Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore การช่วยเหลือดูแลด้านสุขภาพจิต

การช่วยเหลือดูแลด้านสุขภาพจิต

Published by Sukanya Tasod, 2019-07-31 00:32:17

Description: เอกสารประกอบการสอนรายวิชาการช่วยเหลือดูแลด้านสุขภาพจิต

Keywords: สุขภาพจิต

Search

Read the Text Version

เอกสารประกอบการสอน รายวชิ า การช่วยเหลอื ดแู ล ด้านสขุ ภาพจติ ปกี ารศกึ ษา 1/2562 นักศกึ ษาผ้ชู ่วยพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ วทิ ยาลัยเชยี งราย

คานา เอกสารฉบับน้ีจัดทาข้ึนเพือ่ ใช้ประกอบการเรียนการสอนในรหสั รายวิชา 55111 การชว่ ยเหลือดูแล ด้านสุขภาพจิต สาหรับนักศึกษาผู้ช่วยพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยเชียงราย ประจา ภาคเรียนท่ี 1 ปีการศึกษา 2562 ซ่ึงได้รวบรวมจากเอกสารประกอบการเรียนการสอนของคณาจารย์ ผรู้ ับผิดชอบในรายวชิ า ในกลุ่มวชิ าการพยาบาลสขุ ภาพจติ และจิตเวช คณะพยาบาลศาสตร์ วทิ ยาลัยเชยี งราย หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารฉบับน้ีจะเป็นประโยชนส์ าหรับนักศึกษาไดเ้ ป็นอย่างดี หากมีขอ้ บกพร่อง ประการใด นักศกึ ษาสามารถใหข้ ้อเสนอแนะเพื่อแก้ไขใหเ้ อกสารฉบบั น้ีมคี วามสมบรู ณย์ ง่ิ ข้นึ คณาจารย์ กล่มุ วชิ าการพยาบาลสุขภาพจติ และจิตเวช คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลยั เชียงราย 3 พฤษภาคม 2562 รหสั รายวิชา 55111 : ช่อื วิชา การช่วยเหลอื ดูแลด้านสุขภาพจิต หนา้ ก

สารบญั หน้า ก คานา ข สารบัญ ค สารบัญตาราง ง สารบญั รปู ภาพ 1 แนวคิดเกยี่ วกับการดูแลด้านสุขภาพจิต 15 การช่วยเหลือดแู ลผูท้ มี่ ีภาวะสขุ ภาพจิตเบี่ยงเบน: การปรบั ตวั 29 การชว่ ยเหลือดแู ลผู้ทมี่ ีภาวะสขุ ภาพจติ เบ่ียงเบน: ความเครียด 44 การชว่ ยเหลือดแู ลผูท้ มี่ ีภาวะสุขภาพจิตเบี่ยงเบน: ความวิตกกังวล 58 การชว่ ยเหลือดแู ลผ้ทู ม่ี ีภาวะสขุ ภาพจิตเบี่ยงเบน: ภาวะซึมเศร้า 79 การสง่ เสรมิ การปอ้ งกนั และการฟนื้ ฟสู ขุ ภาพจิตตามขอบเขตผ้ชู ่วยพยาบาล รหสั รายวิชา 55111 : ช่ือวชิ า การช่วยเหลือดแู ลดา้ นสุขภาพจิต หนา้ ข

สารบญั ตาราง หน้า 33 ตารางที่ 1 แสดงระดับของความเครียด 48 ตารางที่ 2 แสดงระดับความวิตกกงั วลและลักษณะการแสดงออก 52 ตารางท่ี 3 แสดงการช่วยเหลอื บุคคลท่ีมอี าการวติ กกงั วลระดับเล็กน้อยถงึ ปานกลาง 54 ตารางท่ี 4 แสดงการชว่ ยเหลอื บคุ คลที่มีอาการวิตกกังวลระดับปานกลางถึงรนุ แรง 60 ตารางที่ 5 ความหมายของภาวะซมึ เศร้า 62 ตารางท่ี 6 อาการและอาการแสดงของภาวะซมึ เศร้า 69 ตารางที่ 7 แสดงการชว่ ยเหลือผทู้ มี่ ภี าวะซมึ เศรา้ ในดา้ นตา่ ง ๆ รหัสรายวิชา 55111 : ช่อื วิชา การชว่ ยเหลือดแู ลดา้ นสขุ ภาพจติ หนา้ ค

สารบญั รูปภาพ หน้า 17 รูปภาพท่ี 1 ประเภทของการปรบั ตัว 20 รูปภาพที่ 2 กลไกในการปอ้ งกนั ตนเอง (defense mechanism) 21 รปู ภาพที่ 3 ความตอ้ งการพื้นฐาน (need) ตามแนวคิดของมาสโลว์ 24 รูปภาพท่ี 4 องค์ประกอบของอริยสจั สปี่ ระการ 26 รปู ภาพท่ี 5 ปรัชญาเศรษฐกจิ พอเพียง 88 รูปภาพท่ี 6 กจิ กรรมสร้างสขุ 5 มิติ 100 รูปภาพที่ 7 แสดงระดบั การปอ้ งกันปญั หาสขุ ภาพจิต รหัสรายวิชา 55111 : ชอ่ื วชิ า การช่วยเหลอื ดูแลดา้ นสขุ ภาพจิต หน้า ง

มีวนิ ยั ใฝ่รู้ สงู้ านพยาบาลดว้ ยใจ หลักสตู ร ผ้ชู ว่ ยพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลยั เชยี งราย รหสั วิชา 55111 : ชื่อวิชา การช่วยเหลอื ดแู ลดา้ นสขุ ภาพจิต ภาคการศกึ ษาท่ี 1 ปกี ารศกึ ษา 2562 หวั ข้อ แนวคดิ เกี่ยวกับการดแู ลด้านสขุ ภาพจติ ผสู้ อนอาจารยส์ ุกญั ญา ทาโสด วตั ถุประสงค์ เมือ่ สนิ้ สุดการเรียนการสอน นกั ศกึ ษาสามารถ 1. บอกแนวคดิ พ้นื ฐานของสขุ ภาพจิตได้ถกู ต้อง 2. บอกความหมายและความสาคญั ของสุขภาพจิตได้ถกู ต้อง 3. อธบิ ายลกั ษณะของผู้ทม่ี ีสุขภาพจติ ดีและสขุ ภาพจติ ไมด่ ีได้ถกู ตอ้ ง ปัจจุบันโลกของเรามีการเปล่ียนแปลงอย่างรวดเร็วแ ละซับซ้อนทาให้เกิดปัญหาตามมามากมาย มนษุ ย์เราจะตอ้ งปรับตัวให้เข้ากับสภาวะแวดล้อม ไม่ว่าจะเปน็ สภาพภมู อิ ากาศทเี่ ปล่ียนแปลงไปจนทาให้เกิด สภาวะโลกร้อน ภาวะเศรษฐกิจถดถอยท่ัวโลก สภาพจราจร ปัญหามลภาวะ ความแออดั ของสงั คมเมือง การ แก่งแย่งแข่งขันชงิ ดีชิงเด่น ปญั หาอาชญากรรม ตลอดจนความทกุ ข์ และความผิดหวังต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่าง ยิง่ ในปัจจุบัน สังคมไทยของเราเป็นสังคมทุนนยิ มมีการพัฒนาท่ีเน้นหนกั ด้านวัตถุนยิ มค่อนข้างมาก แล้วให้ ความสาคัญทางด้านจิตใจน้อยลง การเปลีย่ นแปลงเหลา่ น้ียอ่ มส่งผลกระทบต่อสภาวะจติ ใจของบุคคลมากนอ้ ย แตกต่างกันไปในแต่ละบคุ คล ดงั นน้ั การศกึ ษาเกยี่ วกับเรือ่ งของแนวคิดพน้ื ฐานและปจั จยั ทมี่ ผี ลตอ่ สขุ ภาพจิต จงึ มีคามสาคญั เพ่ือใหม้ ีความรู้เข้าใจทถ่ี ูกตอ้ งในการช่วยเหลอื ดแู ลผู้ที่มีภาวะสขุ ภาพจติ เบีย่ งเบนได้ แนวคดิ พ้ืนฐานของสุขภาพจติ แนวคิดทฤษฎีทเ่ี กย่ี วข้องกับสขุ ภาพจิต แนวคิดทฤษฎีท่ีเกี่ยวข้องกับสุขภาพจิตเป็นกรอบที่ช่วยให้เข้าใจในงานสุขภาพจิตมากย่ิงข้ึน ซึ่งมี หลายทฤษฎที เ่ี ป็นพ้นื ฐาน เช่น ทฤษฎจี ติ วิเคราะห์ของฟรอยด์ ซกิ มันต์ ฟรอยด์(Sigmund Freud) เป็นจิตแพทยช์าวเวียนนา ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาของจิต วิเคราะห์ ไดส้ ร้างทฤษฎีจิตวิเคราะห์ขนึ้ มาเพ่ืออธิบายการทางานของจติ ใจ ดงั น้ี 1. ทฤษฎีแผนภาพของจติ ใจ (Topographic theory) ฟรอยดอ์ ธบิ ายว่า หากจะพจิ ารณาจิตใจของมนษุ ย์ตามความรู้สึกตัวแล้ว จะแบง่ ระดบั ความรสู้ กึ ของ จติ ใจออกเป็น 3 ระดบั คือ รหัสรายวิชา 55111 : ชื่อวิชา การชว่ ยเหลอื ดูแลด้านสขุ ภาพจติ หนา้ 1

มวี นิ ัย ใฝ่รู้ ส้งู านพยาบาลดว้ ยใจ 1.1 จิตสานึก (The conscious level) เป็นส่วนของจิตใจที่ตนรู้สึกและตระหนักในตนเองอยู่เสมอ พฤติกรรมที่แสดงออกอยู่ภายใต้การควบคุมด้วยสติปัญญา ความรู้ และการพิจารณาให้เหมาะสมกับสิ่งที่ ถูกต้องและสังคมยอมรบั 1.2 จิตก่อนสานึก (The preconscious level) เป็นระดับของจิตใจที่อยู่ในช้ันลึกลงไปกว่าจิตสานึก คอื ตนไม่ไดต้ ระหนักรู้ตลอดเวลา หากแตต่ อ้ งใชเ้ วลาคดิ หรอื ระลกึ ถึงชว่ั ครู่ และประสบการณ์ตา่ งๆจะถูกดงึ มา สู่จิตสานึก จิตใจส่วนนี้จะช่วยขจัดข้อมูลท่ีไม่จาเป็นออกจากความรู้สึกของบุคคลและเก็บไว้แต่ในส่วนที่มี ความหมายตอ่ ตนเองจิตใจสว่ นนด้ี าเนินการอยตู่ ลอดเวลาในชีวติ ประจาวัน 1.3 จิตใต้สานึก (Unconscious level) เป็นระดับของจิตใจในช้ันลึกที่ตนเก็บไว้ในส่วนลึก อัน ประกอบด้วยความต้องการตามสญั ชาตญาณตา่ งๆซ่งึ ไม่อาจแสดงได้อย่างเปดิ เผยและประสบการณท์ ่ีเกดิ ขน้ึ ใน แต่ละขั้นตอนของพัฒนาการในชีวิตทีม่ นุษยเ์ ก็บสะสมไว้ โดยเฉพาะท่กี ่อให้เกิดความเจบ็ ปวด ฟรอยด์กลา่ วว่า มนุษย์จะเก็บความรู้สกึ ทางลบไว้ในสว่ นจิตใต้สานึก และจะแสดงออกในบางโอกาส ซ่ึงตนไมไ่ ด้ควบคุมและไม่ รสู้ กึ ตัว ฟรอยดเ์ ชอ่ื ว่า การทาความเข้าใจมนษุ ยต์ ้องทาตามความเขา้ ใจจติ ใจส่วนนีด้ ว้ ย 2. ทฤษฎีโครงสรา้ งของจติ ใจ (Structural Theory) โครงสร้างของจิตใจ ฟรอยด์อธิบายว่า จิตใจของมนุษย์ ประกอบด้วยโครงสร้างหลักที่เป็น องค์ประกอบอยู่ 3 สว่ น คือ 2.1 อดิ (Id) คือ สญั ชาตญาณ หมายถึง ส่วนของจติ ที่ยังไม่ไดข้ ดั เกลา เป็นสว่ นดั้งเดมิ ของมนษุ ยท์ ต่ี ิด ตัวมาแต่กาเนดิ และเป็นแรงขบั ของสัญชาตญาณพ้ืนฐาน มงุ่ ให้ได้รับผลประโยชน์ตอ่ ตนเองหรอื ความพงึ พอใจ และความสขุ ของตนเองเป็นหลกั (Pleasure principle) กระบวนการทางานของจติ ส่วนนี้ไมไ่ ดน้ าเหตผุ ลและ ความเปน็ จริงอน่ื ๆมาเกี่ยวข้อง แต่เป็นการตอบสนองความต้องการตามสัญชาตญาณ ฟรอยด์เรยี กกระบวนการ ทางานของจิตส่วนน้วี ่าเป็น กระบวนการคิดแบบปฐมภูมิ(Primary thinking process) ได้กลั่นกรองหรือขัด เกลาให้เหมาะสม 2.2 อีโก้(Ego) เรยี กอีกอยา่ งวา่ ตวั ตนแห่งบคุ คล หรือ Self เป็นสว่ นของจิตใจที่การดาเนนิ โดยอาศยั เหตุและผล การเกดิ ของส่วนน้ีจะทาให้ Id ถูกผลักดันลงไปสู่จิตใจระดับจติ ใตส้ านึกและเป็นตัวประสานงาน ระหว่างความต้องการตามสญั ชาตญาณกับโลกภายนอกตามหลักแห่งความเปน็ จรงิ (Reality Principle) การ ทางานของจิตส่วนนอ้ี ยู่ในระดับที่บุคคลรู้ตัว มีการพินิจพิจารณากลั่นกรอง เพ่ือให้การตอบสนองตามความ ต้องการแรงขับของId อยู่ในขอบเขตของความเหมาะสมตามมาตรฐานของสังคม จึงเรียกกระบวนการคิด ลักษณะนีว้ า่ กระบวนการคดิ แบบทุตยิ ภูมิ (Secondary thinking process) 2.3 ซุปเปอรอ์ ีโก้ (Super Ego) หรือ มโนธรรม เป็นส่วนของจิตใจที่ทาหน้าท่ีเกี่ยวกบั ความรูส้ ึกผิด ชอบช่วั ดี ถูกผิดตามศีลธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีและศาสนา จากการได้รบั การอบรมส่ังสอนจากบุคคล สาคญั ในชีวติ เชน่ พอ่ แม่ ครู เปน็ ต้น 3. ทฤษฎีพัฒนาการของจติ ใจ (Psycho-sexual Development Theory) ฟรอยด์เช่ือว่า พัฒนาการและประสบการณ์ในวัยทารกและวัยเด็กเป็นรากฐานของบุคลิกภาพของ บคุ คลวัยผู้ใหญ่และมพี ลงั ผลกั ดันจากทางจิตใจซึ่งสมั พันธ์กบั ความพึงพอใจทางเพศ ซึง่ พฒั นามาเป็น 5 ระยะ ดังน้ี 3.1 ระยะของความพอใจทางปาก (Oral Stage) เร่ิมตงั้ แตแ่ รกเกดิ ถงึ ประมาณ 1 ปี หมายถงึ ความสขุ และความพอใจของเด็กจะอยูท่ ไ่ี ด้รบั การตอบสนองทางปาก เชน่ การดูดนม การสมั ผสั ด้วยปาก หากเด็กไดร้ ับ การตอบสนองเต็มท่ี เด็กกจ็ ะเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญท่ ี่มีบุคลิกภาพเหมาะสม หากตรงกันข้ามเด็กจะเกิดการ รหสั รายวชิ า 55111 : ชอ่ื วชิ า การชว่ ยเหลอื ดแู ลดา้ นสุขภาพจิต หน้า 2

มวี นิ ยั ใฝ่รู้ สงู้ านพยาบาลดว้ ยใจ ชะงักถดถอย (Fixation) และมาแสดงพฤติกรรมในชว่ งน้ีอีกในวัยผู้ใหญ่ เช่น ชอบนนิ ทาวา่ ร้าย สูบบุหรี่ กิน จบุ -กินจิบ เปน็ ตน้ 3.2 ระยะของความพอใจทางทวารหนกั (Anal Stage) ต้ังแต่อายุ 1-3 ปี หมายถึง ความพอใจอยู่ที่ การขับถ่ายเม่ือมีวุฒิภาวะ ฉะน้ัน การฝึกฝน ฝึกหัด การขับถ่ายอย่างค่อยเป็นค่อยไปด้วยวิธีผ่อนปรนและ ประนีประนอม และให้เรียนรู้การขับถ่ายเป็นเวลาจะทาให้เด็กไม่เกิดความเครียดและสามารถพัฒนา บุคลิกภาพท่ีเหมาะสมได้ ตรงกันข้ามหากเด็กได้รับการลงโทษและฝึกหัดด้วยวิธีรุนแรงจะทาให้เด็กเกิด ความรู้สึกไมพ่ อใจและเก็บความรู้สึกทีไ่ ม่ดีไว้ที่จิตไร้สานกึ และจะมีผลต่อบุคลิกภาพในเวลาต่อมา กล่าวคือ เป็นคนข้ีเหนียว เจ้าระเบียบ ชอบทาร้ายให้ผู้อื่นเจ็บปวด อาจเป็นสาเหตุของโรคประสาทชนิด ย้าคิดย้าทา (obsessive - compulsive) ได้ 3.3 ระยะพึงพอใจในอวัยวะเพศ (Phallic Stage) อายุ 3-6 ขวบ หมายถึง ความสนใจของเด็กจะ เปลยี่ นมาสนใจเกี่ยวกับอวัยวะเพศ มักถามว่าตนเกิดมาจากไหน ฯลฯ ในขั้นนี้เดก็ จะรักพ่อแม่ท่ีเป็นเพศตรง ขา้ มกับตน และลักษณะเชน่ นี้ทาให้เด็กเลียนแบบบทบาททางเพศจากพ่อหรือแม่ที่เป็นต้นแบบ หากพ่อแม่ ปฏิบัตติ ามบทบาทที่ดี เหมาะสมเป็นตัวแบบท่ีดี เดก็ ก็จะเลยี นแบบและพัฒนาบทบาททางเพศของตนได้อย่าง ดี ในระยะน้ีมีปรากฏการณ์ท่ีสาคัญ คือ ปมออดิปุส (Oedipus complex) เป็นปรากฏการณ์ที่เด็กชายมี ความรู้สกึ ทางเพศ รักและผกู พันแต่แม่ ขณะเดียวกันกม็ ีความรู้สึกเกยี จพ่อซึ่งเป็นผูม้ าแย่งความรักจากแม่ไป สว่ นเดก็ หญงิ ก็ทานองเดียวกนั เด็กหญงิ จะพฒั นาปมอเิ ลก็ ตร้า (Electra complex) เด็กหญงิ จะรกั และผูกพัน กบั พ่อ ขณะเดียวกันกม็ ีความรู้สึกเกียจแม่ซงึ่ เป็นผู้มาแย่งความรักจากพ่อไป ความรู้สกึ เช่นนี้จะหมดไปเม่ือ เด็กชายหันมาเลียนแบบพ่อได้ และสะสมบุคลิกภาพและความเป็นชายของพ่อเข้าไว้ในตนเองเพื่อให้แม่รัก เพราะรู้ว่าตนไมส่ ามารถเอาชนะพ่อได้ ส่วนเด็กหญงิ ก็เช่นเดียวกันหันมาเลียนแบบแมแ่ ละถ่ายทอดความเป็น หญิงจากแมเ่ พ่ือให้พอ่ รกั การสนิ้ สดุ ของ Oedipus complex และ Electra complex คอื จุดเรม่ิ ต้นของการ เกิด Super Ego บางคนมีบุคลิกภาพที่สืบเน่ืองมาจากพัฒนาการระยะน้ี เด็กชายบางคนอาจเกิดความ ภาคภมู ใิ จ เดก็ หญงิ อาจรสู้ ึกเกลยี ดตวั เอง เดก็ ท่ีตดิ นิสัยชอบการแข่งขนั มักจะมคี วามกล้าหาญแบบมุทะลุ หรือ เด็กท่ีหวาดกลัวจะถูกตดั อวัยวะเพศติดมามักจะขี้ขลาด บุคลิกภาพบางประการ เช่น ความรักนวลสงวนตัว เหล่านี้เป็นส่ิงท่ีเด็กเลียนแบบมาจากพ่อแม่ และถ้าเกิดการติดตรึง (Fixation) ในข้ันน้ี อาจก่อให้เกิดความ เบีย่ งเบนทางเพศได้ เช่น รกั ร่วมเพศ (Homosexuality) เปน็ ต้น 3.4 ระยะความต้องการแฝง (Latency Stage) อายุ 7-14 ปี เป็นวัยเข้าโรงเรียน วัยน้ีดูภายนอก คอ่ นข้างเงียบสงบ หลงั จากผา่ นระยะ Oedipus complex มาแล้ว ความรูส้ ึกพอใจทางเพศจะถกู เก็บกดเอาไว้ เดก็ จะเรมิ่ ออกจากบ้านไปสังคมภายนอก เช่น สงั คมในโรงเรียน เด็กจะมกี จิ กรรมใหมๆ่ ที่เพิม่ ขึ้น 5.5ระยะข้ันวัยรุ่น (Genital Stage) อายุ 13-18 ขวบ หมายถึง เด็กหญงิ จะเริม่ มีความสนใจเดก็ ชาย และเดก็ ชายก็เรม่ิ มคี วามสนใจเด็กหญิงเป็นระยะที่จะมคี วามสัมพันธ์ระหวา่ งเพศอยา่ งแทจ้ ริง ทฤษฎพี ัฒนาการทางสังคม (Psychosocial Development) ทฤษฎพี ัฒนาการทางสังคมนี้ ผู้ริเรม่ิ คือ อิรคิ เอช อริ ิคสัน (Erik H. Erikson) ซึ่งอีริคสนั เปน็ ลกู ศิษย์ ของฟรอยด์ ที่สร้างทฤษฎีข้ึนในแนวทางความคิดของฟรอยด์ แต่เห็นความสาคัญทางด้านสังคม วัฒนธรรม และส่ิงแวดล้อมด้านจิตใจ (Psychological Environment) มากย่งิ ขึ้น ว่ามบี ทบาทในพัฒนาการบุคลกิ ภาพ มาก ความคิดของอีรคิ สนั ต่างกับฟรอยด์หลายประการ เช่น เห็นความสาคัญของ Ego มากกวา่ Id และถือว่า รหสั รายวิชา 55111 : ชื่อวชิ า การชว่ ยเหลือดแู ลด้านสุขภาพจติ หนา้ 3

มวี ินัย ใฝ่รู้ สู้งานพยาบาลดว้ ยใจ พัฒนาการของคนไม่ไดจ้ บแค่วยั รนุ่ แตต่ อ่ ไปจนกระทั่งวาระสดุ ท้ายของชีวิต คอื วัยชรา และตอนที่ยังมชี ีวิตอยู่ บุคลิกภาพของคนก็เปลย่ี นไปเรือ่ ยๆ ทฤษฎีพัฒนาการทางสังคม (Psychological Theory) ได้แบ่งพัฒนาทางบุคลิกภาพออกเป็น 8 ขั้น ดงั น้ี ขนั้ ท่ี 1 ความไวว้ างใจ – ความไม่ไว้วางใจ (Trust vs Mistrust) แรกเกิดถึง 1 ปี ซึ่งเป็นขั้นในวัยทารก อีริคสันถือว่าเป็นรากฐานที่สาคัญของพัฒนาการในวัยต่อไป เด็กวยั ทารกจาเปน็ จะต้องมีผู้เล้ียงดูเพราะชว่ ยตนเองไมไ่ ด้ ผู้เล้ียงดูจะต้องเอาใจใสเ่ ด็ก ถึงเวลาให้นมก็ควรจะ ให้ ดูแลความไม่สบายของทารกอันเนือ่ งมาจากการขับถ่าย เป็นต้น ในชว่ งนี้หากทารกได้รับการตอบสนอง อยา่ งเหมาะสมดว้ ยความรักความผูกพนั ทแี่ สดงออกอย่างจริงใจ และสัมผสั ทีอ่ บอนุ่ ของผเู้ ล้ียงดู จะทาให้ทารก รู้สึกว่าโลกนี้ปลอดภัย น่าไว้วางใจ แต่ในทางตรงกันข้ามหากเด็กได้รับการเล้ียงดูที่ไม่เหมาะสม ไม่มีความคง เส้นคงวา ทารกจะคิดว่าโลกน้ีเตม็ ไปด้วยความอันตราย ไม่นา่ อยู่ มีความหวาดระแวง เด็กจะพัฒนาความไม่ ไวว้ างใจทั้งต่อตนเองและผ้อู ื่น ขั้นท่ี 2 ความเป็นตัวของตัวเอง – ความสงสัยไม่แน่ใจตัวเอง (Autonomous vs Shame and Doubt) อยใู่ นวัยอายุ 2-3 ปี วัยนเี้ ปน็ วัยท่ีเรมิ่ เดินได้ สามารถทจ่ี ะพูดได้และความเจริญเตบิ โตของรา่ ยกายชว่ ย ใหเ้ ดก็ มีความอิสระ พ่งึ ตัวเองได้ และมีความอยากรอู้ ยากเห็น อยากจบั ตอ้ งสิ่งของต่างๆ เพ่อื ต้องการสารวจว่า คืออะไร เด็กเร่ิมที่อยากเป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเอง ในวัยนี้ถ้าเด็กได้รับอนุญาตให้กระทาส่ิงต่างๆเอง โดย ได้รบั การปกปอ้ งบ้าง ในกาลังใจในการทดลงทาสงิ่ ตา่ งๆ ตามความสามารถและวิธีการของเดก็ เอง จะทาใหเ้ ดก็ พฒั นาความเป็นตัวของตวั เอง มีความมั่นใจในตนเอง ในทางตรงกันข้ามหากบิดามารดา หรือผู้เล้ียงดู ไม่ให้ โอกาสเด็กทาส่ิงต่างๆ ด้วยตนเอง แต่กลับทาให้เด็กหมด เด็กจะเกิดความเคลือบแคลงสงสัย ไม่ม่ันใจใน ความสามารถของตนเอง ขน้ั ที่ 3 การเป็นผู้คดิ ริเร่ิม – การรู้สกึ ผดิ (Initiative vs Guilt) วัยเด็กอายุประมาณ 3-5 ปี อีริคสันเรียกวัยน้ีว่าเป็นวัยที่เด็กมีความคิดริเริ่มอยากจะทาอะไรด้วย ตนเอง จากจินตนาการของตนเอง การเล่นสาคญั มากสาหรบั วัยน้ี เพราะเด็กจะไดท้ ดลองทาส่ิงต่างๆ จะสนุก จากการสมมติของต่างๆ เป็นของจริง เช่น อาจจะใช้ลังกระดาษเป็นรถยนต์ ขับรถยนต์เหมือนผู้ใหญ่ บิดา มารดาควรให้เวลากับเด็กในการตอบคาถามในระดับทเี่ ด็กเข้าใจ ไม่แสดงความเบื่อหน่าย ในขณะเดียวกันก็ สง่ เสริมให้เด็กเกดิ ความพยายามศึกษา คิดค้นสิ่งตา่ งๆท่ีดี หากผู้ใหญ่เขม้ งวด ดุดา่ หรอื ตาหนิ เมื่อเด็กถาม เด็ก จะเกดิ ความรสู้ กึ ผดิ ทอ้ ถอย เบ่ือหนา่ ย เป็นการไม่สนับสนนุ ความอยากรู้อยากเหน็ ของเด็ก ข้ันที่ 4 ความขยนั หมนั่ เพียร– ความรู้สึกดอ้ ย (Industry vs Inferiority) อีรคิ สนั ใช้คาวา่ Industry กบั เด็กอายุประมาณ 6-12 ปี เน่อื งจากเด็กวัยน้มี พี ฒั นาการดา้ นสติปญั ญา และทางด้านร่างกาย อยู่ในข้ันท่ีมีความต้องการที่จะอะไรอยู่เสมอ วัยน้ีเด็กเริ่มเข้าโรงเรียนเด็กจะมีความ ตอ้ งการเปน็ ทย่ี อมรบั ของผอู้ ืน่ โดยพยายามคิด ทา คดิ ผลิตสงิ่ ตา่ งๆ ซึง่ เปน็ การพฒั นาความขยันขนั แข็ง ถ้าเด็ก ไดร้ บั การกระตุน้ ใหท้ าสงิ่ ต่างๆ ได้รบั กาลังใจในการกระทาจนสาเรจ็ และได้รับคาชมเชยในความสาเรจ็ ของเดก็ เด็กจะเกิดความมานะพยายาม มุ่งมั่นในการทาส่ิงต่างๆ อย่างจริงจัง ในทางตรงกันข้าม ถ้าเด็กทาส่ิงใดข้ึน มาแลว้ ผู้ใหญ่ไมใ่ ห้ความสนใจ และเห็นวา่ เป็นสิ่งที่น่าเบื่อหน่าย ไมม่ คี ุณค่าเด็กจะเกดิ ความรู้สึกต่าตอ้ ยและมี ปมดอ้ ย รหสั รายวิชา 55111 : ช่ือวิชา การช่วยเหลอื ดูแลด้านสุขภาพจิต หน้า 4

มวี ินัย ใฝ่รู้ สงู้ านพยาบาลดว้ ยใจ ข้ันท่ี 5 อัตภาพหรอื ความเปน็ เอกลกั ษณ์ของตน – การสับสนในบทบาทในสงั คม (Ego Identity vs Role Confusion) อีรคิ สันกลา่ วว่า เดก็ ในวยั นีท้ ่มี ีอายุระหว่าง 12-18 ปี จะร้สู กึ ตนเองว่า มคี วามเจริญเติบโต โดยเฉพาะ ทางด้านร่างกายเหมือนกับผใู้ หญ่ทกุ อย่าง ร่างกายเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีการเปลี่ยนแปลงทางเพศทั้ง หญงิ และชาย เดก็ วัยรุน่ จะมีความรูส้ ึกในเรื่องเพศและบางคนเป็นกงั วลต่อการเปลยี่ นแปลงอย่างรวดเร็ว เด็ก จะแสวงหาเอกลักษณ์ของตนเอง เด็กโตพอท่ีจะวิเคราะห์ตนเอง หาเอกลักษณ์ของตนเอง รู้ว่าตนเองคือใคร ตอ้ งการอะไร มีความเช่ือ มีเจตคติ และเปา้ หมายในอนาคตอย่างไร ถ้าเด็กค้นพบเกี่ยวกบั ตนเองก็จะสามารถ พัฒนาบทบาทของตนเองได้ถูกต้อง หากเด็กยังหาตนเองไม่พบ ยังไม่รู้ว่าตนเป็นใคร ต้องการอะไร ก็จะไม่ สามารถแสดงบทบาทได้ถูกต้องสอดคล้องเหมาะสมกบั ตนเอง และเกดิ ความสับสนในบทบาทของตน และหาก เดก็ มีพนื้ ฐานพฒั นาการวยั ทผ่ี ่านมาไม่ดี เดก็ กจ็ ะย่งิ มีปัญหาในการปรบั ตวั มากย่งิ ข้ึน ข้ันท่ี 6 ความใกล้ชิดผูกพัน – ความอ้างว้างตัวคนเดียวหรือการแยกตัว (Intimacy vs Isolation) วัยน้ีเป็นวัยผู้ใหญ่ระยะต้น (Young Adulthood) เป็นวัยที่ท้งั ชายและหญิงเร่ิมท่ีจะรู้จักตนเองว่ามี จดุ มุ่งหมายในชวี ติ อยา่ งไร เป็นวัยท่ีพร้อมทีจ่ ะมคี วามสัมพันธก์ ับเพือ่ นต่างเพศในฐานะเพือ่ นสนิทที่จะเสียสละ ให้กันและกัน รวมทั้งสามารถยินยอมเห็นใจซึ่งกันและกันโดยไม่เห็นแก่ตัวเลย และมีความคิดตั้งตนเป็น หลักฐานหรือคิดสนใจท่ีจะแต่งงานมีบ้านของตนเอง ต้องการผู้ท่ีจะมีส่วนร่วมประสบการณ์ ถ้าบุคคลไม่ สามารถสร้างความร้สู กึ ผกู พันใกลช้ ิดกับผู้อน่ื ได้ ก็จะมคี วามรู้สึกแข่งขัน ชิงดชี ิงเด่น ทะเลาะเบาะแว้งกับผ้อู ื่น จนตอ้ งแยกตัวอย่ลู าพัง ขาดเพอ่ื น บคุ คลทีส่ ามารถสร้างความรูส้ ึกผูกพันใกลช้ ิดกับผอู้ ่ืนได้ กอ็ าจจะถึงขั้นแต่งงานอยู่รว่ มกนั รู้จักถอ้ ยที่ ถ้อยอาศัย ส่วนบุคคลที่ไม่สามารถสร้างความรู้สึกผูกพันใกล้ชิด รักใคร่ ถ้อยที ถ้อยอาศัยกับผู้อื่นได้ แม้จะ แตง่ งานแล้วก็ตาม กไ็ ม่สามารถอยู่รว่ มกนั ได้ จนเกดิ การหย่าร้างและแยกกนั อยู่ในท่สี ดุ ข้ันที่ 7 ความเป็นห่วงชนรนุ่ หลังหรอื ทาประโยชน์ให้สงั คม – ความคิดถึงแตต่ นเอง (Generativity vs Stagnation) อรี ิคสันอธิบายคาว่า Generativity วา่ เป็นวยั ที่เป็นหว่ งเพอ่ื นร่วมโลกโดยทั่วไป หรอื เปน็ หว่ งเยาวชน รนุ่ หลงั อยากจะใหค้ วามรู้ ส่งั สอนคนรนุ่ หลงั ต่อไป คนท่แี ตง่ งานมบี ุตรก็สอนลูกหลาน คนทไ่ี มแ่ ต่งงาน ถ้าเป็น ครูกส็ อนลูกศิษย์ ถ้าเป็นนายก็สอนลูกน้อง หรือช่วยทางานทางด้านศาสนา เพอ่ื ท่ีจะปลูกฝังให้คนรุ่นหลังเป็น คนดีต่อไป ซง่ึ แสดงใหเ้ หน็ วา่ บคุ คลเหลา่ นผ้ี า่ นข้นั ท่ี 5 และ 6 มาดว้ ยดี ถา้ บคุ คลใดผ่านพฒั นาการมาถงึ ข้นั นไ้ี ม่ สาเร็จ ก็จะเกิดความรู้สึกท้อถอยเหนื่อยหน่ายในชีวิต คิดถึงแต่ตนเองไม่ทาประโยชน์ให้สังคม จะมุ่งเฉพาะ ประโยชน์สว่ นตนเทา่ นน้ั ข้ันที่ 8 การบูรณาการหรือความพอใจในตนเอง – ความส้ินหวังและความไม่พอใจในตนเอง (Ego Integrity vs Despair) วัยน้ีเป็นระยะบัน้ ปลายของชวี ติ ฉะน้นั บุคลิกภาพของคนวัยนม้ี กั จะเป็นผลรวมของวัย 7 วยั ทผี่ า่ นมา ผู้มีอาวุโสบางท่านยอมรับว่าได้มีชีวิตท่ีดีและได้ทาดีท่ีสุด ยอมรับว่าตอนนี้แก่แล้วและจะมีชีวิตอยู่อย่างมี ความสุข จะเป็นนายของตนเองและมีความพอใจในสภาพชีวิตของตน ไม่กลัวความตาย พร้อมท่ีจะตาย ยอมรบั ว่าคนเราเกดิ มาแล้วก็จะต้องตาย รจู้ ักหาความรู้ ความสงบ ให้กบั ตนเองได้ สามารถบูรณาการชีวติ ได้ สว่ นบุคคลท่ีมีพัฒนาการข้ันต้นๆไม่เหมาะสม เมื่อมาถึงขนั้ น้จี ะรู้สกึ วา่ ตนเองไร้ค่า สิน้ หวัง ทอ้ แท้ เหลือเวลา นอ้ ยเกนิ ไปที่จะแสวงหาสงิ่ ทท่ี าใหช้ ีวิตมีความสขุ ไมย่ อมรบั สภาพความเป็นอยู่ของตนเอง รหัสรายวิชา 55111 : ชอ่ื วิชา การชว่ ยเหลือดูแลดา้ นสุขภาพจติ หน้า 5

มีวนิ ยั ใฝ่รู้ สงู้ านพยาบาลดว้ ยใจ กล่าวโดยสรุป ทฤษฎีพัฒนาการในทัศนะของอิริคสัน มีความเชื่อว่าพัฒนาการทางบุคลิกภาพของ บุคคล เกิดจากการท่ีบุคคลมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ทุกช่วงวัยของชีวิตมีความสาคัญท่ีจะพัฒนา องค์ประกอบของบุคลิกภาพตลอดชวี ิต โดยเร่ิมตั้งแต่วัยทารกแรกเกิดเป็นต้นไป จะเริ่มมีปฏิสมั พันธ์กับบิดา มารดา แต่วยั ทารกตอ้ งอาศัยบิดามารดาเปน็ ผตู้ อบสนองและจะคอ่ ยๆ เปน็ อิสระสามารถช่วยตัวเองไดเ้ พ่ิมขึ้น เรือ่ ยๆ แต่ยงั คงมีปฏิสัมพนั ธก์ ับสังคมทุกระยะของพฒั นาการ ถา้ บุคคลได้รับการตอบสนองอย่างเหมาะสมกจ็ ะ พัฒนาบุคลิกที่ดี ตอบสนองผู้อ่ืน ทาประโยชน์ให้สังคม และสามารถบูรณาการชีวิตของตนเองได้อย่าง เหมาะสมในทีส่ ุด ทฤษฎสี มั พันธภาพระหว่างบุคคล (Interpersonal Theory) แฮรี่ สแตก ซัลลิแวน (Harry Stack Sullivan) (1892-1949) จิตแพทย์ชาวอเมริกัน เป็นผู้ก่อต้ัง ทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคล โดยมีพ้ืนฐานแนวคิดมาจากทฤษฎีของฟรอยด์ ที่ทาให้ซัลลิแวนเกิดความ คับข้องใจในการจัดการกับกระบวนการทางจิตของตัวบุคคลท่ีไม่สามารถมองเห็นได้ เขาจึงหันมาสน ใจ กระบวนการสัมพันธภาพระหว่างบุคคล (Interpersonal process)ที่สังเกตได้ภายใต้กรอบของสังคม (Varcarolis, Shoemaker, & Carson, 2006) ซัลลิแวนเชื่อว่าสุขภาพของบุคคลคือการใช้ชีวิตอยู่ในสังคม โดยที่บคุ คลน้ันมีสมั พันธภาพกบั ผู้อื่นได้อยา่ งมีประสิทธิภาพ การเจบ็ ป่วยทางจิตเป็นการขาดความตระหนกั รู้ หรือขาดทกั ษะในกระบวนการสมั พนั ธภาพระหว่างบุคคล สัมพันธภาพจงึ ถกู มองวา่ เปน็ สาเหตขุ องพฤติกรรมท่ี ไม่เหมาะสม การสร้างบุคลิกภาพเชิงลบ ความวิตกกังวล (Keltner, Schwecke, & Bostrom, 2007) และ ความเครียด (Shives, 2005) ระบบความเปน็ ตัวตน ซลั ลิแวนกล่าวว่าบคุ ลิกภาพเปน็ ระบบความเป็นตวั ตน (self-system) ทีพ่ ัฒนารูปแบบอย่างยั่งยืน เพื่อหลีกเลี่ยงหรือลดความวิตกกังวลจากการเผชิญหน้าระหว่างบุคคลและความต้องการทางชีวภาพ ซัลลิแวนยังเช่ือว่าความวิตกกังวลอาจจะเกิดจากการใส่ใจกับการสื่อสารจากบุคคลอื่นมากเกินไป ความ วิตกกังวลจะกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมท่ีช่วยลดความวิตกกังวลน้ัน และช่วยให้แต่ละบุคคลแยกแยะ ประสบการณต์ า่ งๆทเ่ี ป็นส่วนหน่ึงของกระบวนการเรยี นรู้ได้ ความวิตกกังวลระดับรนุ แรงและความหวาดกลัว (panic) จะทาใหบ้ ุคคลไม่สามารถถ่ายทอดข้อมูลต่างๆและทาใหเ้ กิดความสับสนได้ ระบบความเปน็ ตัวตนน้ัน พฒั นามาตั้งแตว่ ยั ทารก โดยเดก็ จะเรมิ่ มีการมองวา่ ตนเองเป็นไปตามรปู แบบใด ซ่งึ จะมี 3 รปู แบบ ดังนี้ - ฉนั ดี (good me) เม่ือบคุ คลพึงพอใจในสง่ิ ทีต่ นเองต้องการ - ฉนั เลว (bad me) เม่อื ความตอ้ งการของบุคคลไม่ไดร้ บั การตอบสนองและยังคงมคี วามวิตกกังวล - ไม่ใช่ฉัน (not me) เม่ือความวติ กกงั วลนน้ั ถึงระดบั รนุ แรง และขอ้ มลู ต่างๆไม่ไดถ้ ูกรวมไวก้ ับ บคุ ลิกภาพในระดับจติ สานึกอยา่ งสมบรู ณ์ เม่อื ทารกกา้ วเขา้ ส่วู ัยเดก็ ปฐมวยั และมีการพฒั นาด้านภาษา มีการแยกแยะสมมตติ ัวตนว่าดีหรอื เลว เรม่ิ หลอมรวมความรู้สกึ ทัง้ หมดของแตล่ ะบุคคลดว้ ยพฤตกิ รรมและสถานการณ์ทแ่ี ตกตา่ งกนั ไป อย่างไรกต็ าม ไดข้ ้อเสนอแนะจากบุคคลอื่นยงั คงปรบั อตั มโนทศั น์ของเดก็ ไปในทางบวกและทางลบอยา่ งตอ่ เนอ่ื ง การพฒั นาบุคลกิ ภาพ แนวคิดของซลั ลแิ วนประกอบด้วยการพัฒนาบคุ ลิกภาพ ซง่ึ มงุ่ เน้นไปท่ีเครื่องมอื (tool) หรือพฤตกิ รรม (behaviors) ท่จี าเป็นในการช่วยใหง้ านด้านการพัฒนาบุคลกิ ภาพประสบความสาเรจ็ แบง่ ตามวัย ดังน้ี - วยั ทารก (infancy) (แรกเกดิ – 1 ½ ปี) มีเครอื่ งมือที่ใช้ เชน่ การร้องไห้ เพ่อื ใชใ้ นการ ติดต่อส่อื สารกบั ผ้อู นื่ ทาใหส้ ามารถเรียนรทู้ ่ีจะพ่งึ พาผอู้ ื่นได้ รหัสรายวิชา 55111 : ชื่อวชิ า การช่วยเหลอื ดแู ลด้านสุขภาพจติ หนา้ 6

มวี นิ ัย ใฝ่รู้ สู้งานพยาบาลดว้ ยใจ - วัยเด็ก (childhood) ( 1 ½ - 6 ปี) ภาษาเปน็ เครอื่ งมอื ทีม่ สี ว่ นช่วยในการเรยี นรู้ทจี่ ะยดื ระยะเวลาของความพึงพอใจในสิง่ ท่ตี อ้ งการ (the gratification of needs) (วีณา เจี๊ยบนา, 2556; Keltner, Schwecke, & Bostrom, 2007) ทาให้เดก็ รูจ้ กั การรอคอย (วีณา เจย๊ี บนา, 2556) - วัยเดก็ โต (juvenile period)(6-9 ป)ี การแข่งขัน ความประนปี ระนอม และการใหค้ วามรว่ มมอื เป็นเคร่อื งมือทเ่ี ดก็ ใชใ้ นการพฒั นาสมั พันธภาพกบั เพอื่ น - วัยกอ่ นวัยรนุ่ (preadolescence) (9-12 ป)ี การทางานรว่ มกัน การใหค้ วามรักแกเ่ พ่ือนเพศ เดียวกัน เปน็ เคร่ืองมอื ทีใ่ ช้ในการสร้างสมั พันธภาพกบั เพศเดยี วกนั - วัยรนุ่ ตอนตน้ (early adolescence) (12-14 ปี) เรม่ิ มคี วามตอ้ งการทางเพศ (sexual desire) มีการใช้เครอื่ งมอื เดยี วกนั กบั วยั ก่อนวัยรนุ่ ทชี่ ่วยในเรยี นรแู้ ละพฒั นาการสร้างสมั พนั ธภาพกับ เพศตรงขา้ ม - วัยรุน่ ตอนปลาย (later adolescence) (14-21 ปี) สมั พนั ธภาพท่เี กิดข้ึนในวัยรนุ่ ตอนตน้ นน้ั ได้ นาไปส่กู ารพึ่งพาซึง่ กันและกนั ในวัยรนุ่ ตอนปลาย (Keltner, Schwecke, & Bostrom, 2007) วยั นีร้ จู้ กั การควบคุมความตอ้ งการทางเพศของตน และรสู้ กึ พงึ พอใจในการมสี ัมพันธภาพกับเพศ ตรงขา้ ม (วีณา เจี๊ยบนา, 2556) ซัลลิแวนไม่ไดก้ ล่าวถงึ พฒั นาการทเี่ ปลีย่ นแปลงไปภายหลงั วยั ร่นุ ตอนปลาย ปจั จัยท่มี ีผลต่อสขุ ภาพจติ ความแตกตา่ งของบุคคลในดา้ นร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสงั คมเป็นปจั จยั สาคัญท่ีมผี ลตอ่ พฒั นาการ ทางสขุ ภาพจิตของแต่ละบคุ คลอย่างยิ่ง ซง่ึ มีทงั้ ปัจจยั ต่างๆ ดังนี้ 1. ปจั จัยทางชีวภาพ 1.1. ระบบต่อมไรท้ ่อ (Endocrine) มีผลโดยตรงต่อสรีระและกายวิภาค เน่ืองจากความผิดปกติของสภาวะสารเคมีในร่างกาย ทาให้ ร่างกายเจรญิ เตบิ โตผิดปกติได้ ส่งผลต่อสุขภาพจติ ตวั อยา่ งเช่น ต่อมพิทูอิตอารี (Pituitary gland) เช่น อะโครเมกาลี (Acromegaly) เป็นโรคที่ทาให้หน้าและ โครงสรา้ งของร่างกายผดิ ปกติ ความคิดช้า อารมณ์เฉ่ือย ไมม่ ีอารมณข์ ัน มีอาการเหมือนอาการย้าคดิ ต่อมไทรอยด์ (Thyroid gland) เช่น Hyperthyroidism เป็นความผิดปกติของการหลง่ั ฮอร์โมนทาให้ ผปู้ ว่ ยมีอาการหงุดหงิด เครียด อารมณไ์ ม่คงที่ ซมึ เศร้าสลับร่นื เริง Hypothyroidism ทาให้การตัดสินใจไมด่ ี นอนไม่หลบั ความคิดผิดปกติ และมีอาการประสาทหลอน 1.2. สารชีวเคมใี นร่างกาย จากการศึกษาสารเคมีในรา่ งกายทม่ี ผี ลต่อภาวะสุขภาพจติ พบว่า นอร์อะดรีนาลีน (Noradrenaline) และโดปามนี (Dopamine) เปน็ ตวั นาสารสื่อประสาท ท่ีเพ่ิมขึ้น กว่าระดับปกติในผู้ทเ่ี ป็นโรคจติ เภท คลุ้มคลงั่ และพบวา่ มีระดบั ตา่ ลงในผทู้ ม่ี ภี าวะซึมเศรา้ ซีโรโทนนิ (Serotonin) พบวา่ มีระดบั สูงกว่าปกติในผทู้ ่ีมีอารมณแ์ ปรปรวน Bipolar ย้าคิดย้าทา โรค จิตเภท และพบว่ามรี ะดับตา่ ลงในผูท้ ี่มภี าวะซมึ เศรา้ รหัสรายวชิ า 55111 : ช่อื วชิ า การชว่ ยเหลือดแู ลด้านสุขภาพจติ หนา้ 7

มีวินยั ใฝร่ ู้ สงู้ านพยาบาลดว้ ยใจ 1.3. ความบกพร่องทางร่างกาย ผู้ท่ีมคี วามพิการจะมปี ระสบการณ์ทางสงั คมทแี่ ตกต่างจากผู้ทีม่ ีร่างกายปกติ เช่น การเป็นทยี่ อมรับ หรอื ไม่ยอมรบั เปน็ ท่ีสนใจหรือไม่สนใจ จะทาใหค้ วามสามารถในการเข้าสังคมตา่ งกนั 1.4. ความตอ้ งการพนื้ ฐานเพ่อื การดารงชีพ ในระยะแรกมาสโลว์ ได้แบง่ ความตอ้ งการของมนุษยอ์ อกเปน็ 5 ขัน้ เรยี งตามลาดบั ดังน้ี ข้ันท่ี 1 ความต้องการทางร่างกาย (Physiological Needs) คือความต้องการปัจจัยพื้นฐานในการ ดารงชวี ิต ขน้ั ที่ 2 ความตอ้ งการความมั่นคงปลอดภัย (Safety and Security Needs) คอื ความตอ้ งการท่ีจะมี ชีวติ ท่มี ่ันคง ปลอดภยั ขัน้ ท่ี 3 ความตอ้ งการความรกั และการเป็นทยี่ อมรบั ของกลมุ่ (Love and Belonging Needs) มนุษย์ เมอื่ เขา้ ไปอยใู่ นกลุม่ ใดก็ต้องการให้ตนเปน็ ที่รักและยอมรับในกลุ่มที่ตนอยู่ ขั้นท่ี 4 ความตอ้ งการได้รับการยกยอ่ งจากผู้อื่น (Self -Esteem Needs) เป็นความต้องการในลาดับ ตอ่ มา ซง่ึ ความตอ้ งการในชั้นนี้ถา้ ไดร้ บั จะกอ่ ใหเ้ กิดความภาคภูมิใจใจตนเอง ข้ันท่ี 5 ความต้องการในการเข้าใจและรูจ้ ักตนเอง (Self-Actualization Needs) เป็นความต้องการ ชัน้ สูงของมนุษย์ ในข้ันน้มี นุษยต์ อ้ งเป็นในส่ิงท่ีเขาสามารถเปน็ ได้ เปน็ ความต้องการเฉพาะของแตล่ ะบุคคลใน การเลอื กเส้นทางที่จะเติมเตม็ ชวี ติ และสร้างความผาสกุ ภายในจิตใจ ต่อมาเขาไดน้ าเสนอความต้องการของมนุษยท์ สี่ ูงกวา่ ข้ันท่ี 6 ความต้องการตื่นร้ใู นตนเอง (Self-transcendence) เป็นความต้องการต่ืนรู้ทางจิตวิญญาณ บคุ คลที่มีความตืน่ รใู้ นตนเอง จะมีประสบการณใ์ นลักษณะสงู สุดคืนส่สู ามัญ เปน็ ผ้ทู ่ีมคี วามเปน็ ธรรมชาติ อยู่ กับสภาวะทเี่ ปน็ อย่ใู นปจั จุบนั (Being) 1.5. พันธุกรรม จากการศึกษาเกี่ยวกับโรคจิตเภทพบว่าผู้ที่มสี มาชิกในครอบครัวท่ีเป็นสายเลือดเดียวกันเปน็ โรคจิต เภทจะมคี วามเสี่ยงในการเป็นโรคจิตเภทสูงกว่าคนท่ัวไป โดยมีการศึกษาสารเคมีในร่างกายที่มีผลตอ่ โรคจิต เภท 2. ปัจจยั ทางดา้ นจิตใจ 2.1. การอบรมเล้ยี งดู ครอบครัวที่มีความเป็นอยู่อย่างปกติ อบอุ่น สัมพันธภาพดีจะทาให้สมาชิกมีการพัฒนาทาง ประสบการณ์ดขี นึ้ เร่ือยๆ ส่วนครอบครัวทเี่ ขม้ งวดมากเกินไปจะทาให้สมาชิกปรับตัวได้ยาก มโี อกาสป่วยทาง จติ ได้ 2.2. ความสามารถในการปรบั ตวั บคุ คลท่ีปรบั ตวั ได้ดีในสภาวการณต์ ่างๆ ไมใ่ ชเ่ ป็นผู้ที่ไมม่ ีปัญหา แต่เปน็ ผูท้ ่ีเตรยี มใจพรอ้ มที่จะต่อสูก้ ับ ปญั หาโดยใชส้ ติปญั ญา แม้จะพบกบั ความผดิ หวงั และความลม้ เหลว ก็กลา้ หาญและเขม้ แขง็ พอทีจ่ ะดาเนินชวี ติ ตอ่ ไป โดยไมย่ อมพา่ ยแพ้ 3. ปัจจัยทางสงั คม การศึกษา ในปัจจุบันการศึกษาได้พัฒนาขึ้นตามยุคสมัย อย่างไรก็ตามการศึกษานั้นอาจมีผลต่อ สขุ ภาพจติ ได้ หากผปู้ กครองเขม้ งวด เร่งรดั ให้บุตรหลานเรียนทง้ั ทไ่ี ม่พรอ้ มหรอื ไมส่ ่งเสรมิ เชน่ ใหเ้ รยี นพิเศษ รหัสรายวิชา 55111 : ช่ือวชิ า การช่วยเหลอื ดูแลดา้ นสุขภาพจิต หนา้ 8

มวี นิ ัย ใฝร่ ู้ สูง้ านพยาบาลดว้ ยใจ อยา่ งหนกั โดยไม่คานงึ ถงึ เวลาพักและวัยของบตุ ร ต้องการใหเ้ รยี นเกง่ สอบไล่เล่ือนช้นั ได้กอ่ นเวลา เปน็ ต้น ทา ให้มีความเครียดสูง และอาจเกดิ ปญั หาสขุ ภาพจิตได้ เศรษฐกิจและสังคม สภาพสังคมปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ท้ังด้านเศรษฐกิจ สังคม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทาให้เกิดความกดดนั และความไม่มั่นคงทางด้านจิตใจกบั ประชาชนจานวนมาก และมีผลกระทบต่อสุขภาพจิตได้ จะเห็นได้จากแนวโน้มของปัญหาเก่ียวกับสุรา ยาเสพติด อาชญากรรม ปญั หาเยาวชน การฆา่ ตัวตายท่ีมแี นวโนม้ สูงข้นึ อีกทงั้ ทรพั ยากรธรรมชาติและสงิ่ แวดลอ้ มทเี่ สื่อมโทรมไป การ เปลีย่ นแปลงที่เกิดขน้ึ ทาให้เกิดผลเสยี ต่อสขุ ภาพจติ ของคนบางกลมุ่ ภัยธรรมชาติและภัยสงคราม ปัญหาสุขภาพจิตที่เกิดจากภัยสงครามมีความร้ายแรงต่อบุคคล ใน สงครามท่ีขาดอาหาร ทอ่ี ยอู่ าศัย ปัจจัยพน้ื ฐานในการดารงชีวิต ได้รบั บาดเจ็บ พกิ าร และการสูญเสยี บุคคลอนั เปน็ ทร่ี ักจากสงคราม ทาใหเ้ กิดความหวาดกลัว และกระทบกระเทือนจติ ใจ ส่วนภยั ธรรมชาติทาใหป้ ระชาชน สูญเสยี ทรพั ยส์ นิ ทอี่ ยูอ่ าศยั จาเป็นต้องไดร้ ับการช่วยเหลอื จากหน่วยงานต่างๆ 4. ปจั จัยทางดา้ นความเช่อื และศรทั ธา ความเชอ่ื บางอย่างเป็นสงิ่ ท่ีบุคคลยึดถือและปฏบิ ัตติ อ่ เน่ืองกันมา และเป็นวัฒนธรรมหรือประเพณีท่ี สืบต่อกันมา เช่น ความเชอ่ื ทางศาสนา ทีส่ อนให้คนทาบญุ การเลี้ยงดูบิดามารดาในวัยชรา เป็นต้น ความเช่ือ เหล่านคี้ วรไดร้ ับการสนับสนุน เนอื่ งจากมผี ลต่อจิตใจของคนสว่ นใหญท่ จ่ี ะทาให้สังคมดารงอยอู่ ยา่ งมคี วามสขุ ความหมายและความสาคัญของสขุ ภาพจติ ความหมายของสขุ ภาพจิต องค์การอนามัยโลก (WHO) ให้ความหมายของสขุ ภาพจติ ไว้ว่า เปน็ ความสามารถของบุคคลในการ ปรบั ตวั ทัง้ ด้านกายภาพ ด้านจิตใจ ด้านสังคมไมไ่ ด้หมายรวมถึงเฉพาะเพียงแตป่ ราศจากอาการของโรคทางจิต เทา่ นน้ั สมาคมจติ แพทย์แหง่ อเมริกา (The American Psychiatric Association, 1980) ไดใ้ ห้ความหมาย ของสุขภาพจิต หมายถึง การประสบความสาเร็จในการทางาน ความรกั และมีศกั ยภาพในทางสรา้ งสรรค์ เพื่อ ความสมบรู ณ์และความยืดหยุน่ ตอ่ ความขดั แย้งท่ีเกิดขน้ึ ระหวา่ งความตอ้ งการภายในกับมโนธรรมสามารถยก ย่องบคุ คลอนื่ และความสามารถมีชีวิตอยูใ่ นโลกของความเปน็ จริง กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ความหมายของสุขภาพจิตไว้ว่า สุขภาพจิต หมายถึง สภาพความสมบูรณข์ องจิตใจซ่ึงดูได้จากความสามารถในเร่ืองการกระชบั มิตร พิชิตอุปสรรค และรู้จักพอใจ ดงั นี้ การกระชับมิตร หมายถึง ความสามารถในการผูกมิตรและรักษาความเป็นมิตรไว้ให้ได้ รวมท้ัง ความสามารถในการอยู่รว่ มกบั ผูอ้ ่นื ไดอ้ ย่างราบร่ืนและเปน็ สุข พชิ ติ อุปสรรค หมายถงึ ความสามารถในการแกป้ ัญหาและปรบั ตัวให้อย่ไู ด้ หรือก่อใหเ้ กิดประโยชนไ์ ด้ ในท่ามกลางความเปน็ อยู่และความเปลี่ยนแปลงของสังคม ร้จู กั พอใจ หมายถงึ ความสามารถในการทาใจให้ยอมรับในสิง่ ท่ีอยากได้ อยากเป็นเท่าที่ได้ ทีเ่ ป็นอยู่ จรงิ ไดด้ ว้ ยความสบายใจ กล่าวโดยสรุป สุขภาพจิต คือ สภาพชีวิตที่เป็นสุข มีอารมณ์ม่ันคง สามารถปรับตัว ให้เข้ากับ ส่งิ แวดล้อมท่ีเปล่ยี นแปลงอยตู่ ลอดเวลา มีสมรรถภาพในการทางาน และอยูร่ ว่ มกับผูอ้ ื่นดว้ ยความพอใจ รหัสรายวชิ า 55111 : ช่ือวชิ า การชว่ ยเหลอื ดแู ลดา้ นสขุ ภาพจิต หนา้ 9

มีวนิ ยั ใฝ่รู้ สงู้ านพยาบาลดว้ ยใจ ความสาคญั ของสุขภาพจติ พระบาทสมเดจ็ พระบรมชนกาธิเบศร มหาภมู พิ ลอดลุ ยเดชมหาราช บรมนาถบพติ รไดม้ พี ระราชดารสั ใน โอกาสท่คี ณะจติ แพทย์ นกั วชิ าการสุขภาพจิต อาจารย์จากมหาวิทยาลัย และผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันต่าง ๆ เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ พระตาหนกั ภพู งิ คราชนเิ วศน์ วนั องั คารท่ี 14 กุมภาพนั ธ์ 2520 ความตอน หนึง่ ว่า “สขุ ภาพจิตและสขุ ภาพกายนั้น พดู ได้วา่ สุขภาพจิตสาคญั กวา่ สขุ ภาพกายดว้ ยซ้า เพราะว่าคนไหน ทีร่ า่ งกายสมบูรณแ์ ขง็ แรงแต่จติ ใจฟน่ั เฟือนไม่ได้เร่อื งนั้น ถ้าทาอะไรก็จะย่งุ กันได้ กายทแ่ี ข็งแรงนน้ั กจ็ ะไมเ่ ป็น ประโยชนต์ อ่ ตนเองหรือสังคมอย่างใด สว่ นคนท่สี ขุ ภาพกายไม่สจู้ ะแข็งแรงแต่สขุ ภาพจติ ดี หมายความว่าจติ ใจ ดี รู้จกั จิตใจของตวั และรูจ้ กั ปฏิบัติให้ถูกต้อง ย่อมเปน็ ประโยชนต์ อ่ ตวั เองมาก และเป็นประโยชนต์ อ่ สงั คมได้ มาก ในท่ีสดุ สขุ ภาพจติ ที่ดีกอ็ าจจะพามาซงึ่ สุขภาพทางกายได้ หรือถ้าสขุ ภาพกายไม่ดีนัก กไ็ มต่ ้องถือว่าเป็น ของสาคัญ\" นอกจากนสี้ ขุ ภาพจิตยงั มีความสาคัญต่อการดาเนนิ ชีวติ ในหลายด้าน ดังนี้ 1.ความสาคัญของสุขภาพจิตต่อตนเอง ผู้มีสุขภาพจิตที่ดีจะรู้จักและเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง ยอมรบั ตนเองตามความเป็นจริง มีความเปน็ ตัวของตัวเอง ไม่ตามสังคมอย่างไม่มีเหตผุ ล มีความรับผิดชอบ ซ่ึง สามารถแบ่งเปน็ ดา้ นไดด้ งั น้ี 1.1 ด้านบคุ ลิกภาพ ผู้มสี ุขภาพจิตดยี อ่ มทาให้บคุ ลกิ ภาพดไี ปด้วย หนา้ ตายมิ้ แย้มแจ่มใส ควบคุม อารมณ์ตนเองได้ ปรบั ตวั เข้ากับสิ่งแวดล้อมไดด้ ี มบี ุคลกิ ภาพทีเ่ หมาะสมกับเพศ วยั และบทบาทของตน 1.2 ด้านความคดิ สตปิ ัญญา ผู้มีสุขภาพจิตดสี ามารถคดิ ทาสิ่งต่างๆอยา่ งมเี หตุผล ใช้สตปิ ญั ญาได้ อย่างเตม็ ที่ มสี ติ มสี มาธิ มีการตดั สินใจทด่ี ีและมีเหตุผล 1.3 ดา้ นสุขภาพร่างกาย สขุ ภาพจิตดีมีผลต่อการทางานของระบบร่างกาย การมีอารมณ์ไม่ดี หงุดหงิด โกรธง่าย สุขภาพจิตเสียเป็นระยะเวลานานร่างกายจะมีการหลั่งสารสเตียรอยด์ (steroid) เพิ่มข้ึน ซ่ึงสารตัวนี้จะทาให้ความดันโลหิตสูงขึ้น แต่ทาให้ภูมิคุ้มกันต่อโรคลดน้อยลง และการที่มีสาร สเตยี รอยดส์ ูงนานๆ จะทาใหก้ ระดกู บางและผกุ ร่อนได้ โดยเฉพาะ ในผู้หญิงที่ใกลห้ มดประจาเดอื น หากเครียด มากจะมีการหลง่ั อดรนี าลิน (adrenalin)เพม่ิ ขนึ้ ด้วย ซ่งึ จะทาใหช้ พี จรหัวใจเต้นเรว็ หลอดเลอื ดแดงบบี ตัวแคบ ลง ซ่ึงทาให้เกดิ อาการมือสน่ั ใจสั่นตามมา และเกิดโรคในระบบตา่ งๆของรา่ งกายตามอีกมากมาย 1.4 ด้านการศกึ ษาและการทางาน ผู้ที่มีสุขภาพจิตดีจะเรียนและทางานอย่างมีประสิทธิภาพ และเต็มความสามารถ มีความรับผิดชอบต่อการเรียนและการทางาน มีความกระตือรือร้น ใฝ่รู้ใฝ่เรียน พึง พอใจในการเรยี นและการทางาน มองเหน็ ว่าชวี ติ มคี า่ และมีความหมาย 2. ความสาคัญของสขุ ภาพจติ ตอ่ ครอบครัว สุขภาพจิตของบคุ คลคนหน่ึงในครอบครัวสง่ ผลกระทบต่อ สมาชิกคนอ่ืนๆในครอบครัวอยา่ งหลีกเล่ียงไม่ได้ หากคนในครอบครวั มีสขุ ภาพจิตที่ดี ครอบครัวก็มีความสุข สงบสุข ไมเ่ กิดปญั หาความขัดแยง้ ต่างๆตามมา 3. ความสาคัญของสขุ ภาพจิตต่อสังคม สังคมที่ประกอบด้วยสมาชิกในสงั คมในสงั คมท่ีมีสุขภาพจิตที่ดี คนในสงั คมก็จะสามารถดาเนินชีวติ ในสังคมไดอ้ ย่างเป็นปรกติสุข มีความปลอดภยั อย่รู ่วมกันด้วยความสงบ เรียบร้อย รกั ใครป่ รองดอง สามัคคกี นั นาพาชาติและบ้านเมืองไปส่คู วามร่มเยน็ เปน็ สขุ ได้ จะเห็นได้ว่าปัญหาสขุ ภาพจิตสามารถส่งผลกระทบให้กับสังคมเป็นอย่างมาก เพราะเมื่อสุขภาพจิต เส่ือมสุขภาพกายก็จะพลอยทรุดโทรมไปด้วย ซ่ึงก่อให้เกิดภาระแก่ครอบครัวและสังคมที่ต้องคอยดูแล บาบัดรักษาจากปญั หาต่างๆ ท่ีเกิดจากสุขภาพจิต ทาให้หน่วยงานที่มีชื่อวา่ \"สหพันธ์สุขภาพจิตแห่งโลก\" ได้ รหัสรายวชิ า 55111 : ช่ือวิชา การช่วยเหลือดแู ลด้านสุขภาพจติ หนา้ 10

มวี ินัย ใฝร่ ู้ สู้งานพยาบาลดว้ ยใจ ประกาศร้องขอไปยังนานาประเทศท่ัวโลก รวมท้ังประเทศไทยให้กาหนดให้วันท่ี 10 ตุลาคม เป็น \"วัน สุขภาพจิตแห่งโลก\" และใหร้ ่วมกนั จัดกิจกรรมเกย่ี วกบั สุขภาพจติ ในวันท่ี 10 ตลุ าคม ของทุกปี สุขภาพจิตจึงมีความสาคัญเป็นอย่างมากท้ังต่อตนเอง ผู้อ่ืน ครอบครัว ชุมชน และสังคม การท่ี ประเทศชาติของเรามีสมาชิกในสังคมท่ีมสี ุขภาพจติ ทดี่ ยี ่อมนามาซึง่ ความสุขและคุณภาพชวี ติ ท่ีดขี องประชาชน ทกุ คน ดังนั้น หน่วยงานทุกภาคส่วนในประเทศจึงควรตระหนักและให้ความสาคัญกับการส่งเสริมสุขภาพจิต ของประชาชนใหม้ ากข้ึน สุขภาพจิตท่ดี ี คือ ความสามารถที่ปรับตวั ใหเ้ ข้ากับสิ่งแวดลอ้ ม โดยไม่จาเป็นจะตอ้ งปล่อยให้เป็นไป ตาม อานาจของ ส่ิงแวดล้อมทุกอย่าง แต่ไม่เอาแต่ใจตัวเองหรือไม่คานึงถึงผู้อื่น สุขภาพจิต ย่อมมีความ เหมอื นกันกบั สขุ ภาพกาย ย่อมมีเวลาเสื่อมบา้ ง โทรมบ้างสลบั กนั ไป เป็นธรรมดาผ้ทู ่ีมีปกติทาง สขุ ภาพจติ ท่ี สมบรู ณ์ตลอดเวลานนั้ หายาก บางคน ต้องล้มป่วยเป็นโรคน้บี ้าง โรคนัน้ บ้าง อันเป็นผลมาจากสุขความสาคัญ ของสุขภาพจติ ในสังคมปัจจุบันนี้ทุกชีวิตต้องเผชิญปญั หามากมาย แก้ปัญหาน้ีเสร็จก็มีปัญหาอื่นๆ เข้ามาให้ขบคิด มากมาย บางคนกค็ ่อยๆ สะสางปัญหาไปทีละปลอ้ งทีละปลอ้ งค่อยๆ แก้คอ่ ยคลาย แตบ่ างคนยงิ่ แก้ปัญหาก็ยิ่ง พนั ตัว ดูวุ่นวายไปหมด และก็มีอีกหลายชีวิตท่ีใช้วธิ ีแก้ปัญหาโดยการหันหลังให้กับความจริงและท้ายที่สุดก็ ย้ายตัวเองไปอยู่บ้านใหม่ท่ีตัวเองไม่รู้จักและไม่รู้จักใครอีกเลย มีหลายชีวิตท่ีแก้ปัญหาหนักไปอีกคือทาร้าย ตัวเอง ตง้ั แตเ่ สพยาเสพตดิ จนถงึ การทารา้ ยชวี ติ ตน ในโลกนีไ้ ม่มีใครท่ีไมม่ ปี ัญหาเพียงแต่ว่า เมื่อเกิดปญั หาแลว้ ตวั เรามีพลงั ใจ มแี รงกายทจ่ี ะคิดแก้ไขหรือไม่ ถา้ มี พลงั ท่จี ะแกไ้ ขปัญหาเรากจ็ ะชนะการจะชนะปัญหาใดๆ ไดเ้ ราต้องเป็นผ้มู ีสุขภาพจิตดี ยอมรับความจริง รู้และ เทา่ ทนั โลกของการเปลย่ี นแปลง ทุกวันน้ีมีคนไข้ โรคจิตเดินเขา้ ออกในโรงพยาบาลมากขึ้น ยิ่งสังคมเสอ่ื มเท่าไร มโนธรรมตา่ ลงเท่าไร ความยับยงั้ ชัง่ ใจของคนก็ตกต่าลงเทา่ นนั้ ปัญหาต่างๆ กจ็ ะเขา้ มารุมเรา้ มีแนวทางหน่งึ ท่จี ะประคองใหบ้ ุคคล พ้นจากความวกิ ฤตตอ่ ปญั หาต่างๆ ลงบ้างได้แก่การรกั ษาสุขภาพจิตให้ดี รกั ษารา่ งกายให้แขง็ แรง มองโลกตาม จริงแก้ปญั หาทล่ี ะข้นั เชื่อวา่ ปัญหาจะทเุ ลาลงได้ แต่ใช่ว่าปญั หาจะหมดไป แกป้ ญั หานแ้ี ล้วอาจมีปญั หาอน่ื เข้า มาเราก็ค่อยๆ แก้ ยงิ่ เราโตข้ึน วุฒิภาวะเรามีมากขึ้นแนวทางหรือช่องทางในการแก้ปัญหาก็จะมีหลายวธิ ีขึ้น อย่างไรกด็ ี จงสร้างความเข้มแขง็ จากภายในใหเ้ ปน็ เสมอื นภมู คิ ุม้ กนั เม่ือน้ันทกุ อยา่ งจะออกมาดี ลกั ษณะของผู้ทมี่ ีสขุ ภาพจติ ดีและสุขภาพจิตท่ไี ม่ดี ในการพจิ ารณาเพอ่ื บอกลักษณะของสขุ ภาพจติ ว่าอยใู่ นรปู แบบสุขภาพจติ ท่ีดหี รอื ไม่ดีนั้น สามารถ บอกได้โดยคุณลกั ษณะโดยรวม แบบกวา้ งๆ เพ่ือใชส้ าหรับการประเมินอย่างครา่ วๆ ดังนั้น การจาแนกเกณฑ์ การพิจารณาสขุ ภาพจติ ดงั กลา่ ว จงึ สามารถจาแนกออกได้เป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ ลกั ษณะของผู้ทมี่ สี ขุ ภาพจิตดี และลกั ษณะของผทู้ ม่ี สี ุขภาพจิตไม่ดี ลักษณะของผทู้ ีม่ สี ขุ ภาพจิตดี ลักษณะของผทู้ ม่ี สี ุขภาพจติ ดี มดี ังนี้ 1. มีความสามารถในด้านสติปัญญา เป็นผู้ท่ีสามารถคิด และเข้าใจสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง สามารถใช้สติปญั ญาคิด และทาอย่างมีเหตุผล เต็มใจท่ีจะเผชิญกบั ปญั หา ใชส้ ตปิ ัญญาในการ แก้ปญั หาอยา่ งเหมาะสม รหัสรายวชิ า 55111 : ช่อื วชิ า การช่วยเหลือดแู ลด้านสุขภาพจติ หนา้ 11

มีวินยั ใฝ่รู้ สู้งานพยาบาลดว้ ยใจ 2. มีการแสดงออกทางด้านอารมณ์อย่างเหมาะสม เมื่อเผชิญกับปัญหาอุปสรรค และความตึง เครียด สามารถรักษา และควบคุมอารมณ์ ตลอดจนการแสดงออกทางอารมณ์ที่สอดคล้อง เหมาะสมกับเหตุการณ์ท่ีเกิดข้ึน มีสติสัมปชัญญะไม่อยู่ภายใต้อิทธิพลของจิตใจไร้สานึก มี ความสามารถท่จี ะทนต่อความวิตกกงั วลและความบีบคั้นภายใตส้ ภาวการณ์ใดสภาวการณห์ น่ึง ได้ 3. มีการแสดงออกทางสังคมอย่างเหมาะสม สามารถใช้ทักษะทางด้านสังคมที่เหมาะสมกับ กาลเทศะ สามารถส่ือสารถึงความรูส้ ึกนึกคิดของตนได้อย่างเหมาะสม มีสมั พนั ธภาพทีด่ ีกบั ผู้อน่ื สามารถปรับตัวให้เข้ากับผู้อ่ืนได้เป็นอยา่ งดี โดยไมส่ ญู เสียความเปน็ ตัวของตวั เอง สามารถเป็น ผูใ้ ห้และผู้รับได้ ไมเ่ ปน็ ผทู้ ี่เรียกรอ้ ง หรือพึ่งพาผ้อู ืน่ จนเกนิ ไป 4. มคี วามสามารถในการทางานอยา่ งเต็มประสิทธิภาพ ผทู้ ่ีมสี ุขภาพจติ ดมี ักจะมีความสนุกกบั การ ทางาน ทางานด้วยความเต็มใจ และกระตอื รือร้น เพราะเกิดจากการเลือกงานท่ีตรงกับความ สนใจ ความถนัด และความตอ้ งการของตนเอง บุคคลเหล่าน้ีมักจะเป็นผ้ทู ี่อทุ ิศให้กับงานอย่าง เต็มท่ี และสรา้ งความหมายหน่งึ ในชวี ิตจากการทางานนน่ั เอง 5. สามารถแสดงออกถึงความรักกับผู้อื่นอย่างจริงใจ ตรงไปตรงมา เกิดจากความรู้สึกมีคุณค่า ความรักและนับถอื ตนเอง และแผข่ ยายความรู้สกึ ดังกล่าวไปยังคนรอบข้าง มีความเมตตากรุณา และเอือ้ เฟ้อเผอื่ แผ่ตอ่ เพอื่ นมนษุ ย์ดว้ ยกัน 6. เป็นผู้ทร่ี ู้จัก และเขา้ ใจในตนเองอย่างแท้จริง สามารถยอมรับข้อดี ข้อเสยี ตลอดจนศักยภาพ ของตนเอง และสามารถบอกได้วา่ ตนคือใคร ต้องการอะไร จะใช้ชีวติ ให้มีคณุ ค่าสูงสดุ ได้อยา่ งไร ท่ีสาคัญ คือ ความสามารถในการลงมือปฏิบัติต่อตนเอง อย่างเหมาะสมในทุกๆด้านของการ ดาเนินชีวิต การมีเจตคติท่ีดีต่อตนเอง สามารถที่จะยอมรับตนเอง สามารถท่ีจะยอมรับความ ออ่ นแอและความบกพร่องของตนเอง มีความมั่นใจในตนเอง มีความภาคภูมิใจในความสาคัญ ของตนเองเคารพตนเองตลอดทง้ั เขา้ ใจและยอมรับสภาพของตนเอง 7. มีความเปน็ ตัวของตัวเอง และความเป็นอิสระในการท่ีจะทาสง่ิ หนง่ึ สิง่ ใด อันเปน็ สง่ิ ทพี่ ึงประสงค์ มีความเป็นอิสระจากอิทธิพลของสังคมในการทจี่ ะตัดสินใจ โดยยึดมาตรฐานทีเ่ ป็นหลกั ประจา ใจของตนเองมากกว่าทีจ่ ะขนึ้ อยกู่ บั การบบี คนั้ ของอิทธิพลภายนอก นอกจากลักษณะคุณลักษณะดงั กลา่ วข้างต้นจะแสดงให้เห็นถึงความเป็นผ้ทู ม่ี สี ุขภาพจติ ท่ีดแี ล้ว ยัง มีเกณฑ์ท่ีสามารถนามากล่าวถงึ ความสมบรู ณข์ องสุขภาพจิต ได้แก่ ลักษณะผูท้ ี่มคี วามสมบูณ์ทางบุคลิกภาพ ตามแนวคิดทฤษฎตี า่ งๆ เช่น ลักษณะของผทู้ มี่ ีความตระหนกั รู้ในตนเอง (Self - actualization) ลกั ษณะของ ผู้ท่ีมีวุฒิภาวะ (mature person) หรือลักษณะของผู้ที่มีบุคลิกภาพที่สมบูรณ์ (healthy personality) ฯลฯ คุณลักษณะดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงสภาวะจิตใจที่สมบูรณ์ ซ่ึงเป็นจดุ หมายของมนุษย์ทุกคน หาก บคุ คลมีสภาวะจิตใจท่ีสมบรู ณแ์ ลว้ จะส่งผลใหม้ ีการปฏบิ ัตกิ ับชีวติ ได้อย่างมปี ระสทิ ธิภาพ สามารถแก้ปัญหา เอาชนะอุปสรรค เลอื กตดั สนิ ใจได้อยา่ งชาญฉลาด และเหมาะสม มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทพี่ ึงปรารถนา สามารถจัดการกบั ชีวติ ของตน และเป็นผู้กาหนดวถิ ีชีวิตใหเ้ ป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ก่อให้เกดิ ความเจริญ งอกงามสว่ นบุคคล ดาเนินชวี ติ ให้เกดิ ประโยชนต์ อ่ ตนเองและผู้อนื่ รหสั รายวชิ า 55111 : ชื่อวชิ า การช่วยเหลอื ดแู ลดา้ นสขุ ภาพจิต หน้า 12

มีวินยั ใฝ่รู้ สู้งานพยาบาลดว้ ยใจ ลักษณะของผทู้ ี่มีสขุ ภาพจิตไม่ดี การอธิบายคณุ ลักษณะของผ้ทู ่ีมีสขุ ภาพจิตไมด่ ีนั้นมหี ลายประการ สามารถสรปุ ได้ ดังนี้ 1. ไม่สามารถปรับตัวให้อย่ใู นสังคมไดอ้ ยา่ งมีความสุข โดยแสดงพฤติกรรมท่ีเบ่ียงเบนออกไป จาก บรรทัดฐานของสังคม จะแสดงความผดิ ปกติทางจิตทีเ่ กิดข้ึนจากความผิดปกตทิ างสมอง โรคจิต โรคประสาท บุคลิกภาพแปรปรวน โรคทางกายท่ีเกิดจากสาเหตุทางจิตใจ 2. มคี วามผดิ ปกติทางดา้ นความประพฤติ เชน่ กริ ยิ ามารยาทไม่เรียบรอ้ ย ชอบทะเลาะววิ าท ทาลาย สิง่ ของ เล่นการพนัน ตดิ ยาเสพติด ฯลฯ 3. ความผดิ ปกติทางด้านประสาท เชน่ หงุดหงิด ฉนุ เฉยี ว ขอ้ี จิ ฉา พูดเพ้อเจ้อ ตดั สินใจไมไ่ ด้ มคี วาม หวาดกลัว ฯลฯ 4. มีความผิดปกติทางดา้ นลักษณะนิสัย เช่น กินยากอยยู่ าก หลบั ยาก กดั เล็บ ดดู นิ้วมือ ปสั สาวะรด ที่นอน กา้ วร้าว ย้าคดิ ย้าทา มกั มีปัญหากบั ผู้อ่ืน ฯลฯ 5. มีพฤติกรรมท่ีไมเ่ หมาะสมกับวัย เช่น กริยามารยาท การพูด การแตง่ กาย ฯลฯ 6. มีบุคลิกภาพทีบ่ กพร่อง เช่น ชอบเก็บตวั ไมช่ อบคบหาสมาคมกับใคร เบอ่ื ผ้คู น เบอ่ื ส่งิ แวดล้อม ชอบหมกม่นุ กับตนเอง ฯลฯ 7. มคี วามผิดปกติทางดา้ นรา่ งกาย เช่น เจบ็ ปว่ ยบ่อยๆ เป็นโรคกระเพาะอาหาร ปวดศีรษะขา้ งเดียว คามดันโลหิตสงู ฯลฯ ซึ่งเกดิ จากความเครยี ด ความวติ กกังวล มีอาการทางโรคจิตเวช สรปุ แนวคิดทฤษฎีท่ีเกีย่ วข้องกับสขุ ภาพจิตเปน็ กรอบท่ชี ่วยให้เข้าใจในงานสุขภาพจิตมากยิ่งขึน้ ซ่ึงมี หลายทฤษฎีที่เป็นพื้นฐาน เช่น ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ ทฤษฎีพัฒนาการทางสังคม ทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่าง บคุ คล เป็นต้น โดยท่ีหลายปัจจัยท่ีมผี ลต่อสุขภาพจิต ซึ่งสุขภาพจิตเป็นสภาพชีวิตทเ่ี ป็นสุข มีอารมณ์ม่ันคง สามารถปรบั ตวั ใหเ้ ขา้ กับส่งิ แวดล้อมท่ีเปลีย่ นแปลงอย่ตู ลอดเวลา มสี มรรถภาพในการทางาน และอยรู่ ว่ มกับ ผู้อื่นดว้ ยความพอใจ โดยสุขภาพจติ มคี วามสาคัญเปน็ อย่างมากทัง้ ตอ่ ตนเอง ผู้อื่น ครอบครวั ชุมชน และสังคม การท่ี ประเทศชาติของเรามสี มาชกิ ในสงั คมทม่ี สี ุขภาพจติ ท่ดี ีย่อมนามาซึ่งความสุขและคณุ ภาพชีวติ ที่ดีของประชาชน ทุกคน ผทู้ ่ีมสี ขุ ภาพจติ ที่ดมี ีลกั ษณะหลายประการ เช่น มีความสามารถในดา้ นสติปญั ญา มกี ารแสดงออก ทางด้านอารมณ์อยา่ งเหมาะสม เปน็ ตน้ สว่ นผทู้ ่ีมสี ุขภาพจติ ไม่ดีนนั้ มลี ักษณะสาคัญ เชน่ ไม่สามารถปรบั ตัวให้ อยูใ่ นสังคมไดอ้ ย่างมีความสขุ มีพฤตกิ รรมทีไ่ ม่เหมาะสมกบั วัย เป็นต้น รหัสรายวิชา 55111 : ชอ่ื วชิ า การชว่ ยเหลือดแู ลดา้ นสุขภาพจติ หน้า 13

มวี ินัย ใฝ่รู้ สู้งานพยาบาลดว้ ยใจ บรรณานกุ รม จฑุ ารตั น์ สถริ ปญั ญา. (2554). สขุ ภาพจิต (พิมพค์ รงั้ ท่ี 3). สงชลา: บริษทั นาศิลปโ์ ฆษณา. ฉววี รรณ สัตยธรรม แผ จนั ทรส์ ุข และศุกร์ใจ เจรญิ สขุ . (2556). การพยาบาลจิตเวชและสขุ ภาพจิต (ฉบบั ปรบั ปรงุ ) เลม่ 1. นนทบรุ :ี ธนาเพรส จากัด. อรพรรณ ลอื บุญธวัชชยั . (2556). การพยาบาลสขุ ภาพจติ และจิตเวช (พิมพค์ รง้ั ที่ 5). กรงุ เทพมหานคร: บริษทั ทวพี ริ้นท์ (1991) จากัด. Mohr, Wanda K. (2013). Psychiatric Mental Health Nursing: Evidence-Based Concepts, Skills, and Practices (8th ed). Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins. รหัสรายวิชา 55111 : ช่อื วชิ า การชว่ ยเหลอื ดแู ลดา้ นสขุ ภาพจิต หนา้ 14

มวี ินยั ใฝร่ ู้ สงู้ านพยาบาลดว้ ยใจ หลกั สูตร ผูช้ ว่ ยพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยเชียงราย รหสั วชิ า 55111 : ช่อื วชิ าการดแู ลช่วยเหลอื ด้านสุขภาพจิต ภาคการศกึ ษาท่ี 1 ปีการศกึ ษา 2562 หัวขอ้ การช่วยเหลอื ดูแลผู้ทม่ี ีภาวะสุขภาพจติ เบยี่ งเบน: การปรับตวั ผสู้ อนอาจารย์สกุ ญั ญา ทาโสด วตั ถุประสงคเ์ มือ่ สนิ้ สุดการเรยี นการสอน นกั ศกึ ษาสามารถ 1. บอกความหมายและประเภทของการปรบั ตัวไดถ้ กู ตอ้ ง 2. อธบิ ายปจั จัยการเกดิ การปรับตัวไดถ้ ูกตอ้ ง 3. อธิบายการชว่ ยเหลือดแู ลผทู้ ม่ี ีการปรบั ตัวไมเ่ หมาะสมไดถ้ กู ตอ้ ง เม่ือสภาวะแวดล้อมหรือสถานการณ์ต่างๆในชีวิตประจาวันเปล่ียนแปลงไป บุคคลท่ีเผชิญย่อมต้อง เปล่ียนแปลงพฤติกรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์เหล่าน้ัน อาจเรียกได้ว่าปรับตวั เข้ากับสถานการณ์ต่างๆ หากสถานการณ์น้ันคือปัญหาที่รุมเรา้ ทัง้ รา่ งกายและจติ ใจ บุคคลแต่ละคนย่อมมีวิธีการเผชญิ ปญั หาแตกต่าง กันไป ซ่ึงการเผชิญปัญหาท่ีเหมาะสมย่อมส่งผลดีต่อบุคคลเหล่าน้ัน ในบทน้ีจะจึงได้กล่าวถึงการปรับตัว ประเภทของการปรับตัว ปัจจัยการเกิดการปรับตัว และการช่วยเหลือดูแลผู้ที่มีการปรับตัวไม่เหมาะสมใน บทบาทของผู้ช่วยพยาบาล รหัสรายวิชา 55111 : ชือ่ วชิ า การชว่ ยเหลอื ดูแลดา้ นสขุ ภาพจิต หนา้ 15

มีวนิ ยั ใฝร่ ู้ สงู้ านพยาบาลดว้ ยใจ ความหมายและประเภทของการปรับตวั ความหมายของการปรบั ตวั ดาวนิ (Darwin) เป็นผ้เู ร่มิ ใชค้ าว่า “การปรบั ตัว” (Adaptation) ในทฤษฎีว่าด้วยการวิวฒั นาการใน ค.ศ. 1859 โดยไดส้ รปุ ความคิดวา่ ส่ิงมีชีวิตทส่ี ามารถปรบั ตัวใหเ้ ขา้ กบั สภาวะแวดลอ้ มของโลกที่เตม็ ไปดว้ ย ภยันตรายได้เทา่ นน้ั ท่ีจะดารงชีวติ อย่ไู ด้ ต่อมานกั จติ วทิ ยาได้นาคาว่าการปรบั ตัวมาใชใ้ นความหมายทาง จิตวิทยาโดยเปลีย่ นมาใช้คาว่า Adjustment ในการศึกษาและเข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์ จาเปน็ ตอ้ งศกึ ษาทง้ั ในแงช่ วี วทิ ยาและจติ วทิ ยา ในแงช่ ีววทิ ยา ได้แก่ การปรบั ตวั ให้เป็นไปตามความต้องการของร่างกาย ส่วนในแง่ ของจติ วทิ ยา หมายถงึ การปรบั ตวั ใหเ้ ป็นไปตามความต้องการของจิตใจ การปรับตวั หมายถึง การท่ีบคุ คลประพฤติเพื่อให้เหมาะสมกับสภาวะแวดลอ้ มหรอื สถานการณ์ (ฉววี รรณ สตั ยธรรม, 2556) การปรับตวั เปน็ ความสามารถในการเผชญิ ปญั หา และอปุ สรรคตา่ งๆ รวมถงึ สามารถจดั การกบั สง่ิ เหล่าน้ันไดอ้ ยา่ งเหมาะสม เพอ่ื บรรลุตามเปา้ หมาย ทาใหบ้ ุคคลดารงชีวติ อยใู่ นสังคมและปรบั ตัวให้เขา้ กบั สถานการณต์ า่ งๆ อยา่ งมีความสุข (จุฑารัตน์ สถริ ปญั ญา, 2554) ยรุ าวดี เน่อื งโนราช (2558) ได้ให้ความหมายการปรบั ตวั วา่ เปน็ กระบวนการทบ่ี ุคคลปรบั สภาพกาย และจิตใจให้อย่ใู นภาวะท่ีสมดลุ ตามความตอ้ งการของตนเอง โดยมิไดท้ าให้ผู้อืน่ เดอื ดรอ้ น ซง่ึ เปน็ การปรบั ตัว เองใหอ้ ยใู่ นสภาพแวดลอ้ มใดๆ ไดอ้ ยา่ งปกตสิ ุข มาลม์ และเจมิสัน (Malm & Jamison) กล่าวว่า การปรบั ตวั หมายถึง วิธกี ารท่คี นเราปรับตวั ใหเ้ ป็นไป ตามความตอ้ งการของตวั เอง ในสภาพแวดลอ้ ม ซึง่ บางครงั้ ส่งเสริม บางครงั้ ขดั ขวาง และบางครงั้ สร้างความ ทกุ ข์ทรมานแกเ่ รา กระบวนการปรับตัวน้ี เกดิ ขึน้ จากความจรงิ ท่วี ่า มนุษยท์ ุกคนมคี วามต้องการและเรา สามารถใช้วิธกี ารแบบตา่ ง ๆ ในการดาเนนิ การเพอื่ ใหบ้ รรลุถึงความตอ้ งการน้ัน ๆ ในสภาวะแวดล้อมทปี่ กติ ธรรมดา หรือมีอปุ สรรคขดั ขวางต่าง ๆ กันไป ลาซารสั (Lazarus) กลา่ ววา่ การปรับตัว ประกอบขน้ึ ดว้ ยกระบวนการหรอื วธิ ีการทงั้ หลายทางจิตซึ่ง มนษุ ยใ์ ช้ในการเผชิญข้อเรียกรอ้ งหรือแรงผลักดนั ภายนอกและภายใน ตอ่ มาในปี 1981 โคลแมน และแฮมแมน (Coleman and Hamman) กล่าววา่ การปรบั ตวั หมายถึง ผลของความพยายามของบคุ คลท่พี ยายามปรบั สภาพปัญหาทีเ่ กดิ ขน้ึ แก่ตนเอง ไมว่ ่าปญั หาน้ันจะเป็นปัญหา ด้านบคุ ลิกภาพ ด้านความต้องการหรอื ด้านอารมณใ์ ห้เหมาะสมกบั สภาพแวดล้อม จนเปน็ สถานการณ์ทมี่ ี บุคคลน้ันสามารถอยูใ่ นสภาพแวดล้อมน้นั ๆ กลา่ วโดยสรุป การปรับตัว หมายถงึ กระบวนการทบี่ ุคคลปรบั สภาพกาย และจติ ใจเพือ่ ใหเ้ หมาะสมกบั สภาพแวดล้อม ซง่ึ เปน็ ความสามารถในการเผชญิ ปญั หา อปุ สรรคตา่ งๆ และความสามารถในการจัดการกบั ส่ิง เหล่านัน้ ได้อยา่ งเหมาะสม เพอื่ ใหบ้ รรลตุ ามเปา้ หมาย รหัสรายวิชา 55111 : ช่ือวชิ า การช่วยเหลือดแู ลด้านสขุ ภาพจิต หนา้ 16

ประเภทของการปรบั ตัว มีวนิ ยั ใฝร่ ู้ ส้งู านพยาบาลดว้ ยใจ การปรับตัวแบบดง้ั เดมิ (primitive adjustment) ประเภท ของการ ปรบั ตัว การปรับตวั แบบการใชก้ ลไกในการ การปรบั ตวั แบบเหมาะสม ปอ้ งกนั ตนเอง (defense (modified adjustment) mechanism) รูปภาพที่ 1 ประเภทของการปรับตัว การปรบั ตวั แบง่ ออกเปน็ หลายประเภท ดงั นี้ 1. การปรบั ตวั แบบด้งั เดมิ (primitive adjustment) เปน็ การปรับตวั ทีม่ กั ใช้กัน โดยอาจเผชิญหนา้ เป็นการตอ่ สแู้ บบตาตอ่ ตา ฟนั ตอ่ ฟัน หรอื หากสไู้ ม่ได้ก็ จะหนี การปรบั ตวั ชนดิ น้ี นาไปสกู่ ารแพ้หรอื ชนะ ที่ทาใหเ้ กดิ การสญู เสยี ไมฝ่ ่ายใดกฝ็ า่ ยหนงึ่ จึงควรตระหนักว่า เราอาจเปน็ ผูแ้ พ้ไดเ้ สมอ 2. การปรับตัวแบบเหมาะสม (modified adjustment) เป็นการปรับตวั ทเี่ ป็นไปอย่างเหมาะสม คือ การหาวิธีจัดการกบั ปัญหา หรอื อปุ สรรค เชน่ หาวิธี แก้ปญั หาโดยพจิ ารณาถึงสาเหตุของปญั หา หาวธิ คี ิดใหส้ อดคล้องกบั ความเปน็ จริง ลดความคาดหวังลง เป็นตน้ การปรบั ตวั ประเภทน้ี เป็นการปรบั ตัวทบ่ี ุคคลรูต้ วั ตระหนกั ถงึ ปญั หา และความคับขอ้ งใจทเ่ี กดิ ขึน้ เช่น ใน สภาวะของวกิ ฤตเศรษฐกจิ ทาใหค้ นตกงาน ผูท้ ่ีตกงานมกั มกี ารปรับตัวในการตอ่ สกู้ บั ปญั หา และอุปสรรค โดย ยอมทางานท่มี ีรายได้ตา่ กวา่ เดิม หรอื ยอมมาขายไกย่ ่างสม้ ตา ทั้งท่ีแตเ่ ดมิ เคยเปน็ ผจู้ ดั การธนาคาร เป็นต้น รหสั รายวชิ า 55111 : ช่ือวิชา การชว่ ยเหลอื ดแู ลดา้ นสุขภาพจิต หน้า 17

มวี นิ ัย ใฝร่ ู้ สู้งานพยาบาลดว้ ยใจ 3. การปรบั ตวั แบบการใชก้ ลไกในการปอ้ งกนั ตนเอง (defense mechanism) เปน็ การปรบั ตัวโดยใช้กลไกในการปอ้ งกันตนเองหรอื กลไกทางจิต เปน็ พฤตกิ รรมทเี่ กดิ อยา่ งไมร่ ู้ตวั พฤติกรรมที่แสดงออกเป็นการปฏิเสธหรือบดิ เบือนความจริง โดยใช้ EGO เพอ่ื ที่จะหยุดความวิตกกังวลเม่อื วธิ ีการอนื่ ลม้ เหลว แตค่ นท่มี ีวฒุ ภิ าวะมักมีวิธแี กท้ ุกขโ์ ดยการสกู้ บั ความจริง ซงึ่ กลไกทางจิต มีดังนี้ การลอกเลยี นแบบ (Identification) บคุ คลนาเอาลกั ษณะเด่นของบคุ คลอืน่ มาผสมใหเ้ ข้ากบั บุคลิก ของตนเองเปน็ การเลยี นแบบโดยไมร่ ตู้ ัว เป็นวิธที ใี่ ชม้ ากโดยไม่รตู้ ัว เปน็ วธิ ีทีใ่ ชม้ ากในชีวติ ประจาวัน เปน็ กลวธิ ี แกท้ ุกขโ์ ดยได้รับความพงึ พอใจจากความสาเรจ็ ของบคุ คล การถดถอย (Regression) เป็นกลวิธแี กท้ กุ ข์โดยกลับไปเปน็ เหมือนเดก็ คืออ่อนแอตอ้ งการคอย ช่วยเหลือและเอาใจ ไดร้ ับโอกาสและอภัยในฐานะทอ่ี อ่ นแอเปน็ เด็กเพือ่ จะได้ไมต่ อ้ งรบั ผิดชอบในความพลาด พลง้ั ลม้ เหลวหรอื ไมเ่ ผชิญกบั ความขดั แยง้ ปญั หาและ ไมส่ ามารถแกไ้ ขได้ การเก็บกด (Repression) เปน็ กลวิธีแก้โดยการ ลมื สงิ่ ท่ีไม่อยากจดจา เชน่ ความอปั ยศอดสู เปน็ สาเหตขุ องความวุ่นวายในจิตใจ ในจติ ใตส้ านกึ มคี วามปวดรา้ วเป็นประสบการณเ์ ดมิ มากมายหลายอยา่ งที่ มนษุ ยไ์ ดซ้ ่อนเร้นไว้ในวัยเด็ก บคุ คลมีซปุ เปอรอ์ โี กส้ งู เทา่ ไหร่ก็จะซ้อนเรน้ หรอื มสี งิ่ เปน็ สง่ิ ท่ีตอ้ งปิดบังไวม้ ากขนึ้ เทา่ นั้น เช่น ความเห็นแกต่ ัว ความรสู้ ึกไมเ่ ป็นมิตร การระงับการรบั รู้ (Suppression) เปน็ กลวธิ ีแกท้ กุ ขโ์ ดยการลดระดับความรบั ร้ตู ่อสง่ิ ทก่ี อ่ ทกุ ให้ ตา่ ลง หรือเพอ่ื ใหเ้ กดิ ทกุ ข์น้อยลงการใช้คนวธิ แี กท้ ุกข์แบบนี้ สามารถจะรสู้ ึกไดง้ ่ายและถ้าเป็นจะแกไ้ ขได้ด้วย การใช้กระบวนการอ่ืน เชน่ การทางานมีเหตผุ ลบางอยา่ งท่เี กิดขึ้น ซ่ึงเราไมเ่ ขา้ ใจและแกป้ ญั หาไมไ่ ดเ้ ราอาจจะ พดู กับตวั เองว่า\"ฉันเพยี งแต่ไมอ่ ยากจะคดิ เวลาน\"้ี ผลของกระบวนการน้ขี ้ึนอยกู่ บั ความสามารถความคดิ และ เหตกุ ารณแ์ ละความหนกั เบาของความรสู้ กึ หากความทกุ ขน์ ี้ยังคงอยู่ รา่ งกายจะต้องใช้พลังงานกับสง่ิ นมี้ าก และจะเกดิ การใชก้ ลวิธแี กท้ ุกข์อน่ื ตามมา การเพ้อฝัน (Fantasy or Day dream) เปน็ กลวธิ ีแกโ้ ดยการเพอ้ ฝันสรา้ งวมิ านในอากาศเพอ่ื แสวงหาความสขุ ความพอใจจากความคดิ น้ันๆ โดยมิได้ลงมือหรอื ต่อสูเ้ พอ่ื ความสาเร็จท่ีตนฝัน ในเด็กมักจะ ขจดั หรอื บรรเทาความเจบ็ ปวดความทุกข์ระทมดว้ ยการเพ้อฝัน การโทษตัวเอง (Introjection) เป็นกลไกการปอ้ งกนั ความคดิ ความรสู้ ึกของบุคคลหรือส่ิงของอันเป็น ที่รกั หรือรังเกียจเข้ามาไว้ในตวั เช่น แทนทจ่ี ะแสดงความโกรธทีม่ ีต่อคนอน่ื ดว้ ยสิ่งทไ่ี ม่ดี กลับคดิ วา่ ตัวเองเปน็ คนตอ้ ยตา่ การโทษคนอ่ืน (Projection) เป็นกลวิธแี ก้ทุกขโ์ ดยการกลา่ วโทษสง่ิ อื่นเพอ่ื ปัดปอ้ งตนเองหรือคิดว่า คนอืน่ มีความบกพร่องเชน่ ตนเพื่อตนจะไดป้ กติ เช่น คนโกงคดิ วา่ คนอนื่ ก็โกง จงึ โกงเพื่อไม่ใหเ้ สียเปรียบ นักเรียนสอบตกขอโทษครู ครอู อ่ นความสามารถโทษเดก็ ไมส่ นใจ บางคนอิจฉาริษยาคนอ่ืน ไมก่ ลา้ แสดงออก แต่ระแวงวา่ คนอ่นื จะเกลยี ดตนและอจิ ฉาตน รหัสรายวิชา 55111 : ชื่อวิชา การชว่ ยเหลอื ดูแลดา้ นสขุ ภาพจิต หน้า 18

มีวนิ ัย ใฝร่ ู้ สงู้ านพยาบาลดว้ ยใจ การยา้ ยที่ (Displacement) คอื วิธแี ก้โดยการถา่ ยอารมณ์ ความคดิ ท่ี ที่ขนุ่ มวั ไปยงั บคุ คลหรอื สงิ่ อ่ืน ทีไ่ มใ่ ชต่ น้ ตอของความรสู้ กึ และอารมณ์อันน้นั และการถา่ ยอารมณค์ วามรสู้ กึ นีไ้ มเ่ ป็นภยั ต่อเจา้ ตวั เช่น ชกมวย โกรธนายด่าเมยี การแสดงพฤติกรรมตรงขา้ มกับความรู้สึก (Reaction formation) คือกลวิธีแกท้ กุ ข์โดยใช้ พฤติกรรมตรงข้ามกบั ความรสู้ กึ ทีแ่ ทจ้ รงิ ซงึ่ ทาใหพ้ ฤตกิ รรมทเ่ี กิดขน้ึ มากเกินไป ตัวอย่างเชน่ คนทท่ี าตัวเป็น มิตรอยา่ งมากสภุ าพมาก เขา้ สงั คมเกง่ มักจะพบความจริงวา่ แท้จรงิ แล้วมคี วามร้สู กึ โกรธและเกลยี ดบุคคล หลายหลายคน ความรสู้ กึ เชน่ นจ้ี ะแสดงออกมาได้โดยการขบเคยี้ วหรอื การแลบล้ินบอ่ ยๆ การชดเชย (Compensation) เปน็ กลวิธีแก้ทุกข์โดยการพยายามลบลา้ งหรอื ชดเชยความล้มเหลวใน ความรสู้ กึ ดอ้ ยค่าของตนเองดว้ ยความโดดเดน่ ยกตัวอย่างเช่น ตัวเล็กไม่สวยแตเ่ รยี นเกง่ การชดเชยมที ง้ั คุณ และโทษ สาหรับโทษนน้ั อาจจะทาให้เกดิ ความยงุ่ ยากแก่บุคคลนัน้ ได้ เชน่ เด็กเล่นกฬี าไม่เกง่ หันมาเล่นไวโอลีน แตห่ ากเขาไมม่ ีพรสวรรคห์ รอื ความสามารถท่จี ะเล่นก็จะทาใหเ้ กดิ ความไมส่ บอารมณแ์ ละลม้ เหลวยงิ่ กวา่ เดิม การเสแสรง้ อ้างเหตผุ ล (Rationalization) กลวธิ แี กท้ กุ ขโ์ ดยหาเหตผุ ลทเ่ี หมาะสมอ่นื ๆ ซ่ึงไม่ใช่ เหตผุ ลท่ีแทจ้ ริงมาอ้างในพฤติกรรมของตนคนท่ใี ชก้ ลไกทางจติ ชนดิ น้ีมกั พูดวา่ \"ฉนั ทาสง่ิ นเี้ พราะ...\"เหตผุ ลที่ อ้างนั้นเป็นเหตุผลทไ่ี มจ่ รงิ เลยแต่เป็นการรกั ษาหน้าของตวั เองและในการพดู นก้ี ร็ ูถ้ ึงการกระตุ้นทีแ่ ทจ้ รงิ แต่ ผลลพั ธน์ ั้นเปน็ ภยั ต่อความรู้สกึ ความมัน่ คงและความภาคภูมิใจในตัวเอง จงึ ตอ้ งหาสาเหตอุ ื่นมาปลอบใจตัวเอง โดยการเสแสร้งอา้ งเหตผุ ลว่ามีเหตผุ ลหลายแบบ ตวั อย่างเชน่ ซือ้ รถยนต์คันใหมร่ าคาแพงกวา่ ฐานะทเ่ี ขาควร จะซ้ือบอกกบั เพ่อื นว่าคนั เก่าเมียขับไม่ได้ เมอ่ื อ้างเหตผุ ลบ่อยขึน้ จะเรมิ่ ไม่ยอมรบั ความจรงิ ใดๆอาจจะ กลายเป็นโรคจติ ไดใ้ นอนาคต การปฏเิ สธ (Denial) เปน็ กลไกทางจติ ซ่งึ ตวั เราปฏิเสธทจ่ี ะรบั รหู้ รอื เผชญิ กบั ความขดั แย้งทางจิตใจ ไม่ยอมรบั รู้ ไมย่ อมเผชิญต่อความเปน็ จรงิ ทีท่ าใหเ้ กิดความไมพ่ อใจ โดยปฏิเสธวา่ ไมจ่ รงิ เป็นไปไมไ่ ด้ เพราะการ ยอมรบั ความจรงิ จะทาให้กระทบกระเทอื นจิตใจอย่างรุนแรง ซ่งึ บคุ คลไมส่ ามารถทนต่อความรสู้ กึ ดงั กลา่ วได้ บคุ คลจงึ ปฏิเสธไม่ยอมรับส่งิ ดังกล่าว ทาเสมอื นวา่ ตนเองไมไ่ ดร้ ับการกระทบกระเทือนจากเหตุการณน์ ้ันๆ เชน่ พ่อแมท่ ไ่ี มย่ อมรบั ว่าลกู ปญั ญาออ่ น จะปฏิเสธการวนิ จิ ฉยั ของแพทย์ การปฏเิ สธทจี่ ะเลา่ วา่ พ่ีชายถกู รถชน เสยี ชีวิต จึงทาให้เสยี ใจ เมอ่ื ผู้ชว่ ยพยาบาลถามผรู้ บั บรกิ ารวา่ \"คุณรู้สึกอยา่ งไรบา้ ง มอี ะไรจะใหช้ ่วยไหม” ผรู้ บั บริการอาจจะตอบวา่ “ฉันไม่มอี ะไร ฉันไมไ่ ดเ้ ป็นไร” ไมย่ อมรบั ว่าเร่อื งทพี่ ีช่ ายเสยี ชวี ติ เปน็ ความจรงิ การลา้ งบาป (Undoing) การกระทาเพอ่ื ลบลา้ งความร้สู กึ ผิดทีเ่ กิดขน้ึ จากการกระทาของตนเอง เชน่ แม่เพ่ิงตลี ูก รูส้ ึกเสียใจรบี ซอ้ื ขนมใหร้ ับประทาน ลูกทไ่ี ม่ได้ดูแลพ่อยามเจบ็ ปว่ ย เมอื่ พอ่ เสยี ชวี ิตก็ทาบญุ ให้ บอ่ ยๆเพ่ือลบลา้ งความรสู้ กึ ผดิ เป็นต้น รหสั รายวชิ า 55111 : ชอ่ื วิชา การชว่ ยเหลอื ดูแลดา้ นสุขภาพจิต หนา้ 19

มีวินยั ใฝร่ ู้ ส้งู านพยาบาลดว้ ยใจ Identification Undoing Regression Denial Repression Rationalization Defense Suppression Compensation mechanism Fantasy Reaction Introjection formation Projection Displacement รปู ภาพที่ 2 กลไกในการปอ้ งกันตนเอง (defense mechanism) ปัจจัยการเกิดการปรบั ตัว ปจั จยั ทท่ี าให้บคุ คลปรบั ตวั มดี งั น้ี 1. ภาวะความกดดันจากภาวะจติ สังคม เช่น ปัญหาครอบครวั การทางาน ความสมั พันธ์ระหวา่ ง บุคคล ปัญหาทางด้านการเงิน ความเจบ็ ปว่ ย เปน็ ตน้ 2. การเปลีย่ นแปลงในชวี ติ เชน่ วยั ร่นุ การมปี ระจาเดือนคร้ังแรก การแตง่ งาน เปน็ ต้น 3. ภาวะความกดดันอ่ืนๆ เช่น ภัยทางธรรมชาติ ระเบิด สงคราม เปน็ ตน้ หากกล่าวในทางจติ วทิ ยา บคุ คลจะปรบั ตัวเมื่อเกดิ ความไม่สบายใจ ความวิตกกงั วล (Anxiety) ความ คับขอ้ งใจ (Frustration) และความเครยี ด (Tension) ซ่ึงอาจจะเกิดจากสงิ่ ต่อไปนี้ รหัสรายวชิ า 55111 : ชอ่ื วชิ า การชว่ ยเหลอื ดแู ลดา้ นสขุ ภาพจติ หนา้ 20

มวี นิ ยั ใฝ่รู้ สงู้ านพยาบาลดว้ ยใจ Self-Actualization Needs Esteem Needs Belonging and love need Safety Needs Physiological Needs รูปภาพที่ 3 ความตอ้ งการพนื้ ฐาน (need) ตามแนวคิดของมาสโลว์ 1. ไม่สามารถตอบสนองความตอ้ งการพนื้ ฐาน (need) ของตนได้ 1.1. ความตอ้ งการทางด้านรา่ งกาย (Physiological Needs) 1.2. ต้องการความปลอดภัย (Safety Needs) 1.3. ต้องการความรกั และความเป็นเจา้ ของ (Belonging and love need) 1.4. ต้องการไดร้ บั การยกยอ่ งนับถอื (Esteem Needs) 1.5. ตอ้ งการประสบผลสาเรจ็ ในชวี ิต (Self-Actualization Needs) 2. เกดิ จากความขดั แยง้ ความขดั แย้ง หมายถงึ การทบ่ี คุ คลไมส่ ามารถจะตัดสินใจเลอื กกระทา ทั้ง 2 อยา่ งได้ ในขณะเดียวกนั แต่จะตอ้ งเลอื กกระทาเพยี งอย่างเดยี ว กลา่ วคือไม่สามารถจะสนองความ ตอ้ งการของตนได้ ซง่ึ มคี วามขัดแย้ง 3 ลักษณะ ดงั นี้ 2.1. เป็นความขดั แยง้ ทเี่ กิดจากการทีจ่ ะต้องเลอื กเพียงอยา่ งเดยี ว ในส่งิ ทต่ี วั ชอบเทา่ ๆ กัน ตั้งแต่ 2 - 3 อย่างขนึ้ ไป จะไมเ่ ลือกกไ็ ม่ได้ เลือกไปแลว้ กไ็ ม่สบายใจเพราะสงิ่ ต่างๆ เหล่านน้ั เราไม่ชอบมากไปกวา่ เลย แต่เราก็ตอ้ งเลือกอยา่ งใดอยา่ งหนงึ่ 2.2. เกิดจากการที่ตัวเองต้องเลือกในสิ่งท่ีไม่ชอบเลยตงั้ แต่ 2 - 3 อยา่ งขึ้นไป จะไม่ เลอื กก็ไมไ่ ด้ เลือกไปแลว้ กไ็ มส่ บายใจ เพราะสง่ิ ต่างๆ เหลา่ นั้นเราไมช่ อบเลย แต่ เรากต็ อ้ งเลอื กอยา่ งใดอยา่ งหน่งึ 2.3. เกิดขนึ้ ในกรณีทส่ี ิง่ ต่างๆ หรือบคุ คลหรอื สัตว์ ที่เราต้องเลือกนัน้ มที ั้งถูกใจและไม่ ถูกใจ ในระดบั ทเี่ ท่าๆ กันท้งั หมดตงั้ แต่ 2 อยา่ งขึ้นไป แตต่ ้องเลอื กเพียงอย่างเดียว รหสั รายวชิ า 55111 : ช่อื วิชา การชว่ ยเหลือดูแลดา้ นสุขภาพจติ หน้า 21

มวี นิ ยั ใฝร่ ู้ สู้งานพยาบาลดว้ ยใจ ระดับของการตอบสนองต่อความกดดนั สมั พันธ์กบั ระดบั ของความรุนแรงของความกดดนั แตจ่ ะเปน็ ความสมั พันธ์ร่วมกนั ของปจั จยั ตอ่ ไปน้ี 1. ตัวกระตนุ้ (Stressors) คอื ลกั ษณะของความกดดนั ทเี่ ป็นสาเหตขุ องปญั หา 2. สถานการณ์ (Stimulational Context) คอื สภาวะแวดลอ้ มขณะนั้น ของผู้รบั บรกิ าร เช่น ขณะตงั้ ครรภ์ใกล้คลอด ไดย้ ินขา่ วสามีประสบอบุ ัติเหตุ เปน็ ตน้ 3. ปัจจัยสว่ นบุคคล (Intrapersonal factors) คอื เหตุปัจจยั ในตัวผู้รับบรกิ ารเอง เชน่ นสิ ัย วิธีการปรบั ตัว โดยเฉพาะในกลมุ่ บุคคลท่ีมคี วามผิดปกตทิ างบคุ ลกิ ภาพ หรือมคี วามผดิ ปกติทางด้าน สมองมากอ่ น จะมีความต้านทานตอ่ ความกดดันไดน้ อ้ ยกวา่ คนทั่วไป ทาใหเ้ กิดปญั หาการปรบั ตัวท่ไี ม่ เหมาะสมไดบ้ อ่ ยกวา่ การชว่ ยเหลอื ดแู ลผู้ทม่ี ีการปรับตัวไมเ่ หมาะสม เป้าหมายอันดบั แรกคือลดอาการของผรู้ ับบรกิ าร และชว่ ยเหลือใหม้ ีการปรบั ตัวดขี ้นึ อยา่ งน้อยกใ็ ห้ เท่ากับระดบั เดิมกอ่ นเกิดปญั หา เปา้ หมายถัดไปคอื ก่อใหเ้ กิดการเปลี่ยนแปลงในวิธกี ารต่อส้ปู ญั หาของ ผู้รบั บรกิ าร รวมทงั้ เหตุการณ์ และสภาพแวดลอ้ ม หากสามารถทาได้ โดยมกี ระบวนการต่างๆ ดังนี้ 1. หาปัจจัยของภาวะกดดนั ท่ชี ดั เจน เพอื่ ใหเ้ ขา้ ใจผลทเ่ี กดิ ขึ้น และวธิ ตี อบสนองของผู้รบั บริการ 2. หากพบความผิดปกตทิ างจิตเวชอ่ืนๆ ที่เกดิ ขนึ้ ใหส้ ง่ ต่อเจ้าหนา้ ท่พี ยาบาล 3. ประเมินบุคลิกภาพของผรู้ ับบริการ 4. ใหผ้ รู้ บั บรกิ ารเขา้ ใจและสามารถระบายปญั หาภาวะกดดนั ทางจิตใจออกมาได้ 5. ส่งเสริมใหก้ าลงั ใจ เพอื่ ใหผ้ รู้ บั บริการสามารถเผชญิ ต่อภาวะกดดนั นั้นได้ 6. ใหค้ าแนะนาหรือกระตุ้นใหผ้ รู้ ับบรกิ ารมวี ธิ กี ารแก้ปญั หาทด่ี ขี ึ้น ดงั นี้ 6.1. การใชพ้ ฤติกรรมการเผชิญปญั หา (coping and problem-solving Approach) ใน ชีวติ ประจาวนั บคุ คลต้องเผชญิ ปญั หาตา่ งๆมากมายซง่ึ มักจะกอ่ ใหเ้ กดิ ความเครียดภายใต้ความกดดนั ทาใหต้ อ้ ง ปรับตวั ทง้ั นน้ั รา่ งกายดา้ นจติ ใจเพอ่ื ลดความเครียดโดยผ่านกระบวนการพยาบาลหาและแกไ้ ขปญั หาบุคคลจะ มกี ารตอบสนองมรี ปู แบบการตอบสนองทีแ่ ตกต่างกนั ไปขน้ึ อยู่กบั การประเมินของบคุ คลเหลา่ น้ันตอ่ ความเครยี ดทเ่ี ขา้ มากระทบและวิธกี ารทบ่ี ุคคลแตล่ ะคนจะเลอื กใช้น้ันจะมีความแตกต่างกันขน้ึ อย่กู บั ประสบการณ์ ของบคุ คล การเผชญิ ปญั หาเปน็ วธิ ที บี่ ุคคลใช้ในการบรรเทาหรอื ขจัดความทุกข์ โดยการแสดงออกเป็นพฤตกิ รรม ในรปู แบบตา่ งๆ เปน็ การลดความขดั แย้งภายในและภายนอกโดยมีกลวธิ ที ่ี มุ่งหมายเพ่ือจะลดความรนุ แรงของ ปจั จัยทีก่ ่อให้เกิดความเครยี ดทาให้เกดิ ความสมดลุ ระหวา่ งบคุ คลและความเครยี ดทมี่ ากระทบ รหัสรายวิชา 55111 : ชือ่ วชิ า การช่วยเหลอื ดแู ลด้านสขุ ภาพจติ หน้า 22

มีวินัย ใฝร่ ู้ สู้งานพยาบาลดว้ ยใจ การเผชญิ ปญั หาคอื กลไกทกุ อยา่ งท่ีบุคคลใช้เพ่อื รกั ษาภาวะสมดลุ ย์ของจติ ใจท่ถี กู รบกวนเพอื่ สามารถ ทาหนา้ ท่ไี ดอ้ ย่างมปี ระสทิ ธภิ าพหรอื อาการไดว้ า่ การใชป้ ญั หาคือการที่บคุ คลใช้เทคนคิ การปรบั ตวั ทงั้ หมดเพ่อื เอาชนะสิง่ คกุ คามทางจิตใจ พฤติกรรมการเผชญิ ปัญหาแบง่ ออกเป็นสองชนิดคือ 1. การเผชญิ ปัญหาในระยะสั้น ได้แก่ พฤตกิ รรมที่เกดิ ขนึ้ เพ่ือตอบสนองความเครยี ดใหห้ ายทุกขเ์ ปน็ การใหส้ บายใจในระยะสน้ั ส้นั พฤติกรรมที่เกิดข้ึนมกั จะไม่ได้เปน็ การไตร่ตรองกอ่ นพฤติกรรมเหล่านี้ได้แก่ การ รอ้ งไห้ หวั เราะ หลับ ฝันกลางวนั ดืม่ เหล้า สบู บหุ รี่ เทยี่ วเตร่ ไปหาหมอดู ไหว้พระ บนบานศาลกลา่ วเพ่ือสรา้ ง ความหวงั ซึ่งส่วนมากเป็นพฤตกิ รรมการเผชญิ ปญั หาที่ไมเ่ หมาะสมและทาใหเ้ กิดปญั หามากขนึ้ ถ้าหากบุคคลไม่ พยายามแกไ้ ขปญั หาไมย่ อมรับความจริงบคุ คลกจ็ ะพบความลม้ เหลวในการดาเนนิ ชวี ิต 2. การเผชญิ ปัญหาระยะยาว คอื การนากระบวนการ แก้ไขปญั หามาเพ่อื ความคลค่ี ลายหรอื เพอ่ื ให้ ปัญหาหมดไปโดยการระบายปญั หาใหค้ วามทกุ ข์ให้บคุ คลท่ีไวว้ างใจได้รับฟงั ไดร้ บั รู้ รบั ความชว่ ยเหลอื จาก บคุ คลอืน่ เพ่อื ประคับประคองตนใหม้ ีกาลงั กายกาลังใจและพรอ้ มทีจ่ ะต่อสกู้ บั ปัญหาและอปุ สรรคตา่ งๆ การ ออกกาลงั กายใหส้ ม่าเสมอเพื่อลดความเครียด และพยายามขจัดความเครียดและตน้ เหตขุ องความเครยี ดน้นั ให้ หมดไป 6.2. การแก้ปญั หาเชงิ วทิ ยาศาสตร์ วถิ พี ทุ ธและปรชั ญาเศรษฐกิจพอเพยี ง ปัญหาต่างๆทเ่ี กิดขึ้นได้ในชวี ิตประจาวันมีตง้ั แตป่ ัญหาเลก็ น้อยไปจนถึงปญั หาใหญซ่ ึง่ กระทบกระเทือนต่อ การดารงชีวิตทาใหเ้ กดิ ความขาดสมดุลย์ของร่างกายและจติ ใจ ปัญหาอาจจะเกิดจากตัวของผกู้ ระทาหรือผูอ้ ื่น กระทาและมีผลกระทบต่อตัวเราโดยตรงหรือทางออ้ มก็ได้ โดยที่ตัวเรารับรู้และเกิดความเครียดภายใต้ความ กดดนั ต่างๆทง้ั จากภายในร่างกายและสง่ิ แวดล้อม การแกป้ ญั หาทถี่ ูกต้องเหมาะสมควรใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์หรือหลกั การทางพุทธศาสนาและ ปรัชญาเศรษฐกจิ พอเพียง หลักการวิทยาศาสตร์ปฏิบตั ิดงั น้ี 1. ยอมรับความจริงวา่ มคี วามเครยี ดและความทกุ ข์ แยกแยะให้ไดว้ า่ เกิดปญั หาอะไรหาสาเหตุของ ปญั หา สาเหตุของปญั หานา่ จะมหี ลายสาเหตุ พยายามแยกแยะใหช้ ดั เจน หาขอ้ มลู เพมิ่ เตมิ หากหาสาเหตุยัง ไม่ได้ ใหต้ ัง้ คาถามถามเพ่ือให้ใชส้ ติปญั ญาใครค่ รวญ ไตร่ตรองอย่างรอบคอบ หาวธิ ีแก้ไขปญั หา วิธแี ก้ไขปัญหา อาจจะมีมากกว่าหนง่ึ วธิ ี ทีจ่ ะได้วางแผนว่าจะใชว้ ิธีใดก่อนหรือหลังหรอื พรอ้ มกนั 2. ลงมอื ปฏิบัตแิ กไ้ ขปญั หา ประเมนิ ผลว่าการกระทาตา่ งๆมผี ลลดปญั หาหรือขจัดปญั หาลงไปได้ ทงั้ ใน ระยะเวลาสน้ั และระยะยาวเพียงใด หากไมเ่ ปน็ ผลต้องเร่มิ ตน้ ใหม่ รหัสรายวชิ า 55111 : ชื่อวชิ า การชว่ ยเหลอื ดูแลดา้ นสขุ ภาพจิต หนา้ 23

มวี นิ ยั ใฝ่รู้ สู้งานพยาบาลดว้ ยใจ หลักการทางพุทธศาสนาตามวถิ พี ทุ ธ หลักพระพทุ ธเจา้ ตรสั ร้อู ริยสจั สซี่ ่งึ เปน็ วธิ แี กท้ ุกขอ์ นั ประเสรฐิ หลกั อริยสจั สห่ี มายถงึ ความจรงิ หรอื ความรูใ้ น หลักสจั ธรรมส่ี เป็นหนทางสกู่ ารดบั ทุกข์ ทุกข์สัจ สมุทยั สัจ อรยิ สจั ส่ี มรรคสัจ นโิ รธ รปู ภาพที่ 4 องค์ประกอบของอรยิ สัจสีป่ ระการ ทกุ ข์สัจ ความรู้ทุกขม์ ปี ระจาอยูใ่ นสงิ่ มีชีวติ ทง้ั ปวง สมุทัยสัจ ความรู้เหตุให้เกดิ ทุกขร์ วู้ า่ มลู เหตขุ องทุกข์ ซึ่งไดแ้ ก่ ความอยากได้ อยากมี อยากเปน็ นิโรธ และไม่อยากมี ไมอ่ ยากให้เป็น อยา่ งไรอย่างหนง่ึ ซง่ึ รวมเรยี กวา่ ความอยาก มรรคสจั ความรูด้ ับทุกขร์ วู้ ่าถา้ ดบั ความอยากเสยี ได้แล้ว ความทุกข์ก็จะต้องดบั ไปตามเพราะ ความทุกข์ยอ่ มมาจากความอยาก ความรู้แหง่ ความดบั ทุกข์ รวู้ ิธที ีจ่ ะดบั ความอยากเสียให้ได้ รหัสรายวิชา 55111 : ชอื่ วิชา การชว่ ยเหลอื ดูแลด้านสขุ ภาพจิต หนา้ 24

มีวินยั ใฝ่รู้ ส้งู านพยาบาลดว้ ยใจ หลกั ปรชั ญาเศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกจิ พอเพียง เปน็ ปรัชญาทพ่ี ระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยู่หวั ภูมพิ ลอดลุ ยเดชมหาราชรชั กาลทเี่ กา้ ทรงมพี ระราชดารสั ช้ีแนะเอาทางในการดาเนินชวี ิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาตลอดระยะเวลานานกว่า 25 ป.ี ต้ังแต่ก่อนเกดิ วกิ ฤติทางเศรษฐกิจและเม่อื ภายหลงั ได้ทรงเนน้ ย้าแนวทางในการแก้ไขเพื่อใหร้ อดพน้ สามารถ ดารงอย่ใู หอ้ ยา่ งม่ันคงยง่ั ยนื ภายใต้กระแสโลกาภวิ ฒั น์และความเปลยี่ นแปลงอยา่ งรวดเรว็ ของโลก กรอบแนวคดิ เปน็ ปรัชญาทีช่ ี้แนวทางทางการดารงชีวิตและการปฏิบตั ิตนในทางทคี่ วรจะเป็นโดยมี พ้ืนฐานมาจากวิถชี วี ิตดง้ั เดิมของสงั คมไทย สามารถนามาประยุกต์ใชไ้ ด้ตลอดเวลาและเปน็ การมองโลกเชงิ ระบบที่มกี ารเปล่ียนแปลงอยู่ตลอดเวลา มงุ่ เนน้ การรับผลจากภัยและวิกฤตเิ พ่อื ความม่ันคงและยงั ยนื ในการ พฒั นา คานิยามความพอเพียงจะประกอบไปดว้ ย 3 คุณลกั ษณะดังน้ี ความพอประมาณ หมายถงึ ความพอดีไมน่ ้อยเกนิ ไปไมม่ ากเกนิ ไปโดยไมเ่ ปลี่ยนตนเองและผูอ้ ่ืน ความมีเหตุผล หมายถงึ การตดั สนิ ใจเกี่ยวกบั ระดบั ความพอเพียงพอ เป็นไปอย่างมเี หตผุ ล โดย พิจารณาจากเหตุปจั จัยท่ีเกย่ี วขอ้ งตลอดจนคานึงถงึ ผลท่ีคาดว่าจะเกดิ ขึน้ จากการกระทานนั้ อย่างรอบคอบ การมีคมุ้ กันทีด่ ีในตวั หมายถงึ การเตรยี มตัวใหพ้ รอ้ มรบั ผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านตา่ งๆ ท่ี จะเกิดขึ้นโดยคานงึ ถงึ ความเปน็ ไปไดข้ องการทคี่ าดว่าจะเกดิ ขนึ้ ในอนาคตอนั ใกล้และไกล เง่ือนไข การตัดสินใจและการดาเนินกจิ กรรมต่างๆใหอ้ ย่ใู นระดับความพอเพยี งนนั้ ตอ้ งอาศัยความรูแ้ ละคุณธรรมเป็น พนื้ ฐานกลา่ วคือ 1.เงื่อนไขความร้ปู ระกอบด้วยความรอบรเู้ กยี่ วกับวิชาการตา่ งๆทเ่ี ก่ยี วข้องอย่างรอบดา้ นและ รอบคอบทจี่ ะนาความรูเ้ หลา่ น้ันมาพจิ ารณาใหเ้ ช่อื มโยงกัน เพ่อื ประกอบการวางแผนไดร้ ะมัดระวงั อยา่ งเปน็ ขัน้ ตอน 2 เงือ่ นไขคณุ ธรรม ทจี่ ะต้องเสริมสร้างประกอบดว้ ยมคี วามตระหนกั ในคณุ ธรรมมคี วามซอื่ สัตย์จรติ และมีความอดทนความพากเพียร ใชส้ ตปิ ญั ญาในการดารงชวี ิต “มสี ลงึ เพ่ิงบรรจบใหค้ รบบาท อยา่ ให้ขาดสงิ่ ของตอ้ งประสงค์ มนี ้อยใชน้ อ้ ยค่อยบรรจง อย่าจ่ายลงใหม้ ากจะยากนาน” รหัสรายวชิ า 55111 : ชอื่ วชิ า การชว่ ยเหลอื ดูแลดา้ นสุขภาพจติ หน้า 25

มีวนิ ัย ใฝร่ ู้ สู้งานพยาบาลดว้ ยใจ พอประมาณ มีภูมิค้มุ กัน มีเหตผุ ล ทด่ี ีในตวั ความรู้ คุณธรรม รปู ภาพท่ี 5 ปรัชญาเศรษฐกจิ พอเพยี ง รหัสรายวิชา 55111 : ชอ่ื วิชา การชว่ ยเหลือดูแลด้านสุขภาพจติ หน้า 26

มีวินัย ใฝ่รู้ สู้งานพยาบาลดว้ ยใจ สรปุ การปรับตัว หมายถึง กระบวนการทบี่ คุ คลปรบั สภาพกาย และจิตใจเพอื่ ใหเ้ หมาะสมกบั สภาพแวดลอ้ ม ซงึ่ เปน็ ความสามารถในการเผชิญปัญหา อปุ สรรคต่างๆ และความสามารถในการจัดการกบั ส่งิ เหล่าน้นั ไดอ้ ยา่ งเหมาะสม เพอื่ ใหบ้ รรลตุ ามเปา้ หมาย ซง่ึ การปรับตวั แบ่งออกเปน็ 3 ประเภท ได้แก่ การปรับตัวแบบดัง้ เดมิ (primitive adjustment) แบบเหมาะสม และแบบใชก้ ลไกในการป้องกนั ตนเอง โดยมีปจั จัยทที่ าใหบ้ ุคคลปรบั ตัว มีดงั นี้ ภาวะความกดดนั จากภาวะจติ สงั คม การเปลีย่ นแปลงในชีวติ ภาวะความกดดนั อนื่ ๆ ซง่ึ สามารถใหก้ ารชว่ ยเหลือดแู ลตามบทบาทผูช้ ว่ ยพยาบาลได้ โดยการหาปจั จัยของ ภาวะกดดันทีช่ ดั เจน เพือ่ ใหเ้ ข้าใจผลทเี่ กิดข้นึ และวิธตี อบสนองของผรู้ บั บรกิ าร หากพบความผิดปกตทิ างจติ เวชอ่นื ๆ ท่เี กดิ ขน้ึ ใหส้ ่งตอ่ เจา้ หน้าทพี่ ยาบาล ประเมนิ บคุ ลิกภาพของผรู้ บั บริการ ใหผ้ รู้ บั บริการเขา้ ใจและ สามารถระบายปัญหาภาวะกดดนั ทางจิตใจออกมาได้ สง่ เสริมใหก้ าลงั ใจ เพ่ือใหผ้ ้รู บั บรกิ ารสามารถเผชญิ ตอ่ ภาวะกดดันนั้นได้ และให้คาแนะนาหรอื กระตนุ้ ใหผ้ รู้ บั บรกิ ารมีวธิ กี ารแกป้ ัญหาทด่ี ขี ้ึน รหสั รายวิชา 55111 : ช่ือวิชา การชว่ ยเหลือดแู ลดา้ นสุขภาพจติ หนา้ 27

มีวนิ ัย ใฝ่รู้ ส้งู านพยาบาลดว้ ยใจ บรรณานุกรม จฑุ ารตั น์ สถริ ปญั ญา. (2554). สขุ ภาพจิต (พิมพค์ รง้ั ที่ 3). สงชลา: บริษทั นาศิลปโ์ ฆษณา. ฉวีวรรณ สัตยธรรม แผ จันทรส์ ขุ และศุกรใ์ จ เจรญิ สขุ . (2556). การพยาบาลจิตเวชและสขุ ภาพจิต (ฉบับ ปรบั ปรงุ ) เล่ม 1. นนทบรุ :ี ธนาเพรส จากดั . ยรุ าวดี เน่ืองโนราช. (2558). จติ วทิ ยาพนื้ ฐาน. กรงุ เทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮาส.์ รหสั รายวชิ า 55111 : ชื่อวิชา การช่วยเหลือดูแลดา้ นสขุ ภาพจติ หนา้ 28

มีวินยั ใฝร่ ู้ สงู้ านพยาบาลดว้ ยใจ คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลยั เชียงราย รหสั รายวชิ า 55111: ชอ่ื วชิ า การช่วยเหลอื ดูแลด้านสุขภาพจิต ภาคการศึกษาท่ี 1 ปีการศึกษา 2562 หวั ข้อ 3 การช่วยเหลอื ดแู ลผู้ทีม่ ีภาวะสขุ ภาพจติ เบีย่ งเบน: ความเครยี ด อาจารยผ์ ู้สอน อ. สาวิตรี จีระยา วตั ถุประสงค์การเรยี นรู้ เมือ่ สนิ้ สดุ การเรยี นการสอนแล้ว นักศกึ ษาสามารถ 1. บอกความหมายของความเครียดได้ถกู ตอ้ ง 2. บอกอาการและระดบั ของความเครยี ดไดถ้ กู ตอ้ ง 3. บอกปจั จัยการเกดิ ความเครียดไดถ้ ูกตอ้ ง 4. เลอื กวิธกี ารชว่ ยเหลือดแู ลผู้ท่มี ีความเครยี ดได้ถกู ต้อง คาศพั ท์ที่เกี่ยวข้อง High stress ความเครียดระดับสงู Mild stress ความเครียดระดับต่า Moderate stress ความเครียดระดบั ปานกลาง positive thinking การคิดในทางบวก Severe stress ความเครยี ดระดบั รุนแรง Stress ความเครยี ด Stress response อาการตอบสนองตอ่ ความเครียด รหัสรายวชิ า 55111 : ชือ่ วิชา การชว่ ยเหลอื ดแู ลด้านสขุ ภาพจติ หนา้ 29

มวี นิ ัย ใฝ่รู้ สงู้ านพยาบาลดว้ ยใจ ในชีวิตประจาวันทุกคนต้องพบกับความเครียด (stress) กันไม่มากก็น้อยความเครียดมีทั้งผลดีและ ผลเสียต่อบุคคลการมีความเครียดที่พอเหมาะ ทาให้บุคคลต่ืนตัวในการเรียนหรือการทางาน แต่การมี ความเครยี ดสูงและมีอยเู่ ปน็ เวลานาน ทาให้เกิดการเจ็บปว่ ยได้ ทงั้ ทางร่างกายและจิตใจ ดังน้ันบุคลากรทาง สาธารณสุขควรมคี วามรู้เก่ียวกับความเครยี ดและวธิ ีจดั การกบั ความเครียดที่เหมาะสม เพอ่ื ใหก้ ารดแู ลผู้ป่วยได้ อย่างมปี ระสทิ ธิภาพ ความหมายของความเครียด Selye (1976) กล่าวว่าความเครียดหมายถึง การสนองตอบของรา่ งกายที่ระบุอยา่ งชดั แจ้งไม่ได้ ต่อ การกระทาทั้งหลายที่มีต่อร่างกาย Caplan (1981, pp. 413-420) กล่าวว่าความเครียดหมายถึง ภาวะที่มีความไม่สมดุลหรือความไม่ พอดีระหว่างความคาดหวังทม่ี ีตอ่ บุคคลและความสามารถของบุคคลในการสนองตอบ และความไม่สมดุลน้ีมี ผลตอ่ ความมน่ั คง ความปลอดภยั ความเปน็ อยู่ท่ีดขี องบคุ คลในวนั ข้างหนา้ Jusmin และ Trygstad (1979) กล่าวว่าความเครียดหมายถึง ภาวการณ์ที่เกิดข้ึนร่วมกับการ เปลยี่ นแปลงและพบได้ในคนทุกคน ไมว่ ่าเราจะต้องการหรือไม่ ควบคมุ ได้หรือไม่ และทาให้มีการปรับตวั ทั้ง ทางด้านร่างกาย จิตใจ และวิญญาณ กระบวนการเปลยี่ นแปลงและการปรบั ตวั น้ี เป็นสิง่ จาเป็นของชวี ิต เป็น ส่วนสาคญั พนื้ ฐานของการมชี ีวิตและการพฒั นา สวุ นีย์ เกย่ี วก่งิ แกว้ (2554, น. 48) ความเครียด คอื การสนองตอบของบคุ คลทีร่ ะบอุ ย่างชดั แจ้งไมไ่ ด้ ต่อสภาวการณบ์ างอย่างท่ีคกุ คามต่อความมน่ั คงปลอดภัยของชีวิต ซ่ึงการสนองตอบนี้มลี ักษณะเฉพาะในแต่ ละคน ไม่จาเป็นจะต้องเหมอื นกัน จะปรากฏให้เห็นในรูปอาการแสดงออกบางอย่าง และเป็นต้นเหตทุ าให้มี การเปล่ียนแปลงหลาย ๆ อย่าง ภายในร่างกายของบุคคล ทาให้บคุ คลต้องมีการปรับตวั ทั้งทางดา้ นร่างกาย และจิตใจ สภาวการณ์ทก่ี ่อให้เกดิ ความเครยี ดในคนหนึง่ ไม่จาเป็นจะตอ้ งเหมือนกับอีกคนหน่ึง สภาวการณ์ อย่างเดยี วกัน อาจทาให้คนหนึง่ เครยี ด อกี คนหน่ึงไม่เครียด ทง้ั น้ีข้นึ อยกู่ บั ประสบการณ์และการรบั รขู้ องบคุ คล และขึ้นอยกู่ ับปจั จัยอีกหลาย ๆ อย่าง เป็นตน้ ว่า วัน เวลา การรับรู้ ความเขม้ แขง็ ของบุคคล ระบบในชุมชน เป็นต้น เพียรดี เปี่ยมมงคล (2556, น. 16) ความเครยี ดคอื ภาวะของร่างกายและจิตใจมปี ฏิกิริยาตอบสนอง ต่อสิ่งกระตุ้น ทาใหบ้ คุ คลมกี ารปรบั ตัวในรปู แบบต่าง ๆ เพ่ือรักษาสมดุลของตนเองไว้ จากคากล่าวขา้ งตน้ สามารถสรปุ ไดว้ า่ ความเครียดหมายถงึ การตอบสนองของรา่ งกายและจติ ใจตอ่ สิ่ง กระตุ้น ก่อให้เกิดสภาวการณ์บางอย่างท่ีคุกคามตนเองหรือความไม่สมดุล ทาให้บุคคลตอ้ งมีการปรับตัวท้ัง ทางด้านร่างกายและจิตใจ รหสั รายวชิ า 55111 : ชอ่ื วชิ า การชว่ ยเหลอื ดแู ลดา้ นสุขภาพจิต หน้า 30

มีวินยั ใฝร่ ู้ สงู้ านพยาบาลดว้ ยใจ อาการของความเครยี ด ความเครียดท่ีเกิดในแต่ละบุคคลมีการตอบสนองท้ังด้านร่างกายและจิตใจ สามารถอธิบายอาการ ตอบสนองต่อความเครยี ด และอาการทางด้านรา่ งกายและจิตใจที่เกิดจากความเครียดทสี่ ังเกตได้ (เพยี รดี เปย่ี มมงคล, 2556, น. 16-17) ดังน้ี 1. อาการตอบสนองต่อความเครยี ด (stress response) 1.1 อาการทางดา้ นร่างกาย (physical response) ไดแ้ ก่ อัตราการเตน้ ของหัวใจเร็วขึ้น ความ ดันโลหติ สงู ข้นึ หายใจเรว็ และตน้ื ปวดศีรษะ ท้องอดื ทอ้ งผูก หรอื ท้องเดิน กล้ามเนื้อหดเกร็ง (ปวดต้นคอ ไหล่ และหลงั ) ประจาเดอื นมาไมป่ กติ หรอื สมรรถภาพทางเพศลดลง 1.2 อาการทางด้านจิตใจ (psychological response) ทเ่ี ป็นอาการหลัก ได้แก่ เศร้าโศก (grief) วิตกกงั วล (anxiety) 2. อาการทางด้านร่างกายและจิตใจที่เกิดจากความเครยี ดสังเกตไดด้ งั นี้ 2.1 ปวดศีรษะ 2.2 นอนหลับยากหรือหลับไมส่ นทิ 2.3 เหน่ือยง่ายกว่าปกติ 2.4 กนิ มากกว่าปกตหิ รอื เบอื่ อาหาร 2.5 ทอ้ งผกู หรือท้องเสยี บ่อย ๆ 2.6 ท้องอดื ทอ้ งเฟอ้ 2.7 ฝันรา้ ย 2.8 หายใจไม่อมิ่ ถอนหายใจบ่อย 2.9 ประจาเดือนมาไม่ปกติ หรอื สมรรถภาพทางเพศลดลง 2.10 ปวดต้นคอไหลแ่ ละหลัง 2.11 มอื เทา้ เยน็ 2.12 ใจส่นั รหสั รายวิชา 55111 : ชื่อวิชา การชว่ ยเหลือดแู ลดา้ นสุขภาพจติ หน้า 31

มีวินัย ใฝร่ ู้ สู้งานพยาบาลดว้ ยใจ 2.13 ไมม่ ีสมาธิ 2.14 รู้สึกตนื่ เต้นตกใจง่าย 2.15 หงุดหงดิ กับคนรอบข้าง ระดบั ของความเครียด ความเครียดไม่ไดเ้ กิดขน้ึ จากความผดิ ปกติของอวัยวะในร่างกาย แต่เปน็ ภาวะที่แสดงออกมา เม่ือถูก กระตุ้นจากสิ่งแวดล้อม สังคม ภาวะอารมณ์ที่เกิดขึ้นจากจิตใจรวมถึงสภาพร่างกาย เพื่อเป็นการป้องกัน ความเครียดในเบ้อื งต้น ความเครยี ดสามารถแบ่งเป็น 4 ระดบั (เทียนทพิ ย์ เดียวก่ี, 2561) ดงั นี้ 1. ความเครียดระดับต่า (mild stress) เป็นความเครียดท่ีไม่คุกคามต่อการดาเนินชีวิตอาจมี ความรสู้ ึกเพียงแค่เบ่ือหน่าย ขาดแรงกระตุน้ และมีพฤติกรรมทเ่ี ชือ่ งช้าลง 2. ความเครียดระดับปานกลาง (moderate stress) เปน็ ความเครยี ดในระดบั ปกตทิ ไ่ี ม่ก่ออันตราย และไม่แสดงออกถึงความเครียดที่ชัดเจน ส่วนใหญ่จะสามารถปรับตัวกลับสู่ภาวะปกติได้เองจากการได้ทา กิจกรรมทช่ี น่ื ชอบ ซ่งึ ช่วยคลายเครยี ด 3. ความเครียดระดับสงู (high stress) เปน็ ความเครยี ดทีเ่ กดิ จากเหตกุ ารณ์รุนแรงหากปรบั ตวั ไม่ได้ จะทาให้เกิดความผิดปกติตามมาทางร่างกาย อารมณ์ ความคิด และพฤติกรรม เช่น ปวดศีรษะ ปวดท้อง อารมณ์ฉุนเฉียวงา่ ย หงุดหงดิ พฤติกรรมการนอนและการรบั ประทานอาหารเปลีย่ นไป จนมีผลต่อการดาเนิน ชวี ติ จงึ ควรหาใครสักคนคอยอยู่เป็นเพื่อนรับฟังปัญหา และระบายความรู้สกึ รวมถึงมีผูใ้ หญ่สกั คนแนะนาให้ คาปรึกษาอยา่ งใกลช้ ดิ 4. ความเครียดระดับรนุ แรง (severe stress) เปน็ ความเครียดระดับสงู และเรอ้ื รงั ต่อเนือ่ งจนทาให้ คนคนนั้นมีความล้มเหลวในการปรับตัว และก่อให้เกิดความผิดปกติและเกิดโรคต่างๆท่ีรุนแรงขึน้ มาได้ เช่น อารมณ์แปรปรวน มีอาการทางจิต มีความบกพร่องในการดาเนินชีวิตประจาวัน ซึ่งอาจมีอาการนานเป็น สปั ดาห์ เดือน หรือปี ควรเขา้ รับการปรกึ ษาจากแพทย์ รหัสรายวชิ า 55111 : ชอ่ื วิชา การชว่ ยเหลือดูแลดา้ นสุขภาพจิต หน้า 32

มวี นิ ยั ใฝ่รู้ สูง้ านพยาบาลดว้ ยใจ ตารางที่ 1 แสดงระดบั ของความเครียด ระดับความเครียด ลกั ษณะความเครียด ระดับต่า ไมค่ กุ คามต่อการดาเนนิ ชีวติ ระดับปานกลาง - ไมก่ ่ออนั ตราย - ไมแ่ สดงออกถึงความเครยี ดที่ชัดเจน - สามารถปรับตัวกลับส่ภู าวะปกติไดเ้ องจากการไดท้ ากจิ กรรมที่ชนื่ ชอบ ระดับสูง - เกดิ จากเหตกุ ารณ์รุนแรง - หากปรับตัวไม่ได้ จะทาให้เกิดความผิดปกติตามมาทางร่างกาย อารมณ์ ความคิด และ พฤตกิ รรม ระดับรนุ แรง - ความเครยี ดระดับสงู และเรอ้ื รงั ต่อเน่ือง - ทาให้เกดิ ความลม้ เหลวในการปรบั ตัว และก่อใหเ้ กดิ ความผดิ ปกตแิ ละเกดิ โรคต่างๆทรี่ ุนแรง ปจั จัยการเกิดความเครยี ด ปัจจัยท่กี ่อให้เกิดความเครยี ด สามารถจาแนกเป็น 2 ประการ คือ ปัจจยั ภายในบุคคลและภายนอก (มหาวทิ ยาลัยสโุ ขทยั ธรรมาธิราช, 2552, น. 120-122) โดยมีรายละเอยี ดดังนี้ 1. ปจั จยั ภายในบุคคล มสี าเหตุมาจากด้านร่างกาย จิตใจและจิตวญิ ญาณ ท่ีเกีย่ วข้อง 1.1 ดา้ นร่างกาย ได้แก่ 1.1.1 ความผดิ ปกติทางโครงสร้างและสรีระมาแตก่ าเนดิ โดยได้รบั การถา่ ยทอดทาง พนั ธุกรรม ทาใหก้ ารเผชิญภาวะเครียดของบุคคลบกพรอ่ ง 1.1.2 ระดับพัฒนาการผิดปกติ พัฒนาการทางร่างกายช้าเนื่องจากไดร้ ับอาหารไม่ เพียงพอ ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาดา้ นจิตใจ มีผลให้เกิดการเจ็บป่วยจากสาเหตเุ ฉพาะอย่างและไม่มีตัวตน เฉพาะได้งา่ ย รหสั รายวชิ า 55111 : ชอ่ื วิชา การชว่ ยเหลือดแู ลดา้ นสขุ ภาพจติ หน้า 33

มีวนิ ัย ใฝร่ ู้ ส้งู านพยาบาลดว้ ยใจ 1.1.3 ภาวะผิดปกติทางกาย เช่น การเจบ็ ปว่ ยเฉยี บพลนั เจ็บปว่ ยเรอ้ื รงั ความพิการ สญู เสยี ภาพลกั ษณ์ การตั้งครรภ์ เปน็ ตน้ 1.2 ดา้ นจิตใจและจิตวญิ ญาณ สาเหตทุ ่เี ปน็ สาเหตุสาคญั ๆ ของการเกิดภาวะเครยี ด มีดังนี้ 1.2.1 บคุ ลิกภาพของบุคคลพบว่า ผูท้ มี่ ีบคุ ลิกภาพแบบใจร้อน ววู่ าม เอาจริงเอาจัง กบั ชีวติ และ/หรอื ผกู พนั กบั บคุ คลหรือส่ิงใดสงิ่ หนงึ่ โดยไมม่ กี ารสารองความผดิ หวงั ไว้ จะมโี อกาสเกดิ ความเกิด ภาวะเครียดได้ง่าย นอกจากนน้ั ผู้ทมี่ ีบุคลกิ ภาพอารมณอ์ ่อนไหวง่าย ชอบกังวล รสู้ ึกต้อย เวลามีปัญหาจะชอบ ปกปอ้ งตนเองโดยใชก้ ลไกทางจติ แบบต่าง ๆ เช่น การโทษคนอืน่ การเก็บความรู้สึก 1.2.2 การเผชิญปัญหาชีวิตประจาวันและการปรับตัว บุคคลท่ีต้องเผชิญกับ ความเครียดในชีวิตประจาวันเสมอ ๆ และไม่สามารถปรับตัวได้หรือปรับตัวได้ไม่ดี เชน่ ในสังคมเมืองหลวง ปัจจบุ ัน ผ้ทู ี่ใช้ชีวิตอยู่ในเมืองหลวงและเมอื งใหญ่ต้องต่ืนแต่เชา้ มีแต่ความเร่งรบี ในการเดินทาง ทุกคนต่างมุ่ง ไปส่เู ป้าหมายโดยไม่สนใจวา่ การเร่งรีบดงั กล่าวจะสง่ ผลเสียต่อสขุ ภาพตนเองและคนรอบข้างอยา่ งไร เกดิ สงั คม ไร้น้าใจ บางครอบครวั ตอ้ งปลกุ ลูกขนึ้ ไปหลบั บนรถ หรอื ป้อนข้าว น้า ส่งผลกระทบตอ่ ความผาสกุ ในครอบครวั บางคนผ่านการจราจรไปได้ แต่กลับไปเผชิญความเครียดในท่ีทางานทัง้ วัน และยังนาความเครียดกลับมายัง ครอบครวั จนพวั พนั แยกกันไมอ่ อก เกิดเป็นภาวะเครยี ดสะสมพรอ้ มท่ีจะเกิดภาวะวิกฤตไดง้ ่ายเม่อื มเี หตกุ ารณ์ มาปะทะ 1.2.3 การสูญเสียและการเปลี่ยนแปลงบทบาทหน้าที่ การสูญเสียและการ เปลี่ยนแปลงบทบาทหน้าที่ของบุคคล ส่งผลใหเ้ กิดความเครียดได้ ซ่ึงความเครียดจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ สาเหตุของความเครียด ความรุนแรง ความผูกพันของผู้สูญเสียต่อสิ่งท่ีสูญเสีย การปรับตัวของผู้สูญเสียหรือ การเปล่ยี นแปลงต่อบทบาทหนา้ ทดี่ งั กล่าว ซง่ึ ปัญหาลาดบั แรก ๆ และสว่ นใหญเ่ กิดขน้ึ กับผู้มคี รอบครวั เพราะ ตอ้ งมกี ารเปลี่ยนแปลงบทบาทหนา้ ที่ ตง้ั แตเ่ รม่ิ สมรสจนกระท่งั มีบุตร 1.2.4 การรบั รู้และการแปลเหตุการณ์ เหตกุ ารณ์ท่ีกอ่ ให้เกิดอารมณ์ต่าง ๆ เชน่ กลวั โกรธ เกลยี ด กังวล ปฏิเสธ หรอื ต่นื เตน้ เปน็ เหตุการณท์ ่ีก่อใหเ้ กิดความเครยี ดได้งา่ ย ร่างกายจะถูกกระตุน้ และ มกี ารสนองตอบทางด้านสร้างสรีระการรับรู้ต่อเหตกุ ารณต์ ่าง ๆ รวมทั้งการสนองตอบต่อเหตุการณ์ทีเ่ กดิ ขึ้น อย่างไรขน้ึ อยู่กบั ความแตกตา่ งของแตล่ ะบุคคล 2. ปจั จัยภายนอกบุคคล มสี าเหตุมาจากส่ิงแวดลอ้ มดา้ นกายภาพสงั คมและสัมพนั ธภาพกับบคุ คลอ่ืน หรอื สภาวะเหตุการณ์ตา่ ง ๆ ในชวี ติ 2.1 สิ่งแวดลอ้ มดา้ นกายภาพ ไดแ้ ก่ สงิ่ ของและวัตถุตา่ ง ๆ รอบตัวทสี่ มั ผัสได้ด้วยประสาท ท้งั หา้ เชน่ รหสั รายวิชา 55111 : ชอ่ื วิชา การช่วยเหลือดแู ลด้านสขุ ภาพจิต หนา้ 34

มีวินยั ใฝ่รู้ สู้งานพยาบาลดว้ ยใจ 2.1.1 ภาวะมลพษิ ทางอากาศ แสง เสยี ง เช่น เหตุการณ์ดัง/ ทอ่ แก๊สระเบิดบนทอ้ ง ถนน หรอื ในโรงงาน ทาให้พนกั งานและประชาชนที่อยู่รอบข้างได้รับผลกระทบและเกิดความเครียดรุนแรง การเผชิญมลพิษบนทอ้ งถนนทกุ วนั ส่งผลให้เกิดภาวะเครยี ดสะสม การทางานในสถานที่เสียงดังตลอดเวลา เชน่ โรงงานเครื่องจักรกล หรือต้องใช้แสงไฟแรงสูง เช่น การเช่ือมโลหะโดยไม่มีการพักเป็นช่วง ๆ จะก่อให้เกิด ภาวะเครียดได้งา่ ย 2.1.2 ขาดปจั จัยที่จาเปน็ ในการดารงชีวิต เชน่ ขาดอาหาร เคร่ืองนุ่งหม่ ที่อย่อู าศัย และยารกั ษาโรค 2.2 สงั คมและสัมพนั ธภาพกับบุคคลอื่น หากครอบครัวและสังคมในท่ีทางานหรอื ชมุ ชนไม่ ปรองดองกัน มักนามาซ่งึ ความขดั แย้ง ซึง่ เป็นสาเหตขุ องการเกดิ ความเครยี ดได้ง่าย เพราะชีวิตสว่ นใหญ่จะอยู่ ทคี่ รอบครวั หรือทท่ี างาน ทาให้ตอ้ งเผชญิ ปัญหาอยา่ งต่อเน่ืองและกอ่ ใหเ้ กดิ ความเครยี ดสะสมและรนุ แรงข้ึน จนเกิดภาวะเครียดท่ีนาไปสู่ความผิดปกตทิ างจิต อย่างไรก็ตามหากตอ้ งโดดเด่ียวอยู่คนเดียวโดยขาดสังคม ก็ ส่งผลใหเ้ กดิ ภาวะเครียดไดเ้ ช่นกัน อาชีพ เป็นสาเหตอุ ยา่ งหน่งึ ท่ที าใหเ้ กดิ ภาวะเครยี ดไดง้ า่ ย เช่น แพทย์ พยาบาล ทหาร ตารวจ ซ่ึงเป็นด้วยลักษณะงานและบทบาทหน้าที่ ทาให้เป็นท่ีคาดหวังของสังคมสูง ผู้ท่ีอยู่ในอาชีพหรือวิชาชีพ ดงั กลา่ ว นอกจากจะเกดิ ความเครียดจากการปฏิบัติหน้าท่ีแลว้ ยงั เกดิ ภาวะเครยี ดที่เกิดจากความคาดหวังและ ความกดดันจากสังคมได้ง่าย วิชาชีพการพยาบาลเป็นวิชาชีพหน่ึงท่ีผู้อยู่ในวิชาชีพและสังคมรับรู้ทั่วไปว่า ธรรมชาติของงานอยู่บนพ้ืนฐานของความเครียด (to acknowledge the stressful nature of nursing work) สภาพสงั คมทเี่ ปล่ียนแปลงอยา่ งรวดเร็ว เชน่ การเผชิญภาวะยคุ เศรษฐกจิ ชะลอตวั เชน่ ชว่ ง กลางปี พ.ศ. 2540 ประเทศไทยยังคงเผชิญภาวะเศรษฐกิจตกต่า ส่งผลต่อการดาเนินชีวิตของประชาชน ระดับกลาง และร่ารวยแบบประเภทเงินหมนุ หน่วยงานส่วนใหญต่ อ้ งปิดตัวลง บางส่วนต้องพยุงเศรษฐกิจไว้ โดยการลดเงนิ เดือนพนักงานลกู จา้ ง ลดโบนัส งดวันหยุด ตดั ทอนคา่ ใช้จ่ายต่าง ๆ รวมท้งั สวัสดกิ าร หรือปลด คนออกบางส่วน ส่วนที่ทางานอยู่เกิดสภาพไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน ขาดความเชื่อมั่น และขาดท่ีพึ่ง สถานการณด์ ังกล่าวทาใหบ้ ุคคลเหล่าน้ันเกิดความเครยี ดและไม่สามารถปรบั ได้ บางคนถูกฟอ้ งลม้ ละลาย ทา ใหเ้ กิดการว่างงาน หากปรับตวั ไมไ่ ด้ จะก่อใหเ้ กิดโรคจิตประสาทจานวนมากมาย ในทางตรงกันข้ามบางคนที่ เคยร่ารวยเม่ือเกิดการลม้ ละลาย อาจสามารถปรับตัวได้ และปรับเปล่ียนวิถีชีวิตของตน โดยหาเลี้ยงชีพและ ครอบครัวตอ่ ไปอยา่ งมีความสขุ ซึง่ แสดง ให้เห็นว่าส่ิงเร้าหรือส่ิงกระทบชนิดเดียวกัน ไม่อาจทาให้เกิดความเครียดได้กับทุกคน ได้ในทานอง เดยี วกนั ความเครียดในระดบั ทใ่ี กลเ้ คียงกันของแต่ละบคุ คล ก็ไมอ่ าจนาไปสูภ่ าวะวกิ ฤตไดท้ กุ คน รหัสรายวชิ า 55111 : ชื่อวิชา การชว่ ยเหลือดูแลดา้ นสุขภาพจิต หนา้ 35

มีวินัย ใฝ่รู้ ส้งู านพยาบาลดว้ ยใจ 2.3 สภาวการณ์และเหตุการณ์อื่น ๆ ในชีวิต ความเครียดมิได้เกิดกับเหตุการณ์ท่ีคิดว่า เลวร้ายเสมอไป แตส่ ามารถเกดิ ได้กบั เหตุการณท์ ี่คิดวา่ กอ่ ให้เกดิ ความสขุ และสงิ่ ใหม่ ๆ เชน่ การแตง่ งาน การ มีบตุ ร การสร้างครอบครวั ครัง้ ใหม่ สิง่ เหล่านี้หากขาดการปรบั ตัวที่เหมาะสม จะกอ่ ให้เกิดความเครียด การชว่ ยเหลือดแู ลผู้ท่มี คี วามเครียด สังคมปัจจบุ นั เปลี่ยนแปลงไปจากอดตี มากในทกุ ๆ ดา้ น เช่น จากสภาพบคุ คลเคยอยู่รวมกนั และให้ เวลากับครอบครวั มีความรกั ใคร่ เก้ือกลู มีน้าใจไมตรรี ะหว่างเพ่ือนบา้ น เปล่ยี นเป็นชวี ิตทีท่ ุกคนตงั้ แต่วันเดก็ เลก็ จนถงึ ผู้สงู อายุ ต่างต้องเผชิญกับมลู เหตทุ กี่ อ่ ใหเ้ กิดความเครยี ดท้ังภายในและภายนอก โดยเฉพาะท่ี โรงเรยี น ครอบครัว และทท่ี างาน การเผชญิ ความเครียดจึงกลายเปน็ สว่ นหน่ึงของชวี ิตมนษุ ย์ทุกคน ดงั น้นั กที่ ่ี หลกี เลีย่ งความเครียด เพือ่ ใหม้ ชี ีวิตอยใู่ นสังคมทกุ วนั น้ีได้โดยไมส่ ร้างความทกุ ข์กาย ทุกข์ใจใหก้ บั ตน และไม่ สร้างปัญหาใหก้ ับสงั คม รวมท้ังสามารถดาเนนิ ชวี ติ ได้อย่างมคี วามสขุ ตามอัตภาพ ตามหลกั พุทธศาสนา “ตนเป็นทพ่ี ึง่ แหง่ ตน” ถือเปน็ คาทอี่ มตะ สามารถประยุกตไ์ ด้กบั ทุกเหตกุ ารณ์ รวมทัง้ การจดั การกับความเครียด ดังนั้นกระบวนการจดั การกบั ความเครยี ดด้วยตนเองมดี งั นี้ 1. การประเมนิ ความเครียดและการวนิ ิจฉยั ความเครยี ด โดยทัว่ ไปแลว้ หากคนเผชญิ ความเครยี ดเปน็ ผมู้ ีจิตใจกวา้ ง เคารพตนเอง ยอมรบั ตนเองตามความจรงิ ทเ่ี ป็นอยู่ ซ่ึงสามารถประเมนิ ได้ว่าตนเครียดหรอื ไมร่ ะดบั ใด โดยการสงั เกตความผิดปกตขิ องตนเอง ซง่ึ อาจ ปรากฏเฉพาะการเปล่ยี นแปลงด้านรา่ งกาย ด้านจิตใจ และสงั คม หรือปรากฏทกุ ดา้ น ปฏกิ ริ ิยาตอบสนองต่อ มลู เหตุของความเครียดและทุนสารองเดมิ ทม่ี ตี ่อความเครยี ดของแตล่ ะบุคคลมคี วามแตกต่างกนั ทาให้ผล กระทบจากการเผชิญความเครยี ด รวมทง้ั วธิ ีการจัดการกบั รายละเอียดแตกต่างกัน หากการจดั การไมเ่ ป็น ผลสาเรจ็ จะทาให้ผูน้ น้ั ตอ้ งพ่ึงพาการบาบัดรกั ษา แทนทีจ่ ะมพี ฤติกรรมของการสง่ เสรมิ สขุ ภาพและการปอ้ งกนั โรค สง่ิ เหลา่ นี้มไิ ดเ้ กิดข้นึ จากการขาดความรู้ ความเข้าใจในเรอ่ื งความเครยี ดและวิธกี ารจัดการกบั ความเครยี ด เท่านนั้ แต่ทส่ี าคญั เกดิ จากการขาดความตระหนกั ในตนเอง ความรบั ผิดชอบในการดูแลตนเอง เช่น พยาบาล จิตเวชซ่งึ นบั ว่าเปน็ ผมู้ คี วามรอบรู้ด้านน้ี ยงั กลบั เปน็ กลุม่ ทมี่ ปี ัญหาความเครยี ดสงู ไม่สามารถเปน็ แบบอยา่ งทดี่ ี ของการจัดการกับความเครยี ดได้ วิธีการประเมินความเครียดสามารถประเมนิ ได้ โดยการสังเกตตนเองและ การใชแ้ บบประเมนิ ความเครียดเพอ่ื เปน็ การสะทอ้ นขอ้ มลู และพจิ ารณาจดั การกบั ความเครียดดว้ ยตนเองหรือ อาจต้องใหบ้ ุคคลอ่ืนช่วย การประเมินความเครยี ด สามารถประเมินโดยใช้แบบประเมนิ ความเครยี ด (ST-5) ของกรมสุขภาพจติ กระทรวงสาธารณสุข ซง่ึ มีข้อคาถามจานวน 5 ขอ้ ใช้ในการประเมินตนเองดา้ นความเครียด ซงึ่ แสดงตวั อย่าง แบบประเมินความเครยี ด (กรมสุขภาพจติ , 2562) ดังนี้ รหัสรายวชิ า 55111 : ช่ือวชิ า การชว่ ยเหลือดูแลด้านสขุ ภาพจิต หน้า 36

มวี ินัย ใฝ่รู้ สู้งานพยาบาลดว้ ยใจ แบบประเมินความเครียด (ST- 5) ความเครียดเกดิ ขึน้ ไดก้ ับทุกคน สาเหตุทที่ าให้เกดิ ความเครยี ดมีหลายอยา่ ง เช่น รายไดท้ ่ไี ม่เพียงพอ หน้สี นิ ภยั พบิ ัตติ ่างๆ ทที่ าใหเ้ กิดความสญู เสีย ความเจบ็ ปว่ ย เป็นตน้ ความเครยี ดมที งั้ ประโยชนแ์ ละโทษ หาก มากเกนิ ไปจะเกดิ ผลเสียตอ่ ร่างกายและจิตใจของท่านไดข้ อใหท้ ่านลองประเมนิ ตนเองโดยใหค้ ะแนน 0-3 ที่ ตรงกบั ความรสู้ กึ ของทา่ น คะแนน 0 หมายถึง เป็นนอ้ ยมากหรอื แทบไม่มี คะแนน 1 หมายถงึ เปน็ บางคร้งั คะแนน 2 หมายถึง เปน็ บอ่ ยครงั้ คะแนน 3 หมายถึง เปน็ ประจา ขอ้ ที่ อาการหรอื ความรูส้ ึกทีเ่ กิดในระยะ คะแนน 3 2 – 4 สปั ดาห์ 012 1 มีปัญหาการนอน นอนไมห่ ลบั หรอื นอนมาก 2 มสี มาธนิ อ้ ยลง 3 หงดุ หงิด / กระวนกระวาย / ว้าวนุ้ ใจ 4 รู้สกึ เบอ่ื เซ็ง 5 ไม่อยากพบปะผคู้ น คะแนนรวม รหสั รายวชิ า 55111 : ชื่อวิชา การช่วยเหลือดแู ลดา้ นสขุ ภาพจิต หนา้ 37

มวี นิ ยั ใฝร่ ู้ สงู้ านพยาบาลดว้ ยใจ การแปลผล คะแนน 0 – 4 เครียดน้อย คะแนน 5 – 7 เครียดปานกลาง คะแนน 8 – 9 เครยี ดมาก คะแนน 10 – 15 เครียดมากท่สี ดุ 2. การป้องกันการเกดิ ความเครยี ดและชว่ ยเหลอื บคุ คลเมื่อเกิดความเครียด การวางแผนเพื่อปอ้ งกันการเกิดความเครียดและชว่ ยเหลอื บุคคลเม่ือเกิดความเครยี ด เปน็ การวางแผน เพ่ือฝึกให้บุคคลสามารถจัดการกับความเครียด 5 ประการ ได้แก่ การคิดในทางบวก การผ่อนคลายและ เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับร่างกายและจิตใจ การมีทักษะในการเผชิญและแก้ไขปัญหา (มหาวทิ ยาลยั สุโขทัยธรรมาธริ าช, 2552, น. 127-129) โดยมีรายละเอียดดงั นี้ 2.1 ฝึกคิดในทางบวก (positive thinking) ความคิดของบุคคลนอกจากจะเป็นเคร่ืองบ่งบอก ทิศทางของการปฏิบัติแล้ว การคิดในทางบวกจะช่วยเสริมแรงและลดปฏิกิริยาตอบสนองต่อภาวะเครียด รวมท้ังยังเป็นเสมือนเกราะคุ้มกันสาเหตุของความเครียดได้เป็นอย่างดี ซึ่งบางครั้งเม่ือคิดแล้วได้เปล่งเสียง ออกมาด้วย (self-talk) เช่น การพูดให้กาลังใจ ให้ความหวังแก่ตนเอง จะช่วยเพ่ิมพลังแก่ตนเองได้ ในทาง ตรงกันข้าม การมคี วามคิดในทางลบ นอกจากจะส่งผลตรงข้ามกับการคดิ ในทางบวกแล้ว ยังมีผลกระทบต่อ พฒั นาการทางร่างกายในเด็กและพฒั นาการทางอารมณ์ (emotional quatient) ทัง้ ในเดก็ และผใู้ หญ่ ทาใหม้ ี การสกึ หรอ เสื่อมโทรมของอวัยวะตา่ ง ๆ กอ่ นวยั อันควร จากปรากฏการณ์ในชีวิตจริง ในเรื่องเดยี วกนั บางคนจะมวี ิธีคดิ ในทางบวก ขณะที่บางคนคดิ ในทาง ลบ เช่น คนหน่ึงคิดเสียดายกับสิ่งที่สูญเสีย ในขณะที่อกี คนหน่ึงคิดในสิ่งท่ีเหลืออยู่ บางคนรู้สกึ โกรธเม่ือถูก ตาหนิ แต่บางคนกลับรู้สึกดีใจท่ีมีผู้ยืนคอยช้ีแนะ บางคนเศร้าโศกเสยี ใจกับการต้องสอบซอ่ มบอ่ ยครั้ง ได้แต่ กล่าวหาผู้เขียนว่าเขียนไม่ดีทาให้ทาข้อสอบไม่ได้ บ้างก็กล่าวหาว่าออกข้อสอบไม่ดี ทาให้ตนเองสอบตก ในขณะที่บางคนกลบั พิจารณาทบทวนว่าตนเองบกพร่องเรอ่ื งใดและหาทางแก้ไข เปน็ ต้น จากตวั อย่างทก่ี ลา่ ว มา แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของบุคคล ปัญหาของผู้ท่ีคิดในทางลบสามารถแก้ไขได้โดยการฝึกคิดใน ทางบวก ซ่ึงระยะแรก ๆ อาจไม่คุ้นเคย แต่เม่ือเวลาผ่านไปจะกลายเป็นความเคยชินและจะทาต่อเน่ืองเมื่อ บังเกิดผลดีต่อตนและผอู้ ืน่ ได้ รหัสรายวิชา 55111 : ชอ่ื วิชา การช่วยเหลือดูแลดา้ นสุขภาพจิต หน้า 38

มวี นิ ยั ใฝ่รู้ สู้งานพยาบาลดว้ ยใจ 2.2 ฝึกผอ่ นคลายและเสรมิ สรา้ งความแขง็ แกร่งใหก้ บั ร่างกายและจติ ใจ ผเู้ ขยี นเคยถามผฟู้ งั เมือ่ ไป บรรยายเก่ยี วกบั วิธีการทางานให้มีความสุขและสนุกกับงานเสมอ ๆ ว่า “หากส่งกระดาษให้อ่าน 3 แผน่ ซึ่ง เป็นข้อความเดยี วกนั โดยทแี่ ผ่นแรกเขยี นข้อความเต็มบรรทัด ไม่มกี ารเว้นวรรค ไมม่ กี ารยอ่ หนา้ เรยี งข้อความ แนน่ รวมกันได้ครงึ่ หนา้ กระดาษ แผ่นท่สี องมีการย่อหน้าเป็นระยะ ๆ ข้อความแต่ละบรรทดั มีเวน้ วรรค บรรจุ ข้อความไดค้ ่อนหนา้ กระดาษ ในขณะท่ีแผ่นที่ 3 วธิ ีการเขียนข้อความเช่นเดียวกับแผน่ ท่ีสอง แตม่ ีภาพแสดง ประกอบข้อความหรือใช้ภาพเป็นส่ือแทนข้อความ รวมข้อความพร้อมภาพเต็มหน้ากระดาษพอดี ปรากฏว่า ผูฟ้ ังบรรยายทุกคนชอบอ่านข้อความกระดาษแผน่ ท่ี 3 เมอื่ ถามเหตผุ ลพบว่า ขอ้ ความในกระดาษแผน่ แรกไม่ นา่ อา่ น เพราะทาใหส้ ายตาล้าและตึงเครียดขณะอา่ น แผนที่ 2 ขณะอ่านรู้สกึ สบายตา ส่วนแผน่ ท่ี 3 อ่านแล้ว ได้สาระพร้อม ๆ กับความรื่นรมย์ในขณะอ่าน” ในทานองเดียวกัน การใช้ชีวิตของคนเราหากตึงเป็นไป ขาด การยืดหยุ่น หมกมุ่นกับส่งิ ท่ีติดหรอื สิ่งท่กี ระทา ขาดการเว้นวรรค ซ่ึงหมายถงึ ขาดการผ่อนคลายหรือขาดการ แตง่ แต้มสีสันใหช้ ีวิต เช่นเดียวกบั กระดาษแผน่ ที่ 1 จะกลายเปน็ บคุ คลท่ีต้องเผชญิ กบั ความเครียด ซึง่ นาไปสู่ ภาวะวิกฤตทางจติ ใจได้งา่ ย โดยเฉพาะคนทไ่ี ม่สามารถประเมินความเครียดตนเองได้ และยังไม่รับฟงั หรือรับ ความช่วยเหลือจากผู้อ่ืน หมกมุ่นอยู่กับโลกของตนเอง ดังนั้นหากเผชิญกับความเครียดนาน ๆ จะเ กิดการ ทอ้ แท้ เบื่อหนา่ ยกับชวี ิต จนเกิดภาวะวกิ ฤตทางจิต ทีเ่ รียกว่า โรคซมึ เศรา้ ซ่ึงเป็นสาเหตุของการฆ่าตัวตายเป็น สว่ นใหญ่ นอกจากนนั้ ยงั มโี รคทางจิตเวชหลายอย่างท่สี ัมพนั ธก์ ับความเครยี ด เชน่ โรควิตกกงั วล โรคย้าคิดย้า ทา โรคกลัว โรคอารมณแ์ ปรปรวน เป็นต้น เพอื่ เปน็ การแก้ไขและปอ้ งกนั ปัญหาดังกลา่ ว บุคคลควรแบ่งเวลา ในการผอ่ นคลายให้กับตนเองสมา่ เสมอ ดว้ ยวิธีการต่าง ๆ ตามความชอบของตน ดังน้ี 2.2.1 การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ในขณะที่คนเรามีความเครียดกล้ามเน้ือจะหดตัว โดย สงั เกตจากอากัปกิริยาต่าง ๆ ในขณะมีความเครียด เช่น หน้าน้ิวค้ิวขมวด กาหมัด กัดฟัน เป็นต้น ซ่ึงหากมี ความเครยี ดหลงเหลือไปถงึ ยามหลับ อากัปกริ ยิ าต่าง ๆ คงอยู่ ทาใหก้ ารนอนหลบั ไมส่ นิท เกิดการฝนั ร้าย การ หดเกรง็ ของกลา้ มเน้อื ทาใหร้ ่างกายรสู้ ึกเจ็บปวด เช่น ปวดหลงั ปวดตน้ คอ ปวดไหล่ การฝกึ ผ่อนคลายจะช่วย ลดการหดเกร็งของกล้ามเนอ้ื นอกจากน้ันในขณะฝึกจิตใจท่ีจดจ่อกับการผอ่ นคลายกล้ามเน้ือส่วนต่าง ๆ จะ ชว่ ยลดความคิดท่ฟี ุง้ ซ่านและวิตกกังวลทาใหม้ ีสมาธิในการฝกึ เพ่ิมข้นึ 2.2.2 การฝกึ หายใจ ผู้ที่มคี วามเครียดมกั หายใจและตืน่ มากกว่าปกติ ทาใหร้ ่างกายได้รับ ออกซิเจนน้อย จึงมีการถอนหายใจบ่อย เม่ือสดู หายใจเข้าเตม็ ท่ีภายหลังหายใจออก การฝึกหายใจเพ่ือการ ผ่อนคลายท่ีถูกตอ้ ง คือ ช่วงหายใจเข้าให้ปิดริมฝีปากและสูดดมเข้าทางจมูกให้เต็มที่ ดันลมเข้าสู่บรเิ วณชาย ปอดให้มากที่สุดจนหน้าท้องป่อง สามารถรับรู้ได้โดยการประสานฝ่ามือทั้ง 2 ข้างไว้ท่ีหน้าท้อง และค่อย ๆ ผ่อนหายใจออกทางปากและจมูก จนหนา้ ท้องยุบ วิธดี ังกล่าวเป็นวิธกี ารทีง่ ่าย ฝึกไดท้ ุกขณะ ท้ังทอ่ี ยู่ระหวา่ ง การเดนิ ทาง การทางาน หรอื แมแ้ ตก่ อ่ นนอน การฝึกหายใจชา้ ๆ ลึก ๆ โดยใชก้ ล้ามเนอื้ หนา้ ทอ้ งและกล้ามเนอื้ กระบังลม จะช่วยให้การนาออกซิเจนไปยังปอดได้มากข้ึน เพราะบริเวณที่มีการแลกเปล่ียนออกซิเจนและ คาร์บอนไดออกไซดไ์ ดก้ ็คอื บริเวณชายปอด และผลดีคอื เน้ือเย่อื สว่ นต่าง ๆ ของร่างกายไดร้ ับออกซเิ จนมาก ขน้ึ รหสั รายวชิ า 55111 : ชื่อวชิ า การช่วยเหลอื ดูแลด้านสุขภาพจิต หน้า 39

มีวนิ ยั ใฝ่รู้ สู้งานพยาบาลดว้ ยใจ การฝึกหายใจนอกจากจะช่วยใหเ้ ซลล์ของร่างกายไดร้ ับออกซเิ จนโดยตรงอยา่ งเพียงพอแล้ว ยังช่วย เพิ่มความแข็งแรงให้กลา้ มเน้ือที่ใชใ้ นการหายใจ กล้ามเนอ้ื กะบงั ลม กลา้ มเนอื้ หน้าทอ้ ง และลาไส้ การหายใจท่ี ถูกวธิ ีจะช่วยให้หวั ใจเต้นชา้ สมองแจม่ ใส เพราะไดร้ บั ออกซิเจนเพียงพอ ชว่ ยขจัดความเครยี ด ความวิตกกงั วล และส่ิงต่าง ๆ ท่ีหมกมุ่นอยูใ่ นตวั บุคคล 2.2.3 การฝึกสติและการฝึกสมาธิ เริ่มจากการฝึกสติ คือ การรับรู้ อารมณ์รู้ ความคดิ รู้ อิริยาบถที่เป็นอยู่ น่ันคือเมื่อเวลามีอารมณเ์ กดิ ขึ้น ให้มองตนเองให้รู้เท่าทนั อารมณ์ ความรู้สึกของ ตนในขณะนนั้ วา่ เป็นอย่างไร การฝึกสมาธเิ ป็นการเอาจิตใจไปจดจ่อกบั สิ่งทีก่ าลังกระทา การทาสมาธเิ พอื่ ผ่อน คลายความเครียดควรกระทารว่ มกับการหายใจการเคลอื่ นไหวร่างกาย เช่น การเดินจงกรมหรอื การแล่นดนตรี หรือแม้แต่การทางานอดิเรก โดยกระทาไปพร้อม ๆ กับการเอาจติ ไปจดจ่อกับสง่ิ ที่กระทาอยู่ ให้รู้ว่าขณะน้ี กาลังหายใจเขา้ หรอื รา่ งกายกาลงั เคลอ่ื นไหวอยู่ การฝึกสมาธินอกจากจะช่วยผ่อนคลายภาวะเครยี ดแลว้ ยังทา ให้จิตใจสงบจากอารมณ์ภายนอกและพร้อมที่จะรับรู้ส่ิงใหม่ ๆ การฝึกเป็นประจาจะช่วยเป็นเกราะคุ้มกัน สาเหตทุ ่กี อ่ ให้เกิดความเครียด 2.2.4 การออกกาลังกาย การออกกาลังกายท่ีชว่ ยผ่อนคลายความเครียดควรเป็น กีฬาที่ออกแรงมากตามความชอบของตน มีหลักว่าต้องเล่นจนรู้สึกเหน่ือยหรือออกแรงให้เต็มท่ี เช่น การว่ิง การว่ายน้า การเตะกระสอบทราย การเลน่ แบดมนิ ตัน การเต้นรา สาหรับการออกกาลังกายแบบกายบริหาร เช่น โยคะ รามวยจีน แกว่งแขน รากระบอง ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ใช้แรงมาก แต่ช่วยคลายเครียดได้มาก เพราะ จุดสาคัญคือเปน็ การออกกาลังกายร่วมกับทาสมาธิและฝกึ หายใจ จึงชว่ ยลดจิตฟงุ้ ซา่ น จิตสงบ ความเจ็บปว่ ย ทางกายท่ีเปน็ ผลเน่ืองมาจากจติ ใจจะคอ่ ย ๆ ลดลง 2.2.5 การย้มิ การหวั เราะ หรือการได้เปลง่ เสยี งดัง พฤติกรรมดงั กลา่ วจะช่วยลด ความเครียดได้ มีรายงานการวิจัยว่าการได้ดูหนังตลกหรือพูดคุยให้เกิดอารมณ์ขัน จะช่วยผ่อนคลาย ความเครยี ดได้ 2.2.6 การพักผ่อน การพักผ่อนทั้งร่างกายและจิตใจ นับว่าเป็นปัจจัยพ้ืนฐานท่ี สาคัญของมนษุ ย์ ถงึ แม้วา่ คนเราจะมีสุขภาพจิตดเี พียงใด หากทางานหามรุง่ หามคา ขาดการพักผอ่ นทเี่ พียงพอ ก็ทาให้ร่างกายเกิดสภาวะอ่อนล้า ส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจ ดังน้ันในการทางานจึงต้องฝึกที่จะรับฟัง ปฏิกิริยาตอบสนองของตัวเราบ้าง เช่น เมื่อรู้สึกเหน่ือยไม่สบายปวดหัวตัวร้อนทางานช้าลง แสดงว่ามีสิ่ง ผดิ ปกติเกิดขึ้นแล้ว ควรท่ีจะดูแลตนเอง วางแผนท่ีจะมเี วลาพักผอ่ นช่วงสั้น ๆ และระยะยาว ซ่ึงเป็นเสมือน อาหารกาย อาหารใจ และอาหารสมอง บางคนเม่ือเกิดภาวะเครียดจะทาให้นอนไม่หลับ ดังนั้นพยายาม หลกี เลยี่ งการนอนกลางวนั ถึงแมจ้ ะงว่ งและควรออกกาลังกายในช่วงเยน็ เพ่ือจะช่วยใหน้ อนหลบั ได้ดีขึ้น หาก นอนไมห่ ลบั อย่ากงั วลใจ ควรหากจิ กรรมบางอย่างทาไปก่อน เช่น อ่านหนงั สอื ฟังเพลง ทาการฝีมือ สงิ่ เหลา่ น้ี จะช่วยลดความกังวลและหลับได้ในที่สุด การนอนของคนเราโดยท่ัวไปในผู้ใหญ่ท่ีเหมาะสมประมาณ 6-8 รหัสรายวชิ า 55111 : ช่อื วิชา การช่วยเหลอื ดแู ลดา้ นสุขภาพจติ หน้า 40

มีวินยั ใฝ่รู้ สงู้ านพยาบาลดว้ ยใจ ช่ัวโมง บางคร้ังหลับสนิท 4 ช่ัวโมงก็เพียงพอแล้ว และช่วงเวลานอนที่เหมาะสมเป็นช่วง 22.00-23.00 น. เพราะเป็นช่วงท่ีร่างกายต้องการพักผ่อนและซ่อมแซมส่วนท่ีสึกหรอ นอกจากนั้นการพักผ่อนหรือการผ่อน คลายทางจติ ใจ เช่น การไปช้อปปง้ิ การไปท่องเทย่ี วตามสถานทต่ี า่ ง ๆ ตลอดจนการทากจิ กรรมท่ีทาแลว้ รสู้ ึก สบายใจจะช่วยลดความเครยี ดได้ 2.2.7 การเลือกรบั ประทานอาหารที่มีคุณคา่ การเลอื กรบั ประทานอาหารทค่ี รบ หมู่และมีคุณค่าโดยเฉพาะอาหารแบบมีใย เช่น ผักผลไม้ รวมทั้งด่ืมน้าอย่างน้อยวนั ละ 6-8 แล้ว (ประมาณ 1000-1500 ซซี )ี จะช่วยใหก้ ารขับถ่ายสะดวก และป้องกนั ภาวะเครยี ดจากปญั หาเร่ืองการขบั ถา่ ย ในขณะท่ีมี ภาวะเครียด มักจะมีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย จึงควรเลือกรับประทานอาหารที่ย่อยง่าย งด อาหารรสจดั เช่น หวานจัด เผ็ดจัด เปร้ียวจัด เพราะอาจทาใหท้ ้องเสียได้ และควรเลือกรับประทานเน้อื ปลา แทนเนื้อสตั ว์อน่ื ๆ ในช่วงรับประทานอาหารไมค่ วรเรง่ รบี เพราะจะทาให้ระบบต่าง ๆ ของร่างกายทางานมาก ควรเค้ียวอาหารให้ละเอียดก่อนกลืน จะช่วยลดพลังงานของกระบวนการย่อย ซึ่งจะเป็นการถนอมการให้ ออกซเิ จนดว้ ย 2.3 มีทักษะในการเผชิญและแกไ้ ขปญั หา ในการดารงชีวติ ทุกคนควรมีเป้าหมายเพ่ือสรา้ ง ความหวังให้กับตนเอง เพราะความหวังจะช่วยเสริมพลังใหช้ ีวิต การตั้งความหวังหรือเป้าหมายในชีวติ ไม่ควร ยึดอย่างใดอยา่ งหนง่ึ ควรมีสารองไว้ รวมท้ังควรมที างเลือกหลายทางเลือกที่จะนาไปสู่เป้าหมาย นอกจากนั้น การร้จู ักจัดระบบชวี ติ ร้จู กั ตนเองจะช่วยลดความเครยี ดได้ พึงตระหนักว่าเราเป็นส่วนหน่งึ ของสังคม การชว่ ยเหลือเกื้อกลู กนั จะนาไปสู่ความร้สู ึกที่เป็น หมู่เหล่า มคี วามเปน็ เจา้ ของ ในการใชช้ ีวิตทง้ั การเรียนและโดยเฉพาะการทางาน เราอาจไม่สามารถเลือกเรียน เลอื กงาน หรือสิ่งแวดล้อมที่เราชอบไดท้ ั้งหมด แต่ถา้ เราสามารถปรับตวั และพึงพอใจในส่งิ ท่ีเป็นอยู่จะช่วยให้ เรามีความสุขได้ อย่างไรก็ตามหากต้องเผชิญกับปัญหาจากส่ิงแวดล้อมกย็ ังมที างเลือกอื่น ๆ ท่ีจะช่วยใหเ้ กิด การผ่อนคลาย เช่น การคบเพ่ือนทม่ี ีลักษณะตา่ ง ๆ ซ่ึงจะช่วยทดแทนได้ หรอื เลือกท่ีจะพ่งึ พาผ้ทู ่ีจะชว่ ยเหลือ ในยามมปี ัญหา เพ่ือให้เราเกิดความเช่ือมัน่ และมีคณุ ค่า พร้อมท่ีจะเผชญิ กับสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างมคี วามสุข แต่ หากใช้ทุกวิถีทางท่ีกล่าวมาแล้วความเครียดยังคงอยู่ ทาใจปล่อยวางและคิดว่า “อะไรจะเกิดก็ต้องเกิด กาลเวลาจะชว่ ยเยยี วยาปัญหาใหค้ ลี่คลายได้” บางคนเมื่อเผชิญปัญหาอาจมีอารมณ์โกรธแค้นและใช้วธิ ีการ ตา่ ง ๆ ท่ีกล่าวมาแล้วไม่ได้ผล ก็อาจจะต้องหยุดคิดและหันมามองตนเองและทาความเข้าใจกับพุทธวิธีชนะ ความโกรธ ดังน้ี รหัสรายวิชา 55111 : ช่ือวชิ า การช่วยเหลอื ดแู ลดา้ นสขุ ภาพจิต หน้า 41

มีวนิ ัย ใฝ่รู้ ส้งู านพยาบาลดว้ ยใจ \"แผ่นดินนไี้ ม่อาจทาให้ราบเรียบเสมอกนั หมดได้ฉนั ใด มนุษยท์ ้ังหลายจะใหค้ ิดเหมือนกนั หมดกไ็ มไ่ ด้ ฉนั นัน้ ดงั นัน้ อยา่ โกรธหรือเดอื ดเนอื้ รอ้ นใจเมื่อคนอน่ื มคี วามเหน็ ไมเ่ หมอื นเราหรือทาไมถ่ กู ใจเรา ทุกสิ่งในโลก นี้ล้วนเป็นไปตามท่ีมันควรจะเป็น ไม่เป็นไปตามใจเรา ไม่อยใู่ นบังคบั บัญชาของใคร ๆ ตวั เราเองแท้ ๆ ยังไม่รู้ ใจ ทาไม่ถูกใจเรา แลว้ คนอน่ื จะรูใ้ จ ทาถูกใจเราได้อย่างไร” 3. การติดตามและประเมินผล จากที่คนเราแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ดังน้ัน วิธีการที่จะเลือกจัดการกับความเครียด อาจจะ แตกต่างกัน ทั้งท่ีขึ้นอย่กู ับปัจจยั หลายประการ เช่น จริตของแต่ละบุคคล สภาพการณ์ในขณะนั้น ดังน้ันการ ตดิ ตามและประเมินผลในกระบวนการและวธิ ีการต่าง ๆ รวมท้งั สรา้ งความแกร่งใหก้ ับตนเองในการดารงชีวิต อยา่ งมีวามสุข และพรอ้ มทีจ่ ะช่วยผ้อู น่ื ได้ อย่างไรก็ตามเมื่อกาลเวลาเปล่ยี นไป สภาพสงั คมเปลีย่ นไป การเลือกวิธีการจดั การความเครียดอาจ แตกตา่ งไปจากเดิมได้ การใช้วธิ ีการเดิมซ้า ๆ ท่ีเคยไดผ้ ล อาจจะไมไ่ ดผ้ ลก็เปน็ ไปได้ ดงั นน้ั อย่าได้ท้อและคิด เสมอว่าทุกปัญหามีทางแกไ้ ขไม่ทางใดก็ทางหน่งึ สรุป ความเครียดเป็นการตอบสนองของร่างกายและจิตใจต่อสิ่งกระตุ้น ก่อให้เกิดสภาวการณบ์ างอย่างท่ี คุกคามตนเองหรือความไม่สมดุล ทาให้บุคคลต้องมีการปรับตัวท้ังทางด้านร่างกายและจิตใจ อาการของ ความเครียดในแต่ละบุคคลมีการตอบสนองทั้งด้านร่างกายและจิตใจ สามารถแบ่งเป็นอาการตอบสนองต่อ ความเครยี ด และอาการทางดา้ นร่างกายและจติ ใจท่ีเกิดจากความเครยี ดทส่ี งั เกต ความเครียดมอี าการท่ีรุนแรง แตกต่างกันจงึ สามารถแบง่ ระดับของความเครียดเป็น 4 ระดบั คือ ระดับตา่ ปานกลาง สูง และรุนแรง สาเหตุ จากปัจจัยการเกิดความเครยี ด สามารถจาแนกเป็น 2 ประการ คือ สาเหตภุ ายในบุคคลและสาเหตุภายนอก ซ่ึงผู้ศึ กษาเกี่ย วกับ ความ เครี ยดจ ะมีแนวทางใน การ ช่วย เหลื อดูแล ผู้ท่ีมี ความเครียด ได้โดยการปร ะเมิ น ความเครียดและการวินิจฉัยความเครียด การป้องกันการเกิดความเครียดและช่วยเหลือบุคคลเมื่อเกิด ความเครียด และการติดตามและประเมินผล เพ่ือให้ผู้ศึกษามีความเข้าใจ มีความสามารถในการประเมิน ความเครยี ด และจดั การความเครยี ดไดอ้ ยา่ งถูกตอ้ งเหมาะสม รหัสรายวชิ า 55111 : ช่อื วชิ า การช่วยเหลอื ดูแลดา้ นสขุ ภาพจติ หน้า 42

มีวนิ ัย ใฝร่ ู้ สงู้ านพยาบาลดว้ ยใจ บรรณานกุ รม กรมสุขภาพจติ . (2562). แบบประเมินความเครยี ด (ST5). สบื คน้ 6 กรกฎาคม 2562, จาก https://www.dmh.go.th/test/qtest5/ เทียนทพิ ย์ เดยี วกี่. (2561). ระดบั ของความเครยี ด. สบื คน้ 4 กรกฎาคม 2562, จากhttps://www.thaihealth. or.th/Content/45728-ระดับของความเครยี ด.html เพยี รดี เปย่ี มมงคล, (2556). การพยาบาลจติ เวชและสขุ ภาพจติ . กรงุ เทพฯ: ธรรมสาร. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2552). การส่งเสริมสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช (พิมพ์ครั้งท่ี 8). นนทบรุ ี: โรงพมิ พ์มหาวทิ ยาลยั สุโขทัยธรรมาธิราช สุวนยี ์ เกย่ี วกงิ่ แก้ว. (2554). การพยาบาลจิตเวช. กรงุ เทพฯ: โรงพิมพม์ หาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์. Caplan, G. C. (1981). Mastery of stress: Psychosocial aspects. The American journal of psychiatry, 138(4), 413-410. Jusmin, S., & Trygstand. (1979). Behavioral Concepts and The Nursing Process. St. Louis: The C.V. Mosby company. Selye, H. (1976). The stress of Life. New York: McGraw-Hill Book Company. รหสั รายวชิ า 55111 : ชอ่ื วชิ า การชว่ ยเหลอื ดูแลดา้ นสขุ ภาพจิต หนา้ 43

มีวินยั ใฝร่ ู้ สู้งานพยาบาลดว้ ยใจ คณะพยาบาลศาสตร์ วทิ ยาลัยเชียงราย รหัสรายวิชา 55111: ชอ่ื วชิ า การช่วยเหลือดแู ลดา้ นสุขภาพจิต ภาคการศกึ ษาที่ 1 ปีการศึกษา 2562 หวั ขอ้ 4 การช่วยเหลือดแู ลผู้ทมี่ ีภาวะสขุ ภาพจิตเบย่ี งเบน: ความวิตกกงั วล อาจารยผ์ ้สู อน อ. สาวติ รี จรี ะยา วัตถปุ ระสงคก์ ารเรียนรู้ เม่ือส้นิ สดุ การเรยี นการสอนแลว้ นักศกึ ษาสามารถ 1. บอกความหมายของความวติ กกังวลได้ถกู ต้อง 2. บอกอาการและระดบั ของความวิตกกังวลได้ถกู ต้อง 3. อธบิ ายปจั จัยการเกดิ ความวติ กกงั วลได้ถกู ต้อง 4. เลอื กวธิ ีการชว่ ยเหลอื ดูแลผ้ทู ี่มีความวติ กกังวลไดถ้ กู ตอ้ ง คาศพั ทท์ เ่ี กย่ี วขอ้ ง Anxiety ความวติ กกงั วล Emotional process กระบวนการทางอารมณ์ Identity เอกลกั ษณข์ องตวั เอง Mild anxiety ความวติ กกงั วลระดับนอ้ ย Moderate anxiety ความวิตกกงั วลระดบั ปานกลาง Panic anxiety ความวติ กกังวลระดับสงู สดุ Self-esteem ความนบั ถือตวั เอง Severe anxiety ความวติ กกังวลระดบั รุนแรง รหสั รายวิชา 55111 : ชอ่ื วิชา การชว่ ยเหลอื ดแู ลด้านสุขภาพจิต หน้า 44

มวี ินยั ใฝร่ ู้ สงู้ านพยาบาลดว้ ยใจ ความวิตกกังวลเปน็ อารมณ์พื้นฐานของมนุษย์ เกิดได้ตง้ั แต่แรกคลอดและเกิดต่อเนื่องได้ตลอดชีวิต สาเหตุเน่ืองจากรู้สึกว่ามีบางสิง่ มาคุกคามเอกลักษณ์ของตัวเอง (identity) หรือต่อความนับถือตัวเอง (self- esteem) ตอ่ สุขภาพ หรือเมื่อต้องทาอะไรท่ีเกนิ ความสามารถของตัวเอง ทาให้เกิดความไม่สบาย ไม่เปน็ สุข และมีผลตอ่ การรบั รขู้ องบุคคล ทาให้การรบั รดู้ ้อยลงไป ความหมายของความวติ กกงั วล Stuart and Sundeen (1995) ได้ให้ความหมายของความวิตกกังวลว่าเป็น ความรู้สึกไม่สบายใจ หวาดหวัน่ ไม่มนั่ ใจตอ่ สถานการณ์ ในอนาคต เกรงว่าจะเกิดอนั ตราย หรือความเสียหาย เน่ืองจากมีหรอื คาดวา่ จะมสี ่ิงคกุ คามความมน่ั คงของบคุ คลขณะเดียวกันจะมีความไมส่ ขุ สบายทางรา่ งกายดว้ ย หากมีความวติ กกงั วล มาก หรือเป็นเวลานาน ๆ Spielberger (2004) ให้ความหมายความวิตกกังวลว่า เป็นภาวะที่บุคคลรู้สึกตึงเครียด หวาดหว่ัน กังวลใจ และมีการเปล่ียนแปลงการทางานของระบบประสาทอตั โนมัติ ให้มลี กั ษณะสหู้ รอื หนี Travis (1998) ได้กล่าวถงึ ความวิตกกังวลวา่ ความวิตกกังวลเป็นความรสู้ ึกหวาดหวนั่ กดดันความเป็น ทกุ ข์จากความคาดหวังในส่ิงท่ีไม่สามารถระบุได้ความวิตกกังวลเป็นสภาวะภายในจิตใจซึง่ ตรงข้ามกับความ กลัว (fear) ท่ีมีการรับรู้และตอบสนองทางอารมณ์กับส่ิงที่ระบุได้ซ่ึงคุกคามและเป็นอันตรายต่อชีวิต แต่ทั้ง ความวติ กกงั วลและความกลัวจะแสดงออกโดยมกี ารเปลยี่ นแปลงทางกายท่คี ลา้ ยคลงึ กัน อาทเิ ชน่ อาการปวด ศรี ษะ ใจสั่น แนน่ หนา้ อก ปวดท้อง นอนไม่หลับ เป็นตน้ ซึ่งอาการทางกายนี้เปน็ ผลมาจากการกระตุน้ ระบบ ประสาทอัตโนมัติ (Kaplan & Sadock, 1996) Varcarolis (2009, p. 127) ให้ความหมายว่า ความวิตกกังวล หมายถงึ ความรสู้ ึกกลวั ไมส่ ขุ สบาย ไม่ แน่นอน คลางแคลง หรือหวาดกลัว จากสิ่งที่เกิดข้ึนจริงหรือคิดส่ิงท่ีไม่รู้ (unknown and unrecognized) หรอื ไม่รู้จกั ซึ่งต่างกับการกลวั (fear) จากสิง่ ทีส่ มควรกลัวสมเหตุสมผล เช่น กลัวเสอื กลวั จระเข้ แตค่ วามวิตก กงั กลเป็นความร้สู ึกกลัวทกี่ ากวม (vague) คลมุ เครอื ไม่ร้กู ลัวอะไร แต่รวู้ ่ากลัว อย่างไรกต็ าม ความกลัว (fear) กับความวิตกกงั วล ทาให้ร่างกายมปี ฏกิ ิริยาคล้าย ๆ กนั แต่ความวติ กกังวลจะมผี ลตอ่ อารมณใ์ นระดบั ท่ลี ึกกว่า ความวิตกกังวลจะบุกรุก (invade) ไปท่ีแกนกลางของบุคลิกภาพ (core of personality) โดยจะกัดกร่อน หรือกัดเซาะความรูส้ ึกภาคภูมใิ จ (self-esteem) และคณุ ค่า (personal worth) ของแต่ละบคุ คล ซง่ึ มีผลต่อ ความรู้สึกถึงความเปน็ มนุษย์ของบุคคล Lambert and Lambert (1985, 8) ให้ความหมายว่า ความวิตกกังวล หมายถึงประสบการณ์ทาง อารมณ์ ท่ีเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ท่ีทาให้เกิดความคับข้องใจหรือขัดแย้งในใจ เป็นเสมือนเพื่อนคู่กายที่คอ ย ผลักดันให้บคุ คลมีแรงสรา้ งสรรคห์ รือทาลาย รหัสรายวิชา 55111 : ชื่อวชิ า การชว่ ยเหลอื ดแู ลดา้ นสุขภาพจติ หนา้ 45


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook