้ ลักษณะเฉพาะของผู้รับบริการท้ังท่ีเป็นรายบุคคลและแบบกลุ่ม หรือต้องการ บุคลากรของหน่วยงานต่าง ๆ ร่วมให้บริการผู้รับบริการที่มีความต้องการเฉพาะทั้งที่เป็นรายบุคคล และเป็นกลุ่ม ท้ังน้ีเป็นการจัดกิจกรรมแนะแนวท่ีต้องอาศัยสภาพแวดล้อมท่ีเป็นสถานการณ์จริง ในการเรยี นรู้ร่วมกัน 2.3.3 ลกั ษณะกจิ กรรมแนะแนวท่เี ปน็ โครงการพเิ ศษ กิจกรรมแนะแนวที่เป็นโครงการพิเศษจะสนองตอบความต้องการของ ผู้รับบริการเป็นพิเศษ โดยต้องจัดทำเป็นแผนงานหรือโครงการพิเศษ และมีการบริหารจัดการ ท่ีมีคุณภาพ เช่น การเตรียมงาน เตรียมสถานท่ี จัดหาวิทยากร หรือกำหนดกิจกรรมเป็นพิเศษ การออกแบบกจิ กรรมแนะแนวทเี่ น้นการพัฒนาทกั ษะสำหรับผ้เู รยี น

23 เตรียมบุคลากรผู้รับบริการ วางแผนเร่ืองการเดินทาง ความปลอดภัย และงบประมาณ การจัดกิจกรรมแนะแนวในลักษณะน้ีมีประโยชน์อย่างกว้างขวางต่อผู้รับบริการให้มีโอกาสฝึกทักษะ หรือเรียนรู้ในเวลา โอกาส สถานท่ีเรียนรู้ที่มีคุณค่าในสภาพจริง ตัวอย่างของกิจกรรมแนะแนว ที่เป็นโครงการพิเศษ เช่น โครงการเข้าค่ายพัฒนาอาชีพ ค่ายพัฒนาทักษะการเรียน หรือ ค่ายจิตสาธารณะ เป็นต้น นอกจากน้ัน อาจจัดโครงการฝึกประสบการณ์ทางอาชีพ การสัมมนา (Seminar) การประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) การฝึกอบรมในงาน (On the Job Training) รวมทั้งโครงการแนะแนวนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ เช่น โครงการแนะแนวอาชีพสำหรับ นักเรียนที่มีความต้องการพิเศษหรือโดยการแนะแนวบุคลากรที่ช่วยเหลือผู้เรียนท่ีมีความต้องการ พิเศษ เปน็ ต้น การออกแบบกจิ กรรมแนะแนวทีเ่ น้นการพฒั นาทกั ษะสำหรับผเู้ รยี น

2 3 บทที่ การออกแบบกิจกรรมแนะแนวเพือ่ พัฒนาทกั ษะชีวิต 3.1 ความหมายและขอบขา่ ยของทกั ษะชวี ิต 3.1.1 ความหมายของทักษะชวี ติ มีผู้ให้ความหมายของทักษะชีวิตไว้หลายประการ ดังนี้ สำนักวิชาการและ มาตรฐานการศึกษา (2556 : 1) ระบุว่า ทักษะชีวิตเป็นความสามารถของบุคคลในการนำ กระบวนการต่าง ๆ ไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน ครอบคลุมการเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้ อย่างต่อเนื่อง การทำงานและอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยสัมพันธ์อันดีต่อกัน การจัดการปัญหา และ ความขดั แยง้ ตา่ ง ๆ การปรบั ตวั ใหท้ นั ตอ่ การเปลยี่ นแปลงทางสงั คม สภาพแวดลอ้ ม และความสามารถ ในการหลกี เล่ยี งพฤติกรรมไมพ่ ึงประสงค์ อันสง่ ผลกระทบต่อตนเองและผู้อืน่ เทพ สงวนกติ ตพิ ันธ์ุ (2545 : 1) ใหค้ วามหมายของ “ทักษะ” ว่า เปน็ ความรู้ ความสามารถหรือความชำนาญในเร่ืองต่าง ๆ ที่เป็นผลมาจากการเรียนรู้และการฝึกปฏิบัติ สว่ น “ชวี ติ ” หมายถงึ ความเปน็ อยหู่ รอื การดำเนนิ กจิ กรรมตา่ ง ๆ ทเ่ี กย่ี วขอ้ งกบั รา่ งกาย สงั คม และ จติ ใจ ดังนนั้ ทกั ษะชวี ิต (Life Skills) จึงหมายถงึ ความรูค้ วามสามารถ ความเช่ียวชาญท่จี ะชว่ ยให้ ความเป็นอยู่หรือการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ที่เก่ียวข้องกับร่างกาย สังคม และจิตใจของบุคคล ให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุขและประสบความสำเร็จในชีวิต นอกจากนั้น ในการสัมมนา เรื่องแนวโน้มการปฏิรูปหลักสูตรแกนกลางการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน ได้เสนอทักษะสำคัญในการเรียน รายวิชาต่าง ๆ เป็นความสามารถในการเรียนรู้ของคนในศตวรรษที่ 21 ครอบคลุมทักษะการเรียนรู้ ตลอดชีวติ ทกั ษะการจดั การและความรับผิดชอบ ทักษะการคดิ วิเคราะห์ คิดวิพากษ์ คิดสรา้ งสรรค์ ทักษะการแก้ปญั หา ทกั ษะการทำงานร่วมกบั ผู้อน่ื และทกั ษะการสื่อสาร และเทคโนโลยสี ารสนเทศ ไพฑูรย์ สินลารัตน์ (2558 : 18-19) ให้ความหมายของทักษะชีวิตท่ีสำคัญ ในศตวรรษท่ี 21 ว่า เป็นความสามารถท่ีเรียนรู้ พัฒนาตนและประเทศได้ โดยไม่ติดกับดัก ของกระแสโลก ซ่ึงครอบคลมุ ทกั ษะในการคิดวจิ ารณญาณ และการประเมิน ทกั ษะการคดิ วิเคราะห์ และสังเคราะห์ ทักษะการคิดสร้างสรรค์และมีจินตนาการ ทักษะการผลิตและคิดนวัตกรรม ทักษะการเปล่ียนแปลงและแก้ปัญหา ทักษะการส่ือสารและความม่ันใจในตน และทักษะ ทางคุณธรรมและความรับผิดชอบ การออกแบบกจิ กรรมแนะแนวที่เน้นการพัฒนาทักษะสำหรบั ผเู้ รยี น

25 กล่าวโดยสรุป ทักษะชีวิต (Life Skills) หมายถึง ความสามารถของบุคคล ในการจัดการชีวิตด้านต่าง ๆ ทั้งการครองชีวิตและการอยู่ร่วมกันในสังคม การพัฒนาการคิด การเรยี นรูต้ ลอดชีวติ และการเตรียมชีวิตดา้ นการงานอาชีพ การมีความสามารถพัฒนาทักษะพนื้ ฐาน ทางการงานอาชีพ อนั สง่ ผลถึงคณุ ภาพของบคุ คล เพือ่ การพฒั นาสงั คมและประเทศชาติ 3.1.2 ขอบขา่ ยของทักษะชีวิต ผู้เขียนอาศัยขอบข่ายการให้บริการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา ในสถานศกึ ษา มาแยกทักษะชวี ติ ออกเป็น 3 ขอบข่าย ได้แก่ ทักษะการพฒั นาชีวติ ส่วนตนและสงั คม ทกั ษะการเรยี นรู้ และทกั ษะพน้ื ฐานทางการงานอาชพี โดยเสนอการวเิ คราะหป์ ญั หา และความจำเปน็ ท่ตี อ้ งการพฒั นาทักษะชวี ิตของคนไทยในศตวรรษที่ 21 ดงั จะกลา่ วตอ่ ไปในตารางที่ 3.1 การออกแบบกจิ กรรมแนะแนวที่เน้นการพฒั นาทักษะสำหรบั ผ้เู รยี น

26 การออกแบบกจิ กรรมแนะแนวท่เี นน้ การพฒั นาทกั ษะสำหรับผู้เรียน ตารางท่ี 3.1 วิเคราะห์ปัญหาและความจำเป็นท่ีต้องพัฒนาทักษะชีวิตของคนไทยในศตวรรษที่ 21 ในขอบข่ายของการบริการแนะแนว และการปรึกษาเชงิ จิตวิทยา การพัฒนาทกั ษะชวี ติ ส่วนตนและสังคม การพัฒนาทักษะการเรยี นรู้ การพัฒนาทกั ษะพนื้ ฐานทางการงานอาชีพ 1 . สภาพทป่ี รากฏเป็นทกุ ขใ์ นชวี ติ และ 1 . สภาพทีป่ รากฏเปน็ ทกุ ข์ในการเรียนรู ้ 1 . สภาพท่ปี รากฏทกุ ขด์ ้านการงานอาชีพ การอยรู่ ว่ มกันในสังคม - บรโิ ภคนิยมมากกว่า จะศึกษาอ่าน เขียน - หลงวัตถุ มีคา่ นิยมฉาบฉวย สนใจทำงาน - ยึดมั่นกับสงิ่ ท่คี นุ้ เคยอยา่ งจำเจ ส่งผลต่อ ค้นควา้ ทดลองวิจัยด้วยตนเอง ใช้วิธีการ เพยี งเพอื่ ไดค้ า่ ตอบแทนสงู และไดม้ าโดยงา่ ย ทกุ ข์ทางกายท่ไี มแ่ ข็งแรง มีอารมณ์ จติ ใจ ลอกเลยี นแบบงา่ ย โดยปราศจากความใสใ่ จ - ใชว้ ิธีการหาทรพั ยส์ นิ ทางลัดอย่างไม่ถูกต้อง ฝ่ายต่ำ มชี วี ติ ด้วยการสนองความตอ้ งการ ทแี่ ทจ้ รงิ จงึ ไมส่ ามารถพฒั นาทกั ษะการเรยี น ขาดความรับผิดชอบในภารกจิ ของตน ตามทก่ี ิเลสพาไป เครยี ดเมื่อไม่ไดร้ บั การ ของตนเอง - ตัดสินใจด้วยตัวเองไม่ได้จนตอ้ งแก้ปญั หา ตอบสนองความต้องการ - ไม่มคี วามอดทน พากเพยี ร แต่ใชว้ ิธีมักงา่ ย และทนทุกขซ์ ้ำซาก - มคี วามขัดแยง้ ในชวี ิตครอบครวั และสงั คม นยิ มความถกู ใจ มใิ ชค่ วามถกู ตอ้ ง สมั พนั ธภาพ เพื่อผา่ นพน้ ภารกิจไป โดยปราศจากทักษะ - สนใจการทำงานสบาย จงึ เลอื กงาน ในครอบครัวอ่อนแอ อยา่ งแทจ้ ริงแตล่ ะเร่ือง เปลย่ี นงานบอ่ ย ไมม่ คี วามชำนาญโดยเฉพาะ - ใช้การเผชญิ ปัญหาดว้ ยวิธที ำลายลา้ ง - เรยี นเพ่ือมุ่งใบรับรองโดยไม่มคี วามสามารถ - ไมป่ ระสบความสำเรจ็ ในงาน ถกู ไลอ่ อก อยา่ งโหดรา้ ยตามอารมณท์ ่ีเปราะบาง หรอื ความเชย่ี วชาญ จงึ ไมส่ ามารถสรา้ งสรรค ์ หรอื ไมส่ ามารถสรา้ งงานดว้ ยตนเอง และขาดการควบคมุ งานบนพนื้ ฐานของศาสตร์อยา่ งแทจ้ รงิ - ใชเ้ ทคโนโลยสี ารสนเทศเพียงเพื่อสนกุ แกเ้ หงา ไมไ่ ดใ้ ชเ้ พ่อื เป็นผ้สู ร้าง หรอื ผลิตผลงาน

ตารางท่ี 3.1 (ต่อ) 27 การพฒั นาทักษะชวี ิตสว่ นตนและสงั คม การพัฒนาทกั ษะการเรียนรู ้ การพัฒนาทักษะพ้นื ฐานทางการงานอาชีพ การออกแบบกจิ กรรมแนะแนวท่เี นน้ การพฒั นาทกั ษะสำหรบั ผ้เู รยี น - ต่นื ตระหนกข่าวสารเชิงลบที่มงุ่ ร้าย ทำให้ ส รุปวา่ : ขาดทักษะการเรียนรู้ (Study Skills) ส รปุ วา่ : ขาดทกั ษะพืน้ ฐานทางการงานอาชพี เสยี เวลา เสยี โอกาส และขัดแยง้ กนั (Basic Career Skills) - ปฏิบตั ิตนผดิ กฎหมาย ขาดวนิ ยั โดยเฉพาะ การจราจรทำใหผ้ อู้ นื่ ลม้ ตาย บาดเจบ็ พกิ าร จนติดอนั ดับโลกต้น ๆ - บริโภคอย่างฟุ่มเฟอื ย ขาดนิสัยพอเพียง จึงเผชญิ ปญั หาเฉพาะหนา้ อยูต่ ลอดไป สรุปวา่ : ขาดทกั ษะการพัฒนาชีวิตส่วนตน และสงั คม (Personal and Social Development Skills) 2. สาเหต ุ 2. สาเหต ุ 2. สาเหตุ - ขาดความรู้โลกรอบตัว ไมเ่ ขา้ ใจ - ขาดการฝึกหดั ท่เี อาจริงเอาจงั ในการเรยี นรู้ - ขาดการตระหนักรตู้ น ทงั้ บทบาท-หนา้ ที่ ความด-ี ความงาม ความผดิ -ความถูกต้อง แตล่ ะเรอ่ื ง และไมส่ ามารถวเิ คราะห์ พจิ ารณา โดยเฉพาะการพึ่งตนเอง หรือความดี-ความชัว่ ขาดการควบคุม และสงั เคราะหง์ านได้ - ขาดวุฒภิ าวะทางอาชีพ พฤตกิ รรมตนเอง - ขาดการฝกึ ความอดทนและความเพียร - เปน็ ผบู้ ริโภค ขาดการฝึกใหเ้ ป็นผู้ผลติ งาน - ไมเ่ ชอ่ื อำนาจในตน ไมเ่ ช่ือกฎการกระทำ ให้รจู้ ริง รู้รอบ - สนใจความสบายมากกว่าการพฒั นา ทั้งเชิงบวกและเชิงลบ ความสามารถด้านต่าง ๆ - มี EQ, AQ, MQ ตำ่

ตารางที่ 3.1 (ตอ่ ) 28 การพัฒนาทกั ษะชวี ติ สว่ นตนและสงั คม การออกแบบกจิ กรรมแนะแนวท่เี นน้ การพฒั นาทกั ษะสำหรับผู้เรียน การพฒั นาทักษะการเรยี นรู้ การพัฒนาทักษะพ้ืนฐานทางการงานอาชีพ - ขาดความสามารถจดั การความขดั แย้ง - ขาดการสง่ เสริมคา่ นยิ มในการเรียนรู้ - ขาดการตระหนักรูค้ า่ นิยมในงานอาชพี โดยเฉพาะในครอบครัว เพ่ือความชำนาญมากกวา่ เกรด หรอื ทแ่ี ท้จริง - ขาดการตระหนกั ผลของความเมตตา ตอ้ งการเพยี งใบรับรอง - ขาดการวางแผนชวี ติ และอาชีพ กรุณาต่อกนั มีจิตมุ่งร้ายต่อกัน - ขาดการใช้เทคโนโลยใี นทางสร้างสรรค์ - ประสบความลม้ เหลวในการทำงานเปน็ ทีม - ไม่ได้รับการฝกึ วนิ ัยในตน และวนิ ยั และอยา่ งมวี ิจารณญาณ - ปรับตัวยาก ขาดการยอมรบั ใหเ้ กียรต ิ ทางสังคมอยา่ งเคร่งครดั - ขาดการส่งเสริมความเชอ่ื มน่ั ว่า ซ่งึ กันและกัน ทำงานเพื่อผลประโยชน์ - ขาดจติ ลักษณะมุ่งอนาคต โลกเปลยี่ นแปลงตลอดเวลา ฉะนั้น แตไ่ มม่ ุ่งพฒั นาสังคมทีน่ า่ อยรู่ ่วมกนั - ขาดตวั แบบและสิง่ แวดล้อมที่ดขี อง ชีวิตยอ่ มตอ้ งพัฒนาตลอดไป โดยการ - ขาดการส่งเสริม Long Life Career อารยชนจากบคุ คลรอบขา้ ง และขาด รักนสิ ัยการเรียนรู้ ตลอดชีวิต Education การฝกึ หัดพัฒนาชวี ิตไปสู่ความดีงาม - ขาดการส่งเสรมิ Long Life Education จากครอบครัว สถานศึกษาและสงั คม - ขาดการสง่ เสริมใหบ้ ุคคลพัฒนาคณุ ค่า ตลอดชวี ติ (Long Life Development)

29ตารางท่ี 3.1 (ตอ่ ) การออกแบบกจิ กรรมแนะแนวท่เี นน้ การพฒั นาทกั ษะสำหรบั ผ้เู รยี น การพัฒนาทกั ษะชวี ิตส่วนตนและสังคม การพฒั นาทักษะการเรยี นรู้ การพัฒนาทกั ษะพนื้ ฐานทางการงานอาชพี 3 . จุดมงุ่ หมายของการจัดการศึกษา 3 . จดุ ม่งุ หมายของการจัดการศกึ ษา 3 . จุดมุง่ หมายของการจดั การศกึ ษา ความต้องการของบุคคลและความคาดหวัง ความต้องการของบคุ คลและความคาดหวงั ความตอ้ งการของบุคคลและความคาดหวัง ของครอบครวั และสังคมในดา้ นการพฒั นา ของสังคม ในดา้ นการพฒั นาการเรยี นรู้ ของสังคมในด้านการพัฒนาทางชีวติ การงาน ชีวติ สว่ นตัวและสังคม 3.1 มนี สิ ัยและทกั ษะการเรยี นรู้ทด่ี ี อาชพี 3.1 สามารถดำเนนิ ชวี ติ ของตนได้อยา่ ง 3.2 มคี วามเช่อื และแรงจงู ใจว่าตนสามารถ 3.1 เขา้ ใจบคุ ลิกภาพ ความสามารถ และ สงบสขุ และมีความปลอดภยั พฒั นาไดต้ ามศกั ยภาพของตน ความถนดั รวมทั้งค่านิยมของตน 3.2 สามารถปรบั ตัวและสร้างสัมพนั ธ์ 3.3 สามารถคิดวเิ คราะห์ คิดวิจารณญาณ 3.2 รจู้ กั โลกกว้างทางการงานอาชีพ อยา่ งราบรน่ื ในการอยรู่ ว่ มกนั บนพน้ื ฐาน คดิ สังเคราะห์ และแก้ปญั หา 3.3 เรยี นร้คู ่านยิ มของงานอาชีพ แหง่ ความเมตตา กรณุ า อย่างสรา้ งสรรค์ พัฒนาการเรียน 3.4 สามารถพัฒนาวฒุ ิภาวะทางอาชีพ 3.3 สามารถพัฒนาตนไปตามศกั ยภาพ ให้กา้ วหน้าขน้ึ ได้ 3.5 มีทกั ษะพืน้ ฐานของการงานอาชพี มนี ิสัย ตามวยั สู่ความเจริญเตบิ โตเป็นผู้ใหญ่ 3.4 สามารถวางแผนและจดั การชีวติ รบั ผดิ ชอบ และซอ่ื สตั ยใ์ นการทำงานทว่ั ไป ทเ่ี ข้มแข็ง มคี ุณภาพชวี ิตทด่ี ีและมคี ณุ ค่า การเรียนไดต้ ามจดุ มุ่งหมาย 3.6 สามารถใชเ้ ทคโนโลยสี ารสนเทศ แก่สังคม 3.5 สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่าง เพ่อื ผลิตผลงานทเ่ี กี่ยวขอ้ งกับอาชพี 3.4 ระบบการศกึ ษาต้องวางแผนการศกึ ษา มคี ุณค่าแกก่ ารพัฒนาการเรยี นรู้ 3.7 ระบบการศึกษาต้องสง่ เสรมิ ใหม้ ี ตลอดชวี ติ อย่างตอ่ เนือ่ ง ทั้งผทู้ อี่ อก 3.6 ระบบการศกึ ษาต้องส่งเสริมให้บุคคล แผนพฒั นา Long Life Career Education กลางคนั ผทู้ ี่จบการศกึ ษาไปในแต่ละ เหน็ ความสำคญั ของการเรียนรูต้ ลอดชวี ติ อยา่ งต่อเนอ่ื งทุกระดับการศกึ ษา ระดับ และผู้สูงอาย ุ

30ตารางท่ี 3.1 (ตอ่ ) การออกแบบกจิ กรรมแนะแนวท่เี นน้ การพฒั นาทกั ษะสำหรับผู้เรียน การพฒั นาทกั ษะชวี ติ ส่วนตนและสังคม การพฒั นาทกั ษะการเรยี นร้ ูการพัฒนาทกั ษะพน้ื ฐานทางการงานอาชพี 4 . แนวทางปฏิบตั ิเพื่อพัฒนาทกั ษะชวี ติ สว่ นตน 4 . แนวทางปฏิบตั เิ พอ่ื พัฒนาทักษะการเรียนร ู้ 4 . แนวทางปฏิบัตเิ พอื่ พัฒนาทกั ษะพ้นื ฐาน และสังคม ดงั ตอ่ ไปนี ้ ดงั ต่อไปน ้ี การงานอาชีพ ดงั ต่อไปน้ ี 4.1 ด้านการพฒั นาจิตลักษณะในการนำชวี ติ 4.1 ด้านการพฒั นาจติ ลักษณะในการนำชีวิต 4.1 ดา้ นการพฒั นาจติ ลกั ษณะในการนำชวี ติ 4.1.1 สง่ เสรมิ ศรทั ธาหรอื ความเช่ือวา่ 4.1.1 สง่ เสริมศรทั ธาหรอื ความเชอ่ื ว่า 4.1.1 ส่งเสริมศรัทธาหรือความเชื่อวา่ ชวี ติ และสังคมตอ้ งเปลี่ยนแปลง ความสามารถทางการเรยี นของ การทำงานเป็นภารกิจสำคัญ ตลอดเวลา การรทู้ นั การเปลย่ี นแปลง แตล่ ะคนแตกต่างกนั แต่ทกุ คน ในชีวิตมนุษยท์ ี่ตอ้ งพง่ึ ตนเอง จะสง่ ผลตอ่ การรบั รู้ชวี ติ ตาม สามารถพัฒนาให้ดีขน้ึ ได ้ 4.1.2 จดั ประสบการณใ์ ห้มโี อกาส ความเปน็ จริง 4.1.2 จดั ประสบการณ์ใหม้ โี อกาส พจิ ารณาเปรียบเทยี บผลของการ 4.1.2 จัดประสบการณใ์ หม้ โี อกาส พิจารณาเปรียบเทยี บผลของ พงึ่ ตนเองกบั ไมส่ ามารถพงึ่ ตนเองได ้ พิจารณาเปรยี บเทยี บผลของ การขาดทักษะการเรยี นกับการท่มี ี 4.1.3 ส่งเสรมิ ใหม้ โี อกาสพจิ ารณา การอยูร่ ว่ มกันอย่างเบียดเบยี น ทักษะการเรียนดา้ นต่าง ๆ ทบทวนตนเอง เพอ่ื เลอื กแนวทาง และการอยรู่ ว่ มกนั อยา่ งเกื้อกลู 4.1.3 สง่ เสริมให้มโี อกาสพจิ ารณา การพฒั นาทกั ษะพื้นฐาน 4.1.3 ส่งเสรมิ ใหม้ ีโอกาสพจิ ารณา ทบทวนตนเอง เพื่อเลอื กแนวทาง การงานอาชพี ที่ขาดหรือบกพรอ่ ง ทบทวนตนเอง เพอ่ื เลือกแนวทาง การพัฒนาทกั ษะการเรียน 4.1.4 สง่ เสรมิ การตระหนกั รวู้ ่า โลก การดำเนนิ ชีวติ ท่ีดกี วา่ ด้านต่าง ๆ ตอ่ ไป การงานอาชพี เปล่ียนแปลงไปตาม 4.1.4 ส่งเสริมการตระหนักรวู้ ่า การเช่ือ 4.1.4 สง่ เสริมให้การฝกึ พฒั นาทกั ษะ การเปลยี่ นแปลงของโลกเสมอ อำนาจในตนและมุง่ อนาคต การเรยี นตอ่ ไป คนทตี่ ้องการมคี วามมั่นคงทาง สง่ ผลตอ่ ความม่นั คงในชวี ิต การงานอาชพี จำเปน็ ตอ้ งเตรยี มตวั และสงั คม

31ตารางท่ี 3.1 (ต่อ) การออกแบบกจิ กรรมแนะแนวท่เี นน้ การพฒั นาทกั ษะสำหรบั ผ้เู รยี น การพฒั นาทกั ษะชวี ิตส่วนตนและสังคม การพัฒนาทักษะการเรยี นร ู้การพฒั นาทักษะพนื้ ฐานทางการงานอาชพี 4.1.5 สง่ เสรมิ การตระหนกั รูว้ า่ 4.2 ความสามารถในการจัดการชีวติ 4.1.5 การพฒั นาทักษะพนื้ ฐานการงาน พฤตกิ รรมของตนมผี ลต่อ ด้านการเรยี นตอ่ ไป อาชพี ต่อไป พฤตกิ รรมคนอ่ืน 4.2.1 ทำความเขา้ ใจเปา้ หมายทางการเรยี น 4.2 ความสามารถในการจัดการชวี ิต 4.1.6 การฝึกพฒั นาทกั ษะชวี ติ สว่ นตน 4.2.2 ความสามารถประเมนิ ทกั ษะ เพอ่ื พฒั นาทกั ษะพนื้ ฐานทางการงานอาชพี และสงั คมที่เกีย่ วข้อง การเรยี นของตน ดังน ี้ 4.2 ความสามารถในการจัดการชีวติ 4.2.3 วิเคราะหน์ สิ ัยทางการเรยี น 4.2.1 ทำความเขา้ ใจเป้าหมายในชีวิต 4.2.1 ความเขา้ ใจและตระหนักร้ตู น 4.2.4 การพฒั นาทกั ษะการเรยี นภาษา และอาชีพ การยอมรบั ตนและผู้อ่ืน การฟงั พดู อา่ น เขยี น คดิ 4.2.2 ความสามารถในการประเมิน 4.2.2 การปรับตวั และการสรา้ ง 4.2.5 ฝกึ วเิ คราะหป์ ญั หาทางการเรยี น ทักษะพนื้ ฐานทางการงานอาชพี สัมพนั ธภาพกับผูอ้ น่ื และวางแผนการเรยี นรขู้ องตน ด้านตา่ ง ๆ 4.2.3 การประเมนิ ตนและการวเิ คราะห ์ 4.2.6 ฝกึ บรกิ ารการใชเ้ วลาในการเรยี น 4.2.3 พฒั นาทกั ษะพนื้ ฐานทางการงานอาชพี ปัญหาและการจัดการปัญหา 4.2.7 ฝกึ พฒั นาความสามารถพเิ ศษ เชน่ ความคิดวิเคราะห์ ดว้ ยปัญญา หรอื งานอดเิ รกทชี่ อบและมคี ณุ คา่ การออกแบบงาน สร้างชิน้ งาน 4.2.4 การวางแผนชวี ิตและการดำเนนิ 4.2.8 ฝึกใชข้ อ้ มูลเทคโนโลยีสารสนเทศ ความอดทน การเผชญิ ปัญหาและ ตามแผนอย่างเหมาะสมกบั บรบิ ท เพื่อเพิ่มคณุ ภาพทางการเรยี น ฝา่ ฟันอปุ สรรค ความรบั ผดิ ชอบ หน้าท่แี ละสถานการณ ์ การทำงานเป็นทีมและภาษา 4.2.5 การพัฒนาชวี ิตใหม้ คี ณุ ค่า 4.2.4 ฝึกพัฒนาความสามารถพิเศษ แกค่ รอบครัวและสงั คม

32ตารางที่ 3.1 (ต่อ) การออกแบบกจิ กรรมแนะแนวท่เี นน้ การพฒั นาทกั ษะสำหรับผู้เรียน การพฒั นาทักษะชีวติ ส่วนตนและสังคม การพฒั นาทักษะการเรยี นร ู้การพัฒนาทักษะพืน้ ฐานทางการงานอาชพี 4.2.6 การสอื่ สารเชิงสร้างสรรค ์ 4.3 จดั การเครือข่ายความรว่ มมือ 4.2.5 ฝึกใชข้ ้อมูลเทคโนโลยสี ารสนเทศ ในครอบครัวและสังคม และสภาพแวดลอ้ มในสถานศึกษา เพ่ือเพิม่ คุณภาพงาน 4.2.7 ส่งเสริมให้การจัดการอารมณ ์ ท่ีเออื้ ตอ่ การพฒั นาทักษะการเรยี นรู ้ 4.2.6 พัฒนาวฒุ ภิ าวะทางอาชพี ทเี่ หมาะสม (EQ) 4.3.1 ประสานงานเครือขา่ ยครทู ุกคน 4.2.7 การวางแผนชีวติ และอาชีพ - การเผชิญปญั หาและอุปสรรค ผู้ปกครอง และบุคคลทีเ่ กย่ี วขอ้ ง 4.3 จดั การเครือข่ายความร่วมมือและ อยา่ งสรา้ งสรรค์ (AQ) ในชมุ ชน ในการรว่ มมือสนับสนนุ สภาพแวดล้อมในสถานศึกษาท่เี ออ้ื - การแสดงพฤติกรรมท่ีเก้อื กลู ให้นกั เรยี นมีแรงจูงใจในการ ตอ่ การพฒั นาทักษะพ้นื ฐานทางการงาน และคำ้ จุนสังคม (MQ) พัฒนาการเรียนของตน อาชพี 4.2.8 การดแู ลชีวติ ใหม้ ีสขุ ภาพกาย 4.3.2 จดั สภาพแวดล้อม สื่อการเรยี น 4.3.1 ประสานงานเครือขา่ ยครทู ุกคน และจติ ท่ีดี จัดตนเองใหพ้ น้ จาก การสอน และแหล่งเรียนรู้ ผปู้ กครอง บคุ คลทเ่ี กยี่ วขอ้ ง ความเสยี่ งภยั ตา่ ง ๆ ท่สี ่งเสริมทักษะการเรียน ในชมุ ชน สถานศกึ ษา 4.2.9 ฝึกวนิ ัยสว่ นตวั และวนิ ยั ทางสงั คม 4.3.3 ติดตาม ประเมินผล และพัฒนา สถานประกอบการ เพือ่ ส่งเสรมิ 4.3 จดั การเครือขา่ ยความรว่ มมือและ เพอ่ื อยา่ งตอ่ เนอื่ ง ใหค้ รบทกุ ชน้ั เรยี น ประสบการณ์ในงานอาชีพ สภาพแวดล้อมในสถานศึกษาทเี่ อ้ือ 4.3.2 จดั สภาพแวดลอ้ ม สอื่ และ ตอ่ การพฒั นาทกั ษะการพฒั นาชวี ติ สว่ นตน เครอ่ื งมอื ในการฝึกทกั ษะพนื้ ฐาน และสังคม การงานอาชพี ให้สอดคลอ้ งกบั ความตอ้ งการของผเู้ รยี น

ตารางท่ี 3.1 (ตอ่ ) 33การพฒั นาทกั ษะการเรยี นร้ ูการพัฒนาทกั ษะพื้นฐานทางการงานอาชีพ การพฒั นาทักษะชวี ิตส่วนตนและสงั คม 4.3.3 ตดิ ตาม ประเมนิ ผล และพัฒนา การออกแบบกจิ กรรมแนะแนวท่เี นน้ การพฒั นาทกั ษะสำหรบั ผ้เู รยี น อยา่ งตอ่ เน่ืองให้ครบทุกช้ันเรยี น 4.3.1 ประสานงานเครอื ขา่ ยครทู ุกคน ผู้ปกครอง และบุคคลท่ีเก่ียวขอ้ ง ในชุมชนให้ความร่วมมอื ในการ สนับสนนุ และส่งเสริม โดยเป็น ผู้รว่ มปฏบิ ัติ เปน็ แบบอยา่ งทดี่ ี ของนกั เรียน 4.3.2 จัดสภาพแวดล้อมในสถานศกึ ษา และร่วมมอื กันสง่ เสริมผ้เู รยี น ให้พัฒนาไปอย่างสอดคลอ้ งกัน ระหวา่ งบ้าน-โรงเรยี น-ชมุ ชน 4.3.3 ติดตาม ประเมนิ ผล และพัฒนา อยา่ งต่อเนอ่ื งใหค้ รบทกุ ระดับ ช้นั เรียน

34 3.2 การออกแบบกิจกรรมแนะแนวกลุ่มในช้นั เรียนเพื่อพัฒนาทักษะชวี ิต 3.2.1 ความหมายและความสำคัญของการออกแบบกิจกรรมแนะแนวกลุ่ม ในช้นั เรียนเพอื่ พฒั นาทกั ษะชวี ิต 3.2.1.1 การออกแบบกิจกรรมแนะแนวกลุ่มในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต (The Designing of Classroom Guidance Activities on Life Skills) เปน็ การกำหนดขอบเขต ทิศทาง เป้าหมาย กระบวนการพฒั นา เทคนคิ วิธี และการประเมนิ ผล เพอ่ื ส่งเสริมและสนบั สนนุ ให้ ผเู้ รยี นไดเ้ รยี นรทู้ กั ษะใน 3 ขอบขา่ ย ไดแ้ ก่ ทกั ษะชวี ติ สว่ นตนและสงั คม ทกั ษะการเรยี นรู้ และทักษะ พื้นฐานการงานอาชีพ อันนำไปสู่การครองชีวิตที่เป็นปกติสุข อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างราบรื่น และมีคณุ ค่าในสงั คม 3.2.1.2 ความสำคัญของการออกแบบกิจกรรมแนะแนวกลุ่มในช้ันเรียน เพ่ือพัฒนาทกั ษะชวี ติ มีความสำคัญดงั น ้ี 1) การศึกษาและฝึกออกแบบ เป็นการพัฒนาความรู้ความสามารถ ในการให้บริการแนะแนวกลุ่มเพ่ือพัฒนาทักษะชีวิต อันเป็นบทบาทสำคัญในการสร้างนวัตกรรม และเคร่ืองมอื ทางการแนะแนวของผใู้ ห้บรกิ ารแนะแนว 2) การศึกษาและฝึกออกแบบ เป็นการเพิ่มความชำนาญในการ สง่ เสรมิ การเรยี นรแู้ ละประยกุ ต์ใชศ้ าสตรท์ างจติ วิทยาและการแนะแนว 3) การศึกษาและฝึกออกแบบ เป็นการนำไปสู่การศึกษาและวิจัย อันเปน็ พัฒนาการทสี่ ำคญั ของนกั วชิ าชีพทางการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจติ วิทยา 3.2.2 แนวคดิ ในการออกแบบกจิ กรรมแนะแนวกลมุ่ ในชนั้ เรยี นเพอ่ื พฒั นาทกั ษะชวี ติ 3.2.2.1 ในการออกแบบกิจกรรมแนะแนวควรให้ครอบคลุมขอบข่าย ของทักษะชีวิต ได้แก่ ทักษะชีวิตส่วนตนและสังคม ทักษะการเรียนรู้ และทักษะพ้ืนฐานการงาน อาชพี 3.2.2.2 องคป์ ระกอบสำคญั ของการพฒั นาทกั ษะชวี ติ การทบ่ี คุ คลจะพฒั นาตน ให้มีความสามารถด้านต่าง ๆ อย่างม่ันคง พึงต้องเร่ิมต้นจากการพัฒนาจิตใจ อันมีทั้งศรัทธาหรือ ความเช่ือมนั่ ในตนว่าตนสามารถปรบั ตวั เปล่ยี นแปลงไปสกู่ ารนำตนให้งอกงามได้ ส่วนความสามารถ ดา้ นตา่ ง ๆ ฝึกหัดได้ตามขั้นตอนหรือลำดบั ที่ถูกตอ้ งเหมาะสม เมอ่ื บคุ คลมคี วามเชื่อมน่ั และฝกึ หดั ได้ พฤตกิ รรมที่พฒั นาก็จะอยคู่ งทน นำตนได้ ฉะนน้ั องคป์ ระกอบสำคญั ของทักษะชีวติ จงึ ประกอบดว้ ย จิตลักษณะในการนำชีวติ และความสามารถในการจัดการชวี ติ ด้านตา่ ง ๆ ดงั ตัวอย่างต่อไปนี ้ การออกแบบกจิ กรรมแนะแนวทเ่ี น้นการพฒั นาทกั ษะสำหรับผ้เู รยี น

35 ตัวอย่างตวั แปรท่เี กีย่ วข้องกบั ทกั ษะการพฒั นาชวี ิตส่วนตนและสงั คม จติ ลักษณะในการนำชวี ติ ความสามารถในการจดั การชวี ิต - การสนใจข้อมลู ทกั ษะการตัดสนิ ใจในชวี ติ - การเชอื่ มน่ั ในตน (self confidence) - สามารถหาข้อมูล การนำตนเอง (self directed) - สามารถจดั หมวดหมู่ - สามารถจดั ลำดับ - สามารถประเมนิ ความตอ้ งการ ของตน - สามารถเลือกสงิ่ ท่ีใหค้ ณุ มากกวา่ ใหโ้ ทษ ภาพที่ 3.1 ตัวอย่างตัวแปรท่ีเก่ียวขอ้ งกบั ทกั ษะการพฒั นาชีวิตส่วนตนและสงั คม ตวั อยา่ งตวั แปรท่เี กยี่ วขอ้ งกบั ทกั ษะการเรยี นร้ ู จิตลักษณะในการนำชีวิต ความสามารถในการจัดการชีวิต - เห็นคณุ ค่าของการวางแผนงาน ทักษะการวางแผนการเรยี น - อัตมโนทัศนเ์ ชิงบวก - สามารถประเมินความต้องการ - เจตคตติ อ่ การเตรยี มความพรอ้ ม - สามารถตรวจสอบงาน - เจตคติทด่ี ีต่อการพ่งึ ตน - สามารถสืบคน้ ข้อมลู ที่เก่ยี วข้อง - สามารถบนั ทกึ แผนงาน ภาพท่ี 3.2 ตวั อย่างตัวแปรทีเ่ กี่ยวขอ้ งกับทกั ษะการเรยี นรู้ การออกแบบกจิ กรรมแนะแนวท่ีเนน้ การพฒั นาทักษะสำหรับผเู้ รยี น

36 ตัวอย่างตวั แปรท่เี กีย่ วขอ้ งกบั ทักษะพื้นฐานทางการงานอาชีพ จิตลักษณะในการนำชวี ติ ความสามารถในการจัดการชีวติ - การยอมรบั บคุ ลิกภาพตน ทักษะการพฒั นาวุฒภิ าวะทางอาชพี - การรับรคู้ วามถนัดตน - สามารถสบื ค้นความรู้ดา้ นอาชีพ - เจตคติที่ดตี อ่ การเตรียมความพรอ้ ม - สามารถเปรยี บเทยี บคา่ นยิ ม ทางอาชีพ ในแตล่ ะงานอาชพี - สามารถประเมนิ ค่านยิ มของตน ในการทำงาน ภาพที่ 3.3 ตวั อยา่ งตัวแปรท่ีเกยี่ วข้องกบั ทักษะพื้นฐานทางการงานอาชพี การออกแบบกิจกรรมแนะแนวทีเ่ น้นการพฒั นาทักษะสำหรบั ผเู้ รียน

37 ตวั อย่างตวั แปรที่เก่ยี วขอ้ งกับทักษะชีวติ ใน 3 ขอบขา่ ย จิตลกั ษณะในการนำชีวติ ทเี่ กยี่ วข้อง ความสามารถในการจัดการชีวติ 1. ความภาคภมู ใิ จในตน (self-esteem) 1. ทักษะการพฒั นาชวี ติ สว่ นตนและ 2. การยอมรบั อัตมโนทศั น์ สงั คม (self-concept) - ทกั ษะการส่อื สารเชิงสร้างสรรค ์ 3. การยอมรับภาพลกั ษณต์ น - ทกั ษะการสรา้ งสัมพันธภาพที่ดี (self-image) - ทกั ษะการเผชิญปญั หา 4. การตระหนักรู้ตน (self-awareness) และฝ่าฟนั อปุ สรรค 5. ความเชือ่ ม่ันในตน (self-confidence) - ทกั ษะการจัดการอารมณ ์ 6. การยอมรบั ตนเอง (self-respect) - ทักษะการคลายเครยี ด 7. ความเข้าใจตน (self-understanding) - ทักษะการลดความโกรธ 8. ความเชอ่ื ว่าความรบั ผิดชอบ - ทกั ษะการจดั การความขัดแยง้ อย่างซื่อสัตย์ยอ่ มไดร้ ับการยอมรับ ในชวี ติ 9. ความเชื่อวา่ ความสามารถของตน - ทกั ษะการช่วยเหลอื ตนเมอ่ื เผชิญ พฒั นาไดไ้ รข้ ีดจำกดั ภาวะวกิ ฤต 10. ความเชื่ออำนาจในตน - ทกั ษะการปรกึ ษา 11. ความม่งุ อนาคต - ทกั ษะการจดั การปญั หาชวี ติ 12. การเห็นคุณค่าคนอื่น - ทกั ษะการชว่ ยเหลอื และบรรเทา 13. ความเชอื่ วา่ ชวี ติ มกี ารเปลย่ี นแปลงเสมอ ภัยพิบตั ิ 1 4. เจตคตทิ ี่ดีตอ่ การพึ่งตน ฯลฯ 15. เช่ือว่าความเมตตา กรุณาคำ้ จนุ โลก 2. ทักษะการเรยี นรู้ ฯลฯ - ทักษะพนื้ ฐานการเรยี นรูแ้ ละภาษา - ทักษะการคิดวิเคราะห ์ - ทักษะการแกป้ ัญหา - ทักษะการคดิ วจิ ารณญาณ - ทักษะการคดิ สรา้ งสรรค ์ - ทักษะการวางแผนการเรยี น - ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ อยา่ งมีคณุ ค่า ฯลฯ 3. ทกั ษะพื้นฐานทางการงานอาชีพ - ทกั ษะการแสวงหาข้อมูล - ทักษะการคดิ ต่าง ๆ - ทักษะการวางแผนชวี ิตและอาชพี - ทักษะการทำงานเป็นทมี - ทกั ษะการประเมนิ ตนด้านต่าง ๆ - ทกั ษะทางภาษา ภาพท่ี 3.4 ตวั อย่างตวั แปรทเ่ี กยี่ วขอ้ งกบั ทกั ษะชวี ติ ใน 3 ขอบข่าย การออกแบบกิจกรรมแนะแนวท่ีเนน้ การพัฒนาทกั ษะสำหรับผเู้ รียน

38 3.3 กระบวนการพัฒนาจิตลักษณะในการนำชีวิตและการพัฒนาความสามารถ ในการจัดการชีวติ กระบวนการพฒั นาทกั ษะชวี ิต กระบวนการพฒั นาจิตลักษณะ กระบวนการในการพัฒนา ในการนำชีวิต ความสามารถในการจัดการชวี ติ 1. รบั รู้เป้าหมายของการวางแผน 1. รับรู้-ประสบการณ ์ 2. วเิ คราะหท์ กั ษะยอ่ ย 2. ประเมนิ คณุ คา่ 3. เชอื่ มโยงเหตแุ ละผลของการคดิ 3. ตอ้ งการกระทำ 4. ฝกึ ทกั ษะย่อยตามลำดับ 4. ทบทวนตรวจสอบตนและวางแผน 5. ทบทวนการฝึก การพัฒนา 6. ประเมนิ ผล ภาพที่ 3.5 กระบวนการพฒั นาทกั ษะชวี ิต จากภาพท่ี 3.5 สืบเน่ืองจากการพัฒนาตัวแปรท่ีเกี่ยวข้องกับทักษะชีวิต ประกอบด้วย การพัฒนาจิตลักษณะในการนำชีวติ และความสามารถในการจัดการชวี ิตดา้ นต่าง ๆ ในการออกแบบ กิจกรรมแนะแนวจึงใช้กระบวนการพัฒนาตามแนวทาง จิตวิทยาการพัฒนาจิตลักษณะในการนำชีวิต โดย 1) จดั ใหผ้ เู้ รยี นไดร้ บั รสู้ ง่ิ เรา้ หรอื ประสบการณท์ เ่ี กยี่ วขอ้ ง 2) ประเมนิ คณุ คา่ ดว้ ยการเปรยี บเทยี บ ผลทเ่ี กดิ ขนึ้ 3) ผเู้ รยี นจะมโี อกาสเลอื กตดั สนิ ใจเมอื่ เผชญิ เหตกุ ารณ์ และ 4) มกี ารทบทวนตรวจสอบตน และวางแผนการพัฒนาตนต่อไป เน้นกระบวนการพัฒนาความสามารถในการจัดการชีวิตตามแนว จิตวิทยาการเรียนรู้ ได้แก่ 1) การรับรู้เป้าหมายของการวางแผน 2) วิเคราะห์ทักษะย่อย 3) เชื่อมโยงเหตุและผลของการฝึก 4) ส่งเสริมการฝึกทักษะย่อย ตามลำดับ 5) ทบทวนการฝึก และ 6) ประเมินผลการฝกึ การออกแบบกิจกรรมแนะแนวที่เน้นการพฒั นาทกั ษะสำหรับผูเ้ รียน

4 บทที ่  กระบวนการจัดการเรียนรูผานกิจกรรมแนะแนว 4.1 แนวคิดสำคัญในการจัดกจิ กรรมแนะแนว การจัดกิจกรรมแนะแนวกลุ่มในช้ันเรียน มีจุดประสงค์ส่งเสริมให้ผู้รับบริการได้มี ส่วนร่วม เรยี นรู้ร่วมกนั ในการพฒั นาตนครอบคลุมขอบข่าย 3 ดา้ น ทัง้ นี้เพือ่ ให้เกิดผลเชงิ พฤตกิ รรม ได้แก่ การเปล่ียนแปลงด้านเจตคติหรือจิตใจ อารมณ์ ความรู้สึก ความรู้ และความเข้าใจข้อมูล และสารสนเทศด้านต่าง ๆ รวมท้ังความสามารถในการจัดการชีวิตด้านต่าง ๆ อาศัยแนวคิดสำคัญ 2 ประการ ดงั น้ี 4.1.1 กรอบแนวคิดเกี่ยวข้องกับหลักสูตรกิจกรรมแนะแนวกลุ่มในช้ันเรียน เพื่อ ตอบสนองจุดมุ่งหมายหลักสูตรแกนกลางการศึกษาข้ันพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ซ่ึงได้กำหนด ให้กิจกรรมแนะแนวเป็นส่วนหน่ึงของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน มุ่งหมายให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตน ให้มีคณุ ลักษณะทเ่ี อ้ือตอ่ การเรียนรู้ มคี ณุ ลกั ษณะท่ดี ขี องเยาวชน มีค่านิยมของคนไทยเพอื่ ครองชีวิต อย่างมคี ุณภาพ และอยู่รว่ มกนั อยา่ งสงบสุข 4.1.2 กรอบแนวคิดทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการแนะแนวแต่ละด้าน ประกอบด้วย จิตวิทยาสังคม จิตวิทยาพัฒนาการ จิตวิทยาการเรียนรู้ และจิตวิทยาการปรึกษา การจัดกิจกรรมแนะแนวกลุ่มในช้ันเรียน เพ่ือพัฒนาทักษะชีวิต ซึ่งต้องสอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการ และลักษณะธรรมชาติของผู้เรียนตามหลักพัฒนาการ และหลักการเรียนรู้โดยเฉพาะ การพฒั นาทกั ษะชวี ติ คำว่า “ทักษะ” หมายถึง ความสามารถท่ีบุคคลไม่เคยมีมาก่อน แต่จะได้เรียนรู้ จนกระทงั่ มคี วามชำนาญในการฝกึ หดั ปฏบิ ตั กิ ารเรอื่ งตา่ ง ๆ ทจ่ี ำเปน็ ตอ่ การพฒั นาชวี ติ (แสวง ทวคี ณู และคณะ, 2546 : 27) จากข้อสรุปของกรมสุขภาพจิต (2542) เน้นว่า ทักษะชีวิตเป็นความสามารถ อนั ประกอบดว้ ย ความรู้ เจตคติ และความสามารถในการจดั การกบั ปญั หารอบ ๆ ตวั ในสงั คมปจั จบุ นั และการเตรียมความพร้อมสำหรับการปรับตัวในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเพศ สารเสพติด บทบาท ชาย-หญงิ ชวี ติ ครอบครวั สขุ ภาพจติ และจรยิ ธรรม นอกจากนนั้ ดวงเดอื น พนั ธมุ นาวนิ (2538 : 1-3) เสนอว่า สาเหตขุ องพฤตกิ รรมบุคคลดีและเก่ง ลว้ นมสี าเหตุทางจติ ใจรว่ มด้วย จากการศกึ ษาแนวคิด การออกแบบกิจกรรมแนะแนวท่ีเนน้ การพฒั นาทกั ษะสำหรบั ผูเ้ รียน


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook