Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore การช่วยเหลือดูแลด้านสุขภาพจิต

การช่วยเหลือดูแลด้านสุขภาพจิต

Published by Sukanya Tasod, 2019-07-31 00:32:17

Description: เอกสารประกอบการสอนรายวิชาการช่วยเหลือดูแลด้านสุขภาพจิต

Keywords: สุขภาพจิต

Search

Read the Text Version

มีวนิ ัย ใฝร่ ู้ สงู้ านพยาบาลดว้ ยใจ Bolander (1994, 284) ให้ความหมายว่า ความวิตกกังวล เป็นความรู้สึกห่วงใยเกี่ยวกับอนาคตมี ลกั ษณะคลมุ เครือ บอกไม่ได้ว่ากลัวอะไร รู้สึกวา่ ถกู คกุ คามต่อความสมบูรณ์ทางชีวภาพ เปน็ ความกลัวที่ไม่มี เหตุผล วันดี สุทธรังสี, ถนอมศรี อินทนนท์ และศรีสุดา วนาลีสิน (2559) กล่าวว่า ความวิตกกังวลเป็น กระบวนการทางอารมณ์ (emotional process) ท่ีแสดงออกซึง่ ความรสู้ กึ กลัวทีค่ ลุมเครอื ไมร่ วู้ ่ากลัวอะไร แต่ เกดิ ข้นึ เพ่ือตอบสนองสิ่งเร้าทีม่ ากระตนุ้ จากนยิ ามขา้ งต้น สรุปไดว้ า่ ความวิตกกังวล (anxiety) หมายถงึ สภาวะทางอารมณ์ท่บี ุคคลรู้สกึ ไมส่ ขุ สบายหรือหวาดหว่ัน วติ ก ตงึ เครียด ซึ่งเป็นความรู้สึกทเ่ี กดิ จากการรับรหู้ รือคาดการณ์ถึงอนั ตรายหรือความไม่ แนน่ อนของสิง่ ทม่ี าคกุ คามตอ่ ความจาเป็นในการดารงชีวิต ทัง้ ร่างกายและจิตใจ หรอื บางครั้งก็ไมร่ ้สู าเหตทุ ีแ่ น่ ชัด อาการของความวิตกกงั วล ลักษณะอาการของบุคคลท่ีมีความวิตกกังวล เมื่อมีความวิตกกังวลจะมีการเปลี่ยนแปลง (อรพรรณ ลอื บุญธวัชชัย, 2556, น. 274-276) ดงั น้ี 1. การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย จะมีอาการ หัวใจเต้นเร็วและถีข่ ึ้น ความดันโลหิตเพิ่มข้ึน อึดอัด แนน่ หน้าอกหายใจลาบาก เหงื่อออกบริเวณฝ่ามอื และตามตัว ปากแห้ง ตัวสั้น กระตุก มอี าการตึงบริเวณต้น คอหรือหลัง ปวดศีรษะ ปัสสาวะบ่อยหรือท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร เหน่ือยง่าย อ่อนเพลยี เวยี นศีรษะ เจ็บป่วยบ่อย บคุ ลกิ ภาพ รปู รา่ ง และการทรงตัวเปลี่ยนไป มีการเปล่ียนแปลงในรอบ เดือน (ในเพศหญิง) ผิวหนังซีด น้าตาลถูกขับออกจากตับมากข้ึน รู้สึกหวิว ๆ คล้ายจะเป็นลม มีการ เปลีย่ นแปลงของน้ายอ่ ยการเผาผลาญ 2. การเปลย่ี นแปลงทางอารมณ์ จะมีอาการ หงุดหงิดงา่ ย กระสบั กระส่าย โกรธงา่ ย รู้สึกตนเองไม่มี ค่า ไม่มีความสาคัญ เศร้าเสียใจง่าย ร้องไห้บ่อย สงสัยบ่อย จะซักถามมากข้ึน พักผ่อนได้น้อย หวาดหว่ัน แยกตวั ขาดความสนใจ ขาดความคดิ ริเรมิ่ ร้องไห้ง่าย แม้เร่ืองเพียงเลก็ น้อย เรียกรอ้ งพ่ึงพาผูอ้ ื่น ตาหนติ เิ ตยี น ผู้อื่น วิจารณ์ตัวเองและผู้อ่ืน มีแนวโน้มจะทาร้ายตนเอง ฝันร้าย ไร้อารมณ์ แยกตัว สัมพันธภาพกับผู้อ่ืน เปลี่ยนแปลงไป 3. การเปลีย่ นแปลงทางความคดิ ความจา และการรับรู้ จะมีอาการลืมง่าย ครนุ่ คิด หมกม่นุ การคิด และการใช้ภาษาผดิ พลาด การตัดสินใจไม่ดี ความคิดติดขดั ไม่ค่อยมสี มาธิ ไม่สนใจในเร่ืองราวที่ควรจะเป็น ครนุ่ คิดแต่อดตี ไมค่ ่อยรับรูต้ อ่ สงิ่ กระต้นุ ตา่ ง ๆ ไมม่ ีความคดิ ท่ีจะทาสง่ิ ใด ๆ ขาดผลผลติ ความสนใจลดลง การ พดู ติดขดั เปลีย่ นเร่อื งพดู บ่อยหรอื ไม่พดู เลย การรบั รูผ้ ิดพลาด มคี วามคดิ และการกระทาซ้า ๆ โดยไม่สามารถ ห้ามได้ รหัสรายวิชา 55111 : ช่ือวชิ า การช่วยเหลอื ดแู ลดา้ นสุขภาพจิต หนา้ 46

มวี นิ ัย ใฝร่ ู้ สู้งานพยาบาลดว้ ยใจ ระดบั ของความวิตกกงั วล ควา ม วิ ต ก กั ง วล แ บ่ ง เ ป็ น 4 ร ะ ดั บ ( Basavanthappa, 2011; Varcarolis & Halter, 2010; Videbeck, 2011; วันดี สทุ ธรังสี, ถนอมศรี อินทนนท์ และศรีสดุ า วนาลสี ิน, 2559, น. 146) ดังน้ี 1. ระดบั นอ้ ย (mild anxiety) เปน็ ความวติ กกงั วลทีพ่ บในชวี ติ ประจาวนั บคุ คล มคี วามกระตอื รือร้น มกี ารรับรดู้ ี มีความสามารถในการคิดและแกไ้ ขปญั หาดี ความวติ กกงั วลระดบั น้ชี ว่ ยใหบ้ ุคคลเกดิ แรงจงู ใจทีจ่ ะ เปล่ียนแปลงหรือทากิจกรรมทม่ี ุ่งเน้นเปา้ หมายได้ดี อาการแสดงท่ีพบ เช่น กระสับกระส่าย กระวนกระวาย หงดุ หงิด (วันดี สทุ ธรังสี, ถนอมศรี อินทนนท์ และศรีสดุ า วนาลีสิน, 2559, น. 146) บุคคลจะตื่นตวั มคี วามไว ต่อความรู้สึก การรับรู้ ความจา และสมาธิดี มีความสามารถในการใช้สายตา อธิบายสิ่งที่เกิดข้ึนรอบตวั ได้ดี (ฉววี รรณ สัตยธรรม แผ จนั ทรส์ ขุ และศกุ รใ์ จ เจริญสุข, 2556, น. 141) 2. ระดับปานกลาง (moderate anxiety) ความวิตกกังวลระดับนี้ เป็นความรู้สึกท่ีถูกรบกวน เนื่องจากบางส่ิงบางอย่างไม่เป็นไปอย่างที่คิด บุคคลมีความตื่นตัวมากข้ึน การรับรู้เริ่มแคบลง โดยยังเข้าใจ สถานการณ์ดี แต่เลือกรับรูเ้ ฉพาะสิ่งท่ีสนใจ (selective inattention) สามารถเรยี นรู้ส่ิงใหมแ่ ละแก้ปัญหาได้ แต่อาจไมเ่ ตม็ ความสามารถ ต้องอาศัยการช่วยเหลอื ประคบั ประคองจากแหลง่ สนับสนนุ บ้าง อาการแสดงท่พี บ เช่น เหง่ือออกมาก ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ ปวดตึงกล้ามเนื้อ หายใจเร็ว ปัสสาวะบ่อย ทางเดินอาหาร แปรปรวน (วันดี สุทธรังสี, ถนอมศรี อินทนนท์ และศรีสุดา วนาลีสิน, 2559, น. 146) พลังงานท่ีเกิดข้ึนมี มากกวา่ ความวิตกกังวลระดับน้อย ทาให้บคุ คลใชพ้ ลงั งานส่วนน้ี ในลักษณะตา่ ง ๆ เช่น อยู่ไมน่ ิ่ง ลุกล้ีลุกลน (ฉววี รรณ สตั ยธรรม แผ จันทร์สขุ และศกุ ร์ใจ เจรญิ สขุ , 2556, น. 141) 3. ระดับรุนแรง (severe anxiety) การรับรู้ทุกเร่ืองแคบลงอย่างมาก จนทาให้บุคคลสนใจเฉพาะ รายละเอยี ดหรือเลอื กสนใจเฉพาะบางเรื่อง จึงไม่สามารถจบั ประเด็นหรอื เช่อื มโยงรายละเอยี ดเหตกุ ารณ์ได้ ไม่ สามารถทางานตามเป้าหมายได้ ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ เพราะความสามารถในการคิดและใช้เหตุผลลดลง อยา่ งมาก บุคคลพยายามทจ่ี ะทาใหค้ วามวิตกกังวลน้ันลดลง จงึ มีพฤตกิ รรมปกปอ้ งตวั เองมากขึน้ อาการแสดง ที่พบ เช่น สับสน ปวดศีรษะ รุนแรง เวียนศีรษะ คล่ืนไส้ อาเจียน นอนไม่หลับ หายใจต้ืนและเร็ว (hyperventilation) ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว เจ็บหน้าอก ความดันโลหิตสูงข้ึน ผู้ท่ีมีความวิตกกังวลระดับน้ี ส่วนมากตอ้ งการความชว่ ยเหลือ แตเ่ จ้าตัวจะไม่รสู้ กึ วา่ ต้องการความช่วยเหลอื (วันดี สุทธรงั สี, ถนอมศรี อิน ทนนท์ และศรีสุดา วนาลีสิน, 2559, น. 146) พลังงานมีมากข้ึน กระสับกระส่ายมากข้ึน ลุกลี้ลุกลนมากข้ึน การรับรไู้ ปสมั พันธก์ ับสภาพแวดลอ้ ม (ฉวีวรรณ สัตยธรรม แผ จนั ทร์สุข และศกุ ร์ใจ เจรญิ สขุ , 2556, น. 141) 4. ระดับรนุ แรงสูงสุด (panic anxiety) เป็นความวิตกกังวลในภาวะต่ืนตระหนกและหวาดกลัวสุด ขีด บคุ คลไมส่ ามารถควบคุมหรือช่วยเหลือตนเองได้ การรับรู้บิดเบอื น (อาจมอี าการหลงผิด ประสาทหลอนได้ ชั่วขณะ) ไมส่ ามารถคิดอย่างมเี หตุผล และไม่สามารถแกป้ ญั หาได้ อาการแสดงที่พบ เชน่ ตนื่ กลวั สือ่ สารไม่รู้ เร่ือง ตวั สั่น แยกตวั รนุ แรง ไม่อยู่ในโลกความเปน็ จริง ก้าวร้าวรุนแรง หมดสติ สัญญาณชพี เพ่ิมข้นึ บางคนอาจ รหัสรายวิชา 55111 : ชื่อวิชา การช่วยเหลือดแู ลด้านสุขภาพจติ หน้า 47

มีวนิ ยั ใฝร่ ู้ ส้งู านพยาบาลดว้ ยใจ แสดงออกในลกั ษณะของการสู้ หนี หรอื ตัวแข็งนงิ่ ดว้ ยความกลัว (fight or flight or freeze) (วนั ดี สทุ ธรังสี, ถนอมศรี อินทนนท์ และศรสี ุดา วนาลีสนิ , 2559, น. 146) เปน็ ความวิตกกงั วลข้ึนรุนแรงที่สุด บคุ คลตกอย่ใู น ภาวะต่ืนตระหนกกลัวสดุ ขีด การส่อื สารเสยี ไป ไม่สามารถควบคุมตนเอง (ฉวีวรรณ สตั ยธรรม แผ จันทร์สุข และศุกรใ์ จ เจรญิ สขุ , 2556, น. 141) ตารางที่ 2 แสดงระดบั ความวติ กกงั วลและลกั ษณะการแสดงออก ระดับความวิตกกังวลและลักษณะการแสดงออก mild moderate severe panic สนามการรบั รู้ (perception field) - มีการรับรู้ทีส่ งู กวา้ งดี - การรับรู้แคบลงการ - การรับรูแ้ คบมาก - ไม่สามารถรบั รู้ - ตื่ น ตั ว พ ร้ อ ม ที่ จ ะ เข้าใจส่ิงต่าง ๆ ลดลง - รบั รู้เฉพาะรายละเอียด สง่ิ แวดล้อม มองเหน็ ไดย้ ินและเข้าใจ - สามารถรับรู้ส่ิงต่าง ๆ ปลีกยอ่ ยบางอยา่ ง - เป็นภาวะของความ (grasp) สิ่งที่เกิดขึ้นของ อย่างเฉพ าะเจาะจ ง - ความ ส นใจก ระ จัด ทุกข์ทรมาน อาจเงียบ ส่งิ แวดล้อมรอบตวั (เลอื ก) รับรู้ กระจาย นั่งนิ่งหรือหนี “cease to exict” เกิดภาวะตื่น - สามารถแยกแยะหรือ - หมกม่นุ เรอื่ งตนเอง ตระหนก อาจมปี ระสาท ระบุส่ิงต่าง ๆ ท่ีรบกวน หลอนหลงผดิ และทาให้เกิดวิตกกังวล - อาจจะไม่สามารถฟัง ได้ หรื อรั บ รู้สิ่ งแ วดล้ อ ม ถงึ แม้จะมกี ารอธบิ ายเปน็ การเตือนท่ีจะสู่ระยะตื่น ตระหนก ความสามารถทจี่ ะเรยี นรู้ (Ability to learn) - สามารถทางานได้อย่าง - สามารถแก้ปัญหาแต่ - ไม่สามารถเชื่อมโยง - อาจพลุ่งพล่านนามาสู่ มีประสิทธิภาพ บรรลุ อาจไมเ่ ต็มความสามารถ เหตุการณ์ในรายละเอียด อาการหมดแรง เป้าหมายทว่ี างไว้ได้ ได้ รหสั รายวิชา 55111 : ชือ่ วิชา การช่วยเหลอื ดแู ลด้านสุขภาพจิต หน้า 48

มีวินัย ใฝ่รู้ สงู้ านพยาบาลดว้ ยใจ - อาจต้องการคาช้ีแนะ - สญู เสยี การรับรู้ - ขาดเหตผุ ล จากบคุ คลอน่ื ท้ัง 2 ระดบั น้ีสามารถท่จี ะตื่นตวั รับรู้ว่าอะไรควรไม่ ในระดับรุนแรงและแพนิค ยังไม่ควรให้แก้ปัญหา ควร ควรหาทางลดระดับความกงั วลลงก่อน การแสดงออกทางรา่ งกายและลักษณะอื่น ๆ (physical or other characteristics) - ไม่สขุ สบายเล็กนอ้ ย - เสยี งสนั้ , เสยี งเปลีย่ น - รู้สึกหวาดกลัว - ทกุ ขท์ รมาน - ตง้ั ใจฟัง - สมาธเิ ริ่มสน่ั คลอน - ไม่สามารถทางานได้ - เคลื่อนไหวเร็วมาก วิ่ง - กระสับกระสา่ ย - ถามคาถามซา้ ๆ - รูส้ ึกสับสน หนี - หงุดหงิดหรือขาดความ - มีอาการทางกาย เช่น - ไม่สามารถทางานตาม - รมู า่ นตาขยาย อดทนอาจมีการเตะ หัก ถา่ ยปสั สาวะบ่อย เป้าหมายได้ - ไ ม่ ส า ม า ร ถ ข้อมือ ข้อเท้า เลียริม ติดต่อสื่อสารได้ พูดไม่รู้ ฝีปาก รีบร้อน ปวดศีรษะ ปวด - รู้สึกถึงความหายนะ เรอื่ ง หลัง นอนไม่หลบั คกุ คาม - กระวนกระวายใจ - ตัวส่ันมาก - การหายใจเร็วข้ึน ชีพ - การเคลื่อนไหวของ จรเร็วข้ึน กล้ามเน้ือตึง รา่ งกายมากขึ้น เช่น ง่วง - นอนไม่หลับ ตัว เหงา หาว นอน คล่ืนไส้ ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ - แยกตวั เองรนุ แรง - ตึงเครียด, เดินไป-มา - มี อ า ก า ร - มีภาพหลอนหรือหลง อาจมีการตบโตะ๊ hyperventilation ผดิ - หวั ใจเต้นเรว็ - ไม่อยู่ในโลกของความ - พูดเสียงดงั และรวั เร็ว เปน็ จริง - คุกคามและต้องการ เร่งด่วน ( threats and demands) รหัสรายวชิ า 55111 : ช่อื วิชา การช่วยเหลือดแู ลด้านสุขภาพจติ หนา้ 49

มวี นิ ยั ใฝ่รู้ สงู้ านพยาบาลดว้ ยใจ ปัจจยั การเกิดความวติ กกังวล กลุ่มอาการวิตกกังวลเป็นความผิดปกติทางสุขภาพจิตที่พบบ่อยของการปฏิบัติงานในคลินิก อาจ เนอื่ งมาจากกลุ่มอาการน้ี ไม่มปี ัจจยั การเกดิ ความวิตกกังวลท่ีแน่นอน แนวคิดที่ใช้อธบิ ายปัจจัยการเกิดความ วติ กกังวลมีทั้งแนวคิดจิตวิเคราะห์พฤติกรรม ปัญญานิยม พันธกุ รรม และแนวคิดด้านการแพทย์ ซึ่งสามารถ อธิบายถงึ ปัจจยั การเกดิ ความวิตกกังวล (ฉวีวรรณ สัตยธรรม แผ จนั ทรส์ ขุ และศุกร์ใจ เจรญิ สุข, 2556, น. 82- 83; วาทินี สุขมาก, 2556, น. 114-116) ดงั นี้ 1. ปจั จยั ด้านชวี วทิ ยา 1.1 พันธุกรรม เป็นปัจจัยเสียง (predisposing factors) ของกลุ่มอาการวิตกกังวล โดยเฉพาะบุคคลท่ีมีพ่อแม่มีอาการวิตกกังวลจะมีโอกาสสูงมากกว่าบุคคลท่ีไม่มีญาติมีอาการกลุ่มน้ี (วาทินี สุขมาก, 2556, น. 114) จากการศึกษาพบว่าฝาแฝดที่เกิดจากไข่ใบเดียวกัน ถ้าคนหนึ่งป่วยเป็นโรค Panic disorder ฝาแฝดอีกคนจะมีโอกาสป่วยด้วยโรคนี้ ร้อยละ 30 และในญาติที่ใกล้ชิดมีโอกาสเกิดโรค Panic disorder ไดร้ อ้ ยละ 10-20 (ฉววี รรณ สตั ยธรรม แผ จันทรส์ ขุ และศุกร์ใจ เจรญิ สขุ , 2556, น. 82) 1.2 กายวิภาคของระบบประสาท มีการศึกษาพบว่า การทางานท่ีมากข้ึนของสมองส่วน temporal cerebral cortex, locus ceruleus ผปู้ ว่ ย panic disorder มีความผดิ ปกตขิ อง temporal lobes โดยเฉพาะ hippocampus และความผิดปกติของ thalamus และ hypothalamus ทาให้เกิด anxiety ได้ (ฉววี รรณ สัตยธรรม แผ จนั ทรส์ ุข และศกุ รใ์ จ เจรญิ สขุ , 2556, น. 82) 1.3 สารส่ือประสาท สารสื่อประสาทไมส่ มดุล จากการศกึ ษาการทางานและภาพถ่ายของ สมองพบว่า สารส่ือประสาทหลายตวั สัมพันธก์ ับความวติ กกังวล (วาทินี สุขมาก, 2556, น. 114) จากการศกึ ษา พบว่าสารส่อื ประสาทหลายชนิด ได้แก่ การเพ่ิมการหลั่งของ Catecholamine การเพม่ิ ขน้ึ ของ Serotonin, Dopamine, Norepinephrine และ Gamma-aminobutyric (GABA) (ฉวีวรรณ สัตยธรรม แผ จันทร์สุข และศกุ รใ์ จ เจรญิ สขุ , 2556, น. 82) 1.4 สารชวี เคมี บุคคลทม่ี คี วามผดิ ปกติของ thyroid hormone ทาใหเ้ กิด anxiety ได้ การ มbี lood lactate สูงทาใหม้ อี าการ Panic Disorder (ฉวีวรรณ สตั ยธรรม แผ จันทรส์ ขุ และศุกรใ์ จ เจรญิ สขุ , 2556, น. 82) รหสั รายวิชา 55111 : ชื่อวิชา การช่วยเหลอื ดแู ลด้านสขุ ภาพจิต หนา้ 50

มวี นิ ยั ใฝร่ ู้ สู้งานพยาบาลดว้ ยใจ 1.5 ภาวการณ์เจ็บปว่ ยทางกาย เชน่ โรคกลา้ มเนอ้ื หัวใจตายเฉียบพลัน น้าตาลในเลอื ดต่า caffeine intoxication, substance intoxication ทาให้เกิด panic disorder และ generalized anxiety disorder (ฉวีวรรณ สัตยธรรม แผ จันทร์สุข และศกุ รใ์ จ เจริญสุข, 2556, น. 82) 2. ปัจจัยด้านจิตวทิ ยา ความวิตกกงั วลเป็นผลมาจากภาวะเครยี ดท้งั ภายในและภายนอก จานวนมากเกินกว่าบคุ คล จะสามารถเผชิญกับมันได้ หรือในภาวะท่ีบุคคลมีความสามารถในการเผชิญปัญหาลดลงจากสาเหตุบาง ประการ แนวคิดตา่ ง ๆ ที่ใช้อธิบายการเกดิ อาการวติ กกงั วลผิดปกติ (วาทนิ ี สขุ มาก, 2556, น. 115-116) เชน่ 2.1 แนวคิดจติ วเิ คราะห์ เมอื่ กระบวนการภายในจิตใจเกิดความคับขอ้ งใจจากสัญชาติญาณ หรอื แรงขบั ทาให้เกิดความเจ็บปวดใจ (วาทินี สขุ มาก, 2556, น. 115-116) ความวติ กกังวลเกิดจากมีแรงขบั ท่ี เก็บไว้ในจิตไรส้ านึก (sex drive, aggressive drive) พยายามใช้กลไกทางจิต (defense mechanism) เพ่ือ ขจดั ความวิตกกงั วลท่ีเกดิ ข้ึน กลไกทางจิตแรกที่บุคคลใช้ คอื repression เมื่อไมไ่ ด้ผล ขบวนการทางจิตใจจะ หาทางขจัดโดยใช้กลไกทางจิตอ่ืน ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ผู้ป่วย phobia จะใช้กลไกทางจิตแบบการย้ายที่ (displacement) กลัวความมืดแล้วย้ายมากลัววัตถสุ ีดาแทน ในผู้ท่ีไม่สามารถใช้กลไกทางจิตขจดั ได้ก็แสดง อาการในรูปของ panic attack แทน (ฉววี รรณ สตั ยธรรม แผ จันทร์สุข และศุกร์ใจ เจรญิ สขุ , 2556, น. 82) 2.2 แนวคิดพฤติกรรมนิยม ความวิตกกังวลเป็นการเรียนรู้การปรับตัวท่ีไม่เหมาะสมต่อ ประสบการณ์และสถานการณ์ในอดตี และถกู นามาใชก้ ับสถานการณท์ ีค่ ล้าย ๆ กันในอนาคต (วาทินี สุขมาก, 2556, น. 115) 2.3 แนวคิดด้านจิตวิญญาณ เม่ือบุคคลมีประสบการณ์ที่ว่างเปล่าในชีวิต มักนาไปสู่ความ เจบ็ ปวดและอาจทาให้บุคคลคดิ ถึงความตาย (วาทนิ ี สุขมาก, 2556, น. 116) 2.4 แนวคดิ ทฤษฎีการเรียนรู้ กลา่ วว่าถึงลกั ษณะความวติ กกงั วลไว้ (ฉวีวรรณ สัตยธรรม แผ จันทร์สขุ และศุกร์ใจ เจรญิ สขุ , 2556, น. 82) ดงั นี้ 2.4.1 ความวิตกกังวลเกดิ จากท่ีบคุ คลถูกวางเง่ือนไข วา่ เมอ่ื ประสบกับปญั หาแล้ว ใช้วิธใี ดท่ีสามารถลดความวิตกกังวลได้ บุคคลกม็ ีแนวโน้มจะใช้วิธีการเดิม เช่น ยา้ คิดเกิดจาดดารที่ผู้ปว่ ยถูก วางเง่ือนไขว่า เมอ่ื พบส่งิ กระต้นุ แล้วทาให้เกดิ การย้าคิด สว่ นการยา้ ทาเกิดข้ึนเน่อื งจากผู้ปว่ ยเรยี นรู้ว่า การย้า ทาของเข้าทาให้ความวิตกกงั วลทเี่ กดิ จากการย้าคิดลดลง ความวิตกกงั วลที่ลดลงเปน็ แรงเสรมิ ใหเ้ กดิ การย้าทา ตอ่ ไป รหัสรายวิชา 55111 : ชอื่ วชิ า การชว่ ยเหลือดูแลดา้ นสขุ ภาพจิต หน้า 51

มีวนิ ัย ใฝ่รู้ สู้งานพยาบาลดว้ ยใจ 2.4.2 ความวิตกกังวลเกิดจากการเลียนแบบ พ่อแม่ท่มี ีอาการเหมอื นผู้ป่วย เช่น มารดาแสดงพฤตกิ รรมกลวั แมงมมุ ให้ลกู เหน็ บ่อย ๆ ลูกก็จะกลัวแมงมุมเหมอื นมารดาได้ เปน็ ต้น 3. ปัจจยั ด้านสังคม ประสบการณ์ในชีวิต เช่น ความตายของบุคคลในครอบครัว การหย่าร้าง ภาวะตกงาน อุบัติเหตุ หรือการเจ็บป่วยที่รุนแรง ส่งผลต่อทัศนคติและการตอบสนองต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ในชีวิต ประสบการณ์บางอยา่ งทเ่ี กิดข้ึนเป็นระยะเวลานาน เชน่ ความยากจน ความรนุ แรง เปน็ ความเสี่ยงท่ีจะทาให้ บคุ คลเกดิ อาการวติ กกังวลท่ีผดิ ปกตไิ ด้ (วาทนิ ี สุขมาก, 2556, น. 115-116) การช่วยเหลือดูแลผูท้ ีม่ ีความวติ กกงั วล การช่วยเหลือดูแลผู้ท่ีมีความวติ กกังวล แบ่งการดูแลช่วยเหลือตามระดับของความวิตกกงั วล ได้แก่ การช่วยเหลือบุคคลที่มีอาการวิตกกังวลระดบั เล็กน้อยถึงปานกลาง และการช่วยเหลือบุคคลท่มี ีอาการวิตก กังวลระดับปานกลางถึงรุนแรง (ฉวีวรรณ สัตยธรรม แผ จันทรส์ ุข และศุกร์ใจ เจริญสุข, 2556, น. 82) โดยมี รายละเอยี ดตามตารางท่ี 2 ตารางที่ 3 แสดงการช่วยเหลอื บุคคลทมี่ อี าการวติ กกงั วลระดบั เล็กนอ้ ยถงึ ปานกลาง การดแู ลช่วยเหลือ หลกั การเหตุผล 1. ช่วยให้ผปู้ ว่ ยค้นหาสาเหตขุ องความวิตกกังวล 1. เป็นสิ่งสาคัญท่ีจะต้องตรวจสอบความรู้สึก อาจใช้คาถาม “คณุ เป็นอยา่ งไรบ้างขณะนี้?” ของผู้ป่วย โดยการสังเกตชนิดและระดับของผู้ป่วย โดยการสังเกต ชนิด และระดับของความวิตกวังกล เพ่อื จะไดห้ าวธิ ีการลดระดบั ของความวิตกกังวลลง 2. การสอ่ื สารโดยการไมใ่ ช้คาพดู ดว้ ยทา่ ทีที่สงบ 2. ใช้ภาษากายในการแสดงความใส่ใจ เช่น โน้ม ตวั เขา้ หา มองสบตา และการพยกั หนา้ 3. ช่วยให้ผปู้ ่วยคน้ หาสาเหตุของความวติ กกังวล 3. เพ่อื การแยกแยะปัญหาท่ีกอ่ ใหเ้ กดิ ความวติ ก อาจใช้คาถาม “คุณเป็นอยา่ งไรบา้ งขณะนี้?” กังวล รหสั รายวชิ า 55111 : ชื่อวิชา การช่วยเหลือดูแลดา้ นสขุ ภาพจติ หน้า 52

มีวนิ ัย ใฝ่รู้ สงู้ านพยาบาลดว้ ยใจ การดูแลชว่ ยเหลอื หลกั การเหตผุ ล 4. เตรียมกระตุ้นให้ผู้ป่วยพูดถึงเหตุการณ์ที่ 4. ความวิตกกังวลที่เพิ่มข้ึน ทาให้ความคิดแตก ประสบมา กระจาย การใช้เทคนิคทาใหก้ ระจ่างชดั (clarifying) จ ะ ช่ ว ย ใ ห้ ผู้ ป่ ว ย ส า ม า ร ถ บ อ ก ถึ ง ค ว า ม คิ ด แ ล ะ ความรูส้ ึกได้ 5. เมื่อผปู้ ่วยได้พดู ระบายความรูส้ ึก 5. เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้ระบายความรู้สึกต่อ ออกมา ปัญหาได้ถูกอภิปราย ความรู้สึกแยกตัวจะ เหตุการณท์ ี่กอ่ ให้เกิดความวิตกกังวล ลดลง 6. การช่วยให้ผู้ป่วยระบุความคดิ และความรู้สึก 6. การที่ผปู้ ว่ ยสามารถระบุความคดิ และ ก่อนจะเกิดความวติ กกงั วล โดยใช้คาถาม “อะไรคือ ความรูส้ กึ ไดจ้ ะช่วยเอ้ืออานวยความสะดวกในการ ส่ิงทีค่ ุณเปน็ อยกู่ อ่ นท่ีคุณรสู้ ึกวติ กกงั วล/ หวาดหวน่ั / แกไ้ ขปัญหาได้ กลวั / ไมส่ บายใจ?” 7. กระต้นุ ให้ผปู้ ่วยร่วมแกไ้ ขปัญหาของตนเอง 7. การกระตุ้นให้ผู้ป่วยสารวจทางเลือกในการ แก้ปัญหาเป็นการเพ่ิมการควบคมุ ความรสู้ ึกของตน และชว่ ยให้ความวิตกกังวลลดลง 8. ช่วยพัฒนาการค้นหาทางเลือกในการ 8. เพ่ือให้ผู้ป่วยได้ทดลองแก้ปัญหาด้วยวิธีท่ี แก้ปัญหาโดยการใช้บทบาทสมมติหรือการปรับ ตนเองเลอื กเอง พฤติกรรมโดยใช้ตวั แบบ (modeling behaviours) 9. ใหผ้ ู้ป่วยสารวจพฤติกรรมทชี่ ่วยลดความวิตก 9. การกระตุ้นให้ผู้ป่วยพดู ถงึ ความสาเรจ็ ในการ กังวลในอดตี ท่เี คยทามา เผชญิ ปัญหาในอดตี จะช่วยใหผ้ ู้ปว่ ยรูส้ ึกมีคุณค่าและ เพมิ่ ความเข้มแขง็ มากข้นึ 10. เปดิ โอกาสใหผ้ ูป้ ่วยไดท้ างานเพื่อใช้พลงั งาน 10. กจิ กรรมทางร่างกายสามารถลดความกดดัน บา้ งเช่นการเดินการเล่นปิงปองการเต้นราหรอื ออก เพิ่มความตึงตัวของกล้ามเนื้อและเพ่ิมระดับอินโดร กาลงั ต่าง ๆ ฟนิ รหสั รายวิชา 55111 : ชื่อวชิ า การช่วยเหลอื ดแู ลด้านสุขภาพจิต หนา้ 53

มีวนิ ัย ใฝร่ ู้ ส้งู านพยาบาลดว้ ยใจ ตารางที่ 4 แสดงการช่วยเหลือบุคคลที่มีอาการวติ กกงั วลระดับปานกลางถงึ รุนแรง การดแู ลชว่ ยเหลือ หลักการเหตผุ ล 1. การเขา้ หาดว้ ยทา่ ทที ี่สงบ 1. ความวิตกกังวลสามารถส่ือสารกันได้โดย สมั พนั ธภาพระหว่างบคุ คล ท่าที่ทส่ี งบของพยาบาล จะช่วยให้ผู้ป่วยสงบลงได้ การแสดงออกถึงความ วิตกกังวลของพยาบาลจะทาให้ผู้ป่วยมีความวิตก กังวลเพมิ่ ข้ึนได้ 2. เฝ้าดูแลอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มี 2. การปล่อยให้ผปู้ ่วยที่มีอาการหวาดหว่ันหรือ อาการแพนคิ ต่ืนตระหนกอยู่คนเดียว จะทาให้บุคคลคิดว่าถูก ทอดทิ้ง การดูแลอย่างใกล้ชิดไม่เพียงทาให้ผู้ป่วย สามารถอยู่ในโลกของความเป็นจริงแล้ว ยังช่วยให้ ผู้ปว่ ยลดอาการสับสนลงได้ 3. การลดสิง่ กระตุ้นลงให้น้อยที่สุด เป็นการลด ความวติ กกงั วลทีอ่ าจเกิดขึน้ ต่อไป 3. ลดสิ่งกระตุ้นให้น้อยลงที่สดุ จดั บรรยากาศให้ 4. บุคคลที่อยู่ในภาวะต่ืนตระหนก สมาธิจะสั้น เงยี บสงบและอยูก่ ับผปู้ ว่ ย หรอื อาจไมม่ ีสมาธใิ นการรบั รูข้ อ้ มูลขา่ วสาร 4. ใชค้ าพูดที่ชัดเจน ปกตธิ รรมดาและพดู ซา้ 5. การใช้เสียงสูง จะเป็นการเพ่ิมระดับความ วติ กกังวล เสียงต่าจะชว่ ยลดระดบั วติ กกังวลลง 5. ใชเ้ สยี งตา่ เวลาพูดและควรพูดชา้ ๆ 6. ความวิตกกังวลสามารถลดระดับลงได้ โดย การพูดเฉพาะเร่ืองและตรวจสอบความเข้าใจวา่ เกิด อะไรข้ึนรอบ ๆ ตวั เองในขณะนน้ั 6. เสริมแรงให้ผปู้ ่วยอยูใ่ นโลกของความเป็นจริง ถ้าผูป้ ว่ ยไม่อยใู่ นโลกของความเปน็ จริง เช่น มีอาการ ประสาทหลอน โดยการบอกความจริง (present 7. ในผู้ป่วยมีความวิตกกังวลในระดับรุนแรงถึง reality) ระดับตนื่ ตระหนก เรื่องท่ีพดู ออกมาอาจเป็นตัวบง่ ชี้ 7. ฟังอย่างใสใ่ จในการติดต่อส่ือสารกบั ผูป้ ่วย ถึงความคดิ และความรู้สึกของเขา รหสั รายวชิ า 55111 : ชือ่ วิชา การช่วยเหลอื ดูแลด้านสุขภาพจติ หนา้ 54

มวี ินัย ใฝร่ ู้ สู้งานพยาบาลดว้ ยใจ การดูแลชว่ ยเหลอื หลกั การเหตุผล 8. ใส่ใจเร่ืองความปลอดภัยด้านร่างกายตาม 8. บุคคลท่ีมีความวิตกกังวลอยู่ในระดับสูง ความจาเป็น เช่น กรณีมีอาการประสาทหลอน กรณี (severe and panic) ทาให้การรู้จักตนเองลดลง เจ็บปวด อาหาร-น้า การขับถ่าย ความอบอุ่น และ หรอื คลุมเครือ ไมส่ ามารถบอกถึงความตอ้ งการด้าน การติดตอ่ กับครอบครัว ร่างกายของตนได้ บคุ คลทไ่ี ม่สามารถควบคุมตนเอง ได้ 9. เน้นเรื่องความปลอดภัยในทุก ๆ ด้านเป็น 9. บุคคลที่ไมส่ ามารถควบคมุ ตนเองได้ อาจทาให้ เป้าหมายหลกั ควรจากดั ขอบเขต/ ด้านรา่ งกาย ดว้ ย น่ากลัว ทีมผู้ให้การช่วยเหลือดูแลต้องจัดให้มีการ การพูดท่ีมั่นคง พลังเสยี งทีท่ รงอานาจ “คณุ ไม่มีสทิ ธิ ปอ้ งกัน มใิ ห้ผู้ปว่ ยทารา้ ยตนเองและผ้อู ืน่ เตะใครในที่นี้ ถา้ คุณไม่สามารถควบคมุ ตนเองได้ เรา จะชว่ ยเหลอื คณุ ” 10. เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้ออกกาลังกายตาม 10. กจิ กรรมการออกกาลังกาย เป็นช่องทางหนึ่งท่ี ความเหมาะสม เช่น เดินกับพยาบาล เตะกระสอบ จะระบายความกดดนั และชว่ ยให้ความวิตกกังวลลด ทราย เลน่ ปิงปอง ระดบั ลงได้ชั่วคราว 11 . ใน กร ณีท่ี ผู้ป่ วยเ ดิน กลั บไปก ลับ ม า 11. เพื่อเป็นการป้องกันภาวะขาดน้าและอ่อน ตลอดเวลาควรให้นา้ ท่มี แี คลอรีสงู ด่มื แรง 12. ประเมินความต้องการยาหรือห้องแยก 12. ภาวะอ่อนแรง การทาร้ายตนและผู้อ่ืน หลงั จากให้การชว่ ยเหลือวธิ ตี ่าง ๆ แล้วล้มเหลว จาเป็นอยา่ งมากทีต่ ้องปอ้ งกันไวก้ ่อน รหัสรายวชิ า 55111 : ชอ่ื วิชา การช่วยเหลือดูแลด้านสุขภาพจิต หน้า 55

มวี นิ ัย ใฝ่รู้ สงู้ านพยาบาลดว้ ยใจ สรุป ความวติ กกังวลเป็นอารมณพ์ ื้นฐานของมนุษย์ สาเหตุเน่ืองจากรู้สึกว่ามีบางสิ่งมาคุกคาม ทาให้เกิด ความไม่สบาย ไมเ่ ป็นสุข และมผี ลตอ่ การรับรขู้ องบุคคล ทาให้การรับรู้ด้อยลงไป ซึ่งมีผู้ทีใ่ ห้ความหมายของ ความวิตกกังวลไว้หลากหลาย เม่ือความวิตกกังวลเกิดขึ้นจะแสดงออกถึงอาการของความวิตกกังวลและแบ่ง อาการตามระดบั ของความวิตกกังวล ซงึ่ ปัจจยั การเกิดความวิตกกังวล ได้แก่ ปัจจัยด้านชีววิทยา ปัจจัยด้าน จิตวิทยา และปัจจัยด้านสังคม ดังนั้นจึงมีแนวทางในการช่วยเหลือดูแลผู้ท่ีมีความวิตกกังวลให้สามารถ ดารงชวี ติ ได้อย่างปกติสุข รหัสรายวิชา 55111 : ชือ่ วิชา การช่วยเหลือดูแลดา้ นสุขภาพจิต หน้า 56

มวี ินัย ใฝร่ ู้ สงู้ านพยาบาลดว้ ยใจ บรรณานกุ รม ฉวีวรรณ สัตยธรรม แผ จันทร์สขุ และศกุ รใ์ จ เจรญิ สขุ . (2556). การพยาบาลจติ เวชและสุขภาพจิต (ฉบบั ปรบั ปรุง) เล่ม 1. นนทบุรี: ธนาเพส. วันดี สทุ ธรังสี, ถนอมศรี อินทนนท์ และศรสี ดุ า วนาลสี ิน. (2559). การพยาบาลสขุ ภาพจติ และจติ เวช. สงขลา: นีโอพ้อย. วาทินี สขุ มาก. (2556). การพยาบาลสขุ ภาพจิตและจิตเวช 1. มหาสารคาม: สานกั พมิ พ์ มหาวิทยาลยั มหาสารคาม. อรพรรณ ลือบญุ ธวชั ชัย. (2556). การพยาบาลสขุ ภาพจติ และจติ เวช (พมิ พ์ครง้ั ท่ี 5). กรงุ เทพฯ: วีพริ้นท์. Basavanthappa, B. T. (2011). Essentials mental health nursing. New Delhi: Japeee Brothers Medical. Varcarolis, E. M., & Halter, M. J. (2010). Foundation of psychiatric mental health nursing: A Clinical approach (6tg ed.). St. Louis, MO: Saunders Elsevier. Videbeck, S. L. (2011). Psychiatric-mental health nursing (5th ed.). Philadelphia, PA: Lippincott Williams & Wilkins. Kaplan, H. I., & Sadock, B. J. (1996). Pocket handbook of clinical psychiatry (2ed ed.). Baltimore: Williams and Wilkins. Spielberger, C.D. (2004). Encyclopedia of applied psychology. Oxford UK: Elsevier academic press. Struart, G. W., & Sundeen, S. J. (1995). Principle and practice of psychiatric nursing (5th ed.). ST Louis: Mosby. Travis, T. (1998). Psychiatry solving patient problem. Madison: Fence creek publishing. รหสั รายวิชา 55111 : ช่ือวชิ า การช่วยเหลือดแู ลดา้ นสุขภาพจติ หนา้ 57

มวี ินัย ใฝ่รู้ สงู้ านพยาบาลดว้ ยใจ คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยเชยี งราย รหสั รายวชิ า 55111: ช่อื วิชา การชว่ ยเหลอื ดแู ลดา้ นสุขภาพจิต ภาคการศกึ ษาที่ 1 ปีการศกึ ษา 2562 หัวขอ้ ที่ 3 การชว่ ยเหลอื ดแู ลผู้ท่มี ภี าวะสขุ ภาพจิตเบี่ยงเบน: ภาวะซมึ เศรา้ อาจารยผ์ ูส้ อน อ. สาวิตรี จีระยา วัตถปุ ระสงค์การเรยี นรู้ เม่อื ส้นิ สุดการเรียนการสอนแลว้ นกั ศึกษาสามารถ 1. บอกความหมายของภาวะซมึ เศร้าไดถ้ กู ต้อง 2. บอกอาการและอาการแสดงของภาวะซึมเศรา้ ไดถ้ ูกตอ้ ง 3. อธบิ ายปจั จยั การเกดิ ภาวะซึมเศร้าได้ถกู ต้อง 4. เลอื กวิธีการชว่ ยเหลือดแู ลผูท้ ่ีมคี วามภาวะซึมเศร้าได้ถูกตอ้ ง คาศพั ท์ทีเ่ กย่ี วข้อง Completed suicide ฆา่ ตัวตายสาเร็จ Defense mechanisms กลไกการป้องกนั ทางจิต Depression ภาวะซมึ เศร้า Feelings of worthlessness รูส้ กึ ไร้คณุ ค่า Hopelessness สิ้นหวัง Isolation แยกตัว Low self-esteem คณุ คา่ ในตนเองต่า low self satisfaction ความพงึ พอใจในตนเองต่า Negative view of future มองอนาคตของตนเองในทางลบ Negative view of self มองตนเองในทางลบ Negative view of world มองโลกของตนเองในทางลบ Normal low mood, Feeling blue ภาวะซึมเศร้าทีห่ มายถงึ ภาวะอารมณ์ปกติ Repression เกบ็ กด รหัสรายวิชา 55111 : ชื่อวิชา การชว่ ยเหลือดูแลด้านสุขภาพจิต หนา้ 58

มีวนิ ัย ใฝ่รู้ สงู้ านพยาบาลดว้ ยใจ ภาวะซมึ เศร้าเป็นอารมณห์ นง่ึ ทพ่ี บไดบ้ อ่ ยเมื่อบุคคลต้องเผชญิ กบั การสญู เสีย หรือเม่อื ต้องเผชญิ กบั ส่ิงทไ่ี ม่เป็นไปตามทค่ี าดหวัง มกั แสดงออกให้เห็นโดยการรอ้ งไห้ ซึมเศร้า คิดวนเวยี น ขาดสมาธิและสนใจในสง่ิ รอบข้างลดลง อาการดังกล่าวหากเปน็ อย่างต่อเน่ืองเรอ้ื รังอาจส่งผลกระทบตอ่ สุขภาพร่างกาย เช่น นอนไม่ หลับ คิดฟุ้งซ่านตลอดเวลา สมรรถภาพทางการทางานถดถอย ความสนใจทางเพศน้อยลง เบื่ออาหาร นา้ หนัก ลด ทอ้ งผูก และปวดศีรษะ เป็นต้น (ดาราวรรณ ตะ๊ ปนิ ตา, 2556, น. 3) ความหมายของภาวะซมึ เศร้า ภาวะซมึ เศร้า (Depression) มีความหมายซง่ึ ตอ้ งทาความเข้าใจดังนี้ (Beck, 1967; ดาราวรรณ ตะ๊ ปนิ ตา, 2556, น. 3-4) คอื 1. ภาวะซมึ เศร้าทีห่ มายถึงอารมณเ์ ศร้าปกติ ภาวะซมึ เศร้า หมายถึง ภาวะอารมณป์ กติ (normal low mood, feeling blue) เปน็ ภาวะอารมณ์ ทส่ี ามารถเกิดข้นึ ได้ในคนปกติทัว่ ไป โดยเกดิ ขึ้นเม่ือมีส่ิงเรา้ หรือสถานการณ์บางอย่างที่ทาใหบ้ ุคคลไม่สมหวัง ผิดหวัง สิ้นหวัง หรือไม่มีความสุข บุคคลจะมีความรู้สึกหดหู่และซึมเศร้า เป็นภาวะอารมณ์หน่ึงที่เกิดใน ชวี ิตประจาวัน เป็นภาวะปกติในบุคคล อาจเกิดขึ้นเป็นช่วงเวลา หรือเป็นวัน อารมณ์ซึมเศร้าในภาวะปกตินี้ สามารถหายไปได้เอง หรอื เมื่อบุคคลเจอกับสิ่งเรา้ ใหมห่ รอื เงอ่ื นไขใหม่อารมณ์นกี้ จ็ ะลดลงโดยปกติบุคคลจะมี ความรสู้ ึกเคล่อื นไปมาระหว่างความสุขกับความเศร้า ข้ึนอยู่กบั สภาพการณข์ องแต่ละบุคคล ภาวะซึมเศร้าท่ี หมายถงึ อารมณป์ กตนิ ไ้ี ม่จาเปน็ ตอ้ งได้รับการรักษาใด ๆ 2. ภาวะซมึ เศร้าท่หี มายถงึ ภาวะเศรา้ ทเ่ี ร่ิมมกี ารเปลย่ี นแปลงอาการและอาการแสดง ภาวะซึมเศร้าในความหมายน้ี หมายถึง ภาวะเศร้าท่ีมีการเปล่ียนแปลงอาการและอาการแสดง ในทางจิตสรีระ (psychopathological dimension) มีระดับความรุนแรงต้ังแต่ระดับเล็กน้อย ระดับปาน กลางจนถงึ ระดบั รุนแรง อาการและอาการแสดงจะเริ่มสง่ ผลกระทบต่อบุคคลได้มากกว่าอารมณ์เศร้าปกติ โดย บุคคลท่ีมภี าวะซมึ เศร้าจะมคี วามคิด อารมณ์ พฤติกรรม และสรีระท่ีเปลี่ยนไปจากเดิมของบุคคลนั้น และมัก พบวา่ จะมีผลกระทบต่อกจิ วัตรประจาวัน การทางาน และกิจกรรมทางสังคมทั่ว ๆ ไป ภาวะซมึ เศร้าในกลุ่มน้ี จาเป็นต้องมผี บู้ าบดั หรือให้การปรกึ ษาจึงจะกลบั สูภ่ าวะปกติได้ รหสั รายวิชา 55111 : ช่ือวชิ า การชว่ ยเหลอื ดแู ลดา้ นสขุ ภาพจติ หนา้ 59

มีวินยั ใฝร่ ู้ สู้งานพยาบาลดว้ ยใจ 3. ภาวะซมึ เศร้าทห่ี มายถงึ โรคซมึ เศรา้ โรคซึมเศรา้ เป็นโรคทางจิตเวชซึ่งจะมีเกณฑ์การพจิ ารณาตามเกณฑ์วนิ ิจฉัยโรคทางจติ เวช ซ่ึงบคุ คล ที่เป็นโรคซึมเศร้าจะมลี ักษณะท่เี ปล่ียนแปลงไปทั้งด้านความคิด อารมณ์ พฤติกรรม และสรีระ เช่นเดยี วกับ ภาวะซมึ เศรา้ แตจ่ ะตอ้ งพจิ ารณาตามเกณฑ์การวินิจฉยั วา่ เปน็ โรคซมึ เศร้าหรือไม่ และจะถูกระบุว่าเป็นโรคใด โรคหนง่ึ เช่น depressive episode, recurrent depressive episode, dysthymia, dysthymia disorder หรือ major depressive disorder เป็นต้น โดยโรคซึมเศร้าน้ีจาเป็นต้องได้รับการบาบัดทางการแพทย์ รว่ มกบั การบาบัดทางจิตสังคม อาการตา่ ง ๆ จงึ จะลดลงได้ ตารางท่ี 5 ความหมายของภาวะซมึ เศรา้ ภาวะอารมณ์ปกติ ภาวะเศร้าทเ่ี ริ่มมกี าร โรคซมึ เศร้า เปล่ียนแปลงอาการ และอาการแสดง เกิดในคนปกตทิ ัว่ ไป อาการและอาการแสดงจะเร่มิ เปน็ โรคทางจิตเวช สง่ ผลกระทบต่อบุคคลได้ มากกวา่ อารมณเ์ ศรา้ ปกติ ความรูส้ ึกหดหู่และซมึ เศรา้ ความคิด อารมณ์ พฤติกรรม ลกั ษณะทีเ่ ปลยี่ นแปลงไปทง้ั ด้านความคิด และสรรี ะท่เี ปลย่ี นไปจากเดมิ อารมณ์ พฤตกิ รรม และสรรี ะ เช่นเดยี วกบั ของบคุ คลนัน้ ภาวะซมึ เศร้า แตจ่ ะตอ้ งพิจารณาตาม เกณฑ์การวนิ ิจฉัยวา่ เปน็ โรคซมึ เศร้าหรอื ไม่ ภาวะอารมณห์ น่งึ ทเ่ี กดิ ใน มีผลกระทบตอ่ กิจวัตรประจาวนั เจ็บปว่ ยในกลมุ่ โรคซึมเศรา้ ชีวิตประจาวัน เป็นภาวะปกตใิ น การทางาน และกิจกรรมทาง บุคคล อาจเกิดขึ้นเป็นชว่ งเวลา สงั คมทั่ว ๆ ไป หรือเปน็ วัน สามารถหายไปไดเ้ อง จาเปน็ ตอ้ งมผี ู้บาบัดหรอื ใหก้ าร จาเป็นตอ้ งไดร้ บั การบาบัดทางการแพทย์ ไมจ่ าเปน็ ตอ้ งได้รบั การรกั ษาใด ๆ ปรึกษาจงึ จะกลับส่ภู าวะปกติได้ ร่วมกับการบาบดั ทางจติ สงั คม รหัสรายวชิ า 55111 : ชอ่ื วชิ า การชว่ ยเหลือดูแลดา้ นสขุ ภาพจติ หนา้ 60

มวี ินยั ใฝ่รู้ สงู้ านพยาบาลดว้ ยใจ อาการและอาการแสดงของภาวะซึมเศร้า อาการสาคัญของภาวะซึมเศร้ามีลักษณะ 4 ประการ คืออาการแสดงออกทางอารมณ์ การ แสดงออกทางความคิด การแสดงออกทางแรงจูงใจ และการแสดงออกทางกาย ดังที่ เบค และ อัลฟอร์ด (Beck & Alford, 2009; ดาราวรรณ ต๊ะปนิ ตา, 2556, น. 13-15) ได้กล่าวไว้ดงั นีค้ ือ 1. การแสดงออกทางอารมณ์ การแสดงออกทางอารมณ์ เป็นการเปลย่ี นแปลงขน้ึ อย่กู ับระดับของภาวะซึมเศร้า เพศ อายุ และ กลุ่มทางสังคม ลักษณะของภาวะซึมเศร้ามักจะมีอารมณ์หดหู่ ผิดหวัง ซึมเศร้า (dejected mood) มักจะมี ความรู้สึกในทางลบต่อตนเอง (negative felling toward self) มักจะรู้สึกวา่ ตนเองไม่มีค่า ไม่ดี ไม่เป็นท่ีรัก ไม่เป็นทต่ี อ้ งการของใครเลย และพบความรูส้ ึกนี้ได้ถงึ ร้อยละ 86 ในผู้ทม่ี ีภาวะซมึ เศรา้ ระดับรุนแรง จะสญู เสยี ความพงึ พอใจและความปลื้มปิติในตนเอง (reduction in gratification) ในการรับรูต้ ่อสถานการณ์ กิจกรรม หรือบุคคลต่าง ๆ ในชีวติ ประจาวัน แมว้ ่าจะเป็นกิจกรรมหรือสถานการณ์ธรรมดา ๆ การรับประทานอาหาร การมเี พศสัมพนั ธ์ การทางานประจาวัน เปน็ ต้น ผ้ทู ี่มีภาวะซึมเศร้ามักจะสญู เสียความผูกพันทางอารมณ์ที่จะ ทาใหร้ ู้สึกพึงพอใจ เชน่ สญู เสียความผูกพนั ทางอารมณ์กบั สมาชกิ ในครอบครัว เพอ่ื นฝงู สัตว์เลย้ี ง หรอื ส่งิ ของ ตา่ ง ๆ ในชีวิต การแสดงออกทางอารมณ์อีกประการหนึ่งของผูท้ ่ีมีภาวะซึมเศร้า คือ ความรู้สึกอยากร้องไห้ รอ้ ยละ 83 ของผู้รับการบาบัดรักษารายงานว่าเขาร้องไห้บ่อยกว่าก่อนท่ีจะมีอาการซมึ เศร้า และเขารู้สึกว่า ต้องรอ้ งไห้แม้วา่ จะไมม่ ีน้าตาไหลออกมาอกี แล้ว ผู้รับการบาบดั มกั กล่าวว่า “ฉันไม่รู้ว่าทาไมฉันถึงร้สู ึกเศรา้ แต่ ฉนั ร้วู ่าฉันจะตอ้ งรอ้ งไห้” ผูท้ ่มี ีภาวะซมึ เศร้ามกั จะสญู เสยี อารมณร์ นื่ เริง สูญเสียความครน้ื เครง และไม่สามารถ มอี ารมณ์ขนั ต่อเรอื่ งตลกได้ แมว้ ่าผูอ้ นื่ จะรสู้ กึ ขามาก ผู้ที่มีภาวะซึมเศรา้ มักรู้สึกว่าไม่สามารถหวั เราะได้ 2. การแสดงออกทางความคดิ ผู้ท่ีมีภาวะซึมเศร้าจะมีการแสดงออกทางความคิด มีทัศนคติท่ีมักจะบิดเบือนต่อตนเองต่อ ประสบการณ์ของตนเอง และต่ออนาคต ซ่ึงจะทาให้มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ท่ีมีภาวะซึมเศร้าโดยการ แสดงออกทางความคิดมักจะพบว่า ผ้ทู ี่มีภาวะซมึ เศร้ามักมีความคิดดังต่อไปน้ีคือ การประเมินตนเองต่า เป็น ลักษณะทส่ี าคญั ของผทู้ ี่มภี าวะซมึ เศรา้ มกั จะแสดงใหเ้ ห็นถงึ การคดิ ถงึ ตนเองในทางลบท้ังในด้านความสามารถ ศกั ยภาพ สตปิ ัญญา สขุ ภาพ ความอดทน ความดึงดูดใจ การคาดหวังในทางลบ เปน็ ความร้สู ึกท่ีใกล้เคียงกับ ความรู้สกึ สิน้ หวงั มากกว่าร้อยละ 78 ของผู้ที่มีภาวะซึมเศรา้ จะคาดหวงั สง่ิ ต่าง ๆ ในทางลบ และลกั ษณะการ คิดดังกล่าวรบกวนชีวิตประจาวันของผู้ท่ีมีภาวะซึมเศร้ามากและอาจนาไปสู่ความคิดฆ่าตัวตาย ผู้ที่มีภาวะ ซมึ เศร้ามักจะคิดวา่ การฆ่าตวั ตายเปน็ ทางออกทีด่ ีทส่ี ดุ ของความส้ินหวังตา่ ง ๆ ผู้ที่มีภาวะซึมเศรา้ มักจะตาหนิ ตนเอง และวพิ ากษ์วจิ ารณต์ นเอง การตาหนิและวิพากษว์ จิ ารณต์ นเองจะเป็นไปในทางลบ ผทู้ มี่ ีภาวะซึมเศร้า มกั มคี วามยงุ่ ยากในการตัดสินใจ รหสั รายวิชา 55111 : ชือ่ วชิ า การชว่ ยเหลอื ดูแลด้านสุขภาพจิต หนา้ 61

มีวนิ ยั ใฝ่รู้ สู้งานพยาบาลดว้ ยใจ ผทู้ ี่มีภาวะซมึ เศรา้ มกั จะไมส่ ามารถเลอื กทางเลอื กทมี่ ีอยเู่ พื่อแก้ไขปญั หา ไมส่ ามารถเปลยี่ นการตดั สนิ ใจได้ ผู้ท่ี มีภาวะซึมเศร้าจะมีการบดิ เบอื นภาพลักษณข์ องตนเอง ซงึ่ จะเกดิ ข้ึนไดม้ ากในผทู้ ี่มภี าวะซมึ เศรา้ ผูห้ ญิงมากกวา่ ผู้ชาย 3. การแสดงออกทางแรงจงู ใจ พบไดเ้ สมอว่าแรงจูงใจของผู้ทีม่ ีภาวะซึมเศร้าจะลดลงตามระดับของภาวะซมึ เศรา้ จนผอู้ นื่ สามารถ สังเกตเห็นได้ แรงจูงใจท่ีลดลงมักเกี่ยวข้องกับการทางานในอาชีพ ครอบครัว เพื่อน หรือการพักร้อน ผู้ท่ีมี ภาวะซมึ เศร้ามักจะอธิบายวา่ แรงจูงใจที่ลดลงเก่ยี วขอ้ งกบั การคาดหวงั ในทางลบและอารมณ์ซึมเศร้า จะไม่มี ความปรารถนาใด ๆ และมีลักษณะทต่ี ้องการความพ่งึ พิงตอ้ งการความช่วยเหลอื คาแนะนา และการสนับสนนุ ในเร่ืองต่าง ๆ จากผูอ้ นื่ มากขึ้น 4. การแสดงอาการทางกาย การแสดงอาการทางกาย ผ้ทู มี่ ภี าวะซึมเศรา้ จะมอี าการแสดงทางกายหลายประการ เช่น เช่ืองช้าลง ไม่สนใจตนเอง หรือหยุดทาสิ่งต่าง ๆ ให้กับตนเอง มักจะไม่มีความอยากอาหาร มีความยุ่งยากในการนอน สญู เสียความตอ้ งการทางเพศ มีความออ่ นล้า ผ้ทู ม่ี ภี าวะซมึ เศรา้ บางรายมีความรสู้ กึ แขนขนหนัก ไมม่ ีแรง หมด แรงที่จะเคลอื่ นไหว ตารางที่ 6 อาการและอาการแสดงของภาวะซมึ เศรา้ อารมณ์ ความคดิ แรงจงู ใจ ทางกาย - อารมณห์ ดหู่ - การประเมนิ ตนเองต่า - แรงจงู ใจท่ลี ดลงมัก - เช่อื งชา้ ลง เกย่ี วข้องกบั การ - ผดิ หวงั - คิดถึงตนเองในทางลบทง้ั ใน ทางานในอาชพี - ไมส่ นใจตนเอง ครอบครวั เพอื่ น หรอื - ซึมเศรา้ ด้านความสามารถ ศกั ยภาพ การพักรอ้ น - หยดุ ทาสงิ่ ต่าง ๆ สตปิ ัญญา สขุ ภาพ ความอดทน ให้กับตนเอง - ความรูส้ ึกในทางลบตอ่ ตนเอง ความดงึ ดูดใจ - คาดหวงั ในทางลบ สน้ิ หวงั - ไม่มคี วามปรารถนา - ไม่มีความอยาก ใด ๆ อาหาร รหัสรายวิชา 55111 : ชือ่ วิชา การช่วยเหลอื ดูแลดา้ นสุขภาพจิต หน้า 62

มีวินยั ใฝ่รู้ สงู้ านพยาบาลดว้ ยใจ อารมณ์ ความคดิ แรงจงู ใจ ทางกาย - รู้สกึ วา่ ตนเองไมม่ คี ่า ไม่ดี ไม่ - คดิ ฆา่ ตัวตาย - ต้องการความพง่ึ พิง เปน็ ทรี่ ัก ไมเ่ ป็นท่ีตอ้ งการของ - ตาหนแิ ละวิพากษว์ จิ ารณ์ ตอ้ งการความ ใคร ตนเองจะเปน็ ไปในทางลบ ชว่ ยเหลือ คาแนะนา - สญู เสียความพงึ พอใจและ - มีความย่งุ ยากในการตัดสนิ ใจ และการสนบั สนุนใน ความปลม้ื ปิติในตนเอง เรอ่ื งต่าง ๆ จากผู้อนื่ - สญู เสยี ความผกู พนั ทาง - ไมส่ ามารถเลือกทางเลอื กทมี่ ี มากขน้ึ อารมณท์ จี่ ะทาใหร้ สู้ ึกพงึ พอใจ อยเู่ พ่อื แกไ้ ขปญั หา - ไมส่ ามารถ เชน่ สญู เสียความผกู พันทาง เปลยี่ นการตัดสินใจได้ อารมณก์ บั สมาชิกในครอบครัว - การบดิ เบอื นภาพลกั ษณ์ของ เพอ่ื นฝงู สัตว์เลี้ยง หรอื ส่งิ ของ ตนเอง ตา่ ง ๆ ในชีวติ - ร้สู กึ อยากรอ้ งไห้ ปจั จยั การเกดิ ภาวะซึมเศร้า ลักษณะการเกิดและความรนุ แรงของการเกดิ ภาวะซมึ เศร้ามคี วามแตกต่างกนั ในแต่ละบคุ คลขึน้ อยู่ กับปจั จยั ดงั ต่อไปนี้ (สายฝน เอกวรางกรู , 2554, น. 43-54) 1. กรรมพนั ธ์ุหรือพันธุกรรม (genetics) ภาวะซึมเศรา้ มสี าเหตุสมั พันธก์ บั พันธกุ รรม โดยพบวา่ บิดามารดาหรอื บรรพบุรษุ ท่มี ปี ระวตั ิการ เจ็บปว่ ยด้วยโรคซมึ เศรา้ มผี ลใหส้ มาชกิ ในครอบครัวมีโอกาสเป็นโรคซมึ เศรา้ ได้มากขึ้น นอกจากนย้ี งั พบวา่ โรค ซึมเศรา้ ชนดิ สองขวั้ (bipolar disorder) มักเกดิ ได้ง่ายกบั สมาชิกทอ่ี ยใู่ นครอบครัวเดียวกนั โดยมีความเครียด เป็นสิ่งกระตุ้น (stimulus) ดังนนั้ การสมั ภาษณ์ประวัตกิ ารเจบ็ ปว่ ยทม่ี ปี ระสทิ ธิภาพ จงึ ควรครอบคลมุ ประวตั ิ การเปน็ โรคซึมเศร้าของสมาชิกในครอบครัวรว่ มด้วยทกุ ครง้ั อยา่ งไรก็ตามส่งิ ทผ่ี ใู้ ห้ความชว่ ยเหลือควร ตระหนกั และพงึ ระมัดระวังคือ แม้ว่าบตุ รทเี่ กิดจากพ่อแมท่ เ่ี ปน็ โรคซมึ เศร้าจะถือเปน็ กลมุ่ เสยี่ ง (risk group) แต่ไม่ไดห้ มายความว่าสมาชิกทกุ คนจะตอ้ งเปน็ โรคซึมเศร้า รหัสรายวชิ า 55111 : ช่อื วชิ า การช่วยเหลือดแู ลด้านสุขภาพจติ หนา้ 63

มีวนิ ัย ใฝ่รู้ สู้งานพยาบาลดว้ ยใจ 2. เพศ (gender) ผลการศกึ ษาจานวนมากพบว่า โรคซมึ เศรา้ สามารถพบได้ในเพศหญงิ มากกวา่ เพศชาย ประมาณ 2- 3 เทา่ (สายฝน เอกวรางกรู , 2548, น. 241-251) โดยเชื่อวา่ ภาวะซึมเศรา้ เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของ ระดบั ฮอรโ์ มนภายในรา่ งกาย เช่น การมปี ระจาเดือน การตงั้ ครรภ์ การแท้ง ภาวะหลงั คลอด วยั ทอง เปน็ ต้น นอกจากนผ้ี ลการศกึ ษาของ สายฝน เอกวรางกูร (2548) เรอ่ื งวยั รนุ่ ไทยกบั การเกิดภาวะซมึ เศร้า: มมุ มองจากวัยรุ่น ยงั พบวา่ การที่เพศหญงิ มีโอกาสเผชญิ ความเครียดไดม้ ากกวา่ เพศชาย เกดิ จากการมกี รอบ คา่ นยิ มด้านเพศของสงั คม ทีป่ ลกู ฝงั บทบาทหน้าทที่ ่แี ตกตา่ งและไม่เท่าเทียมกันระหวา่ งเพศหญิงและเพศชาย โดยกล่มุ วยั รุ่นท่ีมีภาวะซึมเศรา้ ได้รว่ มกันวิเคราะห์ใหเ้ หน็ ว่าเพศหญิงมโี อกาสเกดิ ภาวะซึมเศร้าไดง้ ่าย เน่ืองจาก ถูกวางเง่ือนไขการดาเนินชีวิตให้ซับซอ้ นกวา่ เพศชาย และมกั ถูกเอาเปรยี บจากกรอบวฒั นธรรมของครอบครวั โรงเรยี น และสังคม อกี ทงั้ บทบาทของเพศหญงิ ถูกกาหนดให้แตกต่างจากเพศชาย สังคมยอมรับใหผ้ ู้ชายมี ชอ่ งทางและโอกาสในการปลดปลอ่ ยอารมณ์และความตอ้ งการของตนเองออกสู่ภายนอกไดม้ ากกว่า ทั้งการ แสดงออกทางอารมณ์ การใช้แอลกอฮอล์ การใชบ้ หุ ร่ี การเท่ยี วผหู้ ญงิ เปน็ ต้น ขณะทกี่ รอบวัฒนธรรมทาง สังคมจากดั โอกาสของผหู้ ญิงในการระบายออกในรปู แบบต่าง ๆ โดยเฉพาะในบรบิ ทไทยซง่ึ ปลกู ฝงั ค่านยิ มและ ใหค้ ุณคา่ กับผหู้ ญงิ ท่ีสุภาพ เรยี บรอ้ ย ออ่ นหวาน สามารถเกบ็ กดอารมณ์ ความรสู้ กึ ไมพ่ อใจ หรอื รนุ แรง กา้ วรา้ วไดด้ ี อดทนกบั อุปสรรคได้ดี ซ่งึ แตกตา่ งจากสงั คมตะวนั ตกท่ผี ู้หญิงสามารถแสดงออกได้หลายรปู แบบ มากกวา่ จงึ พบว่าเพศหญงิ เป็นเพศท่ตี อ้ งเกบ็ กดความขดั แย้ง และความคับข้องใจไวก้ บั ตนเอง (สายฝน เอกวรางกรู , เรวดี เพชรศริ าสัณห,์ และนยั นาหนูนลิ , 2549, น. 31-42) อย่างไรกต็ ามแม้ว่าเพศชายจะมอี บุ ตั กิ ารณก์ ารเกิดภาวะซมึ เศรา้ ได้นอ้ ยกว่าเพศหญงิ แตก่ ลบั พบว่า อัตราการฆ่าตวั ตายจากภาวะซมึ เศรา้ ในเพศชายสูงกวา่ เพศหญิง และมักพบวา่ เพศชายทมี่ ีภาวะซมึ เศร้าสว่ น ใหญ่ มพี ฤติกรรมการใชส้ ารเสพตดิ เปน็ ตวั แก้ปัญหา ทง้ั น้ภี าวะซึมเศร้าที่พบในเพศชายสงั เกตไดย้ ากกว่าเพศ หญงิ เพราะสว่ นใหญเ่ พศชายจะไม่แสดงความรสู้ กึ ทอ้ แท้ สนิ้ หวงั เนือ่ งจากเป็นอาการแสดงทบ่ี ่งบอกถงึ ความ อ่อนแอ ซง่ึ สังคมไมค่ าดหวังใหเ้ กดิ ขึน้ แตจ่ ะแสดงอาการหงดุ หงิด ฉุนเฉียว โกรธง่าย ก้าวร้าว ใช้กาลงั และมัก ปฏเิ สธการรกั ษา 3. อายแุ ละชว่ งวัย พบวา่ บุคคลทกุ ช่วงอายุมีโอกาสเส่ยี งตอ่ การเกดิ ภาวะซมึ เศรา้ ไดท้ ัง้ สนิ้ โดยแตล่ ะช่วงวยั มี ลกั ษณะเฉพาะของการเกิดภาวะซมึ เศรา้ ดังน้ี 3.1 วัยเดก็ หลายครง้ั ทีค่ นมกั เขา้ ใจผิดว่าภาวะซึมเศรา้ เกิดขน้ึ ได้ยาก หรอื ไมส่ ามารถเกิดขึ้นได้ ในวยั เด็ก เพราะธรรมชาติของเด็กไมเ่ ก็บเอาปญั หารอบตัวมาคดิ ให้ซับซอ้ น แตใ่ นความเป็นจริงกลับพบวา่ เดก็ เป็นผู้ที่ไวต่อการรบั ร้อู ากปั กริ ิยา ทา่ ท่ี และความเปลีย่ นแปลงของบุคคล รวมท้งั ลกั ษณะสภาพแวดล้อมรอบตวั รหัสรายวชิ า 55111 : ช่อื วชิ า การชว่ ยเหลือดูแลดา้ นสขุ ภาพจิต หนา้ 64

มีวินยั ใฝร่ ู้ สู้งานพยาบาลดว้ ยใจ อาการซมึ เศรา้ ทพ่ี บในเดก็ มกั จะแสดงออกโดยการแกลง้ ป่วย ไม่ไปโรงเรียน ตดิ พ่อแม่ กงั วลว่าพอ่ แมจ่ ะจากไป ขณะที่ในกลุม่ เด็กโตจะแสดงออกโดยการนงิ่ เฉย ไมพ่ ดู มปี ญั หาทีโ่ รงเรยี น และกบั เพือ่ นกลมุ่ เดียวกนั ในละแวก บา้ น มองโลกในแงร่ ้าย การวนิ ิจฉัยอาการของเด็กจะมคี วามยาก เนื่องจากพฤตกิ รรมของเดก็ มีความผันผวน (Lack & Green, 2009, 13-25) 3.2 วยั รุ่น ปัจจบุ ันพบว่าภาวะซมึ เศรา้ เกดิ ข้นึ สงู และมแี นวโนม้ สงู ข้นึ อยา่ งตอ่ เนอ่ื ง นาไปสู่ ปัญหาการฆา่ ตัวตายในกลุ่มวยั ร่นุ (กรมสุขภาพจิตกระทรวงสาธารณสุข, 2550) ผลการสารวจสขุ ภาพจิตของ วัยรนุ่ ในสถานศึกษาปี 2547 ของกรมสขุ ภาพจติ กระทรวงสาธารณสขุ พบวา่ นักเรยี นระดบั มธั ยมศึกษาตอน ปลายและระดบั ปวช. มีภาวะซึมเศรา้ รอ้ ยละ 16. 41 คิดเปน็ สดั สว่ น 1 ใน 6 โดยนกั เรียนในเขตกรงุ เทพฯ มี ภาวะซมึ เศรา้ สูงสุด ถึงร้อยละ 20. 63 ภาคตะวนั ออกเฉยี งเหนือ ร้อยละ 17. 28 ภาคใต้ ร้อยละ 15. 60 ภาคเหนอื รอ้ ยละ 15. 15 และภาคกลาง รอ้ ยละ 14.14 สอดคลอ้ งกบั การศกึ ษาของ สายฝน เอกวรางกูร, เรวดีเพชรศริ าสัณห,์ และนยั นาหนนู ลิ (2549) ท่ีพบวา่ นกั เรยี นวัยรุ่นในจงั หวดั นครศรีธรรมราชมีภาวะซมึ เศรา้ ร้อยละ 28.7 ขณะท่ีมีภาวะเสี่ยงตอ่ การฆา่ ตวั ตายสงู ถึงร้อยละ 30 โดยภาวะซึมเศรา้ มีความสัมพนั ธใ์ น ระดับสูงกบั ภาวะเส่ยี งตอ่ การฆ่าตวั ตาย นกั การศกึ ษาในเรอ่ื งดังกลา่ วอธิบายว่า สภาพปญั หาท่ีเกิดข้ึนเปน็ ผล จากการทว่ี ยั รุน่ เปน็ กลมุ่ ท่ีมีความเส่ยี งตอ่ การเกิดความผิดปกตดิ ้านอารมณ์มากทสี่ ุด โดยเฉพาะปจั จบุ ันซง่ึ เป็น ยุคของการแข่งขนั ค่านิยมทางวตั ถุ และความคาดหวังทส่ี ูงจากครอบครวั สถานศึกษา และสงั คม กอ่ ใหเ้ กดิ ภาวะกดดนั สับสนในบทบาทของตนเอง โดยเฉพาะวยั รนุ่ ตอนปลายทอ่ี ยู่ในวัยท่กี าลงั เปลีย่ นผ่านสูว่ ยั ผูใ้ หญ่ หากวยั รุน่ ไมไ่ ดร้ บั ความเขา้ ใจหรือเกดิ ภาวะสญู เสยี กจ็ ะงา่ ยตอ่ ความรู้สกึ มีคุณคา่ ในตนเองลดลง ขาดความ ภาคภมู ใิ จในตนเอง ไมม่ ีความพอใจในตนเอง หมดพลงั อานาจในตนเอง มภี าวะซมึ เศร้า หากปล่อยทง้ิ ไวก้ ็จะ พัฒนาสภู่ าวะของโรคซมึ เศรา้ และมีพฤติกรรมการฆา่ ตัวตายในที่สดุ (Westermeyer, 2003) 3.3 วัยผูใ้ หญ่ เป็นวัยแห่งการเรมิ่ ตน้ และแสวงหาความสาเรจ็ ของชีวติ ทกุ ด้าน ท้งั ดา้ นการงาน คอื ตอ้ งแขง่ ขันสมัครงาน สร้างอาชพี สร้างฐานะ การแขง่ ขนั ด้านหนา้ ทกี่ ารงาน เพื่อให้ได้ตาแหน่งทสี่ ูงข้ึน นอกจากนี้วยั ผใู้ หญเ่ ปน็ วยั ของการสร้างครอบครวั มีลกู ที่ต้องใหก้ ารดูแล เป็นหลกั ในการหาเล้ยี งสมาชิกใน ครอบครัว สถานการณ์ปญั หาสง่ิ เรา้ และการแขง่ ขนั ดังกล่าว ลว้ นเป็นภาวะเส่ยี งตอ่ การเกิดภาวะซึมเศร้าแทบ ท้ังส้นิ 3.4 วยั ผสู้ งู อายุ ภาวะซึมเศรา้ เปน็ ปญั หาทีพ่ บได้มากในกลมุ่ ผสู้ ูงอายุ (Pirkis et al., 2009, pp. 54-61) ผู้สงู อายสุ ว่ นใหญ่มักถกู ทอดทงิ้ ใหอ้ ยคู่ นเดยี ว ตอ้ งพงึ่ พาครอบครัวทั้งด้านการงาน การเงิน สังคม และ การดาเนนิ ชวี ติ ประจาวัน ล้มปว่ ยไดบ้ ่อย สง่ ผลต่อภาวะซมึ เศรา้ ได้งา่ ย อย่างไรกต็ าม ภาวะซึมเศร้าในผสู้ งู อายุ มกั คดั กรองได้นอ้ ย ทั้งนี้เนอื่ งจากคนสว่ นใหญเ่ ข้าใจผดิ ว่าภาวะซมึ เศร้าเปน็ อาการปกติสาหรบั กลมุ่ ผสู้ งู อายุ สว่ นใหญม่ โี รคทางรา่ งกายในลักษณะเรอื้ นรัง ต้องรักษาด้วยยาหลายตวั เปน็ ระยะเวลานาน มกั บน่ ไมส่ บายทาง รา่ งกายมากกวา่ จติ ใจ แยกยากจากอาการสมองเส่ือม (dementia) เพราะผู้สงู อายุจะหลงลืมงา่ ย สว่ นใหญ่ พบวา่ บุคลากรและผเู้ ก่ียวข้องสว่ นใหญซ่ ักประวัตปิ ัญหาสุขภาพจติ ในอดีตของผสู้ งู อายไุ ม่ได้ และอาการแสดงท่ี รหัสรายวิชา 55111 : ชอ่ื วิชา การชว่ ยเหลอื ดูแลด้านสุขภาพจิต หนา้ 65

มีวนิ ัย ใฝร่ ู้ สู้งานพยาบาลดว้ ยใจ พบไมเ่ ปน็ ไปตามเกณฑก์ ารวินิจฉัยโรคตาม DSM-IV หรอื ICD-10 นอกจากนีย้ งั พบว่าครอบครวั และผสู้ ูงอายุ โดยทวั่ ไปจะปกปิดและไม่ยอมรบั อาการซมึ เศร้าทเ่ี กิดขน้ึ เนอื่ งจากรับรวู้ า่ เป็นเรอ่ื งนา่ อาย สงั คมไมย่ อมรบั ประเด็นสาคัญพบวา่ อัตราการฆา่ ตัวตายสาเร็จ (completed suicide) พบไดส้ งู ในกลมุ่ ผสู้ ูงอายุ (Black, 2009, pp. 82-89.) 4. ความผิดปกติของสมดุลชวี เคมีในสมอง (neurotransmitter imbalance) ภาวะซมึ เศร้าเกดิ จากการเปลี่ยนแปลงการทางานของสมองหรือการขาดภาวะสมดุลของสารสอื่ ประ สาทในสมอง คือการมีปริมาณลดลงของไบโอจินิกเอมีนส์ (biogenic amines) ชนิดทีม่ ีผลโดยตรงต่อการเกิด อารมณ์ซึมเศร้าของคน ไดแ้ ก่ กลุ่มของอินโดเลมีนส์ (Indoleamines) คือซีโรโทนิน (serotonin) ซึ่งเป็นตัว หลักทีม่ คี วามสาคัญต่อการเกิดภาวะซึมเศร้าและกลุ่มของแคทโี คลามีนส์ (catecholamines) คือ นอร์เอพิเน ฟรนี (norepinephrine) และโดพามนี (dopamine) ทาให้บคุ คลเกิดความรสู้ ึกทอ้ แท้ หงอยเหงา เบ่ือหน่าย ไม่มีความสุขกับชีวิต นอนไม่หลับ สะดุ้งต่ืนกลางดึก ฝันร้ายบ่อยคร้ัง ส่งผลกระทบทาให้ประสิทธิภาพและ ความสามารถในการทางานลดลง (Jylha, Melartin, & Isometsa, 2009, pp. 110-121) 5. รูปแบบการเลี้ยงดูจากครอบครวั ปัจจบุ นั ผลการศกึ ษาจานวนมากยืนยนั วา่ รปู แบบการเล้ียงดจู ากครอบครวั เป็นปจั จัยเรม่ิ ต้นท่มี ี ความสาคัญสงู สุดต่อลกั ษณะวิธคี ิด ความรสู้ กึ สภาพจิตใจ กลไกการป้องกันทางจิต และบคุ ลกิ ภาพ ซง่ึ เปน็ สาเหตขุ องการเกิดภาวะซมึ เศร้า มกี ารศึกษาพบว่าเดก็ ทไี่ ดร้ บั การเล้ยี งดแู บบทารุณกรรม ไม่ว่าจะเปน็ การ กระทาทางวาจา (verbal abuse) การถกู ทบุ ตีอย่างไรเ้ หตผุ ลหรอื การทาร้ายร่างกายอยา่ งรนุ แรง (physical abuse) มีโอกาสเกิดภาวะซึมเศร้าได้มากขึ้น 6. ความคดิ (cognition) อารอน เบก (Aaron Beck) ทาการศึกษารปู แบบและกระบวนการคิดของบุคคลท่ีมภี าวะซึมเศรา้ และพบวา่ บุคคลท่มี องตนเอง สงิ่ แวดลอ้ ม และอนาคตในด้านลบ จะส่งผลใหเ้ กดิ ความรสู้ กึ มคี ุณคา่ ในตนเอง ลดลง (low self-esteem) ความพงึ พอใจในตนเองลดลง (low self-satisfaction) รสู้ กึ ไรค้ ุณค่า (feelings of worthlessness) สนิ้ หวงั (hopelessness) หมดพลงั อานาจ (powerlessness) และเกิดภาวะซมึ เศรา้ ได้ใน ทส่ี ดุ 7. บุคลิกภาพ (personality) บุคลิกภาพของบคุ คลด้านการแสดงความคิดเห็น ความตอ้ งการ รวมทงั้ การตอบสนองความตอ้ งการ ของตนเอง สามารถแบ่งไดเ้ ปน็ 3 ลักษณะ ไดแ้ ก่ รหสั รายวชิ า 55111 : ชอ่ื วิชา การชว่ ยเหลือดูแลด้านสุขภาพจติ หน้า 66

มวี ินัย ใฝร่ ู้ สู้งานพยาบาลดว้ ยใจ แบบที่ 1 การแสดงพฤติกรรมท่เี หมาะสม เรียกว่า assertive บุคคลมีลกั ษณะเปน็ ตัวของตัวเอง กล้าบอกในสง่ิ ทต่ี นเองรับรู้ คดิ รสู้ กึ รวมทงั้ กล้าแสดงออกและตอ่ รองเพอื่ ตอบสนองในสง่ิ ทตี่ นเองตอ้ งการดว้ ย เหตผุ ล ยอมรบั ในสทิ ธิสว่ นบุคคล และความตอ้ งการของผู้อนื่ ขณะเดียวกนั ก็รู้จกั และสามารถปกปอ้ งสทิ ธิ รวมทั้งสามารถ ตอบสนองความต้องการของตนเองได้ มลี ักษณะ “ฉันรวู้ า่ เธออยากได้อะไรและฉันเลอื กไดว้ า่ ฉันจะทาอะไร” หรือ “ฉันรู้ว่าคณุ ต้องการให้ฉนั ... แต่การทาอย่างนัน้ ทาใหฉ้ ันไมม่ คี วามสุข” แบบท่ี 2 การแสดงพฤติกรรมกา้ วรา้ ว เรยี กว่า aggressive บคุ คลมลี ักษณะมุง่ ความสนใจไปท่ี ความต้องการของตนเองเปน็ ที่ตั้ง ไม่คอ่ ยสนใจความต้องการความรสู้ กึ และผลที่จะเกิดตามมาของบุคคลอ่นื กล้าคิด กล้าพูด และกล้าแสดงพฤตกิ รรม เพ่อื ให้ไดต้ ามทีต่ นเองต้องการ มลี กั ษณะ “ฉนั ต้องการแบบนี้ สว่ น เธอต้องการแบบไหนก็เรอื่ งของเธอ ฉนั ไมส่ น” แบบท่ี 3 การแสดงพฤตกิ รรมยอมตาม เรียกว่า passive บุคคลมลี ักษณะสนใจคาพดู ความคดิ ความรู้สกึ และความตอ้ งการของบคุ คลอน่ื โดยไม่สนใจความต้องการและความรู้สกึ ของตนเอง แสดงออกโดย การคลอ้ ยตามความคดิ คาพูด ความรู้สกึ และความต้องการของผู้อนื่ ไม่กล้าแสดงความตอ้ งการของตนเอง ขดั ใจ และปฏิเสธผ้อู ื่นไมเ่ ปน็ มลี ักษณะ “ยังไงก็ได้ แล้วแตค่ ุณเถอะ” ผทู้ ม่ี ภี าวะซมึ เศรา้ มกั มบี ุคลิกภาพแบบยอมตาม (passive) ไมส่ ามารถแสดงอารมณด์ ใี จ เสยี ใจ อารมณ์โกรธ ความคดิ ความรสู้ กึ ของตนได้อย่างอสิ ระ นอกจากน้ีพบวา่ ผทู้ ี่มภี าวะซมึ เศรา้ มกั มบี คุ ลิกภาพเดมิ แบบพ่ึงพา (dependent) หรือแบบเรยี กร้องความสนใจ (istrionic) 8. กลไกการปอ้ งกันทางจติ (defense mechanisms) วธิ กี ารส่วนใหญท่ ีผ่ ู้มภี าวะซมึ เศรา้ ใช้ เมอ่ื เกดิ ความรูส้ ึกคบั ขอ้ งใจ คือ เก็บกด (repression) และ แยกตัว (isolation) ถือเปน็ กลไกป้องกนั ทางจติ (defense mechanism) ท่ไี มเ่ หมาะสม (passive) นาไปสู่ ปญั หาด้านอารมณ์ และการปรบั ตัว ทางจิตวทิ ยาอธบิ ายว่า การเกบ็ กดและการแยกตัว เป็นกลไกการป้องกนั ทางจติ ท่ใี ช้เพอื่ มุ่งสกู่ ารจดั การกบั ตนเอง ทไ่ี ม่ได้ช่วยให้เกดิ การแก้ไขปัญหาความรสู้ ึกคับขอ้ งใจและความ ขดั แย้งยงั คงสะสมอยใู่ นจติ สานึกของตน ไม่ได้ระบายออกอยา่ งเหมาะสม เม่ือกลไกดงั กลา่ วถกู ใช้เป็นปกติใน หลายสถานการณ์ บคุ คลจะรู้สกึ หมดหวงั ท้อแท้ นาไปส่กู ารเกดิ ภาวะซมึ เศร้าไดใ้ นทีส่ ุด 9. การมีโรคทางกาย โรคทางกายโดยเฉพาะโรคเร้ือรัง ผทู้ ต่ี ้อยทกั ษะตอ้ งพงึ่ พาผอู้ ่ืน หรอื การสญู เสยี อวัยวะ และอาการ ปว่ ยเฉียบพลัน สามารถทาใหเ้ กิดภาวะซึมเศรา้ ได้ เชน่ โรคหวั ใจ เบาหวาน อัมพาต มะเร็ง เอดส์ นอกจากน้ยี งั พบว่าโรคทางกายบางชนิดสง่ ผลตอ่ ความผิดปกตดิ า้ นจิตใจตามมา เชน่ อุบัติเหตุทางสมอง โรคไทรอยด์ โรค ทางระบบภมู ิคมุ้ กนั บกพร่อง เปน็ ตน้ ดังนนั้ ทกุ ครงั้ ที่ซกั ประวตั ผิ ูม้ ารบั บริการด้วยภาวะซมึ เศรา้ จึงตอ้ ง ครอบคลมุ ประวตั ิของการเกดิ กลมุ่ โรคดงั กล่าวรว่ มด้วย รหัสรายวิชา 55111 : ชือ่ วิชา การช่วยเหลอื ดูแลดา้ นสขุ ภาพจติ หน้า 67

มวี นิ ยั ใฝร่ ู้ สูง้ านพยาบาลดว้ ยใจ 10. การใชส้ ารเสพติด พบว่าลกั ษณะกลุ่มเด็กทม่ี พี ฤติกรรมการใช้ยาเสพติด มกั เปน็ กลุ่มท่ีมีความรสู้ กึ มีคุณค่าในตนเองตา่ (low self-esteem) เสยี่ งต่อการเกิดภาวะซึมเศร้าและฆ่าตวั ตาย เน่ืองจากเป็นกลมุ่ ทม่ี ีอตั ราการทาร้ายตวั เอง สูง อารมณร์ นุ แรง ควบคมุ ไม่ค่อยได้ และมักไมค่ านงึ ถงึ ผลที่ตามมาเม่ือลงมอื ทาไปแล้ว ประกอบกับการใช้สาร เสพติด ติดต่อกนั เปน็ ระยะเวลานาน อาจสง่ ผลใหเ้ กิดรอยโรคในสมอง การเสยี สมดลุ ของสารสอ่ื ประสาท และ อาการทางจติ ประสาทตามมา การช่วยเหลือดูแลผทู้ ี่มคี วามภาวะซึมเศร้า การชว่ ยเหลือผู้ที่มภี าวะซมึ เศรา้ สามารถให้การดแู ลตามด้านตา่ ง ๆ (ปริยศ กิตตธิ ีระศักดิ์, 2561, น. 1) ดงั นี้ 1. ดา้ นร่างกาย 1.1 ให้การช่วยเหลือในการจัดการกิจวตั รประจาวัน เช่น การดแู ลตนเอง การรบั ประทานอาหาร และน้าด่มื 1.2 กระตุ้นใหม้ กี ารเคลือ่ นไหวหรือออกกาลงั กายอยา่ งสมา่ เสมอ 1.3 ดแู ลเรอ่ื งการนอนหลับพกั ผ่อน หรืออาจใหย้ านอนหลบั ตามแผนการรักษาของแพทย์ 1.4 การประเมนิ ทา่ ทีของการฆ่าตัวตาย เพื่อปอ้ งกันการทารา้ ยตนเอง 2. ด้านจติ ใจและอารมณ์ 2.1 ปิดโอกาสและสง่ เสรมิ ใหผ้ ู้ทมี่ ภี าวะซึมเศรา้ ไดพ้ ดู ระบายความร้สู กึ โดยรับฟงั อย่างสงบ และ เป็น กาลงั ใจให้อยา่ งเหมาะสม 2.2 เคารพและให้เกยี รตโิ ดยการยอมรบั ในปญั หาและใหก้ าลงั ใจ เพ่ือใหเ้ กดิ ความรสู้ ึกมคี ุณค่าใน ตนเอง 2.3 ให้แรงเสรมิ โดยการพดู ชมเชย ให้กาลงั ใจเมอ่ื ผทู้ มี่ ภี าวะซึมเศรา้ พดู ถึงตนเองในดา้ นดี 2.4 ในการพดู คยุ เพ่อื ใหค้ วามช่วยเหลือ ผู้ชว่ ยเหลอื จะตอ้ งแสดงทา่ ทเี ป็นมิตร ใจเย็น ไมเ่ รง่ รบี ที่ จะใหม้ กี ารตอบคาถาม ควรใหเ้ วลากบั ผูท้ ม่ี ีภาวะซมึ เศร้า เพราะมักคิดและพดู ช้า รหัสรายวชิ า 55111 : ช่อื วชิ า การชว่ ยเหลือดูแลดา้ นสุขภาพจติ หนา้ 68

มีวนิ ัย ใฝ่รู้ สงู้ านพยาบาลดว้ ยใจ 2.5 หากมีอาการหลงผดิ รว่ มด้วย ผชู้ ว่ ยเหลือควรเฝ้าระวังเรอ่ื งพฤตกิ รรมการทารา้ ยตนเอง 3. ด้านสงั คม 3.1 กระตุ้นและเปดิ โอกาสให้ผทู้ ีม่ ภี าวะซึมเศรา้ ไดม้ ีปฏสิ มั พนั ธ์กบั ผอู้ ื่น โดยเริ่มจากกลมุ่ สงั คม เลก็ ๆ ก่อน 3.2 ส่งเสรมิ ใหผ้ ู้ทม่ี ภี าวะซึมเศร้าไดล้ ดเวลาหมกมุ่นกบั ตนเอง ด้วยการจัดเวลาทากจิ กรรมและ กระตุ้นใหท้ าตาม 3.3 ส่งเสรมิ การทากิจกรรมทางดา้ นจติ วิญญาณ เช่น การสวดมนตห์ รอื กจิ กรรมทางศาสนา 3.4 สง่ เสรมิ การเรียนร้แู ละพัฒนาทักษะทางสังคม เชน่ ความเปน็ ตวั ของตัวเอง การสร้าง สัมพันธภาพ 3.5 สนบั สนุนใหบ้ ุคคลใกล้ชดิ ครอบครัว เพ่ือนสนทิ ช่วยเหลอื ประคบั ประคองใหร้ ะยะแรกทมี่ ี ภาวะซมึ เศร้ารุนแรง จนกวา่ จะทเุ ลาลงแลว้ ค่อยฝกึ ให้พง่ึ พาตนเองมากข้ึน ตารางที่ 7 แสดงการช่วยเหลือผ้ทู ีม่ ภี าวะซมึ เศรา้ ในดา้ นต่าง ๆ ด้านของการช่วยเหลือ การชว่ ยเหลือดแู ลผทู้ ีม่ ภี าวะซมึ เศรา้ ดแู ล ร่างกาย 1. การช่วยเหลือในการจดั การกิจวัตรประจาวัน 2. กระตนุ้ ใหม้ กี ารเคลือ่ นไหวหรือออกกาลังกายอย่างสมา่ เสมอ 3. ดูแลเรือ่ งการนอนหลบั พกั ผอ่ น หรอื อาจใหย้ านอนหลับตามแผนการ รักษาของแพทย์ 4. การประเมนิ ท่าทขี องการฆา่ ตวั ตาย รหัสรายวชิ า 55111 : ช่อื วิชา การชว่ ยเหลือดแู ลดา้ นสขุ ภาพจติ หนา้ 69

มวี นิ ยั ใฝร่ ู้ สูง้ านพยาบาลดว้ ยใจ ด้านของการชว่ ยเหลอื การชว่ ยเหลอื ดแู ลผทู้ ่มี ภี าวะซึมเศรา้ ดูแล จิตใจและอารมณ์ 1. ปดิ โอกาสและส่งเสริมใหผ้ ูท้ มี่ ภี าวะซึมเศร้าได้พดู ระบายความรู้สึก 2. เคารพและใหเ้ กยี รตโิ ดยการยอมรับในปญั หาและใหก้ าลงั ใจ 3. ให้แรงเสริม โดยการพูดชมเชย ให้กาลงั ใจเมอ่ื ผู้ทมี่ ีภาวะซมึ เศร้า พูดถึง ตนเองในด้านดี 4. แสดงท่าทเี ปน็ มิตร ใจเย็น ไมเ่ ร่งรบี ทีจ่ ะให้มกี ารตอบคาถาม 5. หากมีอาการหลงผดิ รว่ มด้วย ผชู้ ่วยเหลอื ควรเฝ้าระวงั เรอ่ื งพฤติกรรม การทาร้ายตนเอง สังคม 1. กระต้นุ และเปดิ โอกาสให้ผทู้ ม่ี ภี าวะซมึ เศร้าไดม้ ปี ฏสิ มั พนั ธก์ ับผ้อู น่ื โดยเริม่ จากกลุม่ สังคมเลก็ ๆ กอ่ น 2. สง่ เสรมิ ใหผ้ ทู้ ีม่ ภี าวะซมึ เศรา้ ไดล้ ดเวลาหมกมนุ่ กบั ตนเอง ดว้ ยการจัด เวลาทากจิ กรรมและกระตุ้นใหท้ าตาม 3. สง่ เสรมิ การทากจิ กรรมทางด้านจิตวญิ ญาณ เช่น การสวดมนตห์ รอื กิจกรรมทางศาสนา 4. ส่งเสรมิ การเรียนรู้และพฒั นาทักษะทางสงั คม เชน่ ความเปน็ ตวั ของ ตวั เอง การสรา้ งสัมพนั ธภาพ 5. สนบั สนนุ ใหบ้ ุคคลใกล้ชิด ครอบครวั เพอื่ นสนิทช่วยเหลือ ประคบั ประคองให้ระยะแรกทม่ี ีภาวะซึมเศรา้ รุนแรง จนกว่าจะทเุ ลาลงแลว้ คอ่ ยฝกึ ใหพ้ งึ่ พาตนเองมากขึ้น ผู้ป่วยเปน็ โรคซึมเศร้ามพี ฤตกิ รรมฆา่ ตวั ตายมากถงึ ร้อยละ 60 และผ้ทู ีม่ ภี าวะซมึ เศรา้ จะมคี วามคดิ และพฤติกรรมฆ่าตัวตายได้มากกว่าคนปกตถิ งึ 3 เท่า (กรมสุขภาพจติ กระทรวงสาธารณสุข, 2550) การเฝ้า ระวงั ความเส่ียงต่อการฆา่ ตวั ตายในบคุ คลทีม่ ีภาวะซมึ เศร้าจงึ เปน็ ประเดน็ สาคัญ เนอื่ งจากภาวะซมึ เศร้ามี รหัสรายวิชา 55111 : ชอื่ วชิ า การช่วยเหลอื ดูแลด้านสุขภาพจิต หน้า 70

มีวนิ ยั ใฝร่ ู้ สู้งานพยาบาลดว้ ยใจ ความสมั พันธก์ บั ภาวะเส่ยี งต่อการฆ่าตวั ตาย (สายฝน เอกวรางกรู , เรวดี เพชรศิราสัณห,์ และนัยนาหนนู ลิ , 2549, น. 31-42) จงึ มหี ลกั การพิจารณาบาบัดผมู้ ภี าวะซมึ เศรา้ ท่มี ีความเสย่ี งตอ่ การฆา่ ตัวตาย (สายฝน เอกวรางกรู , 2554, น. 146-149) ประกอบดว้ ย 1. ผบู้ าบดั ต้องสงั เกตและเฝา้ ระวงั อาการเปลยี่ นแปลงของผทู้ มี่ ีภาวะซมึ เศร้าอยา่ งใกลช้ ิด ผล การศึกษาพบว่าอตั ราการฆ่าตวั ตายจะเกดิ ขึ้นสงู ในกลมุ่ ทไ่ี ดร้ ับยาต้านภาวะซมึ เศรา้ กลมุ่ SSRI ระยะแรกทมี่ ี อาการพลุง่ พลา่ น เคลอ่ื นไหวตลอดเวลา (akathisia) มีความคดิ ทารา้ ยตนเอง (suicidal ideation) มอี าการ วิตกกังวล (anxiety) กระวนกระวายอยู่นงิ่ ไมไ่ ด้ (agitation) เพ่มิ ข้นึ หากอาการดังกลา่ วเกิดขน้ึ หลงั จาก รบั ประทานยา 1 สปั ดาห์ ผบู้ าบัดควรพจิ ารณาปรบั เปล่ยี นแผนการบาบดั รกั ษาดว้ ยยาอกี ครั้ง สาหรบั ผู้ที่ได้รบั การบาบดั ดว้ ยยาตา้ นภาวะซึมเศร้าทีไ่ มเ่ กิดภาวะเสย่ี งต่อการฆา่ ตวั ตาย ผบู้ าบัดควร นัดประเมินผลการบาบดั ครั้งแรกใน 2 สปั ดาห์ จากนั้นควรนดั สมา่ เสมอทกุ 2-4 สัปดาห์ ในชว่ ง 3 เดือนแรก และนดั ห่างเพม่ิ ขนึ้ หากผลการบาบดั มีความกา้ วหน้า การบาบดั รกั ษาดว้ ยยาต้านภาวะซมึ เศรา้ ควร ดาเนนิ การต่อเน่อื งอยา่ งน้อย 6 เดือน หลังจากอาการซมึ เศรา้ หายไปเพอื่ ปอ้ งกันการกลบั เป็นซา้ 2. ผ้ทู มี่ ีความเสย่ี งตอ่ การฆ่าตัวตายสงู ควรมแี นวปฏบิ ตั เิ กย่ี วกบั การจากดั ปรมิ าณการใชย้ าตา้ น ภาวะซมึ เศร้า 3. การประคบั ประคองทางสังคมจากบุคคลใกลช้ ิดและเกยี่ วขอ้ ง ท้ังในระดบั ครอบครัวและชมุ ชน จานวนครัง้ ของการติดตามดแู ล การเยย่ี มบา้ น หรือการเย่ียมทางโทรศัพทจ์ ากบุคลากรสุขภาพระดบั ปฐมภมู ิมี ความสาคญั ตอ่ การป้องกันการฆา่ ตวั ตายไดอ้ ยา่ งมปี ระสิทธภิ าพ นอกจากนก้ี ารบาบัดชว่ ยเหลือและปอ้ งกนั การฆ่าตวั ตายในผูท้ ่มี ีภาวะซึมเศรา้ ควรดาเนินการโดย คานงึ ถงึ ผลระยะยาว ดงั น้ี 1. สรา้ งความเขม้ แขง็ ของสถาบนั ครอบครัว สถาบันการศึกษา ชุมชน ด้วยการสรา้ งความรัก ความ ปลอดภยั เรียนรู้ มที กั ษะการประเมิน และการปอ้ งกนั ปญั หาฆ่าตวั ตายสาหรับการดาเนินชวี ติ 2. พัฒนาทักษะชีวิตดา้ นการจดั การความเครียด รู้จกั การปรบั ตัวในสถานการณ์ต่าง ๆ เรียนรกู้ าร สรา้ งสัมพนั ธภาพทดี่ ี รู้จักวธิ จี ดั การความขดั แยง้ ปญั หาในชวี ิต รจู้ กั ใหแ้ ละขอความช่วยเหลอื จากแหลง่ สนบั สนนุ ทางสังคมทีเ่ หมาะสม เมอ่ื เกิดปัญหาท่ีคุกคามชวี ิตของตนเอง 3. ส่งเสรมิ ใหบ้ ุคคลท่วั ไป มีความรู้ ความเขา้ ใจ เกี่ยวกบั การเกดิ ภาวะซมึ เศรา้ การประเมินภาวะ เสี่ยงตอ่ การฆา่ ตวั ตาย การสังเกตอาการของผใู้ กลช้ ดิ ทอี่ าจฆา่ ตัวตาย การใหค้ วามชว่ ยเหลอื ข้ันตน้ รวมทงั้ การ ดแู ลผูท้ ฆ่ี า่ ตวั ตายอย่างเหมาะสม เช่น การจัดสิ่งแวดล้อมทปี่ ลอดภัยใหอ้ ยูห่ า่ งจากอปุ กรณห์ รอื สงิ่ ท่ีกอ่ ให้เกิด รหัสรายวิชา 55111 : ชื่อวิชา การชว่ ยเหลอื ดูแลด้านสุขภาพจติ หน้า 71

มวี ินยั ใฝร่ ู้ สงู้ านพยาบาลดว้ ยใจ ความเส่ยี งตอ่ การทารา้ ยตนเอง เชน่ ควบคุมการมอี าวธุ ทีส่ ามารถใช้ทารา้ ยตนเอง ควบคมุ เกบ็ สารพิษ การจัด สภาพแวดลอ้ มทปี่ ลอดภยั ลดการสะสมยานอนหลบั ทม่ี อี ันตรายเมือ่ รบั ประทานเกนิ ขนาด เปน็ ตน้ 4. กระตุ้นใหช้ ุมชนมสี ว่ นรว่ มดแู ลสขุ ภาพจติ ของคนในชุมชน ทงั้ ในกลมุ่ ทอ่ี ยู่ในภาวะปกติ ภาวะ เสยี ง และมภี าวะเจบ็ ปว่ ยทางจิต 5. จดั ใหม้ ีแหล่งประโยชนด์ า้ นการช่วยเหลอื เปิดศูนย์บริการให้การปรกึ ษาเฉพาะทางกระจายอยู่ใน พน้ื ท่ี ท้ังในสถานศึกษาและชุมชน บรกิ ารปรึกษาทางโทรศพั ทส์ ายดว่ น ระบบการช่วยเหลือหน่วยบริการ สุขภาพจติ ฉุกเฉินเพือ่ ใหค้ วามชว่ ยเหลือในภาวะเร่งดว่ น และมีระบบการส่งต่อ เพอื่ ให้ได้รบั การดูแลที่ สอดคลอ้ งกบั ลักษณะความรนุ แรง พรอ้ มกบั ประชาสมั พนั ธ์ เพือ่ ใหป้ ระชาชนเกิดความเขา้ ใจและมีทศั นคติทด่ี ี ต่อการขอรบั บริการชว่ ยเหลอื สรุป ภาวะซึมเศร้ามคี วามหมายทง้ั เปน็ อารมณ์เศรา้ ปกติ ภาวะเศร้าท่มี ีการเปล่ียนแปลงอาการและ อาการแสดงในทางจติ สรรี ะ และโรคซมึ เศรา้ เปน็ โรคทางจติ เวชซึง่ จะมเี กณฑ์การพจิ ารณาตามเกณฑ์ วินิจฉยั โรคทางจติ เวช โดยภาวะซมึ เศรา้ จะมอี าการและอาการแสดง 4 ประการ คืออาการแสดงออกทาง อารมณ์ การแสดงออกทางความคิด การแสดงออกทางแรงจงู ใจ และการแสดงออกทางกาย พบวา่ ภาวะ ซมึ เศร้านน้ั เกิดจากปจั จัยหลานดา้ นไดแ้ ก่ กรรมพนั ธุ์หรือพนั ธุกรรม เพศ อายแุ ละช่วงวยั ความผิดปกติของ สมดุลชวี เคมใี นสมอง รปู แบบการเลี้ยงดจู ากครอบครวั ความคดิ บคุ ลิกภาพ กลไกการปอ้ งกันทางจติ การมี โรคทางกาย และการใชส้ ารเสพติด โดยผู้ที่มีภาวะซมึ เศร้าตอ้ งได้รบั การช่วยเหลือดูแลตามแนวทางการ ช่วยเหลอื ดแู ลผทู้ ่ีมคี วามภาวะซึมเศร้าในด้านร่างกาย จติ ใจ และสงั คม รวมถึงการเฝ้าระวังความเสยี่ งต่อการ ฆ่าตัวตายในผ้ทู ีม่ ีภาวะซมึ เศร้า ซง่ึ ผทู้ ่มี ีภาวะซึมเศรา้ ถ้าไดร้ บั การดูแลช่วยเหลืออย่างเหมาะสมจะทาให้อาการ ทเุ ลาลงจนสามารถพง่ึ พาตนเองได้และอยใู่ นสังคมไดอ้ ย่างมคี วามสุข รหสั รายวชิ า 55111 : ชอ่ื วิชา การช่วยเหลือดูแลด้านสขุ ภาพจติ หน้า 72

มวี นิ ัย ใฝร่ ู้ สู้งานพยาบาลดว้ ยใจ บรรณานกุ รม กมลเนตร วรรณเสวก. (2558ก). กลมุ่ โรคอารมณ์สองขั้วและกล่มุ โรคซมึ เศร้า. ใน นันทวัช สทิ ธริ กั ษ์, กมลเนตร วรรณเสวก, กมลพร วรรณฤทธิ์, ปเนต ผกู้ ฤตยาคามี, สพุ ร อภนิ ันทเวช, และพนม เกตุมาน (บ.ก.), จติ เวช ศิรริ าช DSM-5 (พิมพค์ รั้งท่ี 2) (น. 379-410). กรงุ เทพฯ: ประยรู สาสส์ นไทย. กมลเนตร วรรณเสวก. (2558ข). ภาวะซึมเศร้า. ใน นันทวัช สิทธิรักษ์, กมลเนตร วรรณเสวก, กมลพร วรรณฤทธิ์, ปเนต ผ้กู ฤตยาคามี, สุพร อภนิ นั ทเวช, และพนม เกตมุ าน (บ.ก.), จิตเวช ศิรริ าช DSM- 5 (พิมพค์ รง้ั ที่ 2) (น. 169-186). กรุงเทพฯ: ประยูรสาส์สนไทย. กรมสุขภาพจิตกระทรวงสาธารณสุข. (2550). สถิติการเจ็บป่วยทางจิตเวช. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การ สงเคราะห์ทหารผ่านศึก. จุฑารตั น์ สถิรปัญญา. (2554). สุขภาพจิต (พิมพค์ ร้งั ท่ี 3). สงขลา: นาศิลป์โฆษณา. ดาราวรรณ ตะ๊ ปนิ ตา. (2556). ภาวะซึมเศรา้ : การบาบัดและการให้การปรึกษาโดยการปรับความคดิ และ พฤติกรรม. เชยี งใหม่: วนดิ าการพมิ พ์. ปรยิ ศ กติ ติธีระศกั ด.์ิ (2561, กรกฎาคม). ภาวะซึมเศร้า. บทความซึมเศรา้ . สืบคน้ 1 กรกฎาคม 2561, จาก http://www.nurse.tu.ac.th/pdf/บทความซึมเศร้า%20_ศูนยส์ ง่ เสรมื .pdf พิชัย อฏิ ฐสกุล, และศิริรไชย หงสส์ งวนศร.ี (2558). โรคซึมเศรา้ . ใน มาโนช หล่อตระกลู , และปราโมทย์ สุค นิชย์ (บ.ก.), จิตเวชศาสตร์ รามาธบิ ดี (พิมพ์ครงั้ ที่ 4). กรุงเทพฯ: ภาควิชาจติ เวชศาสตร์. สายฝน เอกวรางกรู . (2554). รจู้ กั เขา้ ใจ ดูแล ภาวะซึมเศรา้ (พมิ พค์ รั้งที่ 2). กรงุ เทพฯ: ส.เอเชียเพรส. สายฝน เอกวรางกรู . (2548). วยั รุ่นไทยกับการเกดิ ภาวะซมึ เศร้า: มุมมองจากวยั รนุ่ . วารสารพยาบาล, 54(4), 241-251. สายฝน เอกวรางกูร, เรวดีเพชรศริ าสัณห์ และนัยนาหนูนลิ . (2549). ความสมั พนั ธ์ระหว่างภาวะซึมเศร้าและ ภาวะเสีย่ งต่อการฆา่ ตวั ตายของนกั เรยี นมธั ยมศกึ ษาตอนปลาย จงั หวัดนครศรธี รรมราช. วารสาร พยาบาล. 55(1-4), 31-42. Beck, A. T. (1967). Depression: Clinical experimental and theoretical aspects. New York: Harper & Row. รหสั รายวชิ า 55111 : ชือ่ วิชา การชว่ ยเหลือดแู ลด้านสขุ ภาพจิต หนา้ 73

มีวนิ ยั ใฝร่ ู้ ส้งู านพยาบาลดว้ ยใจ Beck, A. T., & Alford, B. A. (2009). Depression: Clinical, experimental, and theoretical aspects. (2nded.). Pennsylvania: University of Pennsylvania Press. Black, H. K. (2009). Pictures of suffering in elders' narratives. Journal of Aging Studies, 23(2), 82-89. Retrieved July 10, 2019, from https://www.researchgate.net/ publication/2291722 58_ Pictures _of_suffering_in_elders'_narratives Lack, C. W., & Green, A. L. (2009). Mood disorders in children and adolescents. Journal of Pediatric Nursing, 24(1), 13-25. Jylha, P., Melartin, T., & Isometsa, E. (2009). Relationship of neuroticism and extraversion with Axis I and II comorbidity among patients with DSM-IV major depressive disorder. Journal of Affective Disorder, 114, 110-121. Westermeyer, R. W. (2003). The cognitive model of depression. Retrieved July, 10, 2019, from http://www.habitsmart.com/dep.html Pirkis, J., Pfaff, J., Williamson, M., Tyson, O., Stocks, N., Goldney, R., … Almeida, O. P. (2009). The community prevalence of depression in older Australians. Journal of Affective Disorders, 115, 54-61. รหัสรายวชิ า 55111 : ชื่อวิชา การช่วยเหลอื ดูแลดา้ นสขุ ภาพจิต หน้า 74

มวี ินยั ใฝ่รู้ ส้งู านพยาบาลดว้ ยใจ แบบประเมนิ ทเ่ี กย่ี วข้องกบั ภาวะซมึ เศร้า รหสั รายวชิ า 55111 : ช่อื วชิ า การชว่ ยเหลอื ดูแลด้านสขุ ภาพจิต หนา้ 75

มีวินยั ใฝ่รู้ สงู้ านพยาบาลดว้ ยใจ รหสั รายวชิ า 55111 : ชอื่ วิชา การชว่ ยเหลอื ดแู ลดา้ นสขุ ภาพจติ หนา้ 76

มีวินยั ใฝ่รู้ สงู้ านพยาบาลดว้ ยใจ รหสั รายวชิ า 55111 : ชอื่ วิชา การชว่ ยเหลอื ดแู ลดา้ นสขุ ภาพจติ หนา้ 77

มีวินยั ใฝ่รู้ สงู้ านพยาบาลดว้ ยใจ รหสั รายวชิ า 55111 : ชอื่ วิชา การชว่ ยเหลอื ดแู ลดา้ นสขุ ภาพจติ หนา้ 78

มวี นิ ัย ใฝ่รู้ สูง้ านพยาบาลดว้ ยใจ หลักสูตรประกาศนียบตั รผชู้ ่วยพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยเชยี งราย รหสั วิชา 55111 : ช่อื วชิ า การช่วยเหลือดแู ลดา้ นสขุ ภาพจิต ภาคการศึกษาท่ี 1 ปีการศึกษา 2562 หวั ข้อ : การส่งเสรมิ ป้องกันและฟนื้ ฟสู ุขภาพจิตตามขอบเขตผ้ชู ่วยพยาบาล อาจารยผ์ ูส้ อน อ. สกุ ญั ญา ทาโสด วัตถปุ ระสงค์เฉพาะ : เมอ่ื สน้ิ สุดการเรยี นการสอน ผ้เู รยี นสามารถ 1. บอกบทบาทของผูช้ ว่ ยพยาบาลในการสง่ เสรมิ การปอ้ งกนั และฟน้ื ฟสู ขุ ภาพจิตได้ถูกตอ้ ง 2. อธิบายกิจกรรมการสง่ เสริมสุขภาพจติ ได้ถูกต้อง 3. อธิบายระดบั การปอ้ งกันปญั หาสขุ ภาพจติ ไดถ้ กู ตอ้ ง 4. อธบิ ายการฟ้ืนฟดู ้านสุขภาพจติ ได้ถกู ตอ้ ง 5. บอกแหลง่ ช่วยเหลอื ด้านสขุ ภาพจิตได้ถูกตอ้ ง การสง่ เสรมิ ปอ้ งกันและฟนื้ ฟสู ขุ ภาพจติ เปน็ บทบาทท่ีสาคัญของบคุ ลากรสาธารณสุข ในการลดปจั จยั กระตนุ้ ตา่ งๆ ท่ีทาให้เกดิ ปญั หาสขุ ภาพจติ เป็นการหาแนวทางดาเนนิ งานส่งเสรมิ สขุ ภาพจติ และป้องกันปัญหา สขุ ภาพจิต ในบทน้ีจึงได้กลา่ วถึงบทบาทของผู้ช่วยพยาบาลในการสง่ เสริม การป้องกัน และฟื้นฟสู ุขภาพจิต กิจกรรมส่งเสริมสขุ ภาพจิต ระดบั การปอ้ งกันปัญหาสขุ ภาพจิต การฟ้ืนฟดู ้านสุขภาพจิต และแหล่งช่วยเหลือ ดา้ นสขุ ภาพจิต บทบาทของผู้ชว่ ยพยาบาลในการสง่ เสริม การปอ้ งกนั และฟื้นฟูสุขภาพจติ ผู้ช่วยพยาบาลมบี ทบาทหน้าท่รี บั ผิดชอบปฏบิ ัตงิ านภายใตก้ ารควบคมุ ตรวจตราของพยาบาลวิชาชีพ บทบาทหลกั คือ ใหก้ ารดแู ลผปู้ ่วยทงั้ ทางรา่ งกาย และจติ ใจ จดั สง่ิ แวดล้อมเพื่อการรกั ษา ประสานงานกบั บคุ ลากรในทมี ตามคาสง่ั ของพยาบาลวชิ าชพี โดยมีบทบาทที่สาคญั ดงั นี้ รหัสรายวชิ า 55111 : ชอ่ื วชิ า การชว่ ยเหลือดูแลดา้ นสุขภาพจติ หนา้ 79

มีวินยั ใฝร่ ู้ สูง้ านพยาบาลดว้ ยใจ บทบาทของผชู้ ว่ ยพยาบาลในการสง่ เสริมสุขภาพจติ ความหมายของการส่งเสริมสขุ ภาพจิต องค์การอนามัยโลก (2001) ได้ให้ความหมายของการส่งเสริมสขุ ภาพจิต ว่าเป็นกระบวนการทจ่ี ะทา ให้คนเราสามารถควบคุมจิตใจตนเองได้ เพื่อให้มีสุขภาพจิตท่ีดขี น้ึ ทั้งนี้การสรา้ งเสรมิ สขุ ภาพสามารถทาไดท้ ้ัง รายบุคคล ครอบครวั และชุมชน นอกจากนกี้ ารสง่ เสรมิ สุขภาพสามารถทาไดไ้ มว่ ่าบุคคลนัน้ จะได้รับการวนิ จิ ฉัย วา่ ป่วยทางจิตหรือไม่ เนื่องจากการสง่ เสรมิ สุขภาพจิตจะดาเนนิ การใน 3 ระดบั ประกอบด้วย กลุม่ ประชาชน ทั่วไป ผมู้ ีกลุ่มเส่ียง และกลุ่มผู้มีปญั หาสขุ ภาพจติ จฑุ ารัตน์ สถิรปัญญา (2554) กล่าวว่าการสง่ เสริมสุขภาพจิต คอื การนาเอาความรู้ทางสุขภาพจิตไป ผสมผสานกับเรื่องเศรษฐกิจและการเมืองเพื่อกระต้นุ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมและส่ิงแวดล้อม เพอื่ ท่ีจะเอื้อใหส้ ขุ ภาพจติ ดีข้ึน สรปุ การส่งเสริมสขุ ภาพจิต เป็นการปอ้ งกันไม่ใหเ้ กดิ ปัญหาสขุ ภาพจิต บุคคลในชมุ ชนมสี ่วนร่วมใน การส่งเสริมสุขภาพจติ และร่วมกันพัฒนาระบบบรกิ ารสุขภาพจิตได้ หลกั ของงานสง่ เสริมสขุ ภาพจิต ควรประกอบดว้ ย 1. มีนโยบายการพฒั นา (policy development) คือ กาหนดนโยบายในการพัฒนาเร่อื งตา่ งๆ เพื่อ ส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพจิตท่ีดีขึ้น เช่น การปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ การส่งเสริมสุขภาพมารดา โครงการถุงรับขวัญ เป็นต้น 2. มกี ารประเมนิ สถานภาพสุขภาพจิตชุมชน (mental health assessment) คือ มีการเก็บรวบรวม ขอ้ มลู สุขภาพของชมุ ชน แลว้ นามาวิเคราะห์ เพื่อเป็นขอ้ มลู พ้ืนฐานด้านสขุ ภาพจติ ของชมุ ชน ตามสภาพการณ์ ของความต้องการ 3. มีความแน่นอนในการดาเนินงานสขุ ภาพจติ (mental health assurance) คอื ให้ความรับผิดชอบ ทจ่ี ะทาให้ประชาชนมีสุขภาพท่ดี ี โดยการกระตุ้นการดาเนินงานชมุ ชนทั้งภาครฐั และเอกชนใหเ้ กดิ ความจริงจัง ถึงแมเ้ มื่อบุคคลเกิดปัญหาขนึ้ มักจะเลือกวิธีลดความเครียดดว้ ยตนเอง โดยวิธใี ดวธิ ีหนึ่ง บางคร้ังอาจ เปน็ วธิ กี ารทไี่ มถ่ ูกตอ้ งและทาให้ปัญหาเรอื้ รงั ได้ แต่จากการทกี่ ารส่งเสรมิ สุขภาพจติ ทด่ี คี อื การป้องกันปัญหาที่ จะเกดิ ข้ึน ดังน้ันบคุ คลควรได้รบั การเสริมสร้างสขุ ภาพจติ เพื่อเป็นการปอ้ งกันมากกวา่ การแกไ้ ขรักษา การสง่ เสรมิ สุขภาพจติ ทีส่ าคัญ โดยการเรมิ่ ทีต่ นเอง มีวธิ ีการดงั นี้ 1. ฝึกควบคมุ อารมณ์ ให้หมั่นเตือนสติอารมณต์ นเองอยูเ่ สมอ 2. สะสมไมตรี คอื การมองคนอ่ืนในแงด่ ี จะทาใหส้ รา้ งมติ รได้ง่าย และรจู้ ักมองดา้ นดีของบคุ คล อื่นและยกย่องชมเชย จะทาให้เกดิ มิตรและเปน็ ผลดีต่อตนเอง รหสั รายวชิ า 55111 : ชื่อวชิ า การช่วยเหลอื ดแู ลด้านสุขภาพจิต หนา้ 80

มวี ินัย ใฝร่ ู้ สูง้ านพยาบาลดว้ ยใจ 3. ไม่หนอี ปุ สรรค เราไมค่ วรยอมแพห้ รอื หนีอปุ สรรคงา่ ยๆ แตค่ วรจะอดทนใชเ้ หตผุ ลแกไ้ ขผ่อน ปรนสถานการณ์ เพราะอุปสรรคอย่างย่อมมีทางแก้ไขได้เสมอ 4. รจู้ ักฝกึ ใจ ต้องหมนั่ ฝกึ จิตใจให้มีความม่ันคงและยตุ ธิ รรม ด้วยการยอมรบั ฟงั ความคิดเหน็ ของ ผู้อื่น พยายามเขา้ ใจความรสู้ กึ ของผูอ้ ื่น ไม่ถือคิดว่าตนเองถกู ตอ้ งเสมอไปและยอมใหอ้ ภยั ในความผดิ พลาดของ ผอู้ ่นื 5. ใฝเ่ สรมิ คณุ คา่ การสร้างคณุ คา่ ให้ตนเอง คอื ทาตนใหเ้ ป็นประโยชน์ โดยหาโอกาสช่วยเหลอื ผู้อ่นื และทาบุญทาทานดว้ ยความจริงใจ ไมห่ วังผลตอบแทน 6. หาความสงบสขุ หากเรารูจ้ ักลดความตงึ เครียดก็จะทาให้ชวี ิตพบความสุขได้ โดยสร้างอารมณ์ ขนั ให้เกิดขึ้น หาโอกาสพกั ผอ่ นหย่อนใจใหเ้ พลดิ เพลินไปกบั กจิ กรรม เชน่ การเลน่ ดนตรี การละเลน่ เปน็ ต้น 7. การทอ่ งเทย่ี ว เลน่ เกมส์ ออกกาลงั กาย เชน่ การเลน่ กีฬาต่างๆ การฝกึ จติ ใจใหว้ า่ ง การฝึกสมาธิ เปน็ ต้น การสง่ เสรมิ สขุ ภาพจติ ตามบทบาทผู้ชว่ ยพยาบาล มดี งั นี้ 1. สอนและให้คาแนะนาเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพจิต แก่ผู้รับบริการ ครอบครัว และชุมชน เช่น วธิ ีการสรา้ งสัมพันธภาพ วธิ กี ารปฏิบตั ิตนเพื่อใหม้ สี ขุ ภาพจิตท่ีดี การเสรมิ สรา้ งความรัก ความเข้าใจที่ ดีต่อกันในครอบครวั และสังคม เป็นบทบาทอิสระที่ผู้ชว่ ยพยาบาลสามารถดาเนินการไดด้ ้วยตนเอง การให้ขอ้ มลู ที่จาเป็นจะมีประโยชนใ์ นการลดความตงึ เครยี ด ส่งเสริมการตัดสนิ ใจท่เี หมาะสม ชว่ ยให้ ผู้ใช้บริการสามารถปรับตัวต่อสถานการณ์ต่างๆได้ดีย่ิงข้ึน และมีแนวทางในการดาเนินชีวิตที่จะ ส่งเสรมิ การมีสุขภาวะท่ีดี ชว่ ยใหผ้ รู้ ับบรกิ ารเขา้ ใจวธิ กี ารส่งเสริมสุขภาพจิตของตนเองและครอบครัว ผู้ช่วยพยาบาลควรสังเกตและพิจารณาความต้องการข้อมูลของผู้รับบริการเป็นรายกรณี ก่อนให้ คาแนะนาที่เหมาะสม 2. ประสานงานกบั ครอบครวั ผูป้ ่วย และมีส่วนร่วมในการดแู ลผูป้ ่วย สนับสนับใหผ้ ปู้ ่วยทาหนา้ ที่ของตน อย่างเหมาะสม ให้เขา้ รับการรกั ษาอย่างตอ่ เนื่องมีสิ่งแวดลอ้ มทเี่ หมาะสมต่อการส่งเสรมิ สุขภาพจิต เพอ่ื ปอ้ งกันการเจ็บปว่ ยซ้า รวมทง้ั การส่งเสรมิ สขุ ภาพจติ ใหแ้ กบ่ คุ คลในครอบครวั ของผปู้ ่วยด้วย 3. ประสานงานกับทีมสุขภาพจิตและองค์กรในชุมชน เพื่อให้การดาเนินงานส่งเสริมสุขภาพจิตเป็นไป อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ ประสานงานและให้ข้อมูลต่างๆที่เก่ียวข้องกับการดูแลผู้ป่วย วางแผนช่วยเหลือดูแลผู้ป่วย การติดตอ่ สอื่ สาร และการติดตามผลการปฏิบัติงานรว่ มกัน รหสั รายวิชา 55111 : ช่ือวิชา การช่วยเหลอื ดูแลดา้ นสขุ ภาพจติ หน้า 81

มีวินยั ใฝ่รู้ สงู้ านพยาบาลดว้ ยใจ บทบาทผชู้ ่วยพยาบาลในการป้องกนั ปญั หาสุขภาพจติ การป้องกันการเจ็บป่วยทางจิต เป็นการจัดกิจกรรมท่ีมุ่งปกป้องบุคคลจากส่ิงคุกคามสุขภาพหรือ อนั ตรายต่างๆทจ่ี ะสง่ ผลต่อสุขภาพจิต จงึ เปน็ กจิ กรรมทมี่ ุง่ ใหป้ อ้ งกันการเจ็บปว่ ยทางจติ ถา้ บุคคลมแี นวโน้มว่า จะเกิดการเจบ็ ป่วย และเปน็ การเฝ้าระวงั การเกดิ ปัญหาสขุ ภาพจิต แบง่ เปน็ 3 ระดับ 1. การป้องกันปัญหาสุขภาพจติ ระดบั แรก เป็นการป้องกนั การเจบ็ ป่วยในกลมุ่ ผู้ท่ีมีความเสีย่ งต่อความ เจ็บป่วยหรือผู้ท่ีมีปัญหาทางสุขภาพจิตเล็กน้อย โดยการช่วยลดปัญหาความเครียดและช่วยให้ ผู้รับบริการสามารถหาวิธีการเผชิญกับความเครียด ความคับข้องใจ หรือความขัดแย้งได้อย่าง เหมาะสมกอ่ นทจี่ ะเกิดการเจ็บป่วย โดยมีกจิ กรรม ดังนี้ 1.1. การสอนโดยให้ความรู้ความเขา้ ใจเก่ียวกบั สขุ ภาพจติ เพอ่ื เปน็ แนวทางในการปอ้ งกนั การเกิด ปญั หาทางสขุ ภาพจิต สามารถตดั สนิ ใจเลือกวิธแี กไ้ ขปัญหาที่เหมาะสม รวมทัง้ ลดผลกระทบ ที่มีต่อการดาเนินชวี ติ ประจาวนั เศรษฐานะ การศกึ ษาได้อย่างมีประสทิ ธิภาพ 1.2. การให้ความรู้แกผ่ ู้รับบริการเก่ียวกับการสง่ เสริมสุขภาพ การเจริญเติบโตและพัฒนาการที่ ปกตใิ นแตล่ ะชว่ งวัย รวมทัง้ ความรู้เกยี่ วกบั เพศศึกษา 1.3. การช่วยให้ผู้รับบริการในการจัดการกับปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเครียด และการจัดการกับ ความเครียดไดอ้ ย่างเหมาะสมก่อนเกดิ ปัญหาทางสขุ ภาพจิต 1.4. การสนับสนุนให้สมาชิกในครอบครวั ดารงบทบาทหน้าที่ของตนได้อย่างเหมาะสม 1.5. การเป็นผู้นาหรอื มสี ่วนรว่ มในกิจกรรมที่เก่ียวขอ้ งกบั สุขภาพจติ ชมุ ชน 2. การป้องกนั การเจบ็ ปว่ ยระยะที่ 2 เปน็ การป้องกนั เพือ่ ลดความรนุ แรงของผูท้ มี่ ปี ญั หาทางจิตในระยะ เร่มิ แรก การชว่ ยเหลือในระยะน้ี ไดแ้ ก่ 2.1. การเยี่ยมบ้านและให้ความช่วยเหลือผู้ท่ีมีปัญหาทางจิตก่อนเข้ารับการรักษาตัวใน โรงพยาบาล 2.2. การจัดสงิ่ แวดลอ้ มเพื่อการบาบดั 3. การปอ้ งกันการเจ็บปว่ ยทางจติ ในระยะท่ี 3 การป้องกันระยะน้ีมีวตั ถุประสงค์เพื่อลดปญั หาระยะยาว และป้องกันความเส่ือมสภาพหรือความพิการอันเป็นผลจากความเจ็บป่วยที่มีอยู่ รวมถึงการฟ้ืนฟู สมรรถภาพของผู้ปว่ ยทั้งร่างกายและจิตใจ เพื่อป้องกันการเจ็บปว่ ยซา้ ชว่ ยให้ผู้ปว่ ยสามารถชว่ ยเหลอื ตนเองได้และไมเ่ ปน็ ภาระต่อสงั คม ไดแ้ ก่ รหัสรายวิชา 55111 : ชือ่ วชิ า การช่วยเหลือดูแลด้านสขุ ภาพจติ หนา้ 82

มีวนิ ยั ใฝ่รู้ สงู้ านพยาบาลดว้ ยใจ 3.1. การดแู ลผู้ป่วยภายหลังจาหน่ายออกจากโรงพยาบาลเมือ่ กลบั ไปอยใู่ นชุมชน 3.2. การหากจิ กรรมพิเศษให้แก่ผู้ป่วยในระหวา่ งรกั ษาตัวท่ีโรงพยาบาล เพื่อฝึกอาชีพและช่วยให้ เตรยี มพร้อมในการดารงชวี ติ ในสังคม 3.3. การจัดกจิ กรรมต่างๆในชมุ ชน การช่วยเหลือดูแลในแต่ละขั้นต้องอาศัยความร่วมมือจากทีมสุขภาพจิต บ้านหรือครอบครัว และ องค์กรในสังคมรว่ มกนั แกไ้ ขปญั หา โดยมบี ทบาทสาคัญ ดังน้ี บทบาทของบา้ นหรือครอบครัว สถาบันครอบครัวคอื หนว่ ยทเี่ ลก็ และสาคญั ทสี่ ุดของสังคม ทจี่ ะพัฒนาสงั คมต่อไป ดงั นน้ั แล้ว ครอบครัวจึงมบี ทบาทสาคญั ในการสง่ เสรมิ และปอ้ งกนั ปัญหาสุขภาพจติ โดยวธิ เี สรมิ สรา้ งความสขุ ใน ครอบครวั มีดังน้ี 1. ทาตัวไม่ใหเ้ ปน็ ปญั หากบั คนอ่นื ได้แก่ การรบั ผดิ ชอบตอ่ หนา้ ท่ีของตนเอง ไมน่ าความเดือดรอ้ น มาสู่ครอบครัว ทาตวั ใหส้ มกับบทบาทหน้าท่ี 2. มีนา้ ใจ ช่วยเหลอื งานของครอบครวั เทา่ ทจ่ี ะทาได้ 3. สร้างสมั พนั ธภาพท่ีดีในครอบครวั 4. ใช้เวลาว่างร่วมกบั ครอบครัวใหเ้ กิดคุณคา่ นอกจากนี้พอ่ แมย่ ังมบี ทบาทในการดแู ลเดก็ ดงั น้ี 1. ให้ความรักและความอบอุ่นดว้ ยการเอาใจใส่ดูแล สัมผสั เด็กด้วยความนุ่มนวล 2. ความมัน่ คงทางจติ ใจ ผใู้ หญค่ วรมอี ารมณ์คงท่ี ไม่ใช้อารมณฉ์ นุ เฉยี วในการลงโทษเดก็ 3. อบรมด้วยเหตผุ ล หากเดก็ ทาพฤติกรรมท่ีเหมาะสมควรมกี ารชมเชย 4. สนบั สนนุ ให้มโี อกาสไดร้ ับการพฒั นา สง่ เสรมิ การเรยี นรู้ การพกั ผ่อน และการทากจิ กรรมท่ี ส่งเสริมสุขภาพจิต เชน่ การเล่นกีฬา การทอ่ งเทยี่ ว เป็นต้น 5. การสรา้ งสมั พนั ธภาพท่ดี รี ะหวา่ งสมาชิกในครอบครวั เมอ่ื มสี ัมพนั ธภาพท่ีดจี ะชว่ ยใหเ้ ดก็ กล้า ระบายหรอื ปรกึ ษาเม่อื ประสบกบั ความเครียด ซ่งึ จะทาใหค้ รอบครัวสามารถชว่ ยเหลอื ต่อไปได้อย่างเหมาะสม บทบาทของโรงเรียน เด็กในวัยเรียนจะใช้กิจกรรมส่วนใหญ่ทโี่ รงเรียน ดังน้ันโรงเรยี นควรจัดระบบการเรียนรเู้ พอ่ื ให้เด็กมี สุขภาพจติ ที่ดไี ด้ ดงั นี้ 1. กาหนดนโยบายและปรัชญาของการเรยี นการสอน ให้เด็กไดร้ ับการฝกึ อบรมเป็นคนดี เกง่ และ มีความสุข รหสั รายวิชา 55111 : ช่อื วชิ า การชว่ ยเหลือดูแลด้านสขุ ภาพจติ หน้า 83

มีวนิ ัย ใฝร่ ู้ สงู้ านพยาบาลดว้ ยใจ 2. หลกั สตู รและกระบวนการจดั การเรยี นการสอน ควรมเี ร่ืองการสง่ เสรมิ สขุ ภาพจิตและป้องกนั ปญั หาสขุ ภาพจติ 3. มรี ะบบการใหค้ าปรกึ ษาในโรงเรยี น เพ่ือท่ีจะชว่ ยกันแก้ไขปญั หาและป้องกันการเกดิ ปัญหาที่ รุนแรงมากข้นึ 4. การสง่ ตอ่ ยงั สถานบริการสขุ ภาพจติ เฉพาะทาง ในกรณีที่พบว่าเกนิ ความสามารถของครู 5. การสร้างสัมพันธภาพทีด่ รี ะหว่างครูและผปู้ กครอง เพอื่ ท่ีจะสามารถชว่ ยเหลอื เดก็ ไดท้ ันทว่ งที 6. จดั สภาพแวดล้อมในโรงเรียนใหม้ ีความผอ่ นคลายและปลอดภยั 7. สรา้ งระเบยี บวินัยของโรงเรยี นทเ่ี อือ้ ตอ่ การส่งเสริมสุขภาพจติ เชน่ สง่ เสรมิ ใหร้ างวลั คนทา ความดี มีน้าใจ เป็นต้น บทบาทของชุมชน ชุมชนเปน็ แหล่งทมี่ นษุ ยอ์ ยูร่ ่วมกนั มปี ฏสิ ัมพันธซ์ ง่ึ กนั และกนั และมีความสาคัญตอ่ การสง่ เสริม สขุ ภาพจิตและป้องกันปญั หาสุขภาพจิต ซงึ่ ชุมชนมบี ทบาทสาคัญ ดังน้ี 1. รักษาและถ่ายทอดขนบธรรมเนียมประเพณแี ละวัฒนธรรมทด่ี งี ามท่ีช่วยสง่ เสรมิ สขุ ภาพจิต เชน่ ประเพณที างศาสนา วัฒนธรรมการชว่ ยเหลือ การแบง่ ปนั และใหอ้ ภยั เป็นตน้ 2. การทาหนา้ ท่เี ปน็ แบบอยา่ งท่ดี ีของคนร่นุ หลงั 3. จัดกิจกรรมทส่ี ่งเสริมสุขภาพจิตในชุมชน 4. การจดั ระบบการใหค้ วามรดู้ า้ นสขุ ภาพจติ แกส่ มาชิกในชมุ ชน ผา่ นระบบและชอ่ งทางตา่ งๆ เพอ่ื ใหส้ มาชกิ ไดร้ บั รู้ มีความพรอ้ มในการดูแลสุขภาพจิต บทบาทผ้ชู ว่ ยพยาบาลในการฟนื้ ฟูสขุ ภาพจิต การฟืน้ ฟูสขุ ภาพจิต เปน็ การจดั กจิ กรรมเพอื่ ฟ้ืนฟูบุคลกิ ภาพและฟนื้ ฟูสมรรถภาพของผปู้ ว่ ยจิตเวชให้ มีสุขภาพจิตท่ีและดารงภาวะปกติสุขหลังจากการเจ็บป่วย ผู้ช่วยพยาบาลมีบทบาทหน้าท่ีในการร่วมกับทีม สขุ ภาพจิตในการจดั กิจกรรมตา่ งๆ หรือกจิ กรรมบาบัด เพ่ือฟ้นื ฟูบุคลกิ ภาพและสมรรถภาพท่ัวไปของผู้ป่วยท้งั ด้านวุฒภิ าวะ การงานอาชีพ และการอยรู่ ว่ มกนั ในสังคม กจิ กรรมการส่งเสรมิ สขุ ภาพจิต การดาเนินการส่งเสริมสุขภาพจิต มีความจาเป็นตอ้ งใชร้ ะบบการบริหารจดั การในรปู แบบของการมี สว่ นร่วมและการใชน้ โยบายเชิงรุก ว่าด้วยยุทธศาสตรก์ ารส่งเสริมสขุ ภาพแนวใหมไ่ ดถ้ ูกนามาใช้ในการนาเป็น แนวทางในการสง่ เสรมิ สขุ ภาพจติ ในประเทศไทย โดยมหี น่วยงานหลักที่รบั ผดิ ชอบคอื กรมสุขภาพจิต ดังน้ี 1. การสรา้ งนโยบายสาธารณสุขเพ่อื สขุ ภาพ (Build healthy public) นโยบายสง่ เสรมิ สุขภาพมี รหสั รายวชิ า 55111 : ชอ่ื วิชา การช่วยเหลือดแู ลด้านสุขภาพจิต หน้า 84

มีวนิ ยั ใฝ่รู้ สู้งานพยาบาลดว้ ยใจ วิธกี ารท่ีหลากหลาย แตส่ อดคล้องสนับสนุนกัน โดยผกู้ าหนดนโยบายจะต้องคานงึ ถงึ ผลกระทบทีจ่ ะเกิดขนึ้ ต่อ สุขภาพเปน็ สาคญั 2. การสรา้ งสรรค์สิง่ แวดลอ้ มที่เอื้อต่อสุขภาพ (Create supportive environment) ส่งเสริมใหค้ น และสิง่ แวดล้อม อยรู่ ว่ มกันอยา่ เก้ือกลู และสมดลุ เปลยี่ นแปลงรปู แบบการดาเนนิ ชีวติ การทางาน การพกั ผอ่ น ให้มสี ขุ ภาวะที่ดีและปลอดภัยโดยไมท่ าลายสง่ิ แวดล้อม 3. การเสรมิ สรา้ งกิจกรรมชุมชนให้เข้มแข็ง (Strengthen community action) เปน็ การสนบั สนุน ให้ชุมชนพง่ึ ตนเองได้ โดยชุมชนเป็นผู้ตัดสินใจและจัดการ มีการระดมทรพั ยากรและวัตถุภายในชมุ ชน ท้ังน้ี ชุมชนจะต้องไดร้ ับข้อมลู ขา่ วสาร โอกาสการเรยี นรู้และแหลง่ ทุนสนบั สนนุ 4. การพัฒนาทกั ษะสว่ นบุคคล (Develop personal skills) การสง่ เสริมสุขภาพโดยการสนับสนนุ ในเรอ่ื งการพัฒนาบคุ คลและสังคม ดว้ ยการใหข้ ้อมูลข่าวสาร การศกึ ษาเพอื่ สุขภาพและการเสรมิ ทักษะชีวิตใน การจัดการทีด่ เี พือ่ ป้องกนั และควบคุมสุขภาพของตน 5. การปรับเปลี่ยนระบบบรกิ ารสุขภาพ (Reorient health services) การจดั ระบบบรกิ าร สาธารณสขุ ในการส่งเสริมสุขภาพเป็นความรับผดิ ชอบร่วมกนั ระหว่างบุคคล ชุมชน และบุคลากรสาธารณสุข สถาบันบริการสาธารณสุขและรัฐบาล ซ่ึงจะต้องทางานร่วมกัน เพื่อมุ่งไปสู่สุขภาพของประชาชน ในการ ปรบั เปล่ียนบริการสาธารณสขุ จาเปน็ ตอ้ งให้ความสาคัญในด้านการวจิ ัยสาธารณสุขสาขาตา่ งๆ เพื่อปรบั เปลย่ี น เจตคติ โดยมองปัญหาของปจั เจกบุคคลไปส่กู ารมองปัญหาในองค์รวม การดาเนินงานของกรมสุขภาพจิต ได้ดาเนินงานสอดคล้องกับนโยบายกระทรวงที่เน้นหนัก 4 เรื่อง คอื 1. นโยบายประกันสขุ ภาพถว้ นหนา้ หรอื 30 บาทรกั ษาทกุ โรค โดยมุง่ ใหป้ ระชาชนเขา้ ถงึ สถาน บรกิ ารใกลบ้ า้ น หรอื หนว่ ยปฐมภูมิ (Primary Care Unit : PCU) 2. การสรา้ งสุขภาพ โดยเน้นการดาเนนิ แผนงานสง่ เสริมสุขภาพใจทป่ี ระชาชนเป็นคนดาเนิน กิจกรรมสรา้ งสขุ ภาพโดยประชาชนเอง เช่น อสม. แกนนาครอบครัว เปน็ ตน้ 3. การควบคมุ และปอ้ งกนั ปัญหายาเสพตดิ 4. การควบคมุ และป้องกนั โรค ซ่ึงในปจั จบุ นั มีแนวโน้มของปัญหารนุ แรงขนึ้ โดยเฉพาะปญั หา ทางสขุ ภาพจติ และโรคทางจติ เวช ตัวอยา่ ง กจิ กรรมการส่งเสริมสขุ ภาพจติ กิจกรรมสร้างสขุ 5 มิติ สาหรับผู้สงู อายุในชุมชน ในการพฒั นาความสุขเชิงจิตวทิ ยาในผสู้ งู อายุน้ัน จาเป็นต้องนยิ ามความสุขท่ีพร้อมจะนา มาปฏิบัติ และสามารถวัดในเชิงสมั พันธไ์ ด้จึงจะทา ใหผ้ สู้ ูงอายุมสี ุขภาพกายและสขุ ภาพจติ ทีด่ ซี ง่ึ กรมสขุ ภาพจิต โดย รหัสรายวชิ า 55111 : ช่ือวิชา การชว่ ยเหลือดูแลดา้ นสุขภาพจติ หน้า 85

มวี นิ ัย ใฝร่ ู้ สงู้ านพยาบาลดว้ ยใจ นพ.สจุ รติ สวุ รรณชีพ รว่ มกบั สานกั พัฒนาสุขภาพจิตกรมสขุ ภาพจติ ไดก้ าหนดนิยามความสุขของผสู้ งู อายุ ใน เชงิ จิตวทิ ยาเป็น 5 ดา้ น ดังนี้ ดา้ นท่ี 1 : สุขสบาย (Health) หมายถึง ความสามารถของผสู้ ูงอายุในการดูแลสุขภาพร่างกาย ใหม้ ี สมรรถภาพร่างกายท่ีแข็งแรง คล่องแคล่ว มกี าลงั สามารถตอบสนองตอ่ ความตอ้ งการทางกายภาพได้ตาม สภาพทเ่ี ปน็ อยู่ มีเศรษฐกิจหรอื ปัจจยั ทจี่ าเป็นพอเพียง ไมม่ อี บุ ัตภิ ัยหรอื อนั ตราย มสี ภาพแวดลอ้ มท่สี ง่ เสริม สขุ ภาพ ไม่ตดิ สิ่งเสพตดิ กจิ กรรมเน้นไปท่ีการเคล่อื นไหวปฏบิ ัตกิ ิจวัตรประจาวนั (Functional mobility) โดย สมรรถภาพ ในการปฏิบัตกิ ิจกรรม คอื ความสามารถทางกายที่จะปฏบิ ัตกิ จิ วัตรประจาวนั ไดอ้ ยา่ งอสิ ระและ ปลอดภัยโดยปราศจากความอ่อนลา้ ซึ่งจะวัดความพร้อมในการปฏบิ ัตกิ ิจวัตรประจาวันต่อเน่ืองของกองออก กาลังกายเพอื่ สขุ ภาพ ได้แก่ 1. ความแขง็ แรงของกลา้ มเนือ้ (Muscular Strength) 2. ความอดทนด้านแอโรบิก (Aerobic endurance) 3. ความออ่ นตัว (Flexibility) 4. ความวอ่ งไวและการทรงตัว (Agility/dynamic balance) 5. ดัชนีมวลกาย (BMI) และวดั พฤตกิ รรมเสย่ี งด้านสขุ ภาพในผสู้ ูงอายุ 1. สขุ ภาพรา่ งกาย 2. พฤติกรรมเส่ยี งด้านสขุ ภาพ ด้านท่ี 2 : สขุ สนกุ (Recreation) หมายถงึ ความสามารถของผสู้ งู อายใุ นการเลอื กวถิ ชี ีวติ ที่รนื่ รมย์ สนกุ สนาน ด้วยการทากิจกรรมท่ี ก่อใหเ้ กิดอารมณ์เปน็ สขุ จติ ใจสดชนื่ แจ่มใสกระปรี้กระเปร่า มีคณุ ภาพชีวติ ที่ ดซี ึ่งกจิ กรรมท่เี หลา่ นส้ี ามารถ ลดความซึมเศร้า ความเครียดและความวิตกกังวลได้ กจิ กรรม เนน้ ไปทก่ี ารจัด กจิ กรรมนนั ทนาการ ท่ีสรา้ งความสดชื่น สรา้ งพลัง ความมีชวี ิตชีวาอยา่ ง สร้างสรรค์และดีงามในรปู แบบของ การทากจิ กรรม การแสดงออกในด้านกีฬาดนตรศี ลิ ปะงานอดิเรกเป็นต้น และเปน็ กจิ กรรมทที่ า ในเวลาวา่ ง ทา ด้วยความสมัครใจ อาจทากิจกรรมไดท้ งั้ เดยี่ วหรอื การรวมกลมุ่ ดา้ นที่ 3 : สขุ สงา่ (Integrity) หมายถงึ ความรสู้ ึกพงึ พอใจในชีวิต ความภาคภมู ิใจในตนเอง ความ เช่อื มน่ั ในตนเอง เห็นคุณค่าใน ตนเองการยอมรับนบั ถอื ตนเอง ใหก้ าลงั ใจตนเองได้เห็นอกเหน็ ใจผอู้ ่ืน มี ลักษณะเออื้ เฟ้อื แบ่งปนั และมสี ว่ น ร่วมในการช่วยเหลอื ผู้อน่ื ในสงั คม กิจกรรม จะเนน้ ไปทก่ี ิจกรรมท่ี ก่อให้เกดิ ความภาคภูมิใจ และตระหนักถงึ ความมีคณุ คา่ ในตนเอง การมพี ฤตกิ รรมชว่ ยเหลอื ผ้อู ื่นในสังคมและ เกดิ มุมมองตอ่ การใช้ชีวิตในเชงิ บวก ซง่ึ จะประเมินจาก 3.1 การช่วยเหลือกิจกรรมตา่ งๆของชุมชน 3.2 การมจี ติ อาสา และใหก้ ารช่วยเหลอื ผ้อู ่ืน รหัสรายวชิ า 55111 : ชอื่ วชิ า การชว่ ยเหลอื ดูแลด้านสุขภาพจติ หนา้ 86

มีวนิ ัย ใฝร่ ู้ สูง้ านพยาบาลดว้ ยใจ 3.3 การช่วยเหลือคนในครอบครัว อาทกิ ารดูแลเดก็ เป็นตน้ ดา้ นที่ 4 : สุขสว่าง (Cognition) หมายถึง ความสามารถของผู้สูงอายุด้านความจา ความคิดอย่างมี เหตุมีผลการสื่อสารการวางแผน และการแก้ไขปัญหา ความสามารถในการคิดแบบนามธรรม รวมทั้ง ความสามารถในการ จัดการสง่ิ ตา่ งๆ ได้ อย่างมปี ระสิทธิภาพ กิจกรรมจะเน้นไปทกี่ ิจกรรมที่ช่วยในการชะลอ ความเสื่อมทางสมอง เพิ่มไหวพริบ ความจา การมี สติการคิดอย่างมีเหตุผล และจัดการกับสิ่งต่างๆอย่างมี ประสทิ ธิภาพ ประเมินจาก 1. ความจา 2. ความสามารถในการแก้ปญั หา (problem solving) ด้วยหลกั เกณฑ์ทม่ี ีเหตุผล 3. ความสามารถในเชิงภาษา การตดิ ต่อสือ่ สารด้วยคา พดู และวาจา 4. มีความสามารถทางสังคม มีความสนใจผู้อื่น และสามารถสร้างปฏิสัมพันธ์ต่อกันอย่างมี ประสทิ ธิภาพ 5. ใสใ่ จเรียนรทู้ ักษะใหมๆ่ 6. การนาความรูแ้ ละประสบการณ์ทีส่ ัง่ สมในอดีต มาใชใ้ ห้เกิดประโยชน์ตอ่ ผอู้ นื่ และต่อชุมชน ด้านที่ 5 : สุขสงบ (Peacefulness) หมายถึง ความสามารถของบุคคลในการรับรู้-เข้าใจความรู้สึก ของตนเอง รู้จักควบคมุ อารมณ์และ สามารถจัดการกับสภาวะอารมณท์ ่เี กดิ ขึ้นได้อยา่ งมปี ระสทิ ธิภาพ สามารถ ผ่อนคลายให้เกิดความสุขสงบกับ ตนเองได้รวมทั้งความสามารถในการปรับตัวยอมรับสภาพสง่ิ ทเ่ี กิดขึ้นตาม ความเป็นจรงิ กจิ กรรม จะเนน้ ไปทีค่ วามสามารถของบคุ คลในด้าน 1. การรู้อารมณ์ตน หมายถึง ตระหนักรู้ตนเอง สามารถรับรู้และเข้าใจความรู้สึก ความคิด และ อารมณข์ องตนตามความเปน็ จริง 2. การควบคมุ อารมณ์ หมายถึง ความสามารถในการจัดการกับอารมณ์ตนเองไดอ้ ย่างเหมาะสม ตาม สถานการณ์เพ่ือไม่ให้เกิดความเครียดสามารถคลายเครียดสลัดความวิตกจริตรุนแรงได้ อย่างรวดเร็ว ไม่ ฉุนเฉียวง่าย ทา ใหอ้ ารมณ์ขุ่นมัวหายไปโดยเร็ว 3. การยอมรบั สิ่งต่างๆท่ีเกิดขึน้ ตามความเป็นจรงิ หมายถงึ ความสามารถในการยอมรับส่ิงท่เี กดิ ข้ึน และสามารถเผชิญกับความจรงิ ในชีวิตไดม้ ีความเข้าใจในธรรมชาตขิ องชีวิตว่าต้องมีสุข-ทุกข์ สมหวัง-ผิดหวัง สาเร็จ-ล้มเหลว ได้มา-เสียไป เป็นต้น ไม่ยึดม่ันกับสิ่งใดมากเกินไป สามารถ มองส่ิงต่าง ๆ ทั้งในด้านท่ีเป็น ความสขุ และความทุกขใ์ นชวี ติ ยอมรบั และกล้าที่จะเผชิญกับ ปญั หาหรืออปุ สรรคต่าง ๆ ด้วยจติ ใจทมี่ ัน่ คง รหสั รายวิชา 55111 : ชื่อวชิ า การช่วยเหลอื ดแู ลด้านสขุ ภาพจิต หน้า 87

มีวินยั ใฝ่รู้ สงู้ านพยาบาลดว้ ยใจ สุขสบาย Health สขุ สงบ กจิ กรรม สขุ สนุก Peacefulness สรา้ งสขุ Recreation 5 มติ ิ สขุ สว่าง สขุ สง่า Cognition Integrity รปู ภาพท่ี 6 กจิ กรรมสร้างสขุ 5 มิติ ซงึ่ ในบทนจี้ ะได้กล่าวถงึ การจดั กจิ กรรมในดา้ นทเี่ ก่ียวข้องกบั การสง่ เสริมสขุ ภาพจติ ไดแ้ ก่ ด้านที่ 2 : สุขสนกุ (Recreation) ปัญหาที่พบเสมอในผู้สูงอายุคือความเหงา ว้าเหว่ ซึมเศร้า และขาดกิจกรรมท่ีจะช่วยทา ให้ชีวิตมี สีสนั หรือขาดกจิ กรรมขณะรวมกลุ่มในสถานบริการ/ในชมรมเป็นต้น กจิ กรรมสุขสนกุ จงึ เป็นกจิ กรรมเสริมท่ี ทาใหเ้ กดิ ความเพลิดเพลิน เมอ่ื มีการรวมกลุ่มของผู้สูงอายุ หรอื บางกจิ กรรมกเ็ หมาะสมในการทากิจกรรมเป็น รายบุคคล และสามารถนากลับไปใช้กับคนในครอบครัว เพื่อเสริมสร้างสัมพันธภาพระหว่างสมาชิกใน ครอบครัวกับผู้สูงอายุได้ ทั้งน้ีในการเลือกกิจกรรมเพื่อแนะนาให้กับผู้สูงอายุขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้นา รหัสรายวชิ า 55111 : ชื่อวชิ า การช่วยเหลือดูแลด้านสุขภาพจิต หนา้ 88

มีวนิ ยั ใฝร่ ู้ สูง้ านพยาบาลดว้ ยใจ กิจกรรมหรือความชอบของผู้สูงอายุเป็นหลัก และไม่มีข้อจากัดของจานวนหรือประเภทกิจกรรมที่จะ ดาเนนิ การ แต่ผ้นู ากิจกรรมควรเนน้ เร่อื งการมีส่วนรว่ มของผู้สงู อายตุ อ่ กจิ กรรมท่จี ดั ข้ึน เพือ่ สร้างความรสู้ กึ ถงึ การมสี ่วนรว่ ม ลดการแยกตวั และ เพิ่มการมีปฏสิ ัมพนั ธ์ของผู้สงู อายุกบั เพ่ือนๆ ในกลุ่ม ซ่งึ เป็นการสรา้ งสังคม ให้กับผู้สงู อายุทต่ี ิดสงั คม และส่งเสรมิ คุณภาพชีวติ ที่ดีเพ่อื ชีวิตใหย้ นื ยาว รปู แบบการจดั กิจกรรมสขุ สนุกในผสู้ ูงอายุ กจิ กรรมท่ี 1 กจิ กรรมราสวย ประเภทกจิ กรรม กิจกรรมเป็นทีมนอก/ในสถานที่ วตั ถุประสงค์ เพ่อื ความสนุกสนาน ไดเ้ คล่ือนไหวรา่ งกาย ให้ผู้สูงอายุไดร้ าวงอีกครง้ั วธิ กี ารเล่น 1. ผู้นากจิ กรรมเปดิ เพลงราวง (1-2 เพลง) 2. ใหผ้ ูส้ งู อายุยืนเป็นวงกลม และราวง สมาชิกโหวต ใครราสวยคนน้ันชนะ กจิ กรรมท่ี 2 ตาบอดคลาชา้ ง ประเภทกจิ กรรม กิจกรรมเปน็ ทมี นอกสถานที่ (outdoorteam) วัตถุประสงค์ เพอ่ื ความสนุกสนาน ทางานเปน็ ทมี วางแผนร่วมกัน วิธีการเลน่ 1. แบ่งผสู้ งู อายุเป็น 2 ทมี 2. ให้ผูส้ งู อายุควานหาของท่ีกาหนดในกลอ่ งทีเ่ ตรียมไวโ้ ดยแข่งกันทลี ะคู่จากตวั แทนของแต่ละทีม 3. ทมี ท่ีสามารถหาของไดถ้ ูกต้องและใชเ้ วลานอ้ ยท่ีสดุ เป็นผู้ชนะ คาแนะนา สง่ิ ของทีน่ ามาทาเปน็ ปรศิ นาแลว้ แต่ผูน้ ากจิ กรรมจะกาหนด กิจกรรมท่ี 3 เกมรอ้ งเพลง ประเภทกิจกรรม ภายใน/ภายนอกสถานท่ี วัตถุประสงค์ เพื่อฟน้ื ฟูความจา ไดค้ วามพอใจ ความสขุ ใจ วธิ ีการ 1. แจกเนื้อรอ้ งเพลงใหผ้ ้สู งู อายุ 2. ให้ผ้สู ูงอายุฝึกร้องตาม อาจเล่นดนตรีประกอบ(พณิ แคน ขลยุ่ ฯลฯ) หรือไมม่ ีก็ได้ 3. เน้ือเพลงตามความพอใจของผสู้ งู อายุ กจิ กรรมท่ี 4 เกมปาร์ตวี้ ันเกิด ประเภทกจิ กรรม ภายในสถานท่ี วตั ถปุ ระสงค์ เพอ่ื การร้จู กั การอยรู่ ว่ มกนั ในสังคมและยอมรบั ผู้อื่น วธิ ีการเล่น รหสั รายวชิ า 55111 : ช่ือวิชา การช่วยเหลอื ดแู ลดา้ นสขุ ภาพจิต หน้า 89

มวี ินยั ใฝ่รู้ ส้งู านพยาบาลดว้ ยใจ 1. ให้ผู้สูงอายุเตรียมจดั งานวนั เกิดให้กบั เพ่อื นท่ีเกดิ ในเดอื นต่าง ๆ 2. ให้ผู้สูงอายุร่วมทาการ์ดวันเกดิ ให้เพื่อน (อุปกรณ์แล้วแต่จะเลอื ก) กจิ กรรมท่ี 5 กจิ กรรมตามบรบิ ทและความถนดั ของผสู้ งู อายใุ นแตล่ ะพื้นที่ ด้านที่ 3 : สขุ สงา่ (Integrity) กจิ กรรมสุขสง่าเป็นกิจกรรมท่ีกอ่ ให้เกิดความภาคภูมิใจซง่ึ มที ้ังการให้และรับจากผู้อ่ืน การตระหนัก ถงึ ความมีคุณค่าในตนเอง การมพี ฤตกิ รรมชว่ ยเหลอื ผ้อู ืน่ ในสงั คมและเกิดมมุ มองตอ่ การใช้ชวี ติ ในเชิงบวก การเลอื กกิจกรรมควรดาเนินการทงั้ 5 กิจกรรม เพื่อสรา้ งความคิดในเชิงบวกให้เกิดขึน้ เนื่องจาก การ สร้างความคิดเชิงบวกเป็นการกระทา ทีจ่ ะต้องอาศัยความตั้งใจส่วนตวั ที่เข้มแข็งและแรงกล้า เพราะหมายถึง การจะตอ้ งระงบั ตน ตอ้ งข่มใจ ต้องเลอื กคดิ ในส่ิงท่ีคนสว่ นใหญไ่ ม่ไดค้ ดิ พรอ้ มกบั ตอ้ งรักษาการคดิ ในเชงิ บวกให้ คงอยู่เสมอ เนื่องจากคนเกิดมาแตกต่างกนั คนส่วนใหญม่ ักจะคิดในเชงิ ลบมากกวา่ การคิดบวกและการคดิ ลบ มักจะมาก่อนเสมอการคดิ บวกเกิดขึน้ ยากและหายเร็ว ไมเ่ หมอื นกับการคดิ ลบเกิดข้นึ งา่ ยและเรว็ มาก แตห่ าย ยาก ดงั น้นั เพือ่ ใหม้ คี วามคิดเชงิ บวกมากขนึ้ ผู้นากิจกรรมจงึ ควรจะช่วยเสริมความคดิ บวกซ้าๆ บอ่ ยๆ เพื่อสรา้ ง ความคิดเชิงบวก ความภาคภูมิใจ และความมคี ุณค่าในตวั เองให้กับผูส้ ูงอายกุ ลุ่มตดิ สังคม ทส่ี าคัญ ยงั เปน็ การ เปลีย่ นทศั นะคติของผสู้ ูงอายจุ าก “ภาระกลายเปน็ พลังให้กับชุมชนอกี ด้วย” รูปแบบการจดั กจิ กรรมสุขสง่าเพอื่ ช่วยในการเสริมสร้างภาพลักษณ์ และคณุ คา่ ในตนเอง กิจกรรมที่ 1 กลมุ่ ภาพสะทอ้ น วตั ถุประสงค์ 1. เพื่อใหผ้ สู้ ูงอายุได้แลกเปลย่ี นประสบการณ์ด้านดหี รือความภูมิใจในอดีต 2. เพอ่ื ให้ผู้สงู อายุไดใ้ ชจ้ นิ ตนาการเพ่อื ความเพลิดเพลินในยามวา่ ง อุปกรณ์ อปุ กรณว์ าดเขยี น การดาเนนิ กจิ กรรม 1. ผ้นู ากลุ่มแบง่ กลุม่ ผู้สงู อายเุ ป็นกลุ่มขนาด 8-10 คน คละชายหญิงตามความสมคั รใจ 2. ผ้นู ากลมุ่ ให้สมาชิกทุกคนวาดภาพเร่ืองราวท่เี ก่ียวกบั เหตกุ ารณ์ความภาคภมู ิใจในอดตี 3. ให้แต่ละคนนาเสนอผลงานและเลา่ เรอ่ื งราวของตนเองสน้ั ๆ ให้สมาชิกกลมุ่ ฟงั และรว่ มแสดงความ คิดเห็นในผลงานแต่ละช้นิ รหสั รายวิชา 55111 : ชอื่ วชิ า การช่วยเหลอื ดูแลดา้ นสุขภาพจิต หนา้ 90

มีวินัย ใฝ่รู้ สงู้ านพยาบาลดว้ ยใจ 4. ผ้นู ากลมุ่ สรุปขอ้ คดิ การทากจิ กรรม กิจกรรมที่ 2 ข้อดฉี ันมอี ยู่ วตั ถุประสงค์ 1. เพื่อให้ผสู้ งู อายเุ กดิ ความตระหนกั ในคุณคา่ ของตนเอง 2. เพอื่ ใหผ้ ู้สงู อายุเกิดความรสู้ ึกทดี่ ตี อ่ ตนเอง อปุ กรณ์ 1. กระดาษขนาด A 4 2. ปากกา/ดนิ สอสี การดาเนนิ กจิ กรรม 1. แจกกระดาษขนาด A 4 ใหผ้ ้สู งู อายุแตล่ ะคน สง่ั ให้พบั คร่งึ กระดาษ 2. ให้วาดภาพใบหนา้ ของตนเองอยู่ตรงกลางหนา้ กระดาษทบั เสน้ คร่ึงแบง่ ทพ่ี ับเอาไว้เทา่ ๆกัน 3. ทางซีกซ้ายของหน้ากระดาษใหเ้ ขียนขอ้ ดีของตนเองทีเ่ ปน็ ลกั ษณะภายนอกท่ีสังเกตไดช้ ัดเจน เช่น สวย หลอ่ ยิ้มงา่ ย ตาคม ผมดก หัวลา้ น เปน็ ตน้ 4. ทางซกี ขวาของหน้ากระดาษให้เขียนข้อดีของตนเองทลี่ ักษณะภายใน (นิสยั ) เชน่ ใจดีมนี ้าใจ ชอบ ช่วยเหลอื ผู้อืน่ ขยัน อดทน เป็นตน้ 5. จับคเู่ พ่ือนา เสนอผลใหส้ มาชิกคนอ่นื ไดร้ บั รเู้ ร่ืองราวของตนเอง และเปล่ียนค่ไู ปเรือ่ ยๆ 6. ผู้นากลมุ่ สรปุ กจิ กรรม กจิ กรรมท่ี 3 ใจเขาใจเรา วัตถปุ ระสงค์ 1. เพื่อให้ผู้สูงอายไุ ด้ฝึกการสอ่ื สารทัง้ ในรูปแบบท่ีเป็นคาพดู และท่าที 2. เพอ่ื ใหผ้ ู้สูงอายุลดลักษณะยึดตนเองเปน็ ศูนยก์ ลาง อุปกรณ์ 1. กระดาษพรูฟ 2. ปากกาเคมี การดาเนินกจิ กรรม 1.ให้ผู้สูงอายุช่วยกันคิดใคร่ครวญในประเด็นดังต่อไปนี้ร่วมกัน แล้วช่วยกันออกมาเขียนให้ได้มาก ท่ีสุด - นิสัยที่ไม่พึงประสงคท์ ่มี ากับวัยสูงอายุ - แนวทางแก้ไขนสิ ยั ท่ีไมพ่ ึงประสงค์ 2. ทกุ คนร่วมกนั อภปิ รายและเล่าประสบการณ์ 3. ผู้นากลุ่มสรุปกิจกรรม รหัสรายวิชา 55111 : ชือ่ วชิ า การช่วยเหลือดแู ลดา้ นสขุ ภาพจติ หน้า 91

มวี ินยั ใฝร่ ู้ สงู้ านพยาบาลดว้ ยใจ กิจกรรมท่ี 4 สงู วยั อาสา วัตถปุ ระสงค์ 1. เพ่อื ให้ผสู้ ูงอายไุ ด้มโี อกาสชว่ ยเหลือกนั เอง 2. เพ่อื ใหผ้ ู้สงู อายไุ ดม้ โี อกาสชว่ ยเหลือสงั คม 3. เพ่อื ใหผ้ ้สู ูงอายไุ ด้เกิดความภาคภมู ใิ จท่ไี ดช้ ว่ ยเหลือผูอ้ ่ืน อปุ กรณ์ – การดาเนินกิจกรรม 1. สรา้ งกลมุ่ สมาชิกผูส้ งู อายุในชมุ ชนเดียวกนั โดยใช้ชมรม หรือsocialnetwork ในการสือ่ สาร 2. ชกั ชวนกันทากิจกรรมบาเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคมเป็นครั้งคราวตามแตจ่ ะสามารถนัดหมาย กันได้ สัปดาห์/เดือน ละ 1-2 คร้ัง เช่น การเข้าวัดปฏิบัติธรรม การช่วยเหลือกันเองของผู้สูง อายุในชุมชน ชวน ผ้สู งู อายใุ นชมรมทาความสะอาดชมุ ชน การสอนหนังสอื เด็กการสอนอาชีพ การถา่ ยทอดภูมปิ ัญหาท้องถ่นิ เป็น ต้น 3. จัดให้มีการเวียนเยี่ยมเยียนสมาชิกสูงวัยที่ติดบ้านหรือติดเตียงและไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรม ตา่ งๆ ไดบ้ ่อยคร้งั ตามความเหมาะสม 4. มกี ารสังสรรค์ตามวาระโอกาสจดั กจิ กรรมที่ลูกหลานได้มโี อกาสเข้าร่วมและแสดงความรัก ความ เคารพ เชน่ งานเทศกาลตา่ งๆ งานปีใหม่ งานประเพณที อ้ งถิน่ ต่างๆ 5. จัดกจิ กรรมนอกสถานที่ การศึกษาดูงาน ท่นี ่าสนใจ เช่น โครงการพระราชดา ริโครงการ ผู้สูงอายุ ในท้องถ่ินอน่ื ๆ เป็นตน้ กจิ กรรมท่ี 5 เทคนิคการฟงั วตั ถุประสงค์ 1. เพ่ือฝกึ ทักษะการฟงั อยา่ งใสใ่ จ 2. เพอื่ ฝกึ การจับประเด็นสาคัญของเนื้อหาเรื่องราว ความรสู้ ึก และอารมณ์ต่อเร่อื ง นนั้ ๆ อุปกรณ์ 1. หวั ข้อข่าวทีน่ า่ สนใจจากหนังสอื พิมพ์ 2. หัวข้อขา่ วส่งเสรมิ สขุ ภาพ การดาเนินกิจกรรม 1. ผ้นู ากิจกรรมเกรนิ่ นาถึงความหมายของการฟังวา่ “เทคนิคในการเป็นผูฟ้ ังท่ีดีจะช่วยให้ผู้ฟังเก็บ เนอ้ื หา รายละเอยี ดของเร่ืองราวต่างๆได้ดีและถ้าฟงั อยา่ งต้งั ใจจะช่วยให้รบั รูเ้ ร่ือง ความคดิ อารมณค์ วามรสู้ ึก ของผ้พู ดู ในขณะทพี่ ูดด้วย” 2. ผ้นู ากจิ กรรมแนะนาวิธีการฟังอย่างใสใ่ จ ว่าจะต้องมีทา่ ที ดังนี้ 2.1 มองประสานสายตาผพู้ ูดตั้งใจฟงั มสี ติและพยายามจบั ประเดน็ สาคัญในสงิ่ ท่ีผู้พูดได้พดู รหัสรายวชิ า 55111 : ช่อื วชิ า การชว่ ยเหลอื ดูแลด้านสุขภาพจติ หน้า 92

มีวินัย ใฝ่รู้ สูง้ านพยาบาลดว้ ยใจ 2.2 ซักถามในจดุ ที่สงสัย ในประเด็นทเี่ ป็นปัญหา ซึ่งเป็นการช่วยใหผ้ ู้ฟงั ตามทันในเรื่องท่ี ผู้ พดู กาลังพดู อยู่ 2.3 การฟังที่ดีต้องไม่แทรกหรือขัดจังหวะยกเว้นกรณีที่สงสัยสิ่งท่ีผู้พดู กาลังพูดอยู่สามารถ ถามคาถามได้ภายหลังจากทีผ่ พู้ ดู พดู จบแลว้ 2.4 แสดงความใสใ่ จและมีทา่ ทีตอบสนองตอ่ สิ่งที่ผู้พดู พดู ดว้ ยสีหน้า ทา่ ทางท่ีเป็นมิตรพรอ้ ม รับฟัง และชว่ ยเหลือ 3. ผู้นากิจกรรมฝึกผู้สูงอายคุ ร้ังแรกอาจให้ผู้สูงอายุจับคู่กัน จากน้ันแจกเนือ้ หาข่าวในหนังสือพิมพ์ แลว้ ให้ผู้สูงอายฝุ กึ ฟงั และจบั ประเด็นของเนื้อหาข่าว อารมณ์ความรูส้ ึกตอ่ เหตุการณใ์ นขา่ ว 4. ผูน้ ากจิ กรรมประเมนิ ความสามารถของผสู้ ูงอายุจากนน้ั เริ่มสูก่ ระบวนการฟังอย่างตงั้ ใจด้วยการ ให้ ผู้สงู อายุจับคกู่ นั และให้ถ่ายทอดเร่ืองความภาคภมู ิใจของตนเองใหฟ้ ัง ประมาณ 5 นาที 5. ผู้นากจิ กรรมให้ผูส้ ูงอายมุ าสรุปเร่ืองเลา่ ที่ได้ฟงั คนละ 2 นาที 6. ผู้นากิจกรรมสรุปสาระสาคญั ที่ตอ้ งฝึกทักษะการฟัง เนอ่ื งจากการฟงั อย่างต้งั ใจจะชว่ ยใหผ้ ้สู งู อายุ สามารถเข้าใจรายละเอียดของเนอื้ หาอารมณ์ความรสู้ ึกจากเร่อื งราวนนั้ ๆ และสามารถซกั ถามสิ่งต่างๆ ทสี่ งสยั ทาใหก้ ารสนทนาลืน่ ไหลไปไดไ้ ม่น่าเบอื่ โดยเฉพาะผสู้ ูงอายมุ กั ถูกคอ่ นขอดบอ่ ยๆ วา่ พดู จาซ้าซาก วกวน ดังนั้น ถา้ ร้จู ักฟังใหด้ แี ละรู้จกั ถามจะทาใหผ้ พู้ ดู รับร้วู า่ ผู้สงู อายุตอบสนองต่อเนื้อหาสาระท่พี ดู คุยได้ไมน่ า่ เบอ่ื ด้านท่ี 4 : สุขสวา่ ง (Cognition) การจัดกจิ กรรมสุขสว่างในกลมุ่ ผสู้ งู อายจุ ะเน้นการกระตุ้นและคงไวซ้ ่งึ การชะลอความเสอ่ื มของ สมอง โดยตอ้ งฝกึ ในเรอ่ื งการรบั รเู้ กยี่ วกบั เหตุการณ์ในปจั จบุ ัน การสงั เกตสิ่งตา่ งๆรอบๆตวั หรือฝกึ จากภาพ ฝึกการ จา ฝึกการอ่าน ฝกึ การเขยี น และฝกึ วิธีการบรหิ ารสมอง ระยะเวลาในการฝกึ ซง่ึ มผี ลงานการวจิ ัยระบุชัดเจนถึงระยะเวลาในการฝกึ ดงั น้ี 1. การฝึกแบบรายบุคคล:การฝกึ ความจาต้องฝกึ อย่างนอ้ ยสปั ดาห์ละ 1 คร้งั ๆละไมน่ ้อยกว่า 30 นาที และใชร้ ะยะเวลานาน 6 สปั ดาหถ์ งึ 16 สปั ดาห์ 2. การฝึกแบบกลุม่ :การฝกึ ความจาต้องฝึกอย่างนอ้ ยสปั ดาหล์ ะ 3 ครัง้ ๆละไม่นอ้ ยกว่า45 นาที และ ใช้ระยะเวลานาน 6 สัปดาหถ์ ึง 16 สัปดาห์ รูปแบบการจดั กจิ กรรมสุขสวา่ งเพอื่ บรหิ ารสมอง รหัสรายวิชา 55111 : ช่อื วิชา การช่วยเหลือดแู ลดา้ นสุขภาพจิต หนา้ 93

มวี ินยั ใฝร่ ู้ สงู้ านพยาบาลดว้ ยใจ กิจกรรมส่งเสริมการรับร้วู ันเวลาสถานที่ กจิ กรรมที่ 1 ปฏิทินมชี วี ิต (กิจกรรมนค้ี วรทา เปน็ ประจา ) เวลาดาเนนิ กจิ กรรม 30 นาที อปุ กรณ์ ปฏทิ นิ ดนิ นา้ มนั วัตถปุ ระสงค์ เพอ่ื ใหผ้ สู้ ูงอายรุ ับร้วู ันเวลาและสถานทแี่ ละกระตนุ้ ความจา วิธีดาเนนิ กิจกรรม 1. ถามผ้สู ูงอายวุ ่า วนั นี้วนั อะไร เดอื นอะไร พ.ศ.อะไร หากผสู้ งู อายุจา ไดใ้ หแ้ จกกระดาษ แต่ ถา้ หาก จา ไมไ่ ดใ้ ห้นา ปฏิทนิ ทม่ี ีวนั เดอื นปีชัดเจน แสดงใหผ้ สู้ งู อายดุ ใู นกลุม่ ใหญ่ 2. แจกดินนา้ มนั แล้วใหผ้ สู้ ูงอายุ ปัน้ - สิง่ ทเ่ี กดิ ข้ึนในวนั เวลาสถานท่ี ณ ปัจจบุ ัน ว่า มกี ิจกรรมอะไรที่ต้องทา หรอื ทาอะไรอยู่ เช่น วนั นจ้ี ะ ทาอะไร เวลาอะไร จะทาอะไร ทากบั ใคร หรือส่ิงทป่ี ระทับใจ - ในเดอื นนนั้ มกี จิ กรรมอะไรที่ต้องทา บ้าง เช่น วันนดั ไปหาหมอ วนั งานประจา ปอี าจใช้ วธิ เี ขยี นหรอื ปน้ั และวางไว้ในปฏทิ นิ วนั นน้ั 3. ให้ผูส้ งู อายุแต่ละคอู่ อกมาเลา่ ให้ฟงั ถงึ สิ่งที่ได้ป้ันและความประทับใจทเ่ี กิดขน้ึ ผนู้ ากจิ กรรมสรปุ ถงึ การรบั รูว้ นั เวลาและสถานที่ หากเรามีปฏิทนิ หรอื สิ่งทจ่ี ะชว่ ยในการเตอื น ไม่ให้ ลมื หากไมม่ ปี ฏิทินในขณะน้นั อาจใชว้ ธิ ีการพูดคยุ กับเพื่อนหรอื การคดิ ว่ามีเหตกุ ารณ์ สาคญั อะไรทเี่ กิดขน้ึ ใน วนั นั้นบ้างก็จะช่วยใหส้ ามารถนกึ ถงึ วนั เดอื นปีได้ กิจกรรมหมวดความจา กจิ กรรมที่ 2 กจิ กรรมตอ่ เพลง เวลาดาเนนิ กจิ กรรม 30 นาที อุปกรณ์ - วตั ถุประสงค์ เพอ่ื กระตุน้ ความจา วิธดี าเนินกิจกรรม วทิ ยากรรอ้ งเพลงทผี่ สู้ งู อายุคุ้นเคย โดยถามผสู้ ูงอายุวา่ เพลงใดทส่ี ามารถร้องไดท้ กุ คน เช่น ลอย กระทง แลว้ ใหผ้ ู้สงู อายตุ อ่ เพลงไปเรอื่ ย ๆ คนละทอ่ น รอ้ งจนกระทงั่ ครบทกุ คนในกลมุ่ กจิ กรรมที่ 3 กจิ กรรมจาภาพผลไม้ เวลาดาเนนิ กจิ กรรม 30 นาที อุปกรณ์ 1. แผ่นป้ายรปู ผลไม้ชนิดตา่ งๆ ไมซ่ ้ากนั ด้านหลังเขยี นเป็นตัวเลข 1 - 10 แผน่ ละ 1 หมายเลข 2. กระดาษคาตอบ วัตถปุ ระสงค์ เพือ่ กระตุ้นความจา วธิ ดี าเนนิ กจิ กรรม รหัสรายวชิ า 55111 : ชอ่ื วิชา การชว่ ยเหลอื ดแู ลด้านสขุ ภาพจิต หนา้ 94

มวี ินัย ใฝร่ ู้ สูง้ านพยาบาลดว้ ยใจ 1. ให้ผสู้ งู อายุดภู าพ 2 ภาพ เปน็ ภาพ แผ่นป้ายรูปผลไมช้ นดิ ต่างๆ ไมซ่ า้ กนั ด้านหลังเขยี นเป็น ตัวเลข 1 - 10 แผ่นละ 1 หมายเลข 2. อธบิ ายกติกาวา่ หา้ มจดคาตอบลงในกระดาษใหใ้ ชค้ วามจาของตนเอง 3. สุม่ ผสู้ ูงอายขุ ึ้นมา 1 คน บอกวา่ ถ้าทายถูกตดิ ตอ่ กนั 10 ภาพได้10 คะแนน 4. ชแู ผน่ ภาพด้านท่ีเปน็ ตวั เลขขึ้นมาทลี ะ2 ภาพแล้วถามผสู้ งู อายุคนน้ันวา่ “ระหวา่ งหมายเลข1 กบั หมายเลข2 หมายเลขใดคือสบั ปะรด?” ผ้สู งู อายุนนั้ ต้องเดาให้ถูก(ซง่ึ ส่วนใหญ่มกั จะผดิ ) ถ้าเดาถูกจะได้เลน่ ตอ่ พลิกแผ่นปา้ ยเฉลยใหผ้ สู้ งู อายุทกุ คนดูเช่น ดา้ นหลงั ของป้ายหมายเลข 1 เปน็ สบั ปะรดจรงิ ๆ (ตอนนี้ทกุ คนรู้ แลว้ ว่า แผ่นป้ายหมายเลข 1 คอื สบั ปะรด) ถ้าผสู้ ูงอายุ ตอบผิดให้นง่ั ลงแล้วสุ่มคนใหมข่ ้ึนมาแทน 5. ชูแผน่ ภาพดา้ นที่เปน็ ตัวเลขข้นึ มาอกี 2 ภาพแล้วถามผสู้ งู อายุคนนัน้ วา่ “ระหวา่ งหมายเลข3 กับ หมายเลข4 หมายเลขใดคือ มังคุด?” ผู้สูงอายุคนน้ันตอ้ งเดาให้ถูก(ซงึ่ ส่วนใหญ่มักจะผิด) ถา้ เดาถูกจะไดเ้ ลน่ ตอ่ ผ้นู ากลมุ่ พลิกแผ่นปา้ ยเฉลยใหผ้ ู้สงู อายุทกุ คนดเู ชน่ ดา้ นหลงั ของปา้ ย หมายเลข 4 เป็นมงั คุดจรงิ ๆ(ตอนนท้ี ุก คนรูแ้ ล้ววา่ แผ่นป้ายหมายเลข4คือ มังคดุ ) ถ้าผูส้ ูงอายุ ตอบผดิ ให้นงั่ ลงแล้วสุ่มคนใหม่ขึ้นมาแทน 6. ทาแบบนี้ไปเรอ่ื ยๆ หากหมดหมายเลขแล้วให้เวียนกลบั มาทีห่ มายเลขเดมิ อีกครัง้ ยกข้นึ มาที ละคู่ แลว้ ให้ทายแบบนไ้ี ปเร่อื ยๆจนผู้สงู อายเุ ร่มิ จดจา ได้แล้วว่าขา้ งหลงั แผน่ ปา้ ยหมายเลขใด เป็นผลไมช้ นดิ ใด (หมายเหตุ : คนแรกๆ อาจจะเสยี เปรยี บเพราะต้องเดาก่อน) 7. เมื่อเหน็ ว่าผสู้ งู อายเุ ริ่มจะจดจา ไดแ้ ลว้ ใหเ้ ขยี นคาตอบลงในกระดาษว่าหมายเลข 1 คือผลไม้ ชนดิ ใด หมายเลข 2 คือผลไมช้ นิดใด เช่น 1. สับปะรด 2. ทุเรียน 3. องุน่ 4. มังคดุ 5........... จนถงึ 10. นอ้ ยหนา่ กิจกรรมท่ี 4 จา ตัวเลข เวลาดาเนินกจิ กรรม 30 นาที อุปกรณ์ แผ่นตัวเลข วตั ถุประสงค์ เพ่ือกระต้นุ ความจา วิธดี าเนินกิจกรรม 1. ให้ผสู้ งู อายจุ าตัวเลขดงั นี้ 8319 6927 4851 93417 68259 37186 865149 271894 438172 7586943 รหสั รายวิชา 55111 : ชื่อวชิ า การชว่ ยเหลือดแู ลดา้ นสุขภาพจติ หน้า 95


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook