Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ประวัติวรรณคดี

ประวัติวรรณคดี

Published by kruuntikamee, 2019-05-14 23:18:47

Description: ประวัติวรรณคดี

Keywords: ประวัติวรรณคดี

Search

Read the Text Version

หนังสือเรียนสาระความรูพ้ืนฐาน (ภาษาไทย) ระดบั มธั ยมศึกษาตอนปลาย รายวิชาเลือก ประวตั วิ รรณคดี รหสั พท ๓๒๐๐๘ หลักสตู รการศึกษานอกระบบระดบั การศึกษาขัน้ พน้ื ฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ สําหรับคนไทยในตา งประเทศ ศนู ยการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกลุม เปา หมายพิเศษ สํานกั งานสงเสรมิ การศึกษานอกระบบและการศกึ ษาตามอัธยาศยั สาํ นักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศกึ ษาธกิ าร เอกสารทางวชิ าการลาํ ดบั ท่ี ๕๗/๒๕๕๔

ชือ่ หนงั สือ หนงั สอื เรียนสาระความรพู้ ้ืนฐาน (ภาษาไทย) รายวชิ าเลอื ก ประวตั ิวรรณคดี รหสั พท ๓๒๐๐๘ หลกั สูตรการศึกษานอกระบบระดบั การศึกษาข้นั พนื้ ฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ สาํ หรับคนไทยในตา่ งประเทศ ISBN : พมิ พค์ รั้งที่ : ๑/๒๕๕๔ ปีทีพ่ ิมพ์ : ๒๕๕๔ จาํ นวนพมิ พ์ : ๑๐๐ เลม่ เอกสารทางวชิ าการลําดับที่ ๕๗/๒๕๕๔ จัดพิมพแ์ ละเผยแพร่ : ศนู ยก์ ารศกึ ษานอกระบบและการศกึ ษาตามอัธยาศัยกลุม่ เป้าหมายพิเศษ สาํ นักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สาํ นกั งานปลดั กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศกึ ษาธกิ าร โทร. ๐ ๒๒๘๑ ๗๒๑๗ - ๘, ๐ ๒๖๒๘ ๕๓๒๙, ๐ ๒๖๒๙ ๕๓๓๑ โทรสาร ๐ ๒๖๒๘ ๕๓๓๐

คํานํา ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกลุ่มเป้าหมายพิเศษ ได้ดําเนินการจัดทํา หนงั สอื เรยี นสาระความรู้พ้ืนฐาน (ภาษาไทย) รายวิชาเลือก ประวัติวรรณคดี รหัส พท ๓๒๐๐๘ ขึ้น เพื่อใช้ใน การเรียนการสอน ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาข้ันพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ สําหรับ คนไทยในต่างประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรม มีสติปัญญาและ ศักยภาพ สามารถดํารงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข โดยผู้เรียนสามารถศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง และปฏิบัติ กิจกรรมเพ่ือทดสอบความรู้ ความเข้าใจในสาระเน้ือหานี้ รวมทั้งหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้หรือส่ืออื่น ๆ เพ่ิมเตมิ ได้ ในการดําเนนิ การจัดทําหนงั สอื เรียนเล่มนี้ ไดร้ บั ความร่วมมือท่ีดีจากผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เก่ียวข้อง ทรี่ ว่ มคน้ ควา้ และเรยี บเรยี งเนือ้ หาสาระจากสอ่ื ต่าง ๆ เพ่ือใหไ้ ด้สื่อทส่ี อดคลอ้ งกับหลกั สตู ร และเป็นประโยชน์ ต่อผเู้ รยี นท่ีอยู่นอกระบบอย่างแทจ้ ริง ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศยั กล่มุ เป้าหมายพเิ ศษ ขอขอบคณุ คณะทป่ี รกึ ษา คณะเรียบเรียง ตลอดจนผ้จู ัดทําทุกท่านท่ใี ห้ความรว่ มมือด้วยดไี ว้ ณ โอกาสน้ี ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกลุ่มเป้าหมายพิเศษ หวังว่าหนังสือเล่มนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนและการจัดการเรียนการสอน หากมีข้อเสนอแนะประการใดจะขอน้อมรับไว้ด้วย ความขอบคณุ ยิ่ง ศูนยก์ ารศึกษานอกระบบและการศกึ ษาตามอัธยาศยั กลมุ่ เป้าหมายพเิ ศษ ๒๕๕๔

สารบัญ หนา้ คาํ นาํ ๑ สารบญั ๔ คําแนะนําการใชห้ นงั สือเรยี น ๑๓ โครงสร้างรายวชิ า ๑๙ แบบทดสอบกอ่ นเรยี น ๑๙ ๒๘ บทที่ ๑ การแบ่งยุคของวรรณคดี ๗๕ ๘๒ บทท่ี ๒ ยคุ ทองของวรรณคดี ๑๑๙ ๑๒๒ บทที่ ๓ ประวตั คิ วามเปน็ มาของวรรณคดี ๑๒๔ - เรือ่ งที่ ๑ วรรณคดีสมัยสโุ ขทยั ๑๒๕ - เรื่องท่ี ๒ วรรณคดสี มัยกรุงศรีอยธุ ยา ๑๒๖ - เรอ่ื งท่ี ๓ วรรณคดีสมัยกรงุ ธนบรุ ี - เร่อื งที่ ๔ วรรณคดสี มัยกรุงรตั นโกสินทร์ แบบทดสอบหลังเรยี น เฉลยแบบทดสอบกอ่ นเรียนและหลงั เรยี น เฉลยแบบทดสอบ บรรณานกุ รม คณะผจู้ ัดทาํ

คาํ แนะนําการใช้หนงั สือเรียน หนังสือเรียนสาระความรู้พ้ืนฐาน (ภาษาไทย) รายวิชาเลือก ประวัติวรรณคดี รหัส พท ๓๒๐๐๘ (๑ หน่วยกิต) ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาข้ันพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ สําหรับ คนไทยในต่างประเทศ ประกอบดว้ ยสาระสาํ คญั ดงั นี้ สว่ นที่ ๑ คาํ ช้ีแจงกอ่ นเรียนรู้รายวิชา ส่วนที่ ๒ เนอ้ื หาสาระและกิจกรรมทา้ ยบท ส่วนที่ ๓ แนวตอบกจิ กรรมทา้ ยบท และหรอื แบบทดสอบย่อยทา้ ยบท ส่วนที่ ๑ คาํ ช้ีแจงกอ่ นเรยี นรู้รายวชิ า ผู้เรียนต้องศึกษารายละเอียดในคํานําและคําแนะนําการใช้หนังสือเรียน เพื่อสร้างความเข้าใจ และเพ่ือให้บรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้ของรายวิชา ซึ่งการเรียนรู้เน้ือหาและการปฏิบัติกิจกรรมท้ายบท ควรปฏิบัตดิ ังน้ี ๑. หารอื ครปู ระจํากลุม่ / ครูผู้สอน เพอื่ รว่ มกนั วางแผนการเรยี น (ใช้เวลาเรียน ๔๐ ชวั่ โมง) ๒. ศึกษาเน้ือหาจากหนังสือเรียน หากมีข้อสงสัยเร่ืองใดสามารถศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมได้จาก ส่ือต่าง ๆ หรอื หารือครปู ระจํากลุม่ / ครูผู้สอน เพอ่ื ขอคําอธบิ ายเพิ่มเตมิ ๓. ทาํ กจิ กรรมท้ายบทเรยี นตามทกี่ ําหนด ๔. เขา้ สอบวัดผลการเรียนรูป้ ลายภาคเรียน ๕. สร้างความเขา้ ใจเกยี่ วกบั การประเมินผลรายวชิ า ซง่ึ มีคะแนนเตม็ ๑๐๐ คะแนน โดยแบง่ สดั สว่ นคะแนนเปน็ ระหว่างภาคเรียน ๖๐ คะแนน และปลายภาคเรียน ๔๐ คะแนน ดงั นี้ ๕.๑ คะแนนระหวา่ งภาคเรียน ๖๐ คะแนน แบ่งสว่ นคะแนนตามกิจกรรม ไดแ้ ก่ ๑) ทาํ กจิ กรรมทา้ ยบทเรียน ๒๐ คะแนน โดยทาํ กจิ กรรมทา้ ยบทใหค้ รบถว้ น ๒) ทาํ บนั ทึกการเรยี นรู้ ๒๐ คะแนน โดยสรุปยอ่ เนื้อหาหรือวเิ คราะห์เนอ้ื หาจาก การศกึ ษาหนังสือแบบเรยี นรายวชิ าน้ี เพ่อื แสดงให้เหน็ กระบวนการเรยี นรู้ ประโยชน์ และการนาํ ความรไู้ ปใช้ โดยทําตามทีค่ รกู าํ หนด และจัดทาํ เปน็ รปู แบบเอกสารความรู้ ดงั น้ี - ปก (รายละเอียดเกี่ยวกับตัวผู้เรียน: ช่ือ-นามสกุล รหัสประจําตัว ระดับ การศึกษา ศกร.กศน. ของผู้เรียน และศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกลุ่มเป้าหมาย พเิ ศษ) - ส่วนบันทึกการเรียนรู้ (เนื้อหาประกอบด้วย : หัวข้อ/เรื่องที่ศึกษา และ จดุ ประสงค์ที่ศกึ ษา และข้ันตอนการศึกษาโดยระบุว่ามีวิธรี วบรวมขอ้ มูลอย่างไร นาํ ข้อมลู มาใชอ้ ย่างไร) - สว่ นสรปุ เนื้อหา (สรุปสาระความรู้สาํ คัญตามเนื้อหาทไ่ี ด้บนั ทกึ การเรยี นรู้)

- ประโยชน์ท่ีเกิดกับตัวผู้เรียน (บอกความรู้ท่ีรับและนํามาพัฒนาตนเอง/การนําไป ประยกุ ต์ใช้ในรายวชิ าอนื่ ๆ หรอื ในชีวติ ประจําวนั ) ๓) ทํารายงานหรือโครงงาน ๒๐ คะแนน โดยจัดทําเนื้อหาเป็นรายงานหรือโครงงาน ตามที่ครกู ําหนดรูปแบบเอกสารรายงาน หรือโครงงาน ดังน้ี ๓.๑)การทํารายงานหรือโครงงานตามท่ีครูมอบหมาย ให้ดําเนินการตามรูปแบบ กระบวนการทํารายงาน หรอื โครงงาน ตามรูปแบบเอกสาร ดังนี้ - ปก (เร่ืองที่รายงาน รายละเอียดเก่ียวกับตัวผู้เรียน : ช่ือ-นามสกุล รหัสประจําตัว ระดับการศึกษา ศกร.กศน. ของผู้เรียน และศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษา ตามอัธยาศัยกล่มุ เป้าหมายพิเศษ) - คาํ นาํ - สารบัญ - ส่วนเนือ้ หา (หัวขอ้ หลกั หัวข้อย่อย) - สว่ นเอกสารอ้างองิ ๓.๒)การทําโครงงาน ตามที่ครูมอบหมาย และดําเนินการตามกระบวนการ ทาํ รายงาน โดยจัดทาํ ตามรูปแบบเอกสารดงั นี้ - ปก (ชื่อโครงงาน รายละเอียดเก่ียวกับตัวผู้เรียน : ช่ือ-นามสกุล รหัสประจําตัว ระดับการศึกษา ศกร.กศน. ขอผู้เรียน และศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม อัธยาศยั กลุม่ เป้าหมายพิเศษ) - หลักการและเหตุผล - วตั ถุประสงค์ - เปา้ หมาย - ขอบเขตของการศกึ ษา - วิธดี าํ เนนิ งานและรายละเอยี ดของแผน - ระยะเวลาดาํ เนนิ งาน - งบประมาณ - ผลทคี่ าดวา่ จะไดร้ ับ ๕.๒ คะแนนปลายภาคเรียน ๔๐ คะแนน ผู้เรียนต้องเข้าสอบวัดความรู้ปลายภาคเรียน โดยใชเ้ คร่ืองมอื (ข้อสอบแบบปรนัย หรอื อตั นยั ) ของศนู ย์การศึกษานอกระบบและการศกึ ษา ตามอัธยาศัยกลมุ่ เป้าหมายพิเศษ

สว่ นท่ี ๒ เนอ้ื หาสาระและกิจกรรมทา้ ยบท ผ้เู รยี นต้องวางแผนการเรียน ให้สอดคลอ้ งกบั ระยะเวลาของรายวชิ า และตอ้ งศกึ ษาเน้อื หาสาระ ตามที่กําหนดในรายวิชาให้ละเอียดครบถ้วน เพ่ือให้เป็นไปตามมาตรฐานการเรียนรู้ของรายวิชา ซึ่งใน รายวชิ าน้ไี ด้แบง่ เนื้อหาออกเป็น ๓ บท ดังนี้ บทท่ี ๑ เรอื่ งการแบง่ ยคุ ของวรรณคดี บทท่ี ๒ เร่อื งยคุ ทองของวรรณคดี บทท่ี ๓ เรื่องประวตั ิความเป็นมาของวรรณคดี ส่วนกิจกรรมท้ายบทเรียน เม่ือผู้เรียนได้ศึกษาเน้ือหาแต่ละบท/ตอนแล้ว ต้องทํากิจกรรมท้าย บทเรยี นหรือแบบฝกึ หดั ตามทีก่ ําหนดให้ครบถ้วน เพ่ือสะสมเป็นคะแนนระหวา่ งภาคเรยี น (๒๐ คะแนน) สว่ นที่ ๓ แนวตอบกจิ กรรมท้ายบทเรียนหรอื แบบฝกึ หดั และหรือเฉลยแบบทดสอบยอ่ ย (ถา้ ม)ี แนวตอบกิจกรรมท้ายบทเรียนหรือแบบฝึกหัด และหรือเฉลยแบบทดสอบย่อย จัดทําแยกไว้เป็น บทเรียงลาํ ดับ

โครงสร้างรายวชิ าประวตั ิวรรณคดี รหัสวชิ า พท ๓๒๐๐๘ ระดับมธั ยมศึกษาตอนปลาย สาระสาํ คญั ศึกษาประวัติวรรณคดีสมัยต่าง ๆ คือ สุโขทัย พระนครศรีอยุธยา ธนบุรี รัตนโกสินทร์ โดยให้มีทักษะ การวิเคราะห์ ประเมินคุณค่าวรรณคดีในแต่ละเร่ือง ศึกษาประวัติ ความเป็นมา ผู้แต่ง รูปแบบการนําเสนอ เนื้อหาโดยสังเขป เพ่ือให้มีความเข้าใจสภาพชีวิตความเป็นอยู่ในสมัยน้ัน เห็นคุณค่าของวรรณคดีในฐานะท่ี เปน็ มรดกทางวฒั นธรรม และเอกลักษณข์ องชาติ ผลการเรยี นรทู้ ีค่ าดหวงั ๑. อธบิ ายความหมายของโครงการและโครงงาน ๒. เปรียบเทยี บความแตกตา่ งระหวา่ งโครงการและโครงงาน ๓. อธบิ ายลักษณะความสําคัญของโครงการ ๔. จาํ แนกโครงการประเภทต่าง ๆ ๕. อธบิ ายสว่ นประกอบของโครงการ ๖. เขียนโครงการประเภทโครงการพัฒนา ๗. เขียนโครงการประเภทโครงการเพ่ือการแก้ปัญหา ขอบขา่ ยเนอื้ หา บทท่ี ๑ การแบ่งยุคของวรรณคดี บทท่ี ๒ ยุคทองของวรรณคดี บทท่ี ๓ ประวัติความเปน็ มาของวรรณคดี

ป ร ะ วั ติ ว ร ร ณ ค ดี | ๑ แบบทดสอบกอ่ นเรียน ประวัติวรรณคดี คาํ ชี้แจง จงเลอื กคําตอบทถ่ี กู ต้องที่สุด ๑. การแบง่ ยุควรรณคดีสมัยสโุ ขทัย มีระยะเวลากปี่ ี ก. ๙๘ ปี ข. ๑๐๕ ปี ค. ๑๐๐ ปี ง. ๑๒๐ ปี ๒. ลลิ ติ พระลอ เป็นวรรณคดใี นยุคใด ก. สโุ ขทยั ข. ธนบุรี ค. กรุงศรีอยธุ ยา ง. กรุงรตั นโกสนิ ทร์ ๓. กวีท่านใดเกดิ ขึ้นในยคุ ทองของวรรณคดี ก. เจา้ ฟา้ กงุ้ ข. พระโหราธิบดี ค. พระมหานภุ าพ ง. เจ้าพระยาพระคลงั (หน) ๔. รชั กาลที่ ๑ แต่งวรรณคดเี รอื่ งใด ก. รามเกยี รต์ิ ข. ขุนช้างขนุ แผน ค. กาพย์หอ่ โคลง ง. ลิลิตเพชรมงกฎุ ๕. ยคุ ทองแห่งวรรณคดีเกิดขึน้ ในสมัยใด ก. สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ข. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ค. สมเดจ็ พระพทุ ธยอดฟา้ จุฬาโลกมหาราช ง. สมเดจ็ พระนารายณ์มหาราช

ป ร ะ วั ติ ว ร ร ณ ค ดี | ๒ ๖. ยุคทองของวรรณคดี มวี รรณคดเี กดิ ขึน้ เร่อื งใด ก. อนิรุทธค์ ําฉนั ท์ ข. สมทุ รโฆษคาํ ฉันท์ ค. พระมาลยั คาํ หลวง ง. กฤษณาสอนนอ้ งคําฉันท์ ๗. วรรณคดีเรอ่ื ง “จินดามณ”ี มีความสําคญั อยา่ งไร ก. กลา่ วถงึ ตาํ ราการปฏบิ ตั ธิ รรม ข. เป็นหนงั สอื ภาษาไทยเล่มแรก ค. เป็นหนังสอื การปกครองเล่มแรก ง. เป็นหนงั สอื วรรณคดีเล่มแรก ๘. พระศรมี โหสถ แตง่ วรรณคดี เรอ่ื งใด ก. โคลงนิราศนครสวรรค์ ข. โคลงราชสวสั ดิ์ ค. กาพยห์ ่อโคลง ง. เสอื โคคาํ ฉันท์ ๙. ขอ้ ใดเป็นหลกั ฐานการประดิษฐอ์ ักษรไทย ก. สุภาษิตพระรว่ ง ข. ศลิ าจารกึ หลกั ท่ี ๒ ค. ศลิ าจารึกหลักที่ ๑ ง. ศิลาจารกึ วัดปา่ มะม่วง ๑๐. วรรณคดีเรอ่ื งใดมีจดุ ประสงคเ์ พ่ือเทศนาโปรดพระราชมารดา ก. อเิ หนา ข. นางนพมาศ ค. ไตรภมู ิพระร่วง ง. สุภาษิตพระรว่ ง ๑๑. วรรณคดเี รื่องใดสอนใหข้ า้ ราชการมคี วามจงรกั ภกั ดีต่อพระมหากษตั ริย์ ก. อิเหนา ข. ราชาธิราช ค. สามกก๊

ป ร ะ วั ติ ว ร ร ณ ค ดี | ๓ ง. ลลิ ิตโองการแช่งนา้ํ ๑๒. ลลิ ติ ยวนพา่ ย กลา่ วถึงการรบระหว่างไทยกบั ขอ้ ใด ก. เชยี งราย ข. เชยี งใหม่ ค. ฝาง ง. แพร่ ๑๓. คณุ คา่ ของวรรณคดี เรอ่ื ง โคลงทศรถสอนพระราม คอื อะไร ก. การเจรญิ สมั พนั ธ์ไมตรกี บั ตา่ งชาติ ข. การปกครองบ้านเมอื ง ค. การคา้ ง. การทหาร ๑๔. สมเด็จพระเจา้ กรุงธนบุรี แต่งวรรณคดีเรื่องใด ก. ราชาธิราช ข. ขนุ ช้างขนุ แผน ค. รามเกียรติ์ ง. อเิ หนา ๑๕. ธรรมะยอ่ มชนะอธรรม คือ คณุ คา่ ของวรรณคดี เร่อื งใด ก. สามกก๊ ข. ราชาธริ าช ค. รามเกยี รติ์ ง. อเิ หนา

ป ร ะ วั ติ ว ร ร ณ ค ดี | ๔ บทที่ ๑ การแบง่ ยคุ ของวรรณคดี สาระสาํ คญั การแบ่งยุคของวรรณคดี มี ๔ ยคุ คอื ยุคสโุ ขทยั ยุคกรุงศรีอยุธยา ยุคกรุงธนบุรี และยุค รตั นโกสนิ ทร์ ผลการเรียนรทู้ ี่คาดหวงั ผู้เรยี นสามารถบอกได้วา่ ยุคของวรรณคดีมีกย่ี ุค อะไรบ้าง ขอบขา่ ยเนอื้ หา การแบง่ ยคุ ของวรรณคดี

ป ร ะ วั ติ ว ร ร ณ ค ดี | ๕ การแบง่ ยคุ ของวรรณคดี การแบง่ ยคุ วรรณคดอี อกเปน็ สมัยตา่ ง ๆ การแบ่งสมยั ของวรรณคดมี ีอยู่หลายแบบ แต่สรุปไดโ้ ดยถอื เอาเมอื งหลวงเปน็ จดุ ศูนยก์ ลาง จึงแบ่งออกเป็น ๔ สมัย ๑. สมยั สุโขทยั พ.ศ. ๑๘๐๐-๑๙๒๐ ๒. สมัยกรงุ ศรอี ยธุ ยา พ.ศ. ๑๘๙๓-๒๓๑๐ ๓. สมัยกรงุ ธนบุรี พ.ศ. ๒๓๑๐-๒๓๒๕ ๔. สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. ๒๓๒๕- ๒๔๖๘ มรี ายละเอยี ดวรรณคดีแตล่ ะยคุ ดงั ตอ่ ไปนี้ วรรณคดสี มัยสุโขทัย สมัยสุโขทัย ระหว่างรัชกาลพ่อขุนรามคําแหงมหาราช จนถึงรัชกาลพญาลิไท หรือพระมหา ธรรมราชาที่ ๑ (พ.ศ.๑๘๐๐ ถงึ พ.ศ. ๑๙๒๐) กรุงสุโขทัยเป็นราชธานีของไทย ซึ่งพ่อขุนบางกลางหาวและชนชาวไทยได้ก่อต้ังขึ้น เม่ือ พ.ศ.๑๘๐๐ และดํารงความเป็นเอกราชมาจนถึง พ.ศ.๑๙๒๐ ตลอดจนระยะเวลา ๑๒๐ ปี มีพระมหากษัตริย์ปกครอง ๖ พระองค์ องค์ท่ีมีช่ือเสียงมากที่สุด คือ พ่อขุนรามคําแหงมหาราช ซึ่งได้ ทรงประดษิ ฐ์อักษรไทยขน้ึ เม่อื พ.ศ. ๑๘๒๖ และยังได้โปรดฯ ให้จารกึ หลักศลิ าจารกึ หลักท่ี ๑ ขึ้น วรรณคดสี มยั สุโขทยั ทีม่ อี ยใู่ นปัจจบุ ัน มี ๔ เรอ่ื ง คือ ๑. ศิลาจารกึ หลกั ที่ ๑ (ศลิ าจารกึ ของพอ่ ขนุ รามคําแหง) ๒. สุภาษติ พระรว่ ง (บัญญัตพิ ระรว่ ง) ไมป่ รากฏนามผู้แต่ง ๓. เตรภมู ิกถา (ไตรภมู ิพระร่วง) ผู้แตง่ คอื พญาลไิ ท ๔. นางนพมาศ (ตํารบั ท้าวศรจี ฬุ าลักษณ)์ ผแู้ ตง่ คือนางนพมาศ วรรณคดยี คุ กรงุ ศรีอยธุ ยา นักประวัติวรรณคดีไทย ไดแ้ บ่งยุคสมัยของวรรณกรรมไทยสมัยอยุธยาไวเ้ ป็น ๓ ยุค ดงั นี้ ยคุ ที่ ๑ วรรณคดีไทยสมัยอยธุ ยาตอนตน้ ตงั้ แต่สมยั สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ จนถึงสมัยพระเจา้ ทรงธรรม ชว่ งระหว่าง พ.ศ.๑๘๙๓ ถงึ พ.ศ. ๒๑๗๑ รวมเวลา ๒๗๘ ปี มวี รรณคดี ๕ เรอื่ ง ดังนี้ ๑.๑ ลลิ ติ โองการแช่งนํา้ ๑.๒ มหาชาตคิ ําหลวง

ป ร ะ วั ติ ว ร ร ณ ค ดี | ๖ ๑.๓ ลลิ ิตพระลอ ๑.๔ ลลิ ติ ยวนพา่ ย ๑.๕ กาพยม์ หาชาติ ยคุ ท่ี ๒ วรรณคดไี ทยสมัยอยธุ ยาตอนกลาง ตงั้ แตส่ มยั สมเดจ็ พระเจ้าปราสาททอง จนถงึ สมัยสมเดจ็ พระนารายณม์ หาราช ช่วงระหวา่ ง พ.ศ. ๒๑๗๒ จนถึง พ.ศ.๒๒๓๑ รวมเวลา ๕๙ ปี มีวรรณคดี ๑๗ เร่ือง คอื ๒.๑ โคลงนริ าศหริภุญชัย ๒.๒ สมทุ รโฆษคาํ ฉันท์ ๒.๓ โคลงภาษติ ๓ เรื่อง ได้แก่ พาลสี อนน้อง ทศรถสอนพระราม และราชสวสั ดิ ๒.๔ เพลงยาวพยากรณ์กรงุ ศรอี ยธุ ยา ๒.๕ โคลงเฉลมิ พระเกียรตพิ ระเจ้าปราสาททอง ๒.๖ เสือโคคําฉนั ท์ ๒.๗ พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบบั หลวงประเสรฐิ อักษรนติ ิ ๒.๘ จินดามณี ของพระโหราธิบดี ๒.๙ โคลงกําสรวลศรีปราชญ์ ของศรปี ราชญ์ ๒.๑๐ อนิรุทธค์ าํ ฉนั ท์ ของ ศรปี ราชญ์ ๒.๑๑ โคลงอักษรสามหมู่ ของ พระศรีมโหโอสถ ๒.๑๒ โคลงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนารายณม์ หาราช ของ พระศรีมหาโอสถ ๒.๑๓ กาพย์หอ่ โคลง ของ พระศรีมโหสถ ๒.๑๔ โคลงของทวาทศมาส มีกวีรว่ มกนั แตง่ สามคน คือ ขนุ พรหมมนตรี ขุนศรีกวีราช และขุนสารประเสรฐิ ๒.๑๕ คาํ ฉันทด์ ุษฎสี ังเวยกล่อมช้าง ของขุนเทพกวี (พราหมณ)์ ๒.๑๖ ราชาพลิ าปคําฉันท์ (ไม่ทราบผู้แต่ง) ๒.๑๗ นิราศนครสวรรค์ ของพระศรมี โหสถ ยุคท่ี ๓ วรรณคดีไทยสมยั อยุธยาตอนปลาย ตงั้ แตส่ มัยสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ จนถงึ สมเด็จพระเจ้าเอกทศั ช่วงระหว่าง พ.ศ.๒๒๗๕ ถึง พ.ศ. ๒๓๑๐ รวมเวลา ๓๕ ปี มีวรรณคดี ๑๔ เรอื่ ง ดังนี้ ๓.๑ โคลงชลอพระพทุ ธไสยาสน์ พระราชนพิ นธ์สมเด็จพระเจา้ เอกทศั ๓.๒ จินดามณี ฉบบั พระเจา้ บรมโกศ ๓.๓ บทละครเรอื่ งอิเหนาใหญ่หรือดาหลังพระนพิ นธใ์ นเจ้าฟา้ หญิงกลุ ฑล ๓.๔ บทละครเร่อื งอเิ หนาเลก็ หรืออเิ หนาพระนิพนธใ์ นเจา้ ฟ้าหญิงมงกฎุ ๓.๕ โคลงนิราศเจ้าอภัย พระนพิ นธ์ในเจ้าฟ้าอภัย

ป ร ะ วั ติ ว ร ร ณ ค ดี | ๗ ธรรมธเิ บศร ๓.๖ นนั โทปนนั ทสตู รคาํ หลวง พระนิพนธ์ในเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร ๓.๗ พระมาลยั คําหลวง พระนิพนธ์ในเจา้ ฟา้ ธรรมธิเบศร ๓.๘ บทเหเ่ รอื บทเหเ่ ร่อื งกากี บทเห่สังวาสและบทเหค่ รวญพระนิพนธ์ในเจา้ ฟ้า ๓.๙ กาพย์ห่อโคลงนิราศธารทองแดง พระนิพนธใ์ นเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร ๓.๑๐ กาพย์หอ่ โคลงนิราศธารโศก พระนิพนธ์ในเจ้าฟา้ ธรรมธิเบศร ๓.๑๑ เพลงยาว พระนิพนธใ์ นเจ้าฟา้ ธรรมธิเบศร ๓.๑๒ ปณุ โณวาทคาํ ฉนั ท์ ของพระมหานาค วัดท่าทราย ๓.๑๓ โคลงนริ าศพระพุทธบาท ของพระมหานาค วัดท่าทราย ๓.๑๔ ศริ วิ ิบุลกติ ติ ของ หลวงศรีปรีชา (เซง่ ) วรรณคดสี มัยกรงุ ธนบุรี (พ.ศ.๒๓๑๐-๒๓๒๕) วรรณคดสี มัยกรุงธนบรุ ี ที่สาํ คัญมี ๖ เร่อื ง คือ ๑. รามเกยี รติ์ ผูแ้ ต่ง สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบรุ ี ๒. ลิลิตเพชรมงกุฎ ผแู้ ต่ง หลวงสรวชิ ิต หรือเจ้าพระยาคลงั (หน) ๓. โคลงยอพระเกียรตสิ มเด็จพระเจ้ากรงุ ธนบุรี ผแู้ ตง่ คอื นายสวน (มหาดเล็ก) ๔. อิเหนาคําฉันท์ ผแู้ ตง่ หลวงสรวิชติ หรือเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ๕. กฤษณาสอนนอ้ งคาํ ฉนั ท์ ผแู้ ต่ง พระภกิ ษุอนิ ๖. นิราศพระยามหานภุ าพไปเมืองจีน ผู้แต่ง พระมหานุภาพ วรรณคดีสมยั กรุงรตั นโกสนิ ทร์ (พ.ศ.๒๓๒๕-๒๔๖๘) วรรณคดสี มยั กรงุ รตั นโกสินทร์ แบง่ ออกเปน็ ๒ ยคุ ดว้ ยกันคือ ๑. วรรณคดีสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น (พ.ศ๒๓๒๕-๒๓๙๔) ระหว่างรัชกาล พระบาทสมเดจ็ พระพทุ ธยอดฟ้าจฬุ าโลกมหาราช จนถึงรัชกาลพระบาทสมเดจ็ พระน่ังเกล้าเจา้ อยู่หวั ๒. วรรณคดีสมัยรัชกาลที่ ๔-๖ (พ.ศ.๒๓๙๔-๒๔๖๘) ระหว่างรัชกาลพระบาทสมเด็จพระ จอมเกลา้ เจา้ อยู่หวั จนถงึ รัชกาลพระบาทสมเดจ็ พระมงกฎุ เกลา้ เจ้าอยูห่ วั รายชือ่ วรรณคดที ่สี าํ คญั มีดงั ตอ่ ไปน้ี ๑. รามเกียรติ์ ฉบบั พระราชนิพนธ์ รัชกาลท่ี ๑ ๒. กฎหมายตราสามดวง ฉบบั พระราชนพิ นธ์ รชั กาลที่ ๑ ๓. บทละครราํ เร่ือง อณุ รุฑ ฉบับพระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ ๑ ๔. บทละครรํา เร่ือง ดาหลัง (อิเหนา) ฉบบั พระราชนพิ นธ์ รชั กาลท่ี ๑ ๕. บทละครราํ เร่ืองอเิ หนา ฉบับพระราชนิพนธ์ รชั กาลที่ ๑

ป ร ะ วั ติ ว ร ร ณ ค ดี | ๘ ๖. กลอนนิราศรบพมา่ ท่ีท่าดนิ แดง พระราชนิพนธ์ รชั กาลท่ี ๑ ๗. สามกก๊ ผแู้ ต่ง เจ้าพระยาพระคลงั (หน) ๘. ราชาธริ าช เจา้ พระยาพระคลัง (หน) ๙. บทมโหรี เร่ือง กากี เจา้ พระยาพระคลงั (หน) ๑๐. สมบัตอิ มรนิ ทรค์ าํ กลอน เจ้าพระยาพระคลัง (หน) ๑๑. ลลิ ติ พหุยาตราเพชรพวง เจา้ พระยาพระคลัง (หน) ๑๒. บทละครเรอื่ งรามเกยี รต์ิ พระราชนิพนธ์ รัชกาลท่ี ๒ ๑๓. บทพากย์รามเกยี รติ์ ๔ ตอน พระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ ๒ ๑๔. บทเสภา เรอ่ื งขุนชา้ ง ขุนแผน พระราชนิพนธ์ รชั กาลท่ี ๒ ๑๕. บทละคร เรอ่ื งอเิ หนา พระราชนิพนธ์ รชั กาลที่ ๒ ๑๖. บทละครนอก ๕ เรื่อง (ไชยเชษฐ์, สังข์ทอง, ไกรทอง, มณีพิไชย และคาวี) พระราช นิพนธ์ รัชกาลที่ ๒ ๑๗. บทเหเ่ รือ บางบท บทเหช่ มเคร่อื งคาวหวาน พระราชนพิ นธ์ รชั กาลท่ี ๒ ๑๘. พระปฐมสมโพธิ สมเดจ็ มหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชติ ชิโนรส ๑๙. มหาชาตริ า่ ยยาว ๑๑ กัณฑ์ สมเด็จพระมหาสมณเจา้ กรมพระปรมานุชิตชโิ นรส ๒๐. กฤษณาสอนนอ้ งคําฉันท์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ๒๑. ฉนั ท์ดุษฎสี ังเวยกลอ่ มช้างพัง สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระปรมานชุ ิตชิโนรส ๒๒. ลลิ ิตตะเลงพา่ ย สมเด็จพระมหาสมณเจา้ กรมพระปรมานุชิตชโิ นรส ๒๓. สมทุ รโฆษคําฉันท์ (ตอนปลาย) สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานชุ ติ ชิโนรส ๒๔. นิทาน ๕ เรื่อง โคบุตร สิงหไตรภพ ลักษณวงศ์ พระอภัยมณี และพระไชยสุริยา ผู้แต่ง สนุ ทรภู่ ๒๕. สุภาษติ สอนสตรี ผู้แตง่ สนุ ทรภู่ ๒๖. นริ าศภเู ขาทอง ผู้แต่งสนุ ทรภู่ ๒๗. เสภาขนุ ชา้ งขุนแผนตอนกําเนดิ พลายงาม ผแู้ ตง่ สนุ ทรภู่ ๒๘. โคลงยอพระเกยี รตริ ัชกาลที่ ๒ ผูแ้ ตง่ คือ รัชกาลที่ ๓ ๒๙. โลกนิตคิ ําโคลง ผ้แู ตง่ คือ สมเด็จกรมพระยาเดชาดิศร ๓๐. บทละครระเด่นลันได ผู้แต่งคือ พระมหามนตรี (ทรพั ย)์ ๓๑. รา่ ยยาวมหาเวสสนั ดรชาดก ๕ กณั ฑ์ ผู้แต่งคอื รัชกาลที่ ๔ ๓๒. ประกาศต่าง ๆ และพระบรมราชาธบิ ายต่าง ๆ ผแู้ ตง่ คอื รชั กาลท่ี ๔ ๓๓. อิศริญาณภาษติ ผู้แตง่ คือ พระองค์เจ้าอิศริญาณ ๓๔. จดหมายเหตุราชทูตไทยไปอังกฤษ (รอ้ ยแก้ว) ผู้แตง่ คอื หม่อมราโชทัย ๓๕. นริ าศลอนดอน ผแู้ ต่งคือหม่อมราโชทยั ๓๖. พระราชพธิ สี ิบสองเดือน ผูแ้ ต่งคอื รัชกาลที่ ๕

ป ร ะ วั ติ ว ร ร ณ ค ดี | ๙ ๓๗. ไกลบา้ น ผแู้ ตง่ คอื รัชกาลท่ี ๕ ๓๘. ลิลิตนทิ ราชาคริต ผแู้ ตง่ คอื รัชกาลที่ ๕ ๓๙. แบบเรียนภาษาไทย ผแู้ ตง่ คอื พระยาศรสี นุ ทรโวหาร (นอ้ ย) ๔๐. หวั ใจนกั รบ ผ้แู ตง่ คอื รชั กาลที่ ๖ ๔๑. พระรว่ ง ผแู้ ต่งคอื รชั กาลท่ี ๖ ๔๒. ปลุกใจเสือปา่ ผู้แต่งคอื รชั กาลที่ ๖ ๔๓. พระนลคําหลวง ผ้แู ต่งคอื รัชกาลท่ี ๖ ๔๔. นริ าศนครวัด ผูแ้ ตง่ คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศเ์ ธอกรมพระยาดํารงราชานภุ าพ ๔๕. นทิ านโบราณคดี ผู้แตง่ คือ สมเดจ็ พระเจา้ บรมวงศ์เธอกรมพระยาดํารงราชานุภาพ ๔๖. นิทานเวตาล ผูแ้ ต่งคือ พระราชวรวงค์เธอกรมหมนื่ พทิ ยาลงกรณ์ ๔๗. แบบเรยี นธรรมจรยิ า ผูแ้ ตง่ คือ เจา้ พระยาธรรมศักดม์ิ นตรี (สนนั่ เทพหัสดิน ณ อยุธยา) ๔๘. โคลงกลอนของครูเทพ ผแู้ ตง่ คือ เจา้ พระยาธรรมศักด์มิ นตรี (สนนั่ เทพหัสดนิ ณ อยุธยา) ๔๙. สามคั คีเภทคาํ ฉันท์ ผู้แต่งคือนายชิต บรุ ทตั ๕๐. กามนติ , หโิ ตปเทศ ผแู้ ตง่ คือ เสถียรโกเศศ และนาคะประทีป

ป ร ะ วั ติ ว ร ร ณ ค ดี | ๑๐ แบบฝึกหดั ทบทวนบทท่ี ๑ การแบง่ ยุคของวรรณคดี คาํ ช้แี จง จงเติมคาํ ลงในชอ่ งว่างใหไ้ ดใ้ จความท่ีสมบูรณ์ ๑. การแบ่งยุควรรณคดี มี ๔ ยคุ คือ ๑.๑............................................................พ.ศ. .................................ถึง............................... ๑.๒............................................................พ.ศ. .................................ถงึ ............................... ๑.๓............................................................พ.ศ. .................................ถึง............................... ๑.๔............................................................พ.ศ. .................................ถึง............................... ๒. วรรณคดสี มัยสุโขทัย มอี ะไรบ้าง ๒.๑......................................................................ผู้แตง่ คอื .................................................... ๒.๒......................................................................ผ้แู ตง่ คือ.................................................... ๒.๓......................................................................ผู้แตง่ คอื .................................................... ๒.๔......................................................................ผแู้ ต่งคือ.................................................... ๓. ศลิ าจารกึ หลักที่ ๑ มีสาระสําคญั อะไรบ้าง …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………..

ป ร ะ วั ติ ว ร ร ณ ค ดี | ๑๑ แบบทดสอบบทที่ ๑ การแบง่ ยคุ ของวรรณคดี คาํ ช้ีแจง จงเลอื กคําตอบทถ่ี กู ตอ้ งท่สี ุด ๑. การแบง่ ยุคของวรรณคดขี องไทยมกี ี่ยคุ ก. ๓ ยุค ข. ๔ ยคุ ค. ๕ ยคุ ง. ๖ ยุค ๒. การแบง่ ยคุ วรรณคดสี มยั สุโขทยั มีระยะเวลาเท่าใด ก. ๑๒๐ ปี ข. ๑๓๐ ปี ค. ๑๔๐ ปี ง. ๑๙๐ ปี ๓. ขอ้ ใดไมใ่ ชว่ รรณคดสี มยั สุโขทัย ก. ไตรภูมิพระร่วง ข. เตภูมิกถา ค. ลิลติ พระลอ ง. นางนพมาศ ๔. วรรณคดีไทยสมยั กรุงศรีอยธุ ยาตอนตน้ คอื เร่อื งใด ก. ไตรภูมิพระร่วง ข. เตภมู ิกตา ค. นางนพมาศ ง. ลิลิตพระลอ ๕. พอ่ ขนุ รามคําแหงมหาราช แตง่ วรรณคดีเรื่องใด ก. ศิลาจารกึ หลักที่ ๑ ข. ไตรภมู พิ ระร่วง ค. ศลิ าจารกึ หลักที่ ๘ ง. ศลิ าจารกึ วัดป่ามะมว่ ง

ป ร ะ วั ติ ว ร ร ณ ค ดี | ๑๒ ๖. วรรณคดสี มัยกรุงศรีอยธุ ยาแบ่งออกเป็นกี่ยคุ ก. ๑ ยุค ข. ๒ ยุค ค. ๓ ยคุ ง. ๔ ยุค ๗. วรรณคดียคุ กรุงศรีอยธุ ยา คือข้อใด ก. ลลิ ิตโองการแช่งน้าํ ข. มหาชาตคิ ําหลวง ค. เสือ โคคาํ ฉนั ท์ ง. กาพย์มหาชาติ ๘. พระมหากษัตริย์ยคุ กรุงศรอี ยธุ ยาตอนปลายทมี่ ีชอื่ เสยี งที่สุดคอื ข้อใด ก. สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ข. สมเดก็ พระเจา้ ปราสาททอง ค. สมเด็จพระนารายณม์ หาราช ง. สมเดจ็ พระเจา้ เอกทัศน์ ๙. สมเดจ็ พระเจา้ กรงุ ธนบรุ ี ทรงพระราชนิพนธ์เรือ่ งใด ก. รามเกียรต์ิ ข. ลลิ ิตเพชรมงกฎุ ค. อเิ หนาคาํ ฉนั ท์ ง. กฤษณาสอนนอ้ งคําฉนั ท์ ๑๐. พระบาทสมเดจ็ พระพทุ ธยอดฟา้ จฬุ าโลกมหาราช ทรงพระราชนพิ นธเ์ รอ่ื งใด ก. ลิลิตโองการแช่งนํา้ ข. กฎหมายตราสามดวง ค. พระอภัยมณี ง. สามกก๊

ป ร ะ วั ติ ว ร ร ณ ค ดี | ๑๓ บทท่ี ๒ ยุคทองของวรรณคดี สาระสาํ คญั ยุคทองของวรรณคดี อยู่ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แห่งกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง มีกวีเอกหลายคน คือ พระมหาราชครู สมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระโหราธิบดี ศรีปราชญ์ พระศรีมโหสถและขุนเทพกวี มีวรรณคดีเกิดข้ึนหลายเรื่อง เช่น เสือโคคําฉันท์ สมุทรโฆษคําฉันท์ โคลงพาลีสอนน้อง จินดามณี อนรุ ุทธค์ าํ ฉนั ท์ กาพย์ห่อโคลงและฉันทด์ ุษฎสี ังเวยกล่อมช้าง เป็นต้น ผลการเรยี นร้ทู ค่ี าดหวัง ๑. ผู้เรียนสามารถบอกยุคทองของวรรณคดีได้ ๒. ผเู้ รียนสามารถบอกกวีเอกในยุคทองของวรรณคดีได้ ๓. ผ้เู รียนสามารถบอกวรรณคดี ยุคทองในวรรณคดีได้ ขอบขา่ ยเนอ้ื หา ยคุ ทองของวรรณคดี

ป ร ะ วั ติ ว ร ร ณ ค ดี | ๑๔ ยคุ ทองของวรรณคดี รัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้รับการยกย่องว่าเป็นยุคทองแห่งวรรณคดี เพราะมี นักปราชญ์ราชกวีและวรรณคดีเกิดขึ้นมากมายในเวลาเพียงรัชกาลเดียวนี้ นับแต่องค์พระมหากษัตริย์ คือ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช จนถึงบุคคลชั้นผู้น้อย ทั้งชายหญิง เช่น นายประตูต่างพากันสนใจ วรรณคดีและสามารถสร้างสรรค์วรรณคดีสําคัญหลายเร่ือง ราชสํานักของสมเด็จพระนารายณ์ มหาราช เป็นท่ีประชุมกวีนกั ปราชญโ์ ดยมพี ระมหากษตั ริย์เปน็ องค์อปุ ถมั ภ์ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เสวยราชสมบัติระหว่าง พ.ศ. ๒๑๙๙ ถึง พ.ศ.๒๒๓๑ พระองค์ ทรงพระปรีชาสามารถ ในการปกครอง และทรงปราดเปรื่องในการกวี กรุงศรีอยุธยาจึงมีความ เจริญรุ่งเรืองสูงสุดอีกช่วงเวลาหนึ่งมีการทําสงคราม รบชนะเชียงใหม่ เม่ือ พ.ศ.๒๒๐๕ ต่อจากน้ัน บ้านเมืองก็สงบราบคาบตลอดรัชกาล ทรงเวลาปกครองบ้านเมือง ศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรมให้ เจริญรุ่งเรือง ด้านความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศ ได้มีชนชาติต่างศาสนาเข้ามาค้าขาย และเผยแพร่ ศาสนามากเป็นพิเศษ เช่นฮอลันดา อังกฤษ และฝร่ังเศส สมเด็จพระนารายมหาราชทรงส่งราชทูตไป เจริญสัมพนั ธไมตรีกับพระเจา้ หลยุ ส์ที่ ๑๔ ของฝรั่งเศส และทรงแต่งตั้งชาวกรีกผู้หน่ึงเป็นเจ้าพระยาวิ ชาเยนทร์ มีตําแหน่งเป็นท่ีปรึกษาราชการแผ่นดิน ทรงสนพระทัยความเจริญอย่างยุโรป เช่น โปรดฯ ให้มี ประปาท่ีพระราชวังลพบุรี คณะสอนศาสนาคริสต์ ก็ได้รับพระราชทานเสรีภาพและพระบรม ราชานุเคราะห์ให้เผยแพร่ศาสนาคริสต์ได้อย่างกว้างขวาง โดยตั้งโรงพยาบาลรักษาคนไข้ และตั้ง โรงเรียนสอนหนังสือแก่เด็กไทยควบคู่กับศาสนาคริสต์ การเก่ียวข้องกับฝร่ังเศสดังกล่าว มีส่วนทําให้ คนไทยตื่นตัวกระตือรือร้นหันมาสนใจหนังสือไทยและพระพุทธศาสนาของตนเองมากข้ึน หนังสือ ภาษาไทยเล่มแรก คอื จนิ ดามณี ก็เกดิ ขน้ึ ในชว่ งเวลาน้ี วรรณคดีไทยสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช รุ่งเรืองสูงสุดมีนักปราชญ์ราชกวี ทํางานกัน อย่างเข้มแข็ง ประชาชนสนใจในกิจการงานอย่างครึกคร้ืน จนกล่าวได้ว่าสมัยน้ัน หายใจเป็นกลอน เกิดวรรณคดีประเภทใหม่ ๆ ข้ึนอีก หลายชนิด เช่น กาพย์ห่อโคลง นิราศและกาพย์ขับไม้ เป็นต้น เหตุแห่งความเจริญอาจมาจากปัจจัยตอ่ ไปน้ี ๑. เหตุการณ์บ้านเมืองช่วยให้วรรณคดีเจริญ เวลาน้ันมีบาทหลวงเข้ามาสอนศาสนาคริสต์ มาก สมเด็จพระนารายณ์ จึงทรงส่งเสริมให้นักปราชญ์ช่วยกันแต่งหนังสือเพ่ือโน้มน้าวใจมิให้คนไทย หันไปเข้ารีตศาสนาครสิ ต์ ๒. สมัยนั้นไทยชนะเชียงใหม่ การได้ชัยชนะในสงครามย่อมดลใจให้กวีแสดงความช่ืนชม ออกมาเป็นกวีนพิ นธ์ ๓. สมัยนัน้ กวไี ดร้ ับความโปรดปรานจากพระมหากษัตรยิ ์ พระองค์เองทรงเป็นกวี ทรงจัดราช สาํ นักเป็นที่ชุมชนกวแี ละทรงชุบเลยี้ งกวเี ป็นอย่างดี พึงสงั เกตไดจ้ ากประวัติของศรปี ราชญ์

ป ร ะ วั ติ ว ร ร ณ ค ดี | ๑๕ กวีในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชมีหลายคนต่างทํางานอย่างจริงจัง พระมหาราชครู ปโุ รหติ ของพระมหากษตั ริยแ์ ตง่ เสือโคคาํ ฉนั ท์ และสมุทรโฆษคําฉนั ท์ตอนต้น พระโหราธิบดีแต่งอนุรุทธ์คําฉันท์ และกําสรวลศรีปราชญ์ พระศรีมโหสถแต่งกาพย์ห่อโคลง และโคลงยอพระเกียรตสิ มเด็จพระนารายณม์ หาราช เปน็ ตน้ รายชือ่ กวที สี่ ําคัญในยคุ ทองของวรรณคดี วรรณคดี ๑. พระมหาราชครู - เสือโคคําฉันท์ - สมุทรโฆษคาํ ฉนั ท์ ๒. สมเด็จพระนารายณ์มหาราช - สมุทรโฆษคําฉันท์ (ต่อจากมหาราชครู) - โคลงพาลีสอนนอ้ ง - โคลงทศรถสอนพระราม - โคลงราชสวัสด์ิ ๓. พระโหราธิบดี - จินดามณี - พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยธุ ยา (ฉบบั หลวงประเสรฐิ อักษรนติ )ิ ๔. ศรีปราชญ์ - อนริ ุทธค์ าํ ฉนั ท์ - โคลงเบ็ดเตลด็ - โคลงนริ าศนครศรีธรรมราช (กําสรวลศรปี ราชญ์) ๕. พระศรีมโหสถ - กาพย์ห่อโคลง - โคลงเฉลิมพระเกยี รตสิ มเดจ็ พระนารายณ์ มหาราช - โคลงอกั ษรสามหมู่ - โคลงนิราศนครสวรรค์ ๖. ขนุ เทพกวี - ฉนั ทด์ ุษฎสี ังเวยกล่อมช้าง

ป ร ะ วั ติ ว ร ร ณ ค ดี | ๑๖ แบบฝึกหัดทบทวนบทที่ ๒ ยุคทองของวรรณคดี คาํ ช้แี จง จงเติมคําในชอ่ งว่างใหไ้ ด้ใจความสมบรู ณ์ ๑. ยุคทองของวรรณคดี คือ……………………………………………………………………………................... …………………………………………………………………………………………………………………………………….. ๒. วรรณคดียุคทองของวรรณคดี มีเร่อื งอะไรบ้าง ผู้แตง่ คอื ใคร ……………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… ๓. ยคุ ทองของวรรณคดี เกิดขึ้นสมยั ใด ……………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………

ป ร ะ วั ติ ว ร ร ณ ค ดี | ๑๗ แบบทดสอบบทท่ี ๒ ยุคทองของวรรณคดี คําชแี้ จง จงเลอื กคาํ ตอบทถ่ี กู ตอ้ งที่สุด ๑. เพราะเหตุใดรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จงึ ไดช้ ื่อวา่ เป็นยุคทองของวรรณคดี ก. เพราะได้รบั อิทธพิ ลวรรณคดจี ากสโุ ขทยั ข. กวสี ่วนใหญเ่ ขยี นวรรณคดีได้หลายเรอ่ื ง ค. เพราะวรรณกรรมในรชั กาลน้มี ีอทิ ธพิ ลตอ่ การศกึ ษา ง. เพราะมนี ักปราชญ์ กวี และวรรณคดเี กดิ ข้ึนมากมาย ๒. กวีทีม่ ีช่ือเสยี งในยคุ ทองของวรรณคดมี กี ค่ี น ก. ๓ คน ข. ๔ คน ค. ๕ คน ง. ๖ คน ๓. ในยคุ ทองของวรรณคดี มีวรรณคดีทีม่ ีชื่อเสยี งคอื ขอ้ ใด ก. สมุทรโฆษคาํ ฉันท์ ข. โคลงนริ าศเจ้าอภัย ค. พระมาลยั คาํ หลวง ง. นันโทปนนั ทสตู รคาํ หลวง ๔. หนงั สือภาษาไทยเล่มแรก ท่ีเกิดขึน้ ในยคุ ทองของวรรคคดีคือเรื่องใด ก. ดาหลงั ข. จินดามณี ค. แบบเรยี นเล่มใหม่ ง. ปฐมสมโพธกิ ถา ๕. ในยุคสมเดจ็ พระนารายณม์ หาราช มเี หตุการณส์ าํ คญั ของชาติตะวันตกเก่ียวกับการศึกษาอยา่ งไรบ้าง ก. มีตรากฎหมายภาคบังคบั ข. ใหท้ ุนนักเรยี นไปศึกษาต่อยโุ รป ค. ตง้ั แบบเรียนเรว็ ใหมแ่ ก่กลุ บุตรกลุ ธิดา ง. ตง้ั โรงเรียนสอนหนงั สอื แก่คนไทย

ป ร ะ วั ติ ว ร ร ณ ค ดี | ๑๘ ๖. สมเดจ็ พระนารายณม์ หาราช ทรงพระราชนิพนธเ์ รือ่ งใด ก. อิเหนา ข. จินดามณี ค. โคลงพาลีสอนนอ้ ง ง. โคลงโลกนิติ ๗. วรรณคดเี รอ่ื งใดแตง่ โดยพระโหราธิบดี ก. เสอื โคคาํ ฉนั ท์ ข. โคลงราชสวัสด์ิ ค. สมทุ รโฆษคาํ ฉันท์ ง. จินดามณี ๘. โคลงนริ าศนครศรธี รรมราช มชี ื่อเรียกอีกอยา่ งหนง่ึ ว่า ก. สมุทรโฆษคาํ ฉันท์ ข. เสือโคคําฉนั ท์ ค. กําสรวลศรปี ราชญ์ ง. อนริ ทุ ธ์คําฉันท์ ๙. วรรณคดเี รอื่ งใดเก่ียวข้องกบั พระศรมี โหสถ ก. โคลงราชสวัสด์ิ ข. อนิรุทธ์คาํ ฉนั ท์ ค. โคลงเบด็ เตล็ด ง. โคลงนิราศนครสวรรค์ ๑๐. ในยคุ ทองของวรรณคดผี ลงานของขนุ เทพกวคี อื ขอ้ ใด ก. ฉันทด์ ษุ ฎีสงั เวยกลอ่ มช้าง ข. โคลงนิราศนครสวรรค์ ค. โคลงอกั ษรสามหมู่ ง. กาพยห์ ่อโคลง

ป ร ะ วั ติ ว ร ร ณ ค ดี | ๑๙ บทที่ ๓ ประวตั คิ วามเป็นมาของวรรณคดี สาระสําคญั วรรณคดีของไทยแบ่งออกเป็น ๔ ยุค สําคัญ คือยุคสุโขทัย ยุคกรุงศรีอยุธยา ยุคกรุงธนบุรี และยุคกรุงรัตนโกสินทร์ มีกวีและวรรณคดีเกิดขึ้นมากมายล้วนแล้วแต่มีความสําคัญเป็นเอกลักษณ์ ของชนชาติไทยเป็นอย่างมาก วรรณคดีเป็นเอกราชของชาติท่ีคนไทยควรจะรักษาและดํารงไว้ด้วย ความรกั และหวงแหน ผลการเรยี นรทู้ ี่คาดหวงั ๑. ผเู้ รียนสามารถบอกไดว้ า่ วรรณคดเี รือ่ งใด อยูใ่ นยุคใด ๒. ผู้เรียนสามารถบอกได้วา่ วรรณคดีเร่อื งนน้ั มปี ระวัติความเป็นมาอย่างไร ๓. ผ้เู รยี นสามารถบอกได้วา่ วรรณคดเี รื่องน้นั ใครเปน็ ผู้แตง่ มลี กั ษณะคําประพันธอ์ ย่างไร และมีคณุ คา่ ทางดา้ นใด ขอบขา่ ยเนือ้ หา ๑. วรรณคดสี มยั สโุ ขทยั ๒. วรรณคดสี มัยกรงุ ศรอี ยุธยา ๓. วรรณคดีสมยั กรงุ ธนบุรี ๔. วรรณคดสี มยั กรงุ รตั นโกสินทร์

ป ร ะ วั ติ ว ร ร ณ ค ดี | ๒๐ เรือ่ งที่ ๑ วรรณคดสี มยั สโุ ขทยั วรรณคดีสมยั สโุ ขทัยทสี่ าํ คัญ มีจาํ นวน ๔ เร่ือง คอื ๑. ศิลาจารกึ พอ่ ขุนรามคําแหงมหาราช (ศลิ าจารึกหลกั ท่ี ๑) ๒. สภุ าษิตพระร่วง ๓. ไตรภมู พิ ระรว่ ง ๔. นางนพมาศ หรอื ตํารบั ท้าวศรีจุฬาลกั ษณ์ ศลิ าจารกึ

ป ร ะ วั ติ ว ร ร ณ ค ดี | ๒๑ ดังมีรายละเอียด ดงั ต่อไปน้ี ศิลาจารึกของพอ่ ขนุ รามคาํ แหงมหาราช (ศิลาจารึกหลักท่ี ๑) ผ้แู ตง่ พอ่ ขุนรามคาํ แหงมหาราช ความเป็นมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดํารงพระยศเป็นเจ้าฟ้ามงกุฎ ผนวชอยู่ที่วัดราชาธิวาส ได้เสด็จประพาสเมืองเหนือเม่ือ พ.ศ. ๒๓๗๖ เมื่อเสด็จใกล้ถึงเมืองสุโขทัย ทรงพบศิลาจารึกของพ่อขุนรามคําแหง จึงทรงนําศิลาจารึกมาไว้ท่ีวัดราชาธิวาส ต่อมาเม่ือประทับอยู่ ทีว่ ัดบวรนิเวศวิหาร โปรดฯ ใหส้ ง่ จารึกมาไวท้ ีว่ ดั บวรนเิ วศวหิ าร ทรงพยายามอา่ นดว้ ยพระองคเ์ อง หลังจากพระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติ โปรดฯ ให้ป้ายจารึกไปตั้งไว้ท่ีศาลารายในวัด พระศรีรัตนศาสดารามต่อมาในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์โปรดฯ ใหย้ ้ายจารกึ ไปรวมกบั จารกึ หลกั อ่นื ๆ ที่หอพระสมุดวชิรญาณสําหรับพระนคร รูปแบบการแต่ง เป็นการบันทึกเร่ืองราวต่าง ๆ ในสมัยสุโขทัย เช่น ลักษณะการปกครอง ความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมืองและพระพุทธศาสนา นอกจากน้ันทรงบันทึกพระราชประวัติและ สรรเสริญพระเกียรติของพ่อขุนรามคําแหงมหาราช จุดประสงค์เพ่ือเป็นหลักฐานในศิลาจารึกทั้ง ๔ ด้าน เพ่ือชนรุ่นหลังจะได้ทราบข้อความว่าในรัชสมัยของพระองค์เป็นอย่างไร หลักศิลาจารึกเป็นเอกสาร ภาษาไทยที่เก่าแก่ท่ีสุดด้วยถ้อยคําก็เกล้ียงเกลามีความเด่นและมีสัมผัสให้เกิดรสเพราะพร้ิง เช่น

ป ร ะ วั ติ ว ร ร ณ ค ดี | ๒๒ “ไพร่ฟ้าหน้าใส” และ “ในน้ํามีปลาในนามีข้าว” เป็นต้น หลักศิลาจารึก ทรงจารึกภายหลัง พ.ศ. ๑๘๒๖ คุณคา่ ของวรรณคดี ๑. คุณค่าด้านภาษา เป็นหลักฐานการประดิษฐ์อักษรไทย ทําให้ทราบลักษณะการใช้คํา ประโยค ข้อความท่นี ํามาเรียงกนั หลายตอนมีลกั ษณะคลอ้ งจองกัน เช่น “เมืองสุโขทัยนดี้ ี ในน้ํามปี ลา ในนามีขา้ ว เพอื่ นจูงวัวไปค้า ขี่มา้ ไปขาย ใครจกั ใครค่ า้ ช้างคา้ ใครจักใครค่ า้ มา้ ค้า ใครจกั ใคร่คา้ เรือนค้าทองคา้ ...” ๒. ด้านประวัติศาสตร์ ทําให้ทราบพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจของพ่อขุน รามคาํ แหงมหาราช ลกั ษณะกฎหมายต่าง ๆ การปกครอง การศาสนา สภาพบ้านเมืองและสภาพชีวิต ความเป็นอยู่ของชาวสุโขทัย

ป ร ะ วั ติ ว ร ร ณ ค ดี | ๒๓ ไตรภูมพิ ระร่วง ผ้แู ต่ง พญาลไิ ทย หรอื เจา้ พญาเลไทย ความเป็นมา พระองค์ทรงบํารุงพระพุทธศาสนาอย่างเข้มแข็งและทรงรวบรวมหนังสือพระ คัมภีร์ท่ีออกช่ือ ๓๐ เร่ือง ทั้งยังทรงกล่าวถึงคัมภีร์ต่าง ๆ อีกกว่า ๒๐ ชื่อ นับว่าไตรภูมิพระร่วงเป็น หนังสือเล่มแรกที่พระองค์ผู้ทรงเป็นบัณฑิตทางพระพุทธศาสนาได้ทรงค้นคว้าแล้วทรงเรียบเรียงใหม่ อาจกล่าวได้ว่าเปน็ งานวจิ ัยเร่อื งแรกของไทยกไ็ ด้ พระยาลิไทย (พระมหาธรรมราชาลิไทย) ได้ทรงพระราชนิพนธ์ข้ึนขณะที่ได้รับการสถาปนา เปน็ พระมหาอปุ ราชครองเมอื งศรีสชั นาลัยมาเปน็ เวลา ๖ ปี ซง่ึ ตรงกับ พ.ศ. ๑๘๘๘ รูปแบบการแต่ง ไตรภูมิพระร่วง เป็นหนังสือท่ีจารในใบลานในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้า กรุงธนบุรี มีคําไทย ภาษาไทยสมัยใหม่ ๆ ปนอยู่มาก เข้าใจว่าฉบับเดิมที่แต่งขึ้นในสมัยสุโขทัยน้ัน อาจจะคัดลอกต่อ ๆ กันมา ถึงกระนั้นสํานวนของหนังสือเร่ืองนี้ เห็นว่า เป็นหนังสือที่เก่ากว่าหนังสือ ใด ๆ ในประเทศไทย นอกจากหลกั ศิลาจารกึ เทา่ นนั้ หนังสือเรื่องน้ีมีข้อความแบ่งออกเป็น ๓ ภาคใหญ่ ๆ คือ ๓ ภูมิ ได้แก่ กามภูมิ ประกอบด้วย แดนตา่ ง ๆ ๑๑ แดน รปู ภูมิ ประกอบด้วยแดนตา่ ง ๆ ๑๖ แดน และ อรูปภูมิ อีก ๔ แดน จุดมุ่งหมาย ในการแต่ง คือ เพือ่ เทศนาโปรดพระราชมารดา คุณค่าของวรรณคดี กล่าวถึงสาระสําคัญตามหลักพระพุทธศาสนาตามกฎอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา สัตว์นรก เปรต อสุรกาย และเทวดา มีการกล่าวถึง พระเจ้าจักรพรรดิราชและเครื่อง ประกอบบารมีของพระองค์ การพรรณนาถึงลักษณะและความประพฤติของมนุษย์ในอุตตรอุรุทวีป ซึ่งนบั วา่ พลเมอื งในทวีปน้เี ป็นผมู้ ศี ีลธรรมและความประพฤตดิ ีงามสมเปน็ พลเมอื งดีในอดุ มคตโิ ดยแท้ ตวั อยา่ งวรรณคดเี รอื่ ง ไตรภูมพิ ระรว่ ง มหาจักรพรรดิราช “สมเด็จพระเจ้าบัณฑูรเทศนาดังนี้ว่า พระพุทธเจ้าก็ดีและพระปัจเจกโพธิเจ้าก็ดี และ พระอัครสาวกเจา้ กด็ ี แลพระอรหันต์ขีณาสพเจ้าก็ดี แลพระยาจักรพรรดิราชเจ้าก็ดี อันว่าท่านผู้มี บุญทั้งหลายดังกล่าวน้ีไส้ ท่านบ่ห่อนรู้ไปเกินในแผ่นดิน ๓ อันนั้นเลย ท่านย่อมมาเกิดในแผ่นดิน ชมพูทวีปอันเราอยนู่ ้ีแล

ป ร ะ วั ติ ว ร ร ณ ค ดี | ๒๔ สภุ าษติ พระร่วง ผูแ้ ตง่ พญาลิไทย (พระมหาธรรมราชาลิไท) ความเป็นมา พญาลิไท ซึ่งเป็นพระราชนัดดาของพ่อขุนรามคําแหง พระองค์เป็นกษัตริย์ที่ ทรงรอบรู้ ในพระพุทธศาสนาและพระไตรปิฎก ทรงครองราชย์ระหว่าง พ.ศ.๑๘๙๗-๑๙๑๙ สุภาษิต พระร่วงซ่ึงแต่งเป็นร่าย มีเน้ือหาคําสั่งสอนทั้งทางคดีโลกและคดีธรรม คําสอนเหล่านี้อาจจําแนกเป็น ข้อควรปฏิบัติและข้อควรยกเว้น ทรงพระราชนิพนธ์ข้ึนขณะท่ีได้รับการสถาปนาเป็นพระมหาอุปราช ครองเมืองศรีสัชนาลัยมาเป็นเวลา ๖ ปี ตรงกับ พ.ศ.๑๘๘๘ ดงั ข้อความว่า “แลพระเจ้าเลไทยได้เสวย ราชสมบตั ิในเมอื งสัชชนาลยั อย่ไู ด้ ๖ เข้าจึง” รูปแบบการแต่ง สุภาษิตพระร่วง ถือได้ว่าเป็นตําราจริยศาสตร์เล่มแรกของไทยโดยแท้ สุภาษิตน้ีมีท้ังคําสอนที่ตรงไปตรงมา เช่น “อย่าใฝ่เอาทรัพย์ท่าน” และมีท้ังคําประพันธ์แบบ อุปมาอุปไมยท่ีต้องทําความเข้าใจ เช่น “นํ้าเชี่ยวอย่าเอาเรือขวาง” อันมีความหมายว่า อย่าขัดขวาง ในเวลาท่ีมีความรุนแรง เพราะนอกจากจะไม่ได้ผลแล้ว ยังจะเสียผลอีก การแต่งว่าด้วยการใช้เหตุผล ว่า “สบสิ่งสรรพโอวาท ผู้เป็นปราชญ์พึงสดับ ตรับตรองปฏิบัติโดยอรรถอันถ่องถ้วน แถลงเลศเหตุ เลอื กลว้ น เลิศอา้ งทางธรรมแลนาฯ” คุณคา่ ของวรรณคดี ๑. ขอ้ ควรปฏิบัติและขอ้ ควรเว้น เชน่ “เข้าเถอ่ื นอย่าลมื พร้า หน้าศึกอย่านอนใจ ไปเรอื นท่าน อย่านัง่ นาน” ๒. สุภาษิตพระร่วงมีลักษณะเป็นวรรณคดี มีถ้อยคําสัมผัสคล้องจองกันในลักษณะคล้าย ๆ ร่ายชนิดหน่ึง วรรคต่อวรรคมีสัมผัสเชื่อมกันตลอด เช่น “เม่ือน้อยให้เรียนวิชา ให้หาสินเม่ือใหญ่ อย่าไปเอาทรัพย์ท่าน อยา่ ริอ่านแกค่ วาม” ๓. สุภาษิตกินใจคน คือนิยมกันมาตั้งแต่ครั้งสุโขทัยตราบจนกระท้ังทุกวันนี้ ท่ีใช้อ้างอิงกันใน วรรคคดีช้ันหลัง ๆ ก็มีมาก เช่น มหาเวสสันดรชาดก เราจะพบข้อความดังน้ี “อย่ารักเหามากกว่าผม อย่ารักลมมากกวา่ นํ้า อยา่ รักถ้าํ กว่าเรอื น อย่ารักเดือนกว่าตะวัน (คําของเมียพรามหมณ์สอนอมิตาดา กณั ฑช์ ูชก)

ป ร ะ วั ติ ว ร ร ณ ค ดี | ๒๕ ตํารบั ท้าวศรีจฬุ าลกั ษณ์ ผแู้ ต่ง นางนพมาศ ความเป็นมา ในสมัยสุโขทัย นางนพมาศ เกิดในตระกูลพราหมณ์ บิดาเป็นที่พระมโหสถ มีตําแหน่งราชการเป็นปุโรหิต ในสมัยพระร่วงเจ้า ต่อมาได้เล่ือนอิสริยยศเป็นท้าวศรีจุฬาลักษณ์เป็น สนมเอกในสมยั พระมหาธรรมราชาลิไท นางนพมาศแต่งหนังสือเรื่อง ตํารับนางนพมาศหรือตํารับท้าว ศรีจุฬาลักษณ์ จุดมุ่งหมายในการแต่ง เพื่อสรรเสริญพระเกียรติพระร่วงเจ้า เพื่อแสดงคุณสมบัติที่ดี ของนางสนม เพือ่ บันทึกพระราชพิธีทงั้ ๑๒ เดอื น ท่กี ระทํากนั ในสมยั กรงุ สโุ ขทยั รูปแบบการแต่ง การแต่งข้อความสําคัญ เป็นการกล่าวถึงเรื่องราวถึงชาติและภาษาต่าง ๆ ยอพระเกียรติพระร่วงและเล่าชีวิตของชาวสุโขทัย ประวัตินางนพมาศเอง และพระราชพิธีต่างๆ ลักษณะคําประพนั ธ์ เปน็ กลอนและรอ้ ยแก้ว เช่น “อย่าทาํ รี ๆ ขวาง ๆ ใหเ้ ขาวา่ อยา่ ทําเซ่อ ๆ ซ่า ๆ ให้ท่านหัว อย่าทําโปก ๆ ปาก ๆ ใหท้ า่ นวา่ กริยาช่ัว...” อย่าประพฤตติ วั ก้อ ๆ ขวย ๆ ให้คนล้อ อยา่ ทําลับ ๆ ล่อ ๆ ใหเ้ ขาถาก “พระศรีมโหสถ ยศกมเลศครรไลหงส์ มีธดิ าประเสรฐิ เฉิดโฉมยง ชือ่ อนงค์นพมาศวลิ าศลกั ษณ์ ละไมละมอ่ มพร้อมพริ้งยิง่ นารี จําเรญิ ศรีสมบรู ณป์ ระยรู ศักด”ิ์ คณุ คา่ ของวรรณคดี ๑. คุณค่าในทางโบราณคดี หนังสือนี้มีประโยชน์มาก เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยหู่ ัวทรงพระราชนิพนธห์ นงั สอื พระราชพิธสี บิ สองเดอื น ก็ทรงสอบสวนจากตํารบั ทา้ วศรจี ฬุ าลกั ษณ์ ๒. คุณค่าทางวิชาการช่างสตรี กล่าวกันว่า การประดิษฐ์การลอยประทีปได้สวยงาม จัดดอกไม้ประดับขันหมากรับรองแขกเมืองได้อย่างประณีต แสดงให้เห็นว่าตํารับนางนพมาศเป็นบ่อ เกิดแห่งวิชาการช่างสตรีโดยแท้ ๓. ด้านพธิ กี รรมต่าง ๆ สาํ หรับพระนคร ซ่งึ เปน็ แบบอยา่ งมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ๔. คุณค่าด้านวรรณคดีและประวัติศาสตร์ นางนพมาศเป็นปราชญ์และกวีหญิงคนแรกใน ประวตั วิ รรณคดีไทย ๕. ดา้ นขนบธรรมเนียมประเพณี เชน่ การถวายตัวเข้ารบั ราชการเปน็ นางสนม เปน็ ตน้ ตัวอย่างวรรณคดเี รอ่ื ง นางนพมาศ สรรเสริญพระเกยี รตสิ มเดจ็ พระรว่ งเจ้า “แต่นี้จะพึงกล่าว สรรเสริญพระเกียรติยศสมเด็จพระร่วงเจ้า อันถวัลย์ราชไอศูรย์สมบัติ เป็นบรมกษัตรยิ อ์ นั ประเสรฐิ ปราบดาภิเษกเสวยราชย์ ณ กรุงพระมหานครสุโขทัยราชธานีบุรีรมย์ สถาน เปน็ ป่นิ อาณาประชาราษฎรช์ าวชนบทนลิ มคามสยามประเทศทง้ั มวล...” “...สร้างสมสวนผลไม้ไร่นา แลที่ทํากินต่าง ๆ เป็นผาสุกสบายทั่วทุกหน้า ปราศจาก พาลภยั อันตรายมีโจรเป็นตน้ ….”

ป ร ะ วั ติ ว ร ร ณ ค ดี | ๒๖ แบบทดสอบบทที่ ๓ ประวตั ิความเปน็ มาของวรรณคดี เรอื่ งท่ี ๑ วรรณคดสี มยั สุโขทยั คําชแี้ จง จงเลอื กคําตอบท่ีถกู ตอ้ ง ๑. ใครเป็นผแู้ ตง่ ศิลาจารกึ หลักที่ ๑ ก. พอ่ ขนุ ศรอี ินทราทติ ย์ ข. พระมหาธรรมราชาลิไท ค. พอ่ ขนุ รามคาํ แหง ง. พญาลไิ ท ๒. คุณค่าของศลิ าจารึกหลักที่ ๑ คือข้อใด ก. เป็นหลกั ฐานการประดิษฐอ์ กั ษรไทย ข. เป็นการบรรยายวรรณคดใี นสมัยนัน้ ค. บันทึกประจําวันของประชาชนชาวสโุ ขทัย ง. บันทึกการสงครามกบั กรงุ ศรอี ยธุ ยา ๓. ไตรภมู พิ ระรว่ งเกีย่ วกบั เร่ืองอะไร ก. ความหลุดพ้นจากความทุกข์ ข. นรก – สวรรค์ ค. การปฏบิ ตั ติ ามศลี ๕ ง. การออกบวช ๔. จุดม่งุ หมายในการแต่งไตรภูมิพระรว่ งคืออะไร ก. ใหค้ นกลวั บาป ข. เพ่อื ใหค้ นรนุ่ หลังได้อา่ น ค. เพอื่ เผยแพร่ศาสนา ง. เพ่ือเทศนาโปรดพระราชมารดา ๕. วรรณคดีเรอื่ งสุภาษิตพระรว่ งให้ขอ้ คิดเร่ืองอะไร ก. การปฏบิ ตั ิตามหลกั ศีล ๒๒๗ ข้อ ข. ให้คนอา่ นกลัวบาปไม่ทาํ ชวั่ ค. เผยแพร่พทุ ธศาสนามหายาน ง. ขอ้ ควรปฏิบัติและข้องดเว้น

ป ร ะ วั ติ ว ร ร ณ ค ดี | ๒๗ ๖. “อย่ารักเหามากกว่าผม อย่ารักลมมากกว่าน้ํา อย่ารักถํ้ามากกว่าเรอื น อย่ารกั เดือนมากกว่า ตะวัน” ข้อความจากสุภาษติ พระร่วง ใชอ้ ้างองิ ในวรรณคดเี รอื่ งใด ก. อิเหนา ข. พระอภยั มณี ค. อนริ ุทธค์ าํ ฉนั ท์ ง. มหาเวสสนั ดรชาดก ๗. วรรณคดีเรอ่ื งใดเชื่อว่าเป็นตําราจรยิ ศาสตรเ์ ล่มแรกของไทย ก. ศิลาจารกึ หลกั ท่ี ๑ ข. ไตรภูมพิ ระร่วง ค. สุภาษติ พระร่วง ง. ตาํ รบั ทา้ วศรจี ฬุ าลักษณ์ ๘. จดุ ม่งุ หมายในการแต่งตาํ รบั ท้าวศรีจุฬาลกั ษณ์ ก. เปน็ การเผยแพรป่ ระเพณีให้ตา่ งชาตริ ับรู้ ข. เพอื่ สรรเสรญิ พระเกียรติพระร่วงเจา้ ค. บรรยายบนั ทึกสภาพความเป็นอยู่ ง. เพอ่ื เผยแพรป่ ระเพณีลอยกระทง ๙. จากเรือ่ งตาํ รบั ทา้ วศรจี ฬุ าลักษณ์บอกคณุ ค่าการชา่ งสตรีคืออะไร ก. การประดิษฐก์ ารลอยประทปี ข. การประดิษฐ์เครื่องใชใ้ นครวั เรือน ค. การทาํ แหวนและกาํ ไลขอ้ มือ ง. การส่งเสรมิ การทําอาหารพืน้ เมือง ๑๐. จากข้อ ๙ คุณคา่ ของเรอ่ื งนี้ ขอ้ ใดกลา่ วถกู ตอ้ ง ก. นางนพมาศเป็นมเหสีเอก ข. ดา้ นพธิ กี รรมเปน็ แบบอยา่ งของเขมร-มอญ ค. มีการรเิ ร่มิ ประเพณีวนั สารทไทยครง้ั แรก ง. นางนพมาศเปน็ กวหี ญงิ คนแรกของไทย

ป ร ะ วั ติ ว ร ร ณ ค ดี | ๒๘ เรื่องท่ี ๒ วรรณคดสี มยั กรุงศรอี ยธุ ยา แม้ว่ากรุงศรีอยุธยาเจริญรุ่งเรืองยาวนานถึง ๔๑๗ ปี แต่วรรณคดีท่ีหลงเหลืออยู่เป็นมรดก ของไทยกลับมีไม่มากอาจเป็นเพราะการถูกรุกรานจากภายนอก การเสียกรุงถึง ๒ ครั้ง และความ วุ่นวายในการแย่งชิงราชบัลลังก์ของกษัตริย์อยุธยารัชสมัยท่ีค้นพบว่าการสร้างสรรค์วรรณคดีและสืบ ทอดมาใหศ้ กึ ษาจนถงึ ปจั จบุ ัน ไดแ้ ก่ ๑. สมยั สมเด็จพระรามาธิบดีท่ี ๑ (อ่ทู อง) (พ.ศ. ๑๘๙๑-๑๙๑๒) ๒. สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ.๑๙๙๑-๒๐๓๑) ๓. สมัยสมเดจ็ พระเจา้ ทรงธรรม (พ.ศ.๒๑๕๑-๒๑๗๑) ๔. สมัยสมเด็จพระนารายณม์ หาราช (พ.ศ.๒๑๙๙-๒๒๓๑) และ ๕. สมยั สมเด็จพระเจ้าอยู่หวั บรมโกศ (พ.ศ.๒๒๗๕-๒๓๐๑) วรรณคดไี ทยสมัยกรุงศรอี ยธุ ยา มี ๓ ชว่ ง คือ ๑. สมยั อยธุ ยาตอนต้น คือ สมัยสมเด็จพระรามาธบิ ดีที่ ๑ อทู่ อง ถึง สมยั สมเดจ็ พระเจ้าทรงธรรม พ.ศ.๑๘๙๑-๒๑๗๑ ๒. สมยั อยุธยาตอนกลาง คือสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พ.ศ.๒๑๙๙-๒๒๓๑ ๓. สมัยอยุธยาตอนปลาย คอื สมยั สมเดจ็ พระเจ้าอย่หู วั บรมโกศ จนหมดแผน่ ดิน พ.ศ.๒๒๗๕-๒๓๑๐ วรรณคดสี มัยกรุงศรีอยธุ ยา ลาํ ดับที่ สมัยอยุธยาตอนตน้ สมัยอยธุ ยาตอนกลาง สมยั อยธุ ยาตอนปลาย ๑. ลิลติ โองการแช่งนํ้า ลลิ ิตพระลอ โคลงชลอพระพทุ ธไสยาสน์ ๒. มหาชาตคิ าํ หลวง สมุทรโฆษคาํ ฉนั ท์ กาพยเ์ ห่เรือ ๓. ลิลติ ยวนพา่ ย โคลงทศรถสอนพระราม พระมาลัยคําหลวง ๔. โคลงพาลสี อนนอ้ ง ๕. จินดามณี ๖. เสอื โคคาํ ฉันท์ ๗. พระราชพงศาวดารฉบบั หลวง ประเสริฐอกั ษนิติ ๘. โคลงนิราศนครสวรรค์ ๙. กาพยห์ ่อโคลงของพระศรมี โหสถ ๑๐. กําสรวลศรีปราชญ์ ๑๑. อนิรทุ ธคาํ ฉนั ท์ ๑๒. คําฉนั ทด์ ุษฎสี งั เวยกลอ่ มชา้ ง

ป ร ะ วั ติ ว ร ร ณ ค ดี | ๒๙ ลลิ ติ โองการแช่งนา้ํ หรือประกาศแชง่ นา้ํ ผู้แต่ง ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง ความเป็นมา แต่งข้ึนในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้ารามาธิบดีที่ ๑ (อู่ทอง) ต้นฉบับดั้งเดิมเขียน เป็นอักษรขอม เป็นวรรณคดีที่อิงความเชื่อทางไสยศาสตร์ท่ีมีการแต่งเติมเสริมต่อกันเรื่อยมาต้ังแต่ สมัยอยุธยา แม้ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ก็มีการต่อเติมกัน เป็นวรรณคดีที่พราหมณ์ให้อ่านหรือสวดใน พระราชพิธีถือน้ําพิพัฒน์สัตยา เป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช เน่ืองจากเป็นการถือ น้ําหรือด่ืมนํ้าสาบาน เพ่ือแสดงความซ่ือตรงจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์เป็นวรรณคดีท่ีใช้ใน พิธีกรรม เน่ืองจากพระเจ้าแผ่นดินมีพระราชประสงค์ให้ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินจงรักภักดี จึงจําเป็นต้องมี พิธีถอื นํา้ และมคี ําแช่งน้าํ เน้อื ความเริม่ ดว้ ยบทสดดุ เี ทพเจา้ ในศาสนาฮนิ ดู รูปแบบการแต่ง คําประพันธ์ของวรรณคดีเรื่องน้ี แต่งเป็นโคลงกับร่าย ต่อมาเรียกว่า ลิลิต บางท่านว่าเป็นโคลงห้าท่ีมีลักษณะคล้ายโคลงดั้นโบราณท่ีเคยนิยมแต่งในอาณาจักรลาวล้านช้าง ส่วนร่ายนั้นเป็นร่ายโบราณท่ีไม่เคร่งครัดฉันทลักษณ์มากนัก บทสวดในลิลิตโองการแช่งนํ้า จะสร้าง บรรยากาศของความศักดส์ิ ทิ ธิใ์ นพิธโี ดยอันเชิญเทพเจ้าผีบา้ นผเี มืองมาชุมนุมใช้การขู่และการสาปแช่ง ว่าถ้าผู้ใดคิดทรยศไม่ซ่ือตรงต่อสมเด็จพระรามาธิบดี จะได้รับผลร้ายต่าง ๆ และให้พรแก่ผู้จงรักภักดี สตั ยช์ ือ่ ต่อพระองค์ พระมหากษตั ริย์ใหม้ คี วามสขุ ความเจรญิ สมบรู ณด์ ว้ ยลาภยศศักดิ์ อัครฐาน เนื้อเรื่องย่อ เร่ิมต้นด้วยการกล่าวเชิญเทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ท้ัง ๓ องค์ของศาสนาพราหมณ์ คือ พระนารายณ์ พระอิศวร และพระพรหม ตามลําดับ ต่อไปกล่าวถึงการสิ้นกัลป์หนึ่ง ๆ จากการเกิดไฟ เผ่าไหม้ไปท่ัว ตั้งแต่อบายภูมิ ท้ัง ๔ จนถึงฉกามาพจรสวรรค์ ต่อมามีฝนตกลงมาดับไฟจนนํ้าท่วมโลก แล้วมีลมพายุพัดนํ้าไปหมดสิ้น พระพรหมสร้างโลกใหม่ เหล่าเทวดาท่ีเหาะลงมากินง้วนดิน แล้วเหาะ กลับไม่ได้ขอแสงสว่าง พระพรหมจึงให้มีพระอาทิตย์ พระจันทร์ และดาวต่าง ๆ แบ่งเป็นฟ้า เป็นดิน กลางวัน กลางคืน แล้วเลือกผู้ที่ดีที่สุดเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ถัดไปกล่าวถึงพิธีถือนํ้าพิพัฒน์สัตยา โดย การเชิญเทพเจ้าทั้งหลาย พร้อมท้ังเหล่าภูตผีมาบันดาลให้น้ํามนต์ศักดิ์สิทธ์ิ ผู้ใดคิดคดทรยศต่อพระ เจ้าแผ่นดินหากดื่มน้ําสาบานน้ีก็จะได้รับอันตรายถึงชีวิต ส่วนผู้ที่ซ่ือสัตย์จงรักภักดีก็จะมีแต่ความสุข ความเจรญิ ตอนจบเปน็ คาํ กลา่ วขอพรให้พระเจ้าแผน่ ดินมีพระเกียรตยิ ศขจรขจายไปทวั่ แนวคิด ขุนนางข้าราชการจะต้องมีความซ่ือสัตย์จงรักภักดีต่อพระเจ้าแผ่นดินผู้ทรงเป็น สมมติเทวราชพระราชพิธีน้ีจึงเป็นกุศโลบายท่ีทําให้ขุนนางข้าราชการบังเกิดความเกรงกลัวไม่กล้า คดิ คดทรยศ โดยใชค้ วามเช่ือตามศาสนาพราหมณ์เป็นเคร่อื งมือ

ป ร ะ วั ติ ว ร ร ณ ค ดี | ๓๐ ตวั อย่างวรรณคดี เรอ่ื งลิลิตโองการแชง่ น้าํ โอมสทิ ธสิ รวงศรีแกลว้ แผ้วมฤตยู เอางเู ป็นแท่น แกวน่ กลืนฟา้ กลืนดิน บนิ เอา ครฑุ มาข่ี สม่ี ือถอื สังข์จักรคธาธรณี ภีรอวตาร อสูรแสงลาญหัก ททัศนีจรนายฯ (แทงพระแสงศรปลยั วาต) โอมบรเมศรวราย ผายพาหลวงอะคร้าว ทา้ วเสดจ็ เหนอื ววั เผือก เอาเงอื กเกยี้ วช้าง อา้ งทดั จันทรเ์ ปน็ ป่ิน ทรงอนิ ทรชฎา สามตา พระแพร่ง แกว่งเพชรกลา้ ฆ่าพิฆนจญั ไร (แทงพระแสงศรอคั นิวาต) โอมชัยชยั ไขโสฬสพรหมญาณ บาน เศรยี รเกลา้ เจ้าคลบ่ี ัวทอง ผยองเหนอื ขุนท่าน ทา่ งรงั กอ่ ดนิ กอ่ ฟ้า หนา้ จตุรทศิ ไทมิตรดา มหากฤตราไตร อมไตยโลเกศ จงตรศี ักดิทา่ น พญิ าณปรามธิเบศ ไทธเรศสุรสทิ ธพิ ่อ เสวย พรหมมาณฑ์ใช่นอ้ ย ประถมบุญาภารดิเรกบรู ภาพรู้กร่ี อ้ ย ก่อมาฯ (แทงพระแสงศรพรหมาศ) นานาอเนกนา้ วเดิมกัลป์ จักรํ่าจักราพาฬเมื่อไหม้ กล่าวถงึ ตระวนั เจด็ อันพลุ่ง นาํ้ แล้งไข้ขอดหาย ฯ เจ็ดปลามนั พุ่งหลาเป็นไฟ วาบจตรุ าบายแผน่ ขวาํ้ ขกั ไตรตรงึ เปน็ เผา้ แลบลาํ้ สลี อง ฯ สามรรถญาณครเพราะ เกลา้ ครองพรหม ฝงู เทพนองบนปานเบียดแป้ง สรลมเต็มพระสุธาวาสแหง่ หนั้ ฟา้ แจง้ จอดนิโรโธ ฯ กลา่ วถงึ นาํ้ ฟ้าฟาดฟองหาว ดบั เดโชฉา่ํ หล้า ปลาดิน ดาวเดือนแอน่ ลมกลา้ ป่วนไปมา ฯ แลเปน็ แผ่นเมืองอินทร์ เมอื งธาดาแรกต้งั ทกุ ยัง้ ฟา้ กอ่ คืนฯ ขนุ แผนแรกเอาดนิ ดทู ่ี

ป ร ะ วั ติ ว ร ร ณ ค ดี | ๓๑ คณุ ค่าของวรรณคดี ๑. เป็นการวางระเบียบการปกครองให้เป็นปึกแผ่น ให้ข้าราชการท่ีมาจากสถานท่ีต่าง ๆ มี ความสมานสามคั คกี นั สาเหตุนเ้ี อาโองการแชง่ นํ้า จงึ นํามาใชอ้ ย่างไดผ้ ล ๒. ในทางอักษรศาสตร์ ถือเปน็ ลลิ ิตเรือ่ งแรกของวรรณคดีไทย ทม่ี ตี ่อสงั คมไทยอยา่ งมากมาย ๓. ในด้านวัฒนธรรม แสดงถึงอิทธิพลของวัฒนธรรมอินเดีย ที่มีผลต่อสังคมไทยอย่าง มากมาย ๔. ในด้านคุณค่าของความไพเราะ มีคําสัมผัสเพราะพริ้ง และมีรสกระเทือนอารมณ์ เช่น วรรณคดีอนื่ ๆ ๕. คณุ คา่ ดา้ นวรรณศิลป์ ๑) การซํ้าคาํ ตน้ วรรคแต่ละวรรค “ใครช่ือเจ้าเตมนาง ใครชื่อรางควายทอง ใครช่ือฟ้าสองย้าวเร่งยิน ใครช่ือสิน เภตรา...” ถอดความ ผู้ใดซ่ือสัตย์จงรักภักดีต่อพระเจ้าแผ่นดินจะได้รับพระราชทานทรัพย์สินต่าง ๆ รวมท้ังควายที่ประดับตกแต่งด้วยทอง และทรงพระราชทานนาง (สตรี) ให้ด้วย ผู้ที่มีความซื่อสัตย์นั้น เทวดาจะรับทราบ ๒) การซํ้าคํา กับคําท่ี ๓ หรอื คําที่ ๔ ภายในวรรคเดยี วกัน “ผีดงผีหม่ืนถํา้ ลา้ํ หมื่นผา มาหนนาํ้ หนบก ตกนอกซอกฟา้ แมน แดนฟา้ ต้งั ฟา้ ตอ่ ...” ถอดความ ผที อี่ ย่ใู นปา่ ในถ้าํ ตามภเู ขา ผีท่ีอยใู่ นนํา้ อยบู่ นบก หรืออยู่นอกเขตฟ้า... ๓) การใชค้ าํ สรอ้ ยทา้ ยวรรคท่ีเรียกว่าคาํ สรอ้ ยสลบั วรรค “อย่ากินเข้าเพื่อไฟจนตาย อย่าอาศัยจนแก่น้ําจนตาย นอนเรือนคํารนคาจนตาย ลมื ตาหงายสูฟ้ ้าจนตาย ก้มหนา้ ลงแผน่ ดนิ จนตาย...” ถอดความ เม่ือกินข้าว ข้าวก็กลายเป็นไฟลวกจนตาย เมื่อกินน้ํา นํ้าก็เป็นพิษ ทําให้ตาย แม้นอนอยู่ บนบา้ น หลงั คากพ็ ังทลายลงมาทบั ตาย นอนหงาย ฟ้ากห็ ล่นทับจนตาย แม้นอนก้มหนา้ ลงดินก็ตอ้ งตาย

ป ร ะ วั ติ ว ร ร ณ ค ดี | ๓๒ มหาชาติคําหลวง ผูแ้ ต่ง สมเดจ็ พระบรมไตรโลกนาถ ความเปน็ มา สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ มีรับสั่งให้ประชุมนักปราชญ์ราชบัณฑิต ในกรุงศรี อยุธยาแปลและแต่งเมื่อ พ.ศ. ๒๑๒๕ วรรณคดีเร่ืองน้ี เป็นมหาชาติที่เก่าแก่ท่ีสุดของไทย ไม่ได้แต่ง สําหรับพระเทศน์ แต่แต่งสําหรับนักสวดเพ่ือสวดให้อุบาสก อุบาสิกาฟังเวลาไปอยู่บําเพ็ญกุศลที่วัด ประเพณีน้ียังมีตราบเท่าทุกวันนี้ หลังจากกรุงศรีอยุธยาแตกต้นฉบับหนังสือมหาชาติคําหลวงสูญหาย ๖ กัณฑ์ รัชกาลที่ ๒ โปรดให้ประชุมนักปราชญ์ราชบัณฑิตในกรุงรัตนโกสินทร์แต่งกัณฑ์ท่ีขาดหายไป ขึน้ มาใหม่ เมือ่ พ.ศ.๒๓๕๘ คือ กัณฑ์หมิ พานต์ ทานกัณฑ์ จลุ พน มัทรี สักรบรรพ ฉกษัตรยิ ์ รูปแบบการแต่ง ความมุ่งหมายในการแต่งเน่ืองมาจากความเช่ือในการฟังเทศน์มหาชาติ เร่ืองเวสสันดรชาดก ว่าถ้าฟังจบ ๑๓ กัณฑ์ รวดเดียวจะมีอานิสงส์แรงกล้า ตายแล้วได้ไปเกิดใน สวรรค์ รูปแบบการแต่งแปลเป็นร้อยคาถาพัน คงให้ประชาชนสดับเรื่องศาสนาลักษณะคําประพันธ์มี การออกคาถามคธขึ้นมาแล้วจึงแปลเป็นคําประพันธ์ชนิดต่าง ๆ คือมีท้ังโคลง ฉันท์ กาพย์ และร่าย เชน่ ๏ สัตฺถา อันว่าพระสรรเพ็ชญ์พุทธอยู่เกล่า อุปนิสฺสาย เจ้ากูธเสด็จอาศรัย กปิลวัตฺถํ แก่พิชัยกบิลพัศดุ บุรีรัตนพิศาล วิหรนฺโต ธเสด็จสิงสําราญสาริทธิ์ นิโครธาราเม ในพจิ ติ รนยิ โครธาราม อารพถฺ … เนอื้ เรื่องย่อ เน้อื เร่ืองแบ่งเป็น ๑๓ กณั ฑ์ แตล่ ะกณั ฑม์ ใี จความโดยย่อ ดงั น้ี ๑. ทศพร กล่าวถึงความเป็นมาของฝนโบกขรพรรษ ในคร้ังพุทธกาลเม่ือพระพุทธเจ้าเสด็จไป โปรดพระพุทธบิดาและพระประยูรญาติได้เกิดฝนโบกขรพรรษ สงฆ์สาวกทูลอาราธนาให้แสดงเรื่อง มหาเวสสันดรชาดก เริม่ จากพระนางผสุ ดีขอพร ๑๐ ประการ จากพระอนิ ทร์กอ่ นจะจุตใิ นมนุษย์โลก ๒. หิมพานต์ พระเวสสันดรพระราชทานช้างปัจจัยนาเคนทร์ซ่ึงเป็นช้างคู่บ้านคู่เมือง ทําให้ชาวบ้านเมืองสีพีโกรธแค้น พระเจ้ากรุงสญชัยจึงเนรเทศพระเวสสันดรไปอยู่ป่าหิมพานต์ พระนางมัทรี พระกัณหา พระชาลี ขอตามเสด็จไปด้วย ๓. ทานกัณฑ์ ก่อนเสด็จไปอยู่ป่าหิมพานต์ พระเวสสันดรทรงบําเพ็ญสัตตสดกมหาทาน คือทานเจ็ดส่ิง สิ่งละเจ็ดร้อย ได้แก่ ช้าง ม้า รถ โค ทาสหญิง ทาสชาย นางสนม ระหว่างทางมี พราหมณ์มาขอม้าและราชรถพระองค์ทรงบริจาค ๔. วนปเวสน์ พระเวสสันดร พระนางมัทรี พระกัณหา พระชาลี เสด็จถึงเมืองเจตราษฎร์ บรรดาเจ้าเจตราษฎร์ถวายเมืองให้ครอบครอง แต่พระองค์มิทรงรับ และได้เสด็จไปยังเขาวงกตในป่า หมิ พานตซ์ ึง่ พระอนิ ทรไ์ ด้เนรมิตบรรณศาลาถวาย

ป ร ะ วั ติ ว ร ร ณ ค ดี | ๓๓ ๕. ชูชก ชูชกได้ภรรยาสาวช่ือนางอมิตตดา ต่อมานางถูกบรรดานางพราหมณ์ใช้วาจา เยาะเย้ยถากถาง เรื่องชูชก นางจึงบังคับให้ไปทูลขอสองกุมารมาเป็นข้าทาส ชูชกเดินทางไปจนพบ พรานเจตบุตรซึ่งเป็นนายด่านรักษาประตูป่ามิให้ผู้ใดล่วงลํ้าเข้าไปยังเขาวงกต ชูชกใช้กลอุบายหลอก พรานเจตบุตรว่าจะทลู เชิญพระเวสสันดรกลับไปครองเมอื ง ๖. จุลพน พรานเจตบตุ รหลงเชือ่ คาํ ลวงของชูชก จึงช้ีทางไปสเู่ ขาวงกต ๗. มหาพน ชูชกเดินทางไปถึงอาศรมของอจุตฤาษี และลวงว่าจะเดินทางไปสนทนาธรรมกับ พระเวสสันดร อจุตฤาษีบอกทางไปสู่เขาวงกต กัณฑ์น้ีพรรณนาความงดงามของธรรมชาติในป่า โดยเฉพาะการพรรณนาความงามของสระมุจลนิ ท์ ๘. กุมาร ชูชกเข้าไปเฝ้าพระเวสสันดรหลังจากพระนางมัทรีเสด็จออกไปหาอาหารในป่าอื่น ใช้วาจาหว่านล้อมทูลขอสองกุมาร พระเวสสันดรพระราชทานให้ ด้วยเห็นว่าเป็นการบริจาคบุตรทาน เพ่ือพระองค์จะได้สําเร็จสัมโพธิญาณ สามารถช่วยสรรพสัตว์ให้หลุดพ้นจากวัฏสงสาร ชูชกทุบตีสอง กมุ ารต่อพระพักตร์พระเวสสันดร ๙. มัทรี พระนางมัทรีกลับจากป่า ไม่พบสองกุมาร ทรงคร่ําครวญจนสลบ เม่ือฟ้ืนข้ึนมา พระเวสสันดรตรัสเล่าว่าได้พระราชทานพระกัณหาชาลีให้ชูชกแล้ว โดยทรงขออรรถธรรมข้ึนมาเสดง กระทัง่ นางมัทรที รงอนโุ มทนาการบรจิ าคบตุ รทานดว้ ย ๑๐. สักกบรรพ พระอินทร์เกรงว่าจะมีคนทูลมาขอพระนางมัทรี จึงแปลงกายมาขอพระนาง พระเวสสันดรพระราชทานให้ พระอนิ ทร์แสดงตนและพระราชทานพร ๘ ประการแก่พระเวสสนั ดร ๑๑. มหาราช ชูชกเดินหลงทางเข้าไปยังกรุงสีพี พระเจ้ากรุงสญชัยทรงไถ่สองกุมารจากชูชก และเล้ียงอาหารชูชกซี่งมีความโลภมาก ชูชกกินอาหารจนท้องแตกตาย พระเจ้ากรุงสญชัยเสด็จไป เชญิ พระเวสสนั ดรกลับนครสพี ี ๑๒. ฉกษัตริย์ กษัตริย์ทั้งหกพระองค์ได้พบกันและถึงแก่วิสัญญีภาพ พระอินทร์บันดาลฝน โบกขรพรรษตกลงมาประพรมให้ฟน้ื ๑๓. นครกณั ฑ์ พระเวสสนั ดรเสด็จกลบั คืนยังพระนครสพี ี คุณคา่ ของวรรณคดี ๑. ในด้านอักษรศาสตร์ เป็นหนังสือที่แต่งดีมาก เพราะผู้แต่งล้วนแล้วแต่เป็นผู้มีฝีมือในการ ประพนั ธท์ ง้ั นัน้ โดยนักประพนั ธ์หลายคน สํานวนโวหารจงึ ไพเราะเพราะพริ้งมีความกระชบั รดั กุม นา่ ฟงั ๒. ในดา้ นประเพณวี ัฒนธรรม ให้ความรู้เก่ยี วกบั ประเพณวี ัฒนธรรมการฟังเทศน์ มหาชาติคําหลวง (มหาชาตเิ วสสันดรชาดก) มอี ิทธพิ ลตอ่ สงั คมไทยมากโดยเฉพาะการให้ทาน ๓. ด้านการปกครอง แสดงให้เห็นถึงการปกครองแสดงให้เห็นถึงการปกครองในสมัยโบราณ ว่า ประชาชนมีสิทธิ์ มีเสียงในการปกครอง และชะตาชีวิตของตนเอง ๔. ด้านพฤกษศาสตร์และสัตว์ศาสตร์ เร่ืองมหาชาติคําหลวงทําให้เรามีความรู้ เก่ียวกับ พรรณไมแ้ ละสัตวต์ ่าง ๆ มากมายทําใหเ้ กิดรักธรรมชาตมิ ากข้นึ

ป ร ะ วั ติ ว ร ร ณ ค ดี | ๓๔ ลลิ ติ พระลอ ผู้แต่ง ไมท่ ราบนามผู้แต่งและปีทแี่ ต่ง มีผสู้ นั นิษฐานว่าแต่งข้ึนระหว่าง พ.ศ.๑๙๙๑ –พ.ศ. ๒๑๒๖ ความเปน็ มา ลลิ ิตพระลอ ไม่ปรากฏหลกั ฐานแน่นอนว่าใครเปน็ ผู้แตง่ และแต่งในสมัยใด เช่น สนั นิษฐานว่าแตง่ ในสมยั สมเดจ็ พระนารายณม์ หาราช วตั ถปุ ระสงคใ์ นการแตง่ เพอ่ื ให้พระมหากษัตริย์ ทรงอ่านเป็นทีส่ ําราญพระทยั ดังคําประพันธ์ว่า “ถวายบําเรอทา้ วไท้ ธริ าชผู้มบี ญุ ” ผ้แู ตง่ ไม่ปรากฏนามชัดเจน มผี ้สู ันนิษฐานว่าพระมหาราช เป็นผแู้ ต่ง จากโคลงท่ี ข้ึนต้นว่า “จบเสร็จมหาราชเจ้า นพิ นธ”์ รูปแบบการแตง่ แต่งเปน็ ลิลิต ซึง่ ประกอบด้วยร่ายสุภาพและโคลงสุภาพ อีกท้ังบางตอนเป็น ร่ายด้ันและร่ายโบราณ ลิลิตพระลอเป็นวรรณคดีที่ได้รับการยกย่องอย่างมากกว่าเป็นยอดของ วรรณคดบี ริสทุ ธ์ิ เนื้อหาเป็นเรือ่ งโศกนาฏกรรมคือลงเอยด้วยความตาย เน้ือเร่ืองกล่าวถึง ๒ เมือง คือ เมอื งแมนสรวงทม่ี ีพระลอเป็นโอรสของทา้ วแมนสรวงและพระนางบญุ เหลือเมืองหน่ึงและอีกเมืองหน่ึง คือเมืองสรอง มีท้าวพิมพิสาคร เป็นเจ้าเมืองครองนครมีพระเพื่อนพระแพง เป็นธิดาของท้าวพิชัย พิษณกุ รและเจ้าหญงิ ชอื่ นางดาราวดี เป็นเรอ่ื งความรักของพระลอกบั พระเพอื่ นพระแพง ตัวอย่างโคลงลลิ ติ พระลอ “ ๏ เสยี งฦาเสยี งเล่าอา้ ง อนั ใด พ่เี อย เสยี งยอ่ มยอยศใคร ทัว่ หลา้ สองเขือพีห่ ลับใหล ลืมตืน่ ฤาพ่ี สองพี่คดิ คดิ เองอ้า อย่าได้ถามเผื่อ ฯ” เน้ือเร่ืองย่อ ท้าวแมนสรวงได้ทําสงครามกับท้าวพิมพิสาครเจ้าเมืองสรอง และ ฆ่าท้าวพมิ พิสาครตาย ทา้ วพิชัยพิษณุกรได้ครองเมอื งสรองแทนพระบดิ า พระองค์มีพระธดิ าผู้มีรูปโฉม งดงามเป็นที่เล่ืองลือ คือ พระเพ่ือน พระแพง ต่อมาท้าวแมนสรวงสิ้นพระชนม์ พระลอได้ครองเมือง แทน นักขับเพลงได้ขับชมความงามของพระลอไปตามเมืองต่าง ๆ พระเพ่ือนพระแพงได้ฟังคําเล่าลือ รปู โฉมอนั งดงามของพระลอก็หลงรัก พระลอปรารถนาจะได้เป็นคู่ครอง นางร่ืนนางโรยสองพี่เลี้ยงขัน อาสาช่วยโดยส่งคนไปขับซอชมโฉมพระเพื่อนพระแพง พระลอได้ฟังก็ปรารถนาจะได้นางร่ืน นางโรยขอให้ปู่เจ้าสมิงพรายทําเสน่ห์ คร้ังแรกทางเมืองแมนสรวงแก้ไขได้ แต่คร้ังหลังแก้ไม่ได้ทําให้

ป ร ะ วั ติ ว ร ร ณ ค ดี | ๓๕ พระลอคลั่งไคล้จนต้องเสด็จไปเมืองสรอง นางร่ืนนางโรยได้ลอบนําพระลอให้ไปพบพระเพื่อนพระ แพงที่ตําหนักในสวนขวัญ และได้เสวยสุขร่วมกัน จนทราบถึงท้าวพิชัยพิษณุกร พระองค์ทรงกร้ิว เพราะถือวา่ ศัตรดู ูหมน่ิ จึงเสด็จไปทตี่ าํ หนกั เพ่ือฆา่ พระลอ เมื่อลอบเห็นพระลอมีรูปโฉมท่ีงดงามมากก็ หายโกรธ พระองค์ทรงรับพระลอเป็นราชบุตรเขย แต่เจ้าย่ายังผูกอาฆาตที่พระบิดาของพระลอฆ่า พระสวามีของนางจึงออกอบุ ายใหท้ หารเขา้ ลอ้ มจับพระลอในยามดึกสงัด พระลอ พระเพื่อน พระแพง นางรื่นนางโรย และนายแก้วนายขวัญได้ต่อสู้อย่างกล้าหาญ แต่ถูกอาวุธส้ินชีวิตทั้งหมด ท้าวพิชัย พิษณุกรจับเจ้าย่าประหาร แล้วส่งข่าวไปยังเมืองแมนสรวง ท้ังสองเมืองเลิกเป็นศัตรูกัน ช่วยกันถวาย เพลิงแล้วสรา้ งสถปู ๓ องค์ บรรจอุ ัฐสิ ามกษัตรยิ ์และพี่เล้ยี งท้งั สีค่ น แนวคิด แนวคิดสําคัญของเร่ืองนี้อาจจะมองได้ว่า บุคคลใดอยู่ใต้อํานาจกิเลสฝ่ายตํ่า (กามราคะ) บุคคลนั้นย่อมประสบหายนะ คุณค่าของวรรณคดี ลิลิตพระลอถือเป็นแบบอย่างในการแต่งร้อยกรองสมัยต่อ ๆ มา หลายประการ เป็น แบบอย่างในการแต่งโคลงส่ีสุภาพ การพรรณนาในบทอัศจรรย์ การพรรณาในเชิง นิราศบทชมละคร นอกจากนี้ยังสอดแทรกปรัชญาชีวิตสุภาษิต คติความเชื่อ ฯลฯ นับเป็นแบบอย่าง และมีอทิ ธพิ ลต่อกวีรนุ่ หลงั ๆ อย่างมาก ลลิ ติ พระลอมกี ารเปรยี บเทียบทีด่ มี าก ดงั ตวั อย่าง เชน่ ๑. เปรียบการได้ส่ิงท่ีได้มายากเหมือนได้ตะวันและเดือนมาถึงมือ เช่น ตอนพระเพ่ือนพระ แพงได้ข่าวว่าพระลอเสดจ็ มาถงึ เขตแดนของนางแล้ว กวบี รรยายว่า “ตะวันเจียนจากฟา้ มามอื จักใคร่ถอื เดอื นถือ กไ็ ด้ เมรทุ องละลองปือ ปอื รอด ไปนา ขอทา่ นเชิญทา้ วไท้ ธิราชเจ้าเสด็จมา” ๒. เปรียบการได้บุคคลที่มีอํานาจเหมือนดังได้ฟ้าและดินไว้ในเงื้อมมือ ดังปรากฏตอนท้าว พิชยั พิษณุกรราํ พึงเมอ่ื เห็นพระลออยกู่ บั ธดิ าท้ังสอง “ได้ภูธรดจุ ได้ ฟา้ แลดินมา อยูเ่ งือ้ มมอื เรา” ๓. เปรยี บพระลอทม่ี ีไพรพ่ ลห้อมล้อมวา่ เหมือนดังเดอื นลอ้ มรอบด้วยดาว ดังน้ี “พระองค์โอภาสเพี้ยง ศศธิ ร เสด็จดุจเดือนเขจร แจ่มฟา้ ดวงดาวดาษอมั พร เรยี งเรยี บ ดูดุจพลเจ้าหล้า รอบล้อมเสด็จโดย”

ป ร ะ วั ติ ว ร ร ณ ค ดี | ๓๖ ๔. เปรียบขา่ วดดี ังถอ้ ยคําท่ีเจือด้วยน้ําอมฤต ดังปรากฏในโคลงตอนนางรื่นนางโรยขอให้นาย แก้วและนายขวัญไปเชิญพระลอให้เสด็จมา ส่วนนางทั้งสองจะไปแจ้งข่าวพระลอแด่พระเพ่ือนพระ แพง ถอ้ ยคํานางทง้ั สองจะไปแจง้ แดพ่ ระเพอื่ นพระแพงคอื “อมฤตรสพจนาตถ”์ ๕. เปรยี บเทยี บเครอื่ งเพศหญงิ กับสระนา้ํ คือ สระพระนชุ เน้ือเกลย้ี ง” ๖. เปรียบหัวใจท้ังสามดวงของตัวละครเอกท้ังสามท่ีหล่อรวมเป็นอันเดียวกันกับเชือกสาม เกลยี วทผี่ สานกนั เปน็ เสน้ เดียว คือ “คอื เชอื กผสมสามเกลยี ว แฝดฝ้ัน” ๗. เปรียบเทียบความลบั เหมอื นควนั ไฟท่ปี ิดอย่างไรกไ็ ม่มดิ คือ ใช้วา่ “ควันความ” นอกจากนน้ั ลลิ ิตพระลอมคี ตเิ ตอื นใจมากมาย ยกตัวอยา่ ง เช่น ในลลิ ิตพระลอ มกี ลอนสอนใหป้ ฏิบตั ิ ข้อ “อย่าโง่เขลาผิดเมียใคร” ว่า “รอ้ ยชฤู้ าเท่าเนือ้ เมียตน เมยี แลพันฤาดล แมไ่ ด้ ทรงครรภ์คลอดเป็นคน ฤางา่ ย แลนา เลี้ยงยากนักท้าวไท้ ธิราชผู้มีคณุ ฯ”

ป ร ะ วั ติ ว ร ร ณ ค ดี | ๓๗ ลลิ ิตยวนพ่าย ผแู้ ตง่ ไมป่ รากฏนามผู้แตง่ และปีที่แต่ง ความเป็นมา มีผสู้ ันนิษฐานว่า คงแต่งในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีท่ี ๒ ท่ีครองราชย์ระหว่าง พ.ศ.๒๐๓๔-พ.ศ.๒๐๗๒ จุดมุ่งหมายเพือ่ เฉลิมพระเกียรติยศของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ที่ทรงทํา สงครามชนะพระเจ้าติโลกราชผู้ครองเมืองเชียงใหม่ท่ีมาชิงหัวเมืองฝ่ายเหนือสาระสําคัญ เนื้อหาเป็น การไหว้ครู จากน้ันเป็นการพรรณนาพระเกียรติของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ การกล่าวถึงว่า พระองค์มีพระราชสมภพระหว่างท่ีพระราชมารดาไปส่งเสด็จพระราชบิดา คือ สมเด็จพระบรม ราชาธริ าชที่ ๒ ท่ียกทัพไปรบกับเขมร มีการประชุมทัพท่ีทุ่งพระอุทัยแล้ว ก็ทรงประสูติท่ีน่ี การรบกับ เขมรครง้ั นน้ั ปรากฏว่าไดช้ ัยชนะ ตอ่ มาพระองค์ได้ครองราชย์สมบตั ิ รูปแบบการแต่ง คําประพันธ์เป็นร่ายดั้นประกอบกับโคลงด้ันบาทกุญชร ร่ายดั้นใช้ตอน บทนําและร่ายสั้นๆ เขามาหนึ่งบท (แทรกหลังบทที่ ๑๑๖) ส่วนโคลงมี ๒๘๖ บท ดังตัวอย่างบท พรรณนาพระเกียรตคิ ุณสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เป็นกษัตริย์ประเสริฐเหนือกษัตริย์และชนทั้งปวง ทรงบาํ รุงรักราษฎร เก้อื หนุนสัตวใ์ หพ้ น้ ทุกข์ “๏ พระมายศโยคพ้น พรรณนา มาพา่ งมาพาเป็น ปิน่ แกว้ พระมาทยบทยมสมฯ ธปิ ราชญ เพรงแฮ มาทยบมาทบแผว้ แผ่นไตรฯ” คําว่า “ยวน” หมายถึง โยนก หรือ เชียงใหม่ ยวนพ่าย จึงหมายถึง เมืองโยนก หรือเมืองเชียงใหม่ พ่าย แพ้ในการทําสงครามกบั ไทย (อยุธยา) วรรณคดเี รือ่ งนนี้ บั เป็นวรรณคดยี อพระเกยี รติ เน้ือเร่ืองย่อ กล่าวถึงการเสด็จมาอุบัติ (การกําเนิด) ในโลกของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ต่อไปกล่าว ยกย่องสรรเสรญิ พระปรีชาสามารถของพระองค์ทั้งทางโลกและทางธรรม ถัดไปกล่าวถึงพระยายุธิษฐิระเอาใจออก ห่างไปเข้ากับเมืองเชียงใหม่ กล่าวถึงพระเจ้าติโลกราชแย่งราชสมบัติจากพระราชบิดา และจับหนานบุญเรือง พระโอรสองค์ใหญ่ไปคุมขัง ต่อมาพระองค์ระแวงหมื่นด้งนครเจ้าเมืองเชียงชื่น จึงให้จับตัวไปประหาร ทําให้ นางเมืองภริยาหรือหม่ืนด้งนครแข็งเมือง นางส่งคนถือหนังสือมาขอขึ้นกับอยุธยา และขอสมเด็จพระบรมไตร โลกนาถส่งกองทัพไปช่วยปอ้ งกนั เมือง สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงจัดกองทัพยกไปช่วย ทางเมืองเชียงใหม่ให้กองทัพเมืองแพร่และน่าน เข้าตีเมืองช่ืน นางเมืองและชาวเมืองป้องกันเมืองเป็นสามารถ แต่นายทหารคนหน่ึงเป็นไส้ศึก เปิดประตูเมืองรับ ข้าศึก ชาวเชียงช่ืนพากันหนีไปสมทบกองทัพอยุธยา เมื่อกองทัพไทยยกถึงเมืองเชียงชี่นก็เข้าตีกองทัพของพวก โยนกหรือยวนหรือเชียงใหม่จนแตกพ่าย ตอนจบเร่ืองน้ีเป็นการกล่าวสรรเสริญพระบารมีและพระเกียรติยศของ สมเดจ็ พระบรมไตรโลกนาถท่ที รงไดร้ บั ชัยชนะในสงครามครง้ั นี้

ป ร ะ วั ติ ว ร ร ณ ค ดี | ๓๘ แนวคิด พระบรมเดชานุภาพของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถนั้นย่ิงใหญ่นัก สามารถปราบ ศัตรไู ด้ท้ังหมด ทาํ ให้แผ่นดนิ มีแตส่ ันติสขุ ตัวอยา่ งลิลติ ยวนพ่าย มีโคลงสอนความซ่อื สัตย์ไว้ว่า “ใครคดใครซอื่ รา้ ย ดีใด ก็ดี ใครใคร่ครองตนบยฬ ท่านมว้ ย ซื่อนึกแต่ในใจ จงซ่อน กด็ ี พระอาจล่วงรู้ดว้ ย จดุ หมาย ใดใด กด็ ี ขา้ ไทท้ เิ บศผู้ ซ่ือซร้อม ตายเพอ่ื ภักดีโดย อธิ โลกย คอื คนอยเู่ ป็นใน เลอศอนิ ทร ฯ บรโลกนางฟา้ ฟา้ ล้อม ภูลมี มง่ งนา แตเ่ จ้า ทวยใดเจา้ เกื้อโรค เปน็ คู่ ตายนา ครน้ั ถวลิ ภกั ดี ข่วงน้ํานรกานต์ ซ่ือยนื อย่แู สนปี ตายก็ดไี ดเ้ ขา้ คุณคา่ ของวรรณคดี ๑. ลิลิตยวนพ่าย มีอิทธิพลต่อนักกวีรุ่นหลังอย่างแน่นอน จะเห็นได้จากลิลิตตะเลงพ่ายท่ี ประพนั ธโ์ ดยสมเดจ็ พระกรมพระปรมานุชติ ชโิ นรส ๒. ในด้านอักษรศาสตร์ เป็นวรรณคดียอพระเกียรติเล่มแรก ท่ีเป็นบกวี มีสํานวนโวหาร ไพเราะอย่างยิ่ง ๓. ในด้านวิถีชีวิต แสดงถึงชีวิตความเป็นอยู่ของคนสมัยอยุธยาท่ีจงรักภักดีต่อสถาบัน พระมหากษตั รยิ ์ ๔. ในด้านประวัติศาสตร์ ได้รู้ถึงการทําสงครามระหว่างพระมหากษัตริย์ต่างเมืองกัน กลา่ วคือ บันทึกเหตกุ ารณ์สงครามทเ่ี มืองเชยี งช่นื ระหว่าง (อยธุ ยา) กับเชียงใหม่ (ยวนหรอื โยนก) ๕. คณุ ค่าด้านวรรณศิลป์ วรรณคดีเร่ืองนี้มีความไพเราะงดงามในด้านการประพันธ์ด้วยกลวิธีการแต่งแบบต่าง ๆ เช่น การใช้สัมผัสพยัญชนะอย่างแพรวพราว การซํ้าคํา การใช้โวหารภาพพจน์แบบต่าง ๆ ซึ่งก่อให้เกิด อารมณส์ ะเทอื นใจในพระบรมเดชานภุ าพอันยง่ิ ใหญ่ของพระมหากษตั ริย์ไทย ดงั ตัวอย่างตอ่ ไปน้ี

๑). การเล่นสมั ผัสพยญั ชนะ ป ร ะ วั ติ ว ร ร ณ ค ดี | ๓๙ “พวกพลกลา้ กลาด ไปหนา หนน่ แฮ หาญห่มเกราะกรายกราย กอ่ นมา้ ประดบั ประดาดา แหนแห่ พระนา แลเครื่องแลหนา้ หนา้ ใคร่ชม”

ป ร ะ วั ติ ว ร ร ณ ค ดี | ๔๐ สมุทรโฆษคําฉนั ท์ ผู้แต่ง สมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรสและ พระมหาราชครู ความเป็นมา เป็นวรรณคดี อาศัยเค้าความเรื่องในชาดก ชื่อ ปัญญาสชาดก วรรณคดีเรื่องนี้ แตง่ กนั มายาวนาน คือสมัยกรงุ ศรีอยธุ ยาจนถงึ สมยั กรงุ รตั นโกสนิ ทร์ เพราะว่าสองตอนแรกที่แต่งสมัย กรุงศรีอยุธยาน้ันยังไม่จบ มาแต่งจนจบในสมัยรัชกาลท่ี ๓ ผู้แต่งมี ๓ คน คือ สมเด็จพระมหาราชครู ตอนต้น สมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระราชนิพนธ์ตอนกลางและสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุติชิตชิโนรส แต่งตอนปลาย จุดมุ่งหมายในการแต่ง เพื่อให้เล่นหนังใหญ่ในวาระท่ีมี งานฉลองตา่ ง ๆ รูปแบบการแต่ง แต่งเป็นคําฉันท์ ๑๑ ฉันท์ ๑๒ ฉันท์ ๑๔ ฉันท์ ๑๕ ฉันท์ ๑๙ และฉันท์ ๒๑ โดยไม่ได้บอกชื่อฉันท์และไม่มีการเคร่งครัดในครุลหุนับเป็นฉันท์เรื่องแรกที่นํามาบรรยายชาดก ในทางพระพุทธศาสนา อันเป็นเรื่องราวของพระโพธิสัตว์ปางหนึ่ง ซึ่งเคยเป็นนิยายเล่าสืบต่อกันมา ก่อนกวีนิพนธ์ทุกตอนมีความประณีตบรรจงมีอรรถรสไพเราะก่อนกวีนิพนธ์ทุกตอน มีความประณีต บรรจง มอี รรถรสไพเราะด้วยฉันท์และกาพย์ จบลงด้วยโคลงส่ีสุภาพ วรรณคดีเรื่องน้ีได้รับการยกย่อง จากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของวรรณคดีประเภทฉันท์ เริ่มต้นของเร่ืองเป็นคํานมัสการไหว้ครู เนอ้ื เรื่องกลา่ วถึงคร้งั ทีพ่ ระพทุ ธเจ้าเสวยพระชาติเป็นพระสมทุ รโฆษ ตวั อย่างสมุทรโฆษคําฉันท์ คําสอนท่ีให้ประชาชนปฏิบัติในชีวิตประจําวันน้ัน วรรณคดีไทยสมัยอยุธยา เน้นเรื่องศีลห้า มปี รากฏอยทู่ ัว่ ไป ดังโคลงทีพ่ รรณนาไวใ้ นสมทุ รโฆษคําฉนั ท์ วา่ “โอวาทนสุ าสนบาํ เพญ็ ศลี เบญจพรอ้ มเพรยี ง ไพร่ฟา้ สุขารมยเพียง จกั รพรรดผิ ่านสธุ า เนื้อเรื่องย่อ พระสมุทรโฆษเสด็จไปคล้องช้างและได้พักพลใต้ต้นโพธ์ิ ตกกลางคืนพระโพธ์ิได้ อุ้มพระสมุทรโฆษไปอยกู่ บั นางพินทุมดี ครง้ั รุ่งเช้าก็อุ้มกลบั ทัง้ สององคต์ ่างโหยหากัน พี่เลี้ยงช่ือรัตนธารี ได้วาดรูปพระสมุทรโฆษนางก็จาํ ได้ ต่อมาพระบิดาของนางจัดพิธีสยุมพร โดยเชิญกษัตริย์ต่าง ๆ มาร่วมประลองความสามารถ พระสมทุ รโฆษชนะการประลองได้อภิเษกกับนางพินทุมดี พระสมทุ รโฆษกับนางพินทุมดีเสด็จไปใช้บน (แก้บน) ท่ีศาลเทพารักษ์ พบพิทยาธรตนหน่ึงถูกทําร้ายตกลงมาในอุทยาน พิทยาธรได้มอบพระขรรค์ ซึ่งมีฤทธิ์ทําให้เหาะได้แก่พระสมุทรโฆษ ทั้งสององค์ชวนกันเหาะชมป่าหิมพานต์และได้นอนพักบน แท่นหิน พิทยาธรอกี ตนหนึ่งลักพระขรรค์ไป ท้ังสององค์เหาะกลับเมืองไม่ได้ ต้องเดินดั้นด้นไปกระทั่ง

ป ร ะ วั ติ ว ร ร ณ ค ดี | ๔๑ พบแม่นาํ้ ขวางหน้าจึงเกาะขอนไมว้ ่ายข้ามฝั่ง แต่ก็เกดิ พายพุ ัดทาํ ให้ขอนขาดจากกัน นางเมขลาเทวดา ช่วยอุ้มพระสมทุ รโฆษข้นึ ฝ่งั และชว่ ยใหไ้ ด้พระขรรคค์ ืนมา สว่ นนางพนิ ทมุ ดวี า่ ยข้ึนฝ่ังได้ก็ปลอมตัวเอา เคร่ืองประดับไปขาย แล้วนํามาสร้างศาลาท่ีพักคนเดินทาง พร้อมท้ังวาดรูปเรื่องราวของนางและพระ สมุทรโฆษ จนถึงขอนขาดจากกันให้คนเฝ้าศาลาและสังเกตดูว่า ชายใดมาเห็นภาพเหล่านี้แล้วร้องไห้ ให้รีบไปบอกนาง ต่อมาพระสมุทรโฆษมาเห็นก็ร้องไห้ สององค์จึงได้พบกัน พระสมุทรโฆษพานาง พนิ ทุมดีเหาะกลับเมอื งและครองเมอื งอย่างมีความสขุ แนวคดิ แนวคิดสาํ คญั ของเรื่องนี้คือ บคุ คลใดสร้างกรรมไว้อย่างไรก็ต้องรับผลกรรมน้ัน (ดังที่ พระสมุทรโฆษเคยสร้างกรรมในชาติก่อนด้วยการแกล้งให้เรือของสามเณรล่ม จึงต้องได้รับผลของ กรรมคือเกดิ พายพุ ดั ให้ขอนไม้ขาดพระสมทุ รโฆษและนางพนิ ทมุ ดตี ้องพลัดพรากจากกนั ) คณุ ค่าของวรรณคดี ๑. ในด้านอักษรศาสตร์ มีสํานวนโวหารไพเราะจับใจใช้ถ้อยคําได้เหมาะกับฉันท์ มีภาษาบาลี สนั สกฤตและคาํ เขมร มจี นิ ตนาการ ไดอ้ ารมณ์ ๒. ในด้านวถิ ีชีวิต ได้เหน็ สภาพความเปน็ อยขู่ องคนชาวอยุธยาสมัยนี้ท่ีเช่ือในการบนบานศาล กล่าว การต้ังโรงทาน ความเชื่อในกฎแห่งกรรม ตลอดจนการเล่น จระเข้กัดกัน การแข่งวัวเกวียน ความรู้เกี่ยวกบั สตั วต์ ่าง ๆ เชน่ ชา้ ง นก ปลา ป่าหมิ พานต์ และพนั ธุไ์ ม้ตา่ ง ๆ

ป ร ะ วั ติ ว ร ร ณ ค ดี | ๔๒ โคลงทศรถสอนพระราม ผูแ้ ต่ง สมเดจ็ พระนารายณ์มหาราช ความเป็นมา เร่ืองทศรถสอนพระราม เป็นพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กล่าวถึงหลักปฏิบัติของกษัตริย์ผู้ครองเมืองที่พึงมีต่อ อาณาประชาราษฎร์ ในเน้ือเรื่องท้าวทศรถ ซ่ึงเป็นพระบิดาของพระรามได้สั่งสอนหลักการปกครองไว้หลายประการ เช่น ให้รักและบํารุงเล้ียง ราษฎรในปกครองดังพ่อและแม่ มีเมตตา กรุณา รู้จักตนให้รางวัลละความโกรธมีความยุติธรรม ไม่เบียดเบียนราษฎร์ ฯลฯ พระเจ้าแผ่นดิน แท้จริงก็คือ การสอน เร่ือง “ทศพิธราชธรรม” หรือหลัก ปฏิบัติตวั ตามขนบธรรมเนยี มประเพณีที่พระเจ้าแผน่ ดินพึงปฏิบัติอยา่ งเครง่ ครดั ๑๐ ประการ น่นั เอง รูปแบบการแตง่ โคลงเรื่องน้ีแต่งเปน็ โคลงส่ีสภุ าพและมีเพยี ง ๑๒ บทเท่านัน้ ดังตวั อยา่ ง ๑.๏ ทศรถยศย่งิ ไท้ ทุกสถาน ชมชดิ สนิทเสน่หก์ าร เลิศแลว้ ในพระชมมานสาร รามเทพ เรยี กรอ้ งสนองเสนอแก้ว ลบู ไลป้ ระโลมสอนฯ บทความนี้ใจความวา่ ทา้ วทศรถตรัสเรียกพระรามราชโอรสมาประทานโอวาท ๒. ๏ เจา้ จกั รราษฎร์เล้ียง บุรรี มย์ ใหส้ ุขศรีปรีดชิ ม ชอบใช้ เสมอบุรินทรอ์ ินทรอ์ ุดม พรหเมศ อาสัจธรรมถลนั ให้ เทียบแทป้ ระมลู มวล บทความนี้มีใจความว่า การท่ีเจ้า (พระราม) จะปกครองบ้านเมืองและราษฎรให้อยู่เย็นเป็น สุขเสมือนกับเป็นเมืองของพระอินทร์ พระพรหมได้นั้น เจ้า (กษัตริย์) จะต้องมีความซื่อตรงต่อ ประชาชน จึงตรงกับหลกั ทศพิธราชธรรมในข้อ อาชวํ ซ่ึงว่าดว้ ยเรอื่ งความซอ่ื ตรง ๓. ๏ ประเสริฐเลศิ โลกลน้ โลกา จงจติ ต์มิตรกรณุ า แน่ไว้ เปน็ ตน้ กลพฤกษา เสมอเมฆ อายุตธิ รรมนน้ั ให้ สตั วซ์ รอ้ งสุขเกษม


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook