Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore เหรียญกษาปณ์สองสีที่ระลึกในรัชกาลที่ 9

เหรียญกษาปณ์สองสีที่ระลึกในรัชกาลที่ 9

Published by LibrarySpt, 2021-09-15 12:51:19

Description: เหรียญกษาปณ์สองสีที่ระลึกในรัชกาลที่ 9

Search

Read the Text Version

ด้านหน้า พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงฉลองพระองค์ชุดสากล มีข้อความว่า : “รัชกาลที่ ๕” และ “รัชกาลที่ ๙” ด้านหลัง รูปเคร่ืองหมายของกรมชลประทาน มีข้อความว่า : “ครบ ๑๐๐ ปี กรมชลประทาน ๑๓ มิถุนายน ๒๕๔๕” และ “๑๐ บาท ประเทศไทย” จ�ำนวนผลิต : ๓,๐๐๐,๐๐๐ เหรียญ ประกาศใช้ : ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๕ 39

๑๖. เหรยี ญกษาปณท์ รี่ ะลกึ งานชมุ นมุ ลกู เสอื โลก ครงั้ ท่ี ๒๐ งานชุมนุมลูกเสือโลก มาจากค�ำว่า Jamboree เป็นภาษาแอฟริกาซูลู หมายถึงการที่ชนเผ่าเรียกพรรคพวกให้มาร่วมกันชุมนุม ถือว่าเป็นการชุมนุม ท่ียิ่งใหญ่และส�ำคัญท่ีสุดของชีวิตแห่งการเป็นลูกเสือ เป็นงานส�ำคัญระดับโลก โดยปกติจะจัดให้มีทุก ๆ ๔ ปี ซึ่งลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่อายุระหว่าง ๑๔-๑๘ ปี ทุกเชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรมประเพณี ใฝ่ฝันจะต้องเข้ามาร่วมงาน และท�ำกิจกรรมต่าง ๆ ท่ีท้าทาย ท้ังในเชิงความรู้ การศึกษา ทักษะ ประสบการณ์แห่งการเป็นลูกเสือ และยังพิสูจน์ถึงสมรรถภาพร่างกาย ข อ ง ลู ก เ สื อ ร ว ม ถึ ง ก า ร ส ร ้ า ง ค ว า ม เ ข ้ า ใ จ อั น เ ป ็ น มิ ต ร ภ า พ ท่ี ดี ต ่ อ กั น โดยใช้หลักกระบวนการของลูกเสือเพื่อจัดกิจกรรมท่ามกลางธรรมชาติ ส�ำหรับลูกเสือ ผู้บังคับลูกเสือ และลูกเสืออาสา (International Service Team หรือ IST) งานชุมนุมลูกเสือโลกครั้งท่ี ๒๐ ในปี ค.ศ. ๒๐๐๓ จัดขึ้นระหว่างวันท่ี ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ - ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๖ ณ บริเวณหาดยาว ฐานทัพเรือสัตหีบ อ�ำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ซ่ึงมีเยาวชนลูกเสือชาย – หญิง กว่า ๓๐,๐๐๐ คน จาก ๑๕๑ ประเทศทั่วโลก มาร่วมงาน 40

ด้านหน้า พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงฉลองพระองค์เคร่ืองแบบพระประมุขคณะลูกเสือแห่งชาติ มีข้อความว่า : “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช” และ “องค์พระประมุขคณะลูกเสือแห่งชาติ” โดยมีเชือกผูกเป็นเงื่อนพิรอดสองข้างล้อมรอบ ด้านหลัง รูปสัญลักษณ์งานชุมนุมลูกเสือโลก คร้ังที่ ๒๐ มีข้อความว่า : “งานชุมนุมลูกเสือโลก คร้ังท่ี ๒๐ พ.ศ. ๒๕๔๖” “๑๐ บาท 10 BAHT” “20th WORLD SCOUT JAMBOREE” “THAILAND, 2003” “ประเทศไทย” และ “JAMBOREE” จ�ำนวนผลิต : ๓,๐๐๐,๐๐๐ เหรียญ ประกาศใช้ : ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๕ 41

๑๗. เหรียญกษาปณ์ท่ีระลึกเน่ืองในโอกาสครบ ๙๐ ปี วชิรพยาบาล วชิรพยาบาลเดิมเป็นบ้านพระสรรพการหิรัญกิจ (เชย สรรพการ) โดยประกอบด้วยอาคารหลังใหญ่เป็นตึก ๓ ช้ัน (ปัจจุบันคือ อาคารวชิรานุสรณ์ คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล) และอาคารหลังเล็กเป็นตึก ๒ ชั้น ทั้ง ๒ หลังเป็นตึกแบบโบราณพ้ืนไม้สัก บริเวณทั่วไปมีทั้งท่ีราบเนินดินสูง อุโมงค์ ภูเขาจ�ำลอง โขดหิน ต้นไม้ใหญ่น้อยประดับประดาเป็นจ�ำนวนมาก และมีท้ังทางคดเคี้ยวไปมาแบบเดินในสวนสาธารณะโบราณ สถานที่น้ีปรากฏ ในเอกสารบางฉบับ เรียกช่ือว่า “หิมพานต์ปาร์ค” ต่อมาได้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ ของแบงก์สยามกัมมาจลทุนจ�ำกัด เมอ่ื พระบาทสมเดจ็ พระปรเมนทรมหาวชริ าวธุ พระมงกฎุ เกลา้ เจา้ อยหู่ วั เสด็จขึ้นครองสิริราชสมบัติ พระองค์ทรงค�ำนึงถึงโบราณราชประเพณี ท่ีพระมหากษัตริย์จะทรงสร้างพระอารามไว้เป็นเครื่องเฉลิมพระราชศรัทธา และเพื่อให้เป็นสถานที่สถิตย์แห่งภิกษุสงฆ์เป็นผู้ค�้ำจุนพระบวรพุทธศาสนา ให้ถาวรอยู่เพื่อประโยชน์แห่งผสกนิกร แต่เน่ืองจากในรัชสมัยของพระองค์นั้นมี พระอารามภายในพระนครอยู่มาก คร้ันจะสร้างเพิ่มอีกก็จะเกินความจ�ำเป็น ในการทะนบุ ำ� รงุ พระศาสนา ดงั นนั้ พระองคไ์ ดท้ รงสละพระราชทรพั ยส์ ว่ นพระองค์ จัดซ้ือที่ดิน พร้อมด้วยตึกและสิ่งปลูกสร้างที่จะสร้างโรงพยาบาลข้ึน ดงั พระกระแสรบั สงั่ ตอนหนงึ่ วา่ “บดั นโ้ี รงพยาบาลอนั นก้ี ไ็ ดต้ กแตง่ ขน้ึ พรอ้ มแลว้ เราขอให้นามว่า วชิรพยาบาล และขอมอบที่นี้ไว้เป็นสาธารณสถาน เป็นสมบัติสิทธ์ิขาดแก่ประชาชนชาวไทย” พระองค์เสด็จพระราชด�ำเนิน มาเปิดโรงพยาบาลเม่ือวันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๕ โดยให้ กรมสุขาภิบาล กระทรวงนครบาล (พัฒนาเป็นกรุงเทพมหานคร ในเวลาต่อมา) เป็นผู้ปกปักรักษา พร้อมท้ังพระราชทานนามโรงพยาบาลว่า “วชิรพยาบาล” 42

ด้านหน้า พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และ พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงฉลองพระองค์เคร่ืองแบบเต็มยศทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีข้อความว่า : “พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว” และ “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช” ด้านหลัง รูปเคร่ืองหมายราชการวิทยาลัยแพทยศาสตร์ กรุงเทพมหานคร และวชิรพยาบาล มีข้อความว่า : “ครบ ๙๐ ปี วชิรพยาบาล” “ประเทศไทย ๒ มกราคม ๒๕๔๕” และ “๑๐ บาท” จ�ำนวนผลิต : ๓,๕๐๐,๐๐๐ เหรียญ ประกาศใช้ : ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ 43

๑๘. เหรียญกษาปณ์ท่ีระลึกเน่ืองในโอกาสครบ ๙๐ ปี กรมทางหลวง กรมทางหลวง เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงคมนาคม มีหน้าที่ ด�ำเนินการก่อสร้าง ควบคุม บูรณะ และบ�ำรุงรักษาทางหลวง ทางหลวงพิเศษ ทางหลวงแผ่นดิน และทางหลวงสัมปทาน เพ่ืออ�ำนวยความสะดวกรวดเร็ว และปลอดภัยในทางหลวงทั่วประเทศ เอ้ือประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การปกครอง ความมั่นคง และการป้องกันประเทศ กรมทางหลวงไดร้ บั การสถาปนาขน้ึ เปน็ กรมเมอื่ วนั ท่ี ๑ เมษายน ร.ศ. ๑๓๑ ตรงกบั พ.ศ. ๒๔๕๕ แตเ่ ดมิ นน้ั จะมแี ตก่ รมคลอง ซง่ึ อยใู่ นกระทรวงเกษตราธกิ าร ล ่ ว ง ม า จ น ถึ ง รั ช ส มั ย ข อ ง พ ร ะ บ า ท ส ม เ ด็ จ พ ร ะ ป ร เ ม น ท ร ม ห า ว ชิ ร า วุ ธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ยุบกรมคลองมาข้ึนกับ กระทรวงโยธาธิการและใช้ชื่อว่า “กรมทาง” ให้เปล่ียนชื่อกระทรวงโยธาธิการ เป็นกระทรวงคมนาคมตามประกาศจัดราชการรัตนโกสินทร์ศก ๑๓๑ ต่อมาได้มีการโอนย้ายและปรับโครงสร้างหลายครั้ง ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล กองทาง ไดย้ กฐานะขนึ้ เปน็ กรมทาง โอนสงั กดั จากกรมโยธาเทศบาล กระทรวงมหาดไทย มาสงั กดั กระทรวงคมนาคม ตามพระราชบญั ญตั ิ ปรบั ปรงุ กระทรวง ทบวง กรม พุทธศักราช ๒๔๘๔ แม้จะได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นกรม สังกัดกระทรวง คมนาคมแล้วก็ตามก็ยังไม่มีท่ีท�ำการเป็นของตนเอง ยังคงอาศัยอยู่ใน กรมโยธาเทศบาลทเี่ ชงิ สะพานผา่ นฟา้ ลลี าศจนถงึ วนั ที่๑๒พฤศจกิ ายน พ.ศ.๒๔๙๑ จึงได้ย้ายไปอยู่ที่ถนนพระราม ๖ ซ่ึงเป็นที่ต้ังของกรมทางหลวงในปัจจุบัน และได้ท�ำพิธีเปิดอาคารที่ท�ำการของกรมด้านถนนศรีอยุธยา เมื่อวันศุกร์ที่ ๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๙๘ 44

ด้านหน้า พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และ พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ และฉลองพระองค์ครุย เบื้องบนมีตราสัญลักษณ์พระบรมราชจักรีวงศ์ อักษรพระปรมาภิไธย “วปร” และ “ภปร” ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎเปล่งรัศมี ด้านหลัง รูปเครื่องหมายของกรมทางหลวง ซ้อนเหล่ือมกัน ๓ ดวง มีข้อความว่า : “๙๐ ปี กรมทางหลวง” “๑ เมษายน ๒๕๔๕” “ประเทศไทย” และ “๑๐ บาท” จ�ำนวนผลิต : ๓,๐๐๐,๐๐๐ เหรียญ ประกาศใช้ : ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ 45

๑๙. เหรียญกษาปณ์ท่ีระลึกเน่ืองในโอกาสครบ ๖๐ ปี กรมการค้าภายใน กรมการคา้ ภายใน กอ่ ตง้ั เมอื่ วนั ท่ี ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๕ ซงึ่ ในขณะนนั้ ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากสงครามโลกครั้งท่ี ๒ จึงมีความจ�ำเป็นต้อง เตรียมพร้อมรับปัญหาทุกด้าน กรมการค้าภายในสมัยแรกเริ่มน้ันมีภารกิจหลัก คือ มุ่งเน้นส่งเสริมการค้าภายในประเทศเป็นส�ำคัญ ท�ำหน้าท่ีส่งเสริมการค้า ของคนไทยและการคา้ โดยทว่ั ไป สบื ราคาและรายงานความเคลอ่ื นไหวของสนิ คา้ อุปโภคบริโภคที่จ�ำเป็นในการครองชีพ และแหล่งผลิตของสินค้าน้ัน ๆ เพ่ือใช้ประกอบการส่งเสริมและช่วยเหลือผู้ผลิตให้ขายได้ราคา รวมท้ัง แก้ไขปัญหาการค้าอันกระทบกระเทือนถึงการครองชีพของประชาชน เนื่องจากระหว่างน้ันอยู่ในสมัยของสงคราม เศรษฐกิจในประเทศไม่เป็นปกติ การดแู ลแกป้ ญั หาสนิ คา้ ขาดแคลนและขน้ึ ราคาเปน็ ภาระหนา้ ทขี่ องกระทรวงพาณชิ ย์ ซึ่งทุกหน่วยงานรวมทั้งกรมการค้าภายในต้องร่วมกันแก้ไขปัญหาโดยใกล้ชิด และเม่ือหลังส้ินสุดสงครามแล้วราคาสินค้าต่าง ๆ ได้พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ซ่ึงเป็นภาระของกรมการค้าภายในต้องจัดหาสินค้ามาป้อนร้านค้าให้เพียงพอ เพื่อตรึงราคามิให้สูงเกินสมควร 46

ด้านหน้า พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงฉลองพระองค์ชุดสากล มีข้อความว่า : “พระบาทสมเดจ็ พระปรมนิ ทรมหาภมู พิ ลอดลุ ยเดช รชั กาลท่ี ๙” ด้านหลัง รูปเครื่องหมายของกรมการค้าภายใน มีข้อความว่า : “๖๐ ปี กรมการค้าภายใน ๕ พฤษภาคม ๒๕๔๕ ประเทศไทย” และ “๑๐ บาท” จ�ำนวนผลิต : ๓,๐๐๐,๐๐๐ เหรียญ ประกาศใช้ : ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ 47

๒๐. เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในโอกาส พระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั พระชนมพรรษาครบ ๗๕ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๔๕ พระราชพธิ มี หามงคลเฉลมิ พระชนมพรรษา๗๕พรรษา๕ธนั วาคม๒๕๔๕ เป็นพระราชพิธีท่ีจัดข้ึนเนื่องในโอกาสท่ีพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๗๕ พรรษา พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานให้ใช้ ตราสัญลักษณ์ในการจัดงานพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗๕ พรรษา ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๔๕ โดยมีความหมายประกอบด้วย รูปพระราชลัญจกรประจ�ำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ประดิษฐานอยู่ภายในวงรูปไข่ มีรัศมีเปล่งโดยรอบ ริมขอบเหรียญ ประดับด้วยกลีบดอกไม้ประดิษฐ์ จ�ำนวน ๗๕ กลีบ 48

ด้านหน้า พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเคร่ืองบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ และฉลองพระองค์ครุย รอบขอบ เหรียญประดับด้วยกลีบดอกไม้ประดิษฐ์ จ�ำนวน ๗๕ กลีบ ด้านหลัง รูปพระราชลัญจกรประจ�ำรัชกาล พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ประดิษฐานอยู่ภายในวงรูปไข่ มีรัศมีเปล่งโดยรอบ ริมขอบเหรียญประดับด้วยกลีบดอกไม้ประดิษฐ์ จ�ำนวน ๗๕ กลีบ มีข้อความว่า : “เฉลมิ พระชนมพรรษาครบ ๗๕ พรรษา ๕ ธนั วาคม ๒๕๔๕” ประเทศไทย” และ “๑๐ บาท” จ�ำนวนผลิต : ๗,๕๐๐,๐๐๐ เหรียญ ประกาศใช้ : ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ 49

๒๑. เหรียญกษาปณ์ท่ีระลึกเนื่องในโอกาสครบ ๑๐๐ ปี กรมจเรทหารบก กิ จ ก า ร จ เ ร ท ห า ร บ ก เ ร่ิ ม ขึ้ น ใ น รั ช ส มั ย พ ร ะ บ า ท ส ม เ ด็ จ พระปรมนิ ทรมหาจฬุ าลงกรณ์ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั พระองคไ์ ดท้ รงจดั ตง้ั “จเรทัพบก” ข้ึนเป็นคร้ังแรก เมื่อวันท่ี ๖ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๒ (พ.ศ. ๒๔๔๖) และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงรับต�ำแหน่ง จเรทัพบก มีหน้าท่ีตรวจราชการทหารทั่วไป และพระองค์ทรงด�ำรงต�ำแหน่งน้ี ตลอดมาจนเสดจ็ เถลงิ ถวลั ยราชสมบตั เิ ฉลมิ พระปรมาภไิ ธยวา่ พระบาทสมเดจ็ พระปรเมนทรมหาวชริ าวธุ พระมงกฎุ เกลา้ เจา้ อยหู่ วั เมอ่ื ปี ร.ศ. ๑๒๙ (พ.ศ. ๒๔๕๓) ซึ่งนับได้ว่าทรงเป็นจเรทัพบกพระองค์แรก และนับได้ว่าพระองค์ท่าน เป็นต้นก�ำเนิดของกิจการจเร และกรมจเรทหารบกสืบมาตราบจนทุกวันน้ี 50

ด้านหน้า พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงฉลองพระองค์เครื่องแบบ เต็มยศจอมพล มีข้อความว่า : “พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดชฯ สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร” และ “รัชกาลท่ี ๙” มีตราสัญลักษณ์พระบรมราชจักรีวงศ์ค่ันระหว่างข้อความ ด้านหลัง รูปเคร่ืองหมายของกรมจเรทหารบก มีข้อความว่า : “๑๐๐ ปี กรมจเรทหารบก ๖ พฤษภาคม ๒๕๔๖ ประเทศไทย” และ “๑๐ บาท” จ�ำนวนผลิต : ๓,๐๐๐,๐๐๐ เหรียญ ประกาศใช้ : ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ 51

๒๒. เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในโอกาสที่ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ฉลองพระชนมายุ ๘๐ พรรษา สมเดจ็ พระเจา้ พน่ี างเธอ เจา้ ฟา้ กลั ยาณวิ ฒั นา กรมหลวงนราธวิ าสราชนครนิ ทร์ เป็นพระราชธิดาพระองค์เดียวใน สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกกบั สมเดจ็ พระศรนี ครนิ ทราบรมราชชนนีเปน็ สมเดจ็ พระโสทรเชษฐภคนิ ี ในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รวมทั้งเป็นสมเด็จพระราชปิตุจฉาในพระบาทสมเด็จ พระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเดจ็ พระเจา้ พน่ี างเธอ เจา้ ฟา้ กลั ยาณวิ ฒั นา กรมหลวงนราธวิ าสราชนครนิ ทร์ ไดท้ รงบำ� เพญ็ พระกรณยี กจิ มากมายแกป่ ระเทศชาติ เพอ่ื แบง่ เบาพระราชภาระของ พระบาทสมเดจ็ พระบรมชนกาธเิ บศรมหาภมู พิ ลอดลุ ยเดชมหาราช บรมนาถบพติ ร และสมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี มีโครงการในพระอุปถัมภ์ หลายร้อยโครงการ ทั้งด้านการศึกษา การสังคมสงเคราะห์ การแพทย์ และการสาธารณสุข การต่างประเทศ การศาสนา และอ่ืนๆ กับท้ังยังมีพระปรีชา สามารถด้านการเขียน ด้านการกีฬา และด้านการถ่ายภาพ 52

ด้านหน้า พระรูปสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ มีข้อความว่า : “สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา” และ “กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์” ด้านหลัง อักษรพระนาม “กว” ภายใต้พระจุลมงกุฎ มีข้อความว่า : “ฉลองพระชนมายุ ๘๐ พรรษา” “๖ พฤษภาคม ๒๕๔๖ ประเทศไทย” และ “๑๐ บาท” จ�ำนวนผลิต : ๒,๐๐๐,๐๐๐ เหรียญ ประกาศใช้ : ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ 53

๒๓. เหรียญกษาปณ์ท่ีระลึกเน่ืองในโอกาสครบ ๙๐ ปี ธนาคารออมสิน ธ น า ค า ร อ อ ม สิ น ถื อ ก� ำ เ นิ ด โ ด ย พ ร ะ ร า ช ป ร ะ ส ง ค ์ ข อ ง พระบาทสมเดจ็ พระปรเมนทรมหาวชริ าวธุ พระมงกฎุ เกลา้ เจา้ อยหู่ วั รชั กาลที่ ๖ ที่ ท ร ง ต ร ะ ห นั ก ถึ ง ค ว า ม ส� ำ คั ญ ข อ ง ก า ร เ ก็ บ รั ก ษ า ท รั พ ย ์ ใ ห ้ ป ล อ ด ภั ย จากโจรผู้ร้าย โดยทรงตราพระราชบัญญัติจัดต้ังคลังออมสินข้ึน เมื่อวันท่ี ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๖ ด้วยพระราชปณิธานท่ีจะให้คลังออมสิน เป็นที่เก็บรักษาทรัพย์สินอย่างปลอดภัย และฝึกฝนให้ราษฎรรู้จัก เก็บออมทรัพย์อย่างถูกวิธี ซ่ึงคลังออมสินได้ยืนหยัดในการท�ำหน้าที่น้ีตลอดมา โดยไดร้ บั พระมหากรณุ าธคิ ณุ จากพระมหากษัตรยิ แ์ หง่ ราชวงศ์จกั รที กุ พระองค์ และอีกหน่ึงหน้าประวัติศาสตร์ ที่จารึกไว้ นั่นคือใน พ.ศ. ๒๔๘๙ พระบาทสมเดจ็ พระบรมชนกาธเิ บศร มหาภมู พิ ลอดลุ ยเดชมหาราช บรมนาถบพติ ร ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะคลังออมสินข้ึนเป็นธนาคารออมสิน โดยทรงตราพระราชบัญญัติธนาคารออมสินขึ้น เพ่ือรองรับกับความก้าวหน้า ของกิจการคลังออมสิน และเปิดด�ำเนินการในรูปแบบธนาคารต้ังแต่เม่ือวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๐ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๙ ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชด�ำเนินมาทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จ พระปรเมนทรมหาวชริ าวธุ พระมงกุฎเกล้าเจา้ อยหู่ วั รชั กาลที่ ๖ และเปิดอาคาร ส�ำนักงานใหญ่ธนาคารออมสิน ถนนพหลโยธิน ซ่ึงนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณ อย่างหาท่ีสุดมิได้ 54

ด้านหน้า พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงฉลองพระองค์เครื่องแบบเต็มยศจอมพล มีข้อความว่า : “พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว” ด้านหลัง รูปเครื่องหมายของธนาคารออมสิน มีข้อความว่า : “ครบ ๙๐ ปี ธนาคารออมสิน ๑ เมษายน ๒๕๔๖” และ “๑๐ บาท ประเทศไทย” จ�ำนวนผลิต : ๒,๐๐๐,๐๐๐ เหรียญ ประกาศใช้ : ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ 55

๒๔. เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติครบ ๑๕๐ ปี แห่งวันพระบรมราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเดจ็ พระปรมนิ ทรมหาจฬุ าลงกรณ์ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั เสด็จพระราชสมภพเม่ือวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๓๙๖ เป็นพระราชโอรสใน พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่ พระนางเธอ พระองค์เจ้าร�ำเพยภมราภิรมย์ (ในรัชกาลที่ ๖ ได้มีการสถาปนา พระบรมอฐั เิ ปน็ สมเดจ็ พระเทพศริ นิ ทราบรมราชนิ )ี ครงั้ นนั้ พระบรมวงศานวุ งศ์ เสนาบดีเข้าชื่อกันกราบบังคมทูลว่า ทุกวันนี้เจ้าฟ้าก็ไม่มีเหมือนแต่ก่อน ขอให้ยกขึ้นเป็นเจ้าฟ้าอย่างสมัยก่อน จึงพระราชทานพระนามว่า เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ถึงวันท่ี ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๐๔ จึงได้รับพระราชทาน สุพรรณบัฏจารึกพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ บดนิ ทรเทพยมหามกฎุ บรุ ษุ ยรตั นราชรววิ งศ์ วรตุ มพงศบรพิ ตั ร สริ วิ ฒั นราชกมุ าร แลว้ ทรงพระกรณุ าโปรดเกลา้ ฯ ใหต้ งั้ เจา้ ตา่ งกรมเปน็ กรมหมน่ื พฆิ เนศวรสรุ สงั กาศ ซึ่งค�ำว่า “จุฬาลงกรณ์” นั้นแปลว่า เคร่ืองประดับผม อันหมายถึง “พระเกี้ยว” ที่มีรูปเป็นส่วนยอดของพระมหามงกุฎ หรือยอดชฎา 56

ด้านหน้า พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเคร่ืองบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ และฉลองพระองค์ครุย มีข้อความว่า : “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” ล้อมรอบด้วยลวดลายสายสร้อยแห่งเคร่ืองราชอิสริยาภรณ์ จุลจอมเกล้า ปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ ด้านหลัง อักษรพระปรมาภิไธย “จปร” ภายใต้เคร่ืองหมายเลย ๕ และ พระมหาพิชัยมงกุฎเปล่งรัศมี มีตัวเลข “๒๓๙๖” และ “๒๕๔๖” มีข้อความว่า : “๑๕๐ ปี แห่งวันพระราชสมภพ ๒๐ กันยายน ๒๕๔๖” และ “๑๐ บาท ประเทศไทย” จ�ำนวนผลิต : ๓,๖๐๐,๐๐๐ เหรียญ ประกาศใช้ : ๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖ 57

๒๕. เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกการประชุมผู้น�ำเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ ๑๑ กลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชีย-แปซิฟิก หรือเอเปค ก่อตั้งข้ึนเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๒ เพ่ือตอบสนองต่อภาวการณ์พ่ึงพาทางเศรษฐกิจ ท่ีเพ่ิมขึ้นในภูมิภาค ซึ่งเน้นการเจริญเติบโตและการพัฒนาที่ย่ังยืน โดยมี การจัดประชุมทุกปีและให้สมาชิกผลัดกันเป็นเจ้าภาพ ซึ่งประเทศไทย ได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปค ๒๐๐๓ ครั้งท่ี ๑๑ ขึ้นระหว่างวันที่ ๒๐-๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ โดยมีผู้น�ำส�ำคัญระดับโลก รัฐมนตรีท่ีเก่ียวข้อง ผู้แทนภาครัฐและเอกชนระดับสูงจากประเทศ สมาชิกเอเปคเข้าร่วมประชุมด้วย จึงถือเป็นโอกาสส�ำคัญที่ท�ำให้ไทยมีบทบาท ในเวทีโลกและผลักดันประเด็นความร่วมมือท่ีเอ้ือประโยชน์ต่อชาติ รวมท้ัง เป็นโอกาสเผยแพร่ศักยภาพทางเศรษฐกิจ ท้ังการท่องเที่ยว การลงทุน สินค้า และวัฒนธรรมไทย ไปสู่นานาชาติทั่วโลก 58

ด้านหน้า พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงฉลองพระองค์ชุดสากล มีข้อความว่า : “พระบาทสมเดจ็ พระปรมนิ ทรมหาภมู พิ ลอดลุ ยเดช รชั กาลที่ ๙” และ “ประเทศไทย” รูปสัญลักษณ์ APEC ด้านหลัง มีข้อความว่า : “การประชุมผู้น�ำเศรษฐกิจเอเปค คร้ังที่ ๑๑” “๒๐-๒๑ ตุลาคม ๒๕๔๖ กรุงเทพฯ” และ “๑๐ บาท” จ�ำนวนผลิต : ๑,๐๐๐,๐๐๐ เหรียญ ประกาศใช้ : ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ 59

๒๖. เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเน่ืองในโอกาสครบ ๗๐ ปี ราชบัณฑิตยสถาน ส�ำนักงานราชบัณฑิตยสภา หรือชื่อเดิมว่า ราชบัณฑิตยสถาน เป็นส่วนราชการไทยระดับเทียบเท่ากรม ซึ่งขึ้นตรงต่อการบังคับบัญชา ของนายกรฐั มนตรี เปน็ ทร่ี จู้ กั ทวั่ ไปในภารกจิ การจดั ทำ� พจนานกุ รม และการบญั ญตั ิ หลักเกณฑ์ เก่ียวกับการใช้ภาษาไทย ท้ังน้ี ราชบัณฑิตยสภา (เดิมคือ สภาราชบัณฑิต) มีหน้าท่ีค้นคว้า บ�ำรุงรักษา เผยแพร่ และพัฒนาวิทยาการ ทุกแขนงเพื่อประโยชน์สาธารณะ ราชบัณฑิตยสถานถือก�ำเนิดข้ึนเมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ โดยได้ยกเลิกราชบัณฑิตยสภาที่มี แล้วให้ราชบัณฑิตยสถานมีหน้าที่ ท�ำงานด้านวิชาการ เป็นแหล่งรวมนักวิชาการระดับสูง เพ่ือค้นคว้าหาความรู้ มาเผยแพร่แก่ประชาชน และสร้างต�ำรา ทั้งน้ีราชบัณฑิตยสถานมีฐานะเป็น นิติบุคคล อยู่ในอุปการะของรัฐบาล มีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาการ เม่ือ พ.ศ. ๒๔๘๕ มีการเปลี่ยนแปลงให้ราชบัณฑิตยสถานอยู่ในบังคับ บัญชาของนายกรัฐมนตรี คร้ันเม่ือเวลาผ่านไปอีก ๑๐ ปี จึงได้มีการปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรมข้ึนใหม่ ก�ำหนดให้ราชบัณฑิตยสถานอยู่ในบังคับบัญชา ของรัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรม (เดิม) จนเมื่อยุบกระทรวงวัฒนธรรมแล้ว ในปี พ.ศ. ๒๕๐๑ ราชบัณฑิตยสถานจึงขึ้นอยู่กับการบังคับบัญชาของรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงศึกษาธิการ คร้ันเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๔ ได้มีการปรับเปล่ียนอีกคร้ัง โดยตั้ง สภาราชบัณฑิตขึ้นเพื่อก�ำหนดและวางนโยบายด้านวิชาการและมีคณะกรรมการ ส่งเสริมกิจการของราชบัณฑิตยสถาน เป็นผู้ให้ค�ำแนะน�ำ ปรึกษา ประสานงาน และสนับสนุนการด�ำเนินงานของราชบัณฑิตยสถาน ร า ช บั ณ ฑิ ต ย ส ถ า น มี ท่ี ท� ำ ก า ร อ ยู ่ ใ น พ ร ะ บ ร ม ม ห า ร า ช วั ง ถนนหน้าพระลาน เขตพระนคร มาเป็นเวลานาน ปัจจุบันได้ย้ายท่ีท�ำการ ไปสถานท่ีใหม่ในบริเวณสนามเสือป่า เน่ืองจากที่ท�ำการเดิม คับแคบ โดยย้ายไปตั้งแต่วันที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ 60

ด้านหน้า พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และ พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงฉลองพระองค์ชุดสากล อักษรพระปรมาภิไธย “ปปร” และ “ภปร” ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎเปล่งรัศมี ด้านหลัง รูปเครื่องหมายของราชบัณฑิตยสถาน มีข้อความว่า : “๗๐ ปี ราชบัณฑิตยสถาน” “๓๑ มีนาคม ๒๕๔๗ ประเทศไทย” และ “๑๐ บาท” จ�ำนวนผลิต : ๒,๐๐๐,๐๐๐ เหรียญ ประกาศใช้ : ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ 61

๒๗. เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเน่ืองในโอกาสครบ ๗๐ ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นมหาวิทยาลัยแห่งท่ีสองของประเทศไทย กอ่ ตงั้ ในชอ่ื “มหาวทิ ยาลยั วชิ าธรรมศาสตรแ์ ละการเมอื ง” เมอื่ วนั ท่ี ๒๗ มถิ นุ ายน พ.ศ. ๒๔๗๗ โดยมีจุดประสงค์เพ่ือเป็นตลาดวิชา เพ่ือการศึกษาด้านกฎหมาย และการเมือง ส�ำหรับประชาชนท่ัวไป ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๙๕ รัฐบาลเปลี่ยนเป็น ชื่อปัจจุบัน นับเป็นมหาวิทยาลัยที่มีอายุเก่าแก่เป็นอันดับ ๒ ของประเทศไทย และมีประวัติศาสตร์ผูกพันกับพัฒนาการทางการเมือง และความเป็นไป ของชาติ ตลอดจนเรื่องของรัฐธรรมนูญและประชาธิปไตย โดยเฉพาะอย่างย่ิง ในเหตุการณ์ ๑๔ ตุลา ๒๕๑๖ และ ๖ ตุลา ๒๕๑๙ วันท่ี ๑๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ราชกิจจานุเบกษาได้ลงประกาศ “พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๕๘” ซึ่งได้มีผลให้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีสภาพเป็นมหาวิทยาลัยในก�ำกับของรัฐ 62

ด้านหน้า พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงฉลองพระองค์ชุดสากล มีข้อความว่า : “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร” และ “รัชกาลที่ ๙” ด้านหลัง รูปเครื่องหมายของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีข้อความว่า : “๗๐ ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๔๗” และ “๑๐ บาท” จ�ำนวนผลิต : ๓,๐๐๐,๐๐๐ เหรียญ ประกาศใช้ : ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๗ 63

๒๘. เหรียญกษาปณ์ท่ีระลึกเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๔๗ สมเดจ็ พระนางเจา้ สริ กิ ติ ิ์ พระบรมราชนิ นี าถ พระบรมราชชนนพี นั ปหี ลวง (เดิม: หม่อมราชวงศ์สิริกิต์ิ กิติยากร) พระราชสมภพ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ เป็นสมเด็จพระบรมราชินีนาถในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภมู พิ ลอดลุ ยเดชมหาราช บรมนาถบพติ ร เปน็ สมเดจ็ พระบรมราชชนนพี นั ปหี ลวง ในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และโดยพระชนมพรรษาจึงนับเป็นพระกุลเชษฐ์ พระองค์ปัจจุบันในพระบรมราชจักรีวงศ์ เ นื่ อ ง จ า ก ส ม เ ด็ จ พ ร ะ น า ง เ จ ้ า สิ ริ กิ ต์ิ พ ร ะ บ ร ม ร า ชิ นี น า ถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เป็นผู้ส�ำเร็จราชการแทนพระองค์ขณะที่ พระราชสวามีเสด็จออกผนวช ระหว่างวันท่ี ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ - ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๙ พระองค์จึงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เม่ือวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ ปีเดียวกันนั้น ถือเป็นสมเด็จพระบรมราชินีนาถพระองค์ที่สองของ กรุงรัตนโกสินทร์ต่อจากสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลท่ี ๕ (ภายหลังคือ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง) 64

ด้านหน้า พระรูปสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงสวมศิราภรณ์ ทรงฉลองพระองค์ชุดไทย ทรงสะพัก มีข้อความว่า : “สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์” และ “พระบรมราชินีนาถ” ด้านหลัง ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๔๗ มีข้อความว่า : “มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ” “ประเทศไทย ๑๒ สิงหาคม ๒๕๔๗” และ “๑๐ บาท” จ�ำนวนผลิต : ๖,๐๐๐,๐๐๐ เหรียญ ประกาศใช้ : ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ 65

๒๙. เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกพลังแผ่นดินขจัดสิ้นยาเสพติด ยาเสพตดิ เปน็ ปญั หาระดบั ชาตทิ มี่ ผี ลกระทบตอ่ ความมนั่ คงทงั้ ทางการเมอื ง เศรษฐกิจและสังคมส่วนรวมโดยมีแนวโน้มจะทวีความรุนแรงมากขึ้น แม้จะมีกฎหมายในการป้องกันและปราบปรามมาทุกยุคสมัย และเนื่องจาก ที่ประชุมสมัชชาใหญ่องค์การสหประชาชาติได้ก�ำหนดให้วันที่ ๒๖ มิถุนายน ของทุกปี เป็นวันต่อต้านยาเสพติดสากล เพ่ือให้ประชาคมโลกได้ตระหนักถึง ความจ�ำเป็นในการร่วมมือร่วมใจป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างจริงจัง ในปี พ.ศ. ๒๕๔๔ รฐั บาลไดป้ ระกาศใชน้ โยบายการปอ้ งกนั นำ� หนา้ การปราบปราม โดยได้ก�ำหนดยุทธศาสตร์ “พลังแผ่นดินขจัดส้ินยาเสพติด” รวมทั้งมี ตราสญั ลกั ษณเ์ พอ่ื เปน็ สอื่ ประชาสมั พนั ธใ์ หค้ นไทยรว่ มใจกนั เปน็ พลงั ของแผน่ ดนิ ในการขจดั ยาเสพตดิ ใหห้ มดสนิ้ ไปจากผนื แผน่ ดนิ ไทย ทงั้ น้ี รฐั บาลยงั กำ� หนดให้ วนั ที่ ๓ ธนั วาคม ๒๕๔๖ เปน็ วนั ประกาศชยั ชนะในการทำ� สงครามกบั ยาเสพตดิ เพอ่ื นอ้ มถวายแด่ พระบาทสมเดจ็ พระบรมชนกาธเิ บศร มหาภมู พิ ลอดลุ ยเดชมหาราช บรมนาถบพติ ร เนอ่ื งในวโรกาสวนั เฉลมิ พระชนมพรรษา และเพอื่ เปน็ การสำ� นกึ ใน พระมหากรุณาธิคุณ ที่ทรงอุตสาหะปฏิบัติพระราชกรณียกิจนานัปการ ซึ่งล้วนเป็นไปเพ่ือความอยู่ดีมีสุขของราษฎร โดยเฉพาะทรงพระราชทาน ก�ำลังใจในการแก้ไขปัญหายาเสพติดชุมชน 66

ด้านหน้า พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงฉลองพระองค์ชุดสากล มีข้อความว่า : “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช” ด้านหลัง ตราสัญลักษณ์พลังแผ่นดินขจัดสิ้นยาเสพติด มีข้อความว่า : “วันที่ ๓ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๔๖” “ประเทศไทย” และ “๑๐ บาท” จ�ำนวนผลิต : ๓,๐๐๐,๐๐๐ เหรียญ ประกาศใช้ : ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๗ 67

๓๐. เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกการประชุมใหญ่สมัชชา การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโลก ครั้งที่ ๓ สหภาพสากลเพ่ือการอนุรักษ์ (The World Conservation Union – IUCN) เป็นองค์กรระดับโลกประกอบด้วยสมาชิกจาก ๗๖ ประเทศ ๑๑๑ หน่วยงานรัฐ และ ๗๖๘ หน่วยงานที่เป็นองค์กรเอกชนในประเทศต่างๆ องค์กรนี้จัดตั้งข้ึนเมื่อปี ค.ศ. ๑๙๔๘ โดยการรวบรวมผู้น�ำด้านวิทยาศาสตร์ และนโยบาย และองค์กรด้านการอนุรักษ์ เข้าด้วยกัน เพ่ือจัดการประชุมให้กับ บคุ คลในสาขาตา่ งๆทวั่ โลกใหไ้ ดม้ โี อกาสแลกเปลยี่ นความคดิ เหน็ อยา่ งเปน็ กลาง พร้อมทั้งท�ำกิจกรรมด้านการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติ อย่างยั่งยืนร่วมกัน เพื่อสร้างแนวร่วมในการผลักดันโครงการต่าง ๆ และสร้างเสริมความแข็งแกร่งของสมาชิกให้สามารถด�ำเนินกิจกรรมเก่ียวกับ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในระดับท้องถ่ิน ระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับโลก ประเทศไทยได้รับความเห็นชอบจากสหภาพสากลเพื่อการอนุรักษ์ (The World Conservation Union – IUCN) ให้เป็นเจ้าภาพจัดประชุมใหญ่ สมัชชาการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโลก ประจ�ำปี พ.ศ. ๒๕๔๗ ณ กรุงเทพมหานคร (Bangkok World Conservation Congress ๒๐๐๔) โ ด ย ก ร ะ ท ร ว ง ท รั พ ย า ก ร ธ ร ร ม ช า ติ แ ล ะ ส่ิ ง แ ว ด ล ้ อ ม ไ ด ้ ม อ บ ใ ห ้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นหน่วยงานหลักในการเตรียม การประชุม 68

ด้านหน้า พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงฉลองพระองค์ชุดสากล มีข้อความว่า : “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช” ด้านหลัง ตราสัญลักษณ์การประชุมสมัชชาการอนุรักษ์ส่ิงแวดล้อมโลก คร้ังที่ ๓ มีข้อความว่า : “การประชมุ ใหญส่ มชั ชาการอนรุ กั ษ์ สงิ่ แวดลอ้ มโลก ครง้ั ที่ ๓” “๑๗ – ๒๕พฤศจิกายน ๒๕๔๗” “ประเทศไทย” “THAILAND” “๑๐ บาท” และ “10 BAHT” จ�ำนวนผลิต : ๓,๐๐๐,๐๐๐ เหรียญ ประกาศใช้ : ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๗ 69

๓๑. เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในโอกาสท่ีวันพระบรมราชสมภพครบ ๒๐๐ ปี พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลท่ี ๔ แห่งราชวงศ์จักรี มีพระนามเดิมว่า “เจ้าฟ้ามงกุฎ” เสด็จพระราชสมภพ ณ พระราชวังเดิม เม่ือวันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๔ ค่�ำ เดือน ๑๑ ปีชวด ตรงกับวันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๓๔๗ ใ น รั ช ส มั ย พ ร ะ บ า ท ส ม เ ด็ จ พ ร ะ ป ร โ ม รุ ร า ช า ม ห า จั ก รี บ ร ม น า ร ถ พระพทุ ธยอดฟา้ จฬุ าโลกมหาราช เปน็ พระราชโอรสพระองคท์ ี่ ๔๓ และเปน็ ลำ� ดบั ที่ ๒ ในพระบาทสมเดจ็ พระบรมราชพงษเชษฐมเหศวรสนุ ทร พระพทุ ธเลศิ หลา้ นภาลยั กับสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครองสริ ริ าชสมบตั เิ มอื่ วนั พธุ ขนึ้ ๑ คำ�่ เดอื น ๕ ปกี นุ ยงั เปน็ โทศก พ.ศ. ๒๓๙๔ รวมด�ำรงสิริราชสมบัติ ๑๖ ปี ๖ เดือน และมีพระราชโอรส - พระราชธิดา รวมทั้งส้ิน ๘๒ พระองค์ เสด็จสวรรคตเมื่อวันพฤหัสบดี ข้ึน ๑๕ ค�่ำ เดือน ๑๑ ปีมะโรง เวลาทุ่มเศษ ตรงกับวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๑๑ สิริพระชนมายุ ๖๔ พรรษา 70

ด้านหน้า พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงฉลองพระองค์สักหลาดพ้ืนด�ำปักด้ินทอง มีข้อความว่า : “รัชกาลที่ ๔” และ “ประเทศไทย” ด้านหลัง พระราชลัญจกรประจ�ำรัชกาล พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีข้อความว่า : “ทรี่ ะลกึ เฉลมิ พระเกยี รตพิ ระบาทสมเดจ็ พระจอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ” “ในโอกาสวันพระบรมราชสมภพ ๒๐๐ ปี” “๑๘ ตุลาคม ๒๕๔๗” และ “๑๐ บาท” จ�ำนวนผลิต : ๓,๕๐๐,๐๐๐ เหรียญ ประกาศใช้ : ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๗ 71

๓๒. เหรียญกษาปณ์ท่ีระลึกการประชุมสมัยสามัญภาคี อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ ซ่ึงชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าท่ีใกล้สูญพันธุ์ ครั้งที่ ๑๓ เป็นท่ีประจักษ์ดีว่า สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ิ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงตระหนักถึงคุณค่าและความส�ำคัญ ของการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า ท้ังประโยชน์ด้านนิเวศวิทยา และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน เมื่อประเทศไทยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสมัยสามัญ ภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่า ใกล้สูญพันธุ์ ครั้งท่ี ๑๓ หรือ CITES COP 13 ซึ่งมีจุดประสงค์เพ่ืออนุรักษ์ ทรัพยากรสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธ์ รวมทั้งการต่อต้านการค่าสัตว์ป่า และพืชป่าท่ีผิดกฎหมาย ในปีพุทธศักราช ๒๕๔๗ และเพ่ือเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาส เฉลิมพระชนมพรรษา ๗๒ พรรษา จึงได้อัญเชิญพระรูป มาเป็นแบบด้านหน้าเหรียญกษาปณ์ท่ีระลึกในโอกาสนี้ 72

ด้านหน้า พระรูปสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ิ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงฉลองพระองค์ชุดสากล มีข้อความว่า : “สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ” และ “ประเทศไทย” โดยมีรูปกล้วยไม้ค่ันระหว่างข้อความ ด้านหลัง ตราสัญลักษณ์การประชุมสมัยสามัญภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่าง ประเทศ ซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ ครั้งท่ี ๑๓ (CITES COP 13) มีข้อความว่า : “การประชุมสมัยสามัญภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้า ระหว่างประเทศ” “ซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ ครั้งท่ี ๑๓ (CITES COP 13)” “๑๐ บาท” และ “10 BAHT” จ�ำนวนผลิต : ๓,๐๐๐,๐๐๐ เหรียญ ประกาศใช้ : ๓๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ 73

๓๓. เหรียญกษาปณ์ท่ีระลึกเน่ืองในโอกาสครบ ๑๐๐ ปี กรมการขนส่งทหารบก กรมการขนส่งทหารบก เดิมชื่อ กรมพาหนะ เร่ิมก่อตั้งเม่ือวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๔๔๘ โดยมีหน้าท่ีรับผิดชอบการจัดก�ำลัง อาวุธยุทโธปกรณ์ ตลอดจนยานพาหนะประเภทตา่ ง ๆ เมอ่ื ประเทศไทยไดเ้ ขา้ รว่ มกบั ฝา่ ยพนั ธมติ ร ในสงครามโลกคร้ังท่ี ๑ ทมหารขนส่งจัดว่าเป็นทหารเพียงหน่วยแรก และหน่วยเดียวที่ ได้เข้าร่วมรบในสงคราม ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ ได้มีการจัดวางระเบียบราชการกองทัพบกเปลี่ยนชื่อเป็นกรมการขนส่งทางบก ปจั จบุ นั มหี นา้ ทรี่ บั ผดิ ชอบในเรอื่ งการขนสง่ ยทุ ธวธิ แี ละการขนสง่ โดยทวั่ ไปเปน็ หลกั และได้มีการพัฒนาเรื่อยมาเพ่ือให้สอดคล้องกับภารกิจท่ี ได้รับ 74

ด้านหน้า พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงฉลองพระองค์เคร่ืองแบบเต็มยศทหารบก และ พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงฉลองพระองค์เคร่ืองแบบเต็มยศจอมพล มีข้อความว่า : “รัชกาลท่ี ๕” และ “รัชกาลที่ ๙” ด้านหลัง รูปเคร่ืองหมายของกรมการขนส่งทหารบก มีข้อความว่า : “๑๐๐ ปี กรมการขนส่งทหารบก” “๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘ ประเทศไทย” และ “๑๐ บาท” จ�ำนวนผลิต : ๓,๐๐๐,๐๐๐ เหรียญ ประกาศใช้ : ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘ 75

๓๔. เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบ ๗๒ ปี กรมธนารักษ์ กรมธนารักษ์ เป็นกรมในสังกัดของกระทรวงการคลัง มีหน้าที่เกี่ยวกับ การบริหารจัดการที่ราชพัสดุให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด การประเมินราคา อสังหาริมทรัพย์ตามมาตรฐานสากล การผลิตและบริหารจัดการ เหรียญกษาปณ์ให้เพียงพอในระบบเศรษฐกิจ และการจัดแสดง เผยแพร่ดูแล บ�ำรุงรักษาทรัพย์สินมีค่าของรัฐตามหลักวิชาการ ในวันที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ ได้มีการก่อต้ัง “กรมธนารักษ์” ขึ้น โดยรวมกรม ที่มีหน้าที่ส�ำคัญ ๆ ไว้ถึง ๔ กรม ด้วยกันคือ • กรมกระษาปณ์สิทธิการ • กรมพระคลังมหาสมบัติ • กรมเงินตรา • กรมรักษาที่หลวงและกัลปนา โดยทง้ั นเ้ี ปน็ ไปตามพระราชกฤษฎกี าจดั วางระเบยี บกรมในกระทรวงการคลงั พ.ศ. ๒๔๗๖ กรมธนารักษ์แต่เดิมใช้ช่ือว่ากรมพระคลัง และต่อมา ได้เปลี่ยนชื่อเป็นกรมคลังเม่ือวันท่ี ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ ตามพระราชกฤษฎกี าจดั วางระเบยี บราชการ สำ� นกั งานและกรมในกระทรวงการคลงั พ.ศ. ๒๔๗๖ จากน้ันได้มีพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๔๙๕ จึงได้เปลี่ยนช่ือจากกรมคลังเป็น “กรมธนารักษ์” เม่ือวันท่ี ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๕ ตราบจนถึงปัจจุบัน 76

ด้านหน้า พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงฉลองพระองค์ชุดสากล มีข้อความว่า : “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช” และ “ประเทศไทย” ด้านหลัง รูปเครื่องหมายของกรมธนารักษ์ รอบเคร่ืองหมายมีเลข “72” เรียงรายโดยรอบ มีข้อความว่า : “ครบ ๗๒ ปี ๒๓ พฤษภาคม ๒๔๗๖ - ๒๕๔๘” และ “๑๐ บาท” จ�ำนวนผลิต : ๓,๐๐๐,๐๐๐ เหรียญ ประกาศใช้ : ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ 77

๓๕. เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเน่ืองในโอกาสครบ ๗๒ ปี ส�ำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ก่อนการเปล่ียนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ พระมหากษัตริย์ ทรงออกว่าราชการหรือประชุมเสนาบดี โดยมีหน่วยงานท่ีดูแลรับผิด ชอบการประชุมเสนาบดี ได้แก่ กรมพระอาลักษณ์และกรมราชเลขานุการ ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง งานบริหารราชการแผ่นดินได้โอนจาก พระมหากษตั รยิ ม์ าอยทู่ ค่ี ณะรฐั มนตรี จงึ ไดต้ ง้ั กรมเลขาธกิ ารคณะกรรมการราษฎร์ ข้ึนเม่ือวันท่ี ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๕ ต่อมาได้เปล่ียนช่ือเป็น กรมเลขาธิการ คณะรัฐมนตรี ปัจจุบันส�ำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เป็นส่วนราชการระดับกรม สังกัดส�ำนักนายกรัฐมนตรี มีภารกิจรับผิดชอบเกี่ยวกับการประชุม และการใหบ้ รกิ ารคณะรฐั มนตรที งั้ คณะ เชน่ การดำ� เนนิ การประชมุ คณะรฐั มนตรี การแจ้งมติคณะรัฐมนตรี การติดตอกับรัฐสภาในเรื่องอันไม่อยู่ในอ�ำนาจหน้าที่ ของกระทรวงใดไปปฏิบัติ อาทิ การขอพระราชทานเคร่ืองราชอิสริยาภรณ์ การตราพระราชกฤษฎีกายุบสภา การเปิดและปิดสมัยประชุมรัฐสภา เป็นต้น 78

ด้านหน้า พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงฉลองพระองค์เครื่องแบบเต็มยศจอมทัพ มีข้อความว่า : “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช” ด้านหลัง รูปเคร่ืองหมายของส�ำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี มีข้อความว่า : “ครบ ๗๒ ปี ส�ำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี” “พ.ศ. ๒๕๔๗” และ “ประเทศไทย ๑๐ บาท” จ�ำนวนผลิต : ๓,๐๐๐,๐๐๐ เหรียญ ประกาศใช้ : ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙ 79

๓๖. เหรียญกษาปณ์ท่ีระลึกงานชุมนุมลูกเสือ ภาคพ้ืนเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ ๒๕ การจัดงานชุมนุมลูกเสือภาคพ้ืนเอเชีย-แปซิฟิก คร้ังที่ ๒๕ พุทธศักราช ๒๕๔๘ ภายใต้ค�ำขวัญ “ลูกเสือ รวมพลังสร้างสันติภาพ” (Scouting: The Road to Peace) ระหว่างวันท่ี ๒๘ ธันวาคม ๒๕๔๘ ถงึ วนั ท่ี ๓ มกราคม ๒๕๔๙ ณ บรเิ วณหาดยาว ฐานทพั เรอื สตั หบี จงั หวดั ชลบรุ ี การจัดงานชุมนุมลูกเสือภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ ๒๕ เ ป ็ น ง า น ชุ ม นุ ม ที่ มี ค ว า ม ส� ำ คั ญ เ พ ร า ะ เ ป ็ น กิ จ ก ร ร ม พิ เ ศ ษ ที่ จั ด ขึ้ น เพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสท่ีพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภมู พิ ลอดลุ ยเดชมหาราช บรมนาถบพติ ร พระประมขุ ของคณะลกู เสอื แหง่ ชาติ จะทรงครองราชย์สมบัติครบ ๖๐ ปี และเพื่อเฉลิมฉลองความก้าวหน้า และความเป็นปึกแผ่นมั่นคงในวาระครบ ๕๐ ปี ของกิจการลูกเสือในภาคพ้ืน เอเชีย-แปซิฟิก ในปีพุทธศักราช ๒๕๔๙ (APR Golden Jubilee, ๒๐๐๖) ซง่ึ ประเทศสมาชกิ ลกู เสอื ภาคพน้ื ฯ ตอ้ งมสี ว่ นรว่ มในงานชมุ นมุ โดยเยาวชนลกู เสอื เนตรนารี จากท่ัวโลก ๒๓ ประเทศ จ�ำนวน ๗,๐๐๐ คน และจากประเทศไทย ๘,๐๐๐ คน ซงึ่ จะมาใชช้ วี ติ ในคา่ ยพกั แรม ปฏบิ ตั กิ จิ กรรมลกู เสอื ทเ่ี ลอื กสรรแลว้ วา่ มี ค ว า ม เ ห ม า ะ ส ม กั บ ก า ร พั ฒ น า เ ย า ว ช น ทั้ ง ท า ง ด ้ า น ส ติ ป ั ญ ญ า รา่ งกายและจติ ใจ ตามอุดมการณ์ของลกู เสอื ซึ่งเป็นการสนบั สนนุ ใหเ้ ยาวชนไทย ท่ีเป็นลูกเสือ เนตรนารี ได้มีโอกาสแสดงออก และเพ่ิมพูนประสบการณ์ ในการพฒั นาตนเอง ซง่ึ ไดแ้ ก่ ทกั ษะลกู เสอื วงเวยี นสนั ตภิ าพ หมบู่ า้ นโลกาภวิ ตั น์ เดินทางไกล ทัศนศึกษา กิจกรรมทางน�้ำ และพัฒนาชุมชน กิจกรรมทางศาสนา ชีวิตชาวค่าย และกิจกรรมยามว่าง เป็นต้น 80

ด้านหน้า พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงฉลองพระองค์เคร่ืองแบบพระประมุขคณะลูกเสือแห่งชาติ มีข้อความว่า : “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช” และ “รัชกาลท่ี ๙” ด้านหลัง ตราสัญลักษณ์งานชุมนุมลูกเสือภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก คร้ังที่ ๒๕ พ.ศ. ๒๕๔๘ มีข้อความว่า : “ประเทศไทย” “25th Asia-Pacific Regional Scout Jamboree, 2005 : Thailand” “งานชุมนุมลูกเสือภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก คร้ังที่ ๒๕ พ.ศ. ๒๕๔๘” โดยมีรูปดอกเฟลอร์ เดอ ลีส์ ที่ต้นและท้ายข้อความ “๑๐ บาท” และ “10 BAHT” จ�ำนวนผลิต : ๓,๐๐๐,๐๐๐ เหรียญ ประกาศใช้ : ๓๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ 81

๓๗. เหรียญกษาปณ์ท่ีระลึกเนื่องในโอกาสที่ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี พระชนมายุ ๘๐ พรรษา สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เป็นพระราชธิดาพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว กับพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ประสูติ ณ พระทนี่ งั่ เทพสถานพลิ าส ในหมพู่ ระมหามณเฑยี ร ภายในพระบรมมหาราชวงั ก่อนท่ีพระบรมชนกนาถจะเสด็จสวรรคตในวันต่อมา พระนาม เพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี นั้น พระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้ใน พระราชพิธีสมโภชเดือนและข้ึนพระอู่ โดยมีค�ำน�ำหน้าพระนามเป็น สมเด็จพระเจ้าภาติกาเธอ (ลูกสาวของพ่ีชาย) ในรัชกาลท่ี ๗ และเป็นพระภคินี (ลูกพ่ีลูกน้อง) ในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และโดยพระชันษาพระองค์ จึงเคยเป็นพระกุลเชษฐ์ในราชวงศ์จักรี หลังจากเสด็จนิวัตประเทศไทยเป็นการถาวร พระองค์ทรงปฏิบัติ พระกรณยี กจิ เพอื่ แบง่ เบาพระราชภาระในพระบาทสมเดจ็ พระบรมชนกาธเิ บศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร อยู่เป็นนิจ จนกระท่ัง สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอในรัชกาลที่ ๙ ทรงเจริญวัยและทรงสามารถแบ่งเบาพระราชกรณียกิจได้ กอปรกับพระองค์ มีพระชันษาสูงข้ึนจึงเสด็จออกทรงเยี่ยมราษฎรในถ่ินทุรกันดารน้อยลง นอกจากนี้ พระองค์ทรงรับสถาบันและองค์กรต่าง ๆ ท้ังในส่วนที่สืบสาน จากพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี และโดยส่วนพระองค์เองไว้ในพระอุปถัมภ์ มากกว่า ๓๐ แห่ง 82

ด้านหน้า พระรูปสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงฉลองพระองค์ชุดไทย มีข้อความว่า : “สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี” ด้านหลัง อักษรพระนาม “พร” ภายใต้พระชฎามหากฐินรัชกาลที่ ๖ และ มีวัชระ ดอกบัว และดารารัศมีประดับโดยรอบ มีข้อความว่า : “พระชนมายุ ๘๐ พรรษา ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๘” และ “๑๐ บาท ประเทศไทย” จ�ำนวนผลิต : ๑,๐๐๐,๐๐๐ เหรียญ ประกาศใช้ : ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๙ 83

๓๘. เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเน่ืองในโอกาส พระราชพิธีสมโภชเดือนและข้ึนพระอู่ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร ประสูติเมื่อวันศุกร์ที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๘ เวลา ๑๘.๓๕ น. ณ โรงพยาบาลศิริราช เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จ พระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ป ร ะ สู ติ แ ต ่ ท ่ า น ผู ้ ห ญิ ง ศ รี รั ศ ม์ิ สุ ว ะ ดี ข ณ ะ ยั ง เ ป ็ น พ ร ะ ว ร ช า ย า ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทาน พระนามว่า “พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ” เมอื่ วนั ที่ ๑๕ มถิ นุ ายน พ.ศ. ๒๕๔๘ และพระราชทานเสมาอกั ษรพระปรมาภไิ ธย ภ.ป.ร. ทองค�ำ ส่วนพระนามของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชโิ รตตมางกรู สริ วิ บิ ลู ยราชกมุ าร นน้ั พระบาทสมเดจ็ พระบรมชนกาธเิ บศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระมหากรุณาธิคุณอธิบาย พระนามของสมเดจ็ พระเจา้ ลกู ยาเธอ เจา้ ฟา้ ทปี งั กรรศั มโี ชติ มหาวชโิ รตตมางกรู สิริวิบูลยราชกุมาร ว่า “ผู้ท�ำประทีปคือปัญญาให้สว่างกระจ่างแจ้ง, ผู้ท�ำเกาะคือที่พึ่งให้รุ่งเรืองโชติช่วง” เมื่อวันท่ี ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๘ ได้มีพระราชพิธีสมโภชเดือน และขนึ้ พระอตู่ ามพระราชประเพณใี นพระทน่ี ง่ั อนนั ตสมาคม เมอ่ื พระเจา้ หลานเธอฯ มีพระชนมายุครบ ๑ เดือน ต่อมา เม่ือวันท่ี ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ พระบาทสมเด็จ พระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ สถาปนาเฉลิมพระนามพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าปังกรรัศมีโชติ เป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร 84

ด้านหน้า พระรูปสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร มีข้อความว่า : “พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ” ด้านหลัง ข้อความว่า : “พระราชพิธีสมโภชเดือน และขึ้นพระอู่ พระเจ้าหลานเธอ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๔๘” “ประเทศไทย” และ “๑๐ บาท” จ�ำนวนผลิต : ๓,๐๐๐,๐๐๐ เหรียญ ประกาศใช้ : ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๙ 85

๓๙. เหรียญกษาปณ์ท่ีระลึกเนื่องในโอกาสครบ ๑๓๐ ปี การตรวจเงินแผ่นดินไทย การตรวจเงินแผ่นดินถือก�ำเนิดเม่ือวันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๑๘ ในรชั สมยั พระบาทสมเดจ็ พระปรมนิ ทรมหาจฬุ าลงกรณ์ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ปัจจุบันการตรวจเงินแผ่นดินของไทยอยู่ในความดูแลของคณะกรรมการ การตรวจเงินแผ่นดินซ่ึงเป็นองค์กรอิสระมีอ�ำนาจหน้าท่ีในการวางนโยบาย ให้ค�ำปรึกษาค�ำแนะน�ำ เสนอแนะให้มีการแก้ไขข้อบกพร่องเก่ียวกับ การตรวจเงินแผ่นดิน ก�ำหนดหลักเกณฑ์และวิธีพิจารณาในเรื่องวินัย ทางงบประมาณและการคลัง ก�ำหนดโทษปรับทางปกครองพิจารณาวินิจฉัย ความผิดทางวินัย งบประมาณ และการคลังในฐานะท่ีเป็นองค์กรสูงสุด และพิจารณาเลือกผู้สมควรด�ำรงต�ำแหน่งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และจดั ใหม้ สี ำ� นกั งานการตรวจเงนิ แผน่ ดนิ ทเ่ี ปน็ อสิ ระมหี นา้ ทด่ี ำ� เนนิ การเกยี่ วกบั การบริหารงานบุคคล การงบประมาณ การปฏิบัติงาน และการด�ำเนินการ โดยเสนอให้รายงานผลการปฏิบัติงานต่อสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และคณะรัฐมนตรี 86

ด้านหน้า พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงฉลองพระองค์ชุดสากล มีข้อความว่า : “รัชกาลท่ี ๕” “รัชกาลท่ี ๙” และ “ประเทศไทย” ด้านหลัง รูปตราชั่งประดิษฐานหน้าพานรัฐธรรมนูญ และมีลายไทยประดิษฐ์ประดับ โดยรอบ มีข้อความว่า : “ครบ ๑๓๐ ปี การตรวจเงินแผ่นดินไทย ๑๘ กันยายน ๒๕๔๘” และ ”๑๐ บาท” จ�ำนวนผลิต : ๓,๐๐๐,๐๐๐ เหรียญ ประกาศใช้ : ๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๙ 87

๔๐. เหรียญกษาปณ์ท่ีระลึกเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนอื่ งในโอกาสพระราชพธิ ฉี ลองสริ ริ าชสมบตั คิ รบ ๖๐ ปี พระราชพธิ ฉี ลองสริ ริ าชสมบตั ิ ครบ ๖๐ ปี เปน็ พระราชพธิ จี ดั ขนึ้ อยา่ งยงิ่ ใหญ่ เนอื่ งในวโรกาสทพี่ ระบาทสมเดจ็ พระบรมชนกาธเิ บศร มหาภมู พิ ลอดลุ ยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุมัติ หมายก�ำหนดการ พระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ระหว่าง วันพฤหัสบดีท่ี ๘ - วันอังคารท่ี ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๙ ตราสัญลักษณ์ งานฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี พุทธศักราช ๒๕๔๙ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทาน ตราสัญลักษณ์ ส�ำหรับงานเฉลิมฉลองอันเป็นมหามงคลย่ิงน้ี จากการ ทูลเกล้าทูลกระหม่อม ถวายแบบโดยรัฐบาล เพ่ือทรงเลือกแบบที่เหมาะสม ดังกล่าว ตราสัญลักษณ์น้ี ออกแบบโดย นายสมชาย ศุภลักษณ์อ�ำไพพร 88


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook